SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
๑
	 ภาษาไทยได้รับค�ำในภาษาต่างประเทศมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ
ย้อนหลังไปอย่างน้อยก็ถึงสมัยสุโขทัย ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกของ
พ่อขุนรามค�ำแหง ซึ่งใช้ค�ำจากภาษาบาลี-สันสกฤตปนอยู่กับค�ำไทยแท้  
ค�ำชี้แจงหลักการจัดท�ำและวิธีใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑] แสดงให้เห็นว่า ภาษาไทยมีค�ำที่รับมาจากภาษาเขมร
จีน ชวา ญวน ญี่ปุ่น ตะเลง (มอญ) เบงกาลี ปาลิ (บาลี) เปอร์เซีย
โปรตุเกส ฝรั่งเศส มลายู ละติน สันสกฤต อังกฤษ อาหรับ และฮินดี  
บรรดาค�ำภาษาไทยที่เรารับจากภาษาต่างประเทศมาใช้ทั้งในการพูดและ
การเขียนนั้น มีชื่อเรียกโดยรวมว่า ค�ำยืม  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์       
เมื่อวิชาการด้านต่าง ๆ เจริญและขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลไทยได้จัดตั้ง      
คณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างค�ำยืมหรือบัญญัติค�ำใหม่ ๆ ขึ้นในภาษา
ไทยส�ำหรับใช้ในวงวิชาการโดยเฉพาะ  ค�ำยืมที่สร้างหรือบัญญัติขึ้นอย่าง
เป็นทางการนี้เรียกว่า ศัพท์บัญญัติ วิธีการยืมค�ำหรือการบัญญัติศัพท์
ประวัติของการยืมค�ำและ
การบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษ
2
ในภาษาไทยมี ๒ วิธี คือ ทับศัพท์ และสร้างค�ำขึ้นใหม่ การทับศัพท์นั้น
ท�ำโดยใช้ตัวอักษรภาษาไทยเขียนแทนค�ำในภาษาต้นทาง ถ้าเขียนโดย
ยึดรูปค�ำภาษาต้นทางเป็นหลัก ก็เรียกว่า ถอดอักษร แต่ถ้าเขียน             
โดยยึดเสียงอ่านของค�ำภาษาต้นทางเป็นหลัก ก็เรียกว่า ถ่ายเสียง ส่วน
การสร้างค�ำขึ้นใหม่จะยึดความหมายของค�ำในภาษาต้นทางเป็นหลัก          
แล้วคิดค�ำในภาษาไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกับค�ำต้นทางขึ้นมาใช้
แทน  
	 เนื่องจากศัพท์บัญญัติที่ใช้ในทางวิชาการของไทยมีที่มาจากภาษา
อังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในบทนี้ผู้เขียนจึงขอน�ำเสนอประวัติโดยย่อของ
การยืมค�ำและการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษขึ้นใช้ในภาษาไทย          
เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
๑.๑	การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๔
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)
	 คนไทยเริ่มรับค�ำในภาษาอังกฤษจ�ำนวนมากมาใช้ในภาษาไทย
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ หลัง
จากที่ไทยได้เปิดประเทศและท�ำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศ
มหาอ�ำนาจตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ซึ่งท�ำให้มี       
ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับคนไทยและเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย
มากขึ้น
    	 การรับภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยในช่วงนี้ ใช้วิธีทับศัพท์       
เป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [๒] ซึ่งทรงใช้ค�ำว่า เอเชนต์ (agent) กันโบ๊ต
3
(gun boat) และ มินิต (minute) เป็นต้น หรือจากหนังสือ นิราศ
ลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา) [๓]  
ซึ่งแต่งในโอกาสที่ท่านเป็นล่ามในคณะราชทูตไทย ไปเข้าเฝ้าพระราชินี
วิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๐๐  ดังค�ำกลอนตอนหนึ่งว่า
	 ตะวันชายบ่ายประมาณสักโมงเศษ	 จ�ำจากเขตกรุงไทยมไหศวรรย์
ฝ่ายอังกฤษตัวดีที่กัปตัน	 ให้ช่วยกันถอนสมอจะจรลี
เอนชะเนียนายจักรก็ศักดิ์สิทธิ์ 	 ใส่ไฟติดน�้ำพลั่งดังฉี่ฉี่
สะกรูหันผันพัดในนัทที 	 เรือก็รี่เร็วคว้างไปกลางชล
(ค�ำที่ขีดเส้นใต้ไว้คือค�ำทับศัพท์)
๑.๒	การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๕
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)
	 ในรัชกาลที่ ๕ นี้ การรับภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยยังคงใช้
วิธีการทับศัพท์ เช่นเดียวกับในรัชกาลที่ ๔ ดังจะเห็นได้จากพระราช-
กระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่ง  
(จากเอกสารอ้างอิง [๔] หน้า ๗๑) ว่า
	 “ให้มาประชุมที่หอมิวเซียมในวันขึ้น ๑ ค�่ำเดือน
๘ ปฤกษาด้วยเรื่องที่จะจัดการรักษาด่านเมืองตาก
ตรวจข้อบังคับนายด่านซึ่งพระยาสุจริตรักษาท�ำ แล
ตรวจกฎหมายโปลิศซึ่งได้ร่างขึ้นไว้ในที่ประชุมเคาน์ซิล
แต่ครั้งก่อน”
4
     	 อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยนี้การรับค�ำในภาษาอังกฤษมาใช้ใน       
ภาษาไทยได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งคือมีการน�ำค�ำในภาษาบาลี-สันสกฤต
มาใช้แทนค�ำทับศัพท์บางค�ำในภายหลัง วิธีการนี้มีเล่าไว้ในบันทึกของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ([๔] หน้า ๗๘)
ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
	 “ค�ำภาษาสังสกฤตที่เอามาใช้เป็นชื่อ เช่น โทรเลข
และไปรษณีย์นั้น เป็นของใหม่ เมื่อแรกมีโทรเลขเรียกชื่อ
ตามภาษาฝรั่งว่าเตเลกราฟ แต่แปรไปเป็นตะแล็บแก๊บ
ไปรษณีย์เมื่อกงสุลอังกฤษยังเป็นเจ้าของเพราะส่งหนังสือ
ไปต่างประเทศทางเมืองสิงคโปร์และฮ่องกงใช้ตั๋วตรา
ของสิงคโปร์มีอักษร B พิมพ์เพิ่มความหมายว่าบางกอก
ใช้กันแต่พวกฝรั่ง ก็เรียกกันตามภาษาอังกฤษว่าโปสต์
เรียกตั๋วตราว่าแสตมป์”
	 ส่วนศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยโดยใช้ค�ำไทยแท้ก็เริ่มมี       
ขึ้นบ้าง เช่น
	 lighthouse = กระโจมไฟ 	 pawnshop = โรงรับจ�ำน�ำ    
	 raincoat = เสื้อฝน    	 shipyard = อู่เรือ
	 (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔)
5
๑.๓	การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๖
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)
    	 วิธีการรับค�ำจากภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยยังคงเหมือนกับ
ในรัชกาลก่อนหน้านี้ คือ ใช้ค�ำบาลี-สันสกฤตและค�ำไทยแท้เป็นศัพท์       
ในภาษาไทยมากขึ้น แทนที่จะทับศัพท์อย่างเดียว ตัวอย่างของค�ำ       
ภาษาอังกฤษที่บัญญัติเป็นค�ำในภาษาไทยโดยไม่ทับศัพท์ในรัชกาลนี้คือ
	 balloon = ลูกสวรรค์ 	 carbon paper = กระดาษถ่าน        
	 cartoon = ภาพล้อ 	 gum = หมากฝรั่ง	 	
	 typewriter ribbon = ผ้าพิมพ์  
	 (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔)
	 freedom = เสรีภาพ 	
	 United States of America = สหรัฐอเมริกา  
	 (เอกสารอ้างอิง [๖])
	 ในรัชสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้าง
ค�ำยืมจ�ำนวนมากขึ้นใช้แทนค�ำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น พระองค์
ได้พระราชทานค�ำศัพท์ใหม่ที่ทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้ในกิจการมหาวิทยาลัย
เช่น ศาสตราจารย์ (professor) ปาฐก (lecturer) ปริญญา (degree)
คณะ (faculty) คณบดี (dean) วิศวกรรม (engineering) สถาปนิก
(architect) (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๑๙๒)
6
๑.๔ การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๗
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)
	
	 วิธีการรับค�ำในภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทยในรัชสมัยนี้       
มีทั้งการทับศัพท์และการใช้ค�ำในภาษาไทย เช่นเดียวกับในรัชกาลที่ ๕
และ ๖ ยกตัวอย่างของศัพท์ใหม่ในรัชกาลนี้เช่น
	 bill = บิล	 cigar = ซิการ์		
	 meter = มิเตอร์  	 plug = ปลั๊ก	 	
	 torpedo = ตอร์ปิโด   
	 (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๒-๒๕)
	 bomb = ลูกแตก	 horse-power = แรงม้า	
	 leaflet = ใบปลิว     	 powdered milk = แป้งนม
	 tobacco pipe = กล้องยาเส้น      		 	
	 (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔)
	 หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว
รัฐบาลได้จัดตั้ง ราชบัณฑิตยสถาน ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๖ เพื่อให้ท�ำ      
หน้าที่ท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติในส่วนที่เป็นวิชาการ
ควบคู่กับกรมศิลปากรซึ่งท�ำหน้าที่อย่างเดียวกันนี้ในส่วนที่เป็นการ
ปฏิบัติการ [๗] ต่อมารัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานแรกที่กล่าวถึง
คือ ราชบัณฑิตยสถาน ท�ำหน้าที่บัญญัติศัพท์วิชาการเป็นภาษาไทย
ส�ำหรับใช้ในราชการ
7
๑.๕ 	การบัญญัติศัพท์ภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๘ 	
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙)
	
	 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้ง
คณะกรรมการพิจารณาบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้นคณะหนึ่ง และได้       
มอบหมายให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (ซึ่งต่อมา       
ได้รับสถาปนาเป็น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์-
ประพันธ์) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้ด�ำเนินการร่วมกับ
ผู้แทนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง [๘]  นับเป็นครั้งแรกใน
ประเทศไทยที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยได้รับการจัดตั้งขึ้น
อย่างเป็นกิจจะลักษณะ พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ      
การบัญญัติศัพท์ยุคใหม่อย่างเป็นทางการ ผลงานของคณะกรรมการ
คณะนี้ก็คือศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาสาขาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์  
แพทยศาสตร์ สถิติ อุตสาหกรรม จิตวิทยา ปรัชญา ฯลฯ ซึ่งภายหลัง     
ได้พิมพ์เผยแพร่ในรูปของหนังสือบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการบัญญัติ
ศัพท์ [๙]
๑.๖	การบัญญัติศัพท์ภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙
	 (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๘๙-ปัจจุบัน)
	
	 ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ราชบัณฑิตยสถานได้รับช่วงงานบัญญัติศัพท์
ของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ มาท�ำแทน แต่ก็ท�ำได้ไม่
เต็มที่เพราะขาดทั้งงบประมาณและก�ำลังคนงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทย
จึงด�ำเนินไปอย่างเชื่องช้า เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง
8
คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ตามที่ราชบัณฑิตยสถาน
เสนอแนะ [๘] คณะกรรมการชุดนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายใน
ราชบัณฑิตยสถานเองและจากหน่วยงานภายนอกร่วมกันเป็นกรรมการ  
และได้ท�ำงานทั้งที่เป็นการแก้ไขศัพท์ที่คณะกรรมการชุดเดิมท�ำไว้        
และการบัญญัติศัพท์ในสาขาวิชาการสาขาต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่ง        
ภายหลังได้พิมพ์เผยแพร่ในรูปของหนังสือ ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย
ไทย-อังกฤษ [๑๐]
	 ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติตั้ง คณะกรรมการบัญญัติ
ศัพท์วิทยาศาสตร์ ขึ้นมาช่วยแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการบัญญัติ
ศัพท์ภาษาไทย โดยรับงานบัญญัติศัพท์ทางด้านวิทยาศาสตร์มาท�ำ      
ต่างหาก [๑๑]
     	 ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาการ
หลายสิบคณะซึ่งล้วนแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี งาน
บัญญัติศัพท์ของสถาบันนี้ครอบคลุมสาขาวิชาการจ�ำนวนมาก ทั้งทาง
ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งปรากฏออกมา      
ในรูปของพจนานุกรมศัพท์บัญญัติทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องนอกจาก
นี้ ยังมีหน่วยงานราชการหน่วยอื่น ๆ และหน่วยงานเอกชนจ�ำนวนหนึ่ง
ที่เห็นความจ�ำเป็นของการสร้างศัพท์วิชาการใหม่ ๆ ขึ้นใช้ และได้            
จัดตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาท�ำงานในสาขาวิชาการของตน
รายละเอียดของเอกสารที่เป็นผลงานการบัญญัติศัพท์ของหน่วยงาน     
ต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เขียนจะน�ำเสนอในบทที่ ๖
9
เอกสารอ้างอิง
๑.	 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ :
	 ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๕๖.
๒.	 ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
	 (บรรณาธิการ). พระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้า
	 เจ้าอยู่หัว เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๖.
๓. 	 หม่อมราโชทัย. นิราศลอนดอน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา,
	 พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๓๙ หน้า ๕.
๔.   	โสมทัต เทเวศร์. เกร็ดภาษาหนังสือไทย. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา,
	 ๒๕๑๒ หน้า ๗๑.
๕.	 เกื้อกมล พฤกษประมูล. ศัพท์บัญญัติที่เกิดก่อนการตั้งคณะ
	 กรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน,วิทยานิพนธ์
	 ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิต
	 วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ, ๒๕๓๒, หน้า ๒๒-๒๕,
	 ๒๖-๓๔, ๑๙๒.
๖.	 สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถาน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน.  
	 กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑, กรกฎาคม-
	 กันยายน ๒๕๑๘, หน้า ๕-๗.
๗.	 เจริญ อินทรเกษตร. มารู้จักกับราชบัณฑิตยสถาน. วารสาร
	 ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๑ ฉบับ
	 ที่ ๑, กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๑๘, หน้า ๑๒-๑๖.
10
๘.	 อดิศักดิ์ ทองบุญ. งานท�ำต�ำรา. วารสารราชบัณฑิตยสถาน.
	 กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน,ปีที่๒   ฉบับที่๒,ตุลาคม-ธันวาคม
	 ๒๕๑๙, หน้า ๔๑-๔๓.
๙.	 บัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
	 พระจันทร์, ๒๔๙๙.
๑๐. 	ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตย-
	 สถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๗, ๒๕๓๒.
๑๑.	สุจิตรากลิ่นเกษร.บัญญัติศัพท์-ศัพท์บัญญัติ.วารสารราชบัณฑิตย-
	 สถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๔, เมษายน-
	 มิถุนายน ๒๕๒๑, หน้า ๓๗.

More Related Content

What's hot

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
Vinz Primo
 
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
kingkarn somchit
 
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
Parit_Blue
 
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำสื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
Nook Kanokwan
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
teerachon
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
nsiritom
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
Gob Chantaramanee
 

What's hot (20)

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
 
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1pageใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
 
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์
 
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
 
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
 
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
 
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำสื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
 
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
สำนวน สุภาษิต คำพังเพยสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดงเอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
 
StoryTelling
StoryTellingStoryTelling
StoryTelling
 
ระดับของภาษา
ระดับของภาษาระดับของภาษา
ระดับของภาษา
 
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
 

Similar to 9789740333487

บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
Gawewat Dechaapinun
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
phornphan1111
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
phornphan1111
 
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ครูเจริญศรี
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
Nomoretear Cuimhne
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
Nomoretear Cuimhne
 
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่าจารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
Yota Bhikkhu
 

Similar to 9789740333487 (20)

บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
 
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
Reference
ReferenceReference
Reference
 
99
9999
99
 
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
 คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
Dictionary ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
Dictionary ไทย - อังกฤษ ฉบับ New AgeDictionary ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
Dictionary ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
 
พจนานุกรม ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
พจนานุกรม ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Ageพจนานุกรม ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
พจนานุกรม ไทย - อังกฤษ ฉบับ New Age
 
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่าจารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
คำราชาศัพท์ ม.6
คำราชาศัพท์ ม.6คำราชาศัพท์ ม.6
คำราชาศัพท์ ม.6
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
 
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทยภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
 
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎกพัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333487

  • 1. ๑ ภาษาไทยได้รับค�ำในภาษาต่างประเทศมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ ย้อนหลังไปอย่างน้อยก็ถึงสมัยสุโขทัย ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกของ พ่อขุนรามค�ำแหง ซึ่งใช้ค�ำจากภาษาบาลี-สันสกฤตปนอยู่กับค�ำไทยแท้ ค�ำชี้แจงหลักการจัดท�ำและวิธีใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑] แสดงให้เห็นว่า ภาษาไทยมีค�ำที่รับมาจากภาษาเขมร จีน ชวา ญวน ญี่ปุ่น ตะเลง (มอญ) เบงกาลี ปาลิ (บาลี) เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส มลายู ละติน สันสกฤต อังกฤษ อาหรับ และฮินดี บรรดาค�ำภาษาไทยที่เรารับจากภาษาต่างประเทศมาใช้ทั้งในการพูดและ การเขียนนั้น มีชื่อเรียกโดยรวมว่า ค�ำยืม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวิชาการด้านต่าง ๆ เจริญและขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลไทยได้จัดตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างค�ำยืมหรือบัญญัติค�ำใหม่ ๆ ขึ้นในภาษา ไทยส�ำหรับใช้ในวงวิชาการโดยเฉพาะ ค�ำยืมที่สร้างหรือบัญญัติขึ้นอย่าง เป็นทางการนี้เรียกว่า ศัพท์บัญญัติ วิธีการยืมค�ำหรือการบัญญัติศัพท์ ประวัติของการยืมค�ำและ การบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษ
  • 2. 2 ในภาษาไทยมี ๒ วิธี คือ ทับศัพท์ และสร้างค�ำขึ้นใหม่ การทับศัพท์นั้น ท�ำโดยใช้ตัวอักษรภาษาไทยเขียนแทนค�ำในภาษาต้นทาง ถ้าเขียนโดย ยึดรูปค�ำภาษาต้นทางเป็นหลัก ก็เรียกว่า ถอดอักษร แต่ถ้าเขียน โดยยึดเสียงอ่านของค�ำภาษาต้นทางเป็นหลัก ก็เรียกว่า ถ่ายเสียง ส่วน การสร้างค�ำขึ้นใหม่จะยึดความหมายของค�ำในภาษาต้นทางเป็นหลัก แล้วคิดค�ำในภาษาไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกับค�ำต้นทางขึ้นมาใช้ แทน เนื่องจากศัพท์บัญญัติที่ใช้ในทางวิชาการของไทยมีที่มาจากภาษา อังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในบทนี้ผู้เขียนจึงขอน�ำเสนอประวัติโดยย่อของ การยืมค�ำและการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษขึ้นใช้ในภาษาไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ๑.๑ การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) คนไทยเริ่มรับค�ำในภาษาอังกฤษจ�ำนวนมากมาใช้ในภาษาไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ หลัง จากที่ไทยได้เปิดประเทศและท�ำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศ มหาอ�ำนาจตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ซึ่งท�ำให้มี ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับคนไทยและเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย มากขึ้น การรับภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยในช่วงนี้ ใช้วิธีทับศัพท์ เป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [๒] ซึ่งทรงใช้ค�ำว่า เอเชนต์ (agent) กันโบ๊ต
  • 3. 3 (gun boat) และ มินิต (minute) เป็นต้น หรือจากหนังสือ นิราศ ลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา) [๓] ซึ่งแต่งในโอกาสที่ท่านเป็นล่ามในคณะราชทูตไทย ไปเข้าเฝ้าพระราชินี วิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๐๐ ดังค�ำกลอนตอนหนึ่งว่า ตะวันชายบ่ายประมาณสักโมงเศษ จ�ำจากเขตกรุงไทยมไหศวรรย์ ฝ่ายอังกฤษตัวดีที่กัปตัน ให้ช่วยกันถอนสมอจะจรลี เอนชะเนียนายจักรก็ศักดิ์สิทธิ์ ใส่ไฟติดน�้ำพลั่งดังฉี่ฉี่ สะกรูหันผันพัดในนัทที เรือก็รี่เร็วคว้างไปกลางชล (ค�ำที่ขีดเส้นใต้ไว้คือค�ำทับศัพท์) ๑.๒ การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ในรัชกาลที่ ๕ นี้ การรับภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยยังคงใช้ วิธีการทับศัพท์ เช่นเดียวกับในรัชกาลที่ ๔ ดังจะเห็นได้จากพระราช- กระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่ง (จากเอกสารอ้างอิง [๔] หน้า ๗๑) ว่า “ให้มาประชุมที่หอมิวเซียมในวันขึ้น ๑ ค�่ำเดือน ๘ ปฤกษาด้วยเรื่องที่จะจัดการรักษาด่านเมืองตาก ตรวจข้อบังคับนายด่านซึ่งพระยาสุจริตรักษาท�ำ แล ตรวจกฎหมายโปลิศซึ่งได้ร่างขึ้นไว้ในที่ประชุมเคาน์ซิล แต่ครั้งก่อน”
  • 4. 4 อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยนี้การรับค�ำในภาษาอังกฤษมาใช้ใน ภาษาไทยได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งคือมีการน�ำค�ำในภาษาบาลี-สันสกฤต มาใช้แทนค�ำทับศัพท์บางค�ำในภายหลัง วิธีการนี้มีเล่าไว้ในบันทึกของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ([๔] หน้า ๗๘) ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ค�ำภาษาสังสกฤตที่เอามาใช้เป็นชื่อ เช่น โทรเลข และไปรษณีย์นั้น เป็นของใหม่ เมื่อแรกมีโทรเลขเรียกชื่อ ตามภาษาฝรั่งว่าเตเลกราฟ แต่แปรไปเป็นตะแล็บแก๊บ ไปรษณีย์เมื่อกงสุลอังกฤษยังเป็นเจ้าของเพราะส่งหนังสือ ไปต่างประเทศทางเมืองสิงคโปร์และฮ่องกงใช้ตั๋วตรา ของสิงคโปร์มีอักษร B พิมพ์เพิ่มความหมายว่าบางกอก ใช้กันแต่พวกฝรั่ง ก็เรียกกันตามภาษาอังกฤษว่าโปสต์ เรียกตั๋วตราว่าแสตมป์” ส่วนศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยโดยใช้ค�ำไทยแท้ก็เริ่มมี ขึ้นบ้าง เช่น lighthouse = กระโจมไฟ pawnshop = โรงรับจ�ำน�ำ raincoat = เสื้อฝน shipyard = อู่เรือ (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔)
  • 5. 5 ๑.๓ การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๖ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) วิธีการรับค�ำจากภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยยังคงเหมือนกับ ในรัชกาลก่อนหน้านี้ คือ ใช้ค�ำบาลี-สันสกฤตและค�ำไทยแท้เป็นศัพท์ ในภาษาไทยมากขึ้น แทนที่จะทับศัพท์อย่างเดียว ตัวอย่างของค�ำ ภาษาอังกฤษที่บัญญัติเป็นค�ำในภาษาไทยโดยไม่ทับศัพท์ในรัชกาลนี้คือ balloon = ลูกสวรรค์ carbon paper = กระดาษถ่าน cartoon = ภาพล้อ gum = หมากฝรั่ง typewriter ribbon = ผ้าพิมพ์ (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔) freedom = เสรีภาพ United States of America = สหรัฐอเมริกา (เอกสารอ้างอิง [๖]) ในรัชสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้าง ค�ำยืมจ�ำนวนมากขึ้นใช้แทนค�ำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น พระองค์ ได้พระราชทานค�ำศัพท์ใหม่ที่ทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้ในกิจการมหาวิทยาลัย เช่น ศาสตราจารย์ (professor) ปาฐก (lecturer) ปริญญา (degree) คณะ (faculty) คณบดี (dean) วิศวกรรม (engineering) สถาปนิก (architect) (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๑๙๒)
  • 6. 6 ๑.๔ การสร้างค�ำยืมในสมัยรัชกาลที่ ๗ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) วิธีการรับค�ำในภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทยในรัชสมัยนี้ มีทั้งการทับศัพท์และการใช้ค�ำในภาษาไทย เช่นเดียวกับในรัชกาลที่ ๕ และ ๖ ยกตัวอย่างของศัพท์ใหม่ในรัชกาลนี้เช่น bill = บิล cigar = ซิการ์ meter = มิเตอร์ plug = ปลั๊ก torpedo = ตอร์ปิโด (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๒-๒๕) bomb = ลูกแตก horse-power = แรงม้า leaflet = ใบปลิว powdered milk = แป้งนม tobacco pipe = กล้องยาเส้น (เอกสารอ้างอิง [๕] หน้า ๒๖-๓๔) หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว รัฐบาลได้จัดตั้ง ราชบัณฑิตยสถาน ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๖ เพื่อให้ท�ำ หน้าที่ท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติในส่วนที่เป็นวิชาการ ควบคู่กับกรมศิลปากรซึ่งท�ำหน้าที่อย่างเดียวกันนี้ในส่วนที่เป็นการ ปฏิบัติการ [๗] ต่อมารัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานแรกที่กล่าวถึง คือ ราชบัณฑิตยสถาน ท�ำหน้าที่บัญญัติศัพท์วิชาการเป็นภาษาไทย ส�ำหรับใช้ในราชการ
  • 7. 7 ๑.๕ การบัญญัติศัพท์ภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๘ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการพิจารณาบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้นคณะหนึ่ง และได้ มอบหมายให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (ซึ่งต่อมา ได้รับสถาปนาเป็น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์- ประพันธ์) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้ด�ำเนินการร่วมกับ ผู้แทนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง [๘] นับเป็นครั้งแรกใน ประเทศไทยที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยได้รับการจัดตั้งขึ้น อย่างเป็นกิจจะลักษณะ พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ การบัญญัติศัพท์ยุคใหม่อย่างเป็นทางการ ผลงานของคณะกรรมการ คณะนี้ก็คือศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาสาขาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ สถิติ อุตสาหกรรม จิตวิทยา ปรัชญา ฯลฯ ซึ่งภายหลัง ได้พิมพ์เผยแพร่ในรูปของหนังสือบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการบัญญัติ ศัพท์ [๙] ๑.๖ การบัญญัติศัพท์ภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙ (ช่วงครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๘๙-ปัจจุบัน) ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ราชบัณฑิตยสถานได้รับช่วงงานบัญญัติศัพท์ ของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ มาท�ำแทน แต่ก็ท�ำได้ไม่ เต็มที่เพราะขาดทั้งงบประมาณและก�ำลังคนงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทย จึงด�ำเนินไปอย่างเชื่องช้า เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง
  • 8. 8 คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ตามที่ราชบัณฑิตยสถาน เสนอแนะ [๘] คณะกรรมการชุดนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายใน ราชบัณฑิตยสถานเองและจากหน่วยงานภายนอกร่วมกันเป็นกรรมการ และได้ท�ำงานทั้งที่เป็นการแก้ไขศัพท์ที่คณะกรรมการชุดเดิมท�ำไว้ และการบัญญัติศัพท์ในสาขาวิชาการสาขาต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่ง ภายหลังได้พิมพ์เผยแพร่ในรูปของหนังสือ ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ [๑๐] ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติตั้ง คณะกรรมการบัญญัติ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ขึ้นมาช่วยแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการบัญญัติ ศัพท์ภาษาไทย โดยรับงานบัญญัติศัพท์ทางด้านวิทยาศาสตร์มาท�ำ ต่างหาก [๑๑] ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาการ หลายสิบคณะซึ่งล้วนแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี งาน บัญญัติศัพท์ของสถาบันนี้ครอบคลุมสาขาวิชาการจ�ำนวนมาก ทั้งทาง ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งปรากฏออกมา ในรูปของพจนานุกรมศัพท์บัญญัติทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องนอกจาก นี้ ยังมีหน่วยงานราชการหน่วยอื่น ๆ และหน่วยงานเอกชนจ�ำนวนหนึ่ง ที่เห็นความจ�ำเป็นของการสร้างศัพท์วิชาการใหม่ ๆ ขึ้นใช้ และได้ จัดตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาท�ำงานในสาขาวิชาการของตน รายละเอียดของเอกสารที่เป็นผลงานการบัญญัติศัพท์ของหน่วยงาน ต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เขียนจะน�ำเสนอในบทที่ ๖
  • 9. 9 เอกสารอ้างอิง ๑. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๕๖. ๒. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (บรรณาธิการ). พระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๖. ๓. หม่อมราโชทัย. นิราศลอนดอน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๓๙ หน้า ๕. ๔. โสมทัต เทเวศร์. เกร็ดภาษาหนังสือไทย. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, ๒๕๑๒ หน้า ๗๑. ๕. เกื้อกมล พฤกษประมูล. ศัพท์บัญญัติที่เกิดก่อนการตั้งคณะ กรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน,วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ, ๒๕๓๒, หน้า ๒๒-๒๕, ๒๖-๓๔, ๑๙๒. ๖. สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถาน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑, กรกฎาคม- กันยายน ๒๕๑๘, หน้า ๕-๗. ๗. เจริญ อินทรเกษตร. มารู้จักกับราชบัณฑิตยสถาน. วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๑ ฉบับ ที่ ๑, กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๑๘, หน้า ๑๒-๑๖.
  • 10. 10 ๘. อดิศักดิ์ ทองบุญ. งานท�ำต�ำรา. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน,ปีที่๒ ฉบับที่๒,ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๑๙, หน้า ๔๑-๔๓. ๙. บัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ พระจันทร์, ๒๔๙๙. ๑๐. ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตย- สถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๗, ๒๕๓๒. ๑๑. สุจิตรากลิ่นเกษร.บัญญัติศัพท์-ศัพท์บัญญัติ.วารสารราชบัณฑิตย- สถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๔, เมษายน- มิถุนายน ๒๕๒๑, หน้า ๓๗.