SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  40
7




สามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้
อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำาคัญ ดังนี้
             1. ภาษาเพื่อการสื่อสารการใช้ภาษาต่างประเทศใน
การฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก
และความคิดเห็น ตีความ นำาเสนอข้อมูลความคิดรวบยอดและความ-
คิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่าง
เหมาะสม
            2. ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตาม
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือน ความแตก
ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษา และ
วัฒนธรรมไทย และนำาไปใช้อย่างเหมาะสม
            3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นการ
ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อืนเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ของ
  ่
ตน
            4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลกการใช้ภาษา
ต่างประเทศในสถานการณ์ ต่างๆ ทังในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
                                     ้
ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครืองมือพืนฐานในการศึกษาต่อ ประกอบ
                                ่        ้
อาชีพและแลกเปลียนเรียนรูกบสังคมโลก
                  ่         ้ ั
       3. คุณภาพผู้เรียน
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
            1. ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้องที่ฟัง อ่านออกเสียงตัว
อักษร คำา กลุ่มคำา ประโยคง่ายๆ และบทพูดเข้้าจังหวะง่ายๆถูก
ต้องตามหลักการอ่าน บอกความหมายของคำาและกลุ่มคำาที่ฟังตรง
ตามความหมาย ตอบคำาถามจากการฟังหรืออ่านประโยคบทสนทนา
หรือนิทานง่ายๆ
            2. พูดโต้ตอบด้วยคำาสั้นๆง่ายๆในการสื่อสารระหว่าง
บุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำาสั่งและคำาขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการ
ง่ายๆของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อนบอก
ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆตาม
แบบที่ฟัง
            3. พูดให้ขอมูลเกียวกับตนเองและเรืองใกล้ตว จัดหมวดหมู่
                      ้       ่                ่      ั
คำาตามประเภทของบุคคล สัตว์ และสิงของตามทีฟงหรืออ่าน
                                       ่         ่ ั
            4. พูดและทำาท่าประกอบตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรม
ของเจ้าของภาษาบอกชื่อและคำาศัพท์ง่ายๆเกี่ยวกับเทศกาล/วัน
8




สำาคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วม
กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย
             5. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำา กลุ่มคำา และ
ประโยคง่ายๆของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
             6. บอกคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
             7. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
             8. ใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ใกล้ตัว
             9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด)
สือสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม
   ่
ใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการภายใน               วงคำา
ศัพท์ประมาณ 300-450 คำา (คำาศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
            10. ใช้ประโยคคำาเดียว (One Word Sentence)
ประโยคเดี่ยว (Simple Sentence) ในการสนทนาโต้ตอบตาม
สถานการณ์ในชีวิตประจำาวัน
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
             1. ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้องและคำาแนะนำาที่ฟังและ
อ่าน อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ นิทานและบทกลอนสั้นๆถูก
ต้องตามหลักการอ่านเลือก/ระบุประโยคและข้อความตรงตามความ
หมายของสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน บอกใจความสำาคัญและ
ตอบคำาถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทานง่ายๆและเรื่องเล่า
             2. พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคลใช้คำา
สั่ง คำาขอร้องและให้คำาแนะนำา พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอ
ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือใน
สถานการณ์ง่ายๆ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียนแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับ
เรื่องต่างๆใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
             3. พูด/เขียนให้ขอมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อนและสิ่ง
                               ้
แวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพแผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูล
ต่างๆที่ฟังและอ่าน พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ใกล้ตัว
             4. ใช้ถ้อยคำานำ้าเสียงและกิริยาท่าทางอย่างสุภาพ
เหมาะสมตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้
ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำาคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของ
เจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความ
สนใจ
9




               5. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออก
เสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการลำาดับ
คำาตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
เปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลอง
และประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย
               6. ค้นคว้า รวบรวมคำาศัพท์ทเกียวข้องกับกลุมสาระการ
                                          ี่ ่           ่
เรียนรูอนจากแหล่งการเรียนรู้ และนำาเสนอด้วยการพูด/การเขียน
        ้ ื่
               7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน
ห้องเรียนและสถานศึกษา
               8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล
ต่างๆ
               9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-
อ่าน-เขียน) สือสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน
                  ่
สิงแวดล้อม อาหาร เครืองดืม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและ
  ่                        ่  ่
สวัสดิการ การซือ-ขายและลมฟ้าอากาศภายในวงคำาศัพท์ประมาณ
                      ้
1,050-1,200 คำา (คำาศัพท์ทเป็นรูปธรรมและนามธรรม)
                                ี่
                10. ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound
Sentences) สือความหมายตามบริบทต่าง ๆ
                    ่
             จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
               1. ปฏิบัติตามคำาขอร้อง คำาแนะนำา คำาชี้แจง และคำา
อธิบายที่ฟังและอ่านอ่านออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา นิทาน
และบทร้อยกรองสั้นๆถูกต้องตามหลักการอ่านระบุ/เขียนสื่อที่ไม่ใช่
ความเรียงรูปแบบต่างๆสัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรือ
อ่านเลือก/ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำาคัญ รายละเอียดสนับสนุน และ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ
พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
               2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ
เรื่องต่างๆใกล้ตัว สถานการณ์ ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจของ
สังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมใช้คำาขอร้อง คำาชี้แจง
และคำาอธิบาย ให้คำาแนะนำาอย่างเหมาะสม พูดและเขียนแสดงความ
ต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้
ความช่วยเหลือ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย
เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่าง
เหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของ
ตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/
เหตุการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
10




             3. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์
ข่าว/เหตุการณ์/เรื่อง/ประเด็นต่างๆที่อยู่ในความสนใจของสังคม พูด
และเขียนสรุปใจความสำาคัญ/แก่นสาระ หัวข้อเรื่องที่ได้จากการ
วิเคราะห์เรื่อง/ข่าว/เหตุการณ์/สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจ พูด
และเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และ
เหตุการณ์พร้อมให้เหตุผลประกอบ
             4. เลือกใช้ภาษา นำ้าเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับ
บุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ
ภาษาอธิบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและประเพณี
ของเจ้าของภาษาเข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตาม
ความสนใจ
             5. เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตก
ต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆและการลำาดับคำาตาม
โครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทยเปรียบเทียบ
และอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่
และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำาไปใช้อย่าง
เหมาะสม
             6. ค้นคว้า รวบรวมและสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำาเสนอด้วย
การพูดและการเขียน
             7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์
จำาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษาชุมชน และสังคม
             8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม
และสรุปความรู/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆใน
                  ้
การศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่นเป็นภาษาต่างประเทศ
             9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-
อ่าน-เขียน) สือสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน
                ่
สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและ
สวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดิน
ทางท่องเที่ยวการบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ภายในวงคำาศัพท์ประมาณ 2,100 - 2,250 คำา (คำาศัพท์
ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น)
             10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อน (Complex
Sentences) สือความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็น
                    ่
ทางการและไม่เป็นทางการ
11




          จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
             1. ปฏิบัติตามคำาแนะนำาในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำา
ชี้แจง คำาอธิบายและคำาบรรยายที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียง
ข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรองและบทละครสั้นถูก
ต้องตามหลักการอ่าน อธิบายและเขียนประโยคและข้อความ
สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆที่อ่าน รวมทั้งระบุและ
เขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ สัมพันธ์กับประโยคและ
ข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสำาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ
ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดี
และบันเทิงคดีพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
             2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ
เรื่องต่างๆใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ข่าว/เหตุการณ์
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
เลือกและใช้คำาขอร้อง คำาชี้แจง คำาอธิบาย และให้คำาแนะนำา พูด
และเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับ
และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์จำาลองหรือ
สถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล
บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/
ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียน
บรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่อง
ต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
             3. พูดและเขียนนำาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/
ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์             เรื่องและประเด็นต่างๆตาม
ความสนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสำาคัญ แก่นสาระที่ได้จากการ
วิเคราะห์เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความ
สนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม
ประสบการณ์ และเหตุการณ์ทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลกพร้อมทั้ง
ให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
             4. เลือกใช้ภาษานำ้าเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับ
ของบุคคล เวลา โอกาสและสถานที่ตามมารยาทสังคมและ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด
ความเชื่อ และที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของ
ภาษา เข้าร่วม แนะนำา และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม
อย่างเหมาะสม
             5. อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้าง
ประโยค ข้อความ สำานวน คำาพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษา
12




ต่างประเทศและภาษาไทยวิเคราะห์/อภิปรายความเหมือน และความ
แตกต่างระหว่างวิถชวตความเชือ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ
                      ี ี ิ     ่
ของไทย และนำาไปใช้อย่างมีเหตุผล
            6. ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียน
รู้ต่างๆ และนำาเสนอด้วยการพูดและการเขียน
            7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์
จำาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
            8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม
วิเคราะห์และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้
ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็น
ภาษาต่างประเทศ
            9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-
อ่าน-เขียน) สือสารตาม
               ่                     หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว
โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้า
อากาศ การศึกษาและอาชีพ                      การเดินทางท่องเที่ยว การ
บริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในวงคำา
ศัพท์ประมาณ 3,600 - 3,750 คำา (คำาศัพท์ที่มีระดับการใช้แตกต่าง
กัน)
            10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมาย
ตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ


         4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
           สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
           มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน
       จากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
           มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการ
       แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น
       อย่างมีประสิทธิภาพ
              มาตรฐาน ต 1.3 การพูดและการเขียน
           สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
13




                มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับ
กาลเทศะ
                มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตก
ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและ
วัฒนธรรมไทย และนำามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
             สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อืน
  ่
                มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยง
ความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
             สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
                มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์
ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาชุมชนและสังคม
                มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือ
พื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับสังคมโลก
           5. ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
              สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน
จากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
                  ต 1.1.1 ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้อง และคำาแนะนำา
(Instructions) ง่ายๆ ที่ฟังหรืออ่าน
                  ต 1.1.2 อ่านออกเสียงคำา สะกดคำา อ่านกลุ่มคำา
ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้องตามหลักการ
อ่าน
                        ต 1.1.3 เลือก/ระบุภาพ หรือ สัญลักษณ์ หรือ
เครื่องหมาย ตรงตามความหมายของ ประโยคและ ข้อความสั้นๆ ที่
ฟังหรืออ่าน
              ต 1.1.4 ตอบคำาถามจากการฟังและอ่าน
ประโยค บทสนทนา และนิทานง่ายๆ
            มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมี
ประสิทธิภาพ
14




               ต 1.2.1 พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่าง
บุคคล
                   ต 1.2.2 ใช้คำาสั่ง คำาขอร้อง และคำาขออนุญาตง่ายๆ
                   ต 1.2.3 พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเอง
และขอความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ
                    ต 1.2.4 พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
ตนเองเพื่อนและครอบครัว
                    ต 1.2.5 พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับ
เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่างๆตามแบบทีฟง     ่ ั
                 มาตรฐาน ต 1.3 นำาเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบ
ยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
                    ต 1.3.1 พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ
เรื่องใกล้ตัว                              ต 1.3.2 พูด/วาดภาพแสดง
ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวตามที่ฟังหรืออ่าน
                   ต 1.3.3 พูดแสดงความคิดเห็นง่ายๆ เกี่ยวกับเรือง
                                                                ่
ต่างๆ ใกล้ตว ั
               สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
                 มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับ
กาลเทศะ
                   ต 2.1.1 พูดและทำาท่า ประกอบ อย่างสุภาพ ตาม
มารยาทสังคม และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
                      ต 2.1.2 ตอบคำาถามเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำาคัญ/
งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา

                   ต 2.1.3 เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ
วัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย
              มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตก
ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและ
วัฒนธรรมไทย และนำามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                ต 2.2.1 บอกความแตกต่างของของเสียงตัวอักษร
คำา กลุ่มคำา ประโยค และข้อความของภาษา ต่างประเทศและภาษา
ไทย
                   ต 2.2.2 บอกความเหมือน/ความแตกต่าง
ระหว่างเทศกาลและงานฉลอง ตามวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา
กับของไทย
15




           สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อืน
  ่
                มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยง
ความรู้กับสาระการเรียนรู้อื่นและเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหา
ความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                  ต 3.1.1 ค้นคว้า รวบรวมคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อื่นและนำาเสนอด้วยการพูด/การเขียน
            สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก
                มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์
ต่างๆทั้งในสถานศึกษาชุมชน และสังคม
                  ต 4.1.1 ฟังและพูด/อ่าน ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน
ห้องเรียนและสถานศึกษา                     มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษา
ต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
                  ต 4.2.1 ใช้ภาษา ต่างประเทศในการสืบค้นและ
รวบรวมข้อมูลต่างๆ
          6. คำาอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
             6.1 คำาอธิบายรายวิชา
                กรมวิชาการ (2546 : 90) ได้กำาหนดคำาอธิบาย
รายวิชาและหน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้ เข้าใจคำาสั่ง คำาขอร้อง
ภาษาท่าทาง และคำาแนะนำาในสถานศึกษา อ่านออกเสียงคำา กลุ่มคำา
และประโยคง่ายๆ ตามหลักการอ่านออกเสียง เข้าใจประโยค ข้อ
ความสั้นๆ บทสนทนาและเรื่องสั้น ใช้ภาษาง่ายๆ เพื่อสร้างความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการของตน แลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นแสดงความรู้สึกและบอกเหตุผล ขอและให้ข้อมูลง่ายๆ
อธิบายเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำาวัน ตนเอง
ครอบครัว โรงเรียน อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่าง นันทนาการ การซื้อ
ขาย ลมฟ้าอากาศ นำาเสนอความคิดรวบยอด ความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องต่างๆ ที่ใกล้ตัวได้อย่างมีเหตุผล นำาเสนอบทเพลง บทกวี ตาม
ความสนใจด้วยความสนุกสนาน เข้าใจรูปแบบ พฤติกรรมและการ
ใช้ถ้อยคำา สำานวน ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของ
เจ้าของภาษา รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณี เทศกาล งานฉลองใน
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษา
16




อังกฤษกับภาษาไทยในเรื่อง สระ พยัญชนะ คำา วลี ประโยค เข้าใจ
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับของไทยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา เห็นประโยชน์ของการรู้
ภาษาอังกฤษในการแสวงหาความรู้ และความบันเทิง สนใจเข้าร่วม
กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เข้าใจและถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
ภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ใช้ภาษา
เพื่อสือสารตามสถานการณ์ต่างๆ กับบุคคลภายในสถานศึกษา
       ่
อาชีพต่างๆ ในสถานการณ์จำาลอง และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น
อย่างมีความสุข
           6.2 หน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
             Unit 1 : Myself
                  - The Body
                  - Action
                  - Sensory
               Unit 2 : School
                  - Classroom Language
                  - School Objects
                  - Color
                  - Number and Shape
                  - Position
                  - Famous Friends
             Unit 3 : Family
                  - Family Tree
                  - Occupations
                  - Household Objects
                  - Pets
17




              Unit 4 : Free Time
                 -   Hobbies
                 - Sports
              Unit 5 : Shopping
                 - Clothes
                 - Toys
                 - Fruit
              Unit 6 : Weather
                 - Season
              Unit 7 : Travel
                 - Places in the Town
                 - Transportation
              Unit 8 : Relationship with other people
                     - Card
        7. การวัดและการประเมินผล
             กรมวิชาการ (2544 : 243 - 244) ได้กำาหนดการวัด
และประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษาและระดับชาติโดยมีจุด
มุ่งหมายสำาคัญเพื่อนำาผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้
เรียน การประเมินผลแต่ละระดับมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันอย่าง
ชัดเจนและใช้ประเมินในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้
18




              1. การประเมินผลย่อย (Formative Assessment)
เป็นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เกิดขึ้นตลอดเวลาในชั้นเรียน
เป็นการประเมินตนเองของผู้เรียนที่เขาจำาเป็นต้องรู้ว่าขณะนั้นเขา
เป็นอย่างไร นอกเหนือจากการที่จะต้องรู้ว่าเป้าหมายที่เขาต้องการ
อยู่ที่ใดและจะทำาให้สมบูรณ์ได้อย่างไร เป็นการประเมินที่ทั้งครูผู้
สอนและผู้เรียนอยู่ในกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อครูให้
ข้อมูลป้อนกลับก็พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงให้เหมาะสม ผล
การประเมินจะนำาไปสู่การปรับแผนการจัดการเรียนรู้ของครู
                  2. การประเมินผลรวม (Summative
Assessment) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินเมื่อเรียนจบ
หน่วยการเรียนรู้/ปลายภาค/ปลายปี/จบช่วงชั้น เพื่อตัดสินความ
สามารถของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับมาตรฐานระดับชาติมักตีค่าเป็น
ตัวเลข ผลการประเมินจะนำาไปใช้เป็นข้อมูลสำาหรับการบริหาร
จัดการ
           3. การประเมินผลระดับชาติ (National Tests) เป็นการ
ประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินการบรรลุผลตามาตรฐานเมื่อจบช่วง
ชั้น เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานระดับชาติให้ข้อมูลการประเมินผลร่วมกับโรงเรียน เพื่อนำา
ไปใช้สำาหรับติดตามควบคุมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐาน
          8. การประเมินผลทางภาษา
             กรมวิชาการ (2544 : 245) ได้กำาหนดการประเมินทาง
ภาษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในการ
จัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ครูผู้สอนเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาวิธีสอนและเทคนิคการสอนภายในชั้น
เรียนให้เกิดความรู้แบบผสมผสานโดยคาดหวังว่าผู้เรียนจะต้องมี
ความรู้ทักษะทางภาษา โดยการนำาความรู้จากการเรียนรู้ภาษา
ตลอดจนกระบวนการต่างๆมาผนวกเข้ากับความรู้ที่เกิดขึ้นภายใน
ตนและสามารถใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่างๆมาผนวกกันได้จริง
ส่วนลักษณะภาษาที่นำามาประเมินความเป็นภาษาที่ใช้ใน
สถานการณ์การสื่อสารตามสภาพจริงคือเป็นข้อความที่สมบูรณ์ใน
ตัวเองเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้ มีความเป็นธรรมชาติอยู่ใน
บริบท ทั้งนี้ต้องคำานึงถึงความสามารถและประสบการณ์ของผู้เรียน
19




ด้วยการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ควร
ประเมินความสามารถในการสื่อความหมายจริงๆไม่ควรแยกการใช้
ภาษาออกจากสถานการณ์และควรวัดให้ครอบคลุม นั่นคือต้อง
ประเมินทั้งความรู้ซึ่งหมายถึงไม่ควรแยกการใช้ภาษาออกจาก
สถานการณ์ และควรวัดให้ครอบคลุม นั่นคือต้องประเมินทั้งความรู้
ซึ่งหมายถึงเนื้อหาทางภาษาประกอบด้วยเสียง คำาศัพท์ โครงสร้าง
ไวยากรณ์ ประเมินทั้งความสามารถหรือประสิทธิภาพซึ่งหมายถึง
ทักษะในการนำาความรู้ไปใช้ การเลือกใช้ภาษาได้เหมาะสม
สอดคล้องกับความคิดและสถานการณ์และประเมินขอบเขตของการ
ใช้ภาษานั่นคือสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งหมายถึงทักษะการรู้จัก
ปรับตนของนักเรียนในสถานการณ์การสื่อสารสามารถแยกได้เป็น
4 สมรรถภาพย่อย ดังนี้
                1. สมรรถภาพทางภาษา (Linguistic Competence)
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการใช้เนื้อหาภาษาได้แก่ การ
เปล่งเสียง การสร้างคำา การใช้คำาศัพท์ และโครงสร้างประโยค
                2. สมรรถภาพทางภาษาศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม
(Socio-linguistic and Socio-cultural Competence) เป็นความ
สามารถในการรู้จักใช้ภาษาตามวัฒนธรรมสังคม รู้จักปรับภาษาให้
เหมาะสมกับบุคคลและกฎเกณฑ์ทางสังคมตามบทบาทและสถานะ
ภาพในสถานการณ์การสื่อสาร
                3. สมรรถภาพทางการเรียบเรียงถ้อยคำา (Discursive
Competence) เป็นความสามารถในการเรียบเรียงลำาดับความคิด
เชื่อมโยงประโยคเป็นข้อความ เชื่อมโยงข้อความเป็นความหลัก
ความรอง รายละเอียดตามบริบท ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่สื่อสารด้วย
วาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
                4. สมรรถภาพทางยุทธศาสตร์การสื่อสาร (Strategic
Competence) เป็นความสามารถในการใช้วิธีการทดแทนต่างๆ
เพื่อดำาเนินการสื่อสารให้ต่อเนื่องเช่น การอธิบายคำาด้วยท่าทางหรือ
ด้วยการใช้ประโยคเทียบเคียง
                การประเมินผลทางภาษาจึงไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้น
ตรงแต่เป็นแบบวงจร โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่กันและกัน
และควรนำามาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้
ทบทวนสิ่งที่เขาได้เรียนมาและเพื่อให้เกิดความรู้สึกภูมิใจในผลที่
เกิดกับตนเอง
           9. แนวทางการทดสอบทักษะการพูด
20




              กรมวิชาการ (2544 : 250) ได้กำาหนดการทดสอบ
ทักษะการพูดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ดังนี้
                9.1 การพูดที่มีการควบคุม สามารถทดสอบได้โดย
                   9.1.1 การให้ตัวแนะที่สามารถมองเห็นได้ แต่
นักเรียนควรมีความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ที่ใช้เสียก่อน
                   9.1.2 การใช้ตัวแนะที่เป็นคำาพูด อาจใช้ภาษาแม่
หรือภาษาที่เรียน หรือในบางครั้งอาจเขียนก็ได้
                   9.1.3 การสอบพูดปากเปล่า ด้วยวิธีการสอบแบบ
โคลช (Cloze)
                  9.1.4 การเล่าเรื่อง (Narrative Task) เล่าเรื่องให้
ฟังแล้วให้ไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง แล้วบันทึกเทปไว้
                   9.1.5 ให้พูดตามสถานการณ์สมมุติโดยใช้ภาษา
ตามหน้าที่ (Function) ที่เหมาะสม
               9.2 การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่าง
แท้จริง เช่น
                   9.2.1 ให้บรรยายเหตุการณ์ในภาพชุด ถ้าเป็น
ระดับเริ่มเรียนอาจให้คำาสั่งเป็นภาษาแม่
                   9.2.2 ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องง่ายๆ
                   9.2.3 ให้พูดตามหัวข้อที่กำาหนดให้ ควรให้
       หลายๆหัวข้อ
                   9.2.4 ให้บรรยายสิ่งของ บุคคล ฯลฯ
                      9.2.5 ให้พูดเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของ
ตนเอง โต้แย้ง ปฏิเสธ พูดหักล้างข้อโต้แย้ง
                 9.2.6 สนทนาและสัมภาษณ์ เนื้อหาในการ
สัมภาษณ์ ควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับความสามารถและความ
สนใจของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การแสดง
ความคิดเห็น การให้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจให้
อ่านบทความที่เตรียมไว้ล่วงหน้า การสนทนาจะเป็นการแสดงความ
คิดเห็น เกี่ยวกับสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน
                 9.2.7 ให้พูดนำาเสนอข้อมูลจากสื่อต่างๆ เช่น
บทความ ภาพ วีดีทศน์ ฯลฯ
                    ั
                    9.2.8 ให้พูดสรุปจากเอกสาร
                    9.2.9 ให้พูดเชิงวิเคราะห์โดยนำาเสนอหน้าชั้น
21




ทักษะการพูด
       1.ความหมายของการพูด
         ฟลอเรซ (Florez. 1999 : website) ได้ให้ความหมายว่า
การพูด คือกระบวนการโต้ตอบที่มีความหมายระหว่างผู้รับสารและผู้
ส่งสาร ทักษะการพูดมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทราบถึงรูปแบบโครงสร้าง
ของภาษา เช่น คำาศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ภาษาพูดจะมี
โครงสร้างที่แตกต่างจากภาษาเขียน กล่าวคือ การพูดเป็นความ
พยายามในการใช้ภาษาในการสื่อสาร แต่การเขียนจะเน้นความถูก
ต้องของรูปแบบโครงสร้างทางภาษามากกว่า ผู้พูดที่ดีควรมีการ
สังเคราะห์และมีการจัดเรียงคำาพูดที่ง่ายต่อความเข้าใจจึงจะถือว่า
เป็นผู้ประสบผลสำาเร็จในการพูด
         เนวีด (Naveed. 2012 : website) ได้ให้ความหมายว่า
การพูดคือขั้นตอนการโต้ตอบที่มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
การรับ และการประมวลผลข้อมูล การพูดจะขึ้นอยู่กับบริบทและ
สถานการณ์ เช่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัตถุประสงค์ของการ
พูดมุ่งเน้นให้ผู้พูดสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ผู้พดไม่เพียง
                                                         ู
แค่จำาเป็นต้องรู้หลักเฉพาะของภาษา เช่น คำาศัพท์ ไวยากรณ์ หรือ
การออกเสียง
           มูแรนน์ (Mauranen. 2006 : 144) ได้ให้ความหมายว่า
โดยธรรมชาติของภาษาพูด ไม่มีการทำาเป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะ
เป็นการใช้ความจำา ซึ่งการพูดเป็นความจำาเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่
ใช้ในการสื่อสาร การพูดเป็นภาษาแรกที่มนุษย์ได้รับและเรียนรู้
       2.ความสำาคัญของการพูด
          ลูม่า (Luoma. 2004 : 9) กล่าวว่า การพูดเป็นการสร้าง
ปฏิสัมพันธ์ และการพูดเป็นกิจกรรมทางสังคมถือได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่
มีความสำาคัญมากในชีวิตประจำาวันของผู้คนที่จะใช้ในการติดต่อ
สือสาร โดยพื้นฐานของมนุษย์หากได้ยินเสียงพูด หูของเราจะใส่ใจ
   ่
กับเสียงเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่ง เสียง วิธีการและบุคลิกภาพของผู้
พูดจะแสดงให้เห็นถึงทัศนะคติและลักษณะของผู้พูดได้เป็นอย่างดี
           ฟินิกัน (Finegan. 1989 : 15) กล่าวว่า สือกลางในการ
                                                    ่
พูดการสื่อสารทางภาษาคือ การพูด เป็นรูปแบบหลักในการใช้
ภาษาและมีความสำาคัญมากในการสื่อสารของมนุษย์ เพราะคำาว่า
พูด ไม่จำาเป็นต้องมองเห็นได้แต่มันก็ไม่สามารถทำาให้ผู้อื่นเข้าใจใน
สิ่งที่เราจะสื่อเป็นอย่างดี นำ้าเสียงในการพูดของมนุษย์เป็นสื่อที่มี
22




ความซับซ้อนเป็นอย่างมาก นำ้าเสียง ระดับเสียง และความเร็วจะมี
ความหมายที่แตกต่างขึ้นอยู่กับบริบทในการพูด
         วัตกินส์ (Watkins. 2005 : 76) กล่าวว่า การพูดเป็นการ
สร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคม คนเราใช้การพูดในการ
ติดต่อสือสาร นอกจากนั้นยังใช้การพูดในการแบ่งปันมุมมองทาง
          ่
ความคิด
            ฮิจส์ (Hughes. 2010 : 211) กล่าวว่า การพูด คือรูปแบบ
หลักของภาษา รูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ที่เป็นความสามารถพื้น
ฐานที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์ทุกคน ซึ่งสมองของมนุษย์จะมีการ
สือสารออกมาผ่านกระบวนการการพูด การพูดจึงถูกจัดว่าเป็นรูป
  ่
แบบพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการสื่อสารทางภาษาศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ
       3.วัตถุประสงค์ของการพูด
         บิลาซ (Bilash. 2009 : website) กล่าวว่า จุดมุ่งหมาย
หลักของการพูดในบริบทของภาษาคือ การส่งเสริมประสิทธิภาพใน
การสื่อสาร ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้จริงอย่าง
ถูกต้องและมีวัตถุประสงค์ ในการเรียนภาษาทักษะการพูดจะได้รับ
ความสำาคัญมากกว่าทักษะอื่นๆ แต่ในทางกลับกันก็เป็นทักษะหนึ่งที่
ผู้เรียนเกิดปัญหามากเช่นเดียวกัน ผู้เรียนมักจะวิตกกังวลมากกับ
กระบวนการพูดของตนเอง ประโยชน์หลักของการพูดการสื่อสาร
คือสามารถเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม การเอาตัวรอดและ
สามารถสื่อสารกับคนอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         เอียนแมคเคนไซ (Ianmckenzie. 2012 : website) กล่าว
ว่า จุดประสงค์พื้นฐานของการพูดมีดังต่อไปนี้
            1. การบอกข้อมูล การพูดรูปแบบนี้เป็นวิธีการพูดให้ข้อมูล
ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์
            2. การพูดเพื่อสอน การพูดรูปแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน
มากกับการพูดให้ข้อมูลแต่จะแตกต่างกันในด้านวิธีการ
            3. การพูดโน้มน้าว เป็นรูปแบบการพูดโน้มน้าวให้ผู้ฟัง
        เปลี่ยนทัศนคติไปในทางใดทางหนึ่ง
            4. การพูดสร้างความบันเทิงเป็นรูปแบบการพูดที่เน้นให้ผู้
ฟังความสุขและความเพลิดเพลิน เช่น การเล่าเรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่
ทำาให้ผู้ฟังหัวเราะได้
         สตราเกอร์ (Straker. 2012 : website) กล่าวว่า เมื่อพูดถึง
การพูดก็สามารถแบ่งวัตถุประสงค์ออกได้ดังต่อไปนี้
            1. การพูดให้ข้อมูล คือ การพยายามที่จะแจ้งหรืออธิบาย
ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดพยายาม
23




จะสื่อไปในทิศทางเดียวกัน การพูดให้ข้อมูลจะเป็นการนำาเสนอข้อ
เท็จจริง ข้อมูล ตรรกะ หลักฐานหรือข้อมูลอื่นๆที่มีความมั่นคง เพื่อ
นำาเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำาข้อมูลที่นำาเสนอนั้นได้ อาจจะเป็น
ในลักษณะของการถามคำาถาม แล้วตอบคำาถามด้วยการให้ข้อมูลที่
เกี่ยวข้อง
          2. การพูดเชิญชวน มักจะมีความคล้ายกับการพูดแบบให้
ข้อมูลแต่จะเพิ่มการตัดสินใจเข้าไปเป็นองค์ประกอบ เป็นการเชิญ
ชวนผู้ฟังให้ตกลงหรือประเมินบางสิ่งบางอย่าง อาจจะประเมินด้วย
การแสดงความคิดเห็น เหตุการณ์หรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งอาจนำามาซึ่งใช้ใน
การตัดสินใจ ซึ่งวิธีการนี้มีความยากและซับซ้อนมากกว่าการพูดให้
ข้อมูล
          3. การพูดโน้มน้าว เป็นการพูดโน้มน้าวจิตใจ หรือการพูด
เชิญชวนให้เห็นด้วยหรือตกลงกับทัศนคติ ค่านิยม หรือความเชื่อ
การพูดแบบนี้เป็นสิ่งที่ถือว่ามีความยากมากที่จะทำาให้คนฟังเกิดการ
เปลี่ยนแปลงตามได้ ซึ่งวิธีการนี้ไม่เหมาะกับการพูดเชิงวิชาการ
          4. การพูดกระตุ้น คือการพยายามพูดให้บุคคลหนึ่งทำา
กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างทันที วิธีการพูดกระตุ้นนี้ถือเป็นวิธี
การที่ถือเป็นที่สุดของการพูดโน้มน้าว ซึ่งในเรื่องของวิธีการอาจจะ
ยากกว่าการพูดในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจ
ความเห็นด้วยกับการตัดสินใจและการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ผู้ฟังเคย
เชื่อมาก่อน ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลาค่อนข้างนาน
      4.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการพูด
        โกเวอร์ ฟิลิปส์ และ วอลเตอร์ (Gower, Philips and
Walters. 2005 : 99) กล่าวถึงลักษณะอันพึงประสงค์ในการพูด
ไว้ดังต่อไปนี้
          4.1 ความถูกต้อง ความถูกต้องในการใช้คำาศัพท์
ไวยากรณ์และการออกเสียง ในการทำากิจกรรมควรให้ความสำาคัญ
กับความถูกต้องของการใช้ภาษาด้วย ผู้สอนควรให้ข้อมูลที่ชัดเจน
และถูกต้องถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำาคัญ ระหว่างการทำากิจกรรมการแก้ไข
จะต้องดูความเหมาะสมในบริบทนั้นๆ ด้วย ผูสอนต้องสร้างความ
                                            ้
กระตือรือร้นให้ผู้เรียนพยายามมีการใช้ภาษาที่สองให้ถูกต้อง ซึ่งมี
ผลโดยตรงต่อการประสบความสำาเร็จในการสื่อสารของผู้เรียน
          4.2 ความคล่องแคล่วในการพูด ความคล่องแคล่วเป็น
ความสามารถในการดำาเนินกิจกรรมการพูดให้เป็นไปตามธรรมชาติ
การพูดได้อย่างคล่องแคล่วบางครั้งทำาให้ผู้เรียน ไม่คำานึงถึงความ
ผิดพลาดทางไวยากรณ์และอื่นๆ โดยปกติผู้เรียนไม่ควรได้รับการ
24




แก้ไขทันทีระหว่างการทำากิจกรรมเพราะจะทำาให้การทำากิจกรรม
สะดุด ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคล่องแคล่วได้ดังเช่น
             4.2.1 การออกเสียงอย่างเป็นธรรมชาติ
             4.2.2 การใช้สื่อ อุปกรณ์ได้อย่างไม่ลังเล
             4.2.3 การใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร เช่น การชี้แจง
             4.2.4 ความสามารถในการถอดความ
             4.2.5 การอธิบายหรือบรรยายถึงสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะพูด
ด้วยภาษาที่ถูกต้อง
             4.2.6 การแสดงออกที่เป็นประโยชน์ในการสนทนา
     5. การสอนการพูด
        5.1 ความสำาคัญ
           เคอิ (Kayi. 2006 : website) กล่าวว่า ทักษะการพูด
เป็นกระบวนการสร้างและสื่อความหมายผ่านการใช้สัญลักษณ์ทาง
วัจนภาษาและอวัจนภาษาในบริบทที่หลากหลาย การพูดเป็นส่วน
สำาคัญของการเรียนภาษาที่สอง การพูดมักถูกมองข้ามและผู้สอนยัง
คงสอนการพูดแบบซำ้าๆจากบทสนทนาท่องจำา ซึ่งปัจจุบันได้มีการ
กำาหนดเป้าหมายของการสอนการพูดให้เน้นไปที่การพัฒนาทักษะ
ทางด้านการสื่อสารของผู้เรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึก
การปฏิบัติการพูดและการแสดงออกตามกฎระเบียบของสังคมและ
วัฒนธรรมที่เหมาะสมในการสื่อสาร เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ใช้ภาษาที่
สองได้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ เคอิ ยังได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของ
การสอนการพูดว่า นักภาษาศาสตร์และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
จำานวนมากเห็นพร้อมกันว่าการโต้ตอบ เป็นวิธีการเรียนรู้ภาษาที่
สองที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายหลักคือ การ
สอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้จากการทำางานแบบร่วมมือ
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นต้องขึ้นอยู่กับความต้องการสื่อสาร
ในสถานการณ์ในชีวิตจริง ซึ่งการใช้วิธีการนี้ในชั้นเรียน ESL
นักเรียนจะมีโอกาสใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสารกับคนอื่น ครูผู้
สอนควรสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมือนกับสถานการณ์
ในการสื่อสารจริงหรือกิจกรรมจริง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมในการใช้
ภาษาในการพูด
           บารานิ (Bahrani. 2012 : website) กล่าวถึงการสอน
การพูดว่า การพูดเป็นส่วนสำาคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ภาษา
เป้าหมายหลักของการเรียนการสอนทักษะการพูดคือ ประสิทธิภาพ
ของการสื่อสาร ซึ่งปัญหาที่ผู้เรียนมักประสบในการพูดคือ การออก
เสียงที่ผิดพลาดรวมทั้งการใช้คำาศัพท์และไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
25




เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารในการพูด ผูสอน    ้
ต้องจัดกิจกรรมที่รวมทั้งข้อมูลทางภาษาและสื่อที่ดึงดูดน่าสนใจ ซึ่ง
ประเภทของกิจกรรมที่ใช้ในการสอนควรส่งเสริมความสามารถใน
การพูดของผู้เรียน
        5.2 ขั้นตอนการสอนการพูด
          5.2.1 เกยเซอร์ (Geyser. 2010 : website) กล่าวว่า ใน
การสอนทักษะการพูดสิ่งที่มักจะพบกับผู้เรียนคือการหลีกเลี่ยงการ
พูด ดังนั้นผู้สอนควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน บางครั้งผู้เรียน
ขาดโอกาสในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ในขณะที่อยู่นอกสภาพ
แวดล้อมของห้องเรียน ซึ่งขั้นตอนในการสอนทักษะการพูดมีดังต่อ
ไปนี้
             5.2.1.1 ขั้นการแนะนำา ให้นำาเสนอในรูปแบบของภาษา
ที่เข้าใจง่ายและมีความเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนซึ่งอาจ
ทำาได้หลายวิธีเช่น
                5.2.1.1.1 ใช้ภาพ สื่อ หรือวัสดุอื่นๆ
                5.2.1.1.2 ใช้บทสนทนาหรือสถานการณ์
                5.2.1.1.3 ใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ การถามตอบ และ
การแสดงความคิดเห็น
                5.2.1.1.4 การอธิบายคำาศัพท์และไวยากรณ์ใหม่ๆ
             5.2.1.2 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ
                5.2.1.2.1 ถามคำาถามที่ต้องตอบสนองทางวาจาและ
กริยา
                5.2.1.2.2 การอภิปราย
             5.2.1.3 ขั้นการเพิ่มโอกาสในการปฏิบัติ
                5.2.1.3.1 การให้วัสดุหรือสื่อเพื่อใช้ในการอภิปราย
งาน เช่น ภาพ, แผ่นงาน ฯลฯ
                5.2.1.3.2 มีการปฏิบัติในกลุ่มผู้เรียนที่แตกต่างกัน
อาจจะเป็นคู่ กลุ่มเล็ก กลุ่มรวม หรือรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้มี
โอกาสในการฝึกปฏิบัติมากขึ้น
          5.2.2 คอคเตอร์ (Cotter. 2007 : website) ได้กล่าวถึง
ขันตอนในการสอนการพูดให้ประสบความสำาเร็จและมีประสิทธิภาพ
   ้
ไว้ดังต่อไปนี้
             5.2.2.1. ขันเตรียม
                         ้
                ในขั้นนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เตรียมความ
พร้อมก่อนเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการอุ่นเครื่อง การอุ่นเครื่องนี้จะช่วยให้
26




ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาพื้นฐานก่อนเพื่อเป็นการ
เตรียมความพร้อมในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งในขั้นนี้จะช่วยให้ผู้
เรียนได้ทราบถึงข้อมูลบางส่วนของเนื้อหาทำาให้ผู้เรียนเกิดความผิด
พลาดน้อยลงในขณะที่ทำากิจกรรม ถือว่าเป็นส่วนสำาคัญที่ช่วยให้ผู้
เรียนเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.2.2.2. ขันสอน
                        ้
               สำาหรับขั้นนี้จะเป็นการนำาเสนอหัวข้อที่จะเรียน เริ่ม
จากการป้อนคำาศัพท์ ไวยากรณ์ที่เกี่ยวกับบทเรียน ซึ่งในขั้นนี้อาจ
มีการนำาข้อมูลจากขั้นเตรียมกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นการเสริม
ข้อมูลและทำาให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำาศัพท์และ
ไวยากรณ์จะถูกนำามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาเพื่อให้เพิ่มการจดจำาที่ดี
ขึนของผู้เรียน
    ้
            5.2.2.3. ขันฝึกปฏิบัติ
                          ้
               หลังจากที่มีเรียนรู้เนื้อหาแล้ว ในขั้นนี้ผู้เรียนจะต้อง
ฝึกปฏิบัติจากเนื้อหาใหม่ที่ได้รับ ถือเป็นขั้นที่ต้องใช้ความพยายาม
เพราะผู้เรียนจะได้รับการฝึกปฏิบัติในการพูดที่ต้องใช้วงศ์คำาศัพท์
และไวยากรณ์ใหม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกใน
ทักษะการพูดก่อนโดยปราศจากการเชื่อมโยงกับทักษะอื่น เพื่อ
เป็นการวางรากฐานการใช้คำาศัพท์และไวยากรณ์ใหม่ในการฝึกพูด
            5.2.2.4. ขันการฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ
                            ้
               ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่เน้นการใช้งานจริงของ
ภาษา ในขณะที่ส่วนแรกของบทเรียนจะมุ่งเน้นไปที่การฝึกความ
แม่นยำาในภาษาและบทเรียนใหม่ให้มีการปฏิบัติอย่างคล่องแคล้ว
กิจกรรมส่วนท้ายของบทเรียนจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
เลือกใช้คำาศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์แล้วเชื่อมโยงไปที่เนื้อหา
ของภาษาที่ศึกษาก่อนหน้านี้ ซึ่งในขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อม
โยงทักษะการพูดกับทักษะอื่น มีการใช้กิริยาท่าทาง ภาษากาย เพื่อ
สือสารภาษาเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  ่
        5.3 กิจกรรมการสอนการพูด
          โกเวอร์ ฟิลิปส์ และวอลเตอร์ (Gower, Philips and
Walters. 2005 : 100) ได้กล่าวถึงประเภทของกิจกรรมการพูดที่
ใช้ในชั้นเรียนไว้ได้ดังต่อไปนี้
            1. กิจกรรมควบคุม คือ กิจกรรมที่เน้นให้มีการปฏิบัติซำ้า
เพื่อเน้นให้มีการปรับปรุงการใช้ภาษาให้มีความถูกต้องของคำาศัพท์
โครงสร้างและการออกเสียง เพื่อเป็นการส่งเสริมความมั่นใจ
27




             2. กิจกรรมแนะนำา เป็นกิจกรรมที่ทำาให้ผู้เรียนสามารถ
เปลี่ยนแปลงการพูดคุยหรือหัวข้อสนทนาและการสื่อสารตามความ
ต้องการโดยใช้ภาษา คำาศัพท์ โครงสร้างจากที่เรียนมาก่อนหน้า
             3. กิจกรรมการสื่อสารที่สร้างสรรค์และอิสระ เป็น
กิจกรรมที่มักออกแบบมาเพื่อให้โอกาสในการปฏิบัติกิจกรรมอย่าง
ใดอย่างหนึ่งที่สร้างสรรค์สำาหรับการใช้ภาษา
           เคอิ (Kayi. 2006 : website) ได้สรุปการจัดกิจกรรมที่
              ส่งเสริมการพูดไว้ดังต่อไปนี้
             1. การอภิปราย (Discussions) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสรุปความคิดร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ
แนวทางการแก้ปัญหาในกลุ่มสนทนาของตน ก่อนที่จะมีการ
อภิปรายสิ่งที่จำาเป็นต้องมีคือ จุดประสงค์ของกิจกรรม ซึ่งครูผู้สอน
จะเป็นผู้กำาหนดขึ้น
             2. การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) เป็นวิธีการหนึ่ง
ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความสามารถในการพูด
ผู้เรียนแต่ละคนจะได้แสดงบทบาทที่อยู่ในบริบทสังคมที่หลากหลาย
โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้กำาหนดบทบาทและกิจกรรมให้ผู้เรียน
             3. เหตุการณ์จำาลอง (Simulations) ซึ่งจะมีความ
คล้ายคลึงกับการแสดงบทบาทสมมติ แต่สิ่งที่ทำาให้เหตุการณ์จำาลอง
แตกต่างจากบทบาทสมมติคือ ตัวกิจกรรมจะมีความละเอียดมากกว่า
โดยผู้เรียนจะมีการใช้อุปกรณ์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สมจริง
ข้อดีของวิธีการนี้คือทำาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและสามารถ
ใช้เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
             4. การเติมข้อมูล (Information gap) โดยกิจกรรมนี้จะ
เน้นการทำางานเป็นคู่ ซึ่งผู้เรียนจะมีข้อมูลที่แตกต่างกัน ผู้เรียนทั้ง
สองคนจะต้องแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน โดยจุดประสงค์หลักของ
กิจกรรมนี้คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแก้ปัญหาหรือเรียนรู้การเก็บ
รวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
เพื่อน
             5. การระดมความคิด (Brainstorming) เป็นการระดม
ความคิดในหัวข้อที่ครูกำาหนดให้ ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์ได้
อย่างอิสระและรวดเร็ว ข้อดีของวิธีการนี้คือผู้เรียนได้รับการวิพากษ์
วิจารณ์ความคิดจากเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงช่วยให้ผู้
เรียนเกิดความรู้ใหม่ๆ
             6. การเล่าเรื่อง (Storytelling) ผู้เรียนอาจสรุปนิทาน
สั้นๆหรือเรื่องราวที่เคยประสบมาก่อน หรืออาจจะเป็นการสร้างเรื่อง
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒

Contenu connexe

Tendances

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สปายด์ 'ดื้อ
 
ข้อสอบภาษาไทยปี51
ข้อสอบภาษาไทยปี51ข้อสอบภาษาไทยปี51
ข้อสอบภาษาไทยปี51
Kanchana Daoart
 
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรมวิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
pong_4548
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมรแผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
itnogkamix
 
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิงแผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
Aing Aingg
 
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
kruthirachetthapat
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
Namfon Wannapa
 

Tendances (20)

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
 
นำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จนำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จ
 
ข้อสอบภาษาไทยปี51
ข้อสอบภาษาไทยปี51ข้อสอบภาษาไทยปี51
ข้อสอบภาษาไทยปี51
 
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรมวิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
วิเคราะห์หลักสุตรที่ใช้ในการอบรม
 
Wordpress2
Wordpress2Wordpress2
Wordpress2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมรแผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาเขมร
 
Chapter9
Chapter9Chapter9
Chapter9
 
ภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลายภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลาย
 
งานแผ่นพับ
งานแผ่นพับงานแผ่นพับ
งานแผ่นพับ
 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
 
01 หน่วย 1
01 หน่วย 101 หน่วย 1
01 หน่วย 1
 
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิงแผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
แผ่นพับ ระดับภาษา อิงอิง
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 2
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Lesson Plan unit Royal Projects+ป.2+120+dltvengp2+09 p2 royal-projects
Lesson Plan unit Royal Projects+ป.2+120+dltvengp2+09 p2 royal-projectsLesson Plan unit Royal Projects+ป.2+120+dltvengp2+09 p2 royal-projects
Lesson Plan unit Royal Projects+ป.2+120+dltvengp2+09 p2 royal-projects
 

Similaire à บทที่ ๒.๒

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
Itnog Kamix
 
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
kruthirachetthapat
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
Mameaw Mameaw
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
Thipa Srichompoo
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
Kanjana Pothinam
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถม
Pignoi Chimpong
 
พจนานุกรม (Dictionaries)
พจนานุกรม  (Dictionaries)พจนานุกรม  (Dictionaries)
พจนานุกรม (Dictionaries)
Srion Janeprapapong
 

Similaire à บทที่ ๒.๒ (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
ม1 วิเคราะห์หลักสูตร 1
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
 
แผนการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษแผนที่1
แผนการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษแผนที่1แผนการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษแผนที่1
แผนการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษแผนที่1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
เรื่องการเขียนจดหมาย
เรื่องการเขียนจดหมายเรื่องการเขียนจดหมาย
เรื่องการเขียนจดหมาย
 
Subject Description_Worksheet 2
Subject Description_Worksheet 2Subject Description_Worksheet 2
Subject Description_Worksheet 2
 
Chapter 2 fixed to print
Chapter 2 fixed to printChapter 2 fixed to print
Chapter 2 fixed to print
 
พจนานุกรม
พจนานุกรมพจนานุกรม
พจนานุกรม
 
Mother pdf2013
Mother pdf2013Mother pdf2013
Mother pdf2013
 
Mother pdf2013
Mother pdf2013Mother pdf2013
Mother pdf2013
 
P6 t1 partsofbody+188
P6 t1 partsofbody+188P6 t1 partsofbody+188
P6 t1 partsofbody+188
 
Brands thai (o net)
Brands thai (o net)Brands thai (o net)
Brands thai (o net)
 
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถม
 
000
000000
000
 
Mil chapter 1_3(1)
Mil chapter 1_3(1)Mil chapter 1_3(1)
Mil chapter 1_3(1)
 
คู่มือหนังสือส่งเสริมการอ่าน
คู่มือหนังสือส่งเสริมการอ่านคู่มือหนังสือส่งเสริมการอ่าน
คู่มือหนังสือส่งเสริมการอ่าน
 
พจนานุกรม (Dictionaries)
พจนานุกรม  (Dictionaries)พจนานุกรม  (Dictionaries)
พจนานุกรม (Dictionaries)
 

Plus de Darunee Sriyangnok

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
Darunee Sriyangnok
 
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-Darunee
Darunee Sriyangnok
 
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Darunee
Darunee Sriyangnok
 
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Darunee Sriyangnok
 
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -Darunee
Darunee Sriyangnok
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
Darunee Sriyangnok
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัย
Darunee Sriyangnok
 

Plus de Darunee Sriyangnok (20)

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
 
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-Darunee
 
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Darunee
 
Paper journal
Paper journalPaper journal
Paper journal
 
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
 
MI
MIMI
MI
 
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -Darunee
 
EJ
EJEJ
EJ
 
cooperative
cooperativecooperative
cooperative
 
book
bookbook
book
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
บทที่ ๕
บทที่ ๕บทที่ ๕
บทที่ ๕
 
บทที่ ๔
บทที่ ๔บทที่ ๔
บทที่ ๔
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
บทที่ ๑.๒
บทที่ ๑.๒บทที่ ๑.๒
บทที่ ๑.๒
 
บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัย
 
Writing
WritingWriting
Writing
 
Speaking
SpeakingSpeaking
Speaking
 

บทที่ ๒.๒

  • 1. 7 สามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้ อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำาคัญ ดังนี้ 1. ภาษาเพื่อการสื่อสารการใช้ภาษาต่างประเทศใน การฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น ตีความ นำาเสนอข้อมูลความคิดรวบยอดและความ- คิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่าง เหมาะสม 2. ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตาม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือน ความแตก ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษา และ วัฒนธรรมไทย และนำาไปใช้อย่างเหมาะสม 3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นการ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อืนเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ของ ่ ตน 4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลกการใช้ภาษา ต่างประเทศในสถานการณ์ ต่างๆ ทังในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ้ ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครืองมือพืนฐานในการศึกษาต่อ ประกอบ ่ ้ อาชีพและแลกเปลียนเรียนรูกบสังคมโลก ่ ้ ั 3. คุณภาพผู้เรียน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 1. ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้องที่ฟัง อ่านออกเสียงตัว อักษร คำา กลุ่มคำา ประโยคง่ายๆ และบทพูดเข้้าจังหวะง่ายๆถูก ต้องตามหลักการอ่าน บอกความหมายของคำาและกลุ่มคำาที่ฟังตรง ตามความหมาย ตอบคำาถามจากการฟังหรืออ่านประโยคบทสนทนา หรือนิทานง่ายๆ 2. พูดโต้ตอบด้วยคำาสั้นๆง่ายๆในการสื่อสารระหว่าง บุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำาสั่งและคำาขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการ ง่ายๆของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อนบอก ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆตาม แบบที่ฟัง 3. พูดให้ขอมูลเกียวกับตนเองและเรืองใกล้ตว จัดหมวดหมู่ ้ ่ ่ ั คำาตามประเภทของบุคคล สัตว์ และสิงของตามทีฟงหรืออ่าน ่ ่ ั 4. พูดและทำาท่าประกอบตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรม ของเจ้าของภาษาบอกชื่อและคำาศัพท์ง่ายๆเกี่ยวกับเทศกาล/วัน
  • 2. 8 สำาคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย 5. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำา กลุ่มคำา และ ประโยคง่ายๆของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย 6. บอกคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 7. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน 8. ใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ใกล้ตัว 9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด) สือสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม ่ ใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการภายใน วงคำา ศัพท์ประมาณ 300-450 คำา (คำาศัพท์ที่เป็นรูปธรรม) 10. ใช้ประโยคคำาเดียว (One Word Sentence) ประโยคเดี่ยว (Simple Sentence) ในการสนทนาโต้ตอบตาม สถานการณ์ในชีวิตประจำาวัน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1. ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้องและคำาแนะนำาที่ฟังและ อ่าน อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ นิทานและบทกลอนสั้นๆถูก ต้องตามหลักการอ่านเลือก/ระบุประโยคและข้อความตรงตามความ หมายของสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน บอกใจความสำาคัญและ ตอบคำาถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทานง่ายๆและเรื่องเล่า 2. พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคลใช้คำา สั่ง คำาขอร้องและให้คำาแนะนำา พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอ ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือใน สถานการณ์ง่ายๆ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียนแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ 3. พูด/เขียนให้ขอมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อนและสิ่ง ้ แวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพแผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูล ต่างๆที่ฟังและอ่าน พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 4. ใช้ถ้อยคำานำ้าเสียงและกิริยาท่าทางอย่างสุภาพ เหมาะสมตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำาคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของ เจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความ สนใจ
  • 3. 9 5. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออก เสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการลำาดับ คำาตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลอง และประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย 6. ค้นคว้า รวบรวมคำาศัพท์ทเกียวข้องกับกลุมสาระการ ี่ ่ ่ เรียนรูอนจากแหล่งการเรียนรู้ และนำาเสนอด้วยการพูด/การเขียน ้ ื่ 7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา 8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล ต่างๆ 9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด- อ่าน-เขียน) สือสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ่ สิงแวดล้อม อาหาร เครืองดืม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและ ่ ่ ่ สวัสดิการ การซือ-ขายและลมฟ้าอากาศภายในวงคำาศัพท์ประมาณ ้ 1,050-1,200 คำา (คำาศัพท์ทเป็นรูปธรรมและนามธรรม) ี่ 10. ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound Sentences) สือความหมายตามบริบทต่าง ๆ ่ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1. ปฏิบัติตามคำาขอร้อง คำาแนะนำา คำาชี้แจง และคำา อธิบายที่ฟังและอ่านอ่านออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา นิทาน และบทร้อยกรองสั้นๆถูกต้องตามหลักการอ่านระบุ/เขียนสื่อที่ไม่ใช่ ความเรียงรูปแบบต่างๆสัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรือ อ่านเลือก/ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำาคัญ รายละเอียดสนับสนุน และ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ 2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ เรื่องต่างๆใกล้ตัว สถานการณ์ ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจของ สังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมใช้คำาขอร้อง คำาชี้แจง และคำาอธิบาย ให้คำาแนะนำาอย่างเหมาะสม พูดและเขียนแสดงความ ต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ ความช่วยเหลือ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่าง เหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของ ตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/ เหตุการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
  • 4. 10 3. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์/เรื่อง/ประเด็นต่างๆที่อยู่ในความสนใจของสังคม พูด และเขียนสรุปใจความสำาคัญ/แก่นสาระ หัวข้อเรื่องที่ได้จากการ วิเคราะห์เรื่อง/ข่าว/เหตุการณ์/สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจ พูด และเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และ เหตุการณ์พร้อมให้เหตุผลประกอบ 4. เลือกใช้ภาษา นำ้าเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับ บุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษาอธิบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและประเพณี ของเจ้าของภาษาเข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตาม ความสนใจ 5. เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตก ต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆและการลำาดับคำาตาม โครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทยเปรียบเทียบ และอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำาไปใช้อย่าง เหมาะสม 6. ค้นคว้า รวบรวมและสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำาเสนอด้วย การพูดและการเขียน 7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์ จำาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษาชุมชน และสังคม 8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม และสรุปความรู/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆใน ้ การศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่นเป็นภาษาต่างประเทศ 9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด- อ่าน-เขียน) สือสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ่ สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและ สวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดิน ทางท่องเที่ยวการบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ภายในวงคำาศัพท์ประมาณ 2,100 - 2,250 คำา (คำาศัพท์ ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น) 10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อน (Complex Sentences) สือความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็น ่ ทางการและไม่เป็นทางการ
  • 5. 11 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 1. ปฏิบัติตามคำาแนะนำาในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำา ชี้แจง คำาอธิบายและคำาบรรยายที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียง ข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรองและบทละครสั้นถูก ต้องตามหลักการอ่าน อธิบายและเขียนประโยคและข้อความ สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆที่อ่าน รวมทั้งระบุและ เขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ สัมพันธ์กับประโยคและ ข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสำาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดี และบันเทิงคดีพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ 2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ เรื่องต่างๆใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เลือกและใช้คำาขอร้อง คำาชี้แจง คำาอธิบาย และให้คำาแนะนำา พูด และเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับ และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์จำาลองหรือ สถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียน บรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่อง ต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล 3. พูดและเขียนนำาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ เรื่องและประเด็นต่างๆตาม ความสนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสำาคัญ แก่นสาระที่ได้จากการ วิเคราะห์เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความ สนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และเหตุการณ์ทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลกพร้อมทั้ง ให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ 4. เลือกใช้ภาษานำ้าเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับ ของบุคคล เวลา โอกาสและสถานที่ตามมารยาทสังคมและ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของ ภาษา เข้าร่วม แนะนำา และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม อย่างเหมาะสม 5. อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้าง ประโยค ข้อความ สำานวน คำาพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษา
  • 6. 12 ต่างประเทศและภาษาไทยวิเคราะห์/อภิปรายความเหมือน และความ แตกต่างระหว่างวิถชวตความเชือ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ ี ี ิ ่ ของไทย และนำาไปใช้อย่างมีเหตุผล 6. ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียน รู้ต่างๆ และนำาเสนอด้วยการพูดและการเขียน 7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์ จำาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษา ชุมชน และสังคม 8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็น ภาษาต่างประเทศ 9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด- อ่าน-เขียน) สือสารตาม ่ หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้า อากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การ บริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในวงคำา ศัพท์ประมาณ 3,600 - 3,750 คำา (คำาศัพท์ที่มีระดับการใช้แตกต่าง กัน) 10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมาย ตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน จากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต 1.3 การพูดและการเขียน สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
  • 7. 13 มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับ กาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตก ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและ วัฒนธรรมไทย และนำามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อืน ่ มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยง ความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาชุมชนและสังคม มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือ พื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับสังคมโลก 5. ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน จากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ต 1.1.1 ปฏิบัติตามคำาสั่ง คำาขอร้อง และคำาแนะนำา (Instructions) ง่ายๆ ที่ฟังหรืออ่าน ต 1.1.2 อ่านออกเสียงคำา สะกดคำา อ่านกลุ่มคำา ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้องตามหลักการ อ่าน ต 1.1.3 เลือก/ระบุภาพ หรือ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย ตรงตามความหมายของ ประโยคและ ข้อความสั้นๆ ที่ ฟังหรืออ่าน ต 1.1.4 ตอบคำาถามจากการฟังและอ่าน ประโยค บทสนทนา และนิทานง่ายๆ มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมี ประสิทธิภาพ
  • 8. 14 ต 1.2.1 พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่าง บุคคล ต 1.2.2 ใช้คำาสั่ง คำาขอร้อง และคำาขออนุญาตง่ายๆ ต 1.2.3 พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเอง และขอความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ ต 1.2.4 พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเองเพื่อนและครอบครัว ต 1.2.5 พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่างๆตามแบบทีฟง ่ ั มาตรฐาน ต 1.3 นำาเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบ ยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน ต 1.3.1 พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ เรื่องใกล้ตัว ต 1.3.2 พูด/วาดภาพแสดง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวตามที่ฟังหรืออ่าน ต 1.3.3 พูดแสดงความคิดเห็นง่ายๆ เกี่ยวกับเรือง ่ ต่างๆ ใกล้ตว ั สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับ กาลเทศะ ต 2.1.1 พูดและทำาท่า ประกอบ อย่างสุภาพ ตาม มารยาทสังคม และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ต 2.1.2 ตอบคำาถามเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำาคัญ/ งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา ต 2.1.3 เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตก ต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและ วัฒนธรรมไทย และนำามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ต 2.2.1 บอกความแตกต่างของของเสียงตัวอักษร คำา กลุ่มคำา ประโยค และข้อความของภาษา ต่างประเทศและภาษา ไทย ต 2.2.2 บอกความเหมือน/ความแตกต่าง ระหว่างเทศกาลและงานฉลอง ตามวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา กับของไทย
  • 9. 15 สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อืน ่ มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยง ความรู้กับสาระการเรียนรู้อื่นและเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหา ความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน ต 3.1.1 ค้นคว้า รวบรวมคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม สาระการเรียนรู้อื่นและนำาเสนอด้วยการพูด/การเขียน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ ต่างๆทั้งในสถานศึกษาชุมชน และสังคม ต 4.1.1 ฟังและพูด/อ่าน ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษา ต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก ต 4.2.1 ใช้ภาษา ต่างประเทศในการสืบค้นและ รวบรวมข้อมูลต่างๆ 6. คำาอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 6.1 คำาอธิบายรายวิชา กรมวิชาการ (2546 : 90) ได้กำาหนดคำาอธิบาย รายวิชาและหน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้ เข้าใจคำาสั่ง คำาขอร้อง ภาษาท่าทาง และคำาแนะนำาในสถานศึกษา อ่านออกเสียงคำา กลุ่มคำา และประโยคง่ายๆ ตามหลักการอ่านออกเสียง เข้าใจประโยค ข้อ ความสั้นๆ บทสนทนาและเรื่องสั้น ใช้ภาษาง่ายๆ เพื่อสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการของตน แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นแสดงความรู้สึกและบอกเหตุผล ขอและให้ข้อมูลง่ายๆ อธิบายเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำาวัน ตนเอง ครอบครัว โรงเรียน อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่าง นันทนาการ การซื้อ ขาย ลมฟ้าอากาศ นำาเสนอความคิดรวบยอด ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ที่ใกล้ตัวได้อย่างมีเหตุผล นำาเสนอบทเพลง บทกวี ตาม ความสนใจด้วยความสนุกสนาน เข้าใจรูปแบบ พฤติกรรมและการ ใช้ถ้อยคำา สำานวน ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณี เทศกาล งานฉลองใน วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษา
  • 10. 16 อังกฤษกับภาษาไทยในเรื่อง สระ พยัญชนะ คำา วลี ประโยค เข้าใจ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา กับของไทยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา เห็นประโยชน์ของการรู้ ภาษาอังกฤษในการแสวงหาความรู้ และความบันเทิง สนใจเข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เข้าใจและถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ใช้ภาษา เพื่อสือสารตามสถานการณ์ต่างๆ กับบุคคลภายในสถานศึกษา ่ อาชีพต่างๆ ในสถานการณ์จำาลอง และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข 6.2 หน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 Unit 1 : Myself - The Body - Action - Sensory Unit 2 : School - Classroom Language - School Objects - Color - Number and Shape - Position - Famous Friends Unit 3 : Family - Family Tree - Occupations - Household Objects - Pets
  • 11. 17 Unit 4 : Free Time - Hobbies - Sports Unit 5 : Shopping - Clothes - Toys - Fruit Unit 6 : Weather - Season Unit 7 : Travel - Places in the Town - Transportation Unit 8 : Relationship with other people - Card 7. การวัดและการประเมินผล กรมวิชาการ (2544 : 243 - 244) ได้กำาหนดการวัด และประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษาและระดับชาติโดยมีจุด มุ่งหมายสำาคัญเพื่อนำาผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้ เรียน การประเมินผลแต่ละระดับมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจนและใช้ประเมินในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • 12. 18 1. การประเมินผลย่อย (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เกิดขึ้นตลอดเวลาในชั้นเรียน เป็นการประเมินตนเองของผู้เรียนที่เขาจำาเป็นต้องรู้ว่าขณะนั้นเขา เป็นอย่างไร นอกเหนือจากการที่จะต้องรู้ว่าเป้าหมายที่เขาต้องการ อยู่ที่ใดและจะทำาให้สมบูรณ์ได้อย่างไร เป็นการประเมินที่ทั้งครูผู้ สอนและผู้เรียนอยู่ในกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อครูให้ ข้อมูลป้อนกลับก็พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงให้เหมาะสม ผล การประเมินจะนำาไปสู่การปรับแผนการจัดการเรียนรู้ของครู 2. การประเมินผลรวม (Summative Assessment) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินเมื่อเรียนจบ หน่วยการเรียนรู้/ปลายภาค/ปลายปี/จบช่วงชั้น เพื่อตัดสินความ สามารถของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับมาตรฐานระดับชาติมักตีค่าเป็น ตัวเลข ผลการประเมินจะนำาไปใช้เป็นข้อมูลสำาหรับการบริหาร จัดการ 3. การประเมินผลระดับชาติ (National Tests) เป็นการ ประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินการบรรลุผลตามาตรฐานเมื่อจบช่วง ชั้น เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่สอดคล้องกับ มาตรฐานระดับชาติให้ข้อมูลการประเมินผลร่วมกับโรงเรียน เพื่อนำา ไปใช้สำาหรับติดตามควบคุมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐาน 8. การประเมินผลทางภาษา กรมวิชาการ (2544 : 245) ได้กำาหนดการประเมินทาง ภาษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในการ จัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ครูผู้สอนเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาวิธีสอนและเทคนิคการสอนภายในชั้น เรียนให้เกิดความรู้แบบผสมผสานโดยคาดหวังว่าผู้เรียนจะต้องมี ความรู้ทักษะทางภาษา โดยการนำาความรู้จากการเรียนรู้ภาษา ตลอดจนกระบวนการต่างๆมาผนวกเข้ากับความรู้ที่เกิดขึ้นภายใน ตนและสามารถใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่างๆมาผนวกกันได้จริง ส่วนลักษณะภาษาที่นำามาประเมินความเป็นภาษาที่ใช้ใน สถานการณ์การสื่อสารตามสภาพจริงคือเป็นข้อความที่สมบูรณ์ใน ตัวเองเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้ มีความเป็นธรรมชาติอยู่ใน บริบท ทั้งนี้ต้องคำานึงถึงความสามารถและประสบการณ์ของผู้เรียน
  • 13. 19 ด้วยการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ควร ประเมินความสามารถในการสื่อความหมายจริงๆไม่ควรแยกการใช้ ภาษาออกจากสถานการณ์และควรวัดให้ครอบคลุม นั่นคือต้อง ประเมินทั้งความรู้ซึ่งหมายถึงไม่ควรแยกการใช้ภาษาออกจาก สถานการณ์ และควรวัดให้ครอบคลุม นั่นคือต้องประเมินทั้งความรู้ ซึ่งหมายถึงเนื้อหาทางภาษาประกอบด้วยเสียง คำาศัพท์ โครงสร้าง ไวยากรณ์ ประเมินทั้งความสามารถหรือประสิทธิภาพซึ่งหมายถึง ทักษะในการนำาความรู้ไปใช้ การเลือกใช้ภาษาได้เหมาะสม สอดคล้องกับความคิดและสถานการณ์และประเมินขอบเขตของการ ใช้ภาษานั่นคือสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งหมายถึงทักษะการรู้จัก ปรับตนของนักเรียนในสถานการณ์การสื่อสารสามารถแยกได้เป็น 4 สมรรถภาพย่อย ดังนี้ 1. สมรรถภาพทางภาษา (Linguistic Competence) เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการใช้เนื้อหาภาษาได้แก่ การ เปล่งเสียง การสร้างคำา การใช้คำาศัพท์ และโครงสร้างประโยค 2. สมรรถภาพทางภาษาศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม (Socio-linguistic and Socio-cultural Competence) เป็นความ สามารถในการรู้จักใช้ภาษาตามวัฒนธรรมสังคม รู้จักปรับภาษาให้ เหมาะสมกับบุคคลและกฎเกณฑ์ทางสังคมตามบทบาทและสถานะ ภาพในสถานการณ์การสื่อสาร 3. สมรรถภาพทางการเรียบเรียงถ้อยคำา (Discursive Competence) เป็นความสามารถในการเรียบเรียงลำาดับความคิด เชื่อมโยงประโยคเป็นข้อความ เชื่อมโยงข้อความเป็นความหลัก ความรอง รายละเอียดตามบริบท ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่สื่อสารด้วย วาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร 4. สมรรถภาพทางยุทธศาสตร์การสื่อสาร (Strategic Competence) เป็นความสามารถในการใช้วิธีการทดแทนต่างๆ เพื่อดำาเนินการสื่อสารให้ต่อเนื่องเช่น การอธิบายคำาด้วยท่าทางหรือ ด้วยการใช้ประโยคเทียบเคียง การประเมินผลทางภาษาจึงไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้น ตรงแต่เป็นแบบวงจร โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่กันและกัน และควรนำามาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้ ทบทวนสิ่งที่เขาได้เรียนมาและเพื่อให้เกิดความรู้สึกภูมิใจในผลที่ เกิดกับตนเอง 9. แนวทางการทดสอบทักษะการพูด
  • 14. 20 กรมวิชาการ (2544 : 250) ได้กำาหนดการทดสอบ ทักษะการพูดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้ 9.1 การพูดที่มีการควบคุม สามารถทดสอบได้โดย 9.1.1 การให้ตัวแนะที่สามารถมองเห็นได้ แต่ นักเรียนควรมีความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ที่ใช้เสียก่อน 9.1.2 การใช้ตัวแนะที่เป็นคำาพูด อาจใช้ภาษาแม่ หรือภาษาที่เรียน หรือในบางครั้งอาจเขียนก็ได้ 9.1.3 การสอบพูดปากเปล่า ด้วยวิธีการสอบแบบ โคลช (Cloze) 9.1.4 การเล่าเรื่อง (Narrative Task) เล่าเรื่องให้ ฟังแล้วให้ไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง แล้วบันทึกเทปไว้ 9.1.5 ให้พูดตามสถานการณ์สมมุติโดยใช้ภาษา ตามหน้าที่ (Function) ที่เหมาะสม 9.2 การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่าง แท้จริง เช่น 9.2.1 ให้บรรยายเหตุการณ์ในภาพชุด ถ้าเป็น ระดับเริ่มเรียนอาจให้คำาสั่งเป็นภาษาแม่ 9.2.2 ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องง่ายๆ 9.2.3 ให้พูดตามหัวข้อที่กำาหนดให้ ควรให้ หลายๆหัวข้อ 9.2.4 ให้บรรยายสิ่งของ บุคคล ฯลฯ 9.2.5 ให้พูดเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของ ตนเอง โต้แย้ง ปฏิเสธ พูดหักล้างข้อโต้แย้ง 9.2.6 สนทนาและสัมภาษณ์ เนื้อหาในการ สัมภาษณ์ ควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับความสามารถและความ สนใจของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การแสดง ความคิดเห็น การให้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจให้ อ่านบทความที่เตรียมไว้ล่วงหน้า การสนทนาจะเป็นการแสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน 9.2.7 ให้พูดนำาเสนอข้อมูลจากสื่อต่างๆ เช่น บทความ ภาพ วีดีทศน์ ฯลฯ ั 9.2.8 ให้พูดสรุปจากเอกสาร 9.2.9 ให้พูดเชิงวิเคราะห์โดยนำาเสนอหน้าชั้น
  • 15. 21 ทักษะการพูด 1.ความหมายของการพูด ฟลอเรซ (Florez. 1999 : website) ได้ให้ความหมายว่า การพูด คือกระบวนการโต้ตอบที่มีความหมายระหว่างผู้รับสารและผู้ ส่งสาร ทักษะการพูดมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทราบถึงรูปแบบโครงสร้าง ของภาษา เช่น คำาศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ภาษาพูดจะมี โครงสร้างที่แตกต่างจากภาษาเขียน กล่าวคือ การพูดเป็นความ พยายามในการใช้ภาษาในการสื่อสาร แต่การเขียนจะเน้นความถูก ต้องของรูปแบบโครงสร้างทางภาษามากกว่า ผู้พูดที่ดีควรมีการ สังเคราะห์และมีการจัดเรียงคำาพูดที่ง่ายต่อความเข้าใจจึงจะถือว่า เป็นผู้ประสบผลสำาเร็จในการพูด เนวีด (Naveed. 2012 : website) ได้ให้ความหมายว่า การพูดคือขั้นตอนการโต้ตอบที่มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การรับ และการประมวลผลข้อมูล การพูดจะขึ้นอยู่กับบริบทและ สถานการณ์ เช่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัตถุประสงค์ของการ พูดมุ่งเน้นให้ผู้พูดสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ผู้พดไม่เพียง ู แค่จำาเป็นต้องรู้หลักเฉพาะของภาษา เช่น คำาศัพท์ ไวยากรณ์ หรือ การออกเสียง มูแรนน์ (Mauranen. 2006 : 144) ได้ให้ความหมายว่า โดยธรรมชาติของภาษาพูด ไม่มีการทำาเป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะ เป็นการใช้ความจำา ซึ่งการพูดเป็นความจำาเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่ ใช้ในการสื่อสาร การพูดเป็นภาษาแรกที่มนุษย์ได้รับและเรียนรู้ 2.ความสำาคัญของการพูด ลูม่า (Luoma. 2004 : 9) กล่าวว่า การพูดเป็นการสร้าง ปฏิสัมพันธ์ และการพูดเป็นกิจกรรมทางสังคมถือได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ มีความสำาคัญมากในชีวิตประจำาวันของผู้คนที่จะใช้ในการติดต่อ สือสาร โดยพื้นฐานของมนุษย์หากได้ยินเสียงพูด หูของเราจะใส่ใจ ่ กับเสียงเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่ง เสียง วิธีการและบุคลิกภาพของผู้ พูดจะแสดงให้เห็นถึงทัศนะคติและลักษณะของผู้พูดได้เป็นอย่างดี ฟินิกัน (Finegan. 1989 : 15) กล่าวว่า สือกลางในการ ่ พูดการสื่อสารทางภาษาคือ การพูด เป็นรูปแบบหลักในการใช้ ภาษาและมีความสำาคัญมากในการสื่อสารของมนุษย์ เพราะคำาว่า พูด ไม่จำาเป็นต้องมองเห็นได้แต่มันก็ไม่สามารถทำาให้ผู้อื่นเข้าใจใน สิ่งที่เราจะสื่อเป็นอย่างดี นำ้าเสียงในการพูดของมนุษย์เป็นสื่อที่มี
  • 16. 22 ความซับซ้อนเป็นอย่างมาก นำ้าเสียง ระดับเสียง และความเร็วจะมี ความหมายที่แตกต่างขึ้นอยู่กับบริบทในการพูด วัตกินส์ (Watkins. 2005 : 76) กล่าวว่า การพูดเป็นการ สร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคม คนเราใช้การพูดในการ ติดต่อสือสาร นอกจากนั้นยังใช้การพูดในการแบ่งปันมุมมองทาง ่ ความคิด ฮิจส์ (Hughes. 2010 : 211) กล่าวว่า การพูด คือรูปแบบ หลักของภาษา รูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ที่เป็นความสามารถพื้น ฐานที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์ทุกคน ซึ่งสมองของมนุษย์จะมีการ สือสารออกมาผ่านกระบวนการการพูด การพูดจึงถูกจัดว่าเป็นรูป ่ แบบพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการสื่อสารทางภาษาศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ 3.วัตถุประสงค์ของการพูด บิลาซ (Bilash. 2009 : website) กล่าวว่า จุดมุ่งหมาย หลักของการพูดในบริบทของภาษาคือ การส่งเสริมประสิทธิภาพใน การสื่อสาร ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้จริงอย่าง ถูกต้องและมีวัตถุประสงค์ ในการเรียนภาษาทักษะการพูดจะได้รับ ความสำาคัญมากกว่าทักษะอื่นๆ แต่ในทางกลับกันก็เป็นทักษะหนึ่งที่ ผู้เรียนเกิดปัญหามากเช่นเดียวกัน ผู้เรียนมักจะวิตกกังวลมากกับ กระบวนการพูดของตนเอง ประโยชน์หลักของการพูดการสื่อสาร คือสามารถเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม การเอาตัวรอดและ สามารถสื่อสารกับคนอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอียนแมคเคนไซ (Ianmckenzie. 2012 : website) กล่าว ว่า จุดประสงค์พื้นฐานของการพูดมีดังต่อไปนี้ 1. การบอกข้อมูล การพูดรูปแบบนี้เป็นวิธีการพูดให้ข้อมูล ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ 2. การพูดเพื่อสอน การพูดรูปแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน มากกับการพูดให้ข้อมูลแต่จะแตกต่างกันในด้านวิธีการ 3. การพูดโน้มน้าว เป็นรูปแบบการพูดโน้มน้าวให้ผู้ฟัง เปลี่ยนทัศนคติไปในทางใดทางหนึ่ง 4. การพูดสร้างความบันเทิงเป็นรูปแบบการพูดที่เน้นให้ผู้ ฟังความสุขและความเพลิดเพลิน เช่น การเล่าเรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่ ทำาให้ผู้ฟังหัวเราะได้ สตราเกอร์ (Straker. 2012 : website) กล่าวว่า เมื่อพูดถึง การพูดก็สามารถแบ่งวัตถุประสงค์ออกได้ดังต่อไปนี้ 1. การพูดให้ข้อมูล คือ การพยายามที่จะแจ้งหรืออธิบาย ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดพยายาม
  • 17. 23 จะสื่อไปในทิศทางเดียวกัน การพูดให้ข้อมูลจะเป็นการนำาเสนอข้อ เท็จจริง ข้อมูล ตรรกะ หลักฐานหรือข้อมูลอื่นๆที่มีความมั่นคง เพื่อ นำาเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำาข้อมูลที่นำาเสนอนั้นได้ อาจจะเป็น ในลักษณะของการถามคำาถาม แล้วตอบคำาถามด้วยการให้ข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง 2. การพูดเชิญชวน มักจะมีความคล้ายกับการพูดแบบให้ ข้อมูลแต่จะเพิ่มการตัดสินใจเข้าไปเป็นองค์ประกอบ เป็นการเชิญ ชวนผู้ฟังให้ตกลงหรือประเมินบางสิ่งบางอย่าง อาจจะประเมินด้วย การแสดงความคิดเห็น เหตุการณ์หรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งอาจนำามาซึ่งใช้ใน การตัดสินใจ ซึ่งวิธีการนี้มีความยากและซับซ้อนมากกว่าการพูดให้ ข้อมูล 3. การพูดโน้มน้าว เป็นการพูดโน้มน้าวจิตใจ หรือการพูด เชิญชวนให้เห็นด้วยหรือตกลงกับทัศนคติ ค่านิยม หรือความเชื่อ การพูดแบบนี้เป็นสิ่งที่ถือว่ามีความยากมากที่จะทำาให้คนฟังเกิดการ เปลี่ยนแปลงตามได้ ซึ่งวิธีการนี้ไม่เหมาะกับการพูดเชิงวิชาการ 4. การพูดกระตุ้น คือการพยายามพูดให้บุคคลหนึ่งทำา กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างทันที วิธีการพูดกระตุ้นนี้ถือเป็นวิธี การที่ถือเป็นที่สุดของการพูดโน้มน้าว ซึ่งในเรื่องของวิธีการอาจจะ ยากกว่าการพูดในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจ ความเห็นด้วยกับการตัดสินใจและการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ผู้ฟังเคย เชื่อมาก่อน ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลาค่อนข้างนาน 4.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการพูด โกเวอร์ ฟิลิปส์ และ วอลเตอร์ (Gower, Philips and Walters. 2005 : 99) กล่าวถึงลักษณะอันพึงประสงค์ในการพูด ไว้ดังต่อไปนี้ 4.1 ความถูกต้อง ความถูกต้องในการใช้คำาศัพท์ ไวยากรณ์และการออกเสียง ในการทำากิจกรรมควรให้ความสำาคัญ กับความถูกต้องของการใช้ภาษาด้วย ผู้สอนควรให้ข้อมูลที่ชัดเจน และถูกต้องถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำาคัญ ระหว่างการทำากิจกรรมการแก้ไข จะต้องดูความเหมาะสมในบริบทนั้นๆ ด้วย ผูสอนต้องสร้างความ ้ กระตือรือร้นให้ผู้เรียนพยายามมีการใช้ภาษาที่สองให้ถูกต้อง ซึ่งมี ผลโดยตรงต่อการประสบความสำาเร็จในการสื่อสารของผู้เรียน 4.2 ความคล่องแคล่วในการพูด ความคล่องแคล่วเป็น ความสามารถในการดำาเนินกิจกรรมการพูดให้เป็นไปตามธรรมชาติ การพูดได้อย่างคล่องแคล่วบางครั้งทำาให้ผู้เรียน ไม่คำานึงถึงความ ผิดพลาดทางไวยากรณ์และอื่นๆ โดยปกติผู้เรียนไม่ควรได้รับการ
  • 18. 24 แก้ไขทันทีระหว่างการทำากิจกรรมเพราะจะทำาให้การทำากิจกรรม สะดุด ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคล่องแคล่วได้ดังเช่น 4.2.1 การออกเสียงอย่างเป็นธรรมชาติ 4.2.2 การใช้สื่อ อุปกรณ์ได้อย่างไม่ลังเล 4.2.3 การใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร เช่น การชี้แจง 4.2.4 ความสามารถในการถอดความ 4.2.5 การอธิบายหรือบรรยายถึงสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะพูด ด้วยภาษาที่ถูกต้อง 4.2.6 การแสดงออกที่เป็นประโยชน์ในการสนทนา 5. การสอนการพูด 5.1 ความสำาคัญ เคอิ (Kayi. 2006 : website) กล่าวว่า ทักษะการพูด เป็นกระบวนการสร้างและสื่อความหมายผ่านการใช้สัญลักษณ์ทาง วัจนภาษาและอวัจนภาษาในบริบทที่หลากหลาย การพูดเป็นส่วน สำาคัญของการเรียนภาษาที่สอง การพูดมักถูกมองข้ามและผู้สอนยัง คงสอนการพูดแบบซำ้าๆจากบทสนทนาท่องจำา ซึ่งปัจจุบันได้มีการ กำาหนดเป้าหมายของการสอนการพูดให้เน้นไปที่การพัฒนาทักษะ ทางด้านการสื่อสารของผู้เรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึก การปฏิบัติการพูดและการแสดงออกตามกฎระเบียบของสังคมและ วัฒนธรรมที่เหมาะสมในการสื่อสาร เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ใช้ภาษาที่ สองได้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ เคอิ ยังได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของ การสอนการพูดว่า นักภาษาศาสตร์และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำานวนมากเห็นพร้อมกันว่าการโต้ตอบ เป็นวิธีการเรียนรู้ภาษาที่ สองที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายหลักคือ การ สอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้จากการทำางานแบบร่วมมือ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นต้องขึ้นอยู่กับความต้องการสื่อสาร ในสถานการณ์ในชีวิตจริง ซึ่งการใช้วิธีการนี้ในชั้นเรียน ESL นักเรียนจะมีโอกาสใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสารกับคนอื่น ครูผู้ สอนควรสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมือนกับสถานการณ์ ในการสื่อสารจริงหรือกิจกรรมจริง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมในการใช้ ภาษาในการพูด บารานิ (Bahrani. 2012 : website) กล่าวถึงการสอน การพูดว่า การพูดเป็นส่วนสำาคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ภาษา เป้าหมายหลักของการเรียนการสอนทักษะการพูดคือ ประสิทธิภาพ ของการสื่อสาร ซึ่งปัญหาที่ผู้เรียนมักประสบในการพูดคือ การออก เสียงที่ผิดพลาดรวมทั้งการใช้คำาศัพท์และไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
  • 19. 25 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารในการพูด ผูสอน ้ ต้องจัดกิจกรรมที่รวมทั้งข้อมูลทางภาษาและสื่อที่ดึงดูดน่าสนใจ ซึ่ง ประเภทของกิจกรรมที่ใช้ในการสอนควรส่งเสริมความสามารถใน การพูดของผู้เรียน 5.2 ขั้นตอนการสอนการพูด 5.2.1 เกยเซอร์ (Geyser. 2010 : website) กล่าวว่า ใน การสอนทักษะการพูดสิ่งที่มักจะพบกับผู้เรียนคือการหลีกเลี่ยงการ พูด ดังนั้นผู้สอนควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน บางครั้งผู้เรียน ขาดโอกาสในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ในขณะที่อยู่นอกสภาพ แวดล้อมของห้องเรียน ซึ่งขั้นตอนในการสอนทักษะการพูดมีดังต่อ ไปนี้ 5.2.1.1 ขั้นการแนะนำา ให้นำาเสนอในรูปแบบของภาษา ที่เข้าใจง่ายและมีความเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนซึ่งอาจ ทำาได้หลายวิธีเช่น 5.2.1.1.1 ใช้ภาพ สื่อ หรือวัสดุอื่นๆ 5.2.1.1.2 ใช้บทสนทนาหรือสถานการณ์ 5.2.1.1.3 ใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ การถามตอบ และ การแสดงความคิดเห็น 5.2.1.1.4 การอธิบายคำาศัพท์และไวยากรณ์ใหม่ๆ 5.2.1.2 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ 5.2.1.2.1 ถามคำาถามที่ต้องตอบสนองทางวาจาและ กริยา 5.2.1.2.2 การอภิปราย 5.2.1.3 ขั้นการเพิ่มโอกาสในการปฏิบัติ 5.2.1.3.1 การให้วัสดุหรือสื่อเพื่อใช้ในการอภิปราย งาน เช่น ภาพ, แผ่นงาน ฯลฯ 5.2.1.3.2 มีการปฏิบัติในกลุ่มผู้เรียนที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นคู่ กลุ่มเล็ก กลุ่มรวม หรือรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้มี โอกาสในการฝึกปฏิบัติมากขึ้น 5.2.2 คอคเตอร์ (Cotter. 2007 : website) ได้กล่าวถึง ขันตอนในการสอนการพูดให้ประสบความสำาเร็จและมีประสิทธิภาพ ้ ไว้ดังต่อไปนี้ 5.2.2.1. ขันเตรียม ้ ในขั้นนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เตรียมความ พร้อมก่อนเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการอุ่นเครื่อง การอุ่นเครื่องนี้จะช่วยให้
  • 20. 26 ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาพื้นฐานก่อนเพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งในขั้นนี้จะช่วยให้ผู้ เรียนได้ทราบถึงข้อมูลบางส่วนของเนื้อหาทำาให้ผู้เรียนเกิดความผิด พลาดน้อยลงในขณะที่ทำากิจกรรม ถือว่าเป็นส่วนสำาคัญที่ช่วยให้ผู้ เรียนเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2.2.2. ขันสอน ้ สำาหรับขั้นนี้จะเป็นการนำาเสนอหัวข้อที่จะเรียน เริ่ม จากการป้อนคำาศัพท์ ไวยากรณ์ที่เกี่ยวกับบทเรียน ซึ่งในขั้นนี้อาจ มีการนำาข้อมูลจากขั้นเตรียมกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นการเสริม ข้อมูลและทำาให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำาศัพท์และ ไวยากรณ์จะถูกนำามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาเพื่อให้เพิ่มการจดจำาที่ดี ขึนของผู้เรียน ้ 5.2.2.3. ขันฝึกปฏิบัติ ้ หลังจากที่มีเรียนรู้เนื้อหาแล้ว ในขั้นนี้ผู้เรียนจะต้อง ฝึกปฏิบัติจากเนื้อหาใหม่ที่ได้รับ ถือเป็นขั้นที่ต้องใช้ความพยายาม เพราะผู้เรียนจะได้รับการฝึกปฏิบัติในการพูดที่ต้องใช้วงศ์คำาศัพท์ และไวยากรณ์ใหม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกใน ทักษะการพูดก่อนโดยปราศจากการเชื่อมโยงกับทักษะอื่น เพื่อ เป็นการวางรากฐานการใช้คำาศัพท์และไวยากรณ์ใหม่ในการฝึกพูด 5.2.2.4. ขันการฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ ้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่เน้นการใช้งานจริงของ ภาษา ในขณะที่ส่วนแรกของบทเรียนจะมุ่งเน้นไปที่การฝึกความ แม่นยำาในภาษาและบทเรียนใหม่ให้มีการปฏิบัติอย่างคล่องแคล้ว กิจกรรมส่วนท้ายของบทเรียนจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ เลือกใช้คำาศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์แล้วเชื่อมโยงไปที่เนื้อหา ของภาษาที่ศึกษาก่อนหน้านี้ ซึ่งในขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อม โยงทักษะการพูดกับทักษะอื่น มีการใช้กิริยาท่าทาง ภาษากาย เพื่อ สือสารภาษาเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ่ 5.3 กิจกรรมการสอนการพูด โกเวอร์ ฟิลิปส์ และวอลเตอร์ (Gower, Philips and Walters. 2005 : 100) ได้กล่าวถึงประเภทของกิจกรรมการพูดที่ ใช้ในชั้นเรียนไว้ได้ดังต่อไปนี้ 1. กิจกรรมควบคุม คือ กิจกรรมที่เน้นให้มีการปฏิบัติซำ้า เพื่อเน้นให้มีการปรับปรุงการใช้ภาษาให้มีความถูกต้องของคำาศัพท์ โครงสร้างและการออกเสียง เพื่อเป็นการส่งเสริมความมั่นใจ
  • 21. 27 2. กิจกรรมแนะนำา เป็นกิจกรรมที่ทำาให้ผู้เรียนสามารถ เปลี่ยนแปลงการพูดคุยหรือหัวข้อสนทนาและการสื่อสารตามความ ต้องการโดยใช้ภาษา คำาศัพท์ โครงสร้างจากที่เรียนมาก่อนหน้า 3. กิจกรรมการสื่อสารที่สร้างสรรค์และอิสระ เป็น กิจกรรมที่มักออกแบบมาเพื่อให้โอกาสในการปฏิบัติกิจกรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งที่สร้างสรรค์สำาหรับการใช้ภาษา เคอิ (Kayi. 2006 : website) ได้สรุปการจัดกิจกรรมที่ ส่งเสริมการพูดไว้ดังต่อไปนี้ 1. การอภิปราย (Discussions) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสรุปความคิดร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ แนวทางการแก้ปัญหาในกลุ่มสนทนาของตน ก่อนที่จะมีการ อภิปรายสิ่งที่จำาเป็นต้องมีคือ จุดประสงค์ของกิจกรรม ซึ่งครูผู้สอน จะเป็นผู้กำาหนดขึ้น 2. การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) เป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความสามารถในการพูด ผู้เรียนแต่ละคนจะได้แสดงบทบาทที่อยู่ในบริบทสังคมที่หลากหลาย โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้กำาหนดบทบาทและกิจกรรมให้ผู้เรียน 3. เหตุการณ์จำาลอง (Simulations) ซึ่งจะมีความ คล้ายคลึงกับการแสดงบทบาทสมมติ แต่สิ่งที่ทำาให้เหตุการณ์จำาลอง แตกต่างจากบทบาทสมมติคือ ตัวกิจกรรมจะมีความละเอียดมากกว่า โดยผู้เรียนจะมีการใช้อุปกรณ์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สมจริง ข้อดีของวิธีการนี้คือทำาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและสามารถ ใช้เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 4. การเติมข้อมูล (Information gap) โดยกิจกรรมนี้จะ เน้นการทำางานเป็นคู่ ซึ่งผู้เรียนจะมีข้อมูลที่แตกต่างกัน ผู้เรียนทั้ง สองคนจะต้องแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน โดยจุดประสงค์หลักของ กิจกรรมนี้คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแก้ปัญหาหรือเรียนรู้การเก็บ รวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อน 5. การระดมความคิด (Brainstorming) เป็นการระดม ความคิดในหัวข้อที่ครูกำาหนดให้ ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ อย่างอิสระและรวดเร็ว ข้อดีของวิธีการนี้คือผู้เรียนได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์ความคิดจากเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความรู้ใหม่ๆ 6. การเล่าเรื่อง (Storytelling) ผู้เรียนอาจสรุปนิทาน สั้นๆหรือเรื่องราวที่เคยประสบมาก่อน หรืออาจจะเป็นการสร้างเรื่อง