SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  45
Télécharger pour lire hors ligne
รายงานถอดความการประชุมเวทียุทธศาสตร์ (Transcript)
เรื่อง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020
ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
9 มกราคม 2563
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.klangpanya.in.th
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง เสกสรร อานันทศิริเกียรติ และณัฐธิดา เย็นบารุง
เผยแพร่: กุมภาพันธ์ 2563
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา 4
บทกล่าวเปิ ด 5
ศาสตราจารย์.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: การต่างประเทศไทยในดุลอานาจใหม่ของโลก 6
อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: มุมมองด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงรูปแบบใหม่ 13
พลเอกเจิดวุธ คราประยูร
บทอภิปราย 27
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 44
บทนา
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก
อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทย และพลเอกเจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษา
พิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นวิทยากรกล่าวถึงความท้าทายของประเทศไทยในทศวรรษ 2020
ด้านการต่างประเทศและด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย
นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการเข้าร่วมอภิปราย วิเคราะห์ และเสนอแนวทาง
เตรียมพร้อมประเทศไทยเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและระดับภูมิภาค
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงได้จัดทารายงานถอดความเนื้อหาการประชุม
ครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่เป็นความรู้สู่สังคม โดยเฉพาะไปยังผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย รวมถึงนิสิต
นักศึกษา และสาธารณชนผู้สนใจได้นาไปใช้ประโยชน์
5
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 20201
บทกล่าวเปิ ด
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
วันนี้เราจะเสวนาในหัวข้อความท้าทายที่มีต่อประเทศไทยในทศวรรษ 2020 หมายถึง 10 ปีจาก
นี้ไป ซึ่งก็มีหลายด้าน เรื่องประชากรก็ยังเป็นความท้าทาย แต่ว่าวันนี้เราจะมาพูดถึง 2 เรื่องเท่านั้นเอง
แต่เป็น 2 เรื่องที่ใหญ่มาก คือเรื่องความท้าทายด้านการต่างประเทศกับความท้าทายด้านยุทธศาสตร์
ทางการทหาร ซึ่งวิทยากรที่เราเชิญมาวันนี้ได้แก่ท่านอดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนามและอีกท่าน
หนึ่งก็คือพลเอกเจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย
เริ่มจากการฟังท่านสุรพงษ์ ชัยนาม พูดให้พวกเราฟังก่อนเกี่ยวกับเรื่องความท้าทายของไทย
ด้านการต่างประเทศ ขอกราบเรียนเชิญเลยครับ
1 ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์เรื่อง ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์
ชาติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กทม.
6
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020:
การต่างประเทศไทยในดุลอานาจใหม่ของโลก
อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม
ขอบคุณอาจารย์เอนก และขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมหารือในวันนี้ ผมคิดว่าเป็น
ประโยชน์ที่จะให้ภาพใหญ่ ภาพรวมของปัญหาในปัจจุบันที่จะมีผลกระทบต่อภูมิภาคของเรา ผมจะไม่
พูดเฉพาะแต่ผลกระทบต่อไทยเป็นหลัก แต่จะพูดถึงผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ
เรา ทุกวันนี้ทุกคนก็พูดถึงเรื่องความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างมหาอานาจ ซึ่งในปัจจุบันเวลาเรา
พูดถึงความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างมหาอานาจนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมุ่งไปที่จีนกับสหรัฐ ความจริง
แล้ว ในปัจจุบัน ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างมหาอานาจที่สาคัญและเป็นปัญหาอยู่ในภูมิภาค
ของเราก็คือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ในความเข้าใจของผม เมื่อเราพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ มันก็คือเรื่องของความขัดแย้งและความร่วมมือ
ถ้าเราดูตามข้อเท็จจริง สหรัฐกับจีนมีบทบาทสาคัญมากที่ช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้มีเสถียรภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราดูตั้งแต่สมัยปี 1969-1972 ที่นิกสันไปเยือนจีน
เพื่อเริ่มปรับความสัมพันธ์ให้กลับสู่ภาวะปกติระหว่างกัน แต่ก็มีปัจจัยที่ทาให้เรื่องนี้เกิดขึ้น คือการที่
สหรัฐต้องการให้เกิดดุลอานาจในโลกที่ไม่เป็นภัยกับสหรัฐ นั่นก็คือการหาทางกลับมาปรับความสัมพันธ์
กับจีนเพื่อคานอิทธิพลของโซเวียต ความจริงแล้วอิทธิพลของโซเวียตก็ไม่ได้มีอยู่โดยตรงในภูมิภาคของ
เรา แต่มีผ่านทางเวียดนาม แน่นอนว่าผลประโยชน์ของสหรัฐกับจีนในเวลานั้นเป็นผลประโยชน์ที่
สอดคล้องกัน ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่กาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของทุกประเทศคือผลประโยชน์
ผลประโยชน์กาหนดภัย ผลประโยชน์กาหนดนโยบาย ผลประโยชน์กาหนดยุทธศาสตร์ ไม่ใช่อุดมการณ์
กาหนดภัย อุดมการณ์กาหนดผลประโยชน์
เราดูตัวเราเองก็ได้ ปี 2518 หลังจากที่สหรัฐแพ้สงครามเวียดนามแล้วก็ถอยออกไป ไทยก็ปรับ
ความสัมพันธ์กับจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์อันนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพอ
สหรัฐถอยออกไป มันมีความจาเป็นที่เราต้องปรับดุลอานาจในภูมิภาคของเราให้เป็นดุลยภาพที่ไม่เป็น
ภัยต่อไทย ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าให้เป็นประโยชน์ได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่เป็นประโยชน์อย่างน้อย
ต้องไม่เป็นภัย ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของจีนในเวลานั้น ที่ต้องการลดอิทธิพลของโซเวียตที่มีผ่าน
ทางเวียดนาม เพราะอย่าลืมว่าหลังปี 2518 ทั้งลาวและกัมพูชาก็เป็นคอมมิวนิสต์หมดแล้ว สิ่งนี้ชี้ให้เห็น
ว่าไทยเองในเวลานั้นก็ไม่ได้ยึดเรื่องอุดมการณ์เป็นหลัก แต่เวลานั้นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์เป็น
7
ตัวกาหนดนโยบาย แล้วเราก็เห็นแล้วว่าเราไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์กับจีนในเวลานั้น แล้วเรา
ก็ปรับทิศทางการต่างประเทศ ถ้าเรายังฝังหัวว่าอุดมการณ์คือตัวกาหนดผลประโยชน์ อุดมการณ์คือ
ตัวกาหนดภัย เราก็จบเห่แน่ ไปไม่รอดหรอก เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าเรื่องของผลประโยชน์เป็น
ตัวกาหนดทิศทางหรือนโยบายการต่างประเทศ
เมื่อเราปรับแล้ว สหรัฐเอง แม้ว่าจะถอยออกไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สหรัฐก็
สนับสนุนให้จีนร่วมมือกับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไทย และผลของการปรับความสัมพันธ์
ระหว่างจีนกับสหรัฐในช่วงนั้นมีผลโดยตรงต่อภูมิภาคของเรา มีผลโดยตรงในการทาให้เกิดความร่วมมือ
ระหว่างไทยกับจีน และอาเซียนกับจีน อาเซียนก่อตั้งขึ้นในปี 2510 อะไรเป็นปัจจัยที่ทาให้อาเซียนมี
เอกภาพขึ้นมาได้ ก็คือความกลัว ความกลัวนี้ทาให้อาเซียนรวมตัวกันได้ และสิ่งที่ทาให้ความสัมพันธ์จีน
กับไทย กับอาเซียน จีนกับสหรัฐ สหรัฐกับอาเซียนมีเอกภาพได้ ปัจจัยสาคัญที่สุดก็คือสงครามกัมพูชาที่
เวียดนามบุกเข้าไปในกัมพูชา ทาให้ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ ที่กล่าวมาสอดคล้องกันในเวลานั้น
ก่อนหน้านั้น ไทยเองก็มองจีนเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง ตอนนั้นเราเอาเรื่องอุดมการณ์เป็นที่ตั้ง
เป็นตัวกาหนดนโยบายต่างประเทศ เราไม่ได้เอาผลประโยชน์มากาหนดนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐ
ก็เป็นตัวชี้นาว่าจีนเป็นภัย นี่คือช่วงแรก ช่วงต่อมาเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐแพ้สงครามเวียดนาม
สหรัฐก็ต้องมาคิดว่าอะไรเป็นผลดีต่อการปรับตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาคนี้ สหรัฐอยู่
ในฐานะที่จะบริหารดุลยภาพในภูมิภาคและในโลกได้ จึงเกิดความสัมพันธ์สามเส้าระหว่างสหรัฐ จีน และ
อดีตสหภาพโซเวียต และในเวลานั้น จีนต้องการสหรัฐมากกว่าสหรัฐต้องการจีน โซเวียตก็ต้องการสหรัฐ
มากกว่าสหรัฐต้องการโซเวียต จึงทาให้สหรัฐอยู่ในความสัมพันธ์สามเส้านี้อย่างได้เปรียบอีกสองฝ่ายใน
การบริหารจัดการความสัมพันธ์ และนี่ก็เป็นผลดีกับเรา ถือว่าอาเซียนในช่วงนั้นโชคดีมากที่เกิด
เหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ที่รับรองและมีความสัมพันธ์
ทางการทูตกับรัฐบาลกัมพูชาภายใต้เขมรแดง หลายคนบอกว่าประเทศไทยกะล่อน แต่ว่าไม่ใช่เช่นนั้น
เป็นเรื่องของการรู้จักปรับตัว เราปรับตัวได้ดี แล้วเราก็รับรองลาว เรารับรองจีนในเดือนกรกฎาคม 2518
มารับรองเวียดนามเป็นประเทศสุดท้ายในเดือนมิถุนายน 2519 อีกหนึ่งปีหลังจีน เพราะเวลานั้นไม่ใช่
เรื่องง่าย เพราะมีปัญหาเรื่องปิดฐานทัพสหรัฐ ให้ทหารสหรัฐถอนทัพออกไป และยังมีเรื่องเครื่องบินที่
ฝ่ายเวียดนามใต้ที่หนีระบอบคอมมิวนิสต์มาแล้วเอามาพักไว้ที่เมืองไทยก็แยะ ซึ่งเวลานั้นฝ่าย
คอมมิวนิสต์เวียดนามที่รวมประเทศได้เขาก็เรียกร้องคืน แล้วเราเองก็มีปัญหากรณีมายาเกซ ซึ่งตอนนั้น
สหรัฐก็ละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างเต็มที่เลย ตอนนั้นสหรัฐก็มองไทยเราเป็นประเทศบริวารประเทศ
หนึ่ง ท่านจะเห็นได้จากเรื่องสหรัฐกับอิหร่านในเวลานี้ สหรัฐก็มองอิรักเป็นรัฐบริวารของสหรัฐ สหรัฐถึง
ได้จัดการกับนายพลอิหร่านคนนี้ในพื้นที่ของอิรักเลย ผมจาได้ว่า CNN ไปสัมภาษณ์นายทหารสหรัฐคน
หนึ่ง เขาบอกว่า “ถ้าอิรักไม่ทาตัวเป็นประเทศที่มีอธิปไตย ก็สมควรแล้วที่สหรัฐจะสามารถสั่งการและ
8
ดาเนินการแบบนี้ในอิรักได้” หลังจากนั้นสองวัน รัฐสภาอิรักประกาศบีบให้รัฐบาลบอกให้สหรัฐถอนทหาร
ออกไป เพราะไม่ต้องการให้อิรักเป็นสมรภูมิของความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ
ถามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรในเรื่องความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ต้องไม่ลืมว่าผมเข้าใจว่า
ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐในปัจจุบัน มันขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ ในเรื่องของการแข่งขัน
กัน แต่มันไม่ใช่ความขัดแย้งในแง่ที่ว่าหักกันแล้ว ไม่มีทางที่จะเจรจาต่อรองอะไรกันได้แล้ว ไม่ใช่อย่าง
นั้น ขณะนี้ระหว่างจีนกับสหรัฐนั้นยังเป็นคู่แข่ง ในความเข้าใจของผม ยังไม่ใช่ศัตรู การที่แม้ว่าจีนกับ
สหรัฐขัดแย้งกันในหลายเรื่อง แต่ยังมีพื้นที่ที่จะเจรจาต่อรองกันได้นั้น ผมคิดว่าเป็นประโยชน์สาหรับ
อาเซียนและไทยด้วย เพราะถ้าเขาชนกันจริงๆ ทุกประเทศอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย มีทางเลือกอยู่สอง
ทาง ในกรณีความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน หนึ่ง เรายอมเป็นบริวาร ให้เขาสั่งการเรา แล้วเราปฏิบัติ
ตามเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือสหรัฐ หรือสอง เราขัดแย้งเลย เราชน เราไม่ยอม ตามที่สหรัฐหรือ
จีนต้องการให้เราเป็น มันมีสองทางนี้เท่านั้น ซึ่งสองทางนี้ไปไม่รอด
เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งกับความร่วมมือ ความขัดแย้งก็เหมือนกับขั้วแบตเตอรี่ มีทั้งด้านบวก
และด้านลบ เราสามารถทาให้ความขัดแย้งเป็นด้านบวก คือเป็นประโยชน์กับเราก็ได้ ในขณะเดียวกัน
ถ้าความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีนเกิดขึ้น ก็เป็นผลดีกับภูมิภาค แต่ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็สามารถ
เป็นผลดีกับภูมิภาคได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าเราจะทาอย่างไรให้ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างสอง
มหาอานาจนี้เป็นผลดีและเป็นประโยชน์กับภูมิภาค ประการหนึ่งที่แน่นอนคือ เราต้องส่งเสริมให้เกิดการ
ถ่วงดุลกัน ไม่ใช่ส่งเสริมให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างชัดเจน อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบอย่างชัดเจน อย่างเช่น
บางประเทศ
อย่าลืมว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว อาเซียนกาเนิดขึ้นเพราะอาเซียนโปรสหรัฐมาก แต่พอมีพัฒนาการ
ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคของเรา ไม่ว่าสงครามเวียดนาม สงครามในกัมพูชา สิ่งเหล่านี้ก็
มีอิทธิพล ตอนช่วงสงครามเวียดนาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสงครามในกัมพูชา เรานึกว่าชาติ
อาเซียนสมัครสมานสามัคคีกันมาก ความจริงแล้ว ผมพูดได้ งานวิจัยผมก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าชาติ
อาเซียนขัดแย้งกันมาก โดยเฉพาะบางประเทศอาเซียนเกี่ยวกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเลเซีย
อินโดนีเซียนั้นมองภัยคุกคามจากจีนเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่มาประชิดตัวใกล้มากที่สุด มาเลเซียกับ
อินโดนีเซียไม่มองว่าเวียดนามเป็นภัยประชิดตัว แต่มองว่าจีนเป็นภัยที่มาประชิดตัว เพราะสังคม เพราะ
ศาสนาของเขา อินโดนีเซียเองก็เคยเจอปัญหาที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ที่พยายามโค่น
อานาจทหาร อานาจของซูการ์โน แล้วสุดท้ายก็โดนปราบไปเหี้ยนเลย เพราะฉะนั้น ความระแวงที่เขามี
ประสบการณ์โดยตรงต่อจีนก็ส่งผลในเรื่องนี้ และอันนี้มีในบันทึกความทรงจาของท่านรัฐมนตรีสิทธิ
เศวตศิลา ท่านบันทึกไว้ว่า ชาติอาเซียนเราโหวตกันเลย ทั้งที่อาเซียนนั้นไม่เคยโหวตกัน แต่อันนี้โหวต
กันในทางลับ ผลคือไทยเราชนะ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์อยู่ข้างเรา อีกข้างหนึ่งคืออินโดนีเซียกับมาเลเซีย
(บรูไนยังไม่เข้ามา ตอนนั้นอาเซียนเรามีแค่ 5 ประเทศ) ถึงได้ยอม ขณะนั้น มาเลเซียเองยังเสนอให้ตัด
9
ประเทศกัมพูชาออกไปครึ่งหนึ่งให้เวียดนามไป ถ้าเป็นอย่างนั้น ในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์คือไทยเราเจ๊ง
เราอยู่ได้อย่างไร รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย Ghazali Shafie บอกว่าถ้าประเทศไทยทางภาคเหนือ
และอีสานหลุดไปเป็นของเวียดนาม ก็คงต้องปล่อยไป ไม่เป็นไร แต่ทางภาคใต้ของไทยนั้นไม่มีทางเป็น
คอมมิวนิสต์ เพราะคนไทยมุสลิมอยู่แยะ และบอกว่ามุสลิมต่อต้านคอมมิวนิสต์ได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช่มุสลิม
ทุกวันนี้คนไทยก็ยังมองว่าชาติอาเซียนไปด้วยกัน มาด้วยกันเป็นชาวสุพรรณ แต่ไม่จริง ชาติ
อาเซียนแต่ละชาติมองปัญหาโดยยึดผลประโยชน์ของตนก่อน ตอนสงครามเวียดนามก็ดี สงคราม
กัมพูชาก็ดี เพราะผลประโยชน์หรือนโยบายของอาเซียนในความเป็นจริงไม่เคยมีอยู่ กว่าเราจะสู้ให้มิตร
ประเทศอาเซียนของเราเห็นด้วยกับเราได้นั้นไม่ใช่ง่าย มีแต่สิงคโปร์เท่านั้นที่ยืนหยัดอยู่กับเรามาโดย
ตลอด แต่ที่สิงคโปร์ยืนหยัดอยู่กับเราเห็นด้วยกับเราไม่ใช่เพราะสิงคโปร์รักประเทศไทย สิงคโปร์เขารัก
ประเทศเขา เพราะเขารู้ว่าถ้าไทยอยู่รอดได้ เขาอยู่รอดได้ด้วย มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ สิงคโปร์นั้นถูก
ขนาบด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย สิงคโปร์หายใจไม่สะดวกหรอก การที่สิงคโปร์ได้ไทยมาก็ช่วยเขาได้
มาก ประเทศเล็กก็ต้องบริหารทุกอย่างให้เกิดดุลยภาพ เกิดการถ่วงดุล เป็นการรักษาผลประโยชน์ของ
ประเทศตน และในที่สุดแล้ว เป้าประสงค์สูงสุดของทุกประเทศไม่ว่าใหญ่หรือเล็กก็คือความอยู่รอดและ
ความมั่นคงของชาติ ไม่ใช่อุดมการณ์หวือหวา ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เรื่องหลักนิติธรรม
มนุษยธรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ถ้ามันตอบสนองผลประโยชน์แห่งชาติ
ผมอยากจะฝากไว้ว่าต่อไปเราจะเจอปัญหาอีกแยะ ต่อไปอาเซียนเองก็จะเจอปัญหาภายในด้วย
และขณะนี้ อย่างกรณีอิหร่านกับสหรัฐนั้นก็ชัดเจน ว่าแต่ละประเทศนั้น เวลาเขาต้องการอะไร เขามี
ผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง สังเกตดูว่าประเทศทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ เวลาเขาพูดอะไร
สิ่งที่เขาพูดมันตรงข้ามกับผลประโยชน์ของเขาทั้งนั้น 99.99 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ
อย่างบุชผู้ลูกบอกว่าจะเข้าไปในอิรักเพื่อจะไปแขวนคอซัดดัม ฮุสเซน ซัดดัมเป็นทรราชย์ ซัดดัมใช้อาวุธ
เคมี อาวุธชีวภาพเพื่อจัดการและทรมานคนอิรัก คาถามคือทาไมสหรัฐพึ่งมาพูด ทั้งที่สหรัฐสนับสนุน
ซัดดัม ฮุสเซนมา 8 ปี สู้กับอิหร่าน เพราะโคไมนีไปโค่นมหามิตรของสหรัฐคือพระเจ้าชาห์ ดังนั้น ความ
จริงแล้วนี่จึงเป็นเรื่องผลประโยชน์
บุชผู้พ่อยังดี ตอนที่อิรักบุกเข้าไปในคูเวต ซึ่งเป็นการกระทาที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างแน่นอน คุณมีสิทธิ์อะไรที่ไปละเมิดอานาจอธิปไตยของอีกประเทศ
หนึ่ง ไปรุกรานไปยึดครองเขาไว้ เหมือนกับที่เวียดนามทากับกัมพูชา แต่พอบุชผู้พ่อจัดการกับซัดดัมได้
เขาก็ไม่ตามไปยุ่งกับซัดดัมอีก แต่พอเกิดเหตุการณ์ 9/11 ลูกชายของเขาเข้ามาเป็นประธานาธิบดี
บริบทก็เปลี่ยนไป บริบทนั้นสาคัญมากในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ระหว่างประเทศ ทุกอย่างมัน
ขึ้นอยู่กับบริบท (contextual) ทั้งสิ้น ในกรณีของบุชผู้พ่อ เขาขออนุมัติกองกาลังของสหประชาชาติได้
เลย เพราะซัดดัม ฮุสเซนละเมิดกฎบัตรสหประชาติ ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศชัดเจน แล้วเขาก็
ได้รับอนุมัติ แล้วเขาก็ไปจัดการเอาซัดดัมออกไปจากคูเวตได้ แต่เขาก็ไม่ได้ไปติดตามไล่ซัดดัมไปถึง
10
บ้านหรือยึดอิรักไว้อีก เขาก็ถอยกลับไป แต่ต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 ลูกชายเป็นประธานาธิบดีแล้ว
เข้าไปในอิรักอีกครั้ง สมัยบุชผู้พ่อ ความจริงสหรัฐเพียงลาพังก็สามารถเข้าไปจัดการกับซัดดัมได้ ไม่ต้อง
อาศัยใคร แต่เหตุที่สหรัฐยังต้องการสหประชาชาติเพราะสหรัฐต้องการความชอบธรรม แล้วเขาก็ได้
ความชอบธรรมนั้น แต่พอมาถึงสมัยบุชผู้ลูก จะเข้าไปจัดการกับซัดดัม ก็อยากจะได้ความชอบธรรม
เช่นกัน คือมีกองกาลังสหประชาชาติ ภายใต้ธงของสหประชาชาติ แต่เขาไม่ได้ ดังนั้น เขาจึงหา
ความชอบธรรมโดยบอกว่าซัดดัมมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง 5-6 เดือนผ่านไปเมื่อสหรัฐหาหลักฐาน
ในเรื่องดังกล่าวไม่ได้ สหรัฐจึงหันมาหาความชอบธรรมอีกทางหนึ่งโดยอ้างว่าต้องเข้าไปจัดการเพราะ
ซัดดัมเป็นทรราชย์ ทั้งๆ ที่เป็นทรราชย์ที่สหรัฐสนับสนุนมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์
เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน บริบทเปลี่ยน สหรัฐบอกว่าซัดดัมไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งก็จริง ซัดดัมไม่ดีอย่างนั้น
อย่างนี้จริง ซัดดัมเป็นทรราชย์จริง แต่ทาไมสหรัฐเพิ่งมารู้ว่าเขาเป็นทรราชย์ ต้องใช้เวลา 8 ปีหรือจึงทา
ให้สหรัฐรู้ได้ว่าซัดดัมเป็นทรราชย์ แต่สหรัฐก็สนับสนุนทรราชย์คนนี้มาโดยตลอดเพราะมันตอบสนอง
ผลประโยชน์ของสหรัฐในเวลานั้น
การที่คูเวตถูกซัดดัมเข้าไปรุกรานทาลายอธิปไตยนั้นผิดชัดเจน แต่ถามว่าถ้าคูเวตมีแต่อูฐ อินท
ผาลัมหวานๆ และทะเลทรายสีเงินสีทอง สหรัฐโดยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อจะเข้าไปช่วยคูเวตหรือไม่ บุช
ผู้ลูกก็เช่นกัน บอกว่าจะเข้าไปช่วยปลดปล่อยอิรักจากซัดดัม แต่ความจริงแล้วสิ่งที่เขาต้องการไม่ใช่เพื่อ
วัตถุประสงค์นี้ แต่เขาจาเป็นต้องพูดสิ่งที่เขาพูด เหตุผลที่เขาบอกต้องตรงข้ามกับผลประโยชน์ของเขา
ซึ่งแท้จริงคือเรื่องน้ามัน
กลับมาที่ภูมิภาคของเรา ผมคิดว่า ในเวลาข้างหน้า ถ้าปัญหาอิหร่านกับสหรัฐบานปลาย ผมเชื่อ
ว่าตอนนั้นความขัดแย้งจีนกับสหรัฐจะรุนแรง เพราะไม่มีทางที่สหรัฐจะขออนุมัติคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งสหประชาชาติเข้าไปจัดการกับอิหร่านได้ แล้วโลกทั้งใบจะต่อต้านสหรัฐ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผม
เชื่อว่าประเทศไทย รัฐบาลคงจะฉลาดพอที่จะไม่ทาตัวเป็นบริวารของสหรัฐ ผลประโยชน์ของไทยไม่ได้
อยู่ตรงนั้น ต่อไปข้างหน้าในประเด็นปัญหาอิหร่านกับสหรัฐ เราสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับอิหร่านได้ แต่
เราคาดการณ์เกี่ยวกับสหรัฐภายใต้รัฐบาลทรัมป์ยากมาก เพราะเรามีคนไม่ปกติเป็นผู้บริหารของสหรัฐ
เขาต้องการให้ทุกประเทศสนับสนุนเขา แต่ลองคิดดู ถ้าเป็นรัฐบาลไทย แล้วทรัมป์มาบอกวันนี้ว่าขอให้
ไทยสนับสนุนเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่พรุ่งนี้เขาพูดอีกอย่างด้วยความที่มีลิ้นหลายแฉกของเขา ประเทศ
ต่างๆ จะสนับสนุนคุณได้อย่างไรในเมื่อคุณไม่อยู่ในร่องในรอยเลย กับเกาหลีเหนือ จาได้ไหม ทรัมป์เคย
บอกว่าเรามีปุ่มอยู่บนโต๊ะแล้ว จะกดเมื่อไรก็ได้ เสร็จแล้วตอนหลังก็จูบปากกับคิมจองอึน แล้วก็ไม่ได้ผล
เกาหลีเหนือนั้นไม่ได้โง่ ฉลาดมาก พอเล่นงานเกาหลีเหนือไม่ได้ เวลานี้ก็มาเล่นงานอิหร่านกับอิรัก
ทรัมป์กับปอมเปโอบอกว่านายพลอิหร่านคนนี้เป็นคนไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าคนๆ นี้อยู่
เบื้องหลังการปฏิบัติการ การก่อการร้าย ที่ทาให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตไปหลายร้อยคน แต่ประเด็นคือเขา
บอกว่าถ้าเขาไม่ทาก่อน เขาก็จะถูกโจมตี ทหารสหรัฐจะตายอีกแยะ คือเขาจะทา preemptive/preventive
11
measure ซึ่งอันที่จริงต้องมีหลักฐานให้ชัดเจนว่าอิหร่านกาลังจะจัดการสหรัฐ สหรัฐจึงเข้าไปจัดการก่อน
แต่จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้รัฐสภาสหรัฐเชื่อได้ เป็นปัญหา
ใหญ่ในสหรัฐเวลานี้ เพราะตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ การประกาศสงครามต้องได้รับอนุมัติจากรัฐสภาก่อน
ทั้งสื่อและนักการเมืองก็ถามรัฐบาลสหรัฐ ไม่ว่าทรัมป์ ปอมเปโอ และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ว่าการที่
รัฐบาลจัดการกับนายพลอิหร่านคนนี้นั้น ไม่มีใครต่อต้าน ทุกคนก็ทราบว่าคนนี้ๆ ไม่ดีอย่างไร แต่ถามว่า
มันช่วยแก้ปัญหาหรือไม่ หรือยิ่งทาให้ปัญหาบานปลาย รัฐบาลก็ตอบไม่ได้ เพราะความจริงคือการกาจัด
นายพลคนนี้มันแก้ปัญหาตะวันออกกลางไม่ได้ นายพลคนนี้ตายไปแล้ว ถามว่าช่วยแก้ปัญหาตะวันออก
กลางหรือไม่ ไม่ ปัญหายิ่งลุกลาม เพราะต้นตอของปัญหามันไม่ใช่คนๆ นี้ ต้นตอของปัญหาตะวันออก
กลางส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของสหรัฐต่อภูมิภาคตะวันออกกลางและอีกหลายแห่งในโลก ได้แก่
นโยบายเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองของประเทศอื่นๆ (regime change) หลังจากที่บุชผู้
ลูกขึ้นมามีอานาจ ที่เขาเรียกว่า militarization and moralization of foreign policy ก็คือการพูดเรื่อง
คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม สิทธิมนุษยชน ต้องเอาสิ่งเหล่านี้มาเล่นงานประเทศที่จะตกเป็นเป้าของเขา
เพราะเขาต้องการเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครองของประเทศเหล่านี้ เหมือนที่อิรักโดนมาแล้ว
สหรัฐอยู่ในเวียดนาม 11 ปีเท่านั้น แต่อยู่ในอิรักมา 20 แล้วยังถอนตัวไม่ได้ ทรัมป์ตอนหาเสียงบอกว่า
ผมจะถอนทหารออกมาแล้ว บอกว่าโอบามาทาลายผลประโยชน์ของสหรัฐ ทาให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตแยะ
กับการที่เอาทหารเข้าไปอยู่ในนั้น แต่ตอนนี้ทรัมป์กลับส่งทหารเข้าไปมากขึ้น แล้วบอกว่ากาลังส่งทหาร
สหรัฐเข้าไปในตะวันออกกลางอีก 3-4 พันคน ผมไม่ได้เป็นทหาร แต่ถ้าผมเป็นนายทหาร ผมชอบเลย
คุณส่งมาเถอะ 3-4 พันคน 5 หมื่นก็ได้ เพราะมันตกเป็นเป้านิ่ง ถ้าสหรัฐทา asymmetric war ทั้งด้าน
เปิดและด้านปิด อันนั้นจะสูสีกันได้
เมื่อวันก่อน ในข่าว CNN ทรัมป์บอกว่า เรามีอาวุธที่น่ารักมากหลายอย่าง ไม่ใช่แค่ขีปนาวุธ
เท่านั้น ยังมีโดรนตั้งแต่ขนาดเล็กจนใหญ่เท่าเครื่องบิน B52 และเราจะให้อิหร่านชิมอาวุธเหล่านี้ เช้าวัน
ถัดมาเขาบอกว่า ไม่เอาแล้ว เราจะใช้วิธีการคว่าบาตรอิหร่านแทน คนที่พูดอย่างนี้เขาไม่รู้หรือว่าความ
น่าเชื่อถือก็หมดไปเรื่อยๆ การข่มขู่นั้นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย เพราะคนขู่ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่การขู่ที่ไม่
เกิดขึ้นจริงนั้นราคาสูงมาก
ปัญหาในตะวันออกกลางทั้งหมดก็เกิดมาจากการที่สหรัฐพยายามเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบอบ
การเมืองการปกครองของประเทศอื่น (regime change) ไม่ว่าในอียิปต์ ลิเบีย อัฟกานิสถาน ที่เปลี่ยนไป
แล้ว ในเยเมนก็กาลังเปลี่ยนอยู่ ซีเรียก็กาลังจะเปลี่ยนพอดีว่ารัสเซียและอิหร่านเข้ามาประคองรัฐบาล
ของอัซซาดไว้ ผมคิดว่า ถ้าสหรัฐจัดการกับปัญหาในตะวันออกกลางไม่ดี จะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ
มาก ทุกวันนี้ผมมองว่าจีนแทบไม่ต้องทาอะไรเลย เก็บคะแนนอย่างเดียวก็พอแล้ว
อาเซียนก่อตั้งขึ้นมาเพราะภัยจีน แต่หลังจากเสร็จสิ้นสงครามเย็นแล้ว คนก็นึกว่าจีนกับชาติอาเซียนคง
จะไม่ร่วมมือกันหรือมีความเข้าใจอันดีระหว่างกันเหมือนกับในสมัยสงครามในกัมพูชา แต่ปรากฏว่ายัง
12
ร่วมมือกันอย่างมาก ผมคิดว่าเวลานี้ทุกประเทศอาเซียนถูกล็อคอยู่ในเครือข่ายความร่วมมือในด้าน
ต่างๆ กับจีนแบบที่ดิ้นออกไปยากแล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้าย เพราะว่าการที่ประเทศอาเซียน รวมทั้ง
ไทยเองจะใกล้ชิดกับจีนหรือกับสหรัฐมากน้อยกว่ากัน ผมคิดว่ามันไม่ใช่เป็นนโยบายของประเทศ
อาเซียน และไทย ที่จะอยากจะมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษกับสหรัฐหรือจีนโดยเฉพาะ แต่ผมคิดว่าถ้า
อาเซียนสามารถมีความเห็นร่วมกัน (ซึ่งก็ยากอยู่เหมือนกัน) ว่านโยบายหรือบทบาทของจีนและสหรัฐใน
ภูมิภาคของเราควรเป็นเช่นใดที่จะตอบสนองผลประโยชน์ของอาเซียนโดยรวม ถ้าเรามีสิ่งนี้ออกมาจะ
ช่วยได้แยะ แต่อย่างน้อยที่สุดทุกประเทศต้องเห็นว่าถ้าจะให้สหรัฐกับจีนมีบทบาทในทางบวกและเป็น
ประโยชน์ต่อภูมิภาคทั้งในทางเสถียรภาพ ความมั่นคง เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ต้อง
ให้ถ่วงดุลกันไว้ ต้องให้มีดุลยภาพให้ได้ แต่ผมอยากจะเน้นว่าการถ่วงดุลนั้นไม่ใช่เหมือนกับตราชั่งศาล
ยุติธรรม การถ่วงดุลนั้นแล้วแต่สถานการณ์ ถ้าสหรัฐได้เปรียบอย่างชัดเจนแล้ว เราต้องการให้เกิดความ
ถ่วงดุล เราก็ต้องทาให้จีนไม่เสียเปรียบชัดเจน ในทางกลับกัน ถ้าจีนได้เปรียบอย่างชัดเจนแล้ว สหรัฐ
เสียเปรียบ ทาให้ภูมิภาคของเราเสียสมดุล ก็อยู่ที่เราจะดาเนินการอย่างไรให้ดารงดุลยภาพในภูมิภาคไว้
ได้ แต่ก็ยากเพราะผลประโยชน์ของแต่ละประเทศอาเซียนกับจีน และของแต่ละประเทศอาเซียนกับสหรัฐ
ก็แตกต่างกัน แต่ผมคิดว่าการที่อาเซียนมีบทบาทผ่าน ARF APEC ASEAN+3 ASEAN+6 ที่เรียกว่า
ASEAN Centrality บทบาทของอาเซียนในการประสาน ที่ประเทศต่างๆ ยอมให้อาเซียนมีบทบาทแบบ
นี้ เพราะมันทะเลาะกันเอง มันถือว่าถ้าข้าไม่ได้เอ็งก็อย่าได้ ทาให้อาเซียนมีโอกาสได้เล่นบทบาทนี้ และ
อาเซียนก็คงฉวยโอกาสในตาแหน่งที่เขาให้เรามีบทบาทอย่างนี้ได้
13
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020:
มุมมองด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงรูปแบบใหม่
พลเอกเจิดวุธ คราประยูร
ปัจจุบัน มีความท้าทายเกิดขึ้นใหม่จานวนมาก ระบบยุทธศาสตร์ชาติก็ออกแบบมาเพื่อจะรองรับ
ภัยคุกคามในรูปแบบที่ไม่เหมือนเดิม ผมจะไม่ใช้คาว่า Traditional (ภัยคุกคามรูปแบบเดิม) หรือ Non-
traditional (ภัยคุกคามรูปแบบใหม่) ผมใช้คาว่าความมั่นคงในทุกมิติ (Comprehensive Security) ตาม
แนวคิดยุทธศาสตร์ชาติใหม่ เพื่อให้ประเทศเกิดความคล่องตัวทางยุทธศาสตร์ (Strategic Agility) รองรับ
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดคิดได้
แนวโน้มภัยคุกคามที่เราเห็น บางส่วนที่ท่านทูตพูดไปเมื่อสักครู่ มีหลายเรื่องที่ทั้งโลกถือเป็น
เรื่องใหม่ ไม่มีโครงสร้างและไม่มีองค์ความรู้ที่จะป้องกันแก้ไข เรื่องเหล่านี้ยังไม่มีตารา ยังเป็นเชิง
แนวคิดอยู่ เราสามารถถกแถลงกันได้ เพราะฉะนั้น เรื่องนิยามก็จะไม่ค่อยมีชัดเจน แต่นักวิชาการและ
นักปฏิบัติก็พยายามจะทาให้เรื่องนี้เป็นความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กันต่อไป
ก่อนอื่น ขอพูดเรื่องยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบันก่อน ยุทธศาสตร์ชาติทั้งฉบับเป็นยุทธศาสตร์
ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy) ด้วยในตัว ทั้งสองยุทธศาสตร์เป็นเนื้อเดียวกัน
เพียงแต่ในส่วนที่เราแยกออกมาเป็นเรื่องความมั่นคงเฉพาะในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีอยู่ประมาณ 20 กว่า
เรื่อง ซึ่งทั่วไปเราก็ทราบอยู่แล้ว ถ้าเราจะมองว่า ภัยคุกคามต่อไทยในอีก 20 ปีข้างหน้ามีอะไรบ้าง ก็จะ
มีเรื่องยาเสพติด ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ การอพยพย้ายถิ่นแบบผิดกฎหมาย การก่อการ
ร้าย ภัยพิบัติ อาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภัยคุกคามความมั่นคงทาง
ทะเล ปัญหาสภาวะแวดล้อม การทุจริต ความมั่นคงทางอาหารและน้า เรื่องเหล่านี้อยู่ในขอบเขตที่เรา
พิจารณาว่า เป็นเรื่องที่จะต้องดาเนินการในอีก 20 ปีข้างหน้า นี่คือแนวโน้มทั่วไป
แต่ถ้าเราดูสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันนี้ อะไรคือภัยคุกคาม สิ่งที่เราเห็นได้ตรงหน้าคือ
สหรัฐอเมริกาจะทาสงครามกับอิหร่าน นี่เป็น Wild Card (เรื่องที่คาดเดาได้ยาก) เป็น Joker เป็นความ
ไม่แน่นอนที่มีผลกระทบสูง และไม่อยู่ในแผน เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว ผมว่า หลายประเทศเริ่มปรับแผน
กันใหม่หมดทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เป็นไปได้ว่า ราคาน้ามันอาจจะผันไปถึง 150 ดอลลาร์
เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องต้องเตรียมการ แต่ก็มีหลายหน่วยงานกาลังเตรียมการอยู่ เช่น กระทรวงพลังงานก็
อาจจะต้องมีมาตรการรองรับแล้วว่า หากราคาน้ามันทะลุเพดานเกิน 100 ดอลลาร์จะทาอย่างไร เรื่อง
แบบนี้เป็นเรื่องที่ถ้าเรา Foresight (วิเคราะห์คาดการณ์) ดี ๆ ก็จะช่วยคลี่คลายเรื่องพวกนี้ได้
14
จะเห็นได้ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีกับท่านผู้บัญชาการทหารบกได้พูดเรื่องสงครามลูกผสม
(Hybrid Warfare) อยู่หลายวาระ แต่เนื่องจากระดับตัดสินใจของไทยยังไม่ได้นิยามเรื่องนี้ชัดเจน บางที
พูดไป นัยก็ออกไปในทางลบ Hybrid Warfare ก็คือ การรบระหว่างนอกประเทศกับในประเทศ ระหว่าง
รัฐต่อรัฐ หรือตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐนอกประเทศกับรัฐ กับในประเทศ แต่ไม่ใช่ความหมายที่ในประเทศ
ดาเนินการกับประชาชนตนเอง ดังที่พรรคการเมืองบางพรรคพูดถึงว่า การดาเนินการบางเรื่องของรัฐ
เป็นภัยคุกคามลูกผสม (Hybrid Threat) ที่จริงคือเป็นการดาเนินการทางการเมืองภายใน ไม่เกี่ยวกับ
เรื่องการสงครามใด ๆ หากประเทศไทยถูกกระทา ก็เป็นการถูกกระทาจาก Hybrid Threat ไม่ใช่ Hybrid
Warfare แต่จะมีประเทศที่กาลังทา Hybrid Warfare กับไทยหรือไม่ ก็อาจจะมี เป็นเรื่องที่ต้องมา
วิเคราะห์กัน
วันนี้ผมจะพูดเรื่อง Hybrid Threat เป็นหลัก เนื่องจากเป็นเรื่องระดับยุทธศาสตร์ที่ผมเรียนไปว่า
เรายังไม่มีกรอบคิด ไม่มีตารา ไม่มีโครงสร้างรองรับเป็นระบบ ในระดับยุทธศาสตร์ เราใช้ระบบ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่วนนี้สามารถรองรับได้ แต่ระดับล่างลงมา ยังทาได้ไม่ถึง Hybrid Warfare จริง
ๆ เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซุนวูบอกว่า การชนะที่ดีที่สุดก็คือ ชนะโดยไม่ต้องรบ ชนะโดยไม่รบก็คือไม่ใช้
เครื่องมือทางทหาร ก็คือใช้เครื่องมือที่เห็นตามภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สงครามลูกผสม (Hybrid Warfare)
15
ในอดีต อาจจะมีการใช้เครื่องมือในลักษณะ Hybrid Threat แต่ไม่มีการวางแผนแบบเป็นการศึก
สงคราม (Campaign) เป็นแผนใหญ่ (Big Plan) หรือแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) ที่มีเป้าหมาย
ชัดเจน ใช้ทุกเครื่องมือเข้ามาทา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีราคาถูกลง ตัวแสดงที่
ไม่ใช่รัฐทั้งหลายก็สามารถนาไปใช้ได้โดยง่าย พวกไซเบอร์ พวกอาวุธมีความแม่นยาสูง พวกอากาศยาน
ไร้คนขับ (Drone) ระบบเครือข่าย เราเห็นได้จากพวกฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) ในตะวันออกกลาง
สงครามในซีเรียหรือยูเครน รัสเซียเขาบอกว่าไม่ได้ทา แต่เขาก็ใช้พวกนี้มาก
ที่สาคัญคือ ระบบนี้ถ้าเราทาออกมาเป็นยุทธศาสตร์หรือเป็นกรอบการทางาน ก็ต้องมีนโยบาย
รองรับ มีแผนรองรับ และต้องมีโครงสร้างที่รองรับการดาเนินงาน เนื่องจากเป็นการใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่
เฉพาะทหาร ไม่ได้อยู่ในแวดวงทหาร ทหารทาเองก็ไม่ได้ เขียนตาราก็ไม่ได้ บางเครื่องมือ เช่น
เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางการค้า เครื่องมือทางข้อมูลสารสนเทศ ทหารเองก็ใช้ไม่เป็น
กลาโหมก็ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ที่จะใช้ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อป้องกันประเทศ ทหารเองก็ต้องอาศัย
ความร่วมมือจากพลเรือน จากเอกชนรวมพลังกันต่อสู้
นี่เป็นแนวโน้มที่ทาให้เราเห็นว่า เราขาดทั้งกรอบคิดและเครื่องมือที่จะมาป้องกันประเทศ วันนี้
เรากาลังศึกษาว่าอิหร่านมีขีดความสามารถทางไซเบอร์อะไรบ้างที่จะมากระทาการที่กระทบต่อ
ผลประโยชน์ของไทย สืบเนื่องจากที่มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา เรื่องพวกนี้ กลาโหมทาเองไม่ได้ ก็ต้อง
ประชุมหารือหรือว่าจัดทาแผนร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ ร่วมกับพลเรือนและเอกชน เพราะเครื่องมือ
ส่วนมากไม่ได้อยู่ที่กองทัพ อยู่ที่พลเรือนกับเอกชน
ชุดความคิดเหล่านี้มีมาตั้งแต่ค.ศ. 2007 แต่ในปัจจุบัน มีการดาเนินการที่เป็นกิจจะลักษณะมาก
ขึ้น องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) กับ
สหภาพยุโรป (European Union: EU) ร่วมกับยูเครนเพื่อศึกษาการทา Hybrid Warfare ของรัสเซียใน
ไครเมียในช่วงเวลาที่ผ่านมาอย่างเป็นรูปธรรม เราต้องใช้วิธีศึกษาจากกรณีเหล่านี้เพื่อมากาหนดกรอบ
ความคิดของเราเอง
ในปัจจุบันนี้ รัสเซียเป็นประเทศที่ใช้หลักนิยมนี้อย่างเป็นทางการที่สุด และหลายประเทศก็
พยายามศึกษาจากรัสเซีย สหรัฐอเมริกาก็มี แต่ไม่เรียกแบบนี้
เนื่องจากเราเปลี่ยนกรอบความคิด ระบบทั้งระบบก็ต้องเปลี่ยนตามไปหมด ตั้งแต่ระบบข่าว
กรอง จะเห็นได้ว่า หน่วยข่าวกรองดั้งเดิมที่อยู่ในสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ขยายตัวมากขึ้น หาก
เราจะทาสงครามเศรษฐกิจหรือเป็นเป้าหมายของสงครามเศรษฐกิจ ทหารอาจทาเรื่องพวกนี้ไม่เป็น จะ
ไปใช้ประมาณการข่าวกรองทางเศรษฐกิจ ตอนนี้ก็ไม่มีคนทา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติก็ทาไม่ได้ มีรายงานทุก 2-3 เดือน แต่ก็เป็นระดับเดียว ซึ่งปกติการทาข่าวกรองก็ต้องมีการ
16
วิเคราะห์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับยุทธศาสตร์ ระดับยุทธวิธี และระดับปฏิบัติการ ในการวางแผน ถ้าไม่มี
ระบบข่าว ก็จบตั้งแต่แรก
เราจะเห็นความยุ่งเหยิงของ Hybrid Warfare ที่มีคาศัพท์เกี่ยวข้องเต็มไปหมด (ภาพที่ 2)
เนื่องจากยังไม่มีตาราที่ชัดเจน เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรีบดาเนินการให้มันชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพูด
ศัพท์คานี้ในประเทศไทย ก็ต้องเข้าใจกันทุกวงการ
ภาพที่ 2 คาสาคัญที่เกี่ยวข้องกับสงครามลูกผสม
ภาพที่ 3 ชี้ให้เห็นถึง Hybrid Attack ซึ่งเป็นพื้นที่สีเทา (Grey Zone) ที่ทาให้เราสับสนว่า
ปัจจุบันเรากาลังถูกโจมตีหรือไม่ อย่างไร ในมิติไหนบ้าง กรณีล่าสุด เราได้ยินข่าวว่า มีโรคระบาดที่อู่ฮั่น
นี่ใช่สงครามชีวภาพ (Biowarfare) ไหม เราก็ไม่รู้ อาจจะเป็นประเทศอื่นโจมตีจีนก็ได้
17
ภาพที่ 3 กรอบความคิดสงครามลูกผสม
ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นการโจมตีและคุกคามของรัสเซียในทุกมิติ ซึ่งกลายเป็นแผนระดับ
ยุทธศาสตร์ หากไทยจะโจมตีหรือทาอะไรกับประเทศอื่นก็ต้องวางแผนแบบนี้ ใช้ทุกเครื่องมือที่มีเพื่อ
บรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ เรามีเครื่องมือที่หลากหลายแต่ไม่มีกลไกกากับดูแลที่ทาให้เกิดการทางาน
ประสานสอดคล้อง ทหารก็วางแผนป้องกันประเทศของตัวเองไป จะให้สภาพัฒน์ฯ วางแผนการรบทาง
เศรษฐกิจและสังคม ผมว่าก็ทาไม่เป็น ที่สาคัญคือต้องทาให้ทุกอย่างประสานสอดคล้อง (Synergy) ไม่ใช่
เป็นการทางานแยกส่วนแบบไซโล (Silo) ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน
18
ภาพที่ 4 สงครามลูกผสมของรัสเซีย
ภาพที่ 5 แสดงให้เห็นว่า Hybrid Warfare มีเครื่องมืออะไรบ้าง
ภาพที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในสงครามลูกผสม
เหตุการณ์ในฮ่องกงนี่เป็น Hybrid Warfare แน่นอน และมีการทาหลายอย่าง คาที่น่าสนใจคือ
นิติสงคราม (Lawfare) ถ้าใครอ่านเรื่องของสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน จะเห็นได้ว่า อิหร่านประกาศ
กฎหมายผ่านรัฐสภาเพื่อจัดว่า กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นองค์กรก่อการร้าย นี่คือสงครามทางกฎหมายที่
แย่งชิงความชอบธรรมในภูมิรัฐศาสตร์ สหรัฐอเมริกาลอบสังหารบุคคลระดับผู้นาของอิหร่านเช่นนี้ผิด
กฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ เข้าใจว่า บางประเทศก็บอกว่าผิด นี่คือสงครามแย่งชิงความชอบธรรม
19
ภาพที่ 6 เป็นการนาเสนอกรอบความคิดว่า ถ้าจะทา Hybrid Warfare จะต้องคานึงถึงอะไรบ้าง
ถ้าอ่านดู จะเห็นได้ว่าแตกต่างจาก Conventional Warfare (สงครามตามรูปแบบ หรือการทาสงคราม
โดยใช้อาวุธและยุทธวิธีทางการทหาร) อยู่มาก
ภาพที่ 6 ข้อคานึงในการทาสงครามลูกผสม
สงครามอสมมาตร (Asymmetrical Warfare) ในแง่นิยามแต่เดิมคือ ยุทธวิธีที่ฝ่ายที่กาลังน้อย
กว่าจะใช้กับผู้ที่มีกาลังเยอะ โดยใช้เครื่องมือทั่วไปที่ไม่ได้เป็นไปตามแบบ เช่น สงครามการข่าว
สงครามก่อการร้าย แต่ Hybrid Warfare จะเป็นกรอบความคิดที่ใหญ่กว่า ส่วน Asymmetrical Warfare
จะพูดถึงระดับยุทธวิธีมากกว่า
สงครามไซเบอร์ (Cyber Warfare) คือ การใช้ระบบดิจิทัลรบกันในทุกมิติ ที่เราไม่ค่อยได้คิด
ส่วนมากก็คือการล้วงความลับทางไซเบอร์ (Cyber Espionage) ซึ่งมีมากกว่าและมีทุกวัน มากกว่าการ
โจมตีระหว่างรัฐ ในด้านลับ ๆ เขาโจมตีกันทุกวัน และใช้ตัวแทน (Proxy)
ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นว่า เป้าหมายของการโจมตีมีมิติอะไรบ้าง จะมีมิติการเมือง มิติสังคม และ
มิติเศรษฐกิจ แต่นี่เป็นแค่ลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน ในอนาคตจะมีมากกว่านี้
20
ภาพที่ 7 เป้ าหมายของการโจมตีแบบลูกผสม
วัตถุประสงค์ของการทา Hybrid Warfare ก็คือ ก่อกวนการตัดสินใจ ทาให้เกิดความวุ่นวาย
สร้างความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายแบบเป็นทางการ ในแง่การข่าว เราก็ดูเจตนา
(Intention) กับขีดความสามารถ (Capability) ทั้งหมดนี้ต้องประกอบกัน หากพิจารณาตามกรอบนี้
สภาพัฒน์ฯ ที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจและสังคมสามารถดาเนินการได้ไหม หรือร่วมกับสมช. ทาได้ไหม ผมก็
ไม่แน่ใจ เพราะเรายังไม่มีกรอบคิดที่ชัดเจน
ถ้าเราคิดจะใช้ยุทธศาสตร์แบบ Hybrid ก็ต้องผันจากยุทธศาสตร์เป็นนโยบาย จากนโยบายมา
เป็นแผน กองทัพก็ต้องปรับใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันกองทัพบอกว่า จะทาตารา Hybrid Warfare ผมยืนยัน
ว่า กองทัพทาเองไม่ได้ ต้องทาทั้งกลาโหม กองทัพ และพลเรือนทั้งหมด ทหารยังไม่เข้าใจการใช้
เครื่องมือด้านอื่น ๆ อีกมาก
ภาพที่ 8 ทาให้เราเห็นว่า มีคาศัพท์เยอะไปหมด ถ้าเรายึดนิยามมาก จะไม่เข้าใจ กรอบคิดง่าย
ๆ Hybrid Warfare ก็คือการใช้เครื่องมือทั้งปกติและไม่ปกติ ทั้งเปิดและลับ มีทั้งแบบที่อาศัยความ
เชี่ยวชาญแบบทหาร (Military) แบบที่ข้ามความเชี่ยวชาญแบบทหาร (Trans-Military) และแบบที่ไม่ใช่
ความเชี่ยวชาญของทหาร (Non-Military) ในส่วนของซีกซ้ายทั้งหมด ทหารไม่สามารถวางแผนการรบได้
เพราะเป็นมิติที่ไม่มีความชานาญ ผมอยากใช้คาว่า แผนป้องกัน/รักษาผลประโยชน์แห่งชาติแทนแผน
ป้องกันประเทศ เพราะมันอาจจะมีทั้งเชิงรับและเชิงรุก พอใช้คาว่าแผนป้องกัน ก็ทาให้เข้าใจว่า คนไทย
21
มีแต่แผนเชิงรับ ซึ่งจริง ๆ ควรทางานเชิงรุกด้วย แผนนี้ต้องทาโดยบูรณาการหน่วยงานทั้งหมดทั้งทหาร
พลเรือน และรวมหน่วยงานเอกชนเข้าไปด้วย
ภาพที่ 8 รูปแบบของสงครามลูกผสมแบบอสมมาตร
จะเห็นได้ว่า ภาพที่ 8 เน้นเรื่อง Cyber Warfare ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นส่วนสาคัญของ Hybrid
Warfare ซึ่งทากันในยามปกติ เราอยู่ในห้วงของ "สันติภาพร้อน (Hot Peace)" ไม่ใช่ "สงครามเย็น
(Cold War)" เหมือนจะมีสันติภาพ แต่มันก็ไม่สันติ มีเรื่องระดับโลกเกิดขึ้นทุกวัน และส่วนใหญ่ก็เป็น
เรื่อง Hybrid Warfare ด้วย ส่วนขวามือสุดเราจะเห็นตรงที่เน้นสีดา แต่จริง ๆ ก็ยังไม่ชัดเจนว่า นี่เป็น
สันติภาพหรือสงคราม แต่ถ้าคิดแบบสงครามไว้ก่อนก็อาจจะปลอดภัยกว่า ไม่อย่างนั้นเราก็จะวางใจมาก
ไป หมายความว่า เราอยู่ในพื้นที่สีเทา คนที่ทา Hybrid Warfare ก็เพื่อรักษาสภาพไม่ให้เข้าไปสู่สงคราม
แท้จริง สงครามโลก สงครามที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ (Declared War) ผลลัพธ์ก็คือ สงครามที่
ทาให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคู่ต่อสู้ แต่ไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเรา เหมือนเราลอบตีหัวคน พอ
เขาหันมาก็หลบ ให้เป็นพื้นที่สีเทา ไม่เหมือนกับที่อิหร่านโจมตีฐานทัพสหรัฐอเมริกาในอิรักเมื่อวันก่อน
สังเกตได้ว่าเขาทาแบบจากัดมาก ทาเพื่อให้เขารู้ว่า เขาได้ตอบโต้แล้ว แต่ไม่ถึงขั้นที่สหรัฐอเมริกาจะ
ประกาศสงครามกับเขาได้
22
ภาพที่ 9 แสดงให้เห็นว่า Hybrid Warfare จริง ๆ นั้นจะตอบโจทย์ 4 เรื่องใหญ่ ๆ คือ การใช้
เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ และก็ควรต้องเข้าใจว่า พื้นที่สีเทาอยู่แค่ไหน เส้นขีดการ
ประกาศสงครามอยู่ตรงไหน
ภาพที่ 9 ลักษณะสาคัญของสงครามลูกผสม
ภาพที่ 10 แสดงให้เห็นวิวัฒนาการ ยุคก่อน แค่ทหารจะคิดว่าเอาทหารม้า ทหารราบ ทหารปืน
ใหญ่มารบร่วมกันนี่ก็ยากแล้ว เมื่อก่อนแยกกัน พอมาอีกยุคหนึ่ง กลายเป็นปฏิบัติการร่วม (Joint
Warfare) ปฏิบัติการรบพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
ราคาถูกมีส่วนทาให้เกิด Hybrid Warfare ขึ้นมา
23
ภาพที่ 10 วิวัฒนาการของสงครามลูกผสม
ภาพที่ 11 เป็นวงรอบตามมิติการปฏิบัติของ Hybrid Warfare ที่มีทั้งยุทธศาสตร์ ยุทธการ และ
ยุทธวิธี
24
ภาพที่ 11 วงรอบตามมิติการปฏิบัติของสงครามลูกผสม
จีนทา Hybrid Warfare อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ใช้คานี้ เขาใช้คาว่า ความมั่นคงแบบองค์รวม (Holistic
Security) ซึ่งมีทั้งเชิงรุกเชิงรับ ไทยใช้ Comprehensive Security ส่วนสหรัฐอเมริกาพัฒนาหลักนิยม
ปฏิบัติการหลายมิติ (Multi-Domain Operations) (ภาพที่ 12) ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ ทางทะเล ทาง
อากาศ ทางบก ทางอวกาศ และทางไซเบอร์ (Sea, Air, Land, Space, Cyberspace) 5 มิตินี้เป็นสิ่งที่
กองทัพบกสหรัฐอเมริกาทาได้ แต่ถ้ากองทัพบกไทยจะทาบ้างก็ควรทาเป็นหลักนิยมปฏิบัติการหลากมิติ
แบบนี้ ไม่ใช่แค่ Hybrid Warfare
25
ภาพที่ 12 หลักนิยมปฏิบัติการหลายมิติของสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีกาลังพลทางอวกาศ (Space Force) แล้ว ของไทยก็มีหน่วยเกี่ยวกับ
อวกาศอยู่ที่กลาโหมแต่ยังไม่ใช่กาลังพลทางอวกาศแบบสหรัฐอเมริกา หลักนิยมปฏิบัติการหลายมิติของ
สหรัฐอเมริกานั้นคือ การจัดวางกาลังทางยุทธศาสตร์ (Posturing) อยู่ตรงไหน จะใช้กาลังอย่างไร ถ้า
เจาะจงไปอีกก็คือ กองทัพสหรัฐอเมริกาจะวางกาลัง วางฐานทัพต่าง ๆ อย่างไร จะเอาเรือดาน้า
นิวเคลียร์ไปแล่นที่ไหนบ้าง เมื่อไหร่ ในแง่ Hybrid Warfare ต้องมีการจัดวางใหม่ เพราะเครื่องมือที่ใช้มี
มากกว่านั้น แต่เท่าที่ปรากฏในหลักนิยมนี้ส่วนมากจะพูดถึงโครงสร้างการวางกาลัง (Force Structure)
และแนวทางการจัดวางกาลัง (Force Posture) ปฏิบัติการทั้งหมดก็จะต้องปรับใหม่เพื่อทาให้ขีด
ความสามารถทั้งหมดเกิดความประสานสอดคล้องกัน ถ้าซื้ออาวุธก็ต้องซื้ออาวุธที่เกื้อกูลกัน สอดรับกัน
(Interoperability) กองทัพเรือจะซื้อเรือก็ต้องเป็นเรือที่มีระบบส่งข้อมูลให้กองทัพอากาศและกองทัพบก
สามารถปฏิบัติการร่วมกันได้
เราต้องเข้าใจว่า โจทย์ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของการประกาศหรือไม่ประกาศสงครามกันแล้ว เพราะ
ภาวะสงครามมีอยู่ทุกวัน แต่ไม่ประกาศเท่านั้น ถ้าเราคิดในเชิงว่า ถ้าประกาศสงครามแล้วต้อง
ดาเนินการแบบนั้นแบบนี้ ต้องระดมสรรพกาลังหรือประกาศกฎอัยการศึกเท่านั้นก็อาจจะไม่ใช่ อาจจะ
ต้องคิดให้มากกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น ทั้งหมดนี้ เราเห็นภาพแล้วว่า มีภัยคุกคามอยู่ เราถึงได้ใช้แนวคิด
26
Comprehensive Security แนวคิดนี้จะช่วยป้องกันและแก้ไข Hybrid Threat ได้ถ้าเราทาถูกต้องตาม
กระบวนการ ถูกต้องตามหลักวิชาการ หากทาได้ตามนี้ ประเทศไทยก็จะมี Strategic Agility เราจะ
พิจารณาความมั่นคงในทุกมิติ เราพูดถึงทั้งเชิงรับและเชิงรุก ส่วนใหญ่ประเทศไทยคิดเชิงรับเสียมาก ใน
แง่การรักษาผลประโยชน์ของชาติ เราก็ควรคิดเชิงรุกบ้าง
ผมใช้คาว่า STEEP-M (ภาพที่ 13) เพราะบางส่วนของยุทธศาสตร์ชาติเราแบ่งมิติตามนี้ ซึ่ง
ในทางวิชาการก็มีการเรียกแตกต่างกันไป
ภาพที่ 13 การวิเคราะห์ตามแนวทาง STEEP-M
ถ้าให้ประเมิน Strategic Agility จาก 1-10 ผมคิดว่า อยู่ที่ระดับ 4 หรือ 5 เพราะระบบยุทธศาสตร์
ชาติยังไม่ทางานได้สมบูรณ์ อาจจะต้องปรับอีกหลายปี จึงจะเกิด Strategic Agility จริง ๆ ได้ ปัจจุบัน
เรายังไม่มีหลักนิยมนี้ เราคิดว่า หลาย ๆ ประเทศจะนาหลักนิยมหรือวิธีปฏิบัติตามหลักนิยมนี้มาใช้
ในทางที่ปลอดภัย เราก็ควรมีความรู้มาตรฐาน มีระบบการคิด ระบบการวางแผนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ใน
ระดับยุทธศาสตร์ เรามีโครงสร้างที่รองรับครบถ้วน แต่ในระดับยุทธการ ยุทธวิธี ระบบการข่าว ระบบ
รวบรวมวางแผน ยังไม่มี หลายเรื่องก็ยังไม่มีเจ้าภาพในการกากับการ ถ้าจะให้ดี ก็ควรกาหนดให้เป็น
รูปธรรม
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

Contenu connexe

Tendances

Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relations
FishFly
 

Tendances (16)

ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
งานธุรการ
งานธุรการงานธุรการ
งานธุรการ
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว  บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
 
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
 
OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559OBOR Monitor I กันยายน 2559
OBOR Monitor I กันยายน 2559
 
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่ายุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
 
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน
 
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
 
Burma Thai relations
Burma   Thai relationsBurma   Thai relations
Burma Thai relations
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558 World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
 
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
ชุมนุมสหกรณ์ 22 ม ค 56
 
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
 
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีวางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
วางแผนการเงินด้วย 4D Link ลงทุน ออมเงิน ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
 

Similaire à ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
jeabjeabloei
 
ประวัติ True
ประวัติ Trueประวัติ True
ประวัติ True
Tn' Nam
 
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ  คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ  คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
นายจักราวุธ คำทวี
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
noeiinoii
 
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Kamolkan Thippaboon
 
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนามศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
Thammasat University
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 

Similaire à ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (20)

World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
 
Scenario Thinking
Scenario ThinkingScenario Thinking
Scenario Thinking
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
 
ประวัติ True
ประวัติ Trueประวัติ True
ประวัติ True
 
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ  คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ  คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
แผนพัฒนาฯ 11 จักราวุธ คำทวี ๑๓ มิ.ย.๕๗
 
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
PKRU Scenario 2040
PKRU Scenario 2040PKRU Scenario 2040
PKRU Scenario 2040
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
 
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
อนาคตของจีนกับแผนพัฒนาฯ 5 ปี
 
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทยโครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
 
Bb in seoul
Bb in seoulBb in seoul
Bb in seoul
 
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
 
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
 
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนามศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
ศักยภาพการลงทุนในเวียดนาม
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 
TOT Contact Center Marketing Plan
TOT Contact Center Marketing PlanTOT Contact Center Marketing Plan
TOT Contact Center Marketing Plan
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 

Plus de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

  • 1.
  • 2. รายงานถอดความการประชุมเวทียุทธศาสตร์ (Transcript) เรื่อง ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 9 มกราคม 2563 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.klangpanya.in.th บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง เสกสรร อานันทศิริเกียรติ และณัฐธิดา เย็นบารุง เผยแพร่: กุมภาพันธ์ 2563 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า บทนา 4 บทกล่าวเปิ ด 5 ศาสตราจารย์.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: การต่างประเทศไทยในดุลอานาจใหม่ของโลก 6 อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: มุมมองด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงรูปแบบใหม่ 13 พลเอกเจิดวุธ คราประยูร บทอภิปราย 27 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 44
  • 4. บทนา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทย และพลเอกเจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษา พิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นวิทยากรกล่าวถึงความท้าทายของประเทศไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการเข้าร่วมอภิปราย วิเคราะห์ และเสนอแนวทาง เตรียมพร้อมประเทศไทยเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและระดับภูมิภาค ในการนี้สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงได้จัดทารายงานถอดความเนื้อหาการประชุม ครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่เป็นความรู้สู่สังคม โดยเฉพาะไปยังผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย รวมถึงนิสิต นักศึกษา และสาธารณชนผู้สนใจได้นาไปใช้ประโยชน์
  • 5. 5 ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 20201 บทกล่าวเปิ ด ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ วันนี้เราจะเสวนาในหัวข้อความท้าทายที่มีต่อประเทศไทยในทศวรรษ 2020 หมายถึง 10 ปีจาก นี้ไป ซึ่งก็มีหลายด้าน เรื่องประชากรก็ยังเป็นความท้าทาย แต่ว่าวันนี้เราจะมาพูดถึง 2 เรื่องเท่านั้นเอง แต่เป็น 2 เรื่องที่ใหญ่มาก คือเรื่องความท้าทายด้านการต่างประเทศกับความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ ทางการทหาร ซึ่งวิทยากรที่เราเชิญมาวันนี้ได้แก่ท่านอดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนามและอีกท่าน หนึ่งก็คือพลเอกเจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เริ่มจากการฟังท่านสุรพงษ์ ชัยนาม พูดให้พวกเราฟังก่อนเกี่ยวกับเรื่องความท้าทายของไทย ด้านการต่างประเทศ ขอกราบเรียนเชิญเลยครับ 1 ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์เรื่อง ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ ชาติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กทม.
  • 6. 6 ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: การต่างประเทศไทยในดุลอานาจใหม่ของโลก อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม ขอบคุณอาจารย์เอนก และขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมหารือในวันนี้ ผมคิดว่าเป็น ประโยชน์ที่จะให้ภาพใหญ่ ภาพรวมของปัญหาในปัจจุบันที่จะมีผลกระทบต่อภูมิภาคของเรา ผมจะไม่ พูดเฉพาะแต่ผลกระทบต่อไทยเป็นหลัก แต่จะพูดถึงผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ เรา ทุกวันนี้ทุกคนก็พูดถึงเรื่องความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างมหาอานาจ ซึ่งในปัจจุบันเวลาเรา พูดถึงความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างมหาอานาจนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมุ่งไปที่จีนกับสหรัฐ ความจริง แล้ว ในปัจจุบัน ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างมหาอานาจที่สาคัญและเป็นปัญหาอยู่ในภูมิภาค ของเราก็คือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ในความเข้าใจของผม เมื่อเราพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ มันก็คือเรื่องของความขัดแย้งและความร่วมมือ ถ้าเราดูตามข้อเท็จจริง สหรัฐกับจีนมีบทบาทสาคัญมากที่ช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้มีเสถียรภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราดูตั้งแต่สมัยปี 1969-1972 ที่นิกสันไปเยือนจีน เพื่อเริ่มปรับความสัมพันธ์ให้กลับสู่ภาวะปกติระหว่างกัน แต่ก็มีปัจจัยที่ทาให้เรื่องนี้เกิดขึ้น คือการที่ สหรัฐต้องการให้เกิดดุลอานาจในโลกที่ไม่เป็นภัยกับสหรัฐ นั่นก็คือการหาทางกลับมาปรับความสัมพันธ์ กับจีนเพื่อคานอิทธิพลของโซเวียต ความจริงแล้วอิทธิพลของโซเวียตก็ไม่ได้มีอยู่โดยตรงในภูมิภาคของ เรา แต่มีผ่านทางเวียดนาม แน่นอนว่าผลประโยชน์ของสหรัฐกับจีนในเวลานั้นเป็นผลประโยชน์ที่ สอดคล้องกัน ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่กาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของทุกประเทศคือผลประโยชน์ ผลประโยชน์กาหนดภัย ผลประโยชน์กาหนดนโยบาย ผลประโยชน์กาหนดยุทธศาสตร์ ไม่ใช่อุดมการณ์ กาหนดภัย อุดมการณ์กาหนดผลประโยชน์ เราดูตัวเราเองก็ได้ ปี 2518 หลังจากที่สหรัฐแพ้สงครามเวียดนามแล้วก็ถอยออกไป ไทยก็ปรับ ความสัมพันธ์กับจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์อันนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพอ สหรัฐถอยออกไป มันมีความจาเป็นที่เราต้องปรับดุลอานาจในภูมิภาคของเราให้เป็นดุลยภาพที่ไม่เป็น ภัยต่อไทย ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าให้เป็นประโยชน์ได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่เป็นประโยชน์อย่างน้อย ต้องไม่เป็นภัย ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของจีนในเวลานั้น ที่ต้องการลดอิทธิพลของโซเวียตที่มีผ่าน ทางเวียดนาม เพราะอย่าลืมว่าหลังปี 2518 ทั้งลาวและกัมพูชาก็เป็นคอมมิวนิสต์หมดแล้ว สิ่งนี้ชี้ให้เห็น ว่าไทยเองในเวลานั้นก็ไม่ได้ยึดเรื่องอุดมการณ์เป็นหลัก แต่เวลานั้นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์เป็น
  • 7. 7 ตัวกาหนดนโยบาย แล้วเราก็เห็นแล้วว่าเราไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์กับจีนในเวลานั้น แล้วเรา ก็ปรับทิศทางการต่างประเทศ ถ้าเรายังฝังหัวว่าอุดมการณ์คือตัวกาหนดผลประโยชน์ อุดมการณ์คือ ตัวกาหนดภัย เราก็จบเห่แน่ ไปไม่รอดหรอก เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าเรื่องของผลประโยชน์เป็น ตัวกาหนดทิศทางหรือนโยบายการต่างประเทศ เมื่อเราปรับแล้ว สหรัฐเอง แม้ว่าจะถอยออกไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สหรัฐก็ สนับสนุนให้จีนร่วมมือกับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไทย และผลของการปรับความสัมพันธ์ ระหว่างจีนกับสหรัฐในช่วงนั้นมีผลโดยตรงต่อภูมิภาคของเรา มีผลโดยตรงในการทาให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างไทยกับจีน และอาเซียนกับจีน อาเซียนก่อตั้งขึ้นในปี 2510 อะไรเป็นปัจจัยที่ทาให้อาเซียนมี เอกภาพขึ้นมาได้ ก็คือความกลัว ความกลัวนี้ทาให้อาเซียนรวมตัวกันได้ และสิ่งที่ทาให้ความสัมพันธ์จีน กับไทย กับอาเซียน จีนกับสหรัฐ สหรัฐกับอาเซียนมีเอกภาพได้ ปัจจัยสาคัญที่สุดก็คือสงครามกัมพูชาที่ เวียดนามบุกเข้าไปในกัมพูชา ทาให้ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ ที่กล่าวมาสอดคล้องกันในเวลานั้น ก่อนหน้านั้น ไทยเองก็มองจีนเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง ตอนนั้นเราเอาเรื่องอุดมการณ์เป็นที่ตั้ง เป็นตัวกาหนดนโยบายต่างประเทศ เราไม่ได้เอาผลประโยชน์มากาหนดนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐ ก็เป็นตัวชี้นาว่าจีนเป็นภัย นี่คือช่วงแรก ช่วงต่อมาเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐแพ้สงครามเวียดนาม สหรัฐก็ต้องมาคิดว่าอะไรเป็นผลดีต่อการปรับตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาคนี้ สหรัฐอยู่ ในฐานะที่จะบริหารดุลยภาพในภูมิภาคและในโลกได้ จึงเกิดความสัมพันธ์สามเส้าระหว่างสหรัฐ จีน และ อดีตสหภาพโซเวียต และในเวลานั้น จีนต้องการสหรัฐมากกว่าสหรัฐต้องการจีน โซเวียตก็ต้องการสหรัฐ มากกว่าสหรัฐต้องการโซเวียต จึงทาให้สหรัฐอยู่ในความสัมพันธ์สามเส้านี้อย่างได้เปรียบอีกสองฝ่ายใน การบริหารจัดการความสัมพันธ์ และนี่ก็เป็นผลดีกับเรา ถือว่าอาเซียนในช่วงนั้นโชคดีมากที่เกิด เหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ที่รับรองและมีความสัมพันธ์ ทางการทูตกับรัฐบาลกัมพูชาภายใต้เขมรแดง หลายคนบอกว่าประเทศไทยกะล่อน แต่ว่าไม่ใช่เช่นนั้น เป็นเรื่องของการรู้จักปรับตัว เราปรับตัวได้ดี แล้วเราก็รับรองลาว เรารับรองจีนในเดือนกรกฎาคม 2518 มารับรองเวียดนามเป็นประเทศสุดท้ายในเดือนมิถุนายน 2519 อีกหนึ่งปีหลังจีน เพราะเวลานั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะมีปัญหาเรื่องปิดฐานทัพสหรัฐ ให้ทหารสหรัฐถอนทัพออกไป และยังมีเรื่องเครื่องบินที่ ฝ่ายเวียดนามใต้ที่หนีระบอบคอมมิวนิสต์มาแล้วเอามาพักไว้ที่เมืองไทยก็แยะ ซึ่งเวลานั้นฝ่าย คอมมิวนิสต์เวียดนามที่รวมประเทศได้เขาก็เรียกร้องคืน แล้วเราเองก็มีปัญหากรณีมายาเกซ ซึ่งตอนนั้น สหรัฐก็ละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างเต็มที่เลย ตอนนั้นสหรัฐก็มองไทยเราเป็นประเทศบริวารประเทศ หนึ่ง ท่านจะเห็นได้จากเรื่องสหรัฐกับอิหร่านในเวลานี้ สหรัฐก็มองอิรักเป็นรัฐบริวารของสหรัฐ สหรัฐถึง ได้จัดการกับนายพลอิหร่านคนนี้ในพื้นที่ของอิรักเลย ผมจาได้ว่า CNN ไปสัมภาษณ์นายทหารสหรัฐคน หนึ่ง เขาบอกว่า “ถ้าอิรักไม่ทาตัวเป็นประเทศที่มีอธิปไตย ก็สมควรแล้วที่สหรัฐจะสามารถสั่งการและ
  • 8. 8 ดาเนินการแบบนี้ในอิรักได้” หลังจากนั้นสองวัน รัฐสภาอิรักประกาศบีบให้รัฐบาลบอกให้สหรัฐถอนทหาร ออกไป เพราะไม่ต้องการให้อิรักเป็นสมรภูมิของความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ถามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรในเรื่องความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ต้องไม่ลืมว่าผมเข้าใจว่า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐในปัจจุบัน มันขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ ในเรื่องของการแข่งขัน กัน แต่มันไม่ใช่ความขัดแย้งในแง่ที่ว่าหักกันแล้ว ไม่มีทางที่จะเจรจาต่อรองอะไรกันได้แล้ว ไม่ใช่อย่าง นั้น ขณะนี้ระหว่างจีนกับสหรัฐนั้นยังเป็นคู่แข่ง ในความเข้าใจของผม ยังไม่ใช่ศัตรู การที่แม้ว่าจีนกับ สหรัฐขัดแย้งกันในหลายเรื่อง แต่ยังมีพื้นที่ที่จะเจรจาต่อรองกันได้นั้น ผมคิดว่าเป็นประโยชน์สาหรับ อาเซียนและไทยด้วย เพราะถ้าเขาชนกันจริงๆ ทุกประเทศอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย มีทางเลือกอยู่สอง ทาง ในกรณีความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน หนึ่ง เรายอมเป็นบริวาร ให้เขาสั่งการเรา แล้วเราปฏิบัติ ตามเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือสหรัฐ หรือสอง เราขัดแย้งเลย เราชน เราไม่ยอม ตามที่สหรัฐหรือ จีนต้องการให้เราเป็น มันมีสองทางนี้เท่านั้น ซึ่งสองทางนี้ไปไม่รอด เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งกับความร่วมมือ ความขัดแย้งก็เหมือนกับขั้วแบตเตอรี่ มีทั้งด้านบวก และด้านลบ เราสามารถทาให้ความขัดแย้งเป็นด้านบวก คือเป็นประโยชน์กับเราก็ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีนเกิดขึ้น ก็เป็นผลดีกับภูมิภาค แต่ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็สามารถ เป็นผลดีกับภูมิภาคได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าเราจะทาอย่างไรให้ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างสอง มหาอานาจนี้เป็นผลดีและเป็นประโยชน์กับภูมิภาค ประการหนึ่งที่แน่นอนคือ เราต้องส่งเสริมให้เกิดการ ถ่วงดุลกัน ไม่ใช่ส่งเสริมให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างชัดเจน อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบอย่างชัดเจน อย่างเช่น บางประเทศ อย่าลืมว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว อาเซียนกาเนิดขึ้นเพราะอาเซียนโปรสหรัฐมาก แต่พอมีพัฒนาการ ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคของเรา ไม่ว่าสงครามเวียดนาม สงครามในกัมพูชา สิ่งเหล่านี้ก็ มีอิทธิพล ตอนช่วงสงครามเวียดนาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสงครามในกัมพูชา เรานึกว่าชาติ อาเซียนสมัครสมานสามัคคีกันมาก ความจริงแล้ว ผมพูดได้ งานวิจัยผมก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าชาติ อาเซียนขัดแย้งกันมาก โดยเฉพาะบางประเทศอาเซียนเกี่ยวกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเลเซีย อินโดนีเซียนั้นมองภัยคุกคามจากจีนเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่มาประชิดตัวใกล้มากที่สุด มาเลเซียกับ อินโดนีเซียไม่มองว่าเวียดนามเป็นภัยประชิดตัว แต่มองว่าจีนเป็นภัยที่มาประชิดตัว เพราะสังคม เพราะ ศาสนาของเขา อินโดนีเซียเองก็เคยเจอปัญหาที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ที่พยายามโค่น อานาจทหาร อานาจของซูการ์โน แล้วสุดท้ายก็โดนปราบไปเหี้ยนเลย เพราะฉะนั้น ความระแวงที่เขามี ประสบการณ์โดยตรงต่อจีนก็ส่งผลในเรื่องนี้ และอันนี้มีในบันทึกความทรงจาของท่านรัฐมนตรีสิทธิ เศวตศิลา ท่านบันทึกไว้ว่า ชาติอาเซียนเราโหวตกันเลย ทั้งที่อาเซียนนั้นไม่เคยโหวตกัน แต่อันนี้โหวต กันในทางลับ ผลคือไทยเราชนะ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์อยู่ข้างเรา อีกข้างหนึ่งคืออินโดนีเซียกับมาเลเซีย (บรูไนยังไม่เข้ามา ตอนนั้นอาเซียนเรามีแค่ 5 ประเทศ) ถึงได้ยอม ขณะนั้น มาเลเซียเองยังเสนอให้ตัด
  • 9. 9 ประเทศกัมพูชาออกไปครึ่งหนึ่งให้เวียดนามไป ถ้าเป็นอย่างนั้น ในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์คือไทยเราเจ๊ง เราอยู่ได้อย่างไร รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย Ghazali Shafie บอกว่าถ้าประเทศไทยทางภาคเหนือ และอีสานหลุดไปเป็นของเวียดนาม ก็คงต้องปล่อยไป ไม่เป็นไร แต่ทางภาคใต้ของไทยนั้นไม่มีทางเป็น คอมมิวนิสต์ เพราะคนไทยมุสลิมอยู่แยะ และบอกว่ามุสลิมต่อต้านคอมมิวนิสต์ได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช่มุสลิม ทุกวันนี้คนไทยก็ยังมองว่าชาติอาเซียนไปด้วยกัน มาด้วยกันเป็นชาวสุพรรณ แต่ไม่จริง ชาติ อาเซียนแต่ละชาติมองปัญหาโดยยึดผลประโยชน์ของตนก่อน ตอนสงครามเวียดนามก็ดี สงคราม กัมพูชาก็ดี เพราะผลประโยชน์หรือนโยบายของอาเซียนในความเป็นจริงไม่เคยมีอยู่ กว่าเราจะสู้ให้มิตร ประเทศอาเซียนของเราเห็นด้วยกับเราได้นั้นไม่ใช่ง่าย มีแต่สิงคโปร์เท่านั้นที่ยืนหยัดอยู่กับเรามาโดย ตลอด แต่ที่สิงคโปร์ยืนหยัดอยู่กับเราเห็นด้วยกับเราไม่ใช่เพราะสิงคโปร์รักประเทศไทย สิงคโปร์เขารัก ประเทศเขา เพราะเขารู้ว่าถ้าไทยอยู่รอดได้ เขาอยู่รอดได้ด้วย มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ สิงคโปร์นั้นถูก ขนาบด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย สิงคโปร์หายใจไม่สะดวกหรอก การที่สิงคโปร์ได้ไทยมาก็ช่วยเขาได้ มาก ประเทศเล็กก็ต้องบริหารทุกอย่างให้เกิดดุลยภาพ เกิดการถ่วงดุล เป็นการรักษาผลประโยชน์ของ ประเทศตน และในที่สุดแล้ว เป้าประสงค์สูงสุดของทุกประเทศไม่ว่าใหญ่หรือเล็กก็คือความอยู่รอดและ ความมั่นคงของชาติ ไม่ใช่อุดมการณ์หวือหวา ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เรื่องหลักนิติธรรม มนุษยธรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ถ้ามันตอบสนองผลประโยชน์แห่งชาติ ผมอยากจะฝากไว้ว่าต่อไปเราจะเจอปัญหาอีกแยะ ต่อไปอาเซียนเองก็จะเจอปัญหาภายในด้วย และขณะนี้ อย่างกรณีอิหร่านกับสหรัฐนั้นก็ชัดเจน ว่าแต่ละประเทศนั้น เวลาเขาต้องการอะไร เขามี ผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง สังเกตดูว่าประเทศทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ เวลาเขาพูดอะไร สิ่งที่เขาพูดมันตรงข้ามกับผลประโยชน์ของเขาทั้งนั้น 99.99 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างบุชผู้ลูกบอกว่าจะเข้าไปในอิรักเพื่อจะไปแขวนคอซัดดัม ฮุสเซน ซัดดัมเป็นทรราชย์ ซัดดัมใช้อาวุธ เคมี อาวุธชีวภาพเพื่อจัดการและทรมานคนอิรัก คาถามคือทาไมสหรัฐพึ่งมาพูด ทั้งที่สหรัฐสนับสนุน ซัดดัม ฮุสเซนมา 8 ปี สู้กับอิหร่าน เพราะโคไมนีไปโค่นมหามิตรของสหรัฐคือพระเจ้าชาห์ ดังนั้น ความ จริงแล้วนี่จึงเป็นเรื่องผลประโยชน์ บุชผู้พ่อยังดี ตอนที่อิรักบุกเข้าไปในคูเวต ซึ่งเป็นการกระทาที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างแน่นอน คุณมีสิทธิ์อะไรที่ไปละเมิดอานาจอธิปไตยของอีกประเทศ หนึ่ง ไปรุกรานไปยึดครองเขาไว้ เหมือนกับที่เวียดนามทากับกัมพูชา แต่พอบุชผู้พ่อจัดการกับซัดดัมได้ เขาก็ไม่ตามไปยุ่งกับซัดดัมอีก แต่พอเกิดเหตุการณ์ 9/11 ลูกชายของเขาเข้ามาเป็นประธานาธิบดี บริบทก็เปลี่ยนไป บริบทนั้นสาคัญมากในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ระหว่างประเทศ ทุกอย่างมัน ขึ้นอยู่กับบริบท (contextual) ทั้งสิ้น ในกรณีของบุชผู้พ่อ เขาขออนุมัติกองกาลังของสหประชาชาติได้ เลย เพราะซัดดัม ฮุสเซนละเมิดกฎบัตรสหประชาติ ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศชัดเจน แล้วเขาก็ ได้รับอนุมัติ แล้วเขาก็ไปจัดการเอาซัดดัมออกไปจากคูเวตได้ แต่เขาก็ไม่ได้ไปติดตามไล่ซัดดัมไปถึง
  • 10. 10 บ้านหรือยึดอิรักไว้อีก เขาก็ถอยกลับไป แต่ต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 ลูกชายเป็นประธานาธิบดีแล้ว เข้าไปในอิรักอีกครั้ง สมัยบุชผู้พ่อ ความจริงสหรัฐเพียงลาพังก็สามารถเข้าไปจัดการกับซัดดัมได้ ไม่ต้อง อาศัยใคร แต่เหตุที่สหรัฐยังต้องการสหประชาชาติเพราะสหรัฐต้องการความชอบธรรม แล้วเขาก็ได้ ความชอบธรรมนั้น แต่พอมาถึงสมัยบุชผู้ลูก จะเข้าไปจัดการกับซัดดัม ก็อยากจะได้ความชอบธรรม เช่นกัน คือมีกองกาลังสหประชาชาติ ภายใต้ธงของสหประชาชาติ แต่เขาไม่ได้ ดังนั้น เขาจึงหา ความชอบธรรมโดยบอกว่าซัดดัมมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง 5-6 เดือนผ่านไปเมื่อสหรัฐหาหลักฐาน ในเรื่องดังกล่าวไม่ได้ สหรัฐจึงหันมาหาความชอบธรรมอีกทางหนึ่งโดยอ้างว่าต้องเข้าไปจัดการเพราะ ซัดดัมเป็นทรราชย์ ทั้งๆ ที่เป็นทรราชย์ที่สหรัฐสนับสนุนมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน บริบทเปลี่ยน สหรัฐบอกว่าซัดดัมไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งก็จริง ซัดดัมไม่ดีอย่างนั้น อย่างนี้จริง ซัดดัมเป็นทรราชย์จริง แต่ทาไมสหรัฐเพิ่งมารู้ว่าเขาเป็นทรราชย์ ต้องใช้เวลา 8 ปีหรือจึงทา ให้สหรัฐรู้ได้ว่าซัดดัมเป็นทรราชย์ แต่สหรัฐก็สนับสนุนทรราชย์คนนี้มาโดยตลอดเพราะมันตอบสนอง ผลประโยชน์ของสหรัฐในเวลานั้น การที่คูเวตถูกซัดดัมเข้าไปรุกรานทาลายอธิปไตยนั้นผิดชัดเจน แต่ถามว่าถ้าคูเวตมีแต่อูฐ อินท ผาลัมหวานๆ และทะเลทรายสีเงินสีทอง สหรัฐโดยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อจะเข้าไปช่วยคูเวตหรือไม่ บุช ผู้ลูกก็เช่นกัน บอกว่าจะเข้าไปช่วยปลดปล่อยอิรักจากซัดดัม แต่ความจริงแล้วสิ่งที่เขาต้องการไม่ใช่เพื่อ วัตถุประสงค์นี้ แต่เขาจาเป็นต้องพูดสิ่งที่เขาพูด เหตุผลที่เขาบอกต้องตรงข้ามกับผลประโยชน์ของเขา ซึ่งแท้จริงคือเรื่องน้ามัน กลับมาที่ภูมิภาคของเรา ผมคิดว่า ในเวลาข้างหน้า ถ้าปัญหาอิหร่านกับสหรัฐบานปลาย ผมเชื่อ ว่าตอนนั้นความขัดแย้งจีนกับสหรัฐจะรุนแรง เพราะไม่มีทางที่สหรัฐจะขออนุมัติคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติเข้าไปจัดการกับอิหร่านได้ แล้วโลกทั้งใบจะต่อต้านสหรัฐ และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผม เชื่อว่าประเทศไทย รัฐบาลคงจะฉลาดพอที่จะไม่ทาตัวเป็นบริวารของสหรัฐ ผลประโยชน์ของไทยไม่ได้ อยู่ตรงนั้น ต่อไปข้างหน้าในประเด็นปัญหาอิหร่านกับสหรัฐ เราสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับอิหร่านได้ แต่ เราคาดการณ์เกี่ยวกับสหรัฐภายใต้รัฐบาลทรัมป์ยากมาก เพราะเรามีคนไม่ปกติเป็นผู้บริหารของสหรัฐ เขาต้องการให้ทุกประเทศสนับสนุนเขา แต่ลองคิดดู ถ้าเป็นรัฐบาลไทย แล้วทรัมป์มาบอกวันนี้ว่าขอให้ ไทยสนับสนุนเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่พรุ่งนี้เขาพูดอีกอย่างด้วยความที่มีลิ้นหลายแฉกของเขา ประเทศ ต่างๆ จะสนับสนุนคุณได้อย่างไรในเมื่อคุณไม่อยู่ในร่องในรอยเลย กับเกาหลีเหนือ จาได้ไหม ทรัมป์เคย บอกว่าเรามีปุ่มอยู่บนโต๊ะแล้ว จะกดเมื่อไรก็ได้ เสร็จแล้วตอนหลังก็จูบปากกับคิมจองอึน แล้วก็ไม่ได้ผล เกาหลีเหนือนั้นไม่ได้โง่ ฉลาดมาก พอเล่นงานเกาหลีเหนือไม่ได้ เวลานี้ก็มาเล่นงานอิหร่านกับอิรัก ทรัมป์กับปอมเปโอบอกว่านายพลอิหร่านคนนี้เป็นคนไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าคนๆ นี้อยู่ เบื้องหลังการปฏิบัติการ การก่อการร้าย ที่ทาให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตไปหลายร้อยคน แต่ประเด็นคือเขา บอกว่าถ้าเขาไม่ทาก่อน เขาก็จะถูกโจมตี ทหารสหรัฐจะตายอีกแยะ คือเขาจะทา preemptive/preventive
  • 11. 11 measure ซึ่งอันที่จริงต้องมีหลักฐานให้ชัดเจนว่าอิหร่านกาลังจะจัดการสหรัฐ สหรัฐจึงเข้าไปจัดการก่อน แต่จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้รัฐสภาสหรัฐเชื่อได้ เป็นปัญหา ใหญ่ในสหรัฐเวลานี้ เพราะตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ การประกาศสงครามต้องได้รับอนุมัติจากรัฐสภาก่อน ทั้งสื่อและนักการเมืองก็ถามรัฐบาลสหรัฐ ไม่ว่าทรัมป์ ปอมเปโอ และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ว่าการที่ รัฐบาลจัดการกับนายพลอิหร่านคนนี้นั้น ไม่มีใครต่อต้าน ทุกคนก็ทราบว่าคนนี้ๆ ไม่ดีอย่างไร แต่ถามว่า มันช่วยแก้ปัญหาหรือไม่ หรือยิ่งทาให้ปัญหาบานปลาย รัฐบาลก็ตอบไม่ได้ เพราะความจริงคือการกาจัด นายพลคนนี้มันแก้ปัญหาตะวันออกกลางไม่ได้ นายพลคนนี้ตายไปแล้ว ถามว่าช่วยแก้ปัญหาตะวันออก กลางหรือไม่ ไม่ ปัญหายิ่งลุกลาม เพราะต้นตอของปัญหามันไม่ใช่คนๆ นี้ ต้นตอของปัญหาตะวันออก กลางส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของสหรัฐต่อภูมิภาคตะวันออกกลางและอีกหลายแห่งในโลก ได้แก่ นโยบายเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองของประเทศอื่นๆ (regime change) หลังจากที่บุชผู้ ลูกขึ้นมามีอานาจ ที่เขาเรียกว่า militarization and moralization of foreign policy ก็คือการพูดเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม สิทธิมนุษยชน ต้องเอาสิ่งเหล่านี้มาเล่นงานประเทศที่จะตกเป็นเป้าของเขา เพราะเขาต้องการเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครองของประเทศเหล่านี้ เหมือนที่อิรักโดนมาแล้ว สหรัฐอยู่ในเวียดนาม 11 ปีเท่านั้น แต่อยู่ในอิรักมา 20 แล้วยังถอนตัวไม่ได้ ทรัมป์ตอนหาเสียงบอกว่า ผมจะถอนทหารออกมาแล้ว บอกว่าโอบามาทาลายผลประโยชน์ของสหรัฐ ทาให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตแยะ กับการที่เอาทหารเข้าไปอยู่ในนั้น แต่ตอนนี้ทรัมป์กลับส่งทหารเข้าไปมากขึ้น แล้วบอกว่ากาลังส่งทหาร สหรัฐเข้าไปในตะวันออกกลางอีก 3-4 พันคน ผมไม่ได้เป็นทหาร แต่ถ้าผมเป็นนายทหาร ผมชอบเลย คุณส่งมาเถอะ 3-4 พันคน 5 หมื่นก็ได้ เพราะมันตกเป็นเป้านิ่ง ถ้าสหรัฐทา asymmetric war ทั้งด้าน เปิดและด้านปิด อันนั้นจะสูสีกันได้ เมื่อวันก่อน ในข่าว CNN ทรัมป์บอกว่า เรามีอาวุธที่น่ารักมากหลายอย่าง ไม่ใช่แค่ขีปนาวุธ เท่านั้น ยังมีโดรนตั้งแต่ขนาดเล็กจนใหญ่เท่าเครื่องบิน B52 และเราจะให้อิหร่านชิมอาวุธเหล่านี้ เช้าวัน ถัดมาเขาบอกว่า ไม่เอาแล้ว เราจะใช้วิธีการคว่าบาตรอิหร่านแทน คนที่พูดอย่างนี้เขาไม่รู้หรือว่าความ น่าเชื่อถือก็หมดไปเรื่อยๆ การข่มขู่นั้นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย เพราะคนขู่ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่การขู่ที่ไม่ เกิดขึ้นจริงนั้นราคาสูงมาก ปัญหาในตะวันออกกลางทั้งหมดก็เกิดมาจากการที่สหรัฐพยายามเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบอบ การเมืองการปกครองของประเทศอื่น (regime change) ไม่ว่าในอียิปต์ ลิเบีย อัฟกานิสถาน ที่เปลี่ยนไป แล้ว ในเยเมนก็กาลังเปลี่ยนอยู่ ซีเรียก็กาลังจะเปลี่ยนพอดีว่ารัสเซียและอิหร่านเข้ามาประคองรัฐบาล ของอัซซาดไว้ ผมคิดว่า ถ้าสหรัฐจัดการกับปัญหาในตะวันออกกลางไม่ดี จะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ มาก ทุกวันนี้ผมมองว่าจีนแทบไม่ต้องทาอะไรเลย เก็บคะแนนอย่างเดียวก็พอแล้ว อาเซียนก่อตั้งขึ้นมาเพราะภัยจีน แต่หลังจากเสร็จสิ้นสงครามเย็นแล้ว คนก็นึกว่าจีนกับชาติอาเซียนคง จะไม่ร่วมมือกันหรือมีความเข้าใจอันดีระหว่างกันเหมือนกับในสมัยสงครามในกัมพูชา แต่ปรากฏว่ายัง
  • 12. 12 ร่วมมือกันอย่างมาก ผมคิดว่าเวลานี้ทุกประเทศอาเซียนถูกล็อคอยู่ในเครือข่ายความร่วมมือในด้าน ต่างๆ กับจีนแบบที่ดิ้นออกไปยากแล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้าย เพราะว่าการที่ประเทศอาเซียน รวมทั้ง ไทยเองจะใกล้ชิดกับจีนหรือกับสหรัฐมากน้อยกว่ากัน ผมคิดว่ามันไม่ใช่เป็นนโยบายของประเทศ อาเซียน และไทย ที่จะอยากจะมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษกับสหรัฐหรือจีนโดยเฉพาะ แต่ผมคิดว่าถ้า อาเซียนสามารถมีความเห็นร่วมกัน (ซึ่งก็ยากอยู่เหมือนกัน) ว่านโยบายหรือบทบาทของจีนและสหรัฐใน ภูมิภาคของเราควรเป็นเช่นใดที่จะตอบสนองผลประโยชน์ของอาเซียนโดยรวม ถ้าเรามีสิ่งนี้ออกมาจะ ช่วยได้แยะ แต่อย่างน้อยที่สุดทุกประเทศต้องเห็นว่าถ้าจะให้สหรัฐกับจีนมีบทบาทในทางบวกและเป็น ประโยชน์ต่อภูมิภาคทั้งในทางเสถียรภาพ ความมั่นคง เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ต้อง ให้ถ่วงดุลกันไว้ ต้องให้มีดุลยภาพให้ได้ แต่ผมอยากจะเน้นว่าการถ่วงดุลนั้นไม่ใช่เหมือนกับตราชั่งศาล ยุติธรรม การถ่วงดุลนั้นแล้วแต่สถานการณ์ ถ้าสหรัฐได้เปรียบอย่างชัดเจนแล้ว เราต้องการให้เกิดความ ถ่วงดุล เราก็ต้องทาให้จีนไม่เสียเปรียบชัดเจน ในทางกลับกัน ถ้าจีนได้เปรียบอย่างชัดเจนแล้ว สหรัฐ เสียเปรียบ ทาให้ภูมิภาคของเราเสียสมดุล ก็อยู่ที่เราจะดาเนินการอย่างไรให้ดารงดุลยภาพในภูมิภาคไว้ ได้ แต่ก็ยากเพราะผลประโยชน์ของแต่ละประเทศอาเซียนกับจีน และของแต่ละประเทศอาเซียนกับสหรัฐ ก็แตกต่างกัน แต่ผมคิดว่าการที่อาเซียนมีบทบาทผ่าน ARF APEC ASEAN+3 ASEAN+6 ที่เรียกว่า ASEAN Centrality บทบาทของอาเซียนในการประสาน ที่ประเทศต่างๆ ยอมให้อาเซียนมีบทบาทแบบ นี้ เพราะมันทะเลาะกันเอง มันถือว่าถ้าข้าไม่ได้เอ็งก็อย่าได้ ทาให้อาเซียนมีโอกาสได้เล่นบทบาทนี้ และ อาเซียนก็คงฉวยโอกาสในตาแหน่งที่เขาให้เรามีบทบาทอย่างนี้ได้
  • 13. 13 ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020: มุมมองด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงรูปแบบใหม่ พลเอกเจิดวุธ คราประยูร ปัจจุบัน มีความท้าทายเกิดขึ้นใหม่จานวนมาก ระบบยุทธศาสตร์ชาติก็ออกแบบมาเพื่อจะรองรับ ภัยคุกคามในรูปแบบที่ไม่เหมือนเดิม ผมจะไม่ใช้คาว่า Traditional (ภัยคุกคามรูปแบบเดิม) หรือ Non- traditional (ภัยคุกคามรูปแบบใหม่) ผมใช้คาว่าความมั่นคงในทุกมิติ (Comprehensive Security) ตาม แนวคิดยุทธศาสตร์ชาติใหม่ เพื่อให้ประเทศเกิดความคล่องตัวทางยุทธศาสตร์ (Strategic Agility) รองรับ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดคิดได้ แนวโน้มภัยคุกคามที่เราเห็น บางส่วนที่ท่านทูตพูดไปเมื่อสักครู่ มีหลายเรื่องที่ทั้งโลกถือเป็น เรื่องใหม่ ไม่มีโครงสร้างและไม่มีองค์ความรู้ที่จะป้องกันแก้ไข เรื่องเหล่านี้ยังไม่มีตารา ยังเป็นเชิง แนวคิดอยู่ เราสามารถถกแถลงกันได้ เพราะฉะนั้น เรื่องนิยามก็จะไม่ค่อยมีชัดเจน แต่นักวิชาการและ นักปฏิบัติก็พยายามจะทาให้เรื่องนี้เป็นความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กันต่อไป ก่อนอื่น ขอพูดเรื่องยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบันก่อน ยุทธศาสตร์ชาติทั้งฉบับเป็นยุทธศาสตร์ ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy) ด้วยในตัว ทั้งสองยุทธศาสตร์เป็นเนื้อเดียวกัน เพียงแต่ในส่วนที่เราแยกออกมาเป็นเรื่องความมั่นคงเฉพาะในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีอยู่ประมาณ 20 กว่า เรื่อง ซึ่งทั่วไปเราก็ทราบอยู่แล้ว ถ้าเราจะมองว่า ภัยคุกคามต่อไทยในอีก 20 ปีข้างหน้ามีอะไรบ้าง ก็จะ มีเรื่องยาเสพติด ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ การอพยพย้ายถิ่นแบบผิดกฎหมาย การก่อการ ร้าย ภัยพิบัติ อาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภัยคุกคามความมั่นคงทาง ทะเล ปัญหาสภาวะแวดล้อม การทุจริต ความมั่นคงทางอาหารและน้า เรื่องเหล่านี้อยู่ในขอบเขตที่เรา พิจารณาว่า เป็นเรื่องที่จะต้องดาเนินการในอีก 20 ปีข้างหน้า นี่คือแนวโน้มทั่วไป แต่ถ้าเราดูสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันนี้ อะไรคือภัยคุกคาม สิ่งที่เราเห็นได้ตรงหน้าคือ สหรัฐอเมริกาจะทาสงครามกับอิหร่าน นี่เป็น Wild Card (เรื่องที่คาดเดาได้ยาก) เป็น Joker เป็นความ ไม่แน่นอนที่มีผลกระทบสูง และไม่อยู่ในแผน เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว ผมว่า หลายประเทศเริ่มปรับแผน กันใหม่หมดทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เป็นไปได้ว่า ราคาน้ามันอาจจะผันไปถึง 150 ดอลลาร์ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องต้องเตรียมการ แต่ก็มีหลายหน่วยงานกาลังเตรียมการอยู่ เช่น กระทรวงพลังงานก็ อาจจะต้องมีมาตรการรองรับแล้วว่า หากราคาน้ามันทะลุเพดานเกิน 100 ดอลลาร์จะทาอย่างไร เรื่อง แบบนี้เป็นเรื่องที่ถ้าเรา Foresight (วิเคราะห์คาดการณ์) ดี ๆ ก็จะช่วยคลี่คลายเรื่องพวกนี้ได้
  • 14. 14 จะเห็นได้ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีกับท่านผู้บัญชาการทหารบกได้พูดเรื่องสงครามลูกผสม (Hybrid Warfare) อยู่หลายวาระ แต่เนื่องจากระดับตัดสินใจของไทยยังไม่ได้นิยามเรื่องนี้ชัดเจน บางที พูดไป นัยก็ออกไปในทางลบ Hybrid Warfare ก็คือ การรบระหว่างนอกประเทศกับในประเทศ ระหว่าง รัฐต่อรัฐ หรือตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐนอกประเทศกับรัฐ กับในประเทศ แต่ไม่ใช่ความหมายที่ในประเทศ ดาเนินการกับประชาชนตนเอง ดังที่พรรคการเมืองบางพรรคพูดถึงว่า การดาเนินการบางเรื่องของรัฐ เป็นภัยคุกคามลูกผสม (Hybrid Threat) ที่จริงคือเป็นการดาเนินการทางการเมืองภายใน ไม่เกี่ยวกับ เรื่องการสงครามใด ๆ หากประเทศไทยถูกกระทา ก็เป็นการถูกกระทาจาก Hybrid Threat ไม่ใช่ Hybrid Warfare แต่จะมีประเทศที่กาลังทา Hybrid Warfare กับไทยหรือไม่ ก็อาจจะมี เป็นเรื่องที่ต้องมา วิเคราะห์กัน วันนี้ผมจะพูดเรื่อง Hybrid Threat เป็นหลัก เนื่องจากเป็นเรื่องระดับยุทธศาสตร์ที่ผมเรียนไปว่า เรายังไม่มีกรอบคิด ไม่มีตารา ไม่มีโครงสร้างรองรับเป็นระบบ ในระดับยุทธศาสตร์ เราใช้ระบบ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่วนนี้สามารถรองรับได้ แต่ระดับล่างลงมา ยังทาได้ไม่ถึง Hybrid Warfare จริง ๆ เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซุนวูบอกว่า การชนะที่ดีที่สุดก็คือ ชนะโดยไม่ต้องรบ ชนะโดยไม่รบก็คือไม่ใช้ เครื่องมือทางทหาร ก็คือใช้เครื่องมือที่เห็นตามภาพที่ 1 ภาพที่ 1 สงครามลูกผสม (Hybrid Warfare)
  • 15. 15 ในอดีต อาจจะมีการใช้เครื่องมือในลักษณะ Hybrid Threat แต่ไม่มีการวางแผนแบบเป็นการศึก สงคราม (Campaign) เป็นแผนใหญ่ (Big Plan) หรือแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) ที่มีเป้าหมาย ชัดเจน ใช้ทุกเครื่องมือเข้ามาทา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีราคาถูกลง ตัวแสดงที่ ไม่ใช่รัฐทั้งหลายก็สามารถนาไปใช้ได้โดยง่าย พวกไซเบอร์ พวกอาวุธมีความแม่นยาสูง พวกอากาศยาน ไร้คนขับ (Drone) ระบบเครือข่าย เราเห็นได้จากพวกฮิซบุลลอฮ์ (Hezbollah) ในตะวันออกกลาง สงครามในซีเรียหรือยูเครน รัสเซียเขาบอกว่าไม่ได้ทา แต่เขาก็ใช้พวกนี้มาก ที่สาคัญคือ ระบบนี้ถ้าเราทาออกมาเป็นยุทธศาสตร์หรือเป็นกรอบการทางาน ก็ต้องมีนโยบาย รองรับ มีแผนรองรับ และต้องมีโครงสร้างที่รองรับการดาเนินงาน เนื่องจากเป็นการใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่ เฉพาะทหาร ไม่ได้อยู่ในแวดวงทหาร ทหารทาเองก็ไม่ได้ เขียนตาราก็ไม่ได้ บางเครื่องมือ เช่น เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางการค้า เครื่องมือทางข้อมูลสารสนเทศ ทหารเองก็ใช้ไม่เป็น กลาโหมก็ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ที่จะใช้ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อป้องกันประเทศ ทหารเองก็ต้องอาศัย ความร่วมมือจากพลเรือน จากเอกชนรวมพลังกันต่อสู้ นี่เป็นแนวโน้มที่ทาให้เราเห็นว่า เราขาดทั้งกรอบคิดและเครื่องมือที่จะมาป้องกันประเทศ วันนี้ เรากาลังศึกษาว่าอิหร่านมีขีดความสามารถทางไซเบอร์อะไรบ้างที่จะมากระทาการที่กระทบต่อ ผลประโยชน์ของไทย สืบเนื่องจากที่มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา เรื่องพวกนี้ กลาโหมทาเองไม่ได้ ก็ต้อง ประชุมหารือหรือว่าจัดทาแผนร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ ร่วมกับพลเรือนและเอกชน เพราะเครื่องมือ ส่วนมากไม่ได้อยู่ที่กองทัพ อยู่ที่พลเรือนกับเอกชน ชุดความคิดเหล่านี้มีมาตั้งแต่ค.ศ. 2007 แต่ในปัจจุบัน มีการดาเนินการที่เป็นกิจจะลักษณะมาก ขึ้น องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) กับ สหภาพยุโรป (European Union: EU) ร่วมกับยูเครนเพื่อศึกษาการทา Hybrid Warfare ของรัสเซียใน ไครเมียในช่วงเวลาที่ผ่านมาอย่างเป็นรูปธรรม เราต้องใช้วิธีศึกษาจากกรณีเหล่านี้เพื่อมากาหนดกรอบ ความคิดของเราเอง ในปัจจุบันนี้ รัสเซียเป็นประเทศที่ใช้หลักนิยมนี้อย่างเป็นทางการที่สุด และหลายประเทศก็ พยายามศึกษาจากรัสเซีย สหรัฐอเมริกาก็มี แต่ไม่เรียกแบบนี้ เนื่องจากเราเปลี่ยนกรอบความคิด ระบบทั้งระบบก็ต้องเปลี่ยนตามไปหมด ตั้งแต่ระบบข่าว กรอง จะเห็นได้ว่า หน่วยข่าวกรองดั้งเดิมที่อยู่ในสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ขยายตัวมากขึ้น หาก เราจะทาสงครามเศรษฐกิจหรือเป็นเป้าหมายของสงครามเศรษฐกิจ ทหารอาจทาเรื่องพวกนี้ไม่เป็น จะ ไปใช้ประมาณการข่าวกรองทางเศรษฐกิจ ตอนนี้ก็ไม่มีคนทา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติก็ทาไม่ได้ มีรายงานทุก 2-3 เดือน แต่ก็เป็นระดับเดียว ซึ่งปกติการทาข่าวกรองก็ต้องมีการ
  • 16. 16 วิเคราะห์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับยุทธศาสตร์ ระดับยุทธวิธี และระดับปฏิบัติการ ในการวางแผน ถ้าไม่มี ระบบข่าว ก็จบตั้งแต่แรก เราจะเห็นความยุ่งเหยิงของ Hybrid Warfare ที่มีคาศัพท์เกี่ยวข้องเต็มไปหมด (ภาพที่ 2) เนื่องจากยังไม่มีตาราที่ชัดเจน เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรีบดาเนินการให้มันชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพูด ศัพท์คานี้ในประเทศไทย ก็ต้องเข้าใจกันทุกวงการ ภาพที่ 2 คาสาคัญที่เกี่ยวข้องกับสงครามลูกผสม ภาพที่ 3 ชี้ให้เห็นถึง Hybrid Attack ซึ่งเป็นพื้นที่สีเทา (Grey Zone) ที่ทาให้เราสับสนว่า ปัจจุบันเรากาลังถูกโจมตีหรือไม่ อย่างไร ในมิติไหนบ้าง กรณีล่าสุด เราได้ยินข่าวว่า มีโรคระบาดที่อู่ฮั่น นี่ใช่สงครามชีวภาพ (Biowarfare) ไหม เราก็ไม่รู้ อาจจะเป็นประเทศอื่นโจมตีจีนก็ได้
  • 17. 17 ภาพที่ 3 กรอบความคิดสงครามลูกผสม ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นการโจมตีและคุกคามของรัสเซียในทุกมิติ ซึ่งกลายเป็นแผนระดับ ยุทธศาสตร์ หากไทยจะโจมตีหรือทาอะไรกับประเทศอื่นก็ต้องวางแผนแบบนี้ ใช้ทุกเครื่องมือที่มีเพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ เรามีเครื่องมือที่หลากหลายแต่ไม่มีกลไกกากับดูแลที่ทาให้เกิดการทางาน ประสานสอดคล้อง ทหารก็วางแผนป้องกันประเทศของตัวเองไป จะให้สภาพัฒน์ฯ วางแผนการรบทาง เศรษฐกิจและสังคม ผมว่าก็ทาไม่เป็น ที่สาคัญคือต้องทาให้ทุกอย่างประสานสอดคล้อง (Synergy) ไม่ใช่ เป็นการทางานแยกส่วนแบบไซโล (Silo) ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน
  • 18. 18 ภาพที่ 4 สงครามลูกผสมของรัสเซีย ภาพที่ 5 แสดงให้เห็นว่า Hybrid Warfare มีเครื่องมืออะไรบ้าง ภาพที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในสงครามลูกผสม เหตุการณ์ในฮ่องกงนี่เป็น Hybrid Warfare แน่นอน และมีการทาหลายอย่าง คาที่น่าสนใจคือ นิติสงคราม (Lawfare) ถ้าใครอ่านเรื่องของสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน จะเห็นได้ว่า อิหร่านประกาศ กฎหมายผ่านรัฐสภาเพื่อจัดว่า กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นองค์กรก่อการร้าย นี่คือสงครามทางกฎหมายที่ แย่งชิงความชอบธรรมในภูมิรัฐศาสตร์ สหรัฐอเมริกาลอบสังหารบุคคลระดับผู้นาของอิหร่านเช่นนี้ผิด กฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ เข้าใจว่า บางประเทศก็บอกว่าผิด นี่คือสงครามแย่งชิงความชอบธรรม
  • 19. 19 ภาพที่ 6 เป็นการนาเสนอกรอบความคิดว่า ถ้าจะทา Hybrid Warfare จะต้องคานึงถึงอะไรบ้าง ถ้าอ่านดู จะเห็นได้ว่าแตกต่างจาก Conventional Warfare (สงครามตามรูปแบบ หรือการทาสงคราม โดยใช้อาวุธและยุทธวิธีทางการทหาร) อยู่มาก ภาพที่ 6 ข้อคานึงในการทาสงครามลูกผสม สงครามอสมมาตร (Asymmetrical Warfare) ในแง่นิยามแต่เดิมคือ ยุทธวิธีที่ฝ่ายที่กาลังน้อย กว่าจะใช้กับผู้ที่มีกาลังเยอะ โดยใช้เครื่องมือทั่วไปที่ไม่ได้เป็นไปตามแบบ เช่น สงครามการข่าว สงครามก่อการร้าย แต่ Hybrid Warfare จะเป็นกรอบความคิดที่ใหญ่กว่า ส่วน Asymmetrical Warfare จะพูดถึงระดับยุทธวิธีมากกว่า สงครามไซเบอร์ (Cyber Warfare) คือ การใช้ระบบดิจิทัลรบกันในทุกมิติ ที่เราไม่ค่อยได้คิด ส่วนมากก็คือการล้วงความลับทางไซเบอร์ (Cyber Espionage) ซึ่งมีมากกว่าและมีทุกวัน มากกว่าการ โจมตีระหว่างรัฐ ในด้านลับ ๆ เขาโจมตีกันทุกวัน และใช้ตัวแทน (Proxy) ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นว่า เป้าหมายของการโจมตีมีมิติอะไรบ้าง จะมีมิติการเมือง มิติสังคม และ มิติเศรษฐกิจ แต่นี่เป็นแค่ลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน ในอนาคตจะมีมากกว่านี้
  • 20. 20 ภาพที่ 7 เป้ าหมายของการโจมตีแบบลูกผสม วัตถุประสงค์ของการทา Hybrid Warfare ก็คือ ก่อกวนการตัดสินใจ ทาให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์ มีเป้าหมายแบบเป็นทางการ ในแง่การข่าว เราก็ดูเจตนา (Intention) กับขีดความสามารถ (Capability) ทั้งหมดนี้ต้องประกอบกัน หากพิจารณาตามกรอบนี้ สภาพัฒน์ฯ ที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจและสังคมสามารถดาเนินการได้ไหม หรือร่วมกับสมช. ทาได้ไหม ผมก็ ไม่แน่ใจ เพราะเรายังไม่มีกรอบคิดที่ชัดเจน ถ้าเราคิดจะใช้ยุทธศาสตร์แบบ Hybrid ก็ต้องผันจากยุทธศาสตร์เป็นนโยบาย จากนโยบายมา เป็นแผน กองทัพก็ต้องปรับใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันกองทัพบอกว่า จะทาตารา Hybrid Warfare ผมยืนยัน ว่า กองทัพทาเองไม่ได้ ต้องทาทั้งกลาโหม กองทัพ และพลเรือนทั้งหมด ทหารยังไม่เข้าใจการใช้ เครื่องมือด้านอื่น ๆ อีกมาก ภาพที่ 8 ทาให้เราเห็นว่า มีคาศัพท์เยอะไปหมด ถ้าเรายึดนิยามมาก จะไม่เข้าใจ กรอบคิดง่าย ๆ Hybrid Warfare ก็คือการใช้เครื่องมือทั้งปกติและไม่ปกติ ทั้งเปิดและลับ มีทั้งแบบที่อาศัยความ เชี่ยวชาญแบบทหาร (Military) แบบที่ข้ามความเชี่ยวชาญแบบทหาร (Trans-Military) และแบบที่ไม่ใช่ ความเชี่ยวชาญของทหาร (Non-Military) ในส่วนของซีกซ้ายทั้งหมด ทหารไม่สามารถวางแผนการรบได้ เพราะเป็นมิติที่ไม่มีความชานาญ ผมอยากใช้คาว่า แผนป้องกัน/รักษาผลประโยชน์แห่งชาติแทนแผน ป้องกันประเทศ เพราะมันอาจจะมีทั้งเชิงรับและเชิงรุก พอใช้คาว่าแผนป้องกัน ก็ทาให้เข้าใจว่า คนไทย
  • 21. 21 มีแต่แผนเชิงรับ ซึ่งจริง ๆ ควรทางานเชิงรุกด้วย แผนนี้ต้องทาโดยบูรณาการหน่วยงานทั้งหมดทั้งทหาร พลเรือน และรวมหน่วยงานเอกชนเข้าไปด้วย ภาพที่ 8 รูปแบบของสงครามลูกผสมแบบอสมมาตร จะเห็นได้ว่า ภาพที่ 8 เน้นเรื่อง Cyber Warfare ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นส่วนสาคัญของ Hybrid Warfare ซึ่งทากันในยามปกติ เราอยู่ในห้วงของ "สันติภาพร้อน (Hot Peace)" ไม่ใช่ "สงครามเย็น (Cold War)" เหมือนจะมีสันติภาพ แต่มันก็ไม่สันติ มีเรื่องระดับโลกเกิดขึ้นทุกวัน และส่วนใหญ่ก็เป็น เรื่อง Hybrid Warfare ด้วย ส่วนขวามือสุดเราจะเห็นตรงที่เน้นสีดา แต่จริง ๆ ก็ยังไม่ชัดเจนว่า นี่เป็น สันติภาพหรือสงคราม แต่ถ้าคิดแบบสงครามไว้ก่อนก็อาจจะปลอดภัยกว่า ไม่อย่างนั้นเราก็จะวางใจมาก ไป หมายความว่า เราอยู่ในพื้นที่สีเทา คนที่ทา Hybrid Warfare ก็เพื่อรักษาสภาพไม่ให้เข้าไปสู่สงคราม แท้จริง สงครามโลก สงครามที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ (Declared War) ผลลัพธ์ก็คือ สงครามที่ ทาให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคู่ต่อสู้ แต่ไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเรา เหมือนเราลอบตีหัวคน พอ เขาหันมาก็หลบ ให้เป็นพื้นที่สีเทา ไม่เหมือนกับที่อิหร่านโจมตีฐานทัพสหรัฐอเมริกาในอิรักเมื่อวันก่อน สังเกตได้ว่าเขาทาแบบจากัดมาก ทาเพื่อให้เขารู้ว่า เขาได้ตอบโต้แล้ว แต่ไม่ถึงขั้นที่สหรัฐอเมริกาจะ ประกาศสงครามกับเขาได้
  • 22. 22 ภาพที่ 9 แสดงให้เห็นว่า Hybrid Warfare จริง ๆ นั้นจะตอบโจทย์ 4 เรื่องใหญ่ ๆ คือ การใช้ เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ และก็ควรต้องเข้าใจว่า พื้นที่สีเทาอยู่แค่ไหน เส้นขีดการ ประกาศสงครามอยู่ตรงไหน ภาพที่ 9 ลักษณะสาคัญของสงครามลูกผสม ภาพที่ 10 แสดงให้เห็นวิวัฒนาการ ยุคก่อน แค่ทหารจะคิดว่าเอาทหารม้า ทหารราบ ทหารปืน ใหญ่มารบร่วมกันนี่ก็ยากแล้ว เมื่อก่อนแยกกัน พอมาอีกยุคหนึ่ง กลายเป็นปฏิบัติการร่วม (Joint Warfare) ปฏิบัติการรบพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี ราคาถูกมีส่วนทาให้เกิด Hybrid Warfare ขึ้นมา
  • 23. 23 ภาพที่ 10 วิวัฒนาการของสงครามลูกผสม ภาพที่ 11 เป็นวงรอบตามมิติการปฏิบัติของ Hybrid Warfare ที่มีทั้งยุทธศาสตร์ ยุทธการ และ ยุทธวิธี
  • 24. 24 ภาพที่ 11 วงรอบตามมิติการปฏิบัติของสงครามลูกผสม จีนทา Hybrid Warfare อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ใช้คานี้ เขาใช้คาว่า ความมั่นคงแบบองค์รวม (Holistic Security) ซึ่งมีทั้งเชิงรุกเชิงรับ ไทยใช้ Comprehensive Security ส่วนสหรัฐอเมริกาพัฒนาหลักนิยม ปฏิบัติการหลายมิติ (Multi-Domain Operations) (ภาพที่ 12) ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ ทางทะเล ทาง อากาศ ทางบก ทางอวกาศ และทางไซเบอร์ (Sea, Air, Land, Space, Cyberspace) 5 มิตินี้เป็นสิ่งที่ กองทัพบกสหรัฐอเมริกาทาได้ แต่ถ้ากองทัพบกไทยจะทาบ้างก็ควรทาเป็นหลักนิยมปฏิบัติการหลากมิติ แบบนี้ ไม่ใช่แค่ Hybrid Warfare
  • 25. 25 ภาพที่ 12 หลักนิยมปฏิบัติการหลายมิติของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีกาลังพลทางอวกาศ (Space Force) แล้ว ของไทยก็มีหน่วยเกี่ยวกับ อวกาศอยู่ที่กลาโหมแต่ยังไม่ใช่กาลังพลทางอวกาศแบบสหรัฐอเมริกา หลักนิยมปฏิบัติการหลายมิติของ สหรัฐอเมริกานั้นคือ การจัดวางกาลังทางยุทธศาสตร์ (Posturing) อยู่ตรงไหน จะใช้กาลังอย่างไร ถ้า เจาะจงไปอีกก็คือ กองทัพสหรัฐอเมริกาจะวางกาลัง วางฐานทัพต่าง ๆ อย่างไร จะเอาเรือดาน้า นิวเคลียร์ไปแล่นที่ไหนบ้าง เมื่อไหร่ ในแง่ Hybrid Warfare ต้องมีการจัดวางใหม่ เพราะเครื่องมือที่ใช้มี มากกว่านั้น แต่เท่าที่ปรากฏในหลักนิยมนี้ส่วนมากจะพูดถึงโครงสร้างการวางกาลัง (Force Structure) และแนวทางการจัดวางกาลัง (Force Posture) ปฏิบัติการทั้งหมดก็จะต้องปรับใหม่เพื่อทาให้ขีด ความสามารถทั้งหมดเกิดความประสานสอดคล้องกัน ถ้าซื้ออาวุธก็ต้องซื้ออาวุธที่เกื้อกูลกัน สอดรับกัน (Interoperability) กองทัพเรือจะซื้อเรือก็ต้องเป็นเรือที่มีระบบส่งข้อมูลให้กองทัพอากาศและกองทัพบก สามารถปฏิบัติการร่วมกันได้ เราต้องเข้าใจว่า โจทย์ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของการประกาศหรือไม่ประกาศสงครามกันแล้ว เพราะ ภาวะสงครามมีอยู่ทุกวัน แต่ไม่ประกาศเท่านั้น ถ้าเราคิดในเชิงว่า ถ้าประกาศสงครามแล้วต้อง ดาเนินการแบบนั้นแบบนี้ ต้องระดมสรรพกาลังหรือประกาศกฎอัยการศึกเท่านั้นก็อาจจะไม่ใช่ อาจจะ ต้องคิดให้มากกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น ทั้งหมดนี้ เราเห็นภาพแล้วว่า มีภัยคุกคามอยู่ เราถึงได้ใช้แนวคิด
  • 26. 26 Comprehensive Security แนวคิดนี้จะช่วยป้องกันและแก้ไข Hybrid Threat ได้ถ้าเราทาถูกต้องตาม กระบวนการ ถูกต้องตามหลักวิชาการ หากทาได้ตามนี้ ประเทศไทยก็จะมี Strategic Agility เราจะ พิจารณาความมั่นคงในทุกมิติ เราพูดถึงทั้งเชิงรับและเชิงรุก ส่วนใหญ่ประเทศไทยคิดเชิงรับเสียมาก ใน แง่การรักษาผลประโยชน์ของชาติ เราก็ควรคิดเชิงรุกบ้าง ผมใช้คาว่า STEEP-M (ภาพที่ 13) เพราะบางส่วนของยุทธศาสตร์ชาติเราแบ่งมิติตามนี้ ซึ่ง ในทางวิชาการก็มีการเรียกแตกต่างกันไป ภาพที่ 13 การวิเคราะห์ตามแนวทาง STEEP-M ถ้าให้ประเมิน Strategic Agility จาก 1-10 ผมคิดว่า อยู่ที่ระดับ 4 หรือ 5 เพราะระบบยุทธศาสตร์ ชาติยังไม่ทางานได้สมบูรณ์ อาจจะต้องปรับอีกหลายปี จึงจะเกิด Strategic Agility จริง ๆ ได้ ปัจจุบัน เรายังไม่มีหลักนิยมนี้ เราคิดว่า หลาย ๆ ประเทศจะนาหลักนิยมหรือวิธีปฏิบัติตามหลักนิยมนี้มาใช้ ในทางที่ปลอดภัย เราก็ควรมีความรู้มาตรฐาน มีระบบการคิด ระบบการวางแผนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ใน ระดับยุทธศาสตร์ เรามีโครงสร้างที่รองรับครบถ้วน แต่ในระดับยุทธการ ยุทธวิธี ระบบการข่าว ระบบ รวบรวมวางแผน ยังไม่มี หลายเรื่องก็ยังไม่มีเจ้าภาพในการกากับการ ถ้าจะให้ดี ก็ควรกาหนดให้เป็น รูปธรรม