SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  16
Télécharger pour lire hors ligne
บทบาทใหม่
ของเมือง
ในยุคดิจิทัล
บทความจาก http://citie.org/
รูปภาพจาก http://citie.org/
บทบาทใหม่ของเมือง ในยุคดิจิทัล
ผู้แปลและเรียบเรียง : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร นายฮาพีฟี สะมะแอ
นายปาณัท ทองพ่วง นางสาวปลายฟ้า บุนนาค นางสาวจุฑามาศ พูลสวัสดิ์
บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ปก : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง
รูปเล่ม : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง
ปีที่เผยแพร่ : เมษายน พ.ศ. 2559
เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
1
เมืองนิวยอร์ค : บทบาทเมือง ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น
สู่เศรษฐกิจโลก
ที่มา http://swarmnyc.com/whiteboard/we-are-made-in-ny/
ปัญหาสาคัญของธุรกิจเกิดใหม่
นับเป็นเรื่องไม่ง่ายนักของธุรกิจเกิดใหม่ที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งตลาด เงินลงทุนและ
การสนับสนุนจากภายนอก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มักมีข้อจากัดทั้งในด้านงบประมาณ ข้อมูลและ
ศักยภาพในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ ผู้ประกอบการ SMEs จานวนมากจึงมักประสบปัญหา
ในการติดต่อและรับการสนับสนุนจากองค์การขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหานี้ก็กลายเป็นอุปสรรคสาคัญที่ทาให้
กิจการเติบโตได้ไม่เต็มที่
ในกรณีดังกล่าว รัฐบาลท้องถิ่นจึงกลายเป็นหน่วยงานที่น่าจะมีศักยภาพพอที่จะเป็นผู้นาในการ
สร้างและขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ซึ่งประสบปัญหาข้างต้น ทั้งนี้ หากมีการ
เดินหน้าการขับเคลื่อนจนสาเร็จ สุดท้ายก็จะเกิดแบรนด์สินค้าของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมี
ความเข้มแข็งอันเกิดจากความเหนียวแน่นของเครือข่ายผู้ประกอบการที่มีรัฐบาลท้องถิ่นสนับสนุนและ
ให้การรับรอง เมื่อแบรนด์มีความแข็งแกร่งก็ย่อมจะสามารถดึงดูดลูกค้า หุ้นส่วนรายใหม่ ตลอดจนการ
ลงทุนจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้เข้ามาได้ไม่ยาก นอกจากนั้น การสนับสนุนจากภาครัฐ
ในรูปแบบนี้ยังมีส่วนอย่างมากในการช่วยเพิ่มโอกาสและความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย
มหานครนิวยอร์กเป็นตัวอย่างของเมืองชั้นนาที่ประสบความสาเร็จในการสร้างแบรนด์
สินค้าของเมืองและส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการได้ โดยระหว่างปี 2003 – 2013 ภาคส่วน
2
ธุรกิจด้านเทคโนโลยีได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์เพื่อวางแผนพัฒนาธุรกิจ ซึ่งผลงานที่โดด
เด่นที่สุดคือ ในปี 2013 เพียงปีเดียว ภาคส่วนเทคโนโลยีของเมืองสามารถสร้างงานได้มากถึง 86%
ความสาเร็จนี้ล้วนเป็นผลมาจากการสนับสนุนและร่วมมือวางแผนของผู้ประกอบการทุกระดับ
วิธีการของรัฐบาลนิวยอร์กในการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรธุรกิจท้องถิ่น
ในระยะแรก นิวยอร์กเริ่มต้นการพัฒนาแบรนด์สินค้าของเมืองจากการขับเคลื่อนโดย
ผู้ประกอบการเองเป็นหลัก แต่ต่อมาเริ่มมีการตระหนักถึงแนวคิดในการใช้ความเข้มแข็งของชุมชนเป็น
เครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง จึงทาให้ นาย Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีของนิวยอร์ก
ริเริ่มพัฒนาตราสินค้า “Made in NY” ขึ้น โดยได้ร่วมมือกับกรรมาธิการด้านสื่อสารมวลชนเปิดตัว
แคมเปญ “We are made in NY” เพื่อเสริมสร้างบทบาทนิวยอร์กในฐานะเมืองที่มีพลังทางความคิด
สร้างสรรค์ด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี โดยภาครัฐจะมีบทบาทในการจัดหาและให้การสนับสนุนด้าน
ทรัพยากรแก่ธุรกิจเกิดใหม่ ตลอดจนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นให้พัฒนาสู่โอกาสทาง
ธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลนิวยอร์กยังมีการใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และสร้างความ
น่าเชื่อถือให้แก่สินค้าท้องถิ่นด้วยการจัดทาวิดีโอโฆษณาซึ่งทิ้งท้ายด้วยการรับรอง Made in NY และ
เผยแพร่ไปอย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้ช่วยให้แบรนด์ท้องถิ่นกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทาให้นิวยอร์กประสบความสาเร็จในการสร้างแบรนด์สินค้าก็คือการสร้าง
เครือข่ายให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและประชาชนได้ร่วมมือ แลกเปลี่ยน
ความคิดและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน โดยเครือข่ายที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบออนไลน์ที่
เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจท้องถิ่นเกิดใหม่มากกว่า 6,000 แห่งกับบริษัทใหญ่กว่า 500 แห่งและนักลงทุนอีก
เป็นจานวนมาก อีกทั้งยังมีกลไกที่ทันสมัยซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกให้ลูกค้าและนักลงทุนสามารถ
ติดต่อธุรกิจกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในนิวยอร์กได้อย่างง่ายดาย อาทิ แผนที่ดิจิทัลแสดงที่ตั้งบริษัท
เป็นต้น เครือข่ายดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้บรรดาธุรกิจในท้องถิ่น
ประสบความสาเร็จทั้งในด้านสินค้า บริการ และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ
ปัจจุบัน ประเด็นด้านความสาเร็จของนิวยอร์กในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจท้องถิ่น
ได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่การหารือในเวทีระหว่างประเทศภายใต้โครงการ “World to NYC initiative” ซึ่ง
ริเริ่มโดย the NYC Economic Development Corporation มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้บริษัทข้าม
ชาติหันมาร่วมกันใช้นวัตกรรมที่มีอยู่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยในโครงการจะมีการแลกเปลี่ยน
ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีสมัยใหม่และแนวทางในการนาไปปฏิบัติ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้จะ
เป็นช่องทางสาคัญช่วยสร้างเครือข่ายให้องค์กรธุรกิจของนิวยอร์กเชื่อมโยงกับตัวแสดงในระดับระหว่าง
ประเทศได้มากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
City as an advocate: lesson from New York city. CITIE.
ออนไลน์ http://citie.org/stories/advocate-story/
3
เมืองลอนดอน : เสริมทักษะวิชาชีพพลเมือง
สอดรับเศรษฐเมือง
ที่มา http://citie.org/stories/investor-story/
ปัญหาแรงงานในเมืองลอนดอน
ประเด็นสาคัญประเด็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องพิจารณาคือ บริษัทจะเข้าถึงแรงงานที่มี
ฝีมือและตรงกับความต้องการได้อย่างไร เนื่องจากเมืองแต่ละแห่งต่างมีหลักสูตรท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มี
สถาบันการศึกษาจานวนมากน้อยต่างระดับต่างคุณภาพกัน รวมถึงมีเงื่อนไขวีซ่า (VISA Requirement)
ที่ไม่เหมือนกัน เป็นเหตุให้รัฐท้องถิ่นมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะท้องถิ่นที่แตกต่างกันตามไปด้วย
วิธีการแก้ไขปัญหาของเมืองลอนดอน
เมืองลอนดอนเชื่อว่า เมืองมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างอานาจที่ทาให้เกิดการรวมตัว (convening
power) ที่สามารถนาไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาทักษะของท้องถิ่นให้คงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่
ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว เมืองมีหน้าที่ป้อนแรงงานที่มีทักษะสู่ตลาด ส่วนผู้ประกอบการมีหน้าที่เลือกลงทุน
ตามเมืองที่มีทักษะที่เขาต้องการ ทาให้แรงงานมีช่องทางการสมัครงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงเกิดในสองทางคือ หนึ่ง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนเมือง และ สอง ช่วย
ดึงดูดบริษัทที่ต้องการทักษะของคนเมืองเข้ามาลงทุน โดยแนวคิดนี้ทาให้เมืองลอนดอนกลายเป็น
ตัวกลางในการจัดสรรแรงงานให้บริษัทตามความต้องการ เป็นโครงการหาเด็กฝึกงานให้บริษัท
ผลตอบแทนการลงทุนในโครงการฝึกงาน ใน ค.ศ. 2012-2013 เมืองลอนดอนมีรายได้รวมสุทธิจาก
4
โครงการเป็นมูลค่า 202 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่า 2,261 ปอนด์ต่อผู้ ฝึกงานหนึ่งคน อีกทั้งใน
ระดับประเทศ การฝึกงานช่วยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจประเทศอังกฤษมากถึง 3.4 หมื่นล้านปอนด์ใน ค.ศ.
2014
ความสาเร็จของการแก้ไขปัญหาแรงงานในเมืองลอนดอน
ในลอนดอน การฝึกงานเป็นหัวใจสาคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง ช่วยเสริมทักษะที่
จาเป็นต่อการเติบโตและการแข่งขันในธุรกิจให้คนเมือง โดยเฉพาะการฝึกงานด้านเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้
แผนงานการจ้างงานและการเติบโตของลอนดอน (Jobs and Growth Plan for London) จึงมุ่งเน้นให้คน
เมืองมีทักษะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) มากขึ้น นอกจากนี้
สานักงานนครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London Authority) ยังตั้งเป้าไว้ว่า ผู้ฝึกงานสาย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายใน ค.ศ. 2016 โดยครึ่งหนึ่งต้องเป็นการฝึกงาน
ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน ภาครัฐของลอนดอนได้สนับสนุนโครงการฝึกงาน
ด้านเทคโนโลยีสาหรับคนหนุ่มสาวที่มีอายุอยู่ระหว่าง 16-23 ปี ที่มีวุฒิการศึกษาต่าและไม่ได้อยู่ระหว่าง
การศึกษาในระดับสูง
การฝึกงานช่วยสร้างคนที่มีทักษะทางธุรกิจและความชานาญเฉพาะในการพัฒนาเว็บไซต์และ
ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและเครือข่าย รวมถึงการตลาดเชิงดิจิทัล ผู้ฝึกงานได้ทางาน
ร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อจะได้รับใบรับรองการฝึกวิชาชีพ ( National Vocational
Qualifications: NVQs) และได้รับประสบการณ์การทางานที่คุ้มค่า ทุกวันนี้มีโครงการที่เกิดมาจากกลุ่ม
พึ่งพิงอุตสาหกรรมเป็นหลัก (Industry-led Bodies) เช่น โครงการ Tech Up Nation และ Tech City
Stars อันมีจุดประสงค์เพื่อให้คนหนุ่มสาวชาวลอนดอนมีโอกาสในการทางานและได้พัฒนาทักษะที่
จาเป็นต่อการสร้างการเติบโตและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของลอนดอนในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น Tech Up Nation ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนนายกเทศมนตรีลอนดอน ซึ่ง
มีจุดมุ่งหมายสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง โครงการต้องการเข้าถึงคนหนุ่มสาว 50,000 คนในชุมชนที่
ด้อยโอกาสทั่วลอนดอน เป็นที่ทราบกันดีว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกิจรรม
หนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังพึ่งพิงการนาเข้าเสียมากกว่าการใช้ทักษะของคนท้องถิ่น โครงการจึงมี
จุดมุ่งหมายให้นักเรียนนักศึกษาท้องถิ่นได้ฝึกงานด้านดิจิทัลและนาไปสู่การจ้างงานต่อไป เพื่อสร้าง
ประสบการณ์และเส้นทางสู่การเป็นผู้นาด้านเทคโนโลยี และ ประการที่สอง โครงการต้องการสร้างแหล่ง
งานจานวน 1,500 งานให้กับคนหนุ่มสาวที่ว่างงานอยู่ตลอดสามปี
เอกสารอ้างอิง
Builing the local skills base for digital entrepreneurship : lessons from London.
CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/investor-story/
5
เมืองอัสเตอร์ดัม : สร้างกลไกเพื่อรองรับนวัตกรรมเมือง
ที่มา http://citie.org/stories/strategist-story/
ความท้าทาย ในการพัฒนาเมืองโดยใช้นวัตกรรม ปัญหาใหญ่ที่เมืองทั่วโลกเจอมักจะมีดังนี้
 ช่องว่างระหว่างความคิดริเริ่มกับแรงสนับสนุนและการได้รับความร่วมมือจากภาคส่วน
ต่างๆ กล่าวง่ายๆคือ ไม่มีตัวเชื่อมระหว่างการคิด/คนคิด กับคนทา คนที่มีไอเดียของการพัฒนา
เมืองก็ไม่สามารถผลักดันแนวคิดของตนให้สาเร็จได้ ส่วนคนที่มีอานาจหน้าที่ในการทาโดยตรง
คือเทศบาลเมืองหรือหน่วยงานบริหารของเมืองก็มักทาไปอย่างไร้ไอเดียสร้างสรรค์ ไร้นวัตกรรม
 ปัญหาการประสานงานข้ามหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐหลายๆหน่วย
การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหนึ่งๆ ที่ต้องประสานงานเพื่ออาศัยความร่วมมือจากหลาย
ภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐที่มีมากมายและมีหลายระดับ-เอกชน-ภาคพลเมือง-และนักวิชาการ นั้น
เป็นเรื่องยาก เพราะทุกหน่วยงานต่างมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวาระของตนที่ต่างกันไป ซึ่งเป็น
สิ่งที่ต้องคานึงถึงเสมอในการเสนอ/ขับเคลื่อนโครงการใดๆ
 ความไม่ต่อเนื่องของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอันมาจากการตัดสินใจแบบฝ่าย
การเมือง ฝ่ายการเมืองนั้น โดยธรรมชาติเวลาตัดสินใจในเรื่องใดคะแนนนิยมต้องมาก่อนสิ่งอื่น
ใด ดังนั้นโครงการพัฒนาเมืองเชิงนวัตกรรม เชิงสร้างสรรค์ใดๆที่อาจกระทบคะแนนนิยมของ
พลเมืองในระยะสั้น แม้ว่าจะสร้างประโยชน์กับเมืองในระยะยาว ก็จะถูกระงับหรือยกเลิกไป การ
6
เล็งผลระยะสั้นทางการเมืองของฝ่ายการเมืองรวมทั้งการสับเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารทาให้การ
ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหนึ่งๆ ไม่ต่อเนื่อง
วิธีแก้ปัญหาของอัมสเตอร์ดัม: ตั้งแผนกพัฒนาเมืองขึ้นในเทศบาล
อุปสรรคของการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ข้างต้นเกิดกับเมืองทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่เมืองใน
ไทย แต่ที่นครอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเอาเรื่องการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม
และสานึกแบบผู้ประกอบการ (innovation and entrepreneurship) เป็น “ศูนย์กลาง” ในหลักการพัฒนา
เมืองของเขานั้น ได้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและประสบความสาเร็จด้วย โดยการตั้งแผนก
พัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม เรียกว่า Chief Technology Office (CTO) ขึ้นในเทศบาลเมืองในเดือน
มีนาคม ปี 2014 โดยมีเป้าหมายหลัก ดังนี้
 เป็นหน่วยงานผู้นาและวางยุทธศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาพัฒนาชีวิตของคน
อัมสเตอร์ดัมให้ได้มากที่สุด
 เพื่อประสานให้เกิดการบูรณาการการทางานอย่างราบรื่นระหว่างหน่วยงานในและนอกภาครัฐ
หลายๆแห่ง ที่เกี่ยวข้องในการทาโครงการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมหนึ่งๆ ขึ้นมา อีกทั้งเป็น
ช่องทางหลักให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆในเมืองเข้ามาติดต่อในเรื่องการพัฒนา
เมืองด้วยนวัตกรรม
 เพื่อรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม ไม่ปล่อยให้การพัฒนาเมืองอยู่ในมือ
ของฝ่ายการเมืองที่เล็งผลระยะสั้นจากคะแนนนิยมและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารเมืองอย่าง
เดียว แผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมอย่าง CTO จะพยายามผลักดันให้การส่งเสริมการใช้
นวัตกรรมเป็นวาระสาคัญลาดับแรกของการพัฒนาเมืองอยู่เสมอ
วิธีการจัดโครงสร้างของแผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมของเทศบาลอัมสเตอร์ดัม
 ในฐานะหน่วยประสาน CTO ถูกออกแบบให้มีอิสระในการทางานในแนวราบร่วมกับหน่วยงาน
ต่างๆหลายๆหน่วย และขึ้นตรงต่อนายกเทศมนตรีโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งตัวแทนของ CTO
กล่าวว่าข้อนี้เป็นจุดสาคัญที่ทาให้งานที่พวกเขาทาอยู่ในสายตาของผู้นาสูงสุดของเมืองอยู่เสมอ
และทาให้สามารถขับเคลื่อนโครงการที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนได้สาเร็จ
 สร้างเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็น “ผู้นาการเปลี่ยนแปลง” โดยสร้าง CTO ให้เป็นพื้นที่ของความคิด
สร้างสรรค์ที่ให้เจ้าหน้าที่ในเทศบาลเมืองมานาเสนอไอเดียการพัฒนาเมืองใหม่ๆ หรือสามารถ
ยื่นขอมาร่วมงานที่แผนกนี้ได้สามเดือน เพื่อปลูกฝังความคิดเรื่องการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม
แก่เจ้าหน้าที่ของเมือง เพื่อในวันหนึ่งพวกเขาจะได้เป็น “ผู้นาการเปลี่ยนแปลง”
นอกเหนือไปจากการทางานประจาวันของตน
7
 วางบทบาทของเทศบาลเมืองให้เป็น “ผู้ประสานงาน” ดึงเอาพลังของเอกชนกับพลังสังคมเข้ามา
ขับเคลื่อนเมือง เพราะในเมืองหรือประเทศนั้น ไม่มีใครมีเครดิตที่จะเชื่อมกลุ่มฝ่ายต่างๆให้
ทางานร่วมกันได้ดีเท่ากับเทศบาลเมืองหรือภาครัฐอีกแล้ว ตามหลักการว่า “เราจาเป็นต้องอาศัย
เมืองเป็นผู้ริเริ่มผลักดันสิ่งต่างๆในตอนต้น ชักจูงให้ฝ่ายต่างๆมาทางานร่วมกัน จากนั้นก็ปล่อย
ที่ว่างให้สิ่งต่างๆพัฒนาไปของมันเอง โดยเมืองควบคุมอยู่ห่างๆ”
บทสรุป
จากการปฏิรูปเทศบาลเมืองด้วยการตั้งแผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมตามวิถีทางดังกล่าว ทา
ให้เทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัมสามารถเอาชนะความท้าทายของการพัฒนาเมืองข้างต้นได้ และกลายเป็น
ที่รู้จักในฐานะเมืองที่โดดเด่นในด้านการมีนโยบาย “SMART” ในการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่อง และเป็น
กรณีศึกษาของการพัฒนาเมืองที่เทศบาลเมืองซึ่งโดยปกติจะเป็นตัวฉุดรั้งนวัตกรรมเมือง สามารถปฏิรูป
ตัวเองขึ้นมาเป็นทั้งผู้นาและเป็นตัวประสาน “จับคู่” ความริเริ่ม/โครงการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมต่างๆ
เข้ากับนักวิชาการและบริษัทต่างๆ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมือง ซึ่งปัจจุบันมีหลายบริษัท
ที่ให้ทุนริเริ่มแก่โครงการที่เสนอวิธีแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้นวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัมแล้ว
เอกสารอ้างอิง
City as Strategist: Leading From Within: The City of Amsterdam’s Innovation Agenda. CITIE.
ออนไลน์ http://citie.org/stories/strategist-story.
8
เมืองเทลอาวีฟ : นวัตกรรมอานวยความสะดวกเพื่อคนเมือง
ที่มา http://citie.org/stories/digital-governor-story/
ความคิดเห็นของคนเมืองต่อเมืองเทลอาวีฟ
เทศบาลเมืองเทลอาวีฟ ยาโฟ (Tel Aviv-Yafo) มองว่าคนเมืองนั้นเป็นผู้ใช้บริการ ที่ใช้บริการ
เมืองเป็นทั้งที่ทางาน มีชีวิตและมีสังคมอยู่ในเมืองเทลอาวีฟ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีเทศบาลได้
สารวจความคิดเห็นของคนเมือง ผลที่ได้ทาให้ถึงกับตะลึง เมื่อถามพวกคนเมืองว่า ถ้ากล่าวถึงเทลอาวีฟ
แล้วประชาชนจะนึกถึงสิ่งใด ผลที่ได้คือประชาชนคิดเป็นบวกกับเมืองอย่างมาก เช่น “เมืองที่ไม่หยุดนิ่ง”
“น่ารัก” และ “ยังหนุ่มสาว” แต่พอถามถึงเทศบาล เขากลับตอบในสิ่งที่แตกต่าง เช่น การพัฒนาระบบ
ราชการและการติดต่อราชการกับรัฐ อาทิ ภาษีและ บัตรจอดรถเท่านั้น
นวัตกรรมอานวยความสะดวกเพื่อคนเมือง
เทศบาลเมืองเทลอาวีฟ สังเกตเห็นว่า คนเมืองเทลอาวีฟมีความคาดหวังว่า ต้องการบริการ
สารสนเทศและการมีส่วนร่วมกันผ่านทางออนไลน์ เทศบาลฯ จึงมองว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสในการ
ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับเทศบาล อีกทั้งเปลี่ยนความคิดของพวกเขาต่อเทศบาล ที่
โดยปกติมักเกี่ยวข้องกันแค่เวลาจ่ายภาษีเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเทศบาลฯ ต่อคนเมืองเป็นสิ่งแรกที่เทศบาล ฯ ทา โดยข้อมูลส่วน
บุคคลเป็นสิ่งที่จาเป็นมากสาหรับเทศบาล สิ่งนี้เองที่ทาให้แอปพิเคชั่น DIGITEL ถือกาเนิดขึ้น ในฐานะ
พื้นที่ ที่รวมโครงการของเทศบาล 30 กว่าโครงการ เข้าด้วยกัน ทาให้ DIGITELดีกว่าช่องทางสารสนเทศ
อื่นมาก โดยเผยแพร่สู่สาธารณชนแก่คนเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป เมื่อปี 2003 ที่ผ่านมา
9
เทศบาลเมืองเทลอาวีฟให้ผู้ใช้ DIGITEL สร้างบัญชีส่วนตัวที่มีลักษณะเฉพาะตามใจชอบ
เทศบาลเมืองเทลอาวีฟสามารถบริการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับคนเมือง ทั้งกิจกรรมของชุมชน
ข้อเสนอสุดพิเศษสาหรับกิจกรรมที่สมาชิกสนใจ โดยการแจ้งเตือนส่งข้อความไปให้ ตัวอย่างเช่น คน
เมืองจะได้รับคาแนะนาในการเลือกเส้นทางการเดินทางที่ใกล้กว่า หรือถ้าหากคนเมืองมีความสนใจกีฬา
เขาก็จะได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับเทลอาวีฟ มาราทอน หรือส่วนลดในการเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งการ
จอดรถในเมืองซึ่งง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก
สรุป
วันนี้มีคนเมืองเทลอาวีฟมากกว่าหนึ่งในสามที่ลงทะเบียนใช้ DIGITEL อย่างจริงจัง กระแสของ
DIGITELนับว่าดีมาก เพียงแค่ 18 เดือน ประชาชนกว่า 100,000 คนที่ลงทะเบียน นับว่าเป็นสิ่งที่
ประทับใจ เทศบาล ฯ เชื่อว่าถ้าหากเทศบาลฯ มีส่วนร่วมคนเมืองในการตัดสินอนาคต ประชาชนมี
ความรู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบและความคิดเห็นของประชาชนก็จะช่วยให้เทศบาล ฯ ตัดสินใจได้ดี
ยิ่งขึ้น ในที่สุดประชาชนก็จะช่วยเทศบาล ฯ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพแสดง องค์ประกอบของ DIGITEL (ดัดแปลงจาก EILAT-EILOT GREEN ENERGY:2016)
http://www.eilatenergy.org/Portals/17/Shechter.pdf
เอกสารอ้างอิง
Curating a new digital relationship with citizens : lessons from Telaviv. CITIE. ออนไลน์
http://citie.org/stories/digital-governor-story/.
10
เมืองโซล : แก้ปัญหาเมืองได้ด้วยข้อมูล
ที่มา http://citie.org/stories/datavore-story/
ความสาคัญของข้อมูล
ข้อมูลเป็นสินค้าที่มีคุณค่า หากนามาใช้ให้เกิดประโยชน์จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมือง
และสร้างประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้ โดยเมืองที่มีการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ จะเริ่มคิดค้น และใช้
ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อปรับปรุงนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง ซึ่งเมืองโซลเป็นหนึ่งใน
เมืองที่ใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาเมือง และตั้งเป็นคาขวัญเมืองที่ว่า “ข้อมูลแก้ปัญหาได้ แม้เพียงเรื่องที่
เล็กที่สุด” โดยเมืองโซลได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน ดึงข้อมูลขนาดใหญ่ นามาสร้างมูลค่าและปรับปรุง
โครงสร้างภายในรัฐใหม่ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเมืองโซล มีดังนี้
1. แก้ปัญหาความต้องการรถสาธารณะ : รถเมล์กลางคืน (owl buses)
เมืองโซลได้พยายามเข้าใจและให้ความสาคัญกับปัญหาของเมือง โดยใช้ข้อมูลบันทึกการโทร
สายด่วน และข้อมูลจากช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่ไม่พึงพอใจของประชาชน พบว่า ประชาชนไม่พึง
พอใจต่อการบริการแท็กซี่ตอนกลางคืน เนื่องจากมีจานวนไม่เพียงพอ และมีค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไป
ด้วยเหตุนี้ เมืองโซลจึงเข้าร่วมมือบริษัทเทเลคอม ออกแบบนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาแบบใหม่
โดยนาข้อมูลกว่า 3 พันล้านสาย มาวิเคราะห์และทาแผนที่ ออกแบบเส้นทางเดินรถเมล์บริการตอน
กลางคืน โดยให้บริการตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีห้า
ผลจากการติดตามผลการให้บริการรถเมล์ตอนกลางคืน พบว่า ประสบความสาเร็จมาก โดยมี
ผู้ใช้บริการมากกว่าเส้นทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นกว่า 5 -10% ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ของประชาชนได้เป็นอย่างดี
11
ด้วยความสาเร็จของรถบัสตอนกลางคืน ทาให้เมืองโซลวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อ
สร้างนวัตกรรม แก้ไขปัญหาเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจุดเกิดอุบัติเหตุจราจร นอกจากนี้ยัง
มีแผนที่คาดการณ์การจราจรในเมืองด้วย
2. บริการแท็กซี่จับคู่ของกรุงโซล
ปัญหาหนึ่งในเมืองโซล คือ ประชาชนเรียกรถแท็กซี่ในบางพื้นที่ได้ยากมาก เช่น ในย่านกังนัม
รวมไปถึงการเรียกแท็กซี่ในเวลากลางคืนด้วย รัฐบาลเมืองโซลจึงได้สร้างเว็บไซต์และ application ใน
การจับคู่แท็กซี่และความต้องการของประชาชนให้แจอกันได้ โดยใช้ข้อมูลแผนที่ที่คนเรียกรถแท็กซี่ และ
ให้แท็กซี่กว่า 25000 คัน เห็นถึงจุดที่ผู้โดยสารต้องการได้ ซึ่งบริการดังกล่าวช่วยให้แท็กซี่และผู้โดยสาร
สามารถเจอกันได้ง่ายขึ้น
3. การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนสวัสดิการประชาชน
เมืองโซลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อกาหนดตาแหน่งที่เหมาะสม ในการให้บริการของ
ผู้สูงอายุ โดยเมืองสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลสามะโนประชากร เพื่อหาคนอายุ 65 ปีขึ้นไป และ
ตรวจสอบระดับรายได้ของพวกเขา เพื่อให้บริการขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ที่ผู้สูงอายุอยู่
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถพัฒนาแผนการจัดบริการผู้สูงอายุได้เหมาะสมตามสถานที่และ
ตามประเภทาการให้บริการ ช่วยให้เมืองปรับโปรแกรมอานวยความสะดวกในแต่ะสถานที่ให้เหมาะสม
มากขึ้น
4. การสร้างความสามารถในองค์กรใหม่
รัฐบาลกรุงโซลใช้ข้อมูลเพื่อกาหนดและปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรใหม่ โดยจะฝึกฝนให้
พนักงานวางแผนข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล และการแชร์ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบที่สร้างขึ้นใหม่
นอกจากนี้รัฐบาลโซลยังต้องการอบรมนักศึกษา เพื่อจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะสร้างเป็น
นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการขนส่ง สวัสดิการสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อีกทั้งสนับสนุนให้
สถาบันการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองพัฒนานโยบายด้วยข้อมูล
ปัจจุบันเมืองโซลยังคงสร้างและบริหารนวัตกรรมผ่านข้อมูลขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง นอกจากนี้ เมืองโซลยังเปิดศูนย์บริการข้อมูล ซึ่งอนุญาตให้เอกชนและ
สถาบันการศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลในเรื่องต่างๆ เพื่อที่สามารถนามาปรับปรุงให้บริการและคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยสร้างการเติบโตของนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และ
ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ในท้องถิ่นด้วย
เอกสารอ้างอิง
Big data solves even the smallest grievances: lessons from Seoul.
CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/datavore-story/.
12
เมืองบาร์เซโลน่า : เปิดพื้นที่ประชันไอเดียการพัฒนาเมือง
“ความท้าทายของเมืองคือแม่เหล็กดึงดูดนวัตกรรมต่างๆ”
ที่มา http://edugeography.com/content/barcelona.html
ปัญหาและความท้าทายของเมืองบาร์เซโลน่า
เมืองบาร์เซโลน่าต้องการที่จะปฏิรูปพื้นที่สาธารณะและการบริการของเมือง คือ 1.ลดการขโมย
จักรยานในเมือง 2.เพิ่มขีดความสามารถระบบสนับสนุนเพื่อลดการแบ่งแยกทางสังคม 3.จัดการทางเดิน
เท้าในเมือง 4.มีพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลและข้อมูลที่เก็บถาวร 5.การตรวจสอบและการเตือนอัตโนมัติเวลาที่
พื้นผิวถนนได้รับความเสียหาย 6.ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มขีดความสามารถของร้านค้าปลีกในท้องถิ่น
แนวทางแก้ไขของสภาเมืองบาร์เซโลน่า
สภาเมืองบาร์เซโลน่าใช้วิธีการเปิดกว้างให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อหาวิธีการและนวัตกรรม
ใหม่ๆในการแก้ปัญหา โดยสภาเมืองได้เข้ามามีบทบาทในการกาหนดความท้าทายที่มีต่อการปฏิรูป
พื้นที่สาธารณะและการบริการของเมือง ซึ่งมีจานวน 6 ข้อดังกล่าว หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้คน
ภายนอกเข้ามาเสนอทางแก้ปัญหา สภาเมืองบาร์เซโลน่าใช้วิธีการเปิดให้ผู้ประกอบการต่างๆ เข้ายื่น
เสนอแข่งขันโครงการในแต่ละข้อ วิธีนี้มักจะได้แนวทางแก้ไขที่ราคาถูกและได้ผลดีมากกว่าการที่ให้
เทศบาลฯ ทาเอง ทาให้บาร์เซโลน่าประสบความสาเร็จในการจัดการกับข้อท้าทายของเมือง
กุญแจแห่งความสาเร็จของบาร์เซโลน่า
1. สภาเมืองบาร์เซโลน่าเป็นศูนย์กลางออกแบบการประมูลโครงการโดยให้ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ
โครงการรัฐบาลเมืองต้องเปลี่ยนความคิดเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง ต้องทาให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาเสนอ
ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมืองบาร์เซโลนาได้เปลี่ยนความคิดดังกล่าว ดึงดูดผู้ลงทุนรายใหม่ให้เข้าร่วมแข่งขันการ
13
ประมูล เหตุที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดนั้นเนื่องจากขั้นตอนการประมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเป็นอุปสรรคใน
การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ตั้งไว้อาจจะสูงเกินไป
จึงต้องปรับเกณฑ์การประมูลโดยลดความซับซ้อนของเอกสารลง แต่ทั้งนี้ต้องปรับอย่างระมัดระวัง
เพื่อให้สมดุลระหว่างความยากเกินไปและง่ายเกินไปในการเข้าถึงการประมูล
2. ประชาสัมพันธ์หลากหลายวิธีถึงผู้ลงทุนรายใหม่ ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อย
ค่อนข้างจะขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมการประมูล ดังนั้นจึงทาให้บ่อยครั้งผู้สมัครที่เข้าร่วมการประมูลมี
แต่รายเดิมๆ และนี่ทาให้เกิดการจากัดความคิด เพราะมีเพียงผู้ประกอบการรายเดิมๆ เพื่อให้มีผู้ลงทุน
รายใหม่ๆ เข้ามาเมืองบาร์เซโลนาได้ใช้การโฆษณาโดยติดโฆษณาตามรถไฟฟ้าใต้ดิน ป้าย รถโดยสาร
โซเชียลมีเดีย การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวประสบความสาเร็จอย่างมาก มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากเป็น
ประวัติการณ์ รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ ได้ทวิตข้อความระหว่างอยู่ในกระบวนการส่งข้อเสนอโครงการ
3. เมืองต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการอะไรและเสนอแรงจูงใจที่เหมาะสมให้กับผู้เข้าประมูล
ในเมืองบาร์เซโลนา ผู้ที่ชนะการประมูลจะได้รับสิทธิ์เต็มในการทาสัญญาอนุญาตให้พวกเขาใช้สภาเมือง
บาเซโลนาเป็นลูกค้ารายแรกสาหรับความคิดของพวกเขา และผู้ชนะยังได้พื้นที่สาหรับทาสานักงานเพื่อ
ทางานอีกด้วย
4. ปรับบทบาทของเมืองในการจัดการการจัดซื้อจัดจ้าง ในเมืองบาร์เซโลนา สภาเมืองเป็น
ผู้จัดการ ที่กาหนดความท้าทายและนาผู้คิดค้นนวัตกรรมจากภายนอกเข้ามาแก้ปัญหา
5. เมืองเป็นห้องทดลองนวัตกรรมใหม่ อนวัตกรรมที่คิดได้จะประสบผลสาเร็จ จาเป็นต้องมีการ
นาไปใช้ในสภาพแวดล้อมจริง เมืองบาร์เซโลน่าได้เปลี่ยนเมืองให้เป็นเสมือนห้องปฏิบัติการสาหรับ
ทดลองนวัตกรรมใหม่ โดยใช้พื้นที่สาธารณะในเมืองบาร์เซโลน่าเป็นพื้นที่ที่นานวัตกรรมที่ได้มาทดลอง
ใช้และตรวจสอบ
สรุป
สภาเมืองบาเซโลนาได้ปรับลดบทบาทของตน ไม่ลงไปแก้ไขเอง แต่จะคอยกากับส่งเสริมและ
เปิดกว้างเพื่อให้ได้ความคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นลดการคอร์รัปชัน และใช้พื้นที่สาธารณะในเมือง
บาร์เซโลน่าเป็นพื้นที่สาหรับนานวัตกรรมที่ได้มาทดลองใช้และตรวจสอบ นอกจากจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่
ดีและสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นให้ประสบผลสาเร็จแล้ว ยังเป็นการช่วยให้กลุ่มธุรกิจได้แสดงไอเดียใหมๆ
ของตนในระดับท้องถิ่นจะช่วยสนับสนุนพวกเขาให้เติบโตในระดับสากลต่อไป
เอกสารอ้างอิง
The city as a customer for innovation : lessons from Barcelona. CITIE.
ออนไลน์ http://citie.org/stories/customer-story/
14
บทเรียนสาหรับประเทศไทย
จากบทเรียนการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเมืองของต่างประเทศ เมื่อย้อนกลับมามองการจัด
การเมืองของไทย พบว่า เมืองของไทยของมีนวัตกรรมการพัฒนาเมืองเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- กรุงเทพฯ ได้สร้างแอพพลิชันที่แจ้งสภาพจราจรของกรุงเทพ ฯ ผ่านระบบออนไลน์แบบ
เรียลไทม์ ชื่อ “BMA Live Traffic” และแอพพลิเคชั่นรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
“Bangkokeyes”
- เมืองขอนแก่น เทศบาลฯ ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในเมือง ลงทุนสร้างระบบขนส่งมวลชน
ในเมืองด้วยรถรางเบา (tram) ขณะนี้ได้รับอนุมัติจากส่วนกลางแล้ว
- เมืองยะลา มีแผนลงทุนสร้างศูนย์การค้าเพื่อชุมชน ที่ลงทุนโดยเทศบาลเอง
- เมืองเชียงใหม่ เทศบาลฯ ได้จัดตั้ง “กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาเมือง” สังกัดกองวิชาการ
และแผนงาน เพื่อเป็นแผนกสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองของภาคประชาสังคมเมือง
เชียงใหม่ อันเป็นปัจจัยสาคัญหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเมือง
เชียงใหม่ในปัจจุบัน วิธีการดังกล่าว คล้ายกับการสร้างกลไกใหม่ในเทศบาลเพื่อดูแลจัดการ
ปัญหาเมืองโดยเฉพาะแบบเมืองอัสเตอร์ดัม
นี่เป็นเพียงบางส่วนของนวัตกรรมที่เทศบาลฯ กาลังดาเนินการ และเชื่อว่าอีกหลายเทศบาล
กาลังพยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการเมืองเช่นกัน และอีกหลายแห่งหากมีหากมีโอกาส
หรือมีนโยบายที่สนับสนุนและส่งเสริมเต็มที่ เชื่อว่าน่าจะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นหลากหลายและสร้างสรรค์
มีข้อสังเกตว่า ปัจจัยแห่งความสร้างสรรค์นวัตกรรมเมืองในต่างประเทศนั้น ส่วนสาคัญเกิดจาก
ระบบการปกครองในรูปแบบการกระจายอานาจ เนื่องจาก ให้ท้องถิ่นมีบทบาทนาในการพัฒนา เมืองจึง
เป็นพื้นที่เปิดรับสาหรับนวัตกรรมที่ทันสมัย ยิ่งปัจจุบันประชากรเมืองที่มากขึ้น เมืองจึงเป็นโอกาสของ
ตลาดสาหรับการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสาหรับคนเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ท้องถิ่นในต่างประเทศจึงได้ริเริ่มโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ มีบทบาทในการลงทุน
สร้างช่องทางสารสนเทศ พัฒนาแอพพิเคชั่น จนสามารถส่งเสริมหรือผลักดันให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นโต
ในระดับโลก พัฒนาระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่นรูปแบบบริษัทท้องถิ่น เป็นต้น
ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบการรวมศูนย์อานาจการปกครองของไทยที่ยัง
ดารงอยู่ในปัจจุบัน ได้ลดทอนพลังของท้องถิ่นและบทบาทของเมือง ส่งผลให้ประเทศขาด
โอกาสและพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศที่เกิดจากเมืองเป็นอย่างมาก

Contenu connexe

Tendances

กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศsutima piboon
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลพัน พัน
 
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลายJariya Jaiyot
 
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ทฤษฎีจลน์ของแก๊สทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ทฤษฎีจลน์ของแก๊สChanthawan Suwanhitathorn
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาธนกร ทองแก้ว
 
ข้อสอบอัตนัย
ข้อสอบอัตนัยข้อสอบอัตนัย
ข้อสอบอัตนัยNU
 
โครงการทัศนศึกษา
โครงการทัศนศึกษาโครงการทัศนศึกษา
โครงการทัศนศึกษาSaranda Nim
 
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560KiiKz Krittiya
 
ข้อสอบวิชาช่าง
ข้อสอบวิชาช่างข้อสอบวิชาช่าง
ข้อสอบวิชาช่างkrupeak
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้Nattapakwichan Joysena
 
02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรงwiriya kosit
 
บทไหว้ครู
บทไหว้ครูบทไหว้ครู
บทไหว้ครูkashinova
 
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223Preeyapat Lengrabam
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนChittraporn Phalao
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓krusuparat01
 
ใบงานแนะนำตัว
ใบงานแนะนำตัวใบงานแนะนำตัว
ใบงานแนะนำตัวThansuda07
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559Pinutchaya Nakchumroon
 
ความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemandความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemandfirstnarak
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์Princess Chulabhon's College Chonburi
 

Tendances (20)

กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิล
 
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลาย
 
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ทฤษฎีจลน์ของแก๊สทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
 
ข้อสอบอัตนัย
ข้อสอบอัตนัยข้อสอบอัตนัย
ข้อสอบอัตนัย
 
โครงการทัศนศึกษา
โครงการทัศนศึกษาโครงการทัศนศึกษา
โครงการทัศนศึกษา
 
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
 
ข้อสอบวิชาช่าง
ข้อสอบวิชาช่างข้อสอบวิชาช่าง
ข้อสอบวิชาช่าง
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้
 
02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง02 เคลื่อนที่แนวตรง
02 เคลื่อนที่แนวตรง
 
บทไหว้ครู
บทไหว้ครูบทไหว้ครู
บทไหว้ครู
 
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
 
ใบงานแนะนำตัว
ใบงานแนะนำตัวใบงานแนะนำตัว
ใบงานแนะนำตัว
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
 
ความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemandความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemand
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 

Similaire à บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล

SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.Peerasak C.
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีFURD_RSU
 
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...FURD_RSU
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015Klangpanya
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพFURD_RSU
 
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSmart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSarit Tiyawongsuwan
 
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSarit Tiyawongsuwan
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยSoftware Park Thailand
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD_RSU
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยSoftware Park Thailand
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD_RSU
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจMissiontothemoon
 
MWA Innovation and R&D 17012023
MWA Innovation and R&D 17012023MWA Innovation and R&D 17012023
MWA Innovation and R&D 17012023pantapong
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรSoftware Park Thailand
 
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special IssueFURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special IssueFURD_RSU
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองFURD_RSU
 
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนการบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนFURD_RSU
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยง
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยงกลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยง
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยงfreelance
 

Similaire à บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล (19)

SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
 
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...
The Future of urban delopment initiative: Dalian Zhangjiakou champion city st...
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
 
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSmart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
 
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
 
190828 royal council (6) passakorn
190828 royal council (6) passakorn190828 royal council (6) passakorn
190828 royal council (6) passakorn
 
MWA Innovation and R&D 17012023
MWA Innovation and R&D 17012023MWA Innovation and R&D 17012023
MWA Innovation and R&D 17012023
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
 
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special IssueFURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
 
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนการบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยง
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยงกลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยง
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ เชื่อมโยง
 

Plus de FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 

Plus de FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล

  • 2. บทบาทใหม่ของเมือง ในยุคดิจิทัล ผู้แปลและเรียบเรียง : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร นายฮาพีฟี สะมะแอ นายปาณัท ทองพ่วง นางสาวปลายฟ้า บุนนาค นางสาวจุฑามาศ พูลสวัสดิ์ บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปก : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง รูปเล่ม : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง ปีที่เผยแพร่ : เมษายน พ.ศ. 2559 เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 3. 1 เมืองนิวยอร์ค : บทบาทเมือง ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น สู่เศรษฐกิจโลก ที่มา http://swarmnyc.com/whiteboard/we-are-made-in-ny/ ปัญหาสาคัญของธุรกิจเกิดใหม่ นับเป็นเรื่องไม่ง่ายนักของธุรกิจเกิดใหม่ที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งตลาด เงินลงทุนและ การสนับสนุนจากภายนอก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มักมีข้อจากัดทั้งในด้านงบประมาณ ข้อมูลและ ศักยภาพในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ ผู้ประกอบการ SMEs จานวนมากจึงมักประสบปัญหา ในการติดต่อและรับการสนับสนุนจากองค์การขนาดใหญ่ ซึ่งปัญหานี้ก็กลายเป็นอุปสรรคสาคัญที่ทาให้ กิจการเติบโตได้ไม่เต็มที่ ในกรณีดังกล่าว รัฐบาลท้องถิ่นจึงกลายเป็นหน่วยงานที่น่าจะมีศักยภาพพอที่จะเป็นผู้นาในการ สร้างและขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ซึ่งประสบปัญหาข้างต้น ทั้งนี้ หากมีการ เดินหน้าการขับเคลื่อนจนสาเร็จ สุดท้ายก็จะเกิดแบรนด์สินค้าของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมี ความเข้มแข็งอันเกิดจากความเหนียวแน่นของเครือข่ายผู้ประกอบการที่มีรัฐบาลท้องถิ่นสนับสนุนและ ให้การรับรอง เมื่อแบรนด์มีความแข็งแกร่งก็ย่อมจะสามารถดึงดูดลูกค้า หุ้นส่วนรายใหม่ ตลอดจนการ ลงทุนจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้เข้ามาได้ไม่ยาก นอกจากนั้น การสนับสนุนจากภาครัฐ ในรูปแบบนี้ยังมีส่วนอย่างมากในการช่วยเพิ่มโอกาสและความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย มหานครนิวยอร์กเป็นตัวอย่างของเมืองชั้นนาที่ประสบความสาเร็จในการสร้างแบรนด์ สินค้าของเมืองและส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการได้ โดยระหว่างปี 2003 – 2013 ภาคส่วน
  • 4. 2 ธุรกิจด้านเทคโนโลยีได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์เพื่อวางแผนพัฒนาธุรกิจ ซึ่งผลงานที่โดด เด่นที่สุดคือ ในปี 2013 เพียงปีเดียว ภาคส่วนเทคโนโลยีของเมืองสามารถสร้างงานได้มากถึง 86% ความสาเร็จนี้ล้วนเป็นผลมาจากการสนับสนุนและร่วมมือวางแผนของผู้ประกอบการทุกระดับ วิธีการของรัฐบาลนิวยอร์กในการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรธุรกิจท้องถิ่น ในระยะแรก นิวยอร์กเริ่มต้นการพัฒนาแบรนด์สินค้าของเมืองจากการขับเคลื่อนโดย ผู้ประกอบการเองเป็นหลัก แต่ต่อมาเริ่มมีการตระหนักถึงแนวคิดในการใช้ความเข้มแข็งของชุมชนเป็น เครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง จึงทาให้ นาย Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีของนิวยอร์ก ริเริ่มพัฒนาตราสินค้า “Made in NY” ขึ้น โดยได้ร่วมมือกับกรรมาธิการด้านสื่อสารมวลชนเปิดตัว แคมเปญ “We are made in NY” เพื่อเสริมสร้างบทบาทนิวยอร์กในฐานะเมืองที่มีพลังทางความคิด สร้างสรรค์ด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี โดยภาครัฐจะมีบทบาทในการจัดหาและให้การสนับสนุนด้าน ทรัพยากรแก่ธุรกิจเกิดใหม่ ตลอดจนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นให้พัฒนาสู่โอกาสทาง ธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลนิวยอร์กยังมีการใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และสร้างความ น่าเชื่อถือให้แก่สินค้าท้องถิ่นด้วยการจัดทาวิดีโอโฆษณาซึ่งทิ้งท้ายด้วยการรับรอง Made in NY และ เผยแพร่ไปอย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้ช่วยให้แบรนด์ท้องถิ่นกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทาให้นิวยอร์กประสบความสาเร็จในการสร้างแบรนด์สินค้าก็คือการสร้าง เครือข่ายให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและประชาชนได้ร่วมมือ แลกเปลี่ยน ความคิดและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน โดยเครือข่ายที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบออนไลน์ที่ เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจท้องถิ่นเกิดใหม่มากกว่า 6,000 แห่งกับบริษัทใหญ่กว่า 500 แห่งและนักลงทุนอีก เป็นจานวนมาก อีกทั้งยังมีกลไกที่ทันสมัยซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกให้ลูกค้าและนักลงทุนสามารถ ติดต่อธุรกิจกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในนิวยอร์กได้อย่างง่ายดาย อาทิ แผนที่ดิจิทัลแสดงที่ตั้งบริษัท เป็นต้น เครือข่ายดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้บรรดาธุรกิจในท้องถิ่น ประสบความสาเร็จทั้งในด้านสินค้า บริการ และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ ปัจจุบัน ประเด็นด้านความสาเร็จของนิวยอร์กในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจท้องถิ่น ได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่การหารือในเวทีระหว่างประเทศภายใต้โครงการ “World to NYC initiative” ซึ่ง ริเริ่มโดย the NYC Economic Development Corporation มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้บริษัทข้าม ชาติหันมาร่วมกันใช้นวัตกรรมที่มีอยู่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยในโครงการจะมีการแลกเปลี่ยน ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีสมัยใหม่และแนวทางในการนาไปปฏิบัติ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้จะ เป็นช่องทางสาคัญช่วยสร้างเครือข่ายให้องค์กรธุรกิจของนิวยอร์กเชื่อมโยงกับตัวแสดงในระดับระหว่าง ประเทศได้มากยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง City as an advocate: lesson from New York city. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/advocate-story/
  • 5. 3 เมืองลอนดอน : เสริมทักษะวิชาชีพพลเมือง สอดรับเศรษฐเมือง ที่มา http://citie.org/stories/investor-story/ ปัญหาแรงงานในเมืองลอนดอน ประเด็นสาคัญประเด็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องพิจารณาคือ บริษัทจะเข้าถึงแรงงานที่มี ฝีมือและตรงกับความต้องการได้อย่างไร เนื่องจากเมืองแต่ละแห่งต่างมีหลักสูตรท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มี สถาบันการศึกษาจานวนมากน้อยต่างระดับต่างคุณภาพกัน รวมถึงมีเงื่อนไขวีซ่า (VISA Requirement) ที่ไม่เหมือนกัน เป็นเหตุให้รัฐท้องถิ่นมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะท้องถิ่นที่แตกต่างกันตามไปด้วย วิธีการแก้ไขปัญหาของเมืองลอนดอน เมืองลอนดอนเชื่อว่า เมืองมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างอานาจที่ทาให้เกิดการรวมตัว (convening power) ที่สามารถนาไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาทักษะของท้องถิ่นให้คงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว เมืองมีหน้าที่ป้อนแรงงานที่มีทักษะสู่ตลาด ส่วนผู้ประกอบการมีหน้าที่เลือกลงทุน ตามเมืองที่มีทักษะที่เขาต้องการ ทาให้แรงงานมีช่องทางการสมัครงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงเกิดในสองทางคือ หนึ่ง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนเมือง และ สอง ช่วย ดึงดูดบริษัทที่ต้องการทักษะของคนเมืองเข้ามาลงทุน โดยแนวคิดนี้ทาให้เมืองลอนดอนกลายเป็น ตัวกลางในการจัดสรรแรงงานให้บริษัทตามความต้องการ เป็นโครงการหาเด็กฝึกงานให้บริษัท ผลตอบแทนการลงทุนในโครงการฝึกงาน ใน ค.ศ. 2012-2013 เมืองลอนดอนมีรายได้รวมสุทธิจาก
  • 6. 4 โครงการเป็นมูลค่า 202 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่า 2,261 ปอนด์ต่อผู้ ฝึกงานหนึ่งคน อีกทั้งใน ระดับประเทศ การฝึกงานช่วยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจประเทศอังกฤษมากถึง 3.4 หมื่นล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2014 ความสาเร็จของการแก้ไขปัญหาแรงงานในเมืองลอนดอน ในลอนดอน การฝึกงานเป็นหัวใจสาคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง ช่วยเสริมทักษะที่ จาเป็นต่อการเติบโตและการแข่งขันในธุรกิจให้คนเมือง โดยเฉพาะการฝึกงานด้านเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ แผนงานการจ้างงานและการเติบโตของลอนดอน (Jobs and Growth Plan for London) จึงมุ่งเน้นให้คน เมืองมีทักษะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) มากขึ้น นอกจากนี้ สานักงานนครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London Authority) ยังตั้งเป้าไว้ว่า ผู้ฝึกงานสาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายใน ค.ศ. 2016 โดยครึ่งหนึ่งต้องเป็นการฝึกงาน ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน ภาครัฐของลอนดอนได้สนับสนุนโครงการฝึกงาน ด้านเทคโนโลยีสาหรับคนหนุ่มสาวที่มีอายุอยู่ระหว่าง 16-23 ปี ที่มีวุฒิการศึกษาต่าและไม่ได้อยู่ระหว่าง การศึกษาในระดับสูง การฝึกงานช่วยสร้างคนที่มีทักษะทางธุรกิจและความชานาญเฉพาะในการพัฒนาเว็บไซต์และ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและเครือข่าย รวมถึงการตลาดเชิงดิจิทัล ผู้ฝึกงานได้ทางาน ร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อจะได้รับใบรับรองการฝึกวิชาชีพ ( National Vocational Qualifications: NVQs) และได้รับประสบการณ์การทางานที่คุ้มค่า ทุกวันนี้มีโครงการที่เกิดมาจากกลุ่ม พึ่งพิงอุตสาหกรรมเป็นหลัก (Industry-led Bodies) เช่น โครงการ Tech Up Nation และ Tech City Stars อันมีจุดประสงค์เพื่อให้คนหนุ่มสาวชาวลอนดอนมีโอกาสในการทางานและได้พัฒนาทักษะที่ จาเป็นต่อการสร้างการเติบโตและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของลอนดอนในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น Tech Up Nation ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนนายกเทศมนตรีลอนดอน ซึ่ง มีจุดมุ่งหมายสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง โครงการต้องการเข้าถึงคนหนุ่มสาว 50,000 คนในชุมชนที่ ด้อยโอกาสทั่วลอนดอน เป็นที่ทราบกันดีว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกิจรรม หนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังพึ่งพิงการนาเข้าเสียมากกว่าการใช้ทักษะของคนท้องถิ่น โครงการจึงมี จุดมุ่งหมายให้นักเรียนนักศึกษาท้องถิ่นได้ฝึกงานด้านดิจิทัลและนาไปสู่การจ้างงานต่อไป เพื่อสร้าง ประสบการณ์และเส้นทางสู่การเป็นผู้นาด้านเทคโนโลยี และ ประการที่สอง โครงการต้องการสร้างแหล่ง งานจานวน 1,500 งานให้กับคนหนุ่มสาวที่ว่างงานอยู่ตลอดสามปี เอกสารอ้างอิง Builing the local skills base for digital entrepreneurship : lessons from London. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/investor-story/
  • 7. 5 เมืองอัสเตอร์ดัม : สร้างกลไกเพื่อรองรับนวัตกรรมเมือง ที่มา http://citie.org/stories/strategist-story/ ความท้าทาย ในการพัฒนาเมืองโดยใช้นวัตกรรม ปัญหาใหญ่ที่เมืองทั่วโลกเจอมักจะมีดังนี้  ช่องว่างระหว่างความคิดริเริ่มกับแรงสนับสนุนและการได้รับความร่วมมือจากภาคส่วน ต่างๆ กล่าวง่ายๆคือ ไม่มีตัวเชื่อมระหว่างการคิด/คนคิด กับคนทา คนที่มีไอเดียของการพัฒนา เมืองก็ไม่สามารถผลักดันแนวคิดของตนให้สาเร็จได้ ส่วนคนที่มีอานาจหน้าที่ในการทาโดยตรง คือเทศบาลเมืองหรือหน่วยงานบริหารของเมืองก็มักทาไปอย่างไร้ไอเดียสร้างสรรค์ ไร้นวัตกรรม  ปัญหาการประสานงานข้ามหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐหลายๆหน่วย การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหนึ่งๆ ที่ต้องประสานงานเพื่ออาศัยความร่วมมือจากหลาย ภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐที่มีมากมายและมีหลายระดับ-เอกชน-ภาคพลเมือง-และนักวิชาการ นั้น เป็นเรื่องยาก เพราะทุกหน่วยงานต่างมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวาระของตนที่ต่างกันไป ซึ่งเป็น สิ่งที่ต้องคานึงถึงเสมอในการเสนอ/ขับเคลื่อนโครงการใดๆ  ความไม่ต่อเนื่องของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอันมาจากการตัดสินใจแบบฝ่าย การเมือง ฝ่ายการเมืองนั้น โดยธรรมชาติเวลาตัดสินใจในเรื่องใดคะแนนนิยมต้องมาก่อนสิ่งอื่น ใด ดังนั้นโครงการพัฒนาเมืองเชิงนวัตกรรม เชิงสร้างสรรค์ใดๆที่อาจกระทบคะแนนนิยมของ พลเมืองในระยะสั้น แม้ว่าจะสร้างประโยชน์กับเมืองในระยะยาว ก็จะถูกระงับหรือยกเลิกไป การ
  • 8. 6 เล็งผลระยะสั้นทางการเมืองของฝ่ายการเมืองรวมทั้งการสับเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารทาให้การ ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหนึ่งๆ ไม่ต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาของอัมสเตอร์ดัม: ตั้งแผนกพัฒนาเมืองขึ้นในเทศบาล อุปสรรคของการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ข้างต้นเกิดกับเมืองทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่เมืองใน ไทย แต่ที่นครอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเอาเรื่องการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม และสานึกแบบผู้ประกอบการ (innovation and entrepreneurship) เป็น “ศูนย์กลาง” ในหลักการพัฒนา เมืองของเขานั้น ได้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและประสบความสาเร็จด้วย โดยการตั้งแผนก พัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม เรียกว่า Chief Technology Office (CTO) ขึ้นในเทศบาลเมืองในเดือน มีนาคม ปี 2014 โดยมีเป้าหมายหลัก ดังนี้  เป็นหน่วยงานผู้นาและวางยุทธศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาพัฒนาชีวิตของคน อัมสเตอร์ดัมให้ได้มากที่สุด  เพื่อประสานให้เกิดการบูรณาการการทางานอย่างราบรื่นระหว่างหน่วยงานในและนอกภาครัฐ หลายๆแห่ง ที่เกี่ยวข้องในการทาโครงการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมหนึ่งๆ ขึ้นมา อีกทั้งเป็น ช่องทางหลักให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆในเมืองเข้ามาติดต่อในเรื่องการพัฒนา เมืองด้วยนวัตกรรม  เพื่อรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม ไม่ปล่อยให้การพัฒนาเมืองอยู่ในมือ ของฝ่ายการเมืองที่เล็งผลระยะสั้นจากคะแนนนิยมและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารเมืองอย่าง เดียว แผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมอย่าง CTO จะพยายามผลักดันให้การส่งเสริมการใช้ นวัตกรรมเป็นวาระสาคัญลาดับแรกของการพัฒนาเมืองอยู่เสมอ วิธีการจัดโครงสร้างของแผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมของเทศบาลอัมสเตอร์ดัม  ในฐานะหน่วยประสาน CTO ถูกออกแบบให้มีอิสระในการทางานในแนวราบร่วมกับหน่วยงาน ต่างๆหลายๆหน่วย และขึ้นตรงต่อนายกเทศมนตรีโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งตัวแทนของ CTO กล่าวว่าข้อนี้เป็นจุดสาคัญที่ทาให้งานที่พวกเขาทาอยู่ในสายตาของผู้นาสูงสุดของเมืองอยู่เสมอ และทาให้สามารถขับเคลื่อนโครงการที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนได้สาเร็จ  สร้างเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็น “ผู้นาการเปลี่ยนแปลง” โดยสร้าง CTO ให้เป็นพื้นที่ของความคิด สร้างสรรค์ที่ให้เจ้าหน้าที่ในเทศบาลเมืองมานาเสนอไอเดียการพัฒนาเมืองใหม่ๆ หรือสามารถ ยื่นขอมาร่วมงานที่แผนกนี้ได้สามเดือน เพื่อปลูกฝังความคิดเรื่องการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม แก่เจ้าหน้าที่ของเมือง เพื่อในวันหนึ่งพวกเขาจะได้เป็น “ผู้นาการเปลี่ยนแปลง” นอกเหนือไปจากการทางานประจาวันของตน
  • 9. 7  วางบทบาทของเทศบาลเมืองให้เป็น “ผู้ประสานงาน” ดึงเอาพลังของเอกชนกับพลังสังคมเข้ามา ขับเคลื่อนเมือง เพราะในเมืองหรือประเทศนั้น ไม่มีใครมีเครดิตที่จะเชื่อมกลุ่มฝ่ายต่างๆให้ ทางานร่วมกันได้ดีเท่ากับเทศบาลเมืองหรือภาครัฐอีกแล้ว ตามหลักการว่า “เราจาเป็นต้องอาศัย เมืองเป็นผู้ริเริ่มผลักดันสิ่งต่างๆในตอนต้น ชักจูงให้ฝ่ายต่างๆมาทางานร่วมกัน จากนั้นก็ปล่อย ที่ว่างให้สิ่งต่างๆพัฒนาไปของมันเอง โดยเมืองควบคุมอยู่ห่างๆ” บทสรุป จากการปฏิรูปเทศบาลเมืองด้วยการตั้งแผนกพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมตามวิถีทางดังกล่าว ทา ให้เทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัมสามารถเอาชนะความท้าทายของการพัฒนาเมืองข้างต้นได้ และกลายเป็น ที่รู้จักในฐานะเมืองที่โดดเด่นในด้านการมีนโยบาย “SMART” ในการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่อง และเป็น กรณีศึกษาของการพัฒนาเมืองที่เทศบาลเมืองซึ่งโดยปกติจะเป็นตัวฉุดรั้งนวัตกรรมเมือง สามารถปฏิรูป ตัวเองขึ้นมาเป็นทั้งผู้นาและเป็นตัวประสาน “จับคู่” ความริเริ่ม/โครงการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรมต่างๆ เข้ากับนักวิชาการและบริษัทต่างๆ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมือง ซึ่งปัจจุบันมีหลายบริษัท ที่ให้ทุนริเริ่มแก่โครงการที่เสนอวิธีแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้นวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัมแล้ว เอกสารอ้างอิง City as Strategist: Leading From Within: The City of Amsterdam’s Innovation Agenda. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/strategist-story.
  • 10. 8 เมืองเทลอาวีฟ : นวัตกรรมอานวยความสะดวกเพื่อคนเมือง ที่มา http://citie.org/stories/digital-governor-story/ ความคิดเห็นของคนเมืองต่อเมืองเทลอาวีฟ เทศบาลเมืองเทลอาวีฟ ยาโฟ (Tel Aviv-Yafo) มองว่าคนเมืองนั้นเป็นผู้ใช้บริการ ที่ใช้บริการ เมืองเป็นทั้งที่ทางาน มีชีวิตและมีสังคมอยู่ในเมืองเทลอาวีฟ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีเทศบาลได้ สารวจความคิดเห็นของคนเมือง ผลที่ได้ทาให้ถึงกับตะลึง เมื่อถามพวกคนเมืองว่า ถ้ากล่าวถึงเทลอาวีฟ แล้วประชาชนจะนึกถึงสิ่งใด ผลที่ได้คือประชาชนคิดเป็นบวกกับเมืองอย่างมาก เช่น “เมืองที่ไม่หยุดนิ่ง” “น่ารัก” และ “ยังหนุ่มสาว” แต่พอถามถึงเทศบาล เขากลับตอบในสิ่งที่แตกต่าง เช่น การพัฒนาระบบ ราชการและการติดต่อราชการกับรัฐ อาทิ ภาษีและ บัตรจอดรถเท่านั้น นวัตกรรมอานวยความสะดวกเพื่อคนเมือง เทศบาลเมืองเทลอาวีฟ สังเกตเห็นว่า คนเมืองเทลอาวีฟมีความคาดหวังว่า ต้องการบริการ สารสนเทศและการมีส่วนร่วมกันผ่านทางออนไลน์ เทศบาลฯ จึงมองว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสในการ ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับเทศบาล อีกทั้งเปลี่ยนความคิดของพวกเขาต่อเทศบาล ที่ โดยปกติมักเกี่ยวข้องกันแค่เวลาจ่ายภาษีเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเทศบาลฯ ต่อคนเมืองเป็นสิ่งแรกที่เทศบาล ฯ ทา โดยข้อมูลส่วน บุคคลเป็นสิ่งที่จาเป็นมากสาหรับเทศบาล สิ่งนี้เองที่ทาให้แอปพิเคชั่น DIGITEL ถือกาเนิดขึ้น ในฐานะ พื้นที่ ที่รวมโครงการของเทศบาล 30 กว่าโครงการ เข้าด้วยกัน ทาให้ DIGITELดีกว่าช่องทางสารสนเทศ อื่นมาก โดยเผยแพร่สู่สาธารณชนแก่คนเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป เมื่อปี 2003 ที่ผ่านมา
  • 11. 9 เทศบาลเมืองเทลอาวีฟให้ผู้ใช้ DIGITEL สร้างบัญชีส่วนตัวที่มีลักษณะเฉพาะตามใจชอบ เทศบาลเมืองเทลอาวีฟสามารถบริการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับคนเมือง ทั้งกิจกรรมของชุมชน ข้อเสนอสุดพิเศษสาหรับกิจกรรมที่สมาชิกสนใจ โดยการแจ้งเตือนส่งข้อความไปให้ ตัวอย่างเช่น คน เมืองจะได้รับคาแนะนาในการเลือกเส้นทางการเดินทางที่ใกล้กว่า หรือถ้าหากคนเมืองมีความสนใจกีฬา เขาก็จะได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับเทลอาวีฟ มาราทอน หรือส่วนลดในการเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งการ จอดรถในเมืองซึ่งง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก สรุป วันนี้มีคนเมืองเทลอาวีฟมากกว่าหนึ่งในสามที่ลงทะเบียนใช้ DIGITEL อย่างจริงจัง กระแสของ DIGITELนับว่าดีมาก เพียงแค่ 18 เดือน ประชาชนกว่า 100,000 คนที่ลงทะเบียน นับว่าเป็นสิ่งที่ ประทับใจ เทศบาล ฯ เชื่อว่าถ้าหากเทศบาลฯ มีส่วนร่วมคนเมืองในการตัดสินอนาคต ประชาชนมี ความรู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบและความคิดเห็นของประชาชนก็จะช่วยให้เทศบาล ฯ ตัดสินใจได้ดี ยิ่งขึ้น ในที่สุดประชาชนก็จะช่วยเทศบาล ฯ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพแสดง องค์ประกอบของ DIGITEL (ดัดแปลงจาก EILAT-EILOT GREEN ENERGY:2016) http://www.eilatenergy.org/Portals/17/Shechter.pdf เอกสารอ้างอิง Curating a new digital relationship with citizens : lessons from Telaviv. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/digital-governor-story/.
  • 12. 10 เมืองโซล : แก้ปัญหาเมืองได้ด้วยข้อมูล ที่มา http://citie.org/stories/datavore-story/ ความสาคัญของข้อมูล ข้อมูลเป็นสินค้าที่มีคุณค่า หากนามาใช้ให้เกิดประโยชน์จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมือง และสร้างประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้ โดยเมืองที่มีการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ จะเริ่มคิดค้น และใช้ ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อปรับปรุงนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง ซึ่งเมืองโซลเป็นหนึ่งใน เมืองที่ใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาเมือง และตั้งเป็นคาขวัญเมืองที่ว่า “ข้อมูลแก้ปัญหาได้ แม้เพียงเรื่องที่ เล็กที่สุด” โดยเมืองโซลได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน ดึงข้อมูลขนาดใหญ่ นามาสร้างมูลค่าและปรับปรุง โครงสร้างภายในรัฐใหม่ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเมืองโซล มีดังนี้ 1. แก้ปัญหาความต้องการรถสาธารณะ : รถเมล์กลางคืน (owl buses) เมืองโซลได้พยายามเข้าใจและให้ความสาคัญกับปัญหาของเมือง โดยใช้ข้อมูลบันทึกการโทร สายด่วน และข้อมูลจากช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่ไม่พึงพอใจของประชาชน พบว่า ประชาชนไม่พึง พอใจต่อการบริการแท็กซี่ตอนกลางคืน เนื่องจากมีจานวนไม่เพียงพอ และมีค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไป ด้วยเหตุนี้ เมืองโซลจึงเข้าร่วมมือบริษัทเทเลคอม ออกแบบนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ โดยนาข้อมูลกว่า 3 พันล้านสาย มาวิเคราะห์และทาแผนที่ ออกแบบเส้นทางเดินรถเมล์บริการตอน กลางคืน โดยให้บริการตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีห้า ผลจากการติดตามผลการให้บริการรถเมล์ตอนกลางคืน พบว่า ประสบความสาเร็จมาก โดยมี ผู้ใช้บริการมากกว่าเส้นทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นกว่า 5 -10% ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ของประชาชนได้เป็นอย่างดี
  • 13. 11 ด้วยความสาเร็จของรถบัสตอนกลางคืน ทาให้เมืองโซลวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อ สร้างนวัตกรรม แก้ไขปัญหาเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจุดเกิดอุบัติเหตุจราจร นอกจากนี้ยัง มีแผนที่คาดการณ์การจราจรในเมืองด้วย 2. บริการแท็กซี่จับคู่ของกรุงโซล ปัญหาหนึ่งในเมืองโซล คือ ประชาชนเรียกรถแท็กซี่ในบางพื้นที่ได้ยากมาก เช่น ในย่านกังนัม รวมไปถึงการเรียกแท็กซี่ในเวลากลางคืนด้วย รัฐบาลเมืองโซลจึงได้สร้างเว็บไซต์และ application ใน การจับคู่แท็กซี่และความต้องการของประชาชนให้แจอกันได้ โดยใช้ข้อมูลแผนที่ที่คนเรียกรถแท็กซี่ และ ให้แท็กซี่กว่า 25000 คัน เห็นถึงจุดที่ผู้โดยสารต้องการได้ ซึ่งบริการดังกล่าวช่วยให้แท็กซี่และผู้โดยสาร สามารถเจอกันได้ง่ายขึ้น 3. การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนสวัสดิการประชาชน เมืองโซลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อกาหนดตาแหน่งที่เหมาะสม ในการให้บริการของ ผู้สูงอายุ โดยเมืองสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลสามะโนประชากร เพื่อหาคนอายุ 65 ปีขึ้นไป และ ตรวจสอบระดับรายได้ของพวกเขา เพื่อให้บริการขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ที่ผู้สูงอายุอยู่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถพัฒนาแผนการจัดบริการผู้สูงอายุได้เหมาะสมตามสถานที่และ ตามประเภทาการให้บริการ ช่วยให้เมืองปรับโปรแกรมอานวยความสะดวกในแต่ะสถานที่ให้เหมาะสม มากขึ้น 4. การสร้างความสามารถในองค์กรใหม่ รัฐบาลกรุงโซลใช้ข้อมูลเพื่อกาหนดและปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรใหม่ โดยจะฝึกฝนให้ พนักงานวางแผนข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล และการแชร์ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบที่สร้างขึ้นใหม่ นอกจากนี้รัฐบาลโซลยังต้องการอบรมนักศึกษา เพื่อจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะสร้างเป็น นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการขนส่ง สวัสดิการสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อีกทั้งสนับสนุนให้ สถาบันการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองพัฒนานโยบายด้วยข้อมูล ปัจจุบันเมืองโซลยังคงสร้างและบริหารนวัตกรรมผ่านข้อมูลขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง นอกจากนี้ เมืองโซลยังเปิดศูนย์บริการข้อมูล ซึ่งอนุญาตให้เอกชนและ สถาบันการศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลในเรื่องต่างๆ เพื่อที่สามารถนามาปรับปรุงให้บริการและคุณภาพ ชีวิตของประชาชน ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยสร้างการเติบโตของนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และ ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ในท้องถิ่นด้วย เอกสารอ้างอิง Big data solves even the smallest grievances: lessons from Seoul. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/datavore-story/.
  • 14. 12 เมืองบาร์เซโลน่า : เปิดพื้นที่ประชันไอเดียการพัฒนาเมือง “ความท้าทายของเมืองคือแม่เหล็กดึงดูดนวัตกรรมต่างๆ” ที่มา http://edugeography.com/content/barcelona.html ปัญหาและความท้าทายของเมืองบาร์เซโลน่า เมืองบาร์เซโลน่าต้องการที่จะปฏิรูปพื้นที่สาธารณะและการบริการของเมือง คือ 1.ลดการขโมย จักรยานในเมือง 2.เพิ่มขีดความสามารถระบบสนับสนุนเพื่อลดการแบ่งแยกทางสังคม 3.จัดการทางเดิน เท้าในเมือง 4.มีพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลและข้อมูลที่เก็บถาวร 5.การตรวจสอบและการเตือนอัตโนมัติเวลาที่ พื้นผิวถนนได้รับความเสียหาย 6.ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มขีดความสามารถของร้านค้าปลีกในท้องถิ่น แนวทางแก้ไขของสภาเมืองบาร์เซโลน่า สภาเมืองบาร์เซโลน่าใช้วิธีการเปิดกว้างให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อหาวิธีการและนวัตกรรม ใหม่ๆในการแก้ปัญหา โดยสภาเมืองได้เข้ามามีบทบาทในการกาหนดความท้าทายที่มีต่อการปฏิรูป พื้นที่สาธารณะและการบริการของเมือง ซึ่งมีจานวน 6 ข้อดังกล่าว หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้คน ภายนอกเข้ามาเสนอทางแก้ปัญหา สภาเมืองบาร์เซโลน่าใช้วิธีการเปิดให้ผู้ประกอบการต่างๆ เข้ายื่น เสนอแข่งขันโครงการในแต่ละข้อ วิธีนี้มักจะได้แนวทางแก้ไขที่ราคาถูกและได้ผลดีมากกว่าการที่ให้ เทศบาลฯ ทาเอง ทาให้บาร์เซโลน่าประสบความสาเร็จในการจัดการกับข้อท้าทายของเมือง กุญแจแห่งความสาเร็จของบาร์เซโลน่า 1. สภาเมืองบาร์เซโลน่าเป็นศูนย์กลางออกแบบการประมูลโครงการโดยให้ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ โครงการรัฐบาลเมืองต้องเปลี่ยนความคิดเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง ต้องทาให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาเสนอ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมืองบาร์เซโลนาได้เปลี่ยนความคิดดังกล่าว ดึงดูดผู้ลงทุนรายใหม่ให้เข้าร่วมแข่งขันการ
  • 15. 13 ประมูล เหตุที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดนั้นเนื่องจากขั้นตอนการประมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเป็นอุปสรรคใน การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ตั้งไว้อาจจะสูงเกินไป จึงต้องปรับเกณฑ์การประมูลโดยลดความซับซ้อนของเอกสารลง แต่ทั้งนี้ต้องปรับอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สมดุลระหว่างความยากเกินไปและง่ายเกินไปในการเข้าถึงการประมูล 2. ประชาสัมพันธ์หลากหลายวิธีถึงผู้ลงทุนรายใหม่ ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อย ค่อนข้างจะขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมการประมูล ดังนั้นจึงทาให้บ่อยครั้งผู้สมัครที่เข้าร่วมการประมูลมี แต่รายเดิมๆ และนี่ทาให้เกิดการจากัดความคิด เพราะมีเพียงผู้ประกอบการรายเดิมๆ เพื่อให้มีผู้ลงทุน รายใหม่ๆ เข้ามาเมืองบาร์เซโลนาได้ใช้การโฆษณาโดยติดโฆษณาตามรถไฟฟ้าใต้ดิน ป้าย รถโดยสาร โซเชียลมีเดีย การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวประสบความสาเร็จอย่างมาก มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากเป็น ประวัติการณ์ รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ ได้ทวิตข้อความระหว่างอยู่ในกระบวนการส่งข้อเสนอโครงการ 3. เมืองต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการอะไรและเสนอแรงจูงใจที่เหมาะสมให้กับผู้เข้าประมูล ในเมืองบาร์เซโลนา ผู้ที่ชนะการประมูลจะได้รับสิทธิ์เต็มในการทาสัญญาอนุญาตให้พวกเขาใช้สภาเมือง บาเซโลนาเป็นลูกค้ารายแรกสาหรับความคิดของพวกเขา และผู้ชนะยังได้พื้นที่สาหรับทาสานักงานเพื่อ ทางานอีกด้วย 4. ปรับบทบาทของเมืองในการจัดการการจัดซื้อจัดจ้าง ในเมืองบาร์เซโลนา สภาเมืองเป็น ผู้จัดการ ที่กาหนดความท้าทายและนาผู้คิดค้นนวัตกรรมจากภายนอกเข้ามาแก้ปัญหา 5. เมืองเป็นห้องทดลองนวัตกรรมใหม่ อนวัตกรรมที่คิดได้จะประสบผลสาเร็จ จาเป็นต้องมีการ นาไปใช้ในสภาพแวดล้อมจริง เมืองบาร์เซโลน่าได้เปลี่ยนเมืองให้เป็นเสมือนห้องปฏิบัติการสาหรับ ทดลองนวัตกรรมใหม่ โดยใช้พื้นที่สาธารณะในเมืองบาร์เซโลน่าเป็นพื้นที่ที่นานวัตกรรมที่ได้มาทดลอง ใช้และตรวจสอบ สรุป สภาเมืองบาเซโลนาได้ปรับลดบทบาทของตน ไม่ลงไปแก้ไขเอง แต่จะคอยกากับส่งเสริมและ เปิดกว้างเพื่อให้ได้ความคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นลดการคอร์รัปชัน และใช้พื้นที่สาธารณะในเมือง บาร์เซโลน่าเป็นพื้นที่สาหรับนานวัตกรรมที่ได้มาทดลองใช้และตรวจสอบ นอกจากจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ ดีและสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นให้ประสบผลสาเร็จแล้ว ยังเป็นการช่วยให้กลุ่มธุรกิจได้แสดงไอเดียใหมๆ ของตนในระดับท้องถิ่นจะช่วยสนับสนุนพวกเขาให้เติบโตในระดับสากลต่อไป เอกสารอ้างอิง The city as a customer for innovation : lessons from Barcelona. CITIE. ออนไลน์ http://citie.org/stories/customer-story/
  • 16. 14 บทเรียนสาหรับประเทศไทย จากบทเรียนการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเมืองของต่างประเทศ เมื่อย้อนกลับมามองการจัด การเมืองของไทย พบว่า เมืองของไทยของมีนวัตกรรมการพัฒนาเมืองเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - กรุงเทพฯ ได้สร้างแอพพลิชันที่แจ้งสภาพจราจรของกรุงเทพ ฯ ผ่านระบบออนไลน์แบบ เรียลไทม์ ชื่อ “BMA Live Traffic” และแอพพลิเคชั่นรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ “Bangkokeyes” - เมืองขอนแก่น เทศบาลฯ ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในเมือง ลงทุนสร้างระบบขนส่งมวลชน ในเมืองด้วยรถรางเบา (tram) ขณะนี้ได้รับอนุมัติจากส่วนกลางแล้ว - เมืองยะลา มีแผนลงทุนสร้างศูนย์การค้าเพื่อชุมชน ที่ลงทุนโดยเทศบาลเอง - เมืองเชียงใหม่ เทศบาลฯ ได้จัดตั้ง “กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาเมือง” สังกัดกองวิชาการ และแผนงาน เพื่อเป็นแผนกสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองของภาคประชาสังคมเมือง เชียงใหม่ อันเป็นปัจจัยสาคัญหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเมือง เชียงใหม่ในปัจจุบัน วิธีการดังกล่าว คล้ายกับการสร้างกลไกใหม่ในเทศบาลเพื่อดูแลจัดการ ปัญหาเมืองโดยเฉพาะแบบเมืองอัสเตอร์ดัม นี่เป็นเพียงบางส่วนของนวัตกรรมที่เทศบาลฯ กาลังดาเนินการ และเชื่อว่าอีกหลายเทศบาล กาลังพยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการเมืองเช่นกัน และอีกหลายแห่งหากมีหากมีโอกาส หรือมีนโยบายที่สนับสนุนและส่งเสริมเต็มที่ เชื่อว่าน่าจะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นหลากหลายและสร้างสรรค์ มีข้อสังเกตว่า ปัจจัยแห่งความสร้างสรรค์นวัตกรรมเมืองในต่างประเทศนั้น ส่วนสาคัญเกิดจาก ระบบการปกครองในรูปแบบการกระจายอานาจ เนื่องจาก ให้ท้องถิ่นมีบทบาทนาในการพัฒนา เมืองจึง เป็นพื้นที่เปิดรับสาหรับนวัตกรรมที่ทันสมัย ยิ่งปัจจุบันประชากรเมืองที่มากขึ้น เมืองจึงเป็นโอกาสของ ตลาดสาหรับการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสาหรับคนเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท้องถิ่นในต่างประเทศจึงได้ริเริ่มโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ มีบทบาทในการลงทุน สร้างช่องทางสารสนเทศ พัฒนาแอพพิเคชั่น จนสามารถส่งเสริมหรือผลักดันให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นโต ในระดับโลก พัฒนาระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจท้องถิ่นรูปแบบบริษัทท้องถิ่น เป็นต้น ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบการรวมศูนย์อานาจการปกครองของไทยที่ยัง ดารงอยู่ในปัจจุบัน ได้ลดทอนพลังของท้องถิ่นและบทบาทของเมือง ส่งผลให้ประเทศขาด โอกาสและพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศที่เกิดจากเมืองเป็นอย่างมาก