SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  27
Télécharger pour lire hors ligne
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces)
: พันธมิตรสหรัฐอเมริกำในสงครำมซีเรีย
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces):
พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย
ผู้เขียน
โศภนิศ อังศุสิงห์
นักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ที่ปรึกษำ: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณำธิกำร: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณำธิกำร : โศภนิศ อังศุสิงห์
อำนวยกำรผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: มิถุนายน 2562
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สำรบัญ
ประเทศซีเรีย (Syria)..........................................................................................................................1
ชาวเคิร์ดในซีเรีย................................................................................................................................6
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces)................................................................7
การฝึกฝนและศักยภาพของกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียในปฏิบัติการรบ..........................................10
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียกับการเมืองภายใน...............................................................................12
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียในการเมืองระหว่างประเทศ ..................................................................15
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียภายหลังชัยชนะต่อขบวนการรัฐอิสลาม .................................................18
บทสรุป............................................................................................................................................20
บรรณานุกรม...................................................................................................................................22
1
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces)
: พันธมิตรสหรัฐอเมริกำในสงครำมซีเรีย
บทนำ
การลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรียเมื่อ 8 ปีก่อน
ได้พัฒนากลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเมื่อการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นมากกว่าการสู้รบ
กันระหว่างผู้ที่สนับสนุนและต่อต้านนายอัสซาด ความขัดแย้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 360,000
คน สร้างความเสียหายต่อบ้านเมือง ทาให้ชุมชนแตกแยก เปิดโอกาสให้กลุ่มที่ต่อสู้เพื่อศาสนาอย่าง
ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State - IS) และอัลกออิดะห์ (Al-Qaeda) เบ่งบานในประเทศ และทา
ให้รัฐบาลหลายประเทศต้องเข้ามามีส่วนร่วม ส่งผลให้สถานการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและการสู้รบยืดเยื้อ
ประเทศมหาอานาจหลายประเทศเข้าร่วมสงครามกลางเมืองซีเรียเพื่อชิงความได้เปรียบเชิง
ยุทธศาสตร์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองในตะวันออกกลาง โดยผู้สนับสนุนที่สาคัญของ
รัฐบาลซีเรียคือ รัสเซียและอิหร่าน ส่วนตุรกี ชาติมหาอานาจตะวันตกและชาติอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย
หลายชาติสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน การเข้าร่วมสงครามซีเรียของชาติมหาอานาจนี้มีหลายรูปแบบ ทั้งการ
สนับสนุนโดยตรงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ด้านงบประมาณ ด้านกาลังทหาร รวมไปถึงการสนับสนุน
ทางอ้อมผ่านกองกาลังพันธมิตรที่ต่อต้านรัฐบาลซีเรียในพื้นที่
หนึ่งในประเทศมหาอานาจที่เข้าแทรกแซงสงครามซีเรียคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ค่อยเต็มใจที่จะ
ส่งกาลังทหารเข้าไปสู้รบกับขบวนการรัฐอิสลาม (IS) หรือโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย เนื่องจากบทเรียนจาก
สงครามอิรักและการแทรกแซงทางทหารในลิเบีย ด้วยเหตุนี้ สหรัฐอเมริกาจึงพยายามลดบทบาทของตน
ด้วยการใช้การโจมตีทางอากาศที่มีความเสี่ยงต่า และการใช้พันธมิตรท้องถิ่นเพื่อต่อสู้กับ IS และรัฐบาล
2
ซีเรีย แต่ยิ่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ประชากรท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้นเท่าไร ตัวแสดงทางการเมือง
อื่นๆ ที่มีเป้าหมายและกลยุทธ์แตกต่างกัน เช่น อิหร่าน รัสเซีย และตุรกี ก็จะยิ่งเข้ามาแทรกแซงเพื่อชิง
ความเป็นใหญ่ในซีเรียมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อครั้งที่รัสเซียเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในซีเรียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 รัสเซียตั้งใจ
จะโจมตีกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลังอยู่ แต่เหตุการณ์กลับหักมุมเมื่อกอง
กาลังเคิร์ดและพันธมิตรอาหรับได้โจมตีกลุ่มกบฏเดียวกันนี้ในจังหวัดอเลปโป (Aleppo) ทางตอนเหนือ
โดยทั้งกองกาลังเคิร์ดและประเทศอาหรับต่างพึ่งพาอาวุธของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าชาวเคิร์ดจะพิสูจน์
ตนเองว่าเป็นพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการต่อสู้กับ IS แนวคิดต่อต้านกลุ่มกบฏและ
ความสัมพันธ์กับรัฐบาลซีเรียและรัสเซียของชาวเคิร์ดกลับสร้างปัญหาขึ้นมากมาย1
บทความนี้ศึกษา “กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย” (The Syrian Democratic Forces - SDF) ซึ่ง
เป็นกองกาลังผสมของชาวเคิร์ดในซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อสู้กับ
ขบวนการรัฐอิสลาม กลุ่มนักรบชาวเคิร์ดนี้นับเป็นตัวแปรสาคัญที่ส่งผลกระทบด้านความสัมพันธ์และ
ผลประโยชน์ระหว่างประเทศ จนขยายผลส่อนัยความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันระหว่าง
สหรัฐอเมริกากับตุรกี เหตุเพราะ สหรัฐอเมริกามองว่ากลุ่มชาวเคิร์ดเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ในพื้นที่และมี
ความเหมาะสมชอบธรรมในการใช้สิทธิปกป้องตนเอง แต่ฝ่ายตุรกีมองว่าการขยายอิทธิพลของชาวเคิร์
ดทางตอนเหนือของซีเรียที่มีพรมแดนติดต่อกับตอนใต้ของตุรกีอาจเป็นหอกข้างแคร่ให้กับประเทศได้
เพราะหากชาวเคิร์ดในซีเรียเข้าร่วมกับขบวนการพรรคแรงงานชาวเคิร์ด (The Kurdistan Workers’
Party - PKK) ที่เป็นศัตรูของรัฐบาลตุรกี ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศอย่างแน่นอน
การจัดตั้งกองกาลังชาวเคิร์ด ความสัมพันธ์ระหว่าง SDF กับสหรัฐอเมริกา และผลกระทบของกองกาลัง
นี้ต่อเหตุการณ์และตัวแสดงที่สาคัญต่างๆ ในสงครามกลางเมืองซีเรียจึงเป็นประเด็นและตัวอย่างหนึ่ง
ของกองทหารพันธมิตรที่น่าศึกษาเพื่อทาความเข้าใจการที่ประเทศมหาอานาจเลือกเกณฑ์กาลังพลชน
กลุ่มน้อยในพื้นที่ในฐานะกองทหารพันธมิตรเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ในช่วงสงครามกลาง
เมืองซีเรีย
บทความนี้จะแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ โดยในส่วนแรกจะให้ข้อมูลในภาพรวมเกี่ยวกับประเทศ
ซีเรียและข้อมูลเกี่ยวกับชาวเคิร์ดในซีเรียที่มีประวัติขัดแย้งกับพรรคบาธแห่งซีเรีย (The Ba'ath Party)
มาเป็นเวลานาน และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย จากนั้นบทความจะ
นาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของกองกาลังนี้ ได้แก่ การก่อตั้ง เป้าหมาย แนวคิดในการจัดตั้ง
กองทัพ ความสัมพันธ์ของกองทหารนี้กับสหรัฐอเมริกา ศักยภาพในการรบ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค
ของกองทหารนี้ ในส่วนสุดท้าย บทความนี้จะกล่าวถึงผลกระทบของปฏิบัติการของกองกาลัง
1
Barak Barfi, “Ascent of the PYD and the SDF,” The Washington Institute for Near East Policy 32, April 2016, 1.
https://www.washingtoninstitute.org/uploads/Documents/pubs/ResearchNote32-Barfi.pdf
3
ประชาธิปไตยซีเรียต่อพลวัตของสงครามกลางเมืองในซีเรียที่ยังยืดเยื้อ รวมทั้งสถานการณ์ในอนาคต
ของกองกาลังนี้หลังรบชนะขบวนการรัฐอิสลามสาเร็จเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา
ประเทศซีเรีย (Syria)
ประเทศซีเรีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เป็นประเทศในเอเชีย
ตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศ
ตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล โดยมี
กรุงดามัสกัสเป็นเมืองหลวง ซึ่งถือว่าเป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติ
พันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ได้แก่ อลาวียะห์ (Alawites) ดรูซ (Druze) อาหรับ
มุสลิมนิกายซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก
โดยชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย2
2 “Syria Population 2019,” worldpopulationreview.com, http://worldpopulationreview.com/countries/syria-
population/ (Accessed May 7, 2019).
4
ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1946
ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 พันเอกฮาเฟซ อัล-อัสซาด (Hafez al – Assad) ได้ก่อรัฐประหารยึดอานาจ
ปกครองประเทศ และในปี ค.ศ. 1971 ได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อ
มิถุนายน 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของฮาเฟซ บาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar Al-Assad) ได้รับแต่งตั้ง
ให้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย นายบาชาร์ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก เขาจึง
เห็นความสาคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่าแย่ และเห็น
ความจาเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา3
อย่างไรก็ตาม ในปี 2011 ซีเรียได้รับผลกระทบจากอาหรับสปริง (Arab Spring) ที่สั่นคลอน
รัฐบาลหลายประเทศในตะวันออกกลางทั้ง ตูนิเซีย อียิปต์ และอีกหลายประเทศรวมถึงซีเรีย ในเดือน
มีนาคม ค.ศ. 2011 กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้นายบาชาร์ อัล-อัสซาด ปฏิรูปการเมืองในครรลอง
ประชาธิปไตยและปล่อยตัวนักโทษการเมือง4 แต่รัฐบาลอัสซาดกลับตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงด้วย
กาลังทางทหาร ส่งผลให้ผู้ประท้วงที่มาจากหลายฝ่ายไปจับปืนติดอาวุธก่อตั้งกองกาลังปลดปล่อยซีเรีย
(Free Syrian Army) ขึ้นเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลซีเรีย ความขัดแย้งบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง
(Civil War) ภายในประเทศ ก่อนที่จะถูกซ้อนทับด้วยปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาชาวเคิร์ดที่ต้องการจะ
3 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย, http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-
east/detail.php?ID=29#2 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562).
4 “6 คาถามศึกซีเรีย มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร,” ข่าวสด, 15 เมษายน 2561, https://www.khaosod.co.th/around-the-
world-news/news_963911 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562).
5
แยกตัวออกจากซีเรียและปกครองตนเอง ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับที่นาโดย
ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงผลประโยชน์ของมหาอานาจอื่นๆ ในตะวันออกกลางโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและ
รัสเซีย จนกลายเป็นสงครามตัวแทน (Proxy War) เพื่อต้องการล้มรัฐบาลซีเรียในที่สุด5
ตั้งแต่สงครามกลางเมืองปะทุขึ้น มีชาวซีเรียเกือบครึ่งล้านถูกสังหาร และกว่าล้านคนบาดเจ็บ
อีกกว่า 12 ล้านคน หรือกึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ (18,468,185 คน) ต้องทิ้งบ้านเกิดเรือนนอน
ส่วนอีกกว่า 5.5 ล้านคนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ หรือขอเข้าหลบในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัย6 สงครามซีเรียที่
ดาเนินมากว่า 8 ปีแล้วไม่เพียงเป็นเครื่องยืนยันว่า กระแสต่อต้านเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการยังไม่
ประสบผลสาเร็จเท่านั้น แต่ยังสะท้อนปัญหาเรื่องการปิดกั้นประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่
บานปลายจนทาให้ซีเรียกลายเป็นสนามประลองยุทธ์ของกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มและมหาอานาจ
ต่างชาติหลายฝ่าย ซึ่งกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรียก็เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งที่ส่งผลต่อทิศทางสงครามกลาง
เมืองที่ยืดเยื้อนี้
5 ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ, “เกิดอะไรในซีเรีย? เข้าใจสงครามซีเรียแบบย่อยง่ายๆ กับ 2 ผู้เชี่ยวชาญการเมือง
ตะวันออกกลาง,” The Standard, https://thestandard.co/syria-war-in-expert-opinion/ (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม
2562).
6 ที่เดียวกัน.
6
ชำวเคิร์ดในซีเรีย
ชาวเคิร์ดมีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนยาวนานในซีเรีย มีเพียงชาวเคิร์ดบางคนเท่านั้นที่มีโอกาส
ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดทางการเมือง เช่น ฮุซนี อัล ซาม (Husni al-Zaim) ได้เป็นประธานาธิบดีชาวเคิร์ดซีเรีย
ใน ค.ศ. 1949 อดิบ ชิชักลี (Adib Shishakli) เป็นประธานาธิบดีชาวเคิร์ดในต้นทศวรรษ 1950 คาลิด บัก
ดาช (Khalid Bakdash) ผู้นาพรรคคอมมิวนิสต์ซีเรียก็เป็นชาวเคิร์ด
ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเคิร์ดและรัฐบาลซีเรียภายใต้พรรคบาธไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากชาว
เคิร์ดถูกพรรคบาธกดขี่ข่มเหงทุกวิถีทาง ระบอบบาธพยายามกาจัดอัตลักษณ์เคิร์ดผ่านมาตรการที่
เข้มงวดเพื่อหวังที่จะผสานกลืนชาวเคิร์ดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์อาหรับตามแนวคิดหลักของ
พรรคบาธ ด้วยเหตุนี้ ชาวเคิร์ดจึงถูกกดขี่ทางอาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา และทางวัฒนธรรมหลายๆ
รูปแบบ เช่น ชาวเคิร์ดไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินในซีเรีย และไม่สามารถจดทะเบียนการเกิดได้ ใน
ค.ศ. 1962 รัฐบาลซีเรียได้ถอดถอนสัญชาติชาวเคิร์ดประมาณ 120,000 คน และในคริสต์ทศวรรษที่
1970 รัฐบาลซีเรียได้เนรเทศชาวเคิร์ดออกจากหมู่บ้านบริเวณชายแดนตุรกี เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรค
สหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party – PYD) เช่น ซาลิห์ มุสลิม ฮาดิยา ยูซุฟ (Salih
Muslim Hadiya Yusuf) ประธานพรรค PYD และ อันวาร์ มุสลิม (Anwar Muslim) ต่างถูกจาคุกมา
หมดแล้ว แม้กระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลซีเรียยังคงส่งสายลับเพื่อจับตาดูความเคลื่อนไหวของชาวมุสลิมอยู่
เรื่อยๆ7
7 Barfi, 5.
7
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces)
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces - SDF) ได้รับการก่อตั้งใน ค.ศ.
2015 โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งประเทศซีเรียที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นสหพันธรัฐตามแนวขอบของ
เขตโรจาวา (Rojava) ทางตอนเหนือของซีเรีย SDF เป็นกลุ่มกองกาลังพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกลุ่มติด
อาวุธชาวเคิร์ด ชาวเตอร์โคมัน ชาวอัซซีเรียน และชาวอาร์เมเนียน แต่กองกาลังส่วนใหญ่ประกอบด้วย
นักรบชาวเคิร์ดซึ่งสังกัดปีกทางทหารของกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียในนาม “หน่วยป้องกันประชาชน”
(People’s Protection Units – YPG) นอกจากนี้ กลุ่มกองกาลังทั้งหมดยังเป็นส่วนหนึ่งของพรรค
Kurdistan Workers’ Party หรือ PKK ดังนั้น กองทหารอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองกาลัง
ประชาธิปไตยซีเรียจึงอาจจะเป็นพันธมิตรหรือตัวแทนของ PKK เช่น ปีกทหารของ Syriac Union Party
หรือไม่ก็เป็นกลุ่มพันธมิตรชนเผ่าอาหรับนับถือนิกายซุนนีห์ รวมไปถึงกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์ที่พ่ายต่อ
ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State - IS)
ในช่วงปี ค.ศ. 2013-2014 กลุ่ม YPG ได้สร้างพันธมิตรกับกองกาลังซานาดิด (Sanadid forces)
ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากชนเผ่าชัมมาร์ (Shammar tribe) และสภากลาโหมซีรีแอ็ก (Syriac Military
Council - SMC) จากนั้น ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2014 YPG ได้ก่อตั้งกองกาลัง Euphrates Volcano
ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิบัติการร่วมที่รวมกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (FSA) หลายกองเข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือ
ระหว่างนักรบชาวอาหรับและเคิร์ดได้นาไปสู่การก่อตั้งกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ขึ้นในวันที่
11 ตุลาคม ค.ศ. 2015 โดยตั้งใจจะให้ SDF เป็นองค์กรอาหรับ ซึ่งอาจจะช่วยลบภาพกองกาลังผสมที่
8
ชาติตะวันตกสร้างขึ้นเพื่อกดขี่ชาวอาหรับภายใต้อานาจของชาวเคิร์ด แนวคิดนี้จึงสื่อว่าหน่วยทหารที่นา
โดยทหารอาหรับอาจจะทาให้ชาวอาหรับไว้วางใจ SDF ได้มากขึ้น
ในระยะแรก SDF ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มติดอาวุธ 6 กลุ่มโดยไม่รวม YPG พันธมิตรในช่วงนั้น
ประกอบด้วยนักรบ 10,000 คน ในบรรดากองพันของ SDF กองกาลัง Sanadid ถือว่าใหญ่ที่สุดซึ่ง
ประกอบด้วยนักรบ 4,500 คน8 Northern Sun Brigade มีกองพัน 8 กอง แต่ละกองประกอบด้วยนักรบ
50-200 คน ส่วนสภากลาโหมซีรีแอ็ก (SMC) ประกอบด้วย นักรบชาวคริสต์ซีรีแอ็ก (Syriac Christians)
ร้อยกว่าคน กองกาลัง Raqqa Revolutionaries ประกอบด้วยสมาชิก 1,300 คน เมื่อเร็วๆ นี้ พันเอก
สตีฟ วาร์เรน (Colonel Steve Warren) โฆษกปฏิบัติการ Inherent Resolve รายงานว่า SDF
ประกอบด้วยนักรบ 5,000 คนซึ่งกระจัดกระจายในกองกาลัง 8 กลุ่ม
ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 โครงการใต้ดินของหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Central
Intelligence Agency - CIA) ที่รู้จักกันในนาม Military Operations Command (MOC) ได้มอบอาวุธและ
เงินทุนให้แก่กองพันซีเรียที่คัดเลือกจากกลุ่มกองกาลังในกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army -
FSA) โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ต่อสู้กับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสสาด (Bashar al-Assad) และกองทัพ
อาหรับซีเรียของเขา (Syrian Arab Army - SAA)
อย่างไรก็ตาม หลังจากกลุ่ม IS ยึดเอาเมืองโมซุลในอิรักได้สาเร็จ และสังหารตัดหัวนักข่าว
อเมริกันใน ค.ศ. 2014 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มปรับแผนรบโดยหันมาต่อสู้กับ IS อย่างจริงจัง ในวันที่
9 ตุลาคม 2015 วอชิงตันประกาศว่าโครงการฝึกฝนและจัดสรรอาวุธให้แก่กองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free
Syrian Army train-and-equip program) ถูกยุติลงเนื่องจากกลุ่มกองกาลังหนึ่งของกองกาลังซีเรียถูก
กลุ่มอัล-นุศเราะฮฺ ฟรอนท์ (Jabhat al-Nusra) ที่เป็นเครือข่ายของอัลกออิดะห์ (al-Qaeda) จับตัวไปใน
ขณะที่ FSA เหลือนักรบที่ได้รับการฝึกฝนเพียง 4-5 คนในซีเรีย หลังจากที่โครงการนี้ล่มลง
สหรัฐอเมริกาก็พยายามหาพันธมิตรอาหรับที่สามารถไปสู้รบกับ IS แทน ในที่สุดกระทรวงกลาโหมของ
สหรัฐอเมริกาเลือกให้การสนับสนุนพรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) และ
ปีกทางทหารของพรรค ได้แก่ หน่วยป้องกันประชาชน (People’s Defense Units - YPG) โดย
สหรัฐอเมริกามอบหมายให้ YPG จัดตั้งกองกาลังผสมของตนเองขึ้น แล้วสหรัฐอเมริกาจะสนับสนุน YPG
ด้านอาวุธเพื่อใช้กองกาลังนี้ต่อสู้กับขบวนการรัฐอิสลามโดยเฉพาะ
ที่จริงแล้ว ความสัมพันธ์ของพรรคสหภาพประชาธิปไตย (PYD) กับวอชิงตันเริ่มต้นเมื่อ
สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงการต่อสู้ที่โคบานี (Battle of Kobane) ทางชายแดนตอนเหนือของซีเรียด้วย
การโจมตีทางอากาศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2014 เพื่อช่วยเหลือชาวเคิร์ดจาก IS การสู้รบในครั้งนั้น
8 ชนเผ่าชัมมาร์ซึ่งควบคุมกองกาลังซานาดิด เป็นกลุ่มสมาพันธรัฐที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกอาหรับ มีอิทธิพลทั่ว
ตอนเหนือของซีเรีย และได้รับการสนับสนุนจากกาตาร์
9
ประสบความสาเร็จอย่างมากเนื่องจากเป็นการสู้รบชนะ IS ของชาวเคิร์ดเป็นครั้งแรก การต่อสู้ในครั้งนั้น
จึงถือเป็นแม่แบบของการร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับ PYD จะเห็นได้ว่า ยิ่งหน่วยป้องกัน
ประชาชน (YPG) เริ่มพัฒนามาเป็นกองกาลังต่อสู้กลุ่มจิฮาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไหร่ รัฐบาล
สหรัฐอเมริกาก็ยิ่งให้การสนับสนุนมากขึ้นเท่านั้น ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 เครื่องบิน
สหรัฐอเมริกาได้ส่งกระสุนหนัก 50 ตันทางอากาศจานวน 100 ชุดให้แก่กลุ่มอาหรับซุนนีห์ที่ YPG
สนับสนุนที่เรียกว่า “กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย” (Syrian Democratic Forces - SDF) โดยมีเจ้าหน้าที่
จากหน่วยรบพิเศษของสหรัฐอเมริกาประมาณ 50 คน (U.S. Special Forces operatives) ได้ทาการฝึก
และติดอาวุธให้แก่นักรบของกองกาลังนี้ในอาณาเขตที่ PYD ควบคุมอยู่ ล่าสุด สหรัฐอเมริกาได้ยึดทาง
วิ่งเครื่องบินทางตอนใต้ของเมืองรูเมลัน (Rumeilan) ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของ PYD เพื่อใช้เป็น
เส้นทางส่งมอบอาวุธให้แก่กองทหาร SDF ได้ง่ายยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตุรกีไม่พอใจอย่างมากที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรีย
โดยเฉพาะกลุ่ม PYD ซึ่งถูกมองว่าเป็นสาขาย่อยของ ขบวนการพรรคแรงงานชาวเคิร์ด (Kurdistan
Workers Party - PKK) ในซีเรีย โดยกลุ่ม PKK นี้เป็นกลุ่มการเมืองในตุรกีที่ต่อสู้กับรัฐบาลตุรกีมาตั้งแต่
ค.ศ. 1984 และถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ ค.ศ.
1997 ด้วยเหตุนี้ ตุรกีจึงมองว่าการที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มอานาจทางทหารให้แก่กลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียที่เป็น
กลุ่มก่อการร้ายจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตน
ถึงแม้ว่าตุรกีจะไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกองกาลัง SDF แต่นักพัฒนานโยบาย
สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้สนใจข้อท้วงติงจากตุรกีและจากกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเอง
ก็ไม่เห็นทางเลือกอื่นนอกจากการใช้กองกาลัง SDF อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็พอใจกับผลลัพธ์และศักยภาพ
ของ SDF ในปฏิบัติการสู้รบกับ IS ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและ SDF จึงเป็นความสัมพันธ์
ทางยุทธศาสตร์ที่ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ในเชิงยุทธศาสตร์ แนวคิดของสหรัฐอเมริกาในการจัดตั้งกองกาลังนี้คือการให้ SDF เป็นกอง
ทหารอาหรับนิกายซุนนีห์ในปฏิบัติการครอบครองดินแดนของเคิร์ด และทาการรุกเข้าไปยังศูนย์กลาง
ดินแดนของ IS ซึ่งเป็นเขตของชนเผ่าอาหรับนิกายซุนนีห์ที่เชื่อมต่อซีเรียกับอิรัก เป้าหมายที่สาคัญที่สุด
สาหรับสหรัฐอเมริกาก็คือการที่ SDF สามารถรบชนะ IS ได้ในอาณาเขตของเคิร์ดและตามชายขอบของ
ซีเรีย SDF จึงเป็นกองทหารราบท้องถิ่นที่มีค่าอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
ส่วนในแง่การเมือง เป้าหมายหลักของการใช้ SDF คือการแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่มีส่วน
เกี่ยวข้องโดยตรงกับ PKK ซึ่งถูกมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อ PKK ไม่ได้เป็นภัย
คุกคามสหรัฐอเมริกาโดยตรง และได้ผันตัวกลายเป็นพันธมิตรที่สาคัญที่สุดในการต่อสู้กับ IS ในซีเรีย
แล้ว การสนับสนุนกลุ่ม SDF อย่างเปิดเผยจึงเป็นการหาช่องทางในการหลบหลีกอุปสรรคทางกฎหมาย
10
อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกามีพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์และสามารถดารงอยู่
ในดินแดนซีเรียได้อย่างแยบคาย9
กำรฝึกฝนและศักยภำพของกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียในปฏิบัติกำรรบ
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 ประธานคณะเสนาธิการร่วม พลเอก โจเซฟ ดันฟอร์ด (Joseph
Dunford) กล่าวกับสานักข่าววอชิงตัน โพสต์ (Washington Post) ว่าสหรัฐอเมริกามุ่งหมายที่จะให้ทหาร
อเมริกันฝึกฝนกองทหารท้องถิ่นจานวน 40,000 คนเพื่อต่อสู้กับ IS และสนับสนุนด้านการทูตทาง
ตะวันออกของซีเรีย10
สหรัฐอเมริกาไม่เพียงช่วยเหลือ SDF ในแง่อาวุธและกลยุทธ์ทางทหารเท่านั้น แต่ยังสามารถ
เกณฑ์กาลังรบเพิ่มเติมผ่าน SDF ได้อีกด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาให้
ข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกฝนกองกาลังชาวเคิร์ดว่า ทหารอเมริกันได้ฝึกฝนนักรบเคิร์ดในเรื่องการสื่อสาร
ข้อมูลกับกองกาลังฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการโจมตีทางอากาศได้อย่าง
แม่นยาและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ นายแอช คาร์เตอร์ (Ash Carter) รัฐมนตรีว่าการ
9 ชูชาติ พุฒเพ็ง, “รอยร้าวความสัมพันธ์ตุรกี–สหรัฐฯ : เกมแห่งดุลอานาจในซีเรีย,” สภาผู้แทนราษฎร, 23 เมษายน
2561,
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20180427113234.pdf
(สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562).
10 Paulina Glass, “Does a New US Goal for Syrian Training Portend a Longer Mission?,” Defenseone,
https://www.defenseone.com/threats/2018/12/does-new-us-goal-syrian-training-portend-longer-mission/153421
(accessed April 23, 2019).
11
กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า YPG ได้ช่วยแนะนาเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันให้รู้จักกับชาวอาหรับซีเรียใน
พื้นที่ที่สามารถช่วยสหรัฐอเมริกาในการสู้รบกับ IS ได้ การร่วมมือประสานงานกับ SDF จึงเป็นช่องทาง
ของสหรัฐอเมริกาในการแสวงหาโอกาสและทาความรู้จักกับชาวเคิร์ดในซีเรียได้อย่างดี
ในด้านศักยภาพทางทหาร สหรัฐอเมริกากล่าวชมว่า SDF เป็นกองกาลังที่มีศักยภาพในการ
ปลดแอกเมืองรักกา (Raqqa) จาก IS พันเอกวาร์เรนยืนยันว่า ปฏิบัติการ al-Hawl ถือเป็นตัวบ่งชี้
ศักยภาพของโครงการฝึกฝนและติดอาวุธให้ SDF นอกจากนี้ พลโทชอน แม็กฟาร์แลนด์ (Sean
MacFarland) ผู้บัญชาการปฏิบัติการ Inherent Resolve กล่าวว่า SDF สามารถเอาชนะศัตรูทางตอน
เหนือและตะวันออกของซีเรียได้อย่างขาดลอย โดยวิธีปฏิบัติการของ SDF คือการให้กองกาลังของตน
ควบคุมตาแหน่งทางด้านหลังของสนามรบ และให้ YPG ทาการรุกเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้าบุกโจมตี11
และหลังจากที่ SDF สามารถยึดหลายเมืองบริเวณชายแดนของตุรกีได้ใน ค.ศ. 2015 นายจอช เอิร์น
เนสท์ (Josh Earnest) โฆษกทาเนียบขาวกล่าวว่า PYD เป็นพันธมิตรที่ไว้ใจได้และมีส่วนช่วยสนับสนุน
กลยุทธ์ต่อต้าน IS เป็นอย่างดี ความสาเร็จของ SDF จึงสะท้อนให้เห็นว่าการสนับสนุนนักรบที่มี
ศักยภาพและไว้ใจได้ในพื้นที่จะช่วยทาให้แผนต่อต้าน IS บรรลุเป้าหมาย12
แม้กระนั้นก็ตาม พ.อ.ไรอัน ดิลลอน (Ryan Dillon) นายทหารอเมริกันซึ่งทาหน้าที่เป็นโฆษก
ของกลุ่มพันธมิตรนาโดยสหรัฐอเมริกาบอกกับสานักข่าวเอเอฟพีในวันที่ 17 เมษายน 2018 ว่า การสู้รบ
กับ IS ในเมืองอิฟริน (Afrin) ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ตัดกาลังรบและความสามารถของกองกาลัง
ฝ่ายประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ในปฏิบัติการสู้รบเชิงรุกได้ SDF จึงต้องเริ่มปรับยุทธศาสตร์ใหม่โดยหัน
ไปมุ่งเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบริเวณชายแดนและการพยายามป้องกันไม่ให้ IS แผ่ขยาย
อานาจและดินแดนได้อีก โดย SDF สามารถยับยั้ง IS ไม่ให้ตีเอาดินแดนได้อีกในบริเวณ 2 ตาแหน่ง
ได้แก่ ดินแดนใกล้กับฮาจิน (Hajin) แถบแม่น้ายูเฟรติส ทางเหนือของเขตอัล บูกามาล (Al Bukamal)
และในเมืองดาชิชา (Dashisha) ใกล้กับชายแดนซีเรีย-อิรัก13
11 Barfi, 3.
12 White House, “Press Briefing by Press Secretary Josh Earnest,” June 16, 2015,
https://www.whitehouse.gov/
the-press-office/2015/06/17/daily-press-briefing-press-secretary-josh-earnest-061615.
13 U.S. Department of Defense, “Department Of Defense Press Briefing by Colonel Dillon via Teleconference
From Baghdad, Iraq,” April 17, 2018, https://dod.defense.gov/News/Transcripts/Transcript-
View/Article/1496008/department-of-defense-press-briefing-by-colonel-dillon-via-teleconference-from/
(accessed April 23, 2019).
12
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับกำรเมืองภำยใน
 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำง PYD และรัฐบำลซีเรีย
ถึงแม้จะมีความตึงเครียดระหว่างพรรคบาธกับชาวเคิร์ด ในยามที่รัฐบาลซีเรียต้องเผชิญกับการ
โจมตีโดยกลุ่มกบฏในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2012 รัฐบาลซีเรียก็ต้องยอมให้ PYD เข้าปกป้องคุ้มครอง
ดินแดนในจังหวัดฮาซากาห์ (Hasaka) จากกลุ่มกบฏชาวอาหรับซุนนีห์ ในปัจจุบัน รัฐบาลซีเรียกับ YPG
ปกครองเมือง ฮาซากาห์และคามิชลิ (Qamishli) ร่วมกัน โดย YPG ยังได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจาก
รัฐบาลซีเรียอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กองกาลังเคิร์ดก็ปะทะกับกองทัพของซีเรียอยู่บ่อยครั้ง เช่น ในเดือน
กันยายน ค.ศ. 2012 และมีนาคม ค.ศ. 2015 รัฐบาลซีเรียโจมตีฐานทัพของ YPG ทางอากาศในเขต
อเลปโป (Aleppo)
ถึงแม้พันเอกวาร์เรนยืนยันว่าไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ารัฐบาลซีเรียร่วมมือกับ PYD ในการสู้รบที่
อเลปโป นายบาชาร์ จาฟารี (Bashar Jaafari) ทูตซีเรียประจาสหประชาชาติกล่าวว่ารัฐบาลซีเรียให้การ
สนับสนุน PYD จริง ซึ่งการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างศัตรูเช่นนี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่พบเห็นได้อยู่เสมอใน
สงครามกลางเมืองซีเรีย ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลซีเรียยอมจ่ายเงินให้แก่กลุ่มกบฏหลายกลุ่มเพื่อให้พวก
เขาหลีกเลี่ยงการวางระเบิดท่อส่งน้ามันบางแห่ง กลุ่มกบฏบางกลุ่มคอยคุ้มครองรถขนน้ามันที่เคลื่อน
ผ่านดินแดนของกลุ่มกบฏเพื่อไปส่งยังด่านตรวจของรัฐบาลซีเรีย จะเห็นได้ว่า YPG ไม่ค่อยถูกรัฐบาล
ซีเรียโจมตีทางอากาศเนื่องจากทั้งคู่ต่างมีศัตรูร่วมกันคือกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์และ IS ทั้งรัฐบาลซีเรีย
และ YPG จึงเป็นเสมือนเพื่อนรักเพื่อนแค้นที่ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน และเหมือนมีข้อตกลง
ชั่วคราวที่คล้ายคลึงกับข้อตกลงไม่ทาสงครามระหว่างกัน
13
 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำง PYD กับ YPG และ PKK
การตั้งกองกาลังผสม SDF ขึ้นมาได้สร้างประโยชน์ให้แก่ YPG และ PKK ในหลายรูปแบบ ไม่ใช่
เพียงการสนับสนุนด้านอาวุธและงบประมาณเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ของชาวเคิร์ดซีเรียกับ
สหรัฐอเมริกานี้ยังช่วยให้กลุ่ม YPG และ PKK ได้กู้ชื่อเสียงและอิทธิพลทางการเมืองกลับคืนมา และมี
พื้นที่ในการสานสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณชนในซีเรียได้กว้างขวางมากขึ้น
ที่จริงแล้ว ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมตายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเพียงอย่าง
เดียว แต่การเข้าร่วมกองกาลัง SDF ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการผลักดันประเด็น
สาคัญอื่นๆ ของชาวเคิร์ดซีเรีย ประเด็นหลักๆ คือการรักษาความมั่นคงให้แก่ประชากรของตน การ
พยายามกาจัดอิทธิพลตุรกีออกจากซีเรีย และการเชื่อมต่อพื้นที่เคิร์ดในเมืองโคบานี (Kobane) และอีฟ
ริน (Afrin) ซึ่งถูกแบ่งแยกโดยกลุ่ม IS และกลุ่มกบฏอาหรับนิกายซุนนีห์ที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ทางตอน
เหนือของอเลปโป PYD มองว่ากลุ่ม IS เป็นศัตรูและภัยคุกคามชีวิตของประชากรชาวเคิร์ดในซีเรียที่
ใหญ่ที่สุด เป้าหมายหลักของ PYD คือ การยับยั้งและกาจัด IS ให้สิ้นซาก
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียขึ้นมา นักรบเคิร์ดได้ก่อตั้งปีกทางการเมืองของ
ตนเองที่เรียกว่า Democratic Syrian Assembly (DSA) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วน
แรกประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มเคิร์ดหลายกลุ่มที่ปกครองตอนเหนือของซีเรีย ได้แก่ เขตปกครอง
ตนเองโรจาวา (Rojava) พรรคสหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) ขบวนการ
เพื่อสังคมประชาธิปไตย (The Movement for a Democratic Society - TEV-DEM) และกลุ่มอื่นๆ อีก
14
สองสามกลุ่ม โดยกลุ่มทั้งหมดเหล่านี้เป็นตัวแทนของ PKK เหมือนกับ YPG นอกจากนี้ยังมีแนวหน้า
ทางการเมืองของพรรคสหภาพซีริแอก (Syriac Union Party) และพันธมิตรท้องถิ่นอื่นๆ ที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับ PKK
อีกส่วนหนึ่งของ SDF คือเครือข่ายหลวมๆ ของฝ่ายซ้ายของซีเรีย และนักกิจกรรมที่ไม่อิง
ศาสนาอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เฮย์ตาม มันนา (Haytham Manna) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ
มนุษยชนจากเมืองเดรา (Deraa) ทางตอนใต้ของซีเรีย กลุ่มนี้เชี่ยวชาญในด้านการทูตระดับภูมิภาค
เนื่องจากมีเครือข่ายที่สามารถช่วยให้การเจรจาทางการทูตเกิดขึ้นได้อยู่ทั่วสารทิศ ซึ่งได้แก่ ฝ่ายค้าน
ของซีเรีย ประเทศแถบยุโรป องค์การสหประชาชาติ นักการทูต ส่วนหนึ่งของสันนิบาตอาหรับ อียิปต์
รัสเซีย เป็นต้น
แม้กระนั้นก็ตาม กลุ่มฝ่ายซ้ายไม่ค่อยได้รับความนิยมจากฝ่ายค้านของอาหรับนิกายซุนนีห์และ
กลุ่มอิสลามิสต์ที่ตุรกีและประเทศแถบอ่าวให้การสนับสนุนอยู่ นอกจากนี้ จานวนสมาชิกของกลุ่มฝ่าย
ซ้ายก็ยังมีน้อยและไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมรภูมิซีเรีย แต่กลุ่มฝ่ายซ้ายนี้ก็มีส่วนช่วยเพิ่มอิทธิพล
ทางการเมืองให้แก่ชาวเคิร์ดในซีเรีย และช่วยลบล้างแนวคิดที่ว่า SDF เป็นกองกาลังของเคิร์ดเพียงอย่าง
เดียว หรือเป็นเครื่องมือของ PKK ในปฏิบัติการรบในซีเรีย
นอกจาก PYD จะสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองผ่านความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาได้
แล้ว PYD ยังสามารถยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรียเพื่อจัดตั้งเขตปกครองตนเองจากการช่วย
สหรัฐอเมริกาขับไล่กลุ่ม IS ออกจากพื้นที่ การโจมตี IS ทางอากาศโดยสหรัฐอเมริกาทาให้กอง
กาลังเคิร์ดสามารถยึดครองพื้นที่ที่ปราศจาก IS และเชื่อมต่ออาณาเขตเมือง Afrin Kobane และ Jazira
เข้าด้วยกัน หาก SDF สามารถยึดพื้นที่ที่เหลือจาก IS ได้ PYD ก็มีแนวโน้มจะสามารถจัดตั้งเขต
ปกครองตนเองได้ในที่สุด
นอกจากนี้ ประชากรชาวอาหรับและเติร์กเมนทางตอนเหนือของซีเรียYPG ไม่ถูกกับ YPG
เนื่องจากพวกเขามองว่า YPG ได้ทาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาหรับและส่งผลให้สมาชิกชุมชนอาหรับ
ต้องอพยพหลบหนีและสูญเสียที่อยู่อาศัย14 นอกจากนี้ ปีกการเมืองของ YPG ซึ่งคือ พรรคสหภาพพรรค
ประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) มีเป้าหมายที่จะสร้างเขตสหพันธรัฐกึ่งปกครองตนเอง
ทางตอนเหนือของซีเรียหรือเขตสหพันธรัฐโรจาวา (Rojava) ซึ่งตุรกี กลุ่มชาวอาหรับ และพรรคเคิร์ด
อื่นๆ ต่อต้าน15
14 Genevieve Casagrande, “The Road to Ar-Raqqah: Background on the Syrian Democratic Forces,” 22 November 2016,
Institute for the Study of War, 1, http://www.css.ethz.ch/content/dam/ethz/special-interest/gess/cis/center-for-securities-
studies/resources/docs/ISW-The%20Road%20to%20ar-Raqqah%20ID%20FINAL.pdf (accessed 23 April 2019).
15 อาทิตย์ ทองอินทร์, “Syrian Civil War: หมากบนกระดานสงครามซีเรีย,” waymagazine, 22 มีนาคม 2561,
https://waymagazine.org/syrian_civil_war_arthit01 (สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562).
15
จะเห็นได้ว่า นักรบเคิร์ดที่เข้าร่วมกองกาลัง SDF ส่วนใหญ่ไม่ได้จงรักภักดีต่อสหรัฐอเมริกาหรือ
ต้องการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของพันธมิตรที่เป็นมหาอานาจ โดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวเคิร์ดสาน
สัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐอเมริกาเพื่อแสวงผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเองในหลายๆ ประเด็น ซึ่ง
ประเด็นหลักๆ คือการรักษาความมั่นคงให้แก่ประชากรของตน การพยายามกาจัดอิทธิพลตุรกีออกจาก
ซีเรีย และการเชื่อมต่อพื้นที่เคิร์ดในเมืองโคบานี (Kobane) และอีฟริน (Afrin) ทางตอนเหนือของอเลป
โป (Aleppo) ซึ่งโดนแบ่งแยกโดยกลุ่ม IS และกลุ่มกบฏอาหรับนิกายซุนนีห์ที่ตุรกีหนุนหลังอยู่16
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียในกำรเมืองระหว่ำงประเทศ
แม้กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียจะให้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และการเมืองแก่สหรัฐอเมริกา
และชาวเคิร์ด แต่การพึ่งพาเคิร์ดในซีเรียสร้างความไม่พอใจให้กับพันธมิตรซีเรียและพันธมิตรระดับ
ภูมิภาคอื่นๆ และอาจจะไปผลักดันให้คนท้องถิ่นหันไปเข้ากับกลุ่มจิฮาด ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ตุรกีมอง
ว่า SDF นาโดยกลุ่ม YPG เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของตุรกี เนื่องจาก YPG เป็น
องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Workers Party - PKK) ซึ่งเป็นกลุ่มที่
ขัดแย้งกับรัฐบาลตุรกีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1984 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40,000 คน
16 Aron Lund, “Origins of the Syrian Democratic Forces: A Primer,” News Deeply,
https://www.newsdeeply.com/syria/articles/2016/01/22/origins-of-the-syrian-democratic-forces-a-primer
(accessed 23 April 2019).
16
 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับรัสเซีย
ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียเป็นความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้
ประโยชน์ โดยข้อตกลงสงบศึกระหว่าง SDF กับรัฐบาลซีเรียอย่างไม่เป็นทางการเป็นประโยชน์ต่อ
รัสเซีย มอสโควมองว่า SDF เป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับ Ahrar al-Sham และ Jabhat al-Nusra ที่กาลัง
ควบคุมจังหวัดอิดลิบ นอกจากนี้ รัสเซียสามารถใช้ความสัมพันธ์กับ PYD ในการอ้างว่ารัสเซียร่วมมือกับ
สหรัฐอเมริกาในการต่อสู้กับ IS
แต่ผลประโยชน์ที่รัสเซียได้จาก PYD มากสุดคือการใช้ PYD ในการต่อต้านตุรกี รัสเซียสามารถ
ใช้ PYD ในฐานะเครื่องมือเพื่อต่อสู้กับกองกาลังของตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ ตุรกียิงเครื่องบิน
รัสเซียตกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 การที่ทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกาสนับสนุน PYD ทาให้ดู
เหมือนว่าทั้งสองมหาอานาจกาลังรุมโจมตีตุรกี
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของ PYD ไม่ได้ให้ความสาคัญกับการสานสัมพันธ์กับรัสเซียนัก
เนื่องจากรัสเซียเคยเนรเทศนายอับดุลเลาะห์ โอคาลัน ผู้ก่อตั้ง PKK หลังจากที่เขาถูกซีเรียขับไล่เมื่อ
ค.ศ. 1998 ด้วยเหตุนี้ PYD จึงไม่คิดว่ารัสเซียจะให้การสนับสนุนเคิร์ดได้มากเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่ทั้ง
PYD และรัสเซียต่างมีเป้าหมายระยะสั้นเหมือนกัน คือ การสู้รบกับกลุ่มกบฏ ตัดกาลัง IS และกดดัน
ตุรกี Read Barfi, 6
 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับตุรกี
นับตั้งแต่ที่ PYD เข้ายึดครองดินแดนทางตอนเหนือของซีเรียเมื่อ ค.ศ. 2012 ตุรกีก็ไม่ค่อยให้
ความไว้ใจ PYD ยิ่งไปกว่านั้น ตุรกีมองว่า PYD เป็นกลุ่มที่มีเอี่ยวกับ PKK อีกทั้งยังสนับสนุนรัฐบาล
ซีเรีย และไม่ให้ความร่วมมือกับกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ หรือไม่ยอมรับผู้นาเคิร์ด
ในอิรักที่สนับสนุนตุรกีอย่าง Masoud Barzani ด้วยเหตุนี้ ตุรกีจึงเปิดศึกกับกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียในตุรกี
ในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งไปสร้างแรงเสียดทานกับสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่
กลุ่มชาวเคิร์ดซีเรีย เช่น หน่วยป้องกันประชาชน” (People’s Protection Units – YPG) และพรรค
สหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party (PYD) รวมไปถึงบรรดากลุ่มกบฏที่อเมริกา
เรียกว่า “พวกสายกลาง” เช่น กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) ซึ่งส่วนใหญ่ก็
คือชาวเคิร์ด
ตุรกีเกรงว่า PYD จะยึดครองพื้นที่ชายแดนซีเรียที่ติดกับตุรกีเนื่องจากตุรกีมองว่า PYD เป็น
สาขาย่อยของ PKK ที่ตุรกีระบุว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 สองสามสัปดาห์
หลัง PYD ส่งกองกาลังเข้าควบคุมอาณาเขตทางตอนเหนือของซีเรีย Recep Tayyip Erdogan
17
นายกรัฐมนตรีตุรกีกล่าวว่า “เราจะไม่ยอมให้กลุ่มก่อการร้ายมาตั้งค่ายทางตอนเหนือซีเรียแล้วเข้ามา
คุกคามตุรกีเด็ดขาด” เขากล่าวเตือนอีกว่า “ตุรกีจะตอบโต้ความเคลื่อนไหวของเคิร์ดดังกล่าวอย่าง
แน่นอน” จากนั้นไม่นาน ตุรกีก็เริ่มทาการฝึกซ้อมรบบริเวณชายแดนซีเรีย นอกจากนั้น Erdogan ไม่
พอใจที่สหรัฐอเมริกาส่งอาวุธและเสบียงทางอากาศให้กับ PYD ที่เมือง Kobane และหลังจากที่ YPG รุก
คืบเข้าสู่เมืองชายแดน Tal Abyad ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 รัฐบาลตุรกีก็ตอบโต้ด้วยการยิงถล่ม
หมู่บ้านซีเรียที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ YPG และเรียกทูตสหรัฐอเมริกาประจาตุรกีเข้าพบเพื่อยื่นคา
ร้องเกี่ยวกับภัยคุกคามจากเคิร์ด
ตุรกีมองว่า PYD เป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของประเทศที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาจากรัฐบาลซีเรีย
และ IS ด้วยเหตุนี้ ตุรกีพยายามสนับสนุนให้กาหนดเขตพื้นที่ปลอดภัย (safe zone) ความยาว 48
กิโลเมตร และกว้าง 95 กิโลเมตรทางตอนเหนือของซีเรีย โดยให้กองพันของตุรกีเข้าควบคุมดูแล ใน
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 นายเฟริดุน ซินีร์ลิโอกรู (Feridun Sinirlioglu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การต่างประเทศของตุรกีกล่าวว่า พื้นที่ปลอดภัยดังกล่าวจะต้องปราศจาก PYD และได้รับการคุ้มครอง
ทางอากาศให้ปลอดภัยจากการโจมตีของ IS PYD และซีเรีย
จะเห็นได้ว่า การที่สหรัฐอเมริกาใช้ SDF ในการต่อสู้กับ IS ในซีเรียจึงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและตุรกีอย่างชัดเจน แม้ว่าการตัดกาลัง IS และยึดพื้นที่เมืองรักกา
(Raqqah) คืนจาก IS จะบรรลุเป้าหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ชัยชนะของ SDF กลับสร้างความ
หวาดกลัวให้กับรัฐบาลตุรกีที่มองว่ากองกาลังเคิร์ดนี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการจะแบ่งแยกดินแดน
ตุรกี แผนการของทางการตุรกีที่หมายล้างบางกองกาลังติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรียจึงไม่เพียงทาให้
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับตุรกีตึงเครียดขึ้นเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการต่อสู้
ระหว่างชาวอาหรับและเคิร์ด และการต่อสู้ระหว่างชาวเคิร์ดกันเองรุนแรงมากขึ้นภายในภูมิภาค17
17 Casagrande, 1.
18
กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียภำยหลังชัยชนะต่อขบวนกำรรัฐอิสลำม
ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ได้ประกาศว่าจะ
ถอนทหารอเมริกันจานวน 2,000 คนออกจากแถบตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียในทันทีเนื่องจากกอง
กาลังพันธมิตรนาโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถยึดพื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรียเกือบทั้งหมดจาก IS
ได้สาเร็จ การตัดสินใจดังกล่าวไม่เพียงเป็นการเปิดโอกาสให้รัสเซียและอิหร่านเข้ามาแผ่ขยายอานาจใน
ซีเรีย และหนุนหลังรัฐบาลอัสซาดให้อยู่รอด แต่ยังทาให้ชาวเคิร์ดในกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF)
เผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากตุรกี ซึ่งได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ต้องการสร้าง "เขตความ
มั่นคง" บริเวณพรมแดนฝั่งซีเรีย เพื่อป้องกันนักรบชาวเคิร์ด สถานการณ์ดังกล่าวจึงบีบบังคับให้ชาวเคิร์
ดต้องหันไปเจรจาเพื่อขอความช่วยเหลือจากรัสเซียและรัฐบาลซีเรียแทน
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่ารัฐอิสลามของ IS ในซีเรียและอิรักจะมลายสิ้นแล้ว ขบวนการ IS ก็ยังถือเป็น
ภัยคุกคามที่น่าหวาดระแวงอยู่มาก เนื่องจากอดีตนักรบ IS กว่าหมื่นคน ทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและ
ชาวต่างชาติ รวมทั้งครอบครัวและลูกหลานของนักรบเหล่านี้ ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของ SDF รวมทั้ง
กองทัพและฝ่ายความมั่นคงของอิรักอยู่ แต่ปัญหาคือ ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะรับนักรบ IS
ที่เป็นพลเมืองของตนกลับคืนเนื่องจากกลัวว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสร้างภัยความมั่นคงให้กับประเทศ ด้วย
เหตุนี้ รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จึงเลือกที่จะเพิกถอนสัญชาตินักรบ IS แล้วทิ้งพวกเขาไว้ให้อยู่ในการ
ควบคุมของ SDF หรือ ระบบศาลของอิรักแทน
นายอับดุล คาริม โอมาร์ (Abdul Karim Omar) ผู้ดูแลการต่างประเทศของกองกาลังปกครอง
ตนเองชาวเคิร์ด มองว่าการที่หลายประเทศประกาศเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ไปเข้าร่วมกับ IS ถือเป็น
การโยนปัญหาเรื่องนักโทษ IS ให้ชาวเคิร์ดจัดการเพียงลาพังโดยไม่มีแผนรองรับว่าจะให้จัดการกับกลุ่ม
19
คนเหล่านี้อย่างไรต่อไป ชาวเคิร์ดไม่เพียงประสบกับความสูญเสียมากมายอยู่แล้วจากการต้องต่อสู้และ
ตกอยู่ใต้อิทธิพลของ IS แต่ยังต้องมารับผิดชอบแก้ไขปัญหาเรื่องการกักตัวและการดาเนินคดีอดีตนักรบ
IS อีกด้วย นายอับดุล คาริม โอมาร์เตือนว่า การให้ SDF กักขังหน่วงเหนี่ยวนักรบ IS ต่อไปในเขต
ปกครองที่ไร้เสถียรภาพเช่นนี้เป็นเพียงวิธีแก้ไขปัญหาชั่วคราวและไม่ยั่งยืน และการปล่อยให้ลูกหลาน
ของนักรบ IS ห้อมล้อมด้วยอุดมการณ์รุนแรงและเป็นภัยอันตรายถือเป็นการสะสมปัญหาที่อาจลุกลาม
ในภายภาคหน้าได้ ด้วยเหตุนี้ กองกาลังปกครองตนเองชาวเคิร์ดจึงพยายามเรียกร้องให้มีการจัดตั้งศาล
พิเศษระหว่างประเทศในซีเรีย เพื่อดาเนินคดีกับนักรบกลุ่มรัฐอิสลาม แต่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจา
ประเทศซีเรีย นายเจมส์ เจฟฟรีย์ (James Jeffrey) กล่าวกับสานักข่าว BBC ว่าเป้าหมายหลักของ
สหรัฐอเมริกาคือการส่งนักรบ IS กลับคืนประเทศต้นกาเนิดเพื่อผ่านกระบวนการลดแนวคิดรุนแรง
(deradicalisation) คืนกลับสู่สังคม (reintegration) หรือตัดสินลงโทษแล้วแต่กรณี รวมไปถึงส่งเสริม
สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ รับนักรบที่เป็นพลเมืองของตนกลับคืน และยังไม่มีนโยบายจะจัดตั้งศาล
พิเศษระหว่างประเทศขึ้นในขณะนี้18
แม้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ยังไม่ได้กาหนดแผนและระยะเวลาในการถอนทหารอเมริกันออกจาก
ซีเรียไว้อย่างชัดเจน แต่การตัดสินใจที่จะถอนทหารสหรัฐอเมริกาออกจากซีเรียสะท้อนให้เห็นการที่ชาติ
มหาอานาจทอดทิ้งพันธมิตรท้องถิ่นที่จงรักภักดีหลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้กองกาลังชาวเคิร์ดนี้เพื่อ
บรรลุเป้าหมายของตนเองได้แล้ว ชาวเคิร์ดในซีเรียไม่เพียงเสี่ยงต่อการถูกตุรกีโจมตี แต่ยังสูญเสีย
อานาจต่อรองในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐปกครองตนเองทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียอีกด้วย อดีต
เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ประจามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อย่าง นายเดวิด ฟิลลิป (David Phillip) ให้คานิยามต่อการตัดสินใจของผู้นาอเมริกันครั้งนี้ว่า “The Great
Betrayal” หรือ “การทรยศครั้งยิ่งใหญ่” เพราะสหรัฐอเมริกาได้ปล่อยให้ชาวเคิร์ดผู้ที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียง
ไหล่กองทัพของสหรัฐอเมริกามากว่า 3 ปีครึ่งต้องตกเป็นเหยื่อของตุรกี อาจกล่าวได้ว่า ชะตากรรมของ
นักรบและพลเรือนชาวเคิร์ดในซีเรียในยุคปัจจุบันจึงไม่ต่างกับชะตากรรมของชาวอัซซีเรียนในกองทหาร
อิรักเลวีส์ที่ถูกรัฐบาลอังกฤษทอดทิ้งหลังอิรักได้รับเอกราชเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา19
18 “Islamic State group: Syria's Kurds call for international tribunal,” BBC, 26 March 2019, https://www.bbc.com/news/world-
middle-east-47704464 (accessed April 23, 2019), Charles Lister et al., “Up for Debate: ISIS detainees,” Middle East Institute,
https://www.mei.edu/debate-isis-detainees (accessed April 23, 2019),
19 Mark Landler, Helene Cooper and Eric Schmitt, “Trump to Withdraw U.S. Forces From Syria, Declaring
‘We Have Won Against ISIS,’” The New York Times, December 19, 2018,
https://www.nytimes.com/2018/12/19/us/politics/trump-syria-turkey-troop-withdrawal.html?module=inline
(accessed April 23, 2019), Lara Seligman, The Unintended Consequences of Trump’s Decision to Withdraw
From Syria, Foreign Policy, January 28, 2019, https://foreignpolicy.com/2019/01/28/unintended-
consequences-trump-decision-withdraw-syria (accessed April 23, 2019), ทับทิม พญาไท ความหวังสันติภาพ...
20
บทสรุป
กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นชาวเคิร์ด ชาวอาหรับ และชน
กลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ แต่กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรียถือเป็นกองกาลังที่แข็งแกร่งและทรงอิทธิพลที่สุดใน
กองทหารนี้ SDF ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากกลุ่มพันธมิตรนาโดยสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการ
ประสานงานเข้าโจมตีศัตรูทางอากาศ การมีทหารหน่วยรบพิเศษคอยเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งการให้การ
สนับสนุนทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ กองกาลังผสม SDF ประสบความสาเร็จในการผลักดัน IS ให้ออก
จากดินแดนหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย โดยเฉพาะเมืองรักกา (Raqqa) ที่เป็นเมือง
หลวงของรัฐอิสลาม และสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ชายแดนซีเรียซึ่งติดต่อกับตุรกีทางภาคเหนือ พื้นที่
ชายแดนซีเรียที่ติดต่อกับอิรักทางภาคตะวันออก และพื้นที่ซีเรียซึ่งชนกับดินแดนในความควบคุมของ
กองกาลังสนับสนุนรัฐบาลซีเรียทางด้านตะวันตก20
แม้ว่ากลุ่ม SDF จะประสบความสาเร็จในการสู้รบกับ IS และมีอิทธิพลทางการเมืองในซีเรียมาก
ขึ้น แต่กองกาลังนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการทูตระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลตุรกี
เนื่องจากตุรกีซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาและเป็นสมาชิกนาโตกลัวว่าชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดใน
ซีเรียที่เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของ SDF จะจัดตั้งเขตปกครองตนเองหรือรัฐเอกราชได้เป็นผลสาเร็จ แล้ว
ปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวเคิร์ดของตุรกีให้เดินตามรอย หากมีการสู้รบระหว่างตุรกีและกองกาลัง
ของเคิร์ดขึ้นจริง สหรัฐอเมริกาอาจต้องเลือกว่าจะสนับสนุนพันธมิตรตุรกีที่มักก่อก่วนแผนการกาจัด IS
หรือจะเลือกช่วยเหลือกองกาลังเคิร์ดที่ช่วยเหลือสหรัฐอเมริกาอย่างเกินความคาดหมาย แต่ในขณะที่
สงครามเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น สหรัฐอเมริกาอาจต้องพยายามลดความตึงเครียดและพยายามหาจุดร่วม
ระหว่างตุรกีและเคิร์ดให้ได้ เช่น กระตุ้นให้ PYD เลิกส่งอาวุธไปที่ตุรกี ให้คามั่นว่าจะไม่ให้นักรบ PKK
เข้าตุรกี หรือให้ PYD ร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรีย
แม้ว่าวอชิงตันไม่ได้พยายามเชื่อมโยงกลุ่มชาวเคิร์ดอย่าง YPG หรือ PYD เข้ากับกลุ่ม PKK
เหมือนกับตุรกี แต่คาประกาศของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ว่าจะถอนทหารออกจาก
ซีเรียสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาอาจไม่ได้ให้ความสาคัญกับชาวเคิร์ดมากนัก แต่มองกองกาลังชาว
เคิร์ดเป็นเพียงเครื่องมือรบหรือตัวแทนในสงครามซีเรียเท่านั้น และไม่ได้มีแนวคิดที่จะสนับสนุนการ
ก่อตั้งรัฐอิสระของชาวเคิร์ดในซีเรียอย่างจริงจัง ความสัมพันธ์ระหว่าง SDF กับสหรัฐอเมริกาจึงเป็นเพียง
ภายใต้การทรยศหักหลัง??? Manager Online, 23 ธันวาคม 2561,
https://mgronline.com/daily/detail/9610000127072 (สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562).
20 MGR Online, สหรัฐฯประกาศจัดตั้ง ‘กองกาลังชายแดน’ 3 หมื่นคนขึ้นในซีเรีย ตุรกีค้านแหลก ระบุคือการรับรอง
กลุ่มก่อการร้าย, Manager Online, 15 มกราคม 2561, https://mgronline.com/around/detail/9610000004274
(สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562).
21
พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่มีขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะสั้นร่วมกันเท่านั้นคือการกาจัดขบวนการรัฐ
อิสลามในซีเรีย หลังจากที่ SDF เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าชะตากรรมของชนกลุ่ม
น้อยชาวเคิร์ดทางตอนเหนือของซีเรียจะเป็นอย่างไร หากปราศจากการคุ้มครองจากกองทัพ
สหรัฐอเมริกาในซีเรีย
กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces): พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย
กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces): พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย
กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces): พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย

Contenu connexe

Tendances

8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
apple_clubx
 
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
apple_clubx
 
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
dtammanoon
 

Tendances (20)

คำฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนมติสปสช.-ป้าบุญมา
คำฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนมติสปสช.-ป้าบุญมาคำฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนมติสปสช.-ป้าบุญมา
คำฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนมติสปสช.-ป้าบุญมา
 
แผนการเรียนรู้ที่ 1
แผนการเรียนรู้ที่ 1แผนการเรียนรู้ที่ 1
แผนการเรียนรู้ที่ 1
 
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
 
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
 
ทวีป Europe
ทวีป Europeทวีป Europe
ทวีป Europe
 
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
ชำนาญการพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ
 
การปักพื้นฐาน
การปักพื้นฐานการปักพื้นฐาน
การปักพื้นฐาน
 
แบบสอบถาม
แบบสอบถามแบบสอบถาม
แบบสอบถาม
 
อาเซียน ประเทศกัมพูชา
อาเซียน ประเทศกัมพูชาอาเซียน ประเทศกัมพูชา
อาเซียน ประเทศกัมพูชา
 
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
 
แผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishแผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fish
 
คำฟ้องศาลปกครอง นายฤเดช
คำฟ้องศาลปกครอง นายฤเดชคำฟ้องศาลปกครอง นายฤเดช
คำฟ้องศาลปกครอง นายฤเดช
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
การป้องกันโรคเอดส์ (Hiv)
การป้องกันโรคเอดส์ (Hiv)การป้องกันโรคเอดส์ (Hiv)
การป้องกันโรคเอดส์ (Hiv)
 
คำแถลงการณ์ตุลาการผู้แถลงคดี
คำแถลงการณ์ตุลาการผู้แถลงคดีคำแถลงการณ์ตุลาการผู้แถลงคดี
คำแถลงการณ์ตุลาการผู้แถลงคดี
 
ใบงานยุโรป 3
ใบงานยุโรป  3ใบงานยุโรป  3
ใบงานยุโรป 3
 
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
 
บท Mv อยากเป็นคนสำคัญของเธอ
บท Mv อยากเป็นคนสำคัญของเธอบท Mv อยากเป็นคนสำคัญของเธอ
บท Mv อยากเป็นคนสำคัญของเธอ
 
เศรษฐศาสตร์บทที่ 4
เศรษฐศาสตร์บทที่ 4เศรษฐศาสตร์บทที่ 4
เศรษฐศาสตร์บทที่ 4
 
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคลวิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
 

Plus de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces): พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย

  • 1. กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) : พันธมิตรสหรัฐอเมริกำในสงครำมซีเรีย สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ
  • 2. กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces): พันธมิตรสหรัฐอเมริกาในสงครามซีเรีย ผู้เขียน โศภนิศ อังศุสิงห์ นักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ที่ปรึกษำ: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณำธิกำร: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณำธิกำร : โศภนิศ อังศุสิงห์ อำนวยกำรผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: มิถุนายน 2562 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สำรบัญ ประเทศซีเรีย (Syria)..........................................................................................................................1 ชาวเคิร์ดในซีเรีย................................................................................................................................6 กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces)................................................................7 การฝึกฝนและศักยภาพของกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียในปฏิบัติการรบ..........................................10 กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียกับการเมืองภายใน...............................................................................12 กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียในการเมืองระหว่างประเทศ ..................................................................15 กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียภายหลังชัยชนะต่อขบวนการรัฐอิสลาม .................................................18 บทสรุป............................................................................................................................................20 บรรณานุกรม...................................................................................................................................22
  • 4. 1 กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) : พันธมิตรสหรัฐอเมริกำในสงครำมซีเรีย บทนำ การลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรียเมื่อ 8 ปีก่อน ได้พัฒนากลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเมื่อการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นมากกว่าการสู้รบ กันระหว่างผู้ที่สนับสนุนและต่อต้านนายอัสซาด ความขัดแย้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 360,000 คน สร้างความเสียหายต่อบ้านเมือง ทาให้ชุมชนแตกแยก เปิดโอกาสให้กลุ่มที่ต่อสู้เพื่อศาสนาอย่าง ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State - IS) และอัลกออิดะห์ (Al-Qaeda) เบ่งบานในประเทศ และทา ให้รัฐบาลหลายประเทศต้องเข้ามามีส่วนร่วม ส่งผลให้สถานการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและการสู้รบยืดเยื้อ ประเทศมหาอานาจหลายประเทศเข้าร่วมสงครามกลางเมืองซีเรียเพื่อชิงความได้เปรียบเชิง ยุทธศาสตร์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองในตะวันออกกลาง โดยผู้สนับสนุนที่สาคัญของ รัฐบาลซีเรียคือ รัสเซียและอิหร่าน ส่วนตุรกี ชาติมหาอานาจตะวันตกและชาติอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย หลายชาติสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน การเข้าร่วมสงครามซีเรียของชาติมหาอานาจนี้มีหลายรูปแบบ ทั้งการ สนับสนุนโดยตรงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ด้านงบประมาณ ด้านกาลังทหาร รวมไปถึงการสนับสนุน ทางอ้อมผ่านกองกาลังพันธมิตรที่ต่อต้านรัฐบาลซีเรียในพื้นที่ หนึ่งในประเทศมหาอานาจที่เข้าแทรกแซงสงครามซีเรียคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ค่อยเต็มใจที่จะ ส่งกาลังทหารเข้าไปสู้รบกับขบวนการรัฐอิสลาม (IS) หรือโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย เนื่องจากบทเรียนจาก สงครามอิรักและการแทรกแซงทางทหารในลิเบีย ด้วยเหตุนี้ สหรัฐอเมริกาจึงพยายามลดบทบาทของตน ด้วยการใช้การโจมตีทางอากาศที่มีความเสี่ยงต่า และการใช้พันธมิตรท้องถิ่นเพื่อต่อสู้กับ IS และรัฐบาล
  • 5. 2 ซีเรีย แต่ยิ่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ประชากรท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้นเท่าไร ตัวแสดงทางการเมือง อื่นๆ ที่มีเป้าหมายและกลยุทธ์แตกต่างกัน เช่น อิหร่าน รัสเซีย และตุรกี ก็จะยิ่งเข้ามาแทรกแซงเพื่อชิง ความเป็นใหญ่ในซีเรียมากขึ้นเท่านั้น เมื่อครั้งที่รัสเซียเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในซีเรียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 รัสเซียตั้งใจ จะโจมตีกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลังอยู่ แต่เหตุการณ์กลับหักมุมเมื่อกอง กาลังเคิร์ดและพันธมิตรอาหรับได้โจมตีกลุ่มกบฏเดียวกันนี้ในจังหวัดอเลปโป (Aleppo) ทางตอนเหนือ โดยทั้งกองกาลังเคิร์ดและประเทศอาหรับต่างพึ่งพาอาวุธของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าชาวเคิร์ดจะพิสูจน์ ตนเองว่าเป็นพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการต่อสู้กับ IS แนวคิดต่อต้านกลุ่มกบฏและ ความสัมพันธ์กับรัฐบาลซีเรียและรัสเซียของชาวเคิร์ดกลับสร้างปัญหาขึ้นมากมาย1 บทความนี้ศึกษา “กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย” (The Syrian Democratic Forces - SDF) ซึ่ง เป็นกองกาลังผสมของชาวเคิร์ดในซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อสู้กับ ขบวนการรัฐอิสลาม กลุ่มนักรบชาวเคิร์ดนี้นับเป็นตัวแปรสาคัญที่ส่งผลกระทบด้านความสัมพันธ์และ ผลประโยชน์ระหว่างประเทศ จนขยายผลส่อนัยความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันระหว่าง สหรัฐอเมริกากับตุรกี เหตุเพราะ สหรัฐอเมริกามองว่ากลุ่มชาวเคิร์ดเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ในพื้นที่และมี ความเหมาะสมชอบธรรมในการใช้สิทธิปกป้องตนเอง แต่ฝ่ายตุรกีมองว่าการขยายอิทธิพลของชาวเคิร์ ดทางตอนเหนือของซีเรียที่มีพรมแดนติดต่อกับตอนใต้ของตุรกีอาจเป็นหอกข้างแคร่ให้กับประเทศได้ เพราะหากชาวเคิร์ดในซีเรียเข้าร่วมกับขบวนการพรรคแรงงานชาวเคิร์ด (The Kurdistan Workers’ Party - PKK) ที่เป็นศัตรูของรัฐบาลตุรกี ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศอย่างแน่นอน การจัดตั้งกองกาลังชาวเคิร์ด ความสัมพันธ์ระหว่าง SDF กับสหรัฐอเมริกา และผลกระทบของกองกาลัง นี้ต่อเหตุการณ์และตัวแสดงที่สาคัญต่างๆ ในสงครามกลางเมืองซีเรียจึงเป็นประเด็นและตัวอย่างหนึ่ง ของกองทหารพันธมิตรที่น่าศึกษาเพื่อทาความเข้าใจการที่ประเทศมหาอานาจเลือกเกณฑ์กาลังพลชน กลุ่มน้อยในพื้นที่ในฐานะกองทหารพันธมิตรเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ในช่วงสงครามกลาง เมืองซีเรีย บทความนี้จะแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ โดยในส่วนแรกจะให้ข้อมูลในภาพรวมเกี่ยวกับประเทศ ซีเรียและข้อมูลเกี่ยวกับชาวเคิร์ดในซีเรียที่มีประวัติขัดแย้งกับพรรคบาธแห่งซีเรีย (The Ba'ath Party) มาเป็นเวลานาน และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย จากนั้นบทความจะ นาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของกองกาลังนี้ ได้แก่ การก่อตั้ง เป้าหมาย แนวคิดในการจัดตั้ง กองทัพ ความสัมพันธ์ของกองทหารนี้กับสหรัฐอเมริกา ศักยภาพในการรบ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค ของกองทหารนี้ ในส่วนสุดท้าย บทความนี้จะกล่าวถึงผลกระทบของปฏิบัติการของกองกาลัง 1 Barak Barfi, “Ascent of the PYD and the SDF,” The Washington Institute for Near East Policy 32, April 2016, 1. https://www.washingtoninstitute.org/uploads/Documents/pubs/ResearchNote32-Barfi.pdf
  • 6. 3 ประชาธิปไตยซีเรียต่อพลวัตของสงครามกลางเมืองในซีเรียที่ยังยืดเยื้อ รวมทั้งสถานการณ์ในอนาคต ของกองกาลังนี้หลังรบชนะขบวนการรัฐอิสลามสาเร็จเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ประเทศซีเรีย (Syria) ประเทศซีเรีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เป็นประเทศในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศ ตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล โดยมี กรุงดามัสกัสเป็นเมืองหลวง ซึ่งถือว่าเป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติ พันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ได้แก่ อลาวียะห์ (Alawites) ดรูซ (Druze) อาหรับ มุสลิมนิกายซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก โดยชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย2 2 “Syria Population 2019,” worldpopulationreview.com, http://worldpopulationreview.com/countries/syria- population/ (Accessed May 7, 2019).
  • 7. 4 ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1946 ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 พันเอกฮาเฟซ อัล-อัสซาด (Hafez al – Assad) ได้ก่อรัฐประหารยึดอานาจ ปกครองประเทศ และในปี ค.ศ. 1971 ได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อ มิถุนายน 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของฮาเฟซ บาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar Al-Assad) ได้รับแต่งตั้ง ให้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย นายบาชาร์ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก เขาจึง เห็นความสาคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่าแย่ และเห็น ความจาเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา3 อย่างไรก็ตาม ในปี 2011 ซีเรียได้รับผลกระทบจากอาหรับสปริง (Arab Spring) ที่สั่นคลอน รัฐบาลหลายประเทศในตะวันออกกลางทั้ง ตูนิเซีย อียิปต์ และอีกหลายประเทศรวมถึงซีเรีย ในเดือน มีนาคม ค.ศ. 2011 กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้นายบาชาร์ อัล-อัสซาด ปฏิรูปการเมืองในครรลอง ประชาธิปไตยและปล่อยตัวนักโทษการเมือง4 แต่รัฐบาลอัสซาดกลับตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงด้วย กาลังทางทหาร ส่งผลให้ผู้ประท้วงที่มาจากหลายฝ่ายไปจับปืนติดอาวุธก่อตั้งกองกาลังปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army) ขึ้นเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลซีเรีย ความขัดแย้งบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง (Civil War) ภายในประเทศ ก่อนที่จะถูกซ้อนทับด้วยปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาชาวเคิร์ดที่ต้องการจะ 3 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย, http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle- east/detail.php?ID=29#2 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562). 4 “6 คาถามศึกซีเรีย มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร,” ข่าวสด, 15 เมษายน 2561, https://www.khaosod.co.th/around-the- world-news/news_963911 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562).
  • 8. 5 แยกตัวออกจากซีเรียและปกครองตนเอง ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับที่นาโดย ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงผลประโยชน์ของมหาอานาจอื่นๆ ในตะวันออกกลางโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและ รัสเซีย จนกลายเป็นสงครามตัวแทน (Proxy War) เพื่อต้องการล้มรัฐบาลซีเรียในที่สุด5 ตั้งแต่สงครามกลางเมืองปะทุขึ้น มีชาวซีเรียเกือบครึ่งล้านถูกสังหาร และกว่าล้านคนบาดเจ็บ อีกกว่า 12 ล้านคน หรือกึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ (18,468,185 คน) ต้องทิ้งบ้านเกิดเรือนนอน ส่วนอีกกว่า 5.5 ล้านคนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ หรือขอเข้าหลบในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัย6 สงครามซีเรียที่ ดาเนินมากว่า 8 ปีแล้วไม่เพียงเป็นเครื่องยืนยันว่า กระแสต่อต้านเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการยังไม่ ประสบผลสาเร็จเท่านั้น แต่ยังสะท้อนปัญหาเรื่องการปิดกั้นประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ บานปลายจนทาให้ซีเรียกลายเป็นสนามประลองยุทธ์ของกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มและมหาอานาจ ต่างชาติหลายฝ่าย ซึ่งกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรียก็เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งที่ส่งผลต่อทิศทางสงครามกลาง เมืองที่ยืดเยื้อนี้ 5 ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ, “เกิดอะไรในซีเรีย? เข้าใจสงครามซีเรียแบบย่อยง่ายๆ กับ 2 ผู้เชี่ยวชาญการเมือง ตะวันออกกลาง,” The Standard, https://thestandard.co/syria-war-in-expert-opinion/ (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562). 6 ที่เดียวกัน.
  • 9. 6 ชำวเคิร์ดในซีเรีย ชาวเคิร์ดมีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนยาวนานในซีเรีย มีเพียงชาวเคิร์ดบางคนเท่านั้นที่มีโอกาส ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดทางการเมือง เช่น ฮุซนี อัล ซาม (Husni al-Zaim) ได้เป็นประธานาธิบดีชาวเคิร์ดซีเรีย ใน ค.ศ. 1949 อดิบ ชิชักลี (Adib Shishakli) เป็นประธานาธิบดีชาวเคิร์ดในต้นทศวรรษ 1950 คาลิด บัก ดาช (Khalid Bakdash) ผู้นาพรรคคอมมิวนิสต์ซีเรียก็เป็นชาวเคิร์ด ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเคิร์ดและรัฐบาลซีเรียภายใต้พรรคบาธไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากชาว เคิร์ดถูกพรรคบาธกดขี่ข่มเหงทุกวิถีทาง ระบอบบาธพยายามกาจัดอัตลักษณ์เคิร์ดผ่านมาตรการที่ เข้มงวดเพื่อหวังที่จะผสานกลืนชาวเคิร์ดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์อาหรับตามแนวคิดหลักของ พรรคบาธ ด้วยเหตุนี้ ชาวเคิร์ดจึงถูกกดขี่ทางอาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา และทางวัฒนธรรมหลายๆ รูปแบบ เช่น ชาวเคิร์ดไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินในซีเรีย และไม่สามารถจดทะเบียนการเกิดได้ ใน ค.ศ. 1962 รัฐบาลซีเรียได้ถอดถอนสัญชาติชาวเคิร์ดประมาณ 120,000 คน และในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 รัฐบาลซีเรียได้เนรเทศชาวเคิร์ดออกจากหมู่บ้านบริเวณชายแดนตุรกี เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรค สหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party – PYD) เช่น ซาลิห์ มุสลิม ฮาดิยา ยูซุฟ (Salih Muslim Hadiya Yusuf) ประธานพรรค PYD และ อันวาร์ มุสลิม (Anwar Muslim) ต่างถูกจาคุกมา หมดแล้ว แม้กระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลซีเรียยังคงส่งสายลับเพื่อจับตาดูความเคลื่อนไหวของชาวมุสลิมอยู่ เรื่อยๆ7 7 Barfi, 5.
  • 10. 7 กองกำลังประชำธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces - SDF) ได้รับการก่อตั้งใน ค.ศ. 2015 โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งประเทศซีเรียที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นสหพันธรัฐตามแนวขอบของ เขตโรจาวา (Rojava) ทางตอนเหนือของซีเรีย SDF เป็นกลุ่มกองกาลังพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกลุ่มติด อาวุธชาวเคิร์ด ชาวเตอร์โคมัน ชาวอัซซีเรียน และชาวอาร์เมเนียน แต่กองกาลังส่วนใหญ่ประกอบด้วย นักรบชาวเคิร์ดซึ่งสังกัดปีกทางทหารของกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียในนาม “หน่วยป้องกันประชาชน” (People’s Protection Units – YPG) นอกจากนี้ กลุ่มกองกาลังทั้งหมดยังเป็นส่วนหนึ่งของพรรค Kurdistan Workers’ Party หรือ PKK ดังนั้น กองทหารอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองกาลัง ประชาธิปไตยซีเรียจึงอาจจะเป็นพันธมิตรหรือตัวแทนของ PKK เช่น ปีกทหารของ Syriac Union Party หรือไม่ก็เป็นกลุ่มพันธมิตรชนเผ่าอาหรับนับถือนิกายซุนนีห์ รวมไปถึงกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์ที่พ่ายต่อ ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State - IS) ในช่วงปี ค.ศ. 2013-2014 กลุ่ม YPG ได้สร้างพันธมิตรกับกองกาลังซานาดิด (Sanadid forces) ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากชนเผ่าชัมมาร์ (Shammar tribe) และสภากลาโหมซีรีแอ็ก (Syriac Military Council - SMC) จากนั้น ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2014 YPG ได้ก่อตั้งกองกาลัง Euphrates Volcano ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิบัติการร่วมที่รวมกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (FSA) หลายกองเข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือ ระหว่างนักรบชาวอาหรับและเคิร์ดได้นาไปสู่การก่อตั้งกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2015 โดยตั้งใจจะให้ SDF เป็นองค์กรอาหรับ ซึ่งอาจจะช่วยลบภาพกองกาลังผสมที่
  • 11. 8 ชาติตะวันตกสร้างขึ้นเพื่อกดขี่ชาวอาหรับภายใต้อานาจของชาวเคิร์ด แนวคิดนี้จึงสื่อว่าหน่วยทหารที่นา โดยทหารอาหรับอาจจะทาให้ชาวอาหรับไว้วางใจ SDF ได้มากขึ้น ในระยะแรก SDF ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มติดอาวุธ 6 กลุ่มโดยไม่รวม YPG พันธมิตรในช่วงนั้น ประกอบด้วยนักรบ 10,000 คน ในบรรดากองพันของ SDF กองกาลัง Sanadid ถือว่าใหญ่ที่สุดซึ่ง ประกอบด้วยนักรบ 4,500 คน8 Northern Sun Brigade มีกองพัน 8 กอง แต่ละกองประกอบด้วยนักรบ 50-200 คน ส่วนสภากลาโหมซีรีแอ็ก (SMC) ประกอบด้วย นักรบชาวคริสต์ซีรีแอ็ก (Syriac Christians) ร้อยกว่าคน กองกาลัง Raqqa Revolutionaries ประกอบด้วยสมาชิก 1,300 คน เมื่อเร็วๆ นี้ พันเอก สตีฟ วาร์เรน (Colonel Steve Warren) โฆษกปฏิบัติการ Inherent Resolve รายงานว่า SDF ประกอบด้วยนักรบ 5,000 คนซึ่งกระจัดกระจายในกองกาลัง 8 กลุ่ม ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 โครงการใต้ดินของหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Central Intelligence Agency - CIA) ที่รู้จักกันในนาม Military Operations Command (MOC) ได้มอบอาวุธและ เงินทุนให้แก่กองพันซีเรียที่คัดเลือกจากกลุ่มกองกาลังในกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army - FSA) โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ต่อสู้กับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสสาด (Bashar al-Assad) และกองทัพ อาหรับซีเรียของเขา (Syrian Arab Army - SAA) อย่างไรก็ตาม หลังจากกลุ่ม IS ยึดเอาเมืองโมซุลในอิรักได้สาเร็จ และสังหารตัดหัวนักข่าว อเมริกันใน ค.ศ. 2014 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มปรับแผนรบโดยหันมาต่อสู้กับ IS อย่างจริงจัง ในวันที่ 9 ตุลาคม 2015 วอชิงตันประกาศว่าโครงการฝึกฝนและจัดสรรอาวุธให้แก่กองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army train-and-equip program) ถูกยุติลงเนื่องจากกลุ่มกองกาลังหนึ่งของกองกาลังซีเรียถูก กลุ่มอัล-นุศเราะฮฺ ฟรอนท์ (Jabhat al-Nusra) ที่เป็นเครือข่ายของอัลกออิดะห์ (al-Qaeda) จับตัวไปใน ขณะที่ FSA เหลือนักรบที่ได้รับการฝึกฝนเพียง 4-5 คนในซีเรีย หลังจากที่โครงการนี้ล่มลง สหรัฐอเมริกาก็พยายามหาพันธมิตรอาหรับที่สามารถไปสู้รบกับ IS แทน ในที่สุดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกาเลือกให้การสนับสนุนพรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) และ ปีกทางทหารของพรรค ได้แก่ หน่วยป้องกันประชาชน (People’s Defense Units - YPG) โดย สหรัฐอเมริกามอบหมายให้ YPG จัดตั้งกองกาลังผสมของตนเองขึ้น แล้วสหรัฐอเมริกาจะสนับสนุน YPG ด้านอาวุธเพื่อใช้กองกาลังนี้ต่อสู้กับขบวนการรัฐอิสลามโดยเฉพาะ ที่จริงแล้ว ความสัมพันธ์ของพรรคสหภาพประชาธิปไตย (PYD) กับวอชิงตันเริ่มต้นเมื่อ สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงการต่อสู้ที่โคบานี (Battle of Kobane) ทางชายแดนตอนเหนือของซีเรียด้วย การโจมตีทางอากาศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2014 เพื่อช่วยเหลือชาวเคิร์ดจาก IS การสู้รบในครั้งนั้น 8 ชนเผ่าชัมมาร์ซึ่งควบคุมกองกาลังซานาดิด เป็นกลุ่มสมาพันธรัฐที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกอาหรับ มีอิทธิพลทั่ว ตอนเหนือของซีเรีย และได้รับการสนับสนุนจากกาตาร์
  • 12. 9 ประสบความสาเร็จอย่างมากเนื่องจากเป็นการสู้รบชนะ IS ของชาวเคิร์ดเป็นครั้งแรก การต่อสู้ในครั้งนั้น จึงถือเป็นแม่แบบของการร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับ PYD จะเห็นได้ว่า ยิ่งหน่วยป้องกัน ประชาชน (YPG) เริ่มพัฒนามาเป็นกองกาลังต่อสู้กลุ่มจิฮาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไหร่ รัฐบาล สหรัฐอเมริกาก็ยิ่งให้การสนับสนุนมากขึ้นเท่านั้น ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 เครื่องบิน สหรัฐอเมริกาได้ส่งกระสุนหนัก 50 ตันทางอากาศจานวน 100 ชุดให้แก่กลุ่มอาหรับซุนนีห์ที่ YPG สนับสนุนที่เรียกว่า “กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย” (Syrian Democratic Forces - SDF) โดยมีเจ้าหน้าที่ จากหน่วยรบพิเศษของสหรัฐอเมริกาประมาณ 50 คน (U.S. Special Forces operatives) ได้ทาการฝึก และติดอาวุธให้แก่นักรบของกองกาลังนี้ในอาณาเขตที่ PYD ควบคุมอยู่ ล่าสุด สหรัฐอเมริกาได้ยึดทาง วิ่งเครื่องบินทางตอนใต้ของเมืองรูเมลัน (Rumeilan) ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของ PYD เพื่อใช้เป็น เส้นทางส่งมอบอาวุธให้แก่กองทหาร SDF ได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตุรกีไม่พอใจอย่างมากที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรีย โดยเฉพาะกลุ่ม PYD ซึ่งถูกมองว่าเป็นสาขาย่อยของ ขบวนการพรรคแรงงานชาวเคิร์ด (Kurdistan Workers Party - PKK) ในซีเรีย โดยกลุ่ม PKK นี้เป็นกลุ่มการเมืองในตุรกีที่ต่อสู้กับรัฐบาลตุรกีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1984 และถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ด้วยเหตุนี้ ตุรกีจึงมองว่าการที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มอานาจทางทหารให้แก่กลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียที่เป็น กลุ่มก่อการร้ายจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตน ถึงแม้ว่าตุรกีจะไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกองกาลัง SDF แต่นักพัฒนานโยบาย สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้สนใจข้อท้วงติงจากตุรกีและจากกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเอง ก็ไม่เห็นทางเลือกอื่นนอกจากการใช้กองกาลัง SDF อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็พอใจกับผลลัพธ์และศักยภาพ ของ SDF ในปฏิบัติการสู้รบกับ IS ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและ SDF จึงเป็นความสัมพันธ์ ทางยุทธศาสตร์ที่ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ในเชิงยุทธศาสตร์ แนวคิดของสหรัฐอเมริกาในการจัดตั้งกองกาลังนี้คือการให้ SDF เป็นกอง ทหารอาหรับนิกายซุนนีห์ในปฏิบัติการครอบครองดินแดนของเคิร์ด และทาการรุกเข้าไปยังศูนย์กลาง ดินแดนของ IS ซึ่งเป็นเขตของชนเผ่าอาหรับนิกายซุนนีห์ที่เชื่อมต่อซีเรียกับอิรัก เป้าหมายที่สาคัญที่สุด สาหรับสหรัฐอเมริกาก็คือการที่ SDF สามารถรบชนะ IS ได้ในอาณาเขตของเคิร์ดและตามชายขอบของ ซีเรีย SDF จึงเป็นกองทหารราบท้องถิ่นที่มีค่าอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ส่วนในแง่การเมือง เป้าหมายหลักของการใช้ SDF คือการแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่มีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรงกับ PKK ซึ่งถูกมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อ PKK ไม่ได้เป็นภัย คุกคามสหรัฐอเมริกาโดยตรง และได้ผันตัวกลายเป็นพันธมิตรที่สาคัญที่สุดในการต่อสู้กับ IS ในซีเรีย แล้ว การสนับสนุนกลุ่ม SDF อย่างเปิดเผยจึงเป็นการหาช่องทางในการหลบหลีกอุปสรรคทางกฎหมาย
  • 13. 10 อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกามีพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์และสามารถดารงอยู่ ในดินแดนซีเรียได้อย่างแยบคาย9 กำรฝึกฝนและศักยภำพของกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียในปฏิบัติกำรรบ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 ประธานคณะเสนาธิการร่วม พลเอก โจเซฟ ดันฟอร์ด (Joseph Dunford) กล่าวกับสานักข่าววอชิงตัน โพสต์ (Washington Post) ว่าสหรัฐอเมริกามุ่งหมายที่จะให้ทหาร อเมริกันฝึกฝนกองทหารท้องถิ่นจานวน 40,000 คนเพื่อต่อสู้กับ IS และสนับสนุนด้านการทูตทาง ตะวันออกของซีเรีย10 สหรัฐอเมริกาไม่เพียงช่วยเหลือ SDF ในแง่อาวุธและกลยุทธ์ทางทหารเท่านั้น แต่ยังสามารถ เกณฑ์กาลังรบเพิ่มเติมผ่าน SDF ได้อีกด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกฝนกองกาลังชาวเคิร์ดว่า ทหารอเมริกันได้ฝึกฝนนักรบเคิร์ดในเรื่องการสื่อสาร ข้อมูลกับกองกาลังฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการโจมตีทางอากาศได้อย่าง แม่นยาและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ นายแอช คาร์เตอร์ (Ash Carter) รัฐมนตรีว่าการ 9 ชูชาติ พุฒเพ็ง, “รอยร้าวความสัมพันธ์ตุรกี–สหรัฐฯ : เกมแห่งดุลอานาจในซีเรีย,” สภาผู้แทนราษฎร, 23 เมษายน 2561, https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20180427113234.pdf (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562). 10 Paulina Glass, “Does a New US Goal for Syrian Training Portend a Longer Mission?,” Defenseone, https://www.defenseone.com/threats/2018/12/does-new-us-goal-syrian-training-portend-longer-mission/153421 (accessed April 23, 2019).
  • 14. 11 กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า YPG ได้ช่วยแนะนาเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันให้รู้จักกับชาวอาหรับซีเรียใน พื้นที่ที่สามารถช่วยสหรัฐอเมริกาในการสู้รบกับ IS ได้ การร่วมมือประสานงานกับ SDF จึงเป็นช่องทาง ของสหรัฐอเมริกาในการแสวงหาโอกาสและทาความรู้จักกับชาวเคิร์ดในซีเรียได้อย่างดี ในด้านศักยภาพทางทหาร สหรัฐอเมริกากล่าวชมว่า SDF เป็นกองกาลังที่มีศักยภาพในการ ปลดแอกเมืองรักกา (Raqqa) จาก IS พันเอกวาร์เรนยืนยันว่า ปฏิบัติการ al-Hawl ถือเป็นตัวบ่งชี้ ศักยภาพของโครงการฝึกฝนและติดอาวุธให้ SDF นอกจากนี้ พลโทชอน แม็กฟาร์แลนด์ (Sean MacFarland) ผู้บัญชาการปฏิบัติการ Inherent Resolve กล่าวว่า SDF สามารถเอาชนะศัตรูทางตอน เหนือและตะวันออกของซีเรียได้อย่างขาดลอย โดยวิธีปฏิบัติการของ SDF คือการให้กองกาลังของตน ควบคุมตาแหน่งทางด้านหลังของสนามรบ และให้ YPG ทาการรุกเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้าบุกโจมตี11 และหลังจากที่ SDF สามารถยึดหลายเมืองบริเวณชายแดนของตุรกีได้ใน ค.ศ. 2015 นายจอช เอิร์น เนสท์ (Josh Earnest) โฆษกทาเนียบขาวกล่าวว่า PYD เป็นพันธมิตรที่ไว้ใจได้และมีส่วนช่วยสนับสนุน กลยุทธ์ต่อต้าน IS เป็นอย่างดี ความสาเร็จของ SDF จึงสะท้อนให้เห็นว่าการสนับสนุนนักรบที่มี ศักยภาพและไว้ใจได้ในพื้นที่จะช่วยทาให้แผนต่อต้าน IS บรรลุเป้าหมาย12 แม้กระนั้นก็ตาม พ.อ.ไรอัน ดิลลอน (Ryan Dillon) นายทหารอเมริกันซึ่งทาหน้าที่เป็นโฆษก ของกลุ่มพันธมิตรนาโดยสหรัฐอเมริกาบอกกับสานักข่าวเอเอฟพีในวันที่ 17 เมษายน 2018 ว่า การสู้รบ กับ IS ในเมืองอิฟริน (Afrin) ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ตัดกาลังรบและความสามารถของกองกาลัง ฝ่ายประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ในปฏิบัติการสู้รบเชิงรุกได้ SDF จึงต้องเริ่มปรับยุทธศาสตร์ใหม่โดยหัน ไปมุ่งเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบริเวณชายแดนและการพยายามป้องกันไม่ให้ IS แผ่ขยาย อานาจและดินแดนได้อีก โดย SDF สามารถยับยั้ง IS ไม่ให้ตีเอาดินแดนได้อีกในบริเวณ 2 ตาแหน่ง ได้แก่ ดินแดนใกล้กับฮาจิน (Hajin) แถบแม่น้ายูเฟรติส ทางเหนือของเขตอัล บูกามาล (Al Bukamal) และในเมืองดาชิชา (Dashisha) ใกล้กับชายแดนซีเรีย-อิรัก13 11 Barfi, 3. 12 White House, “Press Briefing by Press Secretary Josh Earnest,” June 16, 2015, https://www.whitehouse.gov/ the-press-office/2015/06/17/daily-press-briefing-press-secretary-josh-earnest-061615. 13 U.S. Department of Defense, “Department Of Defense Press Briefing by Colonel Dillon via Teleconference From Baghdad, Iraq,” April 17, 2018, https://dod.defense.gov/News/Transcripts/Transcript- View/Article/1496008/department-of-defense-press-briefing-by-colonel-dillon-via-teleconference-from/ (accessed April 23, 2019).
  • 15. 12 กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับกำรเมืองภำยใน  ควำมสัมพันธ์ระหว่ำง PYD และรัฐบำลซีเรีย ถึงแม้จะมีความตึงเครียดระหว่างพรรคบาธกับชาวเคิร์ด ในยามที่รัฐบาลซีเรียต้องเผชิญกับการ โจมตีโดยกลุ่มกบฏในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2012 รัฐบาลซีเรียก็ต้องยอมให้ PYD เข้าปกป้องคุ้มครอง ดินแดนในจังหวัดฮาซากาห์ (Hasaka) จากกลุ่มกบฏชาวอาหรับซุนนีห์ ในปัจจุบัน รัฐบาลซีเรียกับ YPG ปกครองเมือง ฮาซากาห์และคามิชลิ (Qamishli) ร่วมกัน โดย YPG ยังได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจาก รัฐบาลซีเรียอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กองกาลังเคิร์ดก็ปะทะกับกองทัพของซีเรียอยู่บ่อยครั้ง เช่น ในเดือน กันยายน ค.ศ. 2012 และมีนาคม ค.ศ. 2015 รัฐบาลซีเรียโจมตีฐานทัพของ YPG ทางอากาศในเขต อเลปโป (Aleppo) ถึงแม้พันเอกวาร์เรนยืนยันว่าไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ารัฐบาลซีเรียร่วมมือกับ PYD ในการสู้รบที่ อเลปโป นายบาชาร์ จาฟารี (Bashar Jaafari) ทูตซีเรียประจาสหประชาชาติกล่าวว่ารัฐบาลซีเรียให้การ สนับสนุน PYD จริง ซึ่งการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างศัตรูเช่นนี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่พบเห็นได้อยู่เสมอใน สงครามกลางเมืองซีเรีย ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลซีเรียยอมจ่ายเงินให้แก่กลุ่มกบฏหลายกลุ่มเพื่อให้พวก เขาหลีกเลี่ยงการวางระเบิดท่อส่งน้ามันบางแห่ง กลุ่มกบฏบางกลุ่มคอยคุ้มครองรถขนน้ามันที่เคลื่อน ผ่านดินแดนของกลุ่มกบฏเพื่อไปส่งยังด่านตรวจของรัฐบาลซีเรีย จะเห็นได้ว่า YPG ไม่ค่อยถูกรัฐบาล ซีเรียโจมตีทางอากาศเนื่องจากทั้งคู่ต่างมีศัตรูร่วมกันคือกลุ่มกบฏอาหรับซุนนีห์และ IS ทั้งรัฐบาลซีเรีย และ YPG จึงเป็นเสมือนเพื่อนรักเพื่อนแค้นที่ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน และเหมือนมีข้อตกลง ชั่วคราวที่คล้ายคลึงกับข้อตกลงไม่ทาสงครามระหว่างกัน
  • 16. 13  ควำมสัมพันธ์ระหว่ำง PYD กับ YPG และ PKK การตั้งกองกาลังผสม SDF ขึ้นมาได้สร้างประโยชน์ให้แก่ YPG และ PKK ในหลายรูปแบบ ไม่ใช่ เพียงการสนับสนุนด้านอาวุธและงบประมาณเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ของชาวเคิร์ดซีเรียกับ สหรัฐอเมริกานี้ยังช่วยให้กลุ่ม YPG และ PKK ได้กู้ชื่อเสียงและอิทธิพลทางการเมืองกลับคืนมา และมี พื้นที่ในการสานสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณชนในซีเรียได้กว้างขวางมากขึ้น ที่จริงแล้ว ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมตายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเพียงอย่าง เดียว แต่การเข้าร่วมกองกาลัง SDF ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการผลักดันประเด็น สาคัญอื่นๆ ของชาวเคิร์ดซีเรีย ประเด็นหลักๆ คือการรักษาความมั่นคงให้แก่ประชากรของตน การ พยายามกาจัดอิทธิพลตุรกีออกจากซีเรีย และการเชื่อมต่อพื้นที่เคิร์ดในเมืองโคบานี (Kobane) และอีฟ ริน (Afrin) ซึ่งถูกแบ่งแยกโดยกลุ่ม IS และกลุ่มกบฏอาหรับนิกายซุนนีห์ที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ทางตอน เหนือของอเลปโป PYD มองว่ากลุ่ม IS เป็นศัตรูและภัยคุกคามชีวิตของประชากรชาวเคิร์ดในซีเรียที่ ใหญ่ที่สุด เป้าหมายหลักของ PYD คือ การยับยั้งและกาจัด IS ให้สิ้นซาก นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียขึ้นมา นักรบเคิร์ดได้ก่อตั้งปีกทางการเมืองของ ตนเองที่เรียกว่า Democratic Syrian Assembly (DSA) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วน แรกประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มเคิร์ดหลายกลุ่มที่ปกครองตอนเหนือของซีเรีย ได้แก่ เขตปกครอง ตนเองโรจาวา (Rojava) พรรคสหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) ขบวนการ เพื่อสังคมประชาธิปไตย (The Movement for a Democratic Society - TEV-DEM) และกลุ่มอื่นๆ อีก
  • 17. 14 สองสามกลุ่ม โดยกลุ่มทั้งหมดเหล่านี้เป็นตัวแทนของ PKK เหมือนกับ YPG นอกจากนี้ยังมีแนวหน้า ทางการเมืองของพรรคสหภาพซีริแอก (Syriac Union Party) และพันธมิตรท้องถิ่นอื่นๆ ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับ PKK อีกส่วนหนึ่งของ SDF คือเครือข่ายหลวมๆ ของฝ่ายซ้ายของซีเรีย และนักกิจกรรมที่ไม่อิง ศาสนาอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เฮย์ตาม มันนา (Haytham Manna) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ มนุษยชนจากเมืองเดรา (Deraa) ทางตอนใต้ของซีเรีย กลุ่มนี้เชี่ยวชาญในด้านการทูตระดับภูมิภาค เนื่องจากมีเครือข่ายที่สามารถช่วยให้การเจรจาทางการทูตเกิดขึ้นได้อยู่ทั่วสารทิศ ซึ่งได้แก่ ฝ่ายค้าน ของซีเรีย ประเทศแถบยุโรป องค์การสหประชาชาติ นักการทูต ส่วนหนึ่งของสันนิบาตอาหรับ อียิปต์ รัสเซีย เป็นต้น แม้กระนั้นก็ตาม กลุ่มฝ่ายซ้ายไม่ค่อยได้รับความนิยมจากฝ่ายค้านของอาหรับนิกายซุนนีห์และ กลุ่มอิสลามิสต์ที่ตุรกีและประเทศแถบอ่าวให้การสนับสนุนอยู่ นอกจากนี้ จานวนสมาชิกของกลุ่มฝ่าย ซ้ายก็ยังมีน้อยและไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมรภูมิซีเรีย แต่กลุ่มฝ่ายซ้ายนี้ก็มีส่วนช่วยเพิ่มอิทธิพล ทางการเมืองให้แก่ชาวเคิร์ดในซีเรีย และช่วยลบล้างแนวคิดที่ว่า SDF เป็นกองกาลังของเคิร์ดเพียงอย่าง เดียว หรือเป็นเครื่องมือของ PKK ในปฏิบัติการรบในซีเรีย นอกจาก PYD จะสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองผ่านความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาได้ แล้ว PYD ยังสามารถยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรียเพื่อจัดตั้งเขตปกครองตนเองจากการช่วย สหรัฐอเมริกาขับไล่กลุ่ม IS ออกจากพื้นที่ การโจมตี IS ทางอากาศโดยสหรัฐอเมริกาทาให้กอง กาลังเคิร์ดสามารถยึดครองพื้นที่ที่ปราศจาก IS และเชื่อมต่ออาณาเขตเมือง Afrin Kobane และ Jazira เข้าด้วยกัน หาก SDF สามารถยึดพื้นที่ที่เหลือจาก IS ได้ PYD ก็มีแนวโน้มจะสามารถจัดตั้งเขต ปกครองตนเองได้ในที่สุด นอกจากนี้ ประชากรชาวอาหรับและเติร์กเมนทางตอนเหนือของซีเรียYPG ไม่ถูกกับ YPG เนื่องจากพวกเขามองว่า YPG ได้ทาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาหรับและส่งผลให้สมาชิกชุมชนอาหรับ ต้องอพยพหลบหนีและสูญเสียที่อยู่อาศัย14 นอกจากนี้ ปีกการเมืองของ YPG ซึ่งคือ พรรคสหภาพพรรค ประชาธิปไตย (Democratic Union Party - PYD) มีเป้าหมายที่จะสร้างเขตสหพันธรัฐกึ่งปกครองตนเอง ทางตอนเหนือของซีเรียหรือเขตสหพันธรัฐโรจาวา (Rojava) ซึ่งตุรกี กลุ่มชาวอาหรับ และพรรคเคิร์ด อื่นๆ ต่อต้าน15 14 Genevieve Casagrande, “The Road to Ar-Raqqah: Background on the Syrian Democratic Forces,” 22 November 2016, Institute for the Study of War, 1, http://www.css.ethz.ch/content/dam/ethz/special-interest/gess/cis/center-for-securities- studies/resources/docs/ISW-The%20Road%20to%20ar-Raqqah%20ID%20FINAL.pdf (accessed 23 April 2019). 15 อาทิตย์ ทองอินทร์, “Syrian Civil War: หมากบนกระดานสงครามซีเรีย,” waymagazine, 22 มีนาคม 2561, https://waymagazine.org/syrian_civil_war_arthit01 (สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562).
  • 18. 15 จะเห็นได้ว่า นักรบเคิร์ดที่เข้าร่วมกองกาลัง SDF ส่วนใหญ่ไม่ได้จงรักภักดีต่อสหรัฐอเมริกาหรือ ต้องการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของพันธมิตรที่เป็นมหาอานาจ โดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวเคิร์ดสาน สัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐอเมริกาเพื่อแสวงผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเองในหลายๆ ประเด็น ซึ่ง ประเด็นหลักๆ คือการรักษาความมั่นคงให้แก่ประชากรของตน การพยายามกาจัดอิทธิพลตุรกีออกจาก ซีเรีย และการเชื่อมต่อพื้นที่เคิร์ดในเมืองโคบานี (Kobane) และอีฟริน (Afrin) ทางตอนเหนือของอเลป โป (Aleppo) ซึ่งโดนแบ่งแยกโดยกลุ่ม IS และกลุ่มกบฏอาหรับนิกายซุนนีห์ที่ตุรกีหนุนหลังอยู่16 กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียในกำรเมืองระหว่ำงประเทศ แม้กองกาลังประชาธิปไตยซีเรียจะให้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และการเมืองแก่สหรัฐอเมริกา และชาวเคิร์ด แต่การพึ่งพาเคิร์ดในซีเรียสร้างความไม่พอใจให้กับพันธมิตรซีเรียและพันธมิตรระดับ ภูมิภาคอื่นๆ และอาจจะไปผลักดันให้คนท้องถิ่นหันไปเข้ากับกลุ่มจิฮาด ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ตุรกีมอง ว่า SDF นาโดยกลุ่ม YPG เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของตุรกี เนื่องจาก YPG เป็น องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Workers Party - PKK) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ ขัดแย้งกับรัฐบาลตุรกีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1984 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40,000 คน 16 Aron Lund, “Origins of the Syrian Democratic Forces: A Primer,” News Deeply, https://www.newsdeeply.com/syria/articles/2016/01/22/origins-of-the-syrian-democratic-forces-a-primer (accessed 23 April 2019).
  • 19. 16  ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับรัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับกองกาลังประชาธิปไตยซีเรียเป็นความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ ประโยชน์ โดยข้อตกลงสงบศึกระหว่าง SDF กับรัฐบาลซีเรียอย่างไม่เป็นทางการเป็นประโยชน์ต่อ รัสเซีย มอสโควมองว่า SDF เป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับ Ahrar al-Sham และ Jabhat al-Nusra ที่กาลัง ควบคุมจังหวัดอิดลิบ นอกจากนี้ รัสเซียสามารถใช้ความสัมพันธ์กับ PYD ในการอ้างว่ารัสเซียร่วมมือกับ สหรัฐอเมริกาในการต่อสู้กับ IS แต่ผลประโยชน์ที่รัสเซียได้จาก PYD มากสุดคือการใช้ PYD ในการต่อต้านตุรกี รัสเซียสามารถ ใช้ PYD ในฐานะเครื่องมือเพื่อต่อสู้กับกองกาลังของตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ ตุรกียิงเครื่องบิน รัสเซียตกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 การที่ทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกาสนับสนุน PYD ทาให้ดู เหมือนว่าทั้งสองมหาอานาจกาลังรุมโจมตีตุรกี อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของ PYD ไม่ได้ให้ความสาคัญกับการสานสัมพันธ์กับรัสเซียนัก เนื่องจากรัสเซียเคยเนรเทศนายอับดุลเลาะห์ โอคาลัน ผู้ก่อตั้ง PKK หลังจากที่เขาถูกซีเรียขับไล่เมื่อ ค.ศ. 1998 ด้วยเหตุนี้ PYD จึงไม่คิดว่ารัสเซียจะให้การสนับสนุนเคิร์ดได้มากเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่ทั้ง PYD และรัสเซียต่างมีเป้าหมายระยะสั้นเหมือนกัน คือ การสู้รบกับกลุ่มกบฏ ตัดกาลัง IS และกดดัน ตุรกี Read Barfi, 6  ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกองกำลังประชำธิปไตยซีเรียกับตุรกี นับตั้งแต่ที่ PYD เข้ายึดครองดินแดนทางตอนเหนือของซีเรียเมื่อ ค.ศ. 2012 ตุรกีก็ไม่ค่อยให้ ความไว้ใจ PYD ยิ่งไปกว่านั้น ตุรกีมองว่า PYD เป็นกลุ่มที่มีเอี่ยวกับ PKK อีกทั้งยังสนับสนุนรัฐบาล ซีเรีย และไม่ให้ความร่วมมือกับกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ หรือไม่ยอมรับผู้นาเคิร์ด ในอิรักที่สนับสนุนตุรกีอย่าง Masoud Barzani ด้วยเหตุนี้ ตุรกีจึงเปิดศึกกับกลุ่มชาวเคิร์ดซีเรียในตุรกี ในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งไปสร้างแรงเสียดทานกับสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ กลุ่มชาวเคิร์ดซีเรีย เช่น หน่วยป้องกันประชาชน” (People’s Protection Units – YPG) และพรรค สหภาพพรรคประชาธิปไตย (Democratic Union Party (PYD) รวมไปถึงบรรดากลุ่มกบฏที่อเมริกา เรียกว่า “พวกสายกลาง” เช่น กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) ซึ่งส่วนใหญ่ก็ คือชาวเคิร์ด ตุรกีเกรงว่า PYD จะยึดครองพื้นที่ชายแดนซีเรียที่ติดกับตุรกีเนื่องจากตุรกีมองว่า PYD เป็น สาขาย่อยของ PKK ที่ตุรกีระบุว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 สองสามสัปดาห์ หลัง PYD ส่งกองกาลังเข้าควบคุมอาณาเขตทางตอนเหนือของซีเรีย Recep Tayyip Erdogan
  • 20. 17 นายกรัฐมนตรีตุรกีกล่าวว่า “เราจะไม่ยอมให้กลุ่มก่อการร้ายมาตั้งค่ายทางตอนเหนือซีเรียแล้วเข้ามา คุกคามตุรกีเด็ดขาด” เขากล่าวเตือนอีกว่า “ตุรกีจะตอบโต้ความเคลื่อนไหวของเคิร์ดดังกล่าวอย่าง แน่นอน” จากนั้นไม่นาน ตุรกีก็เริ่มทาการฝึกซ้อมรบบริเวณชายแดนซีเรีย นอกจากนั้น Erdogan ไม่ พอใจที่สหรัฐอเมริกาส่งอาวุธและเสบียงทางอากาศให้กับ PYD ที่เมือง Kobane และหลังจากที่ YPG รุก คืบเข้าสู่เมืองชายแดน Tal Abyad ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 รัฐบาลตุรกีก็ตอบโต้ด้วยการยิงถล่ม หมู่บ้านซีเรียที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ YPG และเรียกทูตสหรัฐอเมริกาประจาตุรกีเข้าพบเพื่อยื่นคา ร้องเกี่ยวกับภัยคุกคามจากเคิร์ด ตุรกีมองว่า PYD เป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของประเทศที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาจากรัฐบาลซีเรีย และ IS ด้วยเหตุนี้ ตุรกีพยายามสนับสนุนให้กาหนดเขตพื้นที่ปลอดภัย (safe zone) ความยาว 48 กิโลเมตร และกว้าง 95 กิโลเมตรทางตอนเหนือของซีเรีย โดยให้กองพันของตุรกีเข้าควบคุมดูแล ใน เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 นายเฟริดุน ซินีร์ลิโอกรู (Feridun Sinirlioglu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศของตุรกีกล่าวว่า พื้นที่ปลอดภัยดังกล่าวจะต้องปราศจาก PYD และได้รับการคุ้มครอง ทางอากาศให้ปลอดภัยจากการโจมตีของ IS PYD และซีเรีย จะเห็นได้ว่า การที่สหรัฐอเมริกาใช้ SDF ในการต่อสู้กับ IS ในซีเรียจึงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและตุรกีอย่างชัดเจน แม้ว่าการตัดกาลัง IS และยึดพื้นที่เมืองรักกา (Raqqah) คืนจาก IS จะบรรลุเป้าหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ชัยชนะของ SDF กลับสร้างความ หวาดกลัวให้กับรัฐบาลตุรกีที่มองว่ากองกาลังเคิร์ดนี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการจะแบ่งแยกดินแดน ตุรกี แผนการของทางการตุรกีที่หมายล้างบางกองกาลังติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรียจึงไม่เพียงทาให้ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับตุรกีตึงเครียดขึ้นเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการต่อสู้ ระหว่างชาวอาหรับและเคิร์ด และการต่อสู้ระหว่างชาวเคิร์ดกันเองรุนแรงมากขึ้นภายในภูมิภาค17 17 Casagrande, 1.
  • 21. 18 กองกำลังประชำธิปไตยซีเรียภำยหลังชัยชนะต่อขบวนกำรรัฐอิสลำม ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ได้ประกาศว่าจะ ถอนทหารอเมริกันจานวน 2,000 คนออกจากแถบตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียในทันทีเนื่องจากกอง กาลังพันธมิตรนาโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถยึดพื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรียเกือบทั้งหมดจาก IS ได้สาเร็จ การตัดสินใจดังกล่าวไม่เพียงเป็นการเปิดโอกาสให้รัสเซียและอิหร่านเข้ามาแผ่ขยายอานาจใน ซีเรีย และหนุนหลังรัฐบาลอัสซาดให้อยู่รอด แต่ยังทาให้ชาวเคิร์ดในกองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) เผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากตุรกี ซึ่งได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ต้องการสร้าง "เขตความ มั่นคง" บริเวณพรมแดนฝั่งซีเรีย เพื่อป้องกันนักรบชาวเคิร์ด สถานการณ์ดังกล่าวจึงบีบบังคับให้ชาวเคิร์ ดต้องหันไปเจรจาเพื่อขอความช่วยเหลือจากรัสเซียและรัฐบาลซีเรียแทน นอกจากนี้ ถึงแม้ว่ารัฐอิสลามของ IS ในซีเรียและอิรักจะมลายสิ้นแล้ว ขบวนการ IS ก็ยังถือเป็น ภัยคุกคามที่น่าหวาดระแวงอยู่มาก เนื่องจากอดีตนักรบ IS กว่าหมื่นคน ทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและ ชาวต่างชาติ รวมทั้งครอบครัวและลูกหลานของนักรบเหล่านี้ ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของ SDF รวมทั้ง กองทัพและฝ่ายความมั่นคงของอิรักอยู่ แต่ปัญหาคือ ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะรับนักรบ IS ที่เป็นพลเมืองของตนกลับคืนเนื่องจากกลัวว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสร้างภัยความมั่นคงให้กับประเทศ ด้วย เหตุนี้ รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จึงเลือกที่จะเพิกถอนสัญชาตินักรบ IS แล้วทิ้งพวกเขาไว้ให้อยู่ในการ ควบคุมของ SDF หรือ ระบบศาลของอิรักแทน นายอับดุล คาริม โอมาร์ (Abdul Karim Omar) ผู้ดูแลการต่างประเทศของกองกาลังปกครอง ตนเองชาวเคิร์ด มองว่าการที่หลายประเทศประกาศเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ไปเข้าร่วมกับ IS ถือเป็น การโยนปัญหาเรื่องนักโทษ IS ให้ชาวเคิร์ดจัดการเพียงลาพังโดยไม่มีแผนรองรับว่าจะให้จัดการกับกลุ่ม
  • 22. 19 คนเหล่านี้อย่างไรต่อไป ชาวเคิร์ดไม่เพียงประสบกับความสูญเสียมากมายอยู่แล้วจากการต้องต่อสู้และ ตกอยู่ใต้อิทธิพลของ IS แต่ยังต้องมารับผิดชอบแก้ไขปัญหาเรื่องการกักตัวและการดาเนินคดีอดีตนักรบ IS อีกด้วย นายอับดุล คาริม โอมาร์เตือนว่า การให้ SDF กักขังหน่วงเหนี่ยวนักรบ IS ต่อไปในเขต ปกครองที่ไร้เสถียรภาพเช่นนี้เป็นเพียงวิธีแก้ไขปัญหาชั่วคราวและไม่ยั่งยืน และการปล่อยให้ลูกหลาน ของนักรบ IS ห้อมล้อมด้วยอุดมการณ์รุนแรงและเป็นภัยอันตรายถือเป็นการสะสมปัญหาที่อาจลุกลาม ในภายภาคหน้าได้ ด้วยเหตุนี้ กองกาลังปกครองตนเองชาวเคิร์ดจึงพยายามเรียกร้องให้มีการจัดตั้งศาล พิเศษระหว่างประเทศในซีเรีย เพื่อดาเนินคดีกับนักรบกลุ่มรัฐอิสลาม แต่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจา ประเทศซีเรีย นายเจมส์ เจฟฟรีย์ (James Jeffrey) กล่าวกับสานักข่าว BBC ว่าเป้าหมายหลักของ สหรัฐอเมริกาคือการส่งนักรบ IS กลับคืนประเทศต้นกาเนิดเพื่อผ่านกระบวนการลดแนวคิดรุนแรง (deradicalisation) คืนกลับสู่สังคม (reintegration) หรือตัดสินลงโทษแล้วแต่กรณี รวมไปถึงส่งเสริม สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ รับนักรบที่เป็นพลเมืองของตนกลับคืน และยังไม่มีนโยบายจะจัดตั้งศาล พิเศษระหว่างประเทศขึ้นในขณะนี้18 แม้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ยังไม่ได้กาหนดแผนและระยะเวลาในการถอนทหารอเมริกันออกจาก ซีเรียไว้อย่างชัดเจน แต่การตัดสินใจที่จะถอนทหารสหรัฐอเมริกาออกจากซีเรียสะท้อนให้เห็นการที่ชาติ มหาอานาจทอดทิ้งพันธมิตรท้องถิ่นที่จงรักภักดีหลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้กองกาลังชาวเคิร์ดนี้เพื่อ บรรลุเป้าหมายของตนเองได้แล้ว ชาวเคิร์ดในซีเรียไม่เพียงเสี่ยงต่อการถูกตุรกีโจมตี แต่ยังสูญเสีย อานาจต่อรองในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐปกครองตนเองทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียอีกด้วย อดีต เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ประจามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อย่าง นายเดวิด ฟิลลิป (David Phillip) ให้คานิยามต่อการตัดสินใจของผู้นาอเมริกันครั้งนี้ว่า “The Great Betrayal” หรือ “การทรยศครั้งยิ่งใหญ่” เพราะสหรัฐอเมริกาได้ปล่อยให้ชาวเคิร์ดผู้ที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียง ไหล่กองทัพของสหรัฐอเมริกามากว่า 3 ปีครึ่งต้องตกเป็นเหยื่อของตุรกี อาจกล่าวได้ว่า ชะตากรรมของ นักรบและพลเรือนชาวเคิร์ดในซีเรียในยุคปัจจุบันจึงไม่ต่างกับชะตากรรมของชาวอัซซีเรียนในกองทหาร อิรักเลวีส์ที่ถูกรัฐบาลอังกฤษทอดทิ้งหลังอิรักได้รับเอกราชเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา19 18 “Islamic State group: Syria's Kurds call for international tribunal,” BBC, 26 March 2019, https://www.bbc.com/news/world- middle-east-47704464 (accessed April 23, 2019), Charles Lister et al., “Up for Debate: ISIS detainees,” Middle East Institute, https://www.mei.edu/debate-isis-detainees (accessed April 23, 2019), 19 Mark Landler, Helene Cooper and Eric Schmitt, “Trump to Withdraw U.S. Forces From Syria, Declaring ‘We Have Won Against ISIS,’” The New York Times, December 19, 2018, https://www.nytimes.com/2018/12/19/us/politics/trump-syria-turkey-troop-withdrawal.html?module=inline (accessed April 23, 2019), Lara Seligman, The Unintended Consequences of Trump’s Decision to Withdraw From Syria, Foreign Policy, January 28, 2019, https://foreignpolicy.com/2019/01/28/unintended- consequences-trump-decision-withdraw-syria (accessed April 23, 2019), ทับทิม พญาไท ความหวังสันติภาพ...
  • 23. 20 บทสรุป กองกาลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นชาวเคิร์ด ชาวอาหรับ และชน กลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ แต่กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรียถือเป็นกองกาลังที่แข็งแกร่งและทรงอิทธิพลที่สุดใน กองทหารนี้ SDF ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากกลุ่มพันธมิตรนาโดยสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการ ประสานงานเข้าโจมตีศัตรูทางอากาศ การมีทหารหน่วยรบพิเศษคอยเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งการให้การ สนับสนุนทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ กองกาลังผสม SDF ประสบความสาเร็จในการผลักดัน IS ให้ออก จากดินแดนหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย โดยเฉพาะเมืองรักกา (Raqqa) ที่เป็นเมือง หลวงของรัฐอิสลาม และสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ชายแดนซีเรียซึ่งติดต่อกับตุรกีทางภาคเหนือ พื้นที่ ชายแดนซีเรียที่ติดต่อกับอิรักทางภาคตะวันออก และพื้นที่ซีเรียซึ่งชนกับดินแดนในความควบคุมของ กองกาลังสนับสนุนรัฐบาลซีเรียทางด้านตะวันตก20 แม้ว่ากลุ่ม SDF จะประสบความสาเร็จในการสู้รบกับ IS และมีอิทธิพลทางการเมืองในซีเรียมาก ขึ้น แต่กองกาลังนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการทูตระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลตุรกี เนื่องจากตุรกีซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาและเป็นสมาชิกนาโตกลัวว่าชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดใน ซีเรียที่เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของ SDF จะจัดตั้งเขตปกครองตนเองหรือรัฐเอกราชได้เป็นผลสาเร็จ แล้ว ปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวเคิร์ดของตุรกีให้เดินตามรอย หากมีการสู้รบระหว่างตุรกีและกองกาลัง ของเคิร์ดขึ้นจริง สหรัฐอเมริกาอาจต้องเลือกว่าจะสนับสนุนพันธมิตรตุรกีที่มักก่อก่วนแผนการกาจัด IS หรือจะเลือกช่วยเหลือกองกาลังเคิร์ดที่ช่วยเหลือสหรัฐอเมริกาอย่างเกินความคาดหมาย แต่ในขณะที่ สงครามเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น สหรัฐอเมริกาอาจต้องพยายามลดความตึงเครียดและพยายามหาจุดร่วม ระหว่างตุรกีและเคิร์ดให้ได้ เช่น กระตุ้นให้ PYD เลิกส่งอาวุธไปที่ตุรกี ให้คามั่นว่าจะไม่ให้นักรบ PKK เข้าตุรกี หรือให้ PYD ร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรีย แม้ว่าวอชิงตันไม่ได้พยายามเชื่อมโยงกลุ่มชาวเคิร์ดอย่าง YPG หรือ PYD เข้ากับกลุ่ม PKK เหมือนกับตุรกี แต่คาประกาศของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ว่าจะถอนทหารออกจาก ซีเรียสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาอาจไม่ได้ให้ความสาคัญกับชาวเคิร์ดมากนัก แต่มองกองกาลังชาว เคิร์ดเป็นเพียงเครื่องมือรบหรือตัวแทนในสงครามซีเรียเท่านั้น และไม่ได้มีแนวคิดที่จะสนับสนุนการ ก่อตั้งรัฐอิสระของชาวเคิร์ดในซีเรียอย่างจริงจัง ความสัมพันธ์ระหว่าง SDF กับสหรัฐอเมริกาจึงเป็นเพียง ภายใต้การทรยศหักหลัง??? Manager Online, 23 ธันวาคม 2561, https://mgronline.com/daily/detail/9610000127072 (สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562). 20 MGR Online, สหรัฐฯประกาศจัดตั้ง ‘กองกาลังชายแดน’ 3 หมื่นคนขึ้นในซีเรีย ตุรกีค้านแหลก ระบุคือการรับรอง กลุ่มก่อการร้าย, Manager Online, 15 มกราคม 2561, https://mgronline.com/around/detail/9610000004274 (สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562).
  • 24. 21 พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่มีขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะสั้นร่วมกันเท่านั้นคือการกาจัดขบวนการรัฐ อิสลามในซีเรีย หลังจากที่ SDF เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าชะตากรรมของชนกลุ่ม น้อยชาวเคิร์ดทางตอนเหนือของซีเรียจะเป็นอย่างไร หากปราศจากการคุ้มครองจากกองทัพ สหรัฐอเมริกาในซีเรีย