SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  29
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม ... จังหวัดภูเก็ต ยินดีต้อนรับเข้าสู่
เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย   เป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   ต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงาทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามัน   และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสิน และสะพานคู่ขนาน คือสะพานท้าวเทพกระษัตรีเข้าสู่ตัวจังหวัด  และทางอากาศซึ่งมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ  ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ ด้านทิศตะวันตก จังหวัดภูเก็ต
เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นใช้คำว่ภูเก็จ อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา ( ภู ) มีประกายแก้ว ( เก็จ ) เปล่งออกเป็นรัศมี   ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬ เรียกมณิครัม ตามหลักฐาน พ . ศ .  1568  ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้น ทางระหว่างจีนกับอินเดีย   โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี   เมื่อประมาณ  พ . ศ .  700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน  ประวัติ
หรือเกาะภูเก็ต ( เกาะถลาง ) นั่นเองจากประวัติศาสตร์ไทย   ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรตามพรลิงก์อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร   เรียกเกาะภูเก็ตว่าเมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่  11  ใน  12  เมืองนัก ษัตร   โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย   เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่ว ป่า   ในสมัยอยุธยา   ชาวฮอลันดา   ชาวโปร์ตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมือง ( ถลาง ) ภูเก็ต
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง   กษัตริย์ของประเทศ พม่าในสมัยนั้นได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้   เช่น  ไชยา นครศรีธรรมราชและให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล  3,000  คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้น เจ้าเมืองถลาง  ( พญาพิมลอัยาขัน ) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม  ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว
จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่  13  มีนาคม   พ . ศ . 2328  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี   และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็นมณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ . ศ . 2476  ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล   เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน   ชาวไทยชาวมาเลเซีย   ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์   กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมาก ประชากร
ในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งอิสลามมิกชนและพุทธศาสนิกชนคือ ไม่รับประทานหมูแต่สักการะพระพุทธรูป   ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ . ศ .  2327  ได้รายงานว่า  " ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก "
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ  20-36  ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอ ถลางราว  30  แห่งจาก  42  แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล
กลุ่มอูรักลาโว้ยและ พวกมอแกน  ( มาซิง )  ซึ่มอแกนแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา  ( Moken Pulau)  และ มอเกนตาหมับ  ( Moken Tamub)  และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชายุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว  300  คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว  200  คนและชาวฮินดูราว  100  คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า   ลาว   และเขมรราวหมื่นคน
มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้  มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ   70  เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  529  เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และพื้นที่ประมาณร้อยละ  30   เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณ ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลน และป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่เป็นที่ราบตัดจากภูเขาลงมามีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนลักษณะลูกคลื่น ลอนลาด   ลักษณะภูมิประเทศ   ภูเก็ต
ในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ  ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่ ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามา สำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้น ทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาสู่พื้นที่ ภูเก็ตและมีส่วนสำคัญต่อการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตจน มาถึงปัจจุบัน   ลักษณะประชากร    จังหวัดภูเก็ต
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น    ๏  ทิศตะวันตก     เขตอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ๏  ทิศตะวันออก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางจดอ่าวพังงา ทะเลอันดามัน    มหาสมุทรอินเดีย ๏  ทิศใต้ เขตอำเภอเมืองภูเก็ต จดกับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ๏  ทิศเหนือ     เขตอำเภอถลาง        ติดต่อกับจังหวัดพังงา เขตอำเภอตะกั่วทุ่ง มีช่อง แคบปากพระเชื่อมต่อแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพานสารสิน และสะพานท้าวเทพกระษัตรี
ตราประจำจังหวัดภูเก็ต   รูปสองวีรสตรียืนถือดาบ  หมายถึง รูปท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรแสดงถึงวีรกรรมอันห้าวหาญ ของท้าวเทพ กระษัตรี ท้าวศรีสุนทรที่ได้ป้องกันเมืองถลางไว้ให้พ้น จากการรุกราน ของพม่าเมื่อปลายปีมะเส็ง พ . ศ .  2328
ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต   เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง  25  เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย  แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออก
เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่หลังตัวเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รถยนต์สามารถขึ้นไปจนถึงยอดเขา เทศบาลจัดเป็นสวนสุขภาพ และสวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชมทิวทัศน์ ของเมืองภูเก็ต จากยอดเขาจะแลเห็นตัวเมืองภูเก็ต ทะเลกว้าง เกาะเล็ก เกาะน้อย รวมทั้งทิวทัศน์ของเกาะทั้งใกล้และไกล  สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมือง ภูเก็ต เขารัง
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมือง อยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปใน ทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์หลัก  60  ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ  พ . ศ .  2521  เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย  เมื่อ พ . ศ .  2452  สะพานหิน
ชาวเลหรือชาวน้ำ หรือชาวไทยใหม่ เป็นชนกลุ่มน้อยของไทย อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ตามเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ในเกาะภูเก็ต มีชาวเลอาศัยอยู่ที่หาดราไว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ประมาณ  17  กิโลเมตร  และที่เกาะสิเหร่บริเวณแหลมตุ๊กแก   หมู่บ้านชาวเล
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ  8  กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทาง หลวงหมายเลข  4021  ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุรกุล เลี้ยวซ้ายไป ทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ  4  กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต มีรูปหล่อของ หลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวภูเก็ตทั่วไป   วัดฉลอง
เป็นหาดเล็กๆ ห่างจากตัวเมือง  16  กิโลเมตร จากห้าแยกฉลอง  ใช้ทางหลวง  4024  ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสว่างอารมณ์ บริเวณหาด มีเรือให้เช่าไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเฮ เกาะบอน เป็นต้น   หาดแหลมกาใหญ่
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ  17  กิโลเมตร เส้นทางจาห้าแยกฉลองไป สู่หาดราไว ( ทางหลวง  4024)  เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ต  หาดราไว เป็นหาดที่สวยงามและมีชาวเลอาศัยอยู่   หาดราไวย์
อยู่ห่างจากหาดราไวประมาณ  3  กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวประมาณ  30  นาที  มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมาก บนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานอยู่ด้วย   เกาะแก้ว
เป็นอ่าวเล็กๆ ติดกับหาดในหานไปทางขวา ผ่านโรงแรมภูเก็ตยอช์ทคลับ เป็นชายหาดเล็กๆ ที่สงบ มีโขดหินน้อยใหญ่ หาดทรายขาวสะอาด   อ่าวเสน
จากหาดในหานไปหาดกะตะน้อยตามเส้นทางถนนรอบเกาะ จุดชมวิวจะอยู่ระหว่าง  2  หาดนี้  จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเวิ้งอ่าวถึง  3  อ่าว คือ อ่าวกะตะน้อย อ่าวกะตะ  และอ่าวกะรน ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก   จุดชมวิว
อยู่ห่างจากตัวเมือง  22  กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีย์ถึงสี่แยกอำเภอถลาง แล้วเลี้ยวขวาไป  3  กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน   น้ำตกโตนไทร
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ  24  กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้เส้นทาง  402  เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วไปทางซ้ายมืออีก  12  กิโลเมตรเป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา  บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ อยู่เรียงรายและบริเวณเหนือหาด ด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ชายหาดไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก   หาดสุรินทร์
บรรณานุกรม สารานุกรมเสรี .  “ จังหวัดภูเก็ต   10   ธันวาคม  2553. <.  http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm  > 11  ธันวาคม  2553.   จังหวัดสกลนคร .  “ จังหวัดภูเก็ต”   11  ธันวาคม  2553.   <http://www.tourthai.com/province/phuket/.>   11  ธันวาคม  2553.
จบการนำเสนอ จัดทำโดย  นาวสาวสุภาวรรณ  ดีแดง  ชั้นม 5 / 3   เลขที่ 29

Contenu connexe

En vedette (12)

Che viaggiatore atlando sei
Che viaggiatore atlando seiChe viaggiatore atlando sei
Che viaggiatore atlando sei
 
Technology and education
Technology and educationTechnology and education
Technology and education
 
Hellowrld
HellowrldHellowrld
Hellowrld
 
Fiche 21 petit jeu
Fiche 21 petit jeuFiche 21 petit jeu
Fiche 21 petit jeu
 
Book
BookBook
Book
 
[2] silabus ski viii 1 &amp; 2
[2] silabus ski viii 1 &amp; 2[2] silabus ski viii 1 &amp; 2
[2] silabus ski viii 1 &amp; 2
 
Firewall and its purpose
Firewall and its purposeFirewall and its purpose
Firewall and its purpose
 
Essay 1
Essay 1Essay 1
Essay 1
 
Fiume1
Fiume1Fiume1
Fiume1
 
відповіді дпа укр.мова 2016
відповіді дпа укр.мова 2016відповіді дпа укр.мова 2016
відповіді дпа укр.мова 2016
 
відповіді дпа читання 2016
відповіді дпа читання 2016відповіді дпа читання 2016
відповіді дпа читання 2016
 
La pata andalucia final
La pata andalucia finalLa pata andalucia final
La pata andalucia final
 

Similaire à จังหวัดภูเก็ต

Similaire à จังหวัดภูเก็ต (9)

ตราด
ตราดตราด
ตราด
 
การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003
 
การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003
 
การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003
 
Work6 99999
Work6 99999Work6 99999
Work6 99999
 
Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)
Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)
Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)
 
1078001586 เวียดนาม 2555
1078001586 เวียดนาม 25551078001586 เวียดนาม 2555
1078001586 เวียดนาม 2555
 
จังหวัดกระบี่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดกระบี่
จังหวัดกระบี่
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 

Plus de SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Plus de SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

จังหวัดภูเก็ต

  • 1. ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม ... จังหวัดภูเก็ต ยินดีต้อนรับเข้าสู่
  • 2. เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงาทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามัน และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสิน และสะพานคู่ขนาน คือสะพานท้าวเทพกระษัตรีเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศซึ่งมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ ด้านทิศตะวันตก จังหวัดภูเก็ต
  • 3. เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นใช้คำว่ภูเก็จ อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา ( ภู ) มีประกายแก้ว ( เก็จ ) เปล่งออกเป็นรัศมี ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬ เรียกมณิครัม ตามหลักฐาน พ . ศ . 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้น ทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ . ศ . 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน ประวัติ
  • 4. หรือเกาะภูเก็ต ( เกาะถลาง ) นั่นเองจากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรตามพรลิงก์อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่าเมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนัก ษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่ว ป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปร์ตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมือง ( ถลาง ) ภูเก็ต
  • 5. ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศ พม่าในสมัยนั้นได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราชและให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้น เจ้าเมืองถลาง ( พญาพิมลอัยาขัน ) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว
  • 6. จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ . ศ . 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็นมณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ . ศ . 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
  • 7. ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทยชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมาก ประชากร
  • 8. ในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งอิสลามมิกชนและพุทธศาสนิกชนคือ ไม่รับประทานหมูแต่สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ . ศ . 2327 ได้รายงานว่า &quot; ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก &quot;
  • 9. ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอ ถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล
  • 10. กลุ่มอูรักลาโว้ยและ พวกมอแกน ( มาซิง ) ซึ่มอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา ( Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ ( Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชายุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คนและชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
  • 11. มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้ มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ประมาณร้อยละ 30  เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณ ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลน และป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่เป็นที่ราบตัดจากภูเขาลงมามีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนลักษณะลูกคลื่น ลอนลาด   ลักษณะภูมิประเทศ ภูเก็ต
  • 12. ในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่ ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามา สำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้น ทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาสู่พื้นที่ ภูเก็ตและมีส่วนสำคัญต่อการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตจน มาถึงปัจจุบัน ลักษณะประชากร   จังหวัดภูเก็ต
  • 13. มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น   ๏ ทิศตะวันตก   เขตอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ๏ ทิศตะวันออก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางจดอ่าวพังงา ทะเลอันดามัน   มหาสมุทรอินเดีย ๏ ทิศใต้ เขตอำเภอเมืองภูเก็ต จดกับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ๏ ทิศเหนือ   เขตอำเภอถลาง      ติดต่อกับจังหวัดพังงา เขตอำเภอตะกั่วทุ่ง มีช่อง แคบปากพระเชื่อมต่อแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพานสารสิน และสะพานท้าวเทพกระษัตรี
  • 14. ตราประจำจังหวัดภูเก็ต รูปสองวีรสตรียืนถือดาบ หมายถึง รูปท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรแสดงถึงวีรกรรมอันห้าวหาญ ของท้าวเทพ กระษัตรี ท้าวศรีสุนทรที่ได้ป้องกันเมืองถลางไว้ให้พ้น จากการรุกราน ของพม่าเมื่อปลายปีมะเส็ง พ . ศ . 2328
  • 16. ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออก
  • 17. เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่หลังตัวเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รถยนต์สามารถขึ้นไปจนถึงยอดเขา เทศบาลจัดเป็นสวนสุขภาพ และสวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชมทิวทัศน์ ของเมืองภูเก็ต จากยอดเขาจะแลเห็นตัวเมืองภูเก็ต ทะเลกว้าง เกาะเล็ก เกาะน้อย รวมทั้งทิวทัศน์ของเกาะทั้งใกล้และไกล สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมือง ภูเก็ต เขารัง
  • 18. สถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมือง อยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปใน ทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2521 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ . ศ . 2452 สะพานหิน
  • 19. ชาวเลหรือชาวน้ำ หรือชาวไทยใหม่ เป็นชนกลุ่มน้อยของไทย อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ตามเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ในเกาะภูเก็ต มีชาวเลอาศัยอยู่ที่หาดราไว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ประมาณ 17 กิโลเมตร และที่เกาะสิเหร่บริเวณแหลมตุ๊กแก หมู่บ้านชาวเล
  • 20. อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทาง หลวงหมายเลข 4021 ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุรกุล เลี้ยวซ้ายไป ทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต มีรูปหล่อของ หลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวภูเก็ตทั่วไป วัดฉลอง
  • 21. เป็นหาดเล็กๆ ห่างจากตัวเมือง 16 กิโลเมตร จากห้าแยกฉลอง ใช้ทางหลวง 4024 ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสว่างอารมณ์ บริเวณหาด มีเรือให้เช่าไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเฮ เกาะบอน เป็นต้น หาดแหลมกาใหญ่
  • 22. อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 17 กิโลเมตร เส้นทางจาห้าแยกฉลองไป สู่หาดราไว ( ทางหลวง 4024) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ต หาดราไว เป็นหาดที่สวยงามและมีชาวเลอาศัยอยู่ หาดราไวย์
  • 23. อยู่ห่างจากหาดราไวประมาณ 3 กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวประมาณ 30 นาที มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมาก บนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานอยู่ด้วย เกาะแก้ว
  • 24. เป็นอ่าวเล็กๆ ติดกับหาดในหานไปทางขวา ผ่านโรงแรมภูเก็ตยอช์ทคลับ เป็นชายหาดเล็กๆ ที่สงบ มีโขดหินน้อยใหญ่ หาดทรายขาวสะอาด อ่าวเสน
  • 25. จากหาดในหานไปหาดกะตะน้อยตามเส้นทางถนนรอบเกาะ จุดชมวิวจะอยู่ระหว่าง 2 หาดนี้ จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเวิ้งอ่าวถึง 3 อ่าว คือ อ่าวกะตะน้อย อ่าวกะตะ และอ่าวกะรน ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก จุดชมวิว
  • 26. อยู่ห่างจากตัวเมือง 22 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีย์ถึงสี่แยกอำเภอถลาง แล้วเลี้ยวขวาไป 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน น้ำตกโตนไทร
  • 27. อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้เส้นทาง 402 เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วไปทางซ้ายมืออีก 12 กิโลเมตรเป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ อยู่เรียงรายและบริเวณเหนือหาด ด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ชายหาดไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก หาดสุรินทร์
  • 28. บรรณานุกรม สารานุกรมเสรี . “ จังหวัดภูเก็ต 10 ธันวาคม 2553. <. http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm > 11 ธันวาคม 2553. จังหวัดสกลนคร . “ จังหวัดภูเก็ต” 11 ธันวาคม 2553. <http://www.tourthai.com/province/phuket/.> 11 ธันวาคม 2553.
  • 29. จบการนำเสนอ จัดทำโดย นาวสาวสุภาวรรณ ดีแดง ชั้นม 5 / 3 เลขที่ 29