SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  26
Télécharger pour lire hors ligne
Dhammaratana Journal
Vol.2 No.5 Jan.-Mar. 2013 ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ เดือนม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖
วารสารธรรมรัตน์
๒๔
ก.พ.
๒๕๕๖
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำ�บุญ
วันมาฆบูชา
ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
- ถือศีลปฏิบัติธรรม
- ตักบาตร
- ฟังเทศน์
- เวียนเทียน
ข อ เ ช ิ ญ ร ่ ว ม . . .
Maghapuja Ceremony
(The Heart of Buddhism)
Sunday, February 24, 2013
All Members
Are Welcome
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana
C O N T E N T S
ส า ร บ ั ญ
OBJECTIVES
	 - To serve as a Buddhism
promotion center in the U.S.
	 - To serve as a meditation
center in Pittsburgh
	 - To promote virtues, Bud-
dhist culture and traditions
	 - To be a center of all Bud-
dhists, regardless of nationalities
วัตถุประสงค์
	 -เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา
	 - เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานประจำ�เมืองพิทส์เบอร์ก
	 - เพื่อศูนย์ส่งเสริม ศีลธรรม
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
ที่ดีงามของชาวพุทธ
	 - เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเสริม
ความรู้พระธรรมทูตสายต่างประเทศ
	 - เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาว
พุทธโดยไม่จำ�กัดเชื้อชาติ
บทบรรณาธิการ	
พระพุทธพจน์ - The Buddha's Words	 	 	 	 1
Life is accepting the good and the bad 	 	 	 2
ขออย่ายอมแพ้	 	 	 	 	 	 	 6
เพชรจากพระไตรปิฎก	 	 	 	 	 	 10
เผยเคล็ดลับคนอายุยืน	 	 	 	 	 	 11
ออยพูลลิ่ง	 	 	 	 	 	 	 16
สรุปข่าวรอบ ๓ เดือน	 	 	 	 	 	 21
รายนามผู้บริจาคทำ�บุญทอดกฐินสามัคคี	 	 	 	 24
รายรับ-รายจ่ายเดือนต.ค.-ธ.ค. 2555	 	 	 	 32
ญาติโยมผู้ถวายภัตตาหารเพลประจำ�วันต่างๆ	 	 	 39
ภาพกิจกรรมต่างๆ - Activities	 	 	 	 	 40-43
กิจวัตร		 	 	 	 	 	 	 44
The Daily Schedule of BMCP	 	 	 	 	 45
กิจกรรมทำ�บุญประจำ�ปี 2555 - Religious Ceremony 2012		 46
Activities of BMCP	 	 	 	 	 	 47
วัดป่าธรรมรัตน์
ก้าวย่างแห่งการฝึกตน
คติธรรมประจำ�วัด
สติมโต สทา ภทฺทํ
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา
The mind is very hard to check
and swift, it falls on what it wants.
The training of the mind is good,
a mind so tamed brings happiness.
เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ที่ปรึกษา :
	 พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี)
	 พระสุนทรพุทธิวิเทศ
	 พระครูปริยัติธรรมาภิราม
	 พระมหาถนัด อตฺถจารี
	 พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร
	 คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี
	 คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม
กองบรรณาธิการ :
	 พระมหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล
	 พระมหาสายันต์ อคฺควณฺโณ
	 พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
	 และอุบาสก-อุบาสิกา
รูปเล่ม/รูปภาพ
	 พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
Dhammaratana Journal is published by
Wat Padhammaratana
The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh
5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207
Tel(412)521-5095
E-mail : bmcpitts@hotmail.com
bmcpitts@yahoo.com
Homepage : www.bmcpitts.org
www.facebook.com/bmcpitts
www.youtube.com/bmcpitts
ธรรมรัตน์-Dhammaratana
วารสารธรรมะวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ ประจำ�เดือนม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ Vol.2No.5 Jan.-Mar. 2013
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana1
พระพุทธพจน์
The Buddha's Words
			
		นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ		 นตฺถิ โทสสโม กลิ
	 นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา			 นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ๒๐๒ฯ
	 ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ	 ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ 	 ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ
No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.
บทบรรณาธิการ
	 "อตุละเอย เรื่องนี้มีมานานแล้ว มิใช่เพิ่งจะมีในยุคปัจจุบัน อยู่เฉยๆ เขาก็นินทา
พูดมากเขาก็นินทา พูดน้อยเขาก็นินทา ไม่มีใครในโลกที่ไม่ถูกนินทา ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน
คนที่ถูกสรรเสริญหรือนินทาโดยส่วนเดียวไม่มี"
	 วารสารธรรมรัตน์รายไตรมาสปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ เดือนมกราคม-มีนาคมหรือฉบับ
แรกของปีใหม่นี้ ได้เวียนมาบรรจบพบกับท่านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแจ้งข่าวกิจกรรมงานบุญ
กุศลที่เกิดขึ้นในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา และในรอบ ๓ เดือนหน้าที่จะมีขึ้น ซึ่งมีกิจกรรมใน
รอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา ก่อนอื่นขอกล่าวคำ�ว่า สวัสดีปีใหม่ ส่วนกิจกรรมต่างๆ ของทางวัดมี
ดังนี้
	 เดือนตุลาคม ทางวัดมีกิจกรรมหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมและสมาชิก เป็นต้นว่า
การรับนิมนต์จากสมาคมผู้รักสัตว์ไปสวดมนต์อวยพรให้กับสัตว์เลี้ยง และการไปกล่าวสุ
นทรพจน์ในงานรำ�ลึกวันคล้ายวันเกิดมหาตมะ คานธี นอกจากนั้นยังมีการทำ�บุญวันออก
พรรษาในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ด้วย
	 เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูกาลแห่งบุญกฐิน และปีนี้เป็นปีแรกที่วัดจัดให้มีการ
ทอดกฐินสามัคคีในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ มีญาติธรรมเดินทางมาร่วมทำ�บุญจากรัฐ
ต่างๆ มากมาย ขออนุโมทนาบุญ หลังจากนั้นทางคณะสงฆ์และญาติธรรมได้เดินทางไป
ร่วมงานกฐินพระราชทานที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.ในวันที่ ๑๘ พ.ย.๒๕๕๕ และเดินทาง
ต่อไปร่วมงานกฐินสามัคคีของวัดป่าสันติธรรม เวอร์จีเนีย วันที่ ๒๕ พ.ย.๒๕๕๕ โดยทาง
วัดและญาติโยมได้นำ�ต้นผ้าป่าไปทอดทำ�บุญทั้ง ๒ วัดด้วย
	 เดือนธันวาคม คณะสงฆ์ได้เดินทางไปเยี่ยมญาติธรรมและถือโอกาสเข้าปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานที่รัฐเท็กซัสระหว่างวันที่ ๑ - ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๕ และวันส่งท้ายปีเก่า
ต้อนรับปีใหม่ ทางวัดจัดให้มีกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ทำ�ความดีรับปีใหม่ ซึ่งมีญาติธรรม
มาร่วมทำ�ความดีกันมากหน้าหลายตา ด้วยการสวดมนต์ ชมวีดีทัศน์ และฟังธรรม ขอ
อนุโมทนา
	 กิจกรรมในรอบ ๓ เดือนข้างหน้า ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนแห่งวัน
มาฆบูชาวันที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักของพระศาสนา คือ ละชั่ว ทำ�ดี ทำ�จิตให้ผ่องแผ้ว    
ทางวัดจัดทำ�บุญในวันที่ ๒๔ ก.พ.๒๕๕๖ ขอเชิญทุกท่านมาร่วมงานในครั้งนี้ ส่วนเดือน
มีนาคมนั้น มีกิจกรรมทำ�บุญทั่วไป ขอเชิญญาติโยมร่วมทำ�วัตรสวดมนต์เจริญจิตภาวนา
ได้ทุกวันตามเวลาที่ระบุไว้ในตารางกิจกรรมในวารสารเล่มนี้ และขอให้ท่านทั้งหลาย
ติดตามข่าวคราวกิจกรรมต่างๆ ได้ทางเว็บไซด์หรือเฟสบุ๊คของวัด หรือมีข้อสงสัยประการ
ใดให้โทรศัพท์มาสอบถามได้กับทางวัดโดยตรง
	 เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา ขอเชิญญาติโยมทุกท่านพลิกไปอ่านสาระธรรม และ
กิจกรรมต่างๆ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาได้ในวารสารเล่มนี้
ด้วยไมตรีธรรม
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana3
I
have practiced meditation for many years, but I still strug-
gle with my mind. Sometimes, I can really concentrate
and gain peace of mind. At other times, it is difficult to
focus and find peace of mind. My monkey mind still wanders.
	 In a similar comparison, when we drive on the road and
come to an intersection, we see traffic lights. How many col-
ors are there? Yes, everyone of us recognizes that there are
three of them: Red, yellow and green.
	 Which of the traffic lights do you favor? My friends say
they prefer the green light because they can go. Many friends
detest the red light. Why? Because they don’t want to stop, es-
pecially when they are rushing. Some do not refer the yellow
light because they don’t know whether to stop or speed up.
	 When we drive, do we meet the green light all the time?
Simply no! Sometimes the light is green or red, and some-
times it is yellow. If we accept the rule of traffic, we don’t
suffer much when we meet the red light or the yellow light.
This is the rule on the street that we must follow and observe
for our security and to avoid an accident.
	 In Buddhism, the green light is similar to happiness
and the red to suffering. The yellow is neither happiness nor
suffering. It
is a neutral
feeling.
	 In ev-
eryday life,
we don’t
obtain just
happiness
or just suf-
fering. We
experience
all emotions, whether we like it or not, because it is nature.
If we accept and learn from it, we know how to deal with
it cleverly. The Buddha said our duty when confronted with
misery is to understand it, not to suffer.
Ajahn Chah, a Thai meditation master once gave us a simple
contrast. Suppose you go and sit in the middle of a freeway
with the cars and trucks speeding toward you. You can’t get
angry at the cars and shout, “Don’t drive over here! Don’t
drive over here!” So what can you do? You get off the road.
The road is the place where cars run. If you don’t want the
cars to be there, you suffer.
	 When I was 13 years old and a novice, I learned about
worldly conditions or truths. I call these the eight secret sub-
jects that they never taught us in ordinary school or university.
They are: gain and loss, rank and obscurity, blame and praise,
happiness and pain.
	 We can split these conditions into two parts with pleas-
LIFE IS ACEPTING THE GOOD AND THE BAD
By Phramaha Piya Jundadal
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana4 5
ant objects being gain, rank, praise and happiness, and un-
pleasant objects as loss, obscurity, blame and pain. We al like
a pleasant object and dislike an unpleasant object, but can we
really refuse these unpleasant emotions at any point in our
lives? We all will face these eight subjects at one moment
or another in our lives. That’s why we have to learn how to
deal with our emotions so that when we face these unpleasant
objects(emotions), we won’t suffer much.
	 There is the master advice that when we achieve happi-
ness, be aware because it does not last forever. Pain or suffer-
ing will come afterward. When we face loss or pain, too, be
aware it will not last for a long time. It will change. When we
think like this, it’s like we prepare to accept the truth whether
we like or dislike it.
	 In China, there was one family that lived in a small vil-
lage. They had one young son and one horse. One day their
horse ran away. In the evening, the neighbors came and said,
“Oh! You are unlucky, you had only one horse to do the farm-
ing, we are sorry for that.”
	 “It’s all right, it is neither good nor bad,” said the father.
	 A week later their horse came back with another horse.
That evening their neighbors came and uttered, “Oh! You’re
so fortunate, now you have two horses, you can perform more
work.”
	 The father said, “It’s all right, it is neither good nor
bad.”
	 In the morning, when their son tried to ride the second
horse, he fell many times, causing him to break his legs. The
following evening, their neighbors come and said, “Oh! It’s so
awful, your son ruined his legs.”
	 “It’s all right, it’s nothing good nor bad,” said the father.
	 Since there was a war taking place between the two em-
pires, the governments called for every young man in the fam-
ily to serve their empire. Therefore, every family had to send
their sons to war –except for the son who had broken his legs.
In the evening the neighbors came and said, “It’s so miserable,
our sons have to be soldiers, we’re not sure if they’ll be alive
or not. You’re so blessed; your son doesn’t have to leave.”
The father simply responded the same, “It is neither good nor
bad.”
	 In Buddhism, whatever happens, it is neither good nor
bad. First, we have to accept it as it is. Secondly, we have to
understand or comprehend it. Thirdly, we need to know how
to deal with it in a wise way.
	 ขออนุโมทนา คุณจุมพล จันทรคุปต์ และคุณสันทัด พิมพ์ศรีเป็นวิศวกรรถไฟฟ้า
เดินทางมาศึกษาดูงานที่เมืองพิทส์เบิร์กระยะเวลา ๓ เดือน จบหลักสูตรเดินทางมาทำ�บุญ
ที่วัดและกราบลาพระสงฆ์นำ�ความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana7
	 พระพุทธเจ้าตรัสว่า กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ การได้เกิดเป็น
มนุษย์เป็นเรื่องยาก ถือว่าเป็นโชคลาภมหาศาล แต่การจะดำ�เนินชีวิตให้
ประสบความสำ�เร็จ และดีงาม เป็นเรื่องที่ยากกว่านั้นหลายเท่า
	 ในอดีตพระพุทธเจ้าและนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ให้อุบายในการ
ดำ�เนินชีวิตให้ประสบความสำ�เร็จและมีความสุข อุบายอย่างหนึ่งที่สำ�คัญ
คือ “อย่ายอมแพ้” เป็นกุญแจที่ไขไปสู่ความสำ�เร็จ เพราะความสำ�เร็จเกิด
จากการทำ�ไม่หยุด ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรคที่ถาถมเข้ามา ดังนิทาน
เรื่องนี้
	 มีชาวนากับลาเฒ่าอาศัยอยู่ชนบทห่างไกล ชาวนาใช้ลาช่วยงานที่
ไร่นามาครึ่งค่อนชีวิตของมัน เช้ามืดวันหนึ่ง เขาตื่นขึ้นพร้อมทั้งพาลาออก
ไปทำ�งานตามปกติ แต่ช่างโชคร้ายอะไรเช่นนั้น เจ้าลาเฒ่าลื่นและตกลง
ไปในบ่อลึก ชาวนาพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะช่วยมันขึ้นมาจากบ่อ แต่ไม่
ประสบผลสำ�เร็จ
	 ทันใดนั้น ความคิดอย่างหนึ่งก็ผุดขึ้นมาในหัวของเขาว่า เจ้าลา
เฒ่าช่วยงานอะไรเราไม่ได้มากเหมือนแต่ก่อน ไอ้บ่อนี้ก็ไม่ได้ใช้งานอะไร
เอาว่ะ เอามันขึ้นมาไม่ได้ก็ฝังทั้งลาและถมบ่อไปในตัว”
	 ชาวนาเข้าไปในหมู่บ้านเรียกเพื่อนฝูงมาช่วยเอาดินถมบ่อและลา
ในขณะที่พวกเขาสาดดินลงไปในบ่อ เจ้าลาก็สะบัดดินออกจากหลังและ
ขึ้นยืนบนดิน ชั่วโมงต่อมา ชาวนาและเพื่อนต่างรู้ว่า เจ้าลาเฒ่ายังไม่ตาย
และสามารถออกจากบ่อได้ ทุกคนต่างแปลกใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
	 เจ้าลาเฒ่าไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาที่กำ�ลังเผชิญ จึงทำ�ให้มันรอด
ชีวิตออกมาจากบ่อลึกนั้นได้ ชีวิตของคนก็คล้ายกัน ดินที่ถาถมเข้ามา
เสมือนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของแต่ละคน ถ้าเราไม่ยอม
แพ้ ค่อยคิดแก้ปัญหาไป ก็สามารถจะยืนหยัดต่อสู้ไปได้
	 สมัยที่พระโพธิสัตว์ออกแสวงหาโมกขธรรมหรือทางหลุดพ้น เมื่อ
ทรงปูลาดหญ้าคาและประทับนั่งภายใต้โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์แล้ว ได้
ทรงตั้งอธิษฐานธรรมว่า แม้เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง
เอ็น และกระดูก ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่
ยอมลุกขึ้น ตราบนั้น ต่อมาภายหลังพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเหล่าสาวก
ว่า คุณธรรม ๒ ข้อ ที่นำ�ให้ประสบความสำ�เร็จในกิจการต่างๆ คือ
	 ๑.ไม่พอใจกุศลธรรม พยายามฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
สิ่งไหนที่ดี เป็นบุญกุศล เป็นไปเพื่อพัฒนาตนเอง ไม่ยอมหยุดนิ่งติดอยู่
กับที่
	 ๒.ไม่ระย้อต่อปัญหาอุปสรรคที่ผ่านเข้ามา เมื่อประสบพบเจอ
ปัญหาอุปสรรค ไม่ละความเพียรพยายาม ไม่ยอมจำ�นนต่ออุปสรรค
ต่างๆที่ผ่านเข้ามาทดลอง
	 นี้คือเคล็ดลับที่ทำ�ให้พระองค์บรรลุความสำ�เร็จที่ทรงแสวงหามา
เป็นระยะเวลา ๖ ปี ทรงแนะนำ�ให้ปลูกฝังคุณธรรม ๒ ข้อนี้ไว้ในจิตใจ จะ
ได้นำ�ไปพัฒนาและเปลี่ยนชีวิตได้ ในพระพุทธศาสนา ความเพียรเป็นคำ�
สอนที่สำ�คัญดังปรากฏอยู่ในหลักคำ�สอนใหญ่ๆ และชาดกต่างๆ เป็นต้น
ว่า พระมหาชนกชาดก
ขออย่ายอมแพ้
ปิยเมธี
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana8 9
	 ผู้เขียนขอรวบรัดตัดตอนถึงคราววิกฤตแห่งชีวิตของพระมหา
ชนก เมื่อมหาชนกกุมารเติบโตเป็นหนุ่ม และได้ทูลขออนุญาตพระมารดา
ออกเดินเรือไปค้าขายกับเพื่อนถึงแดนสุวรรณภูมิ แต่ในระหว่างทาง เกิด
พายุใหญ่โหมกระหน่ำ�  คลื่นซัดจนเรือจวนจะแตก บรรดาพ่อค้าและลูก
เรือพากันตระหนกตกใจ บวงสรวงอ้อนวอนเทพยดาขอให้รอดชีวิต
	 ฝ่ายมหาชนกกุมาร เมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้ว ก็เสวย
อาหารจนอิ่มหนำ�  ทรงนำ�ผ้ามาชุบน้ำ�มันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่น
หนา ครั้นเมื่อเรือจมลง เหล่าพ่อค้ากลาสี เรือทั้งปวงก็จมน้ำ�  กลายเป็น
อาหารของสัตว์น้ำ�ไปหมด แต่พระมหาชนกทรงมีกำ�ลังจากอาหารที่เสวย
มีผ้าชุบน้ำ�มัน ช่วยไล่สัตว์น้ำ�  และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำ�ได้ดี จึงทรง
แหวกว่าย อยู่ในทะเลได้นานถึง 7 วัน
	 ฝ่ายนางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทร เห็นพระมหาชนก
ว่ายน้ำ�อยู่เช่นนั้น จึงลองพระทัยพระมหาชนก "ใครหนอ ว่ายน้ำ�อยู่ได้
ถึง 7 วัน ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง จะทนว่ายไปทำ�ไมกัน" พระมหาชนกทรง
ตอบว่า "ความเพียรย่อมมีประโยชน์ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็จะว่ายไป
จนกว่าจะถึง ฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง" นางมณีเมขลากล่าวว่า "มหาสมุทรนี้กว้าง
ใหญ่นัก ท่านจะพยายามว่ายสักเท่าไรก็คงไม่ถึงฝั่ง ท่านคงจะตายเสีย
ก่อนเป็นแน่" พระมหาชนกตรัสตอบว่า "คนที่ทำ�ความเพียรนั้น แม้จะต้อง
ตายไปในขณะกำ�ลังทำ�ความเพียรพยายามอยู่ ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำ�หนิติ
เตียนได้ เพราะได้ทำ�หน้าที่เต็มกำ�ลังแล้ว " นางมณีเมขลาถามต่อว่า "การ
ทำ�ความพยายามโดยมองไม่เห็น ทางบรรลุเป้าหมายนั้น มีแต่ความยาก
ลำ�บาก อาจถึงตายได้ จะต้องเพียรพยายามไปทำ�ไมกัน" พระมหาชนก
ตรัสตอบว่า "แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เรา กำ�ลังกระทำ�นั้นอาจไม่สำ�เร็จก็ตาม ถ้าไม่
เพียรพยายามแต่กลับหมดมานะเสียแต่ต้นมือ ย่อมได้รับ ผลร้ายของ
ความเกียจคร้านอย่างแน่นอน ย่อมไม่มีวัน บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ
บุคคลควรตั้งความเพียรพยายาม แม้การนั้นอาจไม่สำ�เร็จก็ตาม เพราะ
เรามีความพยายาม ไม่ละความตั้งใจ เราจึงยังมีชีวิตอยู่ได้ ในทะเลนี้
เมื่อคนอื่นได้ตายกันไปหมดแล้ว เราจะพยายามสุดกำ�ลัง เพื่อไปให้ถึง
ฝั่งให้จงได้" นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้น ก็เอ่ยสรรเสริญความเพียร ของ
มหาชนกกุมาร และช่วยอุ้มพามหาชนกกุมาร ไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา วาง
พระองค์ไว้ที่ศาลาในสวนแห่งหนึ่ง
	 ภายหลังมหาชนกกุมารได้รับการอภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
ของเมืองมิถิลา ทรงบริหารจัดการบ้านเมืองของพระองค์ให้เจริญรุ่งเรือง
และสงบสุขด้วยหลักทศพิธราชธรรม พระมหาชนกถือว่าเป็นตัวอย่าง
ของคนที่มีความเพียรพยายามไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาจนเทวดาฟ้าดินยัง
ยอมแพ้ต่อจิตใจอันเข้มแข็งของพระองค์
	 หากเรามีความเพียรพยายามก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ใน
ชีวิตไปได้เช่นกัน พระพุทธเจ้าเคยตรัสถามหมู่ภิกษุว่า “ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย มีอะไรไหมที่จะไม่สำ�เร็จ หากมีความเพียรพยายาม”
ภิกษุทูลตอบว่า “ ไม่มี พระเจ้าข้า”
	 วันที่ ๖ ต.ค.
๒๕๕๕ พระอาจารย์มหาสา
ยันต์ อคฺควณฺโณ และพระ
อาจารย์พิรุฬห์ พทฺธสีโล รับ
นิมนต์ไปสวดมนต์และกล่าว
สุนทรพจน์เรื่อง "หนทางสู่
สันติภาพ" ที่มหาวิทยาลัย
พิทส์เบิร์ก ในวันคล้ายวัน
เกิดของท่านมหาตมะ คานธี
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana10 11
	 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุ
สั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
	 	 บุคคลย่อมไม่กระทำ�ความสบายแก่ตนเอง๑
	 	 ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
	 	 บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑
	 	 เป็นคนทุศีล๑
	 	 มีมิตรเลวทราม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ
	 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕
ประการเป็นไฉนคือ
	 	 บุคคลย่อมเป็นผู้ทำ�ความสบายแก่ตนเอง ๑
	 	 รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
	 	 บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑
	 	 เป็นผู้มีศีล ๑
	 	 มีมิตรดีงาม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน ฯ
เพชรจาก......พระไตรปิฎก
	 แม้การ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การมีชีวิตที่
ยืนยาวก็เป็นความปรารถนาของทุกชีวิต ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่ใครจะทำ�ได้
เรื่องการจะมีอายุยืนยาวถึง 120 ปีนี้ ในประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น
ท่านแรกในประเทศไทยที่สนใจศึกษาหาความรู้ ในเรื่องนี้ท่านได้เขียนบทความ
ชื่อ "วิธีทำ�ให้อายุยืน 120 ปี" เพราะท่านเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่นอกจากจะสนใจ
ในเรื่องนี้แล้ว ยังได้เดินทางไปเข้าหลักสูตรกับ ดร.อาชลาน เพื่อปฏิบัติให้มีอายุ
ยืนยาวแข็งแรงไม่มีโรคภัย ณ ประเทศโรมาเนีย
	 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ตรัสต่อข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จฯ เพื่อถวายพระพรในวันเฉลิม
พระชนมพรรษาว่า พระองค์ท่านตั้งพระทัยที่จะทรงมีพระชนมพรรษาถึง 120 ปี ซึ่ง
ในปีนี้พระองค์ท่านทรงจะมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาเต็ม อานาประชาราษฎร์
ต่างแซ่ซ้องสาธุการ อยากให้พระองค์ท่านทรงบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ทรงตั้ง
พระราชหฤทัย"
	 การศึกษาเรื่องอายุยืนยาวนี้ มีทั้งในซีกโลกฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก
ซึ่งฝากฝั่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตก ได้ศึกษาพบว่า คนจะมีชีวิตยืนยาวมี
หลักใหญ่ 3 ประการ กล่าวคือ พันธุกรรม 30% พฤติกรรม มีความสำ�คัญมาก 60%
เผยเคล็ดลับคนอายุยืน
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana12 13
ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบด้านคือ ปัจจัยทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อม เช่น ดินฟ้า
อากาศ มีผลเพียง 10%
	 แต่ในแนวทางตะวันออก โดยเฉพาะหลักพุทธศาสนาให้ความสำ�คัญกับ
"บุญกรรม" และ "บาปกรรม" ที่กระทำ�จะเป็นตัวแปรสำ�คัญอย่างยิ่ง แต่แนวความ
คิดในเรื่อง "กรรม" ตะวันตกไม่ได้กล่าวถึงเลย เพราะไม่เข้าใจ
	 ในทางพระพุทธศาสนา ก็มีคำ�สอนถึงสาเหตุที่ทำ�ให้อายุสั้นและอายุยืน คือ
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้
อายุยืน เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มี
โรคน้อย อบายมุข ๖ ทางแห่งความเสื่อม ทำ�ให้อายุสั้นและไม่มีคนอยากคบ บุญ ก็
เป็นเหตุให้อายุยืน สร้างบุญกุศลมาก ทำ�ให้มีอายุยืน
	 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการ เป็น
ไฉน คือ บุคคลย่อมเป็นผู้ทำ�ความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ มีมิตรดีงาม ๑
	 ๑) ทำ�ความสะบายให้แก่ตน คือทำ�ร่างกายให้สดชื่นร่าเริง ออกกำ�ลังกาย
กินอาหารที่ไม่มีพิษ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ทำ�อารมณ์ให้แจ่มใส
	 ๒) รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ( การออกกำ�ลังไม่หักโหม กินอาหารพออิ่ม
พักผ่อน )
	 ๓) พึงบริโภคในสิ่งที่ย่อยง่าย (หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ ของมัน ของทอด )
	 ๔) เป็นผู้มีศีล
	 ๕) มีเพื่อนเป็นคนดี
	 คุณยาย ดู ปินหัว เป็นบุคคลที่อายุยืนยาวที่สุดในโลก ท่านเกิดวันที่ ๒๒
เมษายน แต่ห่างกันคนละหลายสิบปี ท่านเกิดปี ค.ศ. ๑๘๘๖ ทางตะวันตกเฉียงใต้
ของมณฑลเสฉวน
	
เคล็ดลับที่คุณยายบอกกับทุกคน ที่ทำ�ให้อายุยืนยาวนานที่สุด คือ
	 1.ทานมังสวิรัติ หรือ กินแต่ผักตั้งแต่จำ�ความได้จนถึง ๑๑๐ ปี
	 2.ไม่สูบยา
	 3.ไม่แตะต้องเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
	 4.อารมณ์ดี
	 5.ใจกว้าง
	 6.ไม่เคยทะเลาะกับใคร
	 กินเนสส์บุ๊ก ออฟเดอะเวิร์ลด์ เรดคอร์ดส์ ได้บันทึกว่าคุณยายเป็นผู้มีอายุ
ยืนที่สุดมาตั้งแต่ ๔ ปีที่แล้ว โดยสรุป การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ๖ ประการ ทำ�ให้มีชีวิต
ที่ยืนยาวนาน ไม่ต้องพึ่งหมอ พึ่งแต่ธรรมชาติ
เผยเคล็ดลับคนอายุยืน
	 การมีชีวิตอยู่อย่างยืนนาน และสุขภาพยังแข็งแรงนั้น นับเป็นสุดยอด
ปรารถนา ของคนทุกผู้ทุกนาม แต่อะไรเล่าที่ทำ�ให้คนเราไปถึงจุดนั้นได้ แซล
ลี่ แบร์ นักโภชนาการ ฉุกคิดตั้งคำ�ถาม ขึ้นมาแล้วมองหาคำ�ตอบจากเมือง หรือ
ชุมชน 5 แห่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชน ที่มีคนอายุยืนอาศัยกันอยู่ มากที่สุดในโลก
ได้แก่ โอกินาวา ในญี่ปุ่น เกาะไซมีที่กรีซ แคมโปดีเมล ในอิตาลี หุบเขาฮันซา ใน
ปากีสถาน และเมืองปามาในจีน
	 จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำ�มาวิเคราะห์ดู นักโภชนาการจากอังกฤษ
ที่บัดนี้ใช้ชีวิตอยู่ในปากีสถานพบว่า มีเคล็ดลับข้อเหมือนกันในการใช้ชีวิตของคน
อายุยืนนั้น สรุปได้ 50 ข้อ นำ�มาดูสัก 2-3 ข้อ พอเป็นตัวอย่างเผื่อจะลองปฏิบัติตาม
เป็นหนทางไปสู่การมีอายุยืนกับเขากันบ้าง
	 ข้อเหมือนในการใช้ชีวิตของคนในชุมชนอายุยืนนั้นประการแรก พวกเขามัก
จะกินผักและผลไม้เป็นจำ�นวนมาก มักกินอาหารในกลุ่มธัญพืชหรือแป้งไม่ขัดขาว
มากกว่าขนมปัง แครกเกอร์ ส่วนอาหารไขมันก็จะเลือกที่เป็นไขมันสุขภาพอย่างถั่ว
หรือน้ำ�มันมะกอก เป็นต้น
	 ไม่กินอาหารพวกเนื้อสัตว์ และแบบแผนการกินอยู่ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มแค่
พอสัณฐานประมาณ ไม่กินมากเกินไป ทั้งยังไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบ
บุหรี่ด้วย
	 เรื่องกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันนั้น ไม่ต้องไปออกกำ�ลังตามโรงยิม แต่จะมี
การเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่ค่อยนั่งเฉยๆ ให้รถติดตามสี่แยกหรือทำ�งานแบบนั่ง
โต๊ะ แต่จะทำ�งานอาชีพประเภทประมงและเกษตรกรรม พอถึงเวลาพักผ่อนพวก
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana14 15
เขาก็จัดอยู่ในพวกแอ็กทีฟมาก เพราะจะทั้งร้องเล่น เต้นระบำ� ออกล่าสัตว์ และ
ออกกำ�ลัง แบบศิลปะป้องกันตัวอีกด้วย
	 ข้อสุดท้ายนี้ก็สำ�คัญ กล่าวคือนอกจากท้องอิ่มแล้ว ยังต้องหล่อเลี้ยงจิตใจ
ให้สบายด้วย แม้ว่าความคิดความเชื่อทางศาสนา จะแตกต่างกันไป แต่ตามชุมชน
ทั้ง 5 แห่ง ที่กล่าวมานั้นสมาชิกส่วนใหญ่ต่างก็ปฏิบัติสมาธิ สวดมนต์ภาวนาตาม
แบบของตน
5 นิสัย ช่วยชายอายุยืน
	 สถิติตรงกันทั่วโลกว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าประเทศไหนผู้หญิงล้วนมีอายุยืน
กว่าผู้ชาย ซึ่งตามที่มีการวิจัยมานั้นมีสาเหตุจากหลายอย่าง อย่างแรกมาจากนิสัย
การใช้ชีวิตประจำ�วัน (ชายสูบบุหรี่ดื่มเหล้ามากกว่าหญิงเป็นต้น) อีกสาเหตุหนึ่ง
เชื่อกันว่ามาจากลักษณะทางธรรมชาติ เช่นโครงสร้างด้านยีน ฮอร์โมน ระบบการ
ทำ�งานในร่างกาย
	 ผู้ชายมักเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญมีข้อแนะนำ�ว่า หากสามารถ
สร้าง 5 นิสัยต่อไปนี้ได้ ก็จะช่วยให้คุณผู้ชายมีอายุยืนขึ้น มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
น้อยลง 5 นิสัยที่ว่านี้ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ซึ่งก็ได้แก่
	 1.เลิกสูบบุหรี่
	 2.ระวังไม่ให้อ้วนหรือมีน้ำ�หนักเกินมาตรฐาน
	 3.ออกกำ�ลังสม่ำ�เสมอวันละ 30 นาที
	 4.ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง นั่นคือ ครึ่งแก้วไปจนถึงไม่เกิน 2 แก้ว
ต่อวัน
	 5.เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (เช่นกินผัก ผลไม้ ซีเรียล แป้งไม่ขัดขาว
เลี่ยงเนื้อสัตว์ใหญ่และไขมันอิ่มตัว
	 บทสรุป 5 นิสัยเพื่อชีวิตยืนยาวข้างต้นนั้น ได้มาจากผลการวิจัยเป็นเวลา
นาน 16 ปี ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา
	 ประเทศอังกฤษทำ�การสำ�รวจพบว่า ในโลกนี้สถานที่ที่มีคนอายุยืนอยู่มาก
ที่สุดคือ เกาะโอกินาวาของประเทศญี่ปุ่น ที่เกาะนี้มีคนอายุเป็นร้อยปีอยู่เป็นจำ�นวน
มาก ประเทศอังกฤษจึงส่งทีมงานเข้าศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลว่า อะไรเป็นสาเหตุ
หลักที่ทำ�ให้คนที่เกาะโอกินาวาอายุยืนกันมาก
	 ผลการศึกษาหาข้อมูลทั้งจากการสังเกตและการสอบถามผู้คนในท้องถิ่น
โดยตรงและวิธีอื่นๆสรุปว่า ปัจจัยที่ทำ�ให้คนที่เกาะโอกินาวาอายุยืนกันแทบทั้ง
เกาะมี 4 ปัจจัย คือ
	 1. การคิดทางบวก คนที่นี่คิดทางบวกกันทุกคน มองโลกสดใส ไม่รับสิ่ง
ลบๆ และไม่คิดทางลบ
	 2. การออกกำ�ลังกายทุกวัน เกาะโอกินาวาเป็นต้นกำ�เนิดของกีฬาคาราเต้
ผู้ชายที่เกาะนี้จะเล่นคาราเต้ทุกวันมากน้อยตามกรณี ส่วนผู้หญิงจะตำ�ถั่วเหลือง
เพื่อทำ�เต้าหู้และทำ�งานต่างๆ ซึ่งเป็นการออกกำ�ลังกายกันถ้วนทุกคนทุกวัน
	 3. การรับประทานเต้าหู้มาก ฝ่ายสำ�รวจข้อมูลพบว่า คนที่เกาะนี้รับ
ประทานเต้าหู้กันเป็นหลัก ใช้เต้าหู้ทำ�อาหารได้หลายอย่าง อาหารทุกมื้อจึงมีเต้าหู้
ปนอยู่ด้วยเสมอ
	 4. การมีเพื่อนบ้านที่ดี จากการสอบถามประชาชนในเกาะนี้ เขาพูดเป็น
เสียงเดียวกันว่า การมีเพื่อนบ้านที่ดีทำ�ให้เขาอายุยืน ฟังดูทุกคนซาบซึ้งในความดี
งามของเพื่อนบ้าน ต่างคนต่างดี ต่างคนต่างซึ้งใจกันและกัน ผลคือ ต่างคนต่างอายุ
ยืน
	 พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี, พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และพระมหาปิยะ อุตฺ
ตมปญฺโญ สอนสมาธิ และบรรยายเรื่องบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัย
เพนสเตท แก่นักศึกษาพยาบาล วันที่ ๗ พ.ย.๒๕๕๕
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana17
	 ออยล์พูลลิ่ง เป็นวิธีบำ�บัดของอินเดียที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดย
การอมน้ำ�มันไว้และเคลื่อนน้ำ�มันไปให้ทั่วช่องปาก ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอ
รายงานต่อที่ประชุมสัมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี
2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karach ได้
อธิบายถึงการบำ�บัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใครด้วยวิธีง่ายๆโดยใช้การอม
น้ำ�มัน
	 ผลลัพธ์ของการบำ�บัดด้วยวิธีนี้ ทำ�ให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วย
ความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการอธิบาย
ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ ทดลองทำ� พิสูจน์หาความสมเหตุ
สมผลที่เกิดขึ้น ต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจากการรักษาอย่างสมบูรณ์ อีก
ทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วยเป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ด้วยวิธีการง่ายๆ
ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด
	 Dr. Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลาย
เล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสงสัยในรายงานดังกล่าว
จึงได้ทดลองทำ�ออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr. Fife ถึงกับออกปากว่า ออ
ยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr. Fife
สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำ�มันจึงช่วยรักษาโรคได้ เขาเริ่มศึกษาการทำ�ออยล์พูลลิ่ง
ของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้น ในที่สุดก็ได้ข้อ
สรุปที่เป็นคำ�ตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling
Therapy มีใจความบางตอนดังนี้
- ในปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย
	 ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วน
ใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น
และอุนหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกัน
ว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำ�นวนประชาการของคนทั้ง
โลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและ
เหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรง
ฟันและการใช้น้ำ�ยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราว
เท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำ�นวนขึ้นเช่นเดิม
- โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก
	 อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือ
โรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ
ล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่
ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำ�ให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นในปากและ
ลำ�ใส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่
และบางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่
แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำ�ให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปาก
ของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำ�ให้แบคทีเรียสามารถ
เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้อ
อักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ
ออยล์พูลลิ่ง
แบคทีเรียในช่องปากและวิธีการทำ�ออยล์พูลลิ่ง
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana18 19
- ออยล์พูลลิ่งทำ�งานอย่างไร?
	 ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำ�บัดที่ทำ�ได้ง่ายที่สุดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในบรรดาการรักษาทางธรรมชาติด้วยเช่นกัน สำ�หรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่
การอมและเคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วๆปาก ไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูล
ลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการ
ปล่อยสารพิษให้หมดไป เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู
	 ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่
ก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปล่อยสารพิษแก่ร่างกายนั้น แต่ละเซลล์ของมันจะปกคลุม
ด้วยน้ำ�มันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผิวเซลล์ (เซลล์ของคน
เราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำ�มันลงในน้ำ� สิ่ง
ที่เกิดขึ้นคือ น้ำ�กับน้ำ�มันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำ�มันสอง
ชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำ�มันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน
นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง
	 เมื่อคุณใส่น้ำ�มันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำ�มันหรือไขมันของแบคทีเรีย
จะถูกน้ำ�มันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้
รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟัน จะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติด
แน่นอยูในส่วนผสมของน้ำ�มัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสม
ของน้ำ�มันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะ
กลืนมัน
	 เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออก
ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ไม่ใช่น้ำ�มัน (water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำ�ลาย น้ำ�ลายยังช่วย
ลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย
	 เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็น
โอกาสดีที่ร่างกายได้ทำ�การฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็น
ปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดีจึงกลับมาในที่สุด
- น้ำ�มันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำ�ออยล์พูลลิ่ง?
	 ตามตำ�ราโบราณของอินเดียแนะนำ�ให้ใช้น้ำ�มันดอกทานตะวันหรือน้ำ�มัน
งาเนื่องจากเป็นน้ำ�มันที่หาได้ทั่วไปในอินเดียขณะนั้นDr.Fifeกล่าวว่าน้ำ�มันชนิด
ใดก็สามารถใช้ทำ�ออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำ�มันมะพร้าว เนื่องจาก
ต้องการใช้น้ำ�มันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำ�มันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อ
สุขภาพมากกว่าน้ำ�มันดอกทานตะวัน น้ำ�มันงา หรือน้ำ�มันพืชชนิดใดๆ (กรดลอริ
คในน้ำ�มันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำ�ลายจะแตกตัวเป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อ
ว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค) เหตุผลอีกประการหนึ่ง ชอบที่น้ำ�มัน
มะพร้าวมีรสชาตินุ่มนวล น้ำ�มันบริสุทธิ์ชนิดอื่นๆเช่นน้ำ�มันมะกอกและน้ำ�มันงามี
กลิ่นรสรุนแรง น้ำ�มันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะ มี
ความสะอาดถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย
- วิธีการทำ�ออยล์พูลลิ่ง
	 * ทำ�ขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำ�ก่อนหรือไม่ก็ได้
	 * ใช้น้ำ�มันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก
	 * ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำ�มันไหลผ่านฟันและเหงือก
	 * น้ำ�มันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง
	 * เคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที
	 * จากนั้นให้บ้วนน้ำ�มันทิ้งไป
	 * บ้วนปากด้วยน้ำ�สะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ�
	 * ทำ�อย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย
- โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำ�ออยล์พูลลิ่ง
	 ผลของการทำ�ออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟัน
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana20
วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๕ : สมาคมคนรักสัตว์นิมนต์สวดมนต์อวยพรให้สัตว์
	 สมาคมคนรักสัตว์แห่งเมืองพิทส์เบิร์กนิมนต์คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์
ไปสวดมนต์อวยพรแก่คนเลี้ยงสัตว์และสัตว์เลี้ยง โดยเชิญผู้นำ�จากศาสนาต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกส์ ฯลฯ ไปสวดมนต์ให้พร มีผู้คนนำ�สัตว์
เลี้ยงมากมายมาร่วมงาน สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอให้สรรพสัตว์มีความสุข
วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๕ : วันเกิดท่านมหาตมะ คานธี
	 สมาคมอินเดียร่วมกับมหาวิทยาลัยพิทส์เบอร์ก และอีกหลายสมาคม จัด
งานรำ�ลึกวันคล้ายวันเกิดของท่านมหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอหิงสาธรรมผู้นำ�
พาชาวอินเดียกอบกู้เอกราชคืนจากอังกฤษ โดยนิมนต์พระอาจารย์มหาสายันต์
อคฺควณฺโณ และพระอาจารย์มหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล เจริญพุทธมนต์ และกล่าว
สุนทรพจน์เรื่องหนทางสู่สันติภาพ
วันที่ ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๕ : เจริญพระพุทธมนต์เปิดร้านไทยคอทเทจ
	 ร้านอาหารไทยคอทเทจของคุณรุ่งนภา ขันชาลี และเพื่อนๆ นิมนต์คณะ
สงฆ์เจริญพระพุทธมนต์-ฉันเพล-แสดงธรรม ทำ�บุญเปิดร้านอาหาร ขอให้เจริญ
สรุปข่าว
เดือนตุลาคม-
พฤศจิกายน-ธันวาคม
ขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น
นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรัง
ได้อีกหลายชนิด ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามี
การตอบสนองที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำ�มูก
มาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ
กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลใน
กระเพาะ ลำ�ไส้ ลำ�ไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบา
หวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำ�เดือน
	 ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำ�ออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะ
เป็นกรดปอดอักเสบ(ARDS)ถุงลมโป่งพองการอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือด
ในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ ถุงน้ำ�ดี หัวใจ น้ำ�ตาลในเลือดสูง
แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม ทารก
คลอดก่อนกำ�หนดน้ำ�หนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด
- ช่วงเวลาที่เหมาะจะทำ�ออยล์พูลลิ่ง
	 จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ปริมาณของแบคทีเรียในช่องปากมีการเปลี่ยน
แปลงในระหว่างวัน การรับประทานทำ�ให้แบคทีเรียบางส่วนผสมกับอาหาร
และน้ำ�ลายในที่สุดถูกกลืนลงไป ปริมาณแบคทีเรียมีมากสุดในตอนเช้าก่อนรับ
ประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมี
พื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้น
เกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น
เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำ�นวนขึ้นใหม่โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน
การทำ�ออยล์พูลลิ่งจึงควรทำ�เป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียใน
ช่องปากมีปริมาณมากที่สุด.
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana22 23
รุ่งเรือง ทำ�มาค้าขายคล่องตัว สาธุ
วันที่ ๑๙-๒๑ ต.ค. ๒๕๕๕ : ถือศีลปฏิบัติธรรม
	 ญาติโยมมาถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดป่าธรรมรัตน์ตลอดระยะเวลา ๒ คืน
๑ วัน ขออนุโมทนาบุญที่มีกุศลจิตในการฝึกฝนพัฒนาจิตใจตนเอง ขอให้เจริญใน
ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป
วันที่ ๒๘ ต.ค. ๒๕๕๕ : ทำ�บุญวันออกพรรษา
	 วันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา ทางวัดจัดให้มีการทำ�บุญตักบาตร
รักษาศีล สวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา มีญาติโยมมาร่วมทำ�บุญพอสมควร ขอ
อนุโมทนาบุญกับทุกท่าน
วันที่ ๔ พ.ย. ๒๕๕๕ : ทำ�บุญกฐินสามัคคี
	 บุญกฐินสามัคคีแรกของทางวัดป่าธรรมรัตน์ เมืองพิทส์เบิร์ก มีญาติ
ธรรมจากหลายรัฐเดินทางมาร่วมงาน เป็นต้นว่า รัฐโอไฮโอ่ รัฐเวอร์จีเนีย รัฐแมรี่
แลนด์ รัฐวอชิงตันดีซี ขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกท่านที่ร่วมมือกันจนงาน
ต่างๆ สำ�เร็จออกมาด้วยความเรียบร้อย ขอให้ได้บุญกันทุกคน
วันที่ ๗ พ.ย. ๒๕๕๕ : บรรยายเรื่องบทบาทสตรีที่ม.เพนเสต็ท
	 ดร.สเตฟานี มหาวิทยาลัยเพนสเตท นิมนต์พระอาจารย์ดร.มหาถนัด
อตฺถจารี, พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และพระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ ไปบรรยาย
เรื่องบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาให้นักศึกษาพยาบาลฟัง โดยมีคุณโยมบุญมณี
แม็คคาซี่ และคุณโยมสมทรง ฟ็อก เป็นพนักงานขับรถไป-กลับ ขออนุโมทนาบุญ
กับทั้งสองท่านมา ณ โอกาสนี้
วันที่ ๗ พ.ย. ๒๕๕๕ : ร่วมงานกฐินสามัคคีฝั่งตะวันตก
	 พระอาจารย์มหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล ได้รับนิมนต์จากเพื่อนพระธรรมทูตให้
เดินทางไปร่วมงานกฐินที่ฝั่งตะวันตกของอเมริกา เลยถือโอกาสแวะเยี่ยมเยือน
เพื่อนตามวัดต่างๆ ในแถบตะวันตก และเป็นการศึกษาดูงานพระศาสนาอีกด้วย
วันที่ ๑๖-๑๘ พ.ย. ๒๕๕๕ : งานกฐินพระราชทานวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.
	 คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์เดินทางไปช่วยงานและร่วมงานกฐิน
พระราชทานที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ทั้งนี้ญาติโยมตัวแทนชาวพิทส์เบิร์กคือ
คุณโยมอุไร-คุณโยมบุญมณี-คุณโยมสมทรงได้นำ�ต้นผ้าป่าบริวารกฐินไปทอด
ถวายสมทบทุนสร้างอาคาร ๘๐ ปีหลวงตาชีอีกด้วย ได้ปัจจัยสมทบทุนจำ�นวน
๑,๓๕๐ เหรียญ ขออนุโมทนา
วันที่ ๒๑ - ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๕ : ร่วมงานกฐินสามัคคีวัดป่าสันติธรรม
	 คณะสงฆ์ได้เดินทางต่อไปร่วมงานทอดกฐินสามัคคีวัดป่าสันติธรรม และ
ได้นำ�ต้นผ้าป่าบริวารกฐินจากการทำ�บุญของชาวเมืองพิทส์เบิร์กไปร่วมทอดถวาย
สมทบทุนสร้างศาลารวมใจของวัดโดยได้ปัจจัยบำ�รุงวัดจำ�นวน ๕๙๔ เหรียญ ขอ
อนุโมทนา
วันที่ ๑-๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๕ : เยี่ยมญาติธรรมและร่วมปฏิบัติธรรม
	 คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์เดินทางไปเยี่ยมครูบาอาจารย์ที่วัดบุศย์ธรรม
วนาราม ฟอร์ทเวิร์ท และญาติธรรมเมืองดัลลัส หลังจากนั้นถือโอกาสเข้าปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ขออนุโมทนาบุญกับญาติธรรมเมือง
ดัลลัสฟอร์ทเวิร์ทที่ให้การต้อนรับดูแลเป็นอย่างดี
วันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๕ : สวดมนต์ข้ามปีทำ�ความดีรับปีใหม่
	 ทางวัดป่าธรรมรัตน์จัดให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ทำ�ดีต้อนรับปีใหม่ โดย
เริ่มงานตั้งแต่ช่วงเย็นมีการทำ�วัตรสวดมนต์เย็น นั่งสมาธิ ชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับการ
ปฏิบัติวิิปัสสนากรรมฐาน สนทนาธรรม และเจริญพระพุทธมนต์อิติปิโสฯ ๒๑๖
จบ ก่อนให้ศีลให้พร ปะพรมน้ำ�พระพุทธมนต์ รับของที่ระลึกเป็นอันดับสุดท้้าย
ขอให้ญาติโยมทุกท่าน เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana25
รายนามผู้บริจาคทำ�บุญทอดกฐินสามัคคี
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ปัจจุบัน
ทอดถวาย ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
วันอาทิตย์ที่ ๔ พ.ย.๒๕๕๕
Marvin & Boonriem Freimund 			 $ 100.00
Phramaha Pirun Sodsai				 $ 1,000.00
คุณวาสนา สินธุยา					 $ 20.00
คุณสุพรรณี ขันสุวรรณ					 $ 20.00
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม					 $ 20.00
George J. & Pussanee Pastorino			 $ 25.00
Prabhassara Ruamsiri Agkrasa				 $ 200.00
Piyawan Chandsubin					 $ 50.00
Somsong Fox						 $ 100.00
Peter Lorince						 $ 40.00
ป้าป้อม						 $ 20.00
Malinee Vangsameteekul				 $ 500.00
Jeffrey C. & Sommai Meines				 $ 20.0
โยมย้ง ดี.ซี.						 $ 50.00
Soraya N Sar						 $ 1,400.00
Keriang Chauteh					 $ 100.00
คุณกัญญา สว่างโรจน์					 $ 50.00
คุณเบญจวรรณ						 $ 10.00
ป้ายุ เลาหพรรณ					 $ 10.00
N Praisaengpetch					 $ 100.00
Thipasorn Phuttawong, Samorn Namsawat 		 $ 50.00
Wasana Mongkhol, Piangumporn Noiwan		 $ 25.00
น้องเฟย์-น้องมุนี เพริศพราว				 $ 20.00
สัมฤทธิ์ เดชเดชานุกูล					 $ 100.00
คุณยายเสริมศรี เชื้อวงค์				 $ 12.00
คุณดลวรรณ เหวียน					 $ 20.00
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามจาก D.C.			 $ 230.00
Pimonpon & Eric Nelson				 $ 100.00
La & Pat Font						 $ 35.00
Ann & Alex Probat					 $ 35.00
คุณไพรินทร์ - อรพรรณ รูปขำ�				 $ 100.00
คุณวิไลวรรณ ปวงวัฒนา				 $ 20.00
แม่พรวน-พร-ชลิตา เก็บนาค				 $ 50.00
Saiyud Steiger(ป้านิด)					 $ 50.00
Pittsburgh Food Inc.					 $ 100.00
จริสศรี คงเมือง					 $ 20.00
Jim-Kim-Shelby Powers				 $ 60.00
Andy-C.J. Cands					 $ 50.00
Amy L. Bartoli						 $ 10.00
Kim Vann Ram						 $ 30.00
Bophary K. Ea-Lim, DD. LLC				 $ 200.00
T.k>Pawchareune, S.Pawachareune			 $ 30.00
M.Yeampeka						 $ 30.00
Saard Sanpa-arsa					 $ 40.00
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana26 27
Dr.Nakorn Apakupakul					 $ 50.00
คุณอนุสรา วงค์ษา					 $ 20.00
Mon Nelson						 $ 50.00
ปาริชาติ นิโคลส์					 $ 20.00
Tawachai Onsanit					 $ 100.00
Tasanee Kidd						 $ 50.00
Parnida Leonhard					 $ 1,000.00
จอห์น-วระณา แซ่เตียว, แมซเวร			 $ 100.00
Thai Gourmet Restaurant				 $ 200.00
พระมหาปิยะ-พ่อคำ�-แม่นวลจันทร์-ทาริกา-ติ๋ม-ปรีชา-ไชยา
จีราภา จันดาดาล					 $ 200.00
พระมหาสายันต์-แม่ทองจันทร์ ลาสนาม
พร้อมครอบครัวลูกๆ หลาน				 $ 200.00
Gilbert P. Trujillo					 $ 100.00
Thitiporn Dansawangkul				 $ 20.00
Terry Wright						 $ 40.00
จีรนุช Wright						 $ 20.00
อนุกุล แซ่ด่าน						 $ 20.00
คุณพ่อจรัส เทียนสิงหเดช				 $ 20.00
น้อง A, น้อง B, และ น้อง C				 $ 30.00
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม					 $ 20.00
Thai Cuisine Restaurant				 $ 930.00
ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์					 $ 10.00
William C. & Rungnapa Mccormick			 $ 50.00
Manus Sands						 $ 500.00
Somsiri Detruksa					 $ 300.00
Michael D. & Sompong Bray				 $ 100.00
Wimolphim Drobney					 $ 100.00
Ms.Maly Sickless					 $ 50.00
Khanan H Suvarnasuddhi, Pranee Arayavilaiphong	 $ 100.00
Sarunya Thongyoo					 $ 50.00
อุบาสกอุบาสิกาวัดป่าธรรมรัตน์			 $ 120.00
คุณจุมพล จันทรคุปต์					 $ 20.00
คุณประพจน์-คุณศิริพร คุณวงศ์				 $ 300.00
P.Amornkitwanit					 $ 25.00
Wild Papaya Rest.					 $ 90.00
Montri Visetsud					 $ 50.00
Yingrak Pureyananth					 $ 30.00
Sweet Mango						 $ 50.00
Charm Thai Rest.					 $ 40.00
นางเอื้องนภา-ริชาร์ด					 $ 100.00
นางเริงทิพย์ เดชน้อย					 $ 50.00
Cleveland						 $ 47.00
นางลาด ทาทอง- นายดี สดไสย์			 $ 50.00
S.Reungtriphop					 $ 50.00
กลิ่นขจร พรายแสงเพชร				 $ 50.00
ชัยกร-ธนิดา พงษ์กิจกรรม				 $ 100.00
คุณวนิดา สุนทรพิทักษ์					 $ 100.00
สมทรง Phoolsombat					 $ 100.00
คุณนู-อดิศักดิ์ สมุทรโคจร					 $ 50.00
คุณบุษบา-คุณเจย์ ฟอร์ด					 $ 500.00
Thanassaya-Nilobol, Chattarika Chatidesa			 $ 1,150.00
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana28 29
คุณสมายจิตร์ แก้วสุวรรณ					 $ 1,000.00
ธัญญนันทน์(ทองหีบ) โพธิ์ทอง					 $ 50.00
อ.ไพรจิต จารุตัน						 $ 20.00
กนกนุช อมรวงศ์						 $ 23.00
กิ่งกาญจน์ ชื่อสัตย์– - ชินาพร กาญจนพิช			 $ 73.00
อักค์เดช(เอก) พงศ์สกุล					 $ 100.00
มาลัย Gerland							 $ 20.00
รติพร-ภัทราภา							 $ 20.00
ชัยุฒิ เลิศวิชัยวรวิชย์						 $ 50.00
สุจิตรา เทียมเมืองแมน(บริจาคซื้อที่ดิน)			 $ 20.00
สุจิตรา เทียมเมืองแมน(กฐินสามัคคี)				 $ 20.00
วราภรณ์ จงเทพ						 $ 20.00
Peter Michael & Famity 					 $ 100.00
เฉลิมพันธ์-จิราพร จาบกุล					 $ 20.00
บุษดี ทองดี							 $ 50.00
มนัส(ดี) แซนด์							 $ 25.00
สุพรรณี ขันสุวรรณ						 $ 20.00
สราวุธ ชุโนทัยสวัสดี						 $ 5.00
คุณจาเร็ด-นฤมล โคแซน					 $ 20.00
Nalinrat Thananopjirakul					 $ 80.00
Wes Lipschuttz						 $ 21.00
Som Mccullouh						 $ 25.00
วิชาญ จิตต์ผ่องอำ�ไพ					 $ 20.00
สวินี ศรีสุข(พี่กลาง)					 1,000.00 บาท
ปรีดา-สำ�เพรา แก้วสุวรรณ				 500.00 บาท
เทวินทร์-อ้อยทิพย์-คณินพงค์ ศรีสุข			 1,000.00 บาท
พ.ต.พิพัฒน์-ศิริวิภา ศรีพรหม				 500.00 บาท
จิตรา ตั้งตรงวิจิตกุล					 100.00 บาท
K. ชีวัน วริพันธ์						 1,000.00 บาท
Hos Ducan						 $ 40.00
สรสิช สิททธิวัฒนานนท์				 $ 40.00
Katerinz Miller						 $ 20.00
จิราพร ชัยศรี						 $ 30.00
แก้ว พุทธวงศ์ และครอบครัว				 $ 100.00
Smiling Banana Leaves				 $ 600.00
สมหมาย เบิกกว้าง - Lovetro				 $ 60.00
ฐิติวรรณ วิชพันธ์					 500.00 บาท
Kim Vann Ram						 $ 10.00
กานต์ ปรางค์ชัยกุล					 $ 25.00
ต้อย เงินวิจิตร						 $ 10.00
Assoc.Prof.Taweesak Suthakaratin			 3,000.00 บาท
คุณแม่แม้น ศีกัญญา-อัศวการวณิช			 300.00 บาท
คุณสุวิทย์-ศีกัญญา อัศวการวนิช			 300.00 บาท
Patipong Prabhawong					 $ 100.00
รุ่งศักดิ์-จินดา ชาติอาษา				 200.00 บาท
Mr.William C.Kratry _ Prayoosri Verstzol		 $ 30.00
คุณพัชรี วิศวกิจเจริญ					 $ 10.00
คุณแม่ชีเมย์ บาร์ตัน					 $ 50.00
คุณสุกานดา บุพพานนท์				 $ 100.00
ประภารัตน์ จรรยาทรัพย์กิจ				 $ 20.00
พนมรัตน์ มุขกัง					 $ 200.00
Mrs.Sarsh Kim						 $ 100.00
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana30 31
Hong-Dokmay Philavong				 $ 100.00
See Pepsing & Family					 $ 30.00
John_Potchaman Wilson				 $ 325.00
Jumlong Megyesy					 $ 200.00
คุณสุมาลี เจริญตรง					 $ 100.00
พัชรี เครือสาร - อรอุมา บุรินทร์รักษ์			 $ 20.00
คุณเทวฤทธิ์ สระชนะ					 $ 10.00
คุณเปรมวดี ตั้งมะนะกิจ-แนน				 $ 50.00
Somsong Fox						 $ 50.00
พรรณี พรมเพ็ง					 $ 100.00
Red Orchid Restaurant				 $ 980.00
สมศักดิ์ น้ำ�ใส						 $ 100.00
Nina & Greg Gold และครอบครัว			 $ 150.00
Rattana Charoentra					 100.00 บาท
คุณปราณี ไอช์แมน					 $ 420.00
Watcharee Sangsaree					 $ 80.00
พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป				 $ 50.00
Viroj Balee						 $ 50.00
Somwang Zsaacson					 $ 200.00
Carroll Family						 $ 100.00
คุณพยุง-จินตนา งามสะอาด				 $ 100.00
ผ้าป่าพุทธศาสนิกชนวัดไทยดีชี			 $ 245.00
Boonsom- Donald Glass				 $ 25.00
Teppanyski Kyoto Restaurant				 $ 10.00
Apinya Kunjara_Na_Ayudhya(ซื้อที่ดินสร้างวัด)		 $ 300.00
Apinya Kunjara-Na-Ayudhya				 $ 100.00
เงินจากตู้บริจาคทำ�บุญตั้งกองทุนสร้างวัด		 $ 100.00
คุณอรุณรัชต์ ไทกุล(ครูแดง)				 $ 125.00
คุณจิรประภา ลาวรรณ					 $ 100.00
Kotty							 $ 20.00
ริชาร์ด เป็ปเปอร์					 $ 60.00
Anchalee-Sahaschai Musikabhumma			 $ 100.00
Benjamard Best					 $ 1,000.00
Boon Nantawan Changramai				 $ 100.00
พระอาจารย์สมเกียรติ ชิตมาโร, กัญญลักษณ์ ตั้งพรธิรักษ์	 $ 200.00
Richar L Farr & Rahsri S Farr				 $ 100.00
*หากรายนามของท่านผู้ใดขาดตกบกพร่องไป หรือผิดพลาดไป ทางวัด
ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอให้แจ้งให้ทางวัดทราบด้วย เพื่อแก้ไขให้ถูก
ต้องต่อไป
	 ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกหลังจากออกจากคอร์สปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ระหว่างวันที่ ๕-๑๖ ธ.ค.๒๕๕๕ ณ ศูนย์วิปัสสนา Southwest Vipassana Center เมือง
ดัลลัส เท็กซัส
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana33
ประจำ�เดือนตุลาคม
ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์					 $ 10.00
Manus Sands (ประกันสุขภาพพระ)			 $ 100.00
Manus Sands (ค่าน้ำ�-ไฟ)				 $ 40.00
Kitima Frank						 $ 40.00
Peter & Moo Michael					 $ 50.00
อุไร ตะสิทธิ์						 $ 65.00
Amy L. Bartoli						 $ 10.00
Vilavan Vong(ประกันสุขภาพพระ)			 $ 100.00
Preet Singh (ประกันสุขภาพพระ)			 $ 50.00
จุมพล จันทรคุปต์					 $ 20.00
Somsong Fox						 $ 50.00
กนกนุช อมรวงศ์(ซื้อที่ดิน)				 $ 20.00
กนกนุช อมรวงศ์(ค่าน้ำ�-ไฟ)				 $ 20.00
ปาริชาติ นิโคลส์(ค่าน้ำ�-ไฟ)				 $ 20.00
Parnida Leoharol(ประกันสุขภาพพระ)			 $ 50.00
***********
ประจำ�เดือนพฤศจิกายน
นิภารัตน์ แสนมอม					 $ 15.00
คุณมนัส แซนด์(ประกันสุขภาพพระและค่าน้ำ�ค่าไฟ)	 $ 150.00
Keith & Boonrieng Hamlin				 $ 100.00
Bungon Fontaine					 $ 20.00
Pimjai Birmingham						 $ 20.00
Manus Sands(ประกันสุขภาพพระและค่าน้ำ�ค่าไฟ)		 $ 50.0
Manus Sands (ประกันสุขภาพพระ)				 $ 100.00
***********
ประจำ�เดือนธันวาคม
Cham Chamh Dat Phap Danh Thieu Higo			 $ 200.00
Lng Kim Hoa Family and Vietnamese Devotees in Dallas	 $ 400.00
ณัฎฐพงศ์ จันทร์อยู่						 $ 30.00
Kim Vann Ram							 $ 120.00
จุมพล จันทรคุปต์						 $ 10.00
สันทัด พิมพ์ศรี							 $ 10.00
Thai Spoon LLC						 $ 100.00
Julie L. Sackman						 $ 100.00
ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์						 $ 40.00
นายจาเร็ต-นฤมล โคซาน					 $ 40.00
Tae & Suwattana Miller					 $ 300.00
Somsong Fox							 $ 40.00
รายรับ-รายจ่าย
ประจำ�เดือนตุลาคม - ธันวาคม
ปี 2555/2012
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5

Contenu connexe

Plus de Watpadhammaratana Pittsburgh

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016Watpadhammaratana Pittsburgh
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCPWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กWatpadhammaratana Pittsburgh
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระWatpadhammaratana Pittsburgh
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
 

Plus de Watpadhammaratana Pittsburgh (20)

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระ
 
The good buddhist
The good buddhistThe good buddhist
The good buddhist
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
 
วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
1 years
1 years1 years
1 years
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 

Dhammaratana journal 5

  • 1. Dhammaratana Journal Vol.2 No.5 Jan.-Mar. 2013 ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ เดือนม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ วารสารธรรมรัตน์ ๒๔ ก.พ. ๒๕๕๖ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำ�บุญ วันมาฆบูชา ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก - ถือศีลปฏิบัติธรรม - ตักบาตร - ฟังเทศน์ - เวียนเทียน ข อ เ ช ิ ญ ร ่ ว ม . . . Maghapuja Ceremony (The Heart of Buddhism) Sunday, February 24, 2013 All Members Are Welcome
  • 2. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana C O N T E N T S ส า ร บ ั ญ OBJECTIVES - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. - To serve as a meditation center in Pittsburgh - To promote virtues, Bud- dhist culture and traditions - To be a center of all Bud- dhists, regardless of nationalities วัตถุประสงค์ -เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา - เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานประจำ�เมืองพิทส์เบอร์ก - เพื่อศูนย์ส่งเสริม ศีลธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ดีงามของชาวพุทธ - เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเสริม ความรู้พระธรรมทูตสายต่างประเทศ - เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาว พุทธโดยไม่จำ�กัดเชื้อชาติ บทบรรณาธิการ พระพุทธพจน์ - The Buddha's Words 1 Life is accepting the good and the bad 2 ขออย่ายอมแพ้ 6 เพชรจากพระไตรปิฎก 10 เผยเคล็ดลับคนอายุยืน 11 ออยพูลลิ่ง 16 สรุปข่าวรอบ ๓ เดือน 21 รายนามผู้บริจาคทำ�บุญทอดกฐินสามัคคี 24 รายรับ-รายจ่ายเดือนต.ค.-ธ.ค. 2555 32 ญาติโยมผู้ถวายภัตตาหารเพลประจำ�วันต่างๆ 39 ภาพกิจกรรมต่างๆ - Activities 40-43 กิจวัตร 44 The Daily Schedule of BMCP 45 กิจกรรมทำ�บุญประจำ�ปี 2555 - Religious Ceremony 2012 46 Activities of BMCP 47 วัดป่าธรรมรัตน์ ก้าวย่างแห่งการฝึกตน คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระสุนทรพุทธิวิเทศ พระครูปริยัติธรรมาภิราม พระมหาถนัด อตฺถจารี พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม กองบรรณาธิการ : พระมหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล พระมหาสายันต์ อคฺควณฺโณ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ และอุบาสก-อุบาสิกา รูปเล่ม/รูปภาพ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ Dhammaratana Journal is published by Wat Padhammaratana The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh 5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 Tel(412)521-5095 E-mail : bmcpitts@hotmail.com bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts www.youtube.com/bmcpitts ธรรมรัตน์-Dhammaratana วารสารธรรมะวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ ประจำ�เดือนม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๖ Vol.2No.5 Jan.-Mar. 2013
  • 3. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana1 พระพุทธพจน์ The Buddha's Words นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ๒๐๒ฯ ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ No fire is there like lust, No crime like hatred, No ill like the Five Aggregates, No higher bliss than Nibbana's peace. บทบรรณาธิการ "อตุละเอย เรื่องนี้มีมานานแล้ว มิใช่เพิ่งจะมีในยุคปัจจุบัน อยู่เฉยๆ เขาก็นินทา พูดมากเขาก็นินทา พูดน้อยเขาก็นินทา ไม่มีใครในโลกที่ไม่ถูกนินทา ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน คนที่ถูกสรรเสริญหรือนินทาโดยส่วนเดียวไม่มี" วารสารธรรมรัตน์รายไตรมาสปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ เดือนมกราคม-มีนาคมหรือฉบับ แรกของปีใหม่นี้ ได้เวียนมาบรรจบพบกับท่านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแจ้งข่าวกิจกรรมงานบุญ กุศลที่เกิดขึ้นในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา และในรอบ ๓ เดือนหน้าที่จะมีขึ้น ซึ่งมีกิจกรรมใน รอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา ก่อนอื่นขอกล่าวคำ�ว่า สวัสดีปีใหม่ ส่วนกิจกรรมต่างๆ ของทางวัดมี ดังนี้ เดือนตุลาคม ทางวัดมีกิจกรรมหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมและสมาชิก เป็นต้นว่า การรับนิมนต์จากสมาคมผู้รักสัตว์ไปสวดมนต์อวยพรให้กับสัตว์เลี้ยง และการไปกล่าวสุ นทรพจน์ในงานรำ�ลึกวันคล้ายวันเกิดมหาตมะ คานธี นอกจากนั้นยังมีการทำ�บุญวันออก พรรษาในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ด้วย เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูกาลแห่งบุญกฐิน และปีนี้เป็นปีแรกที่วัดจัดให้มีการ ทอดกฐินสามัคคีในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ มีญาติธรรมเดินทางมาร่วมทำ�บุญจากรัฐ ต่างๆ มากมาย ขออนุโมทนาบุญ หลังจากนั้นทางคณะสงฆ์และญาติธรรมได้เดินทางไป ร่วมงานกฐินพระราชทานที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.ในวันที่ ๑๘ พ.ย.๒๕๕๕ และเดินทาง ต่อไปร่วมงานกฐินสามัคคีของวัดป่าสันติธรรม เวอร์จีเนีย วันที่ ๒๕ พ.ย.๒๕๕๕ โดยทาง วัดและญาติโยมได้นำ�ต้นผ้าป่าไปทอดทำ�บุญทั้ง ๒ วัดด้วย เดือนธันวาคม คณะสงฆ์ได้เดินทางไปเยี่ยมญาติธรรมและถือโอกาสเข้าปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานที่รัฐเท็กซัสระหว่างวันที่ ๑ - ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๕ และวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ทางวัดจัดให้มีกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ทำ�ความดีรับปีใหม่ ซึ่งมีญาติธรรม มาร่วมทำ�ความดีกันมากหน้าหลายตา ด้วยการสวดมนต์ ชมวีดีทัศน์ และฟังธรรม ขอ อนุโมทนา กิจกรรมในรอบ ๓ เดือนข้างหน้า ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนแห่งวัน มาฆบูชาวันที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักของพระศาสนา คือ ละชั่ว ทำ�ดี ทำ�จิตให้ผ่องแผ้ว ทางวัดจัดทำ�บุญในวันที่ ๒๔ ก.พ.๒๕๕๖ ขอเชิญทุกท่านมาร่วมงานในครั้งนี้ ส่วนเดือน มีนาคมนั้น มีกิจกรรมทำ�บุญทั่วไป ขอเชิญญาติโยมร่วมทำ�วัตรสวดมนต์เจริญจิตภาวนา ได้ทุกวันตามเวลาที่ระบุไว้ในตารางกิจกรรมในวารสารเล่มนี้ และขอให้ท่านทั้งหลาย ติดตามข่าวคราวกิจกรรมต่างๆ ได้ทางเว็บไซด์หรือเฟสบุ๊คของวัด หรือมีข้อสงสัยประการ ใดให้โทรศัพท์มาสอบถามได้กับทางวัดโดยตรง เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา ขอเชิญญาติโยมทุกท่านพลิกไปอ่านสาระธรรม และ กิจกรรมต่างๆ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาได้ในวารสารเล่มนี้ ด้วยไมตรีธรรม
  • 4. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana3 I have practiced meditation for many years, but I still strug- gle with my mind. Sometimes, I can really concentrate and gain peace of mind. At other times, it is difficult to focus and find peace of mind. My monkey mind still wanders. In a similar comparison, when we drive on the road and come to an intersection, we see traffic lights. How many col- ors are there? Yes, everyone of us recognizes that there are three of them: Red, yellow and green. Which of the traffic lights do you favor? My friends say they prefer the green light because they can go. Many friends detest the red light. Why? Because they don’t want to stop, es- pecially when they are rushing. Some do not refer the yellow light because they don’t know whether to stop or speed up. When we drive, do we meet the green light all the time? Simply no! Sometimes the light is green or red, and some- times it is yellow. If we accept the rule of traffic, we don’t suffer much when we meet the red light or the yellow light. This is the rule on the street that we must follow and observe for our security and to avoid an accident. In Buddhism, the green light is similar to happiness and the red to suffering. The yellow is neither happiness nor suffering. It is a neutral feeling. In ev- eryday life, we don’t obtain just happiness or just suf- fering. We experience all emotions, whether we like it or not, because it is nature. If we accept and learn from it, we know how to deal with it cleverly. The Buddha said our duty when confronted with misery is to understand it, not to suffer. Ajahn Chah, a Thai meditation master once gave us a simple contrast. Suppose you go and sit in the middle of a freeway with the cars and trucks speeding toward you. You can’t get angry at the cars and shout, “Don’t drive over here! Don’t drive over here!” So what can you do? You get off the road. The road is the place where cars run. If you don’t want the cars to be there, you suffer. When I was 13 years old and a novice, I learned about worldly conditions or truths. I call these the eight secret sub- jects that they never taught us in ordinary school or university. They are: gain and loss, rank and obscurity, blame and praise, happiness and pain. We can split these conditions into two parts with pleas- LIFE IS ACEPTING THE GOOD AND THE BAD By Phramaha Piya Jundadal
  • 5. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana4 5 ant objects being gain, rank, praise and happiness, and un- pleasant objects as loss, obscurity, blame and pain. We al like a pleasant object and dislike an unpleasant object, but can we really refuse these unpleasant emotions at any point in our lives? We all will face these eight subjects at one moment or another in our lives. That’s why we have to learn how to deal with our emotions so that when we face these unpleasant objects(emotions), we won’t suffer much. There is the master advice that when we achieve happi- ness, be aware because it does not last forever. Pain or suffer- ing will come afterward. When we face loss or pain, too, be aware it will not last for a long time. It will change. When we think like this, it’s like we prepare to accept the truth whether we like or dislike it. In China, there was one family that lived in a small vil- lage. They had one young son and one horse. One day their horse ran away. In the evening, the neighbors came and said, “Oh! You are unlucky, you had only one horse to do the farm- ing, we are sorry for that.” “It’s all right, it is neither good nor bad,” said the father. A week later their horse came back with another horse. That evening their neighbors came and uttered, “Oh! You’re so fortunate, now you have two horses, you can perform more work.” The father said, “It’s all right, it is neither good nor bad.” In the morning, when their son tried to ride the second horse, he fell many times, causing him to break his legs. The following evening, their neighbors come and said, “Oh! It’s so awful, your son ruined his legs.” “It’s all right, it’s nothing good nor bad,” said the father. Since there was a war taking place between the two em- pires, the governments called for every young man in the fam- ily to serve their empire. Therefore, every family had to send their sons to war –except for the son who had broken his legs. In the evening the neighbors came and said, “It’s so miserable, our sons have to be soldiers, we’re not sure if they’ll be alive or not. You’re so blessed; your son doesn’t have to leave.” The father simply responded the same, “It is neither good nor bad.” In Buddhism, whatever happens, it is neither good nor bad. First, we have to accept it as it is. Secondly, we have to understand or comprehend it. Thirdly, we need to know how to deal with it in a wise way. ขออนุโมทนา คุณจุมพล จันทรคุปต์ และคุณสันทัด พิมพ์ศรีเป็นวิศวกรรถไฟฟ้า เดินทางมาศึกษาดูงานที่เมืองพิทส์เบิร์กระยะเวลา ๓ เดือน จบหลักสูตรเดินทางมาทำ�บุญ ที่วัดและกราบลาพระสงฆ์นำ�ความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป
  • 6. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana7 พระพุทธเจ้าตรัสว่า กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ การได้เกิดเป็น มนุษย์เป็นเรื่องยาก ถือว่าเป็นโชคลาภมหาศาล แต่การจะดำ�เนินชีวิตให้ ประสบความสำ�เร็จ และดีงาม เป็นเรื่องที่ยากกว่านั้นหลายเท่า ในอดีตพระพุทธเจ้าและนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ให้อุบายในการ ดำ�เนินชีวิตให้ประสบความสำ�เร็จและมีความสุข อุบายอย่างหนึ่งที่สำ�คัญ คือ “อย่ายอมแพ้” เป็นกุญแจที่ไขไปสู่ความสำ�เร็จ เพราะความสำ�เร็จเกิด จากการทำ�ไม่หยุด ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรคที่ถาถมเข้ามา ดังนิทาน เรื่องนี้ มีชาวนากับลาเฒ่าอาศัยอยู่ชนบทห่างไกล ชาวนาใช้ลาช่วยงานที่ ไร่นามาครึ่งค่อนชีวิตของมัน เช้ามืดวันหนึ่ง เขาตื่นขึ้นพร้อมทั้งพาลาออก ไปทำ�งานตามปกติ แต่ช่างโชคร้ายอะไรเช่นนั้น เจ้าลาเฒ่าลื่นและตกลง ไปในบ่อลึก ชาวนาพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะช่วยมันขึ้นมาจากบ่อ แต่ไม่ ประสบผลสำ�เร็จ ทันใดนั้น ความคิดอย่างหนึ่งก็ผุดขึ้นมาในหัวของเขาว่า เจ้าลา เฒ่าช่วยงานอะไรเราไม่ได้มากเหมือนแต่ก่อน ไอ้บ่อนี้ก็ไม่ได้ใช้งานอะไร เอาว่ะ เอามันขึ้นมาไม่ได้ก็ฝังทั้งลาและถมบ่อไปในตัว” ชาวนาเข้าไปในหมู่บ้านเรียกเพื่อนฝูงมาช่วยเอาดินถมบ่อและลา ในขณะที่พวกเขาสาดดินลงไปในบ่อ เจ้าลาก็สะบัดดินออกจากหลังและ ขึ้นยืนบนดิน ชั่วโมงต่อมา ชาวนาและเพื่อนต่างรู้ว่า เจ้าลาเฒ่ายังไม่ตาย และสามารถออกจากบ่อได้ ทุกคนต่างแปลกใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าลาเฒ่าไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาที่กำ�ลังเผชิญ จึงทำ�ให้มันรอด ชีวิตออกมาจากบ่อลึกนั้นได้ ชีวิตของคนก็คล้ายกัน ดินที่ถาถมเข้ามา เสมือนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของแต่ละคน ถ้าเราไม่ยอม แพ้ ค่อยคิดแก้ปัญหาไป ก็สามารถจะยืนหยัดต่อสู้ไปได้ สมัยที่พระโพธิสัตว์ออกแสวงหาโมกขธรรมหรือทางหลุดพ้น เมื่อ ทรงปูลาดหญ้าคาและประทับนั่งภายใต้โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์แล้ว ได้ ทรงตั้งอธิษฐานธรรมว่า แม้เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่ ยอมลุกขึ้น ตราบนั้น ต่อมาภายหลังพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเหล่าสาวก ว่า คุณธรรม ๒ ข้อ ที่นำ�ให้ประสบความสำ�เร็จในกิจการต่างๆ คือ ๑.ไม่พอใจกุศลธรรม พยายามฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งไหนที่ดี เป็นบุญกุศล เป็นไปเพื่อพัฒนาตนเอง ไม่ยอมหยุดนิ่งติดอยู่ กับที่ ๒.ไม่ระย้อต่อปัญหาอุปสรรคที่ผ่านเข้ามา เมื่อประสบพบเจอ ปัญหาอุปสรรค ไม่ละความเพียรพยายาม ไม่ยอมจำ�นนต่ออุปสรรค ต่างๆที่ผ่านเข้ามาทดลอง นี้คือเคล็ดลับที่ทำ�ให้พระองค์บรรลุความสำ�เร็จที่ทรงแสวงหามา เป็นระยะเวลา ๖ ปี ทรงแนะนำ�ให้ปลูกฝังคุณธรรม ๒ ข้อนี้ไว้ในจิตใจ จะ ได้นำ�ไปพัฒนาและเปลี่ยนชีวิตได้ ในพระพุทธศาสนา ความเพียรเป็นคำ� สอนที่สำ�คัญดังปรากฏอยู่ในหลักคำ�สอนใหญ่ๆ และชาดกต่างๆ เป็นต้น ว่า พระมหาชนกชาดก ขออย่ายอมแพ้ ปิยเมธี
  • 7. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana8 9 ผู้เขียนขอรวบรัดตัดตอนถึงคราววิกฤตแห่งชีวิตของพระมหา ชนก เมื่อมหาชนกกุมารเติบโตเป็นหนุ่ม และได้ทูลขออนุญาตพระมารดา ออกเดินเรือไปค้าขายกับเพื่อนถึงแดนสุวรรณภูมิ แต่ในระหว่างทาง เกิด พายุใหญ่โหมกระหน่ำ� คลื่นซัดจนเรือจวนจะแตก บรรดาพ่อค้าและลูก เรือพากันตระหนกตกใจ บวงสรวงอ้อนวอนเทพยดาขอให้รอดชีวิต ฝ่ายมหาชนกกุมาร เมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้ว ก็เสวย อาหารจนอิ่มหนำ� ทรงนำ�ผ้ามาชุบน้ำ�มันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่น หนา ครั้นเมื่อเรือจมลง เหล่าพ่อค้ากลาสี เรือทั้งปวงก็จมน้ำ� กลายเป็น อาหารของสัตว์น้ำ�ไปหมด แต่พระมหาชนกทรงมีกำ�ลังจากอาหารที่เสวย มีผ้าชุบน้ำ�มัน ช่วยไล่สัตว์น้ำ� และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำ�ได้ดี จึงทรง แหวกว่าย อยู่ในทะเลได้นานถึง 7 วัน ฝ่ายนางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทร เห็นพระมหาชนก ว่ายน้ำ�อยู่เช่นนั้น จึงลองพระทัยพระมหาชนก "ใครหนอ ว่ายน้ำ�อยู่ได้ ถึง 7 วัน ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง จะทนว่ายไปทำ�ไมกัน" พระมหาชนกทรง ตอบว่า "ความเพียรย่อมมีประโยชน์ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็จะว่ายไป จนกว่าจะถึง ฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง" นางมณีเมขลากล่าวว่า "มหาสมุทรนี้กว้าง ใหญ่นัก ท่านจะพยายามว่ายสักเท่าไรก็คงไม่ถึงฝั่ง ท่านคงจะตายเสีย ก่อนเป็นแน่" พระมหาชนกตรัสตอบว่า "คนที่ทำ�ความเพียรนั้น แม้จะต้อง ตายไปในขณะกำ�ลังทำ�ความเพียรพยายามอยู่ ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำ�หนิติ เตียนได้ เพราะได้ทำ�หน้าที่เต็มกำ�ลังแล้ว " นางมณีเมขลาถามต่อว่า "การ ทำ�ความพยายามโดยมองไม่เห็น ทางบรรลุเป้าหมายนั้น มีแต่ความยาก ลำ�บาก อาจถึงตายได้ จะต้องเพียรพยายามไปทำ�ไมกัน" พระมหาชนก ตรัสตอบว่า "แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เรา กำ�ลังกระทำ�นั้นอาจไม่สำ�เร็จก็ตาม ถ้าไม่ เพียรพยายามแต่กลับหมดมานะเสียแต่ต้นมือ ย่อมได้รับ ผลร้ายของ ความเกียจคร้านอย่างแน่นอน ย่อมไม่มีวัน บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ บุคคลควรตั้งความเพียรพยายาม แม้การนั้นอาจไม่สำ�เร็จก็ตาม เพราะ เรามีความพยายาม ไม่ละความตั้งใจ เราจึงยังมีชีวิตอยู่ได้ ในทะเลนี้ เมื่อคนอื่นได้ตายกันไปหมดแล้ว เราจะพยายามสุดกำ�ลัง เพื่อไปให้ถึง ฝั่งให้จงได้" นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้น ก็เอ่ยสรรเสริญความเพียร ของ มหาชนกกุมาร และช่วยอุ้มพามหาชนกกุมาร ไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา วาง พระองค์ไว้ที่ศาลาในสวนแห่งหนึ่ง ภายหลังมหาชนกกุมารได้รับการอภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ของเมืองมิถิลา ทรงบริหารจัดการบ้านเมืองของพระองค์ให้เจริญรุ่งเรือง และสงบสุขด้วยหลักทศพิธราชธรรม พระมหาชนกถือว่าเป็นตัวอย่าง ของคนที่มีความเพียรพยายามไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาจนเทวดาฟ้าดินยัง ยอมแพ้ต่อจิตใจอันเข้มแข็งของพระองค์ หากเรามีความเพียรพยายามก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ใน ชีวิตไปได้เช่นกัน พระพุทธเจ้าเคยตรัสถามหมู่ภิกษุว่า “ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย มีอะไรไหมที่จะไม่สำ�เร็จ หากมีความเพียรพยายาม” ภิกษุทูลตอบว่า “ ไม่มี พระเจ้าข้า” วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๕ พระอาจารย์มหาสา ยันต์ อคฺควณฺโณ และพระ อาจารย์พิรุฬห์ พทฺธสีโล รับ นิมนต์ไปสวดมนต์และกล่าว สุนทรพจน์เรื่อง "หนทางสู่ สันติภาพ" ที่มหาวิทยาลัย พิทส์เบิร์ก ในวันคล้ายวัน เกิดของท่านมหาตมะ คานธี
  • 8. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana10 11 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุ สั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่กระทำ�ความสบายแก่ตนเอง๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑ เป็นคนทุศีล๑ มีมิตรเลวทราม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการเป็นไฉนคือ บุคคลย่อมเป็นผู้ทำ�ความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ มีมิตรดีงาม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน ฯ เพชรจาก......พระไตรปิฎก แม้การ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การมีชีวิตที่ ยืนยาวก็เป็นความปรารถนาของทุกชีวิต ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่ใครจะทำ�ได้ เรื่องการจะมีอายุยืนยาวถึง 120 ปีนี้ ในประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น ท่านแรกในประเทศไทยที่สนใจศึกษาหาความรู้ ในเรื่องนี้ท่านได้เขียนบทความ ชื่อ "วิธีทำ�ให้อายุยืน 120 ปี" เพราะท่านเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่นอกจากจะสนใจ ในเรื่องนี้แล้ว ยังได้เดินทางไปเข้าหลักสูตรกับ ดร.อาชลาน เพื่อปฏิบัติให้มีอายุ ยืนยาวแข็งแรงไม่มีโรคภัย ณ ประเทศโรมาเนีย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสต่อข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จฯ เพื่อถวายพระพรในวันเฉลิม พระชนมพรรษาว่า พระองค์ท่านตั้งพระทัยที่จะทรงมีพระชนมพรรษาถึง 120 ปี ซึ่ง ในปีนี้พระองค์ท่านทรงจะมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาเต็ม อานาประชาราษฎร์ ต่างแซ่ซ้องสาธุการ อยากให้พระองค์ท่านทรงบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ทรงตั้ง พระราชหฤทัย" การศึกษาเรื่องอายุยืนยาวนี้ มีทั้งในซีกโลกฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ซึ่งฝากฝั่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตก ได้ศึกษาพบว่า คนจะมีชีวิตยืนยาวมี หลักใหญ่ 3 ประการ กล่าวคือ พันธุกรรม 30% พฤติกรรม มีความสำ�คัญมาก 60% เผยเคล็ดลับคนอายุยืน
  • 9. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana12 13 ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบด้านคือ ปัจจัยทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อม เช่น ดินฟ้า อากาศ มีผลเพียง 10% แต่ในแนวทางตะวันออก โดยเฉพาะหลักพุทธศาสนาให้ความสำ�คัญกับ "บุญกรรม" และ "บาปกรรม" ที่กระทำ�จะเป็นตัวแปรสำ�คัญอย่างยิ่ง แต่แนวความ คิดในเรื่อง "กรรม" ตะวันตกไม่ได้กล่าวถึงเลย เพราะไม่เข้าใจ ในทางพระพุทธศาสนา ก็มีคำ�สอนถึงสาเหตุที่ทำ�ให้อายุสั้นและอายุยืน คือ ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มี โรคน้อย อบายมุข ๖ ทางแห่งความเสื่อม ทำ�ให้อายุสั้นและไม่มีคนอยากคบ บุญ ก็ เป็นเหตุให้อายุยืน สร้างบุญกุศลมาก ทำ�ให้มีอายุยืน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการ เป็น ไฉน คือ บุคคลย่อมเป็นผู้ทำ�ความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ มีมิตรดีงาม ๑ ๑) ทำ�ความสะบายให้แก่ตน คือทำ�ร่างกายให้สดชื่นร่าเริง ออกกำ�ลังกาย กินอาหารที่ไม่มีพิษ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ทำ�อารมณ์ให้แจ่มใส ๒) รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ( การออกกำ�ลังไม่หักโหม กินอาหารพออิ่ม พักผ่อน ) ๓) พึงบริโภคในสิ่งที่ย่อยง่าย (หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ ของมัน ของทอด ) ๔) เป็นผู้มีศีล ๕) มีเพื่อนเป็นคนดี คุณยาย ดู ปินหัว เป็นบุคคลที่อายุยืนยาวที่สุดในโลก ท่านเกิดวันที่ ๒๒ เมษายน แต่ห่างกันคนละหลายสิบปี ท่านเกิดปี ค.ศ. ๑๘๘๖ ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของมณฑลเสฉวน เคล็ดลับที่คุณยายบอกกับทุกคน ที่ทำ�ให้อายุยืนยาวนานที่สุด คือ 1.ทานมังสวิรัติ หรือ กินแต่ผักตั้งแต่จำ�ความได้จนถึง ๑๑๐ ปี 2.ไม่สูบยา 3.ไม่แตะต้องเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ 4.อารมณ์ดี 5.ใจกว้าง 6.ไม่เคยทะเลาะกับใคร กินเนสส์บุ๊ก ออฟเดอะเวิร์ลด์ เรดคอร์ดส์ ได้บันทึกว่าคุณยายเป็นผู้มีอายุ ยืนที่สุดมาตั้งแต่ ๔ ปีที่แล้ว โดยสรุป การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ๖ ประการ ทำ�ให้มีชีวิต ที่ยืนยาวนาน ไม่ต้องพึ่งหมอ พึ่งแต่ธรรมชาติ เผยเคล็ดลับคนอายุยืน การมีชีวิตอยู่อย่างยืนนาน และสุขภาพยังแข็งแรงนั้น นับเป็นสุดยอด ปรารถนา ของคนทุกผู้ทุกนาม แต่อะไรเล่าที่ทำ�ให้คนเราไปถึงจุดนั้นได้ แซล ลี่ แบร์ นักโภชนาการ ฉุกคิดตั้งคำ�ถาม ขึ้นมาแล้วมองหาคำ�ตอบจากเมือง หรือ ชุมชน 5 แห่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชน ที่มีคนอายุยืนอาศัยกันอยู่ มากที่สุดในโลก ได้แก่ โอกินาวา ในญี่ปุ่น เกาะไซมีที่กรีซ แคมโปดีเมล ในอิตาลี หุบเขาฮันซา ใน ปากีสถาน และเมืองปามาในจีน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำ�มาวิเคราะห์ดู นักโภชนาการจากอังกฤษ ที่บัดนี้ใช้ชีวิตอยู่ในปากีสถานพบว่า มีเคล็ดลับข้อเหมือนกันในการใช้ชีวิตของคน อายุยืนนั้น สรุปได้ 50 ข้อ นำ�มาดูสัก 2-3 ข้อ พอเป็นตัวอย่างเผื่อจะลองปฏิบัติตาม เป็นหนทางไปสู่การมีอายุยืนกับเขากันบ้าง ข้อเหมือนในการใช้ชีวิตของคนในชุมชนอายุยืนนั้นประการแรก พวกเขามัก จะกินผักและผลไม้เป็นจำ�นวนมาก มักกินอาหารในกลุ่มธัญพืชหรือแป้งไม่ขัดขาว มากกว่าขนมปัง แครกเกอร์ ส่วนอาหารไขมันก็จะเลือกที่เป็นไขมันสุขภาพอย่างถั่ว หรือน้ำ�มันมะกอก เป็นต้น ไม่กินอาหารพวกเนื้อสัตว์ และแบบแผนการกินอยู่ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มแค่ พอสัณฐานประมาณ ไม่กินมากเกินไป ทั้งยังไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบ บุหรี่ด้วย เรื่องกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันนั้น ไม่ต้องไปออกกำ�ลังตามโรงยิม แต่จะมี การเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่ค่อยนั่งเฉยๆ ให้รถติดตามสี่แยกหรือทำ�งานแบบนั่ง โต๊ะ แต่จะทำ�งานอาชีพประเภทประมงและเกษตรกรรม พอถึงเวลาพักผ่อนพวก
  • 10. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana14 15 เขาก็จัดอยู่ในพวกแอ็กทีฟมาก เพราะจะทั้งร้องเล่น เต้นระบำ� ออกล่าสัตว์ และ ออกกำ�ลัง แบบศิลปะป้องกันตัวอีกด้วย ข้อสุดท้ายนี้ก็สำ�คัญ กล่าวคือนอกจากท้องอิ่มแล้ว ยังต้องหล่อเลี้ยงจิตใจ ให้สบายด้วย แม้ว่าความคิดความเชื่อทางศาสนา จะแตกต่างกันไป แต่ตามชุมชน ทั้ง 5 แห่ง ที่กล่าวมานั้นสมาชิกส่วนใหญ่ต่างก็ปฏิบัติสมาธิ สวดมนต์ภาวนาตาม แบบของตน 5 นิสัย ช่วยชายอายุยืน สถิติตรงกันทั่วโลกว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าประเทศไหนผู้หญิงล้วนมีอายุยืน กว่าผู้ชาย ซึ่งตามที่มีการวิจัยมานั้นมีสาเหตุจากหลายอย่าง อย่างแรกมาจากนิสัย การใช้ชีวิตประจำ�วัน (ชายสูบบุหรี่ดื่มเหล้ามากกว่าหญิงเป็นต้น) อีกสาเหตุหนึ่ง เชื่อกันว่ามาจากลักษณะทางธรรมชาติ เช่นโครงสร้างด้านยีน ฮอร์โมน ระบบการ ทำ�งานในร่างกาย ผู้ชายมักเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญมีข้อแนะนำ�ว่า หากสามารถ สร้าง 5 นิสัยต่อไปนี้ได้ ก็จะช่วยให้คุณผู้ชายมีอายุยืนขึ้น มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ น้อยลง 5 นิสัยที่ว่านี้ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ซึ่งก็ได้แก่ 1.เลิกสูบบุหรี่ 2.ระวังไม่ให้อ้วนหรือมีน้ำ�หนักเกินมาตรฐาน 3.ออกกำ�ลังสม่ำ�เสมอวันละ 30 นาที 4.ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง นั่นคือ ครึ่งแก้วไปจนถึงไม่เกิน 2 แก้ว ต่อวัน 5.เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (เช่นกินผัก ผลไม้ ซีเรียล แป้งไม่ขัดขาว เลี่ยงเนื้อสัตว์ใหญ่และไขมันอิ่มตัว บทสรุป 5 นิสัยเพื่อชีวิตยืนยาวข้างต้นนั้น ได้มาจากผลการวิจัยเป็นเวลา นาน 16 ปี ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษทำ�การสำ�รวจพบว่า ในโลกนี้สถานที่ที่มีคนอายุยืนอยู่มาก ที่สุดคือ เกาะโอกินาวาของประเทศญี่ปุ่น ที่เกาะนี้มีคนอายุเป็นร้อยปีอยู่เป็นจำ�นวน มาก ประเทศอังกฤษจึงส่งทีมงานเข้าศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลว่า อะไรเป็นสาเหตุ หลักที่ทำ�ให้คนที่เกาะโอกินาวาอายุยืนกันมาก ผลการศึกษาหาข้อมูลทั้งจากการสังเกตและการสอบถามผู้คนในท้องถิ่น โดยตรงและวิธีอื่นๆสรุปว่า ปัจจัยที่ทำ�ให้คนที่เกาะโอกินาวาอายุยืนกันแทบทั้ง เกาะมี 4 ปัจจัย คือ 1. การคิดทางบวก คนที่นี่คิดทางบวกกันทุกคน มองโลกสดใส ไม่รับสิ่ง ลบๆ และไม่คิดทางลบ 2. การออกกำ�ลังกายทุกวัน เกาะโอกินาวาเป็นต้นกำ�เนิดของกีฬาคาราเต้ ผู้ชายที่เกาะนี้จะเล่นคาราเต้ทุกวันมากน้อยตามกรณี ส่วนผู้หญิงจะตำ�ถั่วเหลือง เพื่อทำ�เต้าหู้และทำ�งานต่างๆ ซึ่งเป็นการออกกำ�ลังกายกันถ้วนทุกคนทุกวัน 3. การรับประทานเต้าหู้มาก ฝ่ายสำ�รวจข้อมูลพบว่า คนที่เกาะนี้รับ ประทานเต้าหู้กันเป็นหลัก ใช้เต้าหู้ทำ�อาหารได้หลายอย่าง อาหารทุกมื้อจึงมีเต้าหู้ ปนอยู่ด้วยเสมอ 4. การมีเพื่อนบ้านที่ดี จากการสอบถามประชาชนในเกาะนี้ เขาพูดเป็น เสียงเดียวกันว่า การมีเพื่อนบ้านที่ดีทำ�ให้เขาอายุยืน ฟังดูทุกคนซาบซึ้งในความดี งามของเพื่อนบ้าน ต่างคนต่างดี ต่างคนต่างซึ้งใจกันและกัน ผลคือ ต่างคนต่างอายุ ยืน พระมหาดร.ถนัด อตฺถจารี, พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และพระมหาปิยะ อุตฺ ตมปญฺโญ สอนสมาธิ และบรรยายเรื่องบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัย เพนสเตท แก่นักศึกษาพยาบาล วันที่ ๗ พ.ย.๒๕๕๕
  • 11. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana17 ออยล์พูลลิ่ง เป็นวิธีบำ�บัดของอินเดียที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดย การอมน้ำ�มันไว้และเคลื่อนน้ำ�มันไปให้ทั่วช่องปาก ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอ รายงานต่อที่ประชุมสัมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี 2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karach ได้ อธิบายถึงการบำ�บัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใครด้วยวิธีง่ายๆโดยใช้การอม น้ำ�มัน ผลลัพธ์ของการบำ�บัดด้วยวิธีนี้ ทำ�ให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วย ความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการอธิบาย ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ ทดลองทำ� พิสูจน์หาความสมเหตุ สมผลที่เกิดขึ้น ต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจากการรักษาอย่างสมบูรณ์ อีก ทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วยเป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ด้วยวิธีการง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด Dr. Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลาย เล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสงสัยในรายงานดังกล่าว จึงได้ทดลองทำ�ออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr. Fife ถึงกับออกปากว่า ออ ยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr. Fife สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำ�มันจึงช่วยรักษาโรคได้ เขาเริ่มศึกษาการทำ�ออยล์พูลลิ่ง ของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้น ในที่สุดก็ได้ข้อ สรุปที่เป็นคำ�ตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy มีใจความบางตอนดังนี้ - ในปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วน ใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุนหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกัน ว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำ�นวนประชาการของคนทั้ง โลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและ เหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรง ฟันและการใช้น้ำ�ยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราว เท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำ�นวนขึ้นเช่นเดิม - โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือ โรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำ�ให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นในปากและ ลำ�ใส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่ และบางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่ แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำ�ให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปาก ของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำ�ให้แบคทีเรียสามารถ เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้อ อักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ ออยล์พูลลิ่ง แบคทีเรียในช่องปากและวิธีการทำ�ออยล์พูลลิ่ง
  • 12. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana18 19 - ออยล์พูลลิ่งทำ�งานอย่างไร? ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำ�บัดที่ทำ�ได้ง่ายที่สุดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในบรรดาการรักษาทางธรรมชาติด้วยเช่นกัน สำ�หรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่ การอมและเคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วๆปาก ไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูล ลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการ ปล่อยสารพิษให้หมดไป เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่ ก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปล่อยสารพิษแก่ร่างกายนั้น แต่ละเซลล์ของมันจะปกคลุม ด้วยน้ำ�มันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผิวเซลล์ (เซลล์ของคน เราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำ�มันลงในน้ำ� สิ่ง ที่เกิดขึ้นคือ น้ำ�กับน้ำ�มันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำ�มันสอง ชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำ�มันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง เมื่อคุณใส่น้ำ�มันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำ�มันหรือไขมันของแบคทีเรีย จะถูกน้ำ�มันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้ รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟัน จะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติด แน่นอยูในส่วนผสมของน้ำ�มัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสม ของน้ำ�มันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะ กลืนมัน เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออก ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ไม่ใช่น้ำ�มัน (water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำ�ลาย น้ำ�ลายยังช่วย ลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็น โอกาสดีที่ร่างกายได้ทำ�การฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็น ปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดีจึงกลับมาในที่สุด - น้ำ�มันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำ�ออยล์พูลลิ่ง? ตามตำ�ราโบราณของอินเดียแนะนำ�ให้ใช้น้ำ�มันดอกทานตะวันหรือน้ำ�มัน งาเนื่องจากเป็นน้ำ�มันที่หาได้ทั่วไปในอินเดียขณะนั้นDr.Fifeกล่าวว่าน้ำ�มันชนิด ใดก็สามารถใช้ทำ�ออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำ�มันมะพร้าว เนื่องจาก ต้องการใช้น้ำ�มันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำ�มันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อ สุขภาพมากกว่าน้ำ�มันดอกทานตะวัน น้ำ�มันงา หรือน้ำ�มันพืชชนิดใดๆ (กรดลอริ คในน้ำ�มันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำ�ลายจะแตกตัวเป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อ ว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค) เหตุผลอีกประการหนึ่ง ชอบที่น้ำ�มัน มะพร้าวมีรสชาตินุ่มนวล น้ำ�มันบริสุทธิ์ชนิดอื่นๆเช่นน้ำ�มันมะกอกและน้ำ�มันงามี กลิ่นรสรุนแรง น้ำ�มันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะ มี ความสะอาดถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย - วิธีการทำ�ออยล์พูลลิ่ง * ทำ�ขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำ�ก่อนหรือไม่ก็ได้ * ใช้น้ำ�มันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก * ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำ�มันไหลผ่านฟันและเหงือก * น้ำ�มันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง * เคลื่อนน้ำ�มันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที * จากนั้นให้บ้วนน้ำ�มันทิ้งไป * บ้วนปากด้วยน้ำ�สะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ� * ทำ�อย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย - โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำ�ออยล์พูลลิ่ง ผลของการทำ�ออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟัน
  • 13. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana20 วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๕ : สมาคมคนรักสัตว์นิมนต์สวดมนต์อวยพรให้สัตว์ สมาคมคนรักสัตว์แห่งเมืองพิทส์เบิร์กนิมนต์คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ ไปสวดมนต์อวยพรแก่คนเลี้ยงสัตว์และสัตว์เลี้ยง โดยเชิญผู้นำ�จากศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกส์ ฯลฯ ไปสวดมนต์ให้พร มีผู้คนนำ�สัตว์ เลี้ยงมากมายมาร่วมงาน สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอให้สรรพสัตว์มีความสุข วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๕ : วันเกิดท่านมหาตมะ คานธี สมาคมอินเดียร่วมกับมหาวิทยาลัยพิทส์เบอร์ก และอีกหลายสมาคม จัด งานรำ�ลึกวันคล้ายวันเกิดของท่านมหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอหิงสาธรรมผู้นำ� พาชาวอินเดียกอบกู้เอกราชคืนจากอังกฤษ โดยนิมนต์พระอาจารย์มหาสายันต์ อคฺควณฺโณ และพระอาจารย์มหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล เจริญพุทธมนต์ และกล่าว สุนทรพจน์เรื่องหนทางสู่สันติภาพ วันที่ ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๕ : เจริญพระพุทธมนต์เปิดร้านไทยคอทเทจ ร้านอาหารไทยคอทเทจของคุณรุ่งนภา ขันชาลี และเพื่อนๆ นิมนต์คณะ สงฆ์เจริญพระพุทธมนต์-ฉันเพล-แสดงธรรม ทำ�บุญเปิดร้านอาหาร ขอให้เจริญ สรุปข่าว เดือนตุลาคม- พฤศจิกายน-ธันวาคม ขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรัง ได้อีกหลายชนิด ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามี การตอบสนองที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำ�มูก มาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลใน กระเพาะ ลำ�ไส้ ลำ�ไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบา หวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำ�เดือน ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำ�ออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะ เป็นกรดปอดอักเสบ(ARDS)ถุงลมโป่งพองการอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือด ในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ ถุงน้ำ�ดี หัวใจ น้ำ�ตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม ทารก คลอดก่อนกำ�หนดน้ำ�หนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด - ช่วงเวลาที่เหมาะจะทำ�ออยล์พูลลิ่ง จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ปริมาณของแบคทีเรียในช่องปากมีการเปลี่ยน แปลงในระหว่างวัน การรับประทานทำ�ให้แบคทีเรียบางส่วนผสมกับอาหาร และน้ำ�ลายในที่สุดถูกกลืนลงไป ปริมาณแบคทีเรียมีมากสุดในตอนเช้าก่อนรับ ประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมี พื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้น เกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำ�นวนขึ้นใหม่โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน การทำ�ออยล์พูลลิ่งจึงควรทำ�เป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียใน ช่องปากมีปริมาณมากที่สุด.
  • 14. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana22 23 รุ่งเรือง ทำ�มาค้าขายคล่องตัว สาธุ วันที่ ๑๙-๒๑ ต.ค. ๒๕๕๕ : ถือศีลปฏิบัติธรรม ญาติโยมมาถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดป่าธรรมรัตน์ตลอดระยะเวลา ๒ คืน ๑ วัน ขออนุโมทนาบุญที่มีกุศลจิตในการฝึกฝนพัฒนาจิตใจตนเอง ขอให้เจริญใน ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป วันที่ ๒๘ ต.ค. ๒๕๕๕ : ทำ�บุญวันออกพรรษา วันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา ทางวัดจัดให้มีการทำ�บุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา มีญาติโยมมาร่วมทำ�บุญพอสมควร ขอ อนุโมทนาบุญกับทุกท่าน วันที่ ๔ พ.ย. ๒๕๕๕ : ทำ�บุญกฐินสามัคคี บุญกฐินสามัคคีแรกของทางวัดป่าธรรมรัตน์ เมืองพิทส์เบิร์ก มีญาติ ธรรมจากหลายรัฐเดินทางมาร่วมงาน เป็นต้นว่า รัฐโอไฮโอ่ รัฐเวอร์จีเนีย รัฐแมรี่ แลนด์ รัฐวอชิงตันดีซี ขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกท่านที่ร่วมมือกันจนงาน ต่างๆ สำ�เร็จออกมาด้วยความเรียบร้อย ขอให้ได้บุญกันทุกคน วันที่ ๗ พ.ย. ๒๕๕๕ : บรรยายเรื่องบทบาทสตรีที่ม.เพนเสต็ท ดร.สเตฟานี มหาวิทยาลัยเพนสเตท นิมนต์พระอาจารย์ดร.มหาถนัด อตฺถจารี, พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และพระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ ไปบรรยาย เรื่องบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาให้นักศึกษาพยาบาลฟัง โดยมีคุณโยมบุญมณี แม็คคาซี่ และคุณโยมสมทรง ฟ็อก เป็นพนักงานขับรถไป-กลับ ขออนุโมทนาบุญ กับทั้งสองท่านมา ณ โอกาสนี้ วันที่ ๗ พ.ย. ๒๕๕๕ : ร่วมงานกฐินสามัคคีฝั่งตะวันตก พระอาจารย์มหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล ได้รับนิมนต์จากเพื่อนพระธรรมทูตให้ เดินทางไปร่วมงานกฐินที่ฝั่งตะวันตกของอเมริกา เลยถือโอกาสแวะเยี่ยมเยือน เพื่อนตามวัดต่างๆ ในแถบตะวันตก และเป็นการศึกษาดูงานพระศาสนาอีกด้วย วันที่ ๑๖-๑๘ พ.ย. ๒๕๕๕ : งานกฐินพระราชทานวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์เดินทางไปช่วยงานและร่วมงานกฐิน พระราชทานที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ทั้งนี้ญาติโยมตัวแทนชาวพิทส์เบิร์กคือ คุณโยมอุไร-คุณโยมบุญมณี-คุณโยมสมทรงได้นำ�ต้นผ้าป่าบริวารกฐินไปทอด ถวายสมทบทุนสร้างอาคาร ๘๐ ปีหลวงตาชีอีกด้วย ได้ปัจจัยสมทบทุนจำ�นวน ๑,๓๕๐ เหรียญ ขออนุโมทนา วันที่ ๒๑ - ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๕ : ร่วมงานกฐินสามัคคีวัดป่าสันติธรรม คณะสงฆ์ได้เดินทางต่อไปร่วมงานทอดกฐินสามัคคีวัดป่าสันติธรรม และ ได้นำ�ต้นผ้าป่าบริวารกฐินจากการทำ�บุญของชาวเมืองพิทส์เบิร์กไปร่วมทอดถวาย สมทบทุนสร้างศาลารวมใจของวัดโดยได้ปัจจัยบำ�รุงวัดจำ�นวน ๕๙๔ เหรียญ ขอ อนุโมทนา วันที่ ๑-๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๕ : เยี่ยมญาติธรรมและร่วมปฏิบัติธรรม คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์เดินทางไปเยี่ยมครูบาอาจารย์ที่วัดบุศย์ธรรม วนาราม ฟอร์ทเวิร์ท และญาติธรรมเมืองดัลลัส หลังจากนั้นถือโอกาสเข้าปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ขออนุโมทนาบุญกับญาติธรรมเมือง ดัลลัสฟอร์ทเวิร์ทที่ให้การต้อนรับดูแลเป็นอย่างดี วันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๕ : สวดมนต์ข้ามปีทำ�ความดีรับปีใหม่ ทางวัดป่าธรรมรัตน์จัดให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ทำ�ดีต้อนรับปีใหม่ โดย เริ่มงานตั้งแต่ช่วงเย็นมีการทำ�วัตรสวดมนต์เย็น นั่งสมาธิ ชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับการ ปฏิบัติวิิปัสสนากรรมฐาน สนทนาธรรม และเจริญพระพุทธมนต์อิติปิโสฯ ๒๑๖ จบ ก่อนให้ศีลให้พร ปะพรมน้ำ�พระพุทธมนต์ รับของที่ระลึกเป็นอันดับสุดท้้าย ขอให้ญาติโยมทุกท่าน เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
  • 15. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana25 รายนามผู้บริจาคทำ�บุญทอดกฐินสามัคคี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ปัจจุบัน ทอดถวาย ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก วันอาทิตย์ที่ ๔ พ.ย.๒๕๕๕ Marvin & Boonriem Freimund $ 100.00 Phramaha Pirun Sodsai $ 1,000.00 คุณวาสนา สินธุยา $ 20.00 คุณสุพรรณี ขันสุวรรณ $ 20.00 ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม $ 20.00 George J. & Pussanee Pastorino $ 25.00 Prabhassara Ruamsiri Agkrasa $ 200.00 Piyawan Chandsubin $ 50.00 Somsong Fox $ 100.00 Peter Lorince $ 40.00 ป้าป้อม $ 20.00 Malinee Vangsameteekul $ 500.00 Jeffrey C. & Sommai Meines $ 20.0 โยมย้ง ดี.ซี. $ 50.00 Soraya N Sar $ 1,400.00 Keriang Chauteh $ 100.00 คุณกัญญา สว่างโรจน์ $ 50.00 คุณเบญจวรรณ $ 10.00 ป้ายุ เลาหพรรณ $ 10.00 N Praisaengpetch $ 100.00 Thipasorn Phuttawong, Samorn Namsawat $ 50.00 Wasana Mongkhol, Piangumporn Noiwan $ 25.00 น้องเฟย์-น้องมุนี เพริศพราว $ 20.00 สัมฤทธิ์ เดชเดชานุกูล $ 100.00 คุณยายเสริมศรี เชื้อวงค์ $ 12.00 คุณดลวรรณ เหวียน $ 20.00 ผู้ไม่ประสงค์ออกนามจาก D.C. $ 230.00 Pimonpon & Eric Nelson $ 100.00 La & Pat Font $ 35.00 Ann & Alex Probat $ 35.00 คุณไพรินทร์ - อรพรรณ รูปขำ� $ 100.00 คุณวิไลวรรณ ปวงวัฒนา $ 20.00 แม่พรวน-พร-ชลิตา เก็บนาค $ 50.00 Saiyud Steiger(ป้านิด) $ 50.00 Pittsburgh Food Inc. $ 100.00 จริสศรี คงเมือง $ 20.00 Jim-Kim-Shelby Powers $ 60.00 Andy-C.J. Cands $ 50.00 Amy L. Bartoli $ 10.00 Kim Vann Ram $ 30.00 Bophary K. Ea-Lim, DD. LLC $ 200.00 T.k>Pawchareune, S.Pawachareune $ 30.00 M.Yeampeka $ 30.00 Saard Sanpa-arsa $ 40.00
  • 16. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana26 27 Dr.Nakorn Apakupakul $ 50.00 คุณอนุสรา วงค์ษา $ 20.00 Mon Nelson $ 50.00 ปาริชาติ นิโคลส์ $ 20.00 Tawachai Onsanit $ 100.00 Tasanee Kidd $ 50.00 Parnida Leonhard $ 1,000.00 จอห์น-วระณา แซ่เตียว, แมซเวร $ 100.00 Thai Gourmet Restaurant $ 200.00 พระมหาปิยะ-พ่อคำ�-แม่นวลจันทร์-ทาริกา-ติ๋ม-ปรีชา-ไชยา จีราภา จันดาดาล $ 200.00 พระมหาสายันต์-แม่ทองจันทร์ ลาสนาม พร้อมครอบครัวลูกๆ หลาน $ 200.00 Gilbert P. Trujillo $ 100.00 Thitiporn Dansawangkul $ 20.00 Terry Wright $ 40.00 จีรนุช Wright $ 20.00 อนุกุล แซ่ด่าน $ 20.00 คุณพ่อจรัส เทียนสิงหเดช $ 20.00 น้อง A, น้อง B, และ น้อง C $ 30.00 ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม $ 20.00 Thai Cuisine Restaurant $ 930.00 ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์ $ 10.00 William C. & Rungnapa Mccormick $ 50.00 Manus Sands $ 500.00 Somsiri Detruksa $ 300.00 Michael D. & Sompong Bray $ 100.00 Wimolphim Drobney $ 100.00 Ms.Maly Sickless $ 50.00 Khanan H Suvarnasuddhi, Pranee Arayavilaiphong $ 100.00 Sarunya Thongyoo $ 50.00 อุบาสกอุบาสิกาวัดป่าธรรมรัตน์ $ 120.00 คุณจุมพล จันทรคุปต์ $ 20.00 คุณประพจน์-คุณศิริพร คุณวงศ์ $ 300.00 P.Amornkitwanit $ 25.00 Wild Papaya Rest. $ 90.00 Montri Visetsud $ 50.00 Yingrak Pureyananth $ 30.00 Sweet Mango $ 50.00 Charm Thai Rest. $ 40.00 นางเอื้องนภา-ริชาร์ด $ 100.00 นางเริงทิพย์ เดชน้อย $ 50.00 Cleveland $ 47.00 นางลาด ทาทอง- นายดี สดไสย์ $ 50.00 S.Reungtriphop $ 50.00 กลิ่นขจร พรายแสงเพชร $ 50.00 ชัยกร-ธนิดา พงษ์กิจกรรม $ 100.00 คุณวนิดา สุนทรพิทักษ์ $ 100.00 สมทรง Phoolsombat $ 100.00 คุณนู-อดิศักดิ์ สมุทรโคจร $ 50.00 คุณบุษบา-คุณเจย์ ฟอร์ด $ 500.00 Thanassaya-Nilobol, Chattarika Chatidesa $ 1,150.00
  • 17. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana28 29 คุณสมายจิตร์ แก้วสุวรรณ $ 1,000.00 ธัญญนันทน์(ทองหีบ) โพธิ์ทอง $ 50.00 อ.ไพรจิต จารุตัน $ 20.00 กนกนุช อมรวงศ์ $ 23.00 กิ่งกาญจน์ ชื่อสัตย์– - ชินาพร กาญจนพิช $ 73.00 อักค์เดช(เอก) พงศ์สกุล $ 100.00 มาลัย Gerland $ 20.00 รติพร-ภัทราภา $ 20.00 ชัยุฒิ เลิศวิชัยวรวิชย์ $ 50.00 สุจิตรา เทียมเมืองแมน(บริจาคซื้อที่ดิน) $ 20.00 สุจิตรา เทียมเมืองแมน(กฐินสามัคคี) $ 20.00 วราภรณ์ จงเทพ $ 20.00 Peter Michael & Famity $ 100.00 เฉลิมพันธ์-จิราพร จาบกุล $ 20.00 บุษดี ทองดี $ 50.00 มนัส(ดี) แซนด์ $ 25.00 สุพรรณี ขันสุวรรณ $ 20.00 สราวุธ ชุโนทัยสวัสดี $ 5.00 คุณจาเร็ด-นฤมล โคแซน $ 20.00 Nalinrat Thananopjirakul $ 80.00 Wes Lipschuttz $ 21.00 Som Mccullouh $ 25.00 วิชาญ จิตต์ผ่องอำ�ไพ $ 20.00 สวินี ศรีสุข(พี่กลาง) 1,000.00 บาท ปรีดา-สำ�เพรา แก้วสุวรรณ 500.00 บาท เทวินทร์-อ้อยทิพย์-คณินพงค์ ศรีสุข 1,000.00 บาท พ.ต.พิพัฒน์-ศิริวิภา ศรีพรหม 500.00 บาท จิตรา ตั้งตรงวิจิตกุล 100.00 บาท K. ชีวัน วริพันธ์ 1,000.00 บาท Hos Ducan $ 40.00 สรสิช สิททธิวัฒนานนท์ $ 40.00 Katerinz Miller $ 20.00 จิราพร ชัยศรี $ 30.00 แก้ว พุทธวงศ์ และครอบครัว $ 100.00 Smiling Banana Leaves $ 600.00 สมหมาย เบิกกว้าง - Lovetro $ 60.00 ฐิติวรรณ วิชพันธ์ 500.00 บาท Kim Vann Ram $ 10.00 กานต์ ปรางค์ชัยกุล $ 25.00 ต้อย เงินวิจิตร $ 10.00 Assoc.Prof.Taweesak Suthakaratin 3,000.00 บาท คุณแม่แม้น ศีกัญญา-อัศวการวณิช 300.00 บาท คุณสุวิทย์-ศีกัญญา อัศวการวนิช 300.00 บาท Patipong Prabhawong $ 100.00 รุ่งศักดิ์-จินดา ชาติอาษา 200.00 บาท Mr.William C.Kratry _ Prayoosri Verstzol $ 30.00 คุณพัชรี วิศวกิจเจริญ $ 10.00 คุณแม่ชีเมย์ บาร์ตัน $ 50.00 คุณสุกานดา บุพพานนท์ $ 100.00 ประภารัตน์ จรรยาทรัพย์กิจ $ 20.00 พนมรัตน์ มุขกัง $ 200.00 Mrs.Sarsh Kim $ 100.00
  • 18. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana30 31 Hong-Dokmay Philavong $ 100.00 See Pepsing & Family $ 30.00 John_Potchaman Wilson $ 325.00 Jumlong Megyesy $ 200.00 คุณสุมาลี เจริญตรง $ 100.00 พัชรี เครือสาร - อรอุมา บุรินทร์รักษ์ $ 20.00 คุณเทวฤทธิ์ สระชนะ $ 10.00 คุณเปรมวดี ตั้งมะนะกิจ-แนน $ 50.00 Somsong Fox $ 50.00 พรรณี พรมเพ็ง $ 100.00 Red Orchid Restaurant $ 980.00 สมศักดิ์ น้ำ�ใส $ 100.00 Nina & Greg Gold และครอบครัว $ 150.00 Rattana Charoentra 100.00 บาท คุณปราณี ไอช์แมน $ 420.00 Watcharee Sangsaree $ 80.00 พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป $ 50.00 Viroj Balee $ 50.00 Somwang Zsaacson $ 200.00 Carroll Family $ 100.00 คุณพยุง-จินตนา งามสะอาด $ 100.00 ผ้าป่าพุทธศาสนิกชนวัดไทยดีชี $ 245.00 Boonsom- Donald Glass $ 25.00 Teppanyski Kyoto Restaurant $ 10.00 Apinya Kunjara_Na_Ayudhya(ซื้อที่ดินสร้างวัด) $ 300.00 Apinya Kunjara-Na-Ayudhya $ 100.00 เงินจากตู้บริจาคทำ�บุญตั้งกองทุนสร้างวัด $ 100.00 คุณอรุณรัชต์ ไทกุล(ครูแดง) $ 125.00 คุณจิรประภา ลาวรรณ $ 100.00 Kotty $ 20.00 ริชาร์ด เป็ปเปอร์ $ 60.00 Anchalee-Sahaschai Musikabhumma $ 100.00 Benjamard Best $ 1,000.00 Boon Nantawan Changramai $ 100.00 พระอาจารย์สมเกียรติ ชิตมาโร, กัญญลักษณ์ ตั้งพรธิรักษ์ $ 200.00 Richar L Farr & Rahsri S Farr $ 100.00 *หากรายนามของท่านผู้ใดขาดตกบกพร่องไป หรือผิดพลาดไป ทางวัด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอให้แจ้งให้ทางวัดทราบด้วย เพื่อแก้ไขให้ถูก ต้องต่อไป ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกหลังจากออกจากคอร์สปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ระหว่างวันที่ ๕-๑๖ ธ.ค.๒๕๕๕ ณ ศูนย์วิปัสสนา Southwest Vipassana Center เมือง ดัลลัส เท็กซัส
  • 19. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana33 ประจำ�เดือนตุลาคม ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์ $ 10.00 Manus Sands (ประกันสุขภาพพระ) $ 100.00 Manus Sands (ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 40.00 Kitima Frank $ 40.00 Peter & Moo Michael $ 50.00 อุไร ตะสิทธิ์ $ 65.00 Amy L. Bartoli $ 10.00 Vilavan Vong(ประกันสุขภาพพระ) $ 100.00 Preet Singh (ประกันสุขภาพพระ) $ 50.00 จุมพล จันทรคุปต์ $ 20.00 Somsong Fox $ 50.00 กนกนุช อมรวงศ์(ซื้อที่ดิน) $ 20.00 กนกนุช อมรวงศ์(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 20.00 ปาริชาติ นิโคลส์(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 20.00 Parnida Leoharol(ประกันสุขภาพพระ) $ 50.00 *********** ประจำ�เดือนพฤศจิกายน นิภารัตน์ แสนมอม $ 15.00 คุณมนัส แซนด์(ประกันสุขภาพพระและค่าน้ำ�ค่าไฟ) $ 150.00 Keith & Boonrieng Hamlin $ 100.00 Bungon Fontaine $ 20.00 Pimjai Birmingham $ 20.00 Manus Sands(ประกันสุขภาพพระและค่าน้ำ�ค่าไฟ) $ 50.0 Manus Sands (ประกันสุขภาพพระ) $ 100.00 *********** ประจำ�เดือนธันวาคม Cham Chamh Dat Phap Danh Thieu Higo $ 200.00 Lng Kim Hoa Family and Vietnamese Devotees in Dallas $ 400.00 ณัฎฐพงศ์ จันทร์อยู่ $ 30.00 Kim Vann Ram $ 120.00 จุมพล จันทรคุปต์ $ 10.00 สันทัด พิมพ์ศรี $ 10.00 Thai Spoon LLC $ 100.00 Julie L. Sackman $ 100.00 ปฏิพงศ์ ประภาวงศ์ $ 40.00 นายจาเร็ต-นฤมล โคซาน $ 40.00 Tae & Suwattana Miller $ 300.00 Somsong Fox $ 40.00 รายรับ-รายจ่าย ประจำ�เดือนตุลาคม - ธันวาคม ปี 2555/2012