SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  27
Télécharger pour lire hors ligne
i
สารบัญ
หน้า
1. หลักการและเหตุผล 1
2. วัตถุประสงค์ 2
3. วิธีการ 2
4. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ 2
5. ระยะเวลาดาเนินการ 2
6. การจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 3
7. หลักการเบื้องต้น (Basic Principles) ของการจาแนกดินระบบ WRB 4
8. ลักษณะเชิงโครงสร้าง (Structure) ของการจาแนกดินระบบ WRB 5
9. กฎของการจาแนกดินระบบ WRB 7
10. ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 9
11. สรุปผลการจาแนกดินของประเทศไทยระบบ WRB กับระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) 15
12. เอกสารอ้างอิง 23
13. ภาคผนวก การจัดฝึกอบรม หลักสูตร “การเปรียบเทียบการจาแนกดินของประเทศไทยกับระบบฐาน
อ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)”
24
สารบัญตาราง
ตารางที่ 1 กุญแจอย่างย่อของการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ในระบบ WRB 5
ตารางที่ 2 ชั้นดินวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 9
ตารางที่ 3 สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 10
ตารางที่ 4 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก และลักษณะที่ใกล้เคียง
หรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)
11
ตารางที่ 5 ตารางเทียบเคียงการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB และ อันดับ (Order) ของระบบ
อนุกรมวิธานดิน
14
ตารางที่ 6 สรุปหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ปี 2014 15
ตารางที่ 7 สรุปการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)
และระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)
18
สารบัญภาพ
ภาพที่ 1 การแจกกระจายของอันดับดินตามอนุกรมวิธานดินในประเทศไทย 16
ภาพที่ 2 การแจกกระจายของกลุ่มดินอ้างอิงในประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) 17
1
โครงการปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก
(WRB, World Reference Base for Soil Resources)
ปีงบประมาณ 2558
1. หลักการและเหตุผล
แผนที่ดินเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่สาคัญสาหรับการกาหนดนโยบายด้านการพัฒนาการเกษตร การประเมิน
ศักยภาพการผลิตพืช และการวางแผนการกาหนดเขตการใช้ที่ดินของประเทศ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่
เหมาะสมกับสมรรถนะของดินอย่างยั่งยืน ในช่วงที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แผนที่
และข้อมูลดินจึงเป็นฐานข้อมูลสาคัญสาหรับเชื่อมโยงความร่วมมือของประเทศต่างๆในการพัฒนางานวิจัย การ
ถ่ายทอดเทคโนโลยี และการวางแผนการผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีด
ความสามารถในการแข่งขันสูงต่อไป
ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและความก้าวหน้าด้านสารวจจาแนกดินและทาแผนที่ดินมาอย่างต่อเนื่อง โดย
ใช้การจาแนกดินระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) เป็นระบบประจาชาติ ในขณะที่ประเทศในอาเซียนบาง
ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศกัมพูชา เวียดนาม และลาว ทาแผนที่ดินโดยใช้การจาแนก
ดินตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB, World Reference Base for Soil Resources) เป็นหลัก ตามความ
ร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งระบบ WRB ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะทางานของสหภาพ
วิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS: the International Union of Soil Science) อย่างไรก็ตาม เพื่อสนับสนุนให้
เกิดเครือข่ายการใช้ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกันในประชาคมอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จึงมีความจาเป็น
ที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและจัดทาแผนที่ดินตามระบบ WRB ในมาตราส่วนระดับประเทศ สาหรับใช้
เป็นสื่อกลางสร้างความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประชาคมอาเซียน
จากการจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยระบบ WRB เบื้องต้น ขนาดมาตราส่วน 1:1,000,000 ซึ่งดาเนินการ
แล้วในปี 2557 ที่ผ่านมา โดยวิธีการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินจากระบบ Soil Taxonomy กับหน่วยจาแนกดินระบบ
WRB นั้น พบว่าบางกลุ่มดินที่เป็นดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มดินในอันดับดิน Alfisols และ Ultisols ใน
ระบบ Soil Taxonomy ยังไม่สามารถทาการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ได้โดยตรง เนื่องจากเกณฑ์การพิจารณาลักษณะดิน
และชั้นวินิจฉัยดินของทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกัน
ดังนั้น เพื่อให้แผนที่ดินระบบ WRB ที่จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในกลุ่มอาเซียน มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงมีความ
จาเป็นต้องปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินที่มีรายละเอียดและความถูกต้อง ในขนาดมาตราส่วน 1:500,000 โดยจะดาเนินการ
วิเคราะห์ลักษณะและสมบัติดิน และเก็บข้อมูลดินเพิ่มเติม พร้อมทั้งศึกษาการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินทั้ง 2 ระบบ
นอกจากนี้ เพื่อให้แผนที่ดินระบบ WRB ที่จัดทาขึ้นมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสร้างความเข้าใจให้นักวิชาการที่
เกี่ยวข้อง โครงการนี้จึงจะจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และร่วมกันตรวจสอบ และให้
ข้อคิดเห็นถึงแนวทางการปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินและใช้ประโยชน์แผนที่ดินระบบ WRB ของประไทย โดยนักวิชาการ
ที่ปฏิบัติงานด้านการสารวจดินและผู้เชี่ยวชาญด้านดิน ทั้งจากกรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
แผนที่ดินที่จัดทาขึ้นนี้เป็นที่ยอมรับ สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและประยุกต์ใช้ในการประเมินกาลังผลิตของดิน
ระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
2
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทย ตามการจาแนกดินระบบ WRB มาตราส่วน 1:500,000
2.2 เพื่อจัดทาคู่มือการเทียบเคียงหน่วยการจาแนกดินระบบ Soil Taxonomy และ ระบบ WRB
2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นการจัดทาแผนที่ดินตามระบบ WRB โดยนักวิชาการ
และผู้เชี่ยวชาญด้านดินที่เกี่ยวข้อง
3. วิธีการ
3.1 จัดทาแผนที่ดินของประเทศไทย ตามการจาแนกดินระบบ WRB โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1) รวบรวมข้อมูลคาอธิบายหน้าตัดดิน และข้อมูลการวิเคราะห์ดินของชุดดินในประเทศไทย
2) สารวจเก็บข้อมูลลักษณะและสมบัติดิน และตรวจสอบหน่วยแผนที่ดินในภาคสนาม
3) วิเคราะห์สมบัติดินด้านเคมี กายภาพ และแร่วิทยาในห้องปฏิบัติการ
4) วิเคราะห์ข้อมูลและจาแนกดินตามระบบ WRB ที่เหมาะสมในประเทศไทย
5) จัดทารายงาน และแผนที่ดินของประเทศไทยในระบบ WRB มาตราส่วน ๑:๕๐๐,๐๐๐
6) จัดทาคู่มือการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินระบบ Soil Taxonomy และ ระบบ WRB
3.2 จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในการพัฒนาและจัดทาแผนที่ดินระบบ WRB
โดยเชิญนักสารวจดิน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดินที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมพัฒนาที่ดินและ
หน่วยงานอื่น จานวนประมาณ 80 คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ดินตามระบบ WRB แลกเปลี่ยนและ
รับฟังข้อคิดเห็นต่อดาเนินงานพัฒนาและปรับปรุงแผนที่ดินระบบ WRB ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการการ
ประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม
4. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 แผนที่ดินของประเทศไทยฉบับต้นร่าง ที่มีหน่วยแผนที่ดินตามการจาแนกระบบ WRB ระดับมาตรา
ส่วน ๑ : 5๐๐,๐๐๐
4.2 สร้างความเข้าใจการจาแนกระบบ WRB และแนวทางการพัฒนาข้อมูลแผนที่ดินเพื่อการนาไปใช้ใน
การประเมินกาลังผลิตของดิน ที่สามารถเชื่อมโยงได้กับข้อมูลแผนที่ดินของประเทศอาเซียนอื่นๆ เช่น การประเมิน
ศักยภาพทรัพยากรดิน ความเสื่อมโทรมของดิน การบริหารจัดการลุ่มน้า การเกิดภัยพิบัติและดินถล่ม ในโครงการ
ความร่วมมือระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
5. ระยะเวลาดาเนินการ
ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
3
6. การจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก
การจาแนกดินเป็นการจัดหมวดหมู่ของดินต่างๆ อย่างมีลาดับและเป็นระบบ ที่แสดงถึงความแตกต่างกัน
และความเกี่ยวข้องกันของดินในระดับต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ของแต่ละท้องถิ่น หรือแต่ละบริเวณของโลก
(Buol et al., 2011) ความเข้าใจในเรื่องการกาเนิดดินและการจาแนกดินจะทาให้สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมของ
ดินและใช้ดินได้ตามศักยภาพของดิน ระบบการจาแนกดินที่มีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่หลายระบบ แต่ที่ใช้กันมากมี
2 ระบบ คือ อนุกรมวิธานดิน และคาอธิบายหน่วยของแผนที่ดินโลกของ FAO/UNESCO มีลักษณะของหน่วยดิน
ค่อนข้างกลางๆ สามารถปรับใช้กับสภาพแวดล้อมของประเทศในแถบเขตร้อนได้ รวมทั้งประเทศไทย การจาแนกดิน
ในประเทศไทยที่ใช้อยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ การจาแนกดินตามอนุกรมวิธานดิน (Soil Survey Staff, 1999)
ซึ่งเป็นระบบการจาแนกดินของประเทศสหรัฐอเมริกา มีขั้นการจาแนกสูงสุดอยู่ 12 อันดับ เป็นระบบที่มีความละเอียด
และมีหลักการเชิงวิทยาศาสตร์มากที่สุด ระบบนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2014
การจาแนกดินระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (World Reference Base, WRB) (FAO, 2014) ได้มี
การเสนอแนะโดยสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ในปี ค.ศ. 1998
ให้ใช้เป็นระบบอ้างอิงทั่วไป เป็นการจาแนกดินที่ปรับปรุงมาจากการใช้พื้นฐานของหน่วยแผนที่ดินของ
FAO/UNESCO เป็นหลัก และในปี ค.ศ. 2014 ได้ปรับปรุงใหม่ มีหน่วยดินในระดับสูงสุดของการจาแนก 32 หน่วย
ซึ่งบางหน่วยดินมีความใกล้เคียงกับหน่วยในระบบอนุกรมวิธานดินในบางระดับ การจาแนกเป็นการเน้นพิจารณา
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ และเคมีของดินเป็นพื้นฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ถูกใช้ในการ
กาหนดชั้นดินวินิจฉัยของกลุ่มดินอ้างอิง การแจกแจงดินกาหนดโดยใช้สมบัติที่สังเกตและวัดได้ ระบบการจาแนกดินนี้
ใช้สมบัติของดินเป็นลักษณะสาคัญในการจาแนก ซึ่งจะมีความหมายต่อการใช้ดินและการพยากรณ์การใช้ที่ดิน ฉะนั้น
การจาแนกดินในระบบนี้จึงมีความสาคัญและควรศึกษาเพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานในด้านการใช้ที่ดิน การวิจัย และ
กิจกรรมด้านการพัฒนาการทางด้านทรัพยากรดิน โดยเฉพาะในเชิงสภาพแวดล้อมในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทย
นอกจากนี้ การทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) จะเป็นการเตรียมความพร้อม
สาหรับนักวิชาการของประเทศเพื่อใช้เป็นสื่อกลางสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการใช้
ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกันของกลุ่มประชาคมอาเซียนและระดับโลก
การจัดทาแผนที่ครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลแผนที่ดินรายภาคของประเทศไทย General soils map of
Thailand มาตราส่วน 1:500,000 ของกองสารวจและจาแนกดิน (พิสุทธิ์, 2525) ระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil
Taxonomy, 1975) ซึ่งเป็นการสารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (Detailed reconnaissance survey) หน่วยแผนที่ดิน
ใช้ระดับกลุ่มดิน (Great group) กากับด้วยชั้นอนุภาคดิน (Particle-size classes) เพื่อแสดงลักษณะของเนื้อดิน
ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว และก้อนกรวดหรือหินที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน ในระดับ
ความลึก 25-100 เซนติเมตร เป็นแผนที่ฐานในการจาแนกดินตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก ปี ค.ศ.
2014 มาตราส่วน 1:500,000
4
7. หลักการเบื้องต้น (Basic Principles) ของการจาแนกดินระบบ WRB
1) เป็นการจาแนกดินตามสมบัติของดินที่กาหนดเป็นชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizon) สมบัติวินิจฉัย
(Diagnostic Properties) และวัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) ที่วัดได้และสังเกตได้ในสนาม
2) ลักษณะวินิจฉัยต่างๆ พิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดดิน แต่ไม่ใช้กระบวนการเกิดดิน
เป็นตัวกาหนดในการจาแนกดิน
3) ในการจาแนกขั้นสูงจะใช้ลักษณะวินิจฉัยที่พบ (Diagnostic Features) ที่มีความสาคัญต่อการใช้และการ
จัดการดิน
4) WRB ไม่มีจุดมุ่งหมายให้ใช้แทนระบบการจาแนกดินที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ แต่ให้ใช้เป็นสื่อกลางในการ
ติดต่อระหว่างประเทศ สาหรับระดับหรือขั้นต่าสุดก็จะเน้น Soil Features ที่สาคัญต่อการใช้และการจัดการดินใน
ระดับท้องถิ่นได้
5) ปัจจัยประกอบด้านภูมิอากาศ (Climatic Parameters) ไม่ใช้ในการจาแนก แต่ใช้ประกอบในการแปล
ความหมายในลักษณะเป็นพลวัตกับสมบัติของดิน
6) WRB เป็นระบบการจาแนกที่ใช้สนับสนุนระบบการจาแนกของแต่ละ National Classification System
7) WRB ประกอบด้วย 2 ขั้นในการจาแนก
- ระดับที่ 1 : กลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups, RSGs) แบ่งเป็น 32 RSGs
- ระดับที่ 2 : สมบัติของดินที่มีลักษณะเป็น Principal และ Supplementary Qualifiers เพิ่มเข้ากับ
RSG เพื่อให้สามารถจาแนกดินโดยละเอียดขึ้น
8) RSGs ใน WRB ปัจจุบันเป็นตัวแทนของเขตดิน (Major Soil Regions) อยู่แล้ว ในการใช้ประเมินดินของโลก
9) คาจากัดความและคาอธิบายของหน่วยดินเป็นไปทั้งในแนวดิ่ง (vertical) และแนวราบ (lateral) ซึ่งต้อง
คานึงถึงความสัมพันธ์เชิงภูมิทัศน์ (landscape) ของดิน และลักษณะดินเหล่านี้ด้วย
10) คาว่า Reference Base นั้นเป็นเชิงสมมติฐานของ WRB โดยกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ที่คาดว่ามีความ
กว้างขวางพอที่จะใช้ช่วยในการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวและกาหนดลักษณะหน่วยดินของแต่ละระบบได้
11) กลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB ให้ใช้เป็นหน่วยเทียบเคียงระหว่างระบบการจาแนกดิน รวมทั้งใช้เป็น
สื่อกลางในการติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อการรวบรวมฐานข้อมูลดิน และเพื่อการสารวจและติดตามทรัพยากรดินของโลก
12) ชื่อ (Nomenclature) ที่ใช้แยกกลุ่มดิน สามารถใช้ชื่อที่เคยใช้กันอยู่แล้ว หรือสามารถเพิ่มเติมได้โดยง่าย
ในภาษาปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อมีการใช้ในลักษณะแตกต่างกัน
5
8. ลักษณะเชิงโครงสร้าง (Structure) ของการจาแนกดินระบบ WRB
มีการจาแนก 2 ระดับ คือ
- ระดับที่ 1 : กลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups, RSGs) มี 32 RSGs ตามลักษณะเด่นของดินที่
เป็นผลจากกระบวนการเกิดดินที่สาคัญ
- ระดับที่ 2 : ประกอบด้วย RSGs + Qualifiers (Principal และ Supplementary) โดย Qualifiers เป็น
ลักษณะของดินที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลจากกระบวนการเกิดดินสาคัญ ที่ช่วยขยายลักษณะ RSGs ให้ละเอียดชัดเจนขึ้น
8.1 ระดับการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs)
การจาแนกดินแบ่งตามชุดของลักษณะที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น เช่น ปัจจัยในการเกิดดิน หรือ
กระบวนการที่ทาให้เกิดลักษณะเด่นที่ชัดเจน โดยดินที่มีลักษณะเด่นที่สุดจะถูกแยกออกก่อน
ชุดของลักษณะที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น (ตารางที่ 1) ประกอบด้วย 8 ชุดของ 32 RSG ตามลาดับจาก
ชัดเจนที่สุดไปหาที่แยกยากที่สุด (Table 1 หน้า 7-8 ของ WRB ปี 2014) สรุปเป็นแนวคิดกว้างๆ ดังนี้
ตารางที่ 1 กุญแจอย่างย่อของการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs, reference soil groups) ในระบบ WRB
กุญแจอย่างย่อ กลุ่มดินอ้างอิง รหัส
ชุดที่ 1 แยกดินอินทรีย์ออกจากดินแร่
ดินอื่นๆ ที่มีชั้นดินอินทรีย์หนา Histosols HS
ชุดที่ 2 แยกดินที่มีอิทธิพลของกิจกรรมของมนุษย์สร้างลักษณะของดิน
ดินอื่นๆ ที่มีการใช้ทางการเกษตรอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลานาน Anthrosols** AT
ดินอื่นๆ ที่มีวัสดุโบราณคดี (artefacts) เป็นองค์ประกอบหลัก Technosols* TC
ชุดที่ 3 แยกดินที่มีข้อจากัดต่อการหยั่งรากของพืช
ดินอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลของน้าแข็ง (ชั้นดินเยือกแข็ง) Cryosols** CR
ดินอื่นๆ ที่ตื้นหรือดินที่มีชิ้นส่วนหยาบปนสูง Leptosols LP
ดินอื่นๆ ที่มีโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ปริมาณสูง Solonetz SN
ดินอื่นๆ ที่มีการแห้ง-เปียก และมีดินเหนียวที่ยืดตัวได้มาก Vertisols VR
ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมของเกลือที่ละลายน้าปริมาณสูง Solonchaks SC
ชุดที่ 4 แยกดินที่มีลักษณะเด่นทางเคมีของเหล็ก/อะลูมินัมเป็นตัวบงการในระบบการเกิด
ดินอื่นๆ ได้รับอิทธิพลของน้าใต้ดิน Gleysols GL
ดินอื่นๆ ที่มีชั้น vitric หรือ andic ภายใน 25 ซม. Andosols** AN
ดินอื่นๆ ที่มีชั้น spodic ภายใน 200 ซม. Podzols PZ
ดินอื่นๆ ที่มีชั้น plinthic หรือ petroplinthic ภายใน 50 ซม. Plinthosols PT
ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า, ตรึงฟอสฟอรัส, มีเหล็กออกไซด์มาก, โครงสร้างแข็งแรง Nitisols* NT
6
กุญแจอย่างย่อ กลุ่มดินอ้างอิง รหัส
ดินอื่นๆ ที่มีเคโอลิไนต์และเซสควิออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลัก Ferralsols FR
ดินอื่นๆ ที่มีน้าขัง, มีเนื้อดินแตกต่างระหว่างชั้นแบบเฉียบพลัน Planosols* PL
ดินอื่นๆ ที่มีน้าขัง, มีความแตกต่างของโครงสร้างดิน และ/หรือ มีความแตกต่างของเนื้อดิน
ปานกลางระหว่างชั้นดิน
Stagnosols* ST
ชุดที่ 5 แยกดินที่มีการสะสมอินทรียวัตถุในดินบน
ดินอื่นๆ ที่มีสีค่อนข้างดาที่ดินบน และมีคาร์บอเนตทุติยภูมิ Chernozems* CH
ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน และมีคาร์บอเนตทุติยภูมิ Kastanozems KS
ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน แต่ไม่มีคาร์บอเนตทุติยภูมิ (ยกเว้นพบในดินล่างที่ระดับลึก) และ
ค่าการอิ่มตัวด้วยด่างสูง
Phaeozems PH
ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน แต่มีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Umbrisols* UM
ชุดที่ 6 แยกดินที่มีการสะสมเกลือที่ละลายน้ายากขึ้นหรือมีชั้นด้านล่างที่ไม่เค็ม
ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมซิลิกา Durisols* DU
ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมยิปซัม Gypsisols** GY
ดินอื่นๆ ที่มีมีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนต Calcisols** CL
ชุดที่ 7 แยกดินที่มีการสะสมดินเหนียวในดินล่าง
ดินอื่นๆ ที่มีสมบัติ Retic (ลักษณะสอดชั้นในตอนบนระหว่างดินบน-ดินล่าง) Retisols** RT
ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า และมีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Acrisols AC
ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า และมีค่าความอิ่มตัวเบสสูง Lixisols LX
ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมสูง และมีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Alisols* AL
ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมสูง และมีค่าความอิ่มตัวเบสสูง Luvisols LV
ชุดที่ 8 ดินที่มีการพัฒนาหน้าตัดน้อยหรือไม่ชัดเจน
ดินอื่นๆ ที่มีการพัฒนาหน้าตัดดินปานกลาง Cambisols CM
ดินอื่นๆ ที่มีเนื้อดินหยาบกว่าดินร่วนปนทราย (ดินทรายจัด) Arenosols AR
ดินอื่นๆ ในสภาพที่ราบน้าท่วม, ตะกอนสมุทร หรือพรุที่ได้รับอิทธิพลของน้าขึ้น-น้าลง Fluvisols FL
ดินอื่นๆ ที่ไม่มีการพัฒนาหน้าตัดดิน Regosols RG
หมายเหตุ ** RSGs ที่ไม่มีในประเทศไทย (6 RSGs)
* RSGs ที่ยังไม่พบชัดเจนในประเทศไทยซึ่งอาจต้องตรวจสอบต่อไป (8 RSGs)
7
8.2 ระดับการจาแนกต่าลงจาก RSGs (Qualifier Level)
1) Principal Qualifiers
ใช้ระบุลักษณะเด่นของ RSGs หรือลักษณะเชื่อมต่อถ้าไม่มีลักษณะอะไรใน 2 แบบที่กล่าวถึงจะใช้
Haplic ชื่อของ Principal Qualifiers จะอยู่หน้าชื่อ RSGs และใช้ตามลาดับคือ
1) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัย
2) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางเคมี
3) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพ
4) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะเชิงแร่วิทยา
5) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะผิวหน้า (Surface Characteristics)
6) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะเนื้อดินรวมทั้งชิ้นส่วนหยาบ
7) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับสีดิน และ
8) Qualifiers อื่น ๆ
2) Supplementary Qualifiers
Supplementary Qualifiers ใช้เขียนต่อท้ายชื่อ RSG และอยู่ในวงเล็บ และจะต้องไม่มีความซ้าซ้อน
หรือระบุลักษณะที่ใกล้เคียงกัน การใช้ QUALIFIERS ในการจาแนกจะต้องเรียงลาดับจากตอนบนของ KEY ลงไป เมื่อ
ตรงกับลักษณะใดก็ให้ใช้ลักษณะนั้น ขนาดของ RSG ที่มี Qualifier/s ประกอบในเชิงภูมิศาสตร์
9. กฎของการจาแนกดินระบบ WRB
9.1 กฏทั่วไป
การจาแนก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (STEPS)
ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบลักษณะที่กาหนดเป็นชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB
ตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏในหน้าตัดดิน ความหนา และความลึกว่าเข้ากับลักษณะที่กาหนดเป็นชั้นดิน
วินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB หรือไม่ ถ้าหากว่าชั้นดินเข้ากับลักษณะของชั้นดินวินิจฉัยได้มากกว่า
1 ชั้น ให้ถือว่าซ้าซ้อนหรือบังเอิญ
ขั้นตอนที่ 2: จาแนก RSGs
เมื่อได้ลักษณะของชั้นดินวินิจฉัยต่างๆ สมบัติและวัสดุวินิจฉัยแล้วเปรียบเทียบลักษณะเพื่อกาหนด RSGs
(ระดับที่ 1) ตาม Key ที่กาหนดไว้ เริ่มตั้งแต่ต้น Key ไปเรื่อยๆ อย่างละเอียดและเป็นระบบจนได้ RSG ที่มีลักษณะที่
ตรงกับที่ได้ตรวจสอบในหน้าตัดดิน
ขั้นตอนที่ 3: จาแนก Qualifiers
เป็นการจาแนกขั้นต่าลงมา (ระดับที่ 2) ซึ่งจะมีการใช้ Qualifiers ประกอบซึ่ง Qualifiers ได้กาหนดไว้
ใน Key ว่าเป็น Principal หรือ Supplementary Qualifiers
8
9.2 กฎของการจาแนกดินและการจัดทาหน่วยแผนที่
การจาแนกดินตาม WRB ให้ใช้นิยามว่า ดินเป็นเทหวัตถุธรรมชาติที่มีความต่อเนื่องโดยมีมิติเชิงพื้นที่
(กว้างxยาวxลึก) และมีมิติเชิงเวลา (temporal dimension) โดย “ดิน” เกิดจากองค์ประกอบเชิงแร่และวัสดุอินทรีย์
ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ องค์ประกอบของดินจับตัว (organized) เป็นโครงสร้างต่างๆ
การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับดินจะทาให้เข้าใจถึงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และจะทาให้เข้าใจถึงอดีต
และปัจจุบันของดิน และการพยากรณ์อนาคตของดิน ดินมีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่อง (constant evolution) ไปตามมิติ
ที่ 4 คือ เวลา
ความลึกของดินที่ใช้ในการจาแนก คือ 2 เมตร รวมถึงบริเวณที่มีน้าขึ้นน้าลงให้กาหนดบริเวณที่น้าลง
(low tide) โดยจะไม่รวมสิ่งมีชีวิต (living organisms) พื้นที่ๆ ครอบคลุมโดยน้าแข็ง หรือน้าที่ลึกกว่า 2 เมตร ใน
การจาแนกดินนี้ ความกว้างยาวของพื้นที่ๆ ใช้ในการจาแนกให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะครอบคลุมลักษณะต่างๆ ของ
ดินได้ ขนาดที่เล็กที่สุดมีพิสัยตั้งแต่ 1 ตารางเมตร ถึง 10 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของดิน
การจาแนกจะใช้ข้อมูล Profile Description ข้อมูลวิเคราะห์ทั้งหมดทุกด้านที่วิเคราะห์ได้ ที่ความลึก
ตั้งแต่ผิวดินลงไปถึง 2 เมตร หรือถึงชั้นที่ขุดไม่ได้ โดยใช้ เทคนิคและวิธีตาม FAO Guidelines
RSGs ใน WRB ไม่ได้ต้องการให้ใช้ทาแผนที่ แต่กาหนดจากหน่วยของ FAO-UNESCO Soil Map of the
World Legend (มาตราส่วน 1 : 5,000,000)
- ถ้าจะใช้กับแผนที่ WRB Qualifiers ควรใช้กับ Small Scale Maps
Principal Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:5,000,000 ถึง 1:10,000,000
Supplementary Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:10,000,000 ถึง 1:250,000
- แผนที่ดินมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000 ควรใช้หน่วยตามระบบการจาแนกของประเทศ และไม่จัดเป็น
หน่วยอ้างอิงของโลก (World Reference Base)
9
10. ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก
ชั้นดินวินิจฉัย และสมบัติวินิจฉัย (Diagnostic Horizon และ Properties) เป็นลักษณะเด่นในดินที่เกิดจาก
กระบวนการเกิดดินที่รู้จักกันทั่วไป วัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) เป็นวัสดุที่มีอิทธิพลสาคัญต่อกระบวนการ
ทางดิน (Pedogenetic Processes) (ตารางที่ 2, ตารางที่ 3 และ ตารางที่ 4)
ตารางที่ 2 ชั้นดินวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)
ชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizons) หน้า* ชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizons) หน้า*
1. Anthraquic horizon  20. Natric horizon 
2. Argic horizon  21. Nitic horizon 
3. Calcic horizon  22. Petrocalcic horizon** 
4. Cambic horizon  23. Petroduric horizon** 
5. Chernic horizon  24. Petrogypsic horizon** 
6. Cryic horizon**  25. Petroplinthic horizon 
7. Duric horizon  26. Pisoplinthic horizon 
8. Ferralic horizon  27. Plaggic horizon** 
9. Ferric horizon  28. Plinthic horizon 
10. Folic horizon  29. Pretic horizon** 
11. Fragic horizon  30. Protovertic horizon 
12. Fulvic horizon**  31. Salic horizon 
13. Gypsic horizon**  32. Sombric horizon 
14. Histic horizon  33. Spodic horizon 
15. Hortic horizon  34. Terric horizon** 
16. Hydragric horizon  35. Thionic horizon 
17. Irragric horizon  36. Umbric horizon** 
18. Melanic horizon**  37. Vertic horizon 
19. Mollic horizon 
หมายเหตุ ** ชั้นดินวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย
* อ้างอิงเลขที่หน้าใน WRB (2014)
10
ตารางที่ 3 สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)
สมบัติวินิจฉัย (Diagnostic Properties) หน้า* วัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) หน้า*
1. Abrupt textural difference  1. Albic material 
2. Albeluvic glossae**  2. Artefacts 
3. Andic properties**  3. Calcaric material 
4. Anthric properties**  4. Colluvic material 
5. Aridic properties**  5. Dolomitic material** 
6. Continuous rock  6. Fluvic material 
7. Geric properties  7. Gypsiric material** 
8. Gleyic properties  8. Hypersulfidic material 
9. Lithic discontinuity  9. Hyposulfidic material 
10. Protocalcic properties**  10. Limnic material 
11. Reducing conditions  11. Mineral material 
12. Retic properties  12. Organic material 
13. Shrink-swell cracks  13. Ornithogenic material** 
14. Sideralic properties  14. Soil organic carbon 
15. Stagnic properties  15. Sulfidic material 
16. Takyric properties**  16. Technic hard material** 
17. Vitric properties**  17. Tephric material** 
18. Yermic properties** 
หมายเหตุ ** สมบัติวินิจฉัยและวัสดุวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย
* อ้างอิงเลขหน้าใน WRB (2014)
11
ตารางที่ 4 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) และลักษณะที่ใกล้เคียง
หรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)
ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน
Abrupt textural change Abrupt textural change
Albeluvic tonguing** Interfingering of albic materials
Albic horizon Albic materials
Andic horizon** Andic soil properties
Anthraquic horizon Puddled layer and plow pan
Anthropedogenic horizons Surface and subsurface horizons resulting from long-term cultivation
Agric horizon Argillic horizon
Aridic properties** Surface features resulting from wind
Artefacts Human deposits, e.g., mine spoils, landfills
Calcaric soil material Strongly effervesces in 10% HCl
Calcaric soil horizon Calcareous throughout 20-50 cm layer
Calcic horizon Calcic horizon
Cambic horizon Cambic horizon
Colluvic material Natural transported parent materials, colluvium
Chernic horizon Black, biologically rich Mollic epipedon
Continuous hard rock Lithic contact
Cryic horizon** Permafrost
Dolomitic material** 2% or more dolomite, calcium magnesium carbonate
Duric horizon 10% or more silica-cemented durinodes
Ferralic horizon Oxic and kandic horizons
Ferralic properties Apparent CEC < 24 cmol kg-1 clay
Ferric horizon Coarse red mottles
Fluvic material** Stratified flood deposits
Folic horizon Folistic epipedon
Fragic horizon Strong structure restricts roots, and water movement restricted to cracks
Fluvic horizon** Black andic surface horizon
Geric properties ECEC 1.5 cmol kg-1 soil or less
Gleyic properties Aquic conditions
Gypsic horizon** Gypsic horizon
Gypsiric material** 5% or more gypsum
12
ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน
Histic horizon Histic epipedon
Hortic horizon Deep, P rich, anthropedogenic horizon
Hydragric horizon Redox features resulting from wet cultivation
Irragric horizon Light-colored surface resulting from irrigation
Limnic material Limnic layer of coprogenous earth, diatomaceous earth and marl
Lithic discontinuity Lithologic discontinuity
Melanic horizon** Melanic epipedon
Mineral material Mineral material
Mollic horizon Mollic epipedon
Natric horizon Natric horizon
Nitic horizon Argillic horizon with shiny ped faces
Organic soil material Organic soil material
Permafrost** Permafrost
Petrocalcic horizon** Petrocalcic horizon
Petroduric horizon** Duripan
Petrogypsic horizon** Petrogypsic horizon
Petroplinthic horizon Petroferric contact
Pisoplinthic horizon 40% or more of hardened pisolitic laterite or ironstone
Plaggic horizon** Plaggen epipedon
Plinthic horizon Plinthite
Pretic horizon**
Protocalcic properties** Petrocalcic horizon
Protovertic horizon Low prominent of shrink-swell cracks, slickensides or wedge-shaped peds
Reducing conditions Aquic conditions
Retic properties Interfingering of albic materials
Salic horizon Salic horizon
Secondary carbonates Identifiable secondary carbonates
Shrink-swell cracks Cracks that open and close periodically
Sideralic properties Requirements of oxic horizon except texture requirement
Soil organic carbon Requirement of organic Soil Material
Sombric horizon Sombric Horizon
Spodic horizon Spodic horizon
Stagnic properties Episaturation or temporarily saturated with surface water
13
ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน
Strongly humic properties >1.4 g organic C 100g-1
soil in 100 cm of depth ; assume bulk density
1.5 Mg m-3
Sulfidic soil material Sulfidic material
Sulfuric horizon Sulfuric horizon
Takyric horizon** Clayey surface crust in flooded arid soils
Tephric soil material** Slightly weathered volcanic tephra
Terric horizon** Mineral material applied by humans
Thionic horizon Sulfuric Horizon
Umbric horizon** Umbric epipedon
Vertic horizon more prominent of shrink-swell cracks, slickensides or wedge-shaped peds
Vitric horizon** 10% or more volcanic glass
Yermic horizon** Surface layer of gravel, desert pavement
หมายเหตุ ** ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย
14
ตารางที่ 5 ตารางเทียบเคียงการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB และ อันดับ (Order) ของอนุกรมวิธานดิน
WRB 2014 Soil Taxonomy 2014
1. Acrisols Ultisols – low-activity clays in argic horizon and low base saturation
2. Alisols* Ultisols – high-activity clays
3. Andosols** Andisols
4. Anthrosols** Plaggen soil, highly cultuvated soil and Anciently irrigated soils
5. Arenosols Inceptisols – Psamments
6. Calcisols** Aridisols – Calcids or Desert soils
7. Cambisols Inceptisols (upland)
8. Chernozems* Mollisols – Udolls
9. Cryosols** Gelisols
10. Durisols* Aridisols – Durids
11. Ferralsols Oxisols
12. Fluvisols Entisols – Fluvents
13. Gleysols Aquic Suborders and Endoaquic Great Group of various Orders
14. Gypsisols** Mollisols – Udolls
15. Histosols Histosols
16. Kastanozems Mollisols – Ustolls
17. Leptosols Entisols – Lithic subgroups
18. Lixisols Alfisols – low-activity clays
19. Luvisols Alfisols – high-activity clays
20. Nitisols* Kandic Great Groups of Alfisols and Ultisols, different Great Groups of Inceptisols
and Oxisols
21. Phaeozems Mollisols – Udolls
22. Planosols* Alfisols – Abruptic Albaqualf, Ultisols – Abruptic Albaquults
23. Plinthosols Plinthite – Plinthaqu-, Plinthus-, -Plinthud- and Plnthus-
Petroplinthite or pisoliths – hardening plinthite
24. Podzols Spodosols
25. Regosols Entisols – very weakly developed soils in unconsolidated materials
26. Retisols** Aridisols – Calcids
27. Solonchaks Saline soils and Salt-affected soils
28. Solonetz Natric Great Groups of several Orders
29. Stagnosols* Aquic suborders, and Epiaquic Great Groups or Various Orders
30. Technosols* Urban or Mine soils
31. Umbrisols* OM-rich in the mineral surface soil and low base saturation
32. Vertisols Vertisols
หมายเหตุ ** RSGs ที่ไม่มีในประเทศไทย, * RSGs ที่ยังไม่พบชัดเจนในประเทศไทยซึ่งอาจต้องตรวจสอบต่อไป
15
11. สรุปผลการจาแนกดินของประเทศไทยระบบ WRB
จากหน่วยดินต่างๆ ที่พบในประเทศไทย จาแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน ฉบับปี พ.ศ. 2525 มาตราส่วน
1:500,000 โดย พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ (2525) แสดงไว้ในภาพที่ 1 ซึ่งในขั้นสูงสุดของระบบนี้ ดินที่พบในประเทศไทย
ประกอบด้วย 9 อันดับด้วยกัน โดยมีดินที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อัลทิซอลส์ (Ultisols) แอลฟิซอลส์ (Alfisols)
และอินเซปทิซอลส์ (Inceptisols) ซึ่งอัลทิซอลส์พบเป็นบริเวณกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
สาหรับแอลฟิซอลส์ พบมากในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ส่วนอินเซปทิซอลส์พบมากที่สุด ในภาคกลาง และ
พบเป็นบางบริเวณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยการเทียบเคียงการจาแนกดินกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs)
ของ WRB และ อันดับ (Order) ของอนุกรมวิธานดิน (ตารางที่ 5)
ระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก มีกลุ่มดินอ้างอิง 32 กลุ่มดินอ้างอิง ซึ่งแบ่งเป็น 10 ชุด ดังที่ได้กล่าว
มาแล้ว ซึ่งการจาแนกเป็นการเน้นพิจารณา ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ และเคมีของดิน เป็น
พื้นฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ถูกใช้ในการกาหนดชั้นดินวินิจฉัยของกลุ่มดินอ้างอิง ซึ่งในการจาแนกสาหรับดินของ
ประเทศไทย ดินในประเทศไทยมีโอกาสที่จะพบกลุ่มดินอ้างอิง ได้ 19 กลุ่มดินอ้างอิง มี กลุ่มดินอ้างอิง Histosols
Leptosols Vertisols Fluvisols Solonchaks Gleysols Podzols Plinthosols Ferralsols Solonetz Durisols
Calcisol Acrisols Luvisols Lixisols Umbrisols Cambisols Arenosols และ Regosols
จากการทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบ WRB (2014) ที่จาแนกโดยการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดิน
จากระบบอนุกรมวิธานดิน พบว่ามีการแจกกระจายในประเทศไทย ประกอบด้วย 15 กลุ่มดิน ดังแสดงไว้ในภาพที่ 2
และตารางที่ 6 ซึ่งกลุ่มดิน Acrisols พบเป็นบริเวณกว้างขวางมากทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
รองลงมาคือ กลุ่มดิน Luvisols ที่พบมากในภาคกลางและภาคเหนือ กลุ่มดินอื่นๆ ที่พบสามารถแยกเป็นหน่วยเดี่ยว
เด่นๆ ได้ คือ เวอร์ทิซอลส์ (Vertisols) และ Podzols ในบริเวณที่มี Acrisols ส่วนใหญ่ ยังมีหน่วยที่เจือปนอยู่ คือ
Lixisols และ Solonetz โดย Solonetz โดยจะพบแทรกอยู่เป็นบริเวณจากัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหน่วย
อื่นๆ ที่เป็นหน่วยผสมของกลุ่มดินอ้างอิง คือ หน่วยของ Regosols กับ Arenosols หน่วยของ Gleysols,
Cambisols และ Fluvisols กับหน่วย Cambisols ร่วมกับ Calcisols ซึ่งพบในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าพื้นที่
ภาคกลางมีดินที่พัฒนาการค่อนข้างต่าถึงต่าอยู่เป็นบริเวณกว้างขวาง สาหรับ Leptosols และ Ferralsols พบเป็น
บริเวณไม่กว้างขวางจะแทรกอยู่ในหน่วย Acrisols เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน สาหรับหน่วยดิน Histosols มีพื้นที่
กว้างขวางพอปรากฏอยู่ในแผนด้วย โดยเฉพาะในตอนล่างของภาคใต้
จากหน่วยดินต่างๆ ที่พบนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หน่วยอนุกรมวิธานดิน และหน่วยกลุ่มดินอ้างอิงตามฐาน
อ้างอิงทรัพยากรดินของโลก ในระดับสูงสุดมีความแตกต่างกัน และไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนพื้นที่ของหน่วยดินจาก
ระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งได้ทั้งหมด ในแบบหน่วยต่อหน่วย (ตารางที่ 7) ในแผนที่แบบรวมข้อมูลดิน จาเป็นต้องมี
การขยายมาตราส่วนของแผนที่ และพิจารณาตามหน่วยดินอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า กลุ่มดินอ้างอิงจะมีระดับ
ใกล้เคียงกับหน่วยอนุกรมวิธานดินในระดับอันดับย่อย หรือกลุ่มดินเป็นส่วนใหญ่ (Buol et al., 2011)
16
ภาพที่ 1 การแจกกระจายของอันดับดินตามอนุกรมวิธานดินในประเทศไทย (พิสุทธิ์, 2525)
17
ภาพที่ 2 การแจกกระจายของกลุ่มดินอ้างอิงในประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)
18
ตารางที่ 6 สรุปหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ปี ค.ศ. 2014
หน่วย
แผนที่
กลุ่มดินอ้างอิง
RSGs
การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%)
1 Histosols Tropofibrists Fibric Histosols 477,006 0.15
2 Leptosols Skeletal Skeletic Leptosols 4,084,319 1.27
3
Arenosols
Sandy Gleyic Arenosols 73,669 0.02
4 Sandy Rubic Arenosols 5,414,823 1.69
5 Sandy Rubic Arenosols/Loamy Dystric Cambisols 741,027 0.23
6 Sandy Rubic Arenosols/Loamy Haplic Acrisols 76,004 0.02
7 Sandy Rubic Arenosols/Sandy Albic Podzols 36,425 0.01
8
Fluvisols
Clayey Gleyic Fluvisols 421,264 0.13
9 Loamy Eutric Fluvisols 2,070,912 0.65
10 Loamy Eutric Fluvisols/Loamy Haplic Luvisols 363,745 0.11
11 Loamy Gleyic Fluvisols 58,513 0.02
12
Vertisols
Clayey Chromic Vertisols 390,170 0.12
13 Clayey Pellic Vertisols 1,729,477 0.54
14
Gleysols
Clayey Eutric Gleysols 17,671,140 5.51
15 Clayey Loamy Eutric Gleysols 238,712 0.07
16 Clayey Loamy Thionic Gleysols 3,104,020 0.97
17 Clayey Mollic Gleysols 665,307 0.21
18 Clayey Sulfic Eutric Gleysols 4,597,278 1.43
19 Clayey/Clayey Sulfic Eutric Gleysols 121,355 0.04
20 Loamy Eutric Gleysols 358,075 0.11
21 Loamy Eutric Gleysols/Loamy Gleyic Acrisols 105,039 0.03
22
Cambisols
Clayey Chromic Cambisols 818,576 0.26
23 Loamy Dystric Cambisols 4,327,728 1.35
24 Loamy Dystric Cambisols/Loamy Gleyic Acrisols 335,682 0.10
25 Loamy Dystric Cambisols/Loamy Haplic Acrisols 54,667 0.02
26 Loamy Entric Cambisols 5,955 0.002
27 Sandy Eutric Cambisols 48,634 0.02
28 Skeletal Skeletic Cambisols 427,030 0.13
29 Solonchaks Loamy Gleyic Solonchaks 547,650 0.17
30 Solonetz Loamy Gleyic Solonetz 1,534,175 0.48
31 Kastanozems Clayey Calcic Kastanozems 2,118,385 0.66
19
หน่วย
แผนที่
กลุ่มดินอ้างอิง
RSGs
การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%)
32 Clayey Haplic Kastanozems 1,598,518 0.50
33 Podzols Sandy Albic Podzols 633,475 0.20
34
Plinthosols
Clayey Stagnic Plinthosols 888,533 0.28
35 Clayey/Loamy Stagnic Plinthosols 141,715 0.04
36 Loamy Haplic Plinthosols 262,237 0.08
37 Loamy Haplic Plinthosols/Loamy Haplic Acrisols 144,390 0.05
38 Loamy Stagnic Plinthosols 605,853 0.19
39 Skeketal Pisoplinthic Plinthosols 21,803 0.01
40 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 10,815,037 3.37
41 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Loamy Gleyic Acrisols 1,074,356 0.34
42 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Loamy Haplic Acrisols 190,706 0.06
43 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Skeletal Stagnic Plinthosols 600,947 0.19
44 Skeletal Stagnic Plinthosols 574,403 0.18
45 Skeletal Stagnic Plinthosols/Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 91,764 0.03
46
Luvisols
Clayey Gleyic Luvisols 9,087,253 2.83
47 Clayey Gleyic Luvisols/Loamy Haplic Luvisols 1,381,033 0.43
48 Clayey Haplic Luvisols 1,731,593 0.54
49 Loamy Chromic Luvisols 1,477,595 0.46
50 Loamy Chromic Luvisols/Loamy Gleyic Solonetz 175,486 0.05
51 Loamy Gleyic Luvisols 889,808 0.28
52 Loamy Haplic Luvisols 5,843,143 1.82
53 Loamy Haplic Luvisols/Loamy Haplic Acrisols 1,394,585 0.43
54 Skeletal Skeletic Luvisols/Loamy Gleyic Acrisols 24,381 0.01
55 Skeletal Skeletic Luvisols/Skeletal Skeletic Leptosols 2,982,959 0.93
56
Acrisols
Clayey Gleyic Acrisols 6,346,189 1.98
57 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Eutric Gleysols 92,112 0.03
58 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Gleyic Luvisols 380,378 0.12
59 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Stagnic Plinthosols 752,352 0.23
60 Clayey Gleyic Acrisols/Loamy Haplic Acrisols 24,095 0.01
61 Clayey Gleyic Acrisols/Skeletal Gleyic Skeletic Acrisols 51,357 0.02
62 Clayey Gleyic Haplic Acrisols 14,436 0.005
63 Clayey Haplic Acrisols 10,033,150 3.13
64 Clayey Haplic Acrisols/Clayey Gleyic Luvisols 74,454 0.02
20
หน่วย
แผนที่
กลุ่มดินอ้างอิง
RSGs
การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%)
65 Clayey Haplic Humic Acrisols 597,217 0.19
66 Clayey/Loamy Gleyic Acrisols 932,140 0.29
67 Clayey/Loamy Haplic Acrisols 1,689,808 0.53
68 Loamy Gleyic Acrisols 18,363,615 5.73
69 Loamy Gleyic Acrisols/Loamy Stagnic Plinthosols 387,320 0.12
70 Loamy Haplic Acrisols 33,348,917 10.40
71 Loamy Haplic Acrisols/Clayey Eutric Gleysols 57,839 0.02
72 Loamy Haplic Acrisols/Clayey Gleyic Acrisols 1,171,054 0.37
73 Loamy Haplic Acrisols/Loamy Dystric Cambisols 857,803 0.27
74 Loamy Haplic Acrisols/Loamy Gleyic Acrisols 13,364,392 4.17
75 Loamy Haplic Acrisols/Skeletal Gleyic Acrisols 146,552 0.05
76 Loamy Haplic Acrisols/Skeletal Skeletic Acrisols 12,133,961 3.78
77 Loamy Haplic Acrisols/Skletal Skeletic Leptosols 630,279 0.20
78 Skeletal Gleyic Skeletic Acrisols 199,219 0.06
79 Skeletal Skeletic Acrisols 14,054,642 4.38
80 Skeletal Skeletic Acrisols/Loamy Dystric Cambisols 144,992 0.05
81 Skeletal Skeletic Acrisols/Loamy Haplic Acrisols 161,700 0.05
82 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 173,915 0.05
83 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Skeletic Leptosols 6,628,516 2.07
84 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Stagnic Plinthosols 220,229 0.07
85
Ferralsols
Clayey Haplic Ferralsols 691,076 0.22
86 Clayey Rhodic Ferralsols 86,947 0.03
87 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope Complex) 99,881,639 31.15
88 พื้นที่เกาะ (Island) 218,562 0.07
89 พื้นที่น้า (Water) 1,137,699 0.35
รวม 320,696,888 100.00
21
ตารางที่ 7 สรุปการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) และระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)
WRB (2014) Soil Taxonomy (1979) Soil Taxonomy (1999)
RSGs WRB Order Suborder Great Group Great Group
Histosols Fibric Histosols Histosols Fibrists Tropofibrists Haplofibrists
Leptosols Skeletic Leptosols Entisols Orthents
Troporthents Psammaquents, Udorthents
Ustorthents Udorthents
Arenosols
Gleyic Arenosols
Entisols
Aquents Tropaquents Psammaquents
Rubic Arenosols Psamments
Quartzipsamments Psammaquents
Ustipsamments Ustipsamments
Fluvisols
Eutric Fluvisols
Entisols Fluvents
Ustifluvents Ustifluvents
Gleyic Fluvisols Fluvaquents Endoaquepts
Vertisols
Chromic Vertisols
Vertisols
Usterts Chromusterts Haplusterts
Chromic Vertisols
Uderts
Chromuderts Vertic Endoaquepts, Endoaquerts
Pellic Vertisols Pelluderts Epiaquerts, Endoaquerts
Gleysols
Thionic Gleysols Entisols Aquents
Sulfaquents Sulfaquents
Hydraquents Hydraquents
Eutric Gleysols Inceptisols Aquepts Tropaquepts Endoaquepts, Endoaquolls, Epiaquerts
Mollic Gleysols Mollisols Aquolls Haplaquolls Vertic Endoaquolls
Cambisols
Chromic Cambisols Inceptisols
Tropepts
Ustropepts Eutrudepts, Haplustolls
Dystric Cambisols Dystropepts Dystrustepts, Kandiudults, Paleudults, Paleustults, Haplustalfs
Entric Cambisols Eutropepts Eutrudepts, Haplustolls
Skeletic Cambisols Dystropepts Dystrustepts, Kandiudults, Paleudults, Paleustults, Haplustalfs
Solonchaks Gleyic Solonchaks Inceptisols Aquepts Halaquepts Halaquepts
Solonetz Gleyic Solonetz Alfisols Apualfs Natraqualfs Natraqualfs
Kastanozems
Calcic Kastanozems
Mollisols Usolls
Calciustolls Haplustolls
Haplic Kastanozems Haplustolls Haplustolls
22
WRB (2014) Soil Taxonomy (1979) Soil Taxonomy (1999)
Podzols Albic Podzols Spodosols
Aquods Tropaquods Haplorthods
Humods Tropohumods Haplorthods
Plinthosols Haplic Plinthosols
Ultisols
Ustults Plinthustults Plinthaquic Haplustults, Plinthic Paleustults
Pisoplinthic Plinthosols
Udults Paleudults Kandiudults, Palehumults
Stagnic Plinthosols Aquults Plinthaquults Plinthaquults, Plinthudults, Plinthic Paleaquults
Luvisols
Chromic Luvisols
Alfisols
Ustalfs Paleustalfs Haplustalfs, Endoaquerts, Paleustalfs, Rhodustalfs
Gleyic Luvisols Aqualfs Tropaqualfs Endoaqualfs, Haplustalfs, Paleudalfs
Haplic Luvisols Ustalfs Paleustalfs Haplustalfs, Endoaquerts, Paleustalfs, Rhodustalfs
Skeletic Luvisols Haplustalfs Haplustalfs, Paleustalfs, Endoaqualfs
Haplic Luvisols Udalfs Tropudalfs Hapludalfs
Acrisols
Gleyic Haplic Acrisols
Ultisols
Aquults
Tropaquults
Endoaquults, Kandiaquults, Paleaquults, Kandiudults,
Kandiustults
Gleyic Acrisols
Paleaquults Endoaquults, Kandiaquults, Paleaquults, Paleustults
Gleyic Skeletic Acrisols
Haplic Acrisols
Ustults
Paleustults Paleustults, Kandiustults, Kandiustox
Haplustults Haplustults
Udults
Paleudults Kandiudults, Palehumults
Tropudults Paleudults, Haplohumults, Kandiudults
Haplic Humic Acrisols
Ustults
Palehumults Palehumults, Kandiustults
Skeletic Acrisols
Paleustults Paleustults, Kandiustults, Kandiustox
Haplustults Haplustults
Udults
Paleudults Kandiudults, Palehumults
Tropudults Paleudults, Haplohumults, Kandiudults
Ferralsols
Haplic Ferralsols
Oxisols
plustox Haplustox Kandiustox
Rhodic Ferralsols orthox Haplorthox Hapludox, Kandiudults
23
12. เอกสารอ้างอิง
เฉลียว แจ้งไพร. 2530. ทรัพยากรดินในประเทศไทย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 82. กองสารวจและจาแนกดิน กรม
พัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ISBN 974-7614-56-1.
พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ก. แผนที่ดินภาคเหนือของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนา
ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (4 แผ่น).
พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ข. แผนที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจ
ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (4 แผ่น).
พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ค. แผนที่ดินภาคกลางของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนา
ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (2 แผ่น).
พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ง. แผนที่ดินภาคตะวันออกของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรม
พัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (1 แผ่น).
พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525จ. แผนที่ดินภาคใต้ของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (2 แผ่น).
รวิยา ทองย่น. 2551. การประยุกต์ใช้ลักษณะดินเพื่อกาหนดหน่วยดินในประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก.
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2534. ดินของประเทศไทย. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรุงเทพมหานคร.
Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham, and P.A. McDaniel. 2011. Soil Genesis and Classification. 6th
edn. Chichester, UK: John Wiley. ISBN 978-0-8138-0769-0.
FAO, ISRIC and ISSS. 1998. World Reference Base for Soil Resources. World Soil Resources Report
84. FAO. Rome.
FAO. 2014. World Reference Base for Soil Resources 2014. International soil classification system for
naming soils and creating legends for soil maps. World Soil Resources Reports No. 106.
Rome.
Soil Survey Staff. 1975. Soil Taxonomy, A Basic System of Soil Classification for Making and
Interpreting Soil Surveys. U.S. Dept. Agric., U.S. Govt Printing Office, Washington, DC.
Soil Survey Staff. 1999. Keys to Soil Taxonomy. 8th
ed. Natural Resources Conservation Service,
United States of Agriculture, U.S. Government Printing office, Washington, D.C., U.S.A. Soil
Survey Staff. 2014.
Soil Survey Staff. 2014. Keys to Soil Taxonomy, 12th
ed. USDA-Natural Resources Conservation
Service, Washington, DC.
24
ภาคผนวก
รายงานผลการฝึกอบรม โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตร “การเปรียบเทียบการจาแนกดินของประเทศไทยกับระบบอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)
52
คณะผู้จัดทา
ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์ ดร.เอิบ เขียวรื่นรมณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ ที่ปรึกษาด้านดิน มูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษากรมพัฒนาที่ดิน
ดร.สถาพร ใจอารีย์ ผู้อานวยการกองสารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน
นายสมศักดิ์ สุขจันทร์ ผู้อานวยการกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
ผู้ดาเนินงาน
ดร.สุมิตรา วัฒนา ผู้อานวยการกลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน
กองสารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (กสด.)
นายถวิล หน่อคา ผู้อานวยการกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สานักงานพัฒนาที่ดินเขต 10
ดร.รวิยา ทองย่น นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน กสด.
ดร.นฤกมล จันทร์จิราวุฒิกุล นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน กสด.
นายกฤดิโสภณ ดวงกมล นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มสารวจจาแนกดิน กสด.
นายโกศล เคนทะ นักสารวจดินปฏิบัติการ กลุ่มศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์
ทรัพยากรดิน กสด.

Contenu connexe

Tendances

แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
Power point ped.1
Power point  ped.1Power point  ped.1
Power point ped.1juckit009
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdfลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdfPhraisinPinthana2
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำJiraporn
 
หน่วยที่ 5-กลไก
หน่วยที่ 5-กลไกหน่วยที่ 5-กลไก
หน่วยที่ 5-กลไกJanchai Pokmoonphon
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6supphawan
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกThanyamon Chat.
 
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร 2559
บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   2559บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   2559
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร 2559Pinutchaya Nakchumroon
 
แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1juckit009
 
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1JunyapornTakumnoi
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชAnana Anana
 
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 new
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 newเฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 new
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 newjuckit009
 
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์Ponpirun Homsuwan
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพSirintip Arunmuang
 
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติAomiko Wipaporn
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกWichai Likitponrak
 
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียงปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียงCheng Ping
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์Mam Chongruk
 

Tendances (20)

11.ลม
11.ลม11.ลม
11.ลม
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
Power point ped.1
Power point  ped.1Power point  ped.1
Power point ped.1
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdfลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช.pdf
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
 
หน่วยที่ 5-กลไก
หน่วยที่ 5-กลไกหน่วยที่ 5-กลไก
หน่วยที่ 5-กลไก
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร 2559
บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   2559บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   2559
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร 2559
 
แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1
 
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net วิทย์ ม.6 ชุด 1
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืช
 
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 new
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 newเฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 new
เฉลยแบบฝึกหัดงานเกษตร ม.1 new
 
บทที่ 6 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
บทที่  6 การออกแบบสื่อการเรียนการสอนบทที่  6 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
บทที่ 6 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
 
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
 
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียงปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง
ปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องชีวิตสัมพันธ์
 

Plus de ExternalEvents

Plus de ExternalEvents (20)

Mauritania
Mauritania Mauritania
Mauritania
 
Malawi - M. Munthali
Malawi - M. MunthaliMalawi - M. Munthali
Malawi - M. Munthali
 
Malawi (Mbewe)
Malawi (Mbewe)Malawi (Mbewe)
Malawi (Mbewe)
 
Malawi (Desideri)
Malawi (Desideri)Malawi (Desideri)
Malawi (Desideri)
 
Lesotho
LesothoLesotho
Lesotho
 
Kenya
KenyaKenya
Kenya
 
ICRAF: Soil-plant spectral diagnostics laboratory
ICRAF: Soil-plant spectral diagnostics laboratoryICRAF: Soil-plant spectral diagnostics laboratory
ICRAF: Soil-plant spectral diagnostics laboratory
 
Ghana
GhanaGhana
Ghana
 
Ethiopia
EthiopiaEthiopia
Ethiopia
 
Item 15
Item 15Item 15
Item 15
 
Item 14
Item 14Item 14
Item 14
 
Item 13
Item 13Item 13
Item 13
 
Item 7
Item 7Item 7
Item 7
 
Item 6
Item 6Item 6
Item 6
 
Item 3
Item 3Item 3
Item 3
 
Item 16
Item 16Item 16
Item 16
 
Item 9: Soil mapping to support sustainable agriculture
Item 9: Soil mapping to support sustainable agricultureItem 9: Soil mapping to support sustainable agriculture
Item 9: Soil mapping to support sustainable agriculture
 
Item 7: Progress made in Nepal
Item 7: Progress made in NepalItem 7: Progress made in Nepal
Item 7: Progress made in Nepal
 
Item 6: International Center for Biosaline Agriculture
Item 6: International Center for Biosaline AgricultureItem 6: International Center for Biosaline Agriculture
Item 6: International Center for Biosaline Agriculture
 
Item 5: Japanese Soil Map based on World Reference Base for Soil Resources (2...
Item 5: Japanese Soil Map based on World Reference Base for Soil Resources (2...Item 5: Japanese Soil Map based on World Reference Base for Soil Resources (2...
Item 5: Japanese Soil Map based on World Reference Base for Soil Resources (2...
 

Item 8: WRB, World Reference Base for Soil Resouces

  • 1.
  • 2. i สารบัญ หน้า 1. หลักการและเหตุผล 1 2. วัตถุประสงค์ 2 3. วิธีการ 2 4. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ 2 5. ระยะเวลาดาเนินการ 2 6. การจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 3 7. หลักการเบื้องต้น (Basic Principles) ของการจาแนกดินระบบ WRB 4 8. ลักษณะเชิงโครงสร้าง (Structure) ของการจาแนกดินระบบ WRB 5 9. กฎของการจาแนกดินระบบ WRB 7 10. ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 9 11. สรุปผลการจาแนกดินของประเทศไทยระบบ WRB กับระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) 15 12. เอกสารอ้างอิง 23 13. ภาคผนวก การจัดฝึกอบรม หลักสูตร “การเปรียบเทียบการจาแนกดินของประเทศไทยกับระบบฐาน อ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB)” 24 สารบัญตาราง ตารางที่ 1 กุญแจอย่างย่อของการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ในระบบ WRB 5 ตารางที่ 2 ชั้นดินวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 9 ตารางที่ 3 สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก 10 ตารางที่ 4 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก และลักษณะที่ใกล้เคียง หรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) 11 ตารางที่ 5 ตารางเทียบเคียงการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB และ อันดับ (Order) ของระบบ อนุกรมวิธานดิน 14 ตารางที่ 6 สรุปหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ปี 2014 15 ตารางที่ 7 สรุปการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) และระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) 18 สารบัญภาพ ภาพที่ 1 การแจกกระจายของอันดับดินตามอนุกรมวิธานดินในประเทศไทย 16 ภาพที่ 2 การแจกกระจายของกลุ่มดินอ้างอิงในประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) 17
  • 3. 1 โครงการปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB, World Reference Base for Soil Resources) ปีงบประมาณ 2558 1. หลักการและเหตุผล แผนที่ดินเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่สาคัญสาหรับการกาหนดนโยบายด้านการพัฒนาการเกษตร การประเมิน ศักยภาพการผลิตพืช และการวางแผนการกาหนดเขตการใช้ที่ดินของประเทศ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ เหมาะสมกับสมรรถนะของดินอย่างยั่งยืน ในช่วงที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แผนที่ และข้อมูลดินจึงเป็นฐานข้อมูลสาคัญสาหรับเชื่อมโยงความร่วมมือของประเทศต่างๆในการพัฒนางานวิจัย การ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และการวางแผนการผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีด ความสามารถในการแข่งขันสูงต่อไป ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและความก้าวหน้าด้านสารวจจาแนกดินและทาแผนที่ดินมาอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้การจาแนกดินระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) เป็นระบบประจาชาติ ในขณะที่ประเทศในอาเซียนบาง ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศกัมพูชา เวียดนาม และลาว ทาแผนที่ดินโดยใช้การจาแนก ดินตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB, World Reference Base for Soil Resources) เป็นหลัก ตามความ ร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งระบบ WRB ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะทางานของสหภาพ วิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS: the International Union of Soil Science) อย่างไรก็ตาม เพื่อสนับสนุนให้ เกิดเครือข่ายการใช้ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกันในประชาคมอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จึงมีความจาเป็น ที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและจัดทาแผนที่ดินตามระบบ WRB ในมาตราส่วนระดับประเทศ สาหรับใช้ เป็นสื่อกลางสร้างความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประชาคมอาเซียน จากการจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยระบบ WRB เบื้องต้น ขนาดมาตราส่วน 1:1,000,000 ซึ่งดาเนินการ แล้วในปี 2557 ที่ผ่านมา โดยวิธีการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินจากระบบ Soil Taxonomy กับหน่วยจาแนกดินระบบ WRB นั้น พบว่าบางกลุ่มดินที่เป็นดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มดินในอันดับดิน Alfisols และ Ultisols ใน ระบบ Soil Taxonomy ยังไม่สามารถทาการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ได้โดยตรง เนื่องจากเกณฑ์การพิจารณาลักษณะดิน และชั้นวินิจฉัยดินของทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้แผนที่ดินระบบ WRB ที่จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในกลุ่มอาเซียน มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงมีความ จาเป็นต้องปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินที่มีรายละเอียดและความถูกต้อง ในขนาดมาตราส่วน 1:500,000 โดยจะดาเนินการ วิเคราะห์ลักษณะและสมบัติดิน และเก็บข้อมูลดินเพิ่มเติม พร้อมทั้งศึกษาการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินทั้ง 2 ระบบ นอกจากนี้ เพื่อให้แผนที่ดินระบบ WRB ที่จัดทาขึ้นมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสร้างความเข้าใจให้นักวิชาการที่ เกี่ยวข้อง โครงการนี้จึงจะจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และร่วมกันตรวจสอบ และให้ ข้อคิดเห็นถึงแนวทางการปรับปรุงหน่วยแผนที่ดินและใช้ประโยชน์แผนที่ดินระบบ WRB ของประไทย โดยนักวิชาการ ที่ปฏิบัติงานด้านการสารวจดินและผู้เชี่ยวชาญด้านดิน ทั้งจากกรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ แผนที่ดินที่จัดทาขึ้นนี้เป็นที่ยอมรับ สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและประยุกต์ใช้ในการประเมินกาลังผลิตของดิน ระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
  • 4. 2 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทย ตามการจาแนกดินระบบ WRB มาตราส่วน 1:500,000 2.2 เพื่อจัดทาคู่มือการเทียบเคียงหน่วยการจาแนกดินระบบ Soil Taxonomy และ ระบบ WRB 2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นการจัดทาแผนที่ดินตามระบบ WRB โดยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดินที่เกี่ยวข้อง 3. วิธีการ 3.1 จัดทาแผนที่ดินของประเทศไทย ตามการจาแนกดินระบบ WRB โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลคาอธิบายหน้าตัดดิน และข้อมูลการวิเคราะห์ดินของชุดดินในประเทศไทย 2) สารวจเก็บข้อมูลลักษณะและสมบัติดิน และตรวจสอบหน่วยแผนที่ดินในภาคสนาม 3) วิเคราะห์สมบัติดินด้านเคมี กายภาพ และแร่วิทยาในห้องปฏิบัติการ 4) วิเคราะห์ข้อมูลและจาแนกดินตามระบบ WRB ที่เหมาะสมในประเทศไทย 5) จัดทารายงาน และแผนที่ดินของประเทศไทยในระบบ WRB มาตราส่วน ๑:๕๐๐,๐๐๐ 6) จัดทาคู่มือการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินระบบ Soil Taxonomy และ ระบบ WRB 3.2 จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในการพัฒนาและจัดทาแผนที่ดินระบบ WRB โดยเชิญนักสารวจดิน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดินที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมพัฒนาที่ดินและ หน่วยงานอื่น จานวนประมาณ 80 คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ดินตามระบบ WRB แลกเปลี่ยนและ รับฟังข้อคิดเห็นต่อดาเนินงานพัฒนาและปรับปรุงแผนที่ดินระบบ WRB ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการการ ประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม 4. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ 4.1 แผนที่ดินของประเทศไทยฉบับต้นร่าง ที่มีหน่วยแผนที่ดินตามการจาแนกระบบ WRB ระดับมาตรา ส่วน ๑ : 5๐๐,๐๐๐ 4.2 สร้างความเข้าใจการจาแนกระบบ WRB และแนวทางการพัฒนาข้อมูลแผนที่ดินเพื่อการนาไปใช้ใน การประเมินกาลังผลิตของดิน ที่สามารถเชื่อมโยงได้กับข้อมูลแผนที่ดินของประเทศอาเซียนอื่นๆ เช่น การประเมิน ศักยภาพทรัพยากรดิน ความเสื่อมโทรมของดิน การบริหารจัดการลุ่มน้า การเกิดภัยพิบัติและดินถล่ม ในโครงการ ความร่วมมือระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค 5. ระยะเวลาดาเนินการ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
  • 5. 3 6. การจัดทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก การจาแนกดินเป็นการจัดหมวดหมู่ของดินต่างๆ อย่างมีลาดับและเป็นระบบ ที่แสดงถึงความแตกต่างกัน และความเกี่ยวข้องกันของดินในระดับต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ของแต่ละท้องถิ่น หรือแต่ละบริเวณของโลก (Buol et al., 2011) ความเข้าใจในเรื่องการกาเนิดดินและการจาแนกดินจะทาให้สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมของ ดินและใช้ดินได้ตามศักยภาพของดิน ระบบการจาแนกดินที่มีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่หลายระบบ แต่ที่ใช้กันมากมี 2 ระบบ คือ อนุกรมวิธานดิน และคาอธิบายหน่วยของแผนที่ดินโลกของ FAO/UNESCO มีลักษณะของหน่วยดิน ค่อนข้างกลางๆ สามารถปรับใช้กับสภาพแวดล้อมของประเทศในแถบเขตร้อนได้ รวมทั้งประเทศไทย การจาแนกดิน ในประเทศไทยที่ใช้อยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ การจาแนกดินตามอนุกรมวิธานดิน (Soil Survey Staff, 1999) ซึ่งเป็นระบบการจาแนกดินของประเทศสหรัฐอเมริกา มีขั้นการจาแนกสูงสุดอยู่ 12 อันดับ เป็นระบบที่มีความละเอียด และมีหลักการเชิงวิทยาศาสตร์มากที่สุด ระบบนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2014 การจาแนกดินระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (World Reference Base, WRB) (FAO, 2014) ได้มี การเสนอแนะโดยสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ในปี ค.ศ. 1998 ให้ใช้เป็นระบบอ้างอิงทั่วไป เป็นการจาแนกดินที่ปรับปรุงมาจากการใช้พื้นฐานของหน่วยแผนที่ดินของ FAO/UNESCO เป็นหลัก และในปี ค.ศ. 2014 ได้ปรับปรุงใหม่ มีหน่วยดินในระดับสูงสุดของการจาแนก 32 หน่วย ซึ่งบางหน่วยดินมีความใกล้เคียงกับหน่วยในระบบอนุกรมวิธานดินในบางระดับ การจาแนกเป็นการเน้นพิจารณา ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ และเคมีของดินเป็นพื้นฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ถูกใช้ในการ กาหนดชั้นดินวินิจฉัยของกลุ่มดินอ้างอิง การแจกแจงดินกาหนดโดยใช้สมบัติที่สังเกตและวัดได้ ระบบการจาแนกดินนี้ ใช้สมบัติของดินเป็นลักษณะสาคัญในการจาแนก ซึ่งจะมีความหมายต่อการใช้ดินและการพยากรณ์การใช้ที่ดิน ฉะนั้น การจาแนกดินในระบบนี้จึงมีความสาคัญและควรศึกษาเพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานในด้านการใช้ที่ดิน การวิจัย และ กิจกรรมด้านการพัฒนาการทางด้านทรัพยากรดิน โดยเฉพาะในเชิงสภาพแวดล้อมในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ การทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) จะเป็นการเตรียมความพร้อม สาหรับนักวิชาการของประเทศเพื่อใช้เป็นสื่อกลางสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการใช้ ข้อมูลทรัพยากรดินร่วมกันของกลุ่มประชาคมอาเซียนและระดับโลก การจัดทาแผนที่ครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลแผนที่ดินรายภาคของประเทศไทย General soils map of Thailand มาตราส่วน 1:500,000 ของกองสารวจและจาแนกดิน (พิสุทธิ์, 2525) ระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy, 1975) ซึ่งเป็นการสารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (Detailed reconnaissance survey) หน่วยแผนที่ดิน ใช้ระดับกลุ่มดิน (Great group) กากับด้วยชั้นอนุภาคดิน (Particle-size classes) เพื่อแสดงลักษณะของเนื้อดิน ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว และก้อนกรวดหรือหินที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน ในระดับ ความลึก 25-100 เซนติเมตร เป็นแผนที่ฐานในการจาแนกดินตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก ปี ค.ศ. 2014 มาตราส่วน 1:500,000
  • 6. 4 7. หลักการเบื้องต้น (Basic Principles) ของการจาแนกดินระบบ WRB 1) เป็นการจาแนกดินตามสมบัติของดินที่กาหนดเป็นชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizon) สมบัติวินิจฉัย (Diagnostic Properties) และวัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) ที่วัดได้และสังเกตได้ในสนาม 2) ลักษณะวินิจฉัยต่างๆ พิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดดิน แต่ไม่ใช้กระบวนการเกิดดิน เป็นตัวกาหนดในการจาแนกดิน 3) ในการจาแนกขั้นสูงจะใช้ลักษณะวินิจฉัยที่พบ (Diagnostic Features) ที่มีความสาคัญต่อการใช้และการ จัดการดิน 4) WRB ไม่มีจุดมุ่งหมายให้ใช้แทนระบบการจาแนกดินที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ แต่ให้ใช้เป็นสื่อกลางในการ ติดต่อระหว่างประเทศ สาหรับระดับหรือขั้นต่าสุดก็จะเน้น Soil Features ที่สาคัญต่อการใช้และการจัดการดินใน ระดับท้องถิ่นได้ 5) ปัจจัยประกอบด้านภูมิอากาศ (Climatic Parameters) ไม่ใช้ในการจาแนก แต่ใช้ประกอบในการแปล ความหมายในลักษณะเป็นพลวัตกับสมบัติของดิน 6) WRB เป็นระบบการจาแนกที่ใช้สนับสนุนระบบการจาแนกของแต่ละ National Classification System 7) WRB ประกอบด้วย 2 ขั้นในการจาแนก - ระดับที่ 1 : กลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups, RSGs) แบ่งเป็น 32 RSGs - ระดับที่ 2 : สมบัติของดินที่มีลักษณะเป็น Principal และ Supplementary Qualifiers เพิ่มเข้ากับ RSG เพื่อให้สามารถจาแนกดินโดยละเอียดขึ้น 8) RSGs ใน WRB ปัจจุบันเป็นตัวแทนของเขตดิน (Major Soil Regions) อยู่แล้ว ในการใช้ประเมินดินของโลก 9) คาจากัดความและคาอธิบายของหน่วยดินเป็นไปทั้งในแนวดิ่ง (vertical) และแนวราบ (lateral) ซึ่งต้อง คานึงถึงความสัมพันธ์เชิงภูมิทัศน์ (landscape) ของดิน และลักษณะดินเหล่านี้ด้วย 10) คาว่า Reference Base นั้นเป็นเชิงสมมติฐานของ WRB โดยกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ที่คาดว่ามีความ กว้างขวางพอที่จะใช้ช่วยในการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวและกาหนดลักษณะหน่วยดินของแต่ละระบบได้ 11) กลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB ให้ใช้เป็นหน่วยเทียบเคียงระหว่างระบบการจาแนกดิน รวมทั้งใช้เป็น สื่อกลางในการติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อการรวบรวมฐานข้อมูลดิน และเพื่อการสารวจและติดตามทรัพยากรดินของโลก 12) ชื่อ (Nomenclature) ที่ใช้แยกกลุ่มดิน สามารถใช้ชื่อที่เคยใช้กันอยู่แล้ว หรือสามารถเพิ่มเติมได้โดยง่าย ในภาษาปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อมีการใช้ในลักษณะแตกต่างกัน
  • 7. 5 8. ลักษณะเชิงโครงสร้าง (Structure) ของการจาแนกดินระบบ WRB มีการจาแนก 2 ระดับ คือ - ระดับที่ 1 : กลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups, RSGs) มี 32 RSGs ตามลักษณะเด่นของดินที่ เป็นผลจากกระบวนการเกิดดินที่สาคัญ - ระดับที่ 2 : ประกอบด้วย RSGs + Qualifiers (Principal และ Supplementary) โดย Qualifiers เป็น ลักษณะของดินที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลจากกระบวนการเกิดดินสาคัญ ที่ช่วยขยายลักษณะ RSGs ให้ละเอียดชัดเจนขึ้น 8.1 ระดับการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) การจาแนกดินแบ่งตามชุดของลักษณะที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น เช่น ปัจจัยในการเกิดดิน หรือ กระบวนการที่ทาให้เกิดลักษณะเด่นที่ชัดเจน โดยดินที่มีลักษณะเด่นที่สุดจะถูกแยกออกก่อน ชุดของลักษณะที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น (ตารางที่ 1) ประกอบด้วย 8 ชุดของ 32 RSG ตามลาดับจาก ชัดเจนที่สุดไปหาที่แยกยากที่สุด (Table 1 หน้า 7-8 ของ WRB ปี 2014) สรุปเป็นแนวคิดกว้างๆ ดังนี้ ตารางที่ 1 กุญแจอย่างย่อของการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs, reference soil groups) ในระบบ WRB กุญแจอย่างย่อ กลุ่มดินอ้างอิง รหัส ชุดที่ 1 แยกดินอินทรีย์ออกจากดินแร่ ดินอื่นๆ ที่มีชั้นดินอินทรีย์หนา Histosols HS ชุดที่ 2 แยกดินที่มีอิทธิพลของกิจกรรมของมนุษย์สร้างลักษณะของดิน ดินอื่นๆ ที่มีการใช้ทางการเกษตรอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลานาน Anthrosols** AT ดินอื่นๆ ที่มีวัสดุโบราณคดี (artefacts) เป็นองค์ประกอบหลัก Technosols* TC ชุดที่ 3 แยกดินที่มีข้อจากัดต่อการหยั่งรากของพืช ดินอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลของน้าแข็ง (ชั้นดินเยือกแข็ง) Cryosols** CR ดินอื่นๆ ที่ตื้นหรือดินที่มีชิ้นส่วนหยาบปนสูง Leptosols LP ดินอื่นๆ ที่มีโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ปริมาณสูง Solonetz SN ดินอื่นๆ ที่มีการแห้ง-เปียก และมีดินเหนียวที่ยืดตัวได้มาก Vertisols VR ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมของเกลือที่ละลายน้าปริมาณสูง Solonchaks SC ชุดที่ 4 แยกดินที่มีลักษณะเด่นทางเคมีของเหล็ก/อะลูมินัมเป็นตัวบงการในระบบการเกิด ดินอื่นๆ ได้รับอิทธิพลของน้าใต้ดิน Gleysols GL ดินอื่นๆ ที่มีชั้น vitric หรือ andic ภายใน 25 ซม. Andosols** AN ดินอื่นๆ ที่มีชั้น spodic ภายใน 200 ซม. Podzols PZ ดินอื่นๆ ที่มีชั้น plinthic หรือ petroplinthic ภายใน 50 ซม. Plinthosols PT ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า, ตรึงฟอสฟอรัส, มีเหล็กออกไซด์มาก, โครงสร้างแข็งแรง Nitisols* NT
  • 8. 6 กุญแจอย่างย่อ กลุ่มดินอ้างอิง รหัส ดินอื่นๆ ที่มีเคโอลิไนต์และเซสควิออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลัก Ferralsols FR ดินอื่นๆ ที่มีน้าขัง, มีเนื้อดินแตกต่างระหว่างชั้นแบบเฉียบพลัน Planosols* PL ดินอื่นๆ ที่มีน้าขัง, มีความแตกต่างของโครงสร้างดิน และ/หรือ มีความแตกต่างของเนื้อดิน ปานกลางระหว่างชั้นดิน Stagnosols* ST ชุดที่ 5 แยกดินที่มีการสะสมอินทรียวัตถุในดินบน ดินอื่นๆ ที่มีสีค่อนข้างดาที่ดินบน และมีคาร์บอเนตทุติยภูมิ Chernozems* CH ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน และมีคาร์บอเนตทุติยภูมิ Kastanozems KS ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน แต่ไม่มีคาร์บอเนตทุติยภูมิ (ยกเว้นพบในดินล่างที่ระดับลึก) และ ค่าการอิ่มตัวด้วยด่างสูง Phaeozems PH ดินอื่นๆ ที่มีสีคล้าที่ดินบน แต่มีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Umbrisols* UM ชุดที่ 6 แยกดินที่มีการสะสมเกลือที่ละลายน้ายากขึ้นหรือมีชั้นด้านล่างที่ไม่เค็ม ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมซิลิกา Durisols* DU ดินอื่นๆ ที่มีการสะสมยิปซัม Gypsisols** GY ดินอื่นๆ ที่มีมีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนต Calcisols** CL ชุดที่ 7 แยกดินที่มีการสะสมดินเหนียวในดินล่าง ดินอื่นๆ ที่มีสมบัติ Retic (ลักษณะสอดชั้นในตอนบนระหว่างดินบน-ดินล่าง) Retisols** RT ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า และมีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Acrisols AC ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมต่า และมีค่าความอิ่มตัวเบสสูง Lixisols LX ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมสูง และมีค่าความอิ่มตัวเบสต่า Alisols* AL ดินอื่นๆ ที่มีดินเหนียวกิจกรรมสูง และมีค่าความอิ่มตัวเบสสูง Luvisols LV ชุดที่ 8 ดินที่มีการพัฒนาหน้าตัดน้อยหรือไม่ชัดเจน ดินอื่นๆ ที่มีการพัฒนาหน้าตัดดินปานกลาง Cambisols CM ดินอื่นๆ ที่มีเนื้อดินหยาบกว่าดินร่วนปนทราย (ดินทรายจัด) Arenosols AR ดินอื่นๆ ในสภาพที่ราบน้าท่วม, ตะกอนสมุทร หรือพรุที่ได้รับอิทธิพลของน้าขึ้น-น้าลง Fluvisols FL ดินอื่นๆ ที่ไม่มีการพัฒนาหน้าตัดดิน Regosols RG หมายเหตุ ** RSGs ที่ไม่มีในประเทศไทย (6 RSGs) * RSGs ที่ยังไม่พบชัดเจนในประเทศไทยซึ่งอาจต้องตรวจสอบต่อไป (8 RSGs)
  • 9. 7 8.2 ระดับการจาแนกต่าลงจาก RSGs (Qualifier Level) 1) Principal Qualifiers ใช้ระบุลักษณะเด่นของ RSGs หรือลักษณะเชื่อมต่อถ้าไม่มีลักษณะอะไรใน 2 แบบที่กล่าวถึงจะใช้ Haplic ชื่อของ Principal Qualifiers จะอยู่หน้าชื่อ RSGs และใช้ตามลาดับคือ 1) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัย 2) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางเคมี 3) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพ 4) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะเชิงแร่วิทยา 5) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะผิวหน้า (Surface Characteristics) 6) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับลักษณะเนื้อดินรวมทั้งชิ้นส่วนหยาบ 7) Qualifiers ที่สัมพันธ์กับสีดิน และ 8) Qualifiers อื่น ๆ 2) Supplementary Qualifiers Supplementary Qualifiers ใช้เขียนต่อท้ายชื่อ RSG และอยู่ในวงเล็บ และจะต้องไม่มีความซ้าซ้อน หรือระบุลักษณะที่ใกล้เคียงกัน การใช้ QUALIFIERS ในการจาแนกจะต้องเรียงลาดับจากตอนบนของ KEY ลงไป เมื่อ ตรงกับลักษณะใดก็ให้ใช้ลักษณะนั้น ขนาดของ RSG ที่มี Qualifier/s ประกอบในเชิงภูมิศาสตร์ 9. กฎของการจาแนกดินระบบ WRB 9.1 กฏทั่วไป การจาแนก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (STEPS) ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบลักษณะที่กาหนดเป็นชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB ตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏในหน้าตัดดิน ความหนา และความลึกว่าเข้ากับลักษณะที่กาหนดเป็นชั้นดิน วินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB หรือไม่ ถ้าหากว่าชั้นดินเข้ากับลักษณะของชั้นดินวินิจฉัยได้มากกว่า 1 ชั้น ให้ถือว่าซ้าซ้อนหรือบังเอิญ ขั้นตอนที่ 2: จาแนก RSGs เมื่อได้ลักษณะของชั้นดินวินิจฉัยต่างๆ สมบัติและวัสดุวินิจฉัยแล้วเปรียบเทียบลักษณะเพื่อกาหนด RSGs (ระดับที่ 1) ตาม Key ที่กาหนดไว้ เริ่มตั้งแต่ต้น Key ไปเรื่อยๆ อย่างละเอียดและเป็นระบบจนได้ RSG ที่มีลักษณะที่ ตรงกับที่ได้ตรวจสอบในหน้าตัดดิน ขั้นตอนที่ 3: จาแนก Qualifiers เป็นการจาแนกขั้นต่าลงมา (ระดับที่ 2) ซึ่งจะมีการใช้ Qualifiers ประกอบซึ่ง Qualifiers ได้กาหนดไว้ ใน Key ว่าเป็น Principal หรือ Supplementary Qualifiers
  • 10. 8 9.2 กฎของการจาแนกดินและการจัดทาหน่วยแผนที่ การจาแนกดินตาม WRB ให้ใช้นิยามว่า ดินเป็นเทหวัตถุธรรมชาติที่มีความต่อเนื่องโดยมีมิติเชิงพื้นที่ (กว้างxยาวxลึก) และมีมิติเชิงเวลา (temporal dimension) โดย “ดิน” เกิดจากองค์ประกอบเชิงแร่และวัสดุอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ องค์ประกอบของดินจับตัว (organized) เป็นโครงสร้างต่างๆ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับดินจะทาให้เข้าใจถึงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และจะทาให้เข้าใจถึงอดีต และปัจจุบันของดิน และการพยากรณ์อนาคตของดิน ดินมีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่อง (constant evolution) ไปตามมิติ ที่ 4 คือ เวลา ความลึกของดินที่ใช้ในการจาแนก คือ 2 เมตร รวมถึงบริเวณที่มีน้าขึ้นน้าลงให้กาหนดบริเวณที่น้าลง (low tide) โดยจะไม่รวมสิ่งมีชีวิต (living organisms) พื้นที่ๆ ครอบคลุมโดยน้าแข็ง หรือน้าที่ลึกกว่า 2 เมตร ใน การจาแนกดินนี้ ความกว้างยาวของพื้นที่ๆ ใช้ในการจาแนกให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะครอบคลุมลักษณะต่างๆ ของ ดินได้ ขนาดที่เล็กที่สุดมีพิสัยตั้งแต่ 1 ตารางเมตร ถึง 10 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของดิน การจาแนกจะใช้ข้อมูล Profile Description ข้อมูลวิเคราะห์ทั้งหมดทุกด้านที่วิเคราะห์ได้ ที่ความลึก ตั้งแต่ผิวดินลงไปถึง 2 เมตร หรือถึงชั้นที่ขุดไม่ได้ โดยใช้ เทคนิคและวิธีตาม FAO Guidelines RSGs ใน WRB ไม่ได้ต้องการให้ใช้ทาแผนที่ แต่กาหนดจากหน่วยของ FAO-UNESCO Soil Map of the World Legend (มาตราส่วน 1 : 5,000,000) - ถ้าจะใช้กับแผนที่ WRB Qualifiers ควรใช้กับ Small Scale Maps Principal Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:5,000,000 ถึง 1:10,000,000 Supplementary Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:10,000,000 ถึง 1:250,000 - แผนที่ดินมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000 ควรใช้หน่วยตามระบบการจาแนกของประเทศ และไม่จัดเป็น หน่วยอ้างอิงของโลก (World Reference Base)
  • 11. 9 10. ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก ชั้นดินวินิจฉัย และสมบัติวินิจฉัย (Diagnostic Horizon และ Properties) เป็นลักษณะเด่นในดินที่เกิดจาก กระบวนการเกิดดินที่รู้จักกันทั่วไป วัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) เป็นวัสดุที่มีอิทธิพลสาคัญต่อกระบวนการ ทางดิน (Pedogenetic Processes) (ตารางที่ 2, ตารางที่ 3 และ ตารางที่ 4) ตารางที่ 2 ชั้นดินวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizons) หน้า* ชั้นดินวินิจฉัย (Diagnostic Horizons) หน้า* 1. Anthraquic horizon  20. Natric horizon  2. Argic horizon  21. Nitic horizon  3. Calcic horizon  22. Petrocalcic horizon**  4. Cambic horizon  23. Petroduric horizon**  5. Chernic horizon  24. Petrogypsic horizon**  6. Cryic horizon**  25. Petroplinthic horizon  7. Duric horizon  26. Pisoplinthic horizon  8. Ferralic horizon  27. Plaggic horizon**  9. Ferric horizon  28. Plinthic horizon  10. Folic horizon  29. Pretic horizon**  11. Fragic horizon  30. Protovertic horizon  12. Fulvic horizon**  31. Salic horizon  13. Gypsic horizon**  32. Sombric horizon  14. Histic horizon  33. Spodic horizon  15. Hortic horizon  34. Terric horizon**  16. Hydragric horizon  35. Thionic horizon  17. Irragric horizon  36. Umbric horizon**  18. Melanic horizon**  37. Vertic horizon  19. Mollic horizon  หมายเหตุ ** ชั้นดินวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย * อ้างอิงเลขที่หน้าใน WRB (2014)
  • 12. 10 ตารางที่ 3 สมบัติวินิจฉัย และวัสดุวินิจฉัยของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) สมบัติวินิจฉัย (Diagnostic Properties) หน้า* วัสดุวินิจฉัย (Diagnostic Materials) หน้า* 1. Abrupt textural difference  1. Albic material  2. Albeluvic glossae**  2. Artefacts  3. Andic properties**  3. Calcaric material  4. Anthric properties**  4. Colluvic material  5. Aridic properties**  5. Dolomitic material**  6. Continuous rock  6. Fluvic material  7. Geric properties  7. Gypsiric material**  8. Gleyic properties  8. Hypersulfidic material  9. Lithic discontinuity  9. Hyposulfidic material  10. Protocalcic properties**  10. Limnic material  11. Reducing conditions  11. Mineral material  12. Retic properties  12. Organic material  13. Shrink-swell cracks  13. Ornithogenic material**  14. Sideralic properties  14. Soil organic carbon  15. Stagnic properties  15. Sulfidic material  16. Takyric properties**  16. Technic hard material**  17. Vitric properties**  17. Tephric material**  18. Yermic properties**  หมายเหตุ ** สมบัติวินิจฉัยและวัสดุวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย * อ้างอิงเลขหน้าใน WRB (2014)
  • 13. 11 ตารางที่ 4 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินของระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) และลักษณะที่ใกล้เคียง หรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน Abrupt textural change Abrupt textural change Albeluvic tonguing** Interfingering of albic materials Albic horizon Albic materials Andic horizon** Andic soil properties Anthraquic horizon Puddled layer and plow pan Anthropedogenic horizons Surface and subsurface horizons resulting from long-term cultivation Agric horizon Argillic horizon Aridic properties** Surface features resulting from wind Artefacts Human deposits, e.g., mine spoils, landfills Calcaric soil material Strongly effervesces in 10% HCl Calcaric soil horizon Calcareous throughout 20-50 cm layer Calcic horizon Calcic horizon Cambic horizon Cambic horizon Colluvic material Natural transported parent materials, colluvium Chernic horizon Black, biologically rich Mollic epipedon Continuous hard rock Lithic contact Cryic horizon** Permafrost Dolomitic material** 2% or more dolomite, calcium magnesium carbonate Duric horizon 10% or more silica-cemented durinodes Ferralic horizon Oxic and kandic horizons Ferralic properties Apparent CEC < 24 cmol kg-1 clay Ferric horizon Coarse red mottles Fluvic material** Stratified flood deposits Folic horizon Folistic epipedon Fragic horizon Strong structure restricts roots, and water movement restricted to cracks Fluvic horizon** Black andic surface horizon Geric properties ECEC 1.5 cmol kg-1 soil or less Gleyic properties Aquic conditions Gypsic horizon** Gypsic horizon Gypsiric material** 5% or more gypsum
  • 14. 12 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน Histic horizon Histic epipedon Hortic horizon Deep, P rich, anthropedogenic horizon Hydragric horizon Redox features resulting from wet cultivation Irragric horizon Light-colored surface resulting from irrigation Limnic material Limnic layer of coprogenous earth, diatomaceous earth and marl Lithic discontinuity Lithologic discontinuity Melanic horizon** Melanic epipedon Mineral material Mineral material Mollic horizon Mollic epipedon Natric horizon Natric horizon Nitic horizon Argillic horizon with shiny ped faces Organic soil material Organic soil material Permafrost** Permafrost Petrocalcic horizon** Petrocalcic horizon Petroduric horizon** Duripan Petrogypsic horizon** Petrogypsic horizon Petroplinthic horizon Petroferric contact Pisoplinthic horizon 40% or more of hardened pisolitic laterite or ironstone Plaggic horizon** Plaggen epipedon Plinthic horizon Plinthite Pretic horizon** Protocalcic properties** Petrocalcic horizon Protovertic horizon Low prominent of shrink-swell cracks, slickensides or wedge-shaped peds Reducing conditions Aquic conditions Retic properties Interfingering of albic materials Salic horizon Salic horizon Secondary carbonates Identifiable secondary carbonates Shrink-swell cracks Cracks that open and close periodically Sideralic properties Requirements of oxic horizon except texture requirement Soil organic carbon Requirement of organic Soil Material Sombric horizon Sombric Horizon Spodic horizon Spodic horizon Stagnic properties Episaturation or temporarily saturated with surface water
  • 15. 13 ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดิน ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันที่ใช้ทางอนุกรมวิธานดิน Strongly humic properties >1.4 g organic C 100g-1 soil in 100 cm of depth ; assume bulk density 1.5 Mg m-3 Sulfidic soil material Sulfidic material Sulfuric horizon Sulfuric horizon Takyric horizon** Clayey surface crust in flooded arid soils Tephric soil material** Slightly weathered volcanic tephra Terric horizon** Mineral material applied by humans Thionic horizon Sulfuric Horizon Umbric horizon** Umbric epipedon Vertic horizon more prominent of shrink-swell cracks, slickensides or wedge-shaped peds Vitric horizon** 10% or more volcanic glass Yermic horizon** Surface layer of gravel, desert pavement หมายเหตุ ** ชั้นวินิจฉัย สมบัติ และวัสดุดินวินิจฉัยที่ไม่มีในประเทศไทย
  • 16. 14 ตารางที่ 5 ตารางเทียบเคียงการจาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB และ อันดับ (Order) ของอนุกรมวิธานดิน WRB 2014 Soil Taxonomy 2014 1. Acrisols Ultisols – low-activity clays in argic horizon and low base saturation 2. Alisols* Ultisols – high-activity clays 3. Andosols** Andisols 4. Anthrosols** Plaggen soil, highly cultuvated soil and Anciently irrigated soils 5. Arenosols Inceptisols – Psamments 6. Calcisols** Aridisols – Calcids or Desert soils 7. Cambisols Inceptisols (upland) 8. Chernozems* Mollisols – Udolls 9. Cryosols** Gelisols 10. Durisols* Aridisols – Durids 11. Ferralsols Oxisols 12. Fluvisols Entisols – Fluvents 13. Gleysols Aquic Suborders and Endoaquic Great Group of various Orders 14. Gypsisols** Mollisols – Udolls 15. Histosols Histosols 16. Kastanozems Mollisols – Ustolls 17. Leptosols Entisols – Lithic subgroups 18. Lixisols Alfisols – low-activity clays 19. Luvisols Alfisols – high-activity clays 20. Nitisols* Kandic Great Groups of Alfisols and Ultisols, different Great Groups of Inceptisols and Oxisols 21. Phaeozems Mollisols – Udolls 22. Planosols* Alfisols – Abruptic Albaqualf, Ultisols – Abruptic Albaquults 23. Plinthosols Plinthite – Plinthaqu-, Plinthus-, -Plinthud- and Plnthus- Petroplinthite or pisoliths – hardening plinthite 24. Podzols Spodosols 25. Regosols Entisols – very weakly developed soils in unconsolidated materials 26. Retisols** Aridisols – Calcids 27. Solonchaks Saline soils and Salt-affected soils 28. Solonetz Natric Great Groups of several Orders 29. Stagnosols* Aquic suborders, and Epiaquic Great Groups or Various Orders 30. Technosols* Urban or Mine soils 31. Umbrisols* OM-rich in the mineral surface soil and low base saturation 32. Vertisols Vertisols หมายเหตุ ** RSGs ที่ไม่มีในประเทศไทย, * RSGs ที่ยังไม่พบชัดเจนในประเทศไทยซึ่งอาจต้องตรวจสอบต่อไป
  • 17. 15 11. สรุปผลการจาแนกดินของประเทศไทยระบบ WRB จากหน่วยดินต่างๆ ที่พบในประเทศไทย จาแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน ฉบับปี พ.ศ. 2525 มาตราส่วน 1:500,000 โดย พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ (2525) แสดงไว้ในภาพที่ 1 ซึ่งในขั้นสูงสุดของระบบนี้ ดินที่พบในประเทศไทย ประกอบด้วย 9 อันดับด้วยกัน โดยมีดินที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อัลทิซอลส์ (Ultisols) แอลฟิซอลส์ (Alfisols) และอินเซปทิซอลส์ (Inceptisols) ซึ่งอัลทิซอลส์พบเป็นบริเวณกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ สาหรับแอลฟิซอลส์ พบมากในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ส่วนอินเซปทิซอลส์พบมากที่สุด ในภาคกลาง และ พบเป็นบางบริเวณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยการเทียบเคียงการจาแนกดินกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB และ อันดับ (Order) ของอนุกรมวิธานดิน (ตารางที่ 5) ระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก มีกลุ่มดินอ้างอิง 32 กลุ่มดินอ้างอิง ซึ่งแบ่งเป็น 10 ชุด ดังที่ได้กล่าว มาแล้ว ซึ่งการจาแนกเป็นการเน้นพิจารณา ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ และเคมีของดิน เป็น พื้นฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ถูกใช้ในการกาหนดชั้นดินวินิจฉัยของกลุ่มดินอ้างอิง ซึ่งในการจาแนกสาหรับดินของ ประเทศไทย ดินในประเทศไทยมีโอกาสที่จะพบกลุ่มดินอ้างอิง ได้ 19 กลุ่มดินอ้างอิง มี กลุ่มดินอ้างอิง Histosols Leptosols Vertisols Fluvisols Solonchaks Gleysols Podzols Plinthosols Ferralsols Solonetz Durisols Calcisol Acrisols Luvisols Lixisols Umbrisols Cambisols Arenosols และ Regosols จากการทาแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบ WRB (2014) ที่จาแนกโดยการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดิน จากระบบอนุกรมวิธานดิน พบว่ามีการแจกกระจายในประเทศไทย ประกอบด้วย 15 กลุ่มดิน ดังแสดงไว้ในภาพที่ 2 และตารางที่ 6 ซึ่งกลุ่มดิน Acrisols พบเป็นบริเวณกว้างขวางมากทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รองลงมาคือ กลุ่มดิน Luvisols ที่พบมากในภาคกลางและภาคเหนือ กลุ่มดินอื่นๆ ที่พบสามารถแยกเป็นหน่วยเดี่ยว เด่นๆ ได้ คือ เวอร์ทิซอลส์ (Vertisols) และ Podzols ในบริเวณที่มี Acrisols ส่วนใหญ่ ยังมีหน่วยที่เจือปนอยู่ คือ Lixisols และ Solonetz โดย Solonetz โดยจะพบแทรกอยู่เป็นบริเวณจากัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหน่วย อื่นๆ ที่เป็นหน่วยผสมของกลุ่มดินอ้างอิง คือ หน่วยของ Regosols กับ Arenosols หน่วยของ Gleysols, Cambisols และ Fluvisols กับหน่วย Cambisols ร่วมกับ Calcisols ซึ่งพบในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าพื้นที่ ภาคกลางมีดินที่พัฒนาการค่อนข้างต่าถึงต่าอยู่เป็นบริเวณกว้างขวาง สาหรับ Leptosols และ Ferralsols พบเป็น บริเวณไม่กว้างขวางจะแทรกอยู่ในหน่วย Acrisols เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน สาหรับหน่วยดิน Histosols มีพื้นที่ กว้างขวางพอปรากฏอยู่ในแผนด้วย โดยเฉพาะในตอนล่างของภาคใต้ จากหน่วยดินต่างๆ ที่พบนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หน่วยอนุกรมวิธานดิน และหน่วยกลุ่มดินอ้างอิงตามฐาน อ้างอิงทรัพยากรดินของโลก ในระดับสูงสุดมีความแตกต่างกัน และไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนพื้นที่ของหน่วยดินจาก ระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งได้ทั้งหมด ในแบบหน่วยต่อหน่วย (ตารางที่ 7) ในแผนที่แบบรวมข้อมูลดิน จาเป็นต้องมี การขยายมาตราส่วนของแผนที่ และพิจารณาตามหน่วยดินอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า กลุ่มดินอ้างอิงจะมีระดับ ใกล้เคียงกับหน่วยอนุกรมวิธานดินในระดับอันดับย่อย หรือกลุ่มดินเป็นส่วนใหญ่ (Buol et al., 2011)
  • 20. 18 ตารางที่ 6 สรุปหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ปี ค.ศ. 2014 หน่วย แผนที่ กลุ่มดินอ้างอิง RSGs การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%) 1 Histosols Tropofibrists Fibric Histosols 477,006 0.15 2 Leptosols Skeletal Skeletic Leptosols 4,084,319 1.27 3 Arenosols Sandy Gleyic Arenosols 73,669 0.02 4 Sandy Rubic Arenosols 5,414,823 1.69 5 Sandy Rubic Arenosols/Loamy Dystric Cambisols 741,027 0.23 6 Sandy Rubic Arenosols/Loamy Haplic Acrisols 76,004 0.02 7 Sandy Rubic Arenosols/Sandy Albic Podzols 36,425 0.01 8 Fluvisols Clayey Gleyic Fluvisols 421,264 0.13 9 Loamy Eutric Fluvisols 2,070,912 0.65 10 Loamy Eutric Fluvisols/Loamy Haplic Luvisols 363,745 0.11 11 Loamy Gleyic Fluvisols 58,513 0.02 12 Vertisols Clayey Chromic Vertisols 390,170 0.12 13 Clayey Pellic Vertisols 1,729,477 0.54 14 Gleysols Clayey Eutric Gleysols 17,671,140 5.51 15 Clayey Loamy Eutric Gleysols 238,712 0.07 16 Clayey Loamy Thionic Gleysols 3,104,020 0.97 17 Clayey Mollic Gleysols 665,307 0.21 18 Clayey Sulfic Eutric Gleysols 4,597,278 1.43 19 Clayey/Clayey Sulfic Eutric Gleysols 121,355 0.04 20 Loamy Eutric Gleysols 358,075 0.11 21 Loamy Eutric Gleysols/Loamy Gleyic Acrisols 105,039 0.03 22 Cambisols Clayey Chromic Cambisols 818,576 0.26 23 Loamy Dystric Cambisols 4,327,728 1.35 24 Loamy Dystric Cambisols/Loamy Gleyic Acrisols 335,682 0.10 25 Loamy Dystric Cambisols/Loamy Haplic Acrisols 54,667 0.02 26 Loamy Entric Cambisols 5,955 0.002 27 Sandy Eutric Cambisols 48,634 0.02 28 Skeletal Skeletic Cambisols 427,030 0.13 29 Solonchaks Loamy Gleyic Solonchaks 547,650 0.17 30 Solonetz Loamy Gleyic Solonetz 1,534,175 0.48 31 Kastanozems Clayey Calcic Kastanozems 2,118,385 0.66
  • 21. 19 หน่วย แผนที่ กลุ่มดินอ้างอิง RSGs การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%) 32 Clayey Haplic Kastanozems 1,598,518 0.50 33 Podzols Sandy Albic Podzols 633,475 0.20 34 Plinthosols Clayey Stagnic Plinthosols 888,533 0.28 35 Clayey/Loamy Stagnic Plinthosols 141,715 0.04 36 Loamy Haplic Plinthosols 262,237 0.08 37 Loamy Haplic Plinthosols/Loamy Haplic Acrisols 144,390 0.05 38 Loamy Stagnic Plinthosols 605,853 0.19 39 Skeketal Pisoplinthic Plinthosols 21,803 0.01 40 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 10,815,037 3.37 41 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Loamy Gleyic Acrisols 1,074,356 0.34 42 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Loamy Haplic Acrisols 190,706 0.06 43 Skeletal Pisoplinthic Plinthosols/Skeletal Stagnic Plinthosols 600,947 0.19 44 Skeletal Stagnic Plinthosols 574,403 0.18 45 Skeletal Stagnic Plinthosols/Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 91,764 0.03 46 Luvisols Clayey Gleyic Luvisols 9,087,253 2.83 47 Clayey Gleyic Luvisols/Loamy Haplic Luvisols 1,381,033 0.43 48 Clayey Haplic Luvisols 1,731,593 0.54 49 Loamy Chromic Luvisols 1,477,595 0.46 50 Loamy Chromic Luvisols/Loamy Gleyic Solonetz 175,486 0.05 51 Loamy Gleyic Luvisols 889,808 0.28 52 Loamy Haplic Luvisols 5,843,143 1.82 53 Loamy Haplic Luvisols/Loamy Haplic Acrisols 1,394,585 0.43 54 Skeletal Skeletic Luvisols/Loamy Gleyic Acrisols 24,381 0.01 55 Skeletal Skeletic Luvisols/Skeletal Skeletic Leptosols 2,982,959 0.93 56 Acrisols Clayey Gleyic Acrisols 6,346,189 1.98 57 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Eutric Gleysols 92,112 0.03 58 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Gleyic Luvisols 380,378 0.12 59 Clayey Gleyic Acrisols/Clayey Stagnic Plinthosols 752,352 0.23 60 Clayey Gleyic Acrisols/Loamy Haplic Acrisols 24,095 0.01 61 Clayey Gleyic Acrisols/Skeletal Gleyic Skeletic Acrisols 51,357 0.02 62 Clayey Gleyic Haplic Acrisols 14,436 0.005 63 Clayey Haplic Acrisols 10,033,150 3.13 64 Clayey Haplic Acrisols/Clayey Gleyic Luvisols 74,454 0.02
  • 22. 20 หน่วย แผนที่ กลุ่มดินอ้างอิง RSGs การจาแนกดินระบบ WRB เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ (%) 65 Clayey Haplic Humic Acrisols 597,217 0.19 66 Clayey/Loamy Gleyic Acrisols 932,140 0.29 67 Clayey/Loamy Haplic Acrisols 1,689,808 0.53 68 Loamy Gleyic Acrisols 18,363,615 5.73 69 Loamy Gleyic Acrisols/Loamy Stagnic Plinthosols 387,320 0.12 70 Loamy Haplic Acrisols 33,348,917 10.40 71 Loamy Haplic Acrisols/Clayey Eutric Gleysols 57,839 0.02 72 Loamy Haplic Acrisols/Clayey Gleyic Acrisols 1,171,054 0.37 73 Loamy Haplic Acrisols/Loamy Dystric Cambisols 857,803 0.27 74 Loamy Haplic Acrisols/Loamy Gleyic Acrisols 13,364,392 4.17 75 Loamy Haplic Acrisols/Skeletal Gleyic Acrisols 146,552 0.05 76 Loamy Haplic Acrisols/Skeletal Skeletic Acrisols 12,133,961 3.78 77 Loamy Haplic Acrisols/Skletal Skeletic Leptosols 630,279 0.20 78 Skeletal Gleyic Skeletic Acrisols 199,219 0.06 79 Skeletal Skeletic Acrisols 14,054,642 4.38 80 Skeletal Skeletic Acrisols/Loamy Dystric Cambisols 144,992 0.05 81 Skeletal Skeletic Acrisols/Loamy Haplic Acrisols 161,700 0.05 82 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Pisoplinthic Plinthosols 173,915 0.05 83 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Skeletic Leptosols 6,628,516 2.07 84 Skeletal Skeletic Acrisols/Skeletal Stagnic Plinthosols 220,229 0.07 85 Ferralsols Clayey Haplic Ferralsols 691,076 0.22 86 Clayey Rhodic Ferralsols 86,947 0.03 87 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope Complex) 99,881,639 31.15 88 พื้นที่เกาะ (Island) 218,562 0.07 89 พื้นที่น้า (Water) 1,137,699 0.35 รวม 320,696,888 100.00
  • 23. 21 ตารางที่ 7 สรุปการเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยระบบฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) และระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) WRB (2014) Soil Taxonomy (1979) Soil Taxonomy (1999) RSGs WRB Order Suborder Great Group Great Group Histosols Fibric Histosols Histosols Fibrists Tropofibrists Haplofibrists Leptosols Skeletic Leptosols Entisols Orthents Troporthents Psammaquents, Udorthents Ustorthents Udorthents Arenosols Gleyic Arenosols Entisols Aquents Tropaquents Psammaquents Rubic Arenosols Psamments Quartzipsamments Psammaquents Ustipsamments Ustipsamments Fluvisols Eutric Fluvisols Entisols Fluvents Ustifluvents Ustifluvents Gleyic Fluvisols Fluvaquents Endoaquepts Vertisols Chromic Vertisols Vertisols Usterts Chromusterts Haplusterts Chromic Vertisols Uderts Chromuderts Vertic Endoaquepts, Endoaquerts Pellic Vertisols Pelluderts Epiaquerts, Endoaquerts Gleysols Thionic Gleysols Entisols Aquents Sulfaquents Sulfaquents Hydraquents Hydraquents Eutric Gleysols Inceptisols Aquepts Tropaquepts Endoaquepts, Endoaquolls, Epiaquerts Mollic Gleysols Mollisols Aquolls Haplaquolls Vertic Endoaquolls Cambisols Chromic Cambisols Inceptisols Tropepts Ustropepts Eutrudepts, Haplustolls Dystric Cambisols Dystropepts Dystrustepts, Kandiudults, Paleudults, Paleustults, Haplustalfs Entric Cambisols Eutropepts Eutrudepts, Haplustolls Skeletic Cambisols Dystropepts Dystrustepts, Kandiudults, Paleudults, Paleustults, Haplustalfs Solonchaks Gleyic Solonchaks Inceptisols Aquepts Halaquepts Halaquepts Solonetz Gleyic Solonetz Alfisols Apualfs Natraqualfs Natraqualfs Kastanozems Calcic Kastanozems Mollisols Usolls Calciustolls Haplustolls Haplic Kastanozems Haplustolls Haplustolls
  • 24. 22 WRB (2014) Soil Taxonomy (1979) Soil Taxonomy (1999) Podzols Albic Podzols Spodosols Aquods Tropaquods Haplorthods Humods Tropohumods Haplorthods Plinthosols Haplic Plinthosols Ultisols Ustults Plinthustults Plinthaquic Haplustults, Plinthic Paleustults Pisoplinthic Plinthosols Udults Paleudults Kandiudults, Palehumults Stagnic Plinthosols Aquults Plinthaquults Plinthaquults, Plinthudults, Plinthic Paleaquults Luvisols Chromic Luvisols Alfisols Ustalfs Paleustalfs Haplustalfs, Endoaquerts, Paleustalfs, Rhodustalfs Gleyic Luvisols Aqualfs Tropaqualfs Endoaqualfs, Haplustalfs, Paleudalfs Haplic Luvisols Ustalfs Paleustalfs Haplustalfs, Endoaquerts, Paleustalfs, Rhodustalfs Skeletic Luvisols Haplustalfs Haplustalfs, Paleustalfs, Endoaqualfs Haplic Luvisols Udalfs Tropudalfs Hapludalfs Acrisols Gleyic Haplic Acrisols Ultisols Aquults Tropaquults Endoaquults, Kandiaquults, Paleaquults, Kandiudults, Kandiustults Gleyic Acrisols Paleaquults Endoaquults, Kandiaquults, Paleaquults, Paleustults Gleyic Skeletic Acrisols Haplic Acrisols Ustults Paleustults Paleustults, Kandiustults, Kandiustox Haplustults Haplustults Udults Paleudults Kandiudults, Palehumults Tropudults Paleudults, Haplohumults, Kandiudults Haplic Humic Acrisols Ustults Palehumults Palehumults, Kandiustults Skeletic Acrisols Paleustults Paleustults, Kandiustults, Kandiustox Haplustults Haplustults Udults Paleudults Kandiudults, Palehumults Tropudults Paleudults, Haplohumults, Kandiudults Ferralsols Haplic Ferralsols Oxisols plustox Haplustox Kandiustox Rhodic Ferralsols orthox Haplorthox Hapludox, Kandiudults
  • 25. 23 12. เอกสารอ้างอิง เฉลียว แจ้งไพร. 2530. ทรัพยากรดินในประเทศไทย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 82. กองสารวจและจาแนกดิน กรม พัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ISBN 974-7614-56-1. พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ก. แผนที่ดินภาคเหนือของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนา ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (4 แผ่น). พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ข. แผนที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจ ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (4 แผ่น). พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ค. แผนที่ดินภาคกลางของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนา ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (2 แผ่น). พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525ง. แผนที่ดินภาคตะวันออกของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรม พัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (1 แผ่น). พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ 2525จ. แผนที่ดินภาคใต้ของประเทศไทย (มาตราส่วน 1:500,000). กองสารวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร (2 แผ่น). รวิยา ทองย่น. 2551. การประยุกต์ใช้ลักษณะดินเพื่อกาหนดหน่วยดินในประเทศไทยตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2534. ดินของประเทศไทย. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร. Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham, and P.A. McDaniel. 2011. Soil Genesis and Classification. 6th edn. Chichester, UK: John Wiley. ISBN 978-0-8138-0769-0. FAO, ISRIC and ISSS. 1998. World Reference Base for Soil Resources. World Soil Resources Report 84. FAO. Rome. FAO. 2014. World Reference Base for Soil Resources 2014. International soil classification system for naming soils and creating legends for soil maps. World Soil Resources Reports No. 106. Rome. Soil Survey Staff. 1975. Soil Taxonomy, A Basic System of Soil Classification for Making and Interpreting Soil Surveys. U.S. Dept. Agric., U.S. Govt Printing Office, Washington, DC. Soil Survey Staff. 1999. Keys to Soil Taxonomy. 8th ed. Natural Resources Conservation Service, United States of Agriculture, U.S. Government Printing office, Washington, D.C., U.S.A. Soil Survey Staff. 2014. Soil Survey Staff. 2014. Keys to Soil Taxonomy, 12th ed. USDA-Natural Resources Conservation Service, Washington, DC.
  • 27. 52 คณะผู้จัดทา ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.เอิบ เขียวรื่นรมณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ ที่ปรึกษาด้านดิน มูลนิธิชัยพัฒนา และที่ปรึกษากรมพัฒนาที่ดิน ดร.สถาพร ใจอารีย์ ผู้อานวยการกองสารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน นายสมศักดิ์ สุขจันทร์ ผู้อานวยการกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ผู้ดาเนินงาน ดร.สุมิตรา วัฒนา ผู้อานวยการกลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน กองสารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (กสด.) นายถวิล หน่อคา ผู้อานวยการกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สานักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 ดร.รวิยา ทองย่น นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน กสด. ดร.นฤกมล จันทร์จิราวุฒิกุล นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มมาตรฐานการสารวจดิน กสด. นายกฤดิโสภณ ดวงกมล นักสารวจดินชานาญการ กลุ่มสารวจจาแนกดิน กสด. นายโกศล เคนทะ นักสารวจดินปฏิบัติการ กลุ่มศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ทรัพยากรดิน กสด.