SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  8
Télécharger pour lire hors ligne
1
นำเสนอในเวทีวิชำกำรเรื่อง “นำเสนอควำมก้ำวหน้ำงำนวิจัยภำยใต้โครงกำรคลังปัญญำฯ” จัดโดยโครงกำรคลังปัญญำเพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทย
ในยุคบูรพำภิวัตน์ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถำบันสร้ำงสรรค์ปัญญำสำธำรณะ โดยกำรสนับสนุนของสำนักงำนกองทุน
สนับสนุนกำรสร้ำงเสริมสุขภำพ (สสส.) ในวันอำทิตย์ที่ 28 ธันวำคม 2557 ณ ห้องประชุมลีลำวดี โรงแรมรำมำกำร์เด้นส์ กรุงเทพฯ
รายงานความก้าวหน้า
เรื่อง แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต
(Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทย
ดร.วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
อาจารย์ประจาสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของโลก ที่ดูจะเป็นไปในอัตราเร่งมากขึ้นทุกที
หาใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อมองโลกในลักษณะขององค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียว (holism) หรือสังคมโลกที่
เป็นผลรวม (wholism) ของทั้งความเหมือน ความคล้ายคลึง และ/หรือ ความแตกต่างหลากหลายในทุก
มิติและหลากระดับ ที่มักกระตุ้นให้ผู้คนเลือกมองอยู่บ่อยครั้งในลักษณะที่หากไม่เน้นไปที่ขัดแย้งก็เน้นไป
ที่ความร่วมมือ ราวกับภาพความสัมพันธ์ทั้งสองนั้นเป็นไปแบบสามารถแยกขาดออกจากกัน ในลักษณะ
ที่ใครหลายคนอาจเข้าใจว่า หากมีความร่วมมือย่อมไร้ซึ่งความขัดแย้ง และเป็นไปในลักษณะตรงข้าม
ด้วยเช่นกัน แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในหลากสังคม หลายพื้นที่ (ซึ่งรวมถึงสังคมไทย) ได้ช่วย
ให้เราเห็นว่า หาได้เป็นความสัมพันธ์ด้านเดียวเช่นนั้นเสมอไป บ่อยครั้งที่การคาดการณ์ถึงอนาคต
ร่วมกัน อาจแปลงความขัดแย้งให้กลายเป็นความร่วมมือ หรืออาจจะเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม ทั้งนี้
ย่อมขึ้นอยู่กับสมมุติฐานในการคิด โดยเฉพาะเมื่อคาดการณ์ถึงผลประโยชน์ในอนาคต ท่ามกลางความ
กังวลต่อความจากัดของทรัพยากร ตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงทรัพยากรทางสังคม และ
ความสามารถในการแข่งขัน
พื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ ด้วยความเข้าใจถึงความเป็นปัจจุบัน อันเชื่อมโยงกับรากฐานความ
เป็นไปในอดีต และการคาดการณ์โดยอาศัยข้อมูลและหลักการที่เป็นระบบนี่เอง ที่จะทาให้การวาง
แนวทางดารงตนตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับสังคม และระดับรัฐ อาจแตกต่างกันออกไป เพื่อไม่ให้ตกเป็น
เหยื่อของความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (อย่างแย่ที่สุด) และ/หรือ เพื่อให้สามารถหยัดยืนอยู่
ได้อย่างมั่นคงและสง่างาม (อย่างดีที่สุด) การศึกษาภาพการคาดการณ์ถึงโลกในอนาคตในหลายแง่มุม
และหลากมิติ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและไม่อาจมองข้าม เพราะการศึกษาคาดการณ์ถึงภาพอนาคต
ดังกล่าว ไม่เพียงอาจช่วยกาหนดกรอบโครงในการวางแนวคิดวิเคราะห์ หากแต่ยังอาจช่วยสร้าง
แบบจาลองทางความคิดที่อาจเป็นพื้นฐานการวางยุทธศาสตร์ของไทยต่อไปในอนาคต เช่นเดียวกับการ
วางแนวทางการดารงชีวิตของปัจเจก
2
อนาคตวิทยา/การศึกษาอนาคต: กรอบความคิดในการศึกษาแนวโน้มโลก
ความพยายามในการสร้างจินตภาพถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ
และการวางแผนดาเนินการต่างๆที่อาจช่วยแผ้วทางให้จินตภาพนั้นๆได้หยั่งราก โดยอาศัยการ
คาดการณ์จากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจต่อความเป็นไปของเรื่องราวที่ดารงอยู่ในปัจจุบันและที่เคย
เกิดขึ้นแล้วในอดีต หาใช่เรื่องแปลกใหม่สาหรับมนุษยชาติ การพยายามสร้างความแน่นอน(ให้เกิดขึ้น
อย่างน้อยในจิตใจ)บนพื้นฐานของความไม่แน่นอนเช่นเหตุการณ์ในอนาคต ยังรวมไปถึงการทานายด้วย
หลากวิธี อาทิ การเพ่งกสิณมองลูกแก้ว (crystal-ball gazing) และการเสี่ยงทายต่างๆ เช่นที่ปรากฏให้
เห็นในหลายวัฒนธรรม ยิ่งความเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ในสังคมเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และ/หรือ
ส่งผลกระทบในวงกว้างมากเท่าใด ความพยายามเช่นนั้นยิ่งเพิ่มพูนแปรผันตามกัน เพื่อหวังจะให้การ
เรียนรู้จากความพยายามนั้นสร้างจินตภาพถึงเส้นทางในอนาคตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีตัวแปรด้าน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จนได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างภาพโลกอนาคต ที่มี
เทคโนโลยีแสดงบทบาทสาคัญในการดารงชีวิตของมนุษย์อย่างชัดเจนมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่
19 เช่นที่ปรากฏในนิยายแห่งโลกอนาคตของ H.G. Well ที่แม้จะก่อข้อถกเถียงกันว่า จินตภาพจากแวด
วงดังกล่าวจะได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาอนาคต (Future Studies) หรือ อนาคต
วิทยา (Futurology) ได้หรือไม่ เพราะพลังจินตนาการอาจไม่ใช่แหล่งกาเนิดเดียวของการศึกษา
ดังกล่าว1 แม้กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็คือ เรื่องราวจากจินตภาพเช่นนั้น กระตุ้นให้เกิดคาถาม
ถึงผลกระทบต่อรูปแบบการดารงชีวิตของมนุษย์ และการตัดสินใจในการเลือกดาเนินแนวทางใน
หลากหลายมิติตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับรัฐ ไปจนถึงระดับระหว่างรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนคาถามสาหรับ
การศึกษาภาพในอนาคต
การพยายามทาความเข้าใจการเกิดขึ้นและความโหดร้ายของมหาสงคราม (the Great War)
หรือที่ต่อมาภายหลังเรียกขานกันว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อหวังสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่าของ
มนุษยชาติ(อย่างน้อยตามระบบคิดของตะวันตก) ไม่เพียงให้กาเนิดการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (International Relations: IR) ในฐานะสาขาวิชาการศึกษาอย่างจริงจังขึ้นที่คณะการเมือง
ระหว่างประเทศ (Department of International Politics) มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวลส์ (University of
Wales) ที่เมืองอาเบอรีสวิธ (Aberystwyth) แต่ยังกระตุ้นให้เกิดการจัดตั้งสถาบันวิจัยในลักษณะของคลัง
ปัญญา (think tanks) เพื่อช่วยกากับให้การดาเนินนโยบายต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวม
ไปถึงการพยายามเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมโลกด้วยความคาดหวังถึงอนาคตที่ดีกว่า
ซึ่งไม่จาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงผ่านมิติการเมืองชั้นสูงเพียงอย่างเดียว การจัดตั้ง Chatham House ตั้งแต่
ค.ศ. 1919 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็นสถาบันหลวงแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Royal Institute
of International Studies: RIIA) ในช่วงกลางทศวรรษ 1920 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้
สถานบันดังกล่าวยังเป็นต้นแบบให้กับการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (Council for Foreign Relations: CFR) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
1
Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from
http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 1-4 (7/12/2014)
3
แกนนาสาคัญในการต่อกรกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern) ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพ
โซเวียตในช่วงเวลานั้น2 การจัดตั้งสถาบันวิจัยในลักษณะใกล้เคียงกันนี้กระจายตัวอย่างมากใน
สหรัฐอเมริกา ในช่วง ค.ศ. 1929-1939 โดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และความพยายามที่จะ
ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้านั้นเข้ามาช่วยในการกาหนดเส้นทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม (ซึ่ง
แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาการเมือง) และคาดการณ์ทิศทางในอนาคต ไม่ต่างจากความ
เป็นไปในสหภาพโซเวียตที่มีการคาดการณ์ทางสังคมผ่านการวางแผน การวางโปรแกรม การออกแบบ
และการควบคุม ที่เริ่มดาเนินการตั้งแต่สมัยเลนิน โดยอาศัยพื้นฐานหลักการแห่งการวิภาษและวัตถุนิยม
เชิงประวัติศาสตร์ เป็นตัวขับเคลื่อนการวางแนวทางในอนาคต3 ความพยายามต่างๆดังกล่าว ถือได้ว่า
เป็นเนื้อนาบุญให้กับการพัฒนาการวางแนวทางการศึกษาอนาคตในช่วงเวลาต่อมา แม้ว่าความพยายาม
ข้างต้นจะยังไม่อาจหยุดยั้งการผลิตซ้าธรรมชาติด้านลบและความรุนแรงในสังคมมนุษย์ การเกิดขึ้นของ
สงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามตัวแทนมากมายในช่วงสงครามเย็น รวมถึงความขัดแย้งที่เพิ่มระดับ
ความรุนแรงด้วยการใช้กาลังอาวุธในหลากหลายกาลเทศะล้วนเป็นประจักษ์พยานในเรื่องดังกล่าว
แม้กระนั้นก็ตาม ความพยายามสร้างจินตภาพถึงอนาคตดูจะได้รับความสนใจอย่างเป็นรูปธรรม
มากขึ้น ในยุคสมัยที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทสาคัญในการเก็บรวบรวมสถิติการศึกษา
พฤติกรรมมนุษย์ ที่เรียกกันว่า พฤติกรรมนิยม หรือ พฤติกรรมศาสตร์ (Behaviourism) เพื่อวิเคราะห์
พฤติกรรมที่ดารงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะนาไปสู่การคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ในอนาคต อันเป็น
แนวทางการศึกษาซึ่งเป็นที่นิยมจนกลายเป็นกระแสหลักของการศึกษาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960
ภายใต้การนาของเหล่านักวิชาการผู้พิสมัยความรู้ความชานาญการจากจากฐานทางเทคนิควิทยาศาสตร์
หรือที่เรียกว่า technocrats ซึ่งเน้นการเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายและรวดเร็ว (แม้ว่าการก่อตัวของ
ปัญหาต่างๆที่นาไปสู่วิกฤต มักจะเกิดตรงจุดตัดของความสัมพันธ์อสมมาตรระหว่างเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม) โดยไม่เน้นความสาคัญจนถึงขั้นขจัดอุปสรรคทางการเมือง ด้วยการให้
น้าหนักกับ “อะไรคือสิ่งที่จะแก้ไขได้” มากกว่า “อะไรคือสิ่งที่จะต้องแก้ไข” จึงอาจจะยังไม่มีความกระจ่าง
ชัดนักว่า เส้นทางแห่งอนาคตที่ตนมุ่งหวังนั้นคืออะไร4
การยึดกุมอานาจของเหล่านักวิศวกรทางสังคม (social engineers) ที่อาจจะขาดความใส่ใจ
อย่างจริงจังต่อปทัสถานและความต้องการของมวลชน อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากซึ่งการเปิดหู เปิดตา
และเปิดใจ ให้กว้างต่อการศึกษาที่แม้จะแตกต่างหลากหลายในเรื่องวิธีการและขอบข่าย แต่อาจมี
จุดมุ่งหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันในการแสวงหาอนาคตที่ดีร่วมกันของมนุษยชาติ เสียงเตือน
ดังกล่าวช่วยให้ตระหนักว่า แม้ปัญญาชน (ซึ่งมิได้กินความจากัดคับแคบแค่เพียง technocrats) จะ
2
Wayne S Cox and Kim Richard Nossal. (2009). ‘The ‘crimson world’: The Anglo core, the post-Imperial non-
core, and the hegemony of American IR’ in Arlene B Tickner and Ole Waever (eds.). International Relations
Scholarship Around the World. London and New York: Routledge, p. 295
3
Igor Bestuzhev-Lada (1969) ‘Forecasting – an approach to the problems of the future’ International Social
Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.526-534
4
Irving Louis Horowitz (1969) ‘Engineering and sociological perspectives on development: interdisciplinary
constraints in social forecasting’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.545-556
4
สาคัญแต่ย่อมมิอาจและมิควรเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่เข้ามาช่วยวางแนวทางอนาคต5 และเพื่อให้การ
เสนอภาพการศึกษาอนาคตมิได้จากัดอยู่แค่เพียงกลุ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสร้างจินตภาพถึง
อนาคตบนพื้นฐานจินตนาการจากระบบตรรกะ (logical imagination) จึงควรมีจินตนาการเชิงวิพากษ์
(critical imagination) และจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ (creative imagination) ควบคู่ไปด้วย ซึ่ง
จาเป็นต้องอาศัยพลังการรับรู้ทั้งที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและสัญชาตญาณ เพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจแบบมีวิสัยทัศน์ที่สามารถนาไปใช้ปฏิบัติการได้จริง (practical application) ด้วยทัศนะที่เปิด
กว้างต่อความเปลี่ยนแปลงว่า อนาคตเป็นมากกว่าความต่อเนื่องจากปัจจุบัน6
ความเคลื่อนไหวในโลกวิชาการ(อย่างน้อยในระบบภาษาอังกฤษ)ดังกล่าวข้างต้นช่วยบอกเราว่า
การพยายามศึกษาภาพความเป็นไปในอนาคต ซึ่งปรากฏภายใต้ชื่อว่า อนาคตวิทยา (Futurology) และ/
หรือ การศึกษาอนาคต (Future Studies) มีการเสนอภาพการขยายข้อมูลความรู้เชิงสถิติจากปัจจุบันไปสู่
การคาดการณ์อนาคตเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เห็นเส้นทางการวิวัฒน์ซึ่งจะนาไปสู่การแยกความต่างว่าอะไร
คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอะไรคือสิ่งที่ควบคุมได้ การเสนอภาพเช่นนี้เป็นลักษณะของการเสนอ
ทางเลือกถึงเส้นทางที่เป็นไปได้ (probable) เส้นทางที่น่าปารถนา (desirable) และ เส้นทางที่อาจเป็นไป
ได้ (possible) ที่จะช่วยเชื่อมโยงความคิดในวันนี้เข้ากับความเป็นจริงของวันพรุ่งนี้7 สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็
คือ แม้จะมีความเข้าใจต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแห่งการคาดการณ์
แต่ก็มีเสียงกระตุ้นเตือนมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 เช่นกันว่า ความเข้าใจต่อกระบวนการทาง
สังคมเป็นแหล่งที่มาของการตีความความสาคัญของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เอื้อ
ประโยชน์ต่อมนุษยชาติโดยส่วนรวม (humanising interpretation) มีเพียงการกระทาเช่นนี้จึงจะช่วยให้
เกิดเทคโนโลยีทางสังคม (social technology) ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับการดารงชีวิตของมนุษย์ กล่าวได้ว่า
ความแตกต่างของกระบวนการทางสังคมย่อมส่งผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อกระบวนการทาง
สังคม ที่จะคลี่คลายตัวต่อไปเป็นกระบวนการเชิงอารยธรรม8
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ใส่ใจต่อการศึกษาการคาดการณ์และการกาหนดแนวทางอนาคต ยาก
(และไม่ควร)จะปฏิเสธบทบาทและความสาคัญของการให้คุณค่า (values) ต่อเรื่องราวและสิ่งต่างๆ ด้วย
เหตุว่า การให้คุณค่าคือฉากหลังอ้างอิงการตอบคาถามว่า เราจะประเมินอนาคตที่พึงปรารถนาอย่างไร
การให้คุณค่าที่มักแอบอิงอยู่กับข้อผูกมัดเชิงปทัสถานของสังคม เป็นสิ่งที่ทาให้วิทยาศาสตร์ทางสังคม
(social science) หรือที่เราเรียกขานกันว่า สังคมศาสตร์ ไม่ขาดไร้ซึ่งมิติของความเป็นมนุษย์ การทา
5
ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการยึดกุมอานาจของปัญญาชนผ่านการเสนอและบริหารจัดการความรู้ไว้ที่อื่นแล้ว จึงไม่ขอนามากล่าว
ซ้าในที่นี้ผู้สนใจโปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2554) “ปัญญาชน: ตัวแสดงแห่งการเปลี่ยนแปลงและการสร้างแรง
บันดาลใจ” รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) หน้า 1-59
6
Robert Jungk (1969) ‘Imagination and the future’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4,
pp.557-562
7
Pierre Piganiol (1969) ‘Introduction: futurology and prospective study’ International Social Science Journal
Vol.XXI, No. 4, pp.515-525
8
Rodovan Richta and Ota Sulc (1969) ‘Forecasting and the scientific and technological revolution’
International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.563-573
5
ความเข้าใจและไม่ปิดกั้นตนเองจากเรื่องราวดังกล่าว ทาให้เรายอมรับความเป็นจริงทางสังคม (social
reality) ได้ง่ายขึ้นว่า Delphi Method ซึ่งเป็นที่นิยมในการประมวลการคาดการณ์อนาคตจากความรู้
ความชานาญของเหล่าผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลบนพื้นฐานการวิเคราะห์ ย่อมยากจะปราศจาก
ระบบการให้คุณค่าของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งมิได้ดาเนินไปในลักษณะของเส้นตรงทางความคิด แต่มีการปรับ
ลด และ/หรือปรับขยายบางแม่มุมและบางเรื่องราวผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ9 การทา
ความเข้าใจการจัดวางเส้นทางในอนาคตของสังคมจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญ จึงยาก(และ/หรือไม่อาจ)จะ
ละเลยพื้นฐานเชิงปทัสถาน ซึ่งจะช่วยกาหนดแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ และแนวทางระดับแผนปฏิบัติการ
ต่อไป ด้วยเหตุว่า ความคิด (idea) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการสร้างจินตภาพต่ออนาคตนั้น เป็นผลผลิต
จากกระบวนการทางสังคม อันเกิดจากการสั่งสมความรู้ความเข้าใจต่อความเป็นมาและความเป็นไปของ
เรื่องราวต่างๆ เพื่อมุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม10ของผู้คนเหล่านั้น
แม้การศึกษาอนาคต หรือ อนาคตวิทยา จะมีเรื่องราวและพัฒนาการอยู่ไม่น้อย (ซึ่งผู้ศึกษาจะทา
การเพิ่มเติมการทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้ต่อไป) แต่จุดมุ่งหมายก็คือ การมุ่งตอบคาถามว่า อะไรคือ
เส้นทางแห่งอนาคตที่เป็นไปได้ (probable) อาจเป็นไปได้ (possible) และ น่าปรารถนา (desirable or
preferable) โดยอาศัยกระบวนการคิด สังเคราะห์ความคิด และวาดภาพความคิด ด้วยกระบวนการที่
ไม่ได้จากัดขอบข่ายแค่เพียงเรื่องของระบบตรรกะ หากแต่ยังต้องไม่ละเลยวิสัยทัศน์ สัญชาตญาณ และ
ความคิดสร้างสรรค์
ทั้งนี้การศึกษาเรื่องราวต่างๆในกรอบอนาคตวิทยาสามารถเป็นไปอย่างกว้างขวาง ได้มีการ
ประมวลขอข่ายกันว่าเนื้อหาสามารถครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของอนาคตโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ
ภูมิภาคและชาติต่างๆ การป้องกันและการลดอาวุธ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม
อาหารและการเกษตร สังคมและการเมือง(รวมถึงเรื่องของอาชญากรรม) เศรษฐกิจและเมือง(ซึ่ง
เชื่อมโยงกับเรื่องของงาน) สุขภาพ การศึกษา การสื่อสาร และเรื่องของเทคโนโลยี11 ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้อย
รัดเรื่องราวและประเด็นต่างๆข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ การเสนอภาพศึกษาที่
อาจจะไม่ได้มีเพียงแค่การบอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการและการคาดการณ์อนาคตของเรื่องราวข้างต้นใน
แง่มุมต่างๆ หากแต่อาจรวมถึงการเสนอแง่มุมเชิงคุณค่าและปทัสถาน ที่สัมพันธ์กับการรับรู้
(perception) และสานึกรู้ (consciousness) ของผู้คนในอนาคตด้วยเช่นกันไม่ต่างจากการเรียกร้องของ
David Harvey (2014) ผ่านหนังสือ Seventeen Contradiction and the End of Capitalism ซึ่งกระตุ้นให้
มนุษย์สร้างสานึกรู้ใหม่ที่เพิ่มความใส่ใจต่อความเป็นไปของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มากกว่าปริมาณเม็ดเงิน
9
Irene Taviss (1969) ‘Futurology and the problem of values’ International Social Science Journal Vol.XXI,
No. 4, pp.574-584
10
วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2553) “ความคิด: คุณสมบัติสาคัญของการเป็นตัวแสดงที่มีความกระตือรือร้น” รัฐศาสตร์สาร (รัฐศาสตร์
ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์สาร 30 ปี ฉบับที่ 2) หน้า 138-188
11
Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from
http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 8-11 (7/12/2014)
6
ในกระเป๋าและบัญชีธนาคารของตน ด้วยความหวังว่า มนุษย์สานึกใหม่จะช่วยวางแนวทางและผลักดัน
อนาคตที่ดีกว่าเพื่อมนุษยชาติ12
นอกเหนือจากขอบข่ายในเรื่องของเรื่องราวและประเด็นการศึกษาดังกล่าวข้างต้น อนาคตวิทยา
หรือการศึกษาอนาคต ยังให้ความสาคัญกับวิธีการศึกษาซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของการวิเคราะห์และ
คาดการณ์แนวโน้มซึ่งอาจมีพื้นฐานจากการแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ เทคนิคในการคาดการณ์ความ
เป็นไปได้ด้วยการสร้างแบบและ/หรือสถานการณ์จาลอง(นิยายวิทยาศาสตร์อาจรวมอยู่ในกลุ่มนี้) การ
ติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อกาหนดแนวโน้ม (trend monitoring and projection) การระดมสมอง ไป
จนถึงเรื่องของ Delphi Method ที่มักจะเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ และการเสนอ
วิสัยทัศน์13 การวิจัยเบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global
Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทยจะใช้การติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อกาหนด
แนวโน้มเป็นหลัก โดยอาศัยพื้นฐานข้อมูลจากทั้งอดีตและปัจจุบันในการคาดการณ์ถึงความต่อเนื่องและ
ความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าใจรูปลักษณะรูปแบบและทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าว อาจช่วยเรากาหนดวางแนวทางเส้นทางในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประเด็นการศึกษาที่อยู่ในระหว่างดาเนินการ
ประเด็นหลักที่จะทาการศึกษาต่อไปผ่านการวิจัยเอกสาร (documentary research) ที่ปรากฏทั้ง
ในรูปของหนังสือ รายงานวิจัย บทความ และข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ปรากฏในรูปของสิ่งตีพิมพ์และ
ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้แบบออนไลน์ จะเน้นไปที่การคาดการณ์โลกในอนาคตโดยภาพรวมเป็น
เบื้องแรก โดยเฉพาะในมิติโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีคาถามหลักอยู่ที่การแสดง
บทบาทเด่นนาหรือถดถอยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และ/หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะเป็นกรอบ
โครงในการกาหนดทิศทางและแนวโน้มต่อยุทธศาสตร์และบทบาทของไทย คาถามรองก็คือ การ
คาดการณ์ถึงศตวรรษแห่งเอเชียจะเป็นไปในลักษณะใด เนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นการให้ภาพที่ครอบคลุม
มิติด้านเศรษฐกิจ-การเมือง อันเป็นพื้นที่ความคิดซึ่งนักสังคมศาสตร์ในวงกว้างคุ้นชิน
ประเด็นรองที่จะทาการศึกษาต่อไปประกอบด้วยสองประเด็นสาคัญ ประเด็นรองแรกก็คือ เรื่อง
ของความก้าวหน้าและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดาเนินชีวิตประจาวันของ
มนุษย์ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของชนรุ่นที่โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเปลี่ยนแปลงไป
จากความคุ้นชินเดิมที่มักยึดโยงกับความเป็นศูนย์กลางของประเทศตะวันตก โดยที่การศึกษาในประเด็น
นี้จะให้ภาพครอบคลุมเรื่องของการผลิต การขนส่ง การสื่อสาร และ/หรือโทรคมนาคม ที่อาจกระตุ้นให้
เกิดการสร้างและการขยายตัวของมนุษย์สานึกใหม่ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการศึกษาในประเด็นรองที่สอง
มุ่งหวังให้ครอบคลุมถึงเรื่องของการจัดการด้านระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความก้าวหน้าด้าน
12
วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2558) “มนุษย์สานักใหม่กับปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อจุดจบของระบบทุนนิยม: อุดมคติที่อาจ(แต่ไม่ใช่ใน
เร็ววัน)เป็นจริง?” รัฐศาสตร์สาร (อยู่ในระหว่างดาเนินการจัดพิมพ์)
13
Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from
http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 12-16 (7/12/2014)
7
เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์(สานึกใหม่) อาจทาให้ไม่เพียงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน
นิเวศน์ แต่อาจเชื่อมโยงถึงมิติด้านประชากรศาสตร์ด้วยเช่นกัน
กล่าวได้ว่าความเชื่อมโยงของประเด็นหลักและประเด็นรองอยู่ที่การพินิจ ตั้งคาถามและข้อเสนอ
ทางเลือกของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ยากจะหลีกเลี่ยงการย้อนพินิจและตั้ง
คาถามต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นกระดูกสันหลังหลักให้กับระบบทุนนิยมมากว่า
กึ่งสหัสวรรษ เพื่อร่วมแสวงหาแนวทางการพัฒนาและการแก้ปัญหาของสังคมใหม่ เพื่อส่งต่ออนาคตที่
ดีกว่าไปสู่ชนรุ่นหลัง (แน่นอนว่า ชนรุ่นใหม่ในสังคมไทยเป็นเป้าตั้งหลักสาหรับการศึกษาวิจัยเบื้องต้นใน
ครั้งนี้) และจัดการกับภัยคุกคามใหม่ของมนุษยชาติ ที่คาดว่าน่าจานวนถึง 9.5-11.1 พันล้านคนในค.ศ.
2050 จากจานวน 7.2 พันกว่าล้านในปัจจุบัน14 มิพักต้องเอ่ยว่า การคาดการณ์ถึงความก้าวหน้าและการ
ใช้ประโยชน์เทคโนโลยียังต้องคานึงถึงการที่ฐานอายุประชากรโดยเฉลี่ยได้ขยับเคลื่อนเข้าสู่ความสูงวัย
(aging societies) จากที่เคยมีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 8 ของประชากรโลกในค.ศ. 1950 แต่ในครึ่งหลัง
ศตวรรษที่ 20 สัดส่วนดังกล่าวได้ขยับมาที่ระดับร้อยละ 10 แต่ความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยี
ทางการแพทย์ กอปรกับการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขทาให้ฐานประชากรในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ
ร้อยละ 21 ใน ค.ศ. 205015 ภาพที่ต้องคานึงซ้อนทับลงไปก็คือ ภาระทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตก
หนักอยู่กับประชากรหนุ่มสาววัยทางานต่อผู้สูงอายุที่ลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามหรือประมาณ 4 คนต่อ
ผู้สูงอายุ 1 คน
ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่อาจปรากฏชัดมากขึ้นจากแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของ
โครงสร้างสังคมระหว่างประเทศ อาจยิ่งขับเน้นให้ช่องว่างดังกล่าวเด่นชัดเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะใน
ภูมิภาคละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วใน
แถบยุโรปและอเมริกาเหนือ การปรับเปลี่ยนนโยบายลูกคนเดียวของจีน ยังอาจเสริมให้ภาพโครงสร้าง
ฐานประชากรดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องนามาพิจารณาร่วมด้วยก็คือ การ
เคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองของประชากรวัยแรงงาน ที่ย่อมส่งผลไม่มากก็น้อย(ทั้งทางตรง และ/หรือทางอ้อม)
ต่อการเปลี่ยนแปลงกายภาพของเมือง และอาจรวมถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และความเป็น
ชุมชนต่างๆในเขตเมือง
การพิจารณาเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นย่อมต้องนาประเด็นความก้าวหน้าด้านขีดความสามารถ
ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
technology) ที่เป็นฐานสาคัญในการเชื่อมโยงความรู้และการพัฒนาด้านต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่เรื่อง
ของการผลิต สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดรูปองค์กร
ทางสังคมและรูปแบบวิถีชีวิตมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างด้านความสามารถและโอกาสในการ
เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และเป็นเจ้าของทรัพยากรด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ อาจยิ่งสร้างความไม่เท่าเทียม ไม่
เป็นธรรม และ/หรือความขัดแย้งในกลุ่มประชากรทั้งในกลุ่มชนรุ่นเดียวกัน และระหว่างชนรุ่นต่างๆได้
14
US Census Bureau (2014) Retrieved from http://www.census.gov/population/international/
15
UN, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2001) World Population Ageing
1950-2050 Retrieved from http://www.un.org/esa/population/publications/worldageing19502050/
8
เช่นกัน ซึ่งอาจยิ่งปรากฏชัดช่วงเวลาที่ยุคดิจิตอลได้ข้ามพ้นข้อจากัดเรื่องฮาร์ดแวร์สู่ระบบปฏิบัติการ
และฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (Cloud Computing and Advanced Cloud Services) ที่เริ่มก่อให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ในกิจกรรมต่างๆ16 ซึ่งเชื่อมมนุษย์เข้ากับระบบสารสนเทศ เมื่อผู้ใช้งาน
ต้องการเพียงแค่สัญญาณเชื่อมต่อและเครื่องมือที่อาจเป็นเพียงโทรศัพท์ นาฬิกาข้อมือในรูปแบบของ
อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Virtualization of Storage, Desktops, Applications, and Networking) ที่ไม่เพียงแค่
ส่งภาพหรือเสียงแบบทางเดียว แต่ยังจะก้าวไปเป็นระบบการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive
System) และเหมือนจริงมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเหนือจริง (Hyper-reality) และเป็นสามมิติ
การเปลี่ยนแปลงนี้ดังกล่าวข้างต้น ย่อมส่งผลต่อการรับรู้ การเรียนรู้ ไปจนถึงการสร้างสานึกและ
ส่งต่อสานึกของผู้คนในเรื่องราวต่างๆ ส่วนจะเป็นการรับรู้ การเรียนรู้ และสานึกแบบใดนั้น ขึ้นยู่กับการ
จัดวางแนวทางการกาหนดเนื้อหา ที่สามารถถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะที่ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น การศึกษาและ
ฝึกอบรมอาจถูกทาให้อยู่ในรูปแบบของเกม (Gamification of Training and Education) สื่อรูปแบบใหม่
ที่ไม่ใช้กระดาษหรือรูปเล่มจะเข้ามาแทนที่ (eBooks, eNewspapers, eMagazines and Interactive
Multimedia eTextbooks) การเชื่อมต่อของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆจะทาให้โลกของชีวิตประจาวัน
การทางานและธุรกิจแทรกซึมเข้ามาผสมปนเปกันอย่างเลี่ยงไม่พ้น (Social Business-Social Software)
สภาพสังคมของชนรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่งประชากรสูงวัยจึงมีความทับซ้อนทั้งพื้นที่เสมือนจริงทางสังคม
(social virtuality) และพื้นที่ความเป็นสังคมจริงทางกายภาพ (geographical sociality) ที่แม้อาจก่อการ
ตั้งคาถามต่ออัตลักษณ์ของปัจเจก แต่ก็ช่วยเปิดโลกทัศน์ว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ชนรุ่นใหม่จะเป็น
ประชากรของโลกผ่านระบบดิจิตัล (Global citizen, Netizen) ซ้อนทับกับการเป็นพลเมืองของรัฐ
16
Goldman Sachs (2014) 25 Ways We Saw the World Change Retrieved from
http://www.goldmansachs.com/s/2013annualreport/ways/technology/#insight-6 , Daniel Burrus (2014) Trends
That Will Create Both Disruption and Opportunity on a Global Level Retrieved from http://bigthink.com/flash-
foresight/20-game-changing-technology-trends-that-will-create-both-disruption-and-opportunity-on-a-global-
level Burrus เป็นนักอนาคตวิทยาชาวอเมริกัน นักวิเคราะห์และเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Burrus Research

Contenu connexe

Plus de Klangpanya

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 

รายงานความก้าวหน้า เรื่อง แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global trends) ที่อาจส่งผล

  • 1. 1 นำเสนอในเวทีวิชำกำรเรื่อง “นำเสนอควำมก้ำวหน้ำงำนวิจัยภำยใต้โครงกำรคลังปัญญำฯ” จัดโดยโครงกำรคลังปัญญำเพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทย ในยุคบูรพำภิวัตน์ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถำบันสร้ำงสรรค์ปัญญำสำธำรณะ โดยกำรสนับสนุนของสำนักงำนกองทุน สนับสนุนกำรสร้ำงเสริมสุขภำพ (สสส.) ในวันอำทิตย์ที่ 28 ธันวำคม 2557 ณ ห้องประชุมลีลำวดี โรงแรมรำมำกำร์เด้นส์ กรุงเทพฯ รายงานความก้าวหน้า เรื่อง แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทย ดร.วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ อาจารย์ประจาสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของโลก ที่ดูจะเป็นไปในอัตราเร่งมากขึ้นทุกที หาใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อมองโลกในลักษณะขององค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียว (holism) หรือสังคมโลกที่ เป็นผลรวม (wholism) ของทั้งความเหมือน ความคล้ายคลึง และ/หรือ ความแตกต่างหลากหลายในทุก มิติและหลากระดับ ที่มักกระตุ้นให้ผู้คนเลือกมองอยู่บ่อยครั้งในลักษณะที่หากไม่เน้นไปที่ขัดแย้งก็เน้นไป ที่ความร่วมมือ ราวกับภาพความสัมพันธ์ทั้งสองนั้นเป็นไปแบบสามารถแยกขาดออกจากกัน ในลักษณะ ที่ใครหลายคนอาจเข้าใจว่า หากมีความร่วมมือย่อมไร้ซึ่งความขัดแย้ง และเป็นไปในลักษณะตรงข้าม ด้วยเช่นกัน แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในหลากสังคม หลายพื้นที่ (ซึ่งรวมถึงสังคมไทย) ได้ช่วย ให้เราเห็นว่า หาได้เป็นความสัมพันธ์ด้านเดียวเช่นนั้นเสมอไป บ่อยครั้งที่การคาดการณ์ถึงอนาคต ร่วมกัน อาจแปลงความขัดแย้งให้กลายเป็นความร่วมมือ หรืออาจจะเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับสมมุติฐานในการคิด โดยเฉพาะเมื่อคาดการณ์ถึงผลประโยชน์ในอนาคต ท่ามกลางความ กังวลต่อความจากัดของทรัพยากร ตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงทรัพยากรทางสังคม และ ความสามารถในการแข่งขัน พื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ ด้วยความเข้าใจถึงความเป็นปัจจุบัน อันเชื่อมโยงกับรากฐานความ เป็นไปในอดีต และการคาดการณ์โดยอาศัยข้อมูลและหลักการที่เป็นระบบนี่เอง ที่จะทาให้การวาง แนวทางดารงตนตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับสังคม และระดับรัฐ อาจแตกต่างกันออกไป เพื่อไม่ให้ตกเป็น เหยื่อของความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (อย่างแย่ที่สุด) และ/หรือ เพื่อให้สามารถหยัดยืนอยู่ ได้อย่างมั่นคงและสง่างาม (อย่างดีที่สุด) การศึกษาภาพการคาดการณ์ถึงโลกในอนาคตในหลายแง่มุม และหลากมิติ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและไม่อาจมองข้าม เพราะการศึกษาคาดการณ์ถึงภาพอนาคต ดังกล่าว ไม่เพียงอาจช่วยกาหนดกรอบโครงในการวางแนวคิดวิเคราะห์ หากแต่ยังอาจช่วยสร้าง แบบจาลองทางความคิดที่อาจเป็นพื้นฐานการวางยุทธศาสตร์ของไทยต่อไปในอนาคต เช่นเดียวกับการ วางแนวทางการดารงชีวิตของปัจเจก
  • 2. 2 อนาคตวิทยา/การศึกษาอนาคต: กรอบความคิดในการศึกษาแนวโน้มโลก ความพยายามในการสร้างจินตภาพถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ และการวางแผนดาเนินการต่างๆที่อาจช่วยแผ้วทางให้จินตภาพนั้นๆได้หยั่งราก โดยอาศัยการ คาดการณ์จากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจต่อความเป็นไปของเรื่องราวที่ดารงอยู่ในปัจจุบันและที่เคย เกิดขึ้นแล้วในอดีต หาใช่เรื่องแปลกใหม่สาหรับมนุษยชาติ การพยายามสร้างความแน่นอน(ให้เกิดขึ้น อย่างน้อยในจิตใจ)บนพื้นฐานของความไม่แน่นอนเช่นเหตุการณ์ในอนาคต ยังรวมไปถึงการทานายด้วย หลากวิธี อาทิ การเพ่งกสิณมองลูกแก้ว (crystal-ball gazing) และการเสี่ยงทายต่างๆ เช่นที่ปรากฏให้ เห็นในหลายวัฒนธรรม ยิ่งความเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ในสังคมเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และ/หรือ ส่งผลกระทบในวงกว้างมากเท่าใด ความพยายามเช่นนั้นยิ่งเพิ่มพูนแปรผันตามกัน เพื่อหวังจะให้การ เรียนรู้จากความพยายามนั้นสร้างจินตภาพถึงเส้นทางในอนาคตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีตัวแปรด้าน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จนได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างภาพโลกอนาคต ที่มี เทคโนโลยีแสดงบทบาทสาคัญในการดารงชีวิตของมนุษย์อย่างชัดเจนมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เช่นที่ปรากฏในนิยายแห่งโลกอนาคตของ H.G. Well ที่แม้จะก่อข้อถกเถียงกันว่า จินตภาพจากแวด วงดังกล่าวจะได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาอนาคต (Future Studies) หรือ อนาคต วิทยา (Futurology) ได้หรือไม่ เพราะพลังจินตนาการอาจไม่ใช่แหล่งกาเนิดเดียวของการศึกษา ดังกล่าว1 แม้กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็คือ เรื่องราวจากจินตภาพเช่นนั้น กระตุ้นให้เกิดคาถาม ถึงผลกระทบต่อรูปแบบการดารงชีวิตของมนุษย์ และการตัดสินใจในการเลือกดาเนินแนวทางใน หลากหลายมิติตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับรัฐ ไปจนถึงระดับระหว่างรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนคาถามสาหรับ การศึกษาภาพในอนาคต การพยายามทาความเข้าใจการเกิดขึ้นและความโหดร้ายของมหาสงคราม (the Great War) หรือที่ต่อมาภายหลังเรียกขานกันว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อหวังสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่าของ มนุษยชาติ(อย่างน้อยตามระบบคิดของตะวันตก) ไม่เพียงให้กาเนิดการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (International Relations: IR) ในฐานะสาขาวิชาการศึกษาอย่างจริงจังขึ้นที่คณะการเมือง ระหว่างประเทศ (Department of International Politics) มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวลส์ (University of Wales) ที่เมืองอาเบอรีสวิธ (Aberystwyth) แต่ยังกระตุ้นให้เกิดการจัดตั้งสถาบันวิจัยในลักษณะของคลัง ปัญญา (think tanks) เพื่อช่วยกากับให้การดาเนินนโยบายต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวม ไปถึงการพยายามเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมโลกด้วยความคาดหวังถึงอนาคตที่ดีกว่า ซึ่งไม่จาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงผ่านมิติการเมืองชั้นสูงเพียงอย่างเดียว การจัดตั้ง Chatham House ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็นสถาบันหลวงแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Royal Institute of International Studies: RIIA) ในช่วงกลางทศวรรษ 1920 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ สถานบันดังกล่าวยังเป็นต้นแบบให้กับการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (Council for Foreign Relations: CFR) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 1 Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 1-4 (7/12/2014)
  • 3. 3 แกนนาสาคัญในการต่อกรกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern) ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพ โซเวียตในช่วงเวลานั้น2 การจัดตั้งสถาบันวิจัยในลักษณะใกล้เคียงกันนี้กระจายตัวอย่างมากใน สหรัฐอเมริกา ในช่วง ค.ศ. 1929-1939 โดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และความพยายามที่จะ ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้านั้นเข้ามาช่วยในการกาหนดเส้นทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม (ซึ่ง แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาการเมือง) และคาดการณ์ทิศทางในอนาคต ไม่ต่างจากความ เป็นไปในสหภาพโซเวียตที่มีการคาดการณ์ทางสังคมผ่านการวางแผน การวางโปรแกรม การออกแบบ และการควบคุม ที่เริ่มดาเนินการตั้งแต่สมัยเลนิน โดยอาศัยพื้นฐานหลักการแห่งการวิภาษและวัตถุนิยม เชิงประวัติศาสตร์ เป็นตัวขับเคลื่อนการวางแนวทางในอนาคต3 ความพยายามต่างๆดังกล่าว ถือได้ว่า เป็นเนื้อนาบุญให้กับการพัฒนาการวางแนวทางการศึกษาอนาคตในช่วงเวลาต่อมา แม้ว่าความพยายาม ข้างต้นจะยังไม่อาจหยุดยั้งการผลิตซ้าธรรมชาติด้านลบและความรุนแรงในสังคมมนุษย์ การเกิดขึ้นของ สงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามตัวแทนมากมายในช่วงสงครามเย็น รวมถึงความขัดแย้งที่เพิ่มระดับ ความรุนแรงด้วยการใช้กาลังอาวุธในหลากหลายกาลเทศะล้วนเป็นประจักษ์พยานในเรื่องดังกล่าว แม้กระนั้นก็ตาม ความพยายามสร้างจินตภาพถึงอนาคตดูจะได้รับความสนใจอย่างเป็นรูปธรรม มากขึ้น ในยุคสมัยที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทสาคัญในการเก็บรวบรวมสถิติการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์ ที่เรียกกันว่า พฤติกรรมนิยม หรือ พฤติกรรมศาสตร์ (Behaviourism) เพื่อวิเคราะห์ พฤติกรรมที่ดารงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะนาไปสู่การคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ในอนาคต อันเป็น แนวทางการศึกษาซึ่งเป็นที่นิยมจนกลายเป็นกระแสหลักของการศึกษาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 ภายใต้การนาของเหล่านักวิชาการผู้พิสมัยความรู้ความชานาญการจากจากฐานทางเทคนิควิทยาศาสตร์ หรือที่เรียกว่า technocrats ซึ่งเน้นการเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายและรวดเร็ว (แม้ว่าการก่อตัวของ ปัญหาต่างๆที่นาไปสู่วิกฤต มักจะเกิดตรงจุดตัดของความสัมพันธ์อสมมาตรระหว่างเสถียรภาพทาง เศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม) โดยไม่เน้นความสาคัญจนถึงขั้นขจัดอุปสรรคทางการเมือง ด้วยการให้ น้าหนักกับ “อะไรคือสิ่งที่จะแก้ไขได้” มากกว่า “อะไรคือสิ่งที่จะต้องแก้ไข” จึงอาจจะยังไม่มีความกระจ่าง ชัดนักว่า เส้นทางแห่งอนาคตที่ตนมุ่งหวังนั้นคืออะไร4 การยึดกุมอานาจของเหล่านักวิศวกรทางสังคม (social engineers) ที่อาจจะขาดความใส่ใจ อย่างจริงจังต่อปทัสถานและความต้องการของมวลชน อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากซึ่งการเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ ให้กว้างต่อการศึกษาที่แม้จะแตกต่างหลากหลายในเรื่องวิธีการและขอบข่าย แต่อาจมี จุดมุ่งหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันในการแสวงหาอนาคตที่ดีร่วมกันของมนุษยชาติ เสียงเตือน ดังกล่าวช่วยให้ตระหนักว่า แม้ปัญญาชน (ซึ่งมิได้กินความจากัดคับแคบแค่เพียง technocrats) จะ 2 Wayne S Cox and Kim Richard Nossal. (2009). ‘The ‘crimson world’: The Anglo core, the post-Imperial non- core, and the hegemony of American IR’ in Arlene B Tickner and Ole Waever (eds.). International Relations Scholarship Around the World. London and New York: Routledge, p. 295 3 Igor Bestuzhev-Lada (1969) ‘Forecasting – an approach to the problems of the future’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.526-534 4 Irving Louis Horowitz (1969) ‘Engineering and sociological perspectives on development: interdisciplinary constraints in social forecasting’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.545-556
  • 4. 4 สาคัญแต่ย่อมมิอาจและมิควรเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่เข้ามาช่วยวางแนวทางอนาคต5 และเพื่อให้การ เสนอภาพการศึกษาอนาคตมิได้จากัดอยู่แค่เพียงกลุ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสร้างจินตภาพถึง อนาคตบนพื้นฐานจินตนาการจากระบบตรรกะ (logical imagination) จึงควรมีจินตนาการเชิงวิพากษ์ (critical imagination) และจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ (creative imagination) ควบคู่ไปด้วย ซึ่ง จาเป็นต้องอาศัยพลังการรับรู้ทั้งที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและสัญชาตญาณ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแบบมีวิสัยทัศน์ที่สามารถนาไปใช้ปฏิบัติการได้จริง (practical application) ด้วยทัศนะที่เปิด กว้างต่อความเปลี่ยนแปลงว่า อนาคตเป็นมากกว่าความต่อเนื่องจากปัจจุบัน6 ความเคลื่อนไหวในโลกวิชาการ(อย่างน้อยในระบบภาษาอังกฤษ)ดังกล่าวข้างต้นช่วยบอกเราว่า การพยายามศึกษาภาพความเป็นไปในอนาคต ซึ่งปรากฏภายใต้ชื่อว่า อนาคตวิทยา (Futurology) และ/ หรือ การศึกษาอนาคต (Future Studies) มีการเสนอภาพการขยายข้อมูลความรู้เชิงสถิติจากปัจจุบันไปสู่ การคาดการณ์อนาคตเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เห็นเส้นทางการวิวัฒน์ซึ่งจะนาไปสู่การแยกความต่างว่าอะไร คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอะไรคือสิ่งที่ควบคุมได้ การเสนอภาพเช่นนี้เป็นลักษณะของการเสนอ ทางเลือกถึงเส้นทางที่เป็นไปได้ (probable) เส้นทางที่น่าปารถนา (desirable) และ เส้นทางที่อาจเป็นไป ได้ (possible) ที่จะช่วยเชื่อมโยงความคิดในวันนี้เข้ากับความเป็นจริงของวันพรุ่งนี้7 สิ่งที่ยากจะปฏิเสธก็ คือ แม้จะมีความเข้าใจต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานแห่งการคาดการณ์ แต่ก็มีเสียงกระตุ้นเตือนมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 เช่นกันว่า ความเข้าใจต่อกระบวนการทาง สังคมเป็นแหล่งที่มาของการตีความความสาคัญของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เอื้อ ประโยชน์ต่อมนุษยชาติโดยส่วนรวม (humanising interpretation) มีเพียงการกระทาเช่นนี้จึงจะช่วยให้ เกิดเทคโนโลยีทางสังคม (social technology) ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับการดารงชีวิตของมนุษย์ กล่าวได้ว่า ความแตกต่างของกระบวนการทางสังคมย่อมส่งผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อกระบวนการทาง สังคม ที่จะคลี่คลายตัวต่อไปเป็นกระบวนการเชิงอารยธรรม8 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ใส่ใจต่อการศึกษาการคาดการณ์และการกาหนดแนวทางอนาคต ยาก (และไม่ควร)จะปฏิเสธบทบาทและความสาคัญของการให้คุณค่า (values) ต่อเรื่องราวและสิ่งต่างๆ ด้วย เหตุว่า การให้คุณค่าคือฉากหลังอ้างอิงการตอบคาถามว่า เราจะประเมินอนาคตที่พึงปรารถนาอย่างไร การให้คุณค่าที่มักแอบอิงอยู่กับข้อผูกมัดเชิงปทัสถานของสังคม เป็นสิ่งที่ทาให้วิทยาศาสตร์ทางสังคม (social science) หรือที่เราเรียกขานกันว่า สังคมศาสตร์ ไม่ขาดไร้ซึ่งมิติของความเป็นมนุษย์ การทา 5 ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการยึดกุมอานาจของปัญญาชนผ่านการเสนอและบริหารจัดการความรู้ไว้ที่อื่นแล้ว จึงไม่ขอนามากล่าว ซ้าในที่นี้ผู้สนใจโปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2554) “ปัญญาชน: ตัวแสดงแห่งการเปลี่ยนแปลงและการสร้างแรง บันดาลใจ” รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) หน้า 1-59 6 Robert Jungk (1969) ‘Imagination and the future’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.557-562 7 Pierre Piganiol (1969) ‘Introduction: futurology and prospective study’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.515-525 8 Rodovan Richta and Ota Sulc (1969) ‘Forecasting and the scientific and technological revolution’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.563-573
  • 5. 5 ความเข้าใจและไม่ปิดกั้นตนเองจากเรื่องราวดังกล่าว ทาให้เรายอมรับความเป็นจริงทางสังคม (social reality) ได้ง่ายขึ้นว่า Delphi Method ซึ่งเป็นที่นิยมในการประมวลการคาดการณ์อนาคตจากความรู้ ความชานาญของเหล่าผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลบนพื้นฐานการวิเคราะห์ ย่อมยากจะปราศจาก ระบบการให้คุณค่าของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งมิได้ดาเนินไปในลักษณะของเส้นตรงทางความคิด แต่มีการปรับ ลด และ/หรือปรับขยายบางแม่มุมและบางเรื่องราวผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ9 การทา ความเข้าใจการจัดวางเส้นทางในอนาคตของสังคมจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญ จึงยาก(และ/หรือไม่อาจ)จะ ละเลยพื้นฐานเชิงปทัสถาน ซึ่งจะช่วยกาหนดแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ และแนวทางระดับแผนปฏิบัติการ ต่อไป ด้วยเหตุว่า ความคิด (idea) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการสร้างจินตภาพต่ออนาคตนั้น เป็นผลผลิต จากกระบวนการทางสังคม อันเกิดจากการสั่งสมความรู้ความเข้าใจต่อความเป็นมาและความเป็นไปของ เรื่องราวต่างๆ เพื่อมุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม10ของผู้คนเหล่านั้น แม้การศึกษาอนาคต หรือ อนาคตวิทยา จะมีเรื่องราวและพัฒนาการอยู่ไม่น้อย (ซึ่งผู้ศึกษาจะทา การเพิ่มเติมการทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้ต่อไป) แต่จุดมุ่งหมายก็คือ การมุ่งตอบคาถามว่า อะไรคือ เส้นทางแห่งอนาคตที่เป็นไปได้ (probable) อาจเป็นไปได้ (possible) และ น่าปรารถนา (desirable or preferable) โดยอาศัยกระบวนการคิด สังเคราะห์ความคิด และวาดภาพความคิด ด้วยกระบวนการที่ ไม่ได้จากัดขอบข่ายแค่เพียงเรื่องของระบบตรรกะ หากแต่ยังต้องไม่ละเลยวิสัยทัศน์ สัญชาตญาณ และ ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้การศึกษาเรื่องราวต่างๆในกรอบอนาคตวิทยาสามารถเป็นไปอย่างกว้างขวาง ได้มีการ ประมวลขอข่ายกันว่าเนื้อหาสามารถครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของอนาคตโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคและชาติต่างๆ การป้องกันและการลดอาวุธ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม อาหารและการเกษตร สังคมและการเมือง(รวมถึงเรื่องของอาชญากรรม) เศรษฐกิจและเมือง(ซึ่ง เชื่อมโยงกับเรื่องของงาน) สุขภาพ การศึกษา การสื่อสาร และเรื่องของเทคโนโลยี11 ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้อย รัดเรื่องราวและประเด็นต่างๆข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ การเสนอภาพศึกษาที่ อาจจะไม่ได้มีเพียงแค่การบอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการและการคาดการณ์อนาคตของเรื่องราวข้างต้นใน แง่มุมต่างๆ หากแต่อาจรวมถึงการเสนอแง่มุมเชิงคุณค่าและปทัสถาน ที่สัมพันธ์กับการรับรู้ (perception) และสานึกรู้ (consciousness) ของผู้คนในอนาคตด้วยเช่นกันไม่ต่างจากการเรียกร้องของ David Harvey (2014) ผ่านหนังสือ Seventeen Contradiction and the End of Capitalism ซึ่งกระตุ้นให้ มนุษย์สร้างสานึกรู้ใหม่ที่เพิ่มความใส่ใจต่อความเป็นไปของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มากกว่าปริมาณเม็ดเงิน 9 Irene Taviss (1969) ‘Futurology and the problem of values’ International Social Science Journal Vol.XXI, No. 4, pp.574-584 10 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2553) “ความคิด: คุณสมบัติสาคัญของการเป็นตัวแสดงที่มีความกระตือรือร้น” รัฐศาสตร์สาร (รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์สาร 30 ปี ฉบับที่ 2) หน้า 138-188 11 Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 8-11 (7/12/2014)
  • 6. 6 ในกระเป๋าและบัญชีธนาคารของตน ด้วยความหวังว่า มนุษย์สานึกใหม่จะช่วยวางแนวทางและผลักดัน อนาคตที่ดีกว่าเพื่อมนุษยชาติ12 นอกเหนือจากขอบข่ายในเรื่องของเรื่องราวและประเด็นการศึกษาดังกล่าวข้างต้น อนาคตวิทยา หรือการศึกษาอนาคต ยังให้ความสาคัญกับวิธีการศึกษาซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของการวิเคราะห์และ คาดการณ์แนวโน้มซึ่งอาจมีพื้นฐานจากการแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ เทคนิคในการคาดการณ์ความ เป็นไปได้ด้วยการสร้างแบบและ/หรือสถานการณ์จาลอง(นิยายวิทยาศาสตร์อาจรวมอยู่ในกลุ่มนี้) การ ติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อกาหนดแนวโน้ม (trend monitoring and projection) การระดมสมอง ไป จนถึงเรื่องของ Delphi Method ที่มักจะเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ และการเสนอ วิสัยทัศน์13 การวิจัยเบื้องต้นต่อแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trends) ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปในสังคมไทยจะใช้การติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อกาหนด แนวโน้มเป็นหลัก โดยอาศัยพื้นฐานข้อมูลจากทั้งอดีตและปัจจุบันในการคาดการณ์ถึงความต่อเนื่องและ ความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าใจรูปลักษณะรูปแบบและทิศทางการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว อาจช่วยเรากาหนดวางแนวทางเส้นทางในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเด็นการศึกษาที่อยู่ในระหว่างดาเนินการ ประเด็นหลักที่จะทาการศึกษาต่อไปผ่านการวิจัยเอกสาร (documentary research) ที่ปรากฏทั้ง ในรูปของหนังสือ รายงานวิจัย บทความ และข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ปรากฏในรูปของสิ่งตีพิมพ์และ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้แบบออนไลน์ จะเน้นไปที่การคาดการณ์โลกในอนาคตโดยภาพรวมเป็น เบื้องแรก โดยเฉพาะในมิติโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีคาถามหลักอยู่ที่การแสดง บทบาทเด่นนาหรือถดถอยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และ/หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะเป็นกรอบ โครงในการกาหนดทิศทางและแนวโน้มต่อยุทธศาสตร์และบทบาทของไทย คาถามรองก็คือ การ คาดการณ์ถึงศตวรรษแห่งเอเชียจะเป็นไปในลักษณะใด เนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นการให้ภาพที่ครอบคลุม มิติด้านเศรษฐกิจ-การเมือง อันเป็นพื้นที่ความคิดซึ่งนักสังคมศาสตร์ในวงกว้างคุ้นชิน ประเด็นรองที่จะทาการศึกษาต่อไปประกอบด้วยสองประเด็นสาคัญ ประเด็นรองแรกก็คือ เรื่อง ของความก้าวหน้าและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดาเนินชีวิตประจาวันของ มนุษย์ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของชนรุ่นที่โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเปลี่ยนแปลงไป จากความคุ้นชินเดิมที่มักยึดโยงกับความเป็นศูนย์กลางของประเทศตะวันตก โดยที่การศึกษาในประเด็น นี้จะให้ภาพครอบคลุมเรื่องของการผลิต การขนส่ง การสื่อสาร และ/หรือโทรคมนาคม ที่อาจกระตุ้นให้ เกิดการสร้างและการขยายตัวของมนุษย์สานึกใหม่ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการศึกษาในประเด็นรองที่สอง มุ่งหวังให้ครอบคลุมถึงเรื่องของการจัดการด้านระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความก้าวหน้าด้าน 12 วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2558) “มนุษย์สานักใหม่กับปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อจุดจบของระบบทุนนิยม: อุดมคติที่อาจ(แต่ไม่ใช่ใน เร็ววัน)เป็นจริง?” รัฐศาสตร์สาร (อยู่ในระหว่างดาเนินการจัดพิมพ์) 13 Thomas J Lombardo (n.a) ‘Future Studies’ Center for Future Consciousness Retrieved from http://www.centerforfutureconsciousness.com/pdf-files/Readings/Future/Studies.pdf , pp. 12-16 (7/12/2014)
  • 7. 7 เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์(สานึกใหม่) อาจทาให้ไม่เพียงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน นิเวศน์ แต่อาจเชื่อมโยงถึงมิติด้านประชากรศาสตร์ด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่าความเชื่อมโยงของประเด็นหลักและประเด็นรองอยู่ที่การพินิจ ตั้งคาถามและข้อเสนอ ทางเลือกของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ยากจะหลีกเลี่ยงการย้อนพินิจและตั้ง คาถามต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นกระดูกสันหลังหลักให้กับระบบทุนนิยมมากว่า กึ่งสหัสวรรษ เพื่อร่วมแสวงหาแนวทางการพัฒนาและการแก้ปัญหาของสังคมใหม่ เพื่อส่งต่ออนาคตที่ ดีกว่าไปสู่ชนรุ่นหลัง (แน่นอนว่า ชนรุ่นใหม่ในสังคมไทยเป็นเป้าตั้งหลักสาหรับการศึกษาวิจัยเบื้องต้นใน ครั้งนี้) และจัดการกับภัยคุกคามใหม่ของมนุษยชาติ ที่คาดว่าน่าจานวนถึง 9.5-11.1 พันล้านคนในค.ศ. 2050 จากจานวน 7.2 พันกว่าล้านในปัจจุบัน14 มิพักต้องเอ่ยว่า การคาดการณ์ถึงความก้าวหน้าและการ ใช้ประโยชน์เทคโนโลยียังต้องคานึงถึงการที่ฐานอายุประชากรโดยเฉลี่ยได้ขยับเคลื่อนเข้าสู่ความสูงวัย (aging societies) จากที่เคยมีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 8 ของประชากรโลกในค.ศ. 1950 แต่ในครึ่งหลัง ศตวรรษที่ 20 สัดส่วนดังกล่าวได้ขยับมาที่ระดับร้อยละ 10 แต่ความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยี ทางการแพทย์ กอปรกับการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขทาให้ฐานประชากรในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ ร้อยละ 21 ใน ค.ศ. 205015 ภาพที่ต้องคานึงซ้อนทับลงไปก็คือ ภาระทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตก หนักอยู่กับประชากรหนุ่มสาววัยทางานต่อผู้สูงอายุที่ลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามหรือประมาณ 4 คนต่อ ผู้สูงอายุ 1 คน ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่อาจปรากฏชัดมากขึ้นจากแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างสังคมระหว่างประเทศ อาจยิ่งขับเน้นให้ช่องว่างดังกล่าวเด่นชัดเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะใน ภูมิภาคละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วใน แถบยุโรปและอเมริกาเหนือ การปรับเปลี่ยนนโยบายลูกคนเดียวของจีน ยังอาจเสริมให้ภาพโครงสร้าง ฐานประชากรดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องนามาพิจารณาร่วมด้วยก็คือ การ เคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองของประชากรวัยแรงงาน ที่ย่อมส่งผลไม่มากก็น้อย(ทั้งทางตรง และ/หรือทางอ้อม) ต่อการเปลี่ยนแปลงกายภาพของเมือง และอาจรวมถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และความเป็น ชุมชนต่างๆในเขตเมือง การพิจารณาเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นย่อมต้องนาประเด็นความก้าวหน้าด้านขีดความสามารถ ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) ที่เป็นฐานสาคัญในการเชื่อมโยงความรู้และการพัฒนาด้านต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่เรื่อง ของการผลิต สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดรูปองค์กร ทางสังคมและรูปแบบวิถีชีวิตมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างด้านความสามารถและโอกาสในการ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และเป็นเจ้าของทรัพยากรด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ อาจยิ่งสร้างความไม่เท่าเทียม ไม่ เป็นธรรม และ/หรือความขัดแย้งในกลุ่มประชากรทั้งในกลุ่มชนรุ่นเดียวกัน และระหว่างชนรุ่นต่างๆได้ 14 US Census Bureau (2014) Retrieved from http://www.census.gov/population/international/ 15 UN, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2001) World Population Ageing 1950-2050 Retrieved from http://www.un.org/esa/population/publications/worldageing19502050/
  • 8. 8 เช่นกัน ซึ่งอาจยิ่งปรากฏชัดช่วงเวลาที่ยุคดิจิตอลได้ข้ามพ้นข้อจากัดเรื่องฮาร์ดแวร์สู่ระบบปฏิบัติการ และฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (Cloud Computing and Advanced Cloud Services) ที่เริ่มก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ในกิจกรรมต่างๆ16 ซึ่งเชื่อมมนุษย์เข้ากับระบบสารสนเทศ เมื่อผู้ใช้งาน ต้องการเพียงแค่สัญญาณเชื่อมต่อและเครื่องมือที่อาจเป็นเพียงโทรศัพท์ นาฬิกาข้อมือในรูปแบบของ อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Virtualization of Storage, Desktops, Applications, and Networking) ที่ไม่เพียงแค่ ส่งภาพหรือเสียงแบบทางเดียว แต่ยังจะก้าวไปเป็นระบบการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive System) และเหมือนจริงมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเหนือจริง (Hyper-reality) และเป็นสามมิติ การเปลี่ยนแปลงนี้ดังกล่าวข้างต้น ย่อมส่งผลต่อการรับรู้ การเรียนรู้ ไปจนถึงการสร้างสานึกและ ส่งต่อสานึกของผู้คนในเรื่องราวต่างๆ ส่วนจะเป็นการรับรู้ การเรียนรู้ และสานึกแบบใดนั้น ขึ้นยู่กับการ จัดวางแนวทางการกาหนดเนื้อหา ที่สามารถถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะที่ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น การศึกษาและ ฝึกอบรมอาจถูกทาให้อยู่ในรูปแบบของเกม (Gamification of Training and Education) สื่อรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช้กระดาษหรือรูปเล่มจะเข้ามาแทนที่ (eBooks, eNewspapers, eMagazines and Interactive Multimedia eTextbooks) การเชื่อมต่อของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆจะทาให้โลกของชีวิตประจาวัน การทางานและธุรกิจแทรกซึมเข้ามาผสมปนเปกันอย่างเลี่ยงไม่พ้น (Social Business-Social Software) สภาพสังคมของชนรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่งประชากรสูงวัยจึงมีความทับซ้อนทั้งพื้นที่เสมือนจริงทางสังคม (social virtuality) และพื้นที่ความเป็นสังคมจริงทางกายภาพ (geographical sociality) ที่แม้อาจก่อการ ตั้งคาถามต่ออัตลักษณ์ของปัจเจก แต่ก็ช่วยเปิดโลกทัศน์ว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ชนรุ่นใหม่จะเป็น ประชากรของโลกผ่านระบบดิจิตัล (Global citizen, Netizen) ซ้อนทับกับการเป็นพลเมืองของรัฐ 16 Goldman Sachs (2014) 25 Ways We Saw the World Change Retrieved from http://www.goldmansachs.com/s/2013annualreport/ways/technology/#insight-6 , Daniel Burrus (2014) Trends That Will Create Both Disruption and Opportunity on a Global Level Retrieved from http://bigthink.com/flash- foresight/20-game-changing-technology-trends-that-will-create-both-disruption-and-opportunity-on-a-global- level Burrus เป็นนักอนาคตวิทยาชาวอเมริกัน นักวิเคราะห์และเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Burrus Research