SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  37
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
ระบอบประชาธิปไตยทาให้เกิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
1.
ระบอบประชาธิปไตยทาให้เกิดการปกครองแบบประชาธิปไตย.
กระผมขอขอบคุณสภาผู้แทนราษฎรที่ให้เกียรติเชิญกระผมมาบ
รรยายเรื่องของคาบรรยายที่ตั้งให้นี้
ส่วนใหญ่เป็นปัญหาวิชาการกระผมจึงต้องขออภัยถ้าคาบรรยา
ยต่อไปนี้ดูไปแล้วจะแก่วิชาการไปสักหน่อย
เรื่องนี้กระผมขอบรรยายในปัญหาเหล่านี้คือ1.
ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร2. ผู้สร้างระบอบประชาธิปไตย3.
เครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย4.วิธีสร้างระบอบประชาธิปไตย
5.เครื่องรักษาระบอบประชาธิปไตย 1.
ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
ก่อนที่จะพูดถึงการสร้างระบอบประชาธิปไตยจะต้องมาทาความ
รู้จักกับระบอบประชาธิปไตยกันก่อน
ถ้าไม่รู้ว่าระบอบประชาธิปไตยคืออะไรก็ไม่ต้องพูดถึงการสร้างร
ะบอบประชาธิปไตย
เหมือนเด็กทารกที่ยังไม่รู้ว่าบ้านคืออะไรเขาก็ไม่สามารถจะพูดกั
นถึงการสร้างบ้านคนไทยในระยะหลังๆ
ไม่รู้ระบอบประชาธิปไตยกันมากโดยเฉพาะในหมู่ปัญญาชนก่อ
นเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ปัญญาชนบ้านเรารู้ระบอบประชาธิปไตยกันพอสมควรหลังเปลี่
นแปลงการปกครองด้วยการปลูกฝังของ “คณะราษฎร”
ทาให้ความรู้ประชาธิปไตยของปัญญาชนค่อยๆสับสนจับต้นชน
ปลายไม่ถูกทั้งๆที่มีการพูดกันมากที่สุด
บรรยายเรื่องประชาธิปไตยกันมากที่สุดอภิปรายเรื่องประชาธิปไ
ตยกันมากที่สุดสัมมนาเรื่องประชาธิปไตยกันมากที่สุด
จนกล่าวได้ว่าไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะพูดประชาธิปไตยกัน
มากเท่าประเทศไทย
แต่ยิ่งพูดดูเหมือนจะยิ่งไม่รู้ว่าระบอบประชาธิปไตยคืออะไรและ
หลักฐานข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
2.
ผู้ไม่รู้ระบอบประชาธิปไตยมากกว่าใครๆคือสมาชิกสภาผู้แทนร
าษฎรชุดนี้หลักฐานข้อเท็จจริงสดๆร้อนๆคือ
กรณีทหารพรานไปชุมนุมประท้วงมรว.คึกฤทธิ์ทัศนะต่อกรณีนี้เ
ป็นเครื่องวัดความเข้าใจระบอบประชาธิปไตย
ถ้าเข้าใจว่ามรว.คึกฤทธิ์ผิดทหารพรานถูกแสดงว่ารู้ระบอบประ
ชาธิปไตยถ้าเข้าใจว่าทหารพรานผิดมรว.
คึกฤทธิ์ถูกแสดงว่าไม่รู้ระบอบประชาธิปไตยสมาชิกสภาผู้แทนร
าษฎรส่วนใหญ่มีทัศนะว่าทหารผิดมรว.คึกฤทธิ์ถูก
ถึงกับเสนอญัตติและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างครึกโครมยิ่งกว่าใน
วงการใดๆซึ่งแสดงให้เห็นว่า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รู้ระบอบประชาธิปไตยยิ่งกว่าปัญญ
าชนในวงการอื่นๆปัญหาเสรีภาพของบุคคล
เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดปัญหาหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยเพร
าะว่าความหมายโดยย่อของระบอบประชาธิปไตยก็คือ
“อานาจอธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล”การ
ไม่เข้าใจอานาจอธิปไตยของปวงชนก็ดี
การไม่เข้าใจเสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคลก็ดีจึงเป็นเครื่องวัดควา
มไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยเสรีภาพของบุคคล
เป็นองค์ประกอบของการปกครองทุกระบอบ
แต่เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคลเป็นลักษณะพิเศษของระบอบประ
ชาธิปไตยแม้ว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทยพ.ศ.2521
ว่าด้วยเสรีภาพทางการเมืองจะมีข้อบกพร่องอย่างมากก็ตาม
แต่ก็ได้บรรจุสารสาคัญของเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยไว้
คือมาตรา 45 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญให้เป็นปฏิปักษ์ต่อ
ชาติศาสนา
พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญมิได้”กระผมว่าเรื่องนี้ให้บุคคลใ
นแวดวงของท่านอธิบายเองดีกว่ากระผมอธิบาย
บังเอิญกระผมได้ไปเห็นเอกสารฉบับหนึ่งลงชื่อโดยอดีตส.ส.เป็น
คาอธิบายปัญหานี้ที่ชัดเจน(แจกแก่ผู้ฟังทุกคน)
เอกสารฉบับนี้แสดงถึงความเข้าใจเสรีภาพในระบอบประชาธิปไ
ตย
ซึ่งแสดงถึงการเข้าใจความหมายของระบอบประชาธิปไตยด้วย
และเป็นหลักฐานให้เห็นว่าส.ส.
ส่วนใหญ่ในสภาชุดนี้ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยถ้าเข้าใจก็
จะต้องพากันคัดค้านการกระทาของมรว.คึกฤทธิ์
ไม่ใช่ส่งเสริมกันใหญ่อย่างที่เสนอญัตติและวิพากษ์วิจารณ์กันอ
ยู่ในที่นี้กระผมจะขออธิบายระบอบประชาธิปไตยโดยย่อ
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ หลักการปกครอง(Principleof
government) และรูปการปกครอง(Formof government)
หลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยที่สาคัญมี5
ประการคือ1. อานาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereigntyof
people หรือPopularsovereignty)
หมายถึงอานาจอธิปไตยของคนทั่วไปหรือคนทั้งหมด2.
เสรีภาพของบุคคล(Freedomof the person)
หมายถึงเสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล
ทั้งเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพส่วนบุคคลเอกชน3.
ความเสมอภาค(Equality)
หมายถึงความเสมอภาคทางกฎหมายและความเสมอภาคทางโอ
กาส4.หลักนิติธรรม(Rule of law)
หมายความว่ากฎหมายในระบอบประชาธิปไตยทั้งกฎหมายหลัก
(คือรัฐธรรมนูญ)และกฎหมายสามัญ
ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม5.รัฐบาลจากการเลือกตั้ง(Electedgo
vernment)หมายถึง
การเลือกตั้งตามหลักนิยมของระบอบประชาธิปไตยคือFree
vote และone man one vote หลักการปกครอง5
ประการของระบอบประชาธิปไตยนี้หลักอานาจอธิปไตยของปว
งชนเป็นหัวใจแม้ว่ามีหลักอื่นๆ
แต่ถ้าไม่มีอานาจอธิปไตยของปวงชนก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไ
ตยแต่ถ้ามีอานาจอธิปไตยของปวงชน
3.
แม้ว่าจะขาดหลักอื่นๆไปบ้างในบางสภาวการณ์ก็เป็นระบอบประ
ชาธิปไตยเช่น
เมื่อสถานการณ์ยังไม่เอื้ออานวยให้ทาการเลือกตั้งทั่วไปแต่มีอา
นาจอธิปไตยของปวงชน
ก็ยังคงเป็นระบอบประชาธิปไตยรูปการปกครองของระบอบประ
ชาธิปไตยที่สาคัญมีอยู่2 รูปคือระบอบรวมอานาจ (Fusionof
Powers) และระบบแยกอานาจ(Separationof Powers)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบรัฐสภา (Parliamentarysystem)
และระบบประธานาธิบดี(Presidential system)
ระบบรวมอานาจหรือระบบรัฐสภา
หมายถึงอานาจนิติบัญญัติกับอานาจบริหารรวมกันโดยมีสภาผู้แ
ทนราษฎรเป็นสถาบันหลัก
เช่นในอังกฤษระบบแยกอานาจหรือระบบประธานาธิบดีหมายถึ
งอานาจนิติบัญญัติและอานาจบริหารแยกกัน
คานกันและถ่วงดุลย์กันโดยมีประธานาธิบดีเป็นสถาบันหลักเช่น
ในสหรัฐอเมริกันแต่ในปัจจุบันมีระบบกึ่งแยกอานาจ (Semi -
Separationof Powers)
หรือระบบกึ่งระบบประธานาธิบดี(Semi –Presidentialsystem)
เกิดขึ้น
คือในฝรั่งเศสรูปการปกครองของระบอบประชาธิปไตยนี้
ไม่ว่าระบบรวมอานาจหรือระบบแยกอานาจไม่ว่าระบบรัฐสภาห
รือระบบประธานาธิบดีระบอบเผด็จการมักจะนาไปใช้
เพื่อหลอกประชาชนว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างเช่นระบอ
บเผด็จการบ้านเรานอกจากจะใช้รูปพิเศษต่างๆ
ภายหลังการทารัฐประหารแล้วมักจะใช้รูประบบรัฐสภาหรือระบ
บรวมอานาจเป็นรูปการปกครอง
ทาให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย
อย่างเช่นระบบรวมอานาจหรือระบบรัฐสภาในปัจจุบันของเราพู
ดกันอย่างถึงที่สุดแล้วก็เป็นรูปหนึ่งของระบอบเผด็จการ
ซึ่งเราเรียกกันว่าระบอบประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์บ้างระบอบปร
ะชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง
และที่เราต้องมาพูดเรื่องการสร้างระบอบประชาธิปไตยกันก็เพร
าะยังไม่เป็นระบอบประชาธิปไตยนั่นเองฉะนั้น
การทาความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยส่วนสาคัญจึงต้องทาคว
ามเข้าใจPrincipleof government
ถ้าทาความเข้าใจแต่Formof government
แต่ไม่ทาความเข้าใจPrinciple of government แล้ว
ก็จะไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยบ้านเรามักจะสนใจแต่Form
of government แต่มองข้ามPrinciple of government 2.
ผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบขอ
งประชาชนฉะนั้นกล่าวโดยทั่วไป
ผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยก็คือประชาชนแต่ถ้ากล่าวโดยรูปธร
รมผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยคือพรรคประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปไตยก็คือพรรคที่เป็นผู้แทนของประชาชนนั่นเอง
พรรค(Party) หรือพรรคการเมือง(Political Party)
ไม่หมายถึงแต่เฉพาะพรรคตามกฎหมายพรรคการเมืองบ้านเรา
ในปัจุบันเท่านั้น
ที่สาคัญหมายถึงพรรคตามธรรมชาติซึ่งได้แก่คณะบุคคลที่ดาเนิ
นกิจกรรมทางการเมืองภายใต้นโยบายเพื่อผลประโยชน์ข
องกลุ่มชนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนส่วนน้อยหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่
หรือประชาชนทั่วไป
คณะบุคคลที่เป็นผู้แทนทางการเมืองของประชาชนคือพรรคประ
ชาธิปไตยไม่ว่าในประเทศไทยหรือในนานาประเทศ
ผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยคือพรรคประชาธิปไตยทั้งสิ้นพรรค
อื่นๆไม่สามารถสร้างระบอบประชาธิปไตยได้ เช่น
พรรคคอมมิวนิสต์โฆษณาว่าจะสร้างระบอบประชาธิปไตย
4.
แท้จริงเป็นการหลอกประชาชนเพื่อนาไปสร้างระบอบคอมมิวนิส
ต์เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน2475
มีพรรคประชาธิปไตยอยู่2พรรคคือ
พรรคของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประกอบด้วย
รัชกาลที่ 7 กับผู้ร่วมงานไม่กี่คนขอเรียกง่ายๆว่า“พรรคร.7”
และพรรคราษฎรซึ่งเรียกชื่อว่า “คณะราษฎร”พรรคร.7
มีอานาจรัฐอยู่ในกามือคณะราษฎรไม่มีอานาจรัฐและพยายามจ
ะยึดอานาจแต่พรรคร.7ดาเนินการช้าไป
คณะราษฎรยึดอานาจเสียก่อนดังพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 4
กรกฎาคม2475 ตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าตั้งใจดีต่อราษฎร
และได้คิดที่จะให้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินแก่ราษฎรอ
ยู่แล้วหากแต่ล่าช้าไปไม่ทันกาล”รัชกาลที่7
ทรงร่วมมือกับคณะราษฎรอย่างเต็มที่เพราะทรงมีพระราชดาริอ
ยู่ก่อนแล้วว่าที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตย
แต่แล้วก็ทรงทราบว่าหลักการไม่ตรงกันดังพระราชหัตถเลขาตอ
นหนึ่งว่า“ครั้นเมื่อข้าพเจ้ากลับไปกรุงเทพฯแล้ว
และได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์ฯได้นามาให้ข้า
พเจ้าลงนามข้าพเจ้าก็รู้สึกทันทีว่า
หลักการของผู้ก่อการกับหลักการของข้าพเจ้านั้นไม่พ้องกันเสีย
แล้ว”ต่อมาจึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างร.7
กับคณะราษฎรและไม่สามารถตกลงกันได้
ในที่สุดต้องทรงสละพระราชสมบัติ
จากนั้นคณะราษฎรจึงดาเนินการสร้างระบอบประชาธิปไตยตาม
นโยบายของตนโดยลาพัง 3. เครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปไตยซึ่งเป็นผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้อ
งมีเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย
และเครื่องมือสร้างระบอบประชาธิปไตยก็คือนโยบายประชาธิป
ไตยของพรรคผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยนั่นเองคาว่านโย
บายของพรรคการเมืองในภาษาไทยนั้นภาษาอังกฤษใช้คาว่า
ProgramหรือPlatformหมายถึงโครงการ
หรือความมุ่งหมายของพรรคที่ทาเป็นข้อๆไม่ใช่นโยบายซึ่งตรง
กับPolicy ฉะนั้นถ้าจะหมายถึงProgramหรือ
Platformของพรรคการเมืองต้องพูดให้เต็มว่า
“นโยบายของพรรคการเมือง”ถ้าพูดว่า“นโยบาย”เฉยๆจะตรงกับ
Policy
ไปและนโยบายของพรรคประชาธิปไตยนี่เองคือเครื่องสร้างระบ
อบประชาธิปไตย
เมื่อพูดถึงเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยบ้านเรามีความเข้าใจ
ผิดที่สาคัญที่จาเป็นต้องแก้ไข
มิฉะนั้นแล้วจะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการสร้างระบอบประชาธิ
ปไตยคือ
ความเข้าใจผิดที่ว่ารัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิป
ไตยกระผมสังเกตเห็นว่าส.ส.
ส่วนมากมีความเข้าใจผิดเช่นนี้แต่ก็มีส.ส.อย่างน้อยท่านหนึ่งได้
ให้คาอธิบายไว้ว่า
รัฐธรรมนูญไม่ใช่เครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยส.ส.ท่านนั้น
คือดร.เกษมศิริสัมพันธ์ซึ่งได้เขียนไว้ในคอลัมน์
“เทศกาลบ้านเมือง”ของ นสพ.“สยามรัฐฉบับวันที่11
กรกฎาคม2521 ว่า“คนไทยเราด้วยการปลูกฝังของคณะราษฎร
ทาให้เชื่อมั่นว่า“รัฐธรรมนูญ”เป็นของคู่กับประชาธิปไตยและเชื่
อว่าเราสามารถสร้าง“ประชาธิปไตย”
ด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญ…คณะราษฎรท่านเชื่อว่าท่านจะใช้รั
ฐธรรมนูญสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาให้ได้
ซึ่งความคิดเช่นนี้ก็ได้สร้างความล้มเหลวในทางการเมืองตลอด
มาอย่างที่เห็นกันอยู่แม้จนทุกวันนี้…
บ้านเรามีความเข้าใจผิดในเรื่องประชาธิปไตยเพราะเชื่อกันว่ารั
ฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย
5.
ซึ่งไม่เป็นความจริงรัฐธรรมนูญมีได้ทั้งในระบอบเผด็จการและร
ะบอบประชาธิปไตย”แต่ดร.เกษมก็ไม่ได้บอกว่า
เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ใช่เครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยแล้ว
อะไรคือเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยเครื่องสร้างระบอบประ
ชาธิปไตยคือ
นโยบายของพรรคประชาธิปไตยที่ดาเนินการสร้างระบอบประช
าธิปไตยซึ่งต่อไปนี้เพื่อความสะดวกกระผมก็ขอเรียกว่า
Program Programของพรรคร.7 โดยสารสาคัญคือ
การทาให้อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนตามพระราชหัตถเลข
าซึ่งจารึกอยู่ณฐานพระราชอนุสาวรีย์
ที่ท่านทั้งหลายเดินผ่านอยู่ทุกวันว่า
“ข้าพเจ้าสมัครใจจะสละอานาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม
ให้แก่ราษฎรทั่วไป…”Programของคณะราษฎรคือหลัก6
ประการประกอบด้วย(1) หลักเอกราช(2) หลักความปลอดภัย(3)
หลักเศรษฐกิจ(4) หลักความเสมอภาค(5) หลักเสรีภาพ(6)
หลักการศึกษาProgram
ของคณะราษฎรไม่มีหลักอานาจอธิปไตยของปวงชนต่างกับPro
gramของพรรคร.7
ซึ่งยกเอาอานาจอธิปไตยของปวงชนเป็นหลักการสาคัญอันดับแ
รกตามที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า
หลักการของคณะราษฎรกับของพระองค์ท่านไม่พ้องกันเสียแล้ว
นั้นโดยสารสาคัญหมายถึงหลักการข้อนี้เองจึงเห็นว่า Program
ของพรรคร.7
เป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องProgram
ของคณะราษฎรเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ขาดหัวใ
จของหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
จึงขาดความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่งฉะนั้นระบอบประชาธิปไตยที่ส
ร้างโดยคณะราษฎรและรับช่วงสืบทอดต่อๆ
กันมาโดยพรรคต่างๆจนถึงปัจจุบันจึงเป็นระบอบประชาธิปไตย
ที่ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ
ซึ่งกล่าวตามพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่7ว่าเป็นระบอบเผด็
จการทางอ้อมๆแต่ถ้าพูดอย่างถึงที่สุดก็คือ
ระบอบเผด็จการดีๆนี้เอง
แต่ใช้ระบอบรัฐสภาเป็นรูปการปกครองผู้คนจึงเข้าใจผิดไปว่าเ
ป็นระบอบประชาธิปไตย
ที่จริงแล้วควรจะเรียกระบอบปัจจุบันว่าเป็นระบอบเผด็จการรัฐส
ภาไม่ว่าในประเทศใดๆ
ถ้าพรรคประชาธิปไตยผู้สร้างระบอบประชาธิปไตยมี
Programประชาธิปไตยที่ไม่ถูกต้องการสร้างระบอบประชาธิปไ
ตยในประเทศนั้นๆก็จะล้มเหลว
ในประเทศเราคระราษฎรมีนโยบายประชาธิปไตยไม่ถูกต้องซึ่ง
ต่อเนื่องสืบทอดโดยพรรคอื่นๆเป็นลาดับมา
ทั้งที่ได้อานาจด้วยการทารัฐประหารและด้วยการเลือกตั้ง
การสร้างระบอบประชาธิปไตยจึงล้มเหลวตลอดมาแต่ในปัจจุบัน
บังเกิดมี Program ประชาธิปไตยที่ถูกต้องเกิดขึ้นแล้ว คือ
นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามคาสั่งสานักนายก
รัฐมนตรีที่ 66/2523
ซึ่งเสนอและยึดถือโดยกองทัพบกมีผลให้กองทัพบกซึ่งเป็นกลไ
กหลักของรัฐได้มีลักษณะพรรคประชาธิปไตย
และแสดงบทบาทของพรรคประชาธิปไตยอย่างเต็มที่Program
ประชาธิปไตยที่ถูกต้องซึ่งกองทัพบกยึดถือปฏิบัติอยู่นี้
ก็คือProgram
ประชาธิปไตยที่ถูกต้องต่อเนื่องจากProgramประชาธิปไตยที่ถู
กต้องของพรรคร.7นั่นเอง
โดยสารสาคัญก็คือการขยายอานาจอธิปไตยของปวงชนตามที่
กองทัพบกประกาศอยู่ตลอดเวลานั่นเองในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีพรรคประชาธิปไตยเกิดขึ้นในหมู่ประชาชนบ้างแล้วซึ่
งมีProgramสอดคล้องกับนโยบาย66/23
โดยพื้นฐานก็ตามแต่ลักษณะพรรคประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยังค
งอยู่กับกองทัพบกฉะนั้น
6.
กองทัพบกจึงต้องเข้าแบบภาระของผู้สร้างระบอบประชาธิปไตย
ในปัจจุบันโดยมีนโยบาย 66/23 ซึ่งก็คือProgram
ประชาธิปไตยที่ถูกต้องเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยเงื่อ
นไขดังกล่าวนี้คือ
หลักประกันความสาเร็จของการสร้างระบอบประชาธิปไตย
4.
วิธีสร้างระบอบประชาธิปไตยวิธีสร้างระบอบประชาธิปไตยคือก
ารปฏิวัติหรือRevolution
ซึ่งจะใช้คาพูดว่าอะไรก็แล้วแต่ความหมายก็คือการปฏิวัติหรือR
evolution นั่นเองเช่นคณะราษฎรใช้คาว่า
“เปลี่ยนแปลงการปกครอง”ก็มีความหมายอย่างเดียวกันดังบันทึ
กการประชุมครั้งแรกของคณะราษฎรที่กรุงปารีส
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2470
ว่า“วัตถุประสงค์ของคณะราษฎรคือเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิท
ธิราชย์
มาเป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งในสมัยนั้นยังไม่
มีศัพท์สมัยใหม่ว่า “ปฏิวัติ”หรือ“อภิวัฒน์”
เพื่อถ่ายทอดคาฝรั่งเศสอังกฤษRevolution
ดังนั้นเราจึงใช้คาศัพท์ธรรมดาว่า
“เปลี่ยนการปกครองของกษัตริย์เหนือกฎหมายมาเป็นการปกคร
องที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย”ซึ่งหมายถึงปฏิวัติหรือ Revolution
นั่นเองการสร้างระบอบประชาธิปไตยประกอบด้วย
2ด้านด้านหนึ่งคือการยกเลิกระบอบเผด็จการ
อีกด้านหนึ่งคือการสร้างระบอบประชาธิปไตยต้องดาเนินการไป
ด้วยกันทั้ง 2ด้าน
จึงจะเป็นการสร้างระบอบประชาธิปไตยนั่นเองเพราะว่าปัญหาพื้
นฐานของการปฏิวัติก็คือการยกเลิกระบอบเก่า
และสถาปนาระบอบใหม่ขึ้นแทนนัยหนึ่ง
ยกเลิกอานาจอธิปไตยของชนส่วนน้อย
และสถาปนาอานาจอธิปไตยของปวงชนขึ้นแทนเช่นมหาปฏิวัติ
ฝรั่งเศส(GreatFrenchRevolution) “The fall of the Bastille
meantthe endof the oldorder,and establishedthe
sovereigntyof the people”(จากA Historyof Europe vol.IV
ของ D.B .Horn)ระบอบเก่าคือระบอบเผด็จการซึ่งมี 2 แบบ
คือระบอบเผด็จการแบบเก่า
เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบเผด็จการแบบใ
หม่เรียกว่าระบอบเผด็จการระบอบคณาธิปไตย
ระบอบเผด็จการทหารระบอบฟาสซิสต์ระบอบเผด็จการรัฐสภาเ
ป็นต้นการยกเลิกระบอบเก่า
หมายถึงการยกเลิกระบอบเผด็จการทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ทุก
รูปการปฏิวัตินั้นกล่าวกว้างๆคือการทาให้ดีขึ้น
แต่กล่าวให้ชัดเจนขึ้นไปหมายถึงการยกเลิกสิ่งไม่ดีและการสร้า
งสรรค์สิ่งดี
เพราะการสร้างสรรค์สิ่งดีไม่สามารถเป็นไปได้โดยไม่ยกเลิกสิ่งไ
ม่ดีเช่นการปฏิบัติธรรมต้องมีทั้งปหานะ และภาวนา
ปหานะคือละอกุศลกรรมภาวนาคือเจริญกุศลกรรมการเจริญกุศ
ลกรรมโดยไม่ละอกุศลกรรมย่อมเป็นไปไม่ได้
การทาดีโดยไม่ละชั่วเป็นไปไม่ได้
เหมือนการทานาต้องกาจัดวัชพืชฉะนั้นการปฏิวัติทางการเมือง
จึงหมายถึง
การยกเลิกระบอบเผด็จการและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้
นแทนนัยหนึ่งยกเลิกอานาจอธิปไตยของชนส่วนน้อย
และสถาปนาอานาจอธิปไตยของปวงชนขึ้นแทนเมื่อพูดถึงการป
ฏิวัติทางการเมืองควรเข้าใจด้วยว่า ในยุคปัจจุบันมีการปฏิวัติ2
ชนิด คือ การปฏิวัติของพรรคประชาธิปไตย
และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์การปฏิวัติของพรรคประชา
ธิปไตยเรียกว่าการปฏิวัติประชาธิปไตย(Democratic
revolution)การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์เรียกว่าการปฏิวัติสั
งคมนิยม(Socialistrevolution)
7. แต่การปฏิวัติสังคมนิยมมี2ขั้นตอน
ขั้นตอนแรกพรรคคอมมิวนิสต์ยืมชื่อจากพรรคประชาธิปไตยไป
ใช้ จึงเรียกว่า
การปฏิวัติประชาธิปไตยเหมือนกันขั้นตอนหลังเรียกว่าการปฏิวั
ติสังคมนิยมฉะนั้น
การปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคคอมมิวนิสต์ก็คือการปฏิวัติสัง
คมนิยมนั่นเองแต่เป็นขั้นต้นของการปฏิวัติสังคมนิยม
จึงต้องระวังอย่าเอาการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคประชาธิป
ไตย
กับการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคคอมมิวนิสต์ไปปะปนกันเ
พราะถึงแม้จะมีชื่อตรงกัน
แต่ลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงการปฏิวัติที่กองทัพบกกาลังท
าอยู่เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคประชาธิปไตย
แต่มีบางคนพยายามบิดเบือนใส่ร้ายว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไ
ตยของพรรคคอมมิวนิสต์เช่น
การประดิษฐ์สภาเปรซิเดียมขึ้นมาโดยใส่กระผมเลยกลายเป็นกา
รเปิดตัวเอาอย่างโจ่งแจ้งแดงแจ๋ว่าเป็น “แนวร่วม”
ชั้นวิเศษสุดของพคท.ที่กระผมกล่าวว่าในยุคปัจจุบันมีการปฏิวัติ
2ชนิด คือ
การปฏิวัติประชาธิปไตยและการปฏิวัติสังคมนิยมนัยหนึ่งการปฏิ
วัติของพรรคประชาธิปไตย
และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นหมายถึงแต่เฉพาะในปร
ะเทศด้อยพัฒนา(Underdevelopedcountry)
เท่านั้นไม่เกี่ยวกับประเทศกาลังพัฒนา(Developingcountry)
และประเทศพัฒนา(Developedcountry)
เพราะว่าประเทศกาลังพัฒนานั้นทาการปฏิวัติทางการเมืองเสร็จ
แล้วจึงไม่ต้องทาการปฏิวัติทางการเมืองอีก
ภารกิจจึงมีแต่เพียงการพัฒนาเศรษฐกิจให้สมบูรณ์เท่านั้นส่วนใ
นประเทศพัฒนาไม่มีการปฏิวัติ
เพราะปฏิวัติเสร็จแล้วทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจประเทศ
ด้อยพัฒนา
คือประเทศที่ยังไม่ได้ทาการปฏิวัติทางการเมืองหรือทาการปฏิวั
ติทางการเมืองยังไม่เสร็จจึงต้องทาการปฏิวัติให้เสร็จ
ซึ่งแย่งชิงกันอยู่ระหว่างการปฏิวัติ2ชนิด คือ
ระหว่างการปฏิวัติของพรรคประชาธิปไตยกับการปฏิวัติของพร
รคคอมมิวนิสต์
สถานการณ์เช่นนี้มีอยู่ในทุกประเทศด้อยพัฒนาตัวอย่างที่ชัดเจ
นและใกล้บ้านเราคือประเทศจีนพรรคประชาธิปไตย
(พรรคก๊กมินตั๋งหรือพรรคชาตินิยมซึ่งคนไทยนิยมเรียกจีนคณะ
ชาติ)ทาการปฏิวัติเมื่อพ.ศ. 2454 แต่ไม่เสร็จ
ทาได้เพียงยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสถาปนาระ
บบประธานาธิบดีเท่านั้น
แต่ไม่บรรลุถึงระบอบประชาธิปไตยครั้นต่อมา 10 ปี ถึง
พ.ศ.2464 บังเกิดพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้น
ซึ่งมุ่งทาการปฏิวัติสังคมนิยมในรูปการปฏิวัติประชาธิปไตยขั้นต้
นแข่งกับการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรคก๊กมินตั๋ง
ปัญหาจึงมีว่าใครจะปฏิวัติเสร็จพรรคก๊กมินตั๋งหรือพรรคคอมมิว
นิสต์ถ้าพรรคก๊กมินตั๋งปฏิวัติเสร็จ
ประเทศจีนก็จะเป็นประชาธิปไตยถ้าพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเสร็
จประเทศจีนก็จะเป็นคอมมิวนิสต์ในสมัยที่
ดร.ซุนยัตเซ็นผู้นาของพรรคก๊กมินตั๋งมีชีวิตอยู่การแข่งขันอยู่ใ
นรูปการร่วมมือระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ แต่
ดร.ซุนยัตเซ็นสังเกตเห็นด้วยความห่วงใยถึงความอ่อนแอของพ
รรคก๊กมินตั๋ง
เกรงว่าจะไม่สามารถนาการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคก๊กมิ
นตั๋งไปบรรลุผลสาเร็จซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น
พรรคคอมมิวนิสต์ก็จะทาการปฏิวัติสาเร็จและทาประเทศจีนเป็น
คอมมิวนิสต์ฉะนั้นก่อนถึงแก่กรรมดร.ซุนยัตเซ็น
จึงมอบพินัยกรรมเป็นกลอนให้แก่พรรคก๊กมินตั๋งไว้ว่าเก๊อะมิ่งซ่
างเว่ยเฉิงกงถ่งจื้อย่งซูหนู่ลิ แปลว่า
การปฏิวัติยังไม่เสร็จสหายทั้งหลายจงพยายามต่อไปแต่เจียงไคเ
ช็คซึ่งรับช่วงการนาของพรรคก๊กมินตั๋งต่อจากดร.
8.
ซุนยัตเซ็นมิได้ปฏิบัติพินัยกรรมนี้ทั้งยังสร้างระบอบเผด็จการอัน
รุนแรงขึ้นในประเทศจีนเหตุนี้หลังจากดร.ซุนยัตเซ็น
มอบพินัยกรรม22 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ทาการปฏิวัติสาเร็จ
ประเทศจีนจึงเป็นประเทศคอมมิวนิสต์อย่างที่เห็นกันอยู่ไม่ว่าใน
ประเทศใดๆ
ถ้าพรรคประชาธิปไตยไม่ทาการปฏิวัติให้เสร็จพรรคคอมมิวนิส
ต์ก็จะทาการปฏิวัติเสร็จอย่างแน่นอนเช่นในรัสเซียและจีน
ฯลฯและถ้าพรรคประชาธิปไตยทาการปฏิวัติเสร็จพรรคคอมมิวนิ
สต์ก็หมดโอกาสที่จะทาการปฏิวัติต่อไปเช่นในอินเดีย
มาเลเซียสิงคโปร์ ฯลฯฉะนั้น
วิธีทาลายการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีอย่างเดียวคือ
พรรคประชาธิปไตยทาการปฏิวัติให้เสร็จพูดง่ายๆคือเอาการปฏิ
วัติปรามการปฏิวัติทานองหนามยอกเอาหนามบ่ง
นั่นเองประเทศไทยเกือบไปเราทาการปฏิวัติเมื่อพ.ศ.2475
ห้าสิบกว่าปีไม่เสร็จ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้โอกาสทาสงครามปฏิวัติขึ้
นทั่วประเทศ
กองทัพบกไหวทันชิงทาการปฏิวัติโดยออกนโยบาย 66/23
พคท.จึงแพ้สงคราม
แต่เปลี่ยนยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นยุทธวิธี“แนวร่วม”ซึ่งได้
ผลอย่างใหญ่หลวงถึงขนาดจะฟื้นฟูสงครามขึ้นได้อีก
เหตุสาคัญเพราะกองทัพบกย่อหย่อนการปฏิบัติ66/23
คือย่อหย่อนการปฏิวัติ
เหตุนี้กองทัพบกจึงต้องเร่งรีบทาการปฏิวัติให้เสร็จดังที่ได้ประก
าศและดาเนินการอยู่การปฏิวัตินั้น
ไม่ว่าการปฏิวัติของพรรคประชาธิปไตยหรือของพรรคคอมมิวนิ
สต์มี 2 วิธีคือวิธีรุนแรงและวิธีสันติวิธีรุนแรงคือใช้อาวุธ
วิธีสันติคือไม่ใช้อาวุธตัวอย่างการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรร
คประชาธิปไตยในฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ามหาปฏิวัติฝรั่งเศส
เพราะถือกันว่าเป็นแบบฉบับของการปฏิวัติประชาธิปไตยของพ
รรคประชาธิปไตยตามที่คัดลอกมาว่า “The fall of the
Bastille”นั้นเป็นวิธีรุนแรงแต่การปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรค
ประชาธิปไตยในญี่ปุ่นและอินเดีย
เป็นวิธีไม่รุนแรงการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคคอมมิวนิสต์
ในรัสเซียและในจีน
เป็นวิธีรุนแรงและการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียก็เป็นวิธีรุนแรง
แต่การปฏิวัติสังคมนิยมในจีนในรูมาเนีย
ในเชคโกสโลวาเกียฯลฯเป็นวิธีไม่รุนแรงในประเทศไทยการปฏิ
วัติของคณะราษฎรเมื่อ24 มิถุนายน2475 เป็นวิธีรุนแรง
(ใช้กาลังอาวุธยึดอานาจ)แต่การปฏิวัติของพรรคร.7เป็นวิธีไม่รุ
นแรง(พระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันตอนหนึ่งว่า
“ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับสืบราชสมบัติจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าฯ
ข้าพเจ้าก็ได้คิดการที่จะบันดาลให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปไ
ด้โดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นไปได้”) การปฏิวัติพคท.
แนวทางอาวุธเป็นวิธีรุนแรงโดยเฉพาะคือทาสงครามกลางเมือง
ถึง 10 ปี
การปฏิวัติของกองทัพบกเป็นวิธีไม่รุนแรงการปฏิวัติจะเป็นวิธีรุน
แรงหรือวิธีไม่รุนแรง
ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของประเทศนั้นๆและกับสถานการณ์ใน
ช่วงนั้นๆกล่าวโดยทั่วไป
การปฏิบัติของพรรคที่ไม่มีอานาจรัฐเป็นวิธีรุนแรงเพราะต้องยึด
อานาจ
เช่นการปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคประชาธิปไตยฝรั่งเศสกา
รปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย
และพรรคคอมมิวนิสต์จีนฯลฯการปฏิวัติของพรรคที่มีอานาจรัฐอ
ยู่แล้วเป็นวิธีไม่รุนแรงเช่น
การปฏิวัติประชาธิปไตยของพรรคพระจักรพรรดิญี่ปุ่นการปฏิวั
ติสังคมนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน(เพราะ
พคจ.กุมอานาจอย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว)ฯลฯแต่ก็มีกรณีพิเศษเช่นก
ารปฏิบัติประชาธิปไตยของพรรคคองเกรสในอินเดีย
9.
ซึ่งไม่มีอานาจรัฐแต่เป็นวิธีไม่รุนแรงการปฏิวัติสังคมนิยมของพ
รรคบอลเชวิคซึ่งได้อานาจรัฐแล้วแต่ก็เป็นวิธีรุนแรง (เพราะฝ่
ายต่อต้านใช้กาลังเข้าทาลายการปฏิวัติอย่างใหญ่โตมาก)ในปร
ะเทศไทยถ้าพรรคร.7มีโอกาสทาการปฏิวัติ
โดยคณะราษฎรไม่ชิงทาเสียก่อนก็จะเป็นวิธีไม่รุนแรงเพราะพร
รคร.7มีอานาจรัฐอยู่แล้ว
การปฏิวัติของกองทัพบกเป็นวิธีไม่รุนแรงอย่างแน่นอนเพราะกอ
งทัพบกมีอานาจมากที่สุดในบรรดาไกรัฐทั้งปวงฉะนั้น
ตามที่บางคนกล่าวว่าการปฏิวัติไม่รุนแรงจะเป็นไปได้อย่างไรนั้
น
ไม่มีหลักฐานและเป็นคากล่าวของพวกที่ต้องการไม่ให้มีการปฏิ
วัติกับพวกพคท.
แนวทางอาวุธที่กลัวว่าตัวเองจะไม่ได้ทาการปฏิวัติอย่างรุนแรงเ
ท่านั้นการปฏิวัติที่กองทัพบกทาอยู่
เป็นการปฏิวัติตามวิถีทางประชาธิปไตยแนวทางสันติตามพระรา
ชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระราชหัตถเลขาว่า“ข้าพเจ้าก็ได้คิดการที่จะบันดาลให้การเ
ปลี่ยนแปลงนั้น
เป็นไปได้โดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นไปได้”นักการเมืองและนักวิช
าการบ้านเรามักจะเข้าใจกันว่า
การสร้างระบอบประชาธิปไตยจะทาได้โดยไม่ต้องทาการปฏิวัติ
พวกเขาอยากสร้างระบอบประชาธิปไตย
แต่ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติพยายามหลีกเลี่ยงการปฏิวัติกระทั้ง
แม้แต่คาว่า“ปฏิวัติ”ก็ไม่อยากจะได้ยินฉะนั้น
เมื่อกองทัพบกพูดถึงการปฏิวัติจึงฮือฮากันใหญ่โตซึ่งผู้คนในปร
ะเทศเพื่อนบ้านของเราคงจะแปลกใจกันมากทีเดียว
โดยเฉพาะชาวฟิลิปปินส์
ซึ่งประธานาธิบดีหญิงสถาปนารัฐบาลปฏิวัติขึ้นด้วยความสนับส
นุนอยย่างท่วมท้นของชาวฟิลิปปินส์ทั้งๆ
ที่กระผมก็ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลปฏิวัติของฟิลิปินส์นั้น
เป็นรัฐบาลปฏิวัติที่แท้จริวหรือไม่การสร้างระบอบประชาธิปไตย
โดยไม่ทาการปฏิวัตินั้นจะทาได้อย่างไร
เพราะการสร้างระบอบประชาธิปไตยคือการยกเลิกรับอบเผด็จก
ารและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยซึ่งหมายความว่า
การสร้างระบอบประชาธิปไตยก็คือการปฏิวัตินั่นเองจะเอาระบอ
บประชาธิปไตยแต่ไม่เอาการปฏิวัติมันอะไรกันท่าน
ส.ส.ที่เคารพรัก
5.
เครื่องรักษาระบอบประชาธิปไตยเมื่อพรรคประชาธิปไตยทากา
รปฏิวัติเสร็จแล้วซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
สร้างระบอบประชาธิปไตยเสร็จแล้วมีความจาเป็นที่จะต้องรักษา
ระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง
มิฉะนั้นแล้วระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไต
ยอันเยาว์วัยจะถูกทาลายลงเพราะว่า
ถึงแม้พวกคอมมิวนิสต์และพวกเผด็จการซึ่งเป็น“แนวร่วม”จะพ่า
ยแพ้ไปแล้ว
แต่ก็ยังคงใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะทาลายการปฏิวัติของ
พรรคประชาธิปไตย
จึงต้องรักษาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงไว้เครื่องรักษาระบอ
บประชาธิปไตยอันสาคัญที่สุดคือ
รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยเพราะรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยก็คือ
ภาพสะท้อนของผลสาเร็จในการปฏิบัติProgram
ประชาธิปไตยในรูปของกฎหมายซึ่งประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติ
ตามผู้ทาลายรัฐธรรมนูญมีโทษถึงตายรัฐธรรมนูญกับ Program
มีเนื้อหาตรงกันต่างกันตรงที่ว่าProgramพูดถึงสิ่งที่จะทาแต่รัฐธ
รรมนูญพูดถึงสิ่งที่กระทาแล้วเช่น
10. Program
พูดว่าจะทาให้อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนรัฐธรรมนูญพูดว่า
อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน Program
พูดว่าจะทาให้บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์
รัฐธรรมนูญพูดว่าบุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์Program
กับรัฐธรรมนูญพูดตรงกันอย่างนี้นักการเมืองและนักวิชาการบ้า
นเราเลยนึกว่าไม่ต้องเอา Programก็ได้
เอารัฐธรรมนูญอย่างเดียวก็พอแล้วบ้านเราจึงพูดแต่รัฐธรรมนูญ
ไม่พูดถึง Program
เลยนึกว่ารัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยไปพ
วกเราจึงพยายามร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
โดยเข้าใจว่าถ้ารัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยแล้วก็จะทาให้ระ
บอบเป็นประชาธิปไตยความพยายามนี้ล้มเหลวตลอดกาล ดังที่
ดร.เกษมศิริสัมพันธ์ว่าไว้
อันที่จริงเราเคยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอยู่เหมือนกันคื
อรัฐธรรมนูญฉบับแรก
ซึ่งมีชื่อว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวประกาศใ
ช้เมื่อวันที่ 27มิถุนายน2475 มาตรา1 บัญญัติไว้ว่า
“อานาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”แต่ข้อคว
ามนี้ไม่มีในProgramของคณะราษฎร
คือไม่มีเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตยจึงไม่มีระบอบประชาธิป
ไตยทั้งๆ
ที่รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งก็เป็นป
ระชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2517
ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา3ว่า“อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาว
ไทย”(ฉบับอื่นๆบัญญัติว่า
อานาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย)แต่ข้อความนี้ก็ไม่มีในP
rogramของพรรคปกครองในขณะนั้น
จึงไม่มีระบอบประชาธิปไตยเช่นกันรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยท
าหน้าที่รักษาระบอบประชาธิปไตย
ไม่ได้ทาหน้าที่สร้างระบอบประชาธิปไตยสิ่งทาหน้าที่สร้างระบอ
บประชาธิปไตยคือProgramประชาธิปไตยเมื่อไม่มี Program
ประชาธิปไตยก็จะไม่มีระบอบประชาธิปไตยและเมื่อไม่มีระบอบ
ประชาธิปไตย ถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยก็มีไว้เฉยๆ
ไม่ได้ใช้คุ้มครองรักษาสิ่งใดรัฐธรรมนูญบ้านเราจึงไร้ความหมา
ยจะต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาก่อน
แล้วจึงจะมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยขึ้นมาทาหน้าที่คุ้มครองรัก
ษาระบอบประชาธิปไตยนั้นได้ ข้อนี้ท่านส.ส.
ท่านหนึ่งก็พูดไว้ถูกต้องคือดร.เกษมศิริสัมพันธ์นั้นแหละเขียนไว้
อีกตอนหนึ่งว่า“ปัญหาที่ว่า
ทุกวันนี้เราตัดสินใจกันหรือยังว่าเราเป็นประชาธิปไตยกันโดยแ
น่แท้ ถ้าเรามั่นใจในเรื่องนี้
เราก็ลงมือเป็นประชาธิปไตยกันได้เลย
แล้วเราจะมีรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาเอง”การตั
ดสินใจเป็นประชาธิปไตยก็คือ
การตัดสินใจทาการปฏิวัตินั่นเองกองทัพบกทาการปฏิวัติอยู่แล้ว
ถ้าท่านส.ส. ผู้มีเกียรติตัดสินใจร่วมทาการปฏิวัติกับกองทัพบก
การพูดของกระผมวันนี้ก็ประสบความสาเร็จขอรับการสร้างประ
ชาธิปไตยในประเทศไทยเหตุแห่งความล้มเหลวการตั้งหัวเ
รื่องว่า“เหตุแห่งความเหลวของการสร้างประชาธิปไตยในประเท
ศไทย”
มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาต่างๆของการส
ร้างประชาธิปไตย
เพราะประเทศเราประสบความล้มเหลวในการสร้างประชาธิปไต
ยจึงต้องรู้เหตุแห่งความล้มเหลว
การรู้เหตุแห่งความล้มเหลวของการสร้างประชาธิปไตยจะเป็นจุ
ดเริ่มต้นที่จะนาไปสู่ความเข้าใจในปัญหาต่างๆ
ของการสร้างประชาธิปไตยอันจะนาไปสู่ความสาเร็จของประชา
ธิปไตยในประเทศเรา
11.
นาไปสู่ความสาเร็จของการทาให้ประเทศเราเป็นประชาธิปไตย
คาว่า“ประชาธิปไตย”มีความหมายหลายนัย
เช่นหมายถึงเสรีภาพก็ได้ หมายถึงระบอบประชาธิปไตยก็ได้
หมายถึงการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ได้
แต่เมื่อพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยย่อมหมายถึงการสร้างการ
ปกครองแบบประชาธิปไตย
หรือเมื่อพูดถึงการทาประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยย่อมหมา
ยถึงการทาให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย
ไม่หมายถึงประชาธิปไตยในความหมายอย่างอื่นเราพูดถึงอังกฤ
ษฝรั่งเศสสหรัฐญี่ปุ่นฯลฯว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย
ย่อมหมายความว่าประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิป
ไตย
และการที่ประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือ
เป็นประเทศประชาธิปไตยก็เพราะสร้างประชาธิปไตยสาเร็
จหรือทาให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยสาเร็จการที่ประเทศจะเป็
นประชาธิปไตยได้นั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นขึ้นมาได้เฉยๆ
แต่จะต้องสร้างประชาธิปไตยขึ้นมาและต้องสร้างประชาธิปไตย
ให้สาเร็จด้วยถ้าไม่สร้างประชาธิปไตยให้สาเร็จ
ก็ไม่มีทางที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้
เราคนไทยต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย
แต่เราไม่สร้างประชาธิปไตยแม้กระทั่งไม่พูดถึงการสร้างประชา
ธิปไตยหรือถ้าจะพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยบ้าง
เช่นภายหลังที่คณะรสช.เข้าควบคุมอานาจก็กลับหมายถึงการส
ร้างสิ่งอื่นที่มิใช่การสร้างประชาธิปไตย
เช่นหมายถึงการสร้างรัฐธรรมนูญเป็นต้นเมื่อเราสร้างรัฐธรรมนู
ญก็ได้รัฐธรรมนูญ
ไม่สร้างประชาธิปไตยก็ไม่ได้ประชาธิปไตยอยากได้ประชาธิปไ
ตยแต่ไปสร้างรัฐธรรมนูญ
ก็เหมือนอยากได้ข้าวแต่ไปปลูกถั่วเรานึกถึงแต่การสร้างรัฐธรร
มนูญพูดถึงแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ
และรู้จักแต่การสร้างรัฐธรรมนูญเราไม่นึกถึงการสร้างประชาธิป
ไตยไม่พูดถึงการสร้างประชาธิปไตย
และไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตย
ถ้าไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตยก็จะไม่มีการสร้างประชาธิปไต
ยก็ไม่มีทางที่ประเทศเราจะเป็นประชาธิปไตยได้ ฉะนั้น
จึงเป็นหน้าที่ของผู้รู้ทั้งหลายที่จะต้องช่วยกันทาให้ประชาชนแ
ละผู้ปกครองรู้จักการสร้างประชาธิปไตย
ดูเหมือนคนรุ่นใหม่จะไม่มีใครรู้เอาเสียเลยว่าเมืองไทยเคยมีการ
สร้างประชาธิปไตยคนรุ่นเก่า 70-80 ปีเคยเห็น
แต่ก็คงลืมกันไปแล้วเพราะทิ้งช่วงมาถึง60 กว่าปี
เพิ่งจะมาพูดกันใหม่ถึงการสร้างประชาธิปไตยเมื่อไม่กี่เดือนมา
นี่เอง แล้วก็มักจะพูดอย่างไม่ตรงความหมายอีกด้วยฉะนั้น
จึงจาเป็นที่กระผมจะต้องขอนาเอาประวัติศาสตร์มาทบทวน“การ
สร้างประชาธิปไตย”นั้นเป็นคาธรรมดา
ถ้าเป็นศัพท์เรียกว่า“การสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไต
ย”
ตามพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระราชบันทึกถึงคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวัน
ที่26 ธันวาคม2477 ตอนหนึ่งมีข้อความว่าก่อนอื่นหมด
ข้าพเจ้าขอชี้แจงเสียโดยชัดเจนว่าเมื่อพระยาพหลฯและคณะผู้ก่
อการฯ
ร้องขอให้ข้าพเจ้าคงอยู่ครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภา
ยใต้รัฐธรรมนูญข้าพเจ้าได้ยินดีรับรอง
ก็เพราะเข้าใจและเชื่อมั่นว่าคณะผู้ก่อการต้องการจะสถาปนากา
รปกครองแบบประชาธิปไตยหรือDemocratic Government
และตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัช
กาลปัจจุบันพระราชทานแก่คณะรัฐมนตรีชุดนายสัญญา
12. ธรรมศักดิ์ภายหลังกรณี 14ตุลาคมในวันเข้าเฝ้
าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่16 ตุลาคม2516 ตอนหนึ่งว่า
“…จัดให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพข
องประเทศชาติ”แม้ในพระราชวโรกาสอื่นๆ
ก็ทรงใช้คาว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยทั้งสิ้นเป็นต้นและ
จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงใช้คา
DemocraticGovernment
กากับคาว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย เพื่อป้
องกันความสับสนเพราะคาว่าประชาธิปไตยมีความหมายหลาย
นัยดังกล่าวแล้ว
(กระผมอาจต้องขอใช้คาอังกฤษกับคาไทยบางคาตามความจาเ
ป็นด้วย)การที่จะเข้าใจพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเ
ด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสถาปนาการปกครองแบบประช
าธิปไตยหรือการสร้างประชาธิปไตยนั้น
จะต้องย้อนกลับไปสู่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระม
งกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งขอยกข้อเท็จจริงมาเป็นตัวอย่างดังนี้พระบาทสมเด็จพระปกเ
กล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2470
เป็พระราชบันทึกถึงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่น
ดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีข้อความ
ในตอนต้นว่า“เมื่อข้าพเจ้ากลับจากยุโรปครั้งหลังนี้ในพ.ศ.2467
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดาริว่า
ข้าพเจ้ามีอายุมากพอสมควรจะเล่าเรียนประเพณีการปกครองบ้า
นเมืองและราชการแผ่นดิน
เพื่อจะได้สามารถฉลองพระเดชพระคุณได้ตามโอกาสจึงทรงพร
ะกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพระยามหิธรนาหนังสือราชการมาให้ข้าพเจ้าอ่านและศึก
ษา
ทั้งนี้เป็นพระราชประเพณีมาแต่เดิม“ในบรรดาหนังสือที่เจ้าพระ
ยามหิธรได้นามาให้ข้าพเจ้าอ่านนั้น
มีพระราชดารัสของพระพุทธเจ้าหลวงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแ
ก้ไขการปกครองแผ่นดิน
เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านพระราชดารัสนี้แล้วรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่สาคั
ญอย่างยิ่ง
ทั้งทาให้ข้าพเจ้ารู้สึกเพิ่มพูนความเลื่อมใสในพระปรีชาสามารถ
และพระบารมีของพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งขึ้นอีก
ทาให้ความนับถือในพระองค์ซึ่งข้าพเจ้ามีอยู่แล้วเต็มหัวใจให้ห
นักแน่นเต็มตื้นมากขึ้นอีกด้วย“พระราชดารัสนี้ได้ทรงเรียบเ
รียงอย่างรอบคอบที่สุดแสดงให้เห็นชัดว่า
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระปรีชารอบรู้ในรัฐประศาสน์ป
ระเพณีการปกครองของไทยอย่างเก่าเป็นอย่างดี
และส่วนการประเพณีการปกครองอย่างที่นิยมกันอยู่ในทวีปยุโร
ปได้ทรงศึกษาทราบหลักการโดยตลอด
พระราชดารัสนี้จึงเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในการปกครองของปร
ะเทศสยามเป็นอย่างดียิ่ง“พระราชดารัสนี้
นอกจากจะให้ความรู้อันดียิ่งดังกล่าวมาแล้วยังทาให้ทราบในพ
ระราชหฤทัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอย่างดีว่า
พระองค์ท่านมิได้นึกถึงสิ่งอื่นเลยนอกจากความสุขของประชาช
นและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง
เป็นหลักสาคัญในการที่จะทรงพระราชดาริกิจการใดๆทั้งปวง“ก
ารเปลี่ยนแปลงการปกครองจากแบบเดิมตั้งเป็นกระทรวง 12
กระทรวงนี้ต้องนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงซึ่งเรี
ยกได้อย่างพูดกันธรรมดาว่า “พลิกแผ่นดิน”
ถ้าจะเรียกตามภาษาอังกฤษก็ต้องเรียกว่า
13.
“เรโวลูชั่น”“การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงดังนี้มีน้อยประเทศ
นักที่จะทาสาเร็จไปได้โดยปราศจากการจลาจลหรือจะว่า
ไม่มีเลยก็เกือบจะว่าได้
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเหมือนอ
ย่างประเทศสยาม
แต่หาดาเนินการโดยสงบราบคาบอย่างประเทศสยามไม่ยังมีการ
จลาจลในบ้านเมืองเช่นกบฏสัตสุมา
เป็นต้น“การที่ประเทศสยามได้เปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองอย่าง
เรโวลูชั่นได้โดยไม่ต้องมีใครเสียเลือดเสียเนื้อ
แม้แต่หยดเดียวดังนี้ต้องนับว่าเป็นมหัศจรรย์ต้องเป็นโชคดีของ
ประเทศสยามเป็นอย่างยิ่ง
การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมขัดกับประโยชน์ของบุคคลบางจาพวก
จึงยากที่จะสาเร็จได้โดยราบคาบ“การที่การเปลี่ยนแปลงอย่างนี้
รัฐบาลในประเทศสยามได้ทาไปโดยราบคาบ
เพราะเรโวลูชั่นของเรานั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ทรงริเริ่ม
ประกอบกับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงพระปรีชาสามารถยิ่
งกว่าผู้ใดทั้งหมดในเวลานั้น ทั้งมีพระอัธยาศัยละมุนละม่อม
ทรงสามารถปลูกความจงรักภักดีในชนทุกชั้นที่ได้เข้าเฝ้
าใกล้ชิดพระองค์แม้แต่เพียงครั้งเดียว“สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ทร
งเล็งเห็นกาลภายหน้าอย่างชัดเจนและทรงทราบกาลที่ล่วงไปแ
ล้วเป็นอย่างดีได้ทรงพระราชดาริตริตรองโดยรอบครอบ
ได้ทรงเลือกประเพณีการปกครองทั้งของไทยเราและของต่างปร
ะเทศประกอบกันด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งยวด
ได้ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองเป็นลาดับมาล้วนเหม
าะกับเหตุการณ์และเหมาะกับเวลาไม่ช้าเกินไป
ไม่เร็วเกินไป”นี่คือข้อความส่วนหนึ่งของพระราชหัตถเลขาของ
สมเด็จพระปกเกล้าฯ
กล่าวถึงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินของพระ
บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนอื่นพึงสังเกตว่า
สมเด็จพระปกเกล้าฯทรงใช้คาว่าเรโวลูชั่นซึ่งในเวลานั้นใช้ทับ
ศัพท์ Revolution เพราะยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ว่า “ปฏิวัติ”
การบัญญัติศัพท์Revolution
ว่า“ปฏิวัติ”นั้นเพิ่งจะมีขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง24
มิถุนายน 2475
แต่ประชาชนยอมรับคาว่า“ปฏิวัติ”สมัยต้นรัชกาลที่5
ไม่มีการบัญญัติศัพท์ใช้ทับศัพท์แทบทั้งสิ้นเช่น
เอกเสกคิวตีฟปรีเมียรีเยนต์ลิยัสเลตีฟรีฟอมปาลีเมนต์เป็นต้นและ
คาว่า “รัฐประหาร”
ก็เพิ่งบัญญัติศัพท์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง24
มิถุนายน2475 เช่นกันก่อนหน้านั้นคณะราษฎรเรียกCup d’
etatเป็นคาไทยธรรมดาว่า“การยึดอานาจอย่างฉับพลัน”
ซึ่งคณะราษฎรนามาใช้เป็นวิธีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
24 มิถุนายน
และต่อมามีผู้เลียนแบบคณะราษฎรทารัฐประหารกันบ่อยๆและเอ
าการรัฐประหารไปปะปนกับการปฏิวัติ
ทาให้เกิดความสับสนระหว่าง2สิ่งนี้กลายเป็นอคติต่อการปฏิวัติ
เข้าใจว่าการปฏิวัติเป็นสิ่งที่ไม่ดีเช่นเดียวกับการรัฐประหารกระ
ทั่งเห็นการปฏิวัติเป็นการรัฐประหารไปเลยทีเดียว
ตามที่พูดกันว่า“ปฏิวัติรัฐประหาร”เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเก
ลียดชังต่อการปฏิวัติ
ถึงกับนักวิชาการเกิดความกลัวที่จะใช้คาว่าปฏิวัติทาให้เป็นนัก
วิชาการที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อหลักวิชาไป(ครั้งหนึ่งกระผมพูดว่า
“ไม่ทารัฐประหารแต่ไม่ปฏิเสธที่จะทาการปฏิวัติ”ก็มีเสียงโจมตีก
ระผมเป็นการใหญ่)
จึงขอให้เรายึดถือหลักวิชาโดยจาแนกการปฏิวัติกับการรัฐประ
หารอย่างถูกต้องว่าการปฏิวัติเป็นของดี
การรัฐประหารเป็นของไม่ดีและการรัฐประหารจะเป็นของดีก็ต่อ
เมื่อการรัฐประหารเพื่อการปฏิวัติเท่านั้น
14.
แต่สาหรับประเทศไทยแล้วไม่มีความจาเป็นที่จะต้องใช้การรัฐป
ระหารเพื่อทาการปฏิวัติ
เราสามารถทาการปฏิวัติได้โดยไม่ต้องทาการรัฐประหาร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือตัวอย่างยอดเยี่ยมข
องผู้ทาการปฏิวัติโดยไม่ต้องทารัฐประหารดั่งพระราชหัต
ถเลขาของสมเด็จพะรปกเกล้าฯที่ยกมาในตอนต้นว่า
“การเปลี่ยนแปลงอย่างนี้
รัฐบาลในประเทศสยามได้ทาไปโดยราบคาบเพราะเรโวลูชั่นขอ
งเรานั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ทรงริเริ่ม”ด้วยเหตุนี้
จึงมีผู้รู้หลายท่านได้ถวายพระสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระจุ
ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็น “นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่”เช่น
พล.ต.มรว.คึกฤทธิ์ปราโมชและหลวงวิจิตรวาทการเป็นต้นและส
มเด็จพระปกเกล้าฯ
ก็ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทาการปฏิวัติโดยไม่ทารัฐประหา
รดั่งปรากฏในพระราชหัตถเลขาอีกตอนหนึ่งว่า
“ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับสืบราชสมบัติจากพระบาสมเด็จพระมงกุฎเก
ล้าฯ
ข้าพเจ้าก็คิดการที่จะบันดาลให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปได้โด
ยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นไปได้”และด้วยเหตุนี้
เมื่อคณะราษฎรได้ทาการปฏิวัติด้วยวิธีรัฐประหารเมื่อวันที่24มิถุ
นายน2475
จึงได้เป็นไปโดยปราศจากการเสียเลือดเนื้อด้วยพระบารมีที่พระ
ราชทานความร่วมมือและความช่วยเหลือ
มิฉะนั้นแล้วจะต้องเกิดการจลาจลเป็นกลียุคอย่างแน่นอนกระผม
จึงขอให้นักวิชาการ
นักการเมืองและประชาชนขจัดความสับสนระหว่างการปฏิวัติกับ
การรัฐประหาร
ซึ่งเป็นการขจัดอวิชชาทางการเมืองที่สาคัญประการหนึ่งในประ
เทศเราพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ที่ยกมานี้คือการอธิบายRevolution
หรือการปฏิวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และการปฏิวัติในประเทศที่ยังมีการปกครองสมบูรณาญาสิทธิรา
ชย์หรือการปกครองแบบเผด็จการรูปใดรูปหนึ่งนั้น
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบเผด็จการให้เป็นการ
ปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มสถาปน
าการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยพูดง่ายๆ
ว่าทรงริเริ่มสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยนั่นเอง
(กระผมขอยกเอารูปธรรมแห่งพระราชกรณียกิจการสถาปนากา
รปกครองแบบประชาธิปไตยขั้นตอนต่างๆ
ของพระองค์ท่านมากล่าวในการปาฐกถาครั้งนี้พอเป็นสังเขป)
เริ่มด้วยการดึงเอาพระราชอานาจกลับคืนมาตั้งแต่เมื่อเสด็จเถลิง
ถวัลยราชสมบัติใหม่ๆ
ด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้พระราชอานาจนั้นสถาปนากา
รปกครองแบบประชาธิปไตย
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

Contenu connexe

Similaire à การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย Phichai Na Bhuket
 
แนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมแนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมJinwara Sriwichai
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมyyyim
 
วิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาวิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาChariyakornkul
 
Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52wimvipa39
 
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceff
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceffB2e11e1b9030c180a860a8450d5eceff
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceffphasit39910
 
วิชาสังคม
วิชาสังคมวิชาสังคม
วิชาสังคมsupamatinthong
 

Similaire à การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร (20)

Social onet
Social onetSocial onet
Social onet
 
Social onet
Social onetSocial onet
Social onet
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
Ps0005584
Ps0005584Ps0005584
Ps0005584
 
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
 
แนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมแนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคม
 
เบญจศีล
เบญจศีลเบญจศีล
เบญจศีล
 
Q social o net
Q social o netQ social o net
Q social o net
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
1
11
1
 
วิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาวิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษา
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52
 
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceff
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceffB2e11e1b9030c180a860a8450d5eceff
B2e11e1b9030c180a860a8450d5eceff
 
3
33
3
 
วิชาสังคม
วิชาสังคมวิชาสังคม
วิชาสังคม
 

Plus de Thongkum Virut

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัยThongkum Virut
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)Thongkum Virut
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยThongkum Virut
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณThongkum Virut
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริThongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรThongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการThongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูThongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกThongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยThongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยThongkum Virut
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยThongkum Virut
 

Plus de Thongkum Virut (20)

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
 
All10
All10All10
All10
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
 

การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร