SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
ปีที่ 1 ฉบับที่ 4
พฤศจิกายน 2559
แผนปฏิบัติการฉบับทางการ
ของจีน One Belt One Road
บทบรรณาธิการ
สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านที่เคารพ สาหรับ One Belt One Road Monitor ฉบับนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างพิเศษ
และมีความแตกต่างจากฉบับที่ผ่านมา เพราะเราได้นาเสนอถึงแผนปฏิบัติการฉบับทางการสาหรับ
โครงการนี้ที่ทางการรัฐบาลจีนเป็นผุ้ร่างขึ้นเอง จากเดิมที่มักจะเป็นบทวิเคราะห์จากนักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐบาล หากผู้อ่านอยากทราบว่ามีความต่างอย่างไรก็ขอเชิญชวนให้ทุก
ท่านลองอ่านดูค่ะ
สาหรับบทวิเคราะห์ที่สองของเราก็จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและซาอุดิอาระเบีย
ซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นชาติที่พึ่งพาสหรัฐฯ เป็นหลักมาโดยตลอด แต่ในโลกที่ความไม่แน่นอนคือความ
แน่นอนอะไรที่เราไม่คาดคิดก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะยุคที่สหรัฐฯเริ่มเสื่อมถอยและจีนเริ่มผงาด
ฉะนั้นการเดินหมากครั้งนี้ของซาอุดิอาระเบียจึงสาคัญอย่างยิ่ง และสาหรับบทสุดท้ายเราจะพาคุณผู้อ่าน
ไปสารวจความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถาน ในฐานะที่ปากีสถานนั้นเป็นประเทศหน้าด่านแห่ง
เส้นทาง One Belt One Road ซึ่งแน่นอนว่าจีนต้องการที่จะเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานใน
ปากีสถานเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ใช่ว่าการเข้ามาของจีนจะมีแต่การอ้าแขนรับเสมอไป ซึ่งผู้อ่านสามารถ
ติดตามรายละเอียดได้จากบทวิเคราะห์ภายในเล่มนี้ค่ะ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
3
สารบัญ
บทบรรณาธิการ
แผนปฏิบัติการฉบับทางการของ One Belt One Road 1
จีนและซาอุดิอาระเบีย : พันธมิตรใหม่ที่โลกต้องจับตา ? 3
ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของเอเชีย : จีนกับปากีสถานบนเส้นทาง OBOR 5
1
แผนปฏิบัติการฉบับทางการแผนปฏิบัติการฉบับทางการ
ของของ One Belt One RoadOne Belt One Road
หลังจากเราติดตาม One Belt One Road จาก
ทัศนคติ คาวิจารณ์ การคาดคะเน ฯลฯ ของ
นักวิชาการต่างๆ ในฉบับนี้ เห็นควรนาเสนอเอกสาร
แผนปฏิบัติงาน (action plan) ฉบับเต็มของ
OBOR จัดทาโดยกระทรวงการต่างประเทศและ
กระทรวงพาณิชย์จีน โดยคาสั่งของสภาแห่งรัฐ (state
council) จีน เพื่อให้เราทราบเรื่องราวของ OBOR
ฉบับทางการ ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
ของทางการจีน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558
สาระสาคัญของเอกสารฉบับนี้ คือการเสนอ
เรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับ OBOR อย่างครบถ้วนจาก
ทางการจีน ครอบคลุมที่มาที่ไปของโครงการ OBOR
ความเชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมในอดีต หลักการ
และวัตถุประสงค์ กรอบการดาเนินงาน พื้นที่และ
เมืองหลักที่เส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลนี้
จะพาดผ่าน และรายละเอียดพื้นฐานอื่นๆ
รายงานชิ้นนี้กล่าวถึง OBOR ว่าเป็นแนว
ทางการพัฒนาโลกอย่างเป็นระบบ เพื่อออกจากภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัวจากวิกฤตทางการเงินโลก ที่จีน
คิด จีนผลักดัน แต่เปิดให้ประเทศต่างๆ และองค์กร
นานาชาติใดๆ เข้าร่วมก็ได้ แน่นอนว่าจีนจะได้
ประโยชน์มหาศาลจากยุทธศาสตร์นี้ แต่จีนก็ต้องการ
ให้ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในภูมิภาคหลักที่อยู่
ในกรอบการดาเนินงานของ OBOR คือ เอเชีย ยุโรป
และแอฟริกา ได้รับประโยชน์ด้วย คาที่จีนพบมากใน
เอกสารชิ้นนี้ คือ การได้ประโยชน์ร่วมกัน (mutual
benefits) ความเจริญร่วมกัน (mutual prosperi-
ty) การร่วมกันพัฒนาโดยเคารพอธิปไตยและอัต
วินิจฉัยของแต่ละประเทศ เคารพในคุณค่าและความ
หลากหลายของอารยธรรมต่างๆ บนโลก สนับสนุน
ให้โลกอยู่ร่วมกันอย่างเป็นพหุนิยม ให้แต่ละชาติ
พัฒนาไปตามแนวทางของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แตกต่าง
อย่างมากจากแนวทางการพัฒนาและการสร้างความ
เจริญแบบสากลนิยม (universalism) ของตะวันตกที่
ได้ปฏิบัติมาตลอดราวสองศตวรรษที่ผ่านมาในยุคที่
ตะวันตกเป็นจ้าวของโลก
State Council of the People’s Republic of China
ภาพ:State Council of the People’s Republic of China
2
เอกสารนี้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจีนจะไม่ล้มล้าง
ระเบียบโลกของตะวันตกอย่างที่ความคิดแบบตะวันตก
จานวนมากวิจารณ์ แต่จีนจะรักษาและสนับสนุน
องค์ประกอบหลักของระเบียบโลกแบบตะวันตก เช่น
การค้าเสรี ระบบตลาด เอาไว้ รวมทั้งกล่าวว่าจีนจะ
ผูกพันเศรษฐกิจของตนเข้ากับเศรษฐกิจโลกให้แนบแน่น
มากขึ้น และจะเข้ามาแบกรับความรับผิดชอบในโลกให้
มากยิ่งขึ้นด้วย
โดยสรุป ควรอย่างยิ่งที่ผู้สนใจนโยบาย
OBOR และแนวทางการพัฒนาประเทศของจีน จะได้
ศึกษารายงานชิ้นนี้เป็นพื้นฐานก่อนที่จะตีความ หรือ
ศึกษาเรื่องราวในชั้นลึก ความคิดเห็น และข้อ
วิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่างๆ ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
State Council of the People’s Republic of China. Full
text: Action plan on the Belt and Road Initiative.
ออนไลน์
http://english.gov.cn/archive/publications/2015/03/30/
content_281475080249035.htm
ภาพ https://tawatshaiboonsong.files.wordpress.com/2015/02/flag21.jpg
3
จีนและซาอุดิอาระเบีย :
พันธมิตรใหม่ที่โลกต้องจับตา ?
การประชุมผู้นา G20 นั้นเป็นการประชุมด้าน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สาคัญมากที่สุดเวทีหนึ่งของ
โลก โดยในปีนี้การประชุมถูกจัดขึ้น ณ นครหางโจว
สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวของ
หลากหลายชาติที่น่าจับตามองทั้งที่เป็นการประชุมอย่าง
เป็นทางการและการประชุมนอกรอบ โดยเฉพาะการ
ประชุมร่วมเป็นพิเศษระหว่าง รองมกุฎราชกุมาร
มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ผู้เป็นตัวแทนส่วนพระองค์ของ
สมเด็จพระราชาธิบดี ซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ แห่ง
ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และ ประธานาธิบดีแห่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน นาย สี จิ้นผิ้ง ณ มหานครปักกิ่ง
การที่ผู้นาระดับสูงของทั้งสองชาติได้ร่วมหารือกันย่อม
เป็นสัญญาณที่ยืนยันว่าทั้งสองชาติได้มุ่งหวังที่จะ
ยกระดับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยมีความ
ตกลงร่วมและบันทึกความเข้าใจกว่า 15 ฉบับที่ได้รับการ
รับรองซึ่งครอบคลุมในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นด้านการ
พัฒนาพลังงาน การพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและการจัดการ
ทรัพยากรน้า รวมไปถึงการลงทุนทางด้านโทรคมนาคม
ด้วย
แม้จะมีความร่วมมือในหลายด้าน แต่ความ
ร่วมมือในด้านพลังงานก็ยังเป็นด้านที่สาคัญที่สุดและ
เป็นรากฐานที่เอื้อให้เกิดความร่วมมือในด้านอื่น ๆ
ตามมา ที่เป็นเช่นนี้เพราะซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นชาติที่
ส่งออกน้ามันมากที่สุดในโลก ในทางกลับกันจีนเป็น
ชาติที่ใช้น้ามันมากที่สุดในโลก ฉะนั้นการที่ทั้งสองชาติ
จะสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นภายใต้กรอบความ
ร่วมมือ “Vision 2030” ซึ่งอยู่ภายใต้ความดูแลของ
มุฮัมมัด บิน ซัลมาน และ “One Belt, One Road” ซึ่ง
ผลักดันโดย สี จิ้นผิ้ง จึงไม่ใช่เรื่องที่เหนือการคาดเดา
ซาอุดิอาระเบียต้องการที่จะหันหาจีนเพื่อลดการพึ่งพา
สหรัฐฯมากเกินไป ส่วนจีนก็ต้องการความช่วยเหลือ
จากซาอุดิอาระเบียเพื่อยกระดับสถานะของตนใน
ภูมิภาคตะวันออกกลาง
เมื่อเทียบความสัมพันธ์ที่ซาอุดิอาระเบียมีต่อ
สหรัฐฯ มาอย่างยาวนานแล้ว ความสัมพันธ์กับจีนนั้น
ถือว่ามีระยะที่สั้นกว่ามาก โดยที่ซาอุดิอาระเบียพึ่ง
รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.
1990 เท่านั้น เพราะความเกรงกลัวในอุดมการณ์
คอมมิวนิสต์ทาให้ซาอุดิอาระเบียเป็นชาติอาหรับชาติ
สุดท้ายเลือกที่จะรับรองสถานะดังกล่าว จากนั้นในปี
ค.ศ. 1999 ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน ก็ได้เดินทาง
มาเยือนซาอุดิอาระเบียเพื่อร่วมลงนามในข้อตกลงความ
ร่วมมือด้านยุทธศาสตร์พลังงาน ซึ่งปัจจัยสาคัญที่เร่งให้
ทั้งสองชาติต้องสานสัมพันธ์กันอย่างรวดเร็วก็คือปัจจัย
ด้านพลังงานนั่นเองที่มีความจาเป็นต่อจีนในด้านการ
พัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ นับแต่นั้นมาผู้แทน
ระดับสูงของรัฐบาลทั้งสองก็มีการพบกันโดยตลอด ในปี
ค.ศ. 1990 ตัวเลขการค้าระหว่างกันอยู่ที่ 1 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ได้ขยับสูงขึ้นถึง 7 หมื่นล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่า
การค้าระหว่างซาอุดิอาระเบียและสหรัฐฯด้วยซ้า
The Diplomat
4
นักวิเคราะห์หลายส่วนคาดว่าสาเหตุที่
ซาอุดิอาระเบียหันเข้าหาจีนมากขึ้นเป็นเพราะสหรัฐฯเริ่ม
ดาเนินนโยบายที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของ
ซาอุดิอาระเบีย เช่น การที่สหรัฐฯเริ่มเป็นมิตรกับอิหร่าน
มากภายหลังที่อิหร่านล้มเลิกโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
อีกทั้งเลี่ยงการทาสงครามกับรัฐบาลซีเรียทั้งที่เคยเตือนไว้
ว่าจะส่งกาลังเข้าสู่พื้นที่ทันทีหากรัฐบาลใช้อาวุธเคมีในการ
รบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสที่ยุทธศาสตร์ “One Belt One
Road” ของจีนจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชาติอาหรับตะวันออก
กลางมากขึ้นโดยแปรผกผันกับอานาจของสหรัฐฯ ที่ลดลง
ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จีนจะมีบทบาทใหม่ในฐานะ
ผู้ขายอาวุธแก่ซาอุดิอาระเบียซึ่งระหว่างปี ค.ศ. 2008 –
ค.ศ. 2011 มีมูลค่าราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่
เป็นเพียงผู้ซื้อน้ามันรายใหญ่เท่านั้น นี่คือสัญญาณของการ
ยกระดับบทบาทในด้านความมั่นคง-การทหารของจีน
นั่นเอง
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างจีนและ
ซาอุดิอาระเบียใช่ว่าจะไร้อุปสรรคเสียทีเดียว เพราะจีนก็มี
ความสนใจที่ยกระดับความสัมพันธ์ต่ออิหร่านด้วยเช่นกัน
เนื่องจากอิหร่านคือทางผ่านสาคัญในเส้นทาง “One Belt,
One Road” ซึ่งอิหร่านก็คือคู่ขัดแย้งหมายเลขหนึ่ง
ในตอนนี้ที่ซาอุดิอาระเบียจับตามอง และบทบาทของ
สหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ที่แม้จะเป็นช่วงขาลง แต่ก็เป็นขาลงที่
ทิ้งห่างมหาอานาจอื่น ๆ อย่างไม่อาจเทียบได้ แม้จีนที่
กาลังมีบทบาทมากขึ้นก็ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามา
แทนที่สหรัฐฯ ในด้านความมั่นคง ในปี ค.ศ. 2011 ปีเดียว
มูลค่าอาวุธที่สหรัฐฯ ขายให้ซาอุดิอาระเบียสูงถึง 3,300
ล้านบาท และในตอนนี้จีนเองก็ยังไม่มีนโยบายที่จะท้าทาย
สหรัฐฯ แต่อย่างใด ประเด็นสุดท้ายคือ “soft power” ของ
สหรัฐฯ ที่เข้มแข็งในหมู่ชนชั้นนาที่เป็นคนหนุ่มของ
ซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากคนหนุ่มเหล่านี้ได้รับการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ซึ่งคนหนุ่มในจีนเองก็ไม่
ต่างกันเนื่องจากครอบครัวที่ร่ารวยนิยมส่งบุตรหลายไป
เรียนยังมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯเช่นกัน
โดยสรุปแล้วในระยะสั้นซาอุดิอาระเบียยังต้อง
พึ่งพาสหรัฐฯ เพื่อความมั่นคงทางทหารและการเมือง ส่วน
ความสัมพันธ์ที่มีต่อจีนนั้นจะยังคงมุ่งเน้นอยู่ในด้าน
เศรษฐกิจเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
Wang Jin. China and Saudi Arabia: A New Alli-
ance? The Diplomat. ออนไลน์
http://carnegieeurope.eu/2016/11/12/is-trump-good-for
-turkey-u.s.-relationship-pub-66122
รองมกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน
จับมือกับ นาย สี จิ้นผิ้ง (รูป:breitbart.com)
5
ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของเอเชีย :
จีนกับปากีสถานบนเส้นทาง
OBOR
ในประเทศปากีสถานเวลานี้ จีนถูกมองว่าเป็น
หุ้นส่วนและเพื่อนที่น่าไว้วางใจ จะเห็นได้ว่า
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศพัฒนาขึ้นมา
หลายปีในช่วงที่ผ่านมา ความแตกต่างทางอุดมการณ์และ
วัฒนธรรมของประเทศทั้งสองไม่ได้เป็นประเด็นที่กังวลใจ
แล้ว
New Silk Road ที่เป็นฉากหลังเชื่อมตะวันออก
กลาง ตลาดของยุโรป และเมืองขนาดใหญ่ของเอเชียด้าน
ตะวันออก นั้น Andrew Small ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
และการต่างประเทศเกี่ยวกับจีน เห็นว่า จีน-ปากีสถาน
เป็นพันธมิตรที่ดีมาก จีนเป็นผู้นา Silk Road Economic
Belt, the Maritime Silk Route (ทั้งสองเรื่องนี้ถูกเรียก
รวมว่า OBOR) และ วิสัยทัศน์สาหรับการเชื่อมโยงยูเร
เซียในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเป้าที่การสร้างช่องทางในเชิง
ยุทธศาสตร์ เพื่อการค้าและศูนย์กลางของอุตสาหกรรม
ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (The China-
Pakistan Economic Corridor (CPEC)) เป็นส่วนหนึ่ง
ของ OBOR ซึ่งจะเชื่อมเมือง Gwadar ไปถึงเมือง Kash-
gar ทางตะวันตกของจีน เป็นการขยายเส้นทางให้จีน
เข้าถึงตลาดของเอเซียใต้ เอเซียกลาง และตะวันออก
กลาง มองจากมุมมองของปากีสถานแล้ว ระเบียง
เศรษฐกิจนี้จะเป็นเครื่องมือให้กับเศรษฐกิจของปากีสถาน
ที่ต้องฝ่าฟันดิ้นรนจากการเป็นประเทศที่ต้องต่อสู้กับกลุ่ม
ก่อการร้ายมามาก กว่าทศวรรษ จะได้รับการลงทุนจาก
ต่างประเทศ และพื้นที่บริเวณอิสลามาบัดก็จะมีความ
ความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งเวลานี้จีนให้คามั่นว่าจะลงทุนใน
ปากีสถานมากกว่า 35 โครงการเป็นมูลค่ารวม 46
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย โครงการด้าน
พลังงาน 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และด้านโครงสร้าง
พื้นฐาน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ดูรูปที่ 1)
The Diplomat
(รูปที่ 1)
ที่มาภาพ : http://www.dhakatribune.com/
world/2016/08/25/balochistan-troubled-
heart-china-pakistan-economic-corridor/
6
ในอีกด้านหนึ่งของความสัมพันธ์จีนกับปากีสถาน คือ
เรื่องการก่อการร้าย การทาสงครามโจมตีในปากีสถานได้
สร้างความกังวลให้จีน วิศวกรของจีนที่ทางานที่
กองทัพอากาศ Kamra ต้องถูกย้ายไปที่ตั้งที่ปลอดภัยจาก
การโจมีของผู้ก่อการร้าย Andrew Small ได้เน้นย้าใน
หนังสือของเขาว่า การปรากฏตัวของขบวนการเคลื่อนไหว
อิสลามชาวเตอร์กีสสถานตะวันออก (ETIM) ในมณฑลซิ
นเจียง ดินแดนส่วนใหญ่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ซึ่งห้อม
ล้อมด้วย คีกิสถาน ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย
มองโกเลีย อัฟกานิสถาน อินเดีย และชายแดนทั้งหมด
ของจีน 20 กิโลเมตร กับปากีสถาน ที่เป็นแหล่งที่จีนกังวล
เนื่องจาก ETIM เชื่อมโยงกับกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆได้ไปสร้าง
ความลาบากใจให้กับปักกิ่ง Andrew ยังอ้างถึงนักทฤษฎี
สมคบคิดที่กล่าวว่า กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเตอร์กีส
สถานกาลังถูกยุยงจากสหรัฐอเมริกาหรืออินเดียเพื่อตอก
ลิ่มความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับปากีสถาน
อย่างไรก็ตาม ยังมีมุมมองของอิสลามาบัดที่มอง
สอดคล้องกับปักกิ่ง ในเรื่องที่ว่าปากีสถานไม่อาจทาลาย
ความสัมพันธ์ของตนเองกับจีนเพื่อผลประโยชน์ของชาว
อุยกูร์ที่ไม่พอใจไม่กี่คน ยิ่งไปกว่านั้น ความก้าวร้าวของ
การก่อการร้ายที่ปากีสถานเผชิญเป็นการต่อต้านคนที่มี
ความคิดนอกทางทั้งหมด ซึ่งเวลานี้ทหารได้ปลอมเข้าไป
ในเครือข่ายก่อการร้ายและมากกว่า 90% ของพื้นที่ได้มี
การกวาดล้างผู้ก่อการร้ายได้แล้ว
จุดยืนของจีนต่อยุทธศาสตร์ของปากีสถานที่เผชิญ
กับการก่อการร้าย สะท้อนให้เห็นได้จากการมาเยือน
ปากีสถานของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเมื่อปี 2015 เดือน
เมษายน นั่นก็คือ ประธานาธิบดีชื่นชมความแข็งกร้าว ของ
ปากีสถานที่มีต่อผู้ก่อการร้ายใน Waziristan ภาคเหนือ (ดู
รูปที่ 2)
มองจากมุมของความริเริ่ม OBOR แล้ว จีนน่าจะ
เป็นตัวแสดงเชิงรุกที่เกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคนี้ สาหรับ
ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะปากีสถานนั้น
ระเบียงเศรษฐกิจนับว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีของ
ปากีสถานที่จะบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจจีนได้ และวันนี้
ถือได้ว่าปากีสถานเป็นประเทศแรก ๆ ที่ได้รับผลประโยชน์
จากยุทธศาสตร์ OBOR นี้ กระนั้นก็ตาม หากมองในด้าน
กลับยังมีความพยายามของกลุ่มที่คัดค้านโครงการที่นา
โดยจีนซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่หันกลับมาเป็นความท้า
ทายสาหรับจีนเอง
(รูปที่ 2)
ที่มาภาพ :
http://theglobalcalcuttan.com/?p=1031
เอกสารอ้างอิง
http://www.cpec.gov.pk/
http://www.pakistan-china.com/pci-
backgrounders.php
https://walizahid.com/2015/02/china-pakistan-
economic-corridor-a-timeline/
Andrew Small. The China-Pakistan Axis: Asia’s New
Geopolitics. New York: Oxford University Press,
2015
7
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
เรียบเรียง: นายอุสมาน วาจิ
นายปาณัท ทองพ่วง
ภาพปก: http://english.gov.cn/archive/publications/2015/03/30/content_281475080249035.htm
ที่อยู่ติดต่อ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1
ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026

Contenu connexe

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559

  • 1. ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 พฤศจิกายน 2559 แผนปฏิบัติการฉบับทางการ ของจีน One Belt One Road
  • 2. บทบรรณาธิการ สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านที่เคารพ สาหรับ One Belt One Road Monitor ฉบับนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างพิเศษ และมีความแตกต่างจากฉบับที่ผ่านมา เพราะเราได้นาเสนอถึงแผนปฏิบัติการฉบับทางการสาหรับ โครงการนี้ที่ทางการรัฐบาลจีนเป็นผุ้ร่างขึ้นเอง จากเดิมที่มักจะเป็นบทวิเคราะห์จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐบาล หากผู้อ่านอยากทราบว่ามีความต่างอย่างไรก็ขอเชิญชวนให้ทุก ท่านลองอ่านดูค่ะ สาหรับบทวิเคราะห์ที่สองของเราก็จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและซาอุดิอาระเบีย ซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นชาติที่พึ่งพาสหรัฐฯ เป็นหลักมาโดยตลอด แต่ในโลกที่ความไม่แน่นอนคือความ แน่นอนอะไรที่เราไม่คาดคิดก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะยุคที่สหรัฐฯเริ่มเสื่อมถอยและจีนเริ่มผงาด ฉะนั้นการเดินหมากครั้งนี้ของซาอุดิอาระเบียจึงสาคัญอย่างยิ่ง และสาหรับบทสุดท้ายเราจะพาคุณผู้อ่าน ไปสารวจความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถาน ในฐานะที่ปากีสถานนั้นเป็นประเทศหน้าด่านแห่ง เส้นทาง One Belt One Road ซึ่งแน่นอนว่าจีนต้องการที่จะเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานใน ปากีสถานเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ใช่ว่าการเข้ามาของจีนจะมีแต่การอ้าแขนรับเสมอไป ซึ่งผู้อ่านสามารถ ติดตามรายละเอียดได้จากบทวิเคราะห์ภายในเล่มนี้ค่ะ ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
  • 3. 3 สารบัญ บทบรรณาธิการ แผนปฏิบัติการฉบับทางการของ One Belt One Road 1 จีนและซาอุดิอาระเบีย : พันธมิตรใหม่ที่โลกต้องจับตา ? 3 ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของเอเชีย : จีนกับปากีสถานบนเส้นทาง OBOR 5
  • 4. 1 แผนปฏิบัติการฉบับทางการแผนปฏิบัติการฉบับทางการ ของของ One Belt One RoadOne Belt One Road หลังจากเราติดตาม One Belt One Road จาก ทัศนคติ คาวิจารณ์ การคาดคะเน ฯลฯ ของ นักวิชาการต่างๆ ในฉบับนี้ เห็นควรนาเสนอเอกสาร แผนปฏิบัติงาน (action plan) ฉบับเต็มของ OBOR จัดทาโดยกระทรวงการต่างประเทศและ กระทรวงพาณิชย์จีน โดยคาสั่งของสภาแห่งรัฐ (state council) จีน เพื่อให้เราทราบเรื่องราวของ OBOR ฉบับทางการ ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ของทางการจีน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 สาระสาคัญของเอกสารฉบับนี้ คือการเสนอ เรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับ OBOR อย่างครบถ้วนจาก ทางการจีน ครอบคลุมที่มาที่ไปของโครงการ OBOR ความเชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมในอดีต หลักการ และวัตถุประสงค์ กรอบการดาเนินงาน พื้นที่และ เมืองหลักที่เส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลนี้ จะพาดผ่าน และรายละเอียดพื้นฐานอื่นๆ รายงานชิ้นนี้กล่าวถึง OBOR ว่าเป็นแนว ทางการพัฒนาโลกอย่างเป็นระบบ เพื่อออกจากภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัวจากวิกฤตทางการเงินโลก ที่จีน คิด จีนผลักดัน แต่เปิดให้ประเทศต่างๆ และองค์กร นานาชาติใดๆ เข้าร่วมก็ได้ แน่นอนว่าจีนจะได้ ประโยชน์มหาศาลจากยุทธศาสตร์นี้ แต่จีนก็ต้องการ ให้ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในภูมิภาคหลักที่อยู่ ในกรอบการดาเนินงานของ OBOR คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ได้รับประโยชน์ด้วย คาที่จีนพบมากใน เอกสารชิ้นนี้ คือ การได้ประโยชน์ร่วมกัน (mutual benefits) ความเจริญร่วมกัน (mutual prosperi- ty) การร่วมกันพัฒนาโดยเคารพอธิปไตยและอัต วินิจฉัยของแต่ละประเทศ เคารพในคุณค่าและความ หลากหลายของอารยธรรมต่างๆ บนโลก สนับสนุน ให้โลกอยู่ร่วมกันอย่างเป็นพหุนิยม ให้แต่ละชาติ พัฒนาไปตามแนวทางของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แตกต่าง อย่างมากจากแนวทางการพัฒนาและการสร้างความ เจริญแบบสากลนิยม (universalism) ของตะวันตกที่ ได้ปฏิบัติมาตลอดราวสองศตวรรษที่ผ่านมาในยุคที่ ตะวันตกเป็นจ้าวของโลก State Council of the People’s Republic of China ภาพ:State Council of the People’s Republic of China
  • 5. 2 เอกสารนี้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจีนจะไม่ล้มล้าง ระเบียบโลกของตะวันตกอย่างที่ความคิดแบบตะวันตก จานวนมากวิจารณ์ แต่จีนจะรักษาและสนับสนุน องค์ประกอบหลักของระเบียบโลกแบบตะวันตก เช่น การค้าเสรี ระบบตลาด เอาไว้ รวมทั้งกล่าวว่าจีนจะ ผูกพันเศรษฐกิจของตนเข้ากับเศรษฐกิจโลกให้แนบแน่น มากขึ้น และจะเข้ามาแบกรับความรับผิดชอบในโลกให้ มากยิ่งขึ้นด้วย โดยสรุป ควรอย่างยิ่งที่ผู้สนใจนโยบาย OBOR และแนวทางการพัฒนาประเทศของจีน จะได้ ศึกษารายงานชิ้นนี้เป็นพื้นฐานก่อนที่จะตีความ หรือ ศึกษาเรื่องราวในชั้นลึก ความคิดเห็น และข้อ วิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่างๆ ต่อไป เอกสารอ้างอิง State Council of the People’s Republic of China. Full text: Action plan on the Belt and Road Initiative. ออนไลน์ http://english.gov.cn/archive/publications/2015/03/30/ content_281475080249035.htm ภาพ https://tawatshaiboonsong.files.wordpress.com/2015/02/flag21.jpg
  • 6. 3 จีนและซาอุดิอาระเบีย : พันธมิตรใหม่ที่โลกต้องจับตา ? การประชุมผู้นา G20 นั้นเป็นการประชุมด้าน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สาคัญมากที่สุดเวทีหนึ่งของ โลก โดยในปีนี้การประชุมถูกจัดขึ้น ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวของ หลากหลายชาติที่น่าจับตามองทั้งที่เป็นการประชุมอย่าง เป็นทางการและการประชุมนอกรอบ โดยเฉพาะการ ประชุมร่วมเป็นพิเศษระหว่าง รองมกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ผู้เป็นตัวแทนส่วนพระองค์ของ สมเด็จพระราชาธิบดี ซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ แห่ง ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และ ประธานาธิบดีแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นาย สี จิ้นผิ้ง ณ มหานครปักกิ่ง การที่ผู้นาระดับสูงของทั้งสองชาติได้ร่วมหารือกันย่อม เป็นสัญญาณที่ยืนยันว่าทั้งสองชาติได้มุ่งหวังที่จะ ยกระดับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยมีความ ตกลงร่วมและบันทึกความเข้าใจกว่า 15 ฉบับที่ได้รับการ รับรองซึ่งครอบคลุมในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นด้านการ พัฒนาพลังงาน การพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและการจัดการ ทรัพยากรน้า รวมไปถึงการลงทุนทางด้านโทรคมนาคม ด้วย แม้จะมีความร่วมมือในหลายด้าน แต่ความ ร่วมมือในด้านพลังงานก็ยังเป็นด้านที่สาคัญที่สุดและ เป็นรากฐานที่เอื้อให้เกิดความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ตามมา ที่เป็นเช่นนี้เพราะซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นชาติที่ ส่งออกน้ามันมากที่สุดในโลก ในทางกลับกันจีนเป็น ชาติที่ใช้น้ามันมากที่สุดในโลก ฉะนั้นการที่ทั้งสองชาติ จะสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นภายใต้กรอบความ ร่วมมือ “Vision 2030” ซึ่งอยู่ภายใต้ความดูแลของ มุฮัมมัด บิน ซัลมาน และ “One Belt, One Road” ซึ่ง ผลักดันโดย สี จิ้นผิ้ง จึงไม่ใช่เรื่องที่เหนือการคาดเดา ซาอุดิอาระเบียต้องการที่จะหันหาจีนเพื่อลดการพึ่งพา สหรัฐฯมากเกินไป ส่วนจีนก็ต้องการความช่วยเหลือ จากซาอุดิอาระเบียเพื่อยกระดับสถานะของตนใน ภูมิภาคตะวันออกกลาง เมื่อเทียบความสัมพันธ์ที่ซาอุดิอาระเบียมีต่อ สหรัฐฯ มาอย่างยาวนานแล้ว ความสัมพันธ์กับจีนนั้น ถือว่ามีระยะที่สั้นกว่ามาก โดยที่ซาอุดิอาระเบียพึ่ง รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1990 เท่านั้น เพราะความเกรงกลัวในอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ทาให้ซาอุดิอาระเบียเป็นชาติอาหรับชาติ สุดท้ายเลือกที่จะรับรองสถานะดังกล่าว จากนั้นในปี ค.ศ. 1999 ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน ก็ได้เดินทาง มาเยือนซาอุดิอาระเบียเพื่อร่วมลงนามในข้อตกลงความ ร่วมมือด้านยุทธศาสตร์พลังงาน ซึ่งปัจจัยสาคัญที่เร่งให้ ทั้งสองชาติต้องสานสัมพันธ์กันอย่างรวดเร็วก็คือปัจจัย ด้านพลังงานนั่นเองที่มีความจาเป็นต่อจีนในด้านการ พัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ นับแต่นั้นมาผู้แทน ระดับสูงของรัฐบาลทั้งสองก็มีการพบกันโดยตลอด ในปี ค.ศ. 1990 ตัวเลขการค้าระหว่างกันอยู่ที่ 1 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ได้ขยับสูงขึ้นถึง 7 หมื่นล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่า การค้าระหว่างซาอุดิอาระเบียและสหรัฐฯด้วยซ้า The Diplomat
  • 7. 4 นักวิเคราะห์หลายส่วนคาดว่าสาเหตุที่ ซาอุดิอาระเบียหันเข้าหาจีนมากขึ้นเป็นเพราะสหรัฐฯเริ่ม ดาเนินนโยบายที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของ ซาอุดิอาระเบีย เช่น การที่สหรัฐฯเริ่มเป็นมิตรกับอิหร่าน มากภายหลังที่อิหร่านล้มเลิกโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งเลี่ยงการทาสงครามกับรัฐบาลซีเรียทั้งที่เคยเตือนไว้ ว่าจะส่งกาลังเข้าสู่พื้นที่ทันทีหากรัฐบาลใช้อาวุธเคมีในการ รบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสที่ยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” ของจีนจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชาติอาหรับตะวันออก กลางมากขึ้นโดยแปรผกผันกับอานาจของสหรัฐฯ ที่ลดลง ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จีนจะมีบทบาทใหม่ในฐานะ ผู้ขายอาวุธแก่ซาอุดิอาระเบียซึ่งระหว่างปี ค.ศ. 2008 – ค.ศ. 2011 มีมูลค่าราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่ เป็นเพียงผู้ซื้อน้ามันรายใหญ่เท่านั้น นี่คือสัญญาณของการ ยกระดับบทบาทในด้านความมั่นคง-การทหารของจีน นั่นเอง อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างจีนและ ซาอุดิอาระเบียใช่ว่าจะไร้อุปสรรคเสียทีเดียว เพราะจีนก็มี ความสนใจที่ยกระดับความสัมพันธ์ต่ออิหร่านด้วยเช่นกัน เนื่องจากอิหร่านคือทางผ่านสาคัญในเส้นทาง “One Belt, One Road” ซึ่งอิหร่านก็คือคู่ขัดแย้งหมายเลขหนึ่ง ในตอนนี้ที่ซาอุดิอาระเบียจับตามอง และบทบาทของ สหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ที่แม้จะเป็นช่วงขาลง แต่ก็เป็นขาลงที่ ทิ้งห่างมหาอานาจอื่น ๆ อย่างไม่อาจเทียบได้ แม้จีนที่ กาลังมีบทบาทมากขึ้นก็ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามา แทนที่สหรัฐฯ ในด้านความมั่นคง ในปี ค.ศ. 2011 ปีเดียว มูลค่าอาวุธที่สหรัฐฯ ขายให้ซาอุดิอาระเบียสูงถึง 3,300 ล้านบาท และในตอนนี้จีนเองก็ยังไม่มีนโยบายที่จะท้าทาย สหรัฐฯ แต่อย่างใด ประเด็นสุดท้ายคือ “soft power” ของ สหรัฐฯ ที่เข้มแข็งในหมู่ชนชั้นนาที่เป็นคนหนุ่มของ ซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากคนหนุ่มเหล่านี้ได้รับการศึกษา จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ซึ่งคนหนุ่มในจีนเองก็ไม่ ต่างกันเนื่องจากครอบครัวที่ร่ารวยนิยมส่งบุตรหลายไป เรียนยังมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯเช่นกัน โดยสรุปแล้วในระยะสั้นซาอุดิอาระเบียยังต้อง พึ่งพาสหรัฐฯ เพื่อความมั่นคงทางทหารและการเมือง ส่วน ความสัมพันธ์ที่มีต่อจีนนั้นจะยังคงมุ่งเน้นอยู่ในด้าน เศรษฐกิจเท่านั้น เอกสารอ้างอิง Wang Jin. China and Saudi Arabia: A New Alli- ance? The Diplomat. ออนไลน์ http://carnegieeurope.eu/2016/11/12/is-trump-good-for -turkey-u.s.-relationship-pub-66122 รองมกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน จับมือกับ นาย สี จิ้นผิ้ง (รูป:breitbart.com)
  • 8. 5 ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของเอเชีย : จีนกับปากีสถานบนเส้นทาง OBOR ในประเทศปากีสถานเวลานี้ จีนถูกมองว่าเป็น หุ้นส่วนและเพื่อนที่น่าไว้วางใจ จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศพัฒนาขึ้นมา หลายปีในช่วงที่ผ่านมา ความแตกต่างทางอุดมการณ์และ วัฒนธรรมของประเทศทั้งสองไม่ได้เป็นประเด็นที่กังวลใจ แล้ว New Silk Road ที่เป็นฉากหลังเชื่อมตะวันออก กลาง ตลาดของยุโรป และเมืองขนาดใหญ่ของเอเชียด้าน ตะวันออก นั้น Andrew Small ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และการต่างประเทศเกี่ยวกับจีน เห็นว่า จีน-ปากีสถาน เป็นพันธมิตรที่ดีมาก จีนเป็นผู้นา Silk Road Economic Belt, the Maritime Silk Route (ทั้งสองเรื่องนี้ถูกเรียก รวมว่า OBOR) และ วิสัยทัศน์สาหรับการเชื่อมโยงยูเร เซียในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเป้าที่การสร้างช่องทางในเชิง ยุทธศาสตร์ เพื่อการค้าและศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (The China- Pakistan Economic Corridor (CPEC)) เป็นส่วนหนึ่ง ของ OBOR ซึ่งจะเชื่อมเมือง Gwadar ไปถึงเมือง Kash- gar ทางตะวันตกของจีน เป็นการขยายเส้นทางให้จีน เข้าถึงตลาดของเอเซียใต้ เอเซียกลาง และตะวันออก กลาง มองจากมุมมองของปากีสถานแล้ว ระเบียง เศรษฐกิจนี้จะเป็นเครื่องมือให้กับเศรษฐกิจของปากีสถาน ที่ต้องฝ่าฟันดิ้นรนจากการเป็นประเทศที่ต้องต่อสู้กับกลุ่ม ก่อการร้ายมามาก กว่าทศวรรษ จะได้รับการลงทุนจาก ต่างประเทศ และพื้นที่บริเวณอิสลามาบัดก็จะมีความ ความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งเวลานี้จีนให้คามั่นว่าจะลงทุนใน ปากีสถานมากกว่า 35 โครงการเป็นมูลค่ารวม 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย โครงการด้าน พลังงาน 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และด้านโครงสร้าง พื้นฐาน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ดูรูปที่ 1) The Diplomat (รูปที่ 1) ที่มาภาพ : http://www.dhakatribune.com/ world/2016/08/25/balochistan-troubled- heart-china-pakistan-economic-corridor/
  • 9. 6 ในอีกด้านหนึ่งของความสัมพันธ์จีนกับปากีสถาน คือ เรื่องการก่อการร้าย การทาสงครามโจมตีในปากีสถานได้ สร้างความกังวลให้จีน วิศวกรของจีนที่ทางานที่ กองทัพอากาศ Kamra ต้องถูกย้ายไปที่ตั้งที่ปลอดภัยจาก การโจมีของผู้ก่อการร้าย Andrew Small ได้เน้นย้าใน หนังสือของเขาว่า การปรากฏตัวของขบวนการเคลื่อนไหว อิสลามชาวเตอร์กีสสถานตะวันออก (ETIM) ในมณฑลซิ นเจียง ดินแดนส่วนใหญ่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ซึ่งห้อม ล้อมด้วย คีกิสถาน ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย อัฟกานิสถาน อินเดีย และชายแดนทั้งหมด ของจีน 20 กิโลเมตร กับปากีสถาน ที่เป็นแหล่งที่จีนกังวล เนื่องจาก ETIM เชื่อมโยงกับกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆได้ไปสร้าง ความลาบากใจให้กับปักกิ่ง Andrew ยังอ้างถึงนักทฤษฎี สมคบคิดที่กล่าวว่า กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเตอร์กีส สถานกาลังถูกยุยงจากสหรัฐอเมริกาหรืออินเดียเพื่อตอก ลิ่มความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ยังมีมุมมองของอิสลามาบัดที่มอง สอดคล้องกับปักกิ่ง ในเรื่องที่ว่าปากีสถานไม่อาจทาลาย ความสัมพันธ์ของตนเองกับจีนเพื่อผลประโยชน์ของชาว อุยกูร์ที่ไม่พอใจไม่กี่คน ยิ่งไปกว่านั้น ความก้าวร้าวของ การก่อการร้ายที่ปากีสถานเผชิญเป็นการต่อต้านคนที่มี ความคิดนอกทางทั้งหมด ซึ่งเวลานี้ทหารได้ปลอมเข้าไป ในเครือข่ายก่อการร้ายและมากกว่า 90% ของพื้นที่ได้มี การกวาดล้างผู้ก่อการร้ายได้แล้ว จุดยืนของจีนต่อยุทธศาสตร์ของปากีสถานที่เผชิญ กับการก่อการร้าย สะท้อนให้เห็นได้จากการมาเยือน ปากีสถานของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเมื่อปี 2015 เดือน เมษายน นั่นก็คือ ประธานาธิบดีชื่นชมความแข็งกร้าว ของ ปากีสถานที่มีต่อผู้ก่อการร้ายใน Waziristan ภาคเหนือ (ดู รูปที่ 2) มองจากมุมของความริเริ่ม OBOR แล้ว จีนน่าจะ เป็นตัวแสดงเชิงรุกที่เกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคนี้ สาหรับ ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะปากีสถานนั้น ระเบียงเศรษฐกิจนับว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีของ ปากีสถานที่จะบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจจีนได้ และวันนี้ ถือได้ว่าปากีสถานเป็นประเทศแรก ๆ ที่ได้รับผลประโยชน์ จากยุทธศาสตร์ OBOR นี้ กระนั้นก็ตาม หากมองในด้าน กลับยังมีความพยายามของกลุ่มที่คัดค้านโครงการที่นา โดยจีนซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่หันกลับมาเป็นความท้า ทายสาหรับจีนเอง (รูปที่ 2) ที่มาภาพ : http://theglobalcalcuttan.com/?p=1031 เอกสารอ้างอิง http://www.cpec.gov.pk/ http://www.pakistan-china.com/pci- backgrounders.php https://walizahid.com/2015/02/china-pakistan- economic-corridor-a-timeline/ Andrew Small. The China-Pakistan Axis: Asia’s New Geopolitics. New York: Oxford University Press, 2015
  • 10. 7 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล เรียบเรียง: นายอุสมาน วาจิ นายปาณัท ทองพ่วง ภาพปก: http://english.gov.cn/archive/publications/2015/03/30/content_281475080249035.htm ที่อยู่ติดต่อ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026