SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  6
Télécharger pour lire hors ligne
เมื่อนายกฯ หลี่ เค่อเฉียงรายงานสภาครั้งแรก ... ในมิติเศรษฐกิจ
---------------------------------------------
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมีนาคม 2557 จีนมีการประชุมสําคัญ 2 เวที ได้แก่ การประชุมสภาประชาชน
แห่งชาติจีน และสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน (เทียบเท่าวุฒิสภา) ซึ่งในการประชุมทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
คือ การรับฟังรายงานการทํางานในปี 2556 และการนําเสนอเป้าหมายกับแนวทางการทํางานในปี 2557 โดยในการประชุม
สภาประชาชนฯ มีสาระสําคัญในด้านเศรษฐกิจที่น่าสนใจหลายประเด็น ลองมาติดตามดูกันจะได้ทราบว่าจีนกําลังจะเดินหน้า
ไปในทิศทางใด ...
รายงานการทํางานของรัฐบาลในปี 2556 .. ซาบซึ้ง สะกดใจ
รายงานนี้นับเป็นฉบับแรกของรัฐบาลภายใต้การนําของ
นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียงต่อสภาประชาชนฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระอันน่าประทับใจ
จนถือว่าเป็น “ไฮไลต์” ของการประชุมฯ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลจีน
ให้ความสําคัญกับการปฏิรูปมากเป็นพิเศษ โดยวารสาร “Beijing Review” ฉบับ
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ระบุว่า รายงานดังกล่าวปรากฏคําว่า “ปฏิรูป” ถึง
77 ครั้ง จนคาดว่าจะกลายเป็นคํายอดนิยมของจีนในปี 2557
ในช่วงหนึ่งของรายงานระบุว่า “เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงเปลี่ยน
ถ่ายท่ามกลางความท้าทายของภายในและต่างประเทศ พื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพยังขาดความมั่นคง
จึงต้องการพลวัตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่านี้ ... เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่มีเสถียรภาพและความ
ผันผวน ขณะที่การปรับเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจมหภาคของบางประเทศเป็นตัวแปรใหม่ และประเทศดาวรุ่งต้องเผชิญกับความ
ยากลําบากและความท้าทายมากมาย ในส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ ความเสี่ยงอันเกิดจากหนี้สาธารณะและการธนาคาร
กําลังการผลิตส่วนเกิน และความยากลําบากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคและการเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตรและรายได้
ของผู้คนในชนบทนับเป็นความท้าทายสําคัญ ... การทํางานของรัฐบาลก็นับว่า
สลับซับซ้อนกว่าที่วางแผนไว้ แต่ก็ประสบความสําเร็จตามที่คาดการณ์ไว้”
ทั้งนี้ ความสําเร็จในการทํางานของรัฐบาลในปี 2556 จําแนก
ได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่
 มูลค่าจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 56.9 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นใน
อัตราร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับของปีก่อน สัดส่วนของจีดีพีของพื้นที่ตอนกลางและ
ซีกตะวันตกของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.6 อัตราการ
ว่างงานในเมืองอยู่ที่ร้อยละ 4.1 มีการสร้างงานถึง 13.1 ล้านตําแหน่ง ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่ และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
ของจีนทะลุหลัก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทําให้จีนก้าวแซงสหรัฐฯ ขึ้นเป็นประเทศที่ทําการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ
1 ของโลก
 รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จําแนกเป็นรายได้ของคนในเขตเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และคนใน
ชนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ขณะเดียวกัน จํานวนผู้ยากไร้ในชนบทลดลงถึง 16.5 ล้านคนจากปีก่อน
ขณะที่ผลกําไรภาคธุรกิจและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10
 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างเป็น
รูปธรรม โดยธัญพืชมีผลผลิตรวมราว 600 ล้านตัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปี
ที่ 10 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 46.1 ทําให้สัดส่วนของภาคบริการต่อจี
2
ดีพีสูงกว่าของภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ สัดส่วนของจีดีพีของพื้นที่ภาคกลางและซีกตะวันตกของจีนก็เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจในแต่ละ
ภูมิภาค
 การลดขั้นตอน เพิ่มการอํานวยความสะดวก และลดค่าธรรมเนียมในการดําเนินธุรกิจ ทําให้จํานวน
กิจการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 และให้ความสําคัญกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และนวัตกรรมทาง
การเงิน (Financial Innovation) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่กิจการขนาดเล็กและขนาดจิ๋วของจีนเพื่อแก้ไขปัญหาการปล่อย
เงินกู้นอกระบบ
เป้าหมายการทํางานของรัฐบาลในปี 2557 ... เปลี่ยนแปลงเชิงลึกและเชิงกว้าง
การปฏิรูปเชิงลึก (Deeper Reform) รัฐบาลจีนประกาศจะให้ความสําคัญกับการสอดแทรกการปฏิรูปเข้า
ไปในการทํางานทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการปฏิรูป การส่งเสริมนวัตกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ การส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มพลวัตในการพัฒนาพื้นที่ชนบท การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ การพัฒนาชุมชนเมือง
และการเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพของการพัฒนาประเทศ
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังจะเดินหน้าปฏิรูปภาคการเงิน
และระบบภาษี รวมทั้งการคลังที่มีระบบกํากับควบคุม เปิดเผย และโปร่งใส
รวมทั้งปรับปรุงการจัดสรร จัดส่ง และหน้าที่ความรับผิดชอบด้าน
งบประมาณระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
ภาคการเงินการธนาคารของจีนก็จะได้รับการปฏิรูป
เช่นกัน อาทิ การปล่อยอัตราดอกเบี้ยเสรีมากขึ้น การส่งเสริมธนาคารเพื่อ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันการเงินอื่น และระบบการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตที่ดี ตลอดจนการรับมือกับ
ความเสี่ยงจากปัญหาภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาระบบการธนาคารเงา (Shadow Banking System)
หรือการปล่อยเงินกู้นอกระบบ จีนยังจะเพิ่มสีสันให้กับทุกรูปแบบของการเป็นเจ้าของกิจการ และปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ
พื้นฐาน การจัดจําหน่าย และการเข้าถึงตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการให้เปิดกว้างมากขึ้น อาทิ บริการทางการเงิน
บริการด้านสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมถือหุ้นในกิจการของ
รัฐ และในอุตสาหกรรมที่ผูกขาดโดยรัฐ
การเปิดที่กว้างขึ้น (Wider Opening) นอกเหนือจากการให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการปฏิรูปแล้ว
รัฐบาลจีนยังจะเดินหน้าเปิดเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น โดยสนับสนุนการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเปิดระลอกใหม่ และเข้าสู่การเปิด
เสรีรอบใหม่เพื่อการเข้าสู่ตลาดโลก จีนจะพยายามเอาประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงของต่างชาติในจีน ผ่านโครงการเขตเสรี
ทางการค้า (Free Trade Zone) ซึ่งเริ่มนําร่องเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ
ปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมา การเปิดพื้นที่ตอนในและชายแดน และ
เปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจแห่งใหม่
จีนยังจะเปิดกว้างสู่ภายนอก โดยต้องการผลักดันให้
ผู้ประกอบการจีนออกไปทําธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น ตามนโยบาย “บุก
โลก” (Go-Global Policy) โดยจะ
เน้นการสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจ
เส้นทางสายไหม (Silk Road) ทั้งทางบกและทางทะเล
อุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand) การเพิ่มอุปสงค์
ภายในประเทศนับเป็นทั้งกลไกหลักในการขับเคลื่อนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีน
3
โดยรัฐบาลจีนยังจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและการลงทุน การเพิ่มความสามารถในการบริโภค
ของประชาชนจะกระทําโดยการเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน การปรับปรุงนโยบายการบริโภค การสนับสนุนพื้นที่ใหม่ของการ
บริโภค และการเพิ่มการบริโภคภาคบริการ รวมทั้งการปฏิรูประบบจัดจําหน่าย การลดปัญหาอุปสรรคเพื่อให้ตลาดทั่วประเทศ
เป็นหนึ่งเดียว การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดจําหน่าย และการกระตุ้นการพัฒนาลอจิสติกส์ การจัดส่ง และการซื้อหาสินค้า
ออนไลน์ (Online Shopping) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
ขณะเดียวกัน ในด้านการลงทุน จีนจะเร่งการปฏิรูปการลงทุนและระบบสินเชื่อ และกระตุ้นการลงทุนจาก
ทุกภาคส่วนเพื่อให้การลงทุนเป็นกุญแจสําคัญในการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในส่วนของรัฐบาลกลางนั้น ได้จัดสรร
เงินงบประมาณถึง 457,600 ล้านหยวนเพื่อการลงทุนภาครัฐ
การพัฒนาพื้นที่ชนบท (Rural Development) ภาคการเกษตรถือเป็นสาขาสําคัญยิ่งที่ช่วยสร้าง
เสถียรภาพและความกินดีอยู่ดีของจีน จีนจะให้ความสําคัญสูงสุดกับงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร พื้นที่ในชนบท
และเกษตรกร และเร่งปรับปรุงสู่เกษตรกรรมสมัยใหม่ เพื่อการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร
จีนจะรักษาระดับพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้ต่ํากว่า 120 ล้านเฮกตาร์หรือ 450 ล้านไร่ ปรับปรุงคุณภาพดินของ
พื้นที่เพาะปลูก เพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรโดยรวม และ
รับประกันระดับการพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ จีนยังจะปรับปรุงนโยบายเพื่อ
สนับสนุนและปกป้องเกษตรกรรม เพิ่มระดับราคาขั้นต่ําในการซื้อข้าวและ
ข้าวสาลี เพิ่มการอุดหนุนภาคการเกษตร และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเวที
การพัฒนาเกษตรกรรมและชนบท
การพัฒนาชุมชนเมือง (Urbanization) จีนจะ
ดําเนินการพัฒนาชุมชนเมืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการ
อุตสาหกรรมดั้งเดิมและสมัยใหม่ โดยเฉพาะด้านไอที ควบคู่ไปกับการ
ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างอุตสาหกรรมที่ทันสมัย การเกษตรสมัยใหม่ และการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มการ
ลงทุนในอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Investment)
ระบบการขึ้นทะเบียนบ้านหรือ “หู้โคว่” (Hukou) จะได้รับการปฏิรูปเพื่อช่วยให้คนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ใน
ชนบทแต่โยกย้ายเข้ามาทํางานในเมืองได้รับสถานะของคนที่อาศัยในเมือง ทําให้ลูกของคนเหล่านี้สามารถเข้ารับการศึกษาใน
พื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงได้ ซึ่งจะทําให้เป็นโอกาสในการบูรณะที่พักอาศัยในชุมชนเมืองสําหรับคนเหล่านั้น โดยรัฐบาลจะเข้าไปมี
ส่วนร่วมในการแบกรับภาระด้านการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และการให้สินเชื่อเพื่อแบ่งเบาต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปใน
ส่วนนี้
ขณะเดียวกัน การพัฒนาชุมชนเมืองในพื้นที่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่ง
รัฐบาลจะเข้าไปช่วยสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ และเร่งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความ
สะดวก อาทิ การอนุรักษ์น้ํา พลังงาน และบริการสาธารณะในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้แรงงานที่อพยพ
ได้รับการว่าจ้างใกล้พื้นที่ชุมชนเมือง
การปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform) จีนจะ
ปฏิรูประบบการจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้
ธุรกิจเข้ามามีบทบาทเชิงรุกในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นโยบายการ
ปฏิรูปนําร่องจะครอบคลุมสวนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่สาธิตนวัตกรรม
แห่งชาติ ซึ่งมีการจัดหาสิทธิประโยชน์ด้านทุนเรือนหุ้นในการจัดทํา
นวัตกรรม
รัฐบาลจีนจะเพิ่มการใช้จ่ายในเทคโนโลยีระดับสูงที่
สําคัญ และการปรับปรุงวิทยาศาสตร์สาธารณะและเวที/กลไกบริการด้าน
4
เทคโนโลยี จีนจะดําเนินการแผนพัฒนาผู้ที่มีพรสวรรค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
และเชื่อมโยงผลงานวิจัยกับผลตอบแทนให้เป็นไปตามราคาตลาด
นอกจากนี้ จีนจะให้ความสําคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการ และกระตุ้นการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงการ
ส่งเสริมการผนวกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรม
การหักค่าเสื่อมเครื่องจักรเครื่องมือ และการปรับปรุงขีดความสามารถในการ
แข่งขันของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยในปี 2557 จีนจะพยายามปรับลดกําลัง
การผลิตที่ล้าสมัย และสร้างความแข็งแกร่งกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและ
มาตรฐานการใช้พลังงาน
เป้าหมายเศรษฐกิจปี 2557 ... ยืดหยุ่น แต่ท้าทาย
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้กําหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นไว้ 4
ด้าน ดังนี้
 จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับของปีก่อน
 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 3.5
 อัตราการว่างงานไม่เกินร้อยละ 4.6 และ
 สร้างงานไม่น้อยกว่า 10 ล้านตําแหน่ง
เป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนต้องการพัฒนาจีนให้
ก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วและกลายเป็นสังคม “กินดีอยู่ดี” หรือ “เสี่ยวคัง” (Xiao Kang) ภายในปี 2563 ซึ่งภายหลัง
การรายงานของนายกฯ หลี่ เค่อเฉียงดังกล่าว ที่ประชุมสภาประชาชนฯ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบกับแนวทางและเป้าหมายการ
ทํางานในปี 2557 ไว้สูงเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ มีสมาชิกออกเสียงคัดค้านเพียง 15 เสียงจากจํานวนคะแนนเสียงทั้งหมด
3,000 เสียง
เศรษฐกิจจีนจะเติบโต ... อีกปีหนึ่งแห่งความท้าทาย
ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคและความท้าทายดังกล่าว รวมทั้ง
สัญญาณการผ่อนแรงของเศรษฐกิจจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ทําให้มีคําถาม
ตามมามากมาย อาทิ จีนจะสามารถเผชิญกับความท้าทายใหม่ได้หรือไม่? จีนจะ
บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7.5 และเป้าหมายอื่นได้หรือไม่?
อย่างไร? และจีนจะต้องใช้เวลาอีกนานไหมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากที่
พึ่งพาการส่งออกและการลงทุนไปสู่การบริโภคภายในประเทศ?
อันที่จริงก็มีหลายเหตุผลที่ทําให้ผมเชื่อมั่นว่า จีนจะฟันฝ่า
อุปสรรคและเดินเข้าเส้นชัยเป้าหมายด้านเศรษฐกิจที่กําหนดไว้ได้หลายประการ
ประการแรก การพัฒนาชุมชนเมืองนับเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในหลายด้าน โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะ
อนุญาตให้ชาวจีนที่มีสําเนาทะเบียนบ้านอยู่ในชนบทแต่โยกย้ายเข้ามาทํางานในเมืองทั่วจีนรวมราว 100 ล้านคนสามารถจด
ทะเบียนโยกย้ายถิ่นที่อยู่ได้ ซึ่งจะเพิ่มอํานาจซื้อ และขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอํานวยความสะดวก และ
โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการบูรณะที่พักอาศัยในชุมชนเมือง รวมทั้ง
ยกระดับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชนบทในตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนเพื่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนได้ โดยที่กลุ่มคนที่จะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวคิดเป็นราว
1 ใน 3 ของจํานวนคนในชนบทที่โยกย้ายเข้ามาในเมืองโดยรวม การพัฒนาชุมชนเมือง
ดังกล่าวจึงต้องใช้เวลาต่อเนื่องระยะหนึ่ง แต่ก็น่าจะเป็นกลไกช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจีนได้
ในระยะยาว
5
ประการที่ 2 การบริโภคภายในประเทศของจีนกําลังเติบใหญ่ขึ้นและจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเครื่องยนต์
หลักของเศรษฐกิจจีนได้ในอนาคต โดยมีภาคการลงทุนเป็นตัวค้ํายันให้การเติบโตเศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพ โดยในปี 2557
รัฐบาลจีนมีเม็ดเงินเกือบ 460,000 ล้านหยวนที่จัดเตรียมเพื่อการอุดหนุนด้านที่อยู่อาศัย การเกษตร การชลประทานและ
แหล่งน้ํา รถไฟในตอนกลางและซีกตะวันออกของจีน การอนุรักษ์พลังงานและการปกป้องสิ่งแวดล้อม เม็ดเงินดังกล่าวคิดเป็น
กว่าร้อยละ 10 ของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อ 5 ปีก่อน ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนจะยังคงมุ่งมั่นขยายการบริโภค
ภาคบริการเพื่อให้มาทดแทนภาคการส่งออก โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอี-คอมเมิร์ซและการ
ปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ของประเทศ
ประการที่ 3 การปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมของจีนให้มีความทันสมัยจะนําไปสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมที่
ใช้แรงงานฝีมือและเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น ทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสําคัญในการปรับปรุงขีดความสามารถ
ในด้านการผลิตให้ทันสมัย แก้ไขปัญหากําลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ และช่วยลดปัญหามลพิษ รวมทั้งเพิ่มรายได้และยก
มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานและครอบครัวชาวจีนในอนาคต
โดยที่พื้นที่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนยัง
อุดมไปด้วยปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ขณะเดียวกัน
ก็เต็มไปด้วยกําลังซื้อจํานวนมหาศาลที่มีศักยภาพ นโยบายการ
พัฒนาพื้นที่ตอนในการขยายตัวของชุมชนเมือง และการให้
ความสําคัญกับการพัฒนาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมให้
ทันสมัย จะทําให้จีนยังคงเป็นฐานการผลิตและตลาดสินค้าอุปโภค
บริโภคที่หอมหวาน และช่วยเสริมสร้างสถานะความเป็นประเทศที่
รองรับการลงทุนจากต่างประเทศและการค้าโลกอันดับที่ 1 อยู่ต่อไป
ประการที่ 4 สินค้าส่งออกของจีนหันไปจับตลาดระดับบนมากขึ้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าที่
มีเทคโนโลยีระดับสูง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องมือ/อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาของจีนไป
ยังสหรัฐฯ ขยายตัวถึงร้อยละ 24 ขณะที่สินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นอย่างเช่น เสื้อผ้าสําเร็จรูปและรองเท้า เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5
แนวโน้มการปรับเปลี่ยนด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพดีเพื่อจับตลาดระดับบนดังกล่าวน่าจะช่วยลดแรงกดดัน
จากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นและการแข่งขันทางด้านราคา
ขณะเดียวกัน จีนยังหวังจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและ
ดึงกลับ “ผู้ที่มีพรสวรรค์” จากต่างประเทศสู่จีน อันจะช่วยให้สินค้าจีนได้รับการ
ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ในระยะยาว ทั้งนี้ ในปี 2556 จีนมีผู้ที่สําเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเพิ่มขึ้นราว 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับของทศวรรษที่
แล้ว แรงงานคุณภาพดีที่แฝงไว้ซึ่งความเป็นผู้ประกอบการสูงเหล่านี้จะเป็นปัจจัย
สําคัญที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคเชิงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ประการสุดท้าย ความเชื่อมั่นในเชิงจิตวิทยายังเต็มเปี่ยม แม้ว่าปี 2557 จะเป็นปีแรกที่รัฐบาลจีนกําหนด
เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยืดหยุ่น ซึ่งอาจส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นในเชิงจิตวิทยา แต่ในข้อเท็จจริงกลับพบว่า
องค์กรเกือบทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างชาติ และผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจจีนและต่างชาติ
รวมทั้งผู้บริโภคภายในประเทศต่างแสดงความเชื่อมั่นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงคุณภาพของจีนดังที่ปรากฏตามสื่อมาเป็น
ระยะ นอกจากนี้ ในช่วงราว 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนไม่เคยพลาดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กําหนดไว้เลย
อันที่จริง เป้าหมายการเติบโตของจีดีพีที่ร้อยละ 7.5 ก็มิได้
สูงเกินกว่าความสามารถของรัฐบาลจีนแต่อย่างใด และ ณ ระดับอัตราการ
ขยายตัวดังกล่าวก็คาดว่าจะสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกถึง 3 เท่าตัว
ขณะที่จีนพยายามจะให้ “กลไกตลาด” เข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ
6
ของหลายเรื่องสําคัญในอนาคต แต่จีนก็มี “มือที่มองไม่เห็น” อันทรงพลังซ่อนอยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะเริ่มส่งสัญญาณการ
เติบโตในอัตราที่ลดลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่เติบโตในอัตราที่สูงเป็นเวลาถึง 3 ทศวรรษ แต่ผมเชื่อมั่นว่า จีนจะยัง
“ไม่จนแต้ม” และมี “ลูกเล่น” ตุนอยู่ในกระเป๋าที่พร้อมปล่อยออกมาอยู่อีกมาก คํามั่นสัญญาในเรื่องการ “ปฏิรูป” ที่ท่าน
นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงกล่าวในที่ประชุมสภาฯ จะถูกนําไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจังทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น รัฐบาลจีนจะ
ยังคงสามารถเดินหน้าปรับโครงสร้าง เปลี่ยนทิศทาง และสร้างพลวัตการพัฒนาเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้ ภาคการบริโภคและ
การลงทุนในจีนจะเติบโตและมีบทบาทสําคัญในเศรษฐกิจจีน
ภาคการเงินการธนาคารในปัจจุบันนับเป็นตัวอย่างที่ดี ธนาคารต่างชาติที่เข้ามาตั้งสํานักงานใหญ่ในนคร
เซี่ยงไฮ้เตรียมขยายกว่า 100 สาขาทั่วจีน ขณะที่ FTZ ก็จะเป็นเวทีสําคัญสําหรับกิจการต่างชาติในการเพิ่มความหลากหลาย
และการแข่งขันในตลาดจีน มาถึงวันนี้ ธนาคารที่อาศัยเงินทุนจากต่างประเทศจํานวน 9 แห่งได้เปิดสาขาย่อยใน FTZ ขณะที่
อีกกว่า 10 รายอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนใน FTZ
เดินหน้า ... ไม่ลืมหลัง แม้ว่าปี 2557 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่
เต็มไปด้วยความท้าทายที่รออยู่ แต่ผมก็ยังมองโลกในแง่ดีว่า นอกจากจีนจะ
สามารถเบ่งเศรษฐกิจให้เติบโตในเชิงคุณภาพ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนทิศ
ทางการพัฒนา การรักษาระดับเงินเฟ้อ การว่างงาน และการสร้างงานให้เป็นไป
ตามเป้าหมายหลักที่กําหนดไว้แล้ว จีนยังจะสามารถรักษาสถานะของการเป็น
ประเทศรองรับการลงทุนจากต่างชาติอันดับต้น ๆ และการนําเข้า-ส่งออกอันดับ
หนึ่งของโลกได้อยู่ต่อไป โดยไม่ลืมที่จะให้ความสําคัญกับการเดินหน้าเพิ่มอุป
สงค์ภายในประเทศ สนับสนุนส่งเสริม SMEs และกิจการขนาดจิ๋วของจีน เสริมสร้างความทันสมัยให้แก่เกษตรกรรมและ
อุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาอื่น ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และขยายบทบาทในการลงทุนใน
ต่างประเทศตามนโยบายสําคัญที่เกี่ยวข้อง ...
---------------------------------------------
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร
อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์)
สํานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง
31 มีนาคม 2557

Contenu connexe

Plus de Nopporn Thepsithar

การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อมการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อมNopporn Thepsithar
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4Nopporn Thepsithar
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3Nopporn Thepsithar
 
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"Nopporn Thepsithar
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธNopporn Thepsithar
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance IndexNopporn Thepsithar
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsNopporn Thepsithar
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Nopporn Thepsithar
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน Nopporn Thepsithar
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRINopporn Thepsithar
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Nopporn Thepsithar
 

Plus de Nopporn Thepsithar (20)

การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อมการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
 
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
 
LIFFA Presentation
LIFFA Presentation LIFFA Presentation
LIFFA Presentation
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
 

2014-03-31 เมื่อนายกหลี่รายงานสภา 57 โดย ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

  • 1. เมื่อนายกฯ หลี่ เค่อเฉียงรายงานสภาครั้งแรก ... ในมิติเศรษฐกิจ --------------------------------------------- ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมีนาคม 2557 จีนมีการประชุมสําคัญ 2 เวที ได้แก่ การประชุมสภาประชาชน แห่งชาติจีน และสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน (เทียบเท่าวุฒิสภา) ซึ่งในการประชุมทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ การรับฟังรายงานการทํางานในปี 2556 และการนําเสนอเป้าหมายกับแนวทางการทํางานในปี 2557 โดยในการประชุม สภาประชาชนฯ มีสาระสําคัญในด้านเศรษฐกิจที่น่าสนใจหลายประเด็น ลองมาติดตามดูกันจะได้ทราบว่าจีนกําลังจะเดินหน้า ไปในทิศทางใด ... รายงานการทํางานของรัฐบาลในปี 2556 .. ซาบซึ้ง สะกดใจ รายงานนี้นับเป็นฉบับแรกของรัฐบาลภายใต้การนําของ นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียงต่อสภาประชาชนฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระอันน่าประทับใจ จนถือว่าเป็น “ไฮไลต์” ของการประชุมฯ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลจีน ให้ความสําคัญกับการปฏิรูปมากเป็นพิเศษ โดยวารสาร “Beijing Review” ฉบับ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ระบุว่า รายงานดังกล่าวปรากฏคําว่า “ปฏิรูป” ถึง 77 ครั้ง จนคาดว่าจะกลายเป็นคํายอดนิยมของจีนในปี 2557 ในช่วงหนึ่งของรายงานระบุว่า “เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงเปลี่ยน ถ่ายท่ามกลางความท้าทายของภายในและต่างประเทศ พื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพยังขาดความมั่นคง จึงต้องการพลวัตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่านี้ ... เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่มีเสถียรภาพและความ ผันผวน ขณะที่การปรับเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจมหภาคของบางประเทศเป็นตัวแปรใหม่ และประเทศดาวรุ่งต้องเผชิญกับความ ยากลําบากและความท้าทายมากมาย ในส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ ความเสี่ยงอันเกิดจากหนี้สาธารณะและการธนาคาร กําลังการผลิตส่วนเกิน และความยากลําบากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคและการเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตรและรายได้ ของผู้คนในชนบทนับเป็นความท้าทายสําคัญ ... การทํางานของรัฐบาลก็นับว่า สลับซับซ้อนกว่าที่วางแผนไว้ แต่ก็ประสบความสําเร็จตามที่คาดการณ์ไว้” ทั้งนี้ ความสําเร็จในการทํางานของรัฐบาลในปี 2556 จําแนก ได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่  มูลค่าจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 56.9 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นใน อัตราร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับของปีก่อน สัดส่วนของจีดีพีของพื้นที่ตอนกลางและ ซีกตะวันตกของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.6 อัตราการ ว่างงานในเมืองอยู่ที่ร้อยละ 4.1 มีการสร้างงานถึง 13.1 ล้านตําแหน่ง ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่ และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ของจีนทะลุหลัก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทําให้จีนก้าวแซงสหรัฐฯ ขึ้นเป็นประเทศที่ทําการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของโลก  รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จําแนกเป็นรายได้ของคนในเขตเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และคนใน ชนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ขณะเดียวกัน จํานวนผู้ยากไร้ในชนบทลดลงถึง 16.5 ล้านคนจากปีก่อน ขณะที่ผลกําไรภาคธุรกิจและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10  การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม โดยธัญพืชมีผลผลิตรวมราว 600 ล้านตัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปี ที่ 10 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 46.1 ทําให้สัดส่วนของภาคบริการต่อจี
  • 2. 2 ดีพีสูงกว่าของภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ สัดส่วนของจีดีพีของพื้นที่ภาคกลางและซีกตะวันตกของจีนก็เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจในแต่ละ ภูมิภาค  การลดขั้นตอน เพิ่มการอํานวยความสะดวก และลดค่าธรรมเนียมในการดําเนินธุรกิจ ทําให้จํานวน กิจการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 และให้ความสําคัญกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และนวัตกรรมทาง การเงิน (Financial Innovation) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่กิจการขนาดเล็กและขนาดจิ๋วของจีนเพื่อแก้ไขปัญหาการปล่อย เงินกู้นอกระบบ เป้าหมายการทํางานของรัฐบาลในปี 2557 ... เปลี่ยนแปลงเชิงลึกและเชิงกว้าง การปฏิรูปเชิงลึก (Deeper Reform) รัฐบาลจีนประกาศจะให้ความสําคัญกับการสอดแทรกการปฏิรูปเข้า ไปในการทํางานทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการปฏิรูป การส่งเสริมนวัตกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ การส่งเสริม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มพลวัตในการพัฒนาพื้นที่ชนบท การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ การพัฒนาชุมชนเมือง และการเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพของการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังจะเดินหน้าปฏิรูปภาคการเงิน และระบบภาษี รวมทั้งการคลังที่มีระบบกํากับควบคุม เปิดเผย และโปร่งใส รวมทั้งปรับปรุงการจัดสรร จัดส่ง และหน้าที่ความรับผิดชอบด้าน งบประมาณระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ภาคการเงินการธนาคารของจีนก็จะได้รับการปฏิรูป เช่นกัน อาทิ การปล่อยอัตราดอกเบี้ยเสรีมากขึ้น การส่งเสริมธนาคารเพื่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันการเงินอื่น และระบบการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตที่ดี ตลอดจนการรับมือกับ ความเสี่ยงจากปัญหาภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาระบบการธนาคารเงา (Shadow Banking System) หรือการปล่อยเงินกู้นอกระบบ จีนยังจะเพิ่มสีสันให้กับทุกรูปแบบของการเป็นเจ้าของกิจการ และปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ พื้นฐาน การจัดจําหน่าย และการเข้าถึงตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการให้เปิดกว้างมากขึ้น อาทิ บริการทางการเงิน บริการด้านสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมถือหุ้นในกิจการของ รัฐ และในอุตสาหกรรมที่ผูกขาดโดยรัฐ การเปิดที่กว้างขึ้น (Wider Opening) นอกเหนือจากการให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการปฏิรูปแล้ว รัฐบาลจีนยังจะเดินหน้าเปิดเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น โดยสนับสนุนการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเปิดระลอกใหม่ และเข้าสู่การเปิด เสรีรอบใหม่เพื่อการเข้าสู่ตลาดโลก จีนจะพยายามเอาประโยชน์จากการลงทุนโดยตรงของต่างชาติในจีน ผ่านโครงการเขตเสรี ทางการค้า (Free Trade Zone) ซึ่งเริ่มนําร่องเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมา การเปิดพื้นที่ตอนในและชายแดน และ เปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ จีนยังจะเปิดกว้างสู่ภายนอก โดยต้องการผลักดันให้ ผู้ประกอบการจีนออกไปทําธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น ตามนโยบาย “บุก โลก” (Go-Global Policy) โดยจะ เน้นการสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เส้นทางสายไหม (Silk Road) ทั้งทางบกและทางทะเล อุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand) การเพิ่มอุปสงค์ ภายในประเทศนับเป็นทั้งกลไกหลักในการขับเคลื่อนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีน
  • 3. 3 โดยรัฐบาลจีนยังจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและการลงทุน การเพิ่มความสามารถในการบริโภค ของประชาชนจะกระทําโดยการเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน การปรับปรุงนโยบายการบริโภค การสนับสนุนพื้นที่ใหม่ของการ บริโภค และการเพิ่มการบริโภคภาคบริการ รวมทั้งการปฏิรูประบบจัดจําหน่าย การลดปัญหาอุปสรรคเพื่อให้ตลาดทั่วประเทศ เป็นหนึ่งเดียว การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดจําหน่าย และการกระตุ้นการพัฒนาลอจิสติกส์ การจัดส่ง และการซื้อหาสินค้า ออนไลน์ (Online Shopping) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ขณะเดียวกัน ในด้านการลงทุน จีนจะเร่งการปฏิรูปการลงทุนและระบบสินเชื่อ และกระตุ้นการลงทุนจาก ทุกภาคส่วนเพื่อให้การลงทุนเป็นกุญแจสําคัญในการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในส่วนของรัฐบาลกลางนั้น ได้จัดสรร เงินงบประมาณถึง 457,600 ล้านหยวนเพื่อการลงทุนภาครัฐ การพัฒนาพื้นที่ชนบท (Rural Development) ภาคการเกษตรถือเป็นสาขาสําคัญยิ่งที่ช่วยสร้าง เสถียรภาพและความกินดีอยู่ดีของจีน จีนจะให้ความสําคัญสูงสุดกับงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร พื้นที่ในชนบท และเกษตรกร และเร่งปรับปรุงสู่เกษตรกรรมสมัยใหม่ เพื่อการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร จีนจะรักษาระดับพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้ต่ํากว่า 120 ล้านเฮกตาร์หรือ 450 ล้านไร่ ปรับปรุงคุณภาพดินของ พื้นที่เพาะปลูก เพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรโดยรวม และ รับประกันระดับการพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ จีนยังจะปรับปรุงนโยบายเพื่อ สนับสนุนและปกป้องเกษตรกรรม เพิ่มระดับราคาขั้นต่ําในการซื้อข้าวและ ข้าวสาลี เพิ่มการอุดหนุนภาคการเกษตร และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเวที การพัฒนาเกษตรกรรมและชนบท การพัฒนาชุมชนเมือง (Urbanization) จีนจะ ดําเนินการพัฒนาชุมชนเมืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการ อุตสาหกรรมดั้งเดิมและสมัยใหม่ โดยเฉพาะด้านไอที ควบคู่ไปกับการ ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างอุตสาหกรรมที่ทันสมัย การเกษตรสมัยใหม่ และการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มการ ลงทุนในอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Investment) ระบบการขึ้นทะเบียนบ้านหรือ “หู้โคว่” (Hukou) จะได้รับการปฏิรูปเพื่อช่วยให้คนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ใน ชนบทแต่โยกย้ายเข้ามาทํางานในเมืองได้รับสถานะของคนที่อาศัยในเมือง ทําให้ลูกของคนเหล่านี้สามารถเข้ารับการศึกษาใน พื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงได้ ซึ่งจะทําให้เป็นโอกาสในการบูรณะที่พักอาศัยในชุมชนเมืองสําหรับคนเหล่านั้น โดยรัฐบาลจะเข้าไปมี ส่วนร่วมในการแบกรับภาระด้านการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และการให้สินเชื่อเพื่อแบ่งเบาต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปใน ส่วนนี้ ขณะเดียวกัน การพัฒนาชุมชนเมืองในพื้นที่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่ง รัฐบาลจะเข้าไปช่วยสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ และเร่งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความ สะดวก อาทิ การอนุรักษ์น้ํา พลังงาน และบริการสาธารณะในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้แรงงานที่อพยพ ได้รับการว่าจ้างใกล้พื้นที่ชุมชนเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform) จีนจะ ปฏิรูประบบการจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้ ธุรกิจเข้ามามีบทบาทเชิงรุกในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นโยบายการ ปฏิรูปนําร่องจะครอบคลุมสวนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่สาธิตนวัตกรรม แห่งชาติ ซึ่งมีการจัดหาสิทธิประโยชน์ด้านทุนเรือนหุ้นในการจัดทํา นวัตกรรม รัฐบาลจีนจะเพิ่มการใช้จ่ายในเทคโนโลยีระดับสูงที่ สําคัญ และการปรับปรุงวิทยาศาสตร์สาธารณะและเวที/กลไกบริการด้าน
  • 4. 4 เทคโนโลยี จีนจะดําเนินการแผนพัฒนาผู้ที่มีพรสวรรค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และเชื่อมโยงผลงานวิจัยกับผลตอบแทนให้เป็นไปตามราคาตลาด นอกจากนี้ จีนจะให้ความสําคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการ และกระตุ้นการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงการ ส่งเสริมการผนวกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรม การหักค่าเสื่อมเครื่องจักรเครื่องมือ และการปรับปรุงขีดความสามารถในการ แข่งขันของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยในปี 2557 จีนจะพยายามปรับลดกําลัง การผลิตที่ล้าสมัย และสร้างความแข็งแกร่งกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและ มาตรฐานการใช้พลังงาน เป้าหมายเศรษฐกิจปี 2557 ... ยืดหยุ่น แต่ท้าทาย ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้กําหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นไว้ 4 ด้าน ดังนี้  จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับของปีก่อน  เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 3.5  อัตราการว่างงานไม่เกินร้อยละ 4.6 และ  สร้างงานไม่น้อยกว่า 10 ล้านตําแหน่ง เป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีนต้องการพัฒนาจีนให้ ก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วและกลายเป็นสังคม “กินดีอยู่ดี” หรือ “เสี่ยวคัง” (Xiao Kang) ภายในปี 2563 ซึ่งภายหลัง การรายงานของนายกฯ หลี่ เค่อเฉียงดังกล่าว ที่ประชุมสภาประชาชนฯ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบกับแนวทางและเป้าหมายการ ทํางานในปี 2557 ไว้สูงเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ มีสมาชิกออกเสียงคัดค้านเพียง 15 เสียงจากจํานวนคะแนนเสียงทั้งหมด 3,000 เสียง เศรษฐกิจจีนจะเติบโต ... อีกปีหนึ่งแห่งความท้าทาย ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคและความท้าทายดังกล่าว รวมทั้ง สัญญาณการผ่อนแรงของเศรษฐกิจจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ทําให้มีคําถาม ตามมามากมาย อาทิ จีนจะสามารถเผชิญกับความท้าทายใหม่ได้หรือไม่? จีนจะ บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7.5 และเป้าหมายอื่นได้หรือไม่? อย่างไร? และจีนจะต้องใช้เวลาอีกนานไหมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากที่ พึ่งพาการส่งออกและการลงทุนไปสู่การบริโภคภายในประเทศ? อันที่จริงก็มีหลายเหตุผลที่ทําให้ผมเชื่อมั่นว่า จีนจะฟันฝ่า อุปสรรคและเดินเข้าเส้นชัยเป้าหมายด้านเศรษฐกิจที่กําหนดไว้ได้หลายประการ ประการแรก การพัฒนาชุมชนเมืองนับเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในหลายด้าน โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะ อนุญาตให้ชาวจีนที่มีสําเนาทะเบียนบ้านอยู่ในชนบทแต่โยกย้ายเข้ามาทํางานในเมืองทั่วจีนรวมราว 100 ล้านคนสามารถจด ทะเบียนโยกย้ายถิ่นที่อยู่ได้ ซึ่งจะเพิ่มอํานาจซื้อ และขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอํานวยความสะดวก และ โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการบูรณะที่พักอาศัยในชุมชนเมือง รวมทั้ง ยกระดับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชนบทในตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนเพื่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนได้ โดยที่กลุ่มคนที่จะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของจํานวนคนในชนบทที่โยกย้ายเข้ามาในเมืองโดยรวม การพัฒนาชุมชนเมือง ดังกล่าวจึงต้องใช้เวลาต่อเนื่องระยะหนึ่ง แต่ก็น่าจะเป็นกลไกช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจีนได้ ในระยะยาว
  • 5. 5 ประการที่ 2 การบริโภคภายในประเทศของจีนกําลังเติบใหญ่ขึ้นและจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเครื่องยนต์ หลักของเศรษฐกิจจีนได้ในอนาคต โดยมีภาคการลงทุนเป็นตัวค้ํายันให้การเติบโตเศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพ โดยในปี 2557 รัฐบาลจีนมีเม็ดเงินเกือบ 460,000 ล้านหยวนที่จัดเตรียมเพื่อการอุดหนุนด้านที่อยู่อาศัย การเกษตร การชลประทานและ แหล่งน้ํา รถไฟในตอนกลางและซีกตะวันออกของจีน การอนุรักษ์พลังงานและการปกป้องสิ่งแวดล้อม เม็ดเงินดังกล่าวคิดเป็น กว่าร้อยละ 10 ของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อ 5 ปีก่อน ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนจะยังคงมุ่งมั่นขยายการบริโภค ภาคบริการเพื่อให้มาทดแทนภาคการส่งออก โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอี-คอมเมิร์ซและการ ปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ของประเทศ ประการที่ 3 การปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมของจีนให้มีความทันสมัยจะนําไปสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ ใช้แรงงานฝีมือและเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น ทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสําคัญในการปรับปรุงขีดความสามารถ ในด้านการผลิตให้ทันสมัย แก้ไขปัญหากําลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ และช่วยลดปัญหามลพิษ รวมทั้งเพิ่มรายได้และยก มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานและครอบครัวชาวจีนในอนาคต โดยที่พื้นที่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีนยัง อุดมไปด้วยปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ขณะเดียวกัน ก็เต็มไปด้วยกําลังซื้อจํานวนมหาศาลที่มีศักยภาพ นโยบายการ พัฒนาพื้นที่ตอนในการขยายตัวของชุมชนเมือง และการให้ ความสําคัญกับการพัฒนาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมให้ ทันสมัย จะทําให้จีนยังคงเป็นฐานการผลิตและตลาดสินค้าอุปโภค บริโภคที่หอมหวาน และช่วยเสริมสร้างสถานะความเป็นประเทศที่ รองรับการลงทุนจากต่างประเทศและการค้าโลกอันดับที่ 1 อยู่ต่อไป ประการที่ 4 สินค้าส่งออกของจีนหันไปจับตลาดระดับบนมากขึ้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าที่ มีเทคโนโลยีระดับสูง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องมือ/อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาของจีนไป ยังสหรัฐฯ ขยายตัวถึงร้อยละ 24 ขณะที่สินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นอย่างเช่น เสื้อผ้าสําเร็จรูปและรองเท้า เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 แนวโน้มการปรับเปลี่ยนด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพดีเพื่อจับตลาดระดับบนดังกล่าวน่าจะช่วยลดแรงกดดัน จากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นและการแข่งขันทางด้านราคา ขณะเดียวกัน จีนยังหวังจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและ ดึงกลับ “ผู้ที่มีพรสวรรค์” จากต่างประเทศสู่จีน อันจะช่วยให้สินค้าจีนได้รับการ ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ในระยะยาว ทั้งนี้ ในปี 2556 จีนมีผู้ที่สําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเพิ่มขึ้นราว 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับของทศวรรษที่ แล้ว แรงงานคุณภาพดีที่แฝงไว้ซึ่งความเป็นผู้ประกอบการสูงเหล่านี้จะเป็นปัจจัย สําคัญที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคเชิงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ประการสุดท้าย ความเชื่อมั่นในเชิงจิตวิทยายังเต็มเปี่ยม แม้ว่าปี 2557 จะเป็นปีแรกที่รัฐบาลจีนกําหนด เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยืดหยุ่น ซึ่งอาจส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นในเชิงจิตวิทยา แต่ในข้อเท็จจริงกลับพบว่า องค์กรเกือบทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างชาติ และผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจจีนและต่างชาติ รวมทั้งผู้บริโภคภายในประเทศต่างแสดงความเชื่อมั่นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงคุณภาพของจีนดังที่ปรากฏตามสื่อมาเป็น ระยะ นอกจากนี้ ในช่วงราว 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนไม่เคยพลาดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กําหนดไว้เลย อันที่จริง เป้าหมายการเติบโตของจีดีพีที่ร้อยละ 7.5 ก็มิได้ สูงเกินกว่าความสามารถของรัฐบาลจีนแต่อย่างใด และ ณ ระดับอัตราการ ขยายตัวดังกล่าวก็คาดว่าจะสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกถึง 3 เท่าตัว ขณะที่จีนพยายามจะให้ “กลไกตลาด” เข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ
  • 6. 6 ของหลายเรื่องสําคัญในอนาคต แต่จีนก็มี “มือที่มองไม่เห็น” อันทรงพลังซ่อนอยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะเริ่มส่งสัญญาณการ เติบโตในอัตราที่ลดลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่เติบโตในอัตราที่สูงเป็นเวลาถึง 3 ทศวรรษ แต่ผมเชื่อมั่นว่า จีนจะยัง “ไม่จนแต้ม” และมี “ลูกเล่น” ตุนอยู่ในกระเป๋าที่พร้อมปล่อยออกมาอยู่อีกมาก คํามั่นสัญญาในเรื่องการ “ปฏิรูป” ที่ท่าน นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงกล่าวในที่ประชุมสภาฯ จะถูกนําไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจังทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น รัฐบาลจีนจะ ยังคงสามารถเดินหน้าปรับโครงสร้าง เปลี่ยนทิศทาง และสร้างพลวัตการพัฒนาเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้ ภาคการบริโภคและ การลงทุนในจีนจะเติบโตและมีบทบาทสําคัญในเศรษฐกิจจีน ภาคการเงินการธนาคารในปัจจุบันนับเป็นตัวอย่างที่ดี ธนาคารต่างชาติที่เข้ามาตั้งสํานักงานใหญ่ในนคร เซี่ยงไฮ้เตรียมขยายกว่า 100 สาขาทั่วจีน ขณะที่ FTZ ก็จะเป็นเวทีสําคัญสําหรับกิจการต่างชาติในการเพิ่มความหลากหลาย และการแข่งขันในตลาดจีน มาถึงวันนี้ ธนาคารที่อาศัยเงินทุนจากต่างประเทศจํานวน 9 แห่งได้เปิดสาขาย่อยใน FTZ ขณะที่ อีกกว่า 10 รายอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนใน FTZ เดินหน้า ... ไม่ลืมหลัง แม้ว่าปี 2557 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่ เต็มไปด้วยความท้าทายที่รออยู่ แต่ผมก็ยังมองโลกในแง่ดีว่า นอกจากจีนจะ สามารถเบ่งเศรษฐกิจให้เติบโตในเชิงคุณภาพ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนทิศ ทางการพัฒนา การรักษาระดับเงินเฟ้อ การว่างงาน และการสร้างงานให้เป็นไป ตามเป้าหมายหลักที่กําหนดไว้แล้ว จีนยังจะสามารถรักษาสถานะของการเป็น ประเทศรองรับการลงทุนจากต่างชาติอันดับต้น ๆ และการนําเข้า-ส่งออกอันดับ หนึ่งของโลกได้อยู่ต่อไป โดยไม่ลืมที่จะให้ความสําคัญกับการเดินหน้าเพิ่มอุป สงค์ภายในประเทศ สนับสนุนส่งเสริม SMEs และกิจการขนาดจิ๋วของจีน เสริมสร้างความทันสมัยให้แก่เกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาอื่น ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และขยายบทบาทในการลงทุนใน ต่างประเทศตามนโยบายสําคัญที่เกี่ยวข้อง ... --------------------------------------------- รวบรวมและเรียบเรียงโดย ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สํานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง 31 มีนาคม 2557