SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  26
Télécharger pour lire hors ligne
1
ปัจจุบันยารักษาโรคต่างๆมีจำนวนมากมาย ประชาชนที่เจ็บป่วย
ตลอดจนผู้ดูแลได้มีโอกาสสัมผัสกับยามากขึ้น เภสัชกรซึ่งมีบทบาทโดยตรง
ในการดูแลการใช้ยาของประชาชน มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ
ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงจะใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด
ทำอย่างไรให้ยานั้นเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย มิใช่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
และเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเภสัชกรผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วยอาจมีจำนวน
ไม่เพียงพอ ไม่อาจให้คำปรึกษา แนะนำที่ครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยทุกรายได้
	 กองเภสัชกรรม สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำหนังสือ
คู่มือยาประชาชนเล่มนี้ขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชน
ผู้ใช้ยาให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ตั้งแต่เมื่อเข้ารับการรักษา เมื่อต้องรับยา
การตรวจสอบฉลากยา เวลาในการใช้ยา การตรวจสอบสภาพยา การเก็บ
รักษายา การตรวจสอบวันหมดอายุ และเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ หวังเป็น
อย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือที่ช่วยให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
คำนำ
ชื่อเรื่อง	 หน้า
	 1. เรื่องที่ควรแจ้งก่อนรับการรักษาหรือรับยา	 1
	 2. ข้อควรรู้เมื่อท่านต้องรับยา	 2
	 3. การตรวจสอบฉลากยาที่ได้รับจากสถานพยาบาล	 3
	 4. การเทียบปริมาตรยาน้ำระหว่าง ช้อนชา-ซีซี (มล.)	 4
	 5. ตัวอย่างคำแนะนำเรื่องเวลาในการใช้ยา	 5
	 6. การตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น	 9
	 7. การเก็บรักษายา	 10
	 8. การตรวจสอบวันหมดอายุ	 14
	 9. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา	 16
	 10. ยาสามัญประจำบ้าน	 18
	 11. รายการยาที่ควรมีสำรองไว้ที่บ้าน	 19
	 12. การเลือกซื้อยาบรรจุเสร็จ	 20
สารบัญ
เรื่องที่ควรแจ้งก่อนรับการรักษา หรือรับยา
ข้อมูลที่ควรแจ้งให้ผู้ทำการรักษาทราบทุกครั้งที่ทำการรักษา ได้แก่
• ชื่อและนามสกุลของท่าน
• โรคประจำตัวที่ท่านเป็น
• ยาที่ท่านใช้เป็นประจำ
(หากไปใช้บริการที่สถานพยาบาลอื่นที่ท่านไม่ได้รักษาเป็นประจำ)
• ยาที่ท่านแพ้ หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์กับท่าน
• ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม หรือสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่
• ปัญหาอื่นๆ ที่ท่านมี เช่น ท่านกลืนยาเม็ดไม่ได้ กังวลเรื่อง
ค่าใช้จ่าย ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
Rx
1
2
ไม่ควรกินยาร่วมกับ
น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นม กาแฟ เครื่องดื่ม
มอลต์สกัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เพราะอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
ข้อควรรู้ เมื่อท่านต้องรับยา
	 เมื่อท่านได้รับยา คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามที่ท่าน
ควรถามตนเองว่ารู้หรือไม่เกี่ยวกับยาที่ท่านได้รับ หากท่าน
ไม่ทราบ ท่านสามารถสอบถามได้ที่เภสัชกร หรือผู้ที่จ่ายยาให้ท่าน
• ยานี้ชื่ออะไร ใช้เพื่ออะไร
• วิธีการใช้ ใช้อย่างไร เช่น กิน พ่น ทาผิวหนัง เป็นต้น
• ใช้เมื่อมีอาการหรือใช้ต่อเนื่องนานแค่ไหน
• ถ้าเป็นยากิน ไม่ควรกินร่วมกับอาหาร หรือเครื่องดื่มชนิดใด
• เมื่อใช้ยาชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใด
• ยานี้มีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร
• ยาชนิดนี้ ควรเก็บไว้ที่ใด เช่น ต้องเก็บในตู้เย็นหรือไม่
	 ตรวจสอบชื่อ และนามสกุล บนภาชนะบรรจุยา ทุกครั้ง
ที่รับยา ว่าตรงกับชื่อ-นามสกุลของผู้ป่วยหรือไม่
Rx
การตรวจสอบฉลากยาที่ได้รับจากสถานพยาบาล
ตรวจสอบชื่อ- นามสกุล ว่าตรง
กับชื่อ-นามสกุลของเราหรือไม่
ตรวจสอบชื่อยา ขนาดยา ว่าตรง
ตามยาที่เราได้รับในซองยาหรือไม่
ตรวจสอบสรรพคุณของยา
ว่าตรงตามอาการของเราหรือไม่
	 หากมีคำ หรือข้อความอื่นๆนอกจากนี้ปรากฎอยู่บนฉลากยามักจะเป็น
คำแนะนำพิเศษ หรือคำเตือนเช่น เก็บไว้ในตู้เย็น หรือกินยาตามฉลากติดต่อกัน
จนยาหมด หรือใช้ยานี้แล้ว อาจทำให้ง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ และเครื่องดื่ม
ที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจข้อความเหล่านี้เป็นพิเศษ
หากมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น ให้สอบถาม เภสัชกร หรือแพทย์ผู้ทำการรักษา
และอย่าลืมนับจำนวนของยา และจำนวนซองยาก่อนออกจากสถานพยาบาล
ตรวจสอบวิธีใช้ยา ว่าเป็นยาที่ใช้แบบใด เช่น ยากิน ยาทาภายนอก ยาสระผม
ยาเหน็บทวาร
ตรวจสอบจำนวนที่ใช้ ใช้ยาครั้งละกี่เม็ด กี่ช้อนชา กี่ช้อนโต๊ะ
ตรวจสอบเวลาที่ต้องใช้ยา
	 หากเป็นยากิน ให้ตรวจดูว่ายาชนิดใด กินก่อนอาหาร หลังอาหาร
ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการ
	 หากเป็นยาทาภายนอก ทาก่อนหรือหลังอาบน้ำ หรือทาเมื่อมีอาการ
ตรวจสอบความถี่ในการใช้ยา ว่าเราต้องใช้ยานี้วันละกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง คำที่มักพบ คือ
เช้า กลางวัน เที่ยง เย็น บ่าย ก่อนนอน หรือการใช้ยาแต่ละครั้งควรห่างกันกี่ชั่วโมง
3
4
การเทียบปริมาตรยาน้ำระหว่าง ช้อนชา-ซีซี (มล.)
1 ช้อนโต๊ะ
หรือ
15 ซีซี (มล.)
1.3 ซีซี (มล.)
2.5 ซีซี (มล.)
3.8 ซีซี (มล.)
5 ซีซี (มล.)
1 ช้อนชา
1/4 ช้อนชา
1/2 ช้อนชา
3/4 ช้อนชา
3 ช้อนชา
ตัวอย่างคำแนะนำเรื่องเวลาในการใช้ยา
กินยาตามฉลากติดต่อกันจนยาหมด
	 ส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ ยาต่อต้านเชื้อ เช่น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ยาฆ่าเชื้อรา ยาต้านไวรัส เนื่องจากต้องการปริมาณ และระยะเวลาที่นานพอจะฆ่าเชื้อ
ให้หมดได้
	 การใช้ยาติดต่อกันตามขนาดยาที่ระบุ และใช้ติดต่อจนหมด จะทำให้ได้ช่วง
เวลาที่พอดีกับการรักษาอาการให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ
	 กินก่อนอาหาร 

	 ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนอาหารอย่างน้อย ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เนื่องจาก
	 อาหารมีผลในการดูดซึมของยา คืออาจทำให้ยาถูกดูดซึมมากขึ้นจนถึงระดับ
ที่เป็นพิษต่อร่างกาย หรือรบกวนการดูดซึมจนระดับยาไม่ถึงระดับการรักษา ทำให้ยา
ออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่ออกฤทธิ์เลยก็ได้ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

บางชนิด ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ดังนั้นยา

ที่ยกตัวอย่างข้างต้น จึงต้องกินยาในขณะที่ท้องว่าง คือก่อนอาหาร ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง
	 เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันอาการที่เราไม่ต้องการ เช่น ยาลด
อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาลดระดับไขมัน ยาโรคหัวใจ ดังนั้น

การกินยาในกลุ่มนี้จึงควรกินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เพราะการกินหลังอาหาร
อาจทำให้เกิดอาการที่ยาไม่สามารถป้องกันได้ทัน เช่น เกิดอาการคลื่นไส้

อาเจียน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น
5
6
ยากินหลังอาหาร
	 ยาในกลุ่มนี้ควรกินภายหลังอาหารทันที เนื่องจากเป็นยาที่มีการระคาย
กระเพาะ คือเป็นยาที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวด
ลดอาการอักเสบ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ปวดประจำเดือน ยาสเตียรอยด์
ยาโรคเกาท์บางชนิด 
	 เป็นยาที่มีผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
	 เป็นยาที่ดูดซึมได้ดีหากได้รับพร้อมอาหาร เช่น ยาฆ่าเชื้อรา และยาลด
ความดันโลหิตสูงบางชนิด
	 การกินยาในกลุ่มนี้หลังอาหารทันทีจึงเป็นการลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ส่วนอาหารที่กล่าวถึงควรเป็นอาหารที่อยู่ในกระเพาะได้นาน เช่น การกินเป็นอาหาร
ประเภทข้าว มากกว่าที่จะเป็นเพียงนม หรือน้ำ

6
ยากินตอนเช้า
1. ทำไมจึงต้องกินยาตอนเช้า 
ตัวอย่าง ยาที่ควรกินตอนเช้ามักจะใช้กับ
	 1.1 ยาที่มีฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ใน
เกณฑ์ปกติ เมื่อกินยากลุ่มนี้จะทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น การกินยากลุ่มนี้
หลังอาหารเย็นอาจส่งผลในการรบกวนการนอนของผู้ป่วย
	 1.2 ยาที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง การกินยาในช่วงเย็นหรือก่อนนอน
อาจส่งผลให้ความดันโลหิตของผู้ป่วยในช่วงกลางคืน หรือใกล้เช้าลดลงมาก
เกินไป ทำให้เกิดอาการหน้ามืด หรือมีภาวะหัวใจขาดเลือดกะทันหันได้ ซึ่งอาจเกิด
อันตรายรุนแรงได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจร่วมด้วย
2. ผู้ที่ต้องทำงานตอนกลางคืนจะปฏิบัติตัวอย่างไร
	 ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืน ช่วงเวลาที่ตื่น คือช่วงกลางคืน ช่วงเวลาที่หลับ

มักเป็นช่วงเวลากลางวัน การปฏิบัติตัวก็จะทำกลับกันกับคนทั่วไป ดังนั้นยาที่แพทย์
สั่งให้กินตอนเช้าในข้อ 1.1 และ 1.2 ควรเปลี่ยนไปกินตามตัวอย่างต่อไปนี้ โดย
แบ่งช่วงเวลาในการกินอาหาร 3 มื้อและก่อนเข้านอน เช่น มื้อแรก 17.00-
18.00 น. แทนมื้อเช้าควรใช้ยากินตอนเช้าหลังมื้อนี้ มื้อที่สอง 21.00-22.00 น.
มื้อที่สาม 01.00-02.00 น. ช่วงก่อนนอน 05.00-06.00 น. เป็นต้น (สามารถปรับ
ช่วงเวลาตามวงจรชีวิตปกติของผู้ป่วย)
7
8
ยากินก่อนนอน

1. ทำไมจึงต้องกินยาก่อนนอน 
ตัวอย่าง ยาที่ควรกินตอนก่อนนอน ได้แก่
	 1.1 ยาที่กินมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก ยาแก้แพ้

แก้คัน ยาลดอาการวิงเวียน ยาคลายเครียด ยากินเวลานอนไม่หลับ ดังนั้นการ
กินยากลุ่มนี้ก่อนนอน โดยมากนอกจากจะทำให้เรารักษาอาการหลักที่เราเป็นแล้ว

ยังเป็นการนำเอาผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์ในแง่ที่ทำให้เราหลับสนิท
และพักผ่อนได้ดีขึ้น
	 1.2 ยามีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการเวียน
ศีรษะ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ การกินยากลุ่มนี้ก่อนนอนจะทำให้

ผลของการเกิดการคลื่นไส้ลดลงเนื่องจากขณะเกิดอาการอาการข้างเคียงอยู่ระหว่าง
นอนหลับ อีกทั้งยังมีผลดีในการช่วยให้ไม่ให้ลืมกินยา(โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด) อีกด้วย
	 1.3 ยาที่ต้องใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ เช่น ยาระบายชนิดต่างๆ โดย
มากแพทย์ หรือเภสัชกรจะแนะนำให้กินก่อนนอน เนื่องจากยากลุ่มนี้จะมีระยะเวลา
ออกฤทธิ์ภายหลังจากการกินยาแล้วประมาณ 6-8 ชั่วโมง การกินก่อนนอนจะช่วยให้

ถ่ายตอนเช้า ขณะที่ตื่นนอนพอดี
2. ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืนจะปฏิบัติตัวอย่างไร
	 ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืน ช่วงเวลาที่ตื่น คือช่วงเวลากลางคืน และช่วงเวลา

ที่หลับมักจะเป็นช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นการปฏิบัติตัวก็จะต้องทำตรงข้ามกับ

คนทั่วไป คือ ควรเปลี่ยนวิธีกินยาที่แพทย์สั่งให้จากเดิม กินหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
ก่อนนอน เปลี่ยนเป็น หลังอาหาร เย็น กลางคืน มื้อดึก และมื้อใกล้เช้า หรือจะให้ง่าย

ก็นับเวลา แต่ละมื้อให้ห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมง ตามตัวอย่างการแบ่งช่วงเวลา

ที่กล่าวในหัวข้อยากินตอนเช้า ในหัวข้อที่ 2 (สำหรับผู้ที่ทำงานกลางคืน) เช่นมื้อ
ก่อนนอน คือ ประมาณ 05.00 -06.00 น. คือก่อนที่จะนอนในช่วงเช้าแทน
การตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น

	 ท่านควรตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น ก่อนรับยาจากสถานพยาบาล และควร
ตรวจสอบอีกครั้งเมื่อท่านจะต้องใช้ยา โดยมีรายละเอียดดังนี้

	 1. ยาเม็ด ต้องมีสี กลิ่น และลักษณะเม็ดคงเดิม ไม่มีการกระเทาะร้าว
หรือไม่มีรอยด่างที่เม็ดยา 
	 2. ยาแคปซูล ต้องไม่นิ่ม หรือแข็งผิดปกติ หรือมีการหลอมติดกัน บรรจุภัณฑ์

ต้องไม่มีรอยปูด พอง บวม
	 3. ยาที่เป็นผง หรือยาน้ำแขวนลอย ต้องไม่เกาะกันเป็นก้อน หรือไม่เปลี่ยนสี
ไปจากเดิม 
	 4. ยาน้ำใส ต้องไม่ขุ่นผิดปกติ หรือมีผง ตะกอนแขวนลอย หรือจับกัน
เป็นฝ้า หรือมีผลึก ตะกอนที่ก้นขวด
	 5. ยาครีม ขี้ผึ้ง โลชั่น ต้องไม่แยกชั้น หดตัวหรือมีผิวหน้าที่แห้งเกินไป หรือ

มีลักษณะที่เยิ้มเกินไป
	 6. ยาสอดทวาร ต้องไม่นุ่ม หรือแข็งเกินไป หรือมีลักษณะอื่นๆที่ผิดปกติ
เช่น สี กลิ่น ตะกอน หรือมีการบวม
	 7. สมุนไพร ต้องไม่มีลักษณะที่ชื้น หรือมีเชื้อรา

	 หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ในเรื่องของการตรวจสภาพยา สามารถสอบถาม
ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เภสัชกรประจำสถานพยาบาล
	 การตรวจสอบยาเบื้องต้นสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า หากพบว่า สี กลิ่น รส
รูปลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติ ให้ปฏิเสธที่จะรับยานั้น (หากเป็นยาจาก

สถานพยาบาล หรือร้านขายยา) หรือทิ้งยานั้นไป (หากเป็นยาที่เราเก็บไว้ที่บ้าน) 


99
10
การเก็บ
ตรว
ตรว
แย
จัดวา
จัดเก็บ
ในกรณีที่มียาเก่าเหลืออยู่และเป็นยาเดียวกัน
เมื่อตรวจสอบวันหมดอายุแล้ว ให้จัดเรียงยา โดยให้ยาที่หมดอายุก่อน

หรือยาที่ได้รับมาก่อน อยู่ด้านบนเพื่อที่จะได้หยิบใช้ก่อน แต่วิธีการใช้ยา

ให้ยึดเอาตามวิธีการใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อได้รับยา เนื่องจากผู้ที่ทำการรักษา

อาจทำการปรับวิธีการใช้ใหม่ 
เช่นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เดิมแพทย์ให้กินยาลดความดันโลหิต
ครั้งละ1 เม็ดหลังอาหาร เช้า ต่อมาเมื่อคนไข้ความดันสูงขึ้น แพทย์จึงปรับยา

ให้คนไข้กินเพิ่มขึ้นคือ กินครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า และเย็น
แต่คนไข้ยังมียาที่ได้รับครั้งก่อนหน้าเหลืออยู่ ให้คนไข้กินยาที่เหลือ

ในชุดเดิมก่อน แต่ให้กินตามฉลากที่คนไข้ได้รับไปใหม่ คือ ครั้งละ 1 เม็ด

หลังอาหาร เช้า และเย็น เป็นต้น

1. มีลักษณะที่ผิดจากปกติหรือไม่
2. บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่
3. ภาชนะที่บรรจุยาปิดสนิทดีหรือไม่
บรักษายา
ได้รับยามา
วจดูสภาพของยา
วจดูวันหมดอายุ
ยกชนิดของยา
างลำดับการใช้ยา
บในบริเวณ และสภาวะ
ที่เหมาะสม
สิ่งที่เราคำนึงถึงในการแยกประเภท
1. ยาใช้ภายนอก/ยากิน/ยาฉีด
2. ยาเก็บในตู้เย็น/เก็บที่อุณหภูมิห้อง
สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. ไม่ควรเก็บยาไว้ใช้ตลอดกาล
2. ไม่เก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน
3. ไม่หยิบยาในที่มืด
4. ไม่ควรให้ยาที่เหลือของเรากับผู้อื่น
5. ไม่ควรเก็บยาในที่ซึ่งเด็กจะหยิบเองได้
6. ไม่ใช้ยานั้นหากสภาพยามีการเปลี่ยนแปลง
ผิดปกติ (ดูเรื่องการตรวจสอบสภาพยา)
1. ยาที่เราได้รับมาหมดอายุหรือไม่ ?
2. จะหมดอายุเมื่อไร ?
3. เราจะใช้ยาได้หมดก่อนวันหมดอายุ
หรือไม่ ?
11
12
การเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
1. เก็บให้พ้นแสง(แสงแดดส่องไม่ถึง)พ้นจากความร้อน
ความชื้น คือ ไม่ควรเก็บในห้องน้ำ ห้องครัว ในตู้เย็น
2. ควรเก็บในที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
(ที่เย็น)
3. แยกยาใช้ภายนอก และยากินออกจากกัน
4. ปิดฝาให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้ยา และเก็บในที่พ้นมือเด็ก
5. ตรวจสอบยาที่เก็บไว้เป็นระยะเพื่อป้องกันยาหมด
อายุ และยาเสื่อม
6. ควรจัดเก็บยาพร้อมฉลากยา ไม่ควรเก็บยา
ต่างชนิดกันในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน
ยากิน
ยาเม็ด ยาเม็ดแคปซูลนิ่ม ยา ยาผงแห้งที่ยังไม่ผสมน้ำ ยาน้ำ
ยาใช้เฉพาะที่ /ยาใช้ภายนอก
ยาพ่น ยาใส่แผล โลชั่น
แผ่นแปะผิวหนัง ยาครีม ยาสอดช่องคลอด
การเก็บยาในตู้เย็น
1. จัดบริเวณที่เก็บยาแยกจาก อาหาร และของ
อย่างอื่นที่แช่อยู่
2. แยกยาใช้ภายนอก และยากินออกจากกัน
3. เก็บในอุณหภูมิประมาณ 2-8 องศาเซลเซียส
หรือในตู้เย็นช่องธรรมดา
4. ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็ง ช่องใต้ช่องแช่แข็ง 

ฝาตู้เย็น หรือช่องล่างสุดที่ใช้แช่ผัก เพื่อหลีก
เลี่ยงความร้อน-เย็น เกินไป

ตัวอย่างยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น
ยากิน
	 ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดผงแห้ง
หากผสมน้ำแล้วให้เก็บในตู้เย็น และมีอายุ
ไม่เกิน 7 วันหลังผสมน้ำแล้ว
ยาผงแห้งที่ผสมน้ำแล้ว
ยาใช้เฉพาะที่ /ยาใช้ภายนอก
ยาฉีดเบาหวาน ยาหยอดตาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาเหน็บทวาร
13
14
การตรวจสอบวันหมดอายุ
	 1. ตรวจสอบจากวันหมดอายุ โดยให้สังเกตคำว่า : วันหมดอายุ, วันสิ้นอายุ,
ควรใช้ก่อน, Expiration date, Exp. Date, Expiring, Use by ,Use before, before
ยาสิ้นอายุ วันที่ 28 เม.ย. 55
หมายความว่า ควรใช้ยาก่อน
วันที่ 28 เมษายน ปี พ.ศ. 2555
EXP. 270311 หมายความว่า
ควรใช้ยาก่อน วันที่ 27 มีนาคม ปี ค.ศ.
2011 หรือ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
	 2. ตรวจสอบจากวันผลิต :ในฉลากไม่พบวันหมดอายุ ให้สังเกตจากวันผลิต
โดยให้สังเกตคำว่า วันผลิต, Manufacturing date, Mfg date, Manu date, MFG
วันหมดอายุของยาเม็ด = วันผลิต + 5 ปี
วันหมดอายุของยาน้ำ = วันผลิต + 3 ปี
หากเป็นยาเม็ดควรใช้ก่อน
วันที่ 17 เดือนมีนาคม ปีค.ศ.2014
MFG. 17/03/2009 หมายความว่า
ยานี้ผลิตเมื่อ วันที่ 17 เดือนมีนาคม
ปีค.ศ. 2009
หากเป็นยาน้ำ ควรใช้ก่อน วันที่ 17
เดือนมีนาคม ปีค.ศ.2012
3. ตรวจสอบจากวันที่ได้รับยา :ในฉลากไม่พบวันหมดอายุ และยาที่เราได้รับ

เป็นยาแบ่งบรรจุ (ยาที่เป็นเม็ดๆ อยู่ในซองซิปไม่ได้บรรจุอยู่ในแผง) ให้เรานับวันหมด
อายุจากวันที่เรารับยาไปอีก 6 เดือน

วันที่ปรากฎ คือวันที่เราไปรับยา
หากเป็นยาที่มีการแบ่งบรรจุ เป็นเม็ดๆ
เราจะนับจากวันที่เรารับยาไปอีก6 เดือน
คือเราควรใช้ยาก่อนวันที่ 19 เมษายน
พ.ศ. 2553
การแปลงปีจากค.ศ. เป็นพ.ศ.
ปีพุทธศักราช = ปีคริสต์ศักราช + 543
เช่น ฉลากที่หมดอายุในปี ค.ศ.2011
จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2011+543 = 2554 เป็นต้น
Rx
1515
16
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

	 อาการไม่พึงประสงค์ เป็นผลจากยาที่ไม่ต้องการให้เกิดระหว่างการรักษา

โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่ ผลข้างเคียงของยา และการแพ้ยา

	 ผลข้างเคียงของยา หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนั้นๆ ในขนาด

ปกติที่ให้ผลการรักษา เช่น
	 -	ยาลดน้ำมูก มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปากแห้ง
	 -	ยาแก้ปวดอักเสบ (NSAIDs) มีผลข้างเคียง คือระคายกระเพาะ ทำให้เกิด
คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ปวดท้อง
	 ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาสามารถลดความรุนแรงหรือแก้ไขได้ ถ้าหากผู้ใช้ยามี
ความเข้าใจในผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น 
	 ใช้ยาที่มีผลทำให้ง่วง ไม่ควรขับรถหรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 
	 ใช้ยาที่มีฤทธิ์ ระคายกระเพาะ ควรจะกินหลังอาหารทันที พร้อมกับดื่มน้ำ

ตามมากๆ
การแพ้ยา เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกาย จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคย
ได้รับยานั้นมาก่อน แล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านกับยานั้น
	 ต่อมาเมื่อได้รับยานั้นอีก จึงเกิดอาการแพ้ยาขึ้น การแพ้ยาอาจเกิดทันทีทันใด
หรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้
	 อาการแพ้ยาได้แก่ มีผื่นขึ้น คัน หายใจขัด ปากบวม หน้าตาบวม พุพอง
ใจสั่น เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด บางรายอาจถึงแก่ชีวิตหากแก้ไขไม่ทัน
	 หากพบว่ามีอาการแพ้ยา ควรหยุดยา และรีบกลับมาพบแพทย์ หรือเภสัชกร

เพื่อรักษาอาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น โดยควรสอบถามชื่อยา และขอให้แพทย์ หรือเภสัชกร

ออกบัตรแพ้ยาและพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้เสมอ

17
18
ยาสามัญประจำบ้าน

	 ยาสามัญประจำบ้าน คือยาที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญ

ประจำบ้าน ซึ่งปัจจุบันมียาอยู่53 รายการ ครอบคลุมอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆที่มักจะพบ 
	 ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง (หากกินตามฉลากแนะนำ)
ประชาชนสามารถเลือกซื้อจากร้านทั่วไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อจากร้านขายยา หรือได้รับ

จากสถานพยาบาล จึงเป็นหนทางในการประหยัดอย่างหนึ่ง และควรมีติดบ้านไว้เพื่อ

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย

	 การสังเกตว่ายาใช่ยาสามัญประจำบ้านหรือไม่ ให้สังเกตที่อักษร
ที่เขียนว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” และต้องอยู่ในกรอบสีเขียวด้วย

	 และการเลือกซื้อยาสามัญประจำบ้านก็เหมือนกับยาอื่นๆ คือต้องตรวจดู
สภาพของยา ดูวันหมดอายุ วิธีการใช้ยา ข้อควรระวัง ผู้ผลิตยา
18
ยาสามัญประจำบ้าน
รายการยาที่ควรมีสำรองไว้ที่บ้าน

	 ตัวอย่างยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีเก็บไว้บรรเทาอาการเบื้องต้นที่อาจพบ

ในชีวิตประจำวันของเรา ได้แก่

	 1. ยารักษาอาการปวดหัว มีไข้ เช่น พาราเซตามอล
	 2. ยารักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง เช่นยาธาตุน้ำแดง
	 3. ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่
	 4. ยาระบาย เช่น ยาระบายมะขามแขก
	 5. ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ลดอาการผื่นแพ้ คัน เช่น ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีน
	 6. ยาแก้ไอ ขับเสมหะ เช่น ยาอมมะแว้ง
	 7. ยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก 
	 8. ยาทาบรรเทาอาการผดผื่นคัน เช่น คาลาไมน์ 
	 9. น้ำเกลือล้างแผล ยาใส่แผลสด พร้อมอุปกรณ์ทำแผล 
	 เช่น ยาทาแผลโพวิโดนไอโอดีน
	 10.	 ยาทาถูนวด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น บาล์มตำราหลวง

	 โดยประชาชนสามารถเลือกเฉพาะรายการยาที่จำเป็น โดยสามารถซื้อได้
จากศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน และร้านค้าขององค์การเภสัชกรรม

1919
20
การเลือกซื้อยาบรรจุเสร็จ
	 1. ชื่อการค้า เป็นชื่อยาที่บริษัท
ต่างๆตั้งขึ้นเพื่อการค้า จะมีความแตกต่าง
ของชื่อในแต่ละบริษัทถึงแม้ว่าจะเป็นตัว
ยาสำคัญเดียวกัน เช่น ไทลีนอล, ซาร่า,

พาราแคป ล้วนแต่มีตัวยาพาราเซตามอล
เหมือนกัน หรืออาจจะสังเกตจากเครื่องหมาย
® มักอยู่ด้านบนขวาของชื่อการค้า
	 2. ชื่อสามัญทางยา เป็นชื่อสารออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาพาราแคป, ไทลีนอล
ชื่อสามัญทางยาคือ พาราเซตามอล
	 3. ขนาดยา จะเป็นตัวบ่งบอกความแรงของตัวยา มักจะอยู่ท้าย
ชื่อสามัญทางยา เช่น ถ้าเขียนว่า ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. หมายถึง ในยา
1 เม็ด มีตัวยาพาราเซตามอล 500 มก.
7.
1.
4.
5.
6.
2.+3.
®
8.
	 5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตยา หรือผู้ที่นำเข้ายา หากไม่มีสถานที่ผลิตระบุไว้
ไม่ควรซื้อยานั้น 
	 6. วันเดือนปีที่หมดอายุ เราควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือรับยาทุกครั้ง
	 7. วิธีการใช้ยา จำนวนที่ต้องใช้ ความถี่ หรือเวลาที่จะต้องใช้ยา ถ้าไม่
เข้าใจให้ถามเภสัชกรก่อน
	 8. ข้อควรระวังของยา คำเตือน ควรอ่านและทำความเข้าใจให้ละเอียด
ทุกครั้งก่อนการใช้ยา
	 4. เลขทะเบียนตำรับยา คือเลขทะเบียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา (อย.) ออกให้กับบริษัทเมื่อมีการขึ้นทะเบียนยา โดยมากมักมีคำว่า Reg.No
หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา หากยาใดไม่มีเลขทะเบียนนี้ไม่ควรซื้อ
กำพล ศรีวัฒนกุล, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2.

	 กรุงเทพฯ: บริษัทเมดาร์ท จำกัด; 2532
ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ.
	 คู่มือการใช้ยา สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
	 บริษัทประชาชน จำกัด; 2549
เรวดี ธรรมอุปกรณ์, สาริณีย์ กฤติยานันต์. ใช้ยา-ต้องรู้ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. 
	 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา;2551
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย). สารพันคำถามเรื่อง ยา สมุนไพร 
	 อาหาร เครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ;2547
มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ. หยูกยาน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:บริษัท โรงพิมพ์อักษร
	 สัมพันธ์ (1987) จำกัด;2549
จตุพร ทองอิ่ม, ดวงรัตน์ นิยมไทย, ฑิฆัมพร สุริยะมิตรชัย และคณะ.ห่วงใย
	 ผู้สูงอายุจากใจเภสัชกร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ;2545
http://www.childrenhospital.go.th/main/ph/PEOPLE/ADR/ADR.HTM
	 แพทย์หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม สถาบันสุขภาพเด็ก
แห่งชาติมหาราชินี
บรรณานุกรม
ISBN : 		 978-616-7217-23-9		
หน่วยงานผู้จัดทำ	 กลุ่มงานวิชาการและแผนงาน
		 กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย
		 กรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษา		 พญ.มนทิรา ทองสาริ	 ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
		 นพ.ชวินทร์ ศิรินาค 	 รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย
		 พญ.วันทนีย์ วัฒนะ	 รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย
		 นพ.โกวิท ยงวานิชจิต	 รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย
		 ภญ.ศรีวิมล จึงเสถียรทรัพย์	ผู้อำนวยการกองเภสัชกรรม
คณะผู้จัดทำ	 ภญ.รัชนี แผ่นมณี
		 ภญ.ชุติกาญจน์ ตรีนวภัทร
		 ภญ.อัคพร อ่วมสวัสดิ์
		 ภญ.กัญญารัตน์ ศักดิ์พิสุทธิพงศ์
		 ภก.สุรกิจ ถาวรศักดิ์
		 ภก.เดชาชัช สายเมธางกุร
		 ภญ.กุลธิดา เหลืองอ่อน
		 นางสาวรัชนี แซ่ลิ้ม
บรรณาธิการ	 ภญ.รัชนี แผ่นมณี
พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) มีนาคม 2554 จำนวน 50,000 เล่ม
พิมพ์ที่	:	โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
		โทร. 02-218 3563-4
22

Contenu connexe

Tendances

ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
Surang Judistprasert
 

Tendances (20)

ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
 
Ppt. HAD
Ppt. HADPpt. HAD
Ppt. HAD
 
การใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กการใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็ก
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
Antibiotic Guideline 2015-2016: Cross reaction
Antibiotic Guideline 2015-2016: Cross reactionAntibiotic Guideline 2015-2016: Cross reaction
Antibiotic Guideline 2015-2016: Cross reaction
 
คู่มือการจ่ายยาเด็ก (Drugs in Pediatrics)
คู่มือการจ่ายยาเด็ก  (Drugs in Pediatrics)คู่มือการจ่ายยาเด็ก  (Drugs in Pediatrics)
คู่มือการจ่ายยาเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
 
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
 
Adverse drug reaction 09
Adverse drug reaction 09Adverse drug reaction 09
Adverse drug reaction 09
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
 
Ratchakitcha1 56 บัญชียาหลักแห่งชาติ รวม
Ratchakitcha1 56 บัญชียาหลักแห่งชาติ รวมRatchakitcha1 56 บัญชียาหลักแห่งชาติ รวม
Ratchakitcha1 56 บัญชียาหลักแห่งชาติ รวม
 
Ppt. med error.2
Ppt. med error.2Ppt. med error.2
Ppt. med error.2
 
การทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gppการทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gpp
 
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชบำบัด ๓ (๗๙๑๕๕๑) หัวข้อ Assessment of Adverse drug...
 
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
 

Similaire à Drug

เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
Jintana Somrit
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
Wan Ngamwongwan
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
Wan Ngamwongwan
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
Wan Ngamwongwan
 
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
Wan Ngamwongwan
 
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
an1030
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
weerawatkatsiri
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
Kat Suksrikong
 

Similaire à Drug (20)

เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
 
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdfคู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
 
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหารโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
 
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นคู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
 
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นคู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
hypertension guidebook
hypertension guidebookhypertension guidebook
hypertension guidebook
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
 
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
โรคแผลในกระเพราะอาหารที่เกิดจากบุหรี่
 
22
2222
22
 
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือด
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
การรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับการรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับ
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
 
Clu5
Clu5Clu5
Clu5
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul

Plus de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

Drug

  • 1. 1
  • 2. ปัจจุบันยารักษาโรคต่างๆมีจำนวนมากมาย ประชาชนที่เจ็บป่วย ตลอดจนผู้ดูแลได้มีโอกาสสัมผัสกับยามากขึ้น เภสัชกรซึ่งมีบทบาทโดยตรง ในการดูแลการใช้ยาของประชาชน มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงจะใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด ทำอย่างไรให้ยานั้นเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย มิใช่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเภสัชกรผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วยอาจมีจำนวน ไม่เพียงพอ ไม่อาจให้คำปรึกษา แนะนำที่ครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยทุกรายได้ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำหนังสือ คู่มือยาประชาชนเล่มนี้ขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชน ผู้ใช้ยาให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ตั้งแต่เมื่อเข้ารับการรักษา เมื่อต้องรับยา การตรวจสอบฉลากยา เวลาในการใช้ยา การตรวจสอบสภาพยา การเก็บ รักษายา การตรวจสอบวันหมดอายุ และเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ หวังเป็น อย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือที่ช่วยให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป คำนำ
  • 3. ชื่อเรื่อง หน้า 1. เรื่องที่ควรแจ้งก่อนรับการรักษาหรือรับยา 1 2. ข้อควรรู้เมื่อท่านต้องรับยา 2 3. การตรวจสอบฉลากยาที่ได้รับจากสถานพยาบาล 3 4. การเทียบปริมาตรยาน้ำระหว่าง ช้อนชา-ซีซี (มล.) 4 5. ตัวอย่างคำแนะนำเรื่องเวลาในการใช้ยา 5 6. การตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น 9 7. การเก็บรักษายา 10 8. การตรวจสอบวันหมดอายุ 14 9. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 16 10. ยาสามัญประจำบ้าน 18 11. รายการยาที่ควรมีสำรองไว้ที่บ้าน 19 12. การเลือกซื้อยาบรรจุเสร็จ 20 สารบัญ
  • 4. เรื่องที่ควรแจ้งก่อนรับการรักษา หรือรับยา ข้อมูลที่ควรแจ้งให้ผู้ทำการรักษาทราบทุกครั้งที่ทำการรักษา ได้แก่ • ชื่อและนามสกุลของท่าน • โรคประจำตัวที่ท่านเป็น • ยาที่ท่านใช้เป็นประจำ (หากไปใช้บริการที่สถานพยาบาลอื่นที่ท่านไม่ได้รักษาเป็นประจำ) • ยาที่ท่านแพ้ หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์กับท่าน • ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม หรือสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ • ปัญหาอื่นๆ ที่ท่านมี เช่น ท่านกลืนยาเม็ดไม่ได้ กังวลเรื่อง ค่าใช้จ่าย ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร Rx 1
  • 5. 2 ไม่ควรกินยาร่วมกับ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นม กาแฟ เครื่องดื่ม มอลต์สกัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา ข้อควรรู้ เมื่อท่านต้องรับยา เมื่อท่านได้รับยา คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามที่ท่าน ควรถามตนเองว่ารู้หรือไม่เกี่ยวกับยาที่ท่านได้รับ หากท่าน ไม่ทราบ ท่านสามารถสอบถามได้ที่เภสัชกร หรือผู้ที่จ่ายยาให้ท่าน • ยานี้ชื่ออะไร ใช้เพื่ออะไร • วิธีการใช้ ใช้อย่างไร เช่น กิน พ่น ทาผิวหนัง เป็นต้น • ใช้เมื่อมีอาการหรือใช้ต่อเนื่องนานแค่ไหน • ถ้าเป็นยากิน ไม่ควรกินร่วมกับอาหาร หรือเครื่องดื่มชนิดใด • เมื่อใช้ยาชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใด • ยานี้มีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร • ยาชนิดนี้ ควรเก็บไว้ที่ใด เช่น ต้องเก็บในตู้เย็นหรือไม่ ตรวจสอบชื่อ และนามสกุล บนภาชนะบรรจุยา ทุกครั้ง ที่รับยา ว่าตรงกับชื่อ-นามสกุลของผู้ป่วยหรือไม่ Rx
  • 6. การตรวจสอบฉลากยาที่ได้รับจากสถานพยาบาล ตรวจสอบชื่อ- นามสกุล ว่าตรง กับชื่อ-นามสกุลของเราหรือไม่ ตรวจสอบชื่อยา ขนาดยา ว่าตรง ตามยาที่เราได้รับในซองยาหรือไม่ ตรวจสอบสรรพคุณของยา ว่าตรงตามอาการของเราหรือไม่ หากมีคำ หรือข้อความอื่นๆนอกจากนี้ปรากฎอยู่บนฉลากยามักจะเป็น คำแนะนำพิเศษ หรือคำเตือนเช่น เก็บไว้ในตู้เย็น หรือกินยาตามฉลากติดต่อกัน จนยาหมด หรือใช้ยานี้แล้ว อาจทำให้ง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ และเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจข้อความเหล่านี้เป็นพิเศษ หากมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น ให้สอบถาม เภสัชกร หรือแพทย์ผู้ทำการรักษา และอย่าลืมนับจำนวนของยา และจำนวนซองยาก่อนออกจากสถานพยาบาล ตรวจสอบวิธีใช้ยา ว่าเป็นยาที่ใช้แบบใด เช่น ยากิน ยาทาภายนอก ยาสระผม ยาเหน็บทวาร ตรวจสอบจำนวนที่ใช้ ใช้ยาครั้งละกี่เม็ด กี่ช้อนชา กี่ช้อนโต๊ะ ตรวจสอบเวลาที่ต้องใช้ยา หากเป็นยากิน ให้ตรวจดูว่ายาชนิดใด กินก่อนอาหาร หลังอาหาร ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการ หากเป็นยาทาภายนอก ทาก่อนหรือหลังอาบน้ำ หรือทาเมื่อมีอาการ ตรวจสอบความถี่ในการใช้ยา ว่าเราต้องใช้ยานี้วันละกี่ครั้ง เวลาใดบ้าง คำที่มักพบ คือ เช้า กลางวัน เที่ยง เย็น บ่าย ก่อนนอน หรือการใช้ยาแต่ละครั้งควรห่างกันกี่ชั่วโมง 3
  • 7. 4 การเทียบปริมาตรยาน้ำระหว่าง ช้อนชา-ซีซี (มล.) 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 15 ซีซี (มล.) 1.3 ซีซี (มล.) 2.5 ซีซี (มล.) 3.8 ซีซี (มล.) 5 ซีซี (มล.) 1 ช้อนชา 1/4 ช้อนชา 1/2 ช้อนชา 3/4 ช้อนชา 3 ช้อนชา
  • 8. ตัวอย่างคำแนะนำเรื่องเวลาในการใช้ยา กินยาตามฉลากติดต่อกันจนยาหมด ส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ ยาต่อต้านเชื้อ เช่น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา ยาต้านไวรัส เนื่องจากต้องการปริมาณ และระยะเวลาที่นานพอจะฆ่าเชื้อ ให้หมดได้ การใช้ยาติดต่อกันตามขนาดยาที่ระบุ และใช้ติดต่อจนหมด จะทำให้ได้ช่วง เวลาที่พอดีกับการรักษาอาการให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ กินก่อนอาหาร ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนอาหารอย่างน้อย ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เนื่องจาก อาหารมีผลในการดูดซึมของยา คืออาจทำให้ยาถูกดูดซึมมากขึ้นจนถึงระดับ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย หรือรบกวนการดูดซึมจนระดับยาไม่ถึงระดับการรักษา ทำให้ยา ออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่ออกฤทธิ์เลยก็ได้ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย บางชนิด ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ดังนั้นยา ที่ยกตัวอย่างข้างต้น จึงต้องกินยาในขณะที่ท้องว่าง คือก่อนอาหาร ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันอาการที่เราไม่ต้องการ เช่น ยาลด อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาลดระดับไขมัน ยาโรคหัวใจ ดังนั้น การกินยาในกลุ่มนี้จึงควรกินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เพราะการกินหลังอาหาร อาจทำให้เกิดอาการที่ยาไม่สามารถป้องกันได้ทัน เช่น เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น 5
  • 9. 6 ยากินหลังอาหาร ยาในกลุ่มนี้ควรกินภายหลังอาหารทันที เนื่องจากเป็นยาที่มีการระคาย กระเพาะ คือเป็นยาที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวด ลดอาการอักเสบ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ปวดประจำเดือน ยาสเตียรอยด์ ยาโรคเกาท์บางชนิด เป็นยาที่มีผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เป็นยาที่ดูดซึมได้ดีหากได้รับพร้อมอาหาร เช่น ยาฆ่าเชื้อรา และยาลด ความดันโลหิตสูงบางชนิด การกินยาในกลุ่มนี้หลังอาหารทันทีจึงเป็นการลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ส่วนอาหารที่กล่าวถึงควรเป็นอาหารที่อยู่ในกระเพาะได้นาน เช่น การกินเป็นอาหาร ประเภทข้าว มากกว่าที่จะเป็นเพียงนม หรือน้ำ 6
  • 10. ยากินตอนเช้า 1. ทำไมจึงต้องกินยาตอนเช้า ตัวอย่าง ยาที่ควรกินตอนเช้ามักจะใช้กับ 1.1 ยาที่มีฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ เมื่อกินยากลุ่มนี้จะทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น การกินยากลุ่มนี้ หลังอาหารเย็นอาจส่งผลในการรบกวนการนอนของผู้ป่วย 1.2 ยาที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง การกินยาในช่วงเย็นหรือก่อนนอน อาจส่งผลให้ความดันโลหิตของผู้ป่วยในช่วงกลางคืน หรือใกล้เช้าลดลงมาก เกินไป ทำให้เกิดอาการหน้ามืด หรือมีภาวะหัวใจขาดเลือดกะทันหันได้ ซึ่งอาจเกิด อันตรายรุนแรงได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจร่วมด้วย 2. ผู้ที่ต้องทำงานตอนกลางคืนจะปฏิบัติตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืน ช่วงเวลาที่ตื่น คือช่วงกลางคืน ช่วงเวลาที่หลับ มักเป็นช่วงเวลากลางวัน การปฏิบัติตัวก็จะทำกลับกันกับคนทั่วไป ดังนั้นยาที่แพทย์ สั่งให้กินตอนเช้าในข้อ 1.1 และ 1.2 ควรเปลี่ยนไปกินตามตัวอย่างต่อไปนี้ โดย แบ่งช่วงเวลาในการกินอาหาร 3 มื้อและก่อนเข้านอน เช่น มื้อแรก 17.00- 18.00 น. แทนมื้อเช้าควรใช้ยากินตอนเช้าหลังมื้อนี้ มื้อที่สอง 21.00-22.00 น. มื้อที่สาม 01.00-02.00 น. ช่วงก่อนนอน 05.00-06.00 น. เป็นต้น (สามารถปรับ ช่วงเวลาตามวงจรชีวิตปกติของผู้ป่วย) 7
  • 11. 8 ยากินก่อนนอน 1. ทำไมจึงต้องกินยาก่อนนอน ตัวอย่าง ยาที่ควรกินตอนก่อนนอน ได้แก่ 1.1 ยาที่กินมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก ยาแก้แพ้ แก้คัน ยาลดอาการวิงเวียน ยาคลายเครียด ยากินเวลานอนไม่หลับ ดังนั้นการ กินยากลุ่มนี้ก่อนนอน โดยมากนอกจากจะทำให้เรารักษาอาการหลักที่เราเป็นแล้ว ยังเป็นการนำเอาผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์ในแง่ที่ทำให้เราหลับสนิท และพักผ่อนได้ดีขึ้น 1.2 ยามีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการเวียน ศีรษะ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ การกินยากลุ่มนี้ก่อนนอนจะทำให้ ผลของการเกิดการคลื่นไส้ลดลงเนื่องจากขณะเกิดอาการอาการข้างเคียงอยู่ระหว่าง นอนหลับ อีกทั้งยังมีผลดีในการช่วยให้ไม่ให้ลืมกินยา(โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด) อีกด้วย 1.3 ยาที่ต้องใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ เช่น ยาระบายชนิดต่างๆ โดย มากแพทย์ หรือเภสัชกรจะแนะนำให้กินก่อนนอน เนื่องจากยากลุ่มนี้จะมีระยะเวลา ออกฤทธิ์ภายหลังจากการกินยาแล้วประมาณ 6-8 ชั่วโมง การกินก่อนนอนจะช่วยให้ ถ่ายตอนเช้า ขณะที่ตื่นนอนพอดี 2. ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืนจะปฏิบัติตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องทำงานกลางคืน ช่วงเวลาที่ตื่น คือช่วงเวลากลางคืน และช่วงเวลา ที่หลับมักจะเป็นช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นการปฏิบัติตัวก็จะต้องทำตรงข้ามกับ คนทั่วไป คือ ควรเปลี่ยนวิธีกินยาที่แพทย์สั่งให้จากเดิม กินหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน เปลี่ยนเป็น หลังอาหาร เย็น กลางคืน มื้อดึก และมื้อใกล้เช้า หรือจะให้ง่าย ก็นับเวลา แต่ละมื้อให้ห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมง ตามตัวอย่างการแบ่งช่วงเวลา ที่กล่าวในหัวข้อยากินตอนเช้า ในหัวข้อที่ 2 (สำหรับผู้ที่ทำงานกลางคืน) เช่นมื้อ ก่อนนอน คือ ประมาณ 05.00 -06.00 น. คือก่อนที่จะนอนในช่วงเช้าแทน
  • 12. การตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น ท่านควรตรวจสอบสภาพยาเบื้องต้น ก่อนรับยาจากสถานพยาบาล และควร ตรวจสอบอีกครั้งเมื่อท่านจะต้องใช้ยา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ยาเม็ด ต้องมีสี กลิ่น และลักษณะเม็ดคงเดิม ไม่มีการกระเทาะร้าว หรือไม่มีรอยด่างที่เม็ดยา 2. ยาแคปซูล ต้องไม่นิ่ม หรือแข็งผิดปกติ หรือมีการหลอมติดกัน บรรจุภัณฑ์ ต้องไม่มีรอยปูด พอง บวม 3. ยาที่เป็นผง หรือยาน้ำแขวนลอย ต้องไม่เกาะกันเป็นก้อน หรือไม่เปลี่ยนสี ไปจากเดิม 4. ยาน้ำใส ต้องไม่ขุ่นผิดปกติ หรือมีผง ตะกอนแขวนลอย หรือจับกัน เป็นฝ้า หรือมีผลึก ตะกอนที่ก้นขวด 5. ยาครีม ขี้ผึ้ง โลชั่น ต้องไม่แยกชั้น หดตัวหรือมีผิวหน้าที่แห้งเกินไป หรือ มีลักษณะที่เยิ้มเกินไป 6. ยาสอดทวาร ต้องไม่นุ่ม หรือแข็งเกินไป หรือมีลักษณะอื่นๆที่ผิดปกติ เช่น สี กลิ่น ตะกอน หรือมีการบวม 7. สมุนไพร ต้องไม่มีลักษณะที่ชื้น หรือมีเชื้อรา หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ในเรื่องของการตรวจสภาพยา สามารถสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เภสัชกรประจำสถานพยาบาล การตรวจสอบยาเบื้องต้นสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า หากพบว่า สี กลิ่น รส รูปลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติ ให้ปฏิเสธที่จะรับยานั้น (หากเป็นยาจาก สถานพยาบาล หรือร้านขายยา) หรือทิ้งยานั้นไป (หากเป็นยาที่เราเก็บไว้ที่บ้าน) 99
  • 13. 10 การเก็บ ตรว ตรว แย จัดวา จัดเก็บ ในกรณีที่มียาเก่าเหลืออยู่และเป็นยาเดียวกัน เมื่อตรวจสอบวันหมดอายุแล้ว ให้จัดเรียงยา โดยให้ยาที่หมดอายุก่อน หรือยาที่ได้รับมาก่อน อยู่ด้านบนเพื่อที่จะได้หยิบใช้ก่อน แต่วิธีการใช้ยา ให้ยึดเอาตามวิธีการใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อได้รับยา เนื่องจากผู้ที่ทำการรักษา อาจทำการปรับวิธีการใช้ใหม่ เช่นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เดิมแพทย์ให้กินยาลดความดันโลหิต ครั้งละ1 เม็ดหลังอาหาร เช้า ต่อมาเมื่อคนไข้ความดันสูงขึ้น แพทย์จึงปรับยา ให้คนไข้กินเพิ่มขึ้นคือ กินครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า และเย็น แต่คนไข้ยังมียาที่ได้รับครั้งก่อนหน้าเหลืออยู่ ให้คนไข้กินยาที่เหลือ ในชุดเดิมก่อน แต่ให้กินตามฉลากที่คนไข้ได้รับไปใหม่ คือ ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า และเย็น เป็นต้น 1. มีลักษณะที่ผิดจากปกติหรือไม่ 2. บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ 3. ภาชนะที่บรรจุยาปิดสนิทดีหรือไม่
  • 14. บรักษายา ได้รับยามา วจดูสภาพของยา วจดูวันหมดอายุ ยกชนิดของยา างลำดับการใช้ยา บในบริเวณ และสภาวะ ที่เหมาะสม สิ่งที่เราคำนึงถึงในการแยกประเภท 1. ยาใช้ภายนอก/ยากิน/ยาฉีด 2. ยาเก็บในตู้เย็น/เก็บที่อุณหภูมิห้อง สิ่งที่ไม่ควรทำ 1. ไม่ควรเก็บยาไว้ใช้ตลอดกาล 2. ไม่เก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน 3. ไม่หยิบยาในที่มืด 4. ไม่ควรให้ยาที่เหลือของเรากับผู้อื่น 5. ไม่ควรเก็บยาในที่ซึ่งเด็กจะหยิบเองได้ 6. ไม่ใช้ยานั้นหากสภาพยามีการเปลี่ยนแปลง ผิดปกติ (ดูเรื่องการตรวจสอบสภาพยา) 1. ยาที่เราได้รับมาหมดอายุหรือไม่ ? 2. จะหมดอายุเมื่อไร ? 3. เราจะใช้ยาได้หมดก่อนวันหมดอายุ หรือไม่ ? 11
  • 15. 12 การเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง 1. เก็บให้พ้นแสง(แสงแดดส่องไม่ถึง)พ้นจากความร้อน ความชื้น คือ ไม่ควรเก็บในห้องน้ำ ห้องครัว ในตู้เย็น 2. ควรเก็บในที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (ที่เย็น) 3. แยกยาใช้ภายนอก และยากินออกจากกัน 4. ปิดฝาให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้ยา และเก็บในที่พ้นมือเด็ก 5. ตรวจสอบยาที่เก็บไว้เป็นระยะเพื่อป้องกันยาหมด อายุ และยาเสื่อม 6. ควรจัดเก็บยาพร้อมฉลากยา ไม่ควรเก็บยา ต่างชนิดกันในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน ยากิน ยาเม็ด ยาเม็ดแคปซูลนิ่ม ยา ยาผงแห้งที่ยังไม่ผสมน้ำ ยาน้ำ ยาใช้เฉพาะที่ /ยาใช้ภายนอก ยาพ่น ยาใส่แผล โลชั่น แผ่นแปะผิวหนัง ยาครีม ยาสอดช่องคลอด
  • 16. การเก็บยาในตู้เย็น 1. จัดบริเวณที่เก็บยาแยกจาก อาหาร และของ อย่างอื่นที่แช่อยู่ 2. แยกยาใช้ภายนอก และยากินออกจากกัน 3. เก็บในอุณหภูมิประมาณ 2-8 องศาเซลเซียส หรือในตู้เย็นช่องธรรมดา 4. ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็ง ช่องใต้ช่องแช่แข็ง ฝาตู้เย็น หรือช่องล่างสุดที่ใช้แช่ผัก เพื่อหลีก เลี่ยงความร้อน-เย็น เกินไป ตัวอย่างยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น ยากิน ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดผงแห้ง หากผสมน้ำแล้วให้เก็บในตู้เย็น และมีอายุ ไม่เกิน 7 วันหลังผสมน้ำแล้ว ยาผงแห้งที่ผสมน้ำแล้ว ยาใช้เฉพาะที่ /ยาใช้ภายนอก ยาฉีดเบาหวาน ยาหยอดตาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาเหน็บทวาร 13
  • 17. 14 การตรวจสอบวันหมดอายุ 1. ตรวจสอบจากวันหมดอายุ โดยให้สังเกตคำว่า : วันหมดอายุ, วันสิ้นอายุ, ควรใช้ก่อน, Expiration date, Exp. Date, Expiring, Use by ,Use before, before ยาสิ้นอายุ วันที่ 28 เม.ย. 55 หมายความว่า ควรใช้ยาก่อน วันที่ 28 เมษายน ปี พ.ศ. 2555 EXP. 270311 หมายความว่า ควรใช้ยาก่อน วันที่ 27 มีนาคม ปี ค.ศ. 2011 หรือ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 2. ตรวจสอบจากวันผลิต :ในฉลากไม่พบวันหมดอายุ ให้สังเกตจากวันผลิต โดยให้สังเกตคำว่า วันผลิต, Manufacturing date, Mfg date, Manu date, MFG วันหมดอายุของยาเม็ด = วันผลิต + 5 ปี วันหมดอายุของยาน้ำ = วันผลิต + 3 ปี หากเป็นยาเม็ดควรใช้ก่อน วันที่ 17 เดือนมีนาคม ปีค.ศ.2014 MFG. 17/03/2009 หมายความว่า ยานี้ผลิตเมื่อ วันที่ 17 เดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2009 หากเป็นยาน้ำ ควรใช้ก่อน วันที่ 17 เดือนมีนาคม ปีค.ศ.2012
  • 18. 3. ตรวจสอบจากวันที่ได้รับยา :ในฉลากไม่พบวันหมดอายุ และยาที่เราได้รับ เป็นยาแบ่งบรรจุ (ยาที่เป็นเม็ดๆ อยู่ในซองซิปไม่ได้บรรจุอยู่ในแผง) ให้เรานับวันหมด อายุจากวันที่เรารับยาไปอีก 6 เดือน วันที่ปรากฎ คือวันที่เราไปรับยา หากเป็นยาที่มีการแบ่งบรรจุ เป็นเม็ดๆ เราจะนับจากวันที่เรารับยาไปอีก6 เดือน คือเราควรใช้ยาก่อนวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 การแปลงปีจากค.ศ. เป็นพ.ศ. ปีพุทธศักราช = ปีคริสต์ศักราช + 543 เช่น ฉลากที่หมดอายุในปี ค.ศ.2011 จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2011+543 = 2554 เป็นต้น Rx 1515
  • 19. 16 อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์ เป็นผลจากยาที่ไม่ต้องการให้เกิดระหว่างการรักษา โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่ ผลข้างเคียงของยา และการแพ้ยา ผลข้างเคียงของยา หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนั้นๆ ในขนาด ปกติที่ให้ผลการรักษา เช่น - ยาลดน้ำมูก มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปากแห้ง - ยาแก้ปวดอักเสบ (NSAIDs) มีผลข้างเคียง คือระคายกระเพาะ ทำให้เกิด คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ปวดท้อง ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาสามารถลดความรุนแรงหรือแก้ไขได้ ถ้าหากผู้ใช้ยามี ความเข้าใจในผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ใช้ยาที่มีผลทำให้ง่วง ไม่ควรขับรถหรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ใช้ยาที่มีฤทธิ์ ระคายกระเพาะ ควรจะกินหลังอาหารทันที พร้อมกับดื่มน้ำ ตามมากๆ
  • 20. การแพ้ยา เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกาย จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคย ได้รับยานั้นมาก่อน แล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านกับยานั้น ต่อมาเมื่อได้รับยานั้นอีก จึงเกิดอาการแพ้ยาขึ้น การแพ้ยาอาจเกิดทันทีทันใด หรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ อาการแพ้ยาได้แก่ มีผื่นขึ้น คัน หายใจขัด ปากบวม หน้าตาบวม พุพอง ใจสั่น เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด บางรายอาจถึงแก่ชีวิตหากแก้ไขไม่ทัน หากพบว่ามีอาการแพ้ยา ควรหยุดยา และรีบกลับมาพบแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อรักษาอาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น โดยควรสอบถามชื่อยา และขอให้แพทย์ หรือเภสัชกร ออกบัตรแพ้ยาและพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้เสมอ 17
  • 21. 18 ยาสามัญประจำบ้าน ยาสามัญประจำบ้าน คือยาที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญ ประจำบ้าน ซึ่งปัจจุบันมียาอยู่53 รายการ ครอบคลุมอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆที่มักจะพบ ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง (หากกินตามฉลากแนะนำ) ประชาชนสามารถเลือกซื้อจากร้านทั่วไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อจากร้านขายยา หรือได้รับ จากสถานพยาบาล จึงเป็นหนทางในการประหยัดอย่างหนึ่ง และควรมีติดบ้านไว้เพื่อ การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย การสังเกตว่ายาใช่ยาสามัญประจำบ้านหรือไม่ ให้สังเกตที่อักษร ที่เขียนว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” และต้องอยู่ในกรอบสีเขียวด้วย และการเลือกซื้อยาสามัญประจำบ้านก็เหมือนกับยาอื่นๆ คือต้องตรวจดู สภาพของยา ดูวันหมดอายุ วิธีการใช้ยา ข้อควรระวัง ผู้ผลิตยา 18 ยาสามัญประจำบ้าน
  • 22. รายการยาที่ควรมีสำรองไว้ที่บ้าน ตัวอย่างยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีเก็บไว้บรรเทาอาการเบื้องต้นที่อาจพบ ในชีวิตประจำวันของเรา ได้แก่ 1. ยารักษาอาการปวดหัว มีไข้ เช่น พาราเซตามอล 2. ยารักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง เช่นยาธาตุน้ำแดง 3. ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่ 4. ยาระบาย เช่น ยาระบายมะขามแขก 5. ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ลดอาการผื่นแพ้ คัน เช่น ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีน 6. ยาแก้ไอ ขับเสมหะ เช่น ยาอมมะแว้ง 7. ยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก 8. ยาทาบรรเทาอาการผดผื่นคัน เช่น คาลาไมน์ 9. น้ำเกลือล้างแผล ยาใส่แผลสด พร้อมอุปกรณ์ทำแผล เช่น ยาทาแผลโพวิโดนไอโอดีน 10. ยาทาถูนวด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น บาล์มตำราหลวง โดยประชาชนสามารถเลือกเฉพาะรายการยาที่จำเป็น โดยสามารถซื้อได้ จากศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ร้านขายยาแผนปัจจุบัน และร้านค้าขององค์การเภสัชกรรม 1919
  • 23. 20 การเลือกซื้อยาบรรจุเสร็จ 1. ชื่อการค้า เป็นชื่อยาที่บริษัท ต่างๆตั้งขึ้นเพื่อการค้า จะมีความแตกต่าง ของชื่อในแต่ละบริษัทถึงแม้ว่าจะเป็นตัว ยาสำคัญเดียวกัน เช่น ไทลีนอล, ซาร่า, พาราแคป ล้วนแต่มีตัวยาพาราเซตามอล เหมือนกัน หรืออาจจะสังเกตจากเครื่องหมาย ® มักอยู่ด้านบนขวาของชื่อการค้า 2. ชื่อสามัญทางยา เป็นชื่อสารออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาพาราแคป, ไทลีนอล ชื่อสามัญทางยาคือ พาราเซตามอล 3. ขนาดยา จะเป็นตัวบ่งบอกความแรงของตัวยา มักจะอยู่ท้าย ชื่อสามัญทางยา เช่น ถ้าเขียนว่า ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. หมายถึง ในยา 1 เม็ด มีตัวยาพาราเซตามอล 500 มก. 7. 1. 4. 5. 6. 2.+3. ® 8. 5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตยา หรือผู้ที่นำเข้ายา หากไม่มีสถานที่ผลิตระบุไว้ ไม่ควรซื้อยานั้น 6. วันเดือนปีที่หมดอายุ เราควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือรับยาทุกครั้ง 7. วิธีการใช้ยา จำนวนที่ต้องใช้ ความถี่ หรือเวลาที่จะต้องใช้ยา ถ้าไม่ เข้าใจให้ถามเภสัชกรก่อน 8. ข้อควรระวังของยา คำเตือน ควรอ่านและทำความเข้าใจให้ละเอียด ทุกครั้งก่อนการใช้ยา 4. เลขทะเบียนตำรับยา คือเลขทะเบียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ออกให้กับบริษัทเมื่อมีการขึ้นทะเบียนยา โดยมากมักมีคำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา หากยาใดไม่มีเลขทะเบียนนี้ไม่ควรซื้อ
  • 24. กำพล ศรีวัฒนกุล, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทเมดาร์ท จำกัด; 2532 ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยา สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2549 เรวดี ธรรมอุปกรณ์, สาริณีย์ กฤติยานันต์. ใช้ยา-ต้องรู้ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา;2551 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย). สารพันคำถามเรื่อง ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ;2547 มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ. หยูกยาน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:บริษัท โรงพิมพ์อักษร สัมพันธ์ (1987) จำกัด;2549 จตุพร ทองอิ่ม, ดวงรัตน์ นิยมไทย, ฑิฆัมพร สุริยะมิตรชัย และคณะ.ห่วงใย ผู้สูงอายุจากใจเภสัชกร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ;2545 http://www.childrenhospital.go.th/main/ph/PEOPLE/ADR/ADR.HTM แพทย์หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี บรรณานุกรม
  • 25. ISBN : 978-616-7217-23-9 หน่วยงานผู้จัดทำ กลุ่มงานวิชาการและแผนงาน กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษา พญ.มนทิรา ทองสาริ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย นพ.ชวินทร์ ศิรินาค รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย นพ.โกวิท ยงวานิชจิต รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ภญ.ศรีวิมล จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการกองเภสัชกรรม คณะผู้จัดทำ ภญ.รัชนี แผ่นมณี ภญ.ชุติกาญจน์ ตรีนวภัทร ภญ.อัคพร อ่วมสวัสดิ์ ภญ.กัญญารัตน์ ศักดิ์พิสุทธิพงศ์ ภก.สุรกิจ ถาวรศักดิ์ ภก.เดชาชัช สายเมธางกุร ภญ.กุลธิดา เหลืองอ่อน นางสาวรัชนี แซ่ลิ้ม บรรณาธิการ ภญ.รัชนี แผ่นมณี พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) มีนาคม 2554 จำนวน 50,000 เล่ม พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 02-218 3563-4
  • 26. 22