SlideShare a Scribd company logo
1 of 73
Download to read offline
แผนงานวิจัยหลัก
การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
Research for developing of discharge planning model
for elderly patient by multidisciplinary team of
The Supreme Patriarch Center on Aging
งานวิจัยย่อย เรื่อง
รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อมสำ�หรับญาติและผู้ดูแล
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
Discharge planning model for elderly patient
with dementia by multidisciplinary team
กคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
คำ�นำ�
	 คู่มือ “ความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำ�หรับญาติและ
ผู้ดูแล” นี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำ�เนินโครงการวิจัย เรื่องรูปแบบ
การวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโดย
ทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเนื้อหา
ภายในของคู่มือเล่มนี้ จะเป็นความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมตลอดจนวิธีการดูแล
ผู้ป่วย และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ และเป็นการส่งเสริม
ความรู้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
	 ทีมวิจัยศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุหวังว่าคู่มือเล่มนี้
จะเป็นประโยชน์แก่อาสาสมัคร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้ที่อยู่
ใกล้ชิดผู้ป่วยและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ซึ่งมีแนวทางในการนำ�ไปปฏิบัติได้จริงตลอด
การดำ�เนินโครงการวิจัย รวมทั้งเนื้อหาที่สามารถนำ�ไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำ�วันได้
	 คณะผู้จัดทำ�
ข คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
สารบัญ
หน้า
ทำ�ความรู้จักกับโรคสมองเสื่อม 	 1
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเป็นการขี้ลืมธรรมดาๆ 	 2
อะไรทำ�ให้สมองเสื่อม 	 3
อาการที่สำ�คัญของโรคสมองเสื่อม 	 5
โรคสมองเสื่อมรักษาหรือป้องกันได้หรือไม่ 	 9
ข้อควรคำ�นึงเบื้องต้นสำ�หรับผู้ดูแลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 	 10
ปัญหาต่างๆ และแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 	 11
โรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลอย่างไร 	 36
หลักการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 	 38
อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อม 	 39
ปัญหาโภชนาการในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 	 40
ความสัมพันธ์ทางโภชนาการกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 	 42
การบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำ�งานของสมอง 	 52
การออกกำ�ลังสมอง (Neurobics exercise) 	 57
การเลือกสถานพยาบาลที่จะฝากให้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 	 61
องค์กรที่ให้ความรู้ และความช่วยเหลือผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแล 	 62
การติดตามผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่หายออกจากบ้าน 	 63
1คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ทำ�ความรู้จักกับโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม คืออะไร
	 โรคสมองเสื่อม(dementia)เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติ
ในการทำ�งานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน
แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำ�
และการใช้ความคิดด้านต่างๆ ความสามารถของบุคคลลดลง ผู้ป่วยจะสูญเสีย
ความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีพฤติกรรมแปลกๆ
บุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความผิดปกติในการใช้ภาษา การคำ�นวณ ความคิดริเริ่ม
ความเข้าใจ และส่งผลกระทบต่อการทำ�งาน รวมถึงการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน
แต่กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุนั้นต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจาก
อายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม หากเป็นอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากอายุที่
เพิ่มขึ้นนั้น โดยมากจะสูญเสียความจำ�เพียงอย่างเดียวซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดย
ไม่มีผลต่อการทำ�งานหรือการใช้ชีวิตประจำ�วัน โรคในกลุ่มอาการสมองเสื่อมที่
พบบ่อย คือโรคอัลไซเมอร์
	 โรคสมองเสื่อม เป็นโรคผู้สูงอายุ พบในผู้สูงอายุที่มีอายุมาก กว่า 60 ปี
ร้อยละ 3.4 โดยโรคสมองเสื่อมในประชากรไทยที่พบนั้น พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
คือ โอกาสของการเกิดโรคจะเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ประชากรที่ด้อยการศึกษา
จะเป็นโรคนี้มากกว่าประชากรที่มีการศึกษาดีและผู้สูงอายุในเขตเมืองใหญ่ จะมี
โอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในเขตที่เจริญน้อยกว่า และพบว่าโรคสมอง
เสื่อมมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง คาดว่าโอกาสการเกิดโรคที่พบนี้
สัมพันธ์กับการบริโภคเกลือและภาวะเครียดในกลุ่มคนเมือง
2 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อม
หรือเป็นการขี้ลืมธรรมดาๆ
	 ความแตกต่างระหว่างอาการลืมปกติ และการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางครั้งเกิดอาการสงสัยว่าผู้สูงอายุเอง
เป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ โดยมาพบแพทย์ด้วยอาการว่าบางครั้งเมื่อจอดรถแล้ว
ขึ้นไปทำ�งาน เกิดอาการไม่แน่ใจว่าล็อคกุญแจรถแล้วหรือยัง ต้องกลับไปดูอีกครั้ง
หรือบางครั้งเมื่อจากบ้านแล้ว ไม่แน่ใจว่า ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว
จากอาการดังกล่าวเป็นอาการที่พบได้ในคนทั่วไป การที่จำ�แนกว่าเป็นอาการที่
พบได้ในคนทั่วไป การที่จำ�แนกว่าเป็นการลืมที่ธรรมดา หรือเป็นการหลงลืมจาก
ภาวะสมองเสื่อมนั้น มีหลักง่ายๆ คือ
	 หากจำ�ได้ว่าลืมทำ�อะไรถือเป็นการลืมธรรมดาๆเมื่อมีการฝึกเตือนตนเอง
จะช่วยให้แก้ไขความจำ�ให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าจำ�ไม่ได้เลยว่าเคยทำ�อะไรหรือลืมอะไร
อาจสงสัยได้ว่ามีภาวะสมองเสื่อมแล้ว ซึ่งเมื่อผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกว่าตนเองหรือ
ผู้ที่ตนดูแลอยู่นั้นมีความจำ�ผิดปกติหรือมีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ อาจมาปรึกษา
แพทย์
การวินิจฉัยโรค
	 เมื่อมีอาการน่าสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการทดสอบสมรรถภาพ
ของสมองซึ่งผลจากแบบทดสอบสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่
หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำ�การตรวจพิเศษเพิ่มเติม
เช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไปเพื่อคัดแยกโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสมองที่มี
ผลต่อความจำ�หรือทำ�ให้สมองเสื่อม เมื่อแยกโรคทั่วไปออกแล้ว แพทย์ก็จะทำ�การ
ตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง โดยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เช่น CT MRI
หรือ PET scan ก็จะทำ�ให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง
3คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
อะไรทำ�ให้สมองเสื่อม
สาเหตุโรคสมองเสื่อม
	 สมองเสื่อมเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง การที่สมองเสื่อมได้นั้นเป็น
ผลจากเนื้อหรือเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ� พฤติกรรม บุคลิกภาพ
มีจำ�นวนลดลงมีการเสื่อมสลายหรือมีการตายเกิดขึ้นทำ�ให้เซลล์สมองที่เหลืออยู่
ไม่สามารถทำ�งานได้ตามปกติ จึงเกิดอาการบกพร่อง ทางความสามารถของ
สมองขึ้น สาเหตุโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยๆ ได้แก่
	 1. 	การเสื่อมสลายของเซลล์สมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
เกิดจากปัญหาหลอดเลือดสมอง (ตีบ ตัน หรือแตก) ทำ�ให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยง
สมองลดลงถ้าลดลงมากจนถึงระดับที่ไม่เพียงพอกับการใช้งานของสมอง ซึ่งจะ
ทำ�ให้เนื้อสมองตายไปซึ่งพบได้บ่อยในประเทศไทย
	 2. 	การขาดสารอาหารบางชนิดโดยเฉพาะวิตามินบี 1 หรือวิตามินบี 12
วิตามินบี 1 เป็นสารช่วยให้การทำ�งานของเซลล์สมองเป็นไปอย่างปกติผู้ที่ขาด
วิตามินบี1มักจะพบในผู้ป่วยที่ติดเหล้าหรือเป็นพิษสุราเรื้อรัง คนกลุ่มนี้มักจะกิน
เหล้าจนเมาและไม่ได้กินอาหารที่เพียงพอส่งผลให้เซลล์สมองทำ�งานไม่ได้ตามปกติ
จนอาจถึงขั้นที่เซลล์สมองเสียหายหรือตายไปส่วนวิตามินบี 12 นั้น ก็มี
ความจำ�เป็นต่อการทำ�งานของสมอง ซึ่งผู้ที่ขาดวิตามินชนิดนี้มักพบในผู้ป่วยที่
เคร่งในการรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากวิตามินบี 12
ได้จากนํ้าปลาหรือจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู ดังนั้นคนที่รับประทานมังสวิรัติ
จึงควรได้รับวิตามินเสริมเป็นครั้งคราว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ
ร่างกาย นอกจากนี้ อาจพบการขาดวิตามินบี 12 ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
กระเพาะอาหารและลำ�ไส้เล็กส่วนต้นออกไป ทำ�ให้ขาดสารอาหารบางอย่างที่
ช่วยหรือจำ�เป็นในการดูดซึมวิตามินบี 12 จากกระเพาะอาหารและลำ�ไส้เข้าสู่
ระบบของร่างกาย
4 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
	 3. 	การติดเชื้อในสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสเอชไอวี (ไวรัสที่ทำ�ให้เกิด
โรคเอดส์)
	 4. 	การแปรปรวนของเมตาโบลิกของร่างกาย เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำ�งาน
มากหรือน้อยไป
	 5. 	จากการถูกกระทบกระแทกศีรษะอยู่เสมอซึ่งพบบ่อยในนักมวยหรือ
นักกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้ศีรษะกระทบสิ่งต่างๆ
	 6. 	เนื้องอกในสมองโดยเฉพาะ เนื้องอกที่เกิดจากด้านหน้าของสมอง
ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆดังนี้แขนขาไม่มีแรงมองเห็นภาพซ้อนหรืออาการที่แสดง
ว่ามีความดันในกะโหลกศีรษะมากขึ้น เช่น อาเจียนหรือปวดศีรษะ อาการต่างๆ
เหล่านี้ จะไม่พบในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองส่วนอื่น ซึ่งการที่มีผู้ป่วยมีเนื้องอก
ในสมองส่วนหน้านั้น อาจทำ�ให้บุคลิกภาพ ความจำ�และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ป่วยสมองเสื่อม
	 7. 	ช่องในสมองขยายใหญ่จากนํ้าเลี้ยงสมองคั่ง
	 8. 	ยาหรือสารที่เป็นพิษ โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อการทำ�งานของสมอง
5คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
อาการที่สำ�คัญของโรคสมองเสื่อม
	 ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจมีอาการไม่มากนัก โดยเฉพาะอาการ
หลงลืม และยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่จะทรุดหนักเมื่อเวลาผ่านไป
อาการดำ�เนินแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาด้านพฤติกรรมและอาการ
ทางระบบประสาทอื่นๆตามมาซึ่งอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมีดังนี้
	 ความจำ�เสื่อม โดยเฉพาะความจำ�ระยะสั้น หรือมีความบกพร่องในการ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันมากเกินวัย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุใกล้
เคียงกัน เช่น การวางของแล้วลืม จำ�นัดหมายที่สำ�คัญไม่ได้ ลืมไปแล้วว่าเมื่อสักครู่
พูดอะไร ใครมาพบบ้างในวันนี้ และหากมีความรุนแรงมากขึ้นความจำ�ในอดีต
ก็จะเสื่อมด้วย
	 ไม่สามารถทำ�สิ่งที่เคยทำ�ได้ เช่นลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร
ทั้งที่เคยทำ�
	 มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซํ้าๆ ซากๆ เรียกชื่อคน
หรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำ�บากในการหาคำ�พูดที่ถูกต้อง ทำ�ให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ
	 มีปัญหาในการลำ�ดับทิศทางและเวลา ทำ�ให้เกิดการหลงทาง หรือ
กลับบ้านตัวเองไม่ถูก
	 สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยากๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้
มีการตัดสินใจผิดพลาด
	 วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่
เหยือกนํ้า เป็นต้น
	 อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้
เดี๋ยวก็สงบนิ่ง
	 บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้าหรืออาจจะ
มีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจไม่สามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบนํ้า เข้าห้องนํ้า จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
6 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
หากแบ่งลำ�ดับอาการของโรค สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย)
	 ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือตั้งใจจะทำ�
เช่น จำ�ไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน จำ�ชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ไม่ค่อยมีสมาธิ
ส่วนความจำ�เกี่ยวกับอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคม
อย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำ�วันได้ และ
การตัดสินใจยังค่อนข้างดี
ระยะที่ 2 (ภาวะสมองเสื่อมระดับระดับปานกลาง)
	 เมื่อโรคดำ�เนินต่อไปจากระยะที่ 1 ในระยะนี้ความจำ�จะเริ่มเสื่อมมากขึ้น
มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา
และการตัดสินใจ เช่น ไม่สามารถคำ�นวณตัวเลขง่ายๆ ได้ การกะระยะทาง
เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ทำ�อาหารที่เคยทำ�ไม่ได้ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทำ�ได้มาก่อน
หรือยืนดูนํ้าล้นอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร ลืมแม้กระทั่งชื่อคนใน
ครอบครัว ในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน
หลงผิดหลงลืม ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้
อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจำ� เป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร
ระยะที่ 3 (ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรง)
	 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยแม้แต่การทำ�กิจวัตร
ประจำ�วัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจำ�ก็ไม่สามารถจำ�สิ่งที่เพิ่ง
เกิดขึ้นได้เลย จำ�ญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จำ�ไม่ได้ มักเดินหลงทางใน
บ้านตนเองมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปเคลื่อนไหวช้าหรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้แม้แต่
สุขอนามัยของตนเองก็ดูแลไม่ได้ เช่น กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการ
แทรกซ้อนที่ทำ�ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
7คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
สรุป อาการเตือนและอาการที่เกิดขึ้นของโรคสมองเสื่อม
มีลักษณะ ดังนี้
	 1.	 หลงลืม ซึ่งมีผลต่อชีวิตประจำ�วัน
	 2.	 ทำ�กิจวัตรที่เคยทำ�ไม่ได้
	 3.	 มีปัญหาในการใช้ภาษา
	 4.	 ไม่รู้เวลา
	 5.	 การตัดสินใจแย่ลง
	 6.	 มีปัญหาในการคิดแบบนามธรรม
	 7.	 วางของผิดที่
	 8.	 มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป
	 9.	 บุคลิกเปลี่ยน
	 10.	ขาดความคิดริเริ่ม
8 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคสมองเสื่อม
	 	 ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
	 	 ภาวะซึมเศร้า
	 	 การรับประทานอาหารไม่ครบหมู่ หรือการขาดวิตามินหรือเกลือแร่
บางชนิดในร่างกาย
	 	 เนื้องอกในสมอง
	 	 โรคหลอดเลือดบางชนิด
	  	ปัญหาจากต่อมทัยรอยด์
9คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
โรคสมองเสื่อมรักษาหรือป้องกันได้หรือไม่
	 โรคสมองเสื่อมนั้นบางประเภทอาจรักษาได้แต่บางประเภทอาจรักษา
ไม่ได้ หากเป็นผู้ป่วยสมองเสื่อม ที่เกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่างเช่น
วิตามิน B1, B12 หรือผู้ป่วยที่มีการแปรปรวน ของระบบเมตาโบลิกของร่างกาย
เมื่อได้รับการรักษาแล้ว อาการสมองเสื่อมจะดีขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น
หรือความเสียหายของสมอง ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าความเสียหายไม่มากนัก
และได้รับการแก้ไขตามเวลาที่เหมาะสมตลอดจนเนื้อสมองไม่ถูกทำ�ลายไปมาก
ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น และเมื่อรักษาแล้ว อาการก็จะทรงอยู่ในลักษณะนี้เรื่อยๆ
แต่หากเป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสลายของสมอง ปัญหา
หลอดเลือดสมอง การติดเชื้อในสมองหรือจากการกระทบกระแทก ผู้ป่วยเหล่านี้
จะไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งอาจมียาบางประเภทที่ช่วยชะลออาการของผู้ป่วย
แต่ในที่สุดเมื่อมีอาการมากขึ้น อาการสมองเสื่อมของบุคคลนั้น จะมีอาการ
ทันคนอื่นทีไม่ได้รับยาเช่นกัน
	 สำ�หรับโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ แม้ในปัจจุบันยังไม่มีทางป้องกัน
เฉพาะโรค แต่เชื่อว่าการทำ�กิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ
สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคหรือชะลอความเสื่อมของสมองลงได้บ้างในผู้ที่
เกิดโรคแล้ว ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนส่งเสริมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใน
ผู้สูงอายุ เช่น การออกกำ�ลังกายด้วย แอโรบิคด๊านซ์ ลีลาศ รำ�มวยจีน กีฬาเปตอง
รำ�วง นั่งสมาธิ หรือร้องเพลง ตลอดจน การตรวจสุขภาพร่างกายและการได้รับ
ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับโรคต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่
แข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตที่ดีช่วยในเรื่องของการฝึกด้านความจำ� การฝึกจิตใจ
ให้ผ่องใสหรือทำ�ให้ผู้สูงอายุรู้จักโรค และทราบแนวทางในการป้องกัน มิให้เกิด
โรคได้เพิ่มขึ้นนอกจากนั้นจะเป็นการให้ผู้สูงอายุมีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
10 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ข้อควรคำ�นึงเบื้องต้นสำ�หรับผู้ดูแล
หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
	 1.	 อาการต่างๆที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดจากโรคทางสมองมิใช่การ
แกล้งทำ�หรือความตั้งใจ
	 2.	 ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม จะมีระดับสติปัญญาลดลงจึงไม่ควร
คาดหวังที่จะให้เขาเรียนรู้ในสิ่งที่สอนหรือบอกไป
	 3.	 อาการหลายๆ อาการที่เกิดขึ้น อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
เป็นไปได้เพียงให้อาการนั้นคงอยู่แต่ไม่รบกวนผู้ป่วย หรือคนรอบข้างมากนัก
	 4.	 อาการที่พิจารณาแล้วว่า ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัย
ของคนรอบข้างและผู้ป่วยเองอาจไม่จำ�เป็นต้องรักษาเพื่อให้อาการเหล่านั้นหมดไป
	 5.	 วิธีการที่ใช้ได้ดีกับผู้ป่วยคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลเมื่อนำ�ไปใช้กับผู้ป่วย
คนอื่นหรือแม้แต่ในผู้ป่วยคนเดียวกันแต่ต่างเวลากันดังนั้นผู้ดูแลควรมีการสังเกต
และเรียนรู้จากคนรอบข้าง หรือจากประสบการณ์ของผู้อื่นร่วมด้วย
	 6.	 เมื่อใดก็ตามที่ผู้ดูแล หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยเกิดอารมณ์หงุดหงิด
ก้าวร้าว ควรระรีบเตือนตนเองและพาตนเองออามาจากผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วย
จะไม่เข้าใจว่าผู้ดูแลมีความรู้สึกอย่างไรเพราะการรับรู้ของเขาลดลง อย่างไรก็ตาม
ผู้ป่วยยังคงรับรู้ว่ามีความไม่พอใจเกิดขึ้นและอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ เพิ่มขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการรบกวนคนรอบข้างมากขึ้นส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดความหงุดหงิดเพิ่มขึ้น
ดังนั้นเมื่อผู้ดูแลออกมาพ้นมาจากผู้ป่วยแล้วควรรีบหาทางผ่อนคลาย และอาจหา
คำ�แนะนำ�จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางช่วยเหลือ
11คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาต่างๆ และแนวทาง
การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ปัญหาความสับสนเรื่องเวลาและสถานที่
	 ความสับสนเรื่องเวลาและสถานที่ อาจทำ�ให้ผู้ป่วยบางคน ตกใจตื่นขึ้น
ตอนเที่ยงคืน และแต่งตัวออกไปทำ�งานหรือคิดว่าโรงพยาบาลคือบ้านตนเอง
เป็นต้น
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ทำ�ป้ายบอกเวลากลางวันกลางคืน วางไว้ข้างเตียงนอน ในตำ�แหน่ง
ที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ง่าย โดยป้ายดังกล่าวอาจติดป้ายชื่อ รูปถ่าย หรือ
สัญลักษณ์ร่วมด้วย
	 2. 	ญาติหรือผู้ดูแล คอยพลิกป้ายให้ถูกต้องตรงตามเวลา
	 3. 	พยาบาลจัดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมเสมอ
ไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะผู้ป่วยจะจำ�ไม่ได้
ปัญหาการสูญเสียทักษะต่างๆ
	 ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมโทรมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
โดยธรรมชาติ เช่นสายตาเริ่มมองเห็นไม่ชัดเจน เวียนศีรษะ หน้ามืดตาลายง่าย
ระบบการหายใจลำ�บากรวมถึงระบบประสาทกล้ามเนื้อกระดูและข้อเมื่อบวกกับ
อาการเสื่อมทางสมองจึงส่งผลถึงทักษะในการปฏิบัติต่างๆที่เป็นกิจวัตรประจำ�วัน
อยู่บ่อยครั้ง บางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ผู้มีปัญหาในระยะแรกเมื่อเตรียม
อาการ อาจเปิดแก๊สทิ้งไว้ หรือรายที่อยู่ในระยะปานกลาง อาจเริ่มสูญเสียความ
สามารถในการดูแลตนเอง เช่น การแต่งตัว การอาบนํ้า หรือในขั้นรุนแรงอาจไม่
สามารถกลืนอาหารได้เอง เป็นต้น
12 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาความสับสนเรื่องเวลาและสถานที่
13คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ถ้าผู้ป่วยชอบทำ�งาน อย่างหนึ่งอย่างใด ก็ปล่อยให้ทำ�ต่อไป เพราะ
การได้ทำ�งานเป็นการคงสภาพทักษะต่างๆ และทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามี
ประโยชน์ต่อครอบครัวไม่ได้เป็นภาระแก่ลูกหลานซึ่งเป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิต
ที่ดีมาอย่างหนึ่ง เพียงแต่ถ้างานใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ญาติหรือ
ผู้ดูแล ต้องคอยระวังดูแลและเอาใจใส่เช่น การทำ�งานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
ต่างๆ หรืออุปกรณ์เชื้อเพลิง
	 2. 	สิ่งของบางอย่างที่ผู้ป่วยใช้บ่อยๆให้ติดป้ายชื่อวิธีใช้และข้อควรระวังไว้
อย่างถูกต้องตรงตามตำ�แหน่ง
	 3. 	บรรยากาศภายในบ้านหรือสถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ควรมีแสงสว่างเพียงพอ
ไม่มีคนพลุกพล่านหรือมีพื้นที่ห้องเหมาะสมไม่ลื่น ห้องนํ้าต้องเช็คให้แห้งอย่า
ให้เปียกแฉะหรือมีนํ้าสบู่อยู่ เพราะอาจทำ�ให้ผู้สูงอายุลื่นล้มและเป็นอันตรายได้
ผู้ป่วยบางรายที่คุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์ควรสนับสนุนให้มีการใช้และรับโทรศัพท์
ต่อไปเพียงแต่อาจต้องมีปากกา สมุดบันทึก และมีเบอร์โทรศัพท์ที่สำ�คัญและ
จำ�เป็นสำ�หรับผู้ป่วย เช่น เบอร์ของสมาชิกในครอบครัว แพทย์ประจำ�ตัว หรือ
โรงพยาบาลไว้อย่างชัดเจนใกล้เครื่องรับโทรศัพท์
ปัญหาการหลงทาง
	 ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระดับปานกลางเป็นต้นไปจะเริ่มจำ�บ้านของตนเอง
ไม่ได้ ปัญหาที่ตามมา เช่น ผู้ป่วยอาจกลับบ้านของตนไม่ได้ หาห้องนํ้าไม่เจอหรือ
อาจเดินเข้าไปในห้องนอนหรือบ้านของผู้อื่น
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ภายในบ้านควรมีป้ายชื่อ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บอกทิศทาง
เกี่ยวกับ ห้องนํ้า ห้องสุขา และหน้าห้องของสมาชิกคนอื่นๆ และมีโคมไฟหรือ
แสงสว่างให้เพียงพอ
	 2.	 ผู้ป่วยบางรายมีร่างกายแข็งแรง ชอบออกไปนอกบ้าน อาจมีบัตร
ประจำ�ตัว บอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลการเจ็บป่วยอยู่ในนั้นด้วย เพื่อ
ความสะดวกแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนำ�ส่งกลับบ้าน
14 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาหลงทาง
15คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาของการไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง
	 ปัจจุบันผู้สูงอายุมักจะจำ�เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ แต่จะจำ�เรื่อง
ที่ผ่านมาในอดีตได้ดีซึ่งในผู้สูงอายุสมองเสื่อมอาทิอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระดับปานกลาง
ค่อนข้างรุนแรง เป็นต้นไปจะมีระดับความรุนแรงของอาการดังกล่าวมากขึ้น
จนเป็นปัญหาต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันเช่นจำ�เหตุการณ์ ในปัจจุบันแม้กระทั่ง
ชื่อบุตร คู่สมรสหรือเมืองที่อยู่อาศัยไม่ได้ แต่กลับจำ�เหตุการณ์ในวัยตอนต้นของ
ชีวิตได้ดี
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	เริ่มจากระดับความจำ�เป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่นให้เล่าประสบการณ์
ที่ท่านเคยภาคภูมิใจในอดีตโดยอาจนำ�ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต จากอัลบั้ม
รูปเก่าๆ ภาพเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฯลฯ ให้ผู้ป่วยเล่า
	 2.	 จากนั้นจึงลำ�ดับเหตุการณ์ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันซึ่งจะช่วยฟื้น
ความจำ�ของผู้สูงอายุได้ทีละเล็กที่ละน้อยอันจะนำ�มาสู่ชีวิตในปัจจุบันได้ในท้าย
ที่สุด
	 3. 	กิจกรรมดังกล่าวหากมีหลานๆ วัยเด็กเล็กๆ เข้าร่วมด้วย จะมี
ประโยชน์มาก เพราะเด็กชอบฟังเรื่องที่เล่าซํ้าไปซํ้ามา และเป็นการเรียนวิชา
ประวัติศาสตร์ไปในตัว
ปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
	 การที่ผู้สูงอายุ มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสมาชิกใน
ครอบครัว หรือชุมชน นอกจากเป็นการคลายความทุกข์ และความกังวลแล้ว
กิจกรรมเล่านี้ ยังทำ�ให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและสังคม
นอกจากนั้นการทำ�กิจกรรมยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยอาหาร
การขับถ่ายและระบบการไหลเวียนเป็นไปด้วยดี ซึ่งเป็นการชะลอความเสื่อมทาง
ความสามารถที่ดีอีกด้วย แต่สำ�หรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ มีข้อจำ�กัด
ในการปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
16 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาลืมรับประทานยา
17คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ในกรณีที่อาการสมองเสื่อม ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงเมื่อสมาชิกใน
ครอบครัวนั่งดูรายการโทรทัศน์อาจชวนผู้ป่วยดูด้วย แต่ต้องแน่ใจว่าท่านสามารถ
ติดตามเรื่องราวต่างๆ ได้
	 2. 	เมื่อผู้สูงอายุเล่าถึงความหลังแม้ว่าจะบ่อยครั้ง แต่ผู้ที่ใกล้ชิดไม่ควร
ขัดจังหวะ ขัดแย้งหรือห้าม ควรปล่อยให้ท่านเล่าต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้
ผู้สูงอายุมีความสุขและอยากเข้าร่วมกิจกรรม
	 3. 	หาเวลาว่างที่จะพาผู้สูงอายุให้ไปตามที่ต่างๆ เช่น พาไปเยี่ยมเพื่อน
หรือญาติพี่น้อง เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขและลืมเรื่องที่กังวล
	 4. 	ผู้ป่วยที่เลื่อมใสศาสนา อาจพาไปวัด ฟังเทศน์ สนทนาธรรม หรือ
ทำ�บุญเลี้ยงพระในกรณีที่ผู้ป่วยมีความสนใจในกิจกรรมยามว่างใดก็ตามเป็นพิเศษ
ลูกหลานควรให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วม
ปัญหาลืมประทานยา
	 ปัญหาที่มักพบ คือ ผู้ป่วยมักลืมเรื่องรับประทานยา จำ�ไม่ได้ว่าทานแล้ว
หรือยัง บางครั้งไม่ได้ทานเลย บางครั้งอาจทานเกินขนาด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	 หากล่องจ่ายยาจากร้านขายยา มาใช้ในการกำ�หนดเวลารับประทานยา
โดยอาจบรรจุยาตามเวลา เป็นวันอาทิตย์ ตามระดับความจำ�ของผู้ป่วย โดยมีญาติ
หรือผู้ดูแลคอยเช็คปริมาณยาจากล่อง
	 2. 	อาจใช้เสียงนาฬิกาปลุกช่วยในการเตือนความจำ�ของผู้ป่วย โดยอาจ
เป็นเสียงแปลกๆ เช่น เสียงคน หรือ เป็นเสียงเตือนอื่นๆ ตามความเหมาะสม
18 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาด้านการสื่อสาร
19คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาด้านการสื่อสาร
	 ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปจะมีการสูญเสียทักษะในการสื่อสารกับ
บุคคลอื่นเพิ่มขึ้นโดยอาจเริ่มจากการจำ�ชื่อคนวัตถุสิ่งของ และสถานที่ต่างๆ ไม่ได้
จนถึงขั้นสุดท้ายอาจพูดได้แค่ 5-6 คำ�หรือ พูดเพียงแค่คำ�ใดคำ�หนึ่งซํ้าไปซํ้ามา
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ญาติหรือผู้ดูแลอาจช่วยพูดแทน ในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อสาร
โดยสังเกตจากสีหน้าท่าทางและการแสงออกเพราะผู้ป่วยเหล่านี้ มักมีปัญหาทาง
การสื่อสารด้านภาษาพูดเท่านั้น แต่ภาษาท่าทางต่างๆ ยังเข้าใจและสื่อสารได้
	 2. 	ควรตรวจให้แน่ใจว่า ผู้ป่วยได้ยินสิ่งที่ป่วยชัดเจนหรือไม่ เนื่องจาก
ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการหูตึง หรือมีขี้หมูมากทำ�ให้การได้ยินไม่ชัดเจน
	 3. 	พยายามกำ�จัดเสียงรบกวนต่างๆ เช่น เสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ขณะที่
มีการสนทนากับผู้ป่วย
	 4. 	หากผู้ป่วยใส่ฟันปลอม ต้องแน่ใจว่า ฟันปลอมอยู่ในสภาพที่กระชับ
เหมาะเจาะ เพราะหากฟันปลอมหลวมจะทำ�ให้การพูดไม่ชัดเจน
	 5. 	พยายามพูดด้วยประโยคง่ายๆชัดเจนและมีความอดทนรอคอยและ
ให้เวลาในการตอบกับผู้ป่วย
	 6. 	ขณะสนทนากับผู้ป่วย ควรมีภาษาทางกายร่วมด้วย เช่น การจับมือ
หรือการสบตา
	 7. 	ในรายที่มีอาการสมองเสื่อมขั้นรุนแรงจนจำ�ญาติหรือผู้ดูแลไม่ได้
ในการเข้าพบผู้ป่วยต้องมีการแนะนำ�ตนเองพร้อมๆ กับเรียกชื่อผู้ป่วยทุกครั้ง
20 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาความผิดปกติทางพฤติกรรม
	 ปัญหาความผิดปกติทางพฤติกรรมพบในผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางรายเท่านั้น
ซึ่งพฤติกรรมผิดปกติที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เที่ยวเตร่
พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ หรือบางรายอาจเปลื้องผ้า
ในที่สาธารณะ พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องด้านความจำ� ทำ�ให้
แปลความหมายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผิด เช่น คิดว่าห้องรับแขกเป็นห้องนอนจึง
เปลื้องผ้า หรือคิดว่าสวนสาธารณะเป็นชายทุ่งในสมัยที่ตนเป็นเด็ก จึงสามารถ
อุจจาระปัสสาวะได้ เป็นต้น
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 ญาติหรือผู้ดูแลควรมีความเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าว และ
พยายามดูแลและเอาใจใส่ ด้วยความเคารพ นับถือรู้จักสงบสติอารมณ์และมีความ
สุขภาพ
พฤติกรรมชอบเที่ยวเตร่เถลไถล
	 พฤติกรรมนี้มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยย้อนชีวิตกลับไปสู่กิจวัตรที่เคย
ทำ�ในอดีตซึ่งปัจจุบันสถานที่เหล่านั้นไม่มีแล้ว แต่ผู้ป่วยยังฝังใจอยู่ และพยายาม
ประกอบกิจกรรมดังกล่าวดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงดูไม่เหมาะสม
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	อาจค่อยๆ นำ�ผู้ป่วยกลับมาสู่เวลาและสถานที่ปัจจุบันด้วยความ
สุภาพ หรือหากิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลินอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบ มาให้ผู้ป่วยทำ�
	 2. 	หากมีสนามหญ้าหน้าบ้านอาจให้ผู้ป่วยมาเดินเล่นเพื่อออกกำ�ลังกาย
แต่ควรล็อคประตูบ้านเพื่อความปลอดภัย
21คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาก้าวร้าว
22 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมก้าวร้าว
	 ในผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ มักมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติ
ด้านความจำ�ทำ�ให้เกิดการตัดสินใจและความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆลดลง
กิจกรรมต่างๆที่เคยทำ�นั้นทำ�ไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกในทางลบเช่นคิดว่าตนเป็น
คนไม่มีประโยชน์เป็นที่รังเกียจของลูกหลายมีความรู้สึกระแวงว่าคนปองร้ายฯลฯ
อารมณ์เหล่านี้จะแสดงออกมาเป็นก้าวร้าวเมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้น เช่น เมื่อหา
ของบางอย่างไม่พบหรือระแวงว่ามีใครมาขโมยของของตนไป
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ต้องยอมรับว่านั่นเป็นอาการเจ็บป่วยไม่ควรแสดงความไม่พอใจหรือ
ต่อปากต่อคำ�กับผู้ป่วย
	 2. 	หลีกเลี่ยงการย้ายตำ�แหน่งของใช้ของผู้ป่วยหากผู้ป่วยแสดงอารมณ์
โมโห เนื่องจากหาของไม่พบ ญาติหรือผู้ดูแลอาจเข้าไปช่วยและค่อยๆ อธิบาย
สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีโอกาส ควรเบนความสนใจไปสู่เรื่องอื่นหรือชักชวนผู้ป่วย
ออกจากสถานการณ์ที่ทำ�ให้แสดงความก้าวร้าว
23คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาด้านการอุจจาระปัสสาวะ
24 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
ปัญหาด้านการอุจจาระปัสสาวะ
	 ปัญหาด้านการอุจจาระ ปัสสาวะในผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม
ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหูรูดของท่ออุจจาระ ปัสสาวะหย่อนยานลง
ทำ�ให้การกลั้นทำ�ได้ไม่ค่อยดี เมื่อบวกกับภาวะสมองเสื่อมหาห้องนํ้าไม่พบ
หรือเข้าใจผิดคิดว่าของบางอย่างเป็นโถปัสสาวะได้ ทำ�ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ห้องนอนของผู้สูงอายุควรอยู่ชั้นล่าง อยู่ใกล้ห้องนํ้าทางเดินไม่วกวน
และเปิดไฟสว่างตลอดเวลาเพื่อความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในการลุกเข้าห้องนํ้า และ
มีความปลอดภัย
	 2. 	ทำ�เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือป้ายบอก ทิศทางไปห้องนํ้าให้
เห็นชัดอย่าให้มีสิ่งกีดขวางและไม่ควรให้ฟื้นลื่น
	 3. 	จดบันทึกเวลาขับถ่ายของผู้สูงอายุที่ เป็นอยู่ประจำ�เพื่อจะได้ช่วย
ประมาณเวลาที่จะพาเข้าห้องนํ้า
	 4. 	ให้ผู้สูงอายุมีการเข้าห้องนํ้าอย่างเป็นเวลา
	 5. 	ดูแลเรื่องการดื่มนํ้าในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น วันละ 2 - 6 แก้ว
25คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมเปลื้องเสื้อผ้าในที่สาธารณะ
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ค้นหาสาเหตุและค่อยๆ เบนความสนใจนั้นพร้อมๆ กับช่วยสวมใส่
เสื้อผ้าอีกครั้ง
	 2. 	ค่อยๆ ถามถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และอธิบายถึงสิ่งที่ผู้ป่วยเข้าใจผิด
ด้วยความสุขภาพ ไม่ควรตำ�หนิให้ผู้ป่วยอับอายจากการกระทำ�นั้น
26 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมที่ไม่ยอมนอนในเวลากลางคืน
	 ปัญหาในการนอน เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมากในผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจมี
สาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงในการนอนหลับของผู้ที่มีอายุ เช่น
หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับไม่ต่อเนื่องสมองที่เกี่ยวข้องกับการนอนเสื่อมลงหรือยา
โรคภาวะแทรกซ้อนของโรคอาจรบกวนการนอน
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	พยายามให้หลับ – ตื่นเป็นเวลา โดยเฉพาะการตื่นนอน
	 2. 	ควรจัดให้มีการออกกำ�ลังกาย หรือการเคลื่อนไหวเป็นประจำ�
สมํ่าเสมอ เช่น การเดินเล่นในตอนเช้าหรือเย็น
	 3. 	ไม่อยู่แต่ในห้อง หรือสถานที่ที่มือจนเกินไปเพราะจะทำ�ให้ผู้ป่วย
ไม่ทราบว่า เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนควรให้ผู้ป่วยได้พบแสงสว่างบ้าง
เมื่อเข้าไปในห้องที่ไม่ค่อยสว่างจะได้หลับง่ายขึ้น
	 4. 	ควรให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง การนอนหลับในเวลากลางวันอาจนอนหลับ
ได้ในช่วงบ่าย แต่ไม่ควรเกิน 15.00 น.
	 5. 	ควรมีการเตือนผู้ป่วยเป็นระยะเมื่อถึงเวลาใกล้เข้านอนเพื่อให้ผู้ป่วย
ได้เตรียมตัวและจำ�ได้ว่าถึงเวลานอนแล้ว
	 6. 	หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ตื่นเต้น ในช่วงเย็นและคํ่า เช่น การพาไปในที่
ที่มีคนมากๆหรือสถานที่ที่มีความอึกทึกเพราะจะทำ�ให้ผู้ป่วยวุ่นวายและหลับยาก
	 7. 	ไม่ควรคาดหวังให้ปัญหาการนอนหลับนั้นดีขึ้นโดยเร็ว เนื่องจาก
เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงและบางครั้ง การนอนหลับอาจดีคงที่ได้
ระยะหนึ่ง สลับกับบางวันที่มีปัญหาก็เป็นได้
	 8. 	ดูแลเรื่องยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ยาบางตัวอาจมีผลกระทบกับการนอน
27คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมไม่ยอมนอนในเวลากลางคืน
28 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
อาการหูแว่วประสาทหลอน
	 ผู้ป่วยสมองเสื่อมจำ�นวนหนึ่ง จะมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนเกิดขึ้น
เช่นได้ยินเสียงมีคนมาพูดคุยเห็นภาพต่างๆนานาซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลโดยตรง
ตรวจจากการทำ�งานที่ผิดปกติของสมองอาจเนื่องจากโรคสมองเสื่อมเองยาบางชนิด
หรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ในช่วงแรก จะไม่พบอาการเหล่านี้บ่อยนักและไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจ
มีความสามารถที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับตนเอง
	 2. 	ให้แพทย์ช่วยประเมินถึงสาเหตุ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
ว่าถึงแม้จะเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ไม่ใช่เรื่องที่อันตราย และหากอาการนั้นไม่เป็น
อันตรายต่อชีวิต และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งคนใกล้ชิดควรปลอบผู้ป่วย
ว่าไม่ต้องตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
	 3. 	เบี่ยงเบนความสนใจ ชวนคุยเรื่องอื่นเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกหมกมุ่นกับ
อาการเหล่านี้ หากต่อมามีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์ เพื่อประเมินถึง
สาเหตุและการทำ�การรักษาตลอดจนทำ�ความเข้าใจกับแพทย์ ถึงผลข้างเคียงของ
ยาหรือการรักษานั้นๆถ้าสงสัยว่าอาจเป็นผลมาจากยาบางอย่างควรปรึกษาแพทย์
29คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
อาการหูแว่วประสาทหลอน
30 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมไม่รับประทานอาหาร
	 สาเหตุของการไม่รับประทานอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
ไม่ว่าจากการเสื่อมของสมองที่เป็นมากขึ้นจนไม่สามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
คืออาหารรวมถึงการไม่รู้จักวิธีในการใช้ช้อนหรือส้อมความสามารถของการกลืน
รวมถึง การเคี้ยวอาหารเสื่อมลง ในการกลับกันบางครั้งผู้ป่วยอาจทานอาหาร
ไม่หยุดหรือทานไม่เลือกไม่ว่าสิ่งนั้นจะรับประทานได้หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้
สภาวะอารมณ์ ผลข้างเคียงของยาและโรคแทรกซ้อน ก็มีส่วนไม่น้อยในการทำ�ให้
เกิดปัญหานี้
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	ควรพาผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและแก้ไขปัญหา สุขภาพ
ในช่องปากแต่เนิ่นๆ
	 2. 	ปรึกษาแพทย์ว่ามีสาเหตุของการไม่ทานอาหารที่ตรวจพบได้หรือไม่
เช่น ปัญหาการเคี้ยวการกลืนความผิดปกติ ของอารมณ์หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
	 3. 	พยายามจัดบรรยากาศของการรับประทานอาหารให้คงเดิมสมํ่าเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา สถานที่ (รวมถึงตำ�แหน่งของเก้าอี้) ชนิดของอาหาร
ควรสังเกตว่าชอบรับประทานอาหารประเภทใด ควรเป็นอาหารประเภทเดิมๆ
ที่คุ้นเคย เคี้ยวง่ายไม่ลำ�บากต่อการกลืน
	 4. 	ยืดหยุ่นอารมณ์ของผู้ป่วยบ้างไม่จำ�เป็นต้องตรงเวลาทุกครั้ง บางมื้อ
อาจข้ามไปได้ หรือเลื่อนเวลาเข้าหรือออกได้บ้าง
	 5. 	ลดความใส่ในกับวิธีการทานอาหารบ้างอาจมีการหกเลอะเทอะใน
บางครั้ง ถ้าผู้ป่วยไม่รู้จักการใช้ช้อนส้อมอาจต้องป้อน หรือหาวิธีการช่วยในการ
รับประทานอาหารให้เป็นเรื่องง่ายๆ
	 6. 	อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการของอาหารว่าควรเสริมอาหาร
ประเภทใด เพื่อให้ผู้ป่วยได้คุณค่าทางอาหารครบ
31คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมไม่รับประทานอาหาร
32 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมชอบถามซํ้า
	 สาเหตุของพฤติกรรมนี้ เนื่องจากความสามารถในการจดจำ�ลดลง
บกพร่องไป หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์นั้นๆ
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ คุยเรื่องอื่น
	 2. 	ไม่วกกลับมายํ้า หรือทบทวนในเรื่องนั้นอีก
	 3.	 ถ้าผู้ป่วยยังสามารถพอที่จะอ่านออก และเข้าใจได้อาจใช้วิธีเขียน
คำ�ตอบ หรือเขียนข้อความให้ผู้ป่วยเก็บไว้จะได้คอยเตือนตนเอง
	 4. 	บางครั้งอาการเหล่านี้ อาจเกิดจากความวิตกกังวลอาจพูดคุยเพื่อ
ปลอบโยน และสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย
33คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมชอบถามซํ้า
34 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมไม่ชอบอาบนํ้า
	 การอาบนํ้าในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวจนเกิดการ
ต่อต้าน ไม่ยอมอาบ ส่งผลให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยในผู้ดูแลได้
	 แนวทางการช่วยเหลือ
	 1. 	พยายามจัดเวลาอาบนํ้าให้เป็นกิจวัตร ที่คงที่เป็นประจำ�สมํ่าเสมอ
เช่นหลังตื่นนอน หรือหลังการเดินเล่นตอนเช้า เป็นต้น
	 2. 	ทำ�บรรยากาศของการอาบนํ้า ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ใช่การบังคับ
	 3. 	มีการบอกผู้ป่วยล่วงหน้าว่ากำ�ลังจะต้องอาบนํ้า
	 4. 	ค่อยๆ ให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับนํ้าที่กำ�ลังจะอาบและอุณหภูมิของนํ้า
ไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไปตลอดจนยืดหยุ่นกับความต้องการของผู้ป่วยบ้าง
35คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
พฤติกรรมไม่ชอบอาบนํ้า
36 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
โรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลอย่างไร
	 1. 	ด้านจิตใจ ผู้ดูแลจะเกิดความรู้สึกสูญเสียผู้ที่ตนรัก เพราะผู้ป่วย
ระยะหลังอาจจำ�หน้าผู้ดูแลญาติมิตรไม่ได้นิสัยใจคอและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
การต้อนรับผิดชอบผู้ป่วยตลอดเวลา และต้องรับภาระหนักอย่างโดดเดี่ยว ทำ�ให้
ผู้ดูแลอาจรู้สึกว่าตนถูกทอดทิ้งส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกโกรธผิดหวังเบื่อหน่าย
เครียด ท้อแท้ วิตกกังวล ครุ่นคิดถึงปัญหา
	 2. 	ด้านร่างกาย จากการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจ ของผู้ดูแล
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะทำ�ให้ร่างกายอ่อนเพลียส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย และ
ติดเชื้อได้ง่าย
	 3. 	ด้านสัมพันธภาพ ผู้ดูแลจะเกิดปัญหาสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
จากการพูดบ่นซํ้าซาก การจู้จี้ของผู้ป่วย การพูดจาสับสนของผู้ป่วยอาจทำ�ให้
ผู้ดูแลแปลความหมายไปในทางที่ผิดได้
	 4.	 ด้านเศรษฐกิจ การที่ผู้ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ทำ�ให้ไม่สามารถ
ประกอบอาชีพได้ตามปกติส่งผลให้รายได้ของครอบครัวลดลง และเกิดปัญหาด้าน
เศรษฐกิจของครอบครัวทั้งค่ายาและค่ารักษาพยาบาล จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้
ญาติหรือผู้ดูแลจำ�เป็นต้องมีวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นโดยมีแนวทาง
ดังนี้
		 	 พยายามทำ�ความเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เช่น ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ หรือเมื่อมีโอกาส
ควรคุยปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่เคยมีญาติเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งการสร้างความเข้าใจ
จะช่วยผ่อนคลายความรู้สึกขัดแย้ง และสงสัยในตัวผู้ป่วย
		  	ญาติหรือผู้ดูแล ควรหาพักผ่อนให้มาก เช่น ออกนอกบ้าน
หรือลาพักร้อน และเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องคนอื่นหรือเพื่อนบ้าน
ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
37คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
		 	 การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้น อาจตกเป็นภาระของสมาชิก
ครอบครัวคนใดคนหนึ่ง จึงอาจเกิดความรู้สึกที่ว่าเพราะเหตุใดสมาชิกคนอื่นจึง
ไม่ดูแล ซึ่งอาจนำ�มาซึ่งความฉุนเฉียวและการพูดจารุนแรง ทำ�ให้ผู้ป่วยเสียใจและ
ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิดภายหลังได้ โดยเฉพาะ เมื่อท่านเหล่านี้ สูญเสียชีวิตแล้วดังนั้น
หากเกิดความรู้สึกดังกล่าว ญาติหรือผู้ดูแลควรหาทางออกให้แก่ตนเอง ในทางที่
เหมาะสม เช่น เล่นกีฬา ออกกำ�ลังกาย หรือเข้าชมรม
ผู้ดูแล ควรจัดเตรียมความพร้อมและให้คำ�แนะนำ�ในเรื่องต่อไปนี้
	 1. 	เทคนิคการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย
	 2. 	ปรับสถานที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยเก็บสิ่งของอันตรายใช้เฟอร์นิเจอร์
ที่มั่นคง แสงสว่างเหมาะสม หน้าต่าง/ประตูที่ยากต่อการเปิด ไฟฟ้า/แก๊ส/นํ้าร้อน
ของชิ้นเล็กๆ อาจเอาเข้าปากแล้วสำ�ลัก ระวังไฟไหม้ ปลั๊กไฟ
	 3. 	เตรียมแผนสำ�รองในกรณีที่ตนเองมีภารกิจส่วนตัวจำ�เป็น เจ็บป่วย
	 4. 	คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ดูแล
		  	ดูแลตัวเองด้วย
		  	ทุกคนในครอบครัวต้องมีส่วนร่วม ไม่ทิ้งภาระทั้งหมดให้กับ
ผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว
		  	จัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม โดยควรมีเวลาเป็นของตนเองบ้าง
ถ้าผู้ดูแลก็มีครอบครัวจะต้องแบ่งเวลาให้ทั้งผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว (สามี,
ลูก) ตามความเหมาะสม
		  	ร้องขอความช่วยเหลือ
38 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
หลักการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
	 การที่เราจะสามารถให้การดูแลผู้อื่นได้เป็นอย่างดีนั้น เราจะต้องสามารถ
ดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดีก่อนเสมอ เราสามารถแบ่งการดูแลสุขภาพตนเองของ
ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ดังนี้
	 1. 	การดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ได้แก่
		  	การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
		 	 ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
		  	ตรวจสุขภาพประจำ�ปี
		  	การป้องกันตนเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการดูแลผู้ป่วย เช่น
การปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดหลัง ปวดไหล่
ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้ายหรือยกตัวผู้ป่วยไม่ถูกวิธีและเกินกำ�ลังของตน
	 2. 	ทำ�ตนเองให้มีจิตใจสดใส นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
	 3.	 มีสังคมแวดล้อมรอบข้างที่ดี ควรมีสิ่งที่ตนเองทำ�แล้วเกิดความสุข
ความพอใจบ้าง
39คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
สำ�หรับญาติและผู้ดูแล
อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อม
	 อาหารมีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการช่วยรักษาสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ไม่ให้สภาวะเลวร้ายไปกว่าเก่า การช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์รับประทานอาหาร
ได้อย่างถูกต้อง ได้สารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยเป็น
งานที่ท้าทายในการผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยประเภทนี้
	 โภชนาการที่ดีจำ�เป็นสำ�หรับการเสริมสร้างพละกำ�ลังความแข็งแรงให้
กับร่างกาย ต้านทานการติดเชื้อ ช่วยการรักษาแผล ในผู้สูงอายุแม้จะมีสุขภาพดี
สมรรถภาพในการรับรส ได้กลิ่น ความรู้สึกกระหายนํ้า และประสิทธิภาพใน
การย่อยและดูดซึมอาหารลดลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการ
รับประทานอาหาร โรคอัลไซเมอร์สามารถเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
และส่งผลให้สภาวะโภชนาการลดลง
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล

More Related Content

What's hot

คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agentการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic AgentAiman Sadeeyamu
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรืองUtai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆกำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆLooktan Kp
 
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ Utai Sukviwatsirikul
 
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองCAPD AngThong
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
ความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุแนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุSiwaporn Khureerung
 
Ppt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPpt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPrachaya Sriswang
 

What's hot (20)

คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agentการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆกำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
 
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
ความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียด
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
Ppt.dm
Ppt.dmPpt.dm
Ppt.dm
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุแนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
 
Ppt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPpt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใส
 

Viewers also liked

ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia
ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia
ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia Utai Sukviwatsirikul
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าอำพร มะนูรีม
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าอำพร มะนูรีม
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุThanai Punyakalamba
 
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007Utai Sukviwatsirikul
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisThira Woratanarat
 
เอกสารสอนเสริม
เอกสารสอนเสริมเอกสารสอนเสริม
เอกสารสอนเสริมeratchawa
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)Sureerut Physiotherapist
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมNattha Namm
 
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557Utai Sukviwatsirikul
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)Chuchai Sornchumni
 
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุแนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองบทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองNana Sabaidee
 
โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์Run't David
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksSlideShare
 
Chula mental test
Chula mental testChula mental test
Chula mental testtaem
 

Viewers also liked (20)

ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia
ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia
ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
 
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
 
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
 
เอกสารสอนเสริม
เอกสารสอนเสริมเอกสารสอนเสริม
เอกสารสอนเสริม
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
 
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)
Stroke(ปรับปรุงครั้งที่2)
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
 
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
 
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557
แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม 2557
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุแนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ
แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ
 
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองบทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
 
โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
 
Schizophrenia
SchizophreniaSchizophrenia
Schizophrenia
 
Chula mental test
Chula mental testChula mental test
Chula mental test
 

Similar to คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล

ไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมUtai Sukviwatsirikul
 
สุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุสุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
Lifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in childrenLifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in childrenThira Woratanarat
 
โรควิตกกังวลคืออะไร
โรควิตกกังวลคืออะไรโรควิตกกังวลคืออะไร
โรควิตกกังวลคืออะไรfifa23122544
 
ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์kawpod
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12PaChArIn27
 
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1Dr.Sinsakchon Aunprom-me
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-41. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4pop Jaturong
 

Similar to คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล (19)

ไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืม
 
N sdis 78_60_1
N sdis 78_60_1N sdis 78_60_1
N sdis 78_60_1
 
สุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุสุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุ
 
Dementia in Thai
Dementia in ThaiDementia in Thai
Dementia in Thai
 
Work1.1
Work1.1Work1.1
Work1.1
 
Alzheimer
AlzheimerAlzheimer
Alzheimer
 
Alzheimer
AlzheimerAlzheimer
Alzheimer
 
AT1
AT1AT1
AT1
 
Lifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in childrenLifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in children
 
โรควิตกกังวลคืออะไร
โรควิตกกังวลคืออะไรโรควิตกกังวลคืออะไร
โรควิตกกังวลคืออะไร
 
ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12
 
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1
ความจำเสื่อมกับผู้สูงอายุ 1
 
N sdis 125_60_1
N sdis 125_60_1N sdis 125_60_1
N sdis 125_60_1
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-41. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว (1 57) wk 2-4
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล

  • 1.
  • 2. แผนงานวิจัยหลัก การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ Research for developing of discharge planning model for elderly patient by multidisciplinary team of The Supreme Patriarch Center on Aging งานวิจัยย่อย เรื่อง รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อมสำ�หรับญาติและผู้ดูแล โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ Discharge planning model for elderly patient with dementia by multidisciplinary team
  • 3. กคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล คำ�นำ� คู่มือ “ความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำ�หรับญาติและ ผู้ดูแล” นี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำ�เนินโครงการวิจัย เรื่องรูปแบบ การวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโดย ทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเนื้อหา ภายในของคู่มือเล่มนี้ จะเป็นความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมตลอดจนวิธีการดูแล ผู้ป่วย และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ และเป็นการส่งเสริม ความรู้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ทีมวิจัยศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุหวังว่าคู่มือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่อาสาสมัคร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้ที่อยู่ ใกล้ชิดผู้ป่วยและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ซึ่งมีแนวทางในการนำ�ไปปฏิบัติได้จริงตลอด การดำ�เนินโครงการวิจัย รวมทั้งเนื้อหาที่สามารถนำ�ไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำ�วันได้ คณะผู้จัดทำ�
  • 4. ข คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล สารบัญ หน้า ทำ�ความรู้จักกับโรคสมองเสื่อม 1 จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเป็นการขี้ลืมธรรมดาๆ 2 อะไรทำ�ให้สมองเสื่อม 3 อาการที่สำ�คัญของโรคสมองเสื่อม 5 โรคสมองเสื่อมรักษาหรือป้องกันได้หรือไม่ 9 ข้อควรคำ�นึงเบื้องต้นสำ�หรับผู้ดูแลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 10 ปัญหาต่างๆ และแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 11 โรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลอย่างไร 36 หลักการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 38 อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อม 39 ปัญหาโภชนาการในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 40 ความสัมพันธ์ทางโภชนาการกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 42 การบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำ�งานของสมอง 52 การออกกำ�ลังสมอง (Neurobics exercise) 57 การเลือกสถานพยาบาลที่จะฝากให้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 61 องค์กรที่ให้ความรู้ และความช่วยเหลือผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแล 62 การติดตามผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่หายออกจากบ้าน 63
  • 5. 1คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ทำ�ความรู้จักกับโรคสมองเสื่อม โรคสมองเสื่อม คืออะไร โรคสมองเสื่อม(dementia)เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติ ในการทำ�งานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำ� และการใช้ความคิดด้านต่างๆ ความสามารถของบุคคลลดลง ผู้ป่วยจะสูญเสีย ความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีพฤติกรรมแปลกๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความผิดปกติในการใช้ภาษา การคำ�นวณ ความคิดริเริ่ม ความเข้าใจ และส่งผลกระทบต่อการทำ�งาน รวมถึงการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน แต่กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุนั้นต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจาก อายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม หากเป็นอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากอายุที่ เพิ่มขึ้นนั้น โดยมากจะสูญเสียความจำ�เพียงอย่างเดียวซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดย ไม่มีผลต่อการทำ�งานหรือการใช้ชีวิตประจำ�วัน โรคในกลุ่มอาการสมองเสื่อมที่ พบบ่อย คือโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม เป็นโรคผู้สูงอายุ พบในผู้สูงอายุที่มีอายุมาก กว่า 60 ปี ร้อยละ 3.4 โดยโรคสมองเสื่อมในประชากรไทยที่พบนั้น พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ โอกาสของการเกิดโรคจะเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ประชากรที่ด้อยการศึกษา จะเป็นโรคนี้มากกว่าประชากรที่มีการศึกษาดีและผู้สูงอายุในเขตเมืองใหญ่ จะมี โอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในเขตที่เจริญน้อยกว่า และพบว่าโรคสมอง เสื่อมมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง คาดว่าโอกาสการเกิดโรคที่พบนี้ สัมพันธ์กับการบริโภคเกลือและภาวะเครียดในกลุ่มคนเมือง
  • 6. 2 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อม หรือเป็นการขี้ลืมธรรมดาๆ ความแตกต่างระหว่างอาการลืมปกติ และการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางครั้งเกิดอาการสงสัยว่าผู้สูงอายุเอง เป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ โดยมาพบแพทย์ด้วยอาการว่าบางครั้งเมื่อจอดรถแล้ว ขึ้นไปทำ�งาน เกิดอาการไม่แน่ใจว่าล็อคกุญแจรถแล้วหรือยัง ต้องกลับไปดูอีกครั้ง หรือบางครั้งเมื่อจากบ้านแล้ว ไม่แน่ใจว่า ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว จากอาการดังกล่าวเป็นอาการที่พบได้ในคนทั่วไป การที่จำ�แนกว่าเป็นอาการที่ พบได้ในคนทั่วไป การที่จำ�แนกว่าเป็นการลืมที่ธรรมดา หรือเป็นการหลงลืมจาก ภาวะสมองเสื่อมนั้น มีหลักง่ายๆ คือ หากจำ�ได้ว่าลืมทำ�อะไรถือเป็นการลืมธรรมดาๆเมื่อมีการฝึกเตือนตนเอง จะช่วยให้แก้ไขความจำ�ให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าจำ�ไม่ได้เลยว่าเคยทำ�อะไรหรือลืมอะไร อาจสงสัยได้ว่ามีภาวะสมองเสื่อมแล้ว ซึ่งเมื่อผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกว่าตนเองหรือ ผู้ที่ตนดูแลอยู่นั้นมีความจำ�ผิดปกติหรือมีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ อาจมาปรึกษา แพทย์ การวินิจฉัยโรค เมื่อมีอาการน่าสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการทดสอบสมรรถภาพ ของสมองซึ่งผลจากแบบทดสอบสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำ�การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไปเพื่อคัดแยกโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสมองที่มี ผลต่อความจำ�หรือทำ�ให้สมองเสื่อม เมื่อแยกโรคทั่วไปออกแล้ว แพทย์ก็จะทำ�การ ตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง โดยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เช่น CT MRI หรือ PET scan ก็จะทำ�ให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง
  • 7. 3คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล อะไรทำ�ให้สมองเสื่อม สาเหตุโรคสมองเสื่อม สมองเสื่อมเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง การที่สมองเสื่อมได้นั้นเป็น ผลจากเนื้อหรือเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ� พฤติกรรม บุคลิกภาพ มีจำ�นวนลดลงมีการเสื่อมสลายหรือมีการตายเกิดขึ้นทำ�ให้เซลล์สมองที่เหลืออยู่ ไม่สามารถทำ�งานได้ตามปกติ จึงเกิดอาการบกพร่อง ทางความสามารถของ สมองขึ้น สาเหตุโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยๆ ได้แก่ 1. การเสื่อมสลายของเซลล์สมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เกิดจากปัญหาหลอดเลือดสมอง (ตีบ ตัน หรือแตก) ทำ�ให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยง สมองลดลงถ้าลดลงมากจนถึงระดับที่ไม่เพียงพอกับการใช้งานของสมอง ซึ่งจะ ทำ�ให้เนื้อสมองตายไปซึ่งพบได้บ่อยในประเทศไทย 2. การขาดสารอาหารบางชนิดโดยเฉพาะวิตามินบี 1 หรือวิตามินบี 12 วิตามินบี 1 เป็นสารช่วยให้การทำ�งานของเซลล์สมองเป็นไปอย่างปกติผู้ที่ขาด วิตามินบี1มักจะพบในผู้ป่วยที่ติดเหล้าหรือเป็นพิษสุราเรื้อรัง คนกลุ่มนี้มักจะกิน เหล้าจนเมาและไม่ได้กินอาหารที่เพียงพอส่งผลให้เซลล์สมองทำ�งานไม่ได้ตามปกติ จนอาจถึงขั้นที่เซลล์สมองเสียหายหรือตายไปส่วนวิตามินบี 12 นั้น ก็มี ความจำ�เป็นต่อการทำ�งานของสมอง ซึ่งผู้ที่ขาดวิตามินชนิดนี้มักพบในผู้ป่วยที่ เคร่งในการรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากวิตามินบี 12 ได้จากนํ้าปลาหรือจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู ดังนั้นคนที่รับประทานมังสวิรัติ จึงควรได้รับวิตามินเสริมเป็นครั้งคราว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ ร่างกาย นอกจากนี้ อาจพบการขาดวิตามินบี 12 ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะอาหารและลำ�ไส้เล็กส่วนต้นออกไป ทำ�ให้ขาดสารอาหารบางอย่างที่ ช่วยหรือจำ�เป็นในการดูดซึมวิตามินบี 12 จากกระเพาะอาหารและลำ�ไส้เข้าสู่ ระบบของร่างกาย
  • 8. 4 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล 3. การติดเชื้อในสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสเอชไอวี (ไวรัสที่ทำ�ให้เกิด โรคเอดส์) 4. การแปรปรวนของเมตาโบลิกของร่างกาย เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำ�งาน มากหรือน้อยไป 5. จากการถูกกระทบกระแทกศีรษะอยู่เสมอซึ่งพบบ่อยในนักมวยหรือ นักกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้ศีรษะกระทบสิ่งต่างๆ 6. เนื้องอกในสมองโดยเฉพาะ เนื้องอกที่เกิดจากด้านหน้าของสมอง ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆดังนี้แขนขาไม่มีแรงมองเห็นภาพซ้อนหรืออาการที่แสดง ว่ามีความดันในกะโหลกศีรษะมากขึ้น เช่น อาเจียนหรือปวดศีรษะ อาการต่างๆ เหล่านี้ จะไม่พบในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองส่วนอื่น ซึ่งการที่มีผู้ป่วยมีเนื้องอก ในสมองส่วนหน้านั้น อาจทำ�ให้บุคลิกภาพ ความจำ�และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ป่วยสมองเสื่อม 7. ช่องในสมองขยายใหญ่จากนํ้าเลี้ยงสมองคั่ง 8. ยาหรือสารที่เป็นพิษ โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อการทำ�งานของสมอง
  • 9. 5คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล อาการที่สำ�คัญของโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจมีอาการไม่มากนัก โดยเฉพาะอาการ หลงลืม และยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่จะทรุดหนักเมื่อเวลาผ่านไป อาการดำ�เนินแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาด้านพฤติกรรมและอาการ ทางระบบประสาทอื่นๆตามมาซึ่งอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมีดังนี้ ความจำ�เสื่อม โดยเฉพาะความจำ�ระยะสั้น หรือมีความบกพร่องในการ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันมากเกินวัย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุใกล้ เคียงกัน เช่น การวางของแล้วลืม จำ�นัดหมายที่สำ�คัญไม่ได้ ลืมไปแล้วว่าเมื่อสักครู่ พูดอะไร ใครมาพบบ้างในวันนี้ และหากมีความรุนแรงมากขึ้นความจำ�ในอดีต ก็จะเสื่อมด้วย ไม่สามารถทำ�สิ่งที่เคยทำ�ได้ เช่นลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร ทั้งที่เคยทำ� มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซํ้าๆ ซากๆ เรียกชื่อคน หรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำ�บากในการหาคำ�พูดที่ถูกต้อง ทำ�ให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ มีปัญหาในการลำ�ดับทิศทางและเวลา ทำ�ให้เกิดการหลงทาง หรือ กลับบ้านตัวเองไม่ถูก สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยากๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้ มีการตัดสินใจผิดพลาด วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่ เหยือกนํ้า เป็นต้น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็สงบนิ่ง บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้าหรืออาจจะ มีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบนํ้า เข้าห้องนํ้า จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
  • 10. 6 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล หากแบ่งลำ�ดับอาการของโรค สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย) ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือตั้งใจจะทำ� เช่น จำ�ไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน จำ�ชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ไม่ค่อยมีสมาธิ ส่วนความจำ�เกี่ยวกับอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคม อย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำ�วันได้ และ การตัดสินใจยังค่อนข้างดี ระยะที่ 2 (ภาวะสมองเสื่อมระดับระดับปานกลาง) เมื่อโรคดำ�เนินต่อไปจากระยะที่ 1 ในระยะนี้ความจำ�จะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ เช่น ไม่สามารถคำ�นวณตัวเลขง่ายๆ ได้ การกะระยะทาง เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ทำ�อาหารที่เคยทำ�ไม่ได้ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทำ�ได้มาก่อน หรือยืนดูนํ้าล้นอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร ลืมแม้กระทั่งชื่อคนใน ครอบครัว ในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หลงผิดหลงลืม ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้ อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจำ� เป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร ระยะที่ 3 (ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรง) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยแม้แต่การทำ�กิจวัตร ประจำ�วัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจำ�ก็ไม่สามารถจำ�สิ่งที่เพิ่ง เกิดขึ้นได้เลย จำ�ญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จำ�ไม่ได้ มักเดินหลงทางใน บ้านตนเองมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปเคลื่อนไหวช้าหรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้แม้แต่ สุขอนามัยของตนเองก็ดูแลไม่ได้ เช่น กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการ แทรกซ้อนที่ทำ�ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
  • 11. 7คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล สรุป อาการเตือนและอาการที่เกิดขึ้นของโรคสมองเสื่อม มีลักษณะ ดังนี้ 1. หลงลืม ซึ่งมีผลต่อชีวิตประจำ�วัน 2. ทำ�กิจวัตรที่เคยทำ�ไม่ได้ 3. มีปัญหาในการใช้ภาษา 4. ไม่รู้เวลา 5. การตัดสินใจแย่ลง 6. มีปัญหาในการคิดแบบนามธรรม 7. วางของผิดที่ 8. มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป 9. บุคลิกเปลี่ยน 10. ขาดความคิดริเริ่ม
  • 12. 8 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคสมองเสื่อม  ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด  ภาวะซึมเศร้า  การรับประทานอาหารไม่ครบหมู่ หรือการขาดวิตามินหรือเกลือแร่ บางชนิดในร่างกาย  เนื้องอกในสมอง  โรคหลอดเลือดบางชนิด  ปัญหาจากต่อมทัยรอยด์
  • 13. 9คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล โรคสมองเสื่อมรักษาหรือป้องกันได้หรือไม่ โรคสมองเสื่อมนั้นบางประเภทอาจรักษาได้แต่บางประเภทอาจรักษา ไม่ได้ หากเป็นผู้ป่วยสมองเสื่อม ที่เกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่างเช่น วิตามิน B1, B12 หรือผู้ป่วยที่มีการแปรปรวน ของระบบเมตาโบลิกของร่างกาย เมื่อได้รับการรักษาแล้ว อาการสมองเสื่อมจะดีขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น หรือความเสียหายของสมอง ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าความเสียหายไม่มากนัก และได้รับการแก้ไขตามเวลาที่เหมาะสมตลอดจนเนื้อสมองไม่ถูกทำ�ลายไปมาก ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น และเมื่อรักษาแล้ว อาการก็จะทรงอยู่ในลักษณะนี้เรื่อยๆ แต่หากเป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสลายของสมอง ปัญหา หลอดเลือดสมอง การติดเชื้อในสมองหรือจากการกระทบกระแทก ผู้ป่วยเหล่านี้ จะไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งอาจมียาบางประเภทที่ช่วยชะลออาการของผู้ป่วย แต่ในที่สุดเมื่อมีอาการมากขึ้น อาการสมองเสื่อมของบุคคลนั้น จะมีอาการ ทันคนอื่นทีไม่ได้รับยาเช่นกัน สำ�หรับโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ แม้ในปัจจุบันยังไม่มีทางป้องกัน เฉพาะโรค แต่เชื่อว่าการทำ�กิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคหรือชะลอความเสื่อมของสมองลงได้บ้างในผู้ที่ เกิดโรคแล้ว ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนส่งเสริมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใน ผู้สูงอายุ เช่น การออกกำ�ลังกายด้วย แอโรบิคด๊านซ์ ลีลาศ รำ�มวยจีน กีฬาเปตอง รำ�วง นั่งสมาธิ หรือร้องเพลง ตลอดจน การตรวจสุขภาพร่างกายและการได้รับ ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับโรคต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่ แข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตที่ดีช่วยในเรื่องของการฝึกด้านความจำ� การฝึกจิตใจ ให้ผ่องใสหรือทำ�ให้ผู้สูงอายุรู้จักโรค และทราบแนวทางในการป้องกัน มิให้เกิด โรคได้เพิ่มขึ้นนอกจากนั้นจะเป็นการให้ผู้สูงอายุมีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
  • 14. 10 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ข้อควรคำ�นึงเบื้องต้นสำ�หรับผู้ดูแล หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 1. อาการต่างๆที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดจากโรคทางสมองมิใช่การ แกล้งทำ�หรือความตั้งใจ 2. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม จะมีระดับสติปัญญาลดลงจึงไม่ควร คาดหวังที่จะให้เขาเรียนรู้ในสิ่งที่สอนหรือบอกไป 3. อาการหลายๆ อาการที่เกิดขึ้น อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นไปได้เพียงให้อาการนั้นคงอยู่แต่ไม่รบกวนผู้ป่วย หรือคนรอบข้างมากนัก 4. อาการที่พิจารณาแล้วว่า ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัย ของคนรอบข้างและผู้ป่วยเองอาจไม่จำ�เป็นต้องรักษาเพื่อให้อาการเหล่านั้นหมดไป 5. วิธีการที่ใช้ได้ดีกับผู้ป่วยคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลเมื่อนำ�ไปใช้กับผู้ป่วย คนอื่นหรือแม้แต่ในผู้ป่วยคนเดียวกันแต่ต่างเวลากันดังนั้นผู้ดูแลควรมีการสังเกต และเรียนรู้จากคนรอบข้าง หรือจากประสบการณ์ของผู้อื่นร่วมด้วย 6. เมื่อใดก็ตามที่ผู้ดูแล หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยเกิดอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว ควรระรีบเตือนตนเองและพาตนเองออามาจากผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วย จะไม่เข้าใจว่าผู้ดูแลมีความรู้สึกอย่างไรเพราะการรับรู้ของเขาลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงรับรู้ว่ามีความไม่พอใจเกิดขึ้นและอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นการรบกวนคนรอบข้างมากขึ้นส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดความหงุดหงิดเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อผู้ดูแลออกมาพ้นมาจากผู้ป่วยแล้วควรรีบหาทางผ่อนคลาย และอาจหา คำ�แนะนำ�จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางช่วยเหลือ
  • 15. 11คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ปัญหาต่างๆ และแนวทาง การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ปัญหาความสับสนเรื่องเวลาและสถานที่ ความสับสนเรื่องเวลาและสถานที่ อาจทำ�ให้ผู้ป่วยบางคน ตกใจตื่นขึ้น ตอนเที่ยงคืน และแต่งตัวออกไปทำ�งานหรือคิดว่าโรงพยาบาลคือบ้านตนเอง เป็นต้น แนวทางการช่วยเหลือ 1. ทำ�ป้ายบอกเวลากลางวันกลางคืน วางไว้ข้างเตียงนอน ในตำ�แหน่ง ที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ง่าย โดยป้ายดังกล่าวอาจติดป้ายชื่อ รูปถ่าย หรือ สัญลักษณ์ร่วมด้วย 2. ญาติหรือผู้ดูแล คอยพลิกป้ายให้ถูกต้องตรงตามเวลา 3. พยาบาลจัดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมเสมอ ไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะผู้ป่วยจะจำ�ไม่ได้ ปัญหาการสูญเสียทักษะต่างๆ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมโทรมทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยธรรมชาติ เช่นสายตาเริ่มมองเห็นไม่ชัดเจน เวียนศีรษะ หน้ามืดตาลายง่าย ระบบการหายใจลำ�บากรวมถึงระบบประสาทกล้ามเนื้อกระดูและข้อเมื่อบวกกับ อาการเสื่อมทางสมองจึงส่งผลถึงทักษะในการปฏิบัติต่างๆที่เป็นกิจวัตรประจำ�วัน อยู่บ่อยครั้ง บางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ผู้มีปัญหาในระยะแรกเมื่อเตรียม อาการ อาจเปิดแก๊สทิ้งไว้ หรือรายที่อยู่ในระยะปานกลาง อาจเริ่มสูญเสียความ สามารถในการดูแลตนเอง เช่น การแต่งตัว การอาบนํ้า หรือในขั้นรุนแรงอาจไม่ สามารถกลืนอาหารได้เอง เป็นต้น
  • 17. 13คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล แนวทางการช่วยเหลือ 1. ถ้าผู้ป่วยชอบทำ�งาน อย่างหนึ่งอย่างใด ก็ปล่อยให้ทำ�ต่อไป เพราะ การได้ทำ�งานเป็นการคงสภาพทักษะต่างๆ และทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามี ประโยชน์ต่อครอบครัวไม่ได้เป็นภาระแก่ลูกหลานซึ่งเป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิต ที่ดีมาอย่างหนึ่ง เพียงแต่ถ้างานใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ญาติหรือ ผู้ดูแล ต้องคอยระวังดูแลและเอาใจใส่เช่น การทำ�งานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างๆ หรืออุปกรณ์เชื้อเพลิง 2. สิ่งของบางอย่างที่ผู้ป่วยใช้บ่อยๆให้ติดป้ายชื่อวิธีใช้และข้อควรระวังไว้ อย่างถูกต้องตรงตามตำ�แหน่ง 3. บรรยากาศภายในบ้านหรือสถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ควรมีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีคนพลุกพล่านหรือมีพื้นที่ห้องเหมาะสมไม่ลื่น ห้องนํ้าต้องเช็คให้แห้งอย่า ให้เปียกแฉะหรือมีนํ้าสบู่อยู่ เพราะอาจทำ�ให้ผู้สูงอายุลื่นล้มและเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยบางรายที่คุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์ควรสนับสนุนให้มีการใช้และรับโทรศัพท์ ต่อไปเพียงแต่อาจต้องมีปากกา สมุดบันทึก และมีเบอร์โทรศัพท์ที่สำ�คัญและ จำ�เป็นสำ�หรับผู้ป่วย เช่น เบอร์ของสมาชิกในครอบครัว แพทย์ประจำ�ตัว หรือ โรงพยาบาลไว้อย่างชัดเจนใกล้เครื่องรับโทรศัพท์ ปัญหาการหลงทาง ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระดับปานกลางเป็นต้นไปจะเริ่มจำ�บ้านของตนเอง ไม่ได้ ปัญหาที่ตามมา เช่น ผู้ป่วยอาจกลับบ้านของตนไม่ได้ หาห้องนํ้าไม่เจอหรือ อาจเดินเข้าไปในห้องนอนหรือบ้านของผู้อื่น แนวทางการช่วยเหลือ 1. ภายในบ้านควรมีป้ายชื่อ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บอกทิศทาง เกี่ยวกับ ห้องนํ้า ห้องสุขา และหน้าห้องของสมาชิกคนอื่นๆ และมีโคมไฟหรือ แสงสว่างให้เพียงพอ 2. ผู้ป่วยบางรายมีร่างกายแข็งแรง ชอบออกไปนอกบ้าน อาจมีบัตร ประจำ�ตัว บอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลการเจ็บป่วยอยู่ในนั้นด้วย เพื่อ ความสะดวกแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนำ�ส่งกลับบ้าน
  • 19. 15คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ปัญหาของการไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ปัจจุบันผู้สูงอายุมักจะจำ�เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ แต่จะจำ�เรื่อง ที่ผ่านมาในอดีตได้ดีซึ่งในผู้สูงอายุสมองเสื่อมอาทิอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระดับปานกลาง ค่อนข้างรุนแรง เป็นต้นไปจะมีระดับความรุนแรงของอาการดังกล่าวมากขึ้น จนเป็นปัญหาต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันเช่นจำ�เหตุการณ์ ในปัจจุบันแม้กระทั่ง ชื่อบุตร คู่สมรสหรือเมืองที่อยู่อาศัยไม่ได้ แต่กลับจำ�เหตุการณ์ในวัยตอนต้นของ ชีวิตได้ดี แนวทางการช่วยเหลือ 1. เริ่มจากระดับความจำ�เป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่นให้เล่าประสบการณ์ ที่ท่านเคยภาคภูมิใจในอดีตโดยอาจนำ�ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต จากอัลบั้ม รูปเก่าๆ ภาพเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฯลฯ ให้ผู้ป่วยเล่า 2. จากนั้นจึงลำ�ดับเหตุการณ์ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันซึ่งจะช่วยฟื้น ความจำ�ของผู้สูงอายุได้ทีละเล็กที่ละน้อยอันจะนำ�มาสู่ชีวิตในปัจจุบันได้ในท้าย ที่สุด 3. กิจกรรมดังกล่าวหากมีหลานๆ วัยเด็กเล็กๆ เข้าร่วมด้วย จะมี ประโยชน์มาก เพราะเด็กชอบฟังเรื่องที่เล่าซํ้าไปซํ้ามา และเป็นการเรียนวิชา ประวัติศาสตร์ไปในตัว ปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การที่ผู้สูงอายุ มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสมาชิกใน ครอบครัว หรือชุมชน นอกจากเป็นการคลายความทุกข์ และความกังวลแล้ว กิจกรรมเล่านี้ ยังทำ�ให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและสังคม นอกจากนั้นการทำ�กิจกรรมยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยอาหาร การขับถ่ายและระบบการไหลเวียนเป็นไปด้วยดี ซึ่งเป็นการชะลอความเสื่อมทาง ความสามารถที่ดีอีกด้วย แต่สำ�หรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ มีข้อจำ�กัด ในการปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
  • 21. 17คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล แนวทางการช่วยเหลือ 1. ในกรณีที่อาการสมองเสื่อม ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงเมื่อสมาชิกใน ครอบครัวนั่งดูรายการโทรทัศน์อาจชวนผู้ป่วยดูด้วย แต่ต้องแน่ใจว่าท่านสามารถ ติดตามเรื่องราวต่างๆ ได้ 2. เมื่อผู้สูงอายุเล่าถึงความหลังแม้ว่าจะบ่อยครั้ง แต่ผู้ที่ใกล้ชิดไม่ควร ขัดจังหวะ ขัดแย้งหรือห้าม ควรปล่อยให้ท่านเล่าต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ ผู้สูงอายุมีความสุขและอยากเข้าร่วมกิจกรรม 3. หาเวลาว่างที่จะพาผู้สูงอายุให้ไปตามที่ต่างๆ เช่น พาไปเยี่ยมเพื่อน หรือญาติพี่น้อง เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขและลืมเรื่องที่กังวล 4. ผู้ป่วยที่เลื่อมใสศาสนา อาจพาไปวัด ฟังเทศน์ สนทนาธรรม หรือ ทำ�บุญเลี้ยงพระในกรณีที่ผู้ป่วยมีความสนใจในกิจกรรมยามว่างใดก็ตามเป็นพิเศษ ลูกหลานควรให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วม ปัญหาลืมประทานยา ปัญหาที่มักพบ คือ ผู้ป่วยมักลืมเรื่องรับประทานยา จำ�ไม่ได้ว่าทานแล้ว หรือยัง บางครั้งไม่ได้ทานเลย บางครั้งอาจทานเกินขนาด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้ แนวทางการช่วยเหลือ 1. หากล่องจ่ายยาจากร้านขายยา มาใช้ในการกำ�หนดเวลารับประทานยา โดยอาจบรรจุยาตามเวลา เป็นวันอาทิตย์ ตามระดับความจำ�ของผู้ป่วย โดยมีญาติ หรือผู้ดูแลคอยเช็คปริมาณยาจากล่อง 2. อาจใช้เสียงนาฬิกาปลุกช่วยในการเตือนความจำ�ของผู้ป่วย โดยอาจ เป็นเสียงแปลกๆ เช่น เสียงคน หรือ เป็นเสียงเตือนอื่นๆ ตามความเหมาะสม
  • 23. 19คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ปัญหาด้านการสื่อสาร ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปจะมีการสูญเสียทักษะในการสื่อสารกับ บุคคลอื่นเพิ่มขึ้นโดยอาจเริ่มจากการจำ�ชื่อคนวัตถุสิ่งของ และสถานที่ต่างๆ ไม่ได้ จนถึงขั้นสุดท้ายอาจพูดได้แค่ 5-6 คำ�หรือ พูดเพียงแค่คำ�ใดคำ�หนึ่งซํ้าไปซํ้ามา แนวทางการช่วยเหลือ 1. ญาติหรือผู้ดูแลอาจช่วยพูดแทน ในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อสาร โดยสังเกตจากสีหน้าท่าทางและการแสงออกเพราะผู้ป่วยเหล่านี้ มักมีปัญหาทาง การสื่อสารด้านภาษาพูดเท่านั้น แต่ภาษาท่าทางต่างๆ ยังเข้าใจและสื่อสารได้ 2. ควรตรวจให้แน่ใจว่า ผู้ป่วยได้ยินสิ่งที่ป่วยชัดเจนหรือไม่ เนื่องจาก ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการหูตึง หรือมีขี้หมูมากทำ�ให้การได้ยินไม่ชัดเจน 3. พยายามกำ�จัดเสียงรบกวนต่างๆ เช่น เสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ขณะที่ มีการสนทนากับผู้ป่วย 4. หากผู้ป่วยใส่ฟันปลอม ต้องแน่ใจว่า ฟันปลอมอยู่ในสภาพที่กระชับ เหมาะเจาะ เพราะหากฟันปลอมหลวมจะทำ�ให้การพูดไม่ชัดเจน 5. พยายามพูดด้วยประโยคง่ายๆชัดเจนและมีความอดทนรอคอยและ ให้เวลาในการตอบกับผู้ป่วย 6. ขณะสนทนากับผู้ป่วย ควรมีภาษาทางกายร่วมด้วย เช่น การจับมือ หรือการสบตา 7. ในรายที่มีอาการสมองเสื่อมขั้นรุนแรงจนจำ�ญาติหรือผู้ดูแลไม่ได้ ในการเข้าพบผู้ป่วยต้องมีการแนะนำ�ตนเองพร้อมๆ กับเรียกชื่อผู้ป่วยทุกครั้ง
  • 24. 20 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ปัญหาความผิดปกติทางพฤติกรรม ปัญหาความผิดปกติทางพฤติกรรมพบในผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางรายเท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมผิดปกติที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เที่ยวเตร่ พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ หรือบางรายอาจเปลื้องผ้า ในที่สาธารณะ พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องด้านความจำ� ทำ�ให้ แปลความหมายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผิด เช่น คิดว่าห้องรับแขกเป็นห้องนอนจึง เปลื้องผ้า หรือคิดว่าสวนสาธารณะเป็นชายทุ่งในสมัยที่ตนเป็นเด็ก จึงสามารถ อุจจาระปัสสาวะได้ เป็นต้น แนวทางการช่วยเหลือ ญาติหรือผู้ดูแลควรมีความเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าว และ พยายามดูแลและเอาใจใส่ ด้วยความเคารพ นับถือรู้จักสงบสติอารมณ์และมีความ สุขภาพ พฤติกรรมชอบเที่ยวเตร่เถลไถล พฤติกรรมนี้มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยย้อนชีวิตกลับไปสู่กิจวัตรที่เคย ทำ�ในอดีตซึ่งปัจจุบันสถานที่เหล่านั้นไม่มีแล้ว แต่ผู้ป่วยยังฝังใจอยู่ และพยายาม ประกอบกิจกรรมดังกล่าวดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงดูไม่เหมาะสม แนวทางการช่วยเหลือ 1. อาจค่อยๆ นำ�ผู้ป่วยกลับมาสู่เวลาและสถานที่ปัจจุบันด้วยความ สุภาพ หรือหากิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลินอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบ มาให้ผู้ป่วยทำ� 2. หากมีสนามหญ้าหน้าบ้านอาจให้ผู้ป่วยมาเดินเล่นเพื่อออกกำ�ลังกาย แต่ควรล็อคประตูบ้านเพื่อความปลอดภัย
  • 26. 22 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมก้าวร้าว ในผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ มักมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติ ด้านความจำ�ทำ�ให้เกิดการตัดสินใจและความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆลดลง กิจกรรมต่างๆที่เคยทำ�นั้นทำ�ไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกในทางลบเช่นคิดว่าตนเป็น คนไม่มีประโยชน์เป็นที่รังเกียจของลูกหลายมีความรู้สึกระแวงว่าคนปองร้ายฯลฯ อารมณ์เหล่านี้จะแสดงออกมาเป็นก้าวร้าวเมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้น เช่น เมื่อหา ของบางอย่างไม่พบหรือระแวงว่ามีใครมาขโมยของของตนไป แนวทางการช่วยเหลือ 1. ต้องยอมรับว่านั่นเป็นอาการเจ็บป่วยไม่ควรแสดงความไม่พอใจหรือ ต่อปากต่อคำ�กับผู้ป่วย 2. หลีกเลี่ยงการย้ายตำ�แหน่งของใช้ของผู้ป่วยหากผู้ป่วยแสดงอารมณ์ โมโห เนื่องจากหาของไม่พบ ญาติหรือผู้ดูแลอาจเข้าไปช่วยและค่อยๆ อธิบาย สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีโอกาส ควรเบนความสนใจไปสู่เรื่องอื่นหรือชักชวนผู้ป่วย ออกจากสถานการณ์ที่ทำ�ให้แสดงความก้าวร้าว
  • 28. 24 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล ปัญหาด้านการอุจจาระปัสสาวะ ปัญหาด้านการอุจจาระ ปัสสาวะในผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหูรูดของท่ออุจจาระ ปัสสาวะหย่อนยานลง ทำ�ให้การกลั้นทำ�ได้ไม่ค่อยดี เมื่อบวกกับภาวะสมองเสื่อมหาห้องนํ้าไม่พบ หรือเข้าใจผิดคิดว่าของบางอย่างเป็นโถปัสสาวะได้ ทำ�ให้เกิดปัญหาดังกล่าว แนวทางการช่วยเหลือ 1. ห้องนอนของผู้สูงอายุควรอยู่ชั้นล่าง อยู่ใกล้ห้องนํ้าทางเดินไม่วกวน และเปิดไฟสว่างตลอดเวลาเพื่อความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในการลุกเข้าห้องนํ้า และ มีความปลอดภัย 2. ทำ�เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือป้ายบอก ทิศทางไปห้องนํ้าให้ เห็นชัดอย่าให้มีสิ่งกีดขวางและไม่ควรให้ฟื้นลื่น 3. จดบันทึกเวลาขับถ่ายของผู้สูงอายุที่ เป็นอยู่ประจำ�เพื่อจะได้ช่วย ประมาณเวลาที่จะพาเข้าห้องนํ้า 4. ให้ผู้สูงอายุมีการเข้าห้องนํ้าอย่างเป็นเวลา 5. ดูแลเรื่องการดื่มนํ้าในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น วันละ 2 - 6 แก้ว
  • 29. 25คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมเปลื้องเสื้อผ้าในที่สาธารณะ แนวทางการช่วยเหลือ 1. ค้นหาสาเหตุและค่อยๆ เบนความสนใจนั้นพร้อมๆ กับช่วยสวมใส่ เสื้อผ้าอีกครั้ง 2. ค่อยๆ ถามถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และอธิบายถึงสิ่งที่ผู้ป่วยเข้าใจผิด ด้วยความสุขภาพ ไม่ควรตำ�หนิให้ผู้ป่วยอับอายจากการกระทำ�นั้น
  • 30. 26 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมที่ไม่ยอมนอนในเวลากลางคืน ปัญหาในการนอน เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมากในผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจมี สาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงในการนอนหลับของผู้ที่มีอายุ เช่น หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับไม่ต่อเนื่องสมองที่เกี่ยวข้องกับการนอนเสื่อมลงหรือยา โรคภาวะแทรกซ้อนของโรคอาจรบกวนการนอน แนวทางการช่วยเหลือ 1. พยายามให้หลับ – ตื่นเป็นเวลา โดยเฉพาะการตื่นนอน 2. ควรจัดให้มีการออกกำ�ลังกาย หรือการเคลื่อนไหวเป็นประจำ� สมํ่าเสมอ เช่น การเดินเล่นในตอนเช้าหรือเย็น 3. ไม่อยู่แต่ในห้อง หรือสถานที่ที่มือจนเกินไปเพราะจะทำ�ให้ผู้ป่วย ไม่ทราบว่า เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนควรให้ผู้ป่วยได้พบแสงสว่างบ้าง เมื่อเข้าไปในห้องที่ไม่ค่อยสว่างจะได้หลับง่ายขึ้น 4. ควรให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง การนอนหลับในเวลากลางวันอาจนอนหลับ ได้ในช่วงบ่าย แต่ไม่ควรเกิน 15.00 น. 5. ควรมีการเตือนผู้ป่วยเป็นระยะเมื่อถึงเวลาใกล้เข้านอนเพื่อให้ผู้ป่วย ได้เตรียมตัวและจำ�ได้ว่าถึงเวลานอนแล้ว 6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ตื่นเต้น ในช่วงเย็นและคํ่า เช่น การพาไปในที่ ที่มีคนมากๆหรือสถานที่ที่มีความอึกทึกเพราะจะทำ�ให้ผู้ป่วยวุ่นวายและหลับยาก 7. ไม่ควรคาดหวังให้ปัญหาการนอนหลับนั้นดีขึ้นโดยเร็ว เนื่องจาก เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงและบางครั้ง การนอนหลับอาจดีคงที่ได้ ระยะหนึ่ง สลับกับบางวันที่มีปัญหาก็เป็นได้ 8. ดูแลเรื่องยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ยาบางตัวอาจมีผลกระทบกับการนอน
  • 32. 28 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล อาการหูแว่วประสาทหลอน ผู้ป่วยสมองเสื่อมจำ�นวนหนึ่ง จะมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนเกิดขึ้น เช่นได้ยินเสียงมีคนมาพูดคุยเห็นภาพต่างๆนานาซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลโดยตรง ตรวจจากการทำ�งานที่ผิดปกติของสมองอาจเนื่องจากโรคสมองเสื่อมเองยาบางชนิด หรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง แนวทางการช่วยเหลือ 1. ในช่วงแรก จะไม่พบอาการเหล่านี้บ่อยนักและไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจ มีความสามารถที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับตนเอง 2. ให้แพทย์ช่วยประเมินถึงสาเหตุ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าถึงแม้จะเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ไม่ใช่เรื่องที่อันตราย และหากอาการนั้นไม่เป็น อันตรายต่อชีวิต และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งคนใกล้ชิดควรปลอบผู้ป่วย ว่าไม่ต้องตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น 3. เบี่ยงเบนความสนใจ ชวนคุยเรื่องอื่นเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกหมกมุ่นกับ อาการเหล่านี้ หากต่อมามีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์ เพื่อประเมินถึง สาเหตุและการทำ�การรักษาตลอดจนทำ�ความเข้าใจกับแพทย์ ถึงผลข้างเคียงของ ยาหรือการรักษานั้นๆถ้าสงสัยว่าอาจเป็นผลมาจากยาบางอย่างควรปรึกษาแพทย์
  • 34. 30 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมไม่รับประทานอาหาร สาเหตุของการไม่รับประทานอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจากการเสื่อมของสมองที่เป็นมากขึ้นจนไม่สามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า คืออาหารรวมถึงการไม่รู้จักวิธีในการใช้ช้อนหรือส้อมความสามารถของการกลืน รวมถึง การเคี้ยวอาหารเสื่อมลง ในการกลับกันบางครั้งผู้ป่วยอาจทานอาหาร ไม่หยุดหรือทานไม่เลือกไม่ว่าสิ่งนั้นจะรับประทานได้หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ สภาวะอารมณ์ ผลข้างเคียงของยาและโรคแทรกซ้อน ก็มีส่วนไม่น้อยในการทำ�ให้ เกิดปัญหานี้ แนวทางการช่วยเหลือ 1. ควรพาผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและแก้ไขปัญหา สุขภาพ ในช่องปากแต่เนิ่นๆ 2. ปรึกษาแพทย์ว่ามีสาเหตุของการไม่ทานอาหารที่ตรวจพบได้หรือไม่ เช่น ปัญหาการเคี้ยวการกลืนความผิดปกติ ของอารมณ์หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ 3. พยายามจัดบรรยากาศของการรับประทานอาหารให้คงเดิมสมํ่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา สถานที่ (รวมถึงตำ�แหน่งของเก้าอี้) ชนิดของอาหาร ควรสังเกตว่าชอบรับประทานอาหารประเภทใด ควรเป็นอาหารประเภทเดิมๆ ที่คุ้นเคย เคี้ยวง่ายไม่ลำ�บากต่อการกลืน 4. ยืดหยุ่นอารมณ์ของผู้ป่วยบ้างไม่จำ�เป็นต้องตรงเวลาทุกครั้ง บางมื้อ อาจข้ามไปได้ หรือเลื่อนเวลาเข้าหรือออกได้บ้าง 5. ลดความใส่ในกับวิธีการทานอาหารบ้างอาจมีการหกเลอะเทอะใน บางครั้ง ถ้าผู้ป่วยไม่รู้จักการใช้ช้อนส้อมอาจต้องป้อน หรือหาวิธีการช่วยในการ รับประทานอาหารให้เป็นเรื่องง่ายๆ 6. อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการของอาหารว่าควรเสริมอาหาร ประเภทใด เพื่อให้ผู้ป่วยได้คุณค่าทางอาหารครบ
  • 36. 32 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมชอบถามซํ้า สาเหตุของพฤติกรรมนี้ เนื่องจากความสามารถในการจดจำ�ลดลง บกพร่องไป หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์นั้นๆ แนวทางการช่วยเหลือ 1. พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ คุยเรื่องอื่น 2. ไม่วกกลับมายํ้า หรือทบทวนในเรื่องนั้นอีก 3. ถ้าผู้ป่วยยังสามารถพอที่จะอ่านออก และเข้าใจได้อาจใช้วิธีเขียน คำ�ตอบ หรือเขียนข้อความให้ผู้ป่วยเก็บไว้จะได้คอยเตือนตนเอง 4. บางครั้งอาการเหล่านี้ อาจเกิดจากความวิตกกังวลอาจพูดคุยเพื่อ ปลอบโยน และสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย
  • 38. 34 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล พฤติกรรมไม่ชอบอาบนํ้า การอาบนํ้าในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวจนเกิดการ ต่อต้าน ไม่ยอมอาบ ส่งผลให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยในผู้ดูแลได้ แนวทางการช่วยเหลือ 1. พยายามจัดเวลาอาบนํ้าให้เป็นกิจวัตร ที่คงที่เป็นประจำ�สมํ่าเสมอ เช่นหลังตื่นนอน หรือหลังการเดินเล่นตอนเช้า เป็นต้น 2. ทำ�บรรยากาศของการอาบนํ้า ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ใช่การบังคับ 3. มีการบอกผู้ป่วยล่วงหน้าว่ากำ�ลังจะต้องอาบนํ้า 4. ค่อยๆ ให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับนํ้าที่กำ�ลังจะอาบและอุณหภูมิของนํ้า ไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไปตลอดจนยืดหยุ่นกับความต้องการของผู้ป่วยบ้าง
  • 40. 36 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล โรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลอย่างไร 1. ด้านจิตใจ ผู้ดูแลจะเกิดความรู้สึกสูญเสียผู้ที่ตนรัก เพราะผู้ป่วย ระยะหลังอาจจำ�หน้าผู้ดูแลญาติมิตรไม่ได้นิสัยใจคอและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป การต้อนรับผิดชอบผู้ป่วยตลอดเวลา และต้องรับภาระหนักอย่างโดดเดี่ยว ทำ�ให้ ผู้ดูแลอาจรู้สึกว่าตนถูกทอดทิ้งส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกโกรธผิดหวังเบื่อหน่าย เครียด ท้อแท้ วิตกกังวล ครุ่นคิดถึงปัญหา 2. ด้านร่างกาย จากการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจ ของผู้ดูแล ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะทำ�ให้ร่างกายอ่อนเพลียส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย และ ติดเชื้อได้ง่าย 3. ด้านสัมพันธภาพ ผู้ดูแลจะเกิดปัญหาสัมพันธภาพกับผู้ป่วย จากการพูดบ่นซํ้าซาก การจู้จี้ของผู้ป่วย การพูดจาสับสนของผู้ป่วยอาจทำ�ให้ ผู้ดูแลแปลความหมายไปในทางที่ผิดได้ 4. ด้านเศรษฐกิจ การที่ผู้ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ทำ�ให้ไม่สามารถ ประกอบอาชีพได้ตามปกติส่งผลให้รายได้ของครอบครัวลดลง และเกิดปัญหาด้าน เศรษฐกิจของครอบครัวทั้งค่ายาและค่ารักษาพยาบาล จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ญาติหรือผู้ดูแลจำ�เป็นต้องมีวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นโดยมีแนวทาง ดังนี้  พยายามทำ�ความเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ หรือเมื่อมีโอกาส ควรคุยปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่เคยมีญาติเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งการสร้างความเข้าใจ จะช่วยผ่อนคลายความรู้สึกขัดแย้ง และสงสัยในตัวผู้ป่วย  ญาติหรือผู้ดูแล ควรหาพักผ่อนให้มาก เช่น ออกนอกบ้าน หรือลาพักร้อน และเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องคนอื่นหรือเพื่อนบ้าน ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
  • 41. 37คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล  การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้น อาจตกเป็นภาระของสมาชิก ครอบครัวคนใดคนหนึ่ง จึงอาจเกิดความรู้สึกที่ว่าเพราะเหตุใดสมาชิกคนอื่นจึง ไม่ดูแล ซึ่งอาจนำ�มาซึ่งความฉุนเฉียวและการพูดจารุนแรง ทำ�ให้ผู้ป่วยเสียใจและ ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิดภายหลังได้ โดยเฉพาะ เมื่อท่านเหล่านี้ สูญเสียชีวิตแล้วดังนั้น หากเกิดความรู้สึกดังกล่าว ญาติหรือผู้ดูแลควรหาทางออกให้แก่ตนเอง ในทางที่ เหมาะสม เช่น เล่นกีฬา ออกกำ�ลังกาย หรือเข้าชมรม ผู้ดูแล ควรจัดเตรียมความพร้อมและให้คำ�แนะนำ�ในเรื่องต่อไปนี้ 1. เทคนิคการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย 2. ปรับสถานที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยเก็บสิ่งของอันตรายใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่มั่นคง แสงสว่างเหมาะสม หน้าต่าง/ประตูที่ยากต่อการเปิด ไฟฟ้า/แก๊ส/นํ้าร้อน ของชิ้นเล็กๆ อาจเอาเข้าปากแล้วสำ�ลัก ระวังไฟไหม้ ปลั๊กไฟ 3. เตรียมแผนสำ�รองในกรณีที่ตนเองมีภารกิจส่วนตัวจำ�เป็น เจ็บป่วย 4. คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ดูแล  ดูแลตัวเองด้วย  ทุกคนในครอบครัวต้องมีส่วนร่วม ไม่ทิ้งภาระทั้งหมดให้กับ ผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว  จัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม โดยควรมีเวลาเป็นของตนเองบ้าง ถ้าผู้ดูแลก็มีครอบครัวจะต้องแบ่งเวลาให้ทั้งผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว (สามี, ลูก) ตามความเหมาะสม  ร้องขอความช่วยเหลือ
  • 42. 38 คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล หลักการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม การที่เราจะสามารถให้การดูแลผู้อื่นได้เป็นอย่างดีนั้น เราจะต้องสามารถ ดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดีก่อนเสมอ เราสามารถแบ่งการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ดังนี้ 1. การดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ได้แก่  การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ  ตรวจสุขภาพประจำ�ปี  การป้องกันตนเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการดูแลผู้ป่วย เช่น การปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้ายหรือยกตัวผู้ป่วยไม่ถูกวิธีและเกินกำ�ลังของตน 2. ทำ�ตนเองให้มีจิตใจสดใส นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 3. มีสังคมแวดล้อมรอบข้างที่ดี ควรมีสิ่งที่ตนเองทำ�แล้วเกิดความสุข ความพอใจบ้าง
  • 43. 39คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สำ�หรับญาติและผู้ดูแล อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคสมองเสื่อม อาหารมีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการช่วยรักษาสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่ให้สภาวะเลวร้ายไปกว่าเก่า การช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์รับประทานอาหาร ได้อย่างถูกต้อง ได้สารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยเป็น งานที่ท้าทายในการผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ โภชนาการที่ดีจำ�เป็นสำ�หรับการเสริมสร้างพละกำ�ลังความแข็งแรงให้ กับร่างกาย ต้านทานการติดเชื้อ ช่วยการรักษาแผล ในผู้สูงอายุแม้จะมีสุขภาพดี สมรรถภาพในการรับรส ได้กลิ่น ความรู้สึกกระหายนํ้า และประสิทธิภาพใน การย่อยและดูดซึมอาหารลดลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการ รับประทานอาหาร โรคอัลไซเมอร์สามารถเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และส่งผลให้สภาวะโภชนาการลดลง