SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  20
Télécharger pour lire hors ligne
Buddhist Meditation Center of Pittsburgh 
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts 
ชาวพุทธที่ดี 
The Good Buddhist
คติธรรมประจำ�วัด 
สติมโต สทา ภทฺทํ 
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา 
The mind is very hard to check 
and swift, it falls on what it wants. 
The training of the mind is good, 
a mind so tamed brings happiness. 
เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก 
ที่ปรึกษา : 
พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) 
พระราชพุทธิวิเทศ 
พระครูปริยัติธรรมาภิราม 
พระครูสิริอรรถวิเทศ 
พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร 
คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี 
คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม 
กองบรรณาธิการ : 
คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา 
รูปเล่ม/รูปภาพ 
พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ 
Dhamma book is published by 
Wat Padhammaratana(The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh) 
2618 Monroeville Blvd., Monroeville, PA 15146 
Tel.412.229.8128, 412.326.7373 
E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com 
Homepage : www.bmcpitts.org 
www.facebook.com/bmcpitts 
www.youtube.com/watpadhammaratana 
CONTENT - สารบัญ 
คำ�นำ� 4 
ความประพฤติดี 5 
จิตใจดี 11 
ความรู้ดี 14 
Preface 20 
Good Behavior 22 
Good Hearted 29 
Good Knowledge 33
คำ§นำ§ 
ชาวพุทธที่ดี คือ ผู้ที่มีความประพฤติดี มีจิตใจที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจชีวิตและหลักธรรมชาติอย่างดีจนสามารถดำ§เนินชีวิต อยู่ในสังคมโลกได้อย่างเป็นปกติสุข ไม่เบียดเบียนตนเองและคน อื่น พร้อมทั้งยังเป็นแบบอย่างในการดำ§เนินชีวิต และสามารถช่วย เหลือคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี 
การเป็นชาวพุทธที่ดี หาใช่ว่า เป็นได้เพราะเพียงแต่ทำ§พิธี ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ หรือเขียนไว้ในสำ§เนาทะเบียนบ้าน เท่านั้น หากยังต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง ตามหลักธรรมคำ§สอนที่ พระพุทธองค์ทรงวางไว้ 
‘ชาวพุทธที่ดี’ เล่มนี้ เป็นการรวบรวมหลักคำ§สั่งสอนในพระพุทธ ศาสนามาจัดเรียงไว้ เพื่อเป็นแบบในการศึกษาปฏิบัติของชาวพุทธ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาและมุ่งหวังเพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีงาม 
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ขอให้พระสัทธรรมของพระพุทธองค์ คงอยู่คู่ฟ้าดินตลอดไป เพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้จักได้มีที่พึ่ง เพื่อรื้อถอนตน ออกจากกองทุกข์ทั้งปวง 
ด้วยไมตรีธรรม 
ปิยเมธี 
5 
ก.ความประพฤติดี 
ความประพฤติดี หมายถึง ความประพฤติทางกาย-วาจาอัน ดีมีประโยชน์ ไม่ก่อโทษทั้งแก่ตนและคนอื่น พระพุทธองค์ทรง วางหลักไว้ให้ในการฝึกหัด พัฒนาพฤติกรรมของเราให้เป็นไปใน ทางที่ดีงามถูกต้อง การรู้จักใช้กาย-วาจาให้เป็นประโยชน์ ไม่ก่อ โทษ ถือว่าเป็นการฝึกจากภายนอก เข้ามาสู่ภายใน (Outside- In Training) เมื่อเรามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ย่อมทำ§ให้ชีวิตดี ขึ้น และจิตใจย่อมสงบเย็นเป็นผลพลอยได้ จากการทำ§ถูกทางกาย วาจา โดยมีหลักการฝึกดังนี้ คือ 
1.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ§เช้า-เย็นไม่ ให้ขาด เพื่อชำ§ระจิตใจของตนให้สะอาด สงบ สว่าง 
2.ชาวพุทธที่ดี ควรทำ§-พูด-คิด ด้วยความหวังดี มีเมตตาธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยมองว่าสิ่งมีชีวิตใน
6 
7 
จักรวาลนี้ เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย จึงไม่ควรเบียดเบียน รังแกกัน 
3.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรปล่อยให้ความโลภเกินไป ครอบงำ§จิตใจ จนลุแก่อำ§นาจ หยิบฉวยเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ หรือใช้เล่ห์ เพทุบายในการหลอกหลวงเอาทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น อันเป็น เหตุให้สังคมเดือดร้อน 
4.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเคารพครอบครัวของผู้อื่น เคารพ เพื่อนมนุษย์ทุกคนเสมือนญาติในครอบครัวของตน ไม่ปล่อยให้ ความคิดฝ่ายต่ำ§ทางเพศครอบงำ§จนล่วงละเมิดทางเพศกับคนอื่น ที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาของตน หรือบุคคลอื่น โดยขัดต่อหลักศีลธรรม และกฎหมายบ้านเมือง 
5.ชาวพุทธที่ดี ควรมีสติระวังคำ§พูดไม่ให้เบียดเบียนทำ§ร้าย ทำ§ลายคนอื่น ก่อนจะพูดให้คิดเสมอว่า คำ§พูดของเรานั้นทำ§ร้าย (Harm) หรือช่วย (Help) ผู้อื่น, ถ้าทำ§ร้ายทำ§ลาย ต้องอดกลั้น ไม่ ควรพูดออกไป 
6.ชาวพุทธที่ดี ควรรักษาสุขภาพกายให้ดี หลีกเลี่ยง / ไม่นำ§พา สิ่งที่เป็นโทษเข้าสู่ร่างกายตนจนขาดสติพลั้งเผลอ เป็นเหตุให้ทำ§ ผิดน้อยใหญ่ เพราะเมื่อสุขภาพแข็งแรง ย่อมเป็นผลดีต่อการทำ§ ประโยชน์ได้มากมาย 
ทั้งแก่ตนและคนอื่น 
7.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเที่ยวเตร่ในยามค่ำ§คืนดึกดื่นจนเกิน ขอบเขตหรือติดเป็นนิสัย เป็นเหตุให้เสียทรัพย์สิน และสูญเสียสิ่ง ต่างๆ อีกมากมายตามมา 
8.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเที่ยวดูการละเล่นมากจนเกินจำ§เป็น อัน เป็นเหตุให้เสียทรัพย์ ชื่อเสียงและสิ่งอื่นๆ เลยเถิดไปถึงเสียเวลา ในการพัฒนาตนเองและทำ§สิ่งดีงาม 
9.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด เพราะเป็นทางให้เสื่อมจากความเจริญ 
10.ชาวพุทธที่ดี ควรเลือกคบเพื่อนดี (กัลยาณมิตร) ผู้ที่สามารถ ชี้แนะ ชักชวนไปในทางที่ดีเจริญก้าวหน้าทางด้านหน้าที่การงาน ความรู้ และคุณธรรม 
11.ชาวพุทธที่ดี ควรเป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่ควรให้ความ เกียจคร้านครอบงำ§ และไม่ควรหวังพึ่งโชคชะตา แต่ควรหวังพึ่ง การกระทำ§ของตน ในแต่ละวัน ควรทำ§สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นบ้างไม่มากก็น้อย อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่า ประโยชน์ 
12.ชาวพุทธที่ดี ควรเรียนรู้ที่จะเสียสละ แบ่งปันสิ่งต่างๆ ที่ตน มี มากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมแก่ฐานะ เป็นต้นว่าการ ตักบาตรเป็นประจำ§ทุกสัปดาห์ หรือบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เงินทองแก่องค์กรสาธารณกุศลที่ตนสะดวก ไม่เห็นแก่ตัวจนลืม สังคม เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ความเห็นแก่ตัว คือสาเหตุ หนึ่งที่ทำ§ให้สังคมวุ่นวายเดือดร้อน
8 
9 
13.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้เจริญด้วย วัยวุฒิ (มีอายุ) คุณวุฒิ (มีคุณธรรม) และชาติวุฒิ (ผู้เกิดในชาติ ตระกูลสูงที่สังคมยกย่อง) เช่น พ่อแม่ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติ ผู้ใหญ่ เป็นต้น เพื่อลดทิฐิมานะของตน 
14.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความกระตือรือร้นในการขวนขวาย ช่วยเหลืองานส่วนรวม ไม่ดูดายหรือวางเฉยโดยคิดว่าไม่เกี่ยวกับ ตน ธุระไม่ใช่ ควรทำ§ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้แก่สังคมที่ตน อาศัยอยู่ เพื่อเป็นการคืนกำ§ไรให้สังคม 
15. ชาวพุทธที่ดี ควรเสียสละ แบ่งปัน แนะนำ§สิ่งดีงามที่ตนรู้ แก่ผู้อื่น เป็นการสละความตระหนี่ความรู้ออกจากใจตน 
16. ชาวพุทธที่ดี ควรมีมุทิตาจิต พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นทำ§ดี-ได้ดี เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และให้การสนับสนุนเพื่อเป็นกำ§ลัง ใจแก่คนทำ§ดี ทั้งยังเป็นการลดความริษยาในใจตนด้วย 
17.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นศึกษาพระไตรปิฎก และหมั่นฟังธรรมะ หรือสิ่งที่มีสารประโยชน์ต่อตนเองเนืองนิจ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมคำ§สอนของพระพุทธเจ้า 
18.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเมตตา เอื้ออาทรต่อคนอื่นผู้หลงทาง หลงผิด หรืออยู่ในฐานะที่ต้องการคำ§แนะนำ§ ด้วยการให้คำ§ชี้แนะ ชักชวนในทางที่ถูกต้องดีงามตามโอกาสอันเหมาะสม 
19.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าไปหาบัณฑิต-ท่านผู้รู้ เพื่อสอบถามว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นสาระ และไม่เป็นสาระ อันจะเป็นหลักในการดำ§เนินชีวิตที่ดี 
20.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเพ็งโทษ ติเตียน กล่าวร้ายผู้อื่น พึงมอง หาส่วนดีเพื่อปฏิบัติตาม สำ§หรับส่วนที่ไม่ดีก็เอามาเป็นครูสอน 
21.ชาวพุทธที่ดี ควรประกอบอาชีพสุจริต หรือทำ§อาชีพของ ตนให้สุจริต ไม่คดโกงเบียดเบียน หรือเบียดบังคนอื่น ไม่ประกอบ อาชีพอันทำ§ร้ายชีวิต และทำ§ลายธรรมชาติ 
22.ชาวพุทธที่ดี ควรตระหนักรู้ในหน้าที่ของตน ว่าตนมีหน้าที่ อะไรบ้างในชีวิตและหน้าที่การงาน พร้อมทำ§หน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง 
23.ชาวพุทธที่ดี ควรรู้กาละ-เทศะ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับงาน-สถานที่ๆ ตนไป ไม่ควรแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ไปนอกบ้านเพื่อยั่วยวนชวนให้เกิดกิเลส เป็นเหตุส่งเสริมให้เกิด อกุศลจิต 
24.ชาวพุทธที่ดี ควรเลือกบริโภคอาหารที่ดีมี ประโยชน์กับ ร่างกาย และไม่ควรเห็นแก่การกินหรือค่านิยมผิดๆ ที่ว่าต้องกิน อาหารราคาแพงหรูหรา ควรตระหนักถึงคำ§สอนของพระศาสดาว่า กินเพื่ออยู่ ให้มีเรี่ยวแรงในการทำ§ความดียิ่งๆ ขึ้นไป 
25.ชาวพุทธที่ดี ควรทำ§บ้านหรือที่อยู่ของตนให้สะอาด เป็น ระเบียบเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง ไม่จำ§เป็นต้องเป็นบ้านหลังใหญ่โต เพื่ออวดฐานะแข่งขันกัน เพราะจุดประสงค์ของบ้าน มีไว้เพื่อพัก ผ่อนหลับนอน กันแดดร้อน ฝนตก ภัยอันตรายต่างๆ
10 
11 
26.ชาวพุทธที่ดี ควรแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือ ใช้เลี้ยงตน- คนรอบข้าง และทำ§ประโยชน์ 1 ส่วน, ใช้ลงทุน-ทำ§ธุรกิจให้งอกเงย 2 ส่วน และเก็บไว้ใช้ในคราวจำ§เป็น เช่นเวลาไม่สบาย เพื่อเป็นค่า รักษาพยาบาล เป็นต้น อีก 1 ส่วน 
ข.จิตใจดี 
จิตใจของชาวพุทธที่ดี คือ มีจิตที่ตั้งมั่น ไม่โอนเอน ไม่หวั่น ไหว เข้มแข็ง แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวก ไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สะทกสะท้าน แต่อ่อนโยน นุ่มนวล ควรแก่การงาน เมื่อเกิด เหตุการณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบมากระทบกระทั่งจิต ผู้มีจิตใจดีย่อม สามารถผ่านพ้นวิกฤตินั้นไปได้ ดังนั้น ชาวพุทธที่ดีควรฝึกหัด พัฒนาจิตใจให้มีสภาพที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ปัญหาต่างๆ ง่ายๆ ด้วยวิธีดังนี้ คือ 
27.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นฝึกหัดพัฒนาจิตใจของตนให้มั่นคง บริสุทธิ์ ผ่องใส และเหมาะควรแก่การพัฒนาชีวิตจิตใจ ด้วยการ เจริญสมถภาวนา (การทำ§ให้จิตใจสงบนิ่งมั่นคง) และวิปัสสนา ภาวนา (การอบรมจิตจนเข้าใจธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิต) ต่อเนื่องเป็นประจำ§ทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยอุบายวิธี ดังนี้ 
27.1 การฝึกหัดพัฒนาจิตใจ-ในรูปแบบ (Formal Practice)
12 
13 
คือ การนั่งสมาธิหรือทำ§สมาธิเช้า-เย็นไม่ขาด ครั้งละ 5-15 นาที หลังจากนั้น จะเพิ่มเวลาเป็น 30 นาที และ 1 ชม. แล้วแต่ความ สะดวกของผู้ปฏิบัติ การพัฒนาจิตใจ เริ่มต้นด้วยการนั่งขัดสมาธิ หลับตาลงเบาๆ ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน ผ่อนคลายจิตใจไม่ให้ กังวลในหน้าที่การงาน อดีต อนาคต หรือเรื่องใดๆ พร้อมทั้งบอก กับตัวเองว่า ต่อไปเราจะทำ§สิ่งที่ดีเพื่อตัวเราเอง ด้วยการพักผ่อน ทางจิตใจ หลังจากนั้นให้รวบรวมความสนใจทั้งหมดมาเฝ้าดูที่ลม หายใจเข้า-ออก ตามธรรมชาติ ไม่ให้จิตใจวอกแวกไปไหน ให้อยู่ กับลมหายใจเข้า-ออก ถ้าจิตคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ วิ่งไปในอดีตหรือ อนาคต ให้รู้เท่าทัน และพยายามดึงกลับมา ให้อยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก ทำ§อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนจิตสงบ เป้าหมายในขั้นแรกเรา ต้องการเพียงแค่ความสงบของจิต ส่วนเป้าหมายขั้นต่อไป คือการ เข้าใจธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความคิด และธรรมชาติต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ล้วนไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง ไม่อยู่ ในสภาพเดิม และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ จนเข้าใจธรรมชาติว่า เราเป็นเพียงผู้รู้-ผู้ดู ดูด้วยความเข้าใจ ไม่ยินดียินร้าย ปฏิบัติต่อสิ่ง นั้นด้วยความเข้าใจ 
27.2 การฝึกหัดพัฒนาจิตใจ-นอกรูปแบบ (Informal Practice) คือ การเจริญสติสมาธิในชีวิตประจำ§วัน ตั้งแต่ตื่นนอน จน กระทั่งเข้านอน ชาวพุทธควรมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะพูด- ทำ§-คิด หรือไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ให้ตระหนักรู้ อยู่กับปัจจุบัน ขณะ เช่น เดิน-ก็รู้ว่าเดิน, ยืน-ก็รู้ว่ายืน, นั่ง-ก็รู้ว่านั่ง, นอน-ก็รู้ว่า นอน, อาบน้ำ§ ทานข้าว เป็นต้น ก็ให้รู้ในกิริยาอาการนั้นๆ เรื่อยไป มีเทคนิคการดำ§เนินชีวิตประจำ§วันอยู่ 3 ส. คือ 
- สุข มีความสุขกับสิ่งที่ทำ§ขณะนั้น 
- สมาธิ มีความตั้งใจ เต็มใจทำ§สิ่งนั้น 
- สติ รู้ตัวทุกขณะที่ทำ§สิ่งนั้น
14 
15 
ค.ความรู้ดี 
ความรู้ดี คือ การรู้ทั่ว-ถึงเหตุและผล, บาปบุญคุณโทษ, ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ อย่างชัดเจน พระพุทธศาสนาสรรเสริญบุคคลผู้ ดำ§เนินชีวิตด้วยปัญญา ว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐ ปัญญาเป็นเสมือน แสงสว่างส่องนำ§ทางให้แก่ชีวิต ให้ดำ§เนินไปในทางที่ดี มีคุณค่า เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคม ดังนั้น ชาวพุทธที่ดีควร ฝึกฝน พัฒนาปัญญาความรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ดังนี้ 
28.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความเชื่อมั่นในพระปัญญาตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ว่าทรงตรัสรู้จริง และน้อมนำ§เอาพระพุทธองค์มาเป็น แบบอย่างในการดำ§เนินชีวิต รวมถึงมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของมนุษย์ ว่าสามารถทำ§ได้ เป็นได้ โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และมุ่งศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง 
29.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำ§นองคลอง ธรรม รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไร ผิด อะไรเป็นสาระ และ อะไรไม่เป็นสาระ 
30.ชาวพุทธที่ดี ต้องเชื่อเรื่องกรรม (การกระทำ§), ทำ§ดี-ดี ทำ§ชั่ว-ชั่ว มีสติ ระวังการกระทำ§ของตน ไม่ว่าจะเป็นความคิด (มโนกรรม) คำ§พูด (วจีกรรม) และการกระทำ§ (กายกรรม) ไม่ให้ เบียดเบียนทำ§ร้ายใคร 
31.ชาวพุทธที่ดี ควรยึดมั่นในหลักคำ§สอนหลักของพระพุทธ องค์ ไม่หวังพึ่งพาสิ่งอื่นเมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคขึ้นในชีวิต ควรตั้ง คำ§ถามตนเองว่า ในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีแก้ปัญหาไว้ อย่างไร แล้วปฏิบัติตามนั้น 
32.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเคารพต่อบุคคลอื่นในฐานะเพื่อน มนุษย์ และปฏิบัติต่อเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์ ตามหลักทิศ 6 ที่ สอนให้ตระหนักรู้ถึงหน้าที่ต่อกันระหว่างมนุษย์ พร้อมทั้งปฏิบัติต่อ กันด้วยเมตตาธรรม 
33.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจลักษณะทั่วไปของสรรพสิ่ง ว่ามีความ แปรปรวน ไม่เที่ยงแท้แน่นอน(อนิจจัง) คงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ยาก (ทุกขัง) และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นไปตามกระแสของ เหตุปัจจัย (อนัตตา) แล้วปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นด้วยความเข้าใจ ไม่ ท้อแท้หมดหวังเสียใจ 
34.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความกตัญญู รู้บุญคุณที่คนอื่นทำ§แล้ว แม้เพียงเล็กน้อย และทำ§ตอบแทน เฉกเช่นพระพุทธเจ้าและพระสา รีบุตรผู้เป็นแบบอย่างของความกตัญญู รู้คุณบุคคลอื่น 
35.ชาวพุทธที่ดี ต้องดำ§เนินชีวิตตามทางสายกลาง หรือมรรคมี
16 
17 
องค์ 8 (The Power of Right) อันเป็นหนทางแห่งความสงบสุข ที่แท้จริง ได้แก่ :- 
1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ : Right View; Right Understanding) คือ เห็นว่าอะไรเป็นบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงขึ้นไปจนกระทั่งเห็นหลักความจริงของชีวิตและธรรมชาติ เป็นต้นว่า หลักความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4 คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค) 
2.คิดชอบ (สัมมาสังกัปปะ : Right Thought) คือ ความดำ§ริใน การออกจากกามคุณ ไม่หมกมุ่นในเรื่องเพศ ไม่คิดพยาบาท ไม่คิด เบียดเบียนใคร หรือพยายามปลูกฝังความคิดดี คิดบวก อันเป็นก ระแสของบุญกุศลให้เจริญงอกงาม 
3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา : Right Speech) คือ ความดีทาง คำ§พูด ได้แก่ พูดจริง พูดไพเราะ พูดประสานสามัคคี พูดมีสาระ ประโยชน์ 
4.กระทำ§ชอบ (สัมมากัมมันตะ : Right Action) คือ ความ ประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ใช้ร่างกายไปเบียดเบียนทำ§ร้าย ใครรวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การไม่ลักขโมย และการควบคุมความ รู้สึกทางเพศไม่ให้มีเกินขอบเขตจนทำ§ร้ายตนเองและผู้อื่น 
5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ : Right Livelihood) คือ การทำ§ มาหาเลี้ยงชีวิตที่ดี ไม่เบียดเบียนใคร ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ เป็นต้น ว่าค้าขายอาวุธ มนุษย์ ยาพิษ สุรายาเสพติด ประกอบสัมมาชีพ 
6.เพียรพยายามชอบ (สัมมาวายามะ : Right Effort) คือ มีความพากเพียรพยายาม ละเลิก เว้นสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้น และ เพียรพยายามรักษาสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น พัฒนาให้สิ่งดีๆ เจริญ งอกงาม 
7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ : Right Mindfulness) คือ มีความ รู้ตัว [กาย (ลมหายใจ, อิริยาบถน้อยใหญ่) -ใจ (ความรู้สึก ความ คิด และธรรมชาติ)] ทั่วพร้อม ในการดำ§เนินชีวิตประจำ§วัน 
8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ : Right Concentration) คือ จิต มีคุณภาพ ตั้งมั่น บริสุทธิ์ กระปี้ กระเปร่า 
36.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจธรรมชาติ หรือวงจรของชีวิต ว่ามี ความเสื่อมโทรม มีความเจ็บป่วย มีความแตกสลายตายไป มี ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ และมีกรรมเป็นของตน ใคร ทำ§กรรมใดไว้จะต้องรับผลของกรรมนั้น เมื่อเข้าใจแล้วพึงทำ§ใจ ยอมรับความจริงเหล่านั้น ไม่เศร้าโศกเสียใจจนเกินไป 
37.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจชีวิตของคนเราว่า ประกอบด้วยรูป กับนาม ส่วนรูป-ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ§ ลม ไฟ, ส่วน นาม-ประกอบด้วยความรู้สึก ความทรงจำ§ ความคิด และความรู้ ทั้งสองสิ่งเกี่ยวกัน แยกจากกันไม่ได้ เมื่อรู้แล้วจึงควรปฏิบัติต่อรูป (ร่างกาย) และนาม (ใจ) ให้ถูกต้อง 
38. ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจสิ่งของที่มีมาคู่โลก หรือ เงื่อนไขของโลก ว่ามีสุข มีทุกข์ นินทา สรรเสริญ มีลาภ เสื่อมลาภ
18 
19 
มียศ เสื่อมยศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นกับตนเอง ก็สามารถปรับ ใจรับกับสิ่งนั้นได้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่มีอะไร เที่ยงแท้แน่นอน มาแล้วก็ไป 
THE GOOD BUDDHIST
20 
21 
PREFACE 
The good Buddhist is one who is well behaved, kind hearted, understands the principles of life and the law of nature, in order to live in this global community with happiness and normalcy without having to encroach on self or others, and is a role model as to how to live the peaceful life while still able to help those around them. 
To be a good Buddhist is not merely a pledge and promise or written in one’s house registration but one must practice and develop oneself according to the Buddhadhamma that the Lord Buddha has detailed. 
The Good Buddhist is a collection of the Buddha’s teaching, it is laid out as a model for those Buddhists interested in learning and developing oneself. I also would like to thank Mrs.Sukanda Jetabut and her daughter who help me translate this work from Thai into English and beside that I thank my Dhamma friends; PJ and Cristina who help me proofreading the book. 
TATU JIRANG SATUNG DHAMMO. May the Lord Buddha’s teaching be with us eternally for the purpose of happiness and guiding all lives still in this cycle of rebirth in order to be rid of all worldly suffering. 
With Metta 
Piyamedhi
A.Good behavior 
Good behavior is about physical and verbal action that is purposeful and does not do any harm to self or others. The Lord Buddha has outlined the methodology and practice, leading to self-development and good behavior. This is the practice of outside-in training, once mastered, one will live a better and more purposeful life with a mind at peace due to upright physical and verbal behavior. Below are ways to practice good behavior: 
1.The good Buddhist shall religiously practice morning and evening chanting in order to cleanse and brighten one’s mind towards peacefulness. 
2.The good Buddhist shall ‘think, say, do’ with goodwill, have compassion to all living beings with the understanding that we are all in the same cycle of rebirth, therefore, should not encroach or do harm to others. 
3.The good Buddhist shall not let greed take over by stealing things from their owners or by using tricks or fraud in order to steal things that belong to others which will result in problems in society. 
4.The good Buddhist shall respect and treat other families and friends as if they were his/her own, shall not commit infidelity by getting involved sexually with others that are not his/her own wife/husband which is immoral and unlawful. 
5.The good Buddhist shall speak with consciousness, always thinking before speaking to consider whether or not what is about to be spoken would harm or help others. If it will do harm then one need control oneself and not speak. 
22 
23
6.The good Buddhist shall take good care of oneself by not consuming unhealthy substances excessively that would lead to unconscious wrongdoing. A healthy body can do a lot of good deeds for oneself and others. 
7.The good Buddhist shall not have a habit of going out at night regularly in excess, which will result in wasteful spending and other possible negative consequences. 
8.The good Buddhist shall not get carried away and be excessively dominated by worldly entertainment, which will result in wasted money, and precious time that could be used to develop oneself and do good deeds. 
9.The good Buddhist shall not get involved in any kind of gambling which will lead to decline in one’s development. 
10.The good Buddhist shall seek good friends, friends who can be a good influence and lead or persuade in the right direction towards a better job, towards knowledge and morality. 
11.The good Buddhist shall be diligent, shall not let laziness take over, shall not rely and hope on fate or luck, shall be self- sufficient in daily life, shall more or less try to do good deeds for oneself and others and not waste precious time. 
12.The good Buddhist shall learn to sacrifice and share one’s belongings to others in need as appropriate and suitable, for example, the weekly meal offering to the monks and donation to various charities; one shall not be selfish as one is not the only one living on this earth. Selfishness is one of the reasons society is so chaotic and afflicted. 
13.The good Buddhist shall be respectful to those with seniority, moral and exceptional background and well accepted by society, such as one’s father, mother, teacher, older relative; this is in order to lessen one’s pride(ego). 
14.The good Buddhist shall be enthusiastic in volunteering and helping society, without 
24 
25
thinking that ‘it’s not your business;’ one should try to help out in some way in one’s society in order to ‘pay it forward’ to the society. 
15.The good Buddhist shall sacrifice and share useful knowledge to others which is the way to get rid of selfishness in the mind. 
16.The good Buddhist shall have kindness, joy when hearing of others’ happiness, good fortune, good deeds, job progress, and provide support to them; this will also lessen any jealousy one might have as well. 
17.The good Buddhist shall study the Buddha’s teachings(Tripitaka) and listen to Dhamma occasionally or any useful Buddha’s teachings in order to broaden the understanding of Buddhism. 
18.The good Buddhist shall have mercy and compassion for those who have lost direction towards good morality and need guidance. 
19.The good Buddhist shall seek those knowledgeable ones and find out what is good, bad, right, wrong, what is substantial and what’s not, which will be the basics of living a good life. 
20.The good Buddhist shall not focus on weaknesses and blame others, instead, focus on their positive strengths, choose to follow the positive strengths and use the negative ones as lessons to learn from. 
21.The good Buddhist shall seek an honest profession, shall not cheat, corrupt or encroach on others, shall not seek any profession that would harm lives or nature. 
22.The good Buddhist shall realize own duty and responsibility and do the very best to follow through. 
23.The good Buddhist shall wear proper attire appropriate to the occasion, location, shall not wear inappropriate attire in order to seduce others resulting in ill-willed encouragement. 
26 
27
28 
29 
24.The good Buddhist shall seek to consume only good and nutritious food that is good for body and mind, shall not be greedy and believe in the misconception that good food must be expensive, shall realize the teaching of the Lord Buddha that ‘we only eat in order to sustain our lives so we can continue to do more good deeds’. 
25.The good Buddhist shall keep the living quarters clean and clear of clutter, not necessary to own a big house in order to compete in wealth with others; the main purpose of the house is to provide one with a place to rest, keep one safe from the elements and other dangers. 
26.The good Buddhist shall divide assets in 4 parts; one part is for self and family and for good use, two parts are for investment and developing of the business, and one part is saving for an emergencies such as healthcare. 
B.Good hearted 
For the good Buddhist, good hearted means that the mind is stable, strong, determined, unshaken, undistracted, unfretted and undemonstrative, but tender and gentle, suitable to handle any circumstances when encountered, whether pleasant or unpleasant. Those with good hearts will be able to overcome those circumstances, therefore, the good Buddhist should train their mind to be strong and stable and not to surrender to any life barriers using these following methods. 
27.The good Buddhist shall regularly train
their mind for stability and purity suitable for the heart and soul through the practice of calming the mind and training the mind to understand the facts of everyday life, morning and evening using the methods below. 
27.1 Mind Developing Training (Formal Practice) - involves meditation, 5-15 minutes every morning and evening, then gradually increasing the time to 30 minutes, 1 hour at the practitioner’s convenience. Mind developing starts with meditation, gently closing the eyes, relaxing the whole body, relaxing the mind, letting go of all worries, jobs, past, future and all other issues. Tell yourself that from hereon we will do good deeds for ourselves by relaxing our minds then gather all the attention to focus only on our breathing in and out naturally, not allowing the mind to get distracted and stray away, stay focused on the in and out breathing. If the mind slips away to the past or future or is full of thoughts, just acknowledge this and try to bring it back to the present in and out breathing. Keep doing this until the mind is at peace. The first goal is to bring the mind to a peaceful state; the next goal is to understand the nature of what is happening. Whether it is feelings, thoughts and other natural states that come and go, constantly changing, unable to control and remain in its original condition, we understand that we are only an observer acknowledging what is, neither happy nor unhappy while practicing with understanding. 
27.2 Mind Developing Training (Informal Practice) - is being in the stage of mindfulness in everyday life from the time we get up until the time we lay down to rest. The Buddhist should be in mindfulness at all times, whether during thought, speech or action, in any position at any time, always in the present. For example, when walking, acknowledge that we are walking, standing- standing, sitting-sitting, sleeping-sleeping, 
30 
31
washing, eating, etc... Continue to observe and acknowledge all that is happening at the present. Listed below are 3 techniques in living everyday life. 
• Happiness – being happy doing things in the moment; 
• Concentration – concentrate and focus on what you are doing in the moment; and 
• Consciousness – being fully conscious of what you doing. 
C.Good knowledge 
Good knowledge is clear understanding of cause and effect, good/bad karma, and what is beneficial/non-beneficial. Buddhism praises those who use their wisdom in living the ‘glorious life’, wisdom is the guiding light for life led in the right direction; a life worthwhile, productive for oneself and society. Therefore, the good Buddhist should continue to perfect their practice and develop their knowledge. 
28.The good Buddhist shall be confident of the Buddha’s wisdom. In knowing that he 
32 
33
did indeed reach enlightenment, we respectfully use him as a model in living everyday life including the belief in one’s ability to do, to be, and continue to search for further knowledge. 
29.The good Buddhist shall have the right mind; knowing what is right, wrong, good, bad, meaningful, and futile. 
30.The good Buddhist shall believe in karma. Action - good action leads to good karma, poor action leads to bad karma; as such it is important to be mindful of one’s actions, even in the form of thought. In one’s words and actions, one needs to be conscious to not harm one another. 
31.The good Buddhist shall adhere to the Buddha’s teaching and not rely on myth when encountering problems. One should ask oneself, ‘in this situation, what did the Buddha teach, what was his way of solving the problem?’ Once realized, then, follow the Buddha’s teaching accordingly. 
32.The good Buddhist shall practice mutual respect and treat others the way you want to be treated. 
33.The good Buddhist shall understand the general characteristic of all things; that all things change, are unstable (อนิจจัง), cannot remain in its original condition (ทุกขัง), and cannot be controlled and will continue to be according to cause and effect (อนัตตา), accept this understanding without feeling discouraged or sad. 
34.The good Buddhist shall be grateful to those who have been kind and helpful even if through minor deeds and reciprocate as the Lord Buddha and Phra Sareebutr have shown as a model of demonstrating gratitude. 
35.The good Buddhist shall live their life moderately in the noble eightfold path or the middle way(The Power of Right), which is the way to true happiness. 
1.Right View, Right Understanding: Able to see the good, bad, useful, futile and continue 
34 
35
on to see the facts of life and nature such as ‘The Four Noble Truths’ (Dukkha, Origin of Dukkha, Cessation of Dukkha, the path leading to Cessation of Dukkha). 
2.Right Thought: Intend to be rid of sensual desires and not be consumed with sensuality, revenge, or encroachment; try to establish good positive thinking which is the flow for good merit. 
3.Right Speech: Speak the truth, speak gently, speak harmoniously. 
4.Right Action: Good behavior, not doing any harm to others and all livings, not stealing, able to control one’s sensual desires in order to do no harm to self and others. 
5.Right Livelihood: Hold a good profession that does not encroach others, avoid dishonest professions such as the selling of weapons, human beings, poisons, alcohol and drugs. 
6.Right Effort: An effort to try to avoid or stop bad things from happening while promoting good things to prosper. 
7.Right Mindfulness: Be conscious (through physical breath, big/small movements) – mind (feelings, thoughts and nature) in living daily life. 
8.Right Concentration: Have a quality mind with determination that is pure and lively. 
36.The good Buddhist shall understand the nature or the cycle of life that all things degenerate, become ill, die, straggle from loved ones, have their own karma (whatever karma he or she made, he or she will eventually receive the result of the karma). Upon understanding of this fact one shall be able to accept it and should not be overly sad. 
37.The good Buddhist shall understand that our lives consist of figures and appellation; figures being the 4 elements of ‘earth, water, wind and fire’ and appellations consisting of senses, mind, thought and knowledge - both are related, and inseparable. Once understood, one should rightfully treat both figures and appellation accordingly. 
36 
37
All are cordially invited to participate 
in the meditation programs and Buddhist activities at 
Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh) 
Activity Day Time 
1. Chanting Daily Morning and 
Evening 
05.30 - 6.30 a.m. 
5.30 - 6.30 p.m. 
2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m. 
3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m. 
4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m. 
All activities will be held at the upper or lower level of the temple. 
For further information, please contact Wat Padhammaratana, PA. 
Tel.412.229.8128, E-mail : bmcpitts@hotmail.com, 
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts 
- To serve as a Buddhism promotion 
center in the U.S. 
- To serve as a meditation center in 
Pittsburgh 
- To promote virtues, Buddhist culture 
and traditions 
- To be a center of all Buddhists, re-gardless 
of nationalities 
OBJECTIVES 
38 
38.The good Buddhist shall understand that 
the conditions that arise in the earth in 
which we live are happiness, unhappiness, gos-sip, 
praise, fortune, misfortune, high rank-ing, 
loss of high ranking- when encountered 
with these conditions one should be able to 
accept with the understanding that these are 
facts of life, that nothing is permanent, and 
absolutely everything comes and goes.

Contenu connexe

En vedette

Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Watpadhammaratana Pittsburgh
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCPWatpadhammaratana Pittsburgh
 

En vedette (16)

Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
 
1 years
1 years1 years
1 years
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
 
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
 
วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 

Similaire à The good buddhist

เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้Phairot Odthon
 
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรคำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรniralai
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขniralai
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาแผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาthanaetch
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธNet'Net Zii
 
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธOrraya Swager
 

Similaire à The good buddhist (20)

ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
 
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรคำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
 
Dhammaratana journal 3
Dhammaratana journal 3Dhammaratana journal 3
Dhammaratana journal 3
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
แผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาแผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชา
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
Jitpontook
JitpontookJitpontook
Jitpontook
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
 
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
 

Plus de Watpadhammaratana Pittsburgh

ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กWatpadhammaratana Pittsburgh
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระWatpadhammaratana Pittsburgh
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 

Plus de Watpadhammaratana Pittsburgh (9)

ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระ
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
 
Dhammaratana journal 4
Dhammaratana journal 4Dhammaratana journal 4
Dhammaratana journal 4
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 7
Dhammaratana journal 7 Dhammaratana journal 7
Dhammaratana journal 7
 

The good buddhist

  • 1. Buddhist Meditation Center of Pittsburgh www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts ชาวพุทธที่ดี The Good Buddhist
  • 2. คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระราชพุทธิวิเทศ พระครูปริยัติธรรมาภิราม พระครูสิริอรรถวิเทศ พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม กองบรรณาธิการ : คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา รูปเล่ม/รูปภาพ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ Dhamma book is published by Wat Padhammaratana(The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh) 2618 Monroeville Blvd., Monroeville, PA 15146 Tel.412.229.8128, 412.326.7373 E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts www.youtube.com/watpadhammaratana CONTENT - สารบัญ คำ�นำ� 4 ความประพฤติดี 5 จิตใจดี 11 ความรู้ดี 14 Preface 20 Good Behavior 22 Good Hearted 29 Good Knowledge 33
  • 3. คำ§นำ§ ชาวพุทธที่ดี คือ ผู้ที่มีความประพฤติดี มีจิตใจที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจชีวิตและหลักธรรมชาติอย่างดีจนสามารถดำ§เนินชีวิต อยู่ในสังคมโลกได้อย่างเป็นปกติสุข ไม่เบียดเบียนตนเองและคน อื่น พร้อมทั้งยังเป็นแบบอย่างในการดำ§เนินชีวิต และสามารถช่วย เหลือคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี การเป็นชาวพุทธที่ดี หาใช่ว่า เป็นได้เพราะเพียงแต่ทำ§พิธี ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ หรือเขียนไว้ในสำ§เนาทะเบียนบ้าน เท่านั้น หากยังต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง ตามหลักธรรมคำ§สอนที่ พระพุทธองค์ทรงวางไว้ ‘ชาวพุทธที่ดี’ เล่มนี้ เป็นการรวบรวมหลักคำ§สั่งสอนในพระพุทธ ศาสนามาจัดเรียงไว้ เพื่อเป็นแบบในการศึกษาปฏิบัติของชาวพุทธ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาและมุ่งหวังเพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีงาม ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ขอให้พระสัทธรรมของพระพุทธองค์ คงอยู่คู่ฟ้าดินตลอดไป เพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้จักได้มีที่พึ่ง เพื่อรื้อถอนตน ออกจากกองทุกข์ทั้งปวง ด้วยไมตรีธรรม ปิยเมธี 5 ก.ความประพฤติดี ความประพฤติดี หมายถึง ความประพฤติทางกาย-วาจาอัน ดีมีประโยชน์ ไม่ก่อโทษทั้งแก่ตนและคนอื่น พระพุทธองค์ทรง วางหลักไว้ให้ในการฝึกหัด พัฒนาพฤติกรรมของเราให้เป็นไปใน ทางที่ดีงามถูกต้อง การรู้จักใช้กาย-วาจาให้เป็นประโยชน์ ไม่ก่อ โทษ ถือว่าเป็นการฝึกจากภายนอก เข้ามาสู่ภายใน (Outside- In Training) เมื่อเรามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ย่อมทำ§ให้ชีวิตดี ขึ้น และจิตใจย่อมสงบเย็นเป็นผลพลอยได้ จากการทำ§ถูกทางกาย วาจา โดยมีหลักการฝึกดังนี้ คือ 1.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ§เช้า-เย็นไม่ ให้ขาด เพื่อชำ§ระจิตใจของตนให้สะอาด สงบ สว่าง 2.ชาวพุทธที่ดี ควรทำ§-พูด-คิด ด้วยความหวังดี มีเมตตาธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยมองว่าสิ่งมีชีวิตใน
  • 4. 6 7 จักรวาลนี้ เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย จึงไม่ควรเบียดเบียน รังแกกัน 3.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรปล่อยให้ความโลภเกินไป ครอบงำ§จิตใจ จนลุแก่อำ§นาจ หยิบฉวยเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ หรือใช้เล่ห์ เพทุบายในการหลอกหลวงเอาทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น อันเป็น เหตุให้สังคมเดือดร้อน 4.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเคารพครอบครัวของผู้อื่น เคารพ เพื่อนมนุษย์ทุกคนเสมือนญาติในครอบครัวของตน ไม่ปล่อยให้ ความคิดฝ่ายต่ำ§ทางเพศครอบงำ§จนล่วงละเมิดทางเพศกับคนอื่น ที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาของตน หรือบุคคลอื่น โดยขัดต่อหลักศีลธรรม และกฎหมายบ้านเมือง 5.ชาวพุทธที่ดี ควรมีสติระวังคำ§พูดไม่ให้เบียดเบียนทำ§ร้าย ทำ§ลายคนอื่น ก่อนจะพูดให้คิดเสมอว่า คำ§พูดของเรานั้นทำ§ร้าย (Harm) หรือช่วย (Help) ผู้อื่น, ถ้าทำ§ร้ายทำ§ลาย ต้องอดกลั้น ไม่ ควรพูดออกไป 6.ชาวพุทธที่ดี ควรรักษาสุขภาพกายให้ดี หลีกเลี่ยง / ไม่นำ§พา สิ่งที่เป็นโทษเข้าสู่ร่างกายตนจนขาดสติพลั้งเผลอ เป็นเหตุให้ทำ§ ผิดน้อยใหญ่ เพราะเมื่อสุขภาพแข็งแรง ย่อมเป็นผลดีต่อการทำ§ ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งแก่ตนและคนอื่น 7.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเที่ยวเตร่ในยามค่ำ§คืนดึกดื่นจนเกิน ขอบเขตหรือติดเป็นนิสัย เป็นเหตุให้เสียทรัพย์สิน และสูญเสียสิ่ง ต่างๆ อีกมากมายตามมา 8.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเที่ยวดูการละเล่นมากจนเกินจำ§เป็น อัน เป็นเหตุให้เสียทรัพย์ ชื่อเสียงและสิ่งอื่นๆ เลยเถิดไปถึงเสียเวลา ในการพัฒนาตนเองและทำ§สิ่งดีงาม 9.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด เพราะเป็นทางให้เสื่อมจากความเจริญ 10.ชาวพุทธที่ดี ควรเลือกคบเพื่อนดี (กัลยาณมิตร) ผู้ที่สามารถ ชี้แนะ ชักชวนไปในทางที่ดีเจริญก้าวหน้าทางด้านหน้าที่การงาน ความรู้ และคุณธรรม 11.ชาวพุทธที่ดี ควรเป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่ควรให้ความ เกียจคร้านครอบงำ§ และไม่ควรหวังพึ่งโชคชะตา แต่ควรหวังพึ่ง การกระทำ§ของตน ในแต่ละวัน ควรทำ§สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นบ้างไม่มากก็น้อย อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่า ประโยชน์ 12.ชาวพุทธที่ดี ควรเรียนรู้ที่จะเสียสละ แบ่งปันสิ่งต่างๆ ที่ตน มี มากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมแก่ฐานะ เป็นต้นว่าการ ตักบาตรเป็นประจำ§ทุกสัปดาห์ หรือบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เงินทองแก่องค์กรสาธารณกุศลที่ตนสะดวก ไม่เห็นแก่ตัวจนลืม สังคม เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ความเห็นแก่ตัว คือสาเหตุ หนึ่งที่ทำ§ให้สังคมวุ่นวายเดือดร้อน
  • 5. 8 9 13.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้เจริญด้วย วัยวุฒิ (มีอายุ) คุณวุฒิ (มีคุณธรรม) และชาติวุฒิ (ผู้เกิดในชาติ ตระกูลสูงที่สังคมยกย่อง) เช่น พ่อแม่ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติ ผู้ใหญ่ เป็นต้น เพื่อลดทิฐิมานะของตน 14.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความกระตือรือร้นในการขวนขวาย ช่วยเหลืองานส่วนรวม ไม่ดูดายหรือวางเฉยโดยคิดว่าไม่เกี่ยวกับ ตน ธุระไม่ใช่ ควรทำ§ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้แก่สังคมที่ตน อาศัยอยู่ เพื่อเป็นการคืนกำ§ไรให้สังคม 15. ชาวพุทธที่ดี ควรเสียสละ แบ่งปัน แนะนำ§สิ่งดีงามที่ตนรู้ แก่ผู้อื่น เป็นการสละความตระหนี่ความรู้ออกจากใจตน 16. ชาวพุทธที่ดี ควรมีมุทิตาจิต พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นทำ§ดี-ได้ดี เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และให้การสนับสนุนเพื่อเป็นกำ§ลัง ใจแก่คนทำ§ดี ทั้งยังเป็นการลดความริษยาในใจตนด้วย 17.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นศึกษาพระไตรปิฎก และหมั่นฟังธรรมะ หรือสิ่งที่มีสารประโยชน์ต่อตนเองเนืองนิจ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมคำ§สอนของพระพุทธเจ้า 18.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเมตตา เอื้ออาทรต่อคนอื่นผู้หลงทาง หลงผิด หรืออยู่ในฐานะที่ต้องการคำ§แนะนำ§ ด้วยการให้คำ§ชี้แนะ ชักชวนในทางที่ถูกต้องดีงามตามโอกาสอันเหมาะสม 19.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าไปหาบัณฑิต-ท่านผู้รู้ เพื่อสอบถามว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นสาระ และไม่เป็นสาระ อันจะเป็นหลักในการดำ§เนินชีวิตที่ดี 20.ชาวพุทธที่ดี ไม่ควรเพ็งโทษ ติเตียน กล่าวร้ายผู้อื่น พึงมอง หาส่วนดีเพื่อปฏิบัติตาม สำ§หรับส่วนที่ไม่ดีก็เอามาเป็นครูสอน 21.ชาวพุทธที่ดี ควรประกอบอาชีพสุจริต หรือทำ§อาชีพของ ตนให้สุจริต ไม่คดโกงเบียดเบียน หรือเบียดบังคนอื่น ไม่ประกอบ อาชีพอันทำ§ร้ายชีวิต และทำ§ลายธรรมชาติ 22.ชาวพุทธที่ดี ควรตระหนักรู้ในหน้าที่ของตน ว่าตนมีหน้าที่ อะไรบ้างในชีวิตและหน้าที่การงาน พร้อมทำ§หน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง 23.ชาวพุทธที่ดี ควรรู้กาละ-เทศะ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับงาน-สถานที่ๆ ตนไป ไม่ควรแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ไปนอกบ้านเพื่อยั่วยวนชวนให้เกิดกิเลส เป็นเหตุส่งเสริมให้เกิด อกุศลจิต 24.ชาวพุทธที่ดี ควรเลือกบริโภคอาหารที่ดีมี ประโยชน์กับ ร่างกาย และไม่ควรเห็นแก่การกินหรือค่านิยมผิดๆ ที่ว่าต้องกิน อาหารราคาแพงหรูหรา ควรตระหนักถึงคำ§สอนของพระศาสดาว่า กินเพื่ออยู่ ให้มีเรี่ยวแรงในการทำ§ความดียิ่งๆ ขึ้นไป 25.ชาวพุทธที่ดี ควรทำ§บ้านหรือที่อยู่ของตนให้สะอาด เป็น ระเบียบเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง ไม่จำ§เป็นต้องเป็นบ้านหลังใหญ่โต เพื่ออวดฐานะแข่งขันกัน เพราะจุดประสงค์ของบ้าน มีไว้เพื่อพัก ผ่อนหลับนอน กันแดดร้อน ฝนตก ภัยอันตรายต่างๆ
  • 6. 10 11 26.ชาวพุทธที่ดี ควรแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือ ใช้เลี้ยงตน- คนรอบข้าง และทำ§ประโยชน์ 1 ส่วน, ใช้ลงทุน-ทำ§ธุรกิจให้งอกเงย 2 ส่วน และเก็บไว้ใช้ในคราวจำ§เป็น เช่นเวลาไม่สบาย เพื่อเป็นค่า รักษาพยาบาล เป็นต้น อีก 1 ส่วน ข.จิตใจดี จิตใจของชาวพุทธที่ดี คือ มีจิตที่ตั้งมั่น ไม่โอนเอน ไม่หวั่น ไหว เข้มแข็ง แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวก ไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สะทกสะท้าน แต่อ่อนโยน นุ่มนวล ควรแก่การงาน เมื่อเกิด เหตุการณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบมากระทบกระทั่งจิต ผู้มีจิตใจดีย่อม สามารถผ่านพ้นวิกฤตินั้นไปได้ ดังนั้น ชาวพุทธที่ดีควรฝึกหัด พัฒนาจิตใจให้มีสภาพที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ปัญหาต่างๆ ง่ายๆ ด้วยวิธีดังนี้ คือ 27.ชาวพุทธที่ดี ควรหมั่นฝึกหัดพัฒนาจิตใจของตนให้มั่นคง บริสุทธิ์ ผ่องใส และเหมาะควรแก่การพัฒนาชีวิตจิตใจ ด้วยการ เจริญสมถภาวนา (การทำ§ให้จิตใจสงบนิ่งมั่นคง) และวิปัสสนา ภาวนา (การอบรมจิตจนเข้าใจธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิต) ต่อเนื่องเป็นประจำ§ทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยอุบายวิธี ดังนี้ 27.1 การฝึกหัดพัฒนาจิตใจ-ในรูปแบบ (Formal Practice)
  • 7. 12 13 คือ การนั่งสมาธิหรือทำ§สมาธิเช้า-เย็นไม่ขาด ครั้งละ 5-15 นาที หลังจากนั้น จะเพิ่มเวลาเป็น 30 นาที และ 1 ชม. แล้วแต่ความ สะดวกของผู้ปฏิบัติ การพัฒนาจิตใจ เริ่มต้นด้วยการนั่งขัดสมาธิ หลับตาลงเบาๆ ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน ผ่อนคลายจิตใจไม่ให้ กังวลในหน้าที่การงาน อดีต อนาคต หรือเรื่องใดๆ พร้อมทั้งบอก กับตัวเองว่า ต่อไปเราจะทำ§สิ่งที่ดีเพื่อตัวเราเอง ด้วยการพักผ่อน ทางจิตใจ หลังจากนั้นให้รวบรวมความสนใจทั้งหมดมาเฝ้าดูที่ลม หายใจเข้า-ออก ตามธรรมชาติ ไม่ให้จิตใจวอกแวกไปไหน ให้อยู่ กับลมหายใจเข้า-ออก ถ้าจิตคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ วิ่งไปในอดีตหรือ อนาคต ให้รู้เท่าทัน และพยายามดึงกลับมา ให้อยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก ทำ§อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนจิตสงบ เป้าหมายในขั้นแรกเรา ต้องการเพียงแค่ความสงบของจิต ส่วนเป้าหมายขั้นต่อไป คือการ เข้าใจธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความคิด และธรรมชาติต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ล้วนไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง ไม่อยู่ ในสภาพเดิม และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ จนเข้าใจธรรมชาติว่า เราเป็นเพียงผู้รู้-ผู้ดู ดูด้วยความเข้าใจ ไม่ยินดียินร้าย ปฏิบัติต่อสิ่ง นั้นด้วยความเข้าใจ 27.2 การฝึกหัดพัฒนาจิตใจ-นอกรูปแบบ (Informal Practice) คือ การเจริญสติสมาธิในชีวิตประจำ§วัน ตั้งแต่ตื่นนอน จน กระทั่งเข้านอน ชาวพุทธควรมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะพูด- ทำ§-คิด หรือไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ให้ตระหนักรู้ อยู่กับปัจจุบัน ขณะ เช่น เดิน-ก็รู้ว่าเดิน, ยืน-ก็รู้ว่ายืน, นั่ง-ก็รู้ว่านั่ง, นอน-ก็รู้ว่า นอน, อาบน้ำ§ ทานข้าว เป็นต้น ก็ให้รู้ในกิริยาอาการนั้นๆ เรื่อยไป มีเทคนิคการดำ§เนินชีวิตประจำ§วันอยู่ 3 ส. คือ - สุข มีความสุขกับสิ่งที่ทำ§ขณะนั้น - สมาธิ มีความตั้งใจ เต็มใจทำ§สิ่งนั้น - สติ รู้ตัวทุกขณะที่ทำ§สิ่งนั้น
  • 8. 14 15 ค.ความรู้ดี ความรู้ดี คือ การรู้ทั่ว-ถึงเหตุและผล, บาปบุญคุณโทษ, ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ อย่างชัดเจน พระพุทธศาสนาสรรเสริญบุคคลผู้ ดำ§เนินชีวิตด้วยปัญญา ว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐ ปัญญาเป็นเสมือน แสงสว่างส่องนำ§ทางให้แก่ชีวิต ให้ดำ§เนินไปในทางที่ดี มีคุณค่า เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคม ดังนั้น ชาวพุทธที่ดีควร ฝึกฝน พัฒนาปัญญาความรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ดังนี้ 28.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความเชื่อมั่นในพระปัญญาตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ว่าทรงตรัสรู้จริง และน้อมนำ§เอาพระพุทธองค์มาเป็น แบบอย่างในการดำ§เนินชีวิต รวมถึงมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของมนุษย์ ว่าสามารถทำ§ได้ เป็นได้ โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และมุ่งศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง 29.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำ§นองคลอง ธรรม รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไร ผิด อะไรเป็นสาระ และ อะไรไม่เป็นสาระ 30.ชาวพุทธที่ดี ต้องเชื่อเรื่องกรรม (การกระทำ§), ทำ§ดี-ดี ทำ§ชั่ว-ชั่ว มีสติ ระวังการกระทำ§ของตน ไม่ว่าจะเป็นความคิด (มโนกรรม) คำ§พูด (วจีกรรม) และการกระทำ§ (กายกรรม) ไม่ให้ เบียดเบียนทำ§ร้ายใคร 31.ชาวพุทธที่ดี ควรยึดมั่นในหลักคำ§สอนหลักของพระพุทธ องค์ ไม่หวังพึ่งพาสิ่งอื่นเมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคขึ้นในชีวิต ควรตั้ง คำ§ถามตนเองว่า ในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีแก้ปัญหาไว้ อย่างไร แล้วปฏิบัติตามนั้น 32.ชาวพุทธที่ดี ควรมีความเคารพต่อบุคคลอื่นในฐานะเพื่อน มนุษย์ และปฏิบัติต่อเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์ ตามหลักทิศ 6 ที่ สอนให้ตระหนักรู้ถึงหน้าที่ต่อกันระหว่างมนุษย์ พร้อมทั้งปฏิบัติต่อ กันด้วยเมตตาธรรม 33.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจลักษณะทั่วไปของสรรพสิ่ง ว่ามีความ แปรปรวน ไม่เที่ยงแท้แน่นอน(อนิจจัง) คงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ยาก (ทุกขัง) และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นไปตามกระแสของ เหตุปัจจัย (อนัตตา) แล้วปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นด้วยความเข้าใจ ไม่ ท้อแท้หมดหวังเสียใจ 34.ชาวพุทธที่ดี ต้องมีความกตัญญู รู้บุญคุณที่คนอื่นทำ§แล้ว แม้เพียงเล็กน้อย และทำ§ตอบแทน เฉกเช่นพระพุทธเจ้าและพระสา รีบุตรผู้เป็นแบบอย่างของความกตัญญู รู้คุณบุคคลอื่น 35.ชาวพุทธที่ดี ต้องดำ§เนินชีวิตตามทางสายกลาง หรือมรรคมี
  • 9. 16 17 องค์ 8 (The Power of Right) อันเป็นหนทางแห่งความสงบสุข ที่แท้จริง ได้แก่ :- 1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ : Right View; Right Understanding) คือ เห็นว่าอะไรเป็นบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงขึ้นไปจนกระทั่งเห็นหลักความจริงของชีวิตและธรรมชาติ เป็นต้นว่า หลักความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4 คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค) 2.คิดชอบ (สัมมาสังกัปปะ : Right Thought) คือ ความดำ§ริใน การออกจากกามคุณ ไม่หมกมุ่นในเรื่องเพศ ไม่คิดพยาบาท ไม่คิด เบียดเบียนใคร หรือพยายามปลูกฝังความคิดดี คิดบวก อันเป็นก ระแสของบุญกุศลให้เจริญงอกงาม 3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา : Right Speech) คือ ความดีทาง คำ§พูด ได้แก่ พูดจริง พูดไพเราะ พูดประสานสามัคคี พูดมีสาระ ประโยชน์ 4.กระทำ§ชอบ (สัมมากัมมันตะ : Right Action) คือ ความ ประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ใช้ร่างกายไปเบียดเบียนทำ§ร้าย ใครรวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การไม่ลักขโมย และการควบคุมความ รู้สึกทางเพศไม่ให้มีเกินขอบเขตจนทำ§ร้ายตนเองและผู้อื่น 5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ : Right Livelihood) คือ การทำ§ มาหาเลี้ยงชีวิตที่ดี ไม่เบียดเบียนใคร ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ เป็นต้น ว่าค้าขายอาวุธ มนุษย์ ยาพิษ สุรายาเสพติด ประกอบสัมมาชีพ 6.เพียรพยายามชอบ (สัมมาวายามะ : Right Effort) คือ มีความพากเพียรพยายาม ละเลิก เว้นสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้น และ เพียรพยายามรักษาสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น พัฒนาให้สิ่งดีๆ เจริญ งอกงาม 7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ : Right Mindfulness) คือ มีความ รู้ตัว [กาย (ลมหายใจ, อิริยาบถน้อยใหญ่) -ใจ (ความรู้สึก ความ คิด และธรรมชาติ)] ทั่วพร้อม ในการดำ§เนินชีวิตประจำ§วัน 8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ : Right Concentration) คือ จิต มีคุณภาพ ตั้งมั่น บริสุทธิ์ กระปี้ กระเปร่า 36.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจธรรมชาติ หรือวงจรของชีวิต ว่ามี ความเสื่อมโทรม มีความเจ็บป่วย มีความแตกสลายตายไป มี ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ และมีกรรมเป็นของตน ใคร ทำ§กรรมใดไว้จะต้องรับผลของกรรมนั้น เมื่อเข้าใจแล้วพึงทำ§ใจ ยอมรับความจริงเหล่านั้น ไม่เศร้าโศกเสียใจจนเกินไป 37.ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจชีวิตของคนเราว่า ประกอบด้วยรูป กับนาม ส่วนรูป-ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ§ ลม ไฟ, ส่วน นาม-ประกอบด้วยความรู้สึก ความทรงจำ§ ความคิด และความรู้ ทั้งสองสิ่งเกี่ยวกัน แยกจากกันไม่ได้ เมื่อรู้แล้วจึงควรปฏิบัติต่อรูป (ร่างกาย) และนาม (ใจ) ให้ถูกต้อง 38. ชาวพุทธที่ดี ควรเข้าใจสิ่งของที่มีมาคู่โลก หรือ เงื่อนไขของโลก ว่ามีสุข มีทุกข์ นินทา สรรเสริญ มีลาภ เสื่อมลาภ
  • 10. 18 19 มียศ เสื่อมยศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นกับตนเอง ก็สามารถปรับ ใจรับกับสิ่งนั้นได้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่มีอะไร เที่ยงแท้แน่นอน มาแล้วก็ไป THE GOOD BUDDHIST
  • 11. 20 21 PREFACE The good Buddhist is one who is well behaved, kind hearted, understands the principles of life and the law of nature, in order to live in this global community with happiness and normalcy without having to encroach on self or others, and is a role model as to how to live the peaceful life while still able to help those around them. To be a good Buddhist is not merely a pledge and promise or written in one’s house registration but one must practice and develop oneself according to the Buddhadhamma that the Lord Buddha has detailed. The Good Buddhist is a collection of the Buddha’s teaching, it is laid out as a model for those Buddhists interested in learning and developing oneself. I also would like to thank Mrs.Sukanda Jetabut and her daughter who help me translate this work from Thai into English and beside that I thank my Dhamma friends; PJ and Cristina who help me proofreading the book. TATU JIRANG SATUNG DHAMMO. May the Lord Buddha’s teaching be with us eternally for the purpose of happiness and guiding all lives still in this cycle of rebirth in order to be rid of all worldly suffering. With Metta Piyamedhi
  • 12. A.Good behavior Good behavior is about physical and verbal action that is purposeful and does not do any harm to self or others. The Lord Buddha has outlined the methodology and practice, leading to self-development and good behavior. This is the practice of outside-in training, once mastered, one will live a better and more purposeful life with a mind at peace due to upright physical and verbal behavior. Below are ways to practice good behavior: 1.The good Buddhist shall religiously practice morning and evening chanting in order to cleanse and brighten one’s mind towards peacefulness. 2.The good Buddhist shall ‘think, say, do’ with goodwill, have compassion to all living beings with the understanding that we are all in the same cycle of rebirth, therefore, should not encroach or do harm to others. 3.The good Buddhist shall not let greed take over by stealing things from their owners or by using tricks or fraud in order to steal things that belong to others which will result in problems in society. 4.The good Buddhist shall respect and treat other families and friends as if they were his/her own, shall not commit infidelity by getting involved sexually with others that are not his/her own wife/husband which is immoral and unlawful. 5.The good Buddhist shall speak with consciousness, always thinking before speaking to consider whether or not what is about to be spoken would harm or help others. If it will do harm then one need control oneself and not speak. 22 23
  • 13. 6.The good Buddhist shall take good care of oneself by not consuming unhealthy substances excessively that would lead to unconscious wrongdoing. A healthy body can do a lot of good deeds for oneself and others. 7.The good Buddhist shall not have a habit of going out at night regularly in excess, which will result in wasteful spending and other possible negative consequences. 8.The good Buddhist shall not get carried away and be excessively dominated by worldly entertainment, which will result in wasted money, and precious time that could be used to develop oneself and do good deeds. 9.The good Buddhist shall not get involved in any kind of gambling which will lead to decline in one’s development. 10.The good Buddhist shall seek good friends, friends who can be a good influence and lead or persuade in the right direction towards a better job, towards knowledge and morality. 11.The good Buddhist shall be diligent, shall not let laziness take over, shall not rely and hope on fate or luck, shall be self- sufficient in daily life, shall more or less try to do good deeds for oneself and others and not waste precious time. 12.The good Buddhist shall learn to sacrifice and share one’s belongings to others in need as appropriate and suitable, for example, the weekly meal offering to the monks and donation to various charities; one shall not be selfish as one is not the only one living on this earth. Selfishness is one of the reasons society is so chaotic and afflicted. 13.The good Buddhist shall be respectful to those with seniority, moral and exceptional background and well accepted by society, such as one’s father, mother, teacher, older relative; this is in order to lessen one’s pride(ego). 14.The good Buddhist shall be enthusiastic in volunteering and helping society, without 24 25
  • 14. thinking that ‘it’s not your business;’ one should try to help out in some way in one’s society in order to ‘pay it forward’ to the society. 15.The good Buddhist shall sacrifice and share useful knowledge to others which is the way to get rid of selfishness in the mind. 16.The good Buddhist shall have kindness, joy when hearing of others’ happiness, good fortune, good deeds, job progress, and provide support to them; this will also lessen any jealousy one might have as well. 17.The good Buddhist shall study the Buddha’s teachings(Tripitaka) and listen to Dhamma occasionally or any useful Buddha’s teachings in order to broaden the understanding of Buddhism. 18.The good Buddhist shall have mercy and compassion for those who have lost direction towards good morality and need guidance. 19.The good Buddhist shall seek those knowledgeable ones and find out what is good, bad, right, wrong, what is substantial and what’s not, which will be the basics of living a good life. 20.The good Buddhist shall not focus on weaknesses and blame others, instead, focus on their positive strengths, choose to follow the positive strengths and use the negative ones as lessons to learn from. 21.The good Buddhist shall seek an honest profession, shall not cheat, corrupt or encroach on others, shall not seek any profession that would harm lives or nature. 22.The good Buddhist shall realize own duty and responsibility and do the very best to follow through. 23.The good Buddhist shall wear proper attire appropriate to the occasion, location, shall not wear inappropriate attire in order to seduce others resulting in ill-willed encouragement. 26 27
  • 15. 28 29 24.The good Buddhist shall seek to consume only good and nutritious food that is good for body and mind, shall not be greedy and believe in the misconception that good food must be expensive, shall realize the teaching of the Lord Buddha that ‘we only eat in order to sustain our lives so we can continue to do more good deeds’. 25.The good Buddhist shall keep the living quarters clean and clear of clutter, not necessary to own a big house in order to compete in wealth with others; the main purpose of the house is to provide one with a place to rest, keep one safe from the elements and other dangers. 26.The good Buddhist shall divide assets in 4 parts; one part is for self and family and for good use, two parts are for investment and developing of the business, and one part is saving for an emergencies such as healthcare. B.Good hearted For the good Buddhist, good hearted means that the mind is stable, strong, determined, unshaken, undistracted, unfretted and undemonstrative, but tender and gentle, suitable to handle any circumstances when encountered, whether pleasant or unpleasant. Those with good hearts will be able to overcome those circumstances, therefore, the good Buddhist should train their mind to be strong and stable and not to surrender to any life barriers using these following methods. 27.The good Buddhist shall regularly train
  • 16. their mind for stability and purity suitable for the heart and soul through the practice of calming the mind and training the mind to understand the facts of everyday life, morning and evening using the methods below. 27.1 Mind Developing Training (Formal Practice) - involves meditation, 5-15 minutes every morning and evening, then gradually increasing the time to 30 minutes, 1 hour at the practitioner’s convenience. Mind developing starts with meditation, gently closing the eyes, relaxing the whole body, relaxing the mind, letting go of all worries, jobs, past, future and all other issues. Tell yourself that from hereon we will do good deeds for ourselves by relaxing our minds then gather all the attention to focus only on our breathing in and out naturally, not allowing the mind to get distracted and stray away, stay focused on the in and out breathing. If the mind slips away to the past or future or is full of thoughts, just acknowledge this and try to bring it back to the present in and out breathing. Keep doing this until the mind is at peace. The first goal is to bring the mind to a peaceful state; the next goal is to understand the nature of what is happening. Whether it is feelings, thoughts and other natural states that come and go, constantly changing, unable to control and remain in its original condition, we understand that we are only an observer acknowledging what is, neither happy nor unhappy while practicing with understanding. 27.2 Mind Developing Training (Informal Practice) - is being in the stage of mindfulness in everyday life from the time we get up until the time we lay down to rest. The Buddhist should be in mindfulness at all times, whether during thought, speech or action, in any position at any time, always in the present. For example, when walking, acknowledge that we are walking, standing- standing, sitting-sitting, sleeping-sleeping, 30 31
  • 17. washing, eating, etc... Continue to observe and acknowledge all that is happening at the present. Listed below are 3 techniques in living everyday life. • Happiness – being happy doing things in the moment; • Concentration – concentrate and focus on what you are doing in the moment; and • Consciousness – being fully conscious of what you doing. C.Good knowledge Good knowledge is clear understanding of cause and effect, good/bad karma, and what is beneficial/non-beneficial. Buddhism praises those who use their wisdom in living the ‘glorious life’, wisdom is the guiding light for life led in the right direction; a life worthwhile, productive for oneself and society. Therefore, the good Buddhist should continue to perfect their practice and develop their knowledge. 28.The good Buddhist shall be confident of the Buddha’s wisdom. In knowing that he 32 33
  • 18. did indeed reach enlightenment, we respectfully use him as a model in living everyday life including the belief in one’s ability to do, to be, and continue to search for further knowledge. 29.The good Buddhist shall have the right mind; knowing what is right, wrong, good, bad, meaningful, and futile. 30.The good Buddhist shall believe in karma. Action - good action leads to good karma, poor action leads to bad karma; as such it is important to be mindful of one’s actions, even in the form of thought. In one’s words and actions, one needs to be conscious to not harm one another. 31.The good Buddhist shall adhere to the Buddha’s teaching and not rely on myth when encountering problems. One should ask oneself, ‘in this situation, what did the Buddha teach, what was his way of solving the problem?’ Once realized, then, follow the Buddha’s teaching accordingly. 32.The good Buddhist shall practice mutual respect and treat others the way you want to be treated. 33.The good Buddhist shall understand the general characteristic of all things; that all things change, are unstable (อนิจจัง), cannot remain in its original condition (ทุกขัง), and cannot be controlled and will continue to be according to cause and effect (อนัตตา), accept this understanding without feeling discouraged or sad. 34.The good Buddhist shall be grateful to those who have been kind and helpful even if through minor deeds and reciprocate as the Lord Buddha and Phra Sareebutr have shown as a model of demonstrating gratitude. 35.The good Buddhist shall live their life moderately in the noble eightfold path or the middle way(The Power of Right), which is the way to true happiness. 1.Right View, Right Understanding: Able to see the good, bad, useful, futile and continue 34 35
  • 19. on to see the facts of life and nature such as ‘The Four Noble Truths’ (Dukkha, Origin of Dukkha, Cessation of Dukkha, the path leading to Cessation of Dukkha). 2.Right Thought: Intend to be rid of sensual desires and not be consumed with sensuality, revenge, or encroachment; try to establish good positive thinking which is the flow for good merit. 3.Right Speech: Speak the truth, speak gently, speak harmoniously. 4.Right Action: Good behavior, not doing any harm to others and all livings, not stealing, able to control one’s sensual desires in order to do no harm to self and others. 5.Right Livelihood: Hold a good profession that does not encroach others, avoid dishonest professions such as the selling of weapons, human beings, poisons, alcohol and drugs. 6.Right Effort: An effort to try to avoid or stop bad things from happening while promoting good things to prosper. 7.Right Mindfulness: Be conscious (through physical breath, big/small movements) – mind (feelings, thoughts and nature) in living daily life. 8.Right Concentration: Have a quality mind with determination that is pure and lively. 36.The good Buddhist shall understand the nature or the cycle of life that all things degenerate, become ill, die, straggle from loved ones, have their own karma (whatever karma he or she made, he or she will eventually receive the result of the karma). Upon understanding of this fact one shall be able to accept it and should not be overly sad. 37.The good Buddhist shall understand that our lives consist of figures and appellation; figures being the 4 elements of ‘earth, water, wind and fire’ and appellations consisting of senses, mind, thought and knowledge - both are related, and inseparable. Once understood, one should rightfully treat both figures and appellation accordingly. 36 37
  • 20. All are cordially invited to participate in the meditation programs and Buddhist activities at Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh) Activity Day Time 1. Chanting Daily Morning and Evening 05.30 - 6.30 a.m. 5.30 - 6.30 p.m. 2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m. 3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m. 4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m. All activities will be held at the upper or lower level of the temple. For further information, please contact Wat Padhammaratana, PA. Tel.412.229.8128, E-mail : bmcpitts@hotmail.com, www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. - To serve as a meditation center in Pittsburgh - To promote virtues, Buddhist culture and traditions - To be a center of all Buddhists, re-gardless of nationalities OBJECTIVES 38 38.The good Buddhist shall understand that the conditions that arise in the earth in which we live are happiness, unhappiness, gos-sip, praise, fortune, misfortune, high rank-ing, loss of high ranking- when encountered with these conditions one should be able to accept with the understanding that these are facts of life, that nothing is permanent, and absolutely everything comes and goes.