SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1
                                   
                           วิวัฒนาการคืออะไร




_12-11(001-046)P2.indd 1                        7/15/12 11:24:56 AM
วิวัฒนาการ

                           ในทางชีววิทยา วิวัฒนาการ (evolution) หมายถึง “การเปลี่ยนแปลงที่ถ่ายทอดได้
                  ทางกรรมพันธุ์ในประชากรของสิ่งมีชีวิต ผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนนำไปสู่ความแตกต่างกัน
                  ของประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้น” คำว่า evolution มีที่มาจากคำศัพท์เก่าแก่ที่ใช้กันในคริสต์
                  ศตวรรษที่ 17 ด้านวิทยาเอ็มบริโอ (embryology) ที่หมายถึง “การคลี่ออก (unrolling)”
                  ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างเจริญเติบโต แล้วในศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มนำ

                  คำว่า evolution นี้มาใช้อธิบายการเปลี่ยนรูป (transformation) ของสปีชีส์ (species) ของ
                  สิ่งมีชีวิต
                         มีผู้ที่พยายามศึกษาและเสนอแนวคิดมานานแล้วที่จะอธิบายว่า สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นั้น
                  เชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยการที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่เพิ่งจะในสมัยศตวรรษที่ 19 นี้เอง

                  ที่แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากผลงานของ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin,
                  1809-1882) เริ่มจะเป็นที่ยอมรับของสังคม ในบทที่ 1 นี้จะอธิบายแนวความคิดต่าง ๆ ที่
                  เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่ในยุคก่อนดาร์วิน ไปจนถึงแนวคิดสมัยใหม่หลังยุคดาร์วิน
                  (post Darwinian concept)

                  1.1 แนวความคิดด้านวิวัฒนาการในยุคก่อนดาร์วิน
                          มนุษย์มีความพยายามมาเนิ่นนานแล้วที่จะเข้าใจโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เราอาศัย
                  อยู่นี้ แนวคิดทางตะวันตกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นย้อนไปตั้งแต่กว่า 300
                  ปีก่อนคริสตกาล เมื่อ อาริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ได้เสนอแนวคิดเรื่อง
                  “ลำดับขั้นของธรรมชาติ” (Scale of Nature) ซึ่งกล่าวถึงลำดับขั้นในการเปลี่ยนแปลง

                  รูปร่างของสิ่งมีชีวิต จากที่ยังมีรูปร่างไม่สมบูรณ์ไปจนถึงที่มีรูปร่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น จาก

                  พืชมาสู่สัตว์จนถึงมนุษย์ แนวคิดนี้ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อทางชีววิทยาในทวีปยุโรปเป็น
                  เวลานาน โดยถูกพัฒนาจนเป็นแนวคิด “บันไดของชีวิต” (Ladder of Life) และ “สาย
                  โซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” (Great Chain of Being) (ดูรูปที่ 1.2) ที่ยึดถือกันมาจนถึงช่วง
                  คริสต์ศตวรรษที่ 18
                           
                           
                                                               




_12-11(001-046)P2.indd 2                                                                                         7/15/12 11:24:56 AM
วิวัฒนาการคืออะไร	                                                                          

                                                                      
                                                                      
                                                                      
                                                                      
                                                                      
                                                                      
                                                                      
                                                                      

                                                                      

                                                                      

                                                                                        
                                            รูปที่ 1.1			รูปเหมือนของอาริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก 

                                            														(จาก www.wikipedia.org)
                            
                              แนวคิดดังกล่าวได้เริ่มถูกโต้แย้งในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งน่าจะมีผลกระทบมาจาก
                      เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคนั้น ดังเช่นการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางที่เป็นพ่อค้า
                      การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
                      โวลแตร์ (Voltaire, 1694-1778) ได้ ตั้ ง คำถามเกี่ ย วกั บ ความเชื่ อ ทางศาสนาต่ อ การ
                      เปลี่ยนแปลงของลำดับขั้นของสปีชีส์ไว้ว่า จะเห็นได้ชัดว่ายังมีช่องว่างอยู่มากระหว่าง

                      สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำที่ยังไม่สมบูรณ์ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตชั้นสูง โวลแตร์ได้เสนอไว้ว่าช่องว่างเหล่านี้
                      อาจจะเกิดจากการสูญพันธุ์ (extinction) ของสิ่งมีชีวิตนั้น
                             ความขัดแย้งในเรื่องช่องว่างของลำดับชั้นของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อ
                      หลักความต่อเนื่องของชีวิต (concept of continuity) ที่กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงจาก
                      สปีชีส์หนึ่งไปสู่อีกสปีชีส์นั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องทีละเล็กละน้อย ไม่ได้เป็นก้าวกระโดด และ
                      ยังนำไปสู่ความพยายามที่จะค้นหาตัวเชื่อมโยงที่หายไป (missing link) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละ
                      กลุ่ม ทั้งในพืชและสัตว์ รวมไปถึงการเสนอว่าลิงอุรังอุตังเป็นตัวเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับสัตว์
                      สปีชีส์อื่นใน “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม จนมีการ

                      จำคุกผู้ที่เสนอแนวคิดนี้ก็ตาม
                                                                       
                                                                      




_12-11(001-046)P2.indd 3                                                                                              7/15/12 11:24:57 AM
วิวัฒนาการ

                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                       

                                                                       

                                                                                              
                           รูปที่ 1.2			รูป “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” วาดโดย ดิดาคัส วาลาเดส (Didacus Valades) 
                           														(จาก www.wikipedia.org)
                           
                         ก่อนที่จะสร้างแนวคิดใด ๆ ที่จะอธิบายความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

                  ต่าง ๆ ได้ เราไม่อาจมองข้ามประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ทางชีววิทยามาตั้งแต่ไหนแต่ไร 

                  นั่นคือ การนิยามว่าสปีชีส์คืออะไร จะแบ่งแยกจากสปีชีส์หนึ่งจากอีกสปีชีส์หนึ่ง หรือจะจัด
                  จำแนกกลุ่ม (classify) ของสปีชีส์ได้อย่างไร จึงจะแสดงถึงลักษณะจำเพาะสำคัญของกลุ่ม
                  ของสปีชีส์นั้นได้ 
                          ตั้ ง แต่ ใ นสมั ย ยุ ค กลาง (Middle Ages) ของยุ โ รป การระบุ ส ปี ชี ส์ มั ก จะทำโดย

                  ดู คุ ณ สมบั ติ ท างยาหรื อ การเป็ น อาหารของสิ่ ง มี ชี วิ ต นั้ น ดั ง เช่ น การเรี ย กพื ช ที่ น ำมาทำ

                  อาหารได้ว่า “ผัก” จนเมื่อยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ที่ได้เริ่มมีการออกสำรวจและ

                  ค้ น พบทวี ป ต่ า ง ๆ ของโลก ซึ่ ง ทำให้ มี ก ารพบสิ่ ง มี ชี วิ ต สปี ชี ส์ ใ หม่ ๆ ทั้ ง พื ช และสั ต ว์

                  เป็นจำนวนมหาศาล เกินกว่าที่จะจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้งหมดได้โดยง่ายเหมือนแต่ก่อน คาโรลัส 	                    

                  ลินเนียส (Carolus Linnaeus, 1707-1778) ซึ่งนับได้ว่าเป็นบิดาของวิชาอนุกรมวิธาน




_12-11(001-046)P2.indd 4                                                                                                          7/15/12 11:24:58 AM
วิวัฒนาการคืออะไร	                                                                               

                      (taxonomy) หรื อ วิ ช าระบบวิ ท ยา (systematics) สมั ย ใหม่ ได้ ริ เ ริ่ ม ใช้ วิ ธี ก ารตั้ ง ชื่ อ
                      วิทยาศาสตร์ (scientific name) ที่จะช่วยอธิบายแต่ละสปีชีส์ให้ได้กระชับที่สุด ตามระบบ
                      การตั้งชื่อแบบ 2 คำ (binomial nomenclature) ซึ่งทุกสปีชีส์จะมีชื่อที่บอกให้รู้ว่าเป็น
                      สมาชิกของสกุล (genus) ใด และสกุลที่สัมพันธ์กันจะถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ (family) ลำดับ
                      (order) และชั้น (class) เดียวกันตามลำดับ
                           
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                      
                                                                       
                                                                                            
                                           รูปที่ 1.3	 รูปวาดของคาโรลัส ลินเนียส นักชีววิทยาชาวสวีเดน 

                                                       		
                                           														(จาก www.wikipedia.org)
                                                                  
                              การใช้สปีชีส์เป็นหน่วยหลัก (basic unit) ของการจัดจำแนกตามระบบของลินเนียส
                      และแยกแยะโดยตามลักษณะทางสัณฐาน (morphological feature) ทำให้การจัดกลุ่มของ
                      สิ่งมีชีวิตสะท้อนภาพการจัดกลุ่มตามธรรมชาติ (natural grouping) ได้ดีกว่าเดิมมาก
                      และเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของการค้นพบความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการตามธรรมชาติ
                      ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าจัดแบ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตตามแบบดั้งเดิมว่า สิ่งใดที่

                      บินได้นับว่าเป็น “นก” เราจะต้องจัดให้ “ค้างคาว” เป็นนกไปด้วย ในขณะที่ถ้าใช้หลักของ

                      ลินเนียสจะเห็นว่า นอกจากความสามารถในการบินได้แล้ว ลักษณะต่าง ๆ ของค้างคาว

                      ไม่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่นมากนัก จึงควรที่จะจัดจำแนกมันเป็น “สัตว์
                      เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม”




_12-11(001-046)P2.indd 5                                                                                                     7/15/12 11:24:59 AM
วิวัฒนาการ

                         จากแนวคิดของลินเนียส วิชาระบบวิทยาได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สิ่งมีชีวิต
                  หลายสปีชีส์ได้ถูกรวบรวมบรรยายไว้โดยเน้นไปที่ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์และการจัดจำแนก

                  ดังกล่าวยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม ลินเนียสยังคงมองสปีชีส์ว่าเป็นหน่วยที่
                  คงที่ (fixed entity) ตามแนวคิดที่เชื่อกันมานานของ จอห์น เรย์ (John Ray, 1627-
                  1705) ที่ว่า สปีชีส์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และต้นกำเนิดหรือบรรพบุรุษ (ancestor) ของ
                  แต่ละสปีชีส์นั้นคือพระเจ้าเบื้องบน สปีชีส์ของลินเนียสจึงเป็นเพียงหน่วยทางอนุกรมวิธาน
                  เพื่อให้ใช้ได้จริงทางปฏิบัติ โดยไม่ได้บอกถึงการสืบทอดลำดับจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแต่
                  อย่างไร
                          บุฟฟอง (Buffon, 1707-1788) เป็นคนแรกที่ได้เสนอว่าสปีชีส์เป็นหน่วยทางชีวภาพ
                  ที่มีตัวตนตามธรรมชาติ โดยควรที่จะแยกแยะด้วยหลักว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีตัวกีดขวาง
                  การสืบพันธุ์ (reproductive barrier) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการผสมข้ามพันธุ์ (crossbreeding)
                  กับสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นกลไกการแบ่งแยกตามการสืบพันธุ์ (reproductive
                  isolation) ที่ดูว่ามีลูกผสม (hybrid) ที่เป็นหมันหรือไม่นั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม บุฟฟอง

                  เองไม่ได้เชื่อในหลักการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เขาเชื่อมั่นเหมือนคนอื่น ๆ ในยุค

                  คริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามความเชื่อทางศาสนาที่ว่าสปีชีส์เป็นสิ่งที่คงที่และจะไม่เปลี่ยน

                  แปลง
                           กำแพงขวางกั้นไม่ให้คนในยุคนั้นยอมรับแนวคิดเชิงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต คือ
                  คำถามที่ว่า “สปีชีส์มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่” ถ้าสปีชีส์มีตัวตนจริง มันจะต้องเป็นสิ่งที่ถูก

                  ตรึงไว้แล้ว เพราะถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากสปีชีส์หนึ่งไปสู่อีกสปีชีส์หนึ่งได้จริง
                  แล้วทำไมเราจึงไม่พบพวกตัวเชื่อมโยงที่หายไปทุกตัวตามที่จินตนาการกันไว้ ด้วยเหตุนี้
                  ชอง-แบบติสต์ เดอ ลามาร์ก (Jean-Baptiste de Lamark, 1744-1829) ซึ่งเป็น

                  คนกลุ่มแรกที่สนับสนุนแนวคิดวิวัฒนาการ จึงได้พยายามเสนอว่าสปีชีส์ไม่มีจริง แต่เป็น
                  เพียงคำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดจำแนกและอาจปรับเปลี่ยนได้ โดยเน้นว่า

                  สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เชื่อมโยงกันด้วยตัวกลางทางวิวัฒนาการซึ่งอยู่ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้ ขณะ

                  ที่ช่องว่างทางความสัมพันธ์ระหว่างสปีชีส์ หรือระหว่างสกุล หรือวงศ์ที่เป็นปัญหากันอยู่นั้น
                  ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน
                           




_12-11(001-046)P2.indd 6                                                                                       7/15/12 11:25:00 AM
วิวัฒนาการคืออะไร	                                                                                            

                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                              
                                                                                                 
                                                   รูปที่ 1.4		รูปวาดของชอง-แบบติสต์ เดอ ลามาร์ก 

                                                               	
                                                   														(จาก www.wikipedia.org)
                              
                             กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลามาร์กไม่ได้เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ถูกแยกกันสร้างทีละ
                      ตัวอย่างที่เคยยึดถือกันมา แต่ได้เสนอว่ามันมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งแนวคิดที่
                      เขาได้เสนอนี้ถือได้ว่าท้าทายความเชื่อหลักของ “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” เป็นอย่างมาก
                      โดยเฉพาะจากการที่เขาได้เสนอรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ที่มีหลายทิศทางตาม
                      ลักษณะการแตกกิ่ง (branching) ไปเรื่อย ๆ แทนที่จะเป็นทิศทางเดียว จากที่ยังไม่สมบูรณ์
                      เป็นสมบูรณ์ที่สุดแล้วตามที่เชื่อกันมา
                                 คำถามที่ว่า ชีวิตเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ต่อการ
                      พัฒนาแนวคิดด้านวิวัฒนาการในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้คนมีความเชื่อมาตั้งแต่ดั้งเดิม

                      ว่ า มี เ พี ย งสิ่ ง มี ชี วิ ต ขนาดใหญ่ ที่ จ ะสื บ พั น ธุ์ แ บบอาศั ย เพศ ขณะที่ สิ่ ง มี ชี วิ ต ขนาดเล็ ก จะ
                      สามารถเกิดขึ้นได้เองจากโคลนหรือซากอินทรีย์ ดังที่ ยาน แบบติสต์ วาน เฮลมอนต์
                      (Jan Baptist van Helmont, 1577-1644) ได้เสนอหลัก “การเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง”
                      (spontaneous generation) เพื่ออธิบายการที่เขาพบหนูวิ่งออกมาจากโถใส่ข้าวฟ่างและ
                      ชุดชั้นในทิ้งไว้ 21 วัน
                            ถ้าสปีชีส์สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เราจะไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายความแตกต่าง
                      ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ด้วยหลักการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นับว่าโชคดี




_12-11(001-046)P2.indd 7                                                                                                                7/15/12 11:25:01 AM
วิวัฒนาการ

                  ที่การศึกษาทดลองในช่วงเวลาต่อมาได้เริ่มแสดงให้เห็นว่าหลักการที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้
                  ด้วยตนเองนั้นไม่เป็นจริง ทั้งจากการที่ ฟรานเซสโก เรดิ (Francesco Redi, 1621-
                  1697) ได้ค้นพบว่าหนอนแมลงวันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากเนื้อเน่า แต่เกิดจากการที่แมลงวันมา
                  ไข่ไว้บนก้อนเนื้อ หรือการที่ อันโทนี วาน ลิวเวนฮุก (Antonie van Leeuwenhoek,
                  1632-1723) ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ขึ้น ทำให้เห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในของเหลวต่าง ๆ
                  ซึ่งนำไปสู่การทดลองในเวลาต่อมาของ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur, 1822-1895)
                  ที่ว่าเชื้อแบคทีเรียในอาหารเหลวจะไม่อาจเกิดขึ้นมาได้เอง หากไม่ได้เปิดภาชนะที่ฆ่าเชื้อ
                  แล้วด้วยความร้อนให้สัมผัสกับอากาศ
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                           
                                                                                                    
                           รูปที่ 1.5	หลุยส์ ปาสเตอร์ และการทดลองของเขาเพือพิสจน์วาเชือแบคทีเรียจะไม่เกิดขึนเอง

                                       	                                        ่ ู ่ ้                    ้
                           													ถ้าอาหารเลี้ยงไม่ได้สัมผัสกับอากาศ (จาก www.wikipedia.org)
                           
                        ทฤษฎีใหม่หลายทฤษฎีได้ถูกนำเสนอขึ้นในเวลาต่อมาเพื่ออธิบายถึงต้นกำเนิดของชีวิต
                  ทั้งทฤษฎี “การมีรูปร่างไว้ก่อนแล้ว” (preformation) ที่ ยาน สแวมเมอร์แดม (Jan
                  Swammerdam, 1637-1680) ได้เสนอไว้ว่า เอ็มบริโอ (embryo) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด




_12-11(001-046)P2.indd 8                                                                                              7/15/12 11:25:01 AM
วิวัฒนาการคืออะไร	                                                                                       

                      จะมีรูปร่างเหมือนกับตัวเต็มวัยขนาดจิ๋ว (animalculist) ซึ่งจะเจริญเติบใหญ่ขึ้นจากอาหาร
                      ในไข่และสิ่งแวดล้อม หรือทฤษฎี “อีพิเจเนซิส” (epigenesis) ซึ่งมาแทนที่ทฤษฎีการมี

                      รู ป ร่ า งไว้ ก่ อ นแล้ ว ในช่ ว งศตวรรษที่ 19 โดยอธิ บ ายการเจริ ญ ของเอ็ ม บริ โ อว่ า เกิ ด การ
                      เปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นโดยกลไกทางเคมีและชีวภาพ ทำให้การเจริญของเอ็มบริโอ

                      ระยะต้นปรากฏลักษณะโดยรวม จากนั้นส่วนต่าง ๆ ค่อยปรากฏโครงสร้างในรายละเอียด
                      เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น ลำดั บ โดยการเปลี่ ย นแปลงนี้ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จากพลั ง เหนื อ ธรรมชาติ ดั ง เช่ น ที่
                      เฟรดดริช วูห์เลอร์ (Friedrich Wohler, 1800-1882) สาธิตการสังเคราะห์สารประกอบ
                      อินทรีย์ เช่น ยูเรีย (urea) ขึ้นได้จากสารแอมโมเนียมไซยาเนต (ammonium cyanate)
                      โดยไม่ต้องใช้เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
                             ดูเหมือนว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้คนฉุกคิดถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต คือ การ

                      ค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ผู้คนค้นพบซากโครงกระดูกซึ่งไม่เหมือนกับ
                      กระดู ก ของสั ต ว์ ส ปี ชี ส์ ใ ด ๆ ในปั จ จุ บั น หรื อ แม้ จ ะคล้ า ยคลึ ง แต่ ก ลั บ ไปอยู่ ใ นบริ เ วณที่

                      ไม่ควรจะพบได้ เช่น พบซากเปลือกหอยบนยอดภูเขา ซึ่งพบมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณแล้ว 

                      รวมทั้ ง มี ก ารสั ง เกตเห็ น การเปลี่ ย นแปลงที ล ะน้ อ ยของตำแหน่ ง ของแผ่ น ดิ น และทะเล

                      อีกด้วย
                              ถึงกระนั้นก็ตาม ความเชื่อทางศาสนาในยุโรปได้ทำให้การคำนวณอายุของโลกผิดจาก
                      ความเป็นจริง คือเหลือเพียงประมาณ 6,000 ปีเท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำเอาซาก
                      ฟอสซิลมาใช้อธิบายถึงกระบวนการทางวิวัฒนาการที่อาศัยระยะเวลาอันยาวนานได้ คำถาม
                      มากมายได้ถูกตั้งขึ้นระหว่างยุคทองของการสำรวจธรรมชาติตามแนวคิด “สายโซ่ยิ่งใหญ่
                      ของสรรพสิ่ง” ที่ซากฟอสซิลได้ถูกขุดค้นพบเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก ว่าซากเหล่านี้เป็นของ
                      สิ่งมีชีวิตที่สาบสูญไปแล้ว หรือว่ายังไม่สูญพันธุ์เพียงแต่ว่าหายากเท่านั้น หรือว่าพระเจ้าได้
                      สร้างขึ้นมาไว้ทดสอบศรัทธาของมนุษย์ต่อศาสนา
                             ทฤษฎี ห นึ่ ง ที่ นิ ย มใช้ กั น ในการอธิ บ ายเรื่ อ งซากฟอสซิ ล ในช่ ว งศตวรรษที่ 18 ถึ ง

                      ต้นศตวรรษที่ 19 คือ ทฤษฎีการเกิดมหันตภัย (catastrophism) ของโลก ซึ่ง จอร์จ 
                       	
                      คูเวียร์ (Georges Cuvier, 1769-1832) นักกายวิภาคเปรียบเทียบชาวฝรั่งเศส เสนอ

                      ไว้ว่า หลักฐานต่าง ๆ ทางธรณีวิทยาที่แสดงถึงความไม่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียงตัว

                      ของชั้นหินหรือการพบซากฟอสซิล ล้วนบอกเล่าการเกิดมหันตภัย (catastrophy) ขึ้น





_12-11(001-046)P2.indd 9                                                                                                           7/15/12 11:25:02 AM
10	                                                                               วิวัฒนาการ

                 ในอดีต เช่น แผ่นดินไหวหรือน้ำท่วมใหญ่ จนเกิดการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น และ
                 หลายคนได้อ้างว่ามหันตภัยเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นการเนรมิตจาก

                 พระเป็นเจ้า
                        ในทางตรงกันข้าม ลามาร์กได้แย้งทฤษฎีการเกิดมหันตภัยนี้ว่า ความไม่ต่อเนื่องกัน
                 ทางธรณีวิทยา (geological discontinuity) ดังกล่าว ความจริงแล้วแสดงให้เห็นถึง

                 การเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศของโลกที่สิ่งมีชีวิตได้เผชิญใน

                 อดีต และการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้เองที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการปรับเปลี่ยนรูปร่างไปด้วย

                 ตามกาลเวลา แนวคิ ด นี้ เ รี ย กว่ า “ยู นิ ฟ อร์ มิ ท าเรี ย น” (uniformitarian) ซึ่ ง เน้ น ว่ า
                 “ปัจจุบันเป็นกุญแจไขไปสู่อดีต” (The present is the key to the past.) กล่าวคือ แรง
                 ต่าง ๆ ตามธรรมชาติอันมีการกระทำที่คงที่ สม่ำเสมอ เป็นรูปแบบเดียว (uniform) เป็น
                 ปัจจัยทำให้โลกมีรูปร่างหน้าตาเช่นนี
้
                       ความจริงแล้วแนวคิดยูนิฟอร์มิทาเรียนนี้ได้เคยถูกพูดถึงอย่างเป็นนัยมาก่อนแล้ว

                 ในยุคของบุฟฟอง แต่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากผลงานของนักธรณีวิทยาที่ชื่อว่า เจมส์ ฮัตตัน
                 (James Hutton, 1726-1797) รวมถึง ชาลส์ ไลเอลล์ (Charles Lyell, 1797-1875)
                 หรือแม้แต่ชาลส์ ดาร์วินเอง ซึ่งแนวคิดยูนิฟอร์มิทาเรียนยังได้ค้านทฤษฎีการเกิดมหันตภัย
                 ไว้หลายประการ ดังเช่นความเปลี่ยนแปลงที่พบเห็นทางธรณีวิทยานั้น จริง ๆ แล้วยัง
                 สามารถจะเกิดจากการกัดเซาะตามธรรมชาติของน้ำ ฝน และลมได้ ไม่จำเป็นต้องเกิด

                 จากภูเขาไฟระเบิดหรือน้ำท่วมโลกด้วยแรงเหนือธรรมชาติ รวมถึงโลกเองนั้นจะต้องมีอายุ
                 เก่าแก่มาก จึงจะเพียงพอที่จะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาดังกล่าวเกิดขึ้น

                 ทีละน้อยได้
                         จะเห็นได้ว่า ถึงแม้หลักการยูนิฟอร์มิทาเรียนจะไม่ได้ตัดประเด็น “มหันตภัย” ต่าง ๆ
                 อย่างเช่นภูเขาไฟระเบิดทิ้งไป แต่มันสามารถที่จะอธิบายได้ว่ามหันตภัยเหล่านั้นสามารถ

                 เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดนี้ได้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
                 คิดทางวิทยาศาสตร์ ให้เกิดความพยายามที่จะศึกษาค้นหาความจริงต่าง ๆ ทั้งทางฟิสิกส์
                 และเคมีเพื่ออธิบายวิวัฒนาการของโลกและจักรวาล จากที่เคยเชื่อมั่นกันว่าเป็นสิ่งที่อยู่นิ่ง
                 (static) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มาเป็นสิ่งที่ไม่อยู่นิ่ง (dynamic) เปลี่ยนแปลงได้ด้วยพลัง
                 ตามธรรมชาติ ส่วนความรู้วิวัฒนาการในเชิงของชีวภาพนั้น เป็นผลงานของชาลส์ ดาร์วิน 





_12-11(001-046)P3.indd 10                                                                                            7/28/12 9:48:28 PM

Contenu connexe

Similaire à 9789740330059

นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59 นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59 mahakhum
 
จอมเสเพลชายแดน
จอมเสเพลชายแดนจอมเสเพลชายแดน
จอมเสเพลชายแดนsornblog2u
 
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1)
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1) นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1)
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1) mahakhum
 
ศึกเสือหยกขาว
ศึกเสือหยกขาวศึกเสือหยกขาว
ศึกเสือหยกขาวsornblog2u
 
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdfสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdfPawachMetharattanara
 
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdfสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdfPawachMetharattanara
 
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59mahakhum
 
ฤทธิ์มีดสั้น
ฤทธิ์มีดสั้นฤทธิ์มีดสั้น
ฤทธิ์มีดสั้นsornblog2u
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyren
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyrenอ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyren
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyrenmahakhum
 
นัมบะ เดดเอ็นด์
นัมบะ เดดเอ็นด์ นัมบะ เดดเอ็นด์
นัมบะ เดดเอ็นด์ mahakhum
 
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูต
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูตหนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูต
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูตMuhammadrusdee Almaarify
 
หงส์ผงาดฟ้า
หงส์ผงาดฟ้าหงส์ผงาดฟ้า
หงส์ผงาดฟ้าsornblog2u
 
พิฆาตทรชน
พิฆาตทรชนพิฆาตทรชน
พิฆาตทรชนsornblog2u
 
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيل
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيلالتنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيل
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيلOm Muktar
 
Thailand Friendly Design Magazine
Thailand Friendly Design MagazineThailand Friendly Design Magazine
Thailand Friendly Design Magazinearayasatapat
 
Super doctor k ภาค 2
Super doctor k ภาค 2Super doctor k ภาค 2
Super doctor k ภาค 2pyde99
 
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่sornblog2u
 
บันทึกชำระกระบี่
บันทึกชำระกระบี่บันทึกชำระกระบี่
บันทึกชำระกระบี่sornblog2u
 
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2sornblog2u
 
สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
สุชีพ ปุญญานุภาพ   พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชนสุชีพ ปุญญานุภาพ   พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชนWataustin Austin
 

Similaire à 9789740330059 (20)

นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59 นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
 
จอมเสเพลชายแดน
จอมเสเพลชายแดนจอมเสเพลชายแดน
จอมเสเพลชายแดน
 
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1)
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1) นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1)
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59(1)
 
ศึกเสือหยกขาว
ศึกเสือหยกขาวศึกเสือหยกขาว
ศึกเสือหยกขาว
 
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdfสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #01.2_zip.pdf
 
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdfสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdf
สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดย วรรณไว พัธโนทัย #02.2_zip.pdf
 
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
นัมบะ เดดเอ็นด์ เล่ม 1 59
 
ฤทธิ์มีดสั้น
ฤทธิ์มีดสั้นฤทธิ์มีดสั้น
ฤทธิ์มีดสั้น
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyren
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyrenอ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyren
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Psyren
 
นัมบะ เดดเอ็นด์
นัมบะ เดดเอ็นด์ นัมบะ เดดเอ็นด์
นัมบะ เดดเอ็นด์
 
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูต
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูตหนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูต
หนังสืออิอรอบกุรอาน ดร.มัหมูด สุไลมาน ยากูต
 
หงส์ผงาดฟ้า
หงส์ผงาดฟ้าหงส์ผงาดฟ้า
หงส์ผงาดฟ้า
 
พิฆาตทรชน
พิฆาตทรชนพิฆาตทรชน
พิฆาตทรชน
 
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيل
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيلالتنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيل
التنكيل بما في تأنيب الكوثري من الأباطيل
 
Thailand Friendly Design Magazine
Thailand Friendly Design MagazineThailand Friendly Design Magazine
Thailand Friendly Design Magazine
 
Super doctor k ภาค 2
Super doctor k ภาค 2Super doctor k ภาค 2
Super doctor k ภาค 2
 
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
 
บันทึกชำระกระบี่
บันทึกชำระกระบี่บันทึกชำระกระบี่
บันทึกชำระกระบี่
 
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2
สามก๊ก ฉบับพระยาพระคลัง(หน) เล่ม 1-2
 
สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
สุชีพ ปุญญานุภาพ   พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชนสุชีพ ปุญญานุภาพ   พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330059

  • 1. 1 วิวัฒนาการคืออะไร _12-11(001-046)P2.indd 1 7/15/12 11:24:56 AM
  • 2. วิวัฒนาการ ในทางชีววิทยา วิวัฒนาการ (evolution) หมายถึง “การเปลี่ยนแปลงที่ถ่ายทอดได้ ทางกรรมพันธุ์ในประชากรของสิ่งมีชีวิต ผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนนำไปสู่ความแตกต่างกัน ของประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้น” คำว่า evolution มีที่มาจากคำศัพท์เก่าแก่ที่ใช้กันในคริสต์ ศตวรรษที่ 17 ด้านวิทยาเอ็มบริโอ (embryology) ที่หมายถึง “การคลี่ออก (unrolling)” ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างเจริญเติบโต แล้วในศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มนำ คำว่า evolution นี้มาใช้อธิบายการเปลี่ยนรูป (transformation) ของสปีชีส์ (species) ของ สิ่งมีชีวิต มีผู้ที่พยายามศึกษาและเสนอแนวคิดมานานแล้วที่จะอธิบายว่า สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นั้น เชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยการที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่เพิ่งจะในสมัยศตวรรษที่ 19 นี้เอง ที่แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากผลงานของ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin, 1809-1882) เริ่มจะเป็นที่ยอมรับของสังคม ในบทที่ 1 นี้จะอธิบายแนวความคิดต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่ในยุคก่อนดาร์วิน ไปจนถึงแนวคิดสมัยใหม่หลังยุคดาร์วิน (post Darwinian concept) 1.1 แนวความคิดด้านวิวัฒนาการในยุคก่อนดาร์วิน มนุษย์มีความพยายามมาเนิ่นนานแล้วที่จะเข้าใจโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เราอาศัย อยู่นี้ แนวคิดทางตะวันตกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นย้อนไปตั้งแต่กว่า 300 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อ อาริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “ลำดับขั้นของธรรมชาติ” (Scale of Nature) ซึ่งกล่าวถึงลำดับขั้นในการเปลี่ยนแปลง รูปร่างของสิ่งมีชีวิต จากที่ยังมีรูปร่างไม่สมบูรณ์ไปจนถึงที่มีรูปร่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น จาก พืชมาสู่สัตว์จนถึงมนุษย์ แนวคิดนี้ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อทางชีววิทยาในทวีปยุโรปเป็น เวลานาน โดยถูกพัฒนาจนเป็นแนวคิด “บันไดของชีวิต” (Ladder of Life) และ “สาย โซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” (Great Chain of Being) (ดูรูปที่ 1.2) ที่ยึดถือกันมาจนถึงช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 18 _12-11(001-046)P2.indd 2 7/15/12 11:24:56 AM
  • 3. วิวัฒนาการคืออะไร รูปที่ 1.1 รูปเหมือนของอาริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก (จาก www.wikipedia.org) แนวคิดดังกล่าวได้เริ่มถูกโต้แย้งในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งน่าจะมีผลกระทบมาจาก เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคนั้น ดังเช่นการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางที่เป็นพ่อค้า การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โวลแตร์ (Voltaire, 1694-1778) ได้ ตั้ ง คำถามเกี่ ย วกั บ ความเชื่ อ ทางศาสนาต่ อ การ เปลี่ยนแปลงของลำดับขั้นของสปีชีส์ไว้ว่า จะเห็นได้ชัดว่ายังมีช่องว่างอยู่มากระหว่าง สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำที่ยังไม่สมบูรณ์ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตชั้นสูง โวลแตร์ได้เสนอไว้ว่าช่องว่างเหล่านี้ อาจจะเกิดจากการสูญพันธุ์ (extinction) ของสิ่งมีชีวิตนั้น ความขัดแย้งในเรื่องช่องว่างของลำดับชั้นของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อ หลักความต่อเนื่องของชีวิต (concept of continuity) ที่กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงจาก สปีชีส์หนึ่งไปสู่อีกสปีชีส์นั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องทีละเล็กละน้อย ไม่ได้เป็นก้าวกระโดด และ ยังนำไปสู่ความพยายามที่จะค้นหาตัวเชื่อมโยงที่หายไป (missing link) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละ กลุ่ม ทั้งในพืชและสัตว์ รวมไปถึงการเสนอว่าลิงอุรังอุตังเป็นตัวเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับสัตว์ สปีชีส์อื่นใน “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม จนมีการ จำคุกผู้ที่เสนอแนวคิดนี้ก็ตาม _12-11(001-046)P2.indd 3 7/15/12 11:24:57 AM
  • 4. วิวัฒนาการ รูปที่ 1.2 รูป “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” วาดโดย ดิดาคัส วาลาเดส (Didacus Valades) (จาก www.wikipedia.org) ก่อนที่จะสร้างแนวคิดใด ๆ ที่จะอธิบายความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ ได้ เราไม่อาจมองข้ามประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ทางชีววิทยามาตั้งแต่ไหนแต่ไร นั่นคือ การนิยามว่าสปีชีส์คืออะไร จะแบ่งแยกจากสปีชีส์หนึ่งจากอีกสปีชีส์หนึ่ง หรือจะจัด จำแนกกลุ่ม (classify) ของสปีชีส์ได้อย่างไร จึงจะแสดงถึงลักษณะจำเพาะสำคัญของกลุ่ม ของสปีชีส์นั้นได้ ตั้ ง แต่ ใ นสมั ย ยุ ค กลาง (Middle Ages) ของยุ โ รป การระบุ ส ปี ชี ส์ มั ก จะทำโดย ดู คุ ณ สมบั ติ ท างยาหรื อ การเป็ น อาหารของสิ่ ง มี ชี วิ ต นั้ น ดั ง เช่ น การเรี ย กพื ช ที่ น ำมาทำ อาหารได้ว่า “ผัก” จนเมื่อยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ที่ได้เริ่มมีการออกสำรวจและ ค้ น พบทวี ป ต่ า ง ๆ ของโลก ซึ่ ง ทำให้ มี ก ารพบสิ่ ง มี ชี วิ ต สปี ชี ส์ ใ หม่ ๆ ทั้ ง พื ช และสั ต ว์ เป็นจำนวนมหาศาล เกินกว่าที่จะจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้งหมดได้โดยง่ายเหมือนแต่ก่อน คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus, 1707-1778) ซึ่งนับได้ว่าเป็นบิดาของวิชาอนุกรมวิธาน _12-11(001-046)P2.indd 4 7/15/12 11:24:58 AM
  • 5. วิวัฒนาการคืออะไร (taxonomy) หรื อ วิ ช าระบบวิ ท ยา (systematics) สมั ย ใหม่ ได้ ริ เ ริ่ ม ใช้ วิ ธี ก ารตั้ ง ชื่ อ วิทยาศาสตร์ (scientific name) ที่จะช่วยอธิบายแต่ละสปีชีส์ให้ได้กระชับที่สุด ตามระบบ การตั้งชื่อแบบ 2 คำ (binomial nomenclature) ซึ่งทุกสปีชีส์จะมีชื่อที่บอกให้รู้ว่าเป็น สมาชิกของสกุล (genus) ใด และสกุลที่สัมพันธ์กันจะถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ (family) ลำดับ (order) และชั้น (class) เดียวกันตามลำดับ รูปที่ 1.3 รูปวาดของคาโรลัส ลินเนียส นักชีววิทยาชาวสวีเดน (จาก www.wikipedia.org) การใช้สปีชีส์เป็นหน่วยหลัก (basic unit) ของการจัดจำแนกตามระบบของลินเนียส และแยกแยะโดยตามลักษณะทางสัณฐาน (morphological feature) ทำให้การจัดกลุ่มของ สิ่งมีชีวิตสะท้อนภาพการจัดกลุ่มตามธรรมชาติ (natural grouping) ได้ดีกว่าเดิมมาก และเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของการค้นพบความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าจัดแบ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตตามแบบดั้งเดิมว่า สิ่งใดที่ บินได้นับว่าเป็น “นก” เราจะต้องจัดให้ “ค้างคาว” เป็นนกไปด้วย ในขณะที่ถ้าใช้หลักของ ลินเนียสจะเห็นว่า นอกจากความสามารถในการบินได้แล้ว ลักษณะต่าง ๆ ของค้างคาว ไม่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่นมากนัก จึงควรที่จะจัดจำแนกมันเป็น “สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม” _12-11(001-046)P2.indd 5 7/15/12 11:24:59 AM
  • 6. วิวัฒนาการ จากแนวคิดของลินเนียส วิชาระบบวิทยาได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สิ่งมีชีวิต หลายสปีชีส์ได้ถูกรวบรวมบรรยายไว้โดยเน้นไปที่ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์และการจัดจำแนก ดังกล่าวยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม ลินเนียสยังคงมองสปีชีส์ว่าเป็นหน่วยที่ คงที่ (fixed entity) ตามแนวคิดที่เชื่อกันมานานของ จอห์น เรย์ (John Ray, 1627- 1705) ที่ว่า สปีชีส์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และต้นกำเนิดหรือบรรพบุรุษ (ancestor) ของ แต่ละสปีชีส์นั้นคือพระเจ้าเบื้องบน สปีชีส์ของลินเนียสจึงเป็นเพียงหน่วยทางอนุกรมวิธาน เพื่อให้ใช้ได้จริงทางปฏิบัติ โดยไม่ได้บอกถึงการสืบทอดลำดับจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแต่ อย่างไร บุฟฟอง (Buffon, 1707-1788) เป็นคนแรกที่ได้เสนอว่าสปีชีส์เป็นหน่วยทางชีวภาพ ที่มีตัวตนตามธรรมชาติ โดยควรที่จะแยกแยะด้วยหลักว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีตัวกีดขวาง การสืบพันธุ์ (reproductive barrier) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการผสมข้ามพันธุ์ (crossbreeding) กับสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นกลไกการแบ่งแยกตามการสืบพันธุ์ (reproductive isolation) ที่ดูว่ามีลูกผสม (hybrid) ที่เป็นหมันหรือไม่นั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม บุฟฟอง เองไม่ได้เชื่อในหลักการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เขาเชื่อมั่นเหมือนคนอื่น ๆ ในยุค คริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามความเชื่อทางศาสนาที่ว่าสปีชีส์เป็นสิ่งที่คงที่และจะไม่เปลี่ยน แปลง กำแพงขวางกั้นไม่ให้คนในยุคนั้นยอมรับแนวคิดเชิงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต คือ คำถามที่ว่า “สปีชีส์มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่” ถ้าสปีชีส์มีตัวตนจริง มันจะต้องเป็นสิ่งที่ถูก ตรึงไว้แล้ว เพราะถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากสปีชีส์หนึ่งไปสู่อีกสปีชีส์หนึ่งได้จริง แล้วทำไมเราจึงไม่พบพวกตัวเชื่อมโยงที่หายไปทุกตัวตามที่จินตนาการกันไว้ ด้วยเหตุนี้ ชอง-แบบติสต์ เดอ ลามาร์ก (Jean-Baptiste de Lamark, 1744-1829) ซึ่งเป็น คนกลุ่มแรกที่สนับสนุนแนวคิดวิวัฒนาการ จึงได้พยายามเสนอว่าสปีชีส์ไม่มีจริง แต่เป็น เพียงคำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดจำแนกและอาจปรับเปลี่ยนได้ โดยเน้นว่า สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เชื่อมโยงกันด้วยตัวกลางทางวิวัฒนาการซึ่งอยู่ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้ ขณะ ที่ช่องว่างทางความสัมพันธ์ระหว่างสปีชีส์ หรือระหว่างสกุล หรือวงศ์ที่เป็นปัญหากันอยู่นั้น ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน _12-11(001-046)P2.indd 6 7/15/12 11:25:00 AM
  • 7. วิวัฒนาการคืออะไร รูปที่ 1.4 รูปวาดของชอง-แบบติสต์ เดอ ลามาร์ก (จาก www.wikipedia.org) กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลามาร์กไม่ได้เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ถูกแยกกันสร้างทีละ ตัวอย่างที่เคยยึดถือกันมา แต่ได้เสนอว่ามันมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งแนวคิดที่ เขาได้เสนอนี้ถือได้ว่าท้าทายความเชื่อหลักของ “สายโซ่ยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่ง” เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากการที่เขาได้เสนอรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ที่มีหลายทิศทางตาม ลักษณะการแตกกิ่ง (branching) ไปเรื่อย ๆ แทนที่จะเป็นทิศทางเดียว จากที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นสมบูรณ์ที่สุดแล้วตามที่เชื่อกันมา คำถามที่ว่า ชีวิตเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ต่อการ พัฒนาแนวคิดด้านวิวัฒนาการในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้คนมีความเชื่อมาตั้งแต่ดั้งเดิม ว่ า มี เ พี ย งสิ่ ง มี ชี วิ ต ขนาดใหญ่ ที่ จ ะสื บ พั น ธุ์ แ บบอาศั ย เพศ ขณะที่ สิ่ ง มี ชี วิ ต ขนาดเล็ ก จะ สามารถเกิดขึ้นได้เองจากโคลนหรือซากอินทรีย์ ดังที่ ยาน แบบติสต์ วาน เฮลมอนต์ (Jan Baptist van Helmont, 1577-1644) ได้เสนอหลัก “การเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง” (spontaneous generation) เพื่ออธิบายการที่เขาพบหนูวิ่งออกมาจากโถใส่ข้าวฟ่างและ ชุดชั้นในทิ้งไว้ 21 วัน ถ้าสปีชีส์สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เราจะไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายความแตกต่าง ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ด้วยหลักการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นับว่าโชคดี _12-11(001-046)P2.indd 7 7/15/12 11:25:01 AM
  • 8. วิวัฒนาการ ที่การศึกษาทดลองในช่วงเวลาต่อมาได้เริ่มแสดงให้เห็นว่าหลักการที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ ด้วยตนเองนั้นไม่เป็นจริง ทั้งจากการที่ ฟรานเซสโก เรดิ (Francesco Redi, 1621- 1697) ได้ค้นพบว่าหนอนแมลงวันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากเนื้อเน่า แต่เกิดจากการที่แมลงวันมา ไข่ไว้บนก้อนเนื้อ หรือการที่ อันโทนี วาน ลิวเวนฮุก (Antonie van Leeuwenhoek, 1632-1723) ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ขึ้น ทำให้เห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในของเหลวต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การทดลองในเวลาต่อมาของ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur, 1822-1895) ที่ว่าเชื้อแบคทีเรียในอาหารเหลวจะไม่อาจเกิดขึ้นมาได้เอง หากไม่ได้เปิดภาชนะที่ฆ่าเชื้อ แล้วด้วยความร้อนให้สัมผัสกับอากาศ รูปที่ 1.5 หลุยส์ ปาสเตอร์ และการทดลองของเขาเพือพิสจน์วาเชือแบคทีเรียจะไม่เกิดขึนเอง ่ ู ่ ้ ้ ถ้าอาหารเลี้ยงไม่ได้สัมผัสกับอากาศ (จาก www.wikipedia.org) ทฤษฎีใหม่หลายทฤษฎีได้ถูกนำเสนอขึ้นในเวลาต่อมาเพื่ออธิบายถึงต้นกำเนิดของชีวิต ทั้งทฤษฎี “การมีรูปร่างไว้ก่อนแล้ว” (preformation) ที่ ยาน สแวมเมอร์แดม (Jan Swammerdam, 1637-1680) ได้เสนอไว้ว่า เอ็มบริโอ (embryo) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด _12-11(001-046)P2.indd 8 7/15/12 11:25:01 AM
  • 9. วิวัฒนาการคืออะไร จะมีรูปร่างเหมือนกับตัวเต็มวัยขนาดจิ๋ว (animalculist) ซึ่งจะเจริญเติบใหญ่ขึ้นจากอาหาร ในไข่และสิ่งแวดล้อม หรือทฤษฎี “อีพิเจเนซิส” (epigenesis) ซึ่งมาแทนที่ทฤษฎีการมี รู ป ร่ า งไว้ ก่ อ นแล้ ว ในช่ ว งศตวรรษที่ 19 โดยอธิ บ ายการเจริ ญ ของเอ็ ม บริ โ อว่ า เกิ ด การ เปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นโดยกลไกทางเคมีและชีวภาพ ทำให้การเจริญของเอ็มบริโอ ระยะต้นปรากฏลักษณะโดยรวม จากนั้นส่วนต่าง ๆ ค่อยปรากฏโครงสร้างในรายละเอียด เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น ลำดั บ โดยการเปลี่ ย นแปลงนี้ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จากพลั ง เหนื อ ธรรมชาติ ดั ง เช่ น ที่ เฟรดดริช วูห์เลอร์ (Friedrich Wohler, 1800-1882) สาธิตการสังเคราะห์สารประกอบ อินทรีย์ เช่น ยูเรีย (urea) ขึ้นได้จากสารแอมโมเนียมไซยาเนต (ammonium cyanate) โดยไม่ต้องใช้เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ดูเหมือนว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้คนฉุกคิดถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีต คือ การ ค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ผู้คนค้นพบซากโครงกระดูกซึ่งไม่เหมือนกับ กระดู ก ของสั ต ว์ ส ปี ชี ส์ ใ ด ๆ ในปั จ จุ บั น หรื อ แม้ จ ะคล้ า ยคลึ ง แต่ ก ลั บ ไปอยู่ ใ นบริ เ วณที่ ไม่ควรจะพบได้ เช่น พบซากเปลือกหอยบนยอดภูเขา ซึ่งพบมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณแล้ว รวมทั้ ง มี ก ารสั ง เกตเห็ น การเปลี่ ย นแปลงที ล ะน้ อ ยของตำแหน่ ง ของแผ่ น ดิ น และทะเล อีกด้วย ถึงกระนั้นก็ตาม ความเชื่อทางศาสนาในยุโรปได้ทำให้การคำนวณอายุของโลกผิดจาก ความเป็นจริง คือเหลือเพียงประมาณ 6,000 ปีเท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำเอาซาก ฟอสซิลมาใช้อธิบายถึงกระบวนการทางวิวัฒนาการที่อาศัยระยะเวลาอันยาวนานได้ คำถาม มากมายได้ถูกตั้งขึ้นระหว่างยุคทองของการสำรวจธรรมชาติตามแนวคิด “สายโซ่ยิ่งใหญ่ ของสรรพสิ่ง” ที่ซากฟอสซิลได้ถูกขุดค้นพบเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก ว่าซากเหล่านี้เป็นของ สิ่งมีชีวิตที่สาบสูญไปแล้ว หรือว่ายังไม่สูญพันธุ์เพียงแต่ว่าหายากเท่านั้น หรือว่าพระเจ้าได้ สร้างขึ้นมาไว้ทดสอบศรัทธาของมนุษย์ต่อศาสนา ทฤษฎี ห นึ่ ง ที่ นิ ย มใช้ กั น ในการอธิ บ ายเรื่ อ งซากฟอสซิ ล ในช่ ว งศตวรรษที่ 18 ถึ ง ต้นศตวรรษที่ 19 คือ ทฤษฎีการเกิดมหันตภัย (catastrophism) ของโลก ซึ่ง จอร์จ คูเวียร์ (Georges Cuvier, 1769-1832) นักกายวิภาคเปรียบเทียบชาวฝรั่งเศส เสนอ ไว้ว่า หลักฐานต่าง ๆ ทางธรณีวิทยาที่แสดงถึงความไม่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียงตัว ของชั้นหินหรือการพบซากฟอสซิล ล้วนบอกเล่าการเกิดมหันตภัย (catastrophy) ขึ้น _12-11(001-046)P2.indd 9 7/15/12 11:25:02 AM
  • 10. 10 วิวัฒนาการ ในอดีต เช่น แผ่นดินไหวหรือน้ำท่วมใหญ่ จนเกิดการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น และ หลายคนได้อ้างว่ามหันตภัยเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นการเนรมิตจาก พระเป็นเจ้า ในทางตรงกันข้าม ลามาร์กได้แย้งทฤษฎีการเกิดมหันตภัยนี้ว่า ความไม่ต่อเนื่องกัน ทางธรณีวิทยา (geological discontinuity) ดังกล่าว ความจริงแล้วแสดงให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศของโลกที่สิ่งมีชีวิตได้เผชิญใน อดีต และการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้เองที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการปรับเปลี่ยนรูปร่างไปด้วย ตามกาลเวลา แนวคิ ด นี้ เ รี ย กว่ า “ยู นิ ฟ อร์ มิ ท าเรี ย น” (uniformitarian) ซึ่ ง เน้ น ว่ า “ปัจจุบันเป็นกุญแจไขไปสู่อดีต” (The present is the key to the past.) กล่าวคือ แรง ต่าง ๆ ตามธรรมชาติอันมีการกระทำที่คงที่ สม่ำเสมอ เป็นรูปแบบเดียว (uniform) เป็น ปัจจัยทำให้โลกมีรูปร่างหน้าตาเช่นนี ้ ความจริงแล้วแนวคิดยูนิฟอร์มิทาเรียนนี้ได้เคยถูกพูดถึงอย่างเป็นนัยมาก่อนแล้ว ในยุคของบุฟฟอง แต่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากผลงานของนักธรณีวิทยาที่ชื่อว่า เจมส์ ฮัตตัน (James Hutton, 1726-1797) รวมถึง ชาลส์ ไลเอลล์ (Charles Lyell, 1797-1875) หรือแม้แต่ชาลส์ ดาร์วินเอง ซึ่งแนวคิดยูนิฟอร์มิทาเรียนยังได้ค้านทฤษฎีการเกิดมหันตภัย ไว้หลายประการ ดังเช่นความเปลี่ยนแปลงที่พบเห็นทางธรณีวิทยานั้น จริง ๆ แล้วยัง สามารถจะเกิดจากการกัดเซาะตามธรรมชาติของน้ำ ฝน และลมได้ ไม่จำเป็นต้องเกิด จากภูเขาไฟระเบิดหรือน้ำท่วมโลกด้วยแรงเหนือธรรมชาติ รวมถึงโลกเองนั้นจะต้องมีอายุ เก่าแก่มาก จึงจะเพียงพอที่จะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาดังกล่าวเกิดขึ้น ทีละน้อยได้ จะเห็นได้ว่า ถึงแม้หลักการยูนิฟอร์มิทาเรียนจะไม่ได้ตัดประเด็น “มหันตภัย” ต่าง ๆ อย่างเช่นภูเขาไฟระเบิดทิ้งไป แต่มันสามารถที่จะอธิบายได้ว่ามหันตภัยเหล่านั้นสามารถ เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดนี้ได้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ คิดทางวิทยาศาสตร์ ให้เกิดความพยายามที่จะศึกษาค้นหาความจริงต่าง ๆ ทั้งทางฟิสิกส์ และเคมีเพื่ออธิบายวิวัฒนาการของโลกและจักรวาล จากที่เคยเชื่อมั่นกันว่าเป็นสิ่งที่อยู่นิ่ง (static) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มาเป็นสิ่งที่ไม่อยู่นิ่ง (dynamic) เปลี่ยนแปลงได้ด้วยพลัง ตามธรรมชาติ ส่วนความรู้วิวัฒนาการในเชิงของชีวภาพนั้น เป็นผลงานของชาลส์ ดาร์วิน _12-11(001-046)P3.indd 10 7/28/12 9:48:28 PM