SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  5
1


               แนวทางการประเมินและรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็กสำาหรับประเทศไทย


         เนื่องจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้   (allergic rhinitis)          เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในวัยเด็ก
การดูแลรักษาโรคนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำาคัญ จากการประชุม       Pediatric Asthma/
Allergy 1998 เมื่อวันที่ 15      พฤษภาคม       2542ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่
โรงแรมสยามซิตี้ ได้มีการประชุมหารือกันระหว่างแพทย์ ทั้งกุมารแพทย์และแพทย์ทางโสต นาสิก ลาริงซ์
ทั่วประเทศ จำานวน    ท่าน เพื่อร่างแนวทางสำาหรับการประเมินและรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็ก
                    38
สำาหรับประเทศไทย โดยที่ผลของการประชุมพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
I   คำาจำากัดความ
       จมูกอักเสบ   (Rhinitis)       เป็นโรคที่เกิดเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุจมูก ซึ่งแสดงออกโดยมี
อาการตั้งแต่2 อย่างขึ้นไปของอาการดังต่อไปนี้ คันจมูก, จาม, นำ้ามูกไหล, และคัดจมูก
      จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นโรคจมูกอักเสบจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดที่
1 (IgE-mediated hypersensitivity reaction type I) ซึ่งทดสอบได้ด้วยการ
ทำาการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin test) หรือจากการตรวจระดับ specific IgE ใน serum
   Classification ของ allergic rhinitis
      1. Seasonal allergic rhinitis เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการเกิดขึ้นในช่วง
          ใดช่วงหนึ่งของปี โดยเฉพาะ หรือเป็นเพียงบางฤดูกาล สารก่อภูมิแพ้มักเป็นพวกละอองเกสรของ
          หญ้า ต้นไม้
                 (pollens) หรือสปอร์ของเชื้อรา
       2. Perennial allergic rhinitis เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ซึ่งมีอาการได้ตลอดปี
          สารก่อภูมิแพ้มักเป็นสิ่งที่อยู่ในบ้าน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ แมลงต่างๆ ในบ้าน ฯลฯ
          ในประเทศไทยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็น    perennial allergic rhinitis แต่อาจมีอาการ
กำาเริบขึ้นมาเป็นระยะๆ (seasonal exacerbation) เมื่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศมีปริมาณมากขึ้น
II การวินิจฉัย
    1. การซักประวัติ
        1.1 ประวัติอาการทางจมูก ได้แก่ อาการคัน, จาม, นำ้ามูกใส, คัดจมูก, โดยถามในแง่ของ
            onset, duration, time of year, frequency, precipitating
            factors ต่างๆ เป็นต้น
        1.2 ประวัติของโรคภูมิแพ้ที่แสดงอาการที่ส่วนอื่น เช่น อาการคันตา, คันหรือระคายเคืองคอ, ไอ,
            อาการของโรคผื่นคันที่ผิวหนัง (atopic dermatis) และ อาการของโรคหอบหืด
        1.3 ประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรค allergic rhinitis, atopic dermatitis
            และ asthma
        1.4 ถามถึงสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นปัจจัยที่ทำาให้เกิดโรคภูมิแพ้ (enviromental factors)
            เช่น ที่อยู่อาศัย, อาชีพของคนในครอบครัว, โรงงานในบริเวณรอบบ้าน, มลภาวะทางอากาศ


    2. การตรวจร่างกาย
       2.1 การตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก
         • การตรวจจมูกโดยวิธี anterior rhinoscopy จะพบลักษณะต่อไปนี้ คือมี watery
            discharge, เยื่อบุในจมูกบวมและมีสีซีด หรือออกเป็นสีม่วง
2


           • การตรวจหาลักษณะอื่นๆ            ที่เป็นลักษณะที่พบในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้           เช่น
               allergic rhinitis         คือมีสีดำาคลำ้าใต้ขอบตา
                                                             , allergic nasal lines เป็นต้น
           •   การตรวจในช่องคอ อาจพบมี granular pharynx, postnasal drip และตรวจ
               หาสิ่งที่สนับสนุนว่าผู้ป่วยหายใจทางปากเป็นประจำา เช่น open bite, gum my
               smile, high arch palate, long face เป็นต้น
           •   การตรวจหู เพื่อดูว่ามีลักษณะของ eustachian tube dysfunction, otitis
               media with effusion หรือหูนำ้าหนวกหรือไม่?
        2.2 การตรวจร่างกายทั่วไป
           • ตรวจผิวหนัง ดูลักษณะของ atopic dermatitis
           • ตรวจปอด ว่าผู้ป่วยมีโรคหอบหืดร่วมด้วยหรือไม่
   3. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin test)
        เป็นวิธีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าจำาเป็นและค่อนข้างแม่นยำาสำาหรับการตรวจโรคภูมิแพ้ที่เกิดจาก
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดที่   1   แต่จะต้องทำาในสถานที่ๆ มีแพทย์ควบคุม และมี     adrenaline        อยู่พร้อมที่จะ
ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาแพ้ชนิดรุนแรง
                                           (anaphylaxis)
      การทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก ใช้วิธีสะกิด (skin prick test = SPT)) เป็นส่วนใหญ่ การทำา
intradermal test จะใช้ในกรณีที่สงสัยมากๆ และทำา skin prick test แล้วให้ผลลบเท่านั้น
การทดสอบจะต้องมีนำ้ายาที่เป็น negative control คือสารที่เป็นตัวทำาละลาย (diluent) ของ
สารก่อภูมิแพ้ และมี positive control คือ histamine
        สารสะกิดก่อภูมิแพ้ที่ใช้ทดสอบ ควรเลือกชนิดที่พบบ่อย เช่น สารสะกัดจาก
           • ตัวไรฝุ่นบ้าน
           • ละอองเกสร (pollen) ของหญ้า, วัชพืช และต้นไม้ชนิดที่พบในบริเวณนั้น
           • แมลงต่างๆ ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ ฯลฯ
           • เชื้อราที่พบบ่อยในท้องถิ่นนั้นๆ
           • ขนและรังแคของสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมว, สุนัข ฯลฯ
           • อาหารที่พบมีผู้แพ้บ่อยบางชนิด เช่น นมวัว, ไข่, ถั่ว, อาหารทะเล เป็นต้น
        การทดสอบภูมิแพ้ในเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี ไม่ควรทำา เพราะอาจจะให้ผลไม่แน่นอน การแปลผลการ
ทดสอบโดยวิธีสะกิด ใช้การวัดขนาดของ wheal และ flare ที่เกิดขึ้นภายใน 15-20 นาทีหลังการ
ทดสอบ ผลบวกคือการที่ wheal มีขนาดโตกว่าหรือเท่ากับ 3 m m เกิดขึ้น พร้อมทั้งมี flare
และ/ อ อาการคัน
    หรื
  4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจใช้ช่วยในการวินิจฉัย
        เลือกทำาตามความเหมาะสม ได้แก่
           •   Serum specific IgE
           •   Nasal cytology โดยวิธี smear หรือ scraping เพื่อดู
               basophils,mast cells, eosinophils และ neutrophils
           •   Nasal    airway      assessment      โดยใช้  peak flow,
               rhinomanometry, acoustic rhinometry
   5.    การตรวจทางรังสีที่ควรทำาในเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
        1. Paranasal sinus X-ray
3



      2. X-ray      ของ    lateral skullเพื่อตรวจดูไซนัส ขนาดของต่อม                  adenoid       และเพื่อ
          ประเมินขนาดของทางเดินอากาศในทางเดินระบบหายใจส่วนบน
III     การจัดลำาดับความรุนแรงของโรคจมูกอักเสบ
        เนื่องจากเด็กไม่สามารถบันทึกความรุนแรงของอาการลงในแผ่นบันทึกอาการได้ด้วยตนเองอย่างผู้
ป่วยผู้ใหญ่ การให้ผู้ปกครองบันทึกให้แทนก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง การจัดลำาดับความรุนแรงของโรค
ภูมิแพ้ในเด็ก จึงต้องใช้การซักถามจากพ่อแม่ ร่วมไปกับความเห็นของแพทย์ที่ได้จากการตรวจร่างกายเด็ก
และผลการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง แล้วนำามาสรุปรวมกันจัดแบ่งเป็นลำาดับความ
รุนแรงของโรค ดังต่อไปนี้
   - Mild     =           มีอาการน้อย ไม่รู้สึกรำาคาญ ไม่เป็นบ่อย เช่น   1- 2 วันต่อสัปดาห์
   - Moderate =           มีอาการพอประมาณ           รู้สึกรำาคาญ   แต่ไม่รบกวนต่อการทำากิจกรรมประจำาวันของ
                      เด็ก แต่เป็นบ่อยขึ้น เช่น   3 วันขึ้นไปใน 1   สัปดาห์
   - Severe =         มีอาการมาก       เป็นทุกวัน     รบกวนต่อกิจกรรมประจำาวันของเด็ก       หรือมีภาวะแทรก
                      ซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
                                              ,            ,
IV การรักษาเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  1. การดูแลสุขภาพทั่วไป (general measures)
      •   พักผ่อนให้เพียงพอ
      •   ออกกำาลังกายสมำ่าเสมอ
      •   รับประทานอาหารให้ครบหมู่
      •   ให้ความรู้เรื่องโรคภูมิแพ้
   2. กำาจัดและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิดถ้าเป็นไปได้           หรืออย่างน้อยควรขจัดสารแพ้ที่ผู้ป่วยตรวจ
      แล้วพบว่าแพ้ โดยการตรวจทางผิวหนัง
   3. การรักษาโดยการใช้ยา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของโรคที่ได้แบ่งมาแล้วข้างต้น
     3.1 Mild d egree
        • ให้ first generation antihistamine เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาที่มีอาการ หรือ
            อาจให้ second/third generation antihistamine ในเด็กที่ไปโรงเรียน
        • ถ้ามีอาการคัดจมูกที่จำาเป็นต้องใช้ยา   decongestant ชนิดกิน เช่น พวก
            pseudoephedrine ในเด็กให้ใช้ขนาดตำ่าๆ เช่น 1- 1.5 mg/kg/dose และ
            อย่าให้ใกล้เวลานอน เพราะเด็กอาจมี irritability และไม่ยอมนอนได้
     3.2Moderate degree
        • ให้ antihistamine ± decongestant เช่นเดียวกับกลุ่มแรก แต่อาจต้องพิจารณา
            ให้ชนิด long-acting และให้แบบ regular basis
          • ยาพ่นจมูก ใช้ในกรณีที่เด็กกินยาแล้วไม่ได้ผล หรือไม่สามารถหยุดยากินได้ อาจต้องใช้ยาพ่น
             จมูกชนิดที่เป็น
                       antiallergic drug ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่
                1. Sodium cromoglycate 2% solution                          จัดว่าเป็นยาที่ปลอดภัยมาก
                    แม้จะใช้เป็นเวลานาน ก็ไม่พบมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเป็นอันตราย แต่กว่า
                    จะได้ผลมักต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกรณีที่เด็กมีอาการคัดจมูกมากจึงต้องเริ่มใช้
                    ชนิดที่ผสมกับ  decongestant ก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้จมูกโล่ง แล้ว
                    เปลี่ยนเป็นชนิดที่ไม่มี decongestant ผสมอยู่ ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ต้องใช้
                    บ่อยครั้ง คืออาจจะถึงวันละ 4-6 ครั้ง
4



                 2. Topical corticosteroid                 มีให้เลือกหลายชนิด และจัดว่าเป็นยาที่ช่วยลด
                      การบวมของเยื่อบุจมูกได้ดีที่สุด แต่มีข้อต้องระวัง
                                                                      2 ประการคือ หากมีการติดเชื้อของ
                      จมูกและไซนัสอักเสบร่วมด้วย ต้องรักษาด้วยยาต้านจุลชีพจนกว่าหนองในจมูกจะหมด
                      ไป จึงจะใช้topical corticosteroid           ได้ผล และในเด็กอายุตำ่ากว่า ปี ควร
                                                                                                  6
                      ใช้ด้วยความระมัดระวัง   และใช้ในขนาดน้อยที่สุดที่สามารถจะควบคุมอาการได้ เพื่อ
                      ป้องกันผลเสียที่อาจเกิดจากยาโดยทั่วไป      ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องกันเกิน   2
                      สัปดาห์
                 ยาพ่นจมูกทั้ง 2 ชนิดนี้ออกฤทธิ์ช้า ในระยะแรกหากผู้ป่วยมีอาการมาก อาจต้องให้ร่วมกับ
          ยา antihistamine และ decongestant ชนิดกินประมาณ 3-7 วัน และยาทั้ง 2
          ชนิดนี้อาจใช้แบบครั้งคราว (prn) ได้ แต่ให้ผลไม่ดีเท่ากับใช้สมำ่าเสมอ
          • ยาพ่นจมูกชนิดที่เป็น antihistamine เริ่มมีจำาหน่ายบ้างแล้ว และอาจเลือกใช้แทนชนิด
             กินได้
          • การให้นำ้าเกลือ   (normol saline)           พ่นจมูก ในบางโอกาสที่จมูกแห้งหรือได้รับฝุ่นควัน
             มาก อาจใช้นำ้าเกลือล้างหรือพ่นจมูกได้
       3.3Severe degree แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
         1. กลุ่มที่ไม่มีแหรกซ้อน
         ให้การรักษาเช่นเดียวกับกลุ่ม moderate d egree              ถ้าไม่ได้ผลภายใน    2   สัปดาห์ ควรส่ง
ต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ร่วมวินิจฉัยและรักษา
       2. กลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ,   หูชั้นกลางอักเสบ หอบหืด ต่อม
                                                                       ,          ,       adenoid        โต
          ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมให้การรักษา หรือทำาผ่าตัด
       3. การให้การรักษาโดยการฉีดวัคซีน (allergen im munotherapy)                           ควรต้องให้การ
          รักษาโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ข้อบ่งชี้ในการให้การรักษาโดยวิธีนี้ คือ
          1. หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ไม่ได้
          2. มีอาการรุนแรงและใช้ยาดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแล้วไม่ได้ผลหรือไม่สามารถหยุดยาได้
เอกสารอ้างอิง
1. International Rhinitis      Management Working          Group.
   International consensus report in the diagnosis and management
   of rhinitis. Allergy 1994;49 (suppl 19):5-34.
2. Kaplan AP. Basic allergy: im munoglobulin E synthesis,
   inflammation and therapy. Allergy 1995;50 (suppl 25):5-24.
3. Naclerio RM, Jones AS, Rowe-Jones JM, Fokkens WJ, Meltzer
   EO. The management of perennial rhinitis. Allergy 1997;52
   (suppl 36):5-40.
5


คณะทำางาน
ศ พญ ฉวีวรรณ บุนนาค
 . .                                  ประธาน
ผศ.พญ.กิติรัตน์ อังกานนท์             เลขานุการ
รศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร                                 นพ ธาดา ชินสุทธิประชา
                                                             .
รศ.นพ.พีรพันธ์ เจริญชาศรี                                  นพ.ธีระ   เหล่าสุรสุนทร
นพ.รณชัย วิริยะทวีกุล                     นพ ธีระศักดิ์ บริสุทธิบัณฑิต
                                               .
พอ.นพ.ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ                                  นพ บรรลือ ไอยะรา
                                                              .
ผศ.นพ.ครรชิตเทพ ตั่นเผ่าพงศ์                               รศ.นพ.บุญชู กุลประดิษฐารมณ์
ผศ.พญ.ลัดดา โชชัยพาณิชย์นนท์                               นพ.ประพันธ์ ภูมิรัตนรักษ์
ผศ.นพ.พิชัย พัวเพิ่มพูลศิริ                                นพ.ปราโมทย์ สุขวิชัย
นอ.นพ.มานิตย์ ศัตรูลี้                    พญ เปรมฤดี พงษ์ชัยกุล
                                               .
รศ.พญ.สุปราณี ฟูอนันต์                                     พญ ผุสดี ธรรมานุวัตร์
                                                             .
รศ.นพ.สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ                             พญ.พนิดา      ดุสิตานนท์
นพ.โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์                                   พญ.พนิดา      อมรประเสริฐสุข
พญ.กชกร สิริประเสริฐ                      นพ พิชัย อมรประเสริฐสุข
                                               .
พท.นพ.กรีฑา ม่วงทอง                                        พญ มุกดา หวังวีรวงศ์
                                                              .
นพ.เกริกยศ ชลายนเดช                                        พญ.ยุพาพิน จุลโมกข์
พญ.ชลิดา เลาหพันธ์                                         นพ.ระวี เนตตกุล
นพ.ชาติชัย อติชาติ                                         พญ.รักอร่าม ปิฎกานนท์
พญ.ฐิติวรรณ สิมะเสถียร                                     พอ.พญ.รัตนาภรณ์ เฟื่องทอง
นพ.ดุสิต สถาวร                                             พญ.ลักขณา เผ่าวนิช


บรรณาธิการ     รศ นพ ปกิต วิชยานนท์
                  . .

ตีพิมพ์ใน วารสารกุมารเวชศาสตร์   1999;38(3):230-4.

Contenu connexe

Tendances

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009Adisorn Tanprasert
 
Management of acute pharyngitis
Management of acute pharyngitisManagement of acute pharyngitis
Management of acute pharyngitisHataitap Chonchep
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561Utai Sukviwatsirikul
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Utai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียคู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียUtai Sukviwatsirikul
 
Hand Washing
Hand WashingHand Washing
Hand Washingiamadmin
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบWan Ngamwongwan
 
โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2Wan Ngamwongwan
 
วัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรค (Tuberculosis)วัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรค (Tuberculosis)Wan Ngamwongwan
 

Tendances (17)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
 
Management of acute pharyngitis
Management of acute pharyngitisManagement of acute pharyngitis
Management of acute pharyngitis
 
Paraqaut
ParaqautParaqaut
Paraqaut
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
 
Adr assessment and monitoring
Adr assessment and monitoringAdr assessment and monitoring
Adr assessment and monitoring
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
 
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียคู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
คู่มือการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
 
N sdis 78_60_9
N sdis 78_60_9N sdis 78_60_9
N sdis 78_60_9
 
Asthma guideline for children
Asthma guideline for childrenAsthma guideline for children
Asthma guideline for children
 
ภูมิแพ้
ภูมิแพ้ภูมิแพ้
ภูมิแพ้
 
Hand Washing
Hand WashingHand Washing
Hand Washing
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
 
Ppe for yasothon hospital personnel
Ppe for yasothon hospital personnelPpe for yasothon hospital personnel
Ppe for yasothon hospital personnel
 
โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2
 
วัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรค (Tuberculosis)วัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรค (Tuberculosis)
 

Similaire à Allergic rhinitis

การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009Adisorn Tanprasert
 
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementCurrent practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementUtai Sukviwatsirikul
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกWan Ngamwongwan
 
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdf
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdfyaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdf
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdfssuser208b1d
 
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองWan Ngamwongwan
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก sivapong klongpanich
 
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...Loveis1able Khumpuangdee
 
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.25554LIFEYES
 
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่Wan Ngamwongwan
 

Similaire à Allergic rhinitis (20)

ศูนย์ที่ 4ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 4ชุดที่ 8ศูนย์ที่ 4ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 4ชุดที่ 8
 
Pompea2
Pompea2Pompea2
Pompea2
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
Respiratory1 2
Respiratory1 2Respiratory1 2
Respiratory1 2
 
Allergic rhinitis cpg
Allergic rhinitis cpgAllergic rhinitis cpg
Allergic rhinitis cpg
 
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
 
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementCurrent practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูก
 
Knowledge
KnowledgeKnowledge
Knowledge
 
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdf
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdfyaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdf
yaninsrivilasjournalmanager88976-217911-1-le3-221226090308-56a08112.pdf
 
URI.pptx
URI.pptxURI.pptx
URI.pptx
 
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพอง
 
Asthma guideline children
Asthma guideline childrenAsthma guideline children
Asthma guideline children
 
Sinusitis
SinusitisSinusitis
Sinusitis
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก
 
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
 
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
 
Skin topic
Skin topicSkin topic
Skin topic
 
ไซนัส
ไซนัส ไซนัส
ไซนัส
 
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
 

Allergic rhinitis

  • 1. 1 แนวทางการประเมินและรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็กสำาหรับประเทศไทย เนื่องจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในวัยเด็ก การดูแลรักษาโรคนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำาคัญ จากการประชุม Pediatric Asthma/ Allergy 1998 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2542ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ โรงแรมสยามซิตี้ ได้มีการประชุมหารือกันระหว่างแพทย์ ทั้งกุมารแพทย์และแพทย์ทางโสต นาสิก ลาริงซ์ ทั่วประเทศ จำานวน ท่าน เพื่อร่างแนวทางสำาหรับการประเมินและรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็ก 38 สำาหรับประเทศไทย โดยที่ผลของการประชุมพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ I คำาจำากัดความ จมูกอักเสบ (Rhinitis) เป็นโรคที่เกิดเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุจมูก ซึ่งแสดงออกโดยมี อาการตั้งแต่2 อย่างขึ้นไปของอาการดังต่อไปนี้ คันจมูก, จาม, นำ้ามูกไหล, และคัดจมูก จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นโรคจมูกอักเสบจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดที่ 1 (IgE-mediated hypersensitivity reaction type I) ซึ่งทดสอบได้ด้วยการ ทำาการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin test) หรือจากการตรวจระดับ specific IgE ใน serum Classification ของ allergic rhinitis 1. Seasonal allergic rhinitis เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการเกิดขึ้นในช่วง ใดช่วงหนึ่งของปี โดยเฉพาะ หรือเป็นเพียงบางฤดูกาล สารก่อภูมิแพ้มักเป็นพวกละอองเกสรของ หญ้า ต้นไม้ (pollens) หรือสปอร์ของเชื้อรา 2. Perennial allergic rhinitis เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ซึ่งมีอาการได้ตลอดปี สารก่อภูมิแพ้มักเป็นสิ่งที่อยู่ในบ้าน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ แมลงต่างๆ ในบ้าน ฯลฯ ในประเทศไทยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็น perennial allergic rhinitis แต่อาจมีอาการ กำาเริบขึ้นมาเป็นระยะๆ (seasonal exacerbation) เมื่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศมีปริมาณมากขึ้น II การวินิจฉัย 1. การซักประวัติ 1.1 ประวัติอาการทางจมูก ได้แก่ อาการคัน, จาม, นำ้ามูกใส, คัดจมูก, โดยถามในแง่ของ onset, duration, time of year, frequency, precipitating factors ต่างๆ เป็นต้น 1.2 ประวัติของโรคภูมิแพ้ที่แสดงอาการที่ส่วนอื่น เช่น อาการคันตา, คันหรือระคายเคืองคอ, ไอ, อาการของโรคผื่นคันที่ผิวหนัง (atopic dermatis) และ อาการของโรคหอบหืด 1.3 ประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรค allergic rhinitis, atopic dermatitis และ asthma 1.4 ถามถึงสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นปัจจัยที่ทำาให้เกิดโรคภูมิแพ้ (enviromental factors) เช่น ที่อยู่อาศัย, อาชีพของคนในครอบครัว, โรงงานในบริเวณรอบบ้าน, มลภาวะทางอากาศ 2. การตรวจร่างกาย 2.1 การตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก • การตรวจจมูกโดยวิธี anterior rhinoscopy จะพบลักษณะต่อไปนี้ คือมี watery discharge, เยื่อบุในจมูกบวมและมีสีซีด หรือออกเป็นสีม่วง
  • 2. 2 • การตรวจหาลักษณะอื่นๆ ที่เป็นลักษณะที่พบในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น allergic rhinitis คือมีสีดำาคลำ้าใต้ขอบตา , allergic nasal lines เป็นต้น • การตรวจในช่องคอ อาจพบมี granular pharynx, postnasal drip และตรวจ หาสิ่งที่สนับสนุนว่าผู้ป่วยหายใจทางปากเป็นประจำา เช่น open bite, gum my smile, high arch palate, long face เป็นต้น • การตรวจหู เพื่อดูว่ามีลักษณะของ eustachian tube dysfunction, otitis media with effusion หรือหูนำ้าหนวกหรือไม่? 2.2 การตรวจร่างกายทั่วไป • ตรวจผิวหนัง ดูลักษณะของ atopic dermatitis • ตรวจปอด ว่าผู้ป่วยมีโรคหอบหืดร่วมด้วยหรือไม่ 3. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin test) เป็นวิธีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าจำาเป็นและค่อนข้างแม่นยำาสำาหรับการตรวจโรคภูมิแพ้ที่เกิดจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดที่ 1 แต่จะต้องทำาในสถานที่ๆ มีแพทย์ควบคุม และมี adrenaline อยู่พร้อมที่จะ ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาแพ้ชนิดรุนแรง (anaphylaxis) การทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก ใช้วิธีสะกิด (skin prick test = SPT)) เป็นส่วนใหญ่ การทำา intradermal test จะใช้ในกรณีที่สงสัยมากๆ และทำา skin prick test แล้วให้ผลลบเท่านั้น การทดสอบจะต้องมีนำ้ายาที่เป็น negative control คือสารที่เป็นตัวทำาละลาย (diluent) ของ สารก่อภูมิแพ้ และมี positive control คือ histamine สารสะกิดก่อภูมิแพ้ที่ใช้ทดสอบ ควรเลือกชนิดที่พบบ่อย เช่น สารสะกัดจาก • ตัวไรฝุ่นบ้าน • ละอองเกสร (pollen) ของหญ้า, วัชพืช และต้นไม้ชนิดที่พบในบริเวณนั้น • แมลงต่างๆ ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ ฯลฯ • เชื้อราที่พบบ่อยในท้องถิ่นนั้นๆ • ขนและรังแคของสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมว, สุนัข ฯลฯ • อาหารที่พบมีผู้แพ้บ่อยบางชนิด เช่น นมวัว, ไข่, ถั่ว, อาหารทะเล เป็นต้น การทดสอบภูมิแพ้ในเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี ไม่ควรทำา เพราะอาจจะให้ผลไม่แน่นอน การแปลผลการ ทดสอบโดยวิธีสะกิด ใช้การวัดขนาดของ wheal และ flare ที่เกิดขึ้นภายใน 15-20 นาทีหลังการ ทดสอบ ผลบวกคือการที่ wheal มีขนาดโตกว่าหรือเท่ากับ 3 m m เกิดขึ้น พร้อมทั้งมี flare และ/ อ อาการคัน หรื 4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจใช้ช่วยในการวินิจฉัย เลือกทำาตามความเหมาะสม ได้แก่ • Serum specific IgE • Nasal cytology โดยวิธี smear หรือ scraping เพื่อดู basophils,mast cells, eosinophils และ neutrophils • Nasal airway assessment โดยใช้ peak flow, rhinomanometry, acoustic rhinometry 5. การตรวจทางรังสีที่ควรทำาในเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 1. Paranasal sinus X-ray
  • 3. 3 2. X-ray ของ lateral skullเพื่อตรวจดูไซนัส ขนาดของต่อม adenoid และเพื่อ ประเมินขนาดของทางเดินอากาศในทางเดินระบบหายใจส่วนบน III การจัดลำาดับความรุนแรงของโรคจมูกอักเสบ เนื่องจากเด็กไม่สามารถบันทึกความรุนแรงของอาการลงในแผ่นบันทึกอาการได้ด้วยตนเองอย่างผู้ ป่วยผู้ใหญ่ การให้ผู้ปกครองบันทึกให้แทนก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง การจัดลำาดับความรุนแรงของโรค ภูมิแพ้ในเด็ก จึงต้องใช้การซักถามจากพ่อแม่ ร่วมไปกับความเห็นของแพทย์ที่ได้จากการตรวจร่างกายเด็ก และผลการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง แล้วนำามาสรุปรวมกันจัดแบ่งเป็นลำาดับความ รุนแรงของโรค ดังต่อไปนี้ - Mild = มีอาการน้อย ไม่รู้สึกรำาคาญ ไม่เป็นบ่อย เช่น 1- 2 วันต่อสัปดาห์ - Moderate = มีอาการพอประมาณ รู้สึกรำาคาญ แต่ไม่รบกวนต่อการทำากิจกรรมประจำาวันของ เด็ก แต่เป็นบ่อยขึ้น เช่น 3 วันขึ้นไปใน 1 สัปดาห์ - Severe = มีอาการมาก เป็นทุกวัน รบกวนต่อกิจกรรมประจำาวันของเด็ก หรือมีภาวะแทรก ซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น , , IV การรักษาเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 1. การดูแลสุขภาพทั่วไป (general measures) • พักผ่อนให้เพียงพอ • ออกกำาลังกายสมำ่าเสมอ • รับประทานอาหารให้ครบหมู่ • ให้ความรู้เรื่องโรคภูมิแพ้ 2. กำาจัดและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิดถ้าเป็นไปได้ หรืออย่างน้อยควรขจัดสารแพ้ที่ผู้ป่วยตรวจ แล้วพบว่าแพ้ โดยการตรวจทางผิวหนัง 3. การรักษาโดยการใช้ยา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของโรคที่ได้แบ่งมาแล้วข้างต้น 3.1 Mild d egree • ให้ first generation antihistamine เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาที่มีอาการ หรือ อาจให้ second/third generation antihistamine ในเด็กที่ไปโรงเรียน • ถ้ามีอาการคัดจมูกที่จำาเป็นต้องใช้ยา decongestant ชนิดกิน เช่น พวก pseudoephedrine ในเด็กให้ใช้ขนาดตำ่าๆ เช่น 1- 1.5 mg/kg/dose และ อย่าให้ใกล้เวลานอน เพราะเด็กอาจมี irritability และไม่ยอมนอนได้ 3.2Moderate degree • ให้ antihistamine ± decongestant เช่นเดียวกับกลุ่มแรก แต่อาจต้องพิจารณา ให้ชนิด long-acting และให้แบบ regular basis • ยาพ่นจมูก ใช้ในกรณีที่เด็กกินยาแล้วไม่ได้ผล หรือไม่สามารถหยุดยากินได้ อาจต้องใช้ยาพ่น จมูกชนิดที่เป็น antiallergic drug ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ 1. Sodium cromoglycate 2% solution จัดว่าเป็นยาที่ปลอดภัยมาก แม้จะใช้เป็นเวลานาน ก็ไม่พบมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเป็นอันตราย แต่กว่า จะได้ผลมักต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกรณีที่เด็กมีอาการคัดจมูกมากจึงต้องเริ่มใช้ ชนิดที่ผสมกับ decongestant ก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้จมูกโล่ง แล้ว เปลี่ยนเป็นชนิดที่ไม่มี decongestant ผสมอยู่ ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ต้องใช้ บ่อยครั้ง คืออาจจะถึงวันละ 4-6 ครั้ง
  • 4. 4 2. Topical corticosteroid มีให้เลือกหลายชนิด และจัดว่าเป็นยาที่ช่วยลด การบวมของเยื่อบุจมูกได้ดีที่สุด แต่มีข้อต้องระวัง 2 ประการคือ หากมีการติดเชื้อของ จมูกและไซนัสอักเสบร่วมด้วย ต้องรักษาด้วยยาต้านจุลชีพจนกว่าหนองในจมูกจะหมด ไป จึงจะใช้topical corticosteroid ได้ผล และในเด็กอายุตำ่ากว่า ปี ควร 6 ใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ในขนาดน้อยที่สุดที่สามารถจะควบคุมอาการได้ เพื่อ ป้องกันผลเสียที่อาจเกิดจากยาโดยทั่วไป ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องกันเกิน 2 สัปดาห์ ยาพ่นจมูกทั้ง 2 ชนิดนี้ออกฤทธิ์ช้า ในระยะแรกหากผู้ป่วยมีอาการมาก อาจต้องให้ร่วมกับ ยา antihistamine และ decongestant ชนิดกินประมาณ 3-7 วัน และยาทั้ง 2 ชนิดนี้อาจใช้แบบครั้งคราว (prn) ได้ แต่ให้ผลไม่ดีเท่ากับใช้สมำ่าเสมอ • ยาพ่นจมูกชนิดที่เป็น antihistamine เริ่มมีจำาหน่ายบ้างแล้ว และอาจเลือกใช้แทนชนิด กินได้ • การให้นำ้าเกลือ (normol saline) พ่นจมูก ในบางโอกาสที่จมูกแห้งหรือได้รับฝุ่นควัน มาก อาจใช้นำ้าเกลือล้างหรือพ่นจมูกได้ 3.3Severe degree แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่มที่ไม่มีแหรกซ้อน ให้การรักษาเช่นเดียวกับกลุ่ม moderate d egree ถ้าไม่ได้ผลภายใน 2 สัปดาห์ ควรส่ง ต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ร่วมวินิจฉัยและรักษา 2. กลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ หอบหืด ต่อม , , adenoid โต ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมให้การรักษา หรือทำาผ่าตัด 3. การให้การรักษาโดยการฉีดวัคซีน (allergen im munotherapy) ควรต้องให้การ รักษาโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ข้อบ่งชี้ในการให้การรักษาโดยวิธีนี้ คือ 1. หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ไม่ได้ 2. มีอาการรุนแรงและใช้ยาดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแล้วไม่ได้ผลหรือไม่สามารถหยุดยาได้ เอกสารอ้างอิง 1. International Rhinitis Management Working Group. International consensus report in the diagnosis and management of rhinitis. Allergy 1994;49 (suppl 19):5-34. 2. Kaplan AP. Basic allergy: im munoglobulin E synthesis, inflammation and therapy. Allergy 1995;50 (suppl 25):5-24. 3. Naclerio RM, Jones AS, Rowe-Jones JM, Fokkens WJ, Meltzer EO. The management of perennial rhinitis. Allergy 1997;52 (suppl 36):5-40.
  • 5. 5 คณะทำางาน ศ พญ ฉวีวรรณ บุนนาค . . ประธาน ผศ.พญ.กิติรัตน์ อังกานนท์ เลขานุการ รศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร นพ ธาดา ชินสุทธิประชา . รศ.นพ.พีรพันธ์ เจริญชาศรี นพ.ธีระ เหล่าสุรสุนทร นพ.รณชัย วิริยะทวีกุล นพ ธีระศักดิ์ บริสุทธิบัณฑิต . พอ.นพ.ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ นพ บรรลือ ไอยะรา . ผศ.นพ.ครรชิตเทพ ตั่นเผ่าพงศ์ รศ.นพ.บุญชู กุลประดิษฐารมณ์ ผศ.พญ.ลัดดา โชชัยพาณิชย์นนท์ นพ.ประพันธ์ ภูมิรัตนรักษ์ ผศ.นพ.พิชัย พัวเพิ่มพูลศิริ นพ.ปราโมทย์ สุขวิชัย นอ.นพ.มานิตย์ ศัตรูลี้ พญ เปรมฤดี พงษ์ชัยกุล . รศ.พญ.สุปราณี ฟูอนันต์ พญ ผุสดี ธรรมานุวัตร์ . รศ.นพ.สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ พญ.พนิดา ดุสิตานนท์ นพ.โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์ พญ.พนิดา อมรประเสริฐสุข พญ.กชกร สิริประเสริฐ นพ พิชัย อมรประเสริฐสุข . พท.นพ.กรีฑา ม่วงทอง พญ มุกดา หวังวีรวงศ์ . นพ.เกริกยศ ชลายนเดช พญ.ยุพาพิน จุลโมกข์ พญ.ชลิดา เลาหพันธ์ นพ.ระวี เนตตกุล นพ.ชาติชัย อติชาติ พญ.รักอร่าม ปิฎกานนท์ พญ.ฐิติวรรณ สิมะเสถียร พอ.พญ.รัตนาภรณ์ เฟื่องทอง นพ.ดุสิต สถาวร พญ.ลักขณา เผ่าวนิช บรรณาธิการ รศ นพ ปกิต วิชยานนท์ . . ตีพิมพ์ใน วารสารกุมารเวชศาสตร์ 1999;38(3):230-4.