Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité

Consultez-les par la suite

1 sur 39 Publicité

ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน

ดาวน์โหลดไฟล์นี้ได้ที่ www.philosophychicchic.com

วิชาธรรมภาคปฏิบัติ
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
วัตถุประสงค์การเรียนประจำบท
บอกประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานสมัยก่อนพุทธกาลได้
บอกการปฏิบัติกรรมฐานสมัยพุทธกาลและสมัยหลังพุทธกาลได้
บอกรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทยปัจจุบันได้
กรรมฐานเป็นงานพัฒนาจิตให้เข้าถึงความสงบและให้เกิดปัญญาเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการดำเนินชีวิตและเป็นธุระสำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา
กรรมฐานเป็นวิถีทางออกจากทุกข์ที่ดีที่สุด ซึ่งมีพัฒนาการสั่งสมสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนานจากยุคก่อนพุทธกาลยุคพุทธกาลและหลังพุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

ดาวน์โหลดไฟล์นี้ได้ที่ www.philosophychicchic.com

วิชาธรรมภาคปฏิบัติ
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
วัตถุประสงค์การเรียนประจำบท
บอกประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานสมัยก่อนพุทธกาลได้
บอกการปฏิบัติกรรมฐานสมัยพุทธกาลและสมัยหลังพุทธกาลได้
บอกรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทยปัจจุบันได้
กรรมฐานเป็นงานพัฒนาจิตให้เข้าถึงความสงบและให้เกิดปัญญาเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการดำเนินชีวิตและเป็นธุระสำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา
กรรมฐานเป็นวิถีทางออกจากทุกข์ที่ดีที่สุด ซึ่งมีพัฒนาการสั่งสมสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนานจากยุคก่อนพุทธกาลยุคพุทธกาลและหลังพุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

Publicité
Publicité

Plus De Contenu Connexe

Diaporamas pour vous (20)

Les utilisateurs ont également aimé (13)

Publicité

Similaire à ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน (20)

Plus par Padvee Academy (20)

Publicité

Plus récents (20)

ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน

  1. 1. ธรรมะภาคปฏิบัติ : บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
  2. 2. วัตถุประสงค์การเรียนประจาบท  บอกประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานสมัยก่อน พุทธกาลได้  บอกการปฏิบัติกรรมฐานสมัยพุทธกาลและสมัยหลังพุทธกาลได้  บอกรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทยปัจจุบันได้
  3. 3. ความนา  กรรมฐานเป็นงานพัฒนาจิตให้เข้าถึงความสงบและให้ เกิดปัญญาเป็นศาสตร์และศิลป์ แห่งการดาเนินชีวิตและเป็น ธุระสาคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา  กรรมฐานเป็ นวิถีทางออกจากทุกข์ที่ดีที่สุด ซึ่งมี พัฒนาการสั่งสมสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนานจาก ยุคก่อนพุทธกาลยุคพุทธกาลและหลังพุทธกาลมาจนถึงสมัย ปัจจุบัน
  4. 4. สมัยก่อนยุคพุทธกาล  การปฏิบัติกรรมฐานสมัยก่อนพุทธกาลมีปรากฏในคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาจานวนมากซึ่งได้กล่าวถึงฤาษีดาบสผู้ บาเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์บรรลุฌานสมาบัติได้อภิญญา ๕ แสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ การบรรลุฌานสมาบัติการได้ อภิญญาของพวกฤาษีดาบสดังกล่าวนั้นจัดเป็นผลของการเจริญ สมถกรรมฐานโดยตรง
  5. 5. สมัยพุทธกาล  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก บรรพชาก็ทรงไปศึกษาลัทธิของ เจ้าสานักต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในสมัย นั้นทรงแสวงหาหนทางดับทุกข์โดย วิธีการลองผิดลองถูกมาหลากหลาย วิธีโดยเฉพาะวิธีปฏิบัติแบบสมถ- กรรมฐานและวิธีทรมานตัวเองที่ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
  6. 6. สมัยพุทธกาล  พระองค์ก็สรุปผลได้ว่าวิธีการเหล่านั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ได้ แท้จริงจึงทรงหันมาเลือกวิธีการบาเพ็ญเพียรทางจิตด้วยการ เจริญสมกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
  7. 7. สมัยพุทธกาล  พระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงผลขั้นสูงสุดจนสามารถ ทาลายกิเลสได้หมดสิ้นก็ด้วยทรงยึดเอาการปฏิบัติสม ถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นอุบายในการ พัฒนาจิตโดยนาเอาสมถกรรมฐานมาสร้างพื้นฐานที่ มั่นคงให้แก่จิตใจก่อนแล้วเพิ่มเติมต่อยอดด้วยการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
  8. 8.  วิปัสสนากรรมฐานจึงถือว่าเป็ นเอกลักณ์สาคัญทาง พระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วนามาเผยแผ่สั่ง สอนพุทธบริษัทมีปรากฏเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ความจริงการปฏิบัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาลปรากฏว่ามี แพร่หลายมากมายจะเห็นได้จากคัมภีร์พระไตรปิ ฎกที่ได้บันทึก เรื่องราวและคาสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนกรรมฐานไว้ เช่น มหาสติปัฏฐานสูตร อานาปานสติสูตร เป็นต้น
  9. 9.  ในคัมภีร์อรรถกถาได้กล่าวถึงการปฏิบัติกรรมฐานในสมัย พุทธกาลไว้หลายแห่งพอสรุปความได้ว่าภิกษุผู้มีศรัทธาออกบวช ประสงค์จะปฏิบัติกรรมฐานจะต้องบาเพ็ญธุระ ๒ อย่างใน พระศาสนาคือ คันถธุระ วิปัสสนาธุระ
  10. 10. คันถธุระ  หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนภาคทฤษฎีหรือปริยัติให้ เข้าใจถึงกิจวัตรข้อปฏิบัติสาหรับพระภิกษุและคาสอน ของพระพุทธเจ้า(พุทธพจน์)
  11. 11. วิปัสสนาธุระ  หมายถึงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานด้วยยกรูปนามขึ้น พิจารณาโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่คงทน มิใช่ตัวตน จนเกิดผลคือสามารถทาลายกิเลสบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้ในที่สุด
  12. 12. สมัยหลังพุทธปรินิพพาน  หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้วเหล่าสาวกมีความแตกแยกทาง ความคิดมากขึ้น แต่ในส่วนที่เป็นการพัฒนาจิต เหล่าสาวกก็คงยึดถือการปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสูตร อานาปานสติสูตร และสมถวิธีที่พระพุทธองค์ทรง สอนไว้จนถึงยุคพุทธศตวรรษที่ ๓
  13. 13. สมัยหลังพุทธปรินิพพาน  ในส่วนของการปฏิบัติกรรมฐานยุคนี้ปรากฏว่ามีพระ เถระผู้ทรงคุณสมบัติทั้งทางด้านปริยัติและด้านการปฏิบัติ หลายรูป เช่น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระมหินทเถระ และคณะพระเถระที่ไปเป็นธรรมทูตเผยแผ่ในดินแดนต่าง ๆ นั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้นเป็นเครื่องแสดงให้ เห็นถึงความเจริญของการปฏิบัติกรรมฐาน
  14. 14. การส่งสมณทูต ๙ สาย สมัยพระเจ้าอโศก
  15. 15.  โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐานในยุคนี้ คณะพระโสณะและ พระอุตตระที่นาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ นับได้ว่าเป็นผู้วางรากฐานทางพระพุทธศาสนาในดินแดนแห่งนี้ รวมถึงได้นาแนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เชื่อว่ารับได้ ถ่ายทอดมาจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาเผยแผ่ในภูมิภาค นี้และมีผู้รักษาสืบต่อแนวการปฏิบัตินี้มาจนถึงปัจจุบัน
  16. 16. การปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทยปัจจุบัน  แนวการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทยปัจจุบันมีรูปแบบ แนวการปฏิบัติที่หลากหลายตามแนวทางที่คณาจารย์ได้คิดค้น พัฒนาขึ้นให้เหมาะกับจริตนิสัยของตนเองโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อทาจิตให้สงบรางับและเพื่อให้เกิดปัญญารู้เท่าทันตามความ เป็นจริง ดังนั้น รูปแบบวิธีการปฏิบัติอาจดูต่างกันแต่ถ้าเป็นไป เพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือความสงบระงับใจและให้ เกิดสติปัญญาแล้ว ก็ถือว่าไม่ออกนอกจากจุดมุ่งหมายของการ ปฏิบัติกรรมฐานทางพระพุทธศาสนา
  17. 17. ในที่นี้จะขอยกรูปแบบแนวการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยรู้จักกันมาสัก ๕ สายหลัก คือ แนวการปฏิบัติสายบริกรรมภาวนาพุทโธ แนวการปฏิบัติแบบพอง-ยุบ แนวการปฏิบัติแบบเคลื่อนไหว แนวการปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกาย แนวการปฏิบัติแบบอานาปานสติ
  18. 18. กรรมฐานสายบริกรรมภาวนาพุทโธ  กรรมฐานสายบริกรรม ภาวนาพุทโธมีปรากฏใน ประเทศไทยเป็นเวลานาน ซึ่งพระอาจารย์สาคัญผู้ที่ให้ กาเนิดการปฏิบัติแนวนี้เป็น ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
  19. 19. การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวพระอาจารย์มั่น  นอกจากจะนาบทว่าพุทโธมาบริกรรมให้เกิดสมาธิแล้ว ยังได้ นาการบริกรรมพุทโธไปประยุกต์ใช้กับอานาปานสติกรรมฐาน ด้วย กล่าวคือ เวลาหายใจเข้าบริกรรมว่า พุท เวลาหายใจออก บริกรรมว่า โธ คาว่า พุทโธ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าซึ่ง แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน การใช้คาว่าพุทโธมาบริกรรมขณะ หายใจเข้าออกเป็นกุศโลบายในการรวมจิตเป็นหนึ่งเดียวได้ง่าย ซึ่งเป็นการเจริญสมถกรรมฐานก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปสู่ วิปัสสนากรรมฐานในภายหลัง
  20. 20. กรรมฐานสายพอง-ยุบ  กรรมฐานสายนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ ๕ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร การสอนกรรมฐานสาย นี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่ง ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการเผยแผ่แนวการปฏิบัติ กรรมฐานวิธีนี้
  21. 21. พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
  22. 22. วิธีการปฏิบัติ  วิธีการปฏิบัติในท่านั่ง เมื่อผู้ปฏิบัติอยู่ในอริยาบถนั่งเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว พึงสังเกตอาการยพองยุบของหน้าท้อง ขณะ หายใจเข้า หน้าท้องจะพอง ให้มีสติกาหนดดูอาการพองพร้อม บริกรรมว่า “พองหนอ” ขณะหายใจออกหน้าท้องจะยุบ ให้มีสติ กาหนดดูอาการยุบ พร้อมบริกรรมว่า “ยุบหนอ” ผู้ปฏิบัติให้มี สติกาหนดดูอาการพองและยุบของหน้าท้องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สิ่งสาคัญในการปฏิบัติคืออย่าตามลมหายใจเข้า หายใจออก ให้ มีสติกับอาการพองยุบอย่างเดียว
  23. 23. พองหนอ... ยุบหนอ.....
  24. 24. กรรมฐานแบบเคลื่อนไหว  อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในสายนี้ ที่รู้จักโดยมากคือ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
  25. 25. วิธีการปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน  กล่าวถึงสาระสาคัญของการปฏิบัติกรรมฐานแบบเคลื่อนไหวว่า ความคิดเป็นต้นเหตุของความทุกข์ของมนุษย์ โทสะ โมหะ โลภะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ล้วนปรากฏขึ้นในรูปของความคิด  ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหว ตลอดเวลา ให้สติอยู่กับอาการเคลื่อนไหวไม่ให้หลงเข้าไปปรุง แต่งกับความคิดที่เกิดขึ้นและต้องเห็นความคิดทุกครั้งที่ใจคิด ด้วยการใช้สติกาหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของกายอันจะนาไปสู่ การพ้นทุกข์ พบกับความสะอาด สว่าง และสงบแห่งจิตใจต่อไป
  26. 26. กรรมฐานแนววิชชาธรรมกาย  ผู้ให้กาเนิดกรรมฐานสายนี้คือ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสาโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้า ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ท่านนากรรมฐานต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกันกล่าวคือใช้ อาโลกกสิณ อานาปานสติและ พุทธานุสสติ
  27. 27. วิธีปฏิบัติ  วิธีปฏิบัติในขั้นสมถภาวนา คือ ให้กาหนดบริกรรมนิมิต เป็นเครื่องหมายดวงกลมใสขนาดเล็กประมาณเท่าดวงตาดา (หรือขนาดเท่าที่พอนึกเห็นด้วยใจได้ชัดเจน) ให้ปรากฏขึ้นที่ ปากช่องจมูก(หญิงซ้าย-ชายขวา)ให้ใจอยู่ในดวงกลมใสนั้น คือ นึกให้เห็นจุดเล็กใสศูนย์กลางดวงกลมใสตั้งอยู่ที่ปากช่องจมูก (หญิงซ้าย-ชายขวา)พร้อมกับบริกรรมภาวนาตรงศูนย์กลางดวง กลมใสนั้นว่า “สัมมาอะระหัง ๆ ๆ”
  28. 28. กรรมฐานสายอานาปานสติ  กรรมฐานสายอานาปานสตินี้มีปฏิบัติแพร่หลายกัน มากอีกแนวหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นกรรมฐานที่ ใช้อารมณ์หรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในตัวของแต่ละคนคือลม หายใจซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่าง ยิ่ง อาจารย์ผู้สอนกรรมฐานที่มีชื่อเสียงในสายนี้มีหลาย ท่านซึ่งส่วนใหญ่มีวิธีการปฏิบัติเป็นไปในแนวเดียวกัน ใน ที่นี้จะยกเอาวิธีการปฏิบัติอานาปานสติของท่านพุทธทาส ภิกขุแห่งสวนโมกขพลารามมากล่าว
  29. 29. วิธีการปฏิบัติ  (๑) รู้จักลมหายใจยาว คือ ตั้งสติคอยเฝ้ าสังเกตลมหายใจยาว ทุกครั้งที่หายใจเข้าและหายใจออกต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะรู้สึก ซึมซาบเข้าใจลมหายใจยาวเป็นอย่างดีว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะ อย่างไร และอิทธิพลแก่ร่างกายอย่างไร ลมหายใจยาวจึงเป็นสิ่ง ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องทาความเข้าใจจนคุ้นเคยให้ดีเป็นลาดับแรก
  30. 30.  (๒) รู้จักลมหายใจสั้น เมื่อทาความคุ้นเคยกับลมหายใจยาว จากนั้นให้ตั้งสติคอยเฝ้ าสังเกตลมหายใจสั้นทุกครั้งที่หายใจเข้า และหายใจออกอย่างต่อแนื่องจนกว่าจะรู้สึกซึมซาบเข้าใจลม หายใจสั้นเป็นอย่างดีว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร และ อิทธิพลแก่ร่างกายอย่างไร
  31. 31.  (๓) รู้จักลมที่ปรุงแต่งกายทั้งหมด คือ กาหนดรู้กายสังขาร หมายถึงลมหายใจที่คอยปรุงแต่งกายให้ขึ้นหรือลง ให้สงบระงับ หรือให้กระวนกระวาย ในขั้นนี้ต้องกาหนดพิจารณาลมหายใจ ละเอียดขึ้นว่าปรุงแต่งร่างกายอย่างไร ร่างกายเนื่องอยู่กับลม หายใจอย่างไร จนสามารถมองเห็นวิธีการที่จะบังคับร่างกายได้ ตามใจชอบโดยวิธีการบังคับผ่านทางลมหายใจ เพราะลมหายใจ เป็นเครื่องปรุงแต่งร่างกาย
  32. 32.  (๔) ทาลมหายใจให้ระงับลง ลมหายใจคือกายสังขารทาหน้าที่ ปรุงแต่งร่างกาย ถ้าผู้ปฏิบัติทาลมหายใจให้ระงับลง ละเอียดลง ร่างกายก็จะสงบระงับลงด้วยเหมือนกัน
  33. 33. สรุปท้ายบท  จากการได้ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติ กรรมฐานผู้ศึกษาจะมองเห็นพัฒนการการปฏิบัติกรรมฐานใน ยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาลก็มีการปฏิบัติกรรมฐานเช่นกัน โดยเฉพาะสมถกรรมฐานมีพัฒนาการเจริญก้าวหน้าจนถึงขั้น สูงสุดคือได้สมาบัติ ๘ ยังขาดแต่วิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น
  34. 34.  ต่อมาสมัยพุทธกาลเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกแสวงหาทางหลุด พ้นจากทุกข์ก็ทรงผ่านการปฏิบัติสมถกรรมฐานมาทุกขั้นตอน รวมถึงการทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ ในที่สุดก็ทรงค้นพบวิธีการตัด ทาลายกิเลสได้เด็ดขาดคือวิปัสสนากรรมฐานและทรงทาการเผย แผ่ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานด้วยทรงเห็นว่าการนา กรรมฐานทั้งสองมาปฏิบัติจะสนับสนุนเกื้อกูลกันดาเนินไปสู่ความ ดับทุกข์ได้เร็วขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วเหล่าสาวกได้สืบต่อ วิธีการปฏิบัติกรรมฐานกันมาอย่างไม่ขาดสายจนถึงสมัยปัจจุบัน
  35. 35. จบบทที่ ๑
  36. 36. ดาวน์โหลดไฟล์นี้ได้ที่ www.philosophychicchic.com สนุกกับการเรียนรู้ปรัชญาและศาสนาแบบชิคๆ เคียงคู่รอยยิ้ม

×