SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  73
Télécharger pour lire hors ligne
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
63
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์
ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders)
จัดทำโดย
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APR Center)
กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ISBN : 974-8071-69-3
คู่มือ การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์
ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders)
จัดทำโดย
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APRM Center)
กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ISBN : 974-8071-69-3
ชื่อหนังสือ
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์: ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders)
ผู้เขียน
นายแพทย์ชำนาญ ชอบธรรมสกุล พบ. (เกียรตินิยม) วว. (ตจวิทยา)
หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ( ISBN )
ISBN974-8071-69-3
พิมพ์ครั้งที่ 1: มกราคม พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 2: เมษายน พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 3: กันยายน พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 4: กรกฎาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม
จัดพิมพ์โดย
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APRM Center)
กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ถ. ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-7261 โทรสาร 0-2590-7253
Email address: adr@fda.moph.go.th
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
I
ปัจจุบันศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงาน
อาการอันไม่พีงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ส่งมาจากศูนย์เครือข่ายเข้ามาเป็นจำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็น
รายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา) และจำนวนรายงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปีเป็นลำดับมา
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 ถึง ปี พ.ศ. 2540 ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ได้รับรายงานรวมทั้งสิ้น 23,905 ฉบับ
มีจำนวนอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ รวม 46,173 รายการ และพบอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง
เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ถึง 21,645 รายการ คิดเป็นร้อยละ 46.17 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2540
ได้รับรายงานทั้งสิ้น 4,434 ฉบับ พบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ จำนวน 7,227 รายการ เป็นอาการ
อันไม่พึงประสงค์ฯที่ระบบผิวหนัง จำนวน 4,105 รายการ คิดเป็น 56.80% ของอาการที่พบทั้งหมด
เนื่องจากอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ที่เกิดขึ้นทางระบบผิวหนังนี้เป็นอาการที่พบมากที่สุด และมีลักษณะอาการที่
แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันหลากหลาย ซึ่งในบางครั้งยากต่อการวินิจฉัยแยกแยะ หรือระบุชื่ออาการได้ชัดเจน
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดย กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
จึงได้ขอความร่วมมือจาก นพ. ชำนาญ ชอบธรรมสกุล จากโรงพยาบาลราชวิถี ในการจัดทำหนังสือ
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ : ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders)
ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำหรับบุคลาครทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้ในการวินิจฉัย และช่วยอำนวย
ความสะดวกในการระบุอาการอันไม่พึงประสงค์ฯที่ระบบผิวหนังที่เกิดได้ชัดเจนมากขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการรักษา
และช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้กรอกแบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ สามารถนำไปใช้ในการติดตาม
อากการอันไม่พึงประสงค์ฯให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรับปรุง
ระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะด้านาการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอขอบพระคุณ นพ.ชำนาญ ชอบธรรมสกุล
หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ไว้เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่าน ให้ความ
ร่วมมือในการจัดทำหนังสือฉบับนี้ เป็นคู่มือในการใช้วินิจฉัย และระบุอาการอันไม่พึงประสงค์ ให้เป็นไปในแนว
ทางเดียวกัน หากท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือปรับปรุง ทางศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ยินดีที่จะรับ
มาพิจารณา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คำนำ
II
สารบัญ
หน้า
คำนำ I
สารบัญ II
สารบัญตาราง III
สารบัญรูปภาพ IV
บทที่ 1 : บทนำ 1
บทที่ 2 : พยาธิกำเนิด (Pathogenesis) 5
บทที่ 3 : ลักษณะของผื่นแพ้ยาชนิดต่างๆ 10
⇒ Maculo-papular rash 10
⇒ Urticaria (ผื่นลมพิษ) 19
⇒ Fixed drug eruptin ( EM ) 25
⇒ Erythema multiforme 27
⇒ Toxic epidermal necrolysis ( TEN หรือ Lyell’s syndrome) 35
⇒ Exfoliative dermatitis ( Erythroderma ) 39
⇒ Eczematous drug eruption 45
⇒ Acneiform drug eruption 46
⇒ Drug-induced alopecia 47
⇒ Drug-induced hyperpigmentation 48
⇒ Photosensitive drug eruption 48
⇒ Erythema nodosum 53
⇒ Vasculitis 54
⇒ Bullous eruption 57
บทที่ 4 : การวินิจฉัย 59
บรรณานุกรม 62
III
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงการเปรียบเทียบอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่เกิดกับระบบผิวหนัง 3
2 แสดงกลุ่มยาที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ 4
3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-popular rash 10
4 แสดงรายชื่อยาที่มักทำให้เกิดไข้ 14
5 แสดง Reaction rate สำหรับยาบางชนิดที่ได้รับโดยผู้ป่ายมากกว่า 500 ราย 15
6 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Urticaria 19
7 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Fixed drug eruption 25
8 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Erythema multiforme 27
9 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด TEN (Lyell’s syndrome) 36
10 แสดงสาเหตุอื่นๆที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด TEN (Lyell’s syndrome) 36
11 แสดงข้อแตกต่างระหว่าง TEN และ SSSS 38
12 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Exfoliative dermatitis or Erythroderma 40
13 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Eczema 45
14 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Acne and Pustules 46
15 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิว 48
16 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าทำให้เกิด Phototoxic reactions 49
17 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Photoallergic reactions 49
18 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Erythema nodosum 53
19 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Vasculitis 54
20 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Bullous eruption 57
IV
สารบัญรูปภาพ
รูปที่ หน้า
1,2,3และ4 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด ประกอบด้วยผื่นราบ (macule)
และ ตุ่มนูน (papule) ผื่นมักรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่บริเวณลำตัว
5 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด จากการขยายตัวอย่างมาก
ของเส้นเลือด ทำให้อาจมีลักษณะคล้ายมีเลือดออกใต้ผิวหนัง (purpula)
6 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นที่ประกอบด้วยตุ่มนูนเกือบทั้งหมด
(papular eruption)
7 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายที่พบในหัดเยอรมัน (rubelliform rash)
ประกอบด้วยผื่นขนาดเล็กจำนวนมาก ปะปนกับตุ่มนูน ขนาดเล็ก ผื่นมักไม่รวมกัน
8,9,10และ11 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายที่พบในหัด (marbelliform rash)
ผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่า rubelliform rash แต่มักจะรวมกันเป็นปื้น
12 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal)
มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณแขน
13 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal)
มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณลำตัว
14 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal)
มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณใบหน้า
15 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ชนิดลึก ที่เกิดใต้ผิวหนัง (angioedema) ที่บริเวณแขน
มีลักษณะแขนบวม นูนและคัน
16 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ชนิดลึก ที่เกิดใต้ผิวหนัง (angioedema) ที่บริเวณอวัยวะเพศ
17 แสดง ผื่นลมพิษ erythema annulare centrifugum ลักษณะเป็น ผื่นแดง วงกลม
หลายวงซ้อนกัน และปรากฎอยู่นานกว่าปกติ
18 แสดง Fixed drug eruption ที่บริเวณริมฝีปาก ลักษณะเป็นรอยดำ เมื่อผื่นหายอักเสบแล้ว
19 แสดง Fixed drug eruption ที่บริเวณขา ลักษณะเป็นผื่นรูปร่างกลม สีแดงจัด ตรงกลางของผื่น
จะมีสีแดงจัด จนออกม่วง
20,21และ22 แสดง Fixed drug eruption ที่ผู้ป่วยมีการแพ้ยาซํ้าๆจนมีผื่นขึ้นเป็นจำนวนมาก
17
17
17
18
18
23
23
23
23
23
23
24
24
24
V
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)
รูปที่ หน้า
23,24,25และ26 31
27 31
28และ29 32
30,31 และ 32 32
33 32
34,35 และ 36 33
37 และ 38 33
39 และ 40 33
41 33
42 และ 43 41
44,45,46และ47 41
48,49 และ 50 42
51 42
52 43
53,54,55และ56 43
57 และ 58 44
แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็น target lesion ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ
ผื่นชนิดนี้ ลักษณะจะคล้ายเป้าธนู เป็นผื่นสีแดงตรงกลางจะมีสีเข้มจัด หรือเป็นตุ่มพอง
ล้อมรอบด้วย ชั้นที่มีสีซีดจางลง
แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็นแผลริมฝีปาก
แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็นแผลริมฝีปากและเยื่อบุตา
แสดง Erythema multiform (EM) ที่บริเวณลำตัว แขน ขา ลักษณะเป็นผื่นแดง
ตรงกลางผื่น มีสีคลํ้าจากการแพ้ยา Amoxycilin หรือ Mefenamic acid
แสดง Erythema multiform (EM) ที่บริเวณฝ่ามือ
แสดง Stevens Johnson syndrome ที่เกิดจากการแพ้ยา Carbamazepine
แสดง ผู้ป่วยรายเดียวกัน ที่หายจากอาการ Stevens Johnson syndrome 2 สัปดาห์หลัง
การรักษา รอยโรคหายดี เหลือแต่รอยจางๆ
แสดง Toxic epidermal necrolysis (TEN) จากการแพ้ยา Phenytoin ลักษณะผิวหนังหลุด
ลอกเป็นแผ่นขนาดใหญ่และตุ่มนํ้าพอง
แสดง Toxic epidermal necrolysis (TEN) แสดงรอยโรคอย่างรุนแรงบริเวณเยื่อบุตาและ
ริมฝีปาก
แสดง Exfoliative dermatitis จากการแพ้ยา Cotrimoxazole ผิวหนังจะแห้งและหลุดลอก
ออกเป็นขุยๆทั่วไป บางแห่งอาจมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม และตกสะเก็ด
แสดง Exfoliative dermatitis จากการแพ้ยา Hyderchlorothiazide
แสดง Eczematous drug eruption ลักษณะเป็นผื่นแดงและคัน มีนํ้าเหลือง ไหลเยิ้ม
จากการแพ้ยา Piroxicam ผื่นกระจายทั่วร่างกาย
แสดง Eczematous drug eruption เป็น contact dermatitis จากการทายาผงเพื่อรักษาสิว
ที่ประกอบด้วยตัวยา Sulfanilamide
แสดง Eczematous drug eruption เป็น contact dermatitis จากการทายา Diclofenac
ผู้ป่วยรายนี้เคยมีประวัติแพ้ยา Diclofenac ชนิดรับประทานมาแล้วโดยเป็นผื่นชนิดEczema
แสดง Eczematous drug eruption จากการแพ้ยา Chlorpropamide
แสดง Steroid acne ที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานยา Prednisolone ประมาณ 2
สัปดาห์หลังได้รับยา ลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดใกล้เคียงกัน จำนวนมากบริเวณลำตัว ผื่น
ลดลงภายหลังหยุดยา
แสดง Pastular drug eruption จากการแพ้ยา Cotrimoxazole เป็นตุ่มหนองขนาดเล็ก
จำนวนมากที่บริเวณลำตัว
แสดง Anagen effluvium จากการได้รับยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด
แสดง Anagen effluvium จากการรับประทานยาสมุนไพร
แสดง Drug-induced hyperpigmentation จากการรับประทานยา Clofazimine จะพบ
บริเวณที่รอยโรคปรากฏอยู่ก่อน โดยจะพบว่าผิวหนังเปลี่ยน เป็นสีนํ้าตาล โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งบริเวณที่โดยแสงแดด อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดยา
แสดง ฝ้า (Melasma) ที่เป็นมากขึ้นภายหลังรับประทานยาคุมกำเนิด
แสดง Hyperpigmentation ที่เกิดจากการรับประทานยาหม้อ ที่มีส่วนผสมของสารหนู
เป็นเวลานาน ผิวหนังจะมีจุดสีนํ้าตาลกระจายทั่วไป ปะปนกับจุดสีขาว
แสดง Hyperpigmentation ที่บริเวณหลังเท้า ที่เกิดในผู้ป่วยที่ได้รับยา
Cyclophosphamide
แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Amiodarone ผู้ป่วยรับประทานยา
ประมาณ 4 เดือนก่อนสังเกตุเห็นผื่นเป็นปื้นสีนํ้าตาลบริเวณใบหน้า หน้าอกตอนบน
จากการตรวจทางพยาธิวิทยาของผิวหนัง พบ pigment ในผิวหนังเป็นจำนวนมาก
แสดง Phototoxic dermatitis จากการแพ้แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมของมะกรูด โดยผู้
ป่วยสระผมกลางแจ้งที่มีแสงแดด
แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Diclofenac ผื่นที่ปรากฏ จะมีลักษณะ
เหมือน Eczema แต่จะพบเฉพาะบริเวณที่โดนแสงแดด
แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Diclofenac gel ที่บริเวณหลังมือ ผู้
ป่วยมีอาชีพขี่รถจักรยานยนต์ส่งของ
แสดง Erythema nodosum ลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง มีอาการเจ็บบริเวณหน้าแข้ง เมื่อ
หายแล้วจะเหลือรอยดำ
แสดง Allergic vasculitis จากการแพ้ยา Hydrochlorothiazide ลักษณะเป็น Palpable
purpura ที่บริเวณหน้าแข้ง
แสดง Progressive pigmentary dermatosis ลักษณะเป็นผื่นสีนํ้าตาลที่บริเวณขาทั้ง 2
ข้าง ผื่นมักจะลามขึ้นข้างบน ยาอาจเป็นสาเหตุได้
แสดง Bullous drug eruption จากการแพ้ยา Furosemide เกิดตุ่มนํ้าพอง มีอาการร้อน
ที่ผิวหนัง ประมาณ 6 ชั่วโมง ภายหลังการฉีดยา
VI
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)
รูปที่ หน้า
59
60
61
62
63
64 และ 65
66
67 และ 68
69
70,71 และ 72
73
74
75 และ 76
77 และ 78
79
44
44
44
51
51
51
51
52
52
52
52
55
55
55
56
V
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)
รูปที่ หน้า
80 แสดง Bullous drug eruption จากการรับประทานยา Meladinine เพื่อรักษาโรคด่างขาว 56
เป็นปฏิกิริยา Phototoxic reaction ที่มากเกินไป
81 แสดง Bullous pimphigoid-like eruption จากการแพ้ยา NSAID 56
82 แสดง Lichenoid drug eruption จาก diuretic ลักษณะเป็น ผื่นสีออกม่วง รูปร่างกลม 56
มีขอบหยักๆ คล้าย lichen planus
83 และ 84 แสดง Folliculitis ที่เกิดจากการรับประทานยา Isotretinoin ประมาณ 2 สัปดาห์ 56
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
1
บทที่ 1
บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่โดยทั่วไปว่ายามีประโยชน์อันมากมายมหาศาลแต่ในขณะเดียวกันยาสามารถ
ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้มากมายเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรือ
อาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือ อาจเรียกสั้น ๆ ว่า อาการแพ้ยา
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานับวันจะเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น ทั้งความรุนแรงของอาการ
ที่เกิดขึ้นและจำนวนปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราการบริโภคยาภายในประเทศ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น
อย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเนื่องจาก
จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคน
ซึ่งแน่นอนจำนวนผู้ป่วยย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ระบบการสาธารณสุขของประเทศ ที่ประชาชนมีโอกาสเลือกหาซื้อยา เพื่อบำบัดอาการ
เจ็บป่วยของคนเองได้อย่างอิสระเสรีมากพอสมควร ร้านขายยาจำนวนมากที่ไม่มีเภสัชกร
อยู่ประจำเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มาซื้อยา
มีปริมาณยาในตลาดสูงมากขึ้นเรื่อยๆทั้งยาที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วมีผู้ผลิตรายอื่นเพิ่มจำนวน
ขึ้น หรือมีการผลิตยาใหม่ออกสู่ท้องตลาด รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาแต่มีคุณสมบัติในการรักษา
อาการเจ็บป่วย
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สามารถเกิดได้กับทุกๆส่วนของร่างกาย แต่ระบบผิวหนัง
จัดเป็นอวัยวะที่จะได้รับผลดังกล่าวมากที่สุด ดังสถิติที่รายงานโดยศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จาก
การใช้ยา กระทรวงสาธารณสุข
ปี ค.ศ. 1993 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 2,303 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 54.44%
ปี ค.ศ. 1994 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 3,360 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 51.24%
ปี ค.ศ. 1995 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 3,901 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 47.38%
ปี ค.ศ. 1996 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 4,352 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 28.81%
เพราะฉะนั้น แพทย์พยาบาลเภสัชกร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์
จากการใช้ยา จำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่เกิดกับระบบผิว
หนัง เพื่อจะได้มีส่วนช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และทำให้การรายงานและการติดตามอาการอัน
ไม่พึงประสงค์ฯ มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
คำจำกัดความ
องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาไว้ดังนี้ “ เป็น
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ และเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ อันเกิดจากการใช้ยา และเกิดขึ้นเมื่อใช้ยา
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2
ในขนาดปกติเพื่อการป้องกันวินิจฉัย รักษาหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยไม่รวมปฏิกิริยาที่
เกิดจากการใช้ยาเกินขนาด โดยทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ การใช้ยาในทางที่ผิด หรือการใช้ยาโดยผิดวิธี”
อุบัติการของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาที่เกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจะมีประโยชน์มาก
ในการประเมินขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ใช้คำนวณอัตราการเกิดการแพ้ยาสำหรับยาแต่ละชนิด
และอาจช่วยบอกอาการข้างเคียงบางชนิดที่เกิดจำเพาะกับยาบางชนิดได้
อุบัติการอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละรายงาน ทั้งนี้อาจ
เนื่องจากสาเหตุหลายประการ อาทิเช่น
ความแตกต่างของประชากรที่ทำการศึกษา อันจะมีผลที่ทำให้มีความแตกต่างกัน ในด้าน
ลักษณะการบริโภคยา มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแตกต่างกัน เช่น ตัวยาชนิดหนึ่งอาจมีการใช้อย่างมากใน
ประเทศหนึ่ง แต่ในอีกประเทศอาจมีการใช้ยาน้อยกว่ามาก
ลักษณะของการศึกษาในแต่ละรายงานแตกต่างกัน บางรายงานอาจทำการศึกษาเฉพาะผู้ป่วย
ที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ง่าย
บางรายอาจเป็นการศึกษาเฉพาะผู้ป่วย นอก บางรายอาจเป็นการศึกษาเฉพาะผู้ป่วยบางโรค
ส่วนมากรายงานจะเป็นจากต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆในประเทศ
ไทย แต่ปัจจุบันก็ได้มีความพยายามปรับปรุงระบบการติดตามปัญหาดังกล่าวขึ้นในหลาย ๆ หน่วยงาน
เช่น การจัดตั้งศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา กระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งมีการรายงานผู้ป่วยที่ เกิดการแพ้ยาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวนมากจากทุกส่วนของประเทศ
จากรายงานโดย Boston Collaborative Drug Surveillance Programme ที่ได้ศึกษาในผู้ป่วย
อายุรกรรมที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างปี คศ. 1966 - 1982 จำนวน 39,665 ราย พบว่า
2% ของผู้ป่วย จะมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ที่แสดงออกทางผิวหนัง โดยอาจเป็น ผื่น
ลมพิษ หรือคันตามผิวหนัง
2 ใน 3 ของผู้ป่วย ที่มีอาการดังกล่าว เกิดจากการได้รับยา Penicillin,Sulfa,Bloodproduct
ส่วนมากอาการดังกล่าวจะเกิดภายใน 1 สัปดาห์ ภายหลังที่ได้รับยา
จากการรายงานอื่น ๆ อาจพบว่าอุบัติการการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้ป่วยที่นอน รักษา
ตัวในโรงพยาบาล อาจสูงถึง 10-20%
โอกาสในการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนของยาที่ได้
รับยา ผู้ป่วยที่ได้รับยา 6 ชนิด จะมีโอกาสในการเกิดอาการดังกล่าว ประมาณ 5% แต่ถ้าผู้ป่วยที่ได้รับยา
15 ชนิด โอกาสจะเพิ่มสูงขึ้น 40% โดยมี case-fatalito ratio อยู่ระหว่าง 2-12%
จากการศึกษาของผู้เขียน ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลราชวิถี ในช่วงระหว่างปี
พ.ศ.2536-2539 ที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่เกิดกับระบบผิวหนังจำนวน 450 ราย พบว่า
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3
2,303
4,078
2,220
687
619
184
282
117
81
63
49
26
8
13
-
4
11
19
1
56
ผู้ป่วย 87.7% จะเกิดอาการภายใน 7 วัน ภายหลังได้รับยา
ผู้ป่วย 11.7% เคยมีประวัติแพ้ยาที่เป็นสาเหตุในครั้งนี้มาก่อน
ยาที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด คือ
1. ยาในกลุ่ม Penicillin
2. Sulfa (ส่วนมากเป็น Cotrimoxazole)
3. Antituberculous drug
4. NSAID (เป็น Piroxicam มากที่สุด)
5. Phenytoin
ตารางที่1และ2เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้รับจากศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการ
ใช้ยา เปรียบกับข้อมูลศึกษาโดยผู้เขียน
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง
เมื่อดูข้อมูลจากตารางที่ 1 จะพบความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ข้อมูลจากศูนย์ติดตาม
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัย เป็น rash, rash erythematous
ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา น.พ. ชำนาญ
(1993-1996)
450
-
450
-
-
-
207 (46%)
103 (22.8)
63 (14%)
-
-
15 (33%)
-
6 (1.3%)
-
8 (1.77%)
-
-
23 (5.11%)
25 (5.55%)
19961993 1994
4,352
10,075
2,903
711
720
367
249
261
169
88
61
56
25
25
13
28
11
12
11
96
3,901
7,838
3,714
1,146
951
536
244
292
150
96
33
35
24
29
18
17
6
17
9
111
3,360
6,589
3,376
1,108
961
378
261
218
120
73
37
35
31
24
19
18
16
14
10
53
จำนวนผู้ป่วย (ราย)
จำนวนอาการอันไม่พึงประสงค์
จำนวนอาการที่ระบบผิวหนัง
Priritus
Rash
Rash, erythematous
Rash, maculo-papular
Urticaria
Fixed drug eruption
Steven-johnson syndrome
Angioedema
Erythema multiforme
Rash, purpuric
Exfoliative dermatitis
Sweating increased
Bullous
Alopecia
Toxic epidermal necrolysis
Eczema
Others
1995
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
4
2,303
54.55%
(62.06%)
(25.77%)
(7.46%)
11.32%
10.86%
1.60%
ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มนี้จะลดน้อยลงไปมาก หากได้มีการแจกแจงละเอียดลง
ไปกว่านี้หรือผู้รายงานมีความเข้าใจลักษณะของผื่นผิวหนัง เพราะผู้ป่วยในกลุ่มนี้จริง ๆ แล้วอาจเป็นผื่น
ชนิด maculo-papular rash, eczema, erythema mulitformeหรือผื่นชนิดอื่นๆ
ตารางที่ 2 แสดงกลุ่มยาที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์
จากตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มยาที่เป็นสาเหตุในการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ได้บ่อยจะมีลักษณะ
คล้ายคลึงกัน คือมียาในกลุ่ม antiinfective เป็นสาเหตุให้เกิดการแพ้ได้บ่อยที่สุด และก็คล้ายคลึงกับราย
งานอื่น ๆ ด้วย
ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา น.พ. ชำนาญ
(1993-1996)
143
97 (67.8%)
(86.6%)
-
(13.4%)
28 (19.58%)
11 (7.7%)
1995 19961993 1994
4,352
25.51%
(60.10%)
(27.70%)
(8.88%)
5.62%
4.54%
55.55%
3,901
51.71%
(59.48%)
(26.90%)
(9.64%)
9.85%
2.68%
15.65%
จำนวนผู้ป่วย (ราย)
ยาที่เป็นสาเหตุ
1. System antiinfectives
- Antiviotics
- Chemotherapeutics
- Antituberculous
(excl.streptomycin)
2. Musculo-sketetal system drugs
3. Central nervous system drugs
4. Antiparasitic drugs
3,360
52.02 %
(66.22%)
(22.52%)
(7.46%)
8.7%
9.46%
11.31%
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
5
พยาธิกำเนิดของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
I. Non-allergic adverse drug reaction
II. Allergic adverse drug reaction
I. NON-ALLERGIC ADVERSE DRUG REACTION
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมักจะไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลที่เกิดขึ้นมัก
เป็นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา อาการโดยทั่วไปมักไม่ค่อยรุนแรง แต่พบได้บ่อยกว่ามาก แบ่งออกได้เป็น
1. Exaggerated toxicity เกิดขึ้นเนื่องจากมีระดับยาในร่างกายสูงเกินปกติ จนทำให้เกิดผลข้าง
เคียง สาเหตุของการที่ระดับยาสูงเกินปกติ คือ
1) Overdose เป็นการได้รับยาเกินขนาดจริง เช่น การใช้ยาอย่างไม่ถูกวิธี การรับประทานยาผิด
ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะไม่เข้ากับคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก
2) มีการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น bioavailability
ของยา , gastro-intestinal tract , drug interaction
3) มีการกระจายตัวของยาผิดปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาตรของการกระจายตัวของยา เช่น
การ มี plasma binding protein ลดลง ทำให้มีรูปอิสระของตัวยา ซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่าง
เช่น Coumarin ที่ออกฤทธิ์มากเกินไปเมื่อใช้ร่วมกับ Phenylbutazone เพราะ Phenylbutazone
ไปแย่งจับกับ plasma binding protein ได้ดีกว่า
4) มีการขับถ่ายยาออกจากร่างกายลดลงผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย จะมีโอกาสเกิด
ผลข้างเคียง จากยาที่ต้องขับถ่ายทางปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น Digoxin , Aminoglycoside หรือผู้ป่วยที่
เป็นโรคตับก็จะมีการขับถ่ายยา เช่น Barbiturate, Phenytoin ซึ่งต้องขับออกจากร่างกายทางอุจจาระลดลง
5) ปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกัน จะมีผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยาตัวอื่นได้หลายอย่าง เช่น
bioavailability, plasma binding protein, rate of metabolism, rate of excretion, การแย่งจับที่ receptor
site, การเสริมฤทธิ์-ต้านฤทธิ์ ผลดังกล่าวนี้สามารถป้องกันได้ ถ้าแพทย์ผู้สั่งการรักษา
มีความรู้เกี่ยวกับเภสัช วิทยาของยาต่าง ๆ
2. ความผิดปกติของขบวนการ drug metabolism อันเป็นขบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงยาให้เป็น
metabolismซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์ของยาหรืออาจเป็นผลเสียต่อร่างกาย drug metabolism จะเกิดขึ้นภายใน
smooth endoplasmic reticulum โดย microsomal mixed function oxidase system ซึ่งมี cytochrome P450
เป็นenzyme ที่สำคัญในขบวนการนี้cytochromeP450เป็นenzymeที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
บทที่ 2
พยาธิกำเนิด (Pathogenesis)
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
6
(polymorphic) เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะได้รับยาในปริมาณที่เท่ากัน ก็อาจจะมี drugmetabolism ที่แตกต่างกัน
หรืออาจมี drug metabolite ในปริมาณที่แตกต่างกัน และการเกิดฤทธิ์ของยาที่แตกต่างกันได้
แผนภูมิ แสดง drug metabolism ของยา INH ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตับ
จากขั้นตอนดังกล่าวอาจใช้อธิบายขบวนการแพ้ยาหลายชนิดที่เคยถูกจัดอยู่เป็นแบบ “idiosyncrasy”
ได้ และหากสามารถพัฒนาการตรวจหาลักษณะต่างๆของ cytochromeP450ในแต่ละบุคคลได้แล้ว ก็อาจ
จะทำให้สามารถตรวจหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาได้
3. ภาวะการขาด enzyme หรือ protein ที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น
ผู้ป่วยที่มีภาวะขาด enzyme epoxide hydrolase จะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา Phenytoin ได้
ง่ายเนื่องจากepoxidehydrolaseมีหน้าที่ในการกำจัดtoxicmetabolite ของยาPhenytoinที่ชื่อว่าArylamines
ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “dilantin hypersensitivity syndrome” ผู้ป่วยจะมีไข้ หน้าบวม ต่อมนํ้าเหลืองโต
มี ผื่นเป็น maculo-papular rash จนอาจกลายเป็น toxic epidermal necrolysis ได้ มีตับอักเสบ ไตอักเสบ ปอด
อักเสบได้นอกจากPhenytoinแล้วPhenobarbiturate,Carbamazipineก็อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน
ผู้ป่วยที่มี acetylation ช้ากว่าปกติ ที่เรียกว่า “slow acetylator” จะเกิดอาการข้างเคียงจากยา
เช่น Hydralazine, Procainamide, Sulfonamide ได้ง่าย slow acetylator จะพบมากในชาวญี่ปุ่น เอสกิโม
และ อังกฤษ
ภาวะขาดหรือมีระดับของenzymeที่จำเป็นในขั้นตอนปกติบางอย่างตํ่ากว่าปกติ เมื่อได้รับ
ยาบางอย่างเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้ระดับของenzymeนั้นลดตํ่าลงไปอีกเช่นในภาวะที่เรียกว่า“Coumarin
necrosis” ผู้ป่วยมักจะเป็น heterozygote deficiency ของ protein C อยู่แล้ว ยา Coumarin จะทำให้ระดับ
ของ protein C มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด และสลายลิ่มเลือดลดตํ่าลงไปอีกจนเกิดภาวะ thrombosis
ภาวะ G-6-PD deficiency เมื่อได้รับยาบางอย่าง ก็จะมีการแตกของเม็ดเลือดแดงได้มาก
เนื่องจาก enzyme G-6-PD มีหน้าที่ป้องกัน oxidation ของเม็ดเลือดแดงโดยยาหลายชนิด
INH
Acetyl isoniazid
Acetyl hydrazine
Reactive metabolite
Hepatic molecules
Hepatic necrosis
Acetylation
Hydrolysis
Cytochrome P450
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
7
4. Anaphylactoid reaction เกิดจากการที่ยาไปทำให้เกิดอาการทางคลีนิค ในลักษณะเดียวกับ
immediate-typed hypersensitivity คือ มีผื่นลมพิษ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย ความดันโลหิตตํ่า แต่จะไม่มี
การกระตุ้นโดยใช้ IgE
1) เกิดโดยยาไปกระตุ้น mast cell โดยตรง ทำให้มีการหลั่ง Histamine เช่น Opiates,
Polymyxin B , d-Tubocurarine , Radiocontrast media
2) เกิดโดยยาไปกระตุ้น complement โดยตรง แล้วมีผลให้มีการหลั่ง mediator เช่น
radiocontrast media
3) เกิดโดยยาไปยับยั้งการสร้างprostaglandins โดยยับยั้งที่ enzyme-cyclooxygenase ผล
คือ จะมีการสร้างในอีก pathway เพิ่มขึ้น คือ leukotriene และมีผลกระตุ้น mastcell เช่น Aspirin, NSAID
5. Cumulative toxicity เกิดจากการสะสมของยา หรือ metabolite ของยาใน cell หรือใน tissue
เช่น
- Arsenic ทำให้มี diffuse macular pigment, skin cancer
- Hypervitamin A ทำให้เกิดผิวหนังหลุดลอก ผมร่วง
- Phenothiazine ทำให้เกิด slate gray pigmentation
6. Ecologic change โดยยาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ normal flora แล้วมี organism อื่น
เพิ่มจำนวนขึ้นมาแทน เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์รุนแรงเป็นระยะนานจะทำให้เกิดเชื้อราcandida
เพิ่มจำนวนในลำไส้และเยื่อบุ
7. Secondary หรือ side effect เป็นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยานั้นแต่ไม่ใช่ฤทธิ์ที่เราต้องการ เช่น
- Antihistamine ทำให้ง่วงนอน
- Systemic steroid ทำให้เกิดสิว อ้วน ติดเชื้อง่าย
- Isotretinoin ทำให้โรค psoriasis แย่ลง
- Oral contraceptive ทำให้โรค porphyria เป็นมากขึ้น
II. ALLERGIC ADVERSE DRUG REACTION
การแพ้ยาชนิดนี้ จะพบได้น้อยกว่า แต่อาการที่เกิดมักจะรุนแรงกว่า ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า
ได้ เพราะอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา ในการเกิดปฎิกิริยาชนิดนี้ จะมี
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จัดออกได้เป็น 4 แบบ ตาม Gells and Coomb’s
classification คือ
1. Immediate type hypersensitivity reaction
2. Cytotoxic type hypersensitivity reaction
3. Immune complex type hypersensitivity reaction
4. Delayed type hypersensitivity reaction
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
8
1. Immediate type hypersensitivity reaction
Immediate type hypersensitivity reaction หรืออาจเรียกว่า “ anaphylactic type ” เป็น allergic drug
eruption ที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากยาPenicillin ส่วนมากยาจะมีขนาดของโมเลกุล
ค่อนข้างเล็กนํ้าหนักโมเลกุลน้อยกว่า 2000Kd จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยแปลงของระบบ
ภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ซึงเรียกว่า “hapten”จะต้องผ่านขบวนการ drug metabolism ให้กลายเป็น reactive
ทำให้เกิดการเปลี่ยแปลงของระบบภูมิต้านทานได้เช่น Penicillin จะถูก metabolism กลายเป็น
Penicilloyl , Penicillic acid หรือ Penicillamine ก่อน
เมื่อยารวมกับ protein จะกลายเป็น drug-protein conjugate ซึ่งเป็น complete antigen จะไป
กระตุ้นให้ plasma cell สร้าง IgE ซึ่งจำเพาะกับยานั้นเพิ่มมากขึ้น IgE จะไปเกาะที่ผิวของ mast cell หรือ
basophil ต่อมาหากผู้ป่วยได้รับเดิมอีก ก็จะไปจับกับ IgE 2 molecule ที่จำเพาะกับยานั้นที่อยู่บนผิวของ
mastcell หรือbasophil เข้าด้วยกัน ทำให้มีการเพิ่ม permeability ของผนังเซลล์ มีการปล่อยสารหลาย
ชนิดจากภายในเซลล์ โดยสาร histamine เป็นสารที่มีความสำคัญมากที่สุด จำทำให้เกิดอาการคือ
Immediate reaction เกิดอาการในเวลาไม่กี่นาทีภายหลังได้รับยา อาการค่อนข้างรุนแรง
ประกอบด้วย อาการคัน ผื่น ลมพิษ, bronchospasm, laryngeal edema, wheeze, rhonchi, hypotension
จนเกิด anaphylactic shock ได้
Acceleratedreaction จะเกิดอาการภายในระยะเวลา 1-72 ชั่วโมง ภายหลัง ได้รับยา จะมีผื่น
ลมพิษ, laryngeal edema ได้
Late reaction จะใช้เวลานานกว่า 72 ชั่วโมงจึงจะเกิดอาการโดยจะมีเฉพาะ ผื่นลมพิษ
อย่างเดียว
2. Cytotoxic type hypersensitivity reaction
Cytotoxic type hypersensitivity reaction นี้ antibody จะมีบทบาทที่สำคัญ ทำให้เกิดการทำลาย
ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ตับ ระบบโลหิต เส้นประสาท กล้ามเนื้อ แต่ยังไม่พบกับระบบผิวหนัง โดย
สามารถเกิดขึ้นได้ 3 วิธี คือ
1) ยาจะไปมีผลเปลี่ยนแปลงที่ tissue ทำให้เกิดมีส่วนที่เป็น hapten ขึ้นที่ผิวของเซลล์
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้ antibody สามารถทำลายได้ เช่น
- Penicillin-induced hemolytic anemia
- Quinine-induced thrombocytopenia
2)ยาจะไปรวมกับ antibody เกิดเป็น drug-antibody complex และไปจับที่ผิวของเซลล์
เช่น platelete, WBC แล้วมีการทำลายเซลล์ดังกล่าว
3) ยาชักนำให้เกิด antibody ที่จำเพาะต่อ tissue-specific antigen เช่น Methyldopa
ทำให้ เกิด antibody ต่อ red blood cell ทำให้เกิด hemolysis
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
9
3. Immune complex type hypersensitivity reaction
Immune complex type hypersensitivity reactionอาจเรียกว่า “Serum sickness type”หรือ “Arthus
reaction” ก็ได้ การที่จะเกิด imune complex ระหว่างยากับ antibody ได้นั้นยาจะต้องคงอยู่ในกระแสโลหิต
เป็นเวลาที่นานพอสำหรับการสร้าง antibody ได้ทัน ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 7 วัน antibody ส่วน
มากคือ IgE บางรายอาจเป็น IgM ก็จะไปรวมตัวกับยานั้น immune complex ที่เกิดขึ้นจะไปจับที่ผนังของ
เส้นเลือดแล้วจะกระตุ้น complement อันเป็นจุดเริ่มต้นของ inflammation ทำให้มีการทำลาย เส้นเลือดนั้น
(vasculitis) โดยจะปรากฏอาการกับอวัยวะที่มีเส้นเลือดถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดข้อ ไตอักเสบ เส้น
ประสาทอักเสบ ตับอักเสบ ระบบผิวหนังจะปรากฏเป็น ผื่นลมพิษ , vasculitis, maculo-papular rash
หรือ erythema multiforme
4. Delayed type hypersensitivity reaction
Delayedtypehypersensitivityreaction มีสาเหตุจากยา ส่วนมากจะทำให้เกิดอาการกับระบบผิวหนัง
ตัวอย่างของปฎิกิริยาที่คุ้นเคยกันดีคือ allergic contact dermatitis ที่เกิดจากการแพ้ยาโดยการทาที่ผิวหนัง
ลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นจะเป็น eczema แต่ยาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยกินหรือฉีด ก็สามารถทำเกิดได้เช่นกัน
ผื่นที่พบนอกจากจะเป็น eczema แล้ว อาจพบได้เป็น maculo-papular rash, fixed drug eruption, erythema
nodosum, lichenoid eruption
เมื่อยาที่เป็น antigen(hapten) เข้าสู่ร่างกาย(ส่วนมากโดยการซึมผ่านทางผิวหนัง) จะถูก Langerhans
cell ซึ่งมีหน้าที่ในการนำ antigen ไปส่งให้ lymphocyteในบริเวณใกล้เคียง พาไปส่งที่ lymphocyte แล้วต่อ
ไปที่ lymph node ที่บริเวณ lymph node จะมีการแบ่งตัวของ lymphocyte ทำให้มี sensitized - T cell
เพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วส่งกลับไปที่บริเวณผิวหนังที่ยาผ่านเข้าสู่ร่างกาย และบริเวณอื่น ๆ ด้วย ระยะนี้จะ
เรียกว่า “sensitization phase” ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน
ต่อมาถ้าผู้ป่วยได้รับยาตัวเดิมอีก ยาจะถูก sensitized lymphocyte ที่อยู่บริเวณนั้นเข้าจับ จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ของ lymphocyte โดยจะมีการปล่อยสารชื่อ lymphokines ออกมาหลายชนิด ซึ่งทำ
ให้เกิดการอักเสบ (inflammation) เกิดเป็นผื่นดังที่กล่าวมาแล้ว
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
10
จากการศึกษาของผู้เขียน ในผู้ป่วยนอกจำนวน 450 ราย พบลักษณะของผื่นที่เกิดจากการใช้ยา
ลักษณะต่าง ๆ จำแนกตามลำดับ ดังนี้
1. Maculo-papular rash 207 ราย (46.00%)
2. Urticaria,Angioedema 103 ราย (22.80%)
3. Fixed drug eruption 63 ราย (14.00%)
4. Eczema 23 ราย (5.11%)
5. Erythema multiforme, Stevens Johnson syndrome 15 ราย (3.33%)
6. Photosensitive 11 ราย (2.44%)
7. Acneiform drug eruption 9 ราย (2.00%)
8. Bullous/oral ulcer 8 ราย (1.77%)
9. Exfoliative dermatitis 6 ราย (1.33%)
( ที่มา : ชำนาญ ชอบธรรมสกุล. ผื่นแพ้ยาที่ผิวหนัง.วารสารโรงพยาบาลราชวิถี )
MACULO - PAPULAR RASH
ลักษณะทางคลินิก
Maculo-papular rash (maculo-papular eruption) จัดเป็นผื่นแพ้ยาชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบว่ายา
เกือบทุกชนิดสามารถทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ได้ (ตารางที่ 3) จึงเป็นผื่นแพ้ยาที่แพทย์มีความคุ้นเคยมากกว่าผื่น
ลักษณะอื่น ๆ จนบางครั้งอาจนับรวมผื่นชนิดอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น eczema, photosensitive,
erythema multiforme เข้าอยู่ด้วยกันจนทำให้จำนวนผู้ป่วยอาจสูงเกินความจริง
ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash
บทที่ 3
ลักษณะผื่นแพ้ชนิดต่าง ๆ
ชนิดของยา มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา 1-5% ของผู้ได้รับยา
Amikacin
Apalcillin
Azlocillin
Bacampicllin
Carbenicillin
Cephalosporin
Chloramphenicol
Cyclacillin
Dihydrostreptomycin
Epicillin
Erythromycin
Flucloxacillin
Gentamicin
Mezlocillin
Antibiotics
Amoxicillin
Ampicillin
Miconazole
Novobiocin
Streptomycin
Talampicillin
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
11
ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash (ต่อ)
ชนิดของยา มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา 1-5% ของผู้ได้รับยา
Antibiotics
Sulfonamides and
Derivatives
Other Antiinfective Agents
Analgesics
Antipyretics
Antirheumatics
Neurologic and
Psychiatric Drugs
-
Sulfamethoxazole
(with Trimethoprim)
Nalidixic acid
Thiabendazole
Vidarabine
Aclofenac
Gold
Metiazinic acid
Naproxen
d-Penicillamine
Piroxicam
Carbamazepine
Chlorpromazine
Mephenytoin
Metisuximide
Phenytoin
Oxacillin
Penicillin G
Penicillin V
Phenethicillin
Piperacillin
Pivampicillin
Polymyxin B
Propicillin
Rifampicin
Tetracycline
Ticarcillin
Vancomycin
Sulfapyridine
Sulfadimethoxin
Sulfadoxine
Sulfamethoxazole
Sulfamethoxypyridazine
Sulfisoxazole
Acyclovir
p-Aminosalicylic acid
Capreomycin
Chloroquine
Dapsone
Nitrofurantoin
Quinacrine
Quinine
Thioacetazone
Trimethoprim
Acetylsalicylic acid
Azapropazone
Bucloxic acid
Diclofenac
Indomethacin
Meclofenamate
Mefenamic acid
Metamizole
Nifulmic acid
Phenylbutazone
Sulindac
Ethiosuximide
Imipramine
Isocarboxazid
Maprotiline
Opipramol
Phenobarbital
Primidone
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
12
ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash (ต่อ)
Maculo - papular rash จะประกอบด้วยผื่น 2 ชนิด คือ
Macule หมายถึง ผื่นที่มีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสีผิว อาจเป็นสีแดง ม่วง นํ้าตาล
หรือดำ โดยผิวหนังมักจะแบนราบหรืออาจนูนขึ้นเล็กน้อย ผื่นมักมีรูปร่างกลม ถ้าขนาดของผื่นใหญ่กว่า1ซม.
จะเรียกว่า patch
Papule หมายถึง ตุ่มนูนที่ผิวหนัง
Maculo - papular rash ในผู้ป่วยบางรายอาจมีรูปร่างลักษณะพิเศษ เช่น
Rubelliform rash ลักษณะของผื่นจะคล้ายกับผื่นในโรคหัดเยอรมัน (rubella) จะเป็น
maculeสีแดงเล็กจำนวนมากปะปนกับpapuleเล็กคลำดูจะรู้สึกสากๆผื่นมักจะไม่ค่อยร่วมกันเป็นผื่นใหญ่
Morbiliform rash ลักษณะของผื่นจะคล้ายกับผื่นในโรคหัด (measles) ผื่นมีขนาดใหญ่กว่า
rubelliform rash และมักจะมีการรวมกันของผื่น
Papular rash ผื่นจะประกอบด้วยตุ่มนูนแดง (papular) เป็นส่วนมาก
ผื่นมักจะรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่ สีแดงจัด บางครั้งจะกลายเป็น exfoliative dermatitis ได้ โดย
มากจะพบผื่นบริเวณลำตัวและกระจายตามแขนขา โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า หากพบผื่นจะทำให้โอกาส
ที่จะเป็นผื่นจากการแพ้ยามีมากขึ้น
( ที่มา : Konrard Borke. , Cutaneous side effect of drugs : W.B. Sounders. 1988 )
1-5% ของผู้ได้รับยาชนิดของยา
Neurologic and
Psychiatric Drugs
Antidiabetics
Cytostatic Agents
Diagnostic Aids
Thyroid Drugs
Cardiac Drugs
Uricosaric Agents
มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา
-
Carbutamide
Bleomycin
Dauxorubicin
Mitotane
-
Metamizole sodium (Dipyrone)
Methimazole
Captopril
-
Pyritinol
Serine
Isopropylhydrazine
Sulthiame
Trimethadione
Chlorpropamide
Glyburide
Glymidine
Tolbutamide
Asparaginase
Cytarabine
Melphalan
Dintrizoate sodium
Iodipamide
Iothalanic acid
Methylthiouracil
Thiouracil
Disopyramide
Prazosin
Procanamide
Tribenoside
Allopurinol
Probenecid
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
13
ผื่นจะมีสีแดง สีจะซีดจางลงได้เมื่อเอากระจกใสลองกดทับดู แต่ในบางครั้งที่มีการอักเสบ รุนแรง
เส้นเลือดอาจขยายตัวมากจนเม็ดเลือดแดงแทรกตัวออกนอกเส้นเลือดเวลากดผื่นจะไม่จางลง เหมือนเลือด
ออกในผิวหนัง (purpura)
Lagperiodคือช่วงเวลาตั้งแต่ได้รับยาจนเกิดผื่นมักเกิดภายใน2สัปดาห์แต่บางรายอาจนานกว่านั้น
เช่น ผู้ที่แพ้ยา Allopurinol, Phenytoin และในผู้ที่เคยแพ้ยานี้มาก่อน ก็จะเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้รวดเร็ว
กว่าผู้ที่แพ้ยาเป็นครั้งแรก
ระยะเวลาที่ผื่นปรากฏอยู่จะไม่แน่นอน แต่ส่วนมากมักเป็นอยู่ไม่นานเกิน 4 สัปดาห์หลังจากหยุดยา
ยกเว้นบางรายที่อาจกลายเป็นผื่นชนิดอื่น เช่น exfoliative dermatitis ในบางรายแม้จะยังคงให้ยาที่เป็นต้นเหตุ
การแพ้ยาต่อไป ผื่นก็อาจจะยุบหายลงได้เอง จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองพบปรากฏการณ์นี้ได้บ่อยในผู้
ป่วยติดเชื้อไวรัส HIV ที่ได้รับยาเช่น Cloxacillin ชนิดฉีดแล้วเกิด maculo-papular rash เมื่อสังเกตุอาการต่อ
ไปสักระยะหนึ่ง ผื่นสามารถจางลงเองได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนจาก Cloxacillin เป็นยาอื่น แต่ในกรณีเช่นนี้จะ
ต้องเฝ้าดูแลลักษณะของผื่นอย่างใกล้ชิด หากผื่นเป็นรุนแรงมากขึ้นจะต้องรีบหยุดยาทันที
เมื่อผื่นเริ่มหายจะมีขุยเกิดขึ้น บริเวณที่มีผื่นขึ้นก่อนจะหายก่อน โดยมากบริเวณที่จะหายช้าที่สุดคือ
ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เนื่องจากบริเวณนี้หนังกำพร้าจะหนากว่าบริเวณอื่น ๆ ในร่างกาย กว่าจะลอกหมดจึงใช้เวลานาน
จะเห็นว่าฝ่ามือ ฝ่าเท้า จะหลุดลอกเป็นแผ่นใหญ่ ๆ หลังจากนั้นอาจจะมีรอยดำเกิดขึ้น ถ้าผื่นที่เกิดก่อนหน้า
มีการอักเสบรุนแรงจะเกิดรอยดำหลังการอักเสบชัดเจน และใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะจางหายเป็นปกติ
โดยไม่มีแผลเป็น
อาการร่วมอื่นๆ
คัน นับเป็นอาการที่มีความสำคัญมาก maculo-papular rash จะมีอาการคันเกือบทุกราย หาก
พบผู้ป่วยที่เป็นผื่น macular-papularrash ซึ่งไม่มีอาการคันจะมีโอกาสเป็นผื่นที่เกิดจากการแพ้ยาได้น้อยลงมาก
และโรคที่ต้องคิดถึงมากในกรณีนี้คือ อาจเป็นไข้ออกผื่น (จากเชื้อไวรัสหรือเชื้ออื่น ๆ ) หรือโรค
ซิฟิลิส ระยะที่ 2
ไข้ เนื่องจาก maculo-papularrash เป็นขบวนการอักเสบinflammationที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย
จากการหลั่ง mediator ต่าง ๆ อาจทำให้เกิดไข้ขึ้นได้ (ตารางที่ 4) นอกจากนี้การที่เป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย มี
เส้นเลือดขยายตัวเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติโดยไม่เกี่ยวกับ mediator ก็
ได้อาการไข้จะพบได้มากใน maculo-papular rash ที่เกิดขึ้นจาก Immune-complex type : hypersensitivity
ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่แพ้ยา Phenytoin,Dapsone,Carbamazipine,Phenobarbiturateซึ่งจะมีอาการกับอวัยวะ
อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้ออักเสบ ไตอักเสบ ตับอักเสบ ต่อมนํ้าเหลืองโต ยาบางตัวสามารถทำให้เกิดอาการไข้
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น
Amphotericin B Chemotherapy Dextran iron complexes
Dimercaprol Edetate calcium disodium Streptokinase
Vaccine (เช่น DPT)
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
14
ตารางที่ 4 แสดงรายชื่อยาที่มักทำให้เกิดไข้
( ที่มา : Konrard Borke. , Cutaneous side effect of drugs : W.B. Sounders. 1988 )
อาการไข้อาจเป็นอาการแสดงเพียงอย่างเดียวของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาก็ได้ในบาง
ครั้งส่วนมากไข้จากยาจะไม่ใช่ไข้สูงเกิดภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงภายหลังได้รับยา ขึ้นกับว่าได้รับยาเข้าสู่
ร่างกายโดยวิธีใด พบว่า Systemic route จะเกิดไข้ได้เร็วที่สุด และอาจมีอาการหนาวสั่นได้ ในผู้ที่เกิดอาการ
เป็นครั้งแรก จะใช้เวลานานกว่า อาจนาน 7 - 10 วัน
ต่อมนํ้าเหลืองโต (Lymphadenopathy)พบได้ในรายที่แพ้ยาอย่างรุนแรง ลักษณะทางพยาธิวิทยา
จะไม่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ร้ายแรง มักจะเป็น Reactive hyperplasia มีรายงานการแพ้ยา Phyenytoin
จนเกิดมี้ต่อมนํ้าเหลืองโต มีลักษณะคล้ายมะเร็งต่อมนํ้าเหลืองที่เรียกว่า Pseudo-lymphoma syndrome
Eosinophiliaพบได้บางรายและไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าผื่นที่ปรากฏนั้นเกิดจากการใช้ยาแต่ถ้ามีจำนวน
eonsinophil สูงมาก ๆก็จะช่วยสนับสนุน จากการศึกษาของผู้เขียนพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 20.6% เท่านั้นที่มี
จำนวน eosinophil มากกว่า 5%
การรักษา
1. หยุดยาที่เป็นสาเหตุ เป็นขั้นตอนการรักษาแรกสุดสำหรับการแพ้ยาทุกชนิด
1) ในกรณีที่ได้รับยาเพียงชนิดเดียว จะไม่มีปัญหาในการตัดสินใจ แต่บางครั้งภายหลังหยุดยา
maculo-papular rash อาจจะยังไม่หยุดการลุกลามซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ
ระดับของยาในเลือดครั้งแรก อาจมีความเข้มสูงมาก
Rate of metrabolism หรือ elimination ช้ากว่าปกติ
ครึ่งชีวิต (half-life) ของยายาวนาน เช่น Phenobarbital
ช่วงที่หยุดยาอาจเป็นช่วงที่ขบวนการการแพ้ยา ซึ่งเป็น immunologix process เริ่มต้น
2) ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาหลายชนิดในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นไปได้ควรหยุดยาทุกชนิดทันที หรือ
หากไม่สามารถทำได้ก็ควรหยุดยาทีละชนิด โดยเริ่มจากการหยุดยาที่คิดว่ามีโอกาสเกิดการแพ้มากที่สุดก่อน
พิจารณาจาก reaction rate (ตารางที่ 5) ซึ่ง reaction rate อาจสามารถค้นคว้าหาเพิ่มเติมจากตำราได้ หรือใน
บางครั้งอาจต้องใช้ประสบการณ์การตัดสินใจ แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กลุ่มยาที่พบมีโอกาสเกิดอาการ
อันไม่พึงประสงค์ของประเทศเรา เรียงลำดับจากมากไปน้อยก็คือ Systemic antiinfective, Musculo-skeletal
drug , CNS drug ก็อาจใช้สถิตินี้ช่วยในการตัดสินได้
ยาต้านเชื้อ (Antiinfectious Drugs) ยาอื่นๆ
p-Aminosalicylic acid
Cephalosporins
Chloramphenicol
Erythromycin
Isoniazid
Netrofurantoin
Penicillin
Pyrazinamide
Rifampicin
Spectinomycin
Streptomycin
Sulfonamides
Teracycline
Allopurinol
Barbiturates
Hydralazine
Iodine
Methyldopa
D-Penicillamine
Phenobarbital
Procainamide
Propylthiouracil
Quinidine
Qounine
Salicylates
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
15
2. รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ เช่น Paracetamol จะดีกว่า Aspirin,ให้ยาลดอาการคัน เช่น Antihistamine
3. รักษาด้วย Corticosteroid
Systemicsteroidที่ใช้คือ Prednisoloneโดยพิจารณาในผู้ป่วยที่มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย หรือมี
อาการมาก ขนาดยาที่ให้ 30-60 mg/วัน และลดขนาดยาลงทุก 3-5 วัน เมื่ออาการดีขึ้น โดยควรจะหยุดยา
ได้ภายใน 2 สัปดาห์
Topical steroid ควรเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ของยาเป็น mild potency
ตารางที่ 5 แสดง Reaction rate สำหรับยาบางชนิดที่ได้รับโดยผู้ป่วยมากกว่า 500 ราย
ที่มา : Bigby M, Jicks H, Aendt K. Drug-induced cutaneous reactions. JAMA 1986 ;256 (24) : 3358-3363
ชื่อยา
Amoxicillin
Trimethoprim-sulfamethoxazole
Ampicillin
Semisynthetic penicillins
Blood, whole human
Penicillin G
Cephalosporins
Quinidine
Gentamicin sulfate
Packed red blood cells
Mercurial diuretics
Dipyrone (Metamizole sodium)
Heparin
Trimethohenzamide hydrochloride
Nitrazepam
Barbiturates
Chlordiazepoxide
Diazepam
Propoxyphene
Isoniazid
Guaifenesin
Chlorothiazide
Furosemide
Isophane insulin suspension
Phenytoin
Phytonadione
Flurazepam hydrochloride
Chloral hydrate
Reaction rate (ต่อ 1000 ใบสั่งยา)
51.0
47.0
42.0
29.0
28.0
16.0
13.0
12.0
10.0
8.1
9.5
8.0
7.7
6.6
4.0
4.0
4.0
4.0
3.4
3.0
2.9
2.8
2.6
1.3
1.1
0.9
0.5
0.2
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
16
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
17
Maculo-papular rash (Maculo-papular eruption)
รูปที่ 1 รูปที่ 2
รูปที่ 3 รูปที่ 4
รูปที่ 1,2,3 และ 4 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด ประกอบด้วยผื่นราบ ( maculo ) และ
ตุ่มนูน (papule) ผื่นมักรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่บริเวณลำตัว
รูปที่ 5 :แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด
จากการขยายตัวอย่างมากของเส้นเลือด ทำให้อาจมี
ลักษณะคล้ายมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ( purpula)
รูปที่ 6 :แสดง Maculo-papular rash ลักษณะ
เป็นผื่นที่ประกอบด้วยตุ่มนูนเกือบทั้งหมด
(papular eruption)
คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders)
ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
18
รูปที่ 7 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่น
คล้ายที่พบในหัดเยอรมัน (rubelliform rash) ประกอบด้วย
ผื่นขนาดเล็กจำนวนมาก ปะปนกับตุ่มนูน ขนาดเล็ก
ผื่นมักไม่รวมกัน
รูปที่ 8 รูปที่ 9
รูปที่ 10 รูปที่ 11
รูปที่ 8,9,10 และ 11 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายผื่นที่พบในหัด (morbelliform rash)
ผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่า rubelliform rash แต่มักจะรวมกันเป็นปื้น
Maculo-papular rash (Maculo-papular eruption)
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01
Adrskin 140101105032-phpapp01

Contenu connexe

En vedette

Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 

En vedette (20)

Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 

Adrskin 140101105032-phpapp01

  • 1. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 63 คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders) จัดทำโดย ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APR Center) กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ISBN : 974-8071-69-3
  • 2. คู่มือ การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders) จัดทำโดย ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APRM Center) กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ISBN : 974-8071-69-3
  • 3. ชื่อหนังสือ คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์: ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders) ผู้เขียน นายแพทย์ชำนาญ ชอบธรรมสกุล พบ. (เกียรตินิยม) วว. (ตจวิทยา) หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ( ISBN ) ISBN974-8071-69-3 พิมพ์ครั้งที่ 1: มกราคม พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 2: เมษายน พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 3: กันยายน พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 4: กรกฎาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 1,000 เล่ม จัดพิมพ์โดย ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (APRM Center) กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ. ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-7261 โทรสาร 0-2590-7253 Email address: adr@fda.moph.go.th พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
  • 4. I ปัจจุบันศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงาน อาการอันไม่พีงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ส่งมาจากศูนย์เครือข่ายเข้ามาเป็นจำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็น รายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา) และจำนวนรายงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปีเป็นลำดับมา นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 ถึง ปี พ.ศ. 2540 ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ได้รับรายงานรวมทั้งสิ้น 23,905 ฉบับ มีจำนวนอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ รวม 46,173 รายการ และพบอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ถึง 21,645 รายการ คิดเป็นร้อยละ 46.17 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2540 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 4,434 ฉบับ พบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ จำนวน 7,227 รายการ เป็นอาการ อันไม่พึงประสงค์ฯที่ระบบผิวหนัง จำนวน 4,105 รายการ คิดเป็น 56.80% ของอาการที่พบทั้งหมด เนื่องจากอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ที่เกิดขึ้นทางระบบผิวหนังนี้เป็นอาการที่พบมากที่สุด และมีลักษณะอาการที่ แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันหลากหลาย ซึ่งในบางครั้งยากต่อการวินิจฉัยแยกแยะ หรือระบุชื่ออาการได้ชัดเจน ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดย กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ขอความร่วมมือจาก นพ. ชำนาญ ชอบธรรมสกุล จากโรงพยาบาลราชวิถี ในการจัดทำหนังสือ คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ : ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skin Disorders) ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำหรับบุคลาครทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้ในการวินิจฉัย และช่วยอำนวย ความสะดวกในการระบุอาการอันไม่พึงประสงค์ฯที่ระบบผิวหนังที่เกิดได้ชัดเจนมากขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการรักษา และช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้กรอกแบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ สามารถนำไปใช้ในการติดตาม อากการอันไม่พึงประสงค์ฯให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรับปรุง ระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะด้านาการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอขอบพระคุณ นพ.ชำนาญ ชอบธรรมสกุล หน่วยโรคผิวหนัง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ไว้เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่าน ให้ความ ร่วมมือในการจัดทำหนังสือฉบับนี้ เป็นคู่มือในการใช้วินิจฉัย และระบุอาการอันไม่พึงประสงค์ ให้เป็นไปในแนว ทางเดียวกัน หากท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือปรับปรุง ทางศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ยินดีที่จะรับ มาพิจารณา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อไป ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ คำนำ
  • 5.
  • 6. II สารบัญ หน้า คำนำ I สารบัญ II สารบัญตาราง III สารบัญรูปภาพ IV บทที่ 1 : บทนำ 1 บทที่ 2 : พยาธิกำเนิด (Pathogenesis) 5 บทที่ 3 : ลักษณะของผื่นแพ้ยาชนิดต่างๆ 10 ⇒ Maculo-papular rash 10 ⇒ Urticaria (ผื่นลมพิษ) 19 ⇒ Fixed drug eruptin ( EM ) 25 ⇒ Erythema multiforme 27 ⇒ Toxic epidermal necrolysis ( TEN หรือ Lyell’s syndrome) 35 ⇒ Exfoliative dermatitis ( Erythroderma ) 39 ⇒ Eczematous drug eruption 45 ⇒ Acneiform drug eruption 46 ⇒ Drug-induced alopecia 47 ⇒ Drug-induced hyperpigmentation 48 ⇒ Photosensitive drug eruption 48 ⇒ Erythema nodosum 53 ⇒ Vasculitis 54 ⇒ Bullous eruption 57 บทที่ 4 : การวินิจฉัย 59 บรรณานุกรม 62
  • 7. III สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 แสดงการเปรียบเทียบอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่เกิดกับระบบผิวหนัง 3 2 แสดงกลุ่มยาที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ 4 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-popular rash 10 4 แสดงรายชื่อยาที่มักทำให้เกิดไข้ 14 5 แสดง Reaction rate สำหรับยาบางชนิดที่ได้รับโดยผู้ป่ายมากกว่า 500 ราย 15 6 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Urticaria 19 7 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Fixed drug eruption 25 8 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Erythema multiforme 27 9 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด TEN (Lyell’s syndrome) 36 10 แสดงสาเหตุอื่นๆที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด TEN (Lyell’s syndrome) 36 11 แสดงข้อแตกต่างระหว่าง TEN และ SSSS 38 12 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Exfoliative dermatitis or Erythroderma 40 13 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Eczema 45 14 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Acne and Pustules 46 15 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิว 48 16 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าทำให้เกิด Phototoxic reactions 49 17 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Photoallergic reactions 49 18 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Erythema nodosum 53 19 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Vasculitis 54 20 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด Bullous eruption 57
  • 8. IV สารบัญรูปภาพ รูปที่ หน้า 1,2,3และ4 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด ประกอบด้วยผื่นราบ (macule) และ ตุ่มนูน (papule) ผื่นมักรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่บริเวณลำตัว 5 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด จากการขยายตัวอย่างมาก ของเส้นเลือด ทำให้อาจมีลักษณะคล้ายมีเลือดออกใต้ผิวหนัง (purpula) 6 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นที่ประกอบด้วยตุ่มนูนเกือบทั้งหมด (papular eruption) 7 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายที่พบในหัดเยอรมัน (rubelliform rash) ประกอบด้วยผื่นขนาดเล็กจำนวนมาก ปะปนกับตุ่มนูน ขนาดเล็ก ผื่นมักไม่รวมกัน 8,9,10และ11 แสดง Maculo-popular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายที่พบในหัด (marbelliform rash) ผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่า rubelliform rash แต่มักจะรวมกันเป็นปื้น 12 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal) มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณแขน 13 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal) มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณลำตัว 14 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ลักษณะเป็นรอยแดง (erythema) และผื่นนูนแดง (wheal) มีรูปร่างแปลกๆที่บริเวณใบหน้า 15 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ชนิดลึก ที่เกิดใต้ผิวหนัง (angioedema) ที่บริเวณแขน มีลักษณะแขนบวม นูนและคัน 16 แสดง ผื่นลมพิษ (urticaria) ชนิดลึก ที่เกิดใต้ผิวหนัง (angioedema) ที่บริเวณอวัยวะเพศ 17 แสดง ผื่นลมพิษ erythema annulare centrifugum ลักษณะเป็น ผื่นแดง วงกลม หลายวงซ้อนกัน และปรากฎอยู่นานกว่าปกติ 18 แสดง Fixed drug eruption ที่บริเวณริมฝีปาก ลักษณะเป็นรอยดำ เมื่อผื่นหายอักเสบแล้ว 19 แสดง Fixed drug eruption ที่บริเวณขา ลักษณะเป็นผื่นรูปร่างกลม สีแดงจัด ตรงกลางของผื่น จะมีสีแดงจัด จนออกม่วง 20,21และ22 แสดง Fixed drug eruption ที่ผู้ป่วยมีการแพ้ยาซํ้าๆจนมีผื่นขึ้นเป็นจำนวนมาก 17 17 17 18 18 23 23 23 23 23 23 24 24 24
  • 9. V สารบัญรูปภาพ (ต่อ) รูปที่ หน้า 23,24,25และ26 31 27 31 28และ29 32 30,31 และ 32 32 33 32 34,35 และ 36 33 37 และ 38 33 39 และ 40 33 41 33 42 และ 43 41 44,45,46และ47 41 48,49 และ 50 42 51 42 52 43 53,54,55และ56 43 57 และ 58 44 แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็น target lesion ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ ผื่นชนิดนี้ ลักษณะจะคล้ายเป้าธนู เป็นผื่นสีแดงตรงกลางจะมีสีเข้มจัด หรือเป็นตุ่มพอง ล้อมรอบด้วย ชั้นที่มีสีซีดจางลง แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็นแผลริมฝีปาก แสดง Erythema multiform (EM) ลักษณะเป็นแผลริมฝีปากและเยื่อบุตา แสดง Erythema multiform (EM) ที่บริเวณลำตัว แขน ขา ลักษณะเป็นผื่นแดง ตรงกลางผื่น มีสีคลํ้าจากการแพ้ยา Amoxycilin หรือ Mefenamic acid แสดง Erythema multiform (EM) ที่บริเวณฝ่ามือ แสดง Stevens Johnson syndrome ที่เกิดจากการแพ้ยา Carbamazepine แสดง ผู้ป่วยรายเดียวกัน ที่หายจากอาการ Stevens Johnson syndrome 2 สัปดาห์หลัง การรักษา รอยโรคหายดี เหลือแต่รอยจางๆ แสดง Toxic epidermal necrolysis (TEN) จากการแพ้ยา Phenytoin ลักษณะผิวหนังหลุด ลอกเป็นแผ่นขนาดใหญ่และตุ่มนํ้าพอง แสดง Toxic epidermal necrolysis (TEN) แสดงรอยโรคอย่างรุนแรงบริเวณเยื่อบุตาและ ริมฝีปาก แสดง Exfoliative dermatitis จากการแพ้ยา Cotrimoxazole ผิวหนังจะแห้งและหลุดลอก ออกเป็นขุยๆทั่วไป บางแห่งอาจมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม และตกสะเก็ด แสดง Exfoliative dermatitis จากการแพ้ยา Hyderchlorothiazide แสดง Eczematous drug eruption ลักษณะเป็นผื่นแดงและคัน มีนํ้าเหลือง ไหลเยิ้ม จากการแพ้ยา Piroxicam ผื่นกระจายทั่วร่างกาย แสดง Eczematous drug eruption เป็น contact dermatitis จากการทายาผงเพื่อรักษาสิว ที่ประกอบด้วยตัวยา Sulfanilamide แสดง Eczematous drug eruption เป็น contact dermatitis จากการทายา Diclofenac ผู้ป่วยรายนี้เคยมีประวัติแพ้ยา Diclofenac ชนิดรับประทานมาแล้วโดยเป็นผื่นชนิดEczema แสดง Eczematous drug eruption จากการแพ้ยา Chlorpropamide แสดง Steroid acne ที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานยา Prednisolone ประมาณ 2 สัปดาห์หลังได้รับยา ลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดใกล้เคียงกัน จำนวนมากบริเวณลำตัว ผื่น ลดลงภายหลังหยุดยา
  • 10. แสดง Pastular drug eruption จากการแพ้ยา Cotrimoxazole เป็นตุ่มหนองขนาดเล็ก จำนวนมากที่บริเวณลำตัว แสดง Anagen effluvium จากการได้รับยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด แสดง Anagen effluvium จากการรับประทานยาสมุนไพร แสดง Drug-induced hyperpigmentation จากการรับประทานยา Clofazimine จะพบ บริเวณที่รอยโรคปรากฏอยู่ก่อน โดยจะพบว่าผิวหนังเปลี่ยน เป็นสีนํ้าตาล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบริเวณที่โดยแสงแดด อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดยา แสดง ฝ้า (Melasma) ที่เป็นมากขึ้นภายหลังรับประทานยาคุมกำเนิด แสดง Hyperpigmentation ที่เกิดจากการรับประทานยาหม้อ ที่มีส่วนผสมของสารหนู เป็นเวลานาน ผิวหนังจะมีจุดสีนํ้าตาลกระจายทั่วไป ปะปนกับจุดสีขาว แสดง Hyperpigmentation ที่บริเวณหลังเท้า ที่เกิดในผู้ป่วยที่ได้รับยา Cyclophosphamide แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Amiodarone ผู้ป่วยรับประทานยา ประมาณ 4 เดือนก่อนสังเกตุเห็นผื่นเป็นปื้นสีนํ้าตาลบริเวณใบหน้า หน้าอกตอนบน จากการตรวจทางพยาธิวิทยาของผิวหนัง พบ pigment ในผิวหนังเป็นจำนวนมาก แสดง Phototoxic dermatitis จากการแพ้แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมของมะกรูด โดยผู้ ป่วยสระผมกลางแจ้งที่มีแสงแดด แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Diclofenac ผื่นที่ปรากฏ จะมีลักษณะ เหมือน Eczema แต่จะพบเฉพาะบริเวณที่โดนแสงแดด แสดง Phototoxic drug eruption จากการแพ้ยา Diclofenac gel ที่บริเวณหลังมือ ผู้ ป่วยมีอาชีพขี่รถจักรยานยนต์ส่งของ แสดง Erythema nodosum ลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง มีอาการเจ็บบริเวณหน้าแข้ง เมื่อ หายแล้วจะเหลือรอยดำ แสดง Allergic vasculitis จากการแพ้ยา Hydrochlorothiazide ลักษณะเป็น Palpable purpura ที่บริเวณหน้าแข้ง แสดง Progressive pigmentary dermatosis ลักษณะเป็นผื่นสีนํ้าตาลที่บริเวณขาทั้ง 2 ข้าง ผื่นมักจะลามขึ้นข้างบน ยาอาจเป็นสาเหตุได้ แสดง Bullous drug eruption จากการแพ้ยา Furosemide เกิดตุ่มนํ้าพอง มีอาการร้อน ที่ผิวหนัง ประมาณ 6 ชั่วโมง ภายหลังการฉีดยา VI สารบัญรูปภาพ (ต่อ) รูปที่ หน้า 59 60 61 62 63 64 และ 65 66 67 และ 68 69 70,71 และ 72 73 74 75 และ 76 77 และ 78 79 44 44 44 51 51 51 51 52 52 52 52 55 55 55 56
  • 11. V สารบัญรูปภาพ (ต่อ) รูปที่ หน้า 80 แสดง Bullous drug eruption จากการรับประทานยา Meladinine เพื่อรักษาโรคด่างขาว 56 เป็นปฏิกิริยา Phototoxic reaction ที่มากเกินไป 81 แสดง Bullous pimphigoid-like eruption จากการแพ้ยา NSAID 56 82 แสดง Lichenoid drug eruption จาก diuretic ลักษณะเป็น ผื่นสีออกม่วง รูปร่างกลม 56 มีขอบหยักๆ คล้าย lichen planus 83 และ 84 แสดง Folliculitis ที่เกิดจากการรับประทานยา Isotretinoin ประมาณ 2 สัปดาห์ 56
  • 12. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 1 บทที่ 1 บทนำ เป็นที่ทราบกันดีอยู่โดยทั่วไปว่ายามีประโยชน์อันมากมายมหาศาลแต่ในขณะเดียวกันยาสามารถ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้มากมายเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรือ อาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือ อาจเรียกสั้น ๆ ว่า อาการแพ้ยา อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานับวันจะเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น ทั้งความรุนแรงของอาการ ที่เกิดขึ้นและจำนวนปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราการบริโภคยาภายในประเทศ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น อย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเนื่องจาก จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรมากกว่า 60 ล้านคน ซึ่งแน่นอนจำนวนผู้ป่วยย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ระบบการสาธารณสุขของประเทศ ที่ประชาชนมีโอกาสเลือกหาซื้อยา เพื่อบำบัดอาการ เจ็บป่วยของคนเองได้อย่างอิสระเสรีมากพอสมควร ร้านขายยาจำนวนมากที่ไม่มีเภสัชกร อยู่ประจำเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มาซื้อยา มีปริมาณยาในตลาดสูงมากขึ้นเรื่อยๆทั้งยาที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วมีผู้ผลิตรายอื่นเพิ่มจำนวน ขึ้น หรือมีการผลิตยาใหม่ออกสู่ท้องตลาด รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาแต่มีคุณสมบัติในการรักษา อาการเจ็บป่วย อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สามารถเกิดได้กับทุกๆส่วนของร่างกาย แต่ระบบผิวหนัง จัดเป็นอวัยวะที่จะได้รับผลดังกล่าวมากที่สุด ดังสถิติที่รายงานโดยศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จาก การใช้ยา กระทรวงสาธารณสุข ปี ค.ศ. 1993 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 2,303 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 54.44% ปี ค.ศ. 1994 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 3,360 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 51.24% ปี ค.ศ. 1995 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 3,901 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 47.38% ปี ค.ศ. 1996 ได้รับรายงานทั้งสิ้น 4,352 ฉบับ มีอาการที่ระบบผิวหนัง คิดเป็น 28.81% เพราะฉะนั้น แพทย์พยาบาลเภสัชกร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา จำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่เกิดกับระบบผิว หนัง เพื่อจะได้มีส่วนช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และทำให้การรายงานและการติดตามอาการอัน ไม่พึงประสงค์ฯ มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น คำจำกัดความ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาไว้ดังนี้ “ เป็น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ และเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ อันเกิดจากการใช้ยา และเกิดขึ้นเมื่อใช้ยา
  • 13. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2 ในขนาดปกติเพื่อการป้องกันวินิจฉัย รักษาหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยไม่รวมปฏิกิริยาที่ เกิดจากการใช้ยาเกินขนาด โดยทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ การใช้ยาในทางที่ผิด หรือการใช้ยาโดยผิดวิธี” อุบัติการของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาที่เกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจะมีประโยชน์มาก ในการประเมินขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ใช้คำนวณอัตราการเกิดการแพ้ยาสำหรับยาแต่ละชนิด และอาจช่วยบอกอาการข้างเคียงบางชนิดที่เกิดจำเพาะกับยาบางชนิดได้ อุบัติการอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละรายงาน ทั้งนี้อาจ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ อาทิเช่น ความแตกต่างของประชากรที่ทำการศึกษา อันจะมีผลที่ทำให้มีความแตกต่างกัน ในด้าน ลักษณะการบริโภคยา มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแตกต่างกัน เช่น ตัวยาชนิดหนึ่งอาจมีการใช้อย่างมากใน ประเทศหนึ่ง แต่ในอีกประเทศอาจมีการใช้ยาน้อยกว่ามาก ลักษณะของการศึกษาในแต่ละรายงานแตกต่างกัน บางรายงานอาจทำการศึกษาเฉพาะผู้ป่วย ที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ง่าย บางรายอาจเป็นการศึกษาเฉพาะผู้ป่วย นอก บางรายอาจเป็นการศึกษาเฉพาะผู้ป่วยบางโรค ส่วนมากรายงานจะเป็นจากต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆในประเทศ ไทย แต่ปัจจุบันก็ได้มีความพยายามปรับปรุงระบบการติดตามปัญหาดังกล่าวขึ้นในหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น การจัดตั้งศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการรายงานผู้ป่วยที่ เกิดการแพ้ยาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวนมากจากทุกส่วนของประเทศ จากรายงานโดย Boston Collaborative Drug Surveillance Programme ที่ได้ศึกษาในผู้ป่วย อายุรกรรมที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างปี คศ. 1966 - 1982 จำนวน 39,665 ราย พบว่า 2% ของผู้ป่วย จะมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ที่แสดงออกทางผิวหนัง โดยอาจเป็น ผื่น ลมพิษ หรือคันตามผิวหนัง 2 ใน 3 ของผู้ป่วย ที่มีอาการดังกล่าว เกิดจากการได้รับยา Penicillin,Sulfa,Bloodproduct ส่วนมากอาการดังกล่าวจะเกิดภายใน 1 สัปดาห์ ภายหลังที่ได้รับยา จากการรายงานอื่น ๆ อาจพบว่าอุบัติการการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้ป่วยที่นอน รักษา ตัวในโรงพยาบาล อาจสูงถึง 10-20% โอกาสในการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนของยาที่ได้ รับยา ผู้ป่วยที่ได้รับยา 6 ชนิด จะมีโอกาสในการเกิดอาการดังกล่าว ประมาณ 5% แต่ถ้าผู้ป่วยที่ได้รับยา 15 ชนิด โอกาสจะเพิ่มสูงขึ้น 40% โดยมี case-fatalito ratio อยู่ระหว่าง 2-12% จากการศึกษาของผู้เขียน ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลราชวิถี ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2536-2539 ที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่เกิดกับระบบผิวหนังจำนวน 450 ราย พบว่า
  • 14. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 3 2,303 4,078 2,220 687 619 184 282 117 81 63 49 26 8 13 - 4 11 19 1 56 ผู้ป่วย 87.7% จะเกิดอาการภายใน 7 วัน ภายหลังได้รับยา ผู้ป่วย 11.7% เคยมีประวัติแพ้ยาที่เป็นสาเหตุในครั้งนี้มาก่อน ยาที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด คือ 1. ยาในกลุ่ม Penicillin 2. Sulfa (ส่วนมากเป็น Cotrimoxazole) 3. Antituberculous drug 4. NSAID (เป็น Piroxicam มากที่สุด) 5. Phenytoin ตารางที่1และ2เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้รับจากศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการ ใช้ยา เปรียบกับข้อมูลศึกษาโดยผู้เขียน ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง เมื่อดูข้อมูลจากตารางที่ 1 จะพบความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ข้อมูลจากศูนย์ติดตาม อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัย เป็น rash, rash erythematous ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา น.พ. ชำนาญ (1993-1996) 450 - 450 - - - 207 (46%) 103 (22.8) 63 (14%) - - 15 (33%) - 6 (1.3%) - 8 (1.77%) - - 23 (5.11%) 25 (5.55%) 19961993 1994 4,352 10,075 2,903 711 720 367 249 261 169 88 61 56 25 25 13 28 11 12 11 96 3,901 7,838 3,714 1,146 951 536 244 292 150 96 33 35 24 29 18 17 6 17 9 111 3,360 6,589 3,376 1,108 961 378 261 218 120 73 37 35 31 24 19 18 16 14 10 53 จำนวนผู้ป่วย (ราย) จำนวนอาการอันไม่พึงประสงค์ จำนวนอาการที่ระบบผิวหนัง Priritus Rash Rash, erythematous Rash, maculo-papular Urticaria Fixed drug eruption Steven-johnson syndrome Angioedema Erythema multiforme Rash, purpuric Exfoliative dermatitis Sweating increased Bullous Alopecia Toxic epidermal necrolysis Eczema Others 1995
  • 15. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 4 2,303 54.55% (62.06%) (25.77%) (7.46%) 11.32% 10.86% 1.60% ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มนี้จะลดน้อยลงไปมาก หากได้มีการแจกแจงละเอียดลง ไปกว่านี้หรือผู้รายงานมีความเข้าใจลักษณะของผื่นผิวหนัง เพราะผู้ป่วยในกลุ่มนี้จริง ๆ แล้วอาจเป็นผื่น ชนิด maculo-papular rash, eczema, erythema mulitformeหรือผื่นชนิดอื่นๆ ตารางที่ 2 แสดงกลุ่มยาที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ จากตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มยาที่เป็นสาเหตุในการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ได้บ่อยจะมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน คือมียาในกลุ่ม antiinfective เป็นสาเหตุให้เกิดการแพ้ได้บ่อยที่สุด และก็คล้ายคลึงกับราย งานอื่น ๆ ด้วย ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา น.พ. ชำนาญ (1993-1996) 143 97 (67.8%) (86.6%) - (13.4%) 28 (19.58%) 11 (7.7%) 1995 19961993 1994 4,352 25.51% (60.10%) (27.70%) (8.88%) 5.62% 4.54% 55.55% 3,901 51.71% (59.48%) (26.90%) (9.64%) 9.85% 2.68% 15.65% จำนวนผู้ป่วย (ราย) ยาที่เป็นสาเหตุ 1. System antiinfectives - Antiviotics - Chemotherapeutics - Antituberculous (excl.streptomycin) 2. Musculo-sketetal system drugs 3. Central nervous system drugs 4. Antiparasitic drugs 3,360 52.02 % (66.22%) (22.52%) (7.46%) 8.7% 9.46% 11.31%
  • 16. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 5 พยาธิกำเนิดของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ I. Non-allergic adverse drug reaction II. Allergic adverse drug reaction I. NON-ALLERGIC ADVERSE DRUG REACTION ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมักจะไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลที่เกิดขึ้นมัก เป็นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา อาการโดยทั่วไปมักไม่ค่อยรุนแรง แต่พบได้บ่อยกว่ามาก แบ่งออกได้เป็น 1. Exaggerated toxicity เกิดขึ้นเนื่องจากมีระดับยาในร่างกายสูงเกินปกติ จนทำให้เกิดผลข้าง เคียง สาเหตุของการที่ระดับยาสูงเกินปกติ คือ 1) Overdose เป็นการได้รับยาเกินขนาดจริง เช่น การใช้ยาอย่างไม่ถูกวิธี การรับประทานยาผิด ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะไม่เข้ากับคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก 2) มีการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น bioavailability ของยา , gastro-intestinal tract , drug interaction 3) มีการกระจายตัวของยาผิดปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาตรของการกระจายตัวของยา เช่น การ มี plasma binding protein ลดลง ทำให้มีรูปอิสระของตัวยา ซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น Coumarin ที่ออกฤทธิ์มากเกินไปเมื่อใช้ร่วมกับ Phenylbutazone เพราะ Phenylbutazone ไปแย่งจับกับ plasma binding protein ได้ดีกว่า 4) มีการขับถ่ายยาออกจากร่างกายลดลงผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย จะมีโอกาสเกิด ผลข้างเคียง จากยาที่ต้องขับถ่ายทางปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น Digoxin , Aminoglycoside หรือผู้ป่วยที่ เป็นโรคตับก็จะมีการขับถ่ายยา เช่น Barbiturate, Phenytoin ซึ่งต้องขับออกจากร่างกายทางอุจจาระลดลง 5) ปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกัน จะมีผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยาตัวอื่นได้หลายอย่าง เช่น bioavailability, plasma binding protein, rate of metabolism, rate of excretion, การแย่งจับที่ receptor site, การเสริมฤทธิ์-ต้านฤทธิ์ ผลดังกล่าวนี้สามารถป้องกันได้ ถ้าแพทย์ผู้สั่งการรักษา มีความรู้เกี่ยวกับเภสัช วิทยาของยาต่าง ๆ 2. ความผิดปกติของขบวนการ drug metabolism อันเป็นขบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงยาให้เป็น metabolismซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์ของยาหรืออาจเป็นผลเสียต่อร่างกาย drug metabolism จะเกิดขึ้นภายใน smooth endoplasmic reticulum โดย microsomal mixed function oxidase system ซึ่งมี cytochrome P450 เป็นenzyme ที่สำคัญในขบวนการนี้cytochromeP450เป็นenzymeที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บทที่ 2 พยาธิกำเนิด (Pathogenesis)
  • 17. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 6 (polymorphic) เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะได้รับยาในปริมาณที่เท่ากัน ก็อาจจะมี drugmetabolism ที่แตกต่างกัน หรืออาจมี drug metabolite ในปริมาณที่แตกต่างกัน และการเกิดฤทธิ์ของยาที่แตกต่างกันได้ แผนภูมิ แสดง drug metabolism ของยา INH ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตับ จากขั้นตอนดังกล่าวอาจใช้อธิบายขบวนการแพ้ยาหลายชนิดที่เคยถูกจัดอยู่เป็นแบบ “idiosyncrasy” ได้ และหากสามารถพัฒนาการตรวจหาลักษณะต่างๆของ cytochromeP450ในแต่ละบุคคลได้แล้ว ก็อาจ จะทำให้สามารถตรวจหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาได้ 3. ภาวะการขาด enzyme หรือ protein ที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะขาด enzyme epoxide hydrolase จะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา Phenytoin ได้ ง่ายเนื่องจากepoxidehydrolaseมีหน้าที่ในการกำจัดtoxicmetabolite ของยาPhenytoinที่ชื่อว่าArylamines ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “dilantin hypersensitivity syndrome” ผู้ป่วยจะมีไข้ หน้าบวม ต่อมนํ้าเหลืองโต มี ผื่นเป็น maculo-papular rash จนอาจกลายเป็น toxic epidermal necrolysis ได้ มีตับอักเสบ ไตอักเสบ ปอด อักเสบได้นอกจากPhenytoinแล้วPhenobarbiturate,Carbamazipineก็อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มี acetylation ช้ากว่าปกติ ที่เรียกว่า “slow acetylator” จะเกิดอาการข้างเคียงจากยา เช่น Hydralazine, Procainamide, Sulfonamide ได้ง่าย slow acetylator จะพบมากในชาวญี่ปุ่น เอสกิโม และ อังกฤษ ภาวะขาดหรือมีระดับของenzymeที่จำเป็นในขั้นตอนปกติบางอย่างตํ่ากว่าปกติ เมื่อได้รับ ยาบางอย่างเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้ระดับของenzymeนั้นลดตํ่าลงไปอีกเช่นในภาวะที่เรียกว่า“Coumarin necrosis” ผู้ป่วยมักจะเป็น heterozygote deficiency ของ protein C อยู่แล้ว ยา Coumarin จะทำให้ระดับ ของ protein C มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด และสลายลิ่มเลือดลดตํ่าลงไปอีกจนเกิดภาวะ thrombosis ภาวะ G-6-PD deficiency เมื่อได้รับยาบางอย่าง ก็จะมีการแตกของเม็ดเลือดแดงได้มาก เนื่องจาก enzyme G-6-PD มีหน้าที่ป้องกัน oxidation ของเม็ดเลือดแดงโดยยาหลายชนิด INH Acetyl isoniazid Acetyl hydrazine Reactive metabolite Hepatic molecules Hepatic necrosis Acetylation Hydrolysis Cytochrome P450
  • 18. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 7 4. Anaphylactoid reaction เกิดจากการที่ยาไปทำให้เกิดอาการทางคลีนิค ในลักษณะเดียวกับ immediate-typed hypersensitivity คือ มีผื่นลมพิษ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย ความดันโลหิตตํ่า แต่จะไม่มี การกระตุ้นโดยใช้ IgE 1) เกิดโดยยาไปกระตุ้น mast cell โดยตรง ทำให้มีการหลั่ง Histamine เช่น Opiates, Polymyxin B , d-Tubocurarine , Radiocontrast media 2) เกิดโดยยาไปกระตุ้น complement โดยตรง แล้วมีผลให้มีการหลั่ง mediator เช่น radiocontrast media 3) เกิดโดยยาไปยับยั้งการสร้างprostaglandins โดยยับยั้งที่ enzyme-cyclooxygenase ผล คือ จะมีการสร้างในอีก pathway เพิ่มขึ้น คือ leukotriene และมีผลกระตุ้น mastcell เช่น Aspirin, NSAID 5. Cumulative toxicity เกิดจากการสะสมของยา หรือ metabolite ของยาใน cell หรือใน tissue เช่น - Arsenic ทำให้มี diffuse macular pigment, skin cancer - Hypervitamin A ทำให้เกิดผิวหนังหลุดลอก ผมร่วง - Phenothiazine ทำให้เกิด slate gray pigmentation 6. Ecologic change โดยยาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ normal flora แล้วมี organism อื่น เพิ่มจำนวนขึ้นมาแทน เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์รุนแรงเป็นระยะนานจะทำให้เกิดเชื้อราcandida เพิ่มจำนวนในลำไส้และเยื่อบุ 7. Secondary หรือ side effect เป็นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยานั้นแต่ไม่ใช่ฤทธิ์ที่เราต้องการ เช่น - Antihistamine ทำให้ง่วงนอน - Systemic steroid ทำให้เกิดสิว อ้วน ติดเชื้อง่าย - Isotretinoin ทำให้โรค psoriasis แย่ลง - Oral contraceptive ทำให้โรค porphyria เป็นมากขึ้น II. ALLERGIC ADVERSE DRUG REACTION การแพ้ยาชนิดนี้ จะพบได้น้อยกว่า แต่อาการที่เกิดมักจะรุนแรงกว่า ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า ได้ เพราะอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา ในการเกิดปฎิกิริยาชนิดนี้ จะมี การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จัดออกได้เป็น 4 แบบ ตาม Gells and Coomb’s classification คือ 1. Immediate type hypersensitivity reaction 2. Cytotoxic type hypersensitivity reaction 3. Immune complex type hypersensitivity reaction 4. Delayed type hypersensitivity reaction
  • 19. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 8 1. Immediate type hypersensitivity reaction Immediate type hypersensitivity reaction หรืออาจเรียกว่า “ anaphylactic type ” เป็น allergic drug eruption ที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากยาPenicillin ส่วนมากยาจะมีขนาดของโมเลกุล ค่อนข้างเล็กนํ้าหนักโมเลกุลน้อยกว่า 2000Kd จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยแปลงของระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ซึงเรียกว่า “hapten”จะต้องผ่านขบวนการ drug metabolism ให้กลายเป็น reactive ทำให้เกิดการเปลี่ยแปลงของระบบภูมิต้านทานได้เช่น Penicillin จะถูก metabolism กลายเป็น Penicilloyl , Penicillic acid หรือ Penicillamine ก่อน เมื่อยารวมกับ protein จะกลายเป็น drug-protein conjugate ซึ่งเป็น complete antigen จะไป กระตุ้นให้ plasma cell สร้าง IgE ซึ่งจำเพาะกับยานั้นเพิ่มมากขึ้น IgE จะไปเกาะที่ผิวของ mast cell หรือ basophil ต่อมาหากผู้ป่วยได้รับเดิมอีก ก็จะไปจับกับ IgE 2 molecule ที่จำเพาะกับยานั้นที่อยู่บนผิวของ mastcell หรือbasophil เข้าด้วยกัน ทำให้มีการเพิ่ม permeability ของผนังเซลล์ มีการปล่อยสารหลาย ชนิดจากภายในเซลล์ โดยสาร histamine เป็นสารที่มีความสำคัญมากที่สุด จำทำให้เกิดอาการคือ Immediate reaction เกิดอาการในเวลาไม่กี่นาทีภายหลังได้รับยา อาการค่อนข้างรุนแรง ประกอบด้วย อาการคัน ผื่น ลมพิษ, bronchospasm, laryngeal edema, wheeze, rhonchi, hypotension จนเกิด anaphylactic shock ได้ Acceleratedreaction จะเกิดอาการภายในระยะเวลา 1-72 ชั่วโมง ภายหลัง ได้รับยา จะมีผื่น ลมพิษ, laryngeal edema ได้ Late reaction จะใช้เวลานานกว่า 72 ชั่วโมงจึงจะเกิดอาการโดยจะมีเฉพาะ ผื่นลมพิษ อย่างเดียว 2. Cytotoxic type hypersensitivity reaction Cytotoxic type hypersensitivity reaction นี้ antibody จะมีบทบาทที่สำคัญ ทำให้เกิดการทำลาย ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ตับ ระบบโลหิต เส้นประสาท กล้ามเนื้อ แต่ยังไม่พบกับระบบผิวหนัง โดย สามารถเกิดขึ้นได้ 3 วิธี คือ 1) ยาจะไปมีผลเปลี่ยนแปลงที่ tissue ทำให้เกิดมีส่วนที่เป็น hapten ขึ้นที่ผิวของเซลล์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้ antibody สามารถทำลายได้ เช่น - Penicillin-induced hemolytic anemia - Quinine-induced thrombocytopenia 2)ยาจะไปรวมกับ antibody เกิดเป็น drug-antibody complex และไปจับที่ผิวของเซลล์ เช่น platelete, WBC แล้วมีการทำลายเซลล์ดังกล่าว 3) ยาชักนำให้เกิด antibody ที่จำเพาะต่อ tissue-specific antigen เช่น Methyldopa ทำให้ เกิด antibody ต่อ red blood cell ทำให้เกิด hemolysis
  • 20. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 9 3. Immune complex type hypersensitivity reaction Immune complex type hypersensitivity reactionอาจเรียกว่า “Serum sickness type”หรือ “Arthus reaction” ก็ได้ การที่จะเกิด imune complex ระหว่างยากับ antibody ได้นั้นยาจะต้องคงอยู่ในกระแสโลหิต เป็นเวลาที่นานพอสำหรับการสร้าง antibody ได้ทัน ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 7 วัน antibody ส่วน มากคือ IgE บางรายอาจเป็น IgM ก็จะไปรวมตัวกับยานั้น immune complex ที่เกิดขึ้นจะไปจับที่ผนังของ เส้นเลือดแล้วจะกระตุ้น complement อันเป็นจุดเริ่มต้นของ inflammation ทำให้มีการทำลาย เส้นเลือดนั้น (vasculitis) โดยจะปรากฏอาการกับอวัยวะที่มีเส้นเลือดถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดข้อ ไตอักเสบ เส้น ประสาทอักเสบ ตับอักเสบ ระบบผิวหนังจะปรากฏเป็น ผื่นลมพิษ , vasculitis, maculo-papular rash หรือ erythema multiforme 4. Delayed type hypersensitivity reaction Delayedtypehypersensitivityreaction มีสาเหตุจากยา ส่วนมากจะทำให้เกิดอาการกับระบบผิวหนัง ตัวอย่างของปฎิกิริยาที่คุ้นเคยกันดีคือ allergic contact dermatitis ที่เกิดจากการแพ้ยาโดยการทาที่ผิวหนัง ลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นจะเป็น eczema แต่ยาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยกินหรือฉีด ก็สามารถทำเกิดได้เช่นกัน ผื่นที่พบนอกจากจะเป็น eczema แล้ว อาจพบได้เป็น maculo-papular rash, fixed drug eruption, erythema nodosum, lichenoid eruption เมื่อยาที่เป็น antigen(hapten) เข้าสู่ร่างกาย(ส่วนมากโดยการซึมผ่านทางผิวหนัง) จะถูก Langerhans cell ซึ่งมีหน้าที่ในการนำ antigen ไปส่งให้ lymphocyteในบริเวณใกล้เคียง พาไปส่งที่ lymphocyte แล้วต่อ ไปที่ lymph node ที่บริเวณ lymph node จะมีการแบ่งตัวของ lymphocyte ทำให้มี sensitized - T cell เพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วส่งกลับไปที่บริเวณผิวหนังที่ยาผ่านเข้าสู่ร่างกาย และบริเวณอื่น ๆ ด้วย ระยะนี้จะ เรียกว่า “sensitization phase” ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน ต่อมาถ้าผู้ป่วยได้รับยาตัวเดิมอีก ยาจะถูก sensitized lymphocyte ที่อยู่บริเวณนั้นเข้าจับ จะเกิดการ เปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ของ lymphocyte โดยจะมีการปล่อยสารชื่อ lymphokines ออกมาหลายชนิด ซึ่งทำ ให้เกิดการอักเสบ (inflammation) เกิดเป็นผื่นดังที่กล่าวมาแล้ว
  • 21. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 10 จากการศึกษาของผู้เขียน ในผู้ป่วยนอกจำนวน 450 ราย พบลักษณะของผื่นที่เกิดจากการใช้ยา ลักษณะต่าง ๆ จำแนกตามลำดับ ดังนี้ 1. Maculo-papular rash 207 ราย (46.00%) 2. Urticaria,Angioedema 103 ราย (22.80%) 3. Fixed drug eruption 63 ราย (14.00%) 4. Eczema 23 ราย (5.11%) 5. Erythema multiforme, Stevens Johnson syndrome 15 ราย (3.33%) 6. Photosensitive 11 ราย (2.44%) 7. Acneiform drug eruption 9 ราย (2.00%) 8. Bullous/oral ulcer 8 ราย (1.77%) 9. Exfoliative dermatitis 6 ราย (1.33%) ( ที่มา : ชำนาญ ชอบธรรมสกุล. ผื่นแพ้ยาที่ผิวหนัง.วารสารโรงพยาบาลราชวิถี ) MACULO - PAPULAR RASH ลักษณะทางคลินิก Maculo-papular rash (maculo-papular eruption) จัดเป็นผื่นแพ้ยาชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบว่ายา เกือบทุกชนิดสามารถทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ได้ (ตารางที่ 3) จึงเป็นผื่นแพ้ยาที่แพทย์มีความคุ้นเคยมากกว่าผื่น ลักษณะอื่น ๆ จนบางครั้งอาจนับรวมผื่นชนิดอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น eczema, photosensitive, erythema multiforme เข้าอยู่ด้วยกันจนทำให้จำนวนผู้ป่วยอาจสูงเกินความจริง ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash บทที่ 3 ลักษณะผื่นแพ้ชนิดต่าง ๆ ชนิดของยา มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา 1-5% ของผู้ได้รับยา Amikacin Apalcillin Azlocillin Bacampicllin Carbenicillin Cephalosporin Chloramphenicol Cyclacillin Dihydrostreptomycin Epicillin Erythromycin Flucloxacillin Gentamicin Mezlocillin Antibiotics Amoxicillin Ampicillin Miconazole Novobiocin Streptomycin Talampicillin
  • 22. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 11 ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash (ต่อ) ชนิดของยา มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา 1-5% ของผู้ได้รับยา Antibiotics Sulfonamides and Derivatives Other Antiinfective Agents Analgesics Antipyretics Antirheumatics Neurologic and Psychiatric Drugs - Sulfamethoxazole (with Trimethoprim) Nalidixic acid Thiabendazole Vidarabine Aclofenac Gold Metiazinic acid Naproxen d-Penicillamine Piroxicam Carbamazepine Chlorpromazine Mephenytoin Metisuximide Phenytoin Oxacillin Penicillin G Penicillin V Phenethicillin Piperacillin Pivampicillin Polymyxin B Propicillin Rifampicin Tetracycline Ticarcillin Vancomycin Sulfapyridine Sulfadimethoxin Sulfadoxine Sulfamethoxazole Sulfamethoxypyridazine Sulfisoxazole Acyclovir p-Aminosalicylic acid Capreomycin Chloroquine Dapsone Nitrofurantoin Quinacrine Quinine Thioacetazone Trimethoprim Acetylsalicylic acid Azapropazone Bucloxic acid Diclofenac Indomethacin Meclofenamate Mefenamic acid Metamizole Nifulmic acid Phenylbutazone Sulindac Ethiosuximide Imipramine Isocarboxazid Maprotiline Opipramol Phenobarbital Primidone
  • 23. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 12 ตารางที่ 3 แสดงรายชื่อยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดผื่นชนิด Maculo-papular rash (ต่อ) Maculo - papular rash จะประกอบด้วยผื่น 2 ชนิด คือ Macule หมายถึง ผื่นที่มีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสีผิว อาจเป็นสีแดง ม่วง นํ้าตาล หรือดำ โดยผิวหนังมักจะแบนราบหรืออาจนูนขึ้นเล็กน้อย ผื่นมักมีรูปร่างกลม ถ้าขนาดของผื่นใหญ่กว่า1ซม. จะเรียกว่า patch Papule หมายถึง ตุ่มนูนที่ผิวหนัง Maculo - papular rash ในผู้ป่วยบางรายอาจมีรูปร่างลักษณะพิเศษ เช่น Rubelliform rash ลักษณะของผื่นจะคล้ายกับผื่นในโรคหัดเยอรมัน (rubella) จะเป็น maculeสีแดงเล็กจำนวนมากปะปนกับpapuleเล็กคลำดูจะรู้สึกสากๆผื่นมักจะไม่ค่อยร่วมกันเป็นผื่นใหญ่ Morbiliform rash ลักษณะของผื่นจะคล้ายกับผื่นในโรคหัด (measles) ผื่นมีขนาดใหญ่กว่า rubelliform rash และมักจะมีการรวมกันของผื่น Papular rash ผื่นจะประกอบด้วยตุ่มนูนแดง (papular) เป็นส่วนมาก ผื่นมักจะรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่ สีแดงจัด บางครั้งจะกลายเป็น exfoliative dermatitis ได้ โดย มากจะพบผื่นบริเวณลำตัวและกระจายตามแขนขา โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า หากพบผื่นจะทำให้โอกาส ที่จะเป็นผื่นจากการแพ้ยามีมากขึ้น ( ที่มา : Konrard Borke. , Cutaneous side effect of drugs : W.B. Sounders. 1988 ) 1-5% ของผู้ได้รับยาชนิดของยา Neurologic and Psychiatric Drugs Antidiabetics Cytostatic Agents Diagnostic Aids Thyroid Drugs Cardiac Drugs Uricosaric Agents มากกว่า 5% ของผู้ได้รับยา - Carbutamide Bleomycin Dauxorubicin Mitotane - Metamizole sodium (Dipyrone) Methimazole Captopril - Pyritinol Serine Isopropylhydrazine Sulthiame Trimethadione Chlorpropamide Glyburide Glymidine Tolbutamide Asparaginase Cytarabine Melphalan Dintrizoate sodium Iodipamide Iothalanic acid Methylthiouracil Thiouracil Disopyramide Prazosin Procanamide Tribenoside Allopurinol Probenecid
  • 24. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 13 ผื่นจะมีสีแดง สีจะซีดจางลงได้เมื่อเอากระจกใสลองกดทับดู แต่ในบางครั้งที่มีการอักเสบ รุนแรง เส้นเลือดอาจขยายตัวมากจนเม็ดเลือดแดงแทรกตัวออกนอกเส้นเลือดเวลากดผื่นจะไม่จางลง เหมือนเลือด ออกในผิวหนัง (purpura) Lagperiodคือช่วงเวลาตั้งแต่ได้รับยาจนเกิดผื่นมักเกิดภายใน2สัปดาห์แต่บางรายอาจนานกว่านั้น เช่น ผู้ที่แพ้ยา Allopurinol, Phenytoin และในผู้ที่เคยแพ้ยานี้มาก่อน ก็จะเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้รวดเร็ว กว่าผู้ที่แพ้ยาเป็นครั้งแรก ระยะเวลาที่ผื่นปรากฏอยู่จะไม่แน่นอน แต่ส่วนมากมักเป็นอยู่ไม่นานเกิน 4 สัปดาห์หลังจากหยุดยา ยกเว้นบางรายที่อาจกลายเป็นผื่นชนิดอื่น เช่น exfoliative dermatitis ในบางรายแม้จะยังคงให้ยาที่เป็นต้นเหตุ การแพ้ยาต่อไป ผื่นก็อาจจะยุบหายลงได้เอง จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองพบปรากฏการณ์นี้ได้บ่อยในผู้ ป่วยติดเชื้อไวรัส HIV ที่ได้รับยาเช่น Cloxacillin ชนิดฉีดแล้วเกิด maculo-papular rash เมื่อสังเกตุอาการต่อ ไปสักระยะหนึ่ง ผื่นสามารถจางลงเองได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนจาก Cloxacillin เป็นยาอื่น แต่ในกรณีเช่นนี้จะ ต้องเฝ้าดูแลลักษณะของผื่นอย่างใกล้ชิด หากผื่นเป็นรุนแรงมากขึ้นจะต้องรีบหยุดยาทันที เมื่อผื่นเริ่มหายจะมีขุยเกิดขึ้น บริเวณที่มีผื่นขึ้นก่อนจะหายก่อน โดยมากบริเวณที่จะหายช้าที่สุดคือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เนื่องจากบริเวณนี้หนังกำพร้าจะหนากว่าบริเวณอื่น ๆ ในร่างกาย กว่าจะลอกหมดจึงใช้เวลานาน จะเห็นว่าฝ่ามือ ฝ่าเท้า จะหลุดลอกเป็นแผ่นใหญ่ ๆ หลังจากนั้นอาจจะมีรอยดำเกิดขึ้น ถ้าผื่นที่เกิดก่อนหน้า มีการอักเสบรุนแรงจะเกิดรอยดำหลังการอักเสบชัดเจน และใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะจางหายเป็นปกติ โดยไม่มีแผลเป็น อาการร่วมอื่นๆ คัน นับเป็นอาการที่มีความสำคัญมาก maculo-papular rash จะมีอาการคันเกือบทุกราย หาก พบผู้ป่วยที่เป็นผื่น macular-papularrash ซึ่งไม่มีอาการคันจะมีโอกาสเป็นผื่นที่เกิดจากการแพ้ยาได้น้อยลงมาก และโรคที่ต้องคิดถึงมากในกรณีนี้คือ อาจเป็นไข้ออกผื่น (จากเชื้อไวรัสหรือเชื้ออื่น ๆ ) หรือโรค ซิฟิลิส ระยะที่ 2 ไข้ เนื่องจาก maculo-papularrash เป็นขบวนการอักเสบinflammationที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย จากการหลั่ง mediator ต่าง ๆ อาจทำให้เกิดไข้ขึ้นได้ (ตารางที่ 4) นอกจากนี้การที่เป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย มี เส้นเลือดขยายตัวเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติโดยไม่เกี่ยวกับ mediator ก็ ได้อาการไข้จะพบได้มากใน maculo-papular rash ที่เกิดขึ้นจาก Immune-complex type : hypersensitivity ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่แพ้ยา Phenytoin,Dapsone,Carbamazipine,Phenobarbiturateซึ่งจะมีอาการกับอวัยวะ อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้ออักเสบ ไตอักเสบ ตับอักเสบ ต่อมนํ้าเหลืองโต ยาบางตัวสามารถทำให้เกิดอาการไข้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Amphotericin B Chemotherapy Dextran iron complexes Dimercaprol Edetate calcium disodium Streptokinase Vaccine (เช่น DPT)
  • 25. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 14 ตารางที่ 4 แสดงรายชื่อยาที่มักทำให้เกิดไข้ ( ที่มา : Konrard Borke. , Cutaneous side effect of drugs : W.B. Sounders. 1988 ) อาการไข้อาจเป็นอาการแสดงเพียงอย่างเดียวของอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาก็ได้ในบาง ครั้งส่วนมากไข้จากยาจะไม่ใช่ไข้สูงเกิดภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงภายหลังได้รับยา ขึ้นกับว่าได้รับยาเข้าสู่ ร่างกายโดยวิธีใด พบว่า Systemic route จะเกิดไข้ได้เร็วที่สุด และอาจมีอาการหนาวสั่นได้ ในผู้ที่เกิดอาการ เป็นครั้งแรก จะใช้เวลานานกว่า อาจนาน 7 - 10 วัน ต่อมนํ้าเหลืองโต (Lymphadenopathy)พบได้ในรายที่แพ้ยาอย่างรุนแรง ลักษณะทางพยาธิวิทยา จะไม่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ร้ายแรง มักจะเป็น Reactive hyperplasia มีรายงานการแพ้ยา Phyenytoin จนเกิดมี้ต่อมนํ้าเหลืองโต มีลักษณะคล้ายมะเร็งต่อมนํ้าเหลืองที่เรียกว่า Pseudo-lymphoma syndrome Eosinophiliaพบได้บางรายและไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าผื่นที่ปรากฏนั้นเกิดจากการใช้ยาแต่ถ้ามีจำนวน eonsinophil สูงมาก ๆก็จะช่วยสนับสนุน จากการศึกษาของผู้เขียนพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 20.6% เท่านั้นที่มี จำนวน eosinophil มากกว่า 5% การรักษา 1. หยุดยาที่เป็นสาเหตุ เป็นขั้นตอนการรักษาแรกสุดสำหรับการแพ้ยาทุกชนิด 1) ในกรณีที่ได้รับยาเพียงชนิดเดียว จะไม่มีปัญหาในการตัดสินใจ แต่บางครั้งภายหลังหยุดยา maculo-papular rash อาจจะยังไม่หยุดการลุกลามซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ระดับของยาในเลือดครั้งแรก อาจมีความเข้มสูงมาก Rate of metrabolism หรือ elimination ช้ากว่าปกติ ครึ่งชีวิต (half-life) ของยายาวนาน เช่น Phenobarbital ช่วงที่หยุดยาอาจเป็นช่วงที่ขบวนการการแพ้ยา ซึ่งเป็น immunologix process เริ่มต้น 2) ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาหลายชนิดในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นไปได้ควรหยุดยาทุกชนิดทันที หรือ หากไม่สามารถทำได้ก็ควรหยุดยาทีละชนิด โดยเริ่มจากการหยุดยาที่คิดว่ามีโอกาสเกิดการแพ้มากที่สุดก่อน พิจารณาจาก reaction rate (ตารางที่ 5) ซึ่ง reaction rate อาจสามารถค้นคว้าหาเพิ่มเติมจากตำราได้ หรือใน บางครั้งอาจต้องใช้ประสบการณ์การตัดสินใจ แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กลุ่มยาที่พบมีโอกาสเกิดอาการ อันไม่พึงประสงค์ของประเทศเรา เรียงลำดับจากมากไปน้อยก็คือ Systemic antiinfective, Musculo-skeletal drug , CNS drug ก็อาจใช้สถิตินี้ช่วยในการตัดสินได้ ยาต้านเชื้อ (Antiinfectious Drugs) ยาอื่นๆ p-Aminosalicylic acid Cephalosporins Chloramphenicol Erythromycin Isoniazid Netrofurantoin Penicillin Pyrazinamide Rifampicin Spectinomycin Streptomycin Sulfonamides Teracycline Allopurinol Barbiturates Hydralazine Iodine Methyldopa D-Penicillamine Phenobarbital Procainamide Propylthiouracil Quinidine Qounine Salicylates
  • 26. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 15 2. รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ เช่น Paracetamol จะดีกว่า Aspirin,ให้ยาลดอาการคัน เช่น Antihistamine 3. รักษาด้วย Corticosteroid Systemicsteroidที่ใช้คือ Prednisoloneโดยพิจารณาในผู้ป่วยที่มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย หรือมี อาการมาก ขนาดยาที่ให้ 30-60 mg/วัน และลดขนาดยาลงทุก 3-5 วัน เมื่ออาการดีขึ้น โดยควรจะหยุดยา ได้ภายใน 2 สัปดาห์ Topical steroid ควรเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ของยาเป็น mild potency ตารางที่ 5 แสดง Reaction rate สำหรับยาบางชนิดที่ได้รับโดยผู้ป่วยมากกว่า 500 ราย ที่มา : Bigby M, Jicks H, Aendt K. Drug-induced cutaneous reactions. JAMA 1986 ;256 (24) : 3358-3363 ชื่อยา Amoxicillin Trimethoprim-sulfamethoxazole Ampicillin Semisynthetic penicillins Blood, whole human Penicillin G Cephalosporins Quinidine Gentamicin sulfate Packed red blood cells Mercurial diuretics Dipyrone (Metamizole sodium) Heparin Trimethohenzamide hydrochloride Nitrazepam Barbiturates Chlordiazepoxide Diazepam Propoxyphene Isoniazid Guaifenesin Chlorothiazide Furosemide Isophane insulin suspension Phenytoin Phytonadione Flurazepam hydrochloride Chloral hydrate Reaction rate (ต่อ 1000 ใบสั่งยา) 51.0 47.0 42.0 29.0 28.0 16.0 13.0 12.0 10.0 8.1 9.5 8.0 7.7 6.6 4.0 4.0 4.0 4.0 3.4 3.0 2.9 2.8 2.6 1.3 1.1 0.9 0.5 0.2
  • 28. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 17 Maculo-papular rash (Maculo-papular eruption) รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 1,2,3 และ 4 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด ประกอบด้วยผื่นราบ ( maculo ) และ ตุ่มนูน (papule) ผื่นมักรวมกันเป็นปื้นขนาดใหญ่บริเวณลำตัว รูปที่ 5 :แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นสีแดงจัด จากการขยายตัวอย่างมากของเส้นเลือด ทำให้อาจมี ลักษณะคล้ายมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ( purpula) รูปที่ 6 :แสดง Maculo-papular rash ลักษณะ เป็นผื่นที่ประกอบด้วยตุ่มนูนเกือบทั้งหมด (papular eruption)
  • 29. คู่มือการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ฯ ความผิดปกติทางระบบผิวหนัง (Skindisorders) ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 18 รูปที่ 7 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่น คล้ายที่พบในหัดเยอรมัน (rubelliform rash) ประกอบด้วย ผื่นขนาดเล็กจำนวนมาก ปะปนกับตุ่มนูน ขนาดเล็ก ผื่นมักไม่รวมกัน รูปที่ 8 รูปที่ 9 รูปที่ 10 รูปที่ 11 รูปที่ 8,9,10 และ 11 : แสดง Maculo-papular rash ลักษณะเป็นผื่นคล้ายผื่นที่พบในหัด (morbelliform rash) ผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่า rubelliform rash แต่มักจะรวมกันเป็นปื้น Maculo-papular rash (Maculo-papular eruption)