SlideShare a Scribd company logo
1 of 120
Download to read offline
คำ�อนุโมทนา
	 ขออนุโมทนาในความตั้งใจดีของ  พระธีรพิสิษฐ์  จนฺทสาโร  ที่มีความ
วิริยะอุตสาหะได้รวบรวมเรียบเรียงหนังสือ “คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้”
เล่มนี้   เห็นว่าหนังสือนี้นอกจากเป็นประโยชน์แล้ว สามารถใช้เป็นคู่มือในการ
ดำ�เนินชีวิต ด้วยมีทั้งหลักธรรมคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และคำ�กลอนสอนใจ ได้เป็นอย่างดี
	 ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย บารมีพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระครู
ภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) โปรดดลบันดาลให้  พระธีรพิสิษฐ์  จนฺทสาโร  และ
ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจนสำ�เร็จสมประสงค์ จงมี
แต่ความสุขความเจริญในพระธรรมคำ�สั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน
ทุกทิวาราตรีกาลเทอญ ฯ
				
	 	 	 	 	 ( พระครูสันติบุรพทิศ )
	 	 	 	          เจ้าคณะตำ�บลสำ�นักท้อน
	 	 	   	           เจ้าอาวาสวัดชากหมาก
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
พระธีรพิสิษฐ์  จนฺทสาโร
รวบรวม
คำ�นำ�
	 	 	      คุณธรรมนำ�ใจให้ชาติสุข		
	 	 	 ไร้ความทุกข์เสริมสวัสดิ์พิพัฒน์ผล
	 	 	 ล้วนสงบราบเรียบทั่วมณฑล	 	 	
	 	 	 วิถีชนโชติช่วงชัชวาลย์
	 	 	 หากแม้นว่าคุณธรรมเริ่มถดถอย	 	
	 	 	 เริ่มเหลือน้อยค่อยหายคล้ายอวสาน
	 	 	 ทั้งแก่งแย่งชิงเด่นดีอยู่ทุกกาล
	 	 	 อันดวงมานล้วนห่อเหี่ยวไม่เจริญ
	 	 	 โปรดเถิดเราเร่งรุดพัฒนาจิต
	 	 	 โปรดพินิจคิดดีให้สรรเสริญ
	 	 	 โปรดละเว้นคิดชั่วไม่จำ�เริญ
	 	 	 โปรดก้าวเดินตามครรลองพุทธธรรม์
	 	 	 ด้วยเหตุนี้จึงคิดสร้างทางผู้กล้า
	 	 	 สร้างปัญญาสร้างความรู้สร้างสุขสันต์
	 	 	 เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมเอนกอนันต์
	 	 	 บรรจงพลันรวมเป็นเล่มดังนี้มา
	 	 	 ขอขอบคุณ ขอบใจ ในนำ�จิต
	 	 	 ญาติสนิทมิตรสหายช่วยสรรหา
	 	 	 ทั้งแรงกายแรงใจแลเงินตรา
	 	 	 ขอบุญญาบารมีจงเกิดพลัน
	 	 	 	 พระธีรพิสิษฐ์  จนฺทสาโร
	 	 	 	 	 ๒๕๕๖
บุญกุศลเหล่าใดอันเกิดแต่การสร้างหนังสือเล่มนี้
ข้าพเจ้าขอถวายบุญกุศลเหล่านั้น แด่พระไตรรัตน์
คุณบิดา คุณมารดา คุณครู พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ทุก ๆ ท่าน
และขอขอบใจ ขอบคุณ ขอบพระคุณ
โยมพ่อสกล – โยมแม่สุรางค์  ศิริรัตน์  ผู้ให้กำ�เนิดข้าพเจ้า
โยมแม่เก๋ศศินรีย์  พระบุญเรือง  ผู้ให้ทางปัญญาแก่ข้าพเจ้า
พระครูสันติบุรพทิศ  ผู้ให้กำ�เนิดข้าพเจ้าในบวรพระพุทธศาสนา
พระครูสังวรญาณวงศ์  ผู้ให้คำ�แนะนำ�ในการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้
โยมพี่พัชมณ  พรหมธนะ โยมพี่พงศกร  แสงนาค
ผู้จุดประกายความคิด ให้กำ�ลังใจในการสร้างหนังสือเล่มนี้จนสำ�เร็จ
โยมจุฑาทิพย์  เจริญงามพิศ
โยมพิษณุชัย เรืองจันทึก
ผู้ช่วยจัดทำ�ต้นฉบับ
และญาติธรรม คณะอุบาสก – อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาร่วมสร้างหนังสือเล่มนี้
ขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุข ความเจริญในพระธรรมคำ�สั่งสอน
ขององค์สมเด็จพระทศพลญาณ ในทุกทิวาราตรีกาล เทอญฯ
สารบัญ
   ภาค	 	 	 	 	 	 	 	 หน้า
     ๑	 ความเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับสามเณร	 	 	 	   ๑
	 ตอนที่ ๑ ความเป็นหน่อเนื้อสมณะ	 	 	 	   ๓
	 ตอนที่ ๒ เสขิยวัตร : ข้อวัตรปฏิบัติสำ�หรับพระภิกษุ – สามเณร	 ๑๐
     ๒	 คุณธรรมนำ�ไทย ใส่ใจพัฒนาข้าราชการ		 	 	 ๑๗
	 ตอนที่ ๑ คุณธรรมนำ�ไทย	 	 	 	 	 ๑๙
	 ตอนที่ ๒ คุณธรรม จริยธรรม สำ�หรับข้าราชการที่ดี	 	 ๓๐
	 ตอนที่ ๓ หลัก ๑๐ ประการ ตามรอยพระยุคลบาท	 	 ๓๕
	 ตอนที่ ๔ หลักราชการที่ควรรู้		 	 	 	 ๔๖
	 ตอนที่ ๕ ลักษณะนิสัยคนไทย		 	 	 	 ๔๘
    ๓	 คิหิปฏิบัติ : หลักพื้นฐานบางประการสำ�หรับสาธุชน	 	 ๖๑
	 ตอนที่ ๑ คิหิปฏิบัติ		 	 	 	 	 ๖๓
	 ตอนที่ ๒ ธรรมที่น่าสนใจ เพื่อพัฒนาตน		 	 	 ๗๘
    ๔	 ทักษะชีวิต พิชิตตน		 	 	 	 	 ๘๓
	 ตอนที่ ๑ คุณบิดา – มารดร	 	 	 	 	 ๘๕
	 ตอนที่ ๒ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข		 	 	 ๘๙
	 ตอนที่ ๓ การฝึกทักษะการตัดสินใจ และแก้ปัญหา	 	 ๙๑
		
	 ภาคผนวก	 	 	 	 	 	 ๙๗
		
	 บรรณานุกรม	 	 	 	 	            ๑๐๓
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
ภาค ๑
ความเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับสามเณร
๑
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก
		 	 กู้เงินมาเพื่อใช้	 ทำ�ทุน
		 อาจเกิดผลเงินหมุน	 ไม่ช้า
		 กู้ที่ห่อนมีคุณ		 คือเล่น พนันแฮ
		 เป็นทุกข์ทำ�วุ่นว้า	 ดอกเบี้ยมากมาย
	 	 	 	        พุทธศาสนสุภาษิตคำ�โคลง
	               สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
ความเป็นหน่อเนื้อแห่งสมณะ
	 	       พระศาสนาสืบด้วย	 วงศ์สงฆ์
	 	 น้อมรับธรรมพุทธองค์	 ก่อเกื้อ
	 	 ประกอบกิจดำ�รง	 	 มุ่งปฏิ-    บัตินา
	 	 เว้นแต่ชั่วดีเอื้อ	 	 อยู่ยั้งอวสาน
	 นับแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นบรมครูของมนุษย์ เทวดา มาร พรหมทั้ง
หลาย เสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงมาได้ ๒๕๕๖ ปีแล้วนั้น  ผู้ที่ทำ�หน้าที่สืบทอดพระศาสนา
รักษาพระอมฤตธรรม ให้ยั่งยืนสถาพร  คือ เหล่าพุทธบริษัท ๔  อันประกอบไปด้วย ภิกษุ ๑  
ภิกษุณี ๑  อุบาสก ๑  และอุบาสิกา อีก ๑  นอกจากนี้ ผู้ร่วมสืบทอดพระศาสนานี้ให้ดำ�รง
มั่นตราบจนครบ  ๕,๐๐๐  ปี  ยังรวมไปถึง  “หน่อเนื้อแห่งสมณะ” อีกประเภทหนึ่งด้วย
	 คำ�ว่า “สมณะ” เป็นภาษาบาลี  ในประเทศอินเดีย ใช้เรียกนักบวชในลัทธิต่าง ๆ
เช่น สมณโคดม  อันหมายถึง  นักบวชแห่งตระกูลโคตมะ ซึ่งชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลที่
มิได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาใช้เรียกขานแทนพระพุทธเจ้า ในพจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า ๓๙๓ –
๓๙๔ ให้ความหมายไว้ว่า “ผู้สงบ  หมายถึง นักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้
ความหมายจำ�เพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป
ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล”
	 ส่วนคำ�ว่า “หน่อเนื้อ” แปลได้ว่า เชื้อสาย ชาติพันธุ์ ลูก หรือลูกชาย ฉะนั้น “หน่อ
เนื้อแห่งสมณะ” จึงหมายถึง เชื้อสายแห่งผู้สงบ อันได้แก่ สามเณร ในปัจจุบันนั่นเอง
๓
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๑๑๗๗ ให้ความหมายของ
คำ�ว่า “สามเณร” ไว้ ดังนี้ “ผู้ดำ�รงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐ เรียกสั้นๆ ว่า เณร”
	 ส่วน พระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของ
สามเณร ไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า ๔๓๔ – ๔๓๕ ว่า “เหล่ากอ
แห่งสมณะ. บรรพชิตในพระพุทธศาสนา ผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตร
สรณคมณ์ ถือสิกขาบท ๑๐ และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์”
	 การบรรพชาเณร ปรากฏครั้งแรกเมื่อ ราหุลกุมาร ติดตามพระนางยโสธรา
พระมารดา ทูลขอทรัพย์สมบัติตามคำ�สั่ง พระพุทธเจ้าทรงดำ�ริว่า การให้ “อริยทรัพย์” ดี
กว่าให้ทรัพย์สินเงินทอง หรือราชสมบัติใด ๆ  จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร	
		
	 สามเณรราหุลบวชมาแล้วก็อยู่ในความดูแลของพระอุปัชฌาย์ คือ พระสารีบุตร
ตามหน้าที่ในพระวินัย จนได้รับการยกย่องสรรเสริญถึงคุณสมบัติที่เป็นต้นแบบในทาง
สร้างสรรค์ ๓ อย่าง คือ	 	 	 	 	 	 	
	 ๑. เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัวว่าเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า	 	
	 ๒. เป็นผู้ใฝ่การศึกษาอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นใน
ด้านผู้ใฝ่การศึกษา	 	 	 	 	 	 	
	 ๓. เป็นผู้มีความเคารพและกตัญญูกตเวทีต่ออุปัชฌาย์อย่างยิ่ง เข้าตำ�ราโบราณที่
ว่า “ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น”
ด้วยเหตุนี้ สามเณรราหุล จึงนับเป็น “บิดา” ของสามเณรทั้งหลายในปัจจุบัน
๔
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
วิธีการบรรพชาเป็นสามเณร	
	 การอุปสมบทในสมัยพุทธกาล มีอยู่  ๘  วิธี  ดังนี้
๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา  อุปสมบทโดยพระพุทธองค์ตรัสให้บวช ดังนี้ “จงมาเป็นภิกษุ มาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวนั้น ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ และกระทำ�ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด”
๒. ติสรณคมนูปสัมปทา  อุปสมบทโดยการขอถึงพระรัตนตรัย วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
ให้พระสาวกบวชให้กุลบุตรได้เอง
๓. ญัตติจตุตถกรรมวาจา  อุปสมบทโดยสงฆ์ ด้วยญัตติที่ ๔ (ได้แก่ ญัตติแรก จะเป็นการ
ประกาศเพื่อขอญัตติ (คือ ความเห็นชอบ) จากสงฆ์ และ ๓ ญัตติหลัง จะเป็นการขอความ
เห็นชอบจากสงฆ์ หากมีการคัดค้านแม้เพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าบวชไม่ได้)
	 วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เมื่อทรงเห็นว่า มีคณะสงฆ์จำ�นวนมากแล้ว วิธีนี้
แสดงถึง ความมีประชาธิปไตยอยู่ในพระดำ�ริของพระพุทธเจ้า
	 ภิกษุรูปแรก ที่ได้บวชด้วยวิธีนี้ คือ ราธพราหมณ์ และมีพระอุปัชฌาย์ รูปแรก คือ
พระสารีบุตร
๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา  อุปสมบทโดย การรับโอวาท ๓ ข้อ จากพระพุทธเจ้า วิธีนี้ทรง
บวชให้แก่ พระมหากัสสปะ มีดังนี้
	 - เธอจงมีความละอาย และ ยำ�เกรงในภิกษุทั้งที่แก่กว่า เสมอกัน และอ่อนกว่า
	 - ธรรมใดที่เป็นกุศลธรรม เธอจงเงี่ยหู ตั้งใจฟังธรรมนั้น
	 - เธอจงไม่ละสติออกจากกาย
๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา  อุปสมบทโดย การตอบปัญหาของพระพุทธองค์ ทรงอนุญาต
แก่ โสปากสามเณร
๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา  อุปสมบทโดย การรับครุธรรม ๘ ประการ ทรงอนุญาตแก่
พระนางปชาบดีโคตมี
๗. ทูเตนะอุปสัมปทา  อุปสมบทด้วย ทูต คือ ตัวแทน ทรงอนุญาตแก่ อัฑฒกาสีภิกษุณีเรื่อง
มีอยู่ว่า นางอัฑฒกาสี เดิมเป็นธิดาเศรษฐี แต่ต่อมาฐานะตกตำ�กลายเป็นนางคณิกา ในกรุง
ราชคฤห์ เพราะผลแห่งวจีทุจริตในอดีต เมื่อนางได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จึงออกบวชใน
สำ�นักภิกษุณีที่กรุงเวสาลี แล้วต่อมาได้เดินทางมาเพื่อขออุปสมบทในสำ�นัก
๕
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
ของพระพุทธเจ้า แต่ทราบว่ามีผู้หมายทำ�ร้ายตนในระหว่างทาง จึงส่งเพื่อนภิกษุณีไป
กราบทูล พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ ภิกษุณีที่เป็นทูตนั้น กล่างคำ�ขอบวชต่อภิกษุสงฆ์
แทนอัฑฒกาสีภิกษุณี
๙. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา  อุปสมบทด้วย ญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ภิกษุสงฆ์
และ ภิกษุณีสงฆ์ ทรงอนุญาตแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย
	 ในปัจจุบัน ทางคณะสงฆ์ยังใช้อยู่ ๒ วิธี คือ ติสรณคมนูปสัมปทา และ ญัตติจตุตถ
กัมมอุปสัมปทา เท่านั้น โดยที่วิธีติสรณคมณูปสัมปทา ใช้สำ�หรับการบรรพชาสามเณร และ
วิธีญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา สำ�หรับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา  
ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงการบรรพชาเท่านั้น  
	 ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ได้แสดงการบรรพชาสามเณรไว้ดังนี้
	 “[๑๑๘]………............
                     ลำ�ดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำ�ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวช
กุลบุตร  เป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์
วิธีให้บรรพชา
                     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้:-
               ชั้นต้น พึงให้โกนผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้
กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอน
ให้ว่าสรณคมน์ดังนี้:-      
ไตรสรณคมน์
	 	 พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ	   ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
	 	 ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ  	  ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
	 	 สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ  	  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
๖
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ  	  แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
	 ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ   	  แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
	 ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ   	  แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
	 ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ 	   แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
	 ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ  	   แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
	 ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ 	   แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์นี้”
สิกขาบทของสามเณร
	 สิกขาบท หมายถึง ข้อศีล , ข้อวินัย บทบัญญัติข้อหนึ่ง ๆ ในพระวินัยที่ภิกษุ
สามเณร พึงศึกษาปฏิบัติ
	 ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ได้แสดงสิกขาบทของสามเณรไว้ดังนี้
	 “[๑๒๐] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำ�ริว่า สิกขาบทของพวกเรามีเท่าไร
หนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร   ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาค
	 พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท
๑๐  แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
	 	 ๑. เว้นจากการทำ�สัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
	 	 ๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
	 	 ๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
	 	 ๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ
	 	 ๕. เว้นจากการดื่มนำ�เมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
	 	     ความประมาท
๗
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 	 ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
	 	 ๗. เว้นจากฟ้อนรำ� ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็นข้าศึก
	 	 ๘. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้
	 	     อันเป็นฐานแห่ง การแต่งตัว
	 	 ๙. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่
	 	 ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ นี้ แก่สามเณรทั้งหลาย และให้
สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นี้”
ประโยชน์แห่งการบรรพชา
	 ประโยชน์อันเกิดแต่การบรรพชานั้น มีมาก ทั้งในเชิงลึก หรือเชิงกว้าง ล้วนแต่แฝง
ความนัยแก่ผู้ที่ได้สัมผัสรสแห่งการบรรพชาให้เห็นเอง หากจะให้ประมวลมาแจกแจง คงจะ
พอได้ ดังนี้
	 ๑. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ฟัง ในสิ่งที่ไม่เคยฟัง จากคณาจารย์มากมาย
	 ๒. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เลื่อนชั้นของตน ทางภายใน คือ ทางจิต ทางวิญญาณ
	 ๓. การบรรพชา ทำ�ให้เพิ่มพูนทรัพย์ภายในแก่ตน อันหมายถึง อริยทรัพย์
	 ๔. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เตรียมตัวก่อนตาย เตรียมกายก่อนแก่ ถือว่าเป็นผู้ไม่
ประมาทในชีวิต
	 ๕. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เป็นญาติกับพระศาสนา ตามพระบรมพุทโธวาท
	 ๖. การบรรพชา ทำ�ให้ได้อ่านหนังสือหน้าที่ ๒ คือหน้าแห่งชีวิต จิต และวิญญาณ
	 ๗. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เตรียมตัวเพื่อโลกเบื้องหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ
โลกุตรมรรค ผล และพระนิพพาน
	 ๘. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ปิดอบายภูมิให้แก่ตน บิดา มารดา และญาติ ด้วยการ
ปฏิบัติ
	 ๙. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธบิดา ตามพระบรมพุทโธวาท
๘
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 ๑๐. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เข้าโรงเรียนของชีวิต โรงเรียนของพระพุทธเจ้า ที่พระ
อริยเจ้าทั้งหลายจบออกมาหลายรุ่น
	 ๑๑. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เพิ่มพูนบารมีที่พร่องไป หรือยังไม่มี ให้บังเกิดมี และ
เต็มเปี่ยม
	 ๑๒. การบรรพชา ทำ�ให้ได้หลักประกันชีวิตของตน ภายหลังที่ล่วงลับจากโลกนี้ไป
แล้ว
	 ๑๓. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ตรวจข้อบกพร่องที่อาจมีอยู่ แล้วแก้ไข เฉกเช่น คนเรา
นำ�รถเข้าอู่ เพื่อเช็ค อัดฉีดใหม่
	 ๑๔. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ฝึกตน ไม่หลงผิด ยึดติดในบ่วงแห่งมาร
	 ๑๕. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เดินตามรอย ที่พระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ได้เดินมา
แล้ว
	 ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ใดเป็นผู้รู้ เป็นพหูสูต เป็นนักวิเคราะห์ ลองพิจารณาเอาเถิด  การ
บรรพชา จักได้ประโยชน์มากมายนานัปการ อันไม่สามารถกล่าวได้หมด หรือจะกล่าวง่าย ๆ
คือ รู้เอง เห็นเอง ปฏิบัติเอง ประเสริฐสุด
๙
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
เสขิยวัตร : ข้อวัตรปฏิบัติสำ�หรับพระภิกษุ – สามเณร
	 เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ถือเป็นธรรมเนียมสำ�หรับ
ฝึกฝนกิริยามารยาทของภิกษุ ให้ดูเรียบร้อยงดงาม สมกับภาวะของสมณะ ยังความเลื่อมใส
ให้เกิดแก่ผู้พบเห็น ไม่เป็นชื่อของอาบัติ แต่ปรับอาบัติทุกกฎแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามในทุก ๆ
สิกขาบท เว้นแต่ไม่ได้ตั้งใจ เผลอ ไม่รู้ตัว และอาพาธหนัก ไม่อาจทำ�กิจวัตรได้ มีทั้งหมด ๗๕
สิกขาบท แบ่งเป็น ๔ หมวด ดังนี้
	 หมวดที่ ๑ ชื่อว่า สารูปะ ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปใน
หมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำ�รวมระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะ
สม มี ๒๖ สิกขาบท
	 หมวดที่ ๒ ชื่อว่า โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับ
บิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร มี ๓๐ สิกขาบท
	 หมวดที่ ๓ ชื่อว่า ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่
ผู้อื่น มี ๑๖ สิกขาบท
	 หมวดที่ ๔ ชื่อว่า ปกิณณกะ ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
และบ้วนนำ�ลาย มี ๓ สิกขาบท
	 เสขิยวัตรทั้ง ๗๕ สิกขาบทนี้ ทรงกำ�หนดให้สามเณรศึกษาและปฏิบัติตามด้วย
หมวดที่ ๑ สารูป ว่าด้วยข้อประพฤติในเวลาเข้าบ้าน
	 ในสารูปหมวดที่ ๑ มีทั้งหมด ๒๖ สิกขาบท จัดเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๓ คู่ ดังนี้
คู่ที่ ๑ (๑ – ๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย ไป – นั่ง ในบ้าน
	 นุ่งให้เรียบร้อย ได้แก่ นุ่งสบงให้ได้ปริมณฑล เบื้องบนสูงเพียงเอวให้ปิดสะดือ ชาย
เบื้องล่างให้อยู่ระดับประมาณครึ่งแข้ง ห่มให้เรียบร้อย ได้แก่ ห่มจีวรให้ได้ปริมณฑล ทำ�มุม
ผ้าทั้ง ๒ ให้เสมอกัน ไม่ปล่อยให้ผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง
๑๐
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 ธรรมเนียมในปัจจุบัน ถ้าอยู่ในบริเวณวัด ให้ห่มเฉวียงบ่า โดยปิดบ่าและแขนซ้าย
เปิดบ่าข้างขวา ถ้าออกนอกวัด ให้ห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้ง ๒ ข้าง สูงปิดหลุมคอ ชายอยู่
ระหว่างครึ่งแข้ง
คู่ที่ ๒ (๓ – ๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน
	 เมื่อนุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว เวลายืน เดิน นั่งในบ้านต้องระมัดระวัง อย่าให้ผ้าเลื่อนลง
ต้องคอยซักปกปิดอวัยวะที่กำ�หนดให้ปิด
คู่ที่ ๓ (๕ – ๖) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจัดระวังมือเท้าด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน
	 คือ ห้ามเล่นมือ เล่นเท้า ขณะอยู่ในบ้าน  เช่น กระดิกมือ กระดิกเท้าเล่น   เป็นต้น
ซึ่งส่อให้เห็นการไม่สำ�รวม ใช้มือและเท้าทำ�อย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อเล่น ท่านอนุญาต
คู่ที่ ๔ (๗ – ๘) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไป – นั่ง ในบ้าน
	 คือ ทอดสายตาตำ�ลงห่างตัวประมาณหนึ่งวา มิให้สอดส่ายสายตาหันมองโน่นมอง
นี่ เหมือนขโมย ซึ่งไม่เหมาะกับกิริยาของผู้สำ�รวม
คู่ที่ ๕ (๙ – ๑๐) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไป – นั่ง ในบ้าน
	 การเวิกผ้า คือการถกชายจีวรขึ้นพาดบ่า เปิดให้เห็นสีข้างดูไม่งาม
คู่ที่ ๖ (๑๑ – ๑๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะ ไป – นั่ง ในบ้าน
	 การหัวเราะเฮฮา หรือการกระซิกกระซี้เพื่อให้ครื้นเครงเป็นการเสียสังวร
คู่ที่ ๗ (๑๓ – ๑๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไป – นั่ง ในบ้าน
	 พูดเสียงปกติธรรมดา คือ นั่งห่างกัน ๖ ศอก ได้ยินชัดเจนไม่ให้เปล่งเสียงดังหรือ
ตะโกน พูดไมค์ออกเสียงเพื่อแสดงธรรมไม่ผิด
คู่ที่ ๘ (๑๕ – ๑๖) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไป – นั่ง ในบ้าน
	 ห้ามไม่ให้โคลงกายไปมา เวลาเดิน ยืน หรือนั่ง ต้องตั้งตัวให้ตรง แต่มิใช่นั่งเบ่งตัว
เพื่ออวดตัวเอง
คู่ที่ ๙ (๑๗ – ๑๘) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไป – นั่ง ในบ้าน
	 ห้ามกางแขนออกแกว่งไกว เพื่อแสดงตนให้ดูดี หรือเพื่อแสดงลีลานวยนาด ให้
ห้อยแขนแนบลำ�ตัวตามปกติ ถ้ากางแขนออกเพราะจำ�เป็น ไม่ต้องอาบัติ
๑๑
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คู่ที่ ๑๐ (๑๙ – ๒๐) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ ไป – นั่ง ในบ้าน
	 ห้ามไม่ให้เดินหรือนั่งคอพับ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ต้องตั้งศีรษะให้ตรง การพยัก
หน้า ในขณะพูด ก็จัดเป็นการสั่นศีรษะเหมือนกัน
คู่ที่ ๑๑ (๒๑ – ๒๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือคำ�กาย ไป – นั่ง ใน
บ้าน
	 ห้ามไม่ให้เอามือเท้าสะเอว ไม่นั่งเท้าแขน ไม่เท้าศอกบนโต๊ะ หรือนั่งคำ�คาง
เป็นต้น เพราะดูไม่งาม
คู่ที่ ๑๒ (๒๓ – ๒๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไป – นั่ง ใน
บ้าน
	 ห้ามไม่ให้เอาผ้าคลุม โพกหรือมัดศีรษะเหมือนฆราวาส
ข้อที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน
	 คือห้ามเดินเขย่งเท้า ทำ�ตัวให้สูง รวมถึงการเดินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่การเดินเหยียบ
ตามปกติ เช่น การเดินตะแคงเท้า การเดินลากส้น เป็นต้น
ข้อที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
	 ห้ามมิให้นั่งยอง ๆ เอามือรัดเข่าหรือเอาผ้ารัดรอบ เพราะดูไม่งาม
	 ข้อ ๑ – ๒ ต้องถือปฏิบัติทั้งในวัดและในบ้าน ตั้งแต่ข้อ ๓ – ๒๖ ต้องถือปฏิบัติ
เคร่งครัด ในบ้าน แต่ถ้าเขาจัดที่พักแรมในบ้านภิกษุจะปฏิบัติตนเหมือนอยู่ในวัดก็ได้
หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยการรับและฉันภัตตาหาร
	 มีทั้งหมด ๓๐ สิกขาบท ดังนี้ คือ
๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ คือ รับบิณฑบาตด้วย    ความ
เต็มใจ ไม่แสดงอาการดูหมิ่นดูแคลน
๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาตเราจักดูแลแต่ในบาตร คือ ในขณะที่รับ
บิณฑบาต ห้ามมองดูหน้าทายก หรือมองไปทางอื่น ให้มองดูแต่ในบาตรเท่านั้น
๑๒
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอควรแก่ข้าวสุก เวลารับบิณฑบาต ท่านห้าม
รับแต่รายที่มีกับข้าว โดยผ่านทายกผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าไปเสีย และเวลารับกับข้าวก็ให้รับแต่
พอดีกับข้าวสุก รับอาหารมากกว่าข้าว ไม่ควร
๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร ขอบบาตรนั้น
หมายเอาขอบล่างภิกษุรับเอาเกินขอบปากบาตร เพราะโลภเป็นอาบัติ ถ้ารับด้วยอาการ
รักษาศรัทธา หรือเพื่ออนุเคราะห์ด้วยเมตตา ไม่ถือว่าวผิด
๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ คือ ฉันเพื่อยังชีพให้เป็นอยู่ ไม่
แสดงอาการรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่ดี ไม่อร่อย ไม่ชอบ
๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร คือขณะฉันห้ามแลดู
สิ่งอื่น เพราะการมองดูโน่นดูนี่ ขณะกำ�ลังเคี้ยวอยู่ในปาก เป็นกิริยาที่ไม่งาม
๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง คือ ห้ามไม่ให้หยิบข้าวในที่เดียว
จนเป็นหลุมลึกลงไป
๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก คือ ห้ามไม่ให้ฉันเฉพาะ
แกง ให้ฉันข้าวกับอาหารพอ ๆ กัน และไม่ฉันแบบตะกละตะกลาม
๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป คือ เมื่อมีข้าวพูนเป็น
ยอดต้องเกลี่ยให้เสมอกันแล้วจึงฉัน
๑๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้
มาก คือ เมื่อไปฉันในกิจนิมนต์ทายกจะคอยอังคาส คือ เติมของฉันถวาย ห้ามมิให้เอาข้าว
สุกกลบแกง
๑๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน
มาฉัน ถ้าขอกับญาติหรือผู้ปวารณาได้ หรือขอมาให้ภิกษุผู้อาพาธก็ได้เช่นกัน
๑๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ คือ ไม่แลดู
บาตรของภิกษุสามเณรอื่นด้วยคิดจะตำ�หนิว่าฉันมาก ฉันมูมมาม เป็นต้น ถ้าแลดูด้วยคิด
จะให้ของฉันที่เขายังไม่มี ควรอยู่
๑๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ทำ�คำ�ข้าวให้ใหญ่นัก ของอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าว     ก็
ห้าม ไม่ให้ทำ�คำ�ใหญ่ เพราะทำ�ให้ดูไม่งาม
๑๓
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
๑๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักทำ�คำ�ข้าวให้กลมกล่อม คือ ทำ�ให้เป็นคำ�ขนาดพอดี
ปาก
๑๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อคำ�ข้าวยังไม่ถึงปาก จักไม่อ้าปากไว้คอยท่า คือ ไม่ให้อ้า
ปากไว้ก่อนส่งข้าวเข้าปาก เมื่อยกคำ�ข้าวมาจ่อที่ปากแล้วจึงอ้ารับได้ และขณะที่เคี้ยวอยู่
ห้ามอ้าปาก ให้หุบปากเคี้ยว
๑๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่าเมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอามือสอดเข้าปาก คือ ห้ามเอานิ้วมือล้วง
เข้าไปในปาก หรือดูดเลียนิ้วมือ เพราะทำ�ให้ดูสกปรก
๑๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อคำ�ข้าวยังอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ขณะที่เคี้ยวอาหารอยู่
ห้ามพูด เพราะจะทำ�ให้เห็นอาหารที่อยู่ในปาก และอาหารอาจร่วงจากปาก ดูน่าเกลียด
๑๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่โยนคำ�ข้าวเข้าปาก คือ ไม่โยนคำ�ข้าวแล้วอ้าปากรับ
เพราะเป็นกิริยาที่ซุกซน
๑๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำ�ข้าว กัดของอื่น เช่น ขนมแข็งหรือผลไม้ ไม่
ห้าม ข้อนี้บัญญัติเพื่อมิให้ฉันมูมมาม
๒๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำ�กระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ห้ามฉันอมไว้มากๆ จึงเคี้ยว
เพราะเวลาเคี้ยวจะทำ�ให้แก้มตุ่ยออกมา ดูไม่งาม
๒๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง ข้อนี้ท่านห้ามสะบัดมือ เมื่อ
มีข้าวสุกติดมือให้ล้างด้วยนำ�
๒๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว คือ ห้ามไม่ให้ทำ�ข้าวหกลงใน
บาตรหรือบนพื้น
๒๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น เพราะเป็นกิริยาที่น่าเกลียด
๒๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ
๒๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ ขณะซดนำ�
๒๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ คือแลบลิ้นเลียอาหารที่ติดมือ หรือติด
ซ้อนส้อมเข้าปาก
๑๔
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
๒๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร ข้าวเหลือน้อยไม่พอคำ�  ห้ามไม่ให้
ตะล่อมรวมเข้าฉัน
๒๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก หากเปื้อนให้ใช้ผ้าเช็ด หรือใช้นำ�
ล้าง
๒๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือที่เปื้อนจับภาชนะนำ� เพราะจะทำ�ให้ภาชนะ
เปื้อนไปด้วย
๓๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอานำ�ล้างบาตร ที่มีเมล็ดข้าวเทในบ้านแม้ไม่มี
เมล็ดข้าวก็ไม่ควรเท
หมวดที่ ๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยการแสดงธรรม
	 มี ๑๖ สิกขาบท ดังนี้
๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ
๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีไม้พลองในมือ
๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีอาวุธในมือ
๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีศัสตราในมือ
๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมเขียงเท้า คือ สวม
รองเท้ามีส้น
๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมรองเท้า
๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในยาน คือ อยู่ระหว่าง
เดินทางด้วยยานพาหนะ ถ้านั่งในรถ หรือเรือลำ�เดียวกัน แสดงได้ แต่ถ้าไม่ได้นั่งในยาน
เดียวกัน ห้ามแสดง
๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน
๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งรัดเข่า
๑๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้พันศีรษะ
๑๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้คลุมศีรษะ
๑๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ
๑๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง
๑๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งอยู่
๑๕
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
๑๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
๑๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปอยู่ในทาง
	 ทั้ง ๑๖ สิกขาบทนี้ เป็นข้อห้ามไม่ให้ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้ไม่ทำ�เคารพในพระธรรม
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฎในทุกสิกขาบท
หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด
	 มี ๓ สิกขาบท ดังนี้
๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ
(เสมหะหรือเสลด, นำ�ลาย) ลงในของเขียว ของเขียวในสิกขาบทนี้ ได้แก่ พืช ผัก หญ้า หรือ
ข้าวกล้า เป็นต้น ที่เขาปลูกไว้เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ ของเขียวที่คนไม่ต้องการ ไม่จัดเข้าใน
สิกขาบทนี้
๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลง
ในนำ� นำ�ในที่นี้ หมายเอา นำ�ที่เขาต้องใช้สอย นำ�ที่ไม่มีคนใช้ ไม่เป็นอาบัติ
๑๖
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
ภาค ๒
คุณธรรมนำ�ไทย ใส่ใจพัฒนาข้าราชการ
๑๗
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
			 จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
			 อย่าตะครั้นตะคอกให้เคืองหู
			 ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู
			 คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
			 แม้จะเรียนวิชาทางค้าขาย
			 อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย
			 จึงซื้อง่ายขายดีมีกำ�ไร
			 ด้วยเขาไม่เคืองจิตคิดระอา
			 เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
			 จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
			 แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา
			 จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
					 สุนทรภู่
๑๘
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรมนำ�ไทย
	 ในสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน   มีข่าวน่าเศร้าสลดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ
ฆาตกรรม การโจรกรรม ปัญหายาเสพติด การคอรัปชั่น  ความประพฤติของเหล่าบุคคลใน
สังคม  เหล่านี้ถือเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ ของปัญหาสังคมในปัจจุบันเท่านั้น  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า  
สังคมไทยกำ�ลังกำ�ลังก้าวเข้าสู่ “ภาวะวิกฤตทางคุณธรรม (Morality Crisis) ของบุคคลใน
ประเทศ   กอปรกับการรับเอาวิถีวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาใช้ในการดำ�เนินชีวิตประจำ�
วัน   รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ อันทันสมัย สะดวก ประหยัดเวลา โดยมิได้พินิจพิจารณาให้
ถี่ถ้วนถึงความสำ�คัญ และความประสงค์เดิมของการนำ�มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต   เป็นการ
นำ�มาใช้เพื่อตน  ทำ�ตามใจตน  อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรับเอามาเพื่อประดับบารมี  เพื่อยก
ระดับทางสังคมของตน  จนนำ�เข้าสู่การนำ�มาประพฤติ ปฏิบัติ และใช้สอยอย่างมิชอบ  มีผู้รู้
กล่าวไว้ว่า
	 	 	   “เพราะสังคมประเมินค่าคนที่จนรวย
	 	 	 คนจึงสร้างเปลือกสวยได้สวมใส่
	 	 	 หากสังคมวัดค่าคนที่จิตใจ
	 	 	 คนจะสร้างนิสัยที่ใฝ่ดี”
แน่นอนว่ามิใช่เพียงที่กล่าวมาเท่านั้น ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครอบครัว
ก็เช่นเดียวกันย่อมส่งผลกระทบโดนตรงต่อการเสื่อมสูญทางคุณธรรมได้เป็นอย่างดี เช่น
ลักษณะนิสัยส่วนตัว การสั่งสอนของบิดามารดา เพื่อน เป็นต้น แต่เมื่อใดเราได้หันกลับมา
มองดูตน สำ�รวจ ตรวจตรา ด้วยสติ ด้วยปัญญาอย่างแท้จริงแล้วยอมรับ แก้ไข ปรับปรุงใน
ส่วนที่ผิด เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด โดยน้อมนำ�เอาหลักธรรมคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรม
ศาสดาเจ้า มาเป็นเกณฑ์ เป็นแนวทาง ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เรากำ�ลังเผชิญอยู่นี้
ย่อมหายไปตราบจนนิรันดร์
๑๙
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
			 คุณธรรม คือ สิ่งใดกัน
	 	 	     “ถึงทรงศักดิ์อัครฐานสักปานใด
	 	 	 ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี
	 	 	 ถึงฉลาดขลาดเขลาปัญญาดี
	 	 	 ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ตำ�คน”
	 จากบทประพันธ์ขอกวีท่านหนึ่งในสังคมไทย ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า ผู้
ใดก็ตามถึงมียศศักดิ์ มีความรำ�รวย สวยหล่อ หรือแม้ว่าจะโง่ จะฉลาดสักปานใด แต่ถ้าขาด
คุณธรรม ก็ตำ�คน คำ�ว่า “ตำ�คน” ตามบประพันธ์นั้น ย่อมหมายถึง คนที่ไร้ศีลธรรม ความ
ประพฤติมากไปด้วยทุจริต ติดอยู่ในอบาย ไม่ละอายในความคิด จิตแปรปรวนไม่แน่นอน  
จนเป็นคนชั่วของสังคมไป แล้วคำ�ว่า “คุณธรรม” ล่ะ คืออะไร
	 คำ�ว่า “คุณธรรม” อาตมาขอแยกเป็นสองคำ�  เพื่อให้เข้าใจพื้นความหมายของ
คำ�ได้ง่ายขึ้น คือ คำ�ว่า คุณ และ ธรรมะ โดยที่ คำ�ว่า “คุณ”  แปลว่า ความดี ส่วนคำ�ว่า
“ธรรมะ” มีความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของคำ�นี้ ว่า
“ระบบประพฤติปฏิบัติ   เพื่อความถูกต้องดีงามในทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของชีวิต”
และ ท่านยังให้ความหมายของธรรมะไว้อีก ๔ ประการหลัก คือ
	 	 ๑.  ธรรม คือ ธรรมชาติ (Nature)
	 	 ๒.  ธรรม คือ กฎของธรรมชาติ (Law of Nature)
	 	 ๓.  ธรรม คือ หน้าที่ของธรรมชาติ (Duty of Nature)
	 	 ๔.  ธรรม คือ ผลแห่งธรรมชาติ (Result of Nature)
โดยรวมของทั้ง  ๔  ความหมายนี้ อาจกล่าวได้ว่า ธรรมะ ก็คือ สภาพอันไปเป็นของธรรมชาติ
นั่นเอง  
	 พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมาย
ของ คุณธรรม ว่า ธรรมที่เป็นคุณงามความดี สภาพที่เกื้อกูล  
	 ส่วนพุทธทาสภิกขุ ผู้เป็นพระนักปราชญ์ กล่าวว่า คุณธรรม เป็นคุณสมบัติฝ่ายดี
โดยส่วนเดียวเป็นที่ตั้ง หรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพ หรือสันติสุขของมนุษย์
	
๒๐
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 จากที่กล่าวมา จึงสรุปได้ว่า คุณธรรม (Virtue) หมายถึง สภาพอันเป็นธรรมชาติ
ของคุณงามความดีในจิตใจ ที่เกื้อกูล ที่ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถ้าหากกล่าวในเชิง
ของนามธรรมนั้น คุณธรรม เป็นจิตสำ�นึกของคน  ที่ตระหนักในความผิดชอบชั่วดี ต่อการ
กระทำ�อันเคยชินนั้น ๆ ของตน โดยอิงหลักสำ�คัญ  ๓  ประการ  คือ ความรู้สึกผิด ชอบ ชั่ว
ดี ในส่วนตน ๑ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม ๑ และ ธรรมเนียม
ปฏิบัติ อีก ๑ ซึ่งเป็นกรอบพื้นฐานของคุณธรรมในแต่ละบุคคล
แล้วคุณโยมล่ะ คุณธรรม ของคุณโยม คืออะไร???
คุณธรรม สำ�คัญไฉน
	 ในตอนนี้ อาตมาใคร่ถามสักคำ�หนึ่งว่า ถ้ามีคำ�ให้เลือก ๒ คำ� คือ คำ�ว่า คน (Peo-
ple) และ มนุษย์ (Human) ท่านจะเลือกคำ�ใดที่บ่งบอกถึงตัวตนของท่าน  แน่นอนว่า ท่าน
คงจะเลือกคำ�ว่า  มนุษย์  แต่ท่านแน่ใจแล้วหรือกับคำ�ๆนี้  อาตมาขอกล่าวเป็นเบื้องต้นก่อน
ว่า คำ�ว่า มนุษย์ ในภาษาบาลีเขียนว่า  มนุสฺส มาจาก  มน (มะ-นะ) แปลว่า ใจ รวมกับคำ�ว่า  
อุสฺส  แปลว่า สูง  มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง  เป็นผู้ที่สูงส่งด้วยจิตใจ มีคุณธรรม ศีลธรรม
จริยธรรมประจำ�ใจ  ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร ส่วน คน ก็เป็นแค่บุคคลทั่วไป ดำ�เนิน
ชีวิตไปตามครรลองของใจตน ดีบ้าง ชั่วบ้าง ดังที่ท่านพุทธทาส ได้กล่าวไว้เป็นบทกลอนสอน
ใจว่า
	    “เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง	 เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน
	 ถ้าใจตำ�ก็เป็นได้แต่เพียงคน	 	 ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา
	 ใจสะอาดใจสว่างใจสงบ	 	 ถ้ามีครบควรเรียกมนุสสา
	 เพราะทำ�ถูกพูดถูกทุกเวลา	 	 เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง
	 ใจสกปรกมืดมัวและร้อนเร่า	 	 ใครมีเข้าควรเรียกว่าผีสิง
	 เพราะพูดผิดทำ�ผิดจิตประวิง	 	 แต่ในสิ่งทำ�ตัวกลั้วอบาย
	 คิดดูเถิดถ้าใครไม่อยากตก	 	 จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย
	 ให้ใจสูงเสียได้ก่อนตัวตาย	 	 ก็สมหมายที่เกิดมาอย่าเชือนเอยฯ”
๒๑
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 เราท่านจะพิจารณาได้ว่า ท่านพุทธทาสมองเห็นความสำ�คัญของการมีคุณธรรม
ศีลธรรมในจิตใจ ด้วยภาวะของการอยู่ในสังคมนี้ มีการแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ละโมบโลภ
มาก ต่อสิ่งยั่วยวนจิตใจ   หากขาดคุณธรรม ปัญหายิ่งบานปลาย จากสังคมอันสงบสุขจะ
กลับกลายเป็นนรกเสมือนจริง อย่างไรล่ะที่ว่าเป็นนรกเสมือนจริง ประการต้นๆ เลยที่เห็น
ได้ชัดเจนที่สุดคือ “เป็นคนเหมือนไม่ใช่คน” ไร้คุณค่า   ใส่หน้ากากเข้าประหัตประหารกัน
ไม่ซื่อสัตย์จริงใจ ไม่มีความเจริญในชีวิต  มาถึงตรงนี้ ทำ�ให้ระลึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตของ
สมเด็จพระทศพลญาณ ซึ่งปรากฏอยู่ในปราภวสูตร       ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ว่า  “ธมฺ
มกาโม ภวํโหติ   ธมฺมเทสฺสี ปราภโว” แปลว่า ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ  ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้
เสื่อม  	
	 ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้สนใจในการศึกษา และปฏิบัติตามธรรมนั้น ย่อมยังผลให้ไม่ตก
ไปสู่โลกที่ชั่ว กล่าวคือ อบายภูมิ อันประกอบไปด้วย เปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์
เดียรัจฉาน มีความสบายกาย สบายใจ ไม่ทุกข์ร้อน ไม่เกิดวิปฏิสาร มีความสำ�เร็จในชีวิต
และย่อมถึงบรมสุขเป็นเบื้องปลาย  หากแต่ผู้เกลียดธรรม ไม่สนใจใคร่รู้ ถึงรู้ก็เพียงเปลือก
มิใช่แก่นของธรรม ไม่ปฏิบัติ ละเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ�  ประกอบแต่สิ่งที่ควรละวาง อบาย
เป็นแหล่งที่ตั้งรอไว้ในเบื้องปลาย   ยังผลให้มีแต่ความทุกข์ กระสับกระส่ายในการดำ�เนิน
ชีวิต มีความผิดพลาดเป็นอารมณ์ มีความล่มจมเป็นสถานพักพิง ฉันใด ผู้ไร้คุณธรรมประจำ�
ใจ ก็เป็นผู้เสื่อมจากสังคม ฉันนั้น
แล้วท่านล่ะ คุณธรรมสำ�หรับท่านสำ�คัญหรือไม่
คุณธรรม ๔ ประการ
	 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นนักปราชญ์
ในหลายๆแขนง ดังที่เราได้ยลยินอยู่เนืองๆ ทั้งด้านอักษรศาสตร์ ด้านปรัชญา ด้าน
เศรษฐศาสตร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งกว่ากษัตริย์เสียอีก เป็นพ่อที่ยิ่งกว่าพ่อของชาว
ไทย คำ�สอนของพระองค์ท่านมีนับไม่ถ้วน ยากจะยกมาได้หมด   อาตมาจึงขอยกคำ�สอนที่
๒๒
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
เป็นหลักปฏิบัติทางด้านคุณธรรมที่สำ�คัญ  ที่สถาบัน หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ยึดถือ
เป็นแนวทางการดำ�เนินรอยตามพระองค์ พอเป็นแนวสังเขป คือ คุณธรรม ๔ ประการ
	 คุณธรรม ๔ ประการ เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย
เดชมหาราช ได้ทรงพระราชทานสำ�หรับคนไทย ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบุรพ
มหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕
เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุครบ ๒๐๐ ปี ความว่า
	 “...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำ�มาปฏิบัติมีอยู่ ๔ ประการ
	 	 ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติ
ปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
	 	 ประการที่ ๒ คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกฝนจิตใจตนเองให้ประพฤติ
ปฏิบัติอยู่ในสัจความดีนั้น
	 	 ประการที่ ๓ คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วง
ความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
	 	 ประการที่ ๔ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละ
ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
	 คุณธรรม  ๔  ประการนี้  ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง  และบำ�รุงให้มี
ความเจริญงอกงามขึ้น  โดยทั่วกันแล้ว  จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข
ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดั่งประสงค์...”
	 นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชทานคุณธรรม  ๔  ประการ  อันเป็นแนวทาง
ปฏิบัติสำ�หรับพสกนิกรชาวไทย ตามสายพระเนตรของพระองค์ที่ทรงทดพระเนตรเห็น
ในปัจจุบันว่า ลูกๆหลานๆของพระองค์ ขาดคุณธรรมใดก็ทรงพระราชทานข้อคิดเตือนใจ
ในสิ่งนั้น ซึ่งได้พระองค์พระราชทานไว้ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่เสด็จออกสีหบัญชร
พระที่นั่งอนันตสมาคม  เมื่อวันที่  ๙  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๙  มีใจความสำ�คัญสรุปได้ว่า
	 ประการแรก     คือ  การที่ทุกคนคิด พูด ทำ� ด้วยเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน
	 ประการที่สอง คือ  การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน
๒๓
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำ�สำ�เร็จผล ทั้งแก่ตนเองและกับประเทศชาติ
	 ประการที่สาม   คือ  การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริตในกฎกติกา
และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน
	 ประการที่สี่      คือ  การที่ต่างคนต่างพยายามทำ�ความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล
	 หากเราสังเกต จะเห็นได้ว่า พระราชดำ�รัสของพระองค์นั้นทรงยึดมั่นในหลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา ทรงน้อมนำ�เอาหลักธรรมอันสูงสุด มาประยุกต์ใช้ สอดแทรกในพระ
ราชดำ�รัสเพื่อสอนสั่งลูกๆ ของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันมีความแตกฉาน
ในพระธรรมคำ�สั่งสอนของพระบรมศาสนาได้เป็นอย่างดี   แล้วเราล่ะ ได้น้อมเอาพระราช
ดำ�รัส หรือได้ปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทหรือยัง
พระบรมราโชวาท
	 อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า   พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  
ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลในโอกาสต่าง ๆ   ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมและ
จริยธรรมในการทำ�งานทั้งสิ้น  ในที่นี้ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทที่น่าสนใจ มาแสดงเล็ก ๆ
น้อย ๆ เพื่อน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมเป็นบางองก์  ดังนี้
     	 “เมื่อทำ�งาน  ต้องมุ่งถึงจุดหมายที่แท้ของงาน  งานจึงจะสำ�เร็จได้รับประโยชน์
ครบถ้วน  ทั้งประโยชน์ของผู้ทำ�  ถ้าทำ�งานเพื่อจุดหมายอื่น ๆ  เช่น  เพื่อประโยชน์ส่วนตัว  
แม้จะได้ผลมากมายเพียงใด  งานก็ไม่สำ�เร็จ  แต่ทำ�ให้เสียทั้งงานเสียทั้งคน”
   	 “เกียรติและความสำ�เร็จ   เกิดจากผลการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตัวของแต่ละ
คน   ที่สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบให้ได้ผลสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์   และ
ปฏิบัติตัวให้สุจริต  เที่ยงตรง  พอควรพอดีแก่ตำ�แหน่งหน้าที่ที่ดำ�รงอยู่”
๒๔
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
เศรษฐกิจพอเพียง 	
	 นอกจากนี้พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ   “เศรษฐกิจพอเพียง”   ซึ่งมิใช่จะใช้ได้
เฉพาะแต่ในแง่ของการจัดการทรัพย์สินของบ้านเมือง   หรือของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เท่านั้น   แม้แต่ในหมู่ข้าราชการก็เป็นแนวคิดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่มีการล่วงสมัย  
เป็นแนวดำ�เนินชีวิตที่อาจตัดปัญหาที่จะนำ�ไปสู่การฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เป็นอันมาก   การ
ไม่ทะเยอทะยานอยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหรูหราโอ่อ่าและใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   มาสู่
คุณสมบัติประจำ�บุคคล  ปรับตนเองให้พอกินพออยู่  รู้จักประหยัด  คือ  รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ที่
หามาได้ในสิ่งที่จำ�เป็นแก่การครองชีพ  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  รู้จักพินิจพิจารณาว่าสิ่งใดควรซื้อ
หรือไม่ควรซื้อ  รวมตลอดทั้งแบ่งปันรายได้ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ใช้จ่ายเมื่อคราวจำ�เป็น  จะ
ได้ไม่ต้องหยิบยืมผู้อื่นมาแก้ปัญหา  หรือประพฤติมิชอบเพื่อให้พ้นจากภาระหนี้สิน  การถือ
เอาระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักดำ�เนินชีวิตจะมีแต่ทางได้เท่านั้น
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ
		ข้าราชการ หมายถึง ข้ารองธุลีพระบาทในองค์พระมหากษัตริย์ ผู้รับ
สนองงานและกระทำ�งานที่ได้รับนั้นต่างพระเนตรพระกรรณโดยมีหน้าที่หลัก คือ เพื่อบำ�บัด
ทุกข์ บำ�รุงสุขแก่ประชาชนแทนพระองค์   ซึ่งคุณลักษณะผู้เป็นข้าในพระองค์ควรประกอบ
ด้วย
	 ๑. ทักษะการใช้ความคิด
    	 	 ๑.๑ คิดภาพรวม  ลุ่มลึก  และกว้างไกล  ไม่หยุดความคิด
            	 ๑.๒ รู้จักปรับยืดหยุ่น  ไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง
                     	 ๑.๓ คิดทำ�งานเชิงรุก  ไม่ขลุกอยู่กับที่
                      	 ๑.๔ คิดป้องกันดีกว่า  อย่าวัวหายจึงล้อมคอก
	 ๒. การทำ�งานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
	 	 ๒.๑ กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับ  ไม่อยู่กับกระบวนเดิม
	 	 ๒.๒ สร้างเครื่องมือไว้ชี้วัด  ดีกว่าหัดนั่งดูเทียน
	 	 ๒.๓ เช้าชามเย็นชามขอให้งด  จงกำ�หนดเวลาแล้วเสร็จไว้
	 	 ๒.๔ อุทิศซึ่งเวลา  ไม่แสวงหาประโยชน์ตน
๒๕
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
	 	 ๓.๑ คำ�นึงถึงต้นทุน  ไม่คุ้มทุนจงอย่าทำ�
        	 	 ๓.๒ บริหารแบบประหยัด  จงอย่าหัดเป็นหนี้เขา
                 	 ๓.๓ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ  อย่าเป็นทองไม่รู้ร้อน
          	 	 ๓.๔ รู้จักบำ�รุงและรักษา  อย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น
  	 ๔.    ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร
     	 	 ๔.๑ ใช้เทคโนโลยีใหม่  ไม่ล้าสมัยไดโนเสาร์
               	 ๔.๒ สร้างเครือข่ายให้กว้างขวาง  อย่าปล่อยวางเรื่องทีมงาน
              	 ๔.๓ รู้จักพูดให้ได้ผล  อย่าทำ�ตนเป็นเบื้อใบ้
        	 	 ๔.๔ อดทนต่อถ้อยคำ�  ไม่จดจำ�มาต่อกร
	 	 ๔.๕ แถลงเรื่องลึกลำ�ได้  อย่าตอบง่ายไม่ศึกษา
  	 ๕.    ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ
                  	 ๕.๑ ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่คิดคอรัปชั่น
                 	 ๕.๒ พร้อมรับผิดชอบ  ตรวจสอบได้
               	 ๕.๓ สร้างศรัทธาประชา  เงินตราไม่รับ
            	 ๕.๔ ไม่เป็นอภิสิทธิชน  เป็นคนของรัฐและประชาชน
        	 	 ๕.๕ บริการยอดเยี่ยม  คุณภาพเปี่ยมล้น
	 ๖ . การมุ่งเน้นให้บริการ
                     	 ๖.๑ บริการแบบโปร่งใส  พ้นสมัยเป็นความลับ
             	 ๖.๒ คำ�นึงถึงลูกค้า  ให้มากกว่าคำ�นึงตน
                	 ๖.๓ มุ่งผลอันสัมฤทธิ์  คือผลผลิตและผลลัพธ์
            	 ๖.๔ เสมอภาคและเป็นธรรม  ไม่ห่วงยำ�แต่พวกพ้อง
                  	 ๖.๕ บริการประชาชน  ไม่ทำ�ตนเป็นนายเขา
    	 ๗.    จริยธรรม
                     	 ๗.๑ มีศีลธรรม  พฤติกรรมเป็นแบบอย่าง
                 	 ๗.๒ คำ�นึงประโยชน์ราษฎร์  อย่าฉลาดเอาแต่ได้
       	 	 ๗.๓ ร่วมทำ�กิจ  ขจัดจิตเห็นแก่ตัว
๒๖
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้
คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

More Related Content

What's hot

ปราบมาร ภาค 3
ปราบมาร ภาค 3ปราบมาร ภาค 3
ปราบมาร ภาค 3Touch Thanaboramat
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้Kiat Chaloemkiat
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทย
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทยคู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทย
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทยSarod Paichayonrittha
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์Patchara Kornvanich
 
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี Panuwat Beforetwo
 
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนสมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนniralai
 
บาลี 42 80
บาลี 42 80บาลี 42 80
บาลี 42 80Rose Banioki
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์Padvee Academy
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

What's hot (16)

ปราบมาร ภาค 3
ปราบมาร ภาค 3ปราบมาร ภาค 3
ปราบมาร ภาค 3
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทย
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทยคู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทย
คู่มือทำวัตรเช้า เย็น แปลไทย
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
 
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
 
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนสมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
 
Buddha1
Buddha1Buddha1
Buddha1
 
บาลี 42 80
บาลี 42 80บาลี 42 80
บาลี 42 80
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
Chapter2
Chapter2Chapter2
Chapter2
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
 

Similar to คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้Tongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์Padvee Academy
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
บทสวด
บทสวดบทสวด
บทสวดsanunya
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกPanda Jing
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...Tongsamut vorasan
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรSarod Paichayonrittha
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกา
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกาหนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกา
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกาTongsamut Vorasarn
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tongsamut vorasan
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 

Similar to คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ (20)

สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
บทสวด
บทสวดบทสวด
บทสวด
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกา
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกาหนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกา
หนังสือระเบียบ รายนามวัด-พระธรรมทูตในอเมริกา
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
 
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา
 

More from Theeraphisith Candasaro

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทTheeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐Theeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATETheeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อTheeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์Theeraphisith Candasaro
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคTheeraphisith Candasaro
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย Theeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์Theeraphisith Candasaro
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติTheeraphisith Candasaro
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ Theeraphisith Candasaro
 

More from Theeraphisith Candasaro (20)

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
 
e-Donatin
e-Donatine-Donatin
e-Donatin
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
 
คำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศลคำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศล
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
Put the right man on the right job
Put the right man on the right jobPut the right man on the right job
Put the right man on the right job
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ
 

คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้

  • 1.
  • 2. คำ�อนุโมทนา ขออนุโมทนาในความตั้งใจดีของ พระธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ที่มีความ วิริยะอุตสาหะได้รวบรวมเรียบเรียงหนังสือ “คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้” เล่มนี้ เห็นว่าหนังสือนี้นอกจากเป็นประโยชน์แล้ว สามารถใช้เป็นคู่มือในการ ดำ�เนินชีวิต ด้วยมีทั้งหลักธรรมคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคำ�กลอนสอนใจ ได้เป็นอย่างดี ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย บารมีพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระครู ภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) โปรดดลบันดาลให้ พระธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร และ ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาจนสำ�เร็จสมประสงค์ จงมี แต่ความสุขความเจริญในพระธรรมคำ�สั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน ทุกทิวาราตรีกาลเทอญ ฯ ( พระครูสันติบุรพทิศ ) เจ้าคณะตำ�บลสำ�นักท้อน เจ้าอาวาสวัดชากหมาก
  • 4.
  • 5. คำ�นำ� คุณธรรมนำ�ใจให้ชาติสุข ไร้ความทุกข์เสริมสวัสดิ์พิพัฒน์ผล ล้วนสงบราบเรียบทั่วมณฑล วิถีชนโชติช่วงชัชวาลย์ หากแม้นว่าคุณธรรมเริ่มถดถอย เริ่มเหลือน้อยค่อยหายคล้ายอวสาน ทั้งแก่งแย่งชิงเด่นดีอยู่ทุกกาล อันดวงมานล้วนห่อเหี่ยวไม่เจริญ โปรดเถิดเราเร่งรุดพัฒนาจิต โปรดพินิจคิดดีให้สรรเสริญ โปรดละเว้นคิดชั่วไม่จำ�เริญ โปรดก้าวเดินตามครรลองพุทธธรรม์ ด้วยเหตุนี้จึงคิดสร้างทางผู้กล้า สร้างปัญญาสร้างความรู้สร้างสุขสันต์ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมเอนกอนันต์ บรรจงพลันรวมเป็นเล่มดังนี้มา ขอขอบคุณ ขอบใจ ในนำ�จิต ญาติสนิทมิตรสหายช่วยสรรหา ทั้งแรงกายแรงใจแลเงินตรา ขอบุญญาบารมีจงเกิดพลัน พระธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ๒๕๕๖
  • 6. บุญกุศลเหล่าใดอันเกิดแต่การสร้างหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอถวายบุญกุศลเหล่านั้น แด่พระไตรรัตน์ คุณบิดา คุณมารดา คุณครู พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ทุก ๆ ท่าน และขอขอบใจ ขอบคุณ ขอบพระคุณ โยมพ่อสกล – โยมแม่สุรางค์ ศิริรัตน์ ผู้ให้กำ�เนิดข้าพเจ้า โยมแม่เก๋ศศินรีย์ พระบุญเรือง ผู้ให้ทางปัญญาแก่ข้าพเจ้า พระครูสันติบุรพทิศ ผู้ให้กำ�เนิดข้าพเจ้าในบวรพระพุทธศาสนา พระครูสังวรญาณวงศ์ ผู้ให้คำ�แนะนำ�ในการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้ โยมพี่พัชมณ พรหมธนะ โยมพี่พงศกร แสงนาค ผู้จุดประกายความคิด ให้กำ�ลังใจในการสร้างหนังสือเล่มนี้จนสำ�เร็จ โยมจุฑาทิพย์ เจริญงามพิศ โยมพิษณุชัย เรืองจันทึก ผู้ช่วยจัดทำ�ต้นฉบับ และญาติธรรม คณะอุบาสก – อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาร่วมสร้างหนังสือเล่มนี้ ขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุข ความเจริญในพระธรรมคำ�สั่งสอน ขององค์สมเด็จพระทศพลญาณ ในทุกทิวาราตรีกาล เทอญฯ
  • 7. สารบัญ ภาค หน้า ๑ ความเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับสามเณร ๑ ตอนที่ ๑ ความเป็นหน่อเนื้อสมณะ ๓ ตอนที่ ๒ เสขิยวัตร : ข้อวัตรปฏิบัติสำ�หรับพระภิกษุ – สามเณร ๑๐ ๒ คุณธรรมนำ�ไทย ใส่ใจพัฒนาข้าราชการ ๑๗ ตอนที่ ๑ คุณธรรมนำ�ไทย ๑๙ ตอนที่ ๒ คุณธรรม จริยธรรม สำ�หรับข้าราชการที่ดี ๓๐ ตอนที่ ๓ หลัก ๑๐ ประการ ตามรอยพระยุคลบาท ๓๕ ตอนที่ ๔ หลักราชการที่ควรรู้ ๔๖ ตอนที่ ๕ ลักษณะนิสัยคนไทย ๔๘ ๓ คิหิปฏิบัติ : หลักพื้นฐานบางประการสำ�หรับสาธุชน ๖๑ ตอนที่ ๑ คิหิปฏิบัติ ๖๓ ตอนที่ ๒ ธรรมที่น่าสนใจ เพื่อพัฒนาตน ๗๘ ๔ ทักษะชีวิต พิชิตตน ๘๓ ตอนที่ ๑ คุณบิดา – มารดร ๘๕ ตอนที่ ๒ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ๘๙ ตอนที่ ๓ การฝึกทักษะการตัดสินใจ และแก้ปัญหา ๙๑ ภาคผนวก ๙๗ บรรณานุกรม ๑๐๓
  • 8.
  • 9. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ภาค ๑ ความเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับสามเณร ๑
  • 10. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก กู้เงินมาเพื่อใช้ ทำ�ทุน อาจเกิดผลเงินหมุน ไม่ช้า กู้ที่ห่อนมีคุณ คือเล่น พนันแฮ เป็นทุกข์ทำ�วุ่นว้า ดอกเบี้ยมากมาย พุทธศาสนสุภาษิตคำ�โคลง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒
  • 11. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ความเป็นหน่อเนื้อแห่งสมณะ พระศาสนาสืบด้วย วงศ์สงฆ์ น้อมรับธรรมพุทธองค์ ก่อเกื้อ ประกอบกิจดำ�รง มุ่งปฏิ- บัตินา เว้นแต่ชั่วดีเอื้อ อยู่ยั้งอวสาน นับแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของมนุษย์ เทวดา มาร พรหมทั้ง หลาย เสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงมาได้ ๒๕๕๖ ปีแล้วนั้น ผู้ที่ทำ�หน้าที่สืบทอดพระศาสนา รักษาพระอมฤตธรรม ให้ยั่งยืนสถาพร คือ เหล่าพุทธบริษัท ๔ อันประกอบไปด้วย ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ อุบาสก ๑ และอุบาสิกา อีก ๑ นอกจากนี้ ผู้ร่วมสืบทอดพระศาสนานี้ให้ดำ�รง มั่นตราบจนครบ ๕,๐๐๐ ปี ยังรวมไปถึง “หน่อเนื้อแห่งสมณะ” อีกประเภทหนึ่งด้วย คำ�ว่า “สมณะ” เป็นภาษาบาลี ในประเทศอินเดีย ใช้เรียกนักบวชในลัทธิต่าง ๆ เช่น สมณโคดม อันหมายถึง นักบวชแห่งตระกูลโคตมะ ซึ่งชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลที่ มิได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาใช้เรียกขานแทนพระพุทธเจ้า ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า ๓๙๓ – ๓๙๔ ให้ความหมายไว้ว่า “ผู้สงบ หมายถึง นักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ ความหมายจำ�เพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล” ส่วนคำ�ว่า “หน่อเนื้อ” แปลได้ว่า เชื้อสาย ชาติพันธุ์ ลูก หรือลูกชาย ฉะนั้น “หน่อ เนื้อแห่งสมณะ” จึงหมายถึง เชื้อสายแห่งผู้สงบ อันได้แก่ สามเณร ในปัจจุบันนั่นเอง ๓
  • 12. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๑๑๗๗ ให้ความหมายของ คำ�ว่า “สามเณร” ไว้ ดังนี้ “ผู้ดำ�รงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐ เรียกสั้นๆ ว่า เณร” ส่วน พระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของ สามเณร ไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า ๔๓๔ – ๔๓๕ ว่า “เหล่ากอ แห่งสมณะ. บรรพชิตในพระพุทธศาสนา ผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตร สรณคมณ์ ถือสิกขาบท ๑๐ และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์” การบรรพชาเณร ปรากฏครั้งแรกเมื่อ ราหุลกุมาร ติดตามพระนางยโสธรา พระมารดา ทูลขอทรัพย์สมบัติตามคำ�สั่ง พระพุทธเจ้าทรงดำ�ริว่า การให้ “อริยทรัพย์” ดี กว่าให้ทรัพย์สินเงินทอง หรือราชสมบัติใด ๆ จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร สามเณรราหุลบวชมาแล้วก็อยู่ในความดูแลของพระอุปัชฌาย์ คือ พระสารีบุตร ตามหน้าที่ในพระวินัย จนได้รับการยกย่องสรรเสริญถึงคุณสมบัติที่เป็นต้นแบบในทาง สร้างสรรค์ ๓ อย่าง คือ ๑. เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัวว่าเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า ๒. เป็นผู้ใฝ่การศึกษาอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นใน ด้านผู้ใฝ่การศึกษา ๓. เป็นผู้มีความเคารพและกตัญญูกตเวทีต่ออุปัชฌาย์อย่างยิ่ง เข้าตำ�ราโบราณที่ ว่า “ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น” ด้วยเหตุนี้ สามเณรราหุล จึงนับเป็น “บิดา” ของสามเณรทั้งหลายในปัจจุบัน ๔
  • 13. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ วิธีการบรรพชาเป็นสามเณร การอุปสมบทในสมัยพุทธกาล มีอยู่ ๘ วิธี ดังนี้ ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา อุปสมบทโดยพระพุทธองค์ตรัสให้บวช ดังนี้ “จงมาเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวนั้น ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ และกระทำ�ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด” ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทโดยการขอถึงพระรัตนตรัย วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้พระสาวกบวชให้กุลบุตรได้เอง ๓. ญัตติจตุตถกรรมวาจา อุปสมบทโดยสงฆ์ ด้วยญัตติที่ ๔ (ได้แก่ ญัตติแรก จะเป็นการ ประกาศเพื่อขอญัตติ (คือ ความเห็นชอบ) จากสงฆ์ และ ๓ ญัตติหลัง จะเป็นการขอความ เห็นชอบจากสงฆ์ หากมีการคัดค้านแม้เพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าบวชไม่ได้) วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เมื่อทรงเห็นว่า มีคณะสงฆ์จำ�นวนมากแล้ว วิธีนี้ แสดงถึง ความมีประชาธิปไตยอยู่ในพระดำ�ริของพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปแรก ที่ได้บวชด้วยวิธีนี้ คือ ราธพราหมณ์ และมีพระอุปัชฌาย์ รูปแรก คือ พระสารีบุตร ๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา อุปสมบทโดย การรับโอวาท ๓ ข้อ จากพระพุทธเจ้า วิธีนี้ทรง บวชให้แก่ พระมหากัสสปะ มีดังนี้ - เธอจงมีความละอาย และ ยำ�เกรงในภิกษุทั้งที่แก่กว่า เสมอกัน และอ่อนกว่า - ธรรมใดที่เป็นกุศลธรรม เธอจงเงี่ยหู ตั้งใจฟังธรรมนั้น - เธอจงไม่ละสติออกจากกาย ๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา อุปสมบทโดย การตอบปัญหาของพระพุทธองค์ ทรงอนุญาต แก่ โสปากสามเณร ๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา อุปสมบทโดย การรับครุธรรม ๘ ประการ ทรงอนุญาตแก่ พระนางปชาบดีโคตมี ๗. ทูเตนะอุปสัมปทา อุปสมบทด้วย ทูต คือ ตัวแทน ทรงอนุญาตแก่ อัฑฒกาสีภิกษุณีเรื่อง มีอยู่ว่า นางอัฑฒกาสี เดิมเป็นธิดาเศรษฐี แต่ต่อมาฐานะตกตำ�กลายเป็นนางคณิกา ในกรุง ราชคฤห์ เพราะผลแห่งวจีทุจริตในอดีต เมื่อนางได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จึงออกบวชใน สำ�นักภิกษุณีที่กรุงเวสาลี แล้วต่อมาได้เดินทางมาเพื่อขออุปสมบทในสำ�นัก ๕
  • 14. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ของพระพุทธเจ้า แต่ทราบว่ามีผู้หมายทำ�ร้ายตนในระหว่างทาง จึงส่งเพื่อนภิกษุณีไป กราบทูล พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ ภิกษุณีที่เป็นทูตนั้น กล่างคำ�ขอบวชต่อภิกษุสงฆ์ แทนอัฑฒกาสีภิกษุณี ๙. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา อุปสมบทด้วย ญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ภิกษุสงฆ์ และ ภิกษุณีสงฆ์ ทรงอนุญาตแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ในปัจจุบัน ทางคณะสงฆ์ยังใช้อยู่ ๒ วิธี คือ ติสรณคมนูปสัมปทา และ ญัตติจตุตถ กัมมอุปสัมปทา เท่านั้น โดยที่วิธีติสรณคมณูปสัมปทา ใช้สำ�หรับการบรรพชาสามเณร และ วิธีญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา สำ�หรับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงการบรรพชาเท่านั้น ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ได้แสดงการบรรพชาสามเณรไว้ดังนี้ “[๑๑๘]………............ ลำ�ดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำ�ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวช กุลบุตร เป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์ วิธีให้บรรพชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้:- ชั้นต้น พึงให้โกนผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอน ให้ว่าสรณคมน์ดังนี้:- ไตรสรณคมน์ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ๖
  • 15. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์นี้” สิกขาบทของสามเณร สิกขาบท หมายถึง ข้อศีล , ข้อวินัย บทบัญญัติข้อหนึ่ง ๆ ในพระวินัยที่ภิกษุ สามเณร พึงศึกษาปฏิบัติ ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ได้แสดงสิกขาบทของสามเณรไว้ดังนี้ “[๑๒๐] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำ�ริว่า สิกขาบทของพวกเรามีเท่าไร หนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ ๑. เว้นจากการทำ�สัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้ ๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ ๕. เว้นจากการดื่มนำ�เมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ๗
  • 16. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ๗. เว้นจากฟ้อนรำ� ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็นข้าศึก ๘. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ อันเป็นฐานแห่ง การแต่งตัว ๙. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่ ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ นี้ แก่สามเณรทั้งหลาย และให้ สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นี้” ประโยชน์แห่งการบรรพชา ประโยชน์อันเกิดแต่การบรรพชานั้น มีมาก ทั้งในเชิงลึก หรือเชิงกว้าง ล้วนแต่แฝง ความนัยแก่ผู้ที่ได้สัมผัสรสแห่งการบรรพชาให้เห็นเอง หากจะให้ประมวลมาแจกแจง คงจะ พอได้ ดังนี้ ๑. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ฟัง ในสิ่งที่ไม่เคยฟัง จากคณาจารย์มากมาย ๒. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เลื่อนชั้นของตน ทางภายใน คือ ทางจิต ทางวิญญาณ ๓. การบรรพชา ทำ�ให้เพิ่มพูนทรัพย์ภายในแก่ตน อันหมายถึง อริยทรัพย์ ๔. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เตรียมตัวก่อนตาย เตรียมกายก่อนแก่ ถือว่าเป็นผู้ไม่ ประมาทในชีวิต ๕. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เป็นญาติกับพระศาสนา ตามพระบรมพุทโธวาท ๖. การบรรพชา ทำ�ให้ได้อ่านหนังสือหน้าที่ ๒ คือหน้าแห่งชีวิต จิต และวิญญาณ ๗. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เตรียมตัวเพื่อโลกเบื้องหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ โลกุตรมรรค ผล และพระนิพพาน ๘. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ปิดอบายภูมิให้แก่ตน บิดา มารดา และญาติ ด้วยการ ปฏิบัติ ๙. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธบิดา ตามพระบรมพุทโธวาท ๘
  • 17. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๐. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เข้าโรงเรียนของชีวิต โรงเรียนของพระพุทธเจ้า ที่พระ อริยเจ้าทั้งหลายจบออกมาหลายรุ่น ๑๑. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เพิ่มพูนบารมีที่พร่องไป หรือยังไม่มี ให้บังเกิดมี และ เต็มเปี่ยม ๑๒. การบรรพชา ทำ�ให้ได้หลักประกันชีวิตของตน ภายหลังที่ล่วงลับจากโลกนี้ไป แล้ว ๑๓. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ตรวจข้อบกพร่องที่อาจมีอยู่ แล้วแก้ไข เฉกเช่น คนเรา นำ�รถเข้าอู่ เพื่อเช็ค อัดฉีดใหม่ ๑๔. การบรรพชา ทำ�ให้ได้ฝึกตน ไม่หลงผิด ยึดติดในบ่วงแห่งมาร ๑๕. การบรรพชา ทำ�ให้ได้เดินตามรอย ที่พระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ได้เดินมา แล้ว ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ใดเป็นผู้รู้ เป็นพหูสูต เป็นนักวิเคราะห์ ลองพิจารณาเอาเถิด การ บรรพชา จักได้ประโยชน์มากมายนานัปการ อันไม่สามารถกล่าวได้หมด หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ รู้เอง เห็นเอง ปฏิบัติเอง ประเสริฐสุด ๙
  • 18. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ เสขิยวัตร : ข้อวัตรปฏิบัติสำ�หรับพระภิกษุ – สามเณร เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ถือเป็นธรรมเนียมสำ�หรับ ฝึกฝนกิริยามารยาทของภิกษุ ให้ดูเรียบร้อยงดงาม สมกับภาวะของสมณะ ยังความเลื่อมใส ให้เกิดแก่ผู้พบเห็น ไม่เป็นชื่อของอาบัติ แต่ปรับอาบัติทุกกฎแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามในทุก ๆ สิกขาบท เว้นแต่ไม่ได้ตั้งใจ เผลอ ไม่รู้ตัว และอาพาธหนัก ไม่อาจทำ�กิจวัตรได้ มีทั้งหมด ๗๕ สิกขาบท แบ่งเป็น ๔ หมวด ดังนี้ หมวดที่ ๑ ชื่อว่า สารูปะ ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปใน หมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำ�รวมระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะ สม มี ๒๖ สิกขาบท หมวดที่ ๒ ชื่อว่า โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับ บิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร มี ๓๐ สิกขาบท หมวดที่ ๓ ชื่อว่า ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ ผู้อื่น มี ๑๖ สิกขาบท หมวดที่ ๔ ชื่อว่า ปกิณณกะ ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนนำ�ลาย มี ๓ สิกขาบท เสขิยวัตรทั้ง ๗๕ สิกขาบทนี้ ทรงกำ�หนดให้สามเณรศึกษาและปฏิบัติตามด้วย หมวดที่ ๑ สารูป ว่าด้วยข้อประพฤติในเวลาเข้าบ้าน ในสารูปหมวดที่ ๑ มีทั้งหมด ๒๖ สิกขาบท จัดเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๓ คู่ ดังนี้ คู่ที่ ๑ (๑ – ๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย ไป – นั่ง ในบ้าน นุ่งให้เรียบร้อย ได้แก่ นุ่งสบงให้ได้ปริมณฑล เบื้องบนสูงเพียงเอวให้ปิดสะดือ ชาย เบื้องล่างให้อยู่ระดับประมาณครึ่งแข้ง ห่มให้เรียบร้อย ได้แก่ ห่มจีวรให้ได้ปริมณฑล ทำ�มุม ผ้าทั้ง ๒ ให้เสมอกัน ไม่ปล่อยให้ผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง ๑๐
  • 19. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ธรรมเนียมในปัจจุบัน ถ้าอยู่ในบริเวณวัด ให้ห่มเฉวียงบ่า โดยปิดบ่าและแขนซ้าย เปิดบ่าข้างขวา ถ้าออกนอกวัด ให้ห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้ง ๒ ข้าง สูงปิดหลุมคอ ชายอยู่ ระหว่างครึ่งแข้ง คู่ที่ ๒ (๓ – ๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน เมื่อนุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว เวลายืน เดิน นั่งในบ้านต้องระมัดระวัง อย่าให้ผ้าเลื่อนลง ต้องคอยซักปกปิดอวัยวะที่กำ�หนดให้ปิด คู่ที่ ๓ (๕ – ๖) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจัดระวังมือเท้าด้วยดี ไป – นั่ง ในบ้าน คือ ห้ามเล่นมือ เล่นเท้า ขณะอยู่ในบ้าน เช่น กระดิกมือ กระดิกเท้าเล่น เป็นต้น ซึ่งส่อให้เห็นการไม่สำ�รวม ใช้มือและเท้าทำ�อย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อเล่น ท่านอนุญาต คู่ที่ ๔ (๗ – ๘) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไป – นั่ง ในบ้าน คือ ทอดสายตาตำ�ลงห่างตัวประมาณหนึ่งวา มิให้สอดส่ายสายตาหันมองโน่นมอง นี่ เหมือนขโมย ซึ่งไม่เหมาะกับกิริยาของผู้สำ�รวม คู่ที่ ๕ (๙ – ๑๐) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไป – นั่ง ในบ้าน การเวิกผ้า คือการถกชายจีวรขึ้นพาดบ่า เปิดให้เห็นสีข้างดูไม่งาม คู่ที่ ๖ (๑๑ – ๑๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะ ไป – นั่ง ในบ้าน การหัวเราะเฮฮา หรือการกระซิกกระซี้เพื่อให้ครื้นเครงเป็นการเสียสังวร คู่ที่ ๗ (๑๓ – ๑๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไป – นั่ง ในบ้าน พูดเสียงปกติธรรมดา คือ นั่งห่างกัน ๖ ศอก ได้ยินชัดเจนไม่ให้เปล่งเสียงดังหรือ ตะโกน พูดไมค์ออกเสียงเพื่อแสดงธรรมไม่ผิด คู่ที่ ๘ (๑๕ – ๑๖) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไป – นั่ง ในบ้าน ห้ามไม่ให้โคลงกายไปมา เวลาเดิน ยืน หรือนั่ง ต้องตั้งตัวให้ตรง แต่มิใช่นั่งเบ่งตัว เพื่ออวดตัวเอง คู่ที่ ๙ (๑๗ – ๑๘) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไป – นั่ง ในบ้าน ห้ามกางแขนออกแกว่งไกว เพื่อแสดงตนให้ดูดี หรือเพื่อแสดงลีลานวยนาด ให้ ห้อยแขนแนบลำ�ตัวตามปกติ ถ้ากางแขนออกเพราะจำ�เป็น ไม่ต้องอาบัติ ๑๑
  • 20. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ คู่ที่ ๑๐ (๑๙ – ๒๐) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ ไป – นั่ง ในบ้าน ห้ามไม่ให้เดินหรือนั่งคอพับ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ต้องตั้งศีรษะให้ตรง การพยัก หน้า ในขณะพูด ก็จัดเป็นการสั่นศีรษะเหมือนกัน คู่ที่ ๑๑ (๒๑ – ๒๒) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือคำ�กาย ไป – นั่ง ใน บ้าน ห้ามไม่ให้เอามือเท้าสะเอว ไม่นั่งเท้าแขน ไม่เท้าศอกบนโต๊ะ หรือนั่งคำ�คาง เป็นต้น เพราะดูไม่งาม คู่ที่ ๑๒ (๒๓ – ๒๔) ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไป – นั่ง ใน บ้าน ห้ามไม่ให้เอาผ้าคลุม โพกหรือมัดศีรษะเหมือนฆราวาส ข้อที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน คือห้ามเดินเขย่งเท้า ทำ�ตัวให้สูง รวมถึงการเดินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่การเดินเหยียบ ตามปกติ เช่น การเดินตะแคงเท้า การเดินลากส้น เป็นต้น ข้อที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน ห้ามมิให้นั่งยอง ๆ เอามือรัดเข่าหรือเอาผ้ารัดรอบ เพราะดูไม่งาม ข้อ ๑ – ๒ ต้องถือปฏิบัติทั้งในวัดและในบ้าน ตั้งแต่ข้อ ๓ – ๒๖ ต้องถือปฏิบัติ เคร่งครัด ในบ้าน แต่ถ้าเขาจัดที่พักแรมในบ้านภิกษุจะปฏิบัติตนเหมือนอยู่ในวัดก็ได้ หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยการรับและฉันภัตตาหาร มีทั้งหมด ๓๐ สิกขาบท ดังนี้ คือ ๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ คือ รับบิณฑบาตด้วย ความ เต็มใจ ไม่แสดงอาการดูหมิ่นดูแคลน ๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาตเราจักดูแลแต่ในบาตร คือ ในขณะที่รับ บิณฑบาต ห้ามมองดูหน้าทายก หรือมองไปทางอื่น ให้มองดูแต่ในบาตรเท่านั้น ๑๒
  • 21. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอควรแก่ข้าวสุก เวลารับบิณฑบาต ท่านห้าม รับแต่รายที่มีกับข้าว โดยผ่านทายกผู้ใส่แต่ข้าวเปล่าไปเสีย และเวลารับกับข้าวก็ให้รับแต่ พอดีกับข้าวสุก รับอาหารมากกว่าข้าว ไม่ควร ๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร ขอบบาตรนั้น หมายเอาขอบล่างภิกษุรับเอาเกินขอบปากบาตร เพราะโลภเป็นอาบัติ ถ้ารับด้วยอาการ รักษาศรัทธา หรือเพื่ออนุเคราะห์ด้วยเมตตา ไม่ถือว่าวผิด ๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ คือ ฉันเพื่อยังชีพให้เป็นอยู่ ไม่ แสดงอาการรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่ดี ไม่อร่อย ไม่ชอบ ๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร คือขณะฉันห้ามแลดู สิ่งอื่น เพราะการมองดูโน่นดูนี่ ขณะกำ�ลังเคี้ยวอยู่ในปาก เป็นกิริยาที่ไม่งาม ๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง คือ ห้ามไม่ให้หยิบข้าวในที่เดียว จนเป็นหลุมลึกลงไป ๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก คือ ห้ามไม่ให้ฉันเฉพาะ แกง ให้ฉันข้าวกับอาหารพอ ๆ กัน และไม่ฉันแบบตะกละตะกลาม ๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป คือ เมื่อมีข้าวพูนเป็น ยอดต้องเกลี่ยให้เสมอกันแล้วจึงฉัน ๑๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้ มาก คือ เมื่อไปฉันในกิจนิมนต์ทายกจะคอยอังคาส คือ เติมของฉันถวาย ห้ามมิให้เอาข้าว สุกกลบแกง ๑๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน มาฉัน ถ้าขอกับญาติหรือผู้ปวารณาได้ หรือขอมาให้ภิกษุผู้อาพาธก็ได้เช่นกัน ๑๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ คือ ไม่แลดู บาตรของภิกษุสามเณรอื่นด้วยคิดจะตำ�หนิว่าฉันมาก ฉันมูมมาม เป็นต้น ถ้าแลดูด้วยคิด จะให้ของฉันที่เขายังไม่มี ควรอยู่ ๑๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ทำ�คำ�ข้าวให้ใหญ่นัก ของอย่างอื่นที่ไม่ใช่ข้าว ก็ ห้าม ไม่ให้ทำ�คำ�ใหญ่ เพราะทำ�ให้ดูไม่งาม ๑๓
  • 22. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักทำ�คำ�ข้าวให้กลมกล่อม คือ ทำ�ให้เป็นคำ�ขนาดพอดี ปาก ๑๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อคำ�ข้าวยังไม่ถึงปาก จักไม่อ้าปากไว้คอยท่า คือ ไม่ให้อ้า ปากไว้ก่อนส่งข้าวเข้าปาก เมื่อยกคำ�ข้าวมาจ่อที่ปากแล้วจึงอ้ารับได้ และขณะที่เคี้ยวอยู่ ห้ามอ้าปาก ให้หุบปากเคี้ยว ๑๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่าเมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอามือสอดเข้าปาก คือ ห้ามเอานิ้วมือล้วง เข้าไปในปาก หรือดูดเลียนิ้วมือ เพราะทำ�ให้ดูสกปรก ๑๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เมื่อคำ�ข้าวยังอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ขณะที่เคี้ยวอาหารอยู่ ห้ามพูด เพราะจะทำ�ให้เห็นอาหารที่อยู่ในปาก และอาหารอาจร่วงจากปาก ดูน่าเกลียด ๑๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่โยนคำ�ข้าวเข้าปาก คือ ไม่โยนคำ�ข้าวแล้วอ้าปากรับ เพราะเป็นกิริยาที่ซุกซน ๑๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำ�ข้าว กัดของอื่น เช่น ขนมแข็งหรือผลไม้ ไม่ ห้าม ข้อนี้บัญญัติเพื่อมิให้ฉันมูมมาม ๒๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำ�กระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ห้ามฉันอมไว้มากๆ จึงเคี้ยว เพราะเวลาเคี้ยวจะทำ�ให้แก้มตุ่ยออกมา ดูไม่งาม ๒๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง ข้อนี้ท่านห้ามสะบัดมือ เมื่อ มีข้าวสุกติดมือให้ล้างด้วยนำ� ๒๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว คือ ห้ามไม่ให้ทำ�ข้าวหกลงใน บาตรหรือบนพื้น ๒๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น เพราะเป็นกิริยาที่น่าเกลียด ๒๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ ๒๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ ขณะซดนำ� ๒๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ คือแลบลิ้นเลียอาหารที่ติดมือ หรือติด ซ้อนส้อมเข้าปาก ๑๔
  • 23. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๒๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร ข้าวเหลือน้อยไม่พอคำ� ห้ามไม่ให้ ตะล่อมรวมเข้าฉัน ๒๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก หากเปื้อนให้ใช้ผ้าเช็ด หรือใช้นำ� ล้าง ๒๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือที่เปื้อนจับภาชนะนำ� เพราะจะทำ�ให้ภาชนะ เปื้อนไปด้วย ๓๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่เอานำ�ล้างบาตร ที่มีเมล็ดข้าวเทในบ้านแม้ไม่มี เมล็ดข้าวก็ไม่ควรเท หมวดที่ ๓ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยการแสดงธรรม มี ๑๖ สิกขาบท ดังนี้ ๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ ๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีไม้พลองในมือ ๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีอาวุธในมือ ๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีศัสตราในมือ ๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมเขียงเท้า คือ สวม รองเท้ามีส้น ๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมรองเท้า ๗. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในยาน คือ อยู่ระหว่าง เดินทางด้วยยานพาหนะ ถ้านั่งในรถ หรือเรือลำ�เดียวกัน แสดงได้ แต่ถ้าไม่ได้นั่งในยาน เดียวกัน ห้ามแสดง ๘. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ๙. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งรัดเข่า ๑๐. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้พันศีรษะ ๑๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้คลุมศีรษะ ๑๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ ๑๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง ๑๔. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งอยู่ ๑๕
  • 24. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๑๕. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ๑๖. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปอยู่ในทาง ทั้ง ๑๖ สิกขาบทนี้ เป็นข้อห้ามไม่ให้ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้ไม่ทำ�เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฎในทุกสิกขาบท หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด มี ๓ สิกขาบท ดังนี้ ๑. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ ๒. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ (เสมหะหรือเสลด, นำ�ลาย) ลงในของเขียว ของเขียวในสิกขาบทนี้ ได้แก่ พืช ผัก หญ้า หรือ ข้าวกล้า เป็นต้น ที่เขาปลูกไว้เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ ของเขียวที่คนไม่ต้องการ ไม่จัดเข้าใน สิกขาบทนี้ ๓. ภิกษุพึงทำ�ความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลง ในนำ� นำ�ในที่นี้ หมายเอา นำ�ที่เขาต้องใช้สอย นำ�ที่ไม่มีคนใช้ ไม่เป็นอาบัติ ๑๖
  • 25. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ภาค ๒ คุณธรรมนำ�ไทย ใส่ใจพัฒนาข้าราชการ ๑๗
  • 26. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะครั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ แม้จะเรียนวิชาทางค้าขาย อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย จึงซื้อง่ายขายดีมีกำ�ไร ด้วยเขาไม่เคืองจิตคิดระอา เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ สุนทรภู่ ๑๘
  • 27. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ คุณธรรมนำ�ไทย ในสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน มีข่าวน่าเศร้าสลดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ฆาตกรรม การโจรกรรม ปัญหายาเสพติด การคอรัปชั่น ความประพฤติของเหล่าบุคคลใน สังคม เหล่านี้ถือเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ ของปัญหาสังคมในปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยกำ�ลังกำ�ลังก้าวเข้าสู่ “ภาวะวิกฤตทางคุณธรรม (Morality Crisis) ของบุคคลใน ประเทศ กอปรกับการรับเอาวิถีวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาใช้ในการดำ�เนินชีวิตประจำ� วัน รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ อันทันสมัย สะดวก ประหยัดเวลา โดยมิได้พินิจพิจารณาให้ ถี่ถ้วนถึงความสำ�คัญ และความประสงค์เดิมของการนำ�มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการ นำ�มาใช้เพื่อตน ทำ�ตามใจตน อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรับเอามาเพื่อประดับบารมี เพื่อยก ระดับทางสังคมของตน จนนำ�เข้าสู่การนำ�มาประพฤติ ปฏิบัติ และใช้สอยอย่างมิชอบ มีผู้รู้ กล่าวไว้ว่า “เพราะสังคมประเมินค่าคนที่จนรวย คนจึงสร้างเปลือกสวยได้สวมใส่ หากสังคมวัดค่าคนที่จิตใจ คนจะสร้างนิสัยที่ใฝ่ดี” แน่นอนว่ามิใช่เพียงที่กล่าวมาเท่านั้น ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครอบครัว ก็เช่นเดียวกันย่อมส่งผลกระทบโดนตรงต่อการเสื่อมสูญทางคุณธรรมได้เป็นอย่างดี เช่น ลักษณะนิสัยส่วนตัว การสั่งสอนของบิดามารดา เพื่อน เป็นต้น แต่เมื่อใดเราได้หันกลับมา มองดูตน สำ�รวจ ตรวจตรา ด้วยสติ ด้วยปัญญาอย่างแท้จริงแล้วยอมรับ แก้ไข ปรับปรุงใน ส่วนที่ผิด เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด โดยน้อมนำ�เอาหลักธรรมคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรม ศาสดาเจ้า มาเป็นเกณฑ์ เป็นแนวทาง ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เรากำ�ลังเผชิญอยู่นี้ ย่อมหายไปตราบจนนิรันดร์ ๑๙
  • 28. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ คุณธรรม คือ สิ่งใดกัน “ถึงทรงศักดิ์อัครฐานสักปานใด ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี ถึงฉลาดขลาดเขลาปัญญาดี ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ตำ�คน” จากบทประพันธ์ขอกวีท่านหนึ่งในสังคมไทย ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า ผู้ ใดก็ตามถึงมียศศักดิ์ มีความรำ�รวย สวยหล่อ หรือแม้ว่าจะโง่ จะฉลาดสักปานใด แต่ถ้าขาด คุณธรรม ก็ตำ�คน คำ�ว่า “ตำ�คน” ตามบประพันธ์นั้น ย่อมหมายถึง คนที่ไร้ศีลธรรม ความ ประพฤติมากไปด้วยทุจริต ติดอยู่ในอบาย ไม่ละอายในความคิด จิตแปรปรวนไม่แน่นอน จนเป็นคนชั่วของสังคมไป แล้วคำ�ว่า “คุณธรรม” ล่ะ คืออะไร คำ�ว่า “คุณธรรม” อาตมาขอแยกเป็นสองคำ� เพื่อให้เข้าใจพื้นความหมายของ คำ�ได้ง่ายขึ้น คือ คำ�ว่า คุณ และ ธรรมะ โดยที่ คำ�ว่า “คุณ” แปลว่า ความดี ส่วนคำ�ว่า “ธรรมะ” มีความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของคำ�นี้ ว่า “ระบบประพฤติปฏิบัติ เพื่อความถูกต้องดีงามในทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของชีวิต” และ ท่านยังให้ความหมายของธรรมะไว้อีก ๔ ประการหลัก คือ ๑. ธรรม คือ ธรรมชาติ (Nature) ๒. ธรรม คือ กฎของธรรมชาติ (Law of Nature) ๓. ธรรม คือ หน้าที่ของธรรมชาติ (Duty of Nature) ๔. ธรรม คือ ผลแห่งธรรมชาติ (Result of Nature) โดยรวมของทั้ง ๔ ความหมายนี้ อาจกล่าวได้ว่า ธรรมะ ก็คือ สภาพอันไปเป็นของธรรมชาติ นั่นเอง พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมาย ของ คุณธรรม ว่า ธรรมที่เป็นคุณงามความดี สภาพที่เกื้อกูล ส่วนพุทธทาสภิกขุ ผู้เป็นพระนักปราชญ์ กล่าวว่า คุณธรรม เป็นคุณสมบัติฝ่ายดี โดยส่วนเดียวเป็นที่ตั้ง หรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพ หรือสันติสุขของมนุษย์ ๒๐
  • 29. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ จากที่กล่าวมา จึงสรุปได้ว่า คุณธรรม (Virtue) หมายถึง สภาพอันเป็นธรรมชาติ ของคุณงามความดีในจิตใจ ที่เกื้อกูล ที่ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถ้าหากกล่าวในเชิง ของนามธรรมนั้น คุณธรรม เป็นจิตสำ�นึกของคน ที่ตระหนักในความผิดชอบชั่วดี ต่อการ กระทำ�อันเคยชินนั้น ๆ ของตน โดยอิงหลักสำ�คัญ ๓ ประการ คือ ความรู้สึกผิด ชอบ ชั่ว ดี ในส่วนตน ๑ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม ๑ และ ธรรมเนียม ปฏิบัติ อีก ๑ ซึ่งเป็นกรอบพื้นฐานของคุณธรรมในแต่ละบุคคล แล้วคุณโยมล่ะ คุณธรรม ของคุณโยม คืออะไร??? คุณธรรม สำ�คัญไฉน ในตอนนี้ อาตมาใคร่ถามสักคำ�หนึ่งว่า ถ้ามีคำ�ให้เลือก ๒ คำ� คือ คำ�ว่า คน (Peo- ple) และ มนุษย์ (Human) ท่านจะเลือกคำ�ใดที่บ่งบอกถึงตัวตนของท่าน แน่นอนว่า ท่าน คงจะเลือกคำ�ว่า มนุษย์ แต่ท่านแน่ใจแล้วหรือกับคำ�ๆนี้ อาตมาขอกล่าวเป็นเบื้องต้นก่อน ว่า คำ�ว่า มนุษย์ ในภาษาบาลีเขียนว่า มนุสฺส มาจาก มน (มะ-นะ) แปลว่า ใจ รวมกับคำ�ว่า อุสฺส แปลว่า สูง มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง เป็นผู้ที่สูงส่งด้วยจิตใจ มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมประจำ�ใจ ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร ส่วน คน ก็เป็นแค่บุคคลทั่วไป ดำ�เนิน ชีวิตไปตามครรลองของใจตน ดีบ้าง ชั่วบ้าง ดังที่ท่านพุทธทาส ได้กล่าวไว้เป็นบทกลอนสอน ใจว่า “เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าใจตำ�ก็เป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา ใจสะอาดใจสว่างใจสงบ ถ้ามีครบควรเรียกมนุสสา เพราะทำ�ถูกพูดถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง ใจสกปรกมืดมัวและร้อนเร่า ใครมีเข้าควรเรียกว่าผีสิง เพราะพูดผิดทำ�ผิดจิตประวิง แต่ในสิ่งทำ�ตัวกลั้วอบาย คิดดูเถิดถ้าใครไม่อยากตก จงรีบยกใจตนรีบขวนขวาย ให้ใจสูงเสียได้ก่อนตัวตาย ก็สมหมายที่เกิดมาอย่าเชือนเอยฯ” ๒๑
  • 30. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ เราท่านจะพิจารณาได้ว่า ท่านพุทธทาสมองเห็นความสำ�คัญของการมีคุณธรรม ศีลธรรมในจิตใจ ด้วยภาวะของการอยู่ในสังคมนี้ มีการแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ละโมบโลภ มาก ต่อสิ่งยั่วยวนจิตใจ หากขาดคุณธรรม ปัญหายิ่งบานปลาย จากสังคมอันสงบสุขจะ กลับกลายเป็นนรกเสมือนจริง อย่างไรล่ะที่ว่าเป็นนรกเสมือนจริง ประการต้นๆ เลยที่เห็น ได้ชัดเจนที่สุดคือ “เป็นคนเหมือนไม่ใช่คน” ไร้คุณค่า ใส่หน้ากากเข้าประหัตประหารกัน ไม่ซื่อสัตย์จริงใจ ไม่มีความเจริญในชีวิต มาถึงตรงนี้ ทำ�ให้ระลึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตของ สมเด็จพระทศพลญาณ ซึ่งปรากฏอยู่ในปราภวสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ว่า “ธมฺ มกาโม ภวํโหติ ธมฺมเทสฺสี ปราภโว” แปลว่า ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้ เสื่อม ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้สนใจในการศึกษา และปฏิบัติตามธรรมนั้น ย่อมยังผลให้ไม่ตก ไปสู่โลกที่ชั่ว กล่าวคือ อบายภูมิ อันประกอบไปด้วย เปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์ เดียรัจฉาน มีความสบายกาย สบายใจ ไม่ทุกข์ร้อน ไม่เกิดวิปฏิสาร มีความสำ�เร็จในชีวิต และย่อมถึงบรมสุขเป็นเบื้องปลาย หากแต่ผู้เกลียดธรรม ไม่สนใจใคร่รู้ ถึงรู้ก็เพียงเปลือก มิใช่แก่นของธรรม ไม่ปฏิบัติ ละเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ� ประกอบแต่สิ่งที่ควรละวาง อบาย เป็นแหล่งที่ตั้งรอไว้ในเบื้องปลาย ยังผลให้มีแต่ความทุกข์ กระสับกระส่ายในการดำ�เนิน ชีวิต มีความผิดพลาดเป็นอารมณ์ มีความล่มจมเป็นสถานพักพิง ฉันใด ผู้ไร้คุณธรรมประจำ� ใจ ก็เป็นผู้เสื่อมจากสังคม ฉันนั้น แล้วท่านล่ะ คุณธรรมสำ�หรับท่านสำ�คัญหรือไม่ คุณธรรม ๔ ประการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นนักปราชญ์ ในหลายๆแขนง ดังที่เราได้ยลยินอยู่เนืองๆ ทั้งด้านอักษรศาสตร์ ด้านปรัชญา ด้าน เศรษฐศาสตร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งกว่ากษัตริย์เสียอีก เป็นพ่อที่ยิ่งกว่าพ่อของชาว ไทย คำ�สอนของพระองค์ท่านมีนับไม่ถ้วน ยากจะยกมาได้หมด อาตมาจึงขอยกคำ�สอนที่ ๒๒
  • 31. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ เป็นหลักปฏิบัติทางด้านคุณธรรมที่สำ�คัญ ที่สถาบัน หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ยึดถือ เป็นแนวทางการดำ�เนินรอยตามพระองค์ พอเป็นแนวสังเขป คือ คุณธรรม ๔ ประการ คุณธรรม ๔ ประการ เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชมหาราช ได้ทรงพระราชทานสำ�หรับคนไทย ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบุรพ มหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุครบ ๒๐๐ ปี ความว่า “...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำ�มาปฏิบัติมีอยู่ ๔ ประการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติ ปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่ ๒ คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกฝนจิตใจตนเองให้ประพฤติ ปฏิบัติอยู่ในสัจความดีนั้น ประการที่ ๓ คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วง ความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่ ๔ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละ ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรม ๔ ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง และบำ�รุงให้มี ความเจริญงอกงามขึ้น โดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดั่งประสงค์...” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชทานคุณธรรม ๔ ประการ อันเป็นแนวทาง ปฏิบัติสำ�หรับพสกนิกรชาวไทย ตามสายพระเนตรของพระองค์ที่ทรงทดพระเนตรเห็น ในปัจจุบันว่า ลูกๆหลานๆของพระองค์ ขาดคุณธรรมใดก็ทรงพระราชทานข้อคิดเตือนใจ ในสิ่งนั้น ซึ่งได้พระองค์พระราชทานไว้ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีใจความสำ�คัญสรุปได้ว่า ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ� ด้วยเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ๒๓
  • 32. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำ�สำ�เร็จผล ทั้งแก่ตนเองและกับประเทศชาติ ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริตในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำ�ความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล หากเราสังเกต จะเห็นได้ว่า พระราชดำ�รัสของพระองค์นั้นทรงยึดมั่นในหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา ทรงน้อมนำ�เอาหลักธรรมอันสูงสุด มาประยุกต์ใช้ สอดแทรกในพระ ราชดำ�รัสเพื่อสอนสั่งลูกๆ ของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันมีความแตกฉาน ในพระธรรมคำ�สั่งสอนของพระบรมศาสนาได้เป็นอย่างดี แล้วเราล่ะ ได้น้อมเอาพระราช ดำ�รัส หรือได้ปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทหรือยัง พระบรมราโชวาท อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลในโอกาสต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมและ จริยธรรมในการทำ�งานทั้งสิ้น ในที่นี้ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทที่น่าสนใจ มาแสดงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมเป็นบางองก์ ดังนี้ “เมื่อทำ�งาน ต้องมุ่งถึงจุดหมายที่แท้ของงาน งานจึงจะสำ�เร็จได้รับประโยชน์ ครบถ้วน ทั้งประโยชน์ของผู้ทำ� ถ้าทำ�งานเพื่อจุดหมายอื่น ๆ เช่น เพื่อประโยชน์ส่วนตัว แม้จะได้ผลมากมายเพียงใด งานก็ไม่สำ�เร็จ แต่ทำ�ให้เสียทั้งงานเสียทั้งคน” “เกียรติและความสำ�เร็จ เกิดจากผลการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตัวของแต่ละ คน ที่สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบให้ได้ผลสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ และ ปฏิบัติตัวให้สุจริต เที่ยงตรง พอควรพอดีแก่ตำ�แหน่งหน้าที่ที่ดำ�รงอยู่” ๒๔
  • 33. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งมิใช่จะใช้ได้ เฉพาะแต่ในแง่ของการจัดการทรัพย์สินของบ้านเมือง หรือของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น แม้แต่ในหมู่ข้าราชการก็เป็นแนวคิดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่มีการล่วงสมัย เป็นแนวดำ�เนินชีวิตที่อาจตัดปัญหาที่จะนำ�ไปสู่การฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เป็นอันมาก การ ไม่ทะเยอทะยานอยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหรูหราโอ่อ่าและใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มาสู่ คุณสมบัติประจำ�บุคคล ปรับตนเองให้พอกินพออยู่ รู้จักประหยัด คือ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ที่ หามาได้ในสิ่งที่จำ�เป็นแก่การครองชีพ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รู้จักพินิจพิจารณาว่าสิ่งใดควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อ รวมตลอดทั้งแบ่งปันรายได้ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ใช้จ่ายเมื่อคราวจำ�เป็น จะ ได้ไม่ต้องหยิบยืมผู้อื่นมาแก้ปัญหา หรือประพฤติมิชอบเพื่อให้พ้นจากภาระหนี้สิน การถือ เอาระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักดำ�เนินชีวิตจะมีแต่ทางได้เท่านั้น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ ข้าราชการ หมายถึง ข้ารองธุลีพระบาทในองค์พระมหากษัตริย์ ผู้รับ สนองงานและกระทำ�งานที่ได้รับนั้นต่างพระเนตรพระกรรณโดยมีหน้าที่หลัก คือ เพื่อบำ�บัด ทุกข์ บำ�รุงสุขแก่ประชาชนแทนพระองค์ ซึ่งคุณลักษณะผู้เป็นข้าในพระองค์ควรประกอบ ด้วย ๑. ทักษะการใช้ความคิด ๑.๑ คิดภาพรวม ลุ่มลึก และกว้างไกล ไม่หยุดความคิด ๑.๒ รู้จักปรับยืดหยุ่น ไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง ๑.๓ คิดทำ�งานเชิงรุก ไม่ขลุกอยู่กับที่ ๑.๔ คิดป้องกันดีกว่า อย่าวัวหายจึงล้อมคอก ๒. การทำ�งานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ๒.๑ กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับ ไม่อยู่กับกระบวนเดิม ๒.๒ สร้างเครื่องมือไว้ชี้วัด ดีกว่าหัดนั่งดูเทียน ๒.๓ เช้าชามเย็นชามขอให้งด จงกำ�หนดเวลาแล้วเสร็จไว้ ๒.๔ อุทิศซึ่งเวลา ไม่แสวงหาประโยชน์ตน ๒๕
  • 34. คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งควรรู้ ๓.๑ คำ�นึงถึงต้นทุน ไม่คุ้มทุนจงอย่าทำ� ๓.๒ บริหารแบบประหยัด จงอย่าหัดเป็นหนี้เขา ๓.๓ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ อย่าเป็นทองไม่รู้ร้อน ๓.๔ รู้จักบำ�รุงและรักษา อย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น ๔. ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร ๔.๑ ใช้เทคโนโลยีใหม่ ไม่ล้าสมัยไดโนเสาร์ ๔.๒ สร้างเครือข่ายให้กว้างขวาง อย่าปล่อยวางเรื่องทีมงาน ๔.๓ รู้จักพูดให้ได้ผล อย่าทำ�ตนเป็นเบื้อใบ้ ๔.๔ อดทนต่อถ้อยคำ� ไม่จดจำ�มาต่อกร ๔.๕ แถลงเรื่องลึกลำ�ได้ อย่าตอบง่ายไม่ศึกษา ๕. ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ๕.๑ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดคอรัปชั่น ๕.๒ พร้อมรับผิดชอบ ตรวจสอบได้ ๕.๓ สร้างศรัทธาประชา เงินตราไม่รับ ๕.๔ ไม่เป็นอภิสิทธิชน เป็นคนของรัฐและประชาชน ๕.๕ บริการยอดเยี่ยม คุณภาพเปี่ยมล้น ๖ . การมุ่งเน้นให้บริการ ๖.๑ บริการแบบโปร่งใส พ้นสมัยเป็นความลับ ๖.๒ คำ�นึงถึงลูกค้า ให้มากกว่าคำ�นึงตน ๖.๓ มุ่งผลอันสัมฤทธิ์ คือผลผลิตและผลลัพธ์ ๖.๔ เสมอภาคและเป็นธรรม ไม่ห่วงยำ�แต่พวกพ้อง ๖.๕ บริการประชาชน ไม่ทำ�ตนเป็นนายเขา ๗. จริยธรรม ๗.๑ มีศีลธรรม พฤติกรรมเป็นแบบอย่าง ๗.๒ คำ�นึงประโยชน์ราษฎร์ อย่าฉลาดเอาแต่ได้ ๗.๓ ร่วมทำ�กิจ ขจัดจิตเห็นแก่ตัว ๒๖