SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  7
Télécharger pour lire hors ligne
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
2
ปาฐกถาแสดงไว้ที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ วันที่ 17 ธันวาคม 2559 ในมหกรรม "เพราะพ่อ
คือแรงบันดาลใจ"
ภาพจากสหประชาชาติ เมื่อคืนวันที่ 28 ตุลาคม ทาให้คนไทยหัวใจพองโต พากันตื่นเต้นดีใจที่
ร.9 ได้รับการยกย่องเป็นผู้นาสาคัญของโลก สิ่งที่พระองค์ทรงคิดและทาเพื่อพสกนิกรของพระองค์นั้น
เป็นที่รับรู้ และชื่นชม จากทุกทวีป ทุกมุมโลก รวมทั้งจากอเมริกา ชาติมหาอานาจอันดับหนึ่ง
ผมตระหนักขึ้นเรื่อยๆ ครับว่า ที่ฝรั่งและนานาชาติเห็นการสวรรคตของพระองค์ท่านเป็นเรื่อง
ใหญ่ระดับโลกเพราะรัชสมัยที่ยืนนานถึง 70 ปี นั้น สะท้อนโลกหรือเคียงคู่กับโลกที่แปรเปลี่ยนชัดเจน
เหลือเกิน น่าจะชัดเจนยิ่งกว่ารัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นใดในโลกหรือชัดเจนยิ่งกว่ายุค
สมัยของประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีของชาติใด
รัชสมัยของพระองค์ท่านนั้น เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลก ในสภาพที่ไทยฟื้นประเทศขึ้นมาอย่าง
บอบช้า และจบลงในที่สุด เมื่อ 13 ตุลาคม 2559 ด้วยความสาเร็จ ในโลกที่ผันแปรยิ่งใหญ่ หักมุม และ
กลับขั้วไปมา เต็มไปด้วยภยันตราย ใครจะคาดล่วงหน้าว่าไทยจะกลายเป็นประเทศสาคัญประเทศหนึ่ง
ของโลก และทั้งโลกจะหันมาชื่นชมไทยและน้อมใจศึกษาบทเรียนจากพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
เมื่อ ธ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สหประชาชาติเองเพิ่งมีอายุไม่กี่
เดือน ไทยเข้าเป็นสมาชิกอันดับที่ 55 ในขณะที่ประเทศเอเชียรวมทั้งเพื่อนบ้านทั้งหมด และประเทศ
ในอัฟริกาส่วนใหญ่ล้วนยังไม่ได้รับเอกราช จึงไม่ทันเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติอย่างไทย
ต้นรัชกาลที่ 9 นั้น ตรงกับการเริ่มต้น "สงครามเย็น" ในโลกพอดี ที่จริง ไม่กี่ปีแรกของรัชกาล
นั้น เรามัวสาละวนเอาตัวรอดจากการเข้าสู่สงครามโลก "ผิดฝ่าย" คือไปประกาศสงครามกับอังกฤษ
ฝรั่งเศสและอเมริกาเสียนี่
ยุทธศาสตร์ของไทยคือโผเข้าสู่อ้อมกอดของสหรัฐ ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทนอังกฤษ ซึ่งสหรัฐก็ช่วย
ไทยเอาไว้ได้พอสมควร จากเงื้อมมือของอังกฤษและฝรั่งเศส
เหตุที่สหรัฐเป็นหัวหน้าค่ายเสรี และความที่ไทยเองนั้นกลัวคอมมิวนิสต์มาแต่ต้น ทาให้ไทยเข้า
สู่สงครามเย็นในฝ่ายสหรัฐ หรือ "ค่ายเสรี"
โดย ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาฯ
2โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
จากเฟสบุค เอนก เหล่าธรรมทัศน์ Anek Laothamatas เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559
3โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่จริงมีอีกทางเลือกหนึ่ง คืออาจเข้ากลุ่ม "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" แต่เราก็ไม่เลือก ด้วยต้องการใช้
พลังอานาจของสหรัฐ และด้วยว่าไทยนั้นไม่คิดว่าตนเป็นดังเช่นชาติ "ตะวันออก" อื่นๆ ที่เคยเป็น
เมืองขึ้นฝรั่ง จึงไม่ถนัดใจที่จะเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" ซึ่งเพิ่งพ้นจากการเป็นอาณา
นิคมมาหยก ๆ
สงครามเย็นระหว่างสองขั้วสองค่ายนามาสู่สงครามสหรัฐ-จีน ในเกาหลีในปี 2493 ต่อด้วย
สงคราม "เดียนเบียนฟู" ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดนามในปี 2497 และต่อด้วยสงครามใหญ่ใน
เวียดนาม ลาว และเขมร ที่สหรัฐส่งทหารหลายหมื่นหลายแสนเข้าไปสู้รบกับขบวนการกู้ชาติกู้เอก-
ราชของค่ายสังคมนิยม
ตอนที่ผมโตเป็นหนุ่ม นี่คือโลกที่เราเห็น เต็มไปด้วยความขัดแย้งรุนแรงและสงคราม ดูไม่มี
วันเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพได้ มีสงครามอยู่รอบบ้าน สงครามที่ใกล้บ้าน และสงครามที่ไม่ไกลจาก
บ้านนัก ระหว่างสองขั้ว-สองค่าย ต่างฝ่ายต่างตรึงกันอยู่ ไม่แพ้ไม่ชนะอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด
สงครามล้วนยืดเยื้อยาวนาน
ตราบจนประธานาธิบดีนิกสัน และ ดร.คิสซิงเจอร์บินไปเยือนจีนในปี 2515 สถานการณ์จึง
เปลี่ยนไป และนามาซึ่งความผันผวนใหญ่ทางยุทธศาสตร์ คือ สหรัฐข้ามค่ายไปหาจีน จีนข้ามขั้วมา
หาสหรัฐ สองชาติร่วมกันต้านทานโซเวียตทุกแห่งในโลก ซึ่งในเวลาต่อมาการสนธิกาลังเช่นนี้จะ
นาไปสู่ความอ่อนล้าของค่ายสังคมนิยม จนที่สุดต้องล่มสลายลงด้วยตนเอง
อะไรคือความ "สาเร็จ" ของไทยในยุคสงครามเย็น? ผมคิดว่าคือการได้รับความช่วยเหลือ
จานวนมากจากสหรัฐในหลายๆ ทางรวมทั้งทางเศรษฐกิจ ผ่านการใช้จ่ายของฐานทัพทุกภาคและ
จากทหารสหรัฐหลายหมื่นคนทั่วประเทศ แม้การสร้างถนนสมัยใหม่ฝ่าดงพญาเย็นเข้าไปสู่ภาค
อีสานนั้น ก็ต้องอาศัยงบประมาณและขอรับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากสหรัฐ
ทว่า ประเด็นสาคัญที่ขอย้าก็ คือ ไทยนั้นยับยั้งชั่งใจได้ ไม่ถลาลึก หรือไม่กระโจนเข้าสู่
สงครามเต็มตัวโจ่งแจ้ง จึงไม่ได้เสียหายจากสงครามนัก ต่างจากเวียดนาม ลาว และเขมร ซึ่งสูญเสีย
มหาศาลหลายสิบปีต่อเนื่อง
ไทยเรากลายเป็นชาติที่วัฒนาสถาพรขึ้นมาได้ก็ด้วยมีสันติภาพอันยืนยาวด้วย ประเทศจะ
จาเริญได้นั้นจะมีแต่เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ หรือ ท่องเที่ยวที่ดีเท่านั้น ย่อมมิได้ จะอาศัยเพียง
สังคมที่กลมเกลียวเท่านั้น ก็ย่อมไม่พอ หรือจะมีแต่วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง อ่อนพลิ้วและงดงามเท่านั้น
ก็ไม่เพียงพอ หากยังต้องมีสันติภาพที่ต่อเนื่องและยาวนานอีกด้วย
สันติภาพจากปี 2489 จนถึงปี 2514 อันเป็นปีที่เราเฉลิมฉลอง 25 ปีแห่งรัชสมัย ร 9 นั้นเอง
ที่ทาให้เศรษฐกิจที่รับเอาการลงทุนจานวนมากจากญี่ปุ่น อเมริกา และประเทศตะวันตกอื่นๆ ไว้แล้ว
เติบใหญ่พัฒนาล้าหน้าประเทศเพื่อนบ้านใดๆ ไปมากโข เวียดนาม-ลาว-เขมร ยังจมปลักอยู่ใน
สงคราม
4โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
จากปี 2515 อันเป็นปีที่ประธานาธิบดีนิกสันไปเยือนจีน จนถึงปี 2522 ที่จีนเข้าทาสงคราม
"สั่งสอน" เวียดนาม และสนับสนุนเขมรแดงผ่านไทย ก็เป็นช่วงเวลาสาคัญอึกช่วงหนึ่ง ในช่วงนี้ไทย
เราพลิกกลับมาเป็นมิตรกับจีนได้สาเร็จ สงครามในกัมพูชาครั้งใหม่ ที่ไทยกังวลใจที่สุด เริ่มจากปี
2522 มาจบลงได้ในปี 2531-32 เดชะบุญญาบารมีของล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ปกเกล้าไทยพ้นรอด
ปลอดภัยจากสงครามเย็น และผ่านพ้นจากสงครามอินโดจีนครั้งที่สามหรือสงครามเวียดนามบุกเข้า
ยึดกัมพูชามาได้ เราตรึงเวียดนามอันเป็นกองกาลังชั้นแนวหน้าของโลกไว้ได้จริงที่ชายแดนไทย-
กัมพูชานั่นเอง
ในช่วงนั้นเองในระดับโลก นี่คือช่วงที่ "กาแพงเบอร์ลิน" ล่ม ต่อด้วยช่วงที่โซเวียตล่ม ซึ่ง
ส่งผลต่อลงมาสู่ระดับภูมิภาคเอเชียอาคเณย์ กดดันบีบคั้นให้เวียดนามจาต้องถอนทัพออกจาก
กัมพูชาในที่สุด
เป็นอันว่า ภายใน 45 ปี ในรัชกาลที่ 9 ราวกับเรื่องมหัศจรรย์ โลกเราหมดจากสองขั้วสอง
ค่าย พลันเปลี่ยนไปสู่ยุค "โลกาภิวัตน์ " ที่หมายความเป็นหลักว่าโลกทั้งใบกลับกลายเป็นโลกใบ
เดียวกันหมด โลกที่มีสหรัฐเป็นมหาอานาจสูงสุดของโลกชาติเดียว
จากต้นถึงกลางรัชกาล พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้าน เยือน
สหรัฐอเมริกา เยือนยุโรป สมานสามัคคีกับมิตรประเทศและพันธมิตรทั้งหลาย การเสด็จเยือน
นิวยอร์คนั้นช่างตระการตา ยิ่งใหญ่ ประทับอยู่ท่ามกลางมหาชนสองข้างทาง ทรงโบกพระหัตถ์อยู่ใน
รถพระที่นั่งเปิดประทุน มีเสียงปรบมือ เสียงเปล่งถวายพระพร มีสายรุ้งงดงามหลากสี โปรยปรายลง
มาจากตึกสูง เป็นอะไรที่เกิดขึ้นน้อยครั้งมากในนิวยอร์ค ผมอยู่ที่นั่นห้าปีไม่เคยเห็นสหรัฐต้อนรับ
ประมุขประเทศใดยิ่งใหญ่เท่านั้นอีกเลย
ในช่วงปี 2522-2532 เรายังได้เห็นพระองค์ท่านทรงต้อนรับผู้นาจีนบ่อยครั้ง เช่น เติ้งเสี่ยว
ผิง ผู้นาสูงสุดของจีน ประธานาธิบดีเย่เจี้ยนอิง และ หลี่เซียนเนี่ยน สุภาพบุรุษเหล่านี้ล้วนอยู่ในวัย
แปดสิบเศษ ท่านต้องเดินทางมาเยือนไทยหลายครั้งทีเดียว เราได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เสด็จประคองผู้นาสูงวัยเหล่านั้นขึ้นลงบันใดเครื่องบิน ซึ่ง จีน-ไทย ในขณะนั้น พยายามดาเนิน
นโยบายที่จะนาเอาอาเซียนทั้งมวลและสหประชาชาติด้วย ไปต้านเวียดนามให้หยุดอยู่แค่ชายแดน
ไทยให้จงได้
ในหลวง ร.9 ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านเติ้ง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงเล่า
พระราชทานให้ฟังว่า ในหลวงทรงถามเติ้งว่า "เขาว่าเขมรแดงนั้นโหดร้ายรุนแรงกับประชาชน
ตนเองจริงหรือไม่? "เติ้งเงียบพักหนึ่งและกราบบังคมทูลอย่างแข็งขันว่าตนจะสืบค้นเรื่องนี้อย่าง
จริงจัง และถ้าเป็นจริงก็จะจัดการไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
4
5
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ในช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชกาล โลกที่เปลี่ยนมากอย่างน่าพิศวงมาถึง 60 ปีแล้ว ก็ยังเปลี่ยน
ต่อไปอีก มากขึ้นอีก น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นอีก กล่าวคือ "ตะวันตก" ทั้งมวลรวมทั้งสหรัฐนั้น แม้ว่ายังเป็น
ผู้นาของโลก แต่ จีนและ "ตะวันออก" หลายชาติในหลายทวีป เติบใหญ่และรุ่งเรืองขึ้นมา ซึงผมเรียก
โลกยุคนี้ว่ามี "บูรพาภิวัตน์" หมายถึงว่าด้าน "ตะวันออก" ของโลกได้พัฒนาขึ้นมารวดเร็ว จนสามารถ
เทียบเคียงหรือท้าทายกับ "ตะวันตก" และญี่ปุ่นได้ไม่น้อย
น่างงงวย และน่ายินดียิ่ง โลกสิบปีมานี้ไม่ได้อยู่ใต้การครอบงาหรือบงการของ "ตะวันตก" แต่
ฝ่ายเดียวอีกแล้ว เมื่อต้นรัชสมัยนั้น ไม่ว่าค่าย "เสรี" หรือค่าย "สังคมนิยม" ล้วนมีฝรั่งหรือตะวันตกเป็น
ผู้นาทั้งสิ้น ส่วน ดินแดน "ตะวันออก" นั้น ล้วนยากจนล้าหลังอดอยากไม่น้อย เป็นเพียงผู้ตาม ลูกศิษย์
ลูกไล่ หรือ บริษัท บริวาร ของฝรั่งเท่านั้น
ในรัชกาลที่เพิ่งจะจบไปอย่างยิ่งใหญ่นั้น "สงครามเย็น" สิ้นสุดลงไปอย่างน่าทึ่ง การผูกขาด
ครอบงาโลกโดยมหาอานาจ "ตะวันตก" ลดลงไปมาก ฝ่าย "ตะวันออก" กลับเข้มแข็งรุ่งเรืองขึ้น อย่าง
แปลกประหลาด ฝ่าย"ตะวันตก"และ "ตะวันออก" ต่างมีศักดิ์ศรีและต่างทัดเทียมกันขึ้น ผสมกลมกลืน
กันและเรียนรู้จากกันและกันได้มากขึ้น
ในพิธีที่สหประชาชาติพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศนั้น แม้ทรงเป็นพระประมุขของ "ตะวันออก"
แต่ ทรงได้รับการยกย่องสรรเสริญไม่น้อยไปกว่าประมุขหรือผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของ "ตะวันตก"เลย
ภาพสะท้อนของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงกลับกลายไปมากมาย ด้วยการมองผ่านรัชสมัยของพระ
เจ้าอยู่หัวองค์ที่แล้วนั้น ยากมากที่จะเอาไปเทียบกับยุคสมัยของประมุขหรือผู้นาหรือพระมหากษัตริย์
พระองค์ใดในโลกได้ ถ้าพอจะเทียบได้อาจเทียบกับควีนอลิซาเบทของสหราชอาณาจักร
รัชสมัยอันยาวนานเช่นกัน ของควีนองค์นี้ เป็นประจักษ์พยานของการเปลี่ยนประเทศสหราช-
อาณาจักรจากการเป็นมหาอานาจอันดับหนึ่งของโลก ลดลงไปกลายเป็นมหาอานาจอันดับห้าหรือหก
อย่างสงบสันติ และพสกนิกรยังมีความสุขและยังพอใจในชีวิตของตน และชีวิตของประเทศที่เปลี่ยนไป
มหาศาลเช่นกัน แต่ เปลี่ยนไปในทางลบ ลดความสาคัญลง เป็นหลัก ครับ
ส่วน 70 ปี ของรัชกาลที่ 9 นั้น เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของประเทศ "ตะวันออก" ประเทศ
หนึ่ง ที่ค่อนข้างยากจนและล้าหลัง แต่ได้แปรเปลี่ยนตนเอง กลายเป็นประเทศสาคัญของเอเชีย
เปลี่ยนไปในทางบวก เพิ่มพูน ความสาคัญขึ้น ครับ
ทุกวันนี้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน และอาเซียนที่ไทยมี
ส่วนสาคัญในการสร้างขึ้นมา กลายเป็นภูมิภาคที่สาคัญของโลก เชื่อมโยงเข้ากับจีน-อินเดีย มหาอานาจ
เศรษฐกิจใหม่ของโลกได้อย่างง่ายดาย
6
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่สาคัญยิ่งอีกอย่างคือในตอนท้ายสุด คือในทศวรรษที่เจ็ด ของรัชสมัย ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี
กับทุกฝ่าย ทุกกลุ่มทุกมหาอานาจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป และรัสเซีย หรือเวียดนามกับ
กัมพูชาเองก็ตาม สองชาตินี้กลายเป็นมิตรดีกับไทย และเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ
ประเทศไทยเริ่มต้นรัชกาลที่เก้าด้วยการเข้าเป็นฝักฝ่ายกับ"ค่ายเสรี" ในสงครามเย็น แต่เมื่อจบ
รัชกาลกลายเป็นมิตรกับทุกฝ่ายทุกกลุ่ม เมื่อต้นรัชสมัย เป็นชาติพันธมิตรสหรัฐอเมริกา เมื่อปลาย
รัชกาลเริ่มเป็นชาติอานาจในระดับกลาง มีอิสระเสรีและมีเส้นทางเดินด้วยตนเอง พอสมควร
แน่นอน ในหลวง ร.9 มิได้ทรงดาเนินวิเทโศบายด้วยพระองค์เอง พระองค์ไม่ทรง "ปกครอง"
บ้านเมืองแบบพระมหากษัตริย์แห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ทรง "ครองแผ่นดิน" อย่างกษัตริย์ใต้
รัฐธรรมนูญ ปกเกล้าปกกระหม่อม รัฐบาลและประชาชน "อย่างไทยๆ "
ในทางการทูตและการต่างประเทศนั้นทรงสนับสนุน ตักเตือน และแนะนา รัฐบาล จนรักษาชาติ
เอาไว้ได้ ตั้งแต่ยุคสงครามโลกจบ แต่ไทยไม่จบเห่ ไม่ยอมแพ้ ผ่านยุคสงครามเย็นมาได้ อยู่รอด
ปลอดภัยในช่วง 2522-2532 ในสงครามเวียดนามยึดกัมพูชา ทั้งยังประสบความสาเร็จในการผันตัวเอง
มาเป็นมิตรดียิ่งกับจีน และหลังปี 2532 ไปแล้ว ยังกลับมาเป็นมิตรกับเวียดนามและกับเขมรที่เรา
ร่วมกับจีนรบต่อต้านมาก่อน
พระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงนาพาชาติไทยไปคบหากับมหาอานาจ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ อย่างพอดี
พอเหมาะ บัวไม่ให้ช้าน้าไม่ให้ขุ่น ใช้ประโยชน์และรับแรงหนุนได้หมดจากจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป
หรือ อเมริกา ประเทศไทยวันนี้ยัง "หลั่นล้า" ร่มเย็น และปลอดภัยต่อไปในโลกที่ปั่นป่วนแต่ก็
เปลี่ยนแปลงใหญ่อย่างมีนัยสาคัญ คู่ไปด้วย อย่างรุนแรงและไม่หยุดยั้งด้วย
ทั้งหมดนั้น คือ 70 ปีของรัชสมัย และ 70 ปีของโลก ครับ
ผมขอเชิญชวนพวกเราทุกท่านสงบนิ่ง ระลึก ย้อนคิด ย้อนพินิจผลงานในรัชสมัยที่มีต่อการ
ต่างประเทศ ต่อเพื่อนบ้าน ต่อภูมิภาค ต่อโลก พวกเรานั้น "เย็นศิระเพราะพระบริบาล" จริงๆ และ "ผล
พระคุณ ธ รักษา" นั้นก็เกิดขึ้นจริง และ "ปวงประชาเป็นสุขศานต์" นั้นก็ไม่มีใครปฏิเสธได้
ขอน้อมราลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทาให้ประเทศอยู่รอดปลอดภัยและ
เจริญก้าวหน้ามาได้
ที่อยู่ติดต่อ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064
7
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประธานสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้เขียน : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
จัดรูปเล่ม : น.ส.ปลายฟ้า บุนนาค
ปีที่พิมพ์: ธันวาคม 2559
สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com

Contenu connexe

En vedette

En vedette (15)

ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่ายุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
ยุทธศาสตร์จีนต่อเอเชียใต้และเอเชียกลาง : ปราการอันว่างเปล่า
 
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
OBOR Monitor I สิงหาคม 2559
 
ทำอย่างไรให้อาหารเพื่อสุขภาพราคาถูกลง?
ทำอย่างไรให้อาหารเพื่อสุขภาพราคาถูกลง?ทำอย่างไรให้อาหารเพื่อสุขภาพราคาถูกลง?
ทำอย่างไรให้อาหารเพื่อสุขภาพราคาถูกลง?
 
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
 
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมืองเบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
 
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทยแนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
 
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
 
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
 
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
 

Plus de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก

  • 1. ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
  • 2. 2 ปาฐกถาแสดงไว้ที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ วันที่ 17 ธันวาคม 2559 ในมหกรรม "เพราะพ่อ คือแรงบันดาลใจ" ภาพจากสหประชาชาติ เมื่อคืนวันที่ 28 ตุลาคม ทาให้คนไทยหัวใจพองโต พากันตื่นเต้นดีใจที่ ร.9 ได้รับการยกย่องเป็นผู้นาสาคัญของโลก สิ่งที่พระองค์ทรงคิดและทาเพื่อพสกนิกรของพระองค์นั้น เป็นที่รับรู้ และชื่นชม จากทุกทวีป ทุกมุมโลก รวมทั้งจากอเมริกา ชาติมหาอานาจอันดับหนึ่ง ผมตระหนักขึ้นเรื่อยๆ ครับว่า ที่ฝรั่งและนานาชาติเห็นการสวรรคตของพระองค์ท่านเป็นเรื่อง ใหญ่ระดับโลกเพราะรัชสมัยที่ยืนนานถึง 70 ปี นั้น สะท้อนโลกหรือเคียงคู่กับโลกที่แปรเปลี่ยนชัดเจน เหลือเกิน น่าจะชัดเจนยิ่งกว่ารัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นใดในโลกหรือชัดเจนยิ่งกว่ายุค สมัยของประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีของชาติใด รัชสมัยของพระองค์ท่านนั้น เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลก ในสภาพที่ไทยฟื้นประเทศขึ้นมาอย่าง บอบช้า และจบลงในที่สุด เมื่อ 13 ตุลาคม 2559 ด้วยความสาเร็จ ในโลกที่ผันแปรยิ่งใหญ่ หักมุม และ กลับขั้วไปมา เต็มไปด้วยภยันตราย ใครจะคาดล่วงหน้าว่าไทยจะกลายเป็นประเทศสาคัญประเทศหนึ่ง ของโลก และทั้งโลกจะหันมาชื่นชมไทยและน้อมใจศึกษาบทเรียนจากพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เมื่อ ธ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สหประชาชาติเองเพิ่งมีอายุไม่กี่ เดือน ไทยเข้าเป็นสมาชิกอันดับที่ 55 ในขณะที่ประเทศเอเชียรวมทั้งเพื่อนบ้านทั้งหมด และประเทศ ในอัฟริกาส่วนใหญ่ล้วนยังไม่ได้รับเอกราช จึงไม่ทันเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติอย่างไทย ต้นรัชกาลที่ 9 นั้น ตรงกับการเริ่มต้น "สงครามเย็น" ในโลกพอดี ที่จริง ไม่กี่ปีแรกของรัชกาล นั้น เรามัวสาละวนเอาตัวรอดจากการเข้าสู่สงครามโลก "ผิดฝ่าย" คือไปประกาศสงครามกับอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกาเสียนี่ ยุทธศาสตร์ของไทยคือโผเข้าสู่อ้อมกอดของสหรัฐ ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทนอังกฤษ ซึ่งสหรัฐก็ช่วย ไทยเอาไว้ได้พอสมควร จากเงื้อมมือของอังกฤษและฝรั่งเศส เหตุที่สหรัฐเป็นหัวหน้าค่ายเสรี และความที่ไทยเองนั้นกลัวคอมมิวนิสต์มาแต่ต้น ทาให้ไทยเข้า สู่สงครามเย็นในฝ่ายสหรัฐ หรือ "ค่ายเสรี" โดย ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาฯ 2โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก จากเฟสบุค เอนก เหล่าธรรมทัศน์ Anek Laothamatas เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559
  • 3. 3โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จริงมีอีกทางเลือกหนึ่ง คืออาจเข้ากลุ่ม "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" แต่เราก็ไม่เลือก ด้วยต้องการใช้ พลังอานาจของสหรัฐ และด้วยว่าไทยนั้นไม่คิดว่าตนเป็นดังเช่นชาติ "ตะวันออก" อื่นๆ ที่เคยเป็น เมืองขึ้นฝรั่ง จึงไม่ถนัดใจที่จะเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" ซึ่งเพิ่งพ้นจากการเป็นอาณา นิคมมาหยก ๆ สงครามเย็นระหว่างสองขั้วสองค่ายนามาสู่สงครามสหรัฐ-จีน ในเกาหลีในปี 2493 ต่อด้วย สงคราม "เดียนเบียนฟู" ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดนามในปี 2497 และต่อด้วยสงครามใหญ่ใน เวียดนาม ลาว และเขมร ที่สหรัฐส่งทหารหลายหมื่นหลายแสนเข้าไปสู้รบกับขบวนการกู้ชาติกู้เอก- ราชของค่ายสังคมนิยม ตอนที่ผมโตเป็นหนุ่ม นี่คือโลกที่เราเห็น เต็มไปด้วยความขัดแย้งรุนแรงและสงคราม ดูไม่มี วันเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพได้ มีสงครามอยู่รอบบ้าน สงครามที่ใกล้บ้าน และสงครามที่ไม่ไกลจาก บ้านนัก ระหว่างสองขั้ว-สองค่าย ต่างฝ่ายต่างตรึงกันอยู่ ไม่แพ้ไม่ชนะอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด สงครามล้วนยืดเยื้อยาวนาน ตราบจนประธานาธิบดีนิกสัน และ ดร.คิสซิงเจอร์บินไปเยือนจีนในปี 2515 สถานการณ์จึง เปลี่ยนไป และนามาซึ่งความผันผวนใหญ่ทางยุทธศาสตร์ คือ สหรัฐข้ามค่ายไปหาจีน จีนข้ามขั้วมา หาสหรัฐ สองชาติร่วมกันต้านทานโซเวียตทุกแห่งในโลก ซึ่งในเวลาต่อมาการสนธิกาลังเช่นนี้จะ นาไปสู่ความอ่อนล้าของค่ายสังคมนิยม จนที่สุดต้องล่มสลายลงด้วยตนเอง อะไรคือความ "สาเร็จ" ของไทยในยุคสงครามเย็น? ผมคิดว่าคือการได้รับความช่วยเหลือ จานวนมากจากสหรัฐในหลายๆ ทางรวมทั้งทางเศรษฐกิจ ผ่านการใช้จ่ายของฐานทัพทุกภาคและ จากทหารสหรัฐหลายหมื่นคนทั่วประเทศ แม้การสร้างถนนสมัยใหม่ฝ่าดงพญาเย็นเข้าไปสู่ภาค อีสานนั้น ก็ต้องอาศัยงบประมาณและขอรับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากสหรัฐ ทว่า ประเด็นสาคัญที่ขอย้าก็ คือ ไทยนั้นยับยั้งชั่งใจได้ ไม่ถลาลึก หรือไม่กระโจนเข้าสู่ สงครามเต็มตัวโจ่งแจ้ง จึงไม่ได้เสียหายจากสงครามนัก ต่างจากเวียดนาม ลาว และเขมร ซึ่งสูญเสีย มหาศาลหลายสิบปีต่อเนื่อง ไทยเรากลายเป็นชาติที่วัฒนาสถาพรขึ้นมาได้ก็ด้วยมีสันติภาพอันยืนยาวด้วย ประเทศจะ จาเริญได้นั้นจะมีแต่เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ หรือ ท่องเที่ยวที่ดีเท่านั้น ย่อมมิได้ จะอาศัยเพียง สังคมที่กลมเกลียวเท่านั้น ก็ย่อมไม่พอ หรือจะมีแต่วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง อ่อนพลิ้วและงดงามเท่านั้น ก็ไม่เพียงพอ หากยังต้องมีสันติภาพที่ต่อเนื่องและยาวนานอีกด้วย สันติภาพจากปี 2489 จนถึงปี 2514 อันเป็นปีที่เราเฉลิมฉลอง 25 ปีแห่งรัชสมัย ร 9 นั้นเอง ที่ทาให้เศรษฐกิจที่รับเอาการลงทุนจานวนมากจากญี่ปุ่น อเมริกา และประเทศตะวันตกอื่นๆ ไว้แล้ว เติบใหญ่พัฒนาล้าหน้าประเทศเพื่อนบ้านใดๆ ไปมากโข เวียดนาม-ลาว-เขมร ยังจมปลักอยู่ใน สงคราม
  • 4. 4โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต จากปี 2515 อันเป็นปีที่ประธานาธิบดีนิกสันไปเยือนจีน จนถึงปี 2522 ที่จีนเข้าทาสงคราม "สั่งสอน" เวียดนาม และสนับสนุนเขมรแดงผ่านไทย ก็เป็นช่วงเวลาสาคัญอึกช่วงหนึ่ง ในช่วงนี้ไทย เราพลิกกลับมาเป็นมิตรกับจีนได้สาเร็จ สงครามในกัมพูชาครั้งใหม่ ที่ไทยกังวลใจที่สุด เริ่มจากปี 2522 มาจบลงได้ในปี 2531-32 เดชะบุญญาบารมีของล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ปกเกล้าไทยพ้นรอด ปลอดภัยจากสงครามเย็น และผ่านพ้นจากสงครามอินโดจีนครั้งที่สามหรือสงครามเวียดนามบุกเข้า ยึดกัมพูชามาได้ เราตรึงเวียดนามอันเป็นกองกาลังชั้นแนวหน้าของโลกไว้ได้จริงที่ชายแดนไทย- กัมพูชานั่นเอง ในช่วงนั้นเองในระดับโลก นี่คือช่วงที่ "กาแพงเบอร์ลิน" ล่ม ต่อด้วยช่วงที่โซเวียตล่ม ซึ่ง ส่งผลต่อลงมาสู่ระดับภูมิภาคเอเชียอาคเณย์ กดดันบีบคั้นให้เวียดนามจาต้องถอนทัพออกจาก กัมพูชาในที่สุด เป็นอันว่า ภายใน 45 ปี ในรัชกาลที่ 9 ราวกับเรื่องมหัศจรรย์ โลกเราหมดจากสองขั้วสอง ค่าย พลันเปลี่ยนไปสู่ยุค "โลกาภิวัตน์ " ที่หมายความเป็นหลักว่าโลกทั้งใบกลับกลายเป็นโลกใบ เดียวกันหมด โลกที่มีสหรัฐเป็นมหาอานาจสูงสุดของโลกชาติเดียว จากต้นถึงกลางรัชกาล พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้าน เยือน สหรัฐอเมริกา เยือนยุโรป สมานสามัคคีกับมิตรประเทศและพันธมิตรทั้งหลาย การเสด็จเยือน นิวยอร์คนั้นช่างตระการตา ยิ่งใหญ่ ประทับอยู่ท่ามกลางมหาชนสองข้างทาง ทรงโบกพระหัตถ์อยู่ใน รถพระที่นั่งเปิดประทุน มีเสียงปรบมือ เสียงเปล่งถวายพระพร มีสายรุ้งงดงามหลากสี โปรยปรายลง มาจากตึกสูง เป็นอะไรที่เกิดขึ้นน้อยครั้งมากในนิวยอร์ค ผมอยู่ที่นั่นห้าปีไม่เคยเห็นสหรัฐต้อนรับ ประมุขประเทศใดยิ่งใหญ่เท่านั้นอีกเลย ในช่วงปี 2522-2532 เรายังได้เห็นพระองค์ท่านทรงต้อนรับผู้นาจีนบ่อยครั้ง เช่น เติ้งเสี่ยว ผิง ผู้นาสูงสุดของจีน ประธานาธิบดีเย่เจี้ยนอิง และ หลี่เซียนเนี่ยน สุภาพบุรุษเหล่านี้ล้วนอยู่ในวัย แปดสิบเศษ ท่านต้องเดินทางมาเยือนไทยหลายครั้งทีเดียว เราได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จประคองผู้นาสูงวัยเหล่านั้นขึ้นลงบันใดเครื่องบิน ซึ่ง จีน-ไทย ในขณะนั้น พยายามดาเนิน นโยบายที่จะนาเอาอาเซียนทั้งมวลและสหประชาชาติด้วย ไปต้านเวียดนามให้หยุดอยู่แค่ชายแดน ไทยให้จงได้ ในหลวง ร.9 ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านเติ้ง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงเล่า พระราชทานให้ฟังว่า ในหลวงทรงถามเติ้งว่า "เขาว่าเขมรแดงนั้นโหดร้ายรุนแรงกับประชาชน ตนเองจริงหรือไม่? "เติ้งเงียบพักหนึ่งและกราบบังคมทูลอย่างแข็งขันว่าตนจะสืบค้นเรื่องนี้อย่าง จริงจัง และถ้าเป็นจริงก็จะจัดการไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 4
  • 5. 5 โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชกาล โลกที่เปลี่ยนมากอย่างน่าพิศวงมาถึง 60 ปีแล้ว ก็ยังเปลี่ยน ต่อไปอีก มากขึ้นอีก น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นอีก กล่าวคือ "ตะวันตก" ทั้งมวลรวมทั้งสหรัฐนั้น แม้ว่ายังเป็น ผู้นาของโลก แต่ จีนและ "ตะวันออก" หลายชาติในหลายทวีป เติบใหญ่และรุ่งเรืองขึ้นมา ซึงผมเรียก โลกยุคนี้ว่ามี "บูรพาภิวัตน์" หมายถึงว่าด้าน "ตะวันออก" ของโลกได้พัฒนาขึ้นมารวดเร็ว จนสามารถ เทียบเคียงหรือท้าทายกับ "ตะวันตก" และญี่ปุ่นได้ไม่น้อย น่างงงวย และน่ายินดียิ่ง โลกสิบปีมานี้ไม่ได้อยู่ใต้การครอบงาหรือบงการของ "ตะวันตก" แต่ ฝ่ายเดียวอีกแล้ว เมื่อต้นรัชสมัยนั้น ไม่ว่าค่าย "เสรี" หรือค่าย "สังคมนิยม" ล้วนมีฝรั่งหรือตะวันตกเป็น ผู้นาทั้งสิ้น ส่วน ดินแดน "ตะวันออก" นั้น ล้วนยากจนล้าหลังอดอยากไม่น้อย เป็นเพียงผู้ตาม ลูกศิษย์ ลูกไล่ หรือ บริษัท บริวาร ของฝรั่งเท่านั้น ในรัชกาลที่เพิ่งจะจบไปอย่างยิ่งใหญ่นั้น "สงครามเย็น" สิ้นสุดลงไปอย่างน่าทึ่ง การผูกขาด ครอบงาโลกโดยมหาอานาจ "ตะวันตก" ลดลงไปมาก ฝ่าย "ตะวันออก" กลับเข้มแข็งรุ่งเรืองขึ้น อย่าง แปลกประหลาด ฝ่าย"ตะวันตก"และ "ตะวันออก" ต่างมีศักดิ์ศรีและต่างทัดเทียมกันขึ้น ผสมกลมกลืน กันและเรียนรู้จากกันและกันได้มากขึ้น ในพิธีที่สหประชาชาติพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศนั้น แม้ทรงเป็นพระประมุขของ "ตะวันออก" แต่ ทรงได้รับการยกย่องสรรเสริญไม่น้อยไปกว่าประมุขหรือผู้นาที่ยิ่งใหญ่ของ "ตะวันตก"เลย ภาพสะท้อนของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงกลับกลายไปมากมาย ด้วยการมองผ่านรัชสมัยของพระ เจ้าอยู่หัวองค์ที่แล้วนั้น ยากมากที่จะเอาไปเทียบกับยุคสมัยของประมุขหรือผู้นาหรือพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดในโลกได้ ถ้าพอจะเทียบได้อาจเทียบกับควีนอลิซาเบทของสหราชอาณาจักร รัชสมัยอันยาวนานเช่นกัน ของควีนองค์นี้ เป็นประจักษ์พยานของการเปลี่ยนประเทศสหราช- อาณาจักรจากการเป็นมหาอานาจอันดับหนึ่งของโลก ลดลงไปกลายเป็นมหาอานาจอันดับห้าหรือหก อย่างสงบสันติ และพสกนิกรยังมีความสุขและยังพอใจในชีวิตของตน และชีวิตของประเทศที่เปลี่ยนไป มหาศาลเช่นกัน แต่ เปลี่ยนไปในทางลบ ลดความสาคัญลง เป็นหลัก ครับ ส่วน 70 ปี ของรัชกาลที่ 9 นั้น เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของประเทศ "ตะวันออก" ประเทศ หนึ่ง ที่ค่อนข้างยากจนและล้าหลัง แต่ได้แปรเปลี่ยนตนเอง กลายเป็นประเทศสาคัญของเอเชีย เปลี่ยนไปในทางบวก เพิ่มพูน ความสาคัญขึ้น ครับ ทุกวันนี้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน และอาเซียนที่ไทยมี ส่วนสาคัญในการสร้างขึ้นมา กลายเป็นภูมิภาคที่สาคัญของโลก เชื่อมโยงเข้ากับจีน-อินเดีย มหาอานาจ เศรษฐกิจใหม่ของโลกได้อย่างง่ายดาย
  • 6. 6 โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่สาคัญยิ่งอีกอย่างคือในตอนท้ายสุด คือในทศวรรษที่เจ็ด ของรัชสมัย ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี กับทุกฝ่าย ทุกกลุ่มทุกมหาอานาจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป และรัสเซีย หรือเวียดนามกับ กัมพูชาเองก็ตาม สองชาตินี้กลายเป็นมิตรดีกับไทย และเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ ประเทศไทยเริ่มต้นรัชกาลที่เก้าด้วยการเข้าเป็นฝักฝ่ายกับ"ค่ายเสรี" ในสงครามเย็น แต่เมื่อจบ รัชกาลกลายเป็นมิตรกับทุกฝ่ายทุกกลุ่ม เมื่อต้นรัชสมัย เป็นชาติพันธมิตรสหรัฐอเมริกา เมื่อปลาย รัชกาลเริ่มเป็นชาติอานาจในระดับกลาง มีอิสระเสรีและมีเส้นทางเดินด้วยตนเอง พอสมควร แน่นอน ในหลวง ร.9 มิได้ทรงดาเนินวิเทโศบายด้วยพระองค์เอง พระองค์ไม่ทรง "ปกครอง" บ้านเมืองแบบพระมหากษัตริย์แห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ทรง "ครองแผ่นดิน" อย่างกษัตริย์ใต้ รัฐธรรมนูญ ปกเกล้าปกกระหม่อม รัฐบาลและประชาชน "อย่างไทยๆ " ในทางการทูตและการต่างประเทศนั้นทรงสนับสนุน ตักเตือน และแนะนา รัฐบาล จนรักษาชาติ เอาไว้ได้ ตั้งแต่ยุคสงครามโลกจบ แต่ไทยไม่จบเห่ ไม่ยอมแพ้ ผ่านยุคสงครามเย็นมาได้ อยู่รอด ปลอดภัยในช่วง 2522-2532 ในสงครามเวียดนามยึดกัมพูชา ทั้งยังประสบความสาเร็จในการผันตัวเอง มาเป็นมิตรดียิ่งกับจีน และหลังปี 2532 ไปแล้ว ยังกลับมาเป็นมิตรกับเวียดนามและกับเขมรที่เรา ร่วมกับจีนรบต่อต้านมาก่อน พระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงนาพาชาติไทยไปคบหากับมหาอานาจ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ อย่างพอดี พอเหมาะ บัวไม่ให้ช้าน้าไม่ให้ขุ่น ใช้ประโยชน์และรับแรงหนุนได้หมดจากจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป หรือ อเมริกา ประเทศไทยวันนี้ยัง "หลั่นล้า" ร่มเย็น และปลอดภัยต่อไปในโลกที่ปั่นป่วนแต่ก็ เปลี่ยนแปลงใหญ่อย่างมีนัยสาคัญ คู่ไปด้วย อย่างรุนแรงและไม่หยุดยั้งด้วย ทั้งหมดนั้น คือ 70 ปีของรัชสมัย และ 70 ปีของโลก ครับ ผมขอเชิญชวนพวกเราทุกท่านสงบนิ่ง ระลึก ย้อนคิด ย้อนพินิจผลงานในรัชสมัยที่มีต่อการ ต่างประเทศ ต่อเพื่อนบ้าน ต่อภูมิภาค ต่อโลก พวกเรานั้น "เย็นศิระเพราะพระบริบาล" จริงๆ และ "ผล พระคุณ ธ รักษา" นั้นก็เกิดขึ้นจริง และ "ปวงประชาเป็นสุขศานต์" นั้นก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ ขอน้อมราลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทาให้ประเทศอยู่รอดปลอดภัยและ เจริญก้าวหน้ามาได้
  • 7. ที่อยู่ติดต่อ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064 7 โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้เขียน : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จัดรูปเล่ม : น.ส.ปลายฟ้า บุนนาค ปีที่พิมพ์: ธันวาคม 2559 สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com