SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  42
Télécharger pour lire hors ligne
ความหมายของกรรมฐานในพระไตรปิฎกและคัมภีร์
ทางพระพุทธศาสนา
กรรมฐาน แปลว่า ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติ
กิจในหน้าที่ดังปรากฏข้อความในสุภสูตรที่กล่าวถึงสุภมาณพ
ทูลถามพระพุทธเจ้าในเรื่องผลของฐานะแห่งการงานหรือการ
ปฏิบัติกิจในหน้าที่ระหว่างของคฤหัสถ์ที่มีการตระเตรียมมากมี
กิจที่ต้องทำามาก เป็นต้น กับของบรรพชิตที่มีการตระเตรียม
น้อยมีกิจที่ต้องทำาน้อย เป็นต้น อย่างไหนจะมีผลมากกว่ากัน
พระพุทธองค์ตรัสว่า ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจใน
หน้าที่ของคฤหัสถ์ ที่มีการตระเตรียมมากมีกิจที่ต้องทำามาก
เป็นต้น เมื่อเหตุปัจจัยสมบูรณ์ก็มีผลมาก แต่เมื่อเหตุปัจจัยไม่
สมบูรณ์ก็มีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจ
ในหน้าที่ของบรรพชิต ถึงแม้จะมีการตระเตรียมน้อยมีกิจที่
ต้องทำาน้อย เป็นต้น แต่เมื่อเหตุปัจจัยสมบูรณ์ก็มีผลมาก เมื่อ
เหตุปัจจัยไม่สมบูรณ์ก็มีผลน้อย
คำาว่า กรรมฐาน ในพระไตรปิฎกชั้นต้นจึงใช้หมาย
ถึงการดำาเนินงานในหน้าที่หรือการประกอบอาชีพของแต่ละ
ฝ่ายโดยใช้ได้กับการงานฝ่ายคฤหัสถ์และฝ่ายบรรพชิต ส่วน
คัมภีร์อรรถกถาท่านจำากัดความหมายของกรรมฐานให้แคบ
เข้าโดยใช้กับงานฝึกอบรมจิต(mental development)เพื่อ
ให้เกิดสมาธิและปัญญาอย่างเดียวแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ สมถ-
ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๖๓-๔๖๔/๔๕๔-๔๕๖.
คำาว่า “ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจในหน้าที่” ในบาลีพระ
ไตรปิฎกใช้คำาว่า “กมฺมฏฺฐานำ” ตรงตัว
ในฝ่ายคฤหัสถ์สามารถใช้เรียกการประกอบอาชีพในงานทั่วไปได้
เช่น การประกอบอาชีพกสิกรรมเรียกว่า กสิกรรมฐาน การประกอบอาชีพ
ค้าขายเรียกว่า พานิชยกรรมฐาน ถ้าใช้กับฝ่ายบรรพชิตมีความหมายก
ว้างครอบคลุมถึงกิจวัตรทุกประเภทที่บรรพชิตควรประพฤติปฏิบัติตลอดถึง
การบำาเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อละกิเลสโดยใช้คำาว่า บรรพชากรรมฐาน. ม.ม.
(บาลี) ๑๓/๔๖๔/๔๕๕-๔๕๖.
ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๓๔/๒๑๖.
กรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งความหมายของคำาว่า
กรรมฐานตามแนวอรรถกถาตรงกับความหมายของพระบาลี
เดิมที่ใช้ในพระพระไตรปิฎกหลายแห่งคือในพระไตรปิฎก
บางแห่งใช้คำาว่า วิชชาภาคิยธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นส่วน
แห่งการรู้แจ้งสภาวธรรมตามเป็นจริงโดยแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
คือ สมถะและวิปัสสนา ในพระบาลีบางแห่งใช้คำาว่า ภาวนา
หรือภาเวตัพพธรรม หมายถึงธรรมที่ต้องทำาให้เกิดมีขึ้นในตน
บางแห่งใช้คำาว่า อภิญญาธรรม หมายถึงธรรมที่บุคคลควรรู้
แจ้งอย่างยิ่ง บางแห่งใช้คำาว่า อสังขตคามิมรรค หมายถึง
ธรรมที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้(พระ
นิพพาน) หมวดธรรมดังกล่าวมาได้แบ่งประเภทออกเป็น ๒
อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนาเช่นเดียวกันกับวิชชาภาคิยธรรม
จะเห็นได้ว่า คำาว่า กรรมฐาน ในพระไตรปิฎกชั้นต้น
ใช้ในความหมายที่กว้างกล่าวคือหมายถึงฐานะแห่งการงาน
คือการดำาเนินงานในหน้าที่หรือการประกอบกอาชีพครอบคลุม
ถึงหน้าที่ของคฤหัสถ์และบรรพชิต ส่วนคัมภีร์ยุคอรรถกถาได้
อธิบายจำากัดความหมายของกรรมฐานให้แคบเข้าโดยมุ่งเน้น
ไปที่การฝึกฝนจิตเพื่อให้เกิดสมาธิและปัญญาจนเข้าถึงจุดมุ่ง
หมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาโดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
คือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งตรงกับความหมาย
ของหมวดธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์พระ
ไตรปิฎกคือ วิชชาภาคิยธรรม ภาวนาหรือภาเวตัพพธรรม
อภิญญาธรรม อสังขตคามิมรรค ในยุคต่อ ๆ มาจึงรับรู้ความ
หมายของกรรมฐานตามแนวการอธิบายของพระอรรถกถา
จารย์ว่าเป็นงานสำาหรับฝึกจิตเท่านั้นและคณาจารย์ในยุคหลัง
ก็ได้เผยแผ่สั่งสอนกรรมฐานสืบทอดกันต่อ ๆ มาตามแนวความ
หมายที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้จนถึงปัจจุบัน
องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๓๒/๖๐.
ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕๒/๒๔๒, ม.อุ. (บาลี) ๑๒/๔๕๐/๓๘๒.
ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๔๓๓/๓๗๓, สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๑๕๙/๔๕, องฺ.จตุ
กฺก. (บาลี) ๒๑/๒๕๔/๒๗๕.
สำ.สฬา. (บาลี) ๑๘/๓๖๗/๓๑๙.
ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๓๔/๒๑๖, สงฺคห. (บาลี) ๑/๑-๒/๕๖.
2
ประเภทของกรรมฐาน
กรรมฐานในทางพระพุทธศาสนาว่าโดยประเภทแบ่ง
ออกเป็น ๒ คือ
๑. สมถกรรมฐาน ได้แก่ การฝึกจิตให้สงบจนเกิด
สมาธิโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้จิตยึดเกาะเป็นอารมณ์ เช่น
การเพ่งดวงกสิณ การเพ่งซากศพ เป็นต้น หรือการกำาหนดจิต
ให้ระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมิให้มีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาใน
ระหว่างจนจิตสงบ เช่น การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระ
ธรรม พระสงฆ์ การระลึกถึงพระนิพพาน เป็นต้น
๒. วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การฝึกจิตให้มี
สติสัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อปรากฏการณ์ทุกอย่างที่เข้าไป
เกี่ยวข้องโดยไม่ตกเป็นทาสของปรากฏการณ์เหล่านั้น หรือ
การฝึกจิตให้มีสติ สัมปชัญญะรับรู้อารมณ์ตรงตามความเป็น
จริงไม่เข้าไปปรุงแต่งและยึดมั่นถือมั่นด้วยอำานาจ อวิชชา
ตัณหา อุปาทาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อทำาลายกิเลสอันเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์และนิสัยความ
เคยชินแบบปุถุชนที่รับรู้ต่อปรากฏการณ์ภายนอกโดยมีอนุสัย
กิเลสเป็นตัวคอยกำากับอยู่ทำาให้การรับรู้ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ
เป็นไปอย่างมีอคติและบิดเบือนจากความจริง การเจริญ
วิปัสสนากรรมฐานจึงมีหลักการปฏิบัติคือการการพิจารณา
สังเกตตนเองและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองทั้งภายในตัว
และภายนอกตัวอย่างมีสติสัมปชัญญะหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง
ได้ว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็คือการเจริญปัญญา
สรุปความว่า กรรมฐาน เป็นงานสำาหรับฝึกฝนพัฒนา
จิตใจให้สงบและให้เกิดปัญญาจนสามารถข่มและทำาลายกิเลส
ได้ในที่สุดด้วยวิธีการปฏิบัติที่เป็นหลัก ๒ วิธีกล่าวคือเบื้องต้น
ทำาจิตให้สงบระงับก่อน แล้วจึงใช้จิตที่สงบระงับนั้นเป็นพื้น
ฐานหรือสนามเป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาเพื่อให้เกิดความ
เห็นแจ้งต่อไป สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตใช้ยึดเหนี่ยวในขณะเจริญกรรมฐานหรือสิ่งที่เป็น
อุปกรณ์ใช้สำาหรับเจริญกรรมฐาน.
3
ตามแนวที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั้นต่างเกื้อกูลอาศัยซึ่งกัน
และกันโดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำาคัญคือการดับทุกข์ได้สิ้นเชิง
อารมณ์ของกรรมฐาน
๑ อารมณ์ของสมถกรรมฐาน
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวในขณะเจริญ
กรรมฐานหรือสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ใช้สำาหรับทำากรรมฐาน สมถ
กรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีอารมณ์ต่างกันดังในคัมภีร์วิสุทธิ
มรรคท่านรวบรวมอารมณ์ของสมถกรรมฐานจากคัมภีร์พระ
ไตรปิฎกมาแสดงไว้ ๔๐ อย่าง คือ
๑. หมวดกสิณ ๑๐ วัตถุอันจูงใจ เป็นชื่อของกัมมัฏ
ฐานที่ใช้วัตถุสำาหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ ได้แก่ (๑) ปฐวี
กสิณ กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ (๒) อาโปกสิณ กสิณที่ใช้นำ้า
เป็นอารมณ์ (๓) เตโชกสิณ กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์ (๔)
วาโยกสิณ กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์ (๕) นีลกสิณ กสิณที่ใช้สี
เขียวเป็นอารมณ์ (๖) ปีตกสิณ กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์
(๗) โลหิตกสิณ กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์ (๘) โอทาตกสิณ
กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์ (๙) อาโลกกสิณ กสิณที่ใช้แสงสว่าง
เป็นอารมณ์ (๑๐) อากาสกสิณ กสิณที่ใช้ที่ว่างเป็นอารมณ์
๒. หมวดอสุภะ ๑๐ พิจารณาซากศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ
โดยความไม่งามเป็นอารมณ์ ได้แก่ (๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่
เน่าพองขึ้นอืด (๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคลำ้าด้วยสีต่าง ๆ
(๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีนำ้าเหลืองไหลออกอยู่ (๔) วิจฉิท
วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๔๗/๑๑๙.
กสิณ ๑๐ ที่ยกมานี้กล่าวตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ในบาลีพระไตรปิฎก
ไม่มีอาโลกกสิณ แต่มีวิญญาณกสิณแทนเป็นข้อที่ ๑๐ และเลื่อนอากาสกสิณเข้า
มาเป็นข้อที่ ๙. ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๖๐/๒๗๘, องฺ.ทสก. (บาลี) ๒๔/๒๙/๔๘.
อสุภะ ๑๐ ที่ยกมานี้กล่าวตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ส่วนพระบาลีในพระ
ไตรปิฎกจัดเข้าเป็นสัญญาต่าง ๆ เช่น อุทฺธุมาตกสญฺญา วินีลกสญฺญา
เป็นต้น. ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๘๐/๙๙, อภิ.สำ. (บาลี) ๓๔/๒๖๔/๗๙. และที่ใกล้
เคียงที่สุดคือเป็นการสรุปมาจากนวสีวถิกาปัพพะในสติปัฏฐาน ที.ม. (บาลี)
๑๐/๓๗๙/๒๕๒-๒๕๔, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๑๒/๘๐-๘๒.
4
ทกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว (๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์
กัดกินแล้ว (๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด
(๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกันสับฟันเป็น
ท่อน ๆ (๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิต
ไหลอาบอยู่ (๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลาคลำ่าไปอยู่
(๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
๓. หมวดอนุสสติ ๑๐ อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ
ได้แก่ (๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า (๒)
ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม (๓) สังฆานุสสติ ระลึก
ถึงคุณของพระสงฆ์ (๔) สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้
ประพฤติปฏิบัติมาไม่ด่างพร้อย (๕) จาคานุสสติ ระลึกถึงทาน
ที่ตนเคยบริจาคแล้ว (๖) เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมที่
ทำาให้คนเทวดา (๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีแก่
ตน (๘) กายคตาสติ สติกำาหนดพิจารณาอาการ ๓๒ ใน
ร่างกาย (๙) อานาปานสติ สติกำาหนดลมหายใจเข้าออก
(๑๐) อุปสมานุสสติ ระลึกถึงธรรมคือพระนิพพานอันเป็นที่
ระงับกิเลส
๔. หมวดอัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร ๔ ธรรมที่พึงแผ่
ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณไม่จำากัดขอบเขต ได้แก่ (๑)
เมตตา ความปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (๒)
กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ (๓) มุทิตา ความ
พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง
๕. หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา ความสำาคัญในอาหาร
ว่าเป็นของปฏิกูลคือพิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียดโดย
อาการต่าง ๆ เช่น ปฏิกูลโดยบริโภค เป็นต้น
องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๔๗๓-๔๘๒/๔๓, ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๓/๕,
ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๘๐/๙๙.
ที.สี. (บาลี) ๙/๕๕๖/๒๔๕-๒๔๖, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๖๒/๑๖๒,
ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๐๘/๒๐๐.
ในพระสูตรมาด้วยกันกับอสุภะ ๕ ที่มาในชุดสัญญา ๑๐. องฺ.เอ
กก. (บาลี) ๒๐/๔๖๓-๔๗๒/๔๓.
5
๖. หมวดจตุธาตุววัตถาน การกำาหนดธาตุ ๔ คือ
พิจารณาร่างกายนี้แยกแยะออกไปมองเห็นส่วนประกอบ
ร่างกายต่าง ๆ ว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ได้แก่
(๑) ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกาย
ที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน (๒) อาโปธาตุ ธาตุนำ้า คือ ธาตุที่มี
ลักษณะเอิบอาบ ดูดซึมในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน
(๓) เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ความร้อนใน
ร่างกาย (๔) วาโยธาตุ คือ ธาตุลม ธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา
ภาวะหวั่นไหว ในร่างกายที่ใช้กำาหนดเป็นอารมณ์ของกัมมัฏ
ฐาน
๗. หมวดอรูป ๔ กรรมฐานที่กำาหนดเอาสิ่งที่ไม่มีรูป
เป็นอารมณ์ ได้แก่ (๑) อากาสานัญจายตนะ กำาหนดที่ว่างหา
ที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๒) วิญญาณัญจายตนะ กำา หนด
วิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๓) อากิญจัญญายตนะ
กำาหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์ (๔) เนวสัญญานา
สัญญายตนะ ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
๒ อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านรวบรวมอารมณ์หรือภูมิของ
วิปัสสนากัมมัฏฐานจากพระไตรปิฎกมาจัดไว้เป็น ๖ หมวด คือ
๑. หมวดขันธ์ ๕ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้า
หมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์
บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น ได้แก่ (๑) รูปขันธ์ ส่วนที่เป็น
รูปคือร่างกายพฤติกรรมและคุณสมบัติต่าง ๆ ของร่างกาย (๒)
เวทนาขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่เสวยอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์
หรือเฉย ๆ (๓) สัญญาขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่กำาหนดหมายรู้ใน
ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๘/๒๕๑-๒๕๒, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๑๑/๘๐,
ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๓๔๙-๓๕๒/๓๐๗-๓๐๙.
ที .ป า . (บ า ลี ) ๑ ๑ /๓ ๐ ๘ /๒ ๐ ๐ , สำ .ส ฬ า . (บ า ลี )
๑๘/๓๓๖-๓๓๙/๒๔๒-๒๔๔.
วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๔๓๑/๘๒.
อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑/๑, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๔๓๑/๘๒, สงฺคห .
(บาลี) ๑/๔๕/๔๘.
6
อารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์ เป็นต้น (๔) สังขารขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่
ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ (๕) วิญญาณขันธ์
ส่วนที่ทำาหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ทางทวาร ๖ มีจักษุทวาร เป็นต้น
๒. หมวดอายตนะ ๑๒ แดนเชื่อมต่อระหว่างตัวเรากับ
สิ่งแวดล้อมภายนอก คือ อายตนะภายใน ๖ ประการ ได้แก่
(๑) จักขุ ตา (๒) โสตะ หู (๓) ฆานะ จมูก (๔) ชิวหา ลิ้น (๕)
กาย ร่ายกาย (๖) มโน ใจ และอายตนะภายนอก ๖ ประการ
ได้แก่ (๑) รูปะ รูป (๒) สัททะ เสียง (๓) คันธะ กลิ่น (๔) รสะ
รส (๕) โผฏฐัพพะ สิ่งถูกต้องกาย (๖) ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่
เกิดกับใจ
๓. หมวดธาตุ ๑๘ สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตาม
ที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำาหนดแห่ง
ธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็น
แบบจำาเพาะตัว อันพึงกำาหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ได้แก่
(๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ์
(๓) จักขุวิญญาณ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุ
คือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสต
วิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆาน
ปสาท (๘) คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณ
ธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหา
ปสาท (๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณ
ธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท
(๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณ
ธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ (๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธัมม
ธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโน
วิญญาณ
อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑๖๘/๘๕, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๕๑๐/๑๒๕, สงฺ
คห. (บาลี) ๑/๔๔/๔๘.
อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑๘๓/๑๐๒, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๕๑๗/๑๒๙, สงฺ
คห. (บาลี) ๑/๔๕/๔๘.
7
๔. หมวดอินทรีย์ ๒๒ คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำากิจ
ของตน ทำาให้ธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตนในกิจนั้น
ๆ ในขณะที่เป็นอยู่นั้น ได้แก่ (๑) จักขุนทรีย์ อินทรีย์คือ จักขุ
ปสาท (๒) โสตินทรีย์ อินทรีย์คือโสตปสาท (๓) ฆานินทรีย์
อินทรีย์คือฆานปสาท (๔) ชิวหินทรีย์ อินทรีย์คือชิวหาปสาท
(๕) กายินทรีย์ อินทรีย์คือกายปสาท (๖) มนินทรีย์ อินทรีย์คือ
ใจ (๗) อิตถินทรีย์ อินทรีย์คืออิตถีภาวะ (๘) ปุริสินทรีย์
อินทรีย์คือปุริสภาวะ (๙) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต (๑๐)
สุขินทรีย์ อินทรีย์คือสุขเวทนา (๑๑) ทุกขินทรีย์ อินทรีย์คือ
ทุกขเวทนา (๑๒) โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา
(๑๓) โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา (๑๔) อุเปก
ขินทรีย์ อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา (๑๕) สัทธินทรีย์ อินทรีย์
คือศรัทธา (๑๖) วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือวิริยะ (๑๗) สตินทรีย์
อินทรีย์คือสติ (๑๘) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ ได้แก่ เอกั
คคตา (๑๙) ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา (๒๐) อนัญ
ญตัญญัสสามี-ตินทรีย์ อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจ
จธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ (๒๑) อัญญินทรีย์
อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลางโสต
าปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (๒๒) อัญญาตาวินทรีย์
อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระ
อรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ
๕. หมวดอริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ความ
จริงที่ทำาให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่ (๑) ทุกข์ ความทุกข์
สภาพที่ทนได้ยาก โดยสรุปได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ (๒)
ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (๓) ทุกขนิโรธ ความดับ
ทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไปคือพระนิพพาน (๔)
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คือ
อริยมรรคมีองค์ ๘
อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๒๑๙/๑๔๕, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๕๒๕/๑๓๖, สงฺ
คห.(บาลี) ๑/๑๘/๔๕.
อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๑๘๙/๑๑๗, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๔๒๙/๑๓๙, สงฺ
คห.(บาลี) ๑/๔๖/๔๘.
8
๖. หมวดปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ การเกิดขึ้นพร้อม
แห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิด
ขึ้น ได้แก่ (๑) อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้อริยสัจ ๔ (๒) สังขาร
สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร ๓ หรืออภิสังขาร ๓ (๓)
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ๖ (๔) นามรูป
นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ (๕)
สฬายตนะ อายตนะ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ (๖) ผัสสะ
ความกระทบ ได้แก่ สัมผัส ๖ (๗) เวทนา ความเสวยอารมณ์
ได้แก่ เวทนา ๖ (๘) ตัณหา ความทะยานอยาก ได้แก่
ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น (๙) อุปาทาน ความยึดมั่น ได้แก่
อุปาทาน ๔ (๑๐) ภพ ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ ๓ (๑๑) ชาติ
ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย (๑๒) ชรา
มรณะ ความแก่และความตาย
จะเห็นได้ว่าอารมณ์หรือเครื่องมือที่ใช้เป็นสื่อสำาหรับ
เจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นต่างจากอารมณ์ของสมถกรรมฐาน
กล่าวคือ อารมณ์ของสมถกรรมฐานผู้ปฏิบัติอาจจะนำาเรื่องที่
เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตมาเป็นอารมณ์ขณะปฏิบัติก็ได้
ตัวอย่างการนำาเรื่องอดีตมาเป็นอารมณ์ เช่น พุทธานุสสติ(สติ
ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า) ตัวอย่างการใช้สิ่งปัจจุบันเป็น
อารมณ์ เช่น กำาหนดพิจารณาลมหายใจเข้าออก และตัวอย่าง
การนำาเรื่องที่ยังไม่มาถึงมาเป็นอารมณ์ เช่น มรณัสสติ การ
ระลึกถึงความตายอันจะเกิดมีแก่ตน เป็นต้น จุดมุ่งหมายเพียง
เพื่อให้ใจตั้งมั่น สงบจากนิวรณ์ ๕
ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานย่อให้สั้นก็คือมีรูป
นามที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นเป็นอารมณ์ การพิจารณาจึงจะได้ผล
สามารถเห็นแจ้งรู้ทันได้โดยง่าย เพราะการเจริญวิปัสสนา
กรรมฐานมีวัตถุประสงค์อยู่ที่ต้องการให้เกิดปัญญาเพื่อ
พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงกล่าวคือ
สรรพสิ่งมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไป หรือมีสภาพ
ไม่แน่นอน แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา(อนิจจัง) ทนอยู่อย่างนั้น
ตลอดไปไม่ได้(ทุกขัง) และไม่อยู่ในอำานาจบังคับของใคร
อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๒๒๕/๑๖๑, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๕๗๐/๑๖๖, สงฺ
คห.(บาลี) ๑/๔/๕๐.
9
เพราะเป็นสิ่งไม่มีตัวตนที่แท้จริง(อนัตตา) ดังนั้น อารมณ์ของ
วิปัสสนากรรมฐานจึงครอบคลุมทุกเรื่องที่มนุษย์เข้าไป
เกี่ยวข้อง แม้แต่อารมณ์ของสมถะก็นำามากำาหนดพิจารณา
ให้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ เช่น การพิจารณาเห็นถึงความ
ไม่เที่ยง ไม่คงทนอยู่ในสภาพเดิม และความหาตัวตนที่แท้จริงไม่
ได้ในอสุภะทั้ง ๑๐ และในกสิณ ๑๐ เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน
กรรมฐานถือว่าเป็นหลักคำาสอนที่สำาคัญยิ่งในการ
ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา ทั้ง
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อชำาระ
สรรพกิเลสออกจากจิตใจเช่นเดียวกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายที่เป็น
ข้อยิ่งข้อหย่อนต่างกันดังนี้
๑ จุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐาน
สมถกรรมฐานมีหลักการทำาคือกำาหนดจิตไว้กับสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งจนกระทั่งจิตแน่วแน่ตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน ความแน่วแน่ตั้งมั่น
แห่งจิตนี้เรียกว่าสมาธิ(Concentration) เมื่อสมาธิแน่วแน่
แนบแน่นอย่างเต็มที่แล้วก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า
ฌาน(Absorption) สมาธิจิตระดับฌานจะทำาหน้าที่เข้าไป
สงบระงับอกุศลธรรมที่เป็นนิวรณ์ซึ่งเป็นปริยุฏฐานกิเลส
หมาย
ถึง กิเลสที่กลุ้มรุมรบกวนอยู่ภายในจิตยังไม่แสดงออก
ภายนอก จัดเป็นกิเลสอย่างกลาง ๕ อย่าง คือ (๑) กาม-ฉันทะ
ความพอใจในกาม (๒) พยาบาท ความคิดร้ายขัดเคืองใจ (๓)
ถีนมิทธะ ความท้อแท้หดหู่ (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
รำาคาญใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย จุดมุ่งหมายขั้น

เป็นกิเลสประเภทหนึ่งในบรรดากิเลสซึ่งจัดตามลำาดับความหยาบ
ละเอียดและปานกลาง ๓ ชนิด คือ (๑) อนุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่
ภายในจิตชั้นลึก จัดเป็นกิเลสชั้นละเอียดที่สุด (๒) ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสที่
รบกวนจิตไม่ให้สงบ จัดเป็นกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ ๕ (๓) วีติกกมกิเลส
กิเลสที่ประทุออกมาเป็นเหตุให้แสดงอาการที่ไม่เหมาะสมทางกายและวาจา
เช่น การละเมิดศีล เป็นต้น จัดเป็นกิเลสอย่างหยาบ. วิ.อ. (บาลี) ๑/-/๒๑.
องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๕๑/๕๙.
10
สุดท้ายของการเจริญสมถกรรมฐานก็เพื่อทำาจิตให้เข้าถึงฌาน
นี้เอง สมาธิที่เกิดในฌานจะมีระดับที่ต่าง ๆ กันโดยถือเอาความ
ละเอียดประณีตของจิตที่เกิดในฌานนั้นเป็นข้อแบ่งแยกดังนี้
ก.สมถกรรมฐานที่กำาหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ส่ง
ผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงฌานที่เรียกว่ารูปฌานขั้นต่าง ๆ
๔ ระดับ กำาหนดตามลำาดับความละเอียดของจิต คือ
๑. ปฐมฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๕ อย่าง
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๓ อย่าง
คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๒ อย่าง
คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๒ อย่าง
คือ อุเบกขา เอกัคคตา
ข.สมถกรรมฐานที่กำาหนดเอาอรูปธรรมเป็นอารมณ์ส่ง
ผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงฌานที่เรียกว่าอรูปฌานขั้นต่าง
ๆ ๔ ระดับ กำาหนดตามลำาดับความละเอียดของจิตและอารมณ์
ที่ใช้กำาหนด คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ ฌานอันกำาหนดอากาศ
คือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
๒. วิญญานัญจายตนะ ฌานอันกำาหนดวิญญาณ
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ ฌานอันกำาหนดภาวะที่
ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌานที่เข้าถึงภาวะมี
สัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ม.มู. (บาลี) ๑๒/๕๑/๒๙. ในคัมภีร์วินัยปิฎกและสุตตันตปิฎก นิยม
แบ่งรูปฌานออกเป็น ๔ ชั้น ส่วนคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นิยมแบ่งรูปฌานออก
เป็น ๕ ชั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรกทุติยฌาน
ที่มีองค์ประกอบ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามาแล้วเลื่อน ทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในฌาน ๔ นี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน
และปัญจมฌาน ตามลำาดับ.
ที .ป า . (บ า ลี ) ๑ ๑ /๓ ๐ ๘ /๒ ๐ ๐ , สำ .ส ฬ า . (บ า ลี )
๑๘/๓๓๖-๓๓๙/๒๔๒-๒๔๔.
11
รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เหล่านี้รวมเรียกว่า
สมาบัติ ๘ อันเป็นผลโดยตรงของการเจริญสมถกรรมฐาน มีผล
ทำาให้จิตแน่วแน่ปลอดจากนิวรณ์จัดว่าเป็นวิมุตติอย่างหนึ่งเรียก
ว่า วิกขัมภนวิมุตติ กล่าวคือ การหลุดพ้นด้วยข่มกิเลสไว้ได้
ตราบเท่าที่จิตยังอยู่ในฌาน เมื่อออกจากฌานแล้วกิเลสก็
ครอบงำาได้อีกจึงยังเป็นความหลุดพ้นยังถาวร นอกจากนี้ผู้
เจริญสมถกรรมฐานจนสามารถทำาฌานให้เกิดขึ้นแล้วยังจะได้
รับผลพลอยได้คือความสามารถพิเศษซึ่งเรียกว่าอภิญญา ๕
อย่าง ได้แก่ (๑) แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) มีหูทิพย์ (๓)
กำาหนดรู้ใจคนอื่นได้ (๔) ระลึกชาติได้ (๕) มีตาทิพย์
๒ จุดมุ่งหมายของวิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิธีการฝึกจิตให้เข้าไป
เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างมีสติสัมปชัญญะ เพื่อป้องกัน
กำาจัดกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานและเพื่อกำาจัดอนุสัย
กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจให้หมดไป ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานเต็ม
ที่แล้วจะเกิดผลคือยถาภูตญาทัสสนะกล่าวคือปัญญาที่รู้เห็น
สภาวธรรมตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ใน
ลักษณะ ๓ ประการ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญา
ที่รู้เห็นไตรลักษณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างประจักษ์แจ้งกับ
ตัวผู้ปฏิบัติเอง มิใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการนึกคิดคาดคะเน
เอาและมิใช่เกิดขึ้นจากการเชื่อหรือได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่น
เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วจิตก็จะปล่อยวางไม่เข้าไปยึดมั่นถือ
มั่นด้วยอำานาจอุปาทานในสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถกำาจัด
อภิญญาในพระบาลีมี ๖ ข้อ ข้อที่ ๖ คือ ญาณที่ทำาให้สิ้นอาสวะไป
จัดเป็นโลกุตตรอภิญญา ในที่นี้ยกมาเพียง ๕ ข้ออันเป็นโลกิยอภิญญา มุ่ง
แสดงผลพลอยได้จากการเจริญสมถกรรมฐานเท่านั้น. ที.ป า . (บาลี)
๑๑/๓๕๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๒/๒๗๑-๒๗๒.
หมายถึงกิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานเป็นกิเลสชนิดละเอียด
ที่สุดมี ๗ อย่างคือ (๑) กามราคะ ความกำาหนัดในกาม (๒) ปฏิฆะ ความ
หงุดหงิด (๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด (๔) วิจิกิจฉา ควาลังเลสงสัย (๕) มานะ
ความถือตัว (๖) ภวราคะ ความกำาหนัดในภพ (๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง
ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๑๗๖/๕๕, องฺ.สตฺตก.
(บาลี) ๒๓/๑๑/๘.
12
กิเลสได้อย่างถาวร บรรลุมรรค ผล นิพพาน จิตเข้าถึงสภาวะ
ที่บริสุทธิ์ดังพระบาลีว่า “เมื่อใด มาพิจารณาเห็นว่า สังขารทั้ง
ปวงไม่เที่ยง…สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์…ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นหนทางแห่ง
ความบริสุทธิ์”
อย่างไรก็ตามถึงสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน
จะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดต่างกันก็ตาม แต่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ
ถึงจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาจำาเป็นต้องอาศัย
กรรมฐานทั้งสองเป็นเครื่องช่วยเกื้อกูลสนับสนุนกล่าวคือเบื้อง
ต้นอาจเจริญสมถกรรมฐานให้จิตสงบ ตั้งมั่น แน่วแน่ บรรลุถึง
ฌานสมบัติก่อนแล้วจึงใช้จิตที่สงบ ตั้งมั่น เป็นฐานในการ
เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้ หรือผู้ปฏิบัติอาจเริ่มเจริญ
วิปัสสนากรรมฐานก่อนโดยใช้สมถกรรมฐานเพียงเล็กน้อย
เป็นฐานก็ได้หรืออาจเจริญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนา
กรรมฐานควบคู่กันไปก็ได้
ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๖๔.
13
๒.๖ มหาสติปัฏฐานสูตร : หลักการและสาระแห่งการ
ปฏิบัติกรรมฐาน
๒.๖.๑ หลักการและสาระสำาคัญแห่งสติปัฏฐาน
การเจริญกรรมฐานในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏใน
พระไตรปิฎกมีมากมายทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนา
กรรมฐาน แต่หลักการปฏิบัติกรรมฐานที่สมบูรณ์ที่สุดปรากฏ
อ ยู่ ใ น ม ห าสติ ปั ฏฐ าน สู ต ร ใน พ ร ะ สู ต ร นี้ คำา ว่ า ส ติ
(mindfulness) ตรงกับคำาว่า สมฺฤติ ในภาษาสันสกฤต มี
ความหมายว่า ความระลึกได้ ความใส่ใจที่ดี ที่ฉลาดหรือเป็น
กุศลตามความหมายในทางพุทธธรรม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง
ความมีสติในพระสูตรนี้ จึงมีความหมายอย่างเดียวกับสัมมาสติ
ความมีสติถูกต้องซึ่งเป็นองค์ที่เจ็ดของอริยมรรคมีองค์แปดและ
สติยังจัดเป็นองค์ประกอบข้อต้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เพราะเป็น
พื้นฐานความเจริญก้าวหน้าของโพชฌงค์ข้ออื่น ๆ อีก ๖ ข้อ
การปฏิบัติวิปัสสนาให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริงจะสำาเร็จผล
ได้ต้องอาศัยสติเป็นหลักสำาคัญ
ส่วนคำาว่า ปัฏฐาน (foundation) แปลว่า ตั้งไว้มั่น
หมายความว่า คงรักษาใจไว้ คงความรู้ตัวไว้ ดังนั้น พระบาลี
ที .ม . (บ า ลี ) ๑ ๐ /๓ ๗ ๒ -๔ ๐ ๕ /๒ ๔ ๘ -๒ ๖ ๙ , ม .มู . (บ า ลี )
๑๒/๑๐๕-๑๓๘/๗๗-๙๗, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๓๕๕-๓๘๙/๒๒๙-๒๔๘. ใน
พระสูตรทั้งสองแห่งพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเรียกชื่อว่ามหาสติปัฏฐาน
สูตรเหมือนกันและมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ส่วนที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎก
เรียกชื่อว่า สติปัฏฐานวิภังค์.
Nyanaponika Thera, The Heart of Buddhist
Meditation, (Kandy : Buddhist Publication Society, 1996),
P.9.
14
ที่ว่า สตึ อุปฏฺฐเปตฺวาที่ใช้ในพระสูตรนี้จึงมีความหมายว่า
รักษาความมีสติให้คงไว้หรือหมายถึง การปรากฏอยู่แห่งสติ
หรือการตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐาน
อีกนัยหนึ่ง สติปัฏฐาน มีความหมายว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งสติ หรือการปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธาน ดังนั้น พระสูตรนี้
จึงประสงค์จะเน้นความสำาคัญและความจำาเป็นของสติที่จะนำา
ไปใช้ในงานคือการกำาจัดกิเลสและในงานทั่วไปดังพุทธพจน์ที่
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติว่าเป็นธรรมที่จำาเป็นต้องใช้ใน
ทุกกรณี” และแสดงถึงว่าชีวิตเรามีจุดที่ควรใช้สติกำากับดูแล
ทั้งหมดเพียง ๔ แห่ง คือ
๑. ร่างกายพร้อมทั้งพฤติกรรม โดยใช้สติกำาหนด
พิจารณาให้เห็นเป็นเพียงร่างกายและพฤติกรรมที่แสดงออก
ตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน
เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับร่างกายและ
พฤติกรรมนั้น เรียกว่า กายานุปัสสนา
๒ เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นต้น โดยใช้สติ
กำาหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียงเวทนาตามที่มันเป็นในขณะ
นั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไป
เกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า เวทนา
นุปัสสนา
๓ จิต คือผู้ทำาหน้าที่รู้อารมณ์ โดยใช้สติกำาหนด
พิจารณาให้เห็นเป็นเพียงจิตตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้
ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรง
เข้าไปกับจิตที่กำาลังเป็นไปนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนา
๔ สภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา และจิต
นั้น โดยใช้สติกำาหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมตาม
มันเป็นอยู่เกิดอยู่ในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน
ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๐๗/๗๗.
วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๑๘/๒๙๕.
ที.ม.อ. (บาลี) ๒/๓๗๓ /๓๖๘, ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๑๐๖/๒๕๓.
สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๒๓๔/๑๐๒.
15
เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับสภาวธรรมที่กำาลัง
เป็นไปนั้น เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา
เ มื่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ตั้ ง ใ จ เ จ ริ ญ ส ติ ปั ฏ ฐ า น โ ด ย ใ ช้
สติสัมปชัญญะเข้าไปกำาหนดกาย เวทนา จิตและธรรมที่เข้าไป
เกี่ยวข้องในปัจจุบันขณะเป็นอารมณ์จะส่งผลให้เกิดการรู้เห็น
ตรงตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่กำาลังเป็นอยู่ในขณะ
นั้น จะเห็นได้ว่าการเข้าไปรับรู้ขณะเจริญสติปัฏฐานนั้นสาระ
สำาคัญของการปฏิบัติคือให้มีเฉพาะสติสัมปชัญญะกับอารมณ์
ปัจจุบันล้วน ๆ ที่กำาลังเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่โดยปราศจาก
ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เกิดขึ้นในใจ ปราศจากการคิด
ปรุงแต่งใด ๆ และปราศจากการตัดสินว่า ดีชั่ว ถูกผิด เป็นต้น
เหลืออยู่แต่การรับรู้ที่บริสุทธิ์เท่านั้นกล่าวคือต้องเข้าไป
เกี่ยวข้องหรือเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ
ด้วยความมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันสิ่งนั้น ๆ ตามความเป็นจริง
โดยไม่เปิดโอกาสให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตนอันเป็นเหตุเกิดแห่ง
อกุศลธรรมต่าง ๆ ได้ช่องเกิดขึ้น ซึ่งมีหลักการปฏิบัติที่สำาคัญ
ดังต่อไปนี้
๒ .๖ .๑ .๑ ก า ย า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร
พิจารณาดูกาย
๑. อานาปานปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาลมหายใจ-
เข้า-ออก
การเจริญสติปัฏฐานโดยวิธีใช้สติกำาหนดพิจารณาลม
หายใจที่เคลื่อนไหวเข้าออกตามช่องทางการหายใจในกายนี้
อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการปฏิบัติดังนี้ (๑) ขณะหายใจเข้า-
หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า-หายใจออกยาว (๒)
ขณะหายใจเข้า-หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า-หายใจ
ออกสั้น (๓) สำาเหนียก
ว่า จะกำาหนดรู้กองลมทั้งปวงทุกขณะ
ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๔/๒๔๘–๒๔๙.

สำาเหนียก หมายถึง จดจำา คอยเอาใจใส่ ใส่ใจคิดที่จะนำาไป
ปฏิบัติ ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำาไปปฏิบัติให้สำาเร็จ
ประโยชน์. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ
16
ที่หายใจเข้า-ออก (๔) สำาเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร
ทุก
ขณะที่หายใจเข้า-ออก
ผลของการกำาหนดลมหายใจเบื้องต้นคือ ผู้ปฏิบัติจะ
ประสบความสงบระงับและความแน่วแน่แห่งจิต เป็นการปูพื้น
ฐานเตรียมจิตให้มีกำาลังพร้อมที่จะเป็นสนามปฏิบัติการทาง
ปัญญาเพื่อเข้าถึงยถาภูตญาณทัสสนะ กล่าวคือปัญญาที่
เข้าไปรู้เห็นความเป็นจริงของลมหายใจและสิ่งที่เนื่องด้วยลม
หายใจคือชีวิตว่าตกอยู่ภายใต้ลักษณะ ๓ อย่าง คือ ความไม่
เที่ยงเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่และมิใช่ตัวตนแท้จริงที่จะเข้าไป
ยึดถือได้จนจิตปล่อยวางไม่เป็นที่แอบอิงของตัณหา มานะ
ทิฏฐิ ต่อไป
การเจริญสติปัฏฐานโดยกำาหนดลมหายใจเข้าออกใน
มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เพียง ๔ ขั้น
เท่านั้น ส่วนวิธีการกำาหนดลมหายใจเข้าออกหรือเรียกกันว่า
อานาปานสติแบบสมบูรณ์ทรงแสดงไว้ในอานาปานสติสูตรและ
ในที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ทั้งนี้เพราะอานาปานสติเป็นกรรมฐาน
ที่ปฏิบัติได้สะดวกมีผลดีต่อร่างกายและจิตใจดังพระพุทธองค์
ทรงยกตัวอย่างที่ผ่านมาว่าพระองค์เองก่อนแต่ตรัสรู้ ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ทรงเป็นอยู่ด้วยการเจริญธรรมเครื่องอยู่
คืออานาปานสตินี้เสมอ เมื่อทรงเป็นอยู่อย่างนี้ ร่างกาย ดวงตา
ก็ไม่เหน็ดเหนื่อย และจิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ไม่เข้าไปถือมั่นพร้อมกับทรงชักชวนเหล่าภิกษุให้เจริญอานา
ปานสติตาม นอกจากนี้ อานาปานสติยังแสดงถึงหลักการปฏิบัติ
ประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๓๓), หน้า ๓๓๘
∗
กายสังขารในที่นี้ คือ สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า
ออกที่เป็นปัจจัยให้ร่างกายดำารงอยู่ได้นั่นเอง คำาว่า ระงับกายสังขาร จึง
หมายถึง การผ่อนคลายลมหายใจที่หยาบให้ละเอียดขึ้นไปโดยลำาดับจนถึง
ขั้นที่จะต้องพิสูจน์ว่ามีลมหายใจอยู่หรือไม่ วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๒๐/๒๙๙.
อาการดังกล่าวเปรียบเหมือนเสียงเคาะระฆังครั้งแรกจะมีเสียงดังกังวานแล้ว
แผ่วลงจนถึงเงียบหายไปในที่สุด. วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๗๑/๑๕๔.
สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๙๘๔/๒๗๔.
17
ที่ครอบคลุมสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิตและธรรม
อย่างครบถ้วนซึ่งมีลำาดับขั้นตอนการปฏิบัติถึง ๑๖ ขั้น ดังนี้
หมวดที่ ๑ ตั้งกำาหนดพิจารณากายคือลมหายใจ แบ่ง
การปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น เหมือนอานาปานปัพพะในมหาสติ
ปัฏฐานสูตร คือ (๑) ขณะหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจ
เข้า-ออกยาว (๒) ขณะหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจ
เข้า-ออกสั้น (๓) รู้ชัดเจนถึงกองลมทั้งปวงทุกขณะที่หายใจ
เข้า-ออก (๔) ระงับกายสังขารทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก
หมวดที่ ๒ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาเวทนา แบ่งการ
ปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๕) รู้ชัดปีติทุกขณะที่หายใจเข้า-
ออก (๖) รู้ชัดสุขทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๗) รู้ชัดจิตต
สังขารทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๘) ระงับจิตตสังขารทุก
ขณะที่หายใจเข้า-ออก
หมวดที่ ๓ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาจิต แบ่งการปฏิบัติ
ออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๙) รู้ชัดจิตทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก
(๑๐) ทำาจิตให้บันเทิงทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๑) ทำาจิต
ให้ตั้งมั่นทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๒) ปลดเปลื้องจิตทุก
ขณะที่หายใจเข้า-ออก
หมวดที่ ๔ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาธรรม แบ่งการ
ปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๑๓) พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง(ใน
กาย เวทนา จิต)ทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๔) พิจารณาเห็น
ความคลายออกทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๕) พิจารณาเห็น
ความดับทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๖) พิจารณาเห็นความ
สละคืนทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก
ดังนั้น อานาปานสติจึงเป็นหลักการเจริญสติปัฏฐานที่
สำาคัญอีกแนวหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่จะนำาพาผู้ปฏิบัติให้เข้า
ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือความดับทุกข์ได้
๒. อิริยาปถปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาอิริยาบถหลัก
ใหญ่ ๔
วิ .ม ห า . (บ า ลี ) ๑ /๑ ๖ ๕ /๙ ๕ -๙ ๗ , สำ .ม . (บ า ลี )
๑๙/๙๗๗/๒๖๙-๒๗๐, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๑๔๘-๑๔๙/๑๓๐-๑๓๓.
18
การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีกำาหนดรู้อิริยาบถหลัก
ใหญ่ที่กำาลังเคลื่อนไหวหรือหยุดอยู่ในปัจจุบันขณะที่เกิดขึ้น
กับกายนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการปฏิบัติดังนี้ (๑) ขณะ
เดิน ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังเดิน (๒) ขณะยืน ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังยืน
(๓) ขณะนั่ง ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังนั่ง (๔) ขณะนอน ก็รู้ตัวชัดว่า
กำาลังนอน
การเจริญกรรมฐานในอิริยาบถหลักใหญ่ทั้ง ๔
เป็นการสร้างพื้นฐานและเตรียมความพร้อมที่จะกำาหนด
อิริยาบถย่อยต่อไป ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องใช้สติกำาหนดรู้ให้
ชำานาญในอิริยาบถหลักทั้ง ๔ เป็นเบื้องต้นโดยยึดหลักว่า
“เมื่อกายดำารงอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำารงอยู่โดย
อาการนั้น ๆ” กล่าวคือให้กำาหนดรู้เป็นเพียงสักว่าอาการ
เท่านั้น อย่าให้ความรู้สึกสำาคัญผิดว่าเป็นตัวตน เรา เขา ได้
ช่องเกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหว เมื่อสติเกิดความชำานาญในการ
กำาหนดอิริยาบถทั้ง ๔ ก็จะส่งผลให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ
คือปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงพร้อมกับกำาจัดความรู้สึกที่
เป็นตัวตน เรา เขา อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นที่แฝงอยู่ใน
ร่างกายจิตใจนี้และเป็นที่แอบอิงของกิเลสอื่น ๆ อีกมากมาย
๓. สัมปชัญญปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาอิริยาบถ
ย่อยต่าง ๆ
การเจริญสติปัฏฐานโดยวิธีใช้สติสัมปชัญญะทำาความ
รู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งอิริยาบถใหญ่
และอิริยาบถย่อยที่กำาลังเคลื่อนไหวและหยุดอยู่ในปัจจุบัน
ขณะ เช่น การเหยียดแขน การคู้แขน เป็นต้น โดยการปฏิบัติ
ดังนี้ (๑) ทำาความรู้สึกตัวในการก้าวไปและถอยกลับ (๒)
ทำาความรู้สึกตัวในการแลดูไปข้างหน้าและเหลียวดูในทิศอื่น ๆ
(๓) ทำาความรู้สึกตัวในการคู้แขนเข้าและการเหยียดแขนออก
(๔) ทำาความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร (๕)
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๒๔๙-๒๕๐.
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๒๔๙-๒๕๐.
ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๖/๒๕๐.
19
ทำาความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส (๖) ทำาความรู้สึกตัว
ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ (๗) ทำาความรู้สึกตัวในการเดิน
ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง
จะเห็นได้ว่าการเจริญสติในสัมปชัญญปัพพะมีหลัก
การปฏิบัติครอบคลุมทุกอิริยาบถที่กำาลังเคลื่อนไหวและหยุดอยู่
ซึ่งเป็นการปฏิบัติขั้นที่ละเอียดลึกลงไป โดยยึดหลักการและวิธี
การปฏิบัติเหมือนอิริยาบถหลักใหญ่ทั้ง ๔ และมีวัตถุประสงค์
อย่างเดียวกันคือเพื่อถอนความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา อัน
เป็นที่แอบอิงอาศัยของตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเพื่อเกิดยถาภูต
ญาณทัสสนะจนสามารถถอนความยึดมั่นถือมั่นได้ในที่สุด
๔. ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ว่าด้วยการใส่ใจนึกถึงกาย
ว่าเป็นของปฏิกูล
การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาถึงความ
เป็นของปฏิกูลที่มีอยู่ในกายนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการ
ปฏิบัติดังนี้
ให้พิจารณาดูกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้อง
ล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด นำ้าเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น นำ้าตา มันเหลว นำ้าลาย นำ้ามูก ไขข้อ นำ้ามูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงวิธีการพิจารณาส่วนต่าง ๆ
ในร่างกายทั้งหมดดังกล่าวมาให้เห็นถึงรูปร่างของชิ้นส่วนต่าง
ๆ พร้อมกับความสกปรกไม่สะอาดของแต่ละชิ้นส่วนอย่าง
ชัดเจนจนเกิดมโนภาพในใจ เหมือนคนตาดีพบถุงมีปากสอง
ข้างบรรจุเต็มด้วยธัญญชาติชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าว
เปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร แล้วแก้ถุงนั้นออก
ตรวจดู ก็จะพึงเห็นและแยกแยะธัญญชาติเหล่านั้นออกได้ว่า
นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้เมล็ดงา นี้
ข้าวสาร
ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๗/๒๕๐-๒๕๑.
20
๕. ธาตุมนสิการปัพพะ ว่าด้วยการใส่ใจพิจารณา
กายโดยความเป็นธาตุ ๔
การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาถึงร่างกาย
โดยความเป็นกองธาตุอย่างมี
สติสัมปชัญญะปราศจากความรู้สึกว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล
เรา เขา มีวิธีปฏิบัติดังนี้ “ให้พิจารณาดูกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตาม
ที่ปรากฏอยู่โดยเป็นเพียงธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุนำ้า
ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่”
ในข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงการพิจารณาร่างกาย
ว่าเป็นเพียงกองแห่งธาตุ ๔ อย่างเท่านั้น เปรียบเทียบกับคน
ฆ่าวัวหรือลูกมือของคนฆ่าวัวผู้ชำานาญ ครั้นฆ่าแม่วัวแล้ว ก็
ชำา แหละเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง
เป็นการพิจารณาลึกลงไปให้เข้าถึงแก่นแท้หรือสภาพเดิมแห่ง
ร่างกายที่มาจากการประกอบคุมกันขึ้นจากธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุ
ดิน ธาตุนำ้า ธาตุไฟ ธาตุลม
๖. นวสีวถิกาปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาพิจารณา
ซากศพ ๙ ลักษณะ
การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาซากศพ
ดำารงอยู่ ๙ ลักษณะอย่างมีสติสัมปชัญญะแล้วย้อนกลับนำา
กายของตนเข้าไปเปรียบเทียบว่า ถึงแม้กายนี้ ก็จะมีความเป็น
อย่างนี้เป็นธรรมดา ก็จะมีภาวะอย่างนี้ ไม่พ้นความเป็นอย่างนี้
ไปได้ ซากศพ ๙ ลักษณะคือ
(๑)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ตายแล้ววัน
หนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวน่า
เกลียด ศพมีนำ้าเหลืองเฟะ
(๒) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ฝูงนกกา
จิกกินบ้าง ฝูงนกแร้งจิกกินบ้าง ฝูงนกเหยี่ยวจิกกินบ้าง ฝูง
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๘/๒๕๑-๒๕๒.
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๙/๒๕๒-๒๕๔.
21
สุนัขบ้านกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกกัดกินบ้าง ฝูงสัตว์มีชีวิตกัด
กินบ้าง
(๓) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นโครงกระดูก
ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่
(๔)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก
ไม่มีเนื้อ แต่มีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัด
(๕)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก
ไม่มีเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่
(๖)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นเอ็นกระดูก ไม่มี
เอ็นรึงรัดแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามทิศใหญ่ทิศน้อย มีกระดูก
มือ กระดูกเท้า กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกเอว กระดูกแขน
กระดูกไหล่ กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกฟัน กะโหลกศีรษะ
กระจัดกระจายไปคนละทาง
(๗) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูก
สีขาวเหมือนสังข์
(๘) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นท่อนกระดูก
กองอยู่ด้วยกันเกินกว่าปี
(๙) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูก
ผุเปื่อยเป็นผงแล้ว
๒ .๖ .๑ .๒ เ ว ท น า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร
พิจารณาดูเวทนา
ว่าด้วยการกำาหนดรู้เวทนา คือพิจารณาความรู้สึกสุข
ทุกข์ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในตัวเองเป็นอารมณ์ ให้
รับรู้ว่าเป็นเพียงเวทนา ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา
เกิดขึ้นขณะเสวยเวทนา เวทนาที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญ
สติปัฏฐานแบ่งเป็น ๙ ชนิดมีหลักการปฏิบัติดังนี้ (๑) เมื่อ
เสวยเวทนาที่เป็นสุข ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข (๒)
เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็น
ทุกข์ (๓) เมื่อเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวย
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๐/๒๕๔.
22
เวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข (๔) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นสุขมีอามิส ก็รู้
ชัดว่ากำาลังเสวยเทวนาที่เป็นสุขมีอามิส (๕) เมื่อเสวยเวทนาที่
เป็นสุขไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขไม่มีอามิส
(๖) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์มีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวย
เวทนาที่เป็นทุกข์มีอามิส (๗) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ไม่มี
อามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ไม่มีอามิส (๘) เมื่อ
เสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนา
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส (๙) เมื่อเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข
ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี
อามิส
๒ .๖ .๑ .๓ จิต ต า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร
พิจารณาดูจิต
คำาว่า จิต ในที่นี้ หมายถึง ธรรมชาติที่นึกคิดหรือ
ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ได้แก่ รู้รูป รู้ เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้
โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ สำาหรับจิตที่ใช้เป็นอารมณ์ในการ
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น แบ่งเป็น ๑๖ ประเภท
กำาหนดตามสภาวะของจิตให้เห็นเป็นเพียงจิตที่กำาลังเป็นไปใน
ขณะนั้น อย่าให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เข้าไป
เกี่ยวข้อง มีหลักการปฏิบัติดังนี้ (๑) เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ (๒) เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจาก
ราคะ (๓) เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ (๔) เมื่อจิต
ปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ (๕) เมื่อจิตมีโมหะ
สุขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าชอบใจ.
สุขเวทนาที่เกิดในขณะกำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา.
ทุกขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือ กามคุณ ๕.
ทุกขเวทนาที่เกิดในขณะกำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา.
อทุกขมสุขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือ กามคุณ ๕.
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดในขณะที่กำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา.
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๑/๒๕๕.
23
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)

Contenu connexe

Tendances

พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana BuddhismPadvee Academy
 
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานPadvee Academy
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานOnpa Akaradech
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาPadvee Academy
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะPadvee Academy
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์Padvee Academy
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชนPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนPadvee Academy
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 

Tendances (20)

พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซน
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 

En vedette

เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556Kasem S. Mcu
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

En vedette (18)

เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556
หลักวิปัสสนากรรมฐาน เกษม-160556
 
พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2
 
กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
บทที่ ๑ ใหม่
บทที่ ๑ ใหม่บทที่ ๑ ใหม่
บทที่ ๑ ใหม่
 
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
แนวข้อสอบ  100  ข้อแนวข้อสอบ  100  ข้อ
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
 
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎกถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
 
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
 
รายวิชา 000 150 พระอภิธรรมปิฎก แนวข้อสอบ
รายวิชา  000 150  พระอภิธรรมปิฎก แนวข้อสอบรายวิชา  000 150  พระอภิธรรมปิฎก แนวข้อสอบ
รายวิชา 000 150 พระอภิธรรมปิฎก แนวข้อสอบ
 
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
 
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
 

Similaire à กรรมฐาน (เอกสาร ๑)

เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกPanda Jing
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์Padvee Academy
 
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้Theeraphisith Candasaro
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา solarcell2
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้Tongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาNew Nan
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมniralai
 
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะPadvee Academy
 

Similaire à กรรมฐาน (เอกสาร ๑) (20)

เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
 

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (18)

เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎกพัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
 
จิตปรมัตถ์
จิตปรมัตถ์จิตปรมัตถ์
จิตปรมัตถ์
 
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
 
ทิคุสมาส
ทิคุสมาสทิคุสมาส
ทิคุสมาส
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิตบาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
 

กรรมฐาน (เอกสาร ๑)

  • 1. ความหมายของกรรมฐานในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา กรรมฐาน แปลว่า ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติ กิจในหน้าที่ดังปรากฏข้อความในสุภสูตรที่กล่าวถึงสุภมาณพ ทูลถามพระพุทธเจ้าในเรื่องผลของฐานะแห่งการงานหรือการ ปฏิบัติกิจในหน้าที่ระหว่างของคฤหัสถ์ที่มีการตระเตรียมมากมี กิจที่ต้องทำามาก เป็นต้น กับของบรรพชิตที่มีการตระเตรียม น้อยมีกิจที่ต้องทำาน้อย เป็นต้น อย่างไหนจะมีผลมากกว่ากัน พระพุทธองค์ตรัสว่า ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจใน หน้าที่ของคฤหัสถ์ ที่มีการตระเตรียมมากมีกิจที่ต้องทำามาก เป็นต้น เมื่อเหตุปัจจัยสมบูรณ์ก็มีผลมาก แต่เมื่อเหตุปัจจัยไม่ สมบูรณ์ก็มีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจ ในหน้าที่ของบรรพชิต ถึงแม้จะมีการตระเตรียมน้อยมีกิจที่ ต้องทำาน้อย เป็นต้น แต่เมื่อเหตุปัจจัยสมบูรณ์ก็มีผลมาก เมื่อ เหตุปัจจัยไม่สมบูรณ์ก็มีผลน้อย คำาว่า กรรมฐาน ในพระไตรปิฎกชั้นต้นจึงใช้หมาย ถึงการดำาเนินงานในหน้าที่หรือการประกอบอาชีพของแต่ละ ฝ่ายโดยใช้ได้กับการงานฝ่ายคฤหัสถ์และฝ่ายบรรพชิต ส่วน คัมภีร์อรรถกถาท่านจำากัดความหมายของกรรมฐานให้แคบ เข้าโดยใช้กับงานฝึกอบรมจิต(mental development)เพื่อ ให้เกิดสมาธิและปัญญาอย่างเดียวแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ สมถ- ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๖๓-๔๖๔/๔๕๔-๔๕๖. คำาว่า “ฐานะแห่งการงานหรือการปฏิบัติกิจในหน้าที่” ในบาลีพระ ไตรปิฎกใช้คำาว่า “กมฺมฏฺฐานำ” ตรงตัว ในฝ่ายคฤหัสถ์สามารถใช้เรียกการประกอบอาชีพในงานทั่วไปได้ เช่น การประกอบอาชีพกสิกรรมเรียกว่า กสิกรรมฐาน การประกอบอาชีพ ค้าขายเรียกว่า พานิชยกรรมฐาน ถ้าใช้กับฝ่ายบรรพชิตมีความหมายก ว้างครอบคลุมถึงกิจวัตรทุกประเภทที่บรรพชิตควรประพฤติปฏิบัติตลอดถึง การบำาเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อละกิเลสโดยใช้คำาว่า บรรพชากรรมฐาน. ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๖๔/๔๕๕-๔๕๖. ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๓๔/๒๑๖.
  • 2. กรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งความหมายของคำาว่า กรรมฐานตามแนวอรรถกถาตรงกับความหมายของพระบาลี เดิมที่ใช้ในพระพระไตรปิฎกหลายแห่งคือในพระไตรปิฎก บางแห่งใช้คำาว่า วิชชาภาคิยธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นส่วน แห่งการรู้แจ้งสภาวธรรมตามเป็นจริงโดยแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา ในพระบาลีบางแห่งใช้คำาว่า ภาวนา หรือภาเวตัพพธรรม หมายถึงธรรมที่ต้องทำาให้เกิดมีขึ้นในตน บางแห่งใช้คำาว่า อภิญญาธรรม หมายถึงธรรมที่บุคคลควรรู้ แจ้งอย่างยิ่ง บางแห่งใช้คำาว่า อสังขตคามิมรรค หมายถึง ธรรมที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้(พระ นิพพาน) หมวดธรรมดังกล่าวมาได้แบ่งประเภทออกเป็น ๒ อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนาเช่นเดียวกันกับวิชชาภาคิยธรรม จะเห็นได้ว่า คำาว่า กรรมฐาน ในพระไตรปิฎกชั้นต้น ใช้ในความหมายที่กว้างกล่าวคือหมายถึงฐานะแห่งการงาน คือการดำาเนินงานในหน้าที่หรือการประกอบกอาชีพครอบคลุม ถึงหน้าที่ของคฤหัสถ์และบรรพชิต ส่วนคัมภีร์ยุคอรรถกถาได้ อธิบายจำากัดความหมายของกรรมฐานให้แคบเข้าโดยมุ่งเน้น ไปที่การฝึกฝนจิตเพื่อให้เกิดสมาธิและปัญญาจนเข้าถึงจุดมุ่ง หมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาโดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งตรงกับความหมาย ของหมวดธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์พระ ไตรปิฎกคือ วิชชาภาคิยธรรม ภาวนาหรือภาเวตัพพธรรม อภิญญาธรรม อสังขตคามิมรรค ในยุคต่อ ๆ มาจึงรับรู้ความ หมายของกรรมฐานตามแนวการอธิบายของพระอรรถกถา จารย์ว่าเป็นงานสำาหรับฝึกจิตเท่านั้นและคณาจารย์ในยุคหลัง ก็ได้เผยแผ่สั่งสอนกรรมฐานสืบทอดกันต่อ ๆ มาตามแนวความ หมายที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้จนถึงปัจจุบัน องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๓๒/๖๐. ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕๒/๒๔๒, ม.อุ. (บาลี) ๑๒/๔๕๐/๓๘๒. ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๔๓๓/๓๗๓, สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๑๕๙/๔๕, องฺ.จตุ กฺก. (บาลี) ๒๑/๒๕๔/๒๗๕. สำ.สฬา. (บาลี) ๑๘/๓๖๗/๓๑๙. ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๓๔/๒๑๖, สงฺคห. (บาลี) ๑/๑-๒/๕๖. 2
  • 3. ประเภทของกรรมฐาน กรรมฐานในทางพระพุทธศาสนาว่าโดยประเภทแบ่ง ออกเป็น ๒ คือ ๑. สมถกรรมฐาน ได้แก่ การฝึกจิตให้สงบจนเกิด สมาธิโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้จิตยึดเกาะเป็นอารมณ์ เช่น การเพ่งดวงกสิณ การเพ่งซากศพ เป็นต้น หรือการกำาหนดจิต ให้ระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมิให้มีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาใน ระหว่างจนจิตสงบ เช่น การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระ ธรรม พระสงฆ์ การระลึกถึงพระนิพพาน เป็นต้น ๒. วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การฝึกจิตให้มี สติสัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อปรากฏการณ์ทุกอย่างที่เข้าไป เกี่ยวข้องโดยไม่ตกเป็นทาสของปรากฏการณ์เหล่านั้น หรือ การฝึกจิตให้มีสติ สัมปชัญญะรับรู้อารมณ์ตรงตามความเป็น จริงไม่เข้าไปปรุงแต่งและยึดมั่นถือมั่นด้วยอำานาจ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำาลายกิเลสอันเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์และนิสัยความ เคยชินแบบปุถุชนที่รับรู้ต่อปรากฏการณ์ภายนอกโดยมีอนุสัย กิเลสเป็นตัวคอยกำากับอยู่ทำาให้การรับรู้ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีอคติและบิดเบือนจากความจริง การเจริญ วิปัสสนากรรมฐานจึงมีหลักการปฏิบัติคือการการพิจารณา สังเกตตนเองและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองทั้งภายในตัว และภายนอกตัวอย่างมีสติสัมปชัญญะหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ได้ว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็คือการเจริญปัญญา สรุปความว่า กรรมฐาน เป็นงานสำาหรับฝึกฝนพัฒนา จิตใจให้สงบและให้เกิดปัญญาจนสามารถข่มและทำาลายกิเลส ได้ในที่สุดด้วยวิธีการปฏิบัติที่เป็นหลัก ๒ วิธีกล่าวคือเบื้องต้น ทำาจิตให้สงบระงับก่อน แล้วจึงใช้จิตที่สงบระงับนั้นเป็นพื้น ฐานหรือสนามเป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาเพื่อให้เกิดความ เห็นแจ้งต่อไป สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตใช้ยึดเหนี่ยวในขณะเจริญกรรมฐานหรือสิ่งที่เป็น อุปกรณ์ใช้สำาหรับเจริญกรรมฐาน. 3
  • 4. ตามแนวที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั้นต่างเกื้อกูลอาศัยซึ่งกัน และกันโดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำาคัญคือการดับทุกข์ได้สิ้นเชิง อารมณ์ของกรรมฐาน ๑ อารมณ์ของสมถกรรมฐาน อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวในขณะเจริญ กรรมฐานหรือสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ใช้สำาหรับทำากรรมฐาน สมถ กรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีอารมณ์ต่างกันดังในคัมภีร์วิสุทธิ มรรคท่านรวบรวมอารมณ์ของสมถกรรมฐานจากคัมภีร์พระ ไตรปิฎกมาแสดงไว้ ๔๐ อย่าง คือ ๑. หมวดกสิณ ๑๐ วัตถุอันจูงใจ เป็นชื่อของกัมมัฏ ฐานที่ใช้วัตถุสำาหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ ได้แก่ (๑) ปฐวี กสิณ กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ (๒) อาโปกสิณ กสิณที่ใช้นำ้า เป็นอารมณ์ (๓) เตโชกสิณ กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์ (๔) วาโยกสิณ กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์ (๕) นีลกสิณ กสิณที่ใช้สี เขียวเป็นอารมณ์ (๖) ปีตกสิณ กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์ (๗) โลหิตกสิณ กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์ (๘) โอทาตกสิณ กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์ (๙) อาโลกกสิณ กสิณที่ใช้แสงสว่าง เป็นอารมณ์ (๑๐) อากาสกสิณ กสิณที่ใช้ที่ว่างเป็นอารมณ์ ๒. หมวดอสุภะ ๑๐ พิจารณาซากศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ โดยความไม่งามเป็นอารมณ์ ได้แก่ (๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่ เน่าพองขึ้นอืด (๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคลำ้าด้วยสีต่าง ๆ (๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีนำ้าเหลืองไหลออกอยู่ (๔) วิจฉิท วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๔๗/๑๑๙. กสิณ ๑๐ ที่ยกมานี้กล่าวตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ในบาลีพระไตรปิฎก ไม่มีอาโลกกสิณ แต่มีวิญญาณกสิณแทนเป็นข้อที่ ๑๐ และเลื่อนอากาสกสิณเข้า มาเป็นข้อที่ ๙. ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๖๐/๒๗๘, องฺ.ทสก. (บาลี) ๒๔/๒๙/๔๘. อสุภะ ๑๐ ที่ยกมานี้กล่าวตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ส่วนพระบาลีในพระ ไตรปิฎกจัดเข้าเป็นสัญญาต่าง ๆ เช่น อุทฺธุมาตกสญฺญา วินีลกสญฺญา เป็นต้น. ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๘๐/๙๙, อภิ.สำ. (บาลี) ๓๔/๒๖๔/๗๙. และที่ใกล้ เคียงที่สุดคือเป็นการสรุปมาจากนวสีวถิกาปัพพะในสติปัฏฐาน ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๙/๒๕๒-๒๕๔, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๑๒/๘๐-๘๒. 4
  • 5. ทกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว (๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์ กัดกินแล้ว (๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด (๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกันสับฟันเป็น ท่อน ๆ (๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิต ไหลอาบอยู่ (๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลาคลำ่าไปอยู่ (๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก ๓. หมวดอนุสสติ ๑๐ อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ ได้แก่ (๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า (๒) ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม (๓) สังฆานุสสติ ระลึก ถึงคุณของพระสงฆ์ (๔) สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ ประพฤติปฏิบัติมาไม่ด่างพร้อย (๕) จาคานุสสติ ระลึกถึงทาน ที่ตนเคยบริจาคแล้ว (๖) เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมที่ ทำาให้คนเทวดา (๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีแก่ ตน (๘) กายคตาสติ สติกำาหนดพิจารณาอาการ ๓๒ ใน ร่างกาย (๙) อานาปานสติ สติกำาหนดลมหายใจเข้าออก (๑๐) อุปสมานุสสติ ระลึกถึงธรรมคือพระนิพพานอันเป็นที่ ระงับกิเลส ๔. หมวดอัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร ๔ ธรรมที่พึงแผ่ ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณไม่จำากัดขอบเขต ได้แก่ (๑) เมตตา ความปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (๒) กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ (๓) มุทิตา ความ พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ๕. หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา ความสำาคัญในอาหาร ว่าเป็นของปฏิกูลคือพิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียดโดย อาการต่าง ๆ เช่น ปฏิกูลโดยบริโภค เป็นต้น องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๔๗๓-๔๘๒/๔๓, ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๓/๕, ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๘๐/๙๙. ที.สี. (บาลี) ๙/๕๕๖/๒๔๕-๒๔๖, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๖๒/๑๖๒, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๐๘/๒๐๐. ในพระสูตรมาด้วยกันกับอสุภะ ๕ ที่มาในชุดสัญญา ๑๐. องฺ.เอ กก. (บาลี) ๒๐/๔๖๓-๔๗๒/๔๓. 5
  • 6. ๖. หมวดจตุธาตุววัตถาน การกำาหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้แยกแยะออกไปมองเห็นส่วนประกอบ ร่างกายต่าง ๆ ว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ได้แก่ (๑) ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน (๒) อาโปธาตุ ธาตุนำ้า คือ ธาตุที่มี ลักษณะเอิบอาบ ดูดซึมในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน (๓) เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ความร้อนใน ร่างกาย (๔) วาโยธาตุ คือ ธาตุลม ธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา ภาวะหวั่นไหว ในร่างกายที่ใช้กำาหนดเป็นอารมณ์ของกัมมัฏ ฐาน ๗. หมวดอรูป ๔ กรรมฐานที่กำาหนดเอาสิ่งที่ไม่มีรูป เป็นอารมณ์ ได้แก่ (๑) อากาสานัญจายตนะ กำาหนดที่ว่างหา ที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๒) วิญญาณัญจายตนะ กำา หนด วิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๓) อากิญจัญญายตนะ กำาหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์ (๔) เนวสัญญานา สัญญายตนะ ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ๒ อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านรวบรวมอารมณ์หรือภูมิของ วิปัสสนากัมมัฏฐานจากพระไตรปิฎกมาจัดไว้เป็น ๖ หมวด คือ ๑. หมวดขันธ์ ๕ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้า หมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น ได้แก่ (๑) รูปขันธ์ ส่วนที่เป็น รูปคือร่างกายพฤติกรรมและคุณสมบัติต่าง ๆ ของร่างกาย (๒) เวทนาขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่เสวยอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ (๓) สัญญาขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่กำาหนดหมายรู้ใน ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๘/๒๕๑-๒๕๒, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๑๑/๘๐, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๓๔๙-๓๕๒/๓๐๗-๓๐๙. ที .ป า . (บ า ลี ) ๑ ๑ /๓ ๐ ๘ /๒ ๐ ๐ , สำ .ส ฬ า . (บ า ลี ) ๑๘/๓๓๖-๓๓๙/๒๔๒-๒๔๔. วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๔๓๑/๘๒. อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑/๑, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๔๓๑/๘๒, สงฺคห . (บาลี) ๑/๔๕/๔๘. 6
  • 7. อารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์ เป็นต้น (๔) สังขารขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่ ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ (๕) วิญญาณขันธ์ ส่วนที่ทำาหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ทางทวาร ๖ มีจักษุทวาร เป็นต้น ๒. หมวดอายตนะ ๑๒ แดนเชื่อมต่อระหว่างตัวเรากับ สิ่งแวดล้อมภายนอก คือ อายตนะภายใน ๖ ประการ ได้แก่ (๑) จักขุ ตา (๒) โสตะ หู (๓) ฆานะ จมูก (๔) ชิวหา ลิ้น (๕) กาย ร่ายกาย (๖) มโน ใจ และอายตนะภายนอก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) รูปะ รูป (๒) สัททะ เสียง (๓) คันธะ กลิ่น (๔) รสะ รส (๕) โผฏฐัพพะ สิ่งถูกต้องกาย (๖) ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่ เกิดกับใจ ๓. หมวดธาตุ ๑๘ สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตาม ที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำาหนดแห่ง ธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็น แบบจำาเพาะตัว อันพึงกำาหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ได้แก่ (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุ คือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสต วิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆาน ปสาท (๘) คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณ ธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหา ปสาท (๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณ ธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณ ธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ (๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธัมม ธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโน วิญญาณ อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑๖๘/๘๕, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๕๑๐/๑๒๕, สงฺ คห. (บาลี) ๑/๔๔/๔๘. อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๑๘๓/๑๐๒, วิสุทฺธิ. (บาลี) ๒/๕๑๗/๑๒๙, สงฺ คห. (บาลี) ๑/๔๕/๔๘. 7
  • 8. ๔. หมวดอินทรีย์ ๒๒ คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำากิจ ของตน ทำาให้ธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตนในกิจนั้น ๆ ในขณะที่เป็นอยู่นั้น ได้แก่ (๑) จักขุนทรีย์ อินทรีย์คือ จักขุ ปสาท (๒) โสตินทรีย์ อินทรีย์คือโสตปสาท (๓) ฆานินทรีย์ อินทรีย์คือฆานปสาท (๔) ชิวหินทรีย์ อินทรีย์คือชิวหาปสาท (๕) กายินทรีย์ อินทรีย์คือกายปสาท (๖) มนินทรีย์ อินทรีย์คือ ใจ (๗) อิตถินทรีย์ อินทรีย์คืออิตถีภาวะ (๘) ปุริสินทรีย์ อินทรีย์คือปุริสภาวะ (๙) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต (๑๐) สุขินทรีย์ อินทรีย์คือสุขเวทนา (๑๑) ทุกขินทรีย์ อินทรีย์คือ ทุกขเวทนา (๑๒) โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา (๑๓) โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา (๑๔) อุเปก ขินทรีย์ อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา (๑๕) สัทธินทรีย์ อินทรีย์ คือศรัทธา (๑๖) วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือวิริยะ (๑๗) สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ (๑๘) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ ได้แก่ เอกั คคตา (๑๙) ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา (๒๐) อนัญ ญตัญญัสสามี-ตินทรีย์ อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจ จธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ (๒๑) อัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลางโสต าปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (๒๒) อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระ อรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ ๕. หมวดอริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ความ จริงที่ทำาให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่ (๑) ทุกข์ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก โดยสรุปได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ (๒) ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (๓) ทุกขนิโรธ ความดับ ทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไปคือพระนิพพาน (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๒๑๙/๑๔๕, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๕๒๕/๑๓๖, สงฺ คห.(บาลี) ๑/๑๘/๔๕. อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๑๘๙/๑๑๗, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๔๒๙/๑๓๙, สงฺ คห.(บาลี) ๑/๔๖/๔๘. 8
  • 9. ๖. หมวดปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ การเกิดขึ้นพร้อม แห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิด ขึ้น ได้แก่ (๑) อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้อริยสัจ ๔ (๒) สังขาร สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร ๓ หรืออภิสังขาร ๓ (๓) วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ๖ (๔) นามรูป นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ (๕) สฬายตนะ อายตนะ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ (๖) ผัสสะ ความกระทบ ได้แก่ สัมผัส ๖ (๗) เวทนา ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา ๖ (๘) ตัณหา ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น (๙) อุปาทาน ความยึดมั่น ได้แก่ อุปาทาน ๔ (๑๐) ภพ ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ ๓ (๑๑) ชาติ ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย (๑๒) ชรา มรณะ ความแก่และความตาย จะเห็นได้ว่าอารมณ์หรือเครื่องมือที่ใช้เป็นสื่อสำาหรับ เจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นต่างจากอารมณ์ของสมถกรรมฐาน กล่าวคือ อารมณ์ของสมถกรรมฐานผู้ปฏิบัติอาจจะนำาเรื่องที่ เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตมาเป็นอารมณ์ขณะปฏิบัติก็ได้ ตัวอย่างการนำาเรื่องอดีตมาเป็นอารมณ์ เช่น พุทธานุสสติ(สติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า) ตัวอย่างการใช้สิ่งปัจจุบันเป็น อารมณ์ เช่น กำาหนดพิจารณาลมหายใจเข้าออก และตัวอย่าง การนำาเรื่องที่ยังไม่มาถึงมาเป็นอารมณ์ เช่น มรณัสสติ การ ระลึกถึงความตายอันจะเกิดมีแก่ตน เป็นต้น จุดมุ่งหมายเพียง เพื่อให้ใจตั้งมั่น สงบจากนิวรณ์ ๕ ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานย่อให้สั้นก็คือมีรูป นามที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นเป็นอารมณ์ การพิจารณาจึงจะได้ผล สามารถเห็นแจ้งรู้ทันได้โดยง่าย เพราะการเจริญวิปัสสนา กรรมฐานมีวัตถุประสงค์อยู่ที่ต้องการให้เกิดปัญญาเพื่อ พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงกล่าวคือ สรรพสิ่งมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไป หรือมีสภาพ ไม่แน่นอน แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา(อนิจจัง) ทนอยู่อย่างนั้น ตลอดไปไม่ได้(ทุกขัง) และไม่อยู่ในอำานาจบังคับของใคร อภิ.วิ.(บาลี) ๓๕/๒๒๕/๑๖๑, วิสุทฺธิ.(บาลี) ๒/๕๗๐/๑๖๖, สงฺ คห.(บาลี) ๑/๔/๕๐. 9
  • 10. เพราะเป็นสิ่งไม่มีตัวตนที่แท้จริง(อนัตตา) ดังนั้น อารมณ์ของ วิปัสสนากรรมฐานจึงครอบคลุมทุกเรื่องที่มนุษย์เข้าไป เกี่ยวข้อง แม้แต่อารมณ์ของสมถะก็นำามากำาหนดพิจารณา ให้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ เช่น การพิจารณาเห็นถึงความ ไม่เที่ยง ไม่คงทนอยู่ในสภาพเดิม และความหาตัวตนที่แท้จริงไม่ ได้ในอสุภะทั้ง ๑๐ และในกสิณ ๑๐ เป็นต้น จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน กรรมฐานถือว่าเป็นหลักคำาสอนที่สำาคัญยิ่งในการ ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา ทั้ง สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อชำาระ สรรพกิเลสออกจากจิตใจเช่นเดียวกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายที่เป็น ข้อยิ่งข้อหย่อนต่างกันดังนี้ ๑ จุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานมีหลักการทำาคือกำาหนดจิตไว้กับสิ่งใดสิ่ง หนึ่งจนกระทั่งจิตแน่วแน่ตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน ความแน่วแน่ตั้งมั่น แห่งจิตนี้เรียกว่าสมาธิ(Concentration) เมื่อสมาธิแน่วแน่ แนบแน่นอย่างเต็มที่แล้วก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน(Absorption) สมาธิจิตระดับฌานจะทำาหน้าที่เข้าไป สงบระงับอกุศลธรรมที่เป็นนิวรณ์ซึ่งเป็นปริยุฏฐานกิเลส หมาย ถึง กิเลสที่กลุ้มรุมรบกวนอยู่ภายในจิตยังไม่แสดงออก ภายนอก จัดเป็นกิเลสอย่างกลาง ๕ อย่าง คือ (๑) กาม-ฉันทะ ความพอใจในกาม (๒) พยาบาท ความคิดร้ายขัดเคืองใจ (๓) ถีนมิทธะ ความท้อแท้หดหู่ (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำาคาญใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย จุดมุ่งหมายขั้น  เป็นกิเลสประเภทหนึ่งในบรรดากิเลสซึ่งจัดตามลำาดับความหยาบ ละเอียดและปานกลาง ๓ ชนิด คือ (๑) อนุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ ภายในจิตชั้นลึก จัดเป็นกิเลสชั้นละเอียดที่สุด (๒) ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสที่ รบกวนจิตไม่ให้สงบ จัดเป็นกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ ๕ (๓) วีติกกมกิเลส กิเลสที่ประทุออกมาเป็นเหตุให้แสดงอาการที่ไม่เหมาะสมทางกายและวาจา เช่น การละเมิดศีล เป็นต้น จัดเป็นกิเลสอย่างหยาบ. วิ.อ. (บาลี) ๑/-/๒๑. องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๕๑/๕๙. 10
  • 11. สุดท้ายของการเจริญสมถกรรมฐานก็เพื่อทำาจิตให้เข้าถึงฌาน นี้เอง สมาธิที่เกิดในฌานจะมีระดับที่ต่าง ๆ กันโดยถือเอาความ ละเอียดประณีตของจิตที่เกิดในฌานนั้นเป็นข้อแบ่งแยกดังนี้ ก.สมถกรรมฐานที่กำาหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ส่ง ผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงฌานที่เรียกว่ารูปฌานขั้นต่าง ๆ ๔ ระดับ กำาหนดตามลำาดับความละเอียดของจิต คือ ๑. ปฐมฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ๒. ทุติยฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๓ อย่าง คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ๓. ตติยฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ สุข เอกัคคตา ๔. จตุตถฌาน มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ อุเบกขา เอกัคคตา ข.สมถกรรมฐานที่กำาหนดเอาอรูปธรรมเป็นอารมณ์ส่ง ผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงฌานที่เรียกว่าอรูปฌานขั้นต่าง ๆ ๔ ระดับ กำาหนดตามลำาดับความละเอียดของจิตและอารมณ์ ที่ใช้กำาหนด คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ ฌานอันกำาหนดอากาศ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ๒. วิญญานัญจายตนะ ฌานอันกำาหนดวิญญาณ หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ๓. อากิญจัญญายตนะ ฌานอันกำาหนดภาวะที่ ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌานที่เข้าถึงภาวะมี สัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ม.มู. (บาลี) ๑๒/๕๑/๒๙. ในคัมภีร์วินัยปิฎกและสุตตันตปิฎก นิยม แบ่งรูปฌานออกเป็น ๔ ชั้น ส่วนคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นิยมแบ่งรูปฌานออก เป็น ๕ ชั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรกทุติยฌาน ที่มีองค์ประกอบ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามาแล้วเลื่อน ทุติย ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในฌาน ๔ นี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำาดับ. ที .ป า . (บ า ลี ) ๑ ๑ /๓ ๐ ๘ /๒ ๐ ๐ , สำ .ส ฬ า . (บ า ลี ) ๑๘/๓๓๖-๓๓๙/๒๔๒-๒๔๔. 11
  • 12. รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เหล่านี้รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ อันเป็นผลโดยตรงของการเจริญสมถกรรมฐาน มีผล ทำาให้จิตแน่วแน่ปลอดจากนิวรณ์จัดว่าเป็นวิมุตติอย่างหนึ่งเรียก ว่า วิกขัมภนวิมุตติ กล่าวคือ การหลุดพ้นด้วยข่มกิเลสไว้ได้ ตราบเท่าที่จิตยังอยู่ในฌาน เมื่อออกจากฌานแล้วกิเลสก็ ครอบงำาได้อีกจึงยังเป็นความหลุดพ้นยังถาวร นอกจากนี้ผู้ เจริญสมถกรรมฐานจนสามารถทำาฌานให้เกิดขึ้นแล้วยังจะได้ รับผลพลอยได้คือความสามารถพิเศษซึ่งเรียกว่าอภิญญา ๕ อย่าง ได้แก่ (๑) แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) มีหูทิพย์ (๓) กำาหนดรู้ใจคนอื่นได้ (๔) ระลึกชาติได้ (๕) มีตาทิพย์ ๒ จุดมุ่งหมายของวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิธีการฝึกจิตให้เข้าไป เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างมีสติสัมปชัญญะ เพื่อป้องกัน กำาจัดกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานและเพื่อกำาจัดอนุสัย กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจให้หมดไป ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานเต็ม ที่แล้วจะเกิดผลคือยถาภูตญาทัสสนะกล่าวคือปัญญาที่รู้เห็น สภาวธรรมตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ใน ลักษณะ ๓ ประการ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญา ที่รู้เห็นไตรลักษณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างประจักษ์แจ้งกับ ตัวผู้ปฏิบัติเอง มิใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการนึกคิดคาดคะเน เอาและมิใช่เกิดขึ้นจากการเชื่อหรือได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่น เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วจิตก็จะปล่อยวางไม่เข้าไปยึดมั่นถือ มั่นด้วยอำานาจอุปาทานในสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถกำาจัด อภิญญาในพระบาลีมี ๖ ข้อ ข้อที่ ๖ คือ ญาณที่ทำาให้สิ้นอาสวะไป จัดเป็นโลกุตตรอภิญญา ในที่นี้ยกมาเพียง ๕ ข้ออันเป็นโลกิยอภิญญา มุ่ง แสดงผลพลอยได้จากการเจริญสมถกรรมฐานเท่านั้น. ที.ป า . (บาลี) ๑๑/๓๕๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๒/๒๗๑-๒๗๒. หมายถึงกิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานเป็นกิเลสชนิดละเอียด ที่สุดมี ๗ อย่างคือ (๑) กามราคะ ความกำาหนัดในกาม (๒) ปฏิฆะ ความ หงุดหงิด (๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด (๔) วิจิกิจฉา ควาลังเลสงสัย (๕) มานะ ความถือตัว (๖) ภวราคะ ความกำาหนัดในภพ (๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๑๗๖/๕๕, องฺ.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/๑๑/๘. 12
  • 13. กิเลสได้อย่างถาวร บรรลุมรรค ผล นิพพาน จิตเข้าถึงสภาวะ ที่บริสุทธิ์ดังพระบาลีว่า “เมื่อใด มาพิจารณาเห็นว่า สังขารทั้ง ปวงไม่เที่ยง…สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์…ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นหนทางแห่ง ความบริสุทธิ์” อย่างไรก็ตามถึงสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน จะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดต่างกันก็ตาม แต่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ ถึงจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาจำาเป็นต้องอาศัย กรรมฐานทั้งสองเป็นเครื่องช่วยเกื้อกูลสนับสนุนกล่าวคือเบื้อง ต้นอาจเจริญสมถกรรมฐานให้จิตสงบ ตั้งมั่น แน่วแน่ บรรลุถึง ฌานสมบัติก่อนแล้วจึงใช้จิตที่สงบ ตั้งมั่น เป็นฐานในการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้ หรือผู้ปฏิบัติอาจเริ่มเจริญ วิปัสสนากรรมฐานก่อนโดยใช้สมถกรรมฐานเพียงเล็กน้อย เป็นฐานก็ได้หรืออาจเจริญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานควบคู่กันไปก็ได้ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๖๔. 13
  • 14. ๒.๖ มหาสติปัฏฐานสูตร : หลักการและสาระแห่งการ ปฏิบัติกรรมฐาน ๒.๖.๑ หลักการและสาระสำาคัญแห่งสติปัฏฐาน การเจริญกรรมฐานในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏใน พระไตรปิฎกมีมากมายทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐาน แต่หลักการปฏิบัติกรรมฐานที่สมบูรณ์ที่สุดปรากฏ อ ยู่ ใ น ม ห าสติ ปั ฏฐ าน สู ต ร ใน พ ร ะ สู ต ร นี้ คำา ว่ า ส ติ (mindfulness) ตรงกับคำาว่า สมฺฤติ ในภาษาสันสกฤต มี ความหมายว่า ความระลึกได้ ความใส่ใจที่ดี ที่ฉลาดหรือเป็น กุศลตามความหมายในทางพุทธธรรม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง ความมีสติในพระสูตรนี้ จึงมีความหมายอย่างเดียวกับสัมมาสติ ความมีสติถูกต้องซึ่งเป็นองค์ที่เจ็ดของอริยมรรคมีองค์แปดและ สติยังจัดเป็นองค์ประกอบข้อต้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เพราะเป็น พื้นฐานความเจริญก้าวหน้าของโพชฌงค์ข้ออื่น ๆ อีก ๖ ข้อ การปฏิบัติวิปัสสนาให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริงจะสำาเร็จผล ได้ต้องอาศัยสติเป็นหลักสำาคัญ ส่วนคำาว่า ปัฏฐาน (foundation) แปลว่า ตั้งไว้มั่น หมายความว่า คงรักษาใจไว้ คงความรู้ตัวไว้ ดังนั้น พระบาลี ที .ม . (บ า ลี ) ๑ ๐ /๓ ๗ ๒ -๔ ๐ ๕ /๒ ๔ ๘ -๒ ๖ ๙ , ม .มู . (บ า ลี ) ๑๒/๑๐๕-๑๓๘/๗๗-๙๗, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๓๕๕-๓๘๙/๒๒๙-๒๔๘. ใน พระสูตรทั้งสองแห่งพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเรียกชื่อว่ามหาสติปัฏฐาน สูตรเหมือนกันและมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ส่วนที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎก เรียกชื่อว่า สติปัฏฐานวิภังค์. Nyanaponika Thera, The Heart of Buddhist Meditation, (Kandy : Buddhist Publication Society, 1996), P.9. 14
  • 15. ที่ว่า สตึ อุปฏฺฐเปตฺวาที่ใช้ในพระสูตรนี้จึงมีความหมายว่า รักษาความมีสติให้คงไว้หรือหมายถึง การปรากฏอยู่แห่งสติ หรือการตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐาน อีกนัยหนึ่ง สติปัฏฐาน มีความหมายว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสติ หรือการปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธาน ดังนั้น พระสูตรนี้ จึงประสงค์จะเน้นความสำาคัญและความจำาเป็นของสติที่จะนำา ไปใช้ในงานคือการกำาจัดกิเลสและในงานทั่วไปดังพุทธพจน์ที่ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติว่าเป็นธรรมที่จำาเป็นต้องใช้ใน ทุกกรณี” และแสดงถึงว่าชีวิตเรามีจุดที่ควรใช้สติกำากับดูแล ทั้งหมดเพียง ๔ แห่ง คือ ๑. ร่างกายพร้อมทั้งพฤติกรรม โดยใช้สติกำาหนด พิจารณาให้เห็นเป็นเพียงร่างกายและพฤติกรรมที่แสดงออก ตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับร่างกายและ พฤติกรรมนั้น เรียกว่า กายานุปัสสนา ๒ เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นต้น โดยใช้สติ กำาหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียงเวทนาตามที่มันเป็นในขณะ นั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไป เกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า เวทนา นุปัสสนา ๓ จิต คือผู้ทำาหน้าที่รู้อารมณ์ โดยใช้สติกำาหนด พิจารณาให้เห็นเป็นเพียงจิตตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรง เข้าไปกับจิตที่กำาลังเป็นไปนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ๔ สภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา และจิต นั้น โดยใช้สติกำาหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมตาม มันเป็นอยู่เกิดอยู่ในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๐๗/๗๗. วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๑๘/๒๙๕. ที.ม.อ. (บาลี) ๒/๓๗๓ /๓๖๘, ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๑๐๖/๒๕๓. สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๒๓๔/๑๐๒. 15
  • 16. เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับสภาวธรรมที่กำาลัง เป็นไปนั้น เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา เ มื่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ตั้ ง ใ จ เ จ ริ ญ ส ติ ปั ฏ ฐ า น โ ด ย ใ ช้ สติสัมปชัญญะเข้าไปกำาหนดกาย เวทนา จิตและธรรมที่เข้าไป เกี่ยวข้องในปัจจุบันขณะเป็นอารมณ์จะส่งผลให้เกิดการรู้เห็น ตรงตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่กำาลังเป็นอยู่ในขณะ นั้น จะเห็นได้ว่าการเข้าไปรับรู้ขณะเจริญสติปัฏฐานนั้นสาระ สำาคัญของการปฏิบัติคือให้มีเฉพาะสติสัมปชัญญะกับอารมณ์ ปัจจุบันล้วน ๆ ที่กำาลังเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่โดยปราศจาก ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เกิดขึ้นในใจ ปราศจากการคิด ปรุงแต่งใด ๆ และปราศจากการตัดสินว่า ดีชั่ว ถูกผิด เป็นต้น เหลืออยู่แต่การรับรู้ที่บริสุทธิ์เท่านั้นกล่าวคือต้องเข้าไป เกี่ยวข้องหรือเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ด้วยความมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันสิ่งนั้น ๆ ตามความเป็นจริง โดยไม่เปิดโอกาสให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตนอันเป็นเหตุเกิดแห่ง อกุศลธรรมต่าง ๆ ได้ช่องเกิดขึ้น ซึ่งมีหลักการปฏิบัติที่สำาคัญ ดังต่อไปนี้ ๒ .๖ .๑ .๑ ก า ย า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร พิจารณาดูกาย ๑. อานาปานปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาลมหายใจ- เข้า-ออก การเจริญสติปัฏฐานโดยวิธีใช้สติกำาหนดพิจารณาลม หายใจที่เคลื่อนไหวเข้าออกตามช่องทางการหายใจในกายนี้ อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการปฏิบัติดังนี้ (๑) ขณะหายใจเข้า- หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า-หายใจออกยาว (๒) ขณะหายใจเข้า-หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า-หายใจ ออกสั้น (๓) สำาเหนียก ว่า จะกำาหนดรู้กองลมทั้งปวงทุกขณะ ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๔/๒๔๘–๒๔๙.  สำาเหนียก หมายถึง จดจำา คอยเอาใจใส่ ใส่ใจคิดที่จะนำาไป ปฏิบัติ ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำาไปปฏิบัติให้สำาเร็จ ประโยชน์. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ 16
  • 17. ที่หายใจเข้า-ออก (๔) สำาเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร ทุก ขณะที่หายใจเข้า-ออก ผลของการกำาหนดลมหายใจเบื้องต้นคือ ผู้ปฏิบัติจะ ประสบความสงบระงับและความแน่วแน่แห่งจิต เป็นการปูพื้น ฐานเตรียมจิตให้มีกำาลังพร้อมที่จะเป็นสนามปฏิบัติการทาง ปัญญาเพื่อเข้าถึงยถาภูตญาณทัสสนะ กล่าวคือปัญญาที่ เข้าไปรู้เห็นความเป็นจริงของลมหายใจและสิ่งที่เนื่องด้วยลม หายใจคือชีวิตว่าตกอยู่ภายใต้ลักษณะ ๓ อย่าง คือ ความไม่ เที่ยงเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่และมิใช่ตัวตนแท้จริงที่จะเข้าไป ยึดถือได้จนจิตปล่อยวางไม่เป็นที่แอบอิงของตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต่อไป การเจริญสติปัฏฐานโดยกำาหนดลมหายใจเข้าออกใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เพียง ๔ ขั้น เท่านั้น ส่วนวิธีการกำาหนดลมหายใจเข้าออกหรือเรียกกันว่า อานาปานสติแบบสมบูรณ์ทรงแสดงไว้ในอานาปานสติสูตรและ ในที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ทั้งนี้เพราะอานาปานสติเป็นกรรมฐาน ที่ปฏิบัติได้สะดวกมีผลดีต่อร่างกายและจิตใจดังพระพุทธองค์ ทรงยกตัวอย่างที่ผ่านมาว่าพระองค์เองก่อนแต่ตรัสรู้ ยัง เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ทรงเป็นอยู่ด้วยการเจริญธรรมเครื่องอยู่ คืออานาปานสตินี้เสมอ เมื่อทรงเป็นอยู่อย่างนี้ ร่างกาย ดวงตา ก็ไม่เหน็ดเหนื่อย และจิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ ไม่เข้าไปถือมั่นพร้อมกับทรงชักชวนเหล่าภิกษุให้เจริญอานา ปานสติตาม นอกจากนี้ อานาปานสติยังแสดงถึงหลักการปฏิบัติ ประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓), หน้า ๓๓๘ ∗ กายสังขารในที่นี้ คือ สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า ออกที่เป็นปัจจัยให้ร่างกายดำารงอยู่ได้นั่นเอง คำาว่า ระงับกายสังขาร จึง หมายถึง การผ่อนคลายลมหายใจที่หยาบให้ละเอียดขึ้นไปโดยลำาดับจนถึง ขั้นที่จะต้องพิสูจน์ว่ามีลมหายใจอยู่หรือไม่ วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๒๐/๒๙๙. อาการดังกล่าวเปรียบเหมือนเสียงเคาะระฆังครั้งแรกจะมีเสียงดังกังวานแล้ว แผ่วลงจนถึงเงียบหายไปในที่สุด. วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๗๑/๑๕๔. สำ.ม. (บาลี) ๑๙/๙๘๔/๒๗๔. 17
  • 18. ที่ครอบคลุมสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิตและธรรม อย่างครบถ้วนซึ่งมีลำาดับขั้นตอนการปฏิบัติถึง ๑๖ ขั้น ดังนี้ หมวดที่ ๑ ตั้งกำาหนดพิจารณากายคือลมหายใจ แบ่ง การปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น เหมือนอานาปานปัพพะในมหาสติ ปัฏฐานสูตร คือ (๑) ขณะหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจ เข้า-ออกยาว (๒) ขณะหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจ เข้า-ออกสั้น (๓) รู้ชัดเจนถึงกองลมทั้งปวงทุกขณะที่หายใจ เข้า-ออก (๔) ระงับกายสังขารทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก หมวดที่ ๒ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาเวทนา แบ่งการ ปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๕) รู้ชัดปีติทุกขณะที่หายใจเข้า- ออก (๖) รู้ชัดสุขทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๗) รู้ชัดจิตต สังขารทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๘) ระงับจิตตสังขารทุก ขณะที่หายใจเข้า-ออก หมวดที่ ๓ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาจิต แบ่งการปฏิบัติ ออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๙) รู้ชัดจิตทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๐) ทำาจิตให้บันเทิงทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๑) ทำาจิต ให้ตั้งมั่นทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๒) ปลดเปลื้องจิตทุก ขณะที่หายใจเข้า-ออก หมวดที่ ๔ ตั้งสติกำาหนดพิจารณาธรรม แบ่งการ ปฏิบัติออกเป็น ๔ ขั้น คือ (๑๓) พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง(ใน กาย เวทนา จิต)ทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๔) พิจารณาเห็น ความคลายออกทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๕) พิจารณาเห็น ความดับทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก (๑๖) พิจารณาเห็นความ สละคืนทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก ดังนั้น อานาปานสติจึงเป็นหลักการเจริญสติปัฏฐานที่ สำาคัญอีกแนวหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่จะนำาพาผู้ปฏิบัติให้เข้า ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือความดับทุกข์ได้ ๒. อิริยาปถปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาอิริยาบถหลัก ใหญ่ ๔ วิ .ม ห า . (บ า ลี ) ๑ /๑ ๖ ๕ /๙ ๕ -๙ ๗ , สำ .ม . (บ า ลี ) ๑๙/๙๗๗/๒๖๙-๒๗๐, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๑๔๘-๑๔๙/๑๓๐-๑๓๓. 18
  • 19. การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีกำาหนดรู้อิริยาบถหลัก ใหญ่ที่กำาลังเคลื่อนไหวหรือหยุดอยู่ในปัจจุบันขณะที่เกิดขึ้น กับกายนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการปฏิบัติดังนี้ (๑) ขณะ เดิน ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังเดิน (๒) ขณะยืน ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังยืน (๓) ขณะนั่ง ก็รู้ตัวชัดว่ากำาลังนั่ง (๔) ขณะนอน ก็รู้ตัวชัดว่า กำาลังนอน การเจริญกรรมฐานในอิริยาบถหลักใหญ่ทั้ง ๔ เป็นการสร้างพื้นฐานและเตรียมความพร้อมที่จะกำาหนด อิริยาบถย่อยต่อไป ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องใช้สติกำาหนดรู้ให้ ชำานาญในอิริยาบถหลักทั้ง ๔ เป็นเบื้องต้นโดยยึดหลักว่า “เมื่อกายดำารงอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำารงอยู่โดย อาการนั้น ๆ” กล่าวคือให้กำาหนดรู้เป็นเพียงสักว่าอาการ เท่านั้น อย่าให้ความรู้สึกสำาคัญผิดว่าเป็นตัวตน เรา เขา ได้ ช่องเกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหว เมื่อสติเกิดความชำานาญในการ กำาหนดอิริยาบถทั้ง ๔ ก็จะส่งผลให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ คือปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงพร้อมกับกำาจัดความรู้สึกที่ เป็นตัวตน เรา เขา อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นที่แฝงอยู่ใน ร่างกายจิตใจนี้และเป็นที่แอบอิงของกิเลสอื่น ๆ อีกมากมาย ๓. สัมปชัญญปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาอิริยาบถ ย่อยต่าง ๆ การเจริญสติปัฏฐานโดยวิธีใช้สติสัมปชัญญะทำาความ รู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งอิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อยที่กำาลังเคลื่อนไหวและหยุดอยู่ในปัจจุบัน ขณะ เช่น การเหยียดแขน การคู้แขน เป็นต้น โดยการปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ทำาความรู้สึกตัวในการก้าวไปและถอยกลับ (๒) ทำาความรู้สึกตัวในการแลดูไปข้างหน้าและเหลียวดูในทิศอื่น ๆ (๓) ทำาความรู้สึกตัวในการคู้แขนเข้าและการเหยียดแขนออก (๔) ทำาความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร (๕) ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๒๔๙-๒๕๐. ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๕/๒๔๙-๒๕๐. ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๖/๒๕๐. 19
  • 20. ทำาความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส (๖) ทำาความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ (๗) ทำาความรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง จะเห็นได้ว่าการเจริญสติในสัมปชัญญปัพพะมีหลัก การปฏิบัติครอบคลุมทุกอิริยาบถที่กำาลังเคลื่อนไหวและหยุดอยู่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติขั้นที่ละเอียดลึกลงไป โดยยึดหลักการและวิธี การปฏิบัติเหมือนอิริยาบถหลักใหญ่ทั้ง ๔ และมีวัตถุประสงค์ อย่างเดียวกันคือเพื่อถอนความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา อัน เป็นที่แอบอิงอาศัยของตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเพื่อเกิดยถาภูต ญาณทัสสนะจนสามารถถอนความยึดมั่นถือมั่นได้ในที่สุด ๔. ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ว่าด้วยการใส่ใจนึกถึงกาย ว่าเป็นของปฏิกูล การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาถึงความ เป็นของปฏิกูลที่มีอยู่ในกายนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะโดยการ ปฏิบัติดังนี้ ให้พิจารณาดูกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้อง ล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่ สะอาดมีประการต่าง ๆ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด นำ้าเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น นำ้าตา มันเหลว นำ้าลาย นำ้ามูก ไขข้อ นำ้ามูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงวิธีการพิจารณาส่วนต่าง ๆ ในร่างกายทั้งหมดดังกล่าวมาให้เห็นถึงรูปร่างของชิ้นส่วนต่าง ๆ พร้อมกับความสกปรกไม่สะอาดของแต่ละชิ้นส่วนอย่าง ชัดเจนจนเกิดมโนภาพในใจ เหมือนคนตาดีพบถุงมีปากสอง ข้างบรรจุเต็มด้วยธัญญชาติชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าว เปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร แล้วแก้ถุงนั้นออก ตรวจดู ก็จะพึงเห็นและแยกแยะธัญญชาติเหล่านั้นออกได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้เมล็ดงา นี้ ข้าวสาร ที.ม.(ไทย) ๑๐/๓๗๗/๒๕๐-๒๕๑. 20
  • 21. ๕. ธาตุมนสิการปัพพะ ว่าด้วยการใส่ใจพิจารณา กายโดยความเป็นธาตุ ๔ การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาถึงร่างกาย โดยความเป็นกองธาตุอย่างมี สติสัมปชัญญะปราศจากความรู้สึกว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีวิธีปฏิบัติดังนี้ “ให้พิจารณาดูกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตาม ที่ปรากฏอยู่โดยเป็นเพียงธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุนำ้า ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่” ในข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงการพิจารณาร่างกาย ว่าเป็นเพียงกองแห่งธาตุ ๔ อย่างเท่านั้น เปรียบเทียบกับคน ฆ่าวัวหรือลูกมือของคนฆ่าวัวผู้ชำานาญ ครั้นฆ่าแม่วัวแล้ว ก็ ชำา แหละเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง เป็นการพิจารณาลึกลงไปให้เข้าถึงแก่นแท้หรือสภาพเดิมแห่ง ร่างกายที่มาจากการประกอบคุมกันขึ้นจากธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุ ดิน ธาตุนำ้า ธาตุไฟ ธาตุลม ๖. นวสีวถิกาปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาพิจารณา ซากศพ ๙ ลักษณะ การเจริญสติปัฏฐานด้วยวิธีใส่ใจพิจารณาซากศพ ดำารงอยู่ ๙ ลักษณะอย่างมีสติสัมปชัญญะแล้วย้อนกลับนำา กายของตนเข้าไปเปรียบเทียบว่า ถึงแม้กายนี้ ก็จะมีความเป็น อย่างนี้เป็นธรรมดา ก็จะมีภาวะอย่างนี้ ไม่พ้นความเป็นอย่างนี้ ไปได้ ซากศพ ๙ ลักษณะคือ (๑)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ตายแล้ววัน หนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวน่า เกลียด ศพมีนำ้าเหลืองเฟะ (๒) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ฝูงนกกา จิกกินบ้าง ฝูงนกแร้งจิกกินบ้าง ฝูงนกเหยี่ยวจิกกินบ้าง ฝูง ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๘/๒๕๑-๒๕๒. ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๙/๒๕๒-๒๕๔. 21
  • 22. สุนัขบ้านกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกกัดกินบ้าง ฝูงสัตว์มีชีวิตกัด กินบ้าง (๓) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นโครงกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ (๔)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ แต่มีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัด (๕)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ (๖)ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นเอ็นกระดูก ไม่มี เอ็นรึงรัดแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามทิศใหญ่ทิศน้อย มีกระดูก มือ กระดูกเท้า กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกเอว กระดูกแขน กระดูกไหล่ กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกฟัน กะโหลกศีรษะ กระจัดกระจายไปคนละทาง (๗) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูก สีขาวเหมือนสังข์ (๘) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นท่อนกระดูก กองอยู่ด้วยกันเกินกว่าปี (๙) ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูก ผุเปื่อยเป็นผงแล้ว ๒ .๖ .๑ .๒ เ ว ท น า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร พิจารณาดูเวทนา ว่าด้วยการกำาหนดรู้เวทนา คือพิจารณาความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในตัวเองเป็นอารมณ์ ให้ รับรู้ว่าเป็นเพียงเวทนา ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เกิดขึ้นขณะเสวยเวทนา เวทนาที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญ สติปัฏฐานแบ่งเป็น ๙ ชนิดมีหลักการปฏิบัติดังนี้ (๑) เมื่อ เสวยเวทนาที่เป็นสุข ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข (๒) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็น ทุกข์ (๓) เมื่อเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวย ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๐/๒๕๔. 22
  • 23. เวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข (๔) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นสุขมีอามิส ก็รู้ ชัดว่ากำาลังเสวยเทวนาที่เป็นสุขมีอามิส (๕) เมื่อเสวยเวทนาที่ เป็นสุขไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นสุขไม่มีอามิส (๖) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์มีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวย เวทนาที่เป็นทุกข์มีอามิส (๗) เมื่อเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ไม่มี อามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ไม่มีอามิส (๘) เมื่อ เสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนา ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส (๙) เมื่อเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่ากำาลังเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี อามิส ๒ .๖ .๑ .๓ จิต ต า นุปัส ส น า ส ติปัฏ ฐ า น : ก า ร พิจารณาดูจิต คำาว่า จิต ในที่นี้ หมายถึง ธรรมชาติที่นึกคิดหรือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ได้แก่ รู้รูป รู้ เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้ โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ สำาหรับจิตที่ใช้เป็นอารมณ์ในการ เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น แบ่งเป็น ๑๖ ประเภท กำาหนดตามสภาวะของจิตให้เห็นเป็นเพียงจิตที่กำาลังเป็นไปใน ขณะนั้น อย่าให้ความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เข้าไป เกี่ยวข้อง มีหลักการปฏิบัติดังนี้ (๑) เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ (๒) เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจาก ราคะ (๓) เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ (๔) เมื่อจิต ปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ (๕) เมื่อจิตมีโมหะ สุขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าชอบใจ. สุขเวทนาที่เกิดในขณะกำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา. ทุกขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือ กามคุณ ๕. ทุกขเวทนาที่เกิดในขณะกำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา. อทุกขมสุขเวทนาที่เจือปนด้วยกิเลสโดยมีสิ่งเร้าคือ กามคุณ ๕. อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดในขณะที่กำาลังเจริญสมถะและวิปัสสนา. ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๑/๒๕๕. 23