Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

6 ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการวิเคราะห์นโยบาย

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité

Consultez-les par la suite

1 sur 3 Publicité

Plus De Contenu Connexe

Diaporamas pour vous (20)

Similaire à 6 ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการวิเคราะห์นโยบาย (20)

Publicité

Plus par Dr.Choen Krainara (20)

Plus récents (20)

Publicité

6 ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการวิเคราะห์นโยบาย

  1. 1. 6 ขั้นตอนง่ายๆสาหรับการวิเคราะห์นโยบาย (6 Easy Steps for Successful Policy Analysis) การวิเคราะห์นโยบายคืออะไร การวิเคราะห์นโยบายคือขั้นตอนที่เราได้จาแนกและประเมินทางเลือกของนโยบายหรือแผนงานที่เราต้องการ ใช้บรรเทาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจหรือกายภาพ เขียนโดย Carl V. Patton ชาว อเมริกัน ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์นโยบายชั้นนาในหนังสือ “ วิธีการพื้นฐานสาหรับการวิเคราะห์นโยบายและการ วางแผน ( Basic Methods of Policy Analysis and Planning)” เมื่อปี พ.ศ.2528 และสามารถนามา ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาได้ทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาคและระดับท้องถิ่น 6 ขั้นตอนง่ายๆ สาหรับการวิเคราะห์นโยบาย จากแนวคิดและวิธีการของ Carl V. Patton มีแนววิธีการง่ายๆของแนวคิดและประเด็นเพื่อพิจารณาในการ วิเคราะห์นโยบายในทางปฏิบัติแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1.ยืนยันและกาหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องที่สุดและสาคัญมากที่สุดเนื่องจากมีบ่อยครั้ง ที่วัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนหรือบาง ครั้งขัด แย้งกันเอง ขั้นตอนนี้จะเป็นรากฐาน ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของผลลัพธ์ที่จะได้ตลอดทั้งกระบวนการ วิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์จะต้องถามคาถาม ต่อ ทั้งผู้สนใจที่ เกี่ยวข้องและแนวทางของผลลัพธ์ที่จะได้รับ เราควรตั้งคาถามของปัญหาในแนวทางที่ลดความคลุมเครือต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์สาหรับการอ้างอิงในอนาคต 2.กาหนดหลักเกณฑ์การประเมินผล เพื่อเปรียบเทียบ วัดและเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ หลักเกณฑ์ที่ เกี่ยวข้องต่างๆจึงควร ถูก กาหนดขึ้น ในขั้นตอนนี้ควรจะมีการพิจารณาต้นทุน ผลประโยชน์ที่จะได้รับสุทธิ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเสมอภาคและความคล่องตัวในการบริหาร ความสอดคล้องกับ กฎหมายและ การยอมรับได้ทางการเมือง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่างๆ ควรได้รับการพิจารณาในการประเมินผลนโยบาย ซึ่งนโยบายจะส่งผลเสียหรือได้ประโยชน์ต่อเฉพาะบางกลุ่มหรือต่อกลุ่มต่างๆขึ้นอยู่กับจานวนของทางเลือกและ ทางเลือกที่ยุ่งยาก มากกว่าทางเลือกอื่นๆ ควรได้รับการพิจารณาแต่ในท้ายที่สุดแล้วจะถูกตัดสินโดยการ วิเคราะห์ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย 3.กาหนดทางเลือกของนโยบาย ควรดาเนินการขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้แล้วเสร็จเรียบร้อยก่อนเพราะการ วิเคราะห์นโยบายเป็นหลักการที่ดาเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อสร้างทางเลือกของนโยบายมีความ จาเป็นต้องมีความเข้าใจปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน ทางเลือกที่เป็นไปได้ประกอบด้วย “แนวทางการไม่มีการดาเนินการอะไรเลย (Do nothing approach)” และวิธีการอื่นที่ส่งผลดีต่อผลลัพธ์ที่ได้ การผสมผสานทางเลือกต่างๆทาให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีซึ่งไม่เคย คาด คิดมาก่อน การอาศัย ประสบการณ์ในอดีตจากกลุ่มอื่นๆหรือการวิเคราะห์นโยบายช่วยสร้างความเข้าใจและการวิเคราะห์ที่ละเอียด มากขึ้น ตลอดทั้ง มีความจาเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกาหนดจานวนทางเลือกแต่เนิ่นๆ ในขั้นตอนนี้ ทางเลือก ทั้งหมดจะได้รับการพิจารณาก่อนจัดเป็นหมวดหมู่ของทางเลือกต่างๆที่ได้รับการปรับลดจานวน แล้ว การระดม เชิญ ไกรนรา: สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ Page 1
  2. 2. สมอง การวิจัย การทดลอง การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์หรือ หลักการในการเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept mapping) ช่วยค้นหาทางเลือกใหม่ซงจะช่วยนาไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ่ึ 4.ประเมินทางเลือกของนโยบาย การประมวลทางเลือกต่างๆไปเป็นยุทธศาสตร์เป็นขั้นตอนต่อไปเพื่อให้ บรรลุผลของการวิเคราะห์นโยบายอย่างละเอียด มีความจาเป็นต้องประเมินว่าความเป็นไปได้ของแต่ละ ทางเลือกทาให้เกิดประโยชน์ต่อหลักเกณฑ์ที่ได้กาหนดไว้แล้วอย่างไร ดังนั้นจึง มีความต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใน การวิเคราะห์ระดับความแตกต่างของอิทธิพล ซึ่งก็คือปัญหา ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และ ด้านด้านสังคม ปัญหาใน มิติต่างๆ เหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งก็คือผลตอบแทนและต้นทุนต่อ ทางเลือก คาถามทางการเมืองต่างๆในการบรรลุเป้าหมายได้รับการวิเคราะห์เพื่อดูว่าได้ตอบสนองความ ต้องการภาคส่วนที่ให้ความสนใจของการวิเคราะห์นโยบายมากน้อยเพียงใด ซึ่งการวิเคราะห์อย่างกระชับนี้ ปัญหาต่างๆอาจยังไม่ปรากฏชัดตามที่ได้กาหนดไว้ ปัญหาที่กาหนดไว้ในขั้นตอนแรกอาจมีการเปลี่ยนแปลงซึ่ง จะถูกอธิบายภายหลังการประเมินทางเลือกต่างๆในรายละเอียด มุมมองใหม่ๆ ของปัญหาบางทีพบว่ามีอยู่ บ้าง และมีความแตกต่างจากปัญหาที่ระบุไว้เดิม กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ทาให้วิธีการวิเคราะห์นโยบายเกิดการ นาข้อมูลต่างๆกลับมาใช้ใหม่ในทุกขั้นตอน ประสิทธิภาพจะสูงขึ้นเมื่อหลายๆโครงการได้รับการวิเคราะห์และ ประเมินแทนที่จะเป็นโครงการเดียวและมีรายละเอียดมาก ทาให้มีกรอบของทางเลือกที่เป็นไปได้กว้างขวาง มากขึ้น ซึ่ง Patton แนะนาให้หลีกเลี่ยงการใช้แนวทางที่นามาใช้ได้ทั่วไป (Toolbox approach) ซึ่งค้นหา ทางเลือกต่างๆโดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ที่คุ้นเคย แต่ควรเปลี่ยนมาใช้แนวทางการวิเคราะห์ที่ แตกต่างเพื่อการ วิเคราะห์ หาทางเลือกที่เป็นไปได้ที่หลากหลาย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนถึงความจาเป็นในการประเมิน แต่ละทางเลือก ให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินที่หลากหลายตามลักษณะเฉพาะตัวของวิธีการวิเคราะห์นโยบาย 5.แสดงและสร้างความแตกต่างระหว่างทางเลือกของนโยบาย ผลของการประเมินทางเลือกที่เป็นไปได้ต่างๆ แสดงให้เห็นถึงระดับของความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ที่กาหนดแต่ละตัว วิธีการเปรียบเทียบใช้ในการสรุป คุณภาพต่างๆมีส่วนช่วยในการสร้างความแตกต่างระหว่างทางเลือก สถานการณ์ต่างๆทีใช้กับวิธีการเชิง ปริมาณและการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการพิจารณาความซับซ้อนทางการเมืองสามารถหลอมรวมเป็น ทางเลือกทั่วๆ ไปที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ทาการวิเคราะห์ ในการเปรียบเทียบและ สร้างความแตกต่างของแต่ละทางเลือกจึงมีความจาเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ด้าน การเมือง ด้าน กฎหมายและด้านการบริหารจัดการของแต่ละทางเลือก การวิเคราะห์นโยบายเป็นปัจจัยหลัก ของการตัดสินใจเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างทางเลือก แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกและทางลบที่ถูก นามาใช้ในการดาเนินนโยบาย แนวทางด้านการเมืองนี้ในที่สุดแล้วจะวิเคราะห์ว่าจานวนของผู้มีส่วนร่วมนี้จะ มี ส่วนช่วยปรับปรุงหรือลดการดาเนินนโยบายอย่างไร นอกจากนี้ยังช่วยวิจารณ์ว่าความร่วมมือภายในของหน่วย ที่สนใจหรือภาคส่วนที่สนใจจะมีบทบาทที่สาคัญอย่างไร ต่อผลลัพธ์ของการวิเคราะห์นโยบาย การผสมผสาน สองหรือสามทางเลือกเข้าด้วยกันเป็นวิธีที่พบได้บ่อยๆในการบรรลุผลการวิเคราะห์นโยบายที่สมเหตุสมผล 6.ติดตามนโยบายที่นาไปปฏิบัติ เพื่อยืนยันถึงความต่อเนื่องและสรุปว่านโยบายได้ก่อให้เกิดผลกระทบ แม้ว่า หลังจากที่นโยบายบางอย่างได้นาไปสู่การปฏิบัติแล้วก็ยังมีข้อสงสัยว่าปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขอย่าง เหมาะสมหรือไม่และแม้ กระทั่งต้องการทราบว่า นโนบายที่ถูกเลือกมาใช้นั้น กาลังมีการนาไปสู่การปฏิบัติอย่าง เชิญ ไกรนรา: สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ Page 2
  3. 3. เหมาะสมหรือไม่ ข้อคานึงนี้ต้องการให้มีการรักษาและติดตามนโยบายและแผนงานต่างๆในระหว่างการนาไป สู่ การปฏิบัติเพื่อรับรองว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากความไม่ตั้งใจ เพื่อวัดผลกระทบที่นโยบายได้สร้าง ไว้ เพื่อสรุปว่านโยบายได้สร้างผลกระทบตามที่ตั้งใจไว้และเพื่อตัดสินว่านโนบาย ดังกล่าว ควรได้รับการ ดาเนินการต่อ ควรปรับปรุงหรือยกเลิก โดยสาระสาคัญแล้วแล้วเรากาลังพูดถึงน้าหนักภายในว่าแผนงาน นั้นได้ สร้างความแตกต่าง หรือไม่ ขั้นตอนนี้มีความสาคัญมากเนื่องจาก มี ลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่การประเมิน แผนงานและการออกแบบงานวิจัยได้ถูกผนวกไว้ในขั้นตอนพิเศษนี้ ----------------- เชิญ ไกรนรา: สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ Page 3

×