SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1       แนวคิดพื้นฐานด้านความรู้
                                      และการเรียนรู้

ความรู้กับสังคม
             August Comte (1798-1857) นักสังคมวิทยาผู้มีชื่อเสียง
ได้กล่าวไว้นานมาแล้วว่า ความรู้ คือ องค์ประกอบที่ส�าคัญที่สุด
ในการก�าหนดรูปแบบของการจัดระเบียบสังคม และทิศทาง
ของการเปลี่ยนแปลงสังคม ในทัศนะของ Comte การเปลี่ยนแปลง
ของสังคมจากยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่ง จึงเป็นผลมาจากการเปลี่ยน
แปลงองค์ความรู้ของมนุษย์ อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า พัฒนาการ
ของสังคมในช่วงเวลาต่าง ๆ ล้วนยืนยันและสนับสนุนแนวคิด
ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อหลักเหตุผลได้
เข้ามามีบทบาทต่อความคิดของคนในสังคมอย่างกว้างขวาง มุม
มองหรื อ โลกทั ศ น ์ ข องคนต ่ อ สรรพสิ่ ง ก็ เ ปลี่ ย นแปลงไป และ
อี ก ครั้ ง ในยุ ค วิ ท ยาศาสตร ์ ซึ่ ง เป ็ น ช ่ ว งเวลาที่ ม นุ ษ ย ์ ป ระสบ
ความส�าเร็จมากที่สุด ในการน�าความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
อย่างเป็นระบบ ผ่านการสังเกต ค้นคว้าและทดลอง มาใช้ใน
การด�าเนินชีวิต ในช่วงศตวรรษที่ 20 ก็มีนักคิดจ�านวนมาก อาทิ
Michel Foucault (1926-1984) และ Jean-Francois Lyotard
(1924-1998) ได้แสดงความเห็นที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในส่วนที่กล่าวว่า ความรู้คือปัจจัยส�ำคัญที่น�ำไปสู่อ�ำนาจ
(Foucault, 1972, 1973)
	          โลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของความรู้คืออ�ำนาจ (Know
ledge is Power) และเป ็ น องค ์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการ
พัฒนา ผู้น�ำของทุกประเทศที่พัฒนาแล้วต่างน�ำความรู้มาใช้
เป็นเครื่องมือและกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อน ก�ำหนดทิศทาง
ตลอดจนชี้น�ำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจในที่มาและพัฒนา
การขององค์ความรู้ การเรียนรู้ ตลอดจนวิธีคิดของมนุษยซึ่ง
แตกต่างกันไป จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับนักพัฒนาและ
นักบริหารการพัฒนา ตลอดจนผู้มีบทบาทในการวางแผนและ
ก�ำหนดนโยบาย เนื่องจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในวิธีคิด
และการเรียนรู้ระบบอุดมการณ์ตลอดจนวิถีการด�ำเนินชีวิตทาง
วัฒนธรรมของคนแต่ละสังคม จะช่วยท�ำให้นักพัฒนาสังคม
สามารถวางแผนและก�ำหนดทิศทางของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ
ได้อย่างมีเป้าหมาย ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นแผนที่วางอยู่บน
พื้นฐานขององค์ความรู้หรือ “ทุน” ที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ อย่างแท้
จริง อันส่งผลให้กระบวนการพัฒนา ถูกขับเคลือนไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                         ่
สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และสภาพปัญหา
ของแต่ละท้องถิ่น

64
ในบทนี้ ผู ้ เ ขี ย นจะกล ่ า วถึ ง ธรรมชาติ ก ารเรี ย นรู ้ ข อง
มนุษย์ วิธีการค้นคว้าหาความรู้ของมนุษย์ทั้งแบบดั้งเดิมและ
แบบที่เป็นระบบ วิวัฒนาการด้านองค์ความรู้ของมนุษย์ ภูมิปัญญา
ในระดับต่าง ๆ การจ�ำแนกประเภทขององค์ความรู้ตามหลักสากล
และการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาสังคม (Knowledge Manage
ment for Social Development/ KMSD) ตามล�ำดับ

ธรรมชาติของการเรียนรู้
	         มนุษย์เกิดมาพร้อม ๆ กับความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด
และความความต้องของมนุษย์นี้เองที่น�ำมาซึ่งแรงขับและแรงผลัก
ซึ่งรุนแรง จนสามารถท�ำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมทางสังคมทั้ง
ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ออกมามากมาย นักสังคมวิทยา
การพัฒนามีความเชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์ประกอบด้วย
ความต้องการทางจิตใจ ความต้องการทางสังคม และความต้อง
การทางร่างกาย โดยความต้องการทางร่างกายถือเป็นแรงผลัก
ดันระดับพื้นฐานที่สุด และมีพลังอ�ำนาจสูงที่สุดต่อพฤติกรรมทาง
สังคมของมนุษย์ เพราะเป็นแรงผลักเพื่อช่วยให้มนุษย์มีชีวิต
อยู่รอด และมนุษย์ทุกคนล้วนพยายามดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อให้
ตนเองได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกายก่อนเป็นอันดับแรก
โดยแรงผลักที่เกิดจากความต้องการทางกายนี้เรียกว่า “แรงขับ
(Drive)”


                                                                        65
พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย ์ ไ ม ่ ว ่ า จะเป ็ น พฤติ ก รรมที่ เ ป ็ น
กิริยาสะท้อนหรือพฤติกรรมเจตนา ล้วนเป็นไปเพื่อรักษาสภาพ
ร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลทั้งสิ้น กระบวนการดังกล่าวนี้เรียก
ว่า กระบวนการโฮมิโอสเตซิส (Homeostasis) ซึ่งเป็นกระบวน
การที่จะน�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ ในการตอบ
สนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของตนเองในระดับต่อ ๆ ไป โดยใน
ขั้นตอนนี้มนุษย์ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ขึ้น และการเรียนรู้
ดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่เกิด
จนตาย ถึงแม้ว่าการเรียนรู้บางประการของมนุษย์อาจเกิดขึ้นโดย
บังเอิญ แต่การเรียนรู้จ�ำนวนมากของมนุษญ์ก็เกิดขึ้นจากความ
ตั้งใจ ดังนั้น การท�ำความเข้าใจในธรรมชาติของการเรียนรู้ของ
มนุษย์ จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับนักพัฒนาสังคม เพราะ
จะน�ำไปสู่การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสาร การควบคุม
สภาพแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ และการพัฒนา
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ประสบความส�ำเร็จ จากการศึกษา
พบว่า มีนักคิดจ�ำนวนมากได้เสนอแนวคิดเรื่องการจ�ำแนกประเภท
ของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ ดังมีสาระส�ำคัญ ๆ พอสรุปได้ดังนี้

การเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้า
	        การเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้า เป็นการเรียนรู้ที่มนุษย์
ได้รับมาตั้งแต่เกิด เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีเงื่อนไข การเรียนรู้
ประเภทนี้เป็นการเรียนรู้ที่มนุษย์ได้รับมาจากพันธุกรรม เช่น
อาการจามเนื่องจากรู้สึกฉุน รสเปรี้ยวท�ำให้น�้ำลายไหล ความเย็น
66
ท�ำให้เส้นเลือดตีบ การหดมือกลับทันทีเมื่อสัมผัสกับไฟ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ สิ่งเร้า
ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ล้วนมิได้ปรากฏขึ้น
ตามล�ำพัง ในขณะเดียวกันการที่จิตใจของมนุษย์สามารถรับรู้
สิ่งเร้าได้เป็นจ�ำนวนมาก ก็ส่งผลท�ำให้สิ่งเร้าบางชนิดที่มีลักษณะ
เป็นกลาง มิได้น�ำมาซึ่งปฏิกิริยาสะท้อนแต่อย่างใด ในขณะที่มี
สิงเร้าบางชนิดน�ำมาซึงกิรยาสะท้อนกลับของบุคคลได้อย่างไม่มเี งือนไข
  ่                  ่ ิ                                      ่
	         Pavlov (1849-1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียคนส�ำคัญ
ได้ท�ำการศึกษาทดลองเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
กับพฤติกรรมของสุนัขที่เกิดจากการเรียนรู้บางประการ และได้
เสนอแนวคิดเรื่อง “การวางเงื่อนไขแบบพาฟลอฟ (Pavlovian
Conditioning/Classical Conditioning)” โดย Pavlov กล่าวสรุป
ว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมของ
สุนัข กล่าวคือ เป็นผลของการเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้าทั้งสิ้น
(Todes, 2002; Pavlov, 1927)

การเรียนรู้เงื่อนไขของผลกรรม
	          นักคิดในส�ำนักนี้มีความคิดว่า การกระท�ำของมนุษย์ก่อ
ให้เกิดผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการกระท�ำที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม โดยพฤติกรรมที่ท�ำให้เกิดผลบางประการนี้
ตามคติความเชื่อแบบไทย เรียกว่า “กรรมวิบาก” (Operant) และ
ผลที่เกิดจากกรรมวิบากเรียกว่า “วิบาก” หรือผลกรรม (Conse-
quence/Effect) ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมวิบากกับวิบาก
                                                               67
บางประเภทเกิดขึ้นและถูกก�ำหนดโดยธรรมชาติ แต่บางประเภท
ก็เกิดขึ้นจากการกระท�ำของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกรรม
วิบากและผลกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจอยู่ในรูปของระบบกลไก
ต่าง ๆ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หรือกฎหมาย
ต่าง ๆ ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักผูกพันกันจนกลาย
เป็นระบบที่ซับซ้อน ภายในระบบประกอบด้วยความสัมพันธ์
ระหว่างกรรมวิบากและผลกรรมในระดับย่อย ๆ ลงไปตามล�ำดับ
โดยผลกรรมหนึ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป ใน
ขณะเดียวกันพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ก็อาจก่อให้เกิดผลกรรมขึ้นได้
หลายอย่างเช่นกัน โดยมนุษย์เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
กรรมวิบากและผลกรรมอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา
และพฤติกรรมของบุคคลมักเกิดขึ้นจากการวางเงื่อนไขของกรรม
วิบากนั่นเอง (Operant Conditioning/Instrumental Conditioning)
	        ประเภทของผลกรรมมีมากมาย ทั้งที่เป็นที่ต้องการของ
บุคคลและไม่ต้องการ ผลกรรมจึงจ�ำแนกออกได้ 2 ประเภท ๆ แรก
ได้แก่ ผลกรรมทางบวก หรือที่เรียกว่า “การเสริมแรง (Reinforce-
ment)” ส่วนประเภทที่ 2 ได้แก่ ผลกรรมที่บุคคลไม่ต้องการ เรียกว่า
“การลงโทษ (Punishment)” โดยการแรงเสริม (Reinforcer)
หมายถึง สิ่งที่ท�ำให้พฤติกรรมของบุคคลเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก ๆ
ดังนั้น พฤติกรรมของบุคคลล้วนอยู่ใต้เงื่อนไขของการเสริมแรง
และเงื่อนไขของการลงโทษทั้งสิ้น โดยบุคคลจะเรียนรู้เงื่อนไข
ต่าง ๆ เหล่านี้จากการวางเงื่อนไขกรรมวิบากของธรรมชาติ หรือ
บุคคลส�ำคัญรอบ ๆ ตัว เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือ
68
ญาติพี่น้อง และเงื่อนไขที่บุคคลเรียนรู้นี้จะเป็นสิ่งที่คอยควบคุม
พฤติ ก รรมของบุ ค คลในทั น ที ที่ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ขึ้ น และจะท� ำ
หน ้ า ที่ ค วบคุ ม พฤติ ก รรมของบุ ค คลไปโดยตลอด จนกว ่ า จะ
เกิดการเรียนรู้เงื่อนไขใหม่ ๆ ที่ขัดกับเงื่อนไขเดิมที่เคยได้เรียนรู้มา
ก่อน
	           การเสริมแรง (Reinforcement) จึงเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ
มากในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม Skinner (1953)
ได้เสนอแนวคิดเรื่อง ทฤษฎีการเสริมแรงที่พัฒนามาจากแนวคิด
เรื่อง “กฎแห่งผลกรรม” (Law of Effect) ซึ่งเป็นกฎการเรียนรู้ที่
ส�ำคัญ และกฎดังกล่าวได้เคยถูกเสนอเป็นครั้งแรกโดยนักคิด
ชาวอเมริกันชื่อ Thorndike (1874-1949) ผู้มีความคิดว่า พฤติกรรม
ของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นตามกฎของผลกรรม พฤติกรรมใดที่กระท�ำ
แล้วท�ำให้ผู้กระท�ำพึงพอใจ บุคคลก็มีแนวโน้มที่จะกระท�ำพฤติกรรม
นั้น ๆ ซ�้ำอีก และพฤติกรรมใดที่ส่งผลลบต่อผู้กระท�ำ บุคคลก็มีแนว
โน้มที่จะยุติการกระท�ำนั้น ๆ
	         ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจาก
จะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของบุคคลแล้ว ยังเรียนรู้
จากตัวอย่างที่บุคคลได้พบเห็นและจากการบอกเล่าของบุคคล
อื่น ๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้การเรียนรู้จากแหล่งที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะ
เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากตัวอย่าง และ
การเรียนรู้จากการบอกเล่า ล้วนก่อให้เกิดระดับความเชื่อในความรู้
ที่แตกต่างกันไป โดยบุคคลจะเชื่อความรู้ที่ตนเองได้รับจาก
ประสบการณ์ตรงของตนเองมากที่สุด และเชื่อความรู้ที่เกิด

                                                                    69
จากตัวอย่างที่พบเห็นเป็นอันดับรองลงมา ส่วนความรู้ที่ได้มาจาก
การบอกเลาของผอน บคคลจะพจารณาความนาเชอถอ (Credibility)
           ่       ู้ ื่ ุ      ิ            ่ ื่ ื
ของผู้บอกเป็นส�ำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปความน่าเชื่อถือของผู้บอกจะ
เกิดจากความสอดคล้องกันระหว่างความรู้ที่ผู้บอกน�ำมาบอกเล่า
กับประสบการณ์ตรงของบุคคลนั้น ๆ โดยหากบุคคลพบว่า ค�ำบอก
ของบุคคลที่บอกนั้นได้รับการพิสูจน์ว่าจริงซ�้ำ ๆ และสอดคล้อง
ตรงกันกับประสบการณ์ของตน ผู้บอกเล่าก็จะได้รับความเชื่อถือ
มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และข้อมูลที่น�ำมาบอกเล่าก็จะได้รับการยอมรับ
เชื่อถือมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
	          การเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมอัตโนวัติ (Autonomic
Response) หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการบังคับควบคุม
ของจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ การท�ำงานของต่อมต่าง ๆ นับว่า
มีความสัมพันธ์กัน เช่น บุคคลที่เมื่อรู้สึกโกรธแล้วได้รับการเสริม
แรง ความรู้สึกโกรธนั้น ๆ ก็จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จึงกล่าวได้ว่า การ
เรียนรู้ของพฤติกรรมอัตโนวัติ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เงื่อนไขผล
กรรมเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตัวบุคคลหรือผู้เรียนไม่จ�ำเป็น
ต้องรู้ตัว และอาจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หาก
กรรมวิบากใดท�ำให้เกิดผลกรรมใด การเรียนรู้ในผลกรรมนั้น ๆ ก็จะ
เกิดขึ้น และเงื่อนไขผลกรรมที่เรียนรู้นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ท�ำหน้าที่ควบคุม
พฤติกรรมของบุคคลต่อไป

การเรียนรู้ผ่านภาษา
	         การเรียนรู้ด้านภาษา เป็นการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน

70
และต้องอาศัยสมองที่มีสมรรถวิสัย (Competence) หรือมีความ
สามารถสูง แต่เดิมนักภาษาศาสตร์เชื่อว่ามีเพียงมนุษย์เท่านั้น
ที่สามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้ แต่จากการศึกษาทดลองของ
นักจิตวิทยาหลายคนในยุคต่อ ๆ มาก็พบว่า ลิงชิมแปนชีเป็นสัตว์
ที่สามารถเรียนรู้เรื่องภาษาและวิธีการสื่อสารได้ ซึ่งผลของการ
ศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้สมมุติฐานที่ว่ามนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์เดียว
ที่สามารถใช้ภาษาได้ถูกล้มล้างไป
	          องค์ประกอบที่ส�ำคัญของการเรียนรู้ผ่านภาษา ได้แก่
เสียง ความหมาย และไวยากรณ์ โดยความคิดที่จะสื่อสารกับ
ผู้อื่นคือการเริ่มต้นที่ส�ำคัญที่สุด โดยการเรียนรู้ความหมายของ
ภาษามี 2 ระดับ คือ ระดับความหมายเจาะจง ได้แก่ การใช้เสียง
แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจ�ำเพาะเจาะจง เช่น การใช้ชื่อแทนความ
หมายของสิ่งนั้น ๆ ดังนั้น การเรียนรู้ความหมายเจาะจงจึงเป็นการ
น�ำเสียงกับสิ่งที่มีความหมายมาจับคู่กัน ในลักษณะของ “การ
เชื่อมสัมพันธ์” (Associate) ระหว่างสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับเสียงชุดใด
ชุดหนึ่ง ส�ำหรับระดับความหมายทั่วไป หมายถึง การใช้เสียง
จ�ำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นประเภท เช่น เรียกสัตว์สี่เท้าที่มีนอว่า
แรด

ที่มาและธรรมชาติของความรู้
	           ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา
ที่กล่าวถึงธรรมชาติของความรู้ นักคิดในส�ำนักญาณวิทยาเสนอ
วา ความรไมไดเ้ ปนเพยงความเชอหรอการคดเทานน แตความรประกอบ
  ่       ู้ ่ ็ ี          ื่ ื     ิ ่ ั้ ่       ู้

                                                             71
ด้วยเงื่อนไขส�ำคัญหลายประการ ได้แก่ 1) “ประพจน์” (Proposition)
ซึ่งหมายความถึง ข้อความที่กล่าวยืนยันในสิ่งนั้น ๆ ต้องจริง 2) ต้อง
เชื่อว่าจริง และ 3) ต้องมีพยานหลักฐาน (Evidence) ดังนั้น “ความ
รู้” จึงมี 2 ระดับ คือ รู้ในระดับอ่อน (Weak Sense) หมายถึง ความรู้
ที่ไม่แน่นอน กับความรู้ในระดับเข้มข้น (Strong Sense) คือความรู้ที่
ไม่มีทางผิดพลาด พ้นจากความสงสัย กลุ่มวิมตินิยม (Skepticism)
เชื่อว่า ความรู้ที่ปราศจากข้อสงสัยนั้นไม่มี ในขณะที่นักคิดบางกลุ่ม
เชื่อว่ามี ดังนั้น ความรู้ในประเด็นนี้จึงยังเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์และ
ถกเถียงกันต่อไป (Alston, 1998; Quinton, 2006)

ต้นก�ำเนิดของความรู้
	         ความรู้ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ได้มาโดยทาง
ประสาทสัมผัส นักคิดในส�ำนักญาณวิทยามีความเชื่อว่า ต้นก�ำเนิด
ของความรู้ที่ส�ำคัญประกอบด้วย
	          ประสบการณ์
	          ประสบการณ์ (Sense-experience) หมายถึง สิ่งที่บุคคล
รับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ความรู้
ลักษณะนี้เป็นความรู้ที่บุคคลได้มาจากประสบการณ์ผ่านประสาท
สัมผัส เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุภายนอกมากระทบกับประสาท
สัมผัสซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันไป นักประสบการณ์นิยม (Empiricism)
เชื่อว่าความรู้มีต้นก�ำเนิดมาจากประสบการณ์ของบุคคล และเรียก
ความรู้ชนิดนี้ว่า “Empirical Knowledge” หรือความรู้ที่สามารถ
ยืนยันข้อเท็จจริงได้ โดยประสบการณ์จะประกอบด้วยประสาท

72

Contenu connexe

Similaire à 9789740330479

9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817CUPress
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่T Ton Ton
 
ความดี
ความดีความดี
ความดีroh1109
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteSani Satjachaliao
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาruttanaphareenoon
 
วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02Jaji Biwty
 
วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002Jaji Biwty
 
Social onet a
Social onet aSocial onet a
Social onet apeemai12
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาSani Satjachaliao
 
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003AlittleDordream Topten
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 

Similaire à 9789740330479 (20)

9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
ธรรมชาติ
ธรรมชาติธรรมชาติ
ธรรมชาติ
 
387442 1
387442 1387442 1
387442 1
 
ความดี
ความดีความดี
ความดี
 
123456
123456123456
123456
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนา
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนา
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์
ทฤษฏีสนามของรัตนา ภารีนนท์
 
ทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนาทฤษฏีสนามของรัตนา
ทฤษฏีสนามของรัตนา
 
วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02
 
วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002
 
Social onet a
Social onet aSocial onet a
Social onet a
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
 
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด aเนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
 
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003
เตือนใจ สามัคคีวิทยาคมลัทธิคอมมิวนิสต์ 2003
 
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
 
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330479

  • 1. 1 แนวคิดพื้นฐานด้านความรู้ และการเรียนรู้ ความรู้กับสังคม August Comte (1798-1857) นักสังคมวิทยาผู้มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้นานมาแล้วว่า ความรู้ คือ องค์ประกอบที่ส�าคัญที่สุด ในการก�าหนดรูปแบบของการจัดระเบียบสังคม และทิศทาง ของการเปลี่ยนแปลงสังคม ในทัศนะของ Comte การเปลี่ยนแปลง ของสังคมจากยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่ง จึงเป็นผลมาจากการเปลี่ยน แปลงองค์ความรู้ของมนุษย์ อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า พัฒนาการ ของสังคมในช่วงเวลาต่าง ๆ ล้วนยืนยันและสนับสนุนแนวคิด ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อหลักเหตุผลได้ เข้ามามีบทบาทต่อความคิดของคนในสังคมอย่างกว้างขวาง มุม มองหรื อ โลกทั ศ น ์ ข องคนต ่ อ สรรพสิ่ ง ก็ เ ปลี่ ย นแปลงไป และ อี ก ครั้ ง ในยุ ค วิ ท ยาศาสตร ์ ซึ่ ง เป ็ น ช ่ ว งเวลาที่ ม นุ ษ ย ์ ป ระสบ ความส�าเร็จมากที่สุด ในการน�าความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย อย่างเป็นระบบ ผ่านการสังเกต ค้นคว้าและทดลอง มาใช้ใน การด�าเนินชีวิต ในช่วงศตวรรษที่ 20 ก็มีนักคิดจ�านวนมาก อาทิ
  • 2. Michel Foucault (1926-1984) และ Jean-Francois Lyotard (1924-1998) ได้แสดงความเห็นที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในส่วนที่กล่าวว่า ความรู้คือปัจจัยส�ำคัญที่น�ำไปสู่อ�ำนาจ (Foucault, 1972, 1973) โลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของความรู้คืออ�ำนาจ (Know ledge is Power) และเป ็ น องค ์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการ พัฒนา ผู้น�ำของทุกประเทศที่พัฒนาแล้วต่างน�ำความรู้มาใช้ เป็นเครื่องมือและกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อน ก�ำหนดทิศทาง ตลอดจนชี้น�ำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจในที่มาและพัฒนา การขององค์ความรู้ การเรียนรู้ ตลอดจนวิธีคิดของมนุษยซึ่ง แตกต่างกันไป จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับนักพัฒนาและ นักบริหารการพัฒนา ตลอดจนผู้มีบทบาทในการวางแผนและ ก�ำหนดนโยบาย เนื่องจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในวิธีคิด และการเรียนรู้ระบบอุดมการณ์ตลอดจนวิถีการด�ำเนินชีวิตทาง วัฒนธรรมของคนแต่ละสังคม จะช่วยท�ำให้นักพัฒนาสังคม สามารถวางแผนและก�ำหนดทิศทางของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีเป้าหมาย ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นแผนที่วางอยู่บน พื้นฐานขององค์ความรู้หรือ “ทุน” ที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ อย่างแท้ จริง อันส่งผลให้กระบวนการพัฒนา ถูกขับเคลือนไปอย่างมีประสิทธิภาพ ่ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และสภาพปัญหา ของแต่ละท้องถิ่น 64
  • 3. ในบทนี้ ผู ้ เ ขี ย นจะกล ่ า วถึ ง ธรรมชาติ ก ารเรี ย นรู ้ ข อง มนุษย์ วิธีการค้นคว้าหาความรู้ของมนุษย์ทั้งแบบดั้งเดิมและ แบบที่เป็นระบบ วิวัฒนาการด้านองค์ความรู้ของมนุษย์ ภูมิปัญญา ในระดับต่าง ๆ การจ�ำแนกประเภทขององค์ความรู้ตามหลักสากล และการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาสังคม (Knowledge Manage ment for Social Development/ KMSD) ตามล�ำดับ ธรรมชาติของการเรียนรู้ มนุษย์เกิดมาพร้อม ๆ กับความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด และความความต้องของมนุษย์นี้เองที่น�ำมาซึ่งแรงขับและแรงผลัก ซึ่งรุนแรง จนสามารถท�ำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมทางสังคมทั้ง ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ออกมามากมาย นักสังคมวิทยา การพัฒนามีความเชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์ประกอบด้วย ความต้องการทางจิตใจ ความต้องการทางสังคม และความต้อง การทางร่างกาย โดยความต้องการทางร่างกายถือเป็นแรงผลัก ดันระดับพื้นฐานที่สุด และมีพลังอ�ำนาจสูงที่สุดต่อพฤติกรรมทาง สังคมของมนุษย์ เพราะเป็นแรงผลักเพื่อช่วยให้มนุษย์มีชีวิต อยู่รอด และมนุษย์ทุกคนล้วนพยายามดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อให้ ตนเองได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกายก่อนเป็นอันดับแรก โดยแรงผลักที่เกิดจากความต้องการทางกายนี้เรียกว่า “แรงขับ (Drive)” 65
  • 4. พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย ์ ไ ม ่ ว ่ า จะเป ็ น พฤติ ก รรมที่ เ ป ็ น กิริยาสะท้อนหรือพฤติกรรมเจตนา ล้วนเป็นไปเพื่อรักษาสภาพ ร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลทั้งสิ้น กระบวนการดังกล่าวนี้เรียก ว่า กระบวนการโฮมิโอสเตซิส (Homeostasis) ซึ่งเป็นกระบวน การที่จะน�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ ในการตอบ สนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของตนเองในระดับต่อ ๆ ไป โดยใน ขั้นตอนนี้มนุษย์ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ขึ้น และการเรียนรู้ ดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่เกิด จนตาย ถึงแม้ว่าการเรียนรู้บางประการของมนุษย์อาจเกิดขึ้นโดย บังเอิญ แต่การเรียนรู้จ�ำนวนมากของมนุษญ์ก็เกิดขึ้นจากความ ตั้งใจ ดังนั้น การท�ำความเข้าใจในธรรมชาติของการเรียนรู้ของ มนุษย์ จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับนักพัฒนาสังคม เพราะ จะน�ำไปสู่การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสาร การควบคุม สภาพแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ และการพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ประสบความส�ำเร็จ จากการศึกษา พบว่า มีนักคิดจ�ำนวนมากได้เสนอแนวคิดเรื่องการจ�ำแนกประเภท ของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ ดังมีสาระส�ำคัญ ๆ พอสรุปได้ดังนี้ การเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้า การเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้า เป็นการเรียนรู้ที่มนุษย์ ได้รับมาตั้งแต่เกิด เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีเงื่อนไข การเรียนรู้ ประเภทนี้เป็นการเรียนรู้ที่มนุษย์ได้รับมาจากพันธุกรรม เช่น อาการจามเนื่องจากรู้สึกฉุน รสเปรี้ยวท�ำให้น�้ำลายไหล ความเย็น 66
  • 5. ท�ำให้เส้นเลือดตีบ การหดมือกลับทันทีเมื่อสัมผัสกับไฟ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ สิ่งเร้า ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ล้วนมิได้ปรากฏขึ้น ตามล�ำพัง ในขณะเดียวกันการที่จิตใจของมนุษย์สามารถรับรู้ สิ่งเร้าได้เป็นจ�ำนวนมาก ก็ส่งผลท�ำให้สิ่งเร้าบางชนิดที่มีลักษณะ เป็นกลาง มิได้น�ำมาซึ่งปฏิกิริยาสะท้อนแต่อย่างใด ในขณะที่มี สิงเร้าบางชนิดน�ำมาซึงกิรยาสะท้อนกลับของบุคคลได้อย่างไม่มเี งือนไข ่ ่ ิ ่ Pavlov (1849-1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียคนส�ำคัญ ได้ท�ำการศึกษาทดลองเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับพฤติกรรมของสุนัขที่เกิดจากการเรียนรู้บางประการ และได้ เสนอแนวคิดเรื่อง “การวางเงื่อนไขแบบพาฟลอฟ (Pavlovian Conditioning/Classical Conditioning)” โดย Pavlov กล่าวสรุป ว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมของ สุนัข กล่าวคือ เป็นผลของการเรียนรู้จากเงื่อนไขของสิ่งเร้าทั้งสิ้น (Todes, 2002; Pavlov, 1927) การเรียนรู้เงื่อนไขของผลกรรม นักคิดในส�ำนักนี้มีความคิดว่า การกระท�ำของมนุษย์ก่อ ให้เกิดผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการกระท�ำที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม โดยพฤติกรรมที่ท�ำให้เกิดผลบางประการนี้ ตามคติความเชื่อแบบไทย เรียกว่า “กรรมวิบาก” (Operant) และ ผลที่เกิดจากกรรมวิบากเรียกว่า “วิบาก” หรือผลกรรม (Conse- quence/Effect) ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมวิบากกับวิบาก 67
  • 6. บางประเภทเกิดขึ้นและถูกก�ำหนดโดยธรรมชาติ แต่บางประเภท ก็เกิดขึ้นจากการกระท�ำของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกรรม วิบากและผลกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจอยู่ในรูปของระบบกลไก ต่าง ๆ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หรือกฎหมาย ต่าง ๆ ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักผูกพันกันจนกลาย เป็นระบบที่ซับซ้อน ภายในระบบประกอบด้วยความสัมพันธ์ ระหว่างกรรมวิบากและผลกรรมในระดับย่อย ๆ ลงไปตามล�ำดับ โดยผลกรรมหนึ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป ใน ขณะเดียวกันพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ก็อาจก่อให้เกิดผลกรรมขึ้นได้ หลายอย่างเช่นกัน โดยมนุษย์เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง กรรมวิบากและผลกรรมอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา และพฤติกรรมของบุคคลมักเกิดขึ้นจากการวางเงื่อนไขของกรรม วิบากนั่นเอง (Operant Conditioning/Instrumental Conditioning) ประเภทของผลกรรมมีมากมาย ทั้งที่เป็นที่ต้องการของ บุคคลและไม่ต้องการ ผลกรรมจึงจ�ำแนกออกได้ 2 ประเภท ๆ แรก ได้แก่ ผลกรรมทางบวก หรือที่เรียกว่า “การเสริมแรง (Reinforce- ment)” ส่วนประเภทที่ 2 ได้แก่ ผลกรรมที่บุคคลไม่ต้องการ เรียกว่า “การลงโทษ (Punishment)” โดยการแรงเสริม (Reinforcer) หมายถึง สิ่งที่ท�ำให้พฤติกรรมของบุคคลเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก ๆ ดังนั้น พฤติกรรมของบุคคลล้วนอยู่ใต้เงื่อนไขของการเสริมแรง และเงื่อนไขของการลงโทษทั้งสิ้น โดยบุคคลจะเรียนรู้เงื่อนไข ต่าง ๆ เหล่านี้จากการวางเงื่อนไขกรรมวิบากของธรรมชาติ หรือ บุคคลส�ำคัญรอบ ๆ ตัว เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือ 68
  • 7. ญาติพี่น้อง และเงื่อนไขที่บุคคลเรียนรู้นี้จะเป็นสิ่งที่คอยควบคุม พฤติ ก รรมของบุ ค คลในทั น ที ที่ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ขึ้ น และจะท� ำ หน ้ า ที่ ค วบคุ ม พฤติ ก รรมของบุ ค คลไปโดยตลอด จนกว ่ า จะ เกิดการเรียนรู้เงื่อนไขใหม่ ๆ ที่ขัดกับเงื่อนไขเดิมที่เคยได้เรียนรู้มา ก่อน การเสริมแรง (Reinforcement) จึงเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ มากในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม Skinner (1953) ได้เสนอแนวคิดเรื่อง ทฤษฎีการเสริมแรงที่พัฒนามาจากแนวคิด เรื่อง “กฎแห่งผลกรรม” (Law of Effect) ซึ่งเป็นกฎการเรียนรู้ที่ ส�ำคัญ และกฎดังกล่าวได้เคยถูกเสนอเป็นครั้งแรกโดยนักคิด ชาวอเมริกันชื่อ Thorndike (1874-1949) ผู้มีความคิดว่า พฤติกรรม ของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นตามกฎของผลกรรม พฤติกรรมใดที่กระท�ำ แล้วท�ำให้ผู้กระท�ำพึงพอใจ บุคคลก็มีแนวโน้มที่จะกระท�ำพฤติกรรม นั้น ๆ ซ�้ำอีก และพฤติกรรมใดที่ส่งผลลบต่อผู้กระท�ำ บุคคลก็มีแนว โน้มที่จะยุติการกระท�ำนั้น ๆ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจาก จะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของบุคคลแล้ว ยังเรียนรู้ จากตัวอย่างที่บุคคลได้พบเห็นและจากการบอกเล่าของบุคคล อื่น ๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้การเรียนรู้จากแหล่งที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากตัวอย่าง และ การเรียนรู้จากการบอกเล่า ล้วนก่อให้เกิดระดับความเชื่อในความรู้ ที่แตกต่างกันไป โดยบุคคลจะเชื่อความรู้ที่ตนเองได้รับจาก ประสบการณ์ตรงของตนเองมากที่สุด และเชื่อความรู้ที่เกิด 69
  • 8. จากตัวอย่างที่พบเห็นเป็นอันดับรองลงมา ส่วนความรู้ที่ได้มาจาก การบอกเลาของผอน บคคลจะพจารณาความนาเชอถอ (Credibility) ่ ู้ ื่ ุ ิ ่ ื่ ื ของผู้บอกเป็นส�ำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปความน่าเชื่อถือของผู้บอกจะ เกิดจากความสอดคล้องกันระหว่างความรู้ที่ผู้บอกน�ำมาบอกเล่า กับประสบการณ์ตรงของบุคคลนั้น ๆ โดยหากบุคคลพบว่า ค�ำบอก ของบุคคลที่บอกนั้นได้รับการพิสูจน์ว่าจริงซ�้ำ ๆ และสอดคล้อง ตรงกันกับประสบการณ์ของตน ผู้บอกเล่าก็จะได้รับความเชื่อถือ มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และข้อมูลที่น�ำมาบอกเล่าก็จะได้รับการยอมรับ เชื่อถือมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย การเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมอัตโนวัติ (Autonomic Response) หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการบังคับควบคุม ของจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ การท�ำงานของต่อมต่าง ๆ นับว่า มีความสัมพันธ์กัน เช่น บุคคลที่เมื่อรู้สึกโกรธแล้วได้รับการเสริม แรง ความรู้สึกโกรธนั้น ๆ ก็จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จึงกล่าวได้ว่า การ เรียนรู้ของพฤติกรรมอัตโนวัติ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เงื่อนไขผล กรรมเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตัวบุคคลหรือผู้เรียนไม่จ�ำเป็น ต้องรู้ตัว และอาจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หาก กรรมวิบากใดท�ำให้เกิดผลกรรมใด การเรียนรู้ในผลกรรมนั้น ๆ ก็จะ เกิดขึ้น และเงื่อนไขผลกรรมที่เรียนรู้นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ท�ำหน้าที่ควบคุม พฤติกรรมของบุคคลต่อไป การเรียนรู้ผ่านภาษา การเรียนรู้ด้านภาษา เป็นการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน 70
  • 9. และต้องอาศัยสมองที่มีสมรรถวิสัย (Competence) หรือมีความ สามารถสูง แต่เดิมนักภาษาศาสตร์เชื่อว่ามีเพียงมนุษย์เท่านั้น ที่สามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้ แต่จากการศึกษาทดลองของ นักจิตวิทยาหลายคนในยุคต่อ ๆ มาก็พบว่า ลิงชิมแปนชีเป็นสัตว์ ที่สามารถเรียนรู้เรื่องภาษาและวิธีการสื่อสารได้ ซึ่งผลของการ ศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้สมมุติฐานที่ว่ามนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์เดียว ที่สามารถใช้ภาษาได้ถูกล้มล้างไป องค์ประกอบที่ส�ำคัญของการเรียนรู้ผ่านภาษา ได้แก่ เสียง ความหมาย และไวยากรณ์ โดยความคิดที่จะสื่อสารกับ ผู้อื่นคือการเริ่มต้นที่ส�ำคัญที่สุด โดยการเรียนรู้ความหมายของ ภาษามี 2 ระดับ คือ ระดับความหมายเจาะจง ได้แก่ การใช้เสียง แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจ�ำเพาะเจาะจง เช่น การใช้ชื่อแทนความ หมายของสิ่งนั้น ๆ ดังนั้น การเรียนรู้ความหมายเจาะจงจึงเป็นการ น�ำเสียงกับสิ่งที่มีความหมายมาจับคู่กัน ในลักษณะของ “การ เชื่อมสัมพันธ์” (Associate) ระหว่างสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับเสียงชุดใด ชุดหนึ่ง ส�ำหรับระดับความหมายทั่วไป หมายถึง การใช้เสียง จ�ำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นประเภท เช่น เรียกสัตว์สี่เท้าที่มีนอว่า แรด ที่มาและธรรมชาติของความรู้ ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่กล่าวถึงธรรมชาติของความรู้ นักคิดในส�ำนักญาณวิทยาเสนอ วา ความรไมไดเ้ ปนเพยงความเชอหรอการคดเทานน แตความรประกอบ ่ ู้ ่ ็ ี ื่ ื ิ ่ ั้ ่ ู้ 71
  • 10. ด้วยเงื่อนไขส�ำคัญหลายประการ ได้แก่ 1) “ประพจน์” (Proposition) ซึ่งหมายความถึง ข้อความที่กล่าวยืนยันในสิ่งนั้น ๆ ต้องจริง 2) ต้อง เชื่อว่าจริง และ 3) ต้องมีพยานหลักฐาน (Evidence) ดังนั้น “ความ รู้” จึงมี 2 ระดับ คือ รู้ในระดับอ่อน (Weak Sense) หมายถึง ความรู้ ที่ไม่แน่นอน กับความรู้ในระดับเข้มข้น (Strong Sense) คือความรู้ที่ ไม่มีทางผิดพลาด พ้นจากความสงสัย กลุ่มวิมตินิยม (Skepticism) เชื่อว่า ความรู้ที่ปราศจากข้อสงสัยนั้นไม่มี ในขณะที่นักคิดบางกลุ่ม เชื่อว่ามี ดังนั้น ความรู้ในประเด็นนี้จึงยังเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์และ ถกเถียงกันต่อไป (Alston, 1998; Quinton, 2006) ต้นก�ำเนิดของความรู้ ความรู้ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ได้มาโดยทาง ประสาทสัมผัส นักคิดในส�ำนักญาณวิทยามีความเชื่อว่า ต้นก�ำเนิด ของความรู้ที่ส�ำคัญประกอบด้วย ประสบการณ์ ประสบการณ์ (Sense-experience) หมายถึง สิ่งที่บุคคล รับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ความรู้ ลักษณะนี้เป็นความรู้ที่บุคคลได้มาจากประสบการณ์ผ่านประสาท สัมผัส เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุภายนอกมากระทบกับประสาท สัมผัสซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันไป นักประสบการณ์นิยม (Empiricism) เชื่อว่าความรู้มีต้นก�ำเนิดมาจากประสบการณ์ของบุคคล และเรียก ความรู้ชนิดนี้ว่า “Empirical Knowledge” หรือความรู้ที่สามารถ ยืนยันข้อเท็จจริงได้ โดยประสบการณ์จะประกอบด้วยประสาท 72