SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  25
Télécharger pour lire hors ligne
กองสุขศึกษา กรมสนับส นบริการสุขภ กระทรวงส
                                         ก           สนุ        ภาพ      สาธารณสุข     1 
                                                                                       1
                            คูมือ : การดูแลปองกันโรค
                                                     คและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
  




กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบ การสุขภ กระท
                       บริ     ภาพ ทรวงสาธารณสุข                        กันยายน 2554
                                                                          น
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข   2 
                                  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 




                                   สารบัญ
                                                                              หน้า
    ๑. บทนํา
    ๒. การเตรียมความพร้อมก่อนน้ําท่วม
          ๒.๑ ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
          ๒.๒ เตรียมอุปกรณ์/ของกิน-ของใช้ที่จําเป็น
          ๒.๓ ย้ายของสําคัญ
          ๒.๔ การเตรียมการอพยพผู้คนในครอบครัว
    ๓. การปฏิบัตตัวขณะน้าท่วม
                ิ          ํ
          ๓.๑ อาหารและน้ํา
          ๓.๒ อนามัยส่วนบุคคล/การขับถ่าย
          ๓.๓ การกําจัดขยะ
          ๓.๔ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
          ๓.๕ ป้องกันอันตรายจากสัตว์ / อุบัติเหตุ
          ๓.๖ จัดการความเครียด
    ๔. การปฏิบัติหลังน้ําท่วม
          ๔.๑ ทําความสะอาดบริเวณบ้านและอุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา
          ๔.๒ การจัดการสิ่งปฏิกูล
          ๔.๓ การจัดการแหล่งน้ําท่วมขัง
    ๕. การป้องกันโรคและภัยจากน้ําท่วม
          ๕.๑ การจมน้ํา
          ๕.๒ สัตว์ แมลงมีพิษกัด
          ๕.๓ โรคติดต่อที่พบบ่อย
          ๕.๔ บาดแผล
          ๕.๔ สุขภาพจิต
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข          3 
                                                 คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 

บทนํา
            เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายทางด้านสุขภาพของผู้ประสบภัย
ทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดทางกายและทางจิตใจ เนื่องจากเมื่อเกิดน้ําท่วมขึ้น สภาพแวดล้อมต่างๆ มี
การเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม การดําเนินชีวิตของผู้ประสบภัยต้องเปลี่ยนไปจากการดําเนินชีวิตในช่วงปกติ
มีอุปสรรคและปัญหาที่เกิดจากน้ําท่วมมาเกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิต สร้างความตระหนก กดดันให้แก่ผู้ประสบภัย
ความสูญเสียของสภาพแวดล้อมและทรัพย์สิน ส่งผลทําให้มีสิ่งต่างๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อร่างกาย ต่อสุขภาพเกิดขึ้น
มากมาย ทั้งการเกิดอย่างฉับพลัน รวดเร็ว เป็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการเกิดภัยซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤต และ
การเกิดภาวะอันตราย การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โรคติดต่อหลาย ๆ โรคที่จําเป็นต้องป้องกันและควบคุม การมีความรู้
ความตระหนักถึงภัยต่างๆ การดูแลใส่ใจ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นแนวทางในการลดความ
เสี่ยงต่ออันตราย ลดการเจ็บป่วยและลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ เมื่อเกิดภัยขึ้น




การเตรียมความพร้อมก่อนน้ําท่วม
       ๑. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
            • ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุทกภัย เช่นระดับน้ํา พยากรณ์อากาศ น้ําท่วมฉับพลัน
              น้ําป่าไหลหลาก ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จากสื่อต่างๆ
            • รับฟังการแจ้งเตือน และติดต่อ/สอบถามจากแหล่งข้อมูลในชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานราชการ
              หรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อม หากบ้านตั้งอยู่ในพื้นที่น้ํา
              ท่วมหรือพื้นที่ดินถล่ม ได้ง่าย
            • เรียนรู้/หาข้อมูลเกี่ยวกับแผนฉุกเฉินน้ําท่วมของชุมชน, สัญญาณเตือนภัย,เส้นทางการอพยพและ
              สถานที่ตั้งของที่พักพิงฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพ
            • วางแผนการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการอพยพเมื่อเกิดน้ําท่วมร่วมกับครอบครัว
            • ติดต่อกับญาติ/ผู้ที่ท่านรู้จักหรือเพื่อนที่อยู่ต่างพื้นที่ที่น้ําท่วม เพื่อช่วยเหลือกันเมื่อเกิดน้ําท่วม
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข             4 
                                                  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
            • นัดหมายการติดต่อเพื่อที่จะสามารถติดต่อกับครอบครัวได้ ในกรณีที่ครอบครัวของคุณอาจจะถูก
              แยกออกกันในช่วงน้ําท่วม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนในครอบครัวของคุณ รู้ช่ือที่อยู่และ
              หมายเลขโทรศัพท์ของญาติ/เพื่อนที่ได้ติดต่อไว้แล้ว
            • บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ในโทรศัพท์ทุกเครื่องหรือจดบันทึกไว้
            • แจ้ ง หน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น /ชุ ม ชนเกี่ ย วกั บ ความต้ อ งการการช่ ว ยเหลื อ กรณี พิ เ ศษ เช่ น มี เ ด็ ก
              ผู้สูงอายุผู้ป่วยหรือผู้ความพิการ




        ๒. เตรียมอุปกรณ์/ของกิน-ของใช้ที่จําเป็น
             ๒.๑ สิ่งจําเป็นที่ควรเตรียมไว้
                    เมื่อเกิดภาวะน้ําท่วม อาจจะทําให้ไม่สะดวกต่อการออกจากที่พักหรือติดต่อกับที่ไม่ถูกน้ําท่วม
ได้ จึงควรเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ที่จําเป็นไว้ใช้ในครอบครัว เช่น
                   • อาหารกระป๋อง-อาหารสําเร็จรูป (ตรวจสอบวันหมดอายุและลักษณะของกระป๋องให้อยู่ใน
                           สภาพสมบูรณ์) / อุปกรณ์ทําอาหาร
                    • ภาชนะสะอาดสําหรับบรรจุน้ําขนาดใหญ่หลายๆอัน ให้เพียงพอต่อการใช้น้ําภายใน ๓-๕
                           วัน (ประมาณห้าแกลลอนต่อหนึ่งคน)
                    • น้ําดื่ม-น้ําต้มสุก
                    • อาหารสําหรับทารกและนม / หรือเตรียมผ้าอ้อมและของใช้ สําหรับทารก
                    • อุปกรณ์สําหรับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่นสบู่, ยาสีฟัน, ผ้าอนามัย ฯลฯ
                    • เชือกสําหรับผูกโยง / สําหรับตากเสื้อผ้า
                    • อุปกรณ์ชูชีพ เช่น ห่วงยาง เสื้อชูชีพ

                 •       ไฟฉายและถ่านไฟฉาย / เทียนไข / แบตตารี่สํารอง
                 •       ยาสามัญประจําบ้าน / ยาประจําตัวสําหรับผู้มีโรคประจําตัว / ชุดปฐมพยาบาล
                 •       ผงน้ําตาลเกลือแร่ ติดไว้เผื่อมีอาการท้องร่วง
                 •       ผ้าสําหรับทําความสะอาดชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่นกระดาษทําความสะอาดร่างกาย
                         เด็ก สําหรับทั้งครอบครัวในกรณีที่การอาบน้ําทําความสะอาดร่างกายไม่สามารถทําได้
                 •       ถุงขยะสีดําใบใหญ่ ไว้รวมขยะทั้งหมดให้อยู่ในถุง และเชือกสําหรับผูกปากถุง ป้องกันการ
                         แพร่กระจายของเชื้อโรค
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข     5 
                                               คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
                  •     ถุงพลาสติก เอาไว้ใส่ขยะและเอาไว้ถ่ายหนัก-เบา ในกรณีน้ําท่วมขัง หากถ่ายลงในน้ําจะ
                        ทําให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้
                  •     ปูนขาว ใช้ใส่ในถุงพลาสติกที่ถ่ายหนัก-เบา เพื่อฆ่าเชื้อโรค
                  •     รองเท้ายาง รองเท้าที่มีความแข็งแรงทนทานและถุงมือกันน้ํา
                  •     วัสดุสําหรับการบําบัดน้ําสะอาด เช่น สารส้ม ผงคลอรีนหรือยาเม็ดไอโอดีน ผงซักฟอกที่
                        ใช้ในครัวเรือน
                  •     ยากันยุง สมุนไพรหรือสารไล่ยุง เสื้อผ้าแขนยาวและขายาวสําหรับป้องกันยุงกัด
                  •     พาหนะ หากมีการเจ็บป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล




              ๒.๒ เตรียมเครื่องป้องกันน้ําท่วม เช่น กระสอบทราย/ถุงทรายเพื่อจัดเป็นแนวกั้นน้ํา หรือเครื่อง
สูบน้ําเพื่อระบายน้ําท่วมไปยังแหล่งน้ําธรรมชาติ/แหล่งน้ําสาธารณะ และตรวจสอบวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง


        ๓. ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินสําคัญ
               ๓.๑ ย้ายเอกสารสําคัญ ทรัพย์สิน/ของมีค่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายได้
ง่ายไปไว้ชั้นบน
               ๓.๒ ย้ายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด สารพิษต่างๆไปยังสถานที่
น้ําท่วมไม่ถึง
               ๓.๓ นํารถยนต์/พาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่น้ําท่วมไม่ถง ึ
               ๓.๔ ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หากน้ําท่วมถึงในบ้าน ควรปิดระบบไฟฟ้าชั้นล่างทั้งหมด
หรือย้ายสวิทส์ไฟ ให้อยู่ในส่วนที่น้ําท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันสมาชิกในบ้านถูกไฟฟ้าดูด และเพื่อความปลอดภัย หาก
น้ํามีแนวโน้มท่วมสูง ควรปิดระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้าน้ําท่วมบ้านชั้นล่าง/ชั้นใต้ดิน ก่อนที่ท่านจะมีโอกาสยก
สะพานไฟ ห้ามท่านเข้าไปในบริเวณชั้นล่าง/ชั้นใต้ดินนั้น ให้ท่านติดต่อหน่วยงาน/บริษัทด้านไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข     6 
                                              คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
        ๔. การเตรียมการอพยพผู้คนในครอบครัว
             ๔.๑ วางแผนการอพยพคนและสัตว์เลี้ยงหากเกิดน้ําท่วม โดยดูความเหมาะสม หากสมาชิกภายใน
ครอบครัว เด็ก ผู้สูงอายุ ผูมีโรคประจําตัว และผู้พิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรย้ายออกจากบ้านพัก อาจ
                           ้
ติดต่อกับศูนย์ป้องกันภัย หรือศูนย์ช่วยเหลือในชุมชน/หมู่บ้าน/อําเภอให้ช่วยในการอพยพ เพื่อป้องกันการเกิด
อันตรายกับกลุ่มสมาชิกดังกล่าว
             ๔.๒ หากท่านต้องอพยพย้ายออกจากบ้านชั่วคราว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
                   • ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดทั้งหมด เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องทําน้ําอุ่น เป็นต้น
                   • ปิดไฟที่ฟิวส์หลักหรือตัดวงจรการไหลของกระแสไฟ
                   • ปิดวาล์วน้ําที่วาล์วหลัก
                   • ปิดก๊าซหุงต้มโดยปิดวาล์วที่ด้านบนของถังก๊าซหุงต้ม
                   • นําสัตว์เลี้ยงไปใว้ในที่ที่ปลอดภัย

การปฏิบัตตวขณะน้ําท่วม
         ิ ั
           เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะเกิดน้ําท่วมมีหลายสิ่งต้องใส่ใจ เช่น การติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัย
สถานการณ์น้ําท่วมและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้ง การอพยพเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
ไม่เล่นน้ํา หรือทํากิจกรรมในบริเวณที่น้ําท่วมโดยไม่จําเป็น เตรียมชุดอุปกรณ์ฉกเฉิน เช่น ห่วงยาง แกลลอนเปล่า
                                                                            ุ
เชือก ไว้ใกล้ตัว ไม่ข้ามสะพานในระหว่างที่กระแสน้ําพัดผ่านอย่างรวดเร็ว ในกรณีขับรถหากน้ําเข้าในรถของท่าน
และน้ําเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้ทิ้งรถทันทีและขึ้นไปอยู่บนที่สูง และในช่วงขณะเกิดน้ําท่วม หรือน้ําท่วมขังเป็น
เวลานาน ควรดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรืออันตรายต่อสุขภาพ โดยการปฏิบัติในเรื่อง
ต่างๆ ดังนี้
        ๑. อาหารและน้ํา
            • ในการกินอาหารและน้ําทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่าอาหารและน้ํานั้นสะอาด และหากเป็นไปได้ ควรอุ่น
              อาหารทุกครั้งก่อนกินอาหาร
            • งดกินอาหารดิบ ต้องปรุงให้สุกก่อน เพราะในภาวะน้ําท่วม มีโอกาสที่จะได้รบเชื้อโรคสูงมาก
                                                                                           ั
            • ถ้าหากเป็นอาหารกระป๋อง หรืออาหารสําเร็จรูป ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ และกระป๋องที่บรรจุ
              อาหาร กระป๋องต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่บวม และไม่เป็นสนิม และถ้าสามารถทําให้
              ร้อนได้ ควรทําให้ร้อนก่อนทุกครั้งก่อนกิน
            • ควรดื่มน้ําดื่มที่ผ่านการต้มหรือน้ําบรรจุขวดที่ผ่านการรับรอง หรือใช้น้ําจากแหล่งเก็บน้ําสํารองที่
              ได้รับการรับรองว่าสะอาดสามารถใช้ได้
            • ก่อนใช้น้ําจากแหล่งน้ําต้องฆ่าเชื้อที่อาจมีอยู่ในน้ําก่อนมาใช้ แม้ว่าน้ํานั้นจะมาจากแหล่งน้ําที่
              ไม่ได้ปนเปื้อนจากน้ําท่วมก็ตาม เช่น การแกว่งด้วยสารส้ม การใช้คลอรีนตามคําแนะนําเพื่อฆ่า
              เชื้อโรคที่มีอยู่ในน้ํา
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข      7 
                                               คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 


        ๒. อนามัยส่วนบุคคล/การขับถ่าย
           ล้างมือให้บ่อยเท่าที่จะทําได้
         สุขอนามัยขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสําคัญมากในช่วงเวลาน้ําท่วม โดยการล้างมือด้วยสบู่และน้ําที่ต้มสุก ทั้งก่อน
รับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ําเป็นประจําสม่ําเสมอ ชําระล้างหรือทําความสะอาดร่างกายหรือสิ่งของ
ต่างๆหลังจากที่ปนเปื้อนจากน้ําท่วมหรือน้ําเสีย
         ต้องล้างมือด้วยน้ําสะอาด ไม่ควรล้างมือด้วยน้ําที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือปลอดภัย เช่น น้ําจากแหล่งน้ําท่วม
ขังที่ปนเปื้อน เพราะจะทําให้มือปนเปื้อนเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น มือที่สะอาดจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ได้
         ขั้นตอนการล้างมือมีดังนี้
                 • เอามือผ่านน้ําที่สะอาดเพื่อให้มือเปียก และถูสบู่
                 • ถูมอทั้งสองข้าง และถูหลังมือ ระหว่างซอกนิ้วและเล็บ ถูมือให้ทั่วทุกซอกทุกมุมของมือ
                         ื
                 • เอามือล้างน้ําเพื่อล้างมือให้สะอาด
                 • เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าเช็ดมือหรือเป่าให้แห้ง




          การล้างมือด้วยสบู่และน้ําเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการลดจํานวนเชื้อโรค ถ้าไม่มีสบู่และน้ํา ให้ใช้สารทําความ
สะอาดมือหรื อเจลล้ างมื อที่มี แอลกอฮอล์ อย่างน้อย ๖๐ เปอร์ เซ็ นต์ สารทําความสะอาดมือที่มี ส่วนผสมของ
แอลกอฮอล์จะสามารถลดจํานวนเชื้อโรคในมือได้ แต่ไม่สามารถกําจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิด
เมื่อไหร่ต้องล้างมือ
                   • ก่อน ระหว่าง และหลังจากการเตรียมปรุงอาหาร
                   • ก่อนกินอาหาร
                   • หลังออกจากห้องน้ํา
                   • หลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กหรือทําความสะอาดเด็กหลังจากเสร็จกิจในห้องน้า     ํ
                   • ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
                   • หลังไอ จาม
                   • หลังสัมผัสสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
                   • หลังสัมผัสขยะ
                   • ก่อนและหลังการทําความสะอาดบาดแผล
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข    8 
                                                  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
              หลีกเลี่ยงการแช่น้ํานานๆ โดยเฉพาะผู้มีแผลในที่ๆสัมผัสน้ําได้ หากจําเป็นควรสวมถุงพลาสติกหรือ
ใส่รองเท้าบูท เพราะการแช่ในน้ํา นอกจากแผลมีโอกาสติดเชื้อและรับเชื้อโรคเข้าร่างกายแล้ว ยังทําให้มีโอกาสเป็น
โรคน้ํากัดเท้า มือ - เท้าเปื่อย อีกด้วย
              ท่านที่ต้องเดินลุยน้ํา ต้องใส่รองเท้าบูท หากต้องลุยน้ําโดยไม่ใส่รองเท้า เมื่อลุยน้ําแล้วต้องล้างเท้า
ให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันโรคผิวหนังที่ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า
               น้ําที่ท่วมขังอาจจะเต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล ที่มาจากระบบบําบัดน้ําเสีย ของเสียจากการเกษตรและ
อุตสาหกรรม และถังบําบัดน้ําเสีย ดังนั้นหากมีบาดแผลเปิดหรือมีแผลที่สัมผัสกับน้ําสกปรก คุณควรทําความสะอาด
บาดแผลด้วยสบู่และน้ํายาฆ่าเชื้อหรือน้ําต้มสุกให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทําได้ หลังจากนั้นจึงทายาปฏิชีวนะเพื่อลด
ความเสี่ยงในการติดเชื้อ ถ้ามีแผลบวมแดง เป็นผื่นควรไปพบแพทย์ทันที
              ซัก ทําความสะอาดเสื้อผ้า ด้วยน้ําสะอาดและผงซักฟอก ตากแดดให้แห้ง และไม่ควรใส่ช้ําๆ
              ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงส้วม ห้ามถ่ายลงน้ําโดยตรง เพื่อไม่ให้เป็นการกระจายตัวของเชื้อโรค
กรณีที่ไม่มีห้องน้ํา ต้องถ่ายลงในถุงพลาสติก และต้องใส่ปูนขาวลงไปพอประมาณ เพื่อฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นผูกถุงให้
สนิท แล้วทิ้งในถุงดําอีกที เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข        9 
                                                     คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
             หากที่บ้านไม่สามารถใช้ห้องน้ําได้ ให้ตดต่อขอใช้บ้านข้างเคียง ที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน หรือสุขา
                                                   ิ
เคลื่อนที่
                  หากเกิดภาวะท้องเสีย ให้ดื่มเกลือแร่ที่ผสมน้ําต้มสุกหรือน้ําสะอาด และถ้าสามารถไปโรงพยาบาล
หรือหน่วยรักษาพยาบาลได้ให้รีบไปทันที ที่สําคัญห้ามผูป่วยถ่ายลงน้ําเด็ดขาด
                                                    ้

             ๓. การกําจัดขยะ
                  ทิ้งขยะ เศษอาหารลงในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น หรือทิ้งในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดป้องกัน
หนูและแมลงต่าง ๆ ได้ วางรวมไว้ในจุดที่สะดวกและนําไปทิ้งในถังขยะ หรือรถ/เรือกําจัดขยะ ไม่ทิ้งขยะลงน้ํา
                  หากเทศบาลหรือหน่วยงานราชการนํารถ/เรือกําจัดขยะมารับก็ควรรวบรวมแล้วส่งให้ นําไปกําจัด
แต่หากพื้นที่ใดไม่มี ก็ให้รวบรวมแล้วขุดหลุมบริเวณที่น้ําแห้งแล้วฝังกลบให้ เรียบร้อย ป้องกันแมลงวันและสุนัข หนู
มาคุ้ยเขี่ย




             ๔. ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
                 เมื่อเกิด น้ําท่วม ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยงกับภัยที่เกิดจากไฟฟ้า ทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ โดยปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
                     • เมื่อพบสายไฟหล่นอยู่ ให้แจ้งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อย่าจับสายไฟฟ้าที่หล่นเอง
                     • อย่าเปิด – ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองขณะที่ยืนอยู่ในน้ํา

                     • หากจะเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิท ไม่เปียกชื้น หากไม่แน่ใจก่อน
                       เสียบปลั๊กควรสวมรองเท้า สิ่งสําคัญที่สุดคือ ต้องใช้อปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง
                                                                           ุ
                       โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณความชื้นแฉะ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทําน้ําอุ่น ปั๊มน้ํา
                       บริเวณบ่อปลา เป็นต้น
                     • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสายไฟเหนือศีรษะ ในขณะทําความสะอาดหรือทํากิจกรรมใดๆ
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข     10 
                                             คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
               • อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ําท่วม ถ้าจะนํามาใช้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ใน
                 สภาพที่ยังใช้การอยู่ได้หรือไม่ สิ่งแรกที่ต้องทํา คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดต้องทําให้แห้งสนิท
                 ก่อนเสียบปลั๊กหรือเปิดใช้งาน หากไม่แน่ใจ ควรให้ช่างไฟฟ้าตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์
                 เหล่านี้เกิดความเสียหายมากก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนํามาใช้งาน




               • ถ้าวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ําหรืออยู่ในน้ํา หรืออยู่ใกล้นํ้า ให้ปิดสะพานไฟหรือเบก
                 เกอร์ เพื่อปิดกระแสไฟฟ้า และอย่าไปยืนในน้ําเพื่อที่จะไปที่สะพานไฟ ให้คุณเรียกช่างไฟฟ้า
                 ให้มาปิดแทน
               • ถ้าคุณเห็นสายไฟเป็นฝอยๆ หรือประกายไฟ ขณะคุณกําลังซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือได้
                 กลิ่นไหม้แต่ไม่เห็นจุดที่เกิดไฟไหม้ ควรปิดระบบไฟฟ้าที่สะพานไฟหรือเบกเกอร์หลักทันที
               • อย่าขับรถผ่านน้ําท่วมโดยที่บริเวณนั้นมีสายไฟฟ้าจมอยู่ในน้ํา
               • ขณะคุณกําลังขับรถ หากมีสายไฟฟ้าตกขวางถนน ให้คุณอยู่บนรถและขับรถไปให้ห่างจาก
                 บริเวณนั้น ถ้าเครื่องยนต์ดับ อย่าปิดเครื่องยนต์ เตือนคนอื่นไม่ให้ไปสัมผัสรถหรือสายไฟ
                 เรียกใครซักคนให้โทรแจ้งหน่วยบริการฉุกเฉินในพื้นที่นั้น อย่าให้ใครที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กู้ภัยมา
                 ทําอะไรกับรถของคุณ

ถ้ามีคนถูกไฟฟ้าช็อต
         ๑. สิ่งแรก อย่าไปแตะตัวคนที่ถูกไฟช็อต เพราะคนนั้นอาจจะกําลังติดอยู่กบแหล่งจ่ายไฟ และกระแสไฟฟ้า
                                                                             ั
อาจจะผ่านมาที่ตัวคุณได้
         ๒. ถ้าเป็นไปได้ให้ตัดไฟหรือปิดไฟจากแหล่งจ่ายไฟนั้น
         ๓. บุคคลที่ช่วยให้สวมรองเท้าแล้วนําวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น เชือกแห้ง เสื้อผ้าแห้ง กระดาษแข็ง
พลาสติก ดึง กระชากหรือผลักตัวผู้ถูกไฟช็อตออกอย่างรวดเร็ว
         ๔. เมื่อคนนั้นหลุดจากแหล่งจ่ายไฟแล้ว ให้ตรวจลมหายใจและชีพจรของคนคนนั้น ถ้าไม่หายใจและชีพจร
หยุดเต้น หรือ เบา ช้า จนอันตราย ให้รีบทําการกู้ชีพทันที
         ๕. ถ้าคนนั้นเป็นลม ซีด หรือแสดงอาการว่าจะหมดสติ ให้วางคนนั้นนอนลงโดยให้ศีรษะอยู่ต่ํากว่าลําตัว
เล็กน้อยและยกขาขึ้น
         ๖. อย่าแตะแผลไหม้ แผลตุ่มน้ําที่แตก หรือเอาเสื้อผ้าที่ไหม้ไฟออก เพราะไฟฟ้าอาจจะทําให้เกิดการไหม้
ข้างในร่างกาย ดังนั้นต้องพาผู้ประสบเหตุน้นไปพบแพทย์
                                         ั
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข         11 
                                           คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 




    ๕. ป้องกันอันตรายจากสัตว์ / อุบัติเหตุ
       •     ระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์มีพิษ จระเข้ (กรณีที่อยู่ใกล้แม่น้ํา-
            คลอง) หากพักอาศัยอยู่ใ นบริเวณบ้ าน ควรจัดที่พักให้โล่งแจ้ง เพื่อให้ง่ายในการระมัดระวัง
            เพราะสัตว์มีพิษอาจหนีน้ํามาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน
       •    จัดของให้เป็นระเบียบ เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษหลบซ่อนอยู่ และเมื่อจะหาหรือใช้ของ ให้เปิดไฟให้
            สว่าง ใช้ไม้เคาะและตรวจดูว่าไม่มีสัตว์มีพิษหลบซ่อนอยู่
       •    ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
           * สวมเสื้อผ้า แขน-ขายาวป้องกันยุงกัด เมื่ออยู่นอกบ้าน
           * ทายากันยุง สารกันยุง โดยทาบางๆ ตามผิวหนังที่พ้นเสื้อผ้า และใช้อย่างระมัดระวัง
           * จุดยากันยุง ไว้ประตูทางเข้า-ออกบ้าน หรือใช้ยากันยุงแบบไฟฟ้าเสียบไว้ในบ้าน
           * นอนในมุ้ง หรือในห้องที่ติดมุ้งลวด
       •   เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน บริเวณรอบบ้าน และตามทางเดินอย่าง
           สม่ําเสมอ
       •   ช่วงน้ําท่วมขัง อาจมีของมีคมอยู่ใต้น้ํา เช่น ขวด แก้ว ถ้วยชามแตก ให้ใส่รองเท้าเดินและเดินอย่าง
           ระมัดระวัง
       •   ระมั ดระวั งในการทํ ากิ จ กรรมต่า งๆ โดยเฉพาะในพื้น ที่ น้ํ าท่ วมขั งและมองไม่ เห็ นพื้ นด้ า นล่า ง
           รวมทั้งดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
       •   หมั่นตรวจสอบตัวบ้านให้อยู่ในสภาพที่ดี เพราะน้ําอาจกัดเซาะทําให้มีการผุพัง หากพบให้ซ่อมแซม
           เพื่อป้องกันการเกิดอุบติเหตุ
                                   ั
       •   ระมัดระวังต้นไม้ใหญ่ที่อยู่รอบๆบ้าน
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข     12 
                                               คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 


        ๖. จัดการความเครียด
           สภาวะเครียดจากความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สิน สิ่งของ รายได้ อาชีพ รวมถึงการสูญเสียจากการ
บาดเจ็บและเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกท่านที่อยู่ในพื้นที่อุทกภัยต้องประสบอยู่แล้ว ไม่
มากก็น้อย หากเราเตรียมใจรับไว้ก่อนก็จะเป็นการดี ในความสูญเสียบางอย่างก็จะได้รับการชดเชยจากภาครัฐ ส่วน
การเยียวยาทางจิตใจก็ควรรับคําปรึกษาจากหน่วยบริการด้านสุขภาพจิต และควรปฏิบัติดังนี้
           •       ให้ตระหนักไว้ว่า ผู้ที่จะมาช่วยอาจมีไม่เพียงพอ ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด
           •       ให้หาครอบครัว เพื่อน ที่สามารถช่วยเหลือ พูดคุย ปรึกษา และดูแลซึ่งกันและกันได้
           •       หากิจกรรมทําที่ไม่ให้เกิดความเครียด


การปฏิบัตหลังน้ําท่วม
         ิ
      ๑. ทําความสะอาดบริเวณบ้านและอุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา
            • พื้นบ้านและบริเวณผนังที่จมน้ํา ควรล้างและขัดคราบทั้งหมดให้สะอาดโดยใช้น้ํายาฆ่าเชื้อโรคหรือ
              ผงซักฟอกขัด ด้วยแปลงหรือไม้กวาดก้านมะพร้าว ขัดทุกบริเวณ ล้างน้ําสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง สิ่ง
              สําคัญควรทําทันทีหลังน้ําลดหรือค่อยๆทําความสะอาดขณะน้ําลด ไม่ควรทิ้งไว้หลายวันเพราะจะ
              ขัดคราบไม่ออก
            • ห้องน้ําที่มีนํ้าขัง ทําความสะอาดทั้งพื้น ถังน้ํา ชักโครกหรือคอห่าน แล้วตรวจดูว่ามีท่ออุดตันตรง
              จุดไหนหรือไม่ ตรวจดูระดับน้ําในถังเกรอะ หากยังอยู่ระดับสูงจนราดน้ําไม่ลง ก็ให้งดใช้ก่อนรอ
              จนกว่าจะราดน้ําได้
            • ห้องครัว นําอุปกรณ์ทุกอย่าง อาทิ จาน ชาม ช้อน แก้ว หม้อ ออกมาทําความสะอาดแล้วตาก
              แดดให้แห้งก่อนเก็บ สําหรับพื้นที่ก็ให้ทําความสะอาดเหมือนบริเวณอื่นๆที่จมน้ํา ในส่วนของ
              อุปกรณ์หุงต้ม เช่น เตาไฟ แก็ส ควรตรวจสอบว่ายังใช้ได้หรือไม่หากชํารุดก็ควรเปลี่ยนใหม่
            • อุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา เช่น ตู้ เตียง ที่นอน โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ขนย้ายออกมาก
              ตรวจดูสภาพการใช้งานข้างนอกบ้านก่อน ล้างทําความสะอาดแล้วตากแดดให้แห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า
              ต้องเช็คสภาพ หากชํารุดก็ควรทิ้ง ไม่ควรเก็บไว้จะเป็นอันตรายภายหลัง
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข       13 
                                                คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 




        การทําความสะอาด
            • ก่อนทําความสะอาดบ้านเรือนควรตรวจสอบวาล์วถังก๊าซหุงต้มว่าปิดสนิทหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้
              ปรึกษาผู้มีความรู้
            • สวมรองเท้ายาง ถุงมือกันน้ํา แว่นตาและหน้ากากอนามัยระหว่างล้างทําความสะอาด
            • พิถีพิถนในการทําความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหารและพื้นที่เด็กเล่น
                      ั
            • เปิดหน้าต่างและประตูไว้หลังใช้ผลิตภัณฑ์การทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อระบายอากาศจะ
              ปลอดภัยกว่าการใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
            • ถ้าพรม เสื้อผ้า กระดาษ และวัสดุที่ดูดซับน้ําไม่สามารถทําให้แห้งได้ ควรทิ้งไปเป็นหนทางที่ดีที่สุด
            • ซักผ้าที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกล ด้วยน้ําร้อน น้ํายาซักผ้า โดยการแยกออกจากเสื้อผ้าที่ไม่ได้ปนเปื้อน
                                         ู
            • ไม่ให้เด็กเล่นในพื้นที่น้ําท่วม เล่นของเล่นที่เปื้อนน้ําที่ยังไม่ได้ฆ่าเชื้อ ของเล่นบางอย่างไม่สามารถ
              ฆ่าเชื้อได้ เช่น ของเล่นเด็กเล็ก ตุ๊กตายัดไส้ ควรทิ้งเพราะจะเป็นที่สะสมเชื้อโรคได้
            • การกําจัดน้ําท่วมขัง หากมีคราบน้ํามันลอยอยู่ด้านบนของน้ําบริเวณที่น้ําท่วมขัง ต้องกําจัดน้ํามัน
              ออกก่อนที่จะสูบน้ําออกโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในการกําจัดน้ํามันบนผิวน้ํา
            • ทําความสะอาดผนัง พื้น ตู้ ชั้นวางของและที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆด้วยสบู่และน้ํารวมทั้งฆ่าเชื้อด้วย
              สารฟอกขาว ๑ ถ้วยในน้ํา ๕ แกลลอน (ควรระมัดระวังในการผสมสารทําความสะอาดกับสารฟอก
              ขาว และอ่านฉลากและคําเตือนก่อนใช้

        ๒. การจัดการสิ่งปฏิกูล
               ๒.๑ หากพบว่าส้วมเต็มหรือราดน้ําไม่ลง ให้ทําการสูบสิ่งปฏิกูลในถังบําบัด สิ่งปฏิกูลด้วยรถสูบสิ่ง
ปฏิกูลนําไปกําจัดในสถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งสามารถประสานขอรับการสนับสนุนได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เจ้าของพื้นที่ หรืออาจใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขององค์การเภสัชกรรม (GPO Mekaklean Plus) ชนิดผงผสม
ในน้ําสะอาดทิ้งไว้อย่างน้อย ๔ ชั่วโมง โดยใช้ในอัตราส่วน ๕ กรัม โดยจุลินทรีย์จะช่วยในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล
และลดกลิ่นเหม็น
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข    14 
                                              คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 




             ๒.๒ ล้างทําความสะอาดเก็บกวาดขยะ กิ่งไม้ ใบไม้ที่ตกค้างในบริเวณห้องส้วมด้วยน้ําผสมผงซักฟอก
             ๒.๓ ซ่อมแซมระบบเก็บกักสิ่งปฏิกูลของส้วมที่ชารุดให้อยู่ในสภาพดีใช้งานได้
                                                        ํ
         ๓. การจัดการแหล่งน้ําท่วมขัง
               น้ําท่วมขังมักก่อให้เกิดปัญหาเน่าเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงพาหะนําโรค การ
แก้ไขปัญหาน้ําท่วมขังและน้ําเน่าเสียที่สําคัญคือ การไม่ทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ ในแหล่งน้ําและการเก็บขยะออกจาก
แหล่งน้ํา และท่อระบายน้ําที่อดตัน สําหรับการบําบัดน้ําเสียที่ท่วมขังหรือแหล่งน้ําสาธารณะเน่าเสียอาจใช้ EM หรือ
                                ุ
จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขององค์การเภสัชกรรม (GPO Mekaklean Plus) ใส่ในแหล่งน้ําเสียในอัตราส่วน ๑
กรัม ต่อ น้ําเสีย ๑ ลูกบาศก์เมตรโดยอาจใช้ครั้งเดียวหรือใช้ซ้ําได้ทุก ๗ วันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
เช่น หากต้องการกําจัดกลิ่นเหม็นอย่างเดียว อาจใช้เพียงครั้งเดียว




การป้องกันโรคและภัยจากน้ําท่วม
      การจมน้ํา
• การป้องกันการจมน้ํา ทําได้ดังนี้
         ๑. ไม่ลงเล่นน้ําบริเวณที่มีน้ําขัง น้ําเชี่ยว
         ๒. พ่อแม่ควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้น้ําตามลําพัง
                                            ิ
         ๓. ระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการ จมน้ํา โดยการติดป้ายหรือทําสัญลักษณ์ ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นบริเวณ
เสี่ยง
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข    15 
                                              คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
      ๔. สํารวจบริเวณบ้าน รอบบ้าน ป้องกันพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ํา เช่น พื้นไม้ผุ มีตะไคร้ขึ้น ทางเดินบน
สะพานแคบและไม่แข็งแรง
      ๕. ไม่ดื่มสุรา และของมึนเมาทุกชนิด




         ๖. ผู้ที่ออกหาปลา งมหอย เก็บผัก ควรเตรียมอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อมโดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย
เช่นห่วงยาง แกลลอนเปล่า ลูกมะพร้าว และไม่ควรออกไปตามลําพัง
         ๗. งดกิจกรรมทางน้ําขณะที่น้ําไหลเชี่ยว
         ๘. ผู้ที่มีโรคประจําตัว ไม่สามารถดูแลตนเองได้ขณะเกิดเหตุไม่ควรอยู่ตามลําพัง

• เมื่อพบผู้กําลังจมน้ํา
       ๑. ตั้งสติให้มั่น อย่าวู่วาม
       ๒. หาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่นไม้หรือสิ่งยึดเหนี่ยวได้ในการช่วยเหลือ และใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
หากพิจารณาว่าไม่สามารถช่วยเหลือได้ด้วยตนเอง ให้รีบร้องขอความช่วยเหลือ
       ๓. หากจําเป็นต้องลงน้ําไปช่วย แม้จะว่ายน้ําเป็นก็ควรเตรียมอุปกรณ์สําหรับการช่วยไปด้วย




• การปฐมพยาบาลคนจมน้ํา
       ๑. ห้ามจับคนจมน้ําอุ้มพาดบ่าแล้วกระโดดหรือวิ่งไปมาเพื่อให้น้ําออก เพราะน้ําที่ออกมาจะเป็นน้ําใน
กระเพาะไม่ใช่จากปอด จะทําให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น และเสียชีวิตได้
       ๒. หากคนจมน้ําหยุดหายใจ ให้ทําการเป่าปากช่วยหายใจทันที ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่นหลังจากพาขึ้นเรือ
หรือพาเข้ามายังที่ตื้นๆได้แล้ว เมื่อขึ้นฝั่งแล้วให้ทําการเป่าปากผายปอดต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือส่ง
โรงพยาบาล
       ๓. แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็วที่สด  ุ
       ๔. ควรส่งคนจมน้ําทุกคน ไม่ว่าจะหนักหรือเบาไปที่โรงพยาบาล
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข   16 
                                            คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
        ๕. ในรายที่หมดสติหรือหยุดหายใจ ควรทําการผายปอดด้วยวิธีการเป่าปากไปตลอดทาง อย่าหยุดเป่าปาก
เด็ดขาด จนกว่าจะส่งถึงโรงพยาบาล




       สัตว์ แมลงมีพิษกัด
         ในช่วงน้ําท่วมสัตว์และแมลงมีพิษต่าง ๆ เช่น งู แมงป่อง ตะขาบ จะหนีน้ํามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งในช่วง
น้ําท่วม และในช่วงน้ําลดสัตว์และแมลงเหล่านี้ก็ยังอยู่ หากท่านขนย้ายสิ่งของ ทําความสะอาดบ้านก็ควรระวัง
ในขณะทําก็ควรช่วยกันดูหลายๆคน

    • งูกัด
         ช่วงน้ําท่วม งูจะหนีน้ําออกจากที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และเข้ามายังที่อยู่อาศัยของเรา ซึ่งอาจมาหลบ
ซ่อนตามที่ต่างๆ จึงต้องระมัดระวังให้มาก หากพบงู อย่าเข้าใกล้ อย่าพยายามจับมัน ควรแจ้งให้บุคคล/หน่วยงาน
ที่มีความสามารถมาจัดการ


        สัญญาณว่าอาจถูกงูกัด จะมีอาการแสดง ดังนี้
           1. มีรอยเขี้ยว ๒ ข้าง และมีอาการบวมแดง รอบรอยกัด
           2. มีอาการปวดอย่างรุนแรง
           3. คลื่นไส้ อาเจียน
           4. หายใจติดขัด (หากรุนแรง อาจหยุดหายใจ)
           5. สายตาขุ่นมัว
           6. น้ําลายมากผิดปกติ
           7. หน้าชาไม่รู้สึก หรือ ชาตามแขนขา
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข   17 
                                             คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 




         หากงูกัด ต้องปฐมพยาบาลก่อนนําส่งโรงพยาบาล เพื่อลดหรือชะลอการแทรกซึมของพิษงู
             ๑. เมื่อถูกงู ให้พยายามจําสีและรูปร่างของงู หรือจับงูที่กัดมาโรงพยาบาลด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการ
วินิจฉัยและรักษา แต่ไม่จําเป็นต้องเสียเวลาหางู
             ๒. พยายามให้คนที่ถูกกัดไม่ตื่นเต้น และให้บริเวณที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อชะลอการซึม
ของพิษงู
             ๓. ล้างบาดแผลให้สะอาดด้วยน้ําต้มสุก หรือน้ําด่างทับทิม ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วใช้น้ํายา
แอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณรอบ ๆ แผล ไม่เช็ดลงบนแผล
             ๔. ใช้เชือกหรือผ้าขนาดประมาณนิ้วก้อย รัดเหนือแผลที่ถกงูกัดให้แน่นพอสมควร ให้สอดนิ้วมือได้ 1
                                                                      ู
นิ้ว และรีบนําส่งโรงพยาบาล ในระหว่างนําส่งโรงพยาบาล ให้คลายเชือกหรือผ้าที่รัดทุก 10 – 15 นาที เพื่อไม่ให้
ส่วนปลายแขน หรือขาขาดเลือดไปเลี้ยง
             ๕. สิ่งที่เป็นข้อห้าม/ไม่ควรทํา ได้แก่
                  - ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟ หรือพอกยาบริเวณแผลที่ถกงูกัด เนื่องจากอาจทําให้มีการติดเชื้อได้
                                                                    ู
                  - ห้ามไม่ให้ดดพิษงูด้วยปาก
                                 ู
                  - แผลไปโดนน้ํา
                  - อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอาการเจ็บปวด
                                           ี
                  - อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
             ๖. ถ้ามีประวัติเคยแพ้พิษสัตว์ต่างๆ มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    • แมลง ( ผึ้ง ต่อ แตน ) กัดต่อย
          ๑. ใช้หลอดแบบเล็กๆ แข็งๆ หรือปลายด้ามปากกาลูกลื่น ถอดไส้ออกแล้ว ครอบจุดที่ถูกกัด เพื่อกดให้
เหล็กในโผล่ข้นมา แล้วดึงเหล็กในออก แต่ถ้าปล่อยให้นานจนเนื้อบริเวณที่ถูกต่อยบวมแล้ว อย่าพยายามบีบหรือ
เค้นเพื่อเอาเหล็กในออกเพราะจะบวมมากขึ้น
          ๒. ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลน หรือใช้หัวหอมผาครึ่ง เอาด้านที่ผ่าถูบริเวณที่โดน
ต่อย ทําซ้ําทุก 5 นาที ไปเรื่อยๆ
          ๓. ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล แล้วใช้น้ําแข็งประคบ
          ๔. ถ้ามีอาการแพ้ เช่นหนัวตาบวม หรือหายใจไม่สะดวก ควรรีบพบหมอโดยด่วน

    • ตะขาบ แมงป่อง
        ๑. ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลน
        ๒. ถ้าปวดมาก ควรรีบพบหมอโดยเร็วที่สุด
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข   18 
                                                      คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
         โรคติดต่อที่พบบ่อย
    • โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
         ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ตับอักเสบเอ และไข้ทัยฟอยด์ เป็นต้น
การติดต่อ
        เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ําที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุง
สุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืนโดยไม่ได้แช่เย็น และไม่ได้อุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย
๗๐ องศาเซลเซียส ก่อนรับประทานอาหาร
อาการ
โรคอุจจาระร่วง
          มี อ าการถ่ า ยอุ จ จาระเหลว หรื อ ถ่ า ยเป็ น น้ํ า หรื อ ถ่ า ยมี มู ก เลื อ ด อาจมี
อาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงโดยถ่ายเป็นน้ําคล้ายน้ําซาวข้าว คราวละมากๆ
เรียกว่า อหิวาตกโรค


อาหารเป็นพิษ
        มักมีอาการปวดท้อง ร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อ
ตัว โรคบิด มีอาการสําคัญคือ ถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระมีมูก หรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วม
ด้วย บางคนอาจมีอาการเรื้อรัง
โรคไข้ทัยฟอยด์
       หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสําคัญคือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีอาการท้องผูก
หรือบางรายอาจท้องเสียได้
การรักษา
          ให้ผู้ป่วยดื่มน้ําหรืออาหารเหลวมากๆ ให้ดื่มสารละลายน้ําตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ผสมน้ําตามสัดส่วนที่
ระบุข้างซอง หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยผสมน้ําตาลทราย ๒ ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายใน
น้ําต้มสุกที่เย็นแล้ว ๑ ขวดกลม หรือ ๗๕๐ ซีซี ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ ทดแทนน้ําและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการ
ขับถ่าย หากมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมาก ไข้สูง ชัก หรือซึมมาก ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เด็กที่ดื่มนมแม่ ให้
ดื่มต่อได้ตามปกติ พร้อมป้อนสารละลายน้ําตาลเกลือแร่บ่อยๆ
          เด็กที่ดื่มนมผงชง ให้ผสมนมจางลงครึ่งหนึ่งของที่เคยดื่ม และให้ดื่มสารละลายน้ําตาลเกลือแร่สลับกันไป
ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทําให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น
การป้องกัน
       ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําสะอาดและสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียมและปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการ
ขับถ่าย ดื่มน้ําที่สะอาด เลือกกินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด กําจัดสิ่งปฏิกูล
ขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข           19 
                                                   คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
     • โรคระบบทางเดินหายใจ
ไข้หวัด
         เป็นโรคที่ติดต่อไม่อันตราย เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในบุคคลทุกเพศทุกวัย พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศ
เปลี่ยนแปลง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อโรคแพร่กระจายมาจากน้ํามูก น้ําลาย เสมหะ
หรือสิ่งของใช้ของผู้ป่วย
อาการ
         มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้เล็กน้อย
         คัดจมูก มีน้ํามูกใสๆ ไอ จาม
         ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย
          และเบื่ออาหาร มักหายได้เองภายใน ๑ สัปดาห์
ไข้หวัดใหญ่
         เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ทําให้เกิดโรคได้ในคน
ทุกเพศทุกวัย เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ
น้ําลาย น้ํามูก และสิ่งของใช้ของผู้ป่วย จึงมีโอกาสติดต่อกันได้ง่าย
อาการ
         มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก
         มีน้ํามูกไหล คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย
การปฏิบัติตัว
         ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ
เชื้อโรค ใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษนุ่มสะอาด เช็ดน้ํามูก และไม่ควรสั่งน้ํามูกแรง ๆ เพราะอาจทําให้เกิดหูอักเสบได้
กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและผลไม้ ดื่มน้ําอุ่นมาก ๆ อาบน้ําหรือเช็ดตัวด้วยน้ําอุ่น แล้วเช็ดตัวให้แห้งทันที
         เมื่อไข้สูง หรือเป็นไข้นานเกิน ๗ วัน เจ็บคอ ไอมาก เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบ
หรือปรึกษาแพทย์
โรคปอดบวม
         เกิดจากเชื้อได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสําลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทําให้มีการอักเสบ
ของปอด ผู้ประสบภัยน้ําท่วม หากมีการสําลักน้ํา หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้
การติดต่อ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วยเมื่อ ไอ จาม หรือหายใจ
รดกัน หรือในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ํา อ่อนแอ พิการ มักพบเกิดจากการสําลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ปกติในจมูกและ
ลําคอเข้าไปในปอด
อาการ
         มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว
         ถ้ า เป็ น มากจะหายใจหอบเหนื่ อ ยจนเห็ น ชายโครงบุ๋ ม เล็ บ มื อ เล็ บ เท้ า ริ ม ฝี ป ากซี ด หรื อ เขี ย วคล้ํ า
กระสับกระส่าย หรือซึม เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ําในช่องเยื่อหุ้มปอด, หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแตกและมีลมรั่วในช่อง
ปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข      20 
                                                  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
การปฏิบัติตัว
          ต้องรีบพบแพทย์ และรับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือใส่
หน้ากากอนามัย หากมีไข้ ให้กินยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ําอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้ กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและ
ผลไม้ ดื่มน้ําอุ่นมากๆ ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ


โรคผิวหนัง : น้ํากัดเท้า
           โรคผิวหนังที่พบบ่อยได้แก่ โรคน้ํากัดเท้าจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ําน้ําหรือ
แช่น้ําที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็นเวลานาน
อาการ
       ในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนองต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอก
ออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบ
ได้




การป้องกัน
           ควรหลีกเลี่ยงการย่ําน้ําโดยไม่จําเป็น
           ถ้าจําเป็นต้องย่ําน้ํา ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ํา และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ําสบู่และเช็ดให้แห้งเมื่อกลับ
เข้าบ้าน
        สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทา
ด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน
กองสุขศึกษา กรมสนับส นบริการสุขภ กระทรวงส
                                                         ก           สนุ        ภาพ      สาธารณสุข     21 
                                                                                                       2
                                            คูมือ : การดูแลปองกันโรค
                                                                     คและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม
 
โรคตาแด
      ดง




        เป็
        เ นโรคที่ติดตอได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะใ กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วน
                    ต่            ด็                    ในเด็                มี          แ
ใหญ่เกิดจ ้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับก กษาตั้งแตเริ่มเป็น อา ดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อ
        จากเชื                    การรั       ต่       าจติ                  อนได้
การติดต่อ
        จากการสัมผัส ชิดกับผู้ปวย ได้แก่ กา มผัสโดยตรงกับน้ําตา ขี้ตา น้ํามูกของผู้ป่วย
        จ         สใกล้        ป่           ารสั
        จากใช้
        จ สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกบผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ หรือจากแม นแมลงห ่ตอมตา
                               กั                                                มลงวั  หวี
อาการ
       หลั
       ห งได้รับเชื้อประมาณ ๑ - ๒ วัน จะเริม อาการระค องตา ป
                                           มมี
                                           ่          คายเคื     ปวดตา น้ําตาไ กลัวแส มีขี้ตามาก หนัง
                                                                             ไหล                  นั
ตาบวม เยื่อบุตาขาวอัักเสบแดง โด
                              ดยอาจเริ่มที่ต างหนึ่งก่อน แล้วจึงลาม
                                           ตาข้       อ           มไปตาอีกข้าง ผู้ป่วยมักหา เองภายใ
                                                                                          ายได้   ใน
๑-๒ สัปด แต่ถ้าไมดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรก อน เช่น กร
       ดาห์         ม่       ห้                       กซ้         ระจกตาดําอัก ทําให้ปวดตา ตามัว
                                                                             กเสบ         ว
การปฏิบัติตัว
          เมื
          เ ่อมีฝุ่นละออ อน้ําสกป าตา คว บล้างตาด้วยน้ําสะอาดทนที เมื่อมีอาการของโรค ควรพบแพท
                       องหรื      ปรกเข้      วรรี         ว          ทั                              ทย์
เพื่อรับยา
         าหยอดตาหรือ ายตาป้อ นภาวะแท อน โดยใ ติดต่อกันป
                       อยาป้      องกั       ทรกซ้         ใช้       ประมาณ ๗ วัน หากมีไข้ให้รับประทานย
                                                                                                      ยา
ลดไข้แก้ปปวดตามอากา หมั่นล้างมือ สะอาดด้ว ่บ่อยๆ
                       าร         อให้        วยสบู
          ไม่
          ไ ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงงตอมตา และ ควรใช้สาย
                                             ะไม่         ยตามากนัก ผู้ป่วยควรนอนแยกจากคน ่น ๆ และไ
                                                                                           นอื        ไม่
ใช้สิ่งของ าง ๆ ร่วมกััน และไม่คว
         งต่                     วรไปในที่มีคน
                                             นมากเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบ ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพรา
                                                                     บาด                    น         ร่
มัว หรือออาการไม่ทุเลา าภายใน ๑ สัป ต้องรีบพบแพทย์อีกครั้ง
                                 ปดาห์                    ค
โรคฉี่หนู
        โรคฉี
        โ ่หนู หรือ อโรคเลปโตสไ ส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โ ่สําคัญ
                               ไปโรสิ                                        โรคที            เชื้อออกม
                                                                                                      มา
กับปัสสาวะสัตว์แล้วปน ้อนอยู่ในนําท่วมขัง พืน ดินที่ชื้นแฉะ นาน
                     นเปื      น้           ้             ะได้
คู่มือโรคน้ำท่วม
คู่มือโรคน้ำท่วม
คู่มือโรคน้ำท่วม
คู่มือโรคน้ำท่วม

Contenu connexe

Similaire à คู่มือโรคน้ำท่วม

คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
Adisorn Tanprasert
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก
sivapong klongpanich
 
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
Adisorn Tanprasert
 
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียนการเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
Adisorn Tanprasert
 
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
Poramate Minsiri
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
Dr.Ratchaneewan Sinawat Poomsa-ad
 
โครงงาน แบงค์
โครงงาน แบงค์โครงงาน แบงค์
โครงงาน แบงค์
Aungkana Na Na
 
ต้นคิด ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
ต้นคิด   ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ต้นคิด   ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
ต้นคิด ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
Poramate Minsiri
 
Common cold
Common coldCommon cold
Common cold
Aimmary
 
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
Loveis1able Khumpuangdee
 

Similaire à คู่มือโรคน้ำท่วม (20)

PC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCPC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PC
 
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหวัด 2009
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก
 
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหวัด 2009
 
Pet care after_flooding
Pet care after_floodingPet care after_flooding
Pet care after_flooding
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
 
Knowledge
KnowledgeKnowledge
Knowledge
 
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียนการเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
การเตรียมการรับมือหวัด 2009 ในโรงเรียน
 
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
รายชื่อสมาชิกกลุ่มรายชื่อสมาชิกกลุ่ม
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
 
โครงงานเครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก.pdf
โครงงานเครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก.pdfโครงงานเครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก.pdf
โครงงานเครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก.pdf
 
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
 
โครงงาน แบงค์
โครงงาน แบงค์โครงงาน แบงค์
โครงงาน แบงค์
 
ต้นคิด ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
ต้นคิด   ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ต้นคิด   ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
ต้นคิด ฝ่าวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
 
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 101 136
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 101 136หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 101 136
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 101 136
 
Common cold
Common coldCommon cold
Common cold
 
Emergency Supply Kit - What You Need To Know About Personal Preparedness.
Emergency Supply Kit  - What You Need To Know About Personal Preparedness. Emergency Supply Kit  - What You Need To Know About Personal Preparedness.
Emergency Supply Kit - What You Need To Know About Personal Preparedness.
 
NASA ถาม : คุณเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการฉุกเฉินหรือยัง?
NASA ถาม : คุณเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการฉุกเฉินหรือยัง?NASA ถาม : คุณเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการฉุกเฉินหรือยัง?
NASA ถาม : คุณเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการฉุกเฉินหรือยัง?
 
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
 
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
แนวทางการดาเน ํ นงานป ิ องก ้ นควบค ั มการระบาดของโรคม ุ ือ เท้า ปาก สําหรบแพ...
 

Plus de nhs0

ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
nhs0
 
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปทแนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
nhs0
 
หลังน้ำลด
หลังน้ำลดหลังน้ำลด
หลังน้ำลด
nhs0
 
คำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหารคำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหาร
nhs0
 
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปทแนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
nhs0
 
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิงข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
nhs0
 
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วมการจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
nhs0
 
หลังน้ำลด
หลังน้ำลดหลังน้ำลด
หลังน้ำลด
nhs0
 
คำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหารคำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหาร
nhs0
 

Plus de nhs0 (11)

โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
 
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวานการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
 
ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
ขั้นตอนในการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค
 
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปทแนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
 
หลังน้ำลด
หลังน้ำลดหลังน้ำลด
หลังน้ำลด
 
คำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหารคำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหาร
 
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปทแนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
แนวทางรับมืออุทภัยในบทบาท อปท
 
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิงข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้อาศัยในศูนย์พักพิง
 
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วมการจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
การจัดการขยะมูลฝอยกรณีน้ำท่วม
 
หลังน้ำลด
หลังน้ำลดหลังน้ำลด
หลังน้ำลด
 
คำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหารคำแนะนำในการทำอาหาร
คำแนะนำในการทำอาหาร
 

คู่มือโรคน้ำท่วม

  • 1. กองสุขศึกษา กรมสนับส นบริการสุขภ กระทรวงส ก สนุ ภาพ สาธารณสุข 1  1 คูมือ : การดูแลปองกันโรค คและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบ การสุขภ กระท บริ ภาพ ทรวงสาธารณสุข กันยายน 2554 น
  • 2. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 2  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   สารบัญ หน้า ๑. บทนํา ๒. การเตรียมความพร้อมก่อนน้ําท่วม ๒.๑ ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๒.๒ เตรียมอุปกรณ์/ของกิน-ของใช้ที่จําเป็น ๒.๓ ย้ายของสําคัญ ๒.๔ การเตรียมการอพยพผู้คนในครอบครัว ๓. การปฏิบัตตัวขณะน้าท่วม ิ ํ ๓.๑ อาหารและน้ํา ๓.๒ อนามัยส่วนบุคคล/การขับถ่าย ๓.๓ การกําจัดขยะ ๓.๔ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ๓.๕ ป้องกันอันตรายจากสัตว์ / อุบัติเหตุ ๓.๖ จัดการความเครียด ๔. การปฏิบัติหลังน้ําท่วม ๔.๑ ทําความสะอาดบริเวณบ้านและอุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา ๔.๒ การจัดการสิ่งปฏิกูล ๔.๓ การจัดการแหล่งน้ําท่วมขัง ๕. การป้องกันโรคและภัยจากน้ําท่วม ๕.๑ การจมน้ํา ๕.๒ สัตว์ แมลงมีพิษกัด ๕.๓ โรคติดต่อที่พบบ่อย ๕.๔ บาดแผล ๕.๔ สุขภาพจิต
  • 3. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 3  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   บทนํา เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายทางด้านสุขภาพของผู้ประสบภัย ทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดทางกายและทางจิตใจ เนื่องจากเมื่อเกิดน้ําท่วมขึ้น สภาพแวดล้อมต่างๆ มี การเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม การดําเนินชีวิตของผู้ประสบภัยต้องเปลี่ยนไปจากการดําเนินชีวิตในช่วงปกติ มีอุปสรรคและปัญหาที่เกิดจากน้ําท่วมมาเกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิต สร้างความตระหนก กดดันให้แก่ผู้ประสบภัย ความสูญเสียของสภาพแวดล้อมและทรัพย์สิน ส่งผลทําให้มีสิ่งต่างๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อร่างกาย ต่อสุขภาพเกิดขึ้น มากมาย ทั้งการเกิดอย่างฉับพลัน รวดเร็ว เป็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการเกิดภัยซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤต และ การเกิดภาวะอันตราย การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โรคติดต่อหลาย ๆ โรคที่จําเป็นต้องป้องกันและควบคุม การมีความรู้ ความตระหนักถึงภัยต่างๆ การดูแลใส่ใจ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นแนวทางในการลดความ เสี่ยงต่ออันตราย ลดการเจ็บป่วยและลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ เมื่อเกิดภัยขึ้น การเตรียมความพร้อมก่อนน้ําท่วม ๑. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง • ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุทกภัย เช่นระดับน้ํา พยากรณ์อากาศ น้ําท่วมฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จากสื่อต่างๆ • รับฟังการแจ้งเตือน และติดต่อ/สอบถามจากแหล่งข้อมูลในชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานราชการ หรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อม หากบ้านตั้งอยู่ในพื้นที่น้ํา ท่วมหรือพื้นที่ดินถล่ม ได้ง่าย • เรียนรู้/หาข้อมูลเกี่ยวกับแผนฉุกเฉินน้ําท่วมของชุมชน, สัญญาณเตือนภัย,เส้นทางการอพยพและ สถานที่ตั้งของที่พักพิงฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพ • วางแผนการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการอพยพเมื่อเกิดน้ําท่วมร่วมกับครอบครัว • ติดต่อกับญาติ/ผู้ที่ท่านรู้จักหรือเพื่อนที่อยู่ต่างพื้นที่ที่น้ําท่วม เพื่อช่วยเหลือกันเมื่อเกิดน้ําท่วม
  • 4. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 4  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   • นัดหมายการติดต่อเพื่อที่จะสามารถติดต่อกับครอบครัวได้ ในกรณีที่ครอบครัวของคุณอาจจะถูก แยกออกกันในช่วงน้ําท่วม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนในครอบครัวของคุณ รู้ช่ือที่อยู่และ หมายเลขโทรศัพท์ของญาติ/เพื่อนที่ได้ติดต่อไว้แล้ว • บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ในโทรศัพท์ทุกเครื่องหรือจดบันทึกไว้ • แจ้ ง หน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น /ชุ ม ชนเกี่ ย วกั บ ความต้ อ งการการช่ ว ยเหลื อ กรณี พิ เ ศษ เช่ น มี เ ด็ ก ผู้สูงอายุผู้ป่วยหรือผู้ความพิการ ๒. เตรียมอุปกรณ์/ของกิน-ของใช้ที่จําเป็น ๒.๑ สิ่งจําเป็นที่ควรเตรียมไว้ เมื่อเกิดภาวะน้ําท่วม อาจจะทําให้ไม่สะดวกต่อการออกจากที่พักหรือติดต่อกับที่ไม่ถูกน้ําท่วม ได้ จึงควรเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ที่จําเป็นไว้ใช้ในครอบครัว เช่น • อาหารกระป๋อง-อาหารสําเร็จรูป (ตรวจสอบวันหมดอายุและลักษณะของกระป๋องให้อยู่ใน สภาพสมบูรณ์) / อุปกรณ์ทําอาหาร • ภาชนะสะอาดสําหรับบรรจุน้ําขนาดใหญ่หลายๆอัน ให้เพียงพอต่อการใช้น้ําภายใน ๓-๕ วัน (ประมาณห้าแกลลอนต่อหนึ่งคน) • น้ําดื่ม-น้ําต้มสุก • อาหารสําหรับทารกและนม / หรือเตรียมผ้าอ้อมและของใช้ สําหรับทารก • อุปกรณ์สําหรับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่นสบู่, ยาสีฟัน, ผ้าอนามัย ฯลฯ • เชือกสําหรับผูกโยง / สําหรับตากเสื้อผ้า • อุปกรณ์ชูชีพ เช่น ห่วงยาง เสื้อชูชีพ • ไฟฉายและถ่านไฟฉาย / เทียนไข / แบตตารี่สํารอง • ยาสามัญประจําบ้าน / ยาประจําตัวสําหรับผู้มีโรคประจําตัว / ชุดปฐมพยาบาล • ผงน้ําตาลเกลือแร่ ติดไว้เผื่อมีอาการท้องร่วง • ผ้าสําหรับทําความสะอาดชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่นกระดาษทําความสะอาดร่างกาย เด็ก สําหรับทั้งครอบครัวในกรณีที่การอาบน้ําทําความสะอาดร่างกายไม่สามารถทําได้ • ถุงขยะสีดําใบใหญ่ ไว้รวมขยะทั้งหมดให้อยู่ในถุง และเชือกสําหรับผูกปากถุง ป้องกันการ แพร่กระจายของเชื้อโรค
  • 5. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 5  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   • ถุงพลาสติก เอาไว้ใส่ขยะและเอาไว้ถ่ายหนัก-เบา ในกรณีน้ําท่วมขัง หากถ่ายลงในน้ําจะ ทําให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้ • ปูนขาว ใช้ใส่ในถุงพลาสติกที่ถ่ายหนัก-เบา เพื่อฆ่าเชื้อโรค • รองเท้ายาง รองเท้าที่มีความแข็งแรงทนทานและถุงมือกันน้ํา • วัสดุสําหรับการบําบัดน้ําสะอาด เช่น สารส้ม ผงคลอรีนหรือยาเม็ดไอโอดีน ผงซักฟอกที่ ใช้ในครัวเรือน • ยากันยุง สมุนไพรหรือสารไล่ยุง เสื้อผ้าแขนยาวและขายาวสําหรับป้องกันยุงกัด • พาหนะ หากมีการเจ็บป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ๒.๒ เตรียมเครื่องป้องกันน้ําท่วม เช่น กระสอบทราย/ถุงทรายเพื่อจัดเป็นแนวกั้นน้ํา หรือเครื่อง สูบน้ําเพื่อระบายน้ําท่วมไปยังแหล่งน้ําธรรมชาติ/แหล่งน้ําสาธารณะ และตรวจสอบวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง ๓. ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินสําคัญ ๓.๑ ย้ายเอกสารสําคัญ ทรัพย์สิน/ของมีค่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายได้ ง่ายไปไว้ชั้นบน ๓.๒ ย้ายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด สารพิษต่างๆไปยังสถานที่ น้ําท่วมไม่ถึง ๓.๓ นํารถยนต์/พาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่น้ําท่วมไม่ถง ึ ๓.๔ ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หากน้ําท่วมถึงในบ้าน ควรปิดระบบไฟฟ้าชั้นล่างทั้งหมด หรือย้ายสวิทส์ไฟ ให้อยู่ในส่วนที่น้ําท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันสมาชิกในบ้านถูกไฟฟ้าดูด และเพื่อความปลอดภัย หาก น้ํามีแนวโน้มท่วมสูง ควรปิดระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้าน้ําท่วมบ้านชั้นล่าง/ชั้นใต้ดิน ก่อนที่ท่านจะมีโอกาสยก สะพานไฟ ห้ามท่านเข้าไปในบริเวณชั้นล่าง/ชั้นใต้ดินนั้น ให้ท่านติดต่อหน่วยงาน/บริษัทด้านไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
  • 6. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 6  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๔. การเตรียมการอพยพผู้คนในครอบครัว ๔.๑ วางแผนการอพยพคนและสัตว์เลี้ยงหากเกิดน้ําท่วม โดยดูความเหมาะสม หากสมาชิกภายใน ครอบครัว เด็ก ผู้สูงอายุ ผูมีโรคประจําตัว และผู้พิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรย้ายออกจากบ้านพัก อาจ ้ ติดต่อกับศูนย์ป้องกันภัย หรือศูนย์ช่วยเหลือในชุมชน/หมู่บ้าน/อําเภอให้ช่วยในการอพยพ เพื่อป้องกันการเกิด อันตรายกับกลุ่มสมาชิกดังกล่าว ๔.๒ หากท่านต้องอพยพย้ายออกจากบ้านชั่วคราว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ • ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดทั้งหมด เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องทําน้ําอุ่น เป็นต้น • ปิดไฟที่ฟิวส์หลักหรือตัดวงจรการไหลของกระแสไฟ • ปิดวาล์วน้ําที่วาล์วหลัก • ปิดก๊าซหุงต้มโดยปิดวาล์วที่ด้านบนของถังก๊าซหุงต้ม • นําสัตว์เลี้ยงไปใว้ในที่ที่ปลอดภัย การปฏิบัตตวขณะน้ําท่วม ิ ั เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะเกิดน้ําท่วมมีหลายสิ่งต้องใส่ใจ เช่น การติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัย สถานการณ์น้ําท่วมและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้ง การอพยพเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา ไม่เล่นน้ํา หรือทํากิจกรรมในบริเวณที่น้ําท่วมโดยไม่จําเป็น เตรียมชุดอุปกรณ์ฉกเฉิน เช่น ห่วงยาง แกลลอนเปล่า ุ เชือก ไว้ใกล้ตัว ไม่ข้ามสะพานในระหว่างที่กระแสน้ําพัดผ่านอย่างรวดเร็ว ในกรณีขับรถหากน้ําเข้าในรถของท่าน และน้ําเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้ทิ้งรถทันทีและขึ้นไปอยู่บนที่สูง และในช่วงขณะเกิดน้ําท่วม หรือน้ําท่วมขังเป็น เวลานาน ควรดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรืออันตรายต่อสุขภาพ โดยการปฏิบัติในเรื่อง ต่างๆ ดังนี้ ๑. อาหารและน้ํา • ในการกินอาหารและน้ําทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่าอาหารและน้ํานั้นสะอาด และหากเป็นไปได้ ควรอุ่น อาหารทุกครั้งก่อนกินอาหาร • งดกินอาหารดิบ ต้องปรุงให้สุกก่อน เพราะในภาวะน้ําท่วม มีโอกาสที่จะได้รบเชื้อโรคสูงมาก ั • ถ้าหากเป็นอาหารกระป๋อง หรืออาหารสําเร็จรูป ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ และกระป๋องที่บรรจุ อาหาร กระป๋องต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่บวม และไม่เป็นสนิม และถ้าสามารถทําให้ ร้อนได้ ควรทําให้ร้อนก่อนทุกครั้งก่อนกิน • ควรดื่มน้ําดื่มที่ผ่านการต้มหรือน้ําบรรจุขวดที่ผ่านการรับรอง หรือใช้น้ําจากแหล่งเก็บน้ําสํารองที่ ได้รับการรับรองว่าสะอาดสามารถใช้ได้ • ก่อนใช้น้ําจากแหล่งน้ําต้องฆ่าเชื้อที่อาจมีอยู่ในน้ําก่อนมาใช้ แม้ว่าน้ํานั้นจะมาจากแหล่งน้ําที่ ไม่ได้ปนเปื้อนจากน้ําท่วมก็ตาม เช่น การแกว่งด้วยสารส้ม การใช้คลอรีนตามคําแนะนําเพื่อฆ่า เชื้อโรคที่มีอยู่ในน้ํา
  • 7. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 7  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๒. อนามัยส่วนบุคคล/การขับถ่าย ล้างมือให้บ่อยเท่าที่จะทําได้ สุขอนามัยขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสําคัญมากในช่วงเวลาน้ําท่วม โดยการล้างมือด้วยสบู่และน้ําที่ต้มสุก ทั้งก่อน รับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ําเป็นประจําสม่ําเสมอ ชําระล้างหรือทําความสะอาดร่างกายหรือสิ่งของ ต่างๆหลังจากที่ปนเปื้อนจากน้ําท่วมหรือน้ําเสีย ต้องล้างมือด้วยน้ําสะอาด ไม่ควรล้างมือด้วยน้ําที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือปลอดภัย เช่น น้ําจากแหล่งน้ําท่วม ขังที่ปนเปื้อน เพราะจะทําให้มือปนเปื้อนเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น มือที่สะอาดจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ได้ ขั้นตอนการล้างมือมีดังนี้ • เอามือผ่านน้ําที่สะอาดเพื่อให้มือเปียก และถูสบู่ • ถูมอทั้งสองข้าง และถูหลังมือ ระหว่างซอกนิ้วและเล็บ ถูมือให้ทั่วทุกซอกทุกมุมของมือ ื • เอามือล้างน้ําเพื่อล้างมือให้สะอาด • เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าเช็ดมือหรือเป่าให้แห้ง การล้างมือด้วยสบู่และน้ําเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการลดจํานวนเชื้อโรค ถ้าไม่มีสบู่และน้ํา ให้ใช้สารทําความ สะอาดมือหรื อเจลล้ างมื อที่มี แอลกอฮอล์ อย่างน้อย ๖๐ เปอร์ เซ็ นต์ สารทําความสะอาดมือที่มี ส่วนผสมของ แอลกอฮอล์จะสามารถลดจํานวนเชื้อโรคในมือได้ แต่ไม่สามารถกําจัดเชื้อโรคได้ทุกชนิด เมื่อไหร่ต้องล้างมือ • ก่อน ระหว่าง และหลังจากการเตรียมปรุงอาหาร • ก่อนกินอาหาร • หลังออกจากห้องน้ํา • หลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กหรือทําความสะอาดเด็กหลังจากเสร็จกิจในห้องน้า ํ • ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย • หลังไอ จาม • หลังสัมผัสสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ • หลังสัมผัสขยะ • ก่อนและหลังการทําความสะอาดบาดแผล
  • 8. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 8  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   หลีกเลี่ยงการแช่น้ํานานๆ โดยเฉพาะผู้มีแผลในที่ๆสัมผัสน้ําได้ หากจําเป็นควรสวมถุงพลาสติกหรือ ใส่รองเท้าบูท เพราะการแช่ในน้ํา นอกจากแผลมีโอกาสติดเชื้อและรับเชื้อโรคเข้าร่างกายแล้ว ยังทําให้มีโอกาสเป็น โรคน้ํากัดเท้า มือ - เท้าเปื่อย อีกด้วย ท่านที่ต้องเดินลุยน้ํา ต้องใส่รองเท้าบูท หากต้องลุยน้ําโดยไม่ใส่รองเท้า เมื่อลุยน้ําแล้วต้องล้างเท้า ให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันโรคผิวหนังที่ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า น้ําที่ท่วมขังอาจจะเต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล ที่มาจากระบบบําบัดน้ําเสีย ของเสียจากการเกษตรและ อุตสาหกรรม และถังบําบัดน้ําเสีย ดังนั้นหากมีบาดแผลเปิดหรือมีแผลที่สัมผัสกับน้ําสกปรก คุณควรทําความสะอาด บาดแผลด้วยสบู่และน้ํายาฆ่าเชื้อหรือน้ําต้มสุกให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทําได้ หลังจากนั้นจึงทายาปฏิชีวนะเพื่อลด ความเสี่ยงในการติดเชื้อ ถ้ามีแผลบวมแดง เป็นผื่นควรไปพบแพทย์ทันที ซัก ทําความสะอาดเสื้อผ้า ด้วยน้ําสะอาดและผงซักฟอก ตากแดดให้แห้ง และไม่ควรใส่ช้ําๆ ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงส้วม ห้ามถ่ายลงน้ําโดยตรง เพื่อไม่ให้เป็นการกระจายตัวของเชื้อโรค กรณีที่ไม่มีห้องน้ํา ต้องถ่ายลงในถุงพลาสติก และต้องใส่ปูนขาวลงไปพอประมาณ เพื่อฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นผูกถุงให้ สนิท แล้วทิ้งในถุงดําอีกที เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย
  • 9. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 9  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   หากที่บ้านไม่สามารถใช้ห้องน้ําได้ ให้ตดต่อขอใช้บ้านข้างเคียง ที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน หรือสุขา ิ เคลื่อนที่ หากเกิดภาวะท้องเสีย ให้ดื่มเกลือแร่ที่ผสมน้ําต้มสุกหรือน้ําสะอาด และถ้าสามารถไปโรงพยาบาล หรือหน่วยรักษาพยาบาลได้ให้รีบไปทันที ที่สําคัญห้ามผูป่วยถ่ายลงน้ําเด็ดขาด ้ ๓. การกําจัดขยะ ทิ้งขยะ เศษอาหารลงในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น หรือทิ้งในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดป้องกัน หนูและแมลงต่าง ๆ ได้ วางรวมไว้ในจุดที่สะดวกและนําไปทิ้งในถังขยะ หรือรถ/เรือกําจัดขยะ ไม่ทิ้งขยะลงน้ํา หากเทศบาลหรือหน่วยงานราชการนํารถ/เรือกําจัดขยะมารับก็ควรรวบรวมแล้วส่งให้ นําไปกําจัด แต่หากพื้นที่ใดไม่มี ก็ให้รวบรวมแล้วขุดหลุมบริเวณที่น้ําแห้งแล้วฝังกลบให้ เรียบร้อย ป้องกันแมลงวันและสุนัข หนู มาคุ้ยเขี่ย ๔. ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เมื่อเกิด น้ําท่วม ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยงกับภัยที่เกิดจากไฟฟ้า ทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ โดยปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ • เมื่อพบสายไฟหล่นอยู่ ให้แจ้งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อย่าจับสายไฟฟ้าที่หล่นเอง • อย่าเปิด – ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองขณะที่ยืนอยู่ในน้ํา • หากจะเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิท ไม่เปียกชื้น หากไม่แน่ใจก่อน เสียบปลั๊กควรสวมรองเท้า สิ่งสําคัญที่สุดคือ ต้องใช้อปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง ุ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณความชื้นแฉะ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทําน้ําอุ่น ปั๊มน้ํา บริเวณบ่อปลา เป็นต้น • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสายไฟเหนือศีรษะ ในขณะทําความสะอาดหรือทํากิจกรรมใดๆ
  • 10. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 10  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   • อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ําท่วม ถ้าจะนํามาใช้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ใน สภาพที่ยังใช้การอยู่ได้หรือไม่ สิ่งแรกที่ต้องทํา คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดต้องทําให้แห้งสนิท ก่อนเสียบปลั๊กหรือเปิดใช้งาน หากไม่แน่ใจ ควรให้ช่างไฟฟ้าตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์ เหล่านี้เกิดความเสียหายมากก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนํามาใช้งาน • ถ้าวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ําหรืออยู่ในน้ํา หรืออยู่ใกล้นํ้า ให้ปิดสะพานไฟหรือเบก เกอร์ เพื่อปิดกระแสไฟฟ้า และอย่าไปยืนในน้ําเพื่อที่จะไปที่สะพานไฟ ให้คุณเรียกช่างไฟฟ้า ให้มาปิดแทน • ถ้าคุณเห็นสายไฟเป็นฝอยๆ หรือประกายไฟ ขณะคุณกําลังซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือได้ กลิ่นไหม้แต่ไม่เห็นจุดที่เกิดไฟไหม้ ควรปิดระบบไฟฟ้าที่สะพานไฟหรือเบกเกอร์หลักทันที • อย่าขับรถผ่านน้ําท่วมโดยที่บริเวณนั้นมีสายไฟฟ้าจมอยู่ในน้ํา • ขณะคุณกําลังขับรถ หากมีสายไฟฟ้าตกขวางถนน ให้คุณอยู่บนรถและขับรถไปให้ห่างจาก บริเวณนั้น ถ้าเครื่องยนต์ดับ อย่าปิดเครื่องยนต์ เตือนคนอื่นไม่ให้ไปสัมผัสรถหรือสายไฟ เรียกใครซักคนให้โทรแจ้งหน่วยบริการฉุกเฉินในพื้นที่นั้น อย่าให้ใครที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กู้ภัยมา ทําอะไรกับรถของคุณ ถ้ามีคนถูกไฟฟ้าช็อต ๑. สิ่งแรก อย่าไปแตะตัวคนที่ถูกไฟช็อต เพราะคนนั้นอาจจะกําลังติดอยู่กบแหล่งจ่ายไฟ และกระแสไฟฟ้า ั อาจจะผ่านมาที่ตัวคุณได้ ๒. ถ้าเป็นไปได้ให้ตัดไฟหรือปิดไฟจากแหล่งจ่ายไฟนั้น ๓. บุคคลที่ช่วยให้สวมรองเท้าแล้วนําวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น เชือกแห้ง เสื้อผ้าแห้ง กระดาษแข็ง พลาสติก ดึง กระชากหรือผลักตัวผู้ถูกไฟช็อตออกอย่างรวดเร็ว ๔. เมื่อคนนั้นหลุดจากแหล่งจ่ายไฟแล้ว ให้ตรวจลมหายใจและชีพจรของคนคนนั้น ถ้าไม่หายใจและชีพจร หยุดเต้น หรือ เบา ช้า จนอันตราย ให้รีบทําการกู้ชีพทันที ๕. ถ้าคนนั้นเป็นลม ซีด หรือแสดงอาการว่าจะหมดสติ ให้วางคนนั้นนอนลงโดยให้ศีรษะอยู่ต่ํากว่าลําตัว เล็กน้อยและยกขาขึ้น ๖. อย่าแตะแผลไหม้ แผลตุ่มน้ําที่แตก หรือเอาเสื้อผ้าที่ไหม้ไฟออก เพราะไฟฟ้าอาจจะทําให้เกิดการไหม้ ข้างในร่างกาย ดังนั้นต้องพาผู้ประสบเหตุน้นไปพบแพทย์ ั
  • 11. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 11  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๕. ป้องกันอันตรายจากสัตว์ / อุบัติเหตุ • ระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์มีพิษ จระเข้ (กรณีที่อยู่ใกล้แม่น้ํา- คลอง) หากพักอาศัยอยู่ใ นบริเวณบ้ าน ควรจัดที่พักให้โล่งแจ้ง เพื่อให้ง่ายในการระมัดระวัง เพราะสัตว์มีพิษอาจหนีน้ํามาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน • จัดของให้เป็นระเบียบ เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษหลบซ่อนอยู่ และเมื่อจะหาหรือใช้ของ ให้เปิดไฟให้ สว่าง ใช้ไม้เคาะและตรวจดูว่าไม่มีสัตว์มีพิษหลบซ่อนอยู่ • ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด * สวมเสื้อผ้า แขน-ขายาวป้องกันยุงกัด เมื่ออยู่นอกบ้าน * ทายากันยุง สารกันยุง โดยทาบางๆ ตามผิวหนังที่พ้นเสื้อผ้า และใช้อย่างระมัดระวัง * จุดยากันยุง ไว้ประตูทางเข้า-ออกบ้าน หรือใช้ยากันยุงแบบไฟฟ้าเสียบไว้ในบ้าน * นอนในมุ้ง หรือในห้องที่ติดมุ้งลวด • เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน บริเวณรอบบ้าน และตามทางเดินอย่าง สม่ําเสมอ • ช่วงน้ําท่วมขัง อาจมีของมีคมอยู่ใต้น้ํา เช่น ขวด แก้ว ถ้วยชามแตก ให้ใส่รองเท้าเดินและเดินอย่าง ระมัดระวัง • ระมั ดระวั งในการทํ ากิ จ กรรมต่า งๆ โดยเฉพาะในพื้น ที่ น้ํ าท่ วมขั งและมองไม่ เห็ นพื้ นด้ า นล่า ง รวมทั้งดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด • หมั่นตรวจสอบตัวบ้านให้อยู่ในสภาพที่ดี เพราะน้ําอาจกัดเซาะทําให้มีการผุพัง หากพบให้ซ่อมแซม เพื่อป้องกันการเกิดอุบติเหตุ ั • ระมัดระวังต้นไม้ใหญ่ที่อยู่รอบๆบ้าน
  • 12. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 12  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๖. จัดการความเครียด สภาวะเครียดจากความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สิน สิ่งของ รายได้ อาชีพ รวมถึงการสูญเสียจากการ บาดเจ็บและเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกท่านที่อยู่ในพื้นที่อุทกภัยต้องประสบอยู่แล้ว ไม่ มากก็น้อย หากเราเตรียมใจรับไว้ก่อนก็จะเป็นการดี ในความสูญเสียบางอย่างก็จะได้รับการชดเชยจากภาครัฐ ส่วน การเยียวยาทางจิตใจก็ควรรับคําปรึกษาจากหน่วยบริการด้านสุขภาพจิต และควรปฏิบัติดังนี้ • ให้ตระหนักไว้ว่า ผู้ที่จะมาช่วยอาจมีไม่เพียงพอ ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด • ให้หาครอบครัว เพื่อน ที่สามารถช่วยเหลือ พูดคุย ปรึกษา และดูแลซึ่งกันและกันได้ • หากิจกรรมทําที่ไม่ให้เกิดความเครียด การปฏิบัตหลังน้ําท่วม ิ ๑. ทําความสะอาดบริเวณบ้านและอุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา • พื้นบ้านและบริเวณผนังที่จมน้ํา ควรล้างและขัดคราบทั้งหมดให้สะอาดโดยใช้น้ํายาฆ่าเชื้อโรคหรือ ผงซักฟอกขัด ด้วยแปลงหรือไม้กวาดก้านมะพร้าว ขัดทุกบริเวณ ล้างน้ําสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง สิ่ง สําคัญควรทําทันทีหลังน้ําลดหรือค่อยๆทําความสะอาดขณะน้ําลด ไม่ควรทิ้งไว้หลายวันเพราะจะ ขัดคราบไม่ออก • ห้องน้ําที่มีนํ้าขัง ทําความสะอาดทั้งพื้น ถังน้ํา ชักโครกหรือคอห่าน แล้วตรวจดูว่ามีท่ออุดตันตรง จุดไหนหรือไม่ ตรวจดูระดับน้ําในถังเกรอะ หากยังอยู่ระดับสูงจนราดน้ําไม่ลง ก็ให้งดใช้ก่อนรอ จนกว่าจะราดน้ําได้ • ห้องครัว นําอุปกรณ์ทุกอย่าง อาทิ จาน ชาม ช้อน แก้ว หม้อ ออกมาทําความสะอาดแล้วตาก แดดให้แห้งก่อนเก็บ สําหรับพื้นที่ก็ให้ทําความสะอาดเหมือนบริเวณอื่นๆที่จมน้ํา ในส่วนของ อุปกรณ์หุงต้ม เช่น เตาไฟ แก็ส ควรตรวจสอบว่ายังใช้ได้หรือไม่หากชํารุดก็ควรเปลี่ยนใหม่ • อุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ํา เช่น ตู้ เตียง ที่นอน โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ขนย้ายออกมาก ตรวจดูสภาพการใช้งานข้างนอกบ้านก่อน ล้างทําความสะอาดแล้วตากแดดให้แห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องเช็คสภาพ หากชํารุดก็ควรทิ้ง ไม่ควรเก็บไว้จะเป็นอันตรายภายหลัง
  • 13. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 13  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   การทําความสะอาด • ก่อนทําความสะอาดบ้านเรือนควรตรวจสอบวาล์วถังก๊าซหุงต้มว่าปิดสนิทหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ ปรึกษาผู้มีความรู้ • สวมรองเท้ายาง ถุงมือกันน้ํา แว่นตาและหน้ากากอนามัยระหว่างล้างทําความสะอาด • พิถีพิถนในการทําความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหารและพื้นที่เด็กเล่น ั • เปิดหน้าต่างและประตูไว้หลังใช้ผลิตภัณฑ์การทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อระบายอากาศจะ ปลอดภัยกว่าการใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ • ถ้าพรม เสื้อผ้า กระดาษ และวัสดุที่ดูดซับน้ําไม่สามารถทําให้แห้งได้ ควรทิ้งไปเป็นหนทางที่ดีที่สุด • ซักผ้าที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกล ด้วยน้ําร้อน น้ํายาซักผ้า โดยการแยกออกจากเสื้อผ้าที่ไม่ได้ปนเปื้อน ู • ไม่ให้เด็กเล่นในพื้นที่น้ําท่วม เล่นของเล่นที่เปื้อนน้ําที่ยังไม่ได้ฆ่าเชื้อ ของเล่นบางอย่างไม่สามารถ ฆ่าเชื้อได้ เช่น ของเล่นเด็กเล็ก ตุ๊กตายัดไส้ ควรทิ้งเพราะจะเป็นที่สะสมเชื้อโรคได้ • การกําจัดน้ําท่วมขัง หากมีคราบน้ํามันลอยอยู่ด้านบนของน้ําบริเวณที่น้ําท่วมขัง ต้องกําจัดน้ํามัน ออกก่อนที่จะสูบน้ําออกโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในการกําจัดน้ํามันบนผิวน้ํา • ทําความสะอาดผนัง พื้น ตู้ ชั้นวางของและที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆด้วยสบู่และน้ํารวมทั้งฆ่าเชื้อด้วย สารฟอกขาว ๑ ถ้วยในน้ํา ๕ แกลลอน (ควรระมัดระวังในการผสมสารทําความสะอาดกับสารฟอก ขาว และอ่านฉลากและคําเตือนก่อนใช้ ๒. การจัดการสิ่งปฏิกูล ๒.๑ หากพบว่าส้วมเต็มหรือราดน้ําไม่ลง ให้ทําการสูบสิ่งปฏิกูลในถังบําบัด สิ่งปฏิกูลด้วยรถสูบสิ่ง ปฏิกูลนําไปกําจัดในสถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งสามารถประสานขอรับการสนับสนุนได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ หรืออาจใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขององค์การเภสัชกรรม (GPO Mekaklean Plus) ชนิดผงผสม ในน้ําสะอาดทิ้งไว้อย่างน้อย ๔ ชั่วโมง โดยใช้ในอัตราส่วน ๕ กรัม โดยจุลินทรีย์จะช่วยในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล และลดกลิ่นเหม็น
  • 14. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 14  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๒.๒ ล้างทําความสะอาดเก็บกวาดขยะ กิ่งไม้ ใบไม้ที่ตกค้างในบริเวณห้องส้วมด้วยน้ําผสมผงซักฟอก ๒.๓ ซ่อมแซมระบบเก็บกักสิ่งปฏิกูลของส้วมที่ชารุดให้อยู่ในสภาพดีใช้งานได้ ํ ๓. การจัดการแหล่งน้ําท่วมขัง น้ําท่วมขังมักก่อให้เกิดปัญหาเน่าเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงพาหะนําโรค การ แก้ไขปัญหาน้ําท่วมขังและน้ําเน่าเสียที่สําคัญคือ การไม่ทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ ในแหล่งน้ําและการเก็บขยะออกจาก แหล่งน้ํา และท่อระบายน้ําที่อดตัน สําหรับการบําบัดน้ําเสียที่ท่วมขังหรือแหล่งน้ําสาธารณะเน่าเสียอาจใช้ EM หรือ ุ จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขององค์การเภสัชกรรม (GPO Mekaklean Plus) ใส่ในแหล่งน้ําเสียในอัตราส่วน ๑ กรัม ต่อ น้ําเสีย ๑ ลูกบาศก์เมตรโดยอาจใช้ครั้งเดียวหรือใช้ซ้ําได้ทุก ๗ วันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น หากต้องการกําจัดกลิ่นเหม็นอย่างเดียว อาจใช้เพียงครั้งเดียว การป้องกันโรคและภัยจากน้ําท่วม การจมน้ํา • การป้องกันการจมน้ํา ทําได้ดังนี้ ๑. ไม่ลงเล่นน้ําบริเวณที่มีน้ําขัง น้ําเชี่ยว ๒. พ่อแม่ควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้น้ําตามลําพัง ิ ๓. ระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการ จมน้ํา โดยการติดป้ายหรือทําสัญลักษณ์ ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นบริเวณ เสี่ยง
  • 15. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 15  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๔. สํารวจบริเวณบ้าน รอบบ้าน ป้องกันพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ํา เช่น พื้นไม้ผุ มีตะไคร้ขึ้น ทางเดินบน สะพานแคบและไม่แข็งแรง ๕. ไม่ดื่มสุรา และของมึนเมาทุกชนิด ๖. ผู้ที่ออกหาปลา งมหอย เก็บผัก ควรเตรียมอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อมโดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เช่นห่วงยาง แกลลอนเปล่า ลูกมะพร้าว และไม่ควรออกไปตามลําพัง ๗. งดกิจกรรมทางน้ําขณะที่น้ําไหลเชี่ยว ๘. ผู้ที่มีโรคประจําตัว ไม่สามารถดูแลตนเองได้ขณะเกิดเหตุไม่ควรอยู่ตามลําพัง • เมื่อพบผู้กําลังจมน้ํา ๑. ตั้งสติให้มั่น อย่าวู่วาม ๒. หาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่นไม้หรือสิ่งยึดเหนี่ยวได้ในการช่วยเหลือ และใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง หากพิจารณาว่าไม่สามารถช่วยเหลือได้ด้วยตนเอง ให้รีบร้องขอความช่วยเหลือ ๓. หากจําเป็นต้องลงน้ําไปช่วย แม้จะว่ายน้ําเป็นก็ควรเตรียมอุปกรณ์สําหรับการช่วยไปด้วย • การปฐมพยาบาลคนจมน้ํา ๑. ห้ามจับคนจมน้ําอุ้มพาดบ่าแล้วกระโดดหรือวิ่งไปมาเพื่อให้น้ําออก เพราะน้ําที่ออกมาจะเป็นน้ําใน กระเพาะไม่ใช่จากปอด จะทําให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น และเสียชีวิตได้ ๒. หากคนจมน้ําหยุดหายใจ ให้ทําการเป่าปากช่วยหายใจทันที ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่นหลังจากพาขึ้นเรือ หรือพาเข้ามายังที่ตื้นๆได้แล้ว เมื่อขึ้นฝั่งแล้วให้ทําการเป่าปากผายปอดต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือส่ง โรงพยาบาล ๓. แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็วที่สด ุ ๔. ควรส่งคนจมน้ําทุกคน ไม่ว่าจะหนักหรือเบาไปที่โรงพยาบาล
  • 16. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 16  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   ๕. ในรายที่หมดสติหรือหยุดหายใจ ควรทําการผายปอดด้วยวิธีการเป่าปากไปตลอดทาง อย่าหยุดเป่าปาก เด็ดขาด จนกว่าจะส่งถึงโรงพยาบาล สัตว์ แมลงมีพิษกัด ในช่วงน้ําท่วมสัตว์และแมลงมีพิษต่าง ๆ เช่น งู แมงป่อง ตะขาบ จะหนีน้ํามาหลบซ่อนในบ้าน ทั้งในช่วง น้ําท่วม และในช่วงน้ําลดสัตว์และแมลงเหล่านี้ก็ยังอยู่ หากท่านขนย้ายสิ่งของ ทําความสะอาดบ้านก็ควรระวัง ในขณะทําก็ควรช่วยกันดูหลายๆคน • งูกัด ช่วงน้ําท่วม งูจะหนีน้ําออกจากที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และเข้ามายังที่อยู่อาศัยของเรา ซึ่งอาจมาหลบ ซ่อนตามที่ต่างๆ จึงต้องระมัดระวังให้มาก หากพบงู อย่าเข้าใกล้ อย่าพยายามจับมัน ควรแจ้งให้บุคคล/หน่วยงาน ที่มีความสามารถมาจัดการ สัญญาณว่าอาจถูกงูกัด จะมีอาการแสดง ดังนี้ 1. มีรอยเขี้ยว ๒ ข้าง และมีอาการบวมแดง รอบรอยกัด 2. มีอาการปวดอย่างรุนแรง 3. คลื่นไส้ อาเจียน 4. หายใจติดขัด (หากรุนแรง อาจหยุดหายใจ) 5. สายตาขุ่นมัว 6. น้ําลายมากผิดปกติ 7. หน้าชาไม่รู้สึก หรือ ชาตามแขนขา
  • 17. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 17  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   หากงูกัด ต้องปฐมพยาบาลก่อนนําส่งโรงพยาบาล เพื่อลดหรือชะลอการแทรกซึมของพิษงู ๑. เมื่อถูกงู ให้พยายามจําสีและรูปร่างของงู หรือจับงูที่กัดมาโรงพยาบาลด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการ วินิจฉัยและรักษา แต่ไม่จําเป็นต้องเสียเวลาหางู ๒. พยายามให้คนที่ถูกกัดไม่ตื่นเต้น และให้บริเวณที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อชะลอการซึม ของพิษงู ๓. ล้างบาดแผลให้สะอาดด้วยน้ําต้มสุก หรือน้ําด่างทับทิม ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วใช้น้ํายา แอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณรอบ ๆ แผล ไม่เช็ดลงบนแผล ๔. ใช้เชือกหรือผ้าขนาดประมาณนิ้วก้อย รัดเหนือแผลที่ถกงูกัดให้แน่นพอสมควร ให้สอดนิ้วมือได้ 1 ู นิ้ว และรีบนําส่งโรงพยาบาล ในระหว่างนําส่งโรงพยาบาล ให้คลายเชือกหรือผ้าที่รัดทุก 10 – 15 นาที เพื่อไม่ให้ ส่วนปลายแขน หรือขาขาดเลือดไปเลี้ยง ๕. สิ่งที่เป็นข้อห้าม/ไม่ควรทํา ได้แก่ - ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟ หรือพอกยาบริเวณแผลที่ถกงูกัด เนื่องจากอาจทําให้มีการติดเชื้อได้ ู - ห้ามไม่ให้ดดพิษงูด้วยปาก ู - แผลไปโดนน้ํา - อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอาการเจ็บปวด ี - อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ๖. ถ้ามีประวัติเคยแพ้พิษสัตว์ต่างๆ มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที • แมลง ( ผึ้ง ต่อ แตน ) กัดต่อย ๑. ใช้หลอดแบบเล็กๆ แข็งๆ หรือปลายด้ามปากกาลูกลื่น ถอดไส้ออกแล้ว ครอบจุดที่ถูกกัด เพื่อกดให้ เหล็กในโผล่ข้นมา แล้วดึงเหล็กในออก แต่ถ้าปล่อยให้นานจนเนื้อบริเวณที่ถูกต่อยบวมแล้ว อย่าพยายามบีบหรือ เค้นเพื่อเอาเหล็กในออกเพราะจะบวมมากขึ้น ๒. ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลน หรือใช้หัวหอมผาครึ่ง เอาด้านที่ผ่าถูบริเวณที่โดน ต่อย ทําซ้ําทุก 5 นาที ไปเรื่อยๆ ๓. ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล แล้วใช้น้ําแข็งประคบ ๔. ถ้ามีอาการแพ้ เช่นหนัวตาบวม หรือหายใจไม่สะดวก ควรรีบพบหมอโดยด่วน • ตะขาบ แมงป่อง ๑. ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลน ๒. ถ้าปวดมาก ควรรีบพบหมอโดยเร็วที่สุด
  • 18. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 18  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   โรคติดต่อที่พบบ่อย • โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ตับอักเสบเอ และไข้ทัยฟอยด์ เป็นต้น การติดต่อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ําที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุง สุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืนโดยไม่ได้แช่เย็น และไม่ได้อุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย ๗๐ องศาเซลเซียส ก่อนรับประทานอาหาร อาการ โรคอุจจาระร่วง มี อ าการถ่ า ยอุ จ จาระเหลว หรื อ ถ่ า ยเป็ น น้ํ า หรื อ ถ่ า ยมี มู ก เลื อ ด อาจมี อาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงโดยถ่ายเป็นน้ําคล้ายน้ําซาวข้าว คราวละมากๆ เรียกว่า อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้อง ร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อ ตัว โรคบิด มีอาการสําคัญคือ ถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระมีมูก หรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วม ด้วย บางคนอาจมีอาการเรื้อรัง โรคไข้ทัยฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสําคัญคือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีอาการท้องผูก หรือบางรายอาจท้องเสียได้ การรักษา ให้ผู้ป่วยดื่มน้ําหรืออาหารเหลวมากๆ ให้ดื่มสารละลายน้ําตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ผสมน้ําตามสัดส่วนที่ ระบุข้างซอง หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยผสมน้ําตาลทราย ๒ ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายใน น้ําต้มสุกที่เย็นแล้ว ๑ ขวดกลม หรือ ๗๕๐ ซีซี ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ ทดแทนน้ําและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการ ขับถ่าย หากมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมาก ไข้สูง ชัก หรือซึมมาก ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เด็กที่ดื่มนมแม่ ให้ ดื่มต่อได้ตามปกติ พร้อมป้อนสารละลายน้ําตาลเกลือแร่บ่อยๆ เด็กที่ดื่มนมผงชง ให้ผสมนมจางลงครึ่งหนึ่งของที่เคยดื่ม และให้ดื่มสารละลายน้ําตาลเกลือแร่สลับกันไป ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทําให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น การป้องกัน ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําสะอาดและสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียมและปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการ ขับถ่าย ดื่มน้ําที่สะอาด เลือกกินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด กําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
  • 19. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 19  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   • โรคระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด เป็นโรคที่ติดต่อไม่อันตราย เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในบุคคลทุกเพศทุกวัย พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศ เปลี่ยนแปลง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อโรคแพร่กระจายมาจากน้ํามูก น้ําลาย เสมหะ หรือสิ่งของใช้ของผู้ป่วย อาการ มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้เล็กน้อย คัดจมูก มีน้ํามูกใสๆ ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร มักหายได้เองภายใน ๑ สัปดาห์ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ทําให้เกิดโรคได้ในคน ทุกเพศทุกวัย เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ําลาย น้ํามูก และสิ่งของใช้ของผู้ป่วย จึงมีโอกาสติดต่อกันได้ง่าย อาการ มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก มีน้ํามูกไหล คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย การปฏิบัติตัว ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ เชื้อโรค ใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษนุ่มสะอาด เช็ดน้ํามูก และไม่ควรสั่งน้ํามูกแรง ๆ เพราะอาจทําให้เกิดหูอักเสบได้ กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและผลไม้ ดื่มน้ําอุ่นมาก ๆ อาบน้ําหรือเช็ดตัวด้วยน้ําอุ่น แล้วเช็ดตัวให้แห้งทันที เมื่อไข้สูง หรือเป็นไข้นานเกิน ๗ วัน เจ็บคอ ไอมาก เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบ หรือปรึกษาแพทย์ โรคปอดบวม เกิดจากเชื้อได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสําลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทําให้มีการอักเสบ ของปอด ผู้ประสบภัยน้ําท่วม หากมีการสําลักน้ํา หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้ การติดต่อ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วยเมื่อ ไอ จาม หรือหายใจ รดกัน หรือในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ํา อ่อนแอ พิการ มักพบเกิดจากการสําลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ปกติในจมูกและ ลําคอเข้าไปในปอด อาการ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้ า เป็ น มากจะหายใจหอบเหนื่ อ ยจนเห็ น ชายโครงบุ๋ ม เล็ บ มื อ เล็ บ เท้ า ริ ม ฝี ป ากซี ด หรื อ เขี ย วคล้ํ า กระสับกระส่าย หรือซึม เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ําในช่องเยื่อหุ้มปอด, หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแตกและมีลมรั่วในช่อง ปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้
  • 20. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 20  คูมือ : การดูแลปองกันโรคและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   การปฏิบัติตัว ต้องรีบพบแพทย์ และรับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือใส่ หน้ากากอนามัย หากมีไข้ ให้กินยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ําอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้ กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและ ผลไม้ ดื่มน้ําอุ่นมากๆ ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โรคผิวหนัง : น้ํากัดเท้า โรคผิวหนังที่พบบ่อยได้แก่ โรคน้ํากัดเท้าจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ําน้ําหรือ แช่น้ําที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็นเวลานาน อาการ ในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนองต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอก ออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบ ได้ การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการย่ําน้ําโดยไม่จําเป็น ถ้าจําเป็นต้องย่ําน้ํา ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ํา และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ําสบู่และเช็ดให้แห้งเมื่อกลับ เข้าบ้าน สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทา ด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน
  • 21. กองสุขศึกษา กรมสนับส นบริการสุขภ กระทรวงส ก สนุ ภาพ สาธารณสุข 21  2 คูมือ : การดูแลปองกันโรค คและภัยตอสุขภาพจากภาวะน้ําทวม   โรคตาแด ดง เป็ เ นโรคที่ติดตอได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะใ กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วน ต่ ด็ ในเด็ มี แ ใหญ่เกิดจ ้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับก กษาตั้งแตเริ่มเป็น อา ดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อ จากเชื การรั ต่ าจติ อนได้ การติดต่อ จากการสัมผัส ชิดกับผู้ปวย ได้แก่ กา มผัสโดยตรงกับน้ําตา ขี้ตา น้ํามูกของผู้ป่วย จ สใกล้ ป่ ารสั จากใช้ จ สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกบผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ หรือจากแม นแมลงห ่ตอมตา กั มลงวั หวี อาการ หลั ห งได้รับเชื้อประมาณ ๑ - ๒ วัน จะเริม อาการระค องตา ป มมี ่ คายเคื ปวดตา น้ําตาไ กลัวแส มีขี้ตามาก หนัง ไหล นั ตาบวม เยื่อบุตาขาวอัักเสบแดง โด ดยอาจเริ่มที่ต างหนึ่งก่อน แล้วจึงลาม ตาข้ อ มไปตาอีกข้าง ผู้ป่วยมักหา เองภายใ ายได้ ใน ๑-๒ สัปด แต่ถ้าไมดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรก อน เช่น กร ดาห์ ม่ ห้ กซ้ ระจกตาดําอัก ทําให้ปวดตา ตามัว กเสบ ว การปฏิบัติตัว เมื เ ่อมีฝุ่นละออ อน้ําสกป าตา คว บล้างตาด้วยน้ําสะอาดทนที เมื่อมีอาการของโรค ควรพบแพท องหรื ปรกเข้ วรรี ว ทั ทย์ เพื่อรับยา าหยอดตาหรือ ายตาป้อ นภาวะแท อน โดยใ ติดต่อกันป อยาป้ องกั ทรกซ้ ใช้ ประมาณ ๗ วัน หากมีไข้ให้รับประทานย ยา ลดไข้แก้ปปวดตามอากา หมั่นล้างมือ สะอาดด้ว ่บ่อยๆ าร อให้ วยสบู ไม่ ไ ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงงตอมตา และ ควรใช้สาย ะไม่ ยตามากนัก ผู้ป่วยควรนอนแยกจากคน ่น ๆ และไ นอื ไม่ ใช้สิ่งของ าง ๆ ร่วมกััน และไม่คว งต่ วรไปในที่มีคน นมากเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบ ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพรา บาด น ร่ มัว หรือออาการไม่ทุเลา าภายใน ๑ สัป ต้องรีบพบแพทย์อีกครั้ง ปดาห์ ค โรคฉี่หนู โรคฉี โ ่หนู หรือ อโรคเลปโตสไ ส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โ ่สําคัญ ไปโรสิ โรคที เชื้อออกม มา กับปัสสาวะสัตว์แล้วปน ้อนอยู่ในนําท่วมขัง พืน ดินที่ชื้นแฉะ นาน นเปื น้ ้ ะได้