SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  101
Télécharger pour lire hors ligne
STOP THE WAR!
When the Sunflowers Bloom
นับตั้งแต่ความขัดแย้งในปี 2014 จากการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีและการโค่นล้มรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี “Viktor Yanukovych” ที่มี
นโยบายเอียงเข้าหารัสเซียอย่างชัดเจนทั้งที่หลังจากประกาศแยกตัวเป็นเอกราชเป็นต้นมาแนวโน้มของยูเครนก็ดูจะเอียงไปทางซีกโลกตะวันตก
เสียส่วนมาก นำมาซึ่งการผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียจากการอ้างประชามติ และสงครามแบ่งแยกดินแดนในเขตดอนบาสทางภาค
ตะวันออกของประเทศที่กลุ่มกบฎได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ชัยชนะของ “Petro Poroshenko” ในการเลือกตั้งปีเดียวกันก็ยิ่งทำให้นโยบาย
ของยูเครนนั้นเดินห่างจากรัสเซียมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะเผชิญกับข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและดีลลับที่เขาทำกับพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดกับปูติน
ในยูเครนซึ่งมาจากชนชั้นนำและเป็นนักธุรกิจเฉกเช่นเดียวกับเขา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาแพ้อย่างราบคาบในการเลือกตั้งเมื่อปี 2019 กับ
“Volodymyr Zelenskyy” ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะเผชิญกับข้อครหาเรื่องคอรัปชั่นอยู่ และความไม่สำเร็จในการแก้ไขปัญหาความ
ขัดแย้งในพื้นที่ดอนบาส รวมทั้งข้อกล่าวหาของเขาต่อศัตรูทางการเมือง “Rinat Akhmetov” ถึงความพยายามที่ร่วมมือกับรัสเซียในการ
พยายามโค่นล้มรัฐบาลของเขา หลังจากความล้มเหลวในการเจรจากับปูตินหลายครั้งในเรื่องพิพาท และการที่รัสเซียระดมกองทัพประชิด
ชายแดนของยูเครนตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2021 ทำให้เขาต้องกระตุ้นนาโต้ให้เร่งรัดพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิกของยูเครน ในที่สุดรัสเซีย
ตัดสินใจรุกรานยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 ท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติต่อเศรษฐกิจของรัสเซีย แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่
รัสเซียต้องเผชิญผลลัพธ์จากการเข้าไปบุกยูเครนในครั้งนี้คือผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนของเส้นทางเดินที่ประเทศนี้เลือกเดินห่าง
จากโซเวียตตั้งแต่การประกาศเอกราชในปี 1991 ด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น
(50th Molodist International Film Festival) (12th Odesa International Film Festival)
หลังจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศล่มสลายลงในช่วงปี 90s หลังจากประกาศเอกราช ความพยายามในการสร้าง
อุตสาหกรรมหนังในยูเครนเกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก หนังหลายเรื่องยังเป็นหนังที่มาจากรัสเซีย ก่อนที่เมื่อเข้าสู่ยุค
2000s เริ่มมีหนังยูเครนหลายเรื่องมากขึ้น และเริ่มประสบความสำเร็จบ้าง หนังหลายเรื่องที่เป็นที่รู้จักในต่างแดนพูดถึงประเด็นปฏิวัติสีส้มที่
เป็นการประท้วงในช่วงปี 2004 ต่อการเลือกตั้งที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส หนังที่ฉายยังเทศกาลหนังต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง
“Wayfarers” ของผู้กำกับ “Ihor Strembitsky” ที่ได้ปาล์มทองคำหนังสั้น เป็นต้น ก่อนที่เราจะเห็นการเติบโตอย่างก้าวใหญ่หลังจากย่างเข้าสู่ปี
2010 เป็นต้นมาด้วยจำนวนหนังในอุตสาหกรรมหนังที่เพิ่มมากขึ้น และผู้กำกับทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่มีหนังตระเวนฉายตามเทศกาลหนัง
ต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการเติบโตของสตูดิโอหนังและเทศกาลหนังในประเทศยูเครน อาทิจำนวนหนังในเทศกาลแห่งชาติของยูเครน
“Molodist International Film Festival” ที่เพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่าตัวในปี 2010 เมื่อเทียบกับปีที่มีการก่อตั้ง และมีผู้ชมราวแสนคน, การถือกำเนิด
ขึ้นของเทศกาลน้องใหม่บริเวณเมืองท่าสำคัญอย่าง “Odesa International Film Festival” ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีการเติบโต
อย่างรวดเร็ว แม้จะเผชิญข้อโต้เถียงและวิจารณ์ทางการเมืองเป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีเทศกาลอื่นๆอีกเช่น Docudays ที่เป็นเทศกาลหนังที่มี
ประเด็นเกี่ยวกับมนุษยชนที่มีจัดอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นหนังยูเครนหลายเรื่องก็เริ่มประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศของประเทศ
รวมทั้งการออกกฎหมายเพื่อให้ทันของรัฐในปี 2017 ก็เป็นการสนับสนุนต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมหนังในประเทศนี้ซึ่งดูแล้วมีสเกลที่ก้าว
กระโดดและเติบโตกว่าหลายประเทศในแถบนี้ด้วย
(The Tribe, Myroslav Slaboshpytskiy) (Maidan, Sergey Loznitsa)
(The Earth is Blue as An Orange, Iryna Tsilyk) (Klondike, Maryna Er Gorbach)
(Atlantis, Valentyn Vasyanovych) (Bad Roads, Natalya Vorozhbit)
หลังจากเหตุการณ์ในปีของการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีและสงครามระหว่างยูเครนรัสเซียในปี 2014 ประเด็นและเนื้อหาในภาพยนตร์ของ
ประเทศนี้ดูจะสะท้อนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องที่เกิดมาก่อนหน้านี้แล้วอย่างนัยยะภูมิทัศน์พื้นหลังที่
สะท้อนผ่านหนังเรื่อง “The Tribe (2014)” ของผู้กำกับ ‘Myroslav Slaboshpytskiy” ที่ออกฉายที่คานส์ในปีที่เกิดปฏิวัติ ซึ่งจริงแล้วตัวสคริปต์
นั้นถูกเขียนไว้ตั้งแต่สามปีก่อนหน้านี้แล้ว หนังที่ชัดเจนที่สุดที่เล่าเหตุการณ์ตรงส่วนนี้ได้ชัดเจนคือสารคดีของผู้กำกับ “Sergey Loznitsa” อย่าง
“Maidan (2014)” ที่จับภาพการประท้วงโดยตรง นอกจากนี้เขายังมีหนังที่เขาฉายคานส์อีกเรื่องที่เล่าถึงสงครามที่เกิดขึ้นในภูมิภาคดอนบาสอ
ย่าง “Donbass” ในปี 2018 ซึ่งยังมีหนังจำนวนมากที่พูดถึงประเด็นสงครามและความขัดแย้งที่ตระเวนฉายตามเทศกาลหนังทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น
“Atlantis (2019)” ของ “Valentyn Vasyanovych” รวมทั้งหนังของเขาในเวนิสปีที่ผ่านมาอย่าง “Reflection (2021)” ด้วย, “No Obvious
Signs (2018)” และ “This Rain Will Never Stop (2020)” ของผู้กำกับ “Alina Gorlova”, “Cargo 200 of an Undeclared War (2015)”
ของสองผู้กำกับ “Masha Novikova” และ “Margreet Strijbosch”, “Finding Babel (2016)” ของ “David Novack”, “Mariupolis (2016)”
ของ “Mantas Kvedaravicius”, “This is a War, Baby (2017)” ของ “Yuriy Pupyrin”, “My Granny from Mars (2018)” ของ
“Alexander Mihalkovich”, “War Note (2020)” ของ “Roman Liubyi”, “The Earth is Blue as An Orange (2020)” ของ “Iryna
Tsilyk” หนังสารคดีประกวดซันแดนซ์ที่พูดถึงชีวิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือในต้นปีที่ผ่านมากับหนังฟิคชั่นสายประกวดของซันแดนซ์อย่าง
“Klondike (2022)” ของผู้กำกับ “Maryna Er Gorbach” ก็พูดถึงชีวิตของคนตามแนวชายแดนที่ได้รับผลกระทบในช่วงเริ่มสงคราม ซึ่งสิ่งเหล่านี้
เห็นได้ชัดเจนจากทิศทางการเลือกหนังเป็นตัวแทนชิงออสการ์ของยูเครนนับตั้งแต่ปี 2016 กับ “Ukrainian Sheriffs” ของผู้กำกับ “Roman
Bondarchuk”, ปี 2018 “Donbass” ของผู้กำกับ “Sergey Loznitsa”, ปี 2019 หนังสายรองคานส์ “Homeward” ของผู้กำกับ “Nariman
Aliev”, ปี 2020 “Atlantis (2019)” ของ “Valentyn Vasyanovych” และแม้แต่ในปีล่าสุดที่หยิบเอาหนังเวนิสอย่าง “Bad Roads” ของผู้
กำกับ “Natalya Vorozhbit”
หลังจากการรุกรานของรัสเซียเพื่อครอบครองยูเครนย่อมส่งผลร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมหนังของยูเครนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมือง
ใหญที่เป็นศูนย์กลางของเทศกาลหนังสำคัญของประเทศทั้งคีฟ และโอเดสซาตกอยู่ในควันของการสู้รบซึ่งไม่ส่งผลดีต่อใครครั้งนั้น การทำ
สงครามเพื่อตอบสนองต่อความมั่นคงของชายที่ติดอยู่กับมโนทัศน์ของอดีตเมื่อสามสิบปีที่แล้วกำลังท้าทายต่อความสวยงามของศิลปะและคุณค่า
ของชีวิตมนุษย์ที่เป็นนิรันดร์ ศิลปะจะคงอยู่ตลอดกาลแม้วันที่ร่างกายม้วยมลายกลายเป็นเศษดิน และเศษดินนั้นจะหลอมหลวมเป็นผืนดินหล่อ
เลี้ยงดอกทานตะวันให้งอกเงยงดงาม
Wind of Change, New Gen of Thai Socio-Political Films
ในขณะที่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราต่างเห็นหนังและสารคดีที่จับภาพการประท้วงหรือข้อวิพากษ์ทางการเมืองและสังคมอย่าง
ตรงไปตรงมาต่อผู้มีอำนาจจากเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงผ่านหนังและสารคดีจำนวนมากมายหลายเรื่องที่ตระเวน
ฉายในเทศกาลต่างๆทั่วโลกทั้งผู้กำกับที่หน้าคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐอำนาจนิยมจีนและเหล่าบรรดาผู้กำกับหน้าใหม่มากมายที่
แจ้งเกิดจากหนังสารคดีเหล่านี้เป็นเรื่องแรก ไม่เว้นแม้แต่เทศกาลหนังเมืองคานส์ที่เลือกที่จะหลบเลี่ยงแรงกดดันจากจีนในการเลือกฉายหนังสาร
คดีการประท้วงในฮ่องกงไว้เป็นความลับจนวินาทีสุดท้ายก่อนที่หนังจะฉายไม่นานนัก ซึ่งดูเหมือนว่าการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง
จะเป็นเรื่องราวที่มีจำนวนมากที่ถูกฉายบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลหรือเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ
นั้นพบว่ามีจำนวนที่แตกต่างกันพอสมควร
แม้ว่าในประเทศไทยเองจะมีหนังที่พูดถึงการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาอยู่บ้างอย่างในบันทึกสารคดีการประท้วงของ
กลุ่มกปปส. ของผู้กำกับ “สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์” ที่เรียบเรียงออกมาฉายหลายภาค ซึ่งก็เป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดผลงานหนึ่งของการ
บันทึกภาพของการประท้วงในไทยยุคหลังที่ถูกจัดทำและเรียบเรียงฉายในรูปแบบภาพยนตร์ขนาดยาว ในขณะที่แม้แต่ในปัจจุบันนั้นหนังที่
ย้อนกลับไปเล่าการประท้วงที่เกิดขึ้นในไทย แม้แต่ในห้วงเวลาอดีตที่ผ่านมาแล้วนั้นก็ยังหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับการฉายภาพสิ่งเหล่านั้นอย่าง
ตรงไปตรงมาซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดหูขัดตาผู้มีอำนาจในไทยค่อนข้างมาก (ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าฉงนที่ในช่วงเวลาหนึ่งหนังไทยกลับสามารถเล่าเรื่อง
เหล่านี้ได้ แม้จะไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดหรือสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังมากนัก อาทิ หนังอย่าง 14 ตุลาสงครามประชาชนของผู้กำกับ บัณฑิต
ฤทธิ์ถกล และอีกหลายๆเรื่องที่หยิบเอามาใส่เป็นเหตุการณ์ฉากหลัง) ดังนั้นหนังหลายเรื่องจึงเลือกที่จะสะท้อนห้วงเวลาและสื่อบทเรียนเหล่านั้น
ในรูปแบบที่แยบยลมากยิ่งขึ้นไปกว่าการเล่าอย่างตรงๆ ซึ่งเราอาจพบสิ่งเหล่านี้ได้บ้างในผลงานของนักศึกษา หรือหนังไทยที่ตระเวนฉายตาม
เทศกาลหนังต่างประเทศ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้บ่อยมากนักในช่วงเวลานั้น ที่มักพูดถึงเรื่องราวทางการเมืองหรือสังคมอย่าง
ตรงไปตรงมา
(Chulasphere, Kulapat Aimmanoj) (2020-2021 Thai Protests)
แต่ดูเหมือนว่าสายธารของการเปลี่ยนแปลงได้สร้างหมุดหมายลงในใจของคนรุ่นใหม่ที่กลับพบว่ากระแสการเปลี่ยนผ่านจากแรง
บันดาลใจในหนังรักชนชั้นกลางในเมืองแบบที่เห็นในหนังหลายเรื่อง หรือการจับเฟรมเล่าเรื่องของความสัมพันธ์ของชนชั้นกลางที่ไม่ได้พูดประเด็น
การเมืองและสังคมในเส้นเรื่องหลัก กระแสของสิ่งเหล่านี้ดูจะเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรในมุมมองของการทำหนังของนิสิตและนักศึกษารุ่นใหม่ๆ
การขยายพรมแดนเข้ามาตั้งคำถามในเชิงสังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างตรงไปตรงมาก และมีน้ำเสียงที่ชัดเจนดุดันมากยิ่งขึ้น หรืออย่าง
น้อยภาพของการพูดถึงปัญหาเชิงสังคมการเมืองรวมถึงวัฒนธรรมแบบในหนังไทยยุคก่อนก็เริ่มเห็นได้มากขึ้น มันไม่ใช้พรมแดนที่แตะต้องไม่ได้
เสียทีเดียว ในบันทึกของปีที่ผ่านมาหนังที่น่าจะเข้าถึงวงกว้างมากที่สุดเรื่องหนึ่งที่ตั้งคำถามกับชีวิตในสถาบันหัวอนุรักษ์นิยมชั้นนำอย่าง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเรื่อง “จุฬาธิปไตย” โดย “กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์” ที่ได้แรงสนับสนุนจากสภานิสิตฯของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ทำเป็นซีรี่ส์ตอนยาวก่อนที่จะนำมาตัดเป็นหนังยาวหลังจากนั้นก็เป็นกระแสที่ได้รับการพูดถึงในวงกว้างไม่น้อยทีเดียว
ในขณะที่สารคดีที่จับภาพล่าสุดของการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
และคาดว่าน่าจะเป็นหนังขนาดยาวเรื่องแรกๆที่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการคืองานสารคดีเรื่อง “Mob 2020-2021” ที่จับภาพการประท้วงของ
กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ร้อยเรียงเรื่องราวเกือบสองชั่วโมงของ “สุพงศ์ จิตต์เมือง” ซึ่งบันทึกทั้งช่วงเวลา และบรรยากาศสำคัญของการเรียกร้องให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทาการเมืองและสังคม รวมถึงการเคลื่อนไหวในเชิงวัฒนธรรมต่างๆของกลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งผู้เขียนเองหวังว่าตัวหนังจะมีโอกาสที่
จะได้ฉายในวงที่กว้างขึ้น และนำมาซึ่งการถกเถียงต่อไป สายธารของการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นในหัวใจของคนรุ่นใหม่ที่กล้าท้าทายต่อขนบ และ
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว และหวังว่ามันจะขยายต่อไปแบบที่เราเองได้เห็นในหนังและสารคดีที่บันทึกเรื่องราวของเหล่าผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตยใน
ฮ่องกง เพดานของการพูดถึงเรื่องราวต่างๆเริ่มขยับขยายตัวออกไปมากขึ้นแล้ว แต่ภาวนาอย่าให้อำนาจรัฐมันไปถึงขั้นสารคดีที่ฉายเบอร์ลินไปต้น
ปีนี้อย่าง “Myanmar Diaries” ที่แม้แต่คนทำเองก็ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเพราะสุ่มเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย
Hail to Indonesian Films, Long Live ASEAN Cinema
(One for the Road, Nattawut Poonpiriya) (Lemongrass Girl, Pom Bunsermvicha)
ปี 2021 อาจจะถือได้ว่าเป็นปีที่โดดเด่นอีกปีหนึ่งในรอบหลายสิบปีของวงการหนังจากประเทศอาเซียนโดยภาพรวมแม้ว่าในหลาย
ประเทศที่เป็นตลาดหนังที่สำคัญที่เห็นในงานเทศกาลทั่วโลกเป็นประจำอยู่แล้วอย่างกรณีของหนังฟิลิปปินส์อาจยังไม่ถือว่าหวือหวามากนัก ไม่เว้น
แม้แต่ในประเทศไทยปีที่ผ่านมานั้นถือเป็นปีที่โดดเด่นมากในรอบหลายปีที่หนังไทยได้มีโอกาสเข้าฉายในเทศกาลหนังใหญ่ทั่วโลก และหนังหลาย
เรื่องก็ได้รับรางวัลหรือได้กระแสพูดถึงในเทศกาลเหล่านั้นไม่น้อยทีเดียว เริ่มด้วยต้นปีกับเทศกาลหนังซันแดนซ์ที่ปรากฏชื่อของผู้กำกับไฟแรง
อย่าง “Nattawut Poonpiriya” ที่หนังภายใต้ความร่วมมือกับผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ระดับโลกอย่าง “หว่องกาไว” มีชื่อหนัง “One for the
Road” ปรากฏเข้าฉายในสายประกวด “World Cinema Dramatic” ก่อนที่จะคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการไปครองได้ในท้ายที่สุด แม้ว่าหนังเรื่อง
นี้จะหายเงียบจากการตระเวนฉายตามเทศกาลหลังจากนั้นไปพอสมควรก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งเทศกาลหนังซันแดนซ์ยังไม่จบลงเสียทีเดียว
นัก ในฟากของยุโรปเทศกาลสำหรับนักทำหนังหน้าใหม่ของยุโรปอย่างรอตเตอร์ดามก็ได้เปิดฉากขึ้นหนังไทยกึ่งทดลองวิพากษ์การเมืองและ
สังคมไทยของผู้กำกับ “Taiki Sakpisit” อย่าง “The Edge of Daybreak” ได้เข้าประกวดในสายประกวดหลักของเทศกาลอย่าง “Tiger
award” ก่อนที่จะคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์นักวิจารณ์นานาชาติไปครองได้ นอกจากนี้ยังมีหนังสั้นไทยที่ได้ฉายในเทศกาลด้วยทั้ง
“Lemongrass Girl” และ “Underground Cemetery” นอกจากนี้ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเทศกาลหนังเบอร์ลินก็ได้ปรากฏชื่อของหนังใหม่กึ่งทดลอง
ที่ยังคงวิพากษ์สังคมการเมืองไทยเช่นเดิมของ “Anocha Suwichakornpong” อย่างเรื่อง “Come Here” ได้เข้าฉายแบบเงียบๆในสาย Forum
ของเทศกาล ก่อนที่หนังสองเรื่องที่พูดถึงช่วงหลังนี้จะตระเวนฉายตามเทศกาลหนังอื่นๆต่อไปอีก นอกจากนี้หนังสารคดีทดลองของ “Prapat
Jiwarangsan” เรื่อง “Ploy” ซึ่งพรีเมียร์ไปแล้วในเทศกาลหนังสิงคโปร์ปีก่อนหน้าก็ถูกเลือกฉายในเทศกาลหนังเบอร์ลินด้วย
(Soul Prison, Nipan Chawcharernpon) (The Medium, Banjong Pisanthanakun)
(New Abnormal, Soroyos Prapapan) (Danse Macabre, Phassarawin Kulsomboon & Thunska Pansittivorakul)
ผ่านมาถึงช่วงเทศกาลหนังกลางปีบ้างแม้ว่าในเทศกาลหนังเมืองคานส์อาจไม่มีหนังที่พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนังไทย แต่หนังโคลอมเบีย
ภายใต้การกำกับของผู้กำกับชาวไทยระดับโลกอย่าง “Apichatpong Weerasethakul” ก็พาหนังต่างชาติของตัวเองเรื่องแรก “Memoria” เข้าไป
ฉายในสายประกวดหลักของเทศกาลอย่างปาล์มทองคำได้ก่อนที่จะคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการมาครอง ขยับมาอีกซีกโลกหนึ่งพบการปรากฏกาย
ของหนังไทยหลายเรื่องในเทศกาลสำคัญที่จีนพยายามปั้นเป็นเทศกาลเทียบชั้นฮ่องกงและม้าทองคำของไต้หวันอย่างเทศกาลหนังเซี่ยงไฮ้ มีหนัง
ไทยปีเก่าและใหม่เข้ามาตระเวนฉายอาทิ “Lotus Never Dies” ของผู้กำกับ “Amorn Harinnitisuk” และ “Soul Prison” ของผู้กำกับ “Nipan
Chawcharernpon” เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างมากนัก ซึ่งหนังที่คว้ารางวัลสูงสุดของเทศกาลไปก็เป็นหนังอาเซียนบ้านใกล้
เรือนเคียงกับไทยเราซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป ย่างเข้าเดือนกรกฎาคมเทศกาลหนังมหัศจรรย์ที่รวมบรรดาหนังสยองขวัญ หนังทดลอง และ
หนังไซไฟเข้าไว้ด้วยกันก็ปรากฏรายชื่อของหนังไทยเข้าไปเฉิดฉายในเทศกาลทั้ง “Dark World” ของผู้กำกับ “Jittsint Pongintarakul” และการ
เข้าประกวดของหนังเรื่องล่าสุดที่ร่วมทุนกับเกาหลีและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้กำกับระดับโลกอย่างนาฮงจิน หนังเรื่อง “The Medium” ของ
“Banjong Pisanthanakun” ก็คว้ารางวัลหนังที่ดีที่สุดของปูซอนไปครองได้ และสร้างแรงกระเพื่อมให้กับตลาดหนังเกาหลีใต้รวมถึงกระแสพูดถึง
ในประเทศไทยเช่นกัน เขยิบมาอีกเทศกาลที่เก่าแก่ที่สุดเทศกาลหนึ่งของโลกอย่างโลการ์โน แม้ไม่มีหนังไทยขนาดยาวเข้าไปฉาย แต่หนังสั้นเรื่อง
“Squish!” ของผู้กำกับ “Tulapop Saenjaroen” ก็ถูกเลือกเข้าฉายในเทศกาลนี้ เริ่มต้นกับเทศกาลหนังปลายปีด้วยเทศกาลหนังเวนิสหนังเรื่อง
ใหม่กึ่งทดลองของผู้กำกับ “Jakrawal Nilthamrong” ถูกเลือกฉายในสายประกวดรองของเทศกาลกับเรื่อง “Anatomy of Time” และได้
ตระเวนฉายตามเทศกาลอื่นๆหลังจากนั้น ในขณะที่หนังสั้นไทยเรื่อง “New Abnormal” ของ “Sorayos Prapapan” ก็ได้รับเลือกเข้าไปฉายใน
เทศกาล ในขณะที่เทศกาลหนังขนาดรองลงมาอย่าง Doclisboa ก็เลือกหนังเรื่อง “Danse Macabre” หนังที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้กำกับ
“Phassarawin Kulsomboon” และ “Thunska Pansittivorakul” ซึ่งรายหลังนั้นอาจเป็นที่คุ้นเคยในเทศกาลนี้มาก่อนแล้ว ปิดท้ายด้วยเทศกาล
หนังฝั่งเอเชียอย่างปูซานที่แม้ไม่มีการพรีเมียร์ของหนังไทยในเทศกาลแต่ซีรี่ส์ของไทยอย่าง “Girl from Nowhere” และ “Bad Genius: The
Series” ก็ได้รับรางวัล “Best Asian TV Series” และ “Creative Beyond Border” ไปตามลำดับ นี่อาจเป็นปีที่สำคัญของหนังไทยอีกปีหนึ่ง
หากแต่ว่าจะกลายเป็นแสงวูบวาบแล้วจางหายไปแบบที่เคยเป็นหรือท้ายที่สุดแล้วจะได้รับการใส่ใจผลักดันที่เพิ่มมากขึ้นของภาครัฐหลังจากนี้ก็จะ
ทำให้อนาคตของหนังไทยสดใสและยั่งยืนถาวร
(Money Has Four Legs, Muang Sun) (What Happened to the Wolf?, Na Gyi)
ในขณะที่หันไปมองประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับเรารวมทั้งอยู่ในคาบสมุทรด้วยแล้วนั้นประเทศที่ชะตากรรมน่าเห็นใจมากที่สุด
คือเมียนมาร์ วงการหนังเมียนมาร์กำลังเติบโตเรื่อยๆและอนาคตกำลังสดใสมากขึ้นเรื่อยๆ แม้เราอาจจะเห็นหนังส่วนใหญ่ของประเทศนี้มาจาก
ภายใต้การผลิตและการกำกับของคนต่างชาติ หรือคนเมียนมาร์ที่ไปเติบโตต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหนังที่เล่าเรื่องวิกฤติผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาที่เรา
เห็นผ่านหนังสารคดีหลายเรื่อง แม้แต่หนังที่ว่าด้วยชีวิตของผู้คนในเมียนมาร์ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังที่พูดผ่านคนต่างชาติทั้ง เรื่องราวของหนุ่มคะฉิ่น
ใน “The Bad Man” ที่กำกับโดยชาวไต้หวันชื่อ “Lee Yong-chao” หรือเรื่องราวของครอบครัวในเขตมะกเวในตอนกลางของเมียนมาร์ที่ทำ
อาชีพขุดน้ำมันขายด้วยมือเปล่าของพวกเขาที่ถูกเล่าผ่านหนังสารคดีเรื่อง “A Thousand Fires” ซึ่งก็กำกับโดยผู้กำกับลูกครึ่งอังกฤษปาเลสไตน์
อย่าง “Saeed Taji Farouky” ซึ่งประสบความสำเร็จถึงการคว้ารางวัลในสัปดาห์นักวิจารณ์ในเทศกาลหนังโลการ์โน ในขณะเดียวกันนั้นชื่อของผู้
กำกับชาวเมียนมาร์ที่โดดเด่นอย่างมากในปีที่ผ่านมาอย่าง “Maung Sun” หลังจากหนังเรื่องแรกของเขาอย่าง “Money Has Four Legs”
พรีเมียร์ที่เทศกาลหนังปูซานก่อนที่จะตระเวนฉายในเทศกาลสำคัญทั่วโลกทั้ง ฉายที่อูดิเน, เวิร์กช็อบที่คานส์ และ ฉายที่โลการ์โน ซึ่งเป็นที่
สุดท้ายที่หนังของเขาเดินทางไปหลังจากที่คู่หูของเขาที่ทั้งช่วยเขียนบทและโปรดิวซ์หนังเรื่องนี้อย่าง “Ma Aeint” ถูกจับและตั้งข้อหาโดยเผด็จ
การทหารของ “มิน อ่อง ลาย” ซึ่งหนังเรื่องนี้ของเขาถูกกระบวนการเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวด เธอถูกปฏิบัติดุจนักโทษการเมืองในข้อหาตามมาตรา
505A ซึ่งถูกแก้เมื่อไม่นานมานี้โดยอ้างเรื่องการแพร่ความกลัว ข่าวปลอม และความระคายเคืองต่อรัฐบาล นอกจากความสำเร็จในเวทีโลกของ
หนังเมียนมาร์โดยผู้กำกับชาวเมียนมาร์เรื่องนี้แล้ว ยังมีหนังของผู้กำกับชาวเมียนมาร์อีกคนที่พรีเมียร์อย่างเงียบๆในเทศกาลหนังในเยอรมันอย่าง
เรื่อง “What Happened to the Wolf?” ของผู้กำกับ “Na Gyi” ที่เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ล่มสลายลงหลังลูกสาวที่ป่วยเป็น
มะเร็งพยายามฆ่าตัวตาย หนังคว้ารางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมได้ที่เทศกาลนี้ ก่อนที่จะเดินทางไปคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังของ
ติมอร์เลสเต หนังมีประเด็นละเอียดอ่อนในลักษณะความสัมพันธ์แบบ LGBT ที่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศนี้อยู่เป็นส่วนผสมด้วย หลังจาก
รัฐประหารโดยกองทัพผู้กำกับและนักแสดงในหนังเรื่องนี้ถูกออกหมายจับ นักแสดงสาวที่ได้รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมที่เยอรมันถูกจับ ส่วน
นักแสดงอีกคนและผู้กำกับต้องหลบหนี ซึ่งหลังจากที่รัฐเผด็จการเมียนมาร์ตัดการสื่อสารกับโลกไปก็ไม่มีใครทราบชะตากรรมของพวกเขา
เหล่านั้น ซึ่งรวมถึงนักแสดงและคนในวงการบันเทิงอีกจำนวนมากที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารที่ขาดความชอบธรรมของกองทัพเมียนมาร์ ถ้า
เราเขยิบไปมองถึงวงการหนังในภาพรวมของหนังสั้นจำนวนมากของผู้กำกับชาวเมียนมาร์แท้ๆนั้นถือกำเนิดเยอะมาก และการลงทุนของ
อุตสาหกรรมหนังต่างชาติในเมียนมาร์ก็เห็นได้เยอะก่อนที่มันจะมลายหายไปหลังจากรัฐประหารและชะตากรรมของอุตสาหกรรมหนังเมียนมาร์
นั้นก็ดูมืดมนลงในทันที มันคงตรงกับคำพูดที่ว่าศิลปะนั้นไม่อาจเบ่งบานได้ใต้อำนาจเผด็จการ
(White Building, Kavich Neang) (Tiong Bahru Social Club, Bee Thiam Tan)
ในประเทศรอบบ้านเราที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสค่อนข้างชัดเจน และในสายของผู้กำกับชั้นครูอย่าง “Rithy Panh” ที่คุมวงการหนัง
นอกกระแสและเวทีรางวัลต่างประเทศของหนังที่มาจากกัมพูชาเอาไว้อย่างชัดเจนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาดูจะไม่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากนักใน
ปีที่ผ่านมา หนังที่ดูโดดเด่นมากที่สุดเห็นจะเป็นตัวแทนส่งชิงออสการ์อย่าง “White Building” ของผู้กำกับ “Kavich Neang” ที่เรื่องราวเหมือน
เป็นภาคต่อของหนังสารคดีแจ้งเกิดของเขาเมื่อสองปีก่อนอย่าง “Last Night I Saw You Smiling” ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวของบ้านของพวกเขาที่
กำลังจะถูกรื้อถอนท่ามกลางความฝันที่ไม่ได้งดงามนักในเมืองหลวงอย่างพนมเปญ หนังเข้าฉายในสายรองของเทศกาลหนังเวนิสและคว้ารางวัล
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมไปครอง ซึ่งแน่นอนว่าเขากลายเป็นผู้กำกับชาวกัมพูชาดาวรุ่งที่น่าจับตามองที่สุดในเวลานี้ ในทางกลับกันหนังอีกเรื่อง
หนึ่งที่ดูสร้างกระแสฮือฮามากกว่าที่คาดการณ์กันคือหนังจากเทศกาลเดียวกัน แต่มาจากการฉายเปิดในสัปดาห์นักวิจารณ์อย่างเรื่อง
“Karmalink” ที่ประพฤติตัวเป็นหนังไซไฟโลกอนาคตสุดล้ำที่ผสมผสานกับการพูดถึงเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดแบบภพชาติของศาสนา
พุทธ ซึ่งเป็นมุมมองที่แปลกใหม่และน่าสนใจสำหรับหนังจากกัมพูชาไม่น้อยแม้ว่ามุมมองของหนังจะมาคนภายนอกซึ่งเป็นผู้กำกับอย่าง “Jake
Wachtel” ก็ตามที เดินทางขึ้นมายังประเทศพรมแดนตอนเหนืออย่างลาวบ้าง แม้ว่าในปีที่ผ่านมาเราอาจจะไม่ได้เห็นหนังจากผู้กำกับในประเทศ
นี้มากนัก ผู้กำกับหลายคนที่โดดเด่นในประเทศนี้อาทิ “Mattie Do” เองก็ยังไม่มีหนังใหม่ยกเว้นการเอาหนังเก่าไปฉายในต่างประเทศอย่าง
เทศกาลหนังโลคาร์โน ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นผลงานจากผู้กำกับต่างชาติที่เข้าไปเล่าเรื่องราวของคนในพื้นที่มากกว่าอย่างเช่นในปีที่ผ่านมา
สารคดีที่พูดถึงล้มเหลวของสหรัฐฯที่วางแผนเข้าไปกอบกู้ระเบิดที่หลงเหลือจากยุคสงครามในลาวของผู้กำกับ “Jerry Redfern” และ “Karen
Coates” อย่างเรื่อง “Eternal Harvest” ย้อนลงมาทางใต้กับประเทศสิงคโปร์ที่พอมีผู้กำกับในระดับโลกอยู่หลายคน แต่ปีที่ผ่านมาถือว่า
ค่อนข้างเงียบเหงาไม่น้อยกับสิงคโปร์ในเวทีโลกที่แม้แต่การส่งชื่อไปออสการ์ก็ไปเลือกหนังลูกครึ่งสิงคโปร์ไต้หวันเมื่อปีก่อนซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักมาก
นัก หนังที่ดูจะตระเวนไปตามที่ต่างๆมากที่สุดในปีที่ผ่านมาคือ “Tiong Bahru Social Club” หนังตลกร้ายของผู้กำกับ “Bee Thiam Tan” ที่
พรีเมียร์ในเทศกาลหนังปูซานไปเมื่อสองปีก่อน ก่อนที่เดือนถัดมาจะเป็นหนังเปิดของเทศกาลหนังสิงคโปร์ ดูเหมือนว่าสามประเทศนี้จะไม่ค่อยมี
หนังที่หวือหวาให้พูดถึงมากนักในปีที่ผ่านมา
(Barbarian Invasion, Chui Mui Tan) (Hail, Driver!, Muzzamer Rahman)
ขยับขึ้นมาในประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซีย ซึ่งค่อนข้างหน้าแปลกใจที่มาเลเซียไม่เลือกหนังของผู้กำกับ “Chui Mui Tan” อย่าง
“Barbarian Invasion” ซึ่งเป็นทั้งหนังใหม่ที่พรีเมียร์ในปีที่ผ่านมา ได้ฉายในประเทศตัวเองแล้ว และตัวหนังเองก็คว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมจาก
เทศกาลหนังเซี่ยงไฮ้ไปด้วย แม้ว่าตัวหนังเองจะค่อนข้างมีประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับศาสนาค่อนข้างชัดเจนไม่น้อย
และมีนักแสดงนำเป็นหญิงเชื้อสายจีน ซึ่งอาจจะทำให้ประเด็นตรงนี้ไม่ถูกจริตกรรมการที่เลือกหนังไปไม่น้อยก็เป็นได้ ในขณะที่หนังที่ถูกเลือกไป
นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งตัวนักแสดงนำ และมุมมองที่มองชีวิตในมุมบวกกับชีวิตในกัวลาลัมเปอร์ภายหลังที่ตัวละครนำของเรื่องต้อง
สูญเสียพ่อไป หนังขาวดำเรื่องนี้มีชื่อว่า “Hail, Driver!” ของผู้กำกับ “Muzzamer Rahman” ซึ่งพึ่งมีหนังเรื่องแรกในปีเดียวกันนี่เอง หนังเปิดตัว
อย่างเงียบๆที่เทศกาลหนังในอินโดนีเซียไปเมื่อสองปีก่อน และเดินสายประปรายในเทศกาลต่างๆไม่มากนัก หนังดราม่าแฟนตาซีอย่าง “The
Story of Southern Islet” ของผู้กำกับ “Keat Aun Chong” ที่พรีเมียร์ไปที่เทศกาลหนังม้าทองคำเมื่อสองปีก่อนและกวาดรางวัลทั้งผู้กำกับ
หน้าใหม่ยอดเยี่ยมและรางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์นักวิจารณ์นานาชาติไปครองก่อนจะติดเครื่องเร่งเข้าฉายในเทศกาลหนังสำคัญทั่วโลกใน
ปีถัดมา แม้ตัวเลขของหนังจากมาเลเซียอาจไม่ได้หวือหวามากนัก แต่มีหนังที่น่าสนใจทั้งนั้นเลย กระโดดข้ามมาพูดถึงประเทศทางเหนือของ
อาเซียนที่มีชายทะเลยาวที่สุดในคาบสมุทรอย่างเวียดนามที่มีหนังทดลองฮือฮาจากเทศกาลหนังเบอร์ลินตั้งแต่ต้นปีอย่าง “Taste” ของผู้กำกับ
“Bao Le” ซึ่งเป็นหนังกึ่งทดลองที่วิพากษ์ชีวิตและสังคมของชนชั้นกลางถึงล่างที่ถูกละทิ้งจากสังคม ซึ่งเซ็ตฉากหลังที่ดำมืดแสงขมุกขมัวเหมือน
หนังผู้กำกับชั้นครูจากละตินหลายๆคนได้ดีทีเดียว หนังคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการพิเศษจากสาย “Encounters” ที่เบอร์ลิน และ รางวัลกำกับ
ภาพยอดเยี่ยมร่วมกับ “Young Cinema” จาก “Asia Pacific Screen Awards” ยังรวมถึงกรังปรีซ์จากเทศกาลหนังไทเปด้วย ในขณะที่ฟาก
สารคดีหนังจากเวียดนามที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งใน IDFA คือ “Children of the Mist” ที่คว้ารางวัลกำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลไป หนัง
ใช้ความสนิทสนมของผู้กำกับ “Diem Ha Le” และเพื่อนชาวม้งของเธอโดยการจับภาพชีวิตของเพื่อนที่เจอมรสุมบนเส้นรอยต่อระหว่างความเป็น
โลกใหม่ของเวียดนามและวัฒนธรรมเก่าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่จับผู้หญิงแต่งงาน นี่คือตัวอย่างหนังเวียดนามสองเรื่องที่มีความโดดเด่นในเวที
นานาชาติไม่น้อย แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วเวียดนามจะตัดสินใจส่งหนังทำเงินบนบ็อกซ์ออฟฟิศไปเป็นตัวแทนชิงออสการ์ก็ตาม
(Taste, Bao Le) (Children of the Mist, Diem Ha Le)
(On the Job: The Missing 8, Erik Matti) (Last Days at Sea, Venice Atienza)
ข้ามมายังเกาะอีกแห่งหนึ่งของอาเซียนที่ถือได้ว่าอุตสาหกรรมหนังของประเทศนี้มีความหลากหลายและมีจำนวนหนังและนักทำหนัง
หน้าใหม่เกิดขึ้นทุกปี มีหนังตระเวนเข้าฉายตามเทศกาลหนังต่างๆเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แม้จะยังคงมีจำนวนหนังที่ค่อนข้างเยอะที่ตระเวนเข้า
ฉายตามเทศกาลหนังแต่ดูเหมือนว่าในปีที่ผ่านมาฟากฝั่งประเทศอย่างฟิลิปปินส์ดูจะไม่ได้มีความโดดเด่นไปกว่าปีก่อนๆมากนัก ยังคงมีหนังของผู้
กำกับที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง “Lav Diaz” ที่ส่งหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดในอาชีพของเขาเข้าฉายในเทศกาลหนัง “BFI London” อย่างเงียบๆ กับหนัง
ความยาวมาตรฐานสี่ชั่วโมงนิดๆกับเรื่อง “History of Ha” ที่พูดถึงโลกใหม่ผ่านเรือเมย์ฟลาวเวอร์และการอุทิศสรรเสริญแด่ประธานาธิบดีที่คน
ฟิลิปปินส์รักที่สุดอย่างแมกไซไซ ส่วนผู้กำกับมือทองอย่าง “Brillante Mendoza” ก็ทำหนังถึงสามเรื่องในปีนี้แต่ก็ค่อนข้างเงียบมีหนังเรื่อง
“Payback” ที่เข้าฉายอย่างเงียบๆในเทศกาลหนังโตเกียว หนังยังเป็นหนังที่เราคุ้นเคยกันดีกับผลงานของเขาชีวิตในสลัม อาชญากรรมและการ
ล้างแค้น ส่วนหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับ “Erik Matti” อย่างหนังภาคต่อ “On the Job: The Missing 8” ก็ได้รับการตอบรับที่ดีในระดับหนึ่ง
หนังสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในเทศกาลหนังเวนิสในสายการประกวดหลักไปครองได้ หนังของผู้กำกับหน้าใหม่ที่น่าสนใจและ
โดดเด่นในปีที่ผ่านมาเริ่มจากหนังสารคดีเรื่อง “Last Days at Sea” ของผู้กำกับ “Venice Atienza” เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มที่กำลังจะตัดสินใจ
ย้ายจากบ้านที่เป็นเกาะห่างไกลไปเรียนต่อและใช้ชีวิตในเมือง สารคดีจับภาพช่วงวันท้ายๆของเขาที่กำลังจะจากบ้านไป แต่หนังจากฟิลิปปินส์ที่
เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงมากที่สุดของปีที่ผ่านมาคือ “Whether the Weather is Fine” หนังของผู้กำกับ “Carlo Francisco Manatad” เรื่องราวกึ่งด
ราม่าแฟนตาซีเล่าเรื่องราวของชายหนุ่มที่เดินทางตามหาสิ่งของและคนสำคัญหลังซุปเปอร์ไต้ฝุ่นโยลันดาถล่มบ้านเกิดของเขาหนังผนวกเรื่องราว
เข้ากับความเชื่อทางศาสนาคริสต์และความเชื่อเรื่องเรือโนอาห์ได้ดีเยี่ยมทีเดียวหนังเข้าฉายในสายประกวดรองของเทศกาลหนังโลคาร์โนและคว้า
รางวัลกรรมการรุ่นจูเนียร์ในสายไปครองได้ก่อนที่หนังจะตระเวนฉายเทศกาลสำคัญที่เหลือทั่วโลกอีกหลายเทศกาล หนังเรื่องนี้กลายเป็นดาวรุ่ง
จากฟิลิปปินส์ที่ถูกพูดถึงอย่างมาก เป็นหนังฟิคชั่นเรื่องแรกในชีวิตของผู้กำกับตามหลังงานสารคดีขนาดยาวเมื่อสามปีที่แล้วที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
(Death Knot, Cornelio Sunny) (Photocopier, Wregas Bhanuteja)
แน่นอนว่าจากชื่อที่เกริ่นไว้บนหัวบทความข้างต้นแล้วประเทศที่จะเอามาปิดท้ายคือ อินโดนีเซีย นั่นเอง หลังจากที่วงการหนังของ
อินโดนีเซียไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงมากนัก และขาดหายจากความจดจำของประชากรโลกไปนานพอสมควร มีแรงกระเพื่อมจากวงการหนังนอกกระแส
ออกมาเป็นพักๆ หลังจากความสำเร็จของหนังแอคชั่นที่มีกลิ่นไอเฉพาะตัวเมื่อสิบปีก่อนและตามมาด้วยหนังสารคดีทรงพลังเหล่านั้นทำให้กระแส
ของวงการหนังอินโดนีเซียดูจะขยายตัวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เริ่มต้นจากการที่ “Death Knot” หนังสยองขวัญคำสาปซึ่งดูจะเป็นประเภทของ
หนังที่เด่นมากจากประเทศนี้ซึ่งกำกับโดย “Cornelio Sunny” ถูกเลือกเข้าฉายในเทศกาลหนังตะวันออกไกลอูดิเน่ แม้จะตามมาด้วยข้อถกเถียง
ถึงคุณภาพของตัวหนังแต่มันก็กลายเป็นหนังที่เป็นที่จดจำในพื้นที่สื่อภาพยนตร์ไม่น้อยที่จะต้องพูดถึงหนังเรื่องนี้ ซึ่งสำหรับสื่อบางสำนักได้ยกให้
ติดลิสต์หนังยอดเยี่ยมจากอาเซียนประจำปีเลยก็มี แม้หลังจากนั้นมาหนังจากประเทศอินโดนีเซียดูจะเงียบๆไป มีเพียงหนังที่ยังตีตลาดบ็อกซ์
ออฟฟิศหรือสตรีมมิ่งเป็นระยะ แต่กลายเป็นว่ากระแสของหนังอินโดนีเซียกลับมาพุ่งแรงและฟาดแรงมากในช่วงปลายปีเริ่มจากเทศกาลหนังโล
คาร์โน เมื่อหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับ “Edwin” อย่าง “Vengeance is Mine, All Others Pay Cash” เข้าฉายในสายประกวดหลักของ
เทศกาลและคว้ารางวัลสูงสุดของหนังยอดเยี่ยมในสายไปครองได้ ด้วยสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์และการวิพากษ์สังคมการเมืองในหนังด้วยลีลาที่
แปลกตาทำให้หนังเรื่องนี้ถูกจดจำได้ไม่ยากเย็นนัก ถัดมาเพียงเดือนเดียวที่เทศกาลหนังโตรอนโตหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับดาวรุ่งที่นำเสนอ
เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสังคมและวัฒนธรรมอินโดนีเซียในหนังของเธอได้อย่างชัดเจนเห็นได้จากหนังเรื่อง “The Seen and Unseen” หนัง
ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้กำกับ “Kamila Andini” ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับดาวรุ่งที่ทั่วโลกจับจ้องด้วยการคว้ารางวัลกรังปรีซ์ในสาย
“Generation Kplus” ของเทศกาลหนังเบอร์ลินในปีนั้น และหนังเรื่องนี้เองก็เข้าฉายในสาย “Platform” ของเทศกาลหนังโตรอนโต ก่อนที่อีกสี่ปี
ถัดมาหนังเรื่อง “Yuni” จะเข้าฉายในสายเดียวกันนี้และคว้ารางวัลหนังเยี่ยมของสายไปครอง ซึ่งตอกย้ำว่าเธอกลายเป็นผู้กำกับเทียบชั้นผู้กำกับ
เก่งๆระดับโลก หนังอีกเรื่องหนึ่งของอินโดนีเซียที่อดพูดถึงไม่ได้เลยนั่นคือหนังที่เข้าประกวดในเทศกาลหนังปูซานเทศกาลหนังสำคัญจากซีกเอเชีย
อย่าง “Photocopier” หนังขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ “Wregas Bhanuteja” ที่ถึงแม้จะไม่ได้ถูกจดจำมากนักจากเทศกาลของเกาหลีใต้ แต่
กลายเป็นว่าเมื่อหนังที่อินโดนีเซียหนังสร้างแรงกระเพื่อมด้วยการกวาดถึงสิบสองรางวัลจากการเข้าชิงสิบหกรางวัล ก่อนที่จะลงฉายทางสตรีม
มิ่ง
นอกจากนี้หนังหลายหนังหลายเรื่องยังเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าลักษณะของหนังอินโดนีเซียที่เป็นหนังที่มีคาแรคเตอร์ลึกลับ
อาชญากรรมสืบสวนสอบสวนเพื่อค้นหาความจริงที่ซ่อนอยู่ รวมทั้งหนังแอคชั่นเอาชีวิตรอดเป็นสินค้าส่งออกที่ประเทศทั่วโลกให้ความสนใจไม่
น้อยไม่ว่าจะเป็นหนังเรื่อง “Paranoid” ของผู้กำกับ “Riri Riza” หนังดราม่าครอบครัวพล็อตลึกลับที่ได้เข้าฉายที่เทศกาลหนังปูชอน และ
“Preman” ของผู้กำกับ “Randolph Zaini” เรื่องราวการเอาตัวรอดหลังไปเจอการฆาตกรรมสุดสยดสยอง หนังได้ฉายที่แฟนตาสติกเฟสที่
ออสตินและเซี่ยงไฮ้ ก่อนที่หนังทั้งสองเรื่องจะได้เข้าชิงรางวัลในบ้านเกิดตัวเอง นี่ถือเป็นปีที่สำคัญของหนังอินโดนีเซีย และแน่นอนว่าหนังจาก
อาเซียนที่ผลักดันให้ผู้กำกับที่เคยมีผลงานอยู่แล้วเป็นที่รู้จักในระดับสากลมากขึ้น และแจ้งเกิดผู้กำกับหน้าใหม่หลายคน ซึ่งหวังว่าเราจะเห็น
วงการหนังทั้งหนังทำเงินและหนังรางวัลในอาเซียนเติบโตยิ่งขึ้นไปในอนาคต
(Paranoid, Riri Riza) (Preman, Randolph Zaini)
List of Myanmar Artists missing or captured by military dictatorship
Ma Aeint (film producer) Htun Zaw Win (director, actor) Christina Kyi (director) and Zen Kyi (actor)
Pyay Ti Oo (actor) Eindra Kyaw Zin (actress) May Toe Khing (actress) Ye Deight (actor)
Zin Waing (actor) Zarganar (actor) Po Po (singer, performance artist) Myo Thandar Tun (actress)
Athen Cho Swe (singer) Min Htin Ko Ko Gyi (director). Saw Phoe Khwar (singer)
And others that we don’t know… Please stay safe.
Thurein Lwin Lin Thit (actor)
Khin Min Khant (actor)
Zhan Qi (actress)
Kristina Qi (director)
1. Who’s Stopping Us (Jonas Trueba, 2021)
ความคลุมเครือของพรมแดนงานสารคดีและเรื่องแต่งถูกขมวดไว้อย่างน่าสนใจภายใต้โครงเรื่องของการเติบโตก้าวผ่านวัยและจิต
วิญญาณของหนุ่มสาวที่โหยหายการเปลี่ยนแปลง และการอุบัติขึ้นของโรคระบาดที่เปลี่ยนช่วงวัยของพวกเขาไปตลอดกาล
2. Mr. Bachmann and His Class (Maria Speth, 2021)
สารคดีอันเปี่ยมเสน่ห์ที่ร้อยเรียงเรื่องราวอย่างเป็นธรรมชาติด้วยการเล่าเรื่องเชิงสำรวจความสัมพันธ์และความรู้สึกของตัวละครที่
เกิดขึ้นในชั้นเรียน มันเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจและการแทรกสอดของความรู้สึกที่สะท้อนมนุษยนิยม
3. History of Ha (Lav Diaz, 2021)
หนังขาวดำจับช่วงเวลาเริ่มต้นของยุคมืดฟิลิปปินส์ภายหลังการสูญเสียแมกไซไซ และประเทศเริ่มดำดิ่งสู่เงามืด หนังเปี่ยมไปด้วย
ประวัติศาสตร์ของความเศร้าโศก และความหวังที่กร่อนทลายลงอย่างต่อเนื่องในทุกขณะที่หนังเดินเรื่องไปข้างหน้า
4. The Tsugua Diaries (Miguel Gomes, Maureen Fazendeiro, 2021)
ไดอารี่ของความรักและความเศร้าที่คลุกเคล้าด้วยเวทมนต์ของการระลึกถึงในช่วงเวลาที่โรคระบาดลดทอนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ด้วยกันลง หนังเต็มไปด้วยห้วงคำนึงของความรู้สึกและความฝันในยามค่ำคืนของฤดูร้อน
5. Drive My Car (Ryusuke Hamaguchi, 2021)
งานดัดแปลงที่เปี่ยมด้วยมนต์ของการจับจ้อง ความผิดปกติวิสัยถ่ายทอดอย่างคลุมเครือทว่ามีชั้นเชิง ความสัมพันธ์อันไร้พรมแดนของ
ความรู้สึกถูกยืดยาวออกไปไร้จุดสิ้นสุด การบรรจบของอดีตและปัจจุบันสร้างความซับซ้อนของความรู้สึกได้อย่างมีเสน่ห์
6. Petite Maman (Celine Sciamma, 2021)
การประนีประนอมของความเศร้าและการสูญเสีย การลาจากเป็นภาพฝันของห้วงวัยเด็กอันแสนเจ็บปวดแต่งดงาม เรื่องราวอันเรียบ
ง่ายถูกร้อยเรียงผ่านชั้นเชิงของการถ่ายทอดความรู้สึกที่ผสานกับบรรยากาศที่รายล้อมตัวละครได้อย่างงดงาม
7. Flee (Jonas Poher Rasmussen, 2021)
งานสารคดีที่ผสมผสานงานแอนิเมชันสำรวจความเจ็บปวดที่ถูกปิดตายมานานหลายทศวรรษ การร้อยเรียงความรู้สึกของคำว่าบ้าน
ผ่านการสำรวจตัวตนที่ถูกละทิ้ง นี่คือผลงานอันเปี่ยมด้วยความรู้สึกที่แตกสลายและเยียวยาผ่านกาลเวลา
8. Wheel of Fortune and Fantasy (Ryusuke Hamaguchi, 2021)
เสน่ห์ของโชคชะตาที่เต็มไปด้วยดินแดนของความรู้สึกที่ลึกลับถูกบอกเล่าด้วยท่าทีที่ขมวดทบกันไม่เป็นเส้นตรง หนังซ้อนความรู้สึกของ
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้อย่างน่าสนใจ และมีแง่มุมของความแปลกประหลาดน่าค้นหา
9. Licorice Pizza (Paul Thomas Anderson, 2021)
หนังที่แสนจะเรียบง่ายของผู้กำกับที่เล่าความสัมพันธ์อย่างละเอียดอ่อนของคนต่างช่วงวัยสองคนท่ามกลางบรรยากาศและการเล่า
เรื่องที่ผสานกันอย่างลงตัว งานที่ถูกออกแบบอย่างประณีตไต่ระดับความซับซ้อนของมนุษย์ได้อย่างงดงาม
10. Memoria (Apichatpong Weerasethakul, 2021)
การทดลองของผู้กำกับที่พาผู้ชมไปสำรวจพรมแดนของเสียงในพื้นที่ใหม่ วิพากษ์ประเด็นการล่าอาณานิคม การสังหารหมู่ รวมทั้ง
ชาติพันธุ์ที่สั่นประสาทตั้งแต่เสียงและเงาที่ดังขึ้นตอนต้นเรื่องไปจนถึงบทสรุปที่เต็มไปด้วยความทรงจำที่แสนคลุมเครือ
11. The Souvenir Part II (Joanna Hogg, 2021)
งานภาคต่อที่สำรวจตัวตนที่เข้มข้นและดิ่งลึกมากยิ่งขึ้น ความแข็งแรงของงานภาพ และการกำกับที่สำรวจสภพแวดล้อมอันก้ำกึ่งของ
สภาพจิตใจตัวละครถูกถ่ายทอดผ่านการเคลื่อนไหวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีชั้นเชิง
12. Hit the Road (Panah Panahi, 2021)
ความขมุกขมัว และความเวิ้งว้างอันไร้จุดสิ้นสุดของบรรยากาศพื้นหลัง เส้นทางเดินของเรื่องราวที่ไม่ทราบซึ่งจุดหมาย การสำรวจที่
ทรงพลังของความรู้สึกของสถานที่และผู้คนที่หล่อหลอมความซับซ้อนของความรู้สึกที่เรียกว่า “บ้าน”
13. The Power of the Dog (Jane Campion, 2021)
งานกำกับชั้นเยี่ยมที่ทับซ้อนขมวดทบความรู้สึกที่แท้จริงของตัวละครในเรื่องผ่านภาพเปลือกนอกของตัวละครและภูมิทัศน์ที่งดงาม
การผสานความรู้สึกที่ถูกเยียวยาและความโกรธที่แผดเผาอยู่ในชั้นลึกของมโนทัศน์ถูกนำเสนอได้อย่างแข็งแรง
14. In Front of Your Face (Hong Sang-soo, 2021)
งานชั้นเยี่ยมที่ถ่ายทอดความเลือนลางของภาพฝันและความเป็นจริงที่ต่างถูกประนีประนอมกับความผิดหวังและเสียใจที่เคยเกิดขึ้นใน
อดีต ความศรัทธาที่ทอประกายอยู่ตรงหน้าพร่าเลือนความเป็นจริงที่ดำเนินอยู่ภายในสังคมให้มลายหายไป
15. Faya Dayi (Jessica Beshir, 2021)
การล่องลอยไปกับความเพ้อฝันที่เกิดขึ้นบนเส้นเรื่องที่ไม่ชัดเจนและไม่คงตัว สารคดีเรื่องนี้เคลื่อนไหวเหมือนบทกวีที่คลอเคล้าไปกับ
สารเสพติดที่พวยพุ่งอย่างไม่ลดละ มันทั้งลอยละล่องงดงามสุดประณีต แต่ในขณะเดียวกันมันก็ให้ความคมและรุนแรง
16. Vengeance is Mine, All Others Pay Cash (Edwin, 2021)
ผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการกำกับของผู้กำกับอินโดนีเซียที่ผสมผสานแนวทางของตัวเองเข้าไปสรรเสริญหนังเกรดบียุคเก่า สะท้อน
และอุปมาวิพากษ์สังคมชายเป็นใหญ่ในอินโดนีเซีย และพลวัตของการเปลี่ยนแปลงของหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างดี
17. The Book of Fish (Lee Joon-ik, 2021)
ช่วงรอยต่อที่สถาบันกษัตริย์ใกล้ล่มสลาย สัจธรรมและธรรมชาตินิยมที่เคารพรากเหง้าของความเป็นมนุษย์ถูกถ่ายทอดได้อย่างมีชั้น
เชิงบนสถานที่อันโดดเดี่ยวและกาลเวลาอันไร้ที่สิ้นสุด นี่คือหนังชั้นเยี่ยมที่เคารพความรู้สึกของมนุษย์ในสายลมของการเปลี่ยนผ่าน
18. The Edge of Daybreak (Taiki Sakpisit, 2021)
งานภาพเชิงทดลอง เรื่องราวเชิงอุปมา ต่างผสมผสานเป็นหน่วยของความสัมพันธ์ที่วิพากษ์ผลกระทบของการเมืองและสังคมไทยได้
อย่างมีชั้นเชิง ความสัมพันธ์ของชนชั้นและการเมืองซึมซาบผ่านประสบการณ์ทางความรู้สึกที่เหมือนฝันร้ายไม่รู้จบ
19. Miguel’s War (Eliane Raheb, 2021)
สารคดีชั้นเยี่ยมที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันแสนเจ็บปวดของชีวิตหนุ่มเกย์คนหนึ่งหลังหนีออกจากเลบานอนบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือการจัด
วางของความจงใจที่พาผู้ชมกลับไปสำรวจประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด ความรวดร้าวของความรู้สึกผิด และการเยียวยา
20. The Girl and the Spider (Ramon Zurcher, Silvan Zurcher, 2021)
ชั้นเชิงของการนำเสนอความซับซ้อนที่ลึกลับผ่านอุปมาเชิงสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคาแรคเตอร์นำสองคน เคล้า
คลอกับบรรยากาศที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ และเต็มไปด้วยความคลุมเครือที่น่าสนใจของความสัมพันธ์มนุษย์
21. Yuni (Kamila Andini, 2021)
เรียบง่าย บางเบา เหมือนต้องมนต์ที่รุนแรงของสถานที่และผู้คนสะท้อนผ่านชีวิตของวัยรุ่นในสังคมที่ถูกบีบรัดไว้ด้วยคุณค่าของ
ศาสนาและความชายเป็นใหญ่ การร้อยเรียงเรื่องราวของหญิงสาวสอดประสานอย่างลงตัวกับทิศทางและบรรยากาศ
22. Bergman Island (Mia Hansen-Love, 2021)
การผสมผสานระหว่างความลึกลับของสถานที่ เข้ากับเรื่องราวความสัมพันธ์เชิงรักใคร่ซึ่งล้วนแต่มีจุดร่วมกันในเรื่องของกาลเวลาที่
ผนวกเอาอดีตและปัจจุบันไว้ด้วยกันได้อย่างแนบเนียน สร้างผลลัพธ์ที่ทรงพลังกับความรู้สึกที่อยากจะจำกัดความ
23. Haruhara-san’s Recorder (Kyoshi Sugita, 2021)
ความเรียบง่ายของการนำเสนอขมวดทบตัวกันอย่างช้ากับเรื่องราวที่คืบคลานไม่ชัดเจน แต่งแต้มอย่างแผ่วเบากับบรรยากาศที่ยากจะ
ชี้ชัดแต่มีรสของความลึกลับชวนค้นหา นี่คือหนังที่สะท้อนความลึกลับซับซ้อนของการทำความเข้าใจการสูญเสียได้อย่างมีเสน่ห์
24. Bad Luck Banging or Looney Porn (Radu Jude, 2021)
ความตลกร้ายที่สะท้อนผ่านงานที่จัดจ้านมากที่สุดเรื่องหนึ่งของผู้กำกับสะท้อนความบิดเบี้ยวของสังคมที่เกิดขึ้นในโรมาเนียได้อย่าง
ชัดเจน นี่คือส่วนผสมอันลงตัวของการวิพากษ์ความไม่เข้าที่เข้าทางที่เกิดขึ้นในประเทศสารขัณฑ์นี้
25. What Do We See When We Look at the Sky? (Alexandre Koberidze, 2021)
เหมือนบทกวีที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ของการนำเสนอชีวิตประจำวันของผู้คน การผสมผสานความรักความสัมพันธ์ของตัวละคร
นำยั่วล้อไปกับความหมกมุ่นของผู้คนในกีฬาฟุตบอลของจอร์เจียผ่านสภาวะกึ่งฝันได้อย่างน่าสนใจ
26. Compartment No.6 (Juho Kuosmanen, 2021)
หนังการเมืองโรแมนติกที่สำรวจรากเหง้าอันคลุมเครือของความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และรัสเซียผ่านการเดินทางไปค้นหาอักษร
ภาพสลักหิน นี่คือหนังรักของความไหวหวั่นทั้งในเชิงระดับบุคคล และประเด็นทางสังคมการเมืองระดับมหภาคของสองประเทศ
27. Minamata Mandala (Kazuo Hara, 2020)
การสร้างสมดุลระหว่างการสำรวจเชิงคดีและการนำเสนอการเคลื่อนไหวของชีวิตจากบาดแผลในอดีตที่พวกเขาได้รับถูกวางสัดส่วน
และจังหวะการเล่าเรื่องได้ดี สะท้อนความงดงามของชีวิตที่ยังคงดิ้นรนดำเนินต่อไปข้างหน้าแม้ผ่านมาเป็นทศวรรษ
28. The Worst Person in the World (Joaquim Trier, 2021)
การกลับมาสร้างผลงานขึ้นหิ้งของผู้กำกับที่แต่งเติมพื้นที่ของการศึกษาคาแรคเตอร์ของตัวละครนำผ่านช่วงเวลาที่ผสมผสานความฝัน
และความจริงได้อย่างงดงามล้อไปกับการเปลี่ยนผ่านที่คงตัวของพื้นหลังและบรรยากาศท้องเรื่อง
29. Once Upon a Time in Calcutta (Aditya Vikram Sengupta, 2021)
งานทะเยอทะยานที่ประสบผลสำเร็จอย่างมหาศาล การจับภาพของชีวิตผู้คนผลักดันเรื่องราวดุจบทกวีที่สะท้อนแง่มุมเชิงสังคม
วัฒนธรรมและการเมืองของพื้นที่ในปัจจุบันทั้งการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วและอิทธิพลของนักปรัชญา “รพินทรนาถ ฐากุร”
30. The Diary of Vaino Vahing (Rainer Sarnet, 2021)
สารคดีกึ่งทดลองผสมผสานชีวประวัติซ้อนทับกับความสงสัยที่เกิดขึ้นในจิตใจที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งของ นักเขียนและจิตแพทย์ชาว
เอสโตเนีย “ไวโน วาฮิง” สารคดีเต็มไปด้วยพื้นที่ของความหมกมุ่นและความบิดเบี้ยวของการสำรวจข้อขัดแย้งในความจริง
31. Looking for Horses (Stefan Pavlovic, 2021)
สารคดีที่เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกของมนุษย์ การเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านความสัมพันธ์ของเพื่อนแปลกหน้าที่พบกันระหว่างทาง
กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของเขา พัฒนาซึ่งการสำรวจบาดแผลในวัยเยาว์ท่ามกลางสงครามที่ทำให้เขาระหกระเหินจากบ้านเกิด
32. Pathos Ethos Logos (Joaquim Pinto, Nuno Leonel, 2021)
หนังกึ่งทดลองที่กินเวลาการเล่าเรื่องมากกว่าสิบชั่วโมงแบ่งเรื่องราวเป็นสามส่วนผ่านการดำดิ่งไปในอาณาจักรของพระเจ้าผ่านความ
กลัว ความหมดศรัทธา และแสงสว่างของชีวิตในรูปแบบที่ไม่เป็นเส้นตรง นี่คือหนังที่โอบกอดชีวิตมนุษย์ได้อย่างอัศจรรย์
33. All Light, Everywhere (Theo Anthony, 2021)
สารคดีผสานความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและมนุษย์ด้วยวิธีการกำกับเชิงทดลองด้วยประสาทสัมผัสของภาพที่ทั้งต่อเนื่องและแยกออก
จากกัน งานภาพของการสื่อความหมายและอารมณ์ความรู้สึกยังทรงพลังในงานของผู้กำกับเสมอ
34. Ghost Tropic (Bas Devos, 2019)
งานภาพและจังหวะของความเหงาเดียวดายของชีวิตท่ามกลางแสงสียามค่ำคืนอันเงียบงัน การนั่งรถไฟจนสุดสถานี การเดินไป
ข้างหน้าที่มีจุดหมายไม่แน่ใจ ถูกร้อยเรียงผ่านจังหวะความโดดเดี่ยวออกมาได้อย่างงดงามจับใจ
35. Ahed’s Knee (Nadav Lapid, 2021)
จดหมายส่วนตัวถึงอดีตและบ้านเกิดที่เต็มไปด้วยความเศร้าและความโกรธ หนังเชิงทดลองสะท้อนความสัมพันธ์ที่ยุ่งเหยิงกับประเทศ
ที่เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ชายเป็นใหญ่ และการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวด นี่คือหนังทดลองความรักที่เขามีต่ออิสราเอล
36. The Hand of God (Paolo Sorrentino, 2021)
องค์ประกอบที่เรียบง่ายต่างจากงานหลายเรื่องของเขา ซึมซาบความรู้สึกและความทรงจำของผู้กำกับในอดีตเหมือนเสียงคลื่นที่
กระทบชายฝั่งอย่างแผ่วเบา เป็นการเคลื่อนไหวที่นิ่งเงียบเป็นธรรมชาติและซึมซับความศรัทธาของความทรงจำ
37. A Night of Knowing Nothing (Payal Kapadia, 2021)
การปะทะกันระหว่างจดหมายรักที่รุ่มรวยไปด้วยความรู้สึกที่ผลิบานกับความโหดร้ายของระบบชนชั้นวรรณะที่ฝังรากลึกอยู่ใน
วัฒนธรรมอินเดีย การร้อยเรียงเรื่องราวที่ผสมผสานอย่างลงตัวทั้งอ่อนโยนและดุดดัน เป็นงานสารคดีที่มีรสสัมผัสพิเศษ
38. Babi Yar. Context (Sergey Loznitsa, 2021)
สารคดีสำรวจผลลัพธ์ผ่านกาลเวลาหลังนาซีสังหารยิวกว่าสามหมื่นคนในสามวันที่ยูเครน บาดแผลที่วิ่งผ่านอดีตทั้งการเข้ามาของโซ
เวียต และการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในพื้นที่ต่างถูกร้อยเรียงได้อย่างมีชั้นเชิงสะท้อนวิกฤติเชิงมนุษยนิยม
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW
Best Films of 2021 by STW

Contenu connexe

En vedette

How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 

En vedette (20)

How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 

Best Films of 2021 by STW

  • 2. When the Sunflowers Bloom นับตั้งแต่ความขัดแย้งในปี 2014 จากการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีและการโค่นล้มรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี “Viktor Yanukovych” ที่มี นโยบายเอียงเข้าหารัสเซียอย่างชัดเจนทั้งที่หลังจากประกาศแยกตัวเป็นเอกราชเป็นต้นมาแนวโน้มของยูเครนก็ดูจะเอียงไปทางซีกโลกตะวันตก เสียส่วนมาก นำมาซึ่งการผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียจากการอ้างประชามติ และสงครามแบ่งแยกดินแดนในเขตดอนบาสทางภาค ตะวันออกของประเทศที่กลุ่มกบฎได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ชัยชนะของ “Petro Poroshenko” ในการเลือกตั้งปีเดียวกันก็ยิ่งทำให้นโยบาย ของยูเครนนั้นเดินห่างจากรัสเซียมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะเผชิญกับข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและดีลลับที่เขาทำกับพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดกับปูติน ในยูเครนซึ่งมาจากชนชั้นนำและเป็นนักธุรกิจเฉกเช่นเดียวกับเขา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาแพ้อย่างราบคาบในการเลือกตั้งเมื่อปี 2019 กับ “Volodymyr Zelenskyy” ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะเผชิญกับข้อครหาเรื่องคอรัปชั่นอยู่ และความไม่สำเร็จในการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งในพื้นที่ดอนบาส รวมทั้งข้อกล่าวหาของเขาต่อศัตรูทางการเมือง “Rinat Akhmetov” ถึงความพยายามที่ร่วมมือกับรัสเซียในการ พยายามโค่นล้มรัฐบาลของเขา หลังจากความล้มเหลวในการเจรจากับปูตินหลายครั้งในเรื่องพิพาท และการที่รัสเซียระดมกองทัพประชิด ชายแดนของยูเครนตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2021 ทำให้เขาต้องกระตุ้นนาโต้ให้เร่งรัดพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิกของยูเครน ในที่สุดรัสเซีย ตัดสินใจรุกรานยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 ท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติต่อเศรษฐกิจของรัสเซีย แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ รัสเซียต้องเผชิญผลลัพธ์จากการเข้าไปบุกยูเครนในครั้งนี้คือผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนของเส้นทางเดินที่ประเทศนี้เลือกเดินห่าง จากโซเวียตตั้งแต่การประกาศเอกราชในปี 1991 ด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น (50th Molodist International Film Festival) (12th Odesa International Film Festival) หลังจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศล่มสลายลงในช่วงปี 90s หลังจากประกาศเอกราช ความพยายามในการสร้าง อุตสาหกรรมหนังในยูเครนเกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก หนังหลายเรื่องยังเป็นหนังที่มาจากรัสเซีย ก่อนที่เมื่อเข้าสู่ยุค 2000s เริ่มมีหนังยูเครนหลายเรื่องมากขึ้น และเริ่มประสบความสำเร็จบ้าง หนังหลายเรื่องที่เป็นที่รู้จักในต่างแดนพูดถึงประเด็นปฏิวัติสีส้มที่ เป็นการประท้วงในช่วงปี 2004 ต่อการเลือกตั้งที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส หนังที่ฉายยังเทศกาลหนังต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “Wayfarers” ของผู้กำกับ “Ihor Strembitsky” ที่ได้ปาล์มทองคำหนังสั้น เป็นต้น ก่อนที่เราจะเห็นการเติบโตอย่างก้าวใหญ่หลังจากย่างเข้าสู่ปี 2010 เป็นต้นมาด้วยจำนวนหนังในอุตสาหกรรมหนังที่เพิ่มมากขึ้น และผู้กำกับทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่มีหนังตระเวนฉายตามเทศกาลหนัง ต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการเติบโตของสตูดิโอหนังและเทศกาลหนังในประเทศยูเครน อาทิจำนวนหนังในเทศกาลแห่งชาติของยูเครน “Molodist International Film Festival” ที่เพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่าตัวในปี 2010 เมื่อเทียบกับปีที่มีการก่อตั้ง และมีผู้ชมราวแสนคน, การถือกำเนิด ขึ้นของเทศกาลน้องใหม่บริเวณเมืองท่าสำคัญอย่าง “Odesa International Film Festival” ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีการเติบโต อย่างรวดเร็ว แม้จะเผชิญข้อโต้เถียงและวิจารณ์ทางการเมืองเป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีเทศกาลอื่นๆอีกเช่น Docudays ที่เป็นเทศกาลหนังที่มี ประเด็นเกี่ยวกับมนุษยชนที่มีจัดอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นหนังยูเครนหลายเรื่องก็เริ่มประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศของประเทศ รวมทั้งการออกกฎหมายเพื่อให้ทันของรัฐในปี 2017 ก็เป็นการสนับสนุนต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมหนังในประเทศนี้ซึ่งดูแล้วมีสเกลที่ก้าว กระโดดและเติบโตกว่าหลายประเทศในแถบนี้ด้วย (The Tribe, Myroslav Slaboshpytskiy) (Maidan, Sergey Loznitsa)
  • 3. (The Earth is Blue as An Orange, Iryna Tsilyk) (Klondike, Maryna Er Gorbach) (Atlantis, Valentyn Vasyanovych) (Bad Roads, Natalya Vorozhbit) หลังจากเหตุการณ์ในปีของการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีและสงครามระหว่างยูเครนรัสเซียในปี 2014 ประเด็นและเนื้อหาในภาพยนตร์ของ ประเทศนี้ดูจะสะท้อนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องที่เกิดมาก่อนหน้านี้แล้วอย่างนัยยะภูมิทัศน์พื้นหลังที่ สะท้อนผ่านหนังเรื่อง “The Tribe (2014)” ของผู้กำกับ ‘Myroslav Slaboshpytskiy” ที่ออกฉายที่คานส์ในปีที่เกิดปฏิวัติ ซึ่งจริงแล้วตัวสคริปต์ นั้นถูกเขียนไว้ตั้งแต่สามปีก่อนหน้านี้แล้ว หนังที่ชัดเจนที่สุดที่เล่าเหตุการณ์ตรงส่วนนี้ได้ชัดเจนคือสารคดีของผู้กำกับ “Sergey Loznitsa” อย่าง “Maidan (2014)” ที่จับภาพการประท้วงโดยตรง นอกจากนี้เขายังมีหนังที่เขาฉายคานส์อีกเรื่องที่เล่าถึงสงครามที่เกิดขึ้นในภูมิภาคดอนบาสอ ย่าง “Donbass” ในปี 2018 ซึ่งยังมีหนังจำนวนมากที่พูดถึงประเด็นสงครามและความขัดแย้งที่ตระเวนฉายตามเทศกาลหนังทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น “Atlantis (2019)” ของ “Valentyn Vasyanovych” รวมทั้งหนังของเขาในเวนิสปีที่ผ่านมาอย่าง “Reflection (2021)” ด้วย, “No Obvious Signs (2018)” และ “This Rain Will Never Stop (2020)” ของผู้กำกับ “Alina Gorlova”, “Cargo 200 of an Undeclared War (2015)” ของสองผู้กำกับ “Masha Novikova” และ “Margreet Strijbosch”, “Finding Babel (2016)” ของ “David Novack”, “Mariupolis (2016)” ของ “Mantas Kvedaravicius”, “This is a War, Baby (2017)” ของ “Yuriy Pupyrin”, “My Granny from Mars (2018)” ของ “Alexander Mihalkovich”, “War Note (2020)” ของ “Roman Liubyi”, “The Earth is Blue as An Orange (2020)” ของ “Iryna Tsilyk” หนังสารคดีประกวดซันแดนซ์ที่พูดถึงชีวิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือในต้นปีที่ผ่านมากับหนังฟิคชั่นสายประกวดของซันแดนซ์อย่าง “Klondike (2022)” ของผู้กำกับ “Maryna Er Gorbach” ก็พูดถึงชีวิตของคนตามแนวชายแดนที่ได้รับผลกระทบในช่วงเริ่มสงคราม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เห็นได้ชัดเจนจากทิศทางการเลือกหนังเป็นตัวแทนชิงออสการ์ของยูเครนนับตั้งแต่ปี 2016 กับ “Ukrainian Sheriffs” ของผู้กำกับ “Roman Bondarchuk”, ปี 2018 “Donbass” ของผู้กำกับ “Sergey Loznitsa”, ปี 2019 หนังสายรองคานส์ “Homeward” ของผู้กำกับ “Nariman Aliev”, ปี 2020 “Atlantis (2019)” ของ “Valentyn Vasyanovych” และแม้แต่ในปีล่าสุดที่หยิบเอาหนังเวนิสอย่าง “Bad Roads” ของผู้ กำกับ “Natalya Vorozhbit” หลังจากการรุกรานของรัสเซียเพื่อครอบครองยูเครนย่อมส่งผลร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมหนังของยูเครนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมือง ใหญที่เป็นศูนย์กลางของเทศกาลหนังสำคัญของประเทศทั้งคีฟ และโอเดสซาตกอยู่ในควันของการสู้รบซึ่งไม่ส่งผลดีต่อใครครั้งนั้น การทำ สงครามเพื่อตอบสนองต่อความมั่นคงของชายที่ติดอยู่กับมโนทัศน์ของอดีตเมื่อสามสิบปีที่แล้วกำลังท้าทายต่อความสวยงามของศิลปะและคุณค่า ของชีวิตมนุษย์ที่เป็นนิรันดร์ ศิลปะจะคงอยู่ตลอดกาลแม้วันที่ร่างกายม้วยมลายกลายเป็นเศษดิน และเศษดินนั้นจะหลอมหลวมเป็นผืนดินหล่อ เลี้ยงดอกทานตะวันให้งอกเงยงดงาม
  • 4. Wind of Change, New Gen of Thai Socio-Political Films ในขณะที่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราต่างเห็นหนังและสารคดีที่จับภาพการประท้วงหรือข้อวิพากษ์ทางการเมืองและสังคมอย่าง ตรงไปตรงมาต่อผู้มีอำนาจจากเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงผ่านหนังและสารคดีจำนวนมากมายหลายเรื่องที่ตระเวน ฉายในเทศกาลต่างๆทั่วโลกทั้งผู้กำกับที่หน้าคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐอำนาจนิยมจีนและเหล่าบรรดาผู้กำกับหน้าใหม่มากมายที่ แจ้งเกิดจากหนังสารคดีเหล่านี้เป็นเรื่องแรก ไม่เว้นแม้แต่เทศกาลหนังเมืองคานส์ที่เลือกที่จะหลบเลี่ยงแรงกดดันจากจีนในการเลือกฉายหนังสาร คดีการประท้วงในฮ่องกงไว้เป็นความลับจนวินาทีสุดท้ายก่อนที่หนังจะฉายไม่นานนัก ซึ่งดูเหมือนว่าการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง จะเป็นเรื่องราวที่มีจำนวนมากที่ถูกฉายบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลหรือเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ นั้นพบว่ามีจำนวนที่แตกต่างกันพอสมควร แม้ว่าในประเทศไทยเองจะมีหนังที่พูดถึงการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาอยู่บ้างอย่างในบันทึกสารคดีการประท้วงของ กลุ่มกปปส. ของผู้กำกับ “สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์” ที่เรียบเรียงออกมาฉายหลายภาค ซึ่งก็เป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดผลงานหนึ่งของการ บันทึกภาพของการประท้วงในไทยยุคหลังที่ถูกจัดทำและเรียบเรียงฉายในรูปแบบภาพยนตร์ขนาดยาว ในขณะที่แม้แต่ในปัจจุบันนั้นหนังที่ ย้อนกลับไปเล่าการประท้วงที่เกิดขึ้นในไทย แม้แต่ในห้วงเวลาอดีตที่ผ่านมาแล้วนั้นก็ยังหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับการฉายภาพสิ่งเหล่านั้นอย่าง ตรงไปตรงมาซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดหูขัดตาผู้มีอำนาจในไทยค่อนข้างมาก (ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าฉงนที่ในช่วงเวลาหนึ่งหนังไทยกลับสามารถเล่าเรื่อง เหล่านี้ได้ แม้จะไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดหรือสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังมากนัก อาทิ หนังอย่าง 14 ตุลาสงครามประชาชนของผู้กำกับ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล และอีกหลายๆเรื่องที่หยิบเอามาใส่เป็นเหตุการณ์ฉากหลัง) ดังนั้นหนังหลายเรื่องจึงเลือกที่จะสะท้อนห้วงเวลาและสื่อบทเรียนเหล่านั้น ในรูปแบบที่แยบยลมากยิ่งขึ้นไปกว่าการเล่าอย่างตรงๆ ซึ่งเราอาจพบสิ่งเหล่านี้ได้บ้างในผลงานของนักศึกษา หรือหนังไทยที่ตระเวนฉายตาม เทศกาลหนังต่างประเทศ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้บ่อยมากนักในช่วงเวลานั้น ที่มักพูดถึงเรื่องราวทางการเมืองหรือสังคมอย่าง ตรงไปตรงมา (Chulasphere, Kulapat Aimmanoj) (2020-2021 Thai Protests) แต่ดูเหมือนว่าสายธารของการเปลี่ยนแปลงได้สร้างหมุดหมายลงในใจของคนรุ่นใหม่ที่กลับพบว่ากระแสการเปลี่ยนผ่านจากแรง บันดาลใจในหนังรักชนชั้นกลางในเมืองแบบที่เห็นในหนังหลายเรื่อง หรือการจับเฟรมเล่าเรื่องของความสัมพันธ์ของชนชั้นกลางที่ไม่ได้พูดประเด็น การเมืองและสังคมในเส้นเรื่องหลัก กระแสของสิ่งเหล่านี้ดูจะเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรในมุมมองของการทำหนังของนิสิตและนักศึกษารุ่นใหม่ๆ การขยายพรมแดนเข้ามาตั้งคำถามในเชิงสังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างตรงไปตรงมาก และมีน้ำเสียงที่ชัดเจนดุดันมากยิ่งขึ้น หรืออย่าง น้อยภาพของการพูดถึงปัญหาเชิงสังคมการเมืองรวมถึงวัฒนธรรมแบบในหนังไทยยุคก่อนก็เริ่มเห็นได้มากขึ้น มันไม่ใช้พรมแดนที่แตะต้องไม่ได้ เสียทีเดียว ในบันทึกของปีที่ผ่านมาหนังที่น่าจะเข้าถึงวงกว้างมากที่สุดเรื่องหนึ่งที่ตั้งคำถามกับชีวิตในสถาบันหัวอนุรักษ์นิยมชั้นนำอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเรื่อง “จุฬาธิปไตย” โดย “กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์” ที่ได้แรงสนับสนุนจากสภานิสิตฯของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทำเป็นซีรี่ส์ตอนยาวก่อนที่จะนำมาตัดเป็นหนังยาวหลังจากนั้นก็เป็นกระแสที่ได้รับการพูดถึงในวงกว้างไม่น้อยทีเดียว ในขณะที่สารคดีที่จับภาพล่าสุดของการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด และคาดว่าน่าจะเป็นหนังขนาดยาวเรื่องแรกๆที่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการคืองานสารคดีเรื่อง “Mob 2020-2021” ที่จับภาพการประท้วงของ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ร้อยเรียงเรื่องราวเกือบสองชั่วโมงของ “สุพงศ์ จิตต์เมือง” ซึ่งบันทึกทั้งช่วงเวลา และบรรยากาศสำคัญของการเรียกร้องให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทาการเมืองและสังคม รวมถึงการเคลื่อนไหวในเชิงวัฒนธรรมต่างๆของกลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งผู้เขียนเองหวังว่าตัวหนังจะมีโอกาสที่ จะได้ฉายในวงที่กว้างขึ้น และนำมาซึ่งการถกเถียงต่อไป สายธารของการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นในหัวใจของคนรุ่นใหม่ที่กล้าท้าทายต่อขนบ และ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว และหวังว่ามันจะขยายต่อไปแบบที่เราเองได้เห็นในหนังและสารคดีที่บันทึกเรื่องราวของเหล่าผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตยใน ฮ่องกง เพดานของการพูดถึงเรื่องราวต่างๆเริ่มขยับขยายตัวออกไปมากขึ้นแล้ว แต่ภาวนาอย่าให้อำนาจรัฐมันไปถึงขั้นสารคดีที่ฉายเบอร์ลินไปต้น ปีนี้อย่าง “Myanmar Diaries” ที่แม้แต่คนทำเองก็ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเพราะสุ่มเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย
  • 5. Hail to Indonesian Films, Long Live ASEAN Cinema (One for the Road, Nattawut Poonpiriya) (Lemongrass Girl, Pom Bunsermvicha) ปี 2021 อาจจะถือได้ว่าเป็นปีที่โดดเด่นอีกปีหนึ่งในรอบหลายสิบปีของวงการหนังจากประเทศอาเซียนโดยภาพรวมแม้ว่าในหลาย ประเทศที่เป็นตลาดหนังที่สำคัญที่เห็นในงานเทศกาลทั่วโลกเป็นประจำอยู่แล้วอย่างกรณีของหนังฟิลิปปินส์อาจยังไม่ถือว่าหวือหวามากนัก ไม่เว้น แม้แต่ในประเทศไทยปีที่ผ่านมานั้นถือเป็นปีที่โดดเด่นมากในรอบหลายปีที่หนังไทยได้มีโอกาสเข้าฉายในเทศกาลหนังใหญ่ทั่วโลก และหนังหลาย เรื่องก็ได้รับรางวัลหรือได้กระแสพูดถึงในเทศกาลเหล่านั้นไม่น้อยทีเดียว เริ่มด้วยต้นปีกับเทศกาลหนังซันแดนซ์ที่ปรากฏชื่อของผู้กำกับไฟแรง อย่าง “Nattawut Poonpiriya” ที่หนังภายใต้ความร่วมมือกับผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ระดับโลกอย่าง “หว่องกาไว” มีชื่อหนัง “One for the Road” ปรากฏเข้าฉายในสายประกวด “World Cinema Dramatic” ก่อนที่จะคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการไปครองได้ในท้ายที่สุด แม้ว่าหนังเรื่อง นี้จะหายเงียบจากการตระเวนฉายตามเทศกาลหลังจากนั้นไปพอสมควรก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งเทศกาลหนังซันแดนซ์ยังไม่จบลงเสียทีเดียว นัก ในฟากของยุโรปเทศกาลสำหรับนักทำหนังหน้าใหม่ของยุโรปอย่างรอตเตอร์ดามก็ได้เปิดฉากขึ้นหนังไทยกึ่งทดลองวิพากษ์การเมืองและ สังคมไทยของผู้กำกับ “Taiki Sakpisit” อย่าง “The Edge of Daybreak” ได้เข้าประกวดในสายประกวดหลักของเทศกาลอย่าง “Tiger award” ก่อนที่จะคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์นักวิจารณ์นานาชาติไปครองได้ นอกจากนี้ยังมีหนังสั้นไทยที่ได้ฉายในเทศกาลด้วยทั้ง “Lemongrass Girl” และ “Underground Cemetery” นอกจากนี้ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเทศกาลหนังเบอร์ลินก็ได้ปรากฏชื่อของหนังใหม่กึ่งทดลอง ที่ยังคงวิพากษ์สังคมการเมืองไทยเช่นเดิมของ “Anocha Suwichakornpong” อย่างเรื่อง “Come Here” ได้เข้าฉายแบบเงียบๆในสาย Forum ของเทศกาล ก่อนที่หนังสองเรื่องที่พูดถึงช่วงหลังนี้จะตระเวนฉายตามเทศกาลหนังอื่นๆต่อไปอีก นอกจากนี้หนังสารคดีทดลองของ “Prapat Jiwarangsan” เรื่อง “Ploy” ซึ่งพรีเมียร์ไปแล้วในเทศกาลหนังสิงคโปร์ปีก่อนหน้าก็ถูกเลือกฉายในเทศกาลหนังเบอร์ลินด้วย (Soul Prison, Nipan Chawcharernpon) (The Medium, Banjong Pisanthanakun) (New Abnormal, Soroyos Prapapan) (Danse Macabre, Phassarawin Kulsomboon & Thunska Pansittivorakul)
  • 6. ผ่านมาถึงช่วงเทศกาลหนังกลางปีบ้างแม้ว่าในเทศกาลหนังเมืองคานส์อาจไม่มีหนังที่พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนังไทย แต่หนังโคลอมเบีย ภายใต้การกำกับของผู้กำกับชาวไทยระดับโลกอย่าง “Apichatpong Weerasethakul” ก็พาหนังต่างชาติของตัวเองเรื่องแรก “Memoria” เข้าไป ฉายในสายประกวดหลักของเทศกาลอย่างปาล์มทองคำได้ก่อนที่จะคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการมาครอง ขยับมาอีกซีกโลกหนึ่งพบการปรากฏกาย ของหนังไทยหลายเรื่องในเทศกาลสำคัญที่จีนพยายามปั้นเป็นเทศกาลเทียบชั้นฮ่องกงและม้าทองคำของไต้หวันอย่างเทศกาลหนังเซี่ยงไฮ้ มีหนัง ไทยปีเก่าและใหม่เข้ามาตระเวนฉายอาทิ “Lotus Never Dies” ของผู้กำกับ “Amorn Harinnitisuk” และ “Soul Prison” ของผู้กำกับ “Nipan Chawcharernpon” เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างมากนัก ซึ่งหนังที่คว้ารางวัลสูงสุดของเทศกาลไปก็เป็นหนังอาเซียนบ้านใกล้ เรือนเคียงกับไทยเราซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป ย่างเข้าเดือนกรกฎาคมเทศกาลหนังมหัศจรรย์ที่รวมบรรดาหนังสยองขวัญ หนังทดลอง และ หนังไซไฟเข้าไว้ด้วยกันก็ปรากฏรายชื่อของหนังไทยเข้าไปเฉิดฉายในเทศกาลทั้ง “Dark World” ของผู้กำกับ “Jittsint Pongintarakul” และการ เข้าประกวดของหนังเรื่องล่าสุดที่ร่วมทุนกับเกาหลีและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้กำกับระดับโลกอย่างนาฮงจิน หนังเรื่อง “The Medium” ของ “Banjong Pisanthanakun” ก็คว้ารางวัลหนังที่ดีที่สุดของปูซอนไปครองได้ และสร้างแรงกระเพื่อมให้กับตลาดหนังเกาหลีใต้รวมถึงกระแสพูดถึง ในประเทศไทยเช่นกัน เขยิบมาอีกเทศกาลที่เก่าแก่ที่สุดเทศกาลหนึ่งของโลกอย่างโลการ์โน แม้ไม่มีหนังไทยขนาดยาวเข้าไปฉาย แต่หนังสั้นเรื่อง “Squish!” ของผู้กำกับ “Tulapop Saenjaroen” ก็ถูกเลือกเข้าฉายในเทศกาลนี้ เริ่มต้นกับเทศกาลหนังปลายปีด้วยเทศกาลหนังเวนิสหนังเรื่อง ใหม่กึ่งทดลองของผู้กำกับ “Jakrawal Nilthamrong” ถูกเลือกฉายในสายประกวดรองของเทศกาลกับเรื่อง “Anatomy of Time” และได้ ตระเวนฉายตามเทศกาลอื่นๆหลังจากนั้น ในขณะที่หนังสั้นไทยเรื่อง “New Abnormal” ของ “Sorayos Prapapan” ก็ได้รับเลือกเข้าไปฉายใน เทศกาล ในขณะที่เทศกาลหนังขนาดรองลงมาอย่าง Doclisboa ก็เลือกหนังเรื่อง “Danse Macabre” หนังที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้กำกับ “Phassarawin Kulsomboon” และ “Thunska Pansittivorakul” ซึ่งรายหลังนั้นอาจเป็นที่คุ้นเคยในเทศกาลนี้มาก่อนแล้ว ปิดท้ายด้วยเทศกาล หนังฝั่งเอเชียอย่างปูซานที่แม้ไม่มีการพรีเมียร์ของหนังไทยในเทศกาลแต่ซีรี่ส์ของไทยอย่าง “Girl from Nowhere” และ “Bad Genius: The Series” ก็ได้รับรางวัล “Best Asian TV Series” และ “Creative Beyond Border” ไปตามลำดับ นี่อาจเป็นปีที่สำคัญของหนังไทยอีกปีหนึ่ง หากแต่ว่าจะกลายเป็นแสงวูบวาบแล้วจางหายไปแบบที่เคยเป็นหรือท้ายที่สุดแล้วจะได้รับการใส่ใจผลักดันที่เพิ่มมากขึ้นของภาครัฐหลังจากนี้ก็จะ ทำให้อนาคตของหนังไทยสดใสและยั่งยืนถาวร (Money Has Four Legs, Muang Sun) (What Happened to the Wolf?, Na Gyi) ในขณะที่หันไปมองประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับเรารวมทั้งอยู่ในคาบสมุทรด้วยแล้วนั้นประเทศที่ชะตากรรมน่าเห็นใจมากที่สุด คือเมียนมาร์ วงการหนังเมียนมาร์กำลังเติบโตเรื่อยๆและอนาคตกำลังสดใสมากขึ้นเรื่อยๆ แม้เราอาจจะเห็นหนังส่วนใหญ่ของประเทศนี้มาจาก ภายใต้การผลิตและการกำกับของคนต่างชาติ หรือคนเมียนมาร์ที่ไปเติบโตต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหนังที่เล่าเรื่องวิกฤติผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาที่เรา เห็นผ่านหนังสารคดีหลายเรื่อง แม้แต่หนังที่ว่าด้วยชีวิตของผู้คนในเมียนมาร์ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังที่พูดผ่านคนต่างชาติทั้ง เรื่องราวของหนุ่มคะฉิ่น ใน “The Bad Man” ที่กำกับโดยชาวไต้หวันชื่อ “Lee Yong-chao” หรือเรื่องราวของครอบครัวในเขตมะกเวในตอนกลางของเมียนมาร์ที่ทำ อาชีพขุดน้ำมันขายด้วยมือเปล่าของพวกเขาที่ถูกเล่าผ่านหนังสารคดีเรื่อง “A Thousand Fires” ซึ่งก็กำกับโดยผู้กำกับลูกครึ่งอังกฤษปาเลสไตน์ อย่าง “Saeed Taji Farouky” ซึ่งประสบความสำเร็จถึงการคว้ารางวัลในสัปดาห์นักวิจารณ์ในเทศกาลหนังโลการ์โน ในขณะเดียวกันนั้นชื่อของผู้ กำกับชาวเมียนมาร์ที่โดดเด่นอย่างมากในปีที่ผ่านมาอย่าง “Maung Sun” หลังจากหนังเรื่องแรกของเขาอย่าง “Money Has Four Legs” พรีเมียร์ที่เทศกาลหนังปูซานก่อนที่จะตระเวนฉายในเทศกาลสำคัญทั่วโลกทั้ง ฉายที่อูดิเน, เวิร์กช็อบที่คานส์ และ ฉายที่โลการ์โน ซึ่งเป็นที่ สุดท้ายที่หนังของเขาเดินทางไปหลังจากที่คู่หูของเขาที่ทั้งช่วยเขียนบทและโปรดิวซ์หนังเรื่องนี้อย่าง “Ma Aeint” ถูกจับและตั้งข้อหาโดยเผด็จ การทหารของ “มิน อ่อง ลาย” ซึ่งหนังเรื่องนี้ของเขาถูกกระบวนการเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวด เธอถูกปฏิบัติดุจนักโทษการเมืองในข้อหาตามมาตรา 505A ซึ่งถูกแก้เมื่อไม่นานมานี้โดยอ้างเรื่องการแพร่ความกลัว ข่าวปลอม และความระคายเคืองต่อรัฐบาล นอกจากความสำเร็จในเวทีโลกของ หนังเมียนมาร์โดยผู้กำกับชาวเมียนมาร์เรื่องนี้แล้ว ยังมีหนังของผู้กำกับชาวเมียนมาร์อีกคนที่พรีเมียร์อย่างเงียบๆในเทศกาลหนังในเยอรมันอย่าง เรื่อง “What Happened to the Wolf?” ของผู้กำกับ “Na Gyi” ที่เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ล่มสลายลงหลังลูกสาวที่ป่วยเป็น มะเร็งพยายามฆ่าตัวตาย หนังคว้ารางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมได้ที่เทศกาลนี้ ก่อนที่จะเดินทางไปคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังของ ติมอร์เลสเต หนังมีประเด็นละเอียดอ่อนในลักษณะความสัมพันธ์แบบ LGBT ที่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศนี้อยู่เป็นส่วนผสมด้วย หลังจาก รัฐประหารโดยกองทัพผู้กำกับและนักแสดงในหนังเรื่องนี้ถูกออกหมายจับ นักแสดงสาวที่ได้รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมที่เยอรมันถูกจับ ส่วน นักแสดงอีกคนและผู้กำกับต้องหลบหนี ซึ่งหลังจากที่รัฐเผด็จการเมียนมาร์ตัดการสื่อสารกับโลกไปก็ไม่มีใครทราบชะตากรรมของพวกเขา เหล่านั้น ซึ่งรวมถึงนักแสดงและคนในวงการบันเทิงอีกจำนวนมากที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารที่ขาดความชอบธรรมของกองทัพเมียนมาร์ ถ้า
  • 7. เราเขยิบไปมองถึงวงการหนังในภาพรวมของหนังสั้นจำนวนมากของผู้กำกับชาวเมียนมาร์แท้ๆนั้นถือกำเนิดเยอะมาก และการลงทุนของ อุตสาหกรรมหนังต่างชาติในเมียนมาร์ก็เห็นได้เยอะก่อนที่มันจะมลายหายไปหลังจากรัฐประหารและชะตากรรมของอุตสาหกรรมหนังเมียนมาร์ นั้นก็ดูมืดมนลงในทันที มันคงตรงกับคำพูดที่ว่าศิลปะนั้นไม่อาจเบ่งบานได้ใต้อำนาจเผด็จการ (White Building, Kavich Neang) (Tiong Bahru Social Club, Bee Thiam Tan) ในประเทศรอบบ้านเราที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสค่อนข้างชัดเจน และในสายของผู้กำกับชั้นครูอย่าง “Rithy Panh” ที่คุมวงการหนัง นอกกระแสและเวทีรางวัลต่างประเทศของหนังที่มาจากกัมพูชาเอาไว้อย่างชัดเจนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาดูจะไม่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากนักใน ปีที่ผ่านมา หนังที่ดูโดดเด่นมากที่สุดเห็นจะเป็นตัวแทนส่งชิงออสการ์อย่าง “White Building” ของผู้กำกับ “Kavich Neang” ที่เรื่องราวเหมือน เป็นภาคต่อของหนังสารคดีแจ้งเกิดของเขาเมื่อสองปีก่อนอย่าง “Last Night I Saw You Smiling” ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวของบ้านของพวกเขาที่ กำลังจะถูกรื้อถอนท่ามกลางความฝันที่ไม่ได้งดงามนักในเมืองหลวงอย่างพนมเปญ หนังเข้าฉายในสายรองของเทศกาลหนังเวนิสและคว้ารางวัล นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมไปครอง ซึ่งแน่นอนว่าเขากลายเป็นผู้กำกับชาวกัมพูชาดาวรุ่งที่น่าจับตามองที่สุดในเวลานี้ ในทางกลับกันหนังอีกเรื่อง หนึ่งที่ดูสร้างกระแสฮือฮามากกว่าที่คาดการณ์กันคือหนังจากเทศกาลเดียวกัน แต่มาจากการฉายเปิดในสัปดาห์นักวิจารณ์อย่างเรื่อง “Karmalink” ที่ประพฤติตัวเป็นหนังไซไฟโลกอนาคตสุดล้ำที่ผสมผสานกับการพูดถึงเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดแบบภพชาติของศาสนา พุทธ ซึ่งเป็นมุมมองที่แปลกใหม่และน่าสนใจสำหรับหนังจากกัมพูชาไม่น้อยแม้ว่ามุมมองของหนังจะมาคนภายนอกซึ่งเป็นผู้กำกับอย่าง “Jake Wachtel” ก็ตามที เดินทางขึ้นมายังประเทศพรมแดนตอนเหนืออย่างลาวบ้าง แม้ว่าในปีที่ผ่านมาเราอาจจะไม่ได้เห็นหนังจากผู้กำกับในประเทศ นี้มากนัก ผู้กำกับหลายคนที่โดดเด่นในประเทศนี้อาทิ “Mattie Do” เองก็ยังไม่มีหนังใหม่ยกเว้นการเอาหนังเก่าไปฉายในต่างประเทศอย่าง เทศกาลหนังโลคาร์โน ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นผลงานจากผู้กำกับต่างชาติที่เข้าไปเล่าเรื่องราวของคนในพื้นที่มากกว่าอย่างเช่นในปีที่ผ่านมา สารคดีที่พูดถึงล้มเหลวของสหรัฐฯที่วางแผนเข้าไปกอบกู้ระเบิดที่หลงเหลือจากยุคสงครามในลาวของผู้กำกับ “Jerry Redfern” และ “Karen Coates” อย่างเรื่อง “Eternal Harvest” ย้อนลงมาทางใต้กับประเทศสิงคโปร์ที่พอมีผู้กำกับในระดับโลกอยู่หลายคน แต่ปีที่ผ่านมาถือว่า ค่อนข้างเงียบเหงาไม่น้อยกับสิงคโปร์ในเวทีโลกที่แม้แต่การส่งชื่อไปออสการ์ก็ไปเลือกหนังลูกครึ่งสิงคโปร์ไต้หวันเมื่อปีก่อนซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักมาก นัก หนังที่ดูจะตระเวนไปตามที่ต่างๆมากที่สุดในปีที่ผ่านมาคือ “Tiong Bahru Social Club” หนังตลกร้ายของผู้กำกับ “Bee Thiam Tan” ที่ พรีเมียร์ในเทศกาลหนังปูซานไปเมื่อสองปีก่อน ก่อนที่เดือนถัดมาจะเป็นหนังเปิดของเทศกาลหนังสิงคโปร์ ดูเหมือนว่าสามประเทศนี้จะไม่ค่อยมี หนังที่หวือหวาให้พูดถึงมากนักในปีที่ผ่านมา (Barbarian Invasion, Chui Mui Tan) (Hail, Driver!, Muzzamer Rahman) ขยับขึ้นมาในประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซีย ซึ่งค่อนข้างหน้าแปลกใจที่มาเลเซียไม่เลือกหนังของผู้กำกับ “Chui Mui Tan” อย่าง “Barbarian Invasion” ซึ่งเป็นทั้งหนังใหม่ที่พรีเมียร์ในปีที่ผ่านมา ได้ฉายในประเทศตัวเองแล้ว และตัวหนังเองก็คว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยมจาก เทศกาลหนังเซี่ยงไฮ้ไปด้วย แม้ว่าตัวหนังเองจะค่อนข้างมีประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับศาสนาค่อนข้างชัดเจนไม่น้อย และมีนักแสดงนำเป็นหญิงเชื้อสายจีน ซึ่งอาจจะทำให้ประเด็นตรงนี้ไม่ถูกจริตกรรมการที่เลือกหนังไปไม่น้อยก็เป็นได้ ในขณะที่หนังที่ถูกเลือกไป นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งตัวนักแสดงนำ และมุมมองที่มองชีวิตในมุมบวกกับชีวิตในกัวลาลัมเปอร์ภายหลังที่ตัวละครนำของเรื่องต้อง สูญเสียพ่อไป หนังขาวดำเรื่องนี้มีชื่อว่า “Hail, Driver!” ของผู้กำกับ “Muzzamer Rahman” ซึ่งพึ่งมีหนังเรื่องแรกในปีเดียวกันนี่เอง หนังเปิดตัว
  • 8. อย่างเงียบๆที่เทศกาลหนังในอินโดนีเซียไปเมื่อสองปีก่อน และเดินสายประปรายในเทศกาลต่างๆไม่มากนัก หนังดราม่าแฟนตาซีอย่าง “The Story of Southern Islet” ของผู้กำกับ “Keat Aun Chong” ที่พรีเมียร์ไปที่เทศกาลหนังม้าทองคำเมื่อสองปีก่อนและกวาดรางวัลทั้งผู้กำกับ หน้าใหม่ยอดเยี่ยมและรางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์นักวิจารณ์นานาชาติไปครองก่อนจะติดเครื่องเร่งเข้าฉายในเทศกาลหนังสำคัญทั่วโลกใน ปีถัดมา แม้ตัวเลขของหนังจากมาเลเซียอาจไม่ได้หวือหวามากนัก แต่มีหนังที่น่าสนใจทั้งนั้นเลย กระโดดข้ามมาพูดถึงประเทศทางเหนือของ อาเซียนที่มีชายทะเลยาวที่สุดในคาบสมุทรอย่างเวียดนามที่มีหนังทดลองฮือฮาจากเทศกาลหนังเบอร์ลินตั้งแต่ต้นปีอย่าง “Taste” ของผู้กำกับ “Bao Le” ซึ่งเป็นหนังกึ่งทดลองที่วิพากษ์ชีวิตและสังคมของชนชั้นกลางถึงล่างที่ถูกละทิ้งจากสังคม ซึ่งเซ็ตฉากหลังที่ดำมืดแสงขมุกขมัวเหมือน หนังผู้กำกับชั้นครูจากละตินหลายๆคนได้ดีทีเดียว หนังคว้ารางวัลขวัญใจกรรมการพิเศษจากสาย “Encounters” ที่เบอร์ลิน และ รางวัลกำกับ ภาพยอดเยี่ยมร่วมกับ “Young Cinema” จาก “Asia Pacific Screen Awards” ยังรวมถึงกรังปรีซ์จากเทศกาลหนังไทเปด้วย ในขณะที่ฟาก สารคดีหนังจากเวียดนามที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งใน IDFA คือ “Children of the Mist” ที่คว้ารางวัลกำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลไป หนัง ใช้ความสนิทสนมของผู้กำกับ “Diem Ha Le” และเพื่อนชาวม้งของเธอโดยการจับภาพชีวิตของเพื่อนที่เจอมรสุมบนเส้นรอยต่อระหว่างความเป็น โลกใหม่ของเวียดนามและวัฒนธรรมเก่าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่จับผู้หญิงแต่งงาน นี่คือตัวอย่างหนังเวียดนามสองเรื่องที่มีความโดดเด่นในเวที นานาชาติไม่น้อย แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วเวียดนามจะตัดสินใจส่งหนังทำเงินบนบ็อกซ์ออฟฟิศไปเป็นตัวแทนชิงออสการ์ก็ตาม (Taste, Bao Le) (Children of the Mist, Diem Ha Le) (On the Job: The Missing 8, Erik Matti) (Last Days at Sea, Venice Atienza) ข้ามมายังเกาะอีกแห่งหนึ่งของอาเซียนที่ถือได้ว่าอุตสาหกรรมหนังของประเทศนี้มีความหลากหลายและมีจำนวนหนังและนักทำหนัง หน้าใหม่เกิดขึ้นทุกปี มีหนังตระเวนเข้าฉายตามเทศกาลหนังต่างๆเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แม้จะยังคงมีจำนวนหนังที่ค่อนข้างเยอะที่ตระเวนเข้า ฉายตามเทศกาลหนังแต่ดูเหมือนว่าในปีที่ผ่านมาฟากฝั่งประเทศอย่างฟิลิปปินส์ดูจะไม่ได้มีความโดดเด่นไปกว่าปีก่อนๆมากนัก ยังคงมีหนังของผู้ กำกับที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง “Lav Diaz” ที่ส่งหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดในอาชีพของเขาเข้าฉายในเทศกาลหนัง “BFI London” อย่างเงียบๆ กับหนัง ความยาวมาตรฐานสี่ชั่วโมงนิดๆกับเรื่อง “History of Ha” ที่พูดถึงโลกใหม่ผ่านเรือเมย์ฟลาวเวอร์และการอุทิศสรรเสริญแด่ประธานาธิบดีที่คน ฟิลิปปินส์รักที่สุดอย่างแมกไซไซ ส่วนผู้กำกับมือทองอย่าง “Brillante Mendoza” ก็ทำหนังถึงสามเรื่องในปีนี้แต่ก็ค่อนข้างเงียบมีหนังเรื่อง “Payback” ที่เข้าฉายอย่างเงียบๆในเทศกาลหนังโตเกียว หนังยังเป็นหนังที่เราคุ้นเคยกันดีกับผลงานของเขาชีวิตในสลัม อาชญากรรมและการ ล้างแค้น ส่วนหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับ “Erik Matti” อย่างหนังภาคต่อ “On the Job: The Missing 8” ก็ได้รับการตอบรับที่ดีในระดับหนึ่ง หนังสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในเทศกาลหนังเวนิสในสายการประกวดหลักไปครองได้ หนังของผู้กำกับหน้าใหม่ที่น่าสนใจและ โดดเด่นในปีที่ผ่านมาเริ่มจากหนังสารคดีเรื่อง “Last Days at Sea” ของผู้กำกับ “Venice Atienza” เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มที่กำลังจะตัดสินใจ ย้ายจากบ้านที่เป็นเกาะห่างไกลไปเรียนต่อและใช้ชีวิตในเมือง สารคดีจับภาพช่วงวันท้ายๆของเขาที่กำลังจะจากบ้านไป แต่หนังจากฟิลิปปินส์ที่ เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงมากที่สุดของปีที่ผ่านมาคือ “Whether the Weather is Fine” หนังของผู้กำกับ “Carlo Francisco Manatad” เรื่องราวกึ่งด ราม่าแฟนตาซีเล่าเรื่องราวของชายหนุ่มที่เดินทางตามหาสิ่งของและคนสำคัญหลังซุปเปอร์ไต้ฝุ่นโยลันดาถล่มบ้านเกิดของเขาหนังผนวกเรื่องราว เข้ากับความเชื่อทางศาสนาคริสต์และความเชื่อเรื่องเรือโนอาห์ได้ดีเยี่ยมทีเดียวหนังเข้าฉายในสายประกวดรองของเทศกาลหนังโลคาร์โนและคว้า รางวัลกรรมการรุ่นจูเนียร์ในสายไปครองได้ก่อนที่หนังจะตระเวนฉายเทศกาลสำคัญที่เหลือทั่วโลกอีกหลายเทศกาล หนังเรื่องนี้กลายเป็นดาวรุ่ง จากฟิลิปปินส์ที่ถูกพูดถึงอย่างมาก เป็นหนังฟิคชั่นเรื่องแรกในชีวิตของผู้กำกับตามหลังงานสารคดีขนาดยาวเมื่อสามปีที่แล้วที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
  • 9. (Death Knot, Cornelio Sunny) (Photocopier, Wregas Bhanuteja) แน่นอนว่าจากชื่อที่เกริ่นไว้บนหัวบทความข้างต้นแล้วประเทศที่จะเอามาปิดท้ายคือ อินโดนีเซีย นั่นเอง หลังจากที่วงการหนังของ อินโดนีเซียไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงมากนัก และขาดหายจากความจดจำของประชากรโลกไปนานพอสมควร มีแรงกระเพื่อมจากวงการหนังนอกกระแส ออกมาเป็นพักๆ หลังจากความสำเร็จของหนังแอคชั่นที่มีกลิ่นไอเฉพาะตัวเมื่อสิบปีก่อนและตามมาด้วยหนังสารคดีทรงพลังเหล่านั้นทำให้กระแส ของวงการหนังอินโดนีเซียดูจะขยายตัวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เริ่มต้นจากการที่ “Death Knot” หนังสยองขวัญคำสาปซึ่งดูจะเป็นประเภทของ หนังที่เด่นมากจากประเทศนี้ซึ่งกำกับโดย “Cornelio Sunny” ถูกเลือกเข้าฉายในเทศกาลหนังตะวันออกไกลอูดิเน่ แม้จะตามมาด้วยข้อถกเถียง ถึงคุณภาพของตัวหนังแต่มันก็กลายเป็นหนังที่เป็นที่จดจำในพื้นที่สื่อภาพยนตร์ไม่น้อยที่จะต้องพูดถึงหนังเรื่องนี้ ซึ่งสำหรับสื่อบางสำนักได้ยกให้ ติดลิสต์หนังยอดเยี่ยมจากอาเซียนประจำปีเลยก็มี แม้หลังจากนั้นมาหนังจากประเทศอินโดนีเซียดูจะเงียบๆไป มีเพียงหนังที่ยังตีตลาดบ็อกซ์ ออฟฟิศหรือสตรีมมิ่งเป็นระยะ แต่กลายเป็นว่ากระแสของหนังอินโดนีเซียกลับมาพุ่งแรงและฟาดแรงมากในช่วงปลายปีเริ่มจากเทศกาลหนังโล คาร์โน เมื่อหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับ “Edwin” อย่าง “Vengeance is Mine, All Others Pay Cash” เข้าฉายในสายประกวดหลักของ เทศกาลและคว้ารางวัลสูงสุดของหนังยอดเยี่ยมในสายไปครองได้ ด้วยสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์และการวิพากษ์สังคมการเมืองในหนังด้วยลีลาที่ แปลกตาทำให้หนังเรื่องนี้ถูกจดจำได้ไม่ยากเย็นนัก ถัดมาเพียงเดือนเดียวที่เทศกาลหนังโตรอนโตหนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับดาวรุ่งที่นำเสนอ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสังคมและวัฒนธรรมอินโดนีเซียในหนังของเธอได้อย่างชัดเจนเห็นได้จากหนังเรื่อง “The Seen and Unseen” หนัง ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้กำกับ “Kamila Andini” ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับดาวรุ่งที่ทั่วโลกจับจ้องด้วยการคว้ารางวัลกรังปรีซ์ในสาย “Generation Kplus” ของเทศกาลหนังเบอร์ลินในปีนั้น และหนังเรื่องนี้เองก็เข้าฉายในสาย “Platform” ของเทศกาลหนังโตรอนโต ก่อนที่อีกสี่ปี ถัดมาหนังเรื่อง “Yuni” จะเข้าฉายในสายเดียวกันนี้และคว้ารางวัลหนังเยี่ยมของสายไปครอง ซึ่งตอกย้ำว่าเธอกลายเป็นผู้กำกับเทียบชั้นผู้กำกับ เก่งๆระดับโลก หนังอีกเรื่องหนึ่งของอินโดนีเซียที่อดพูดถึงไม่ได้เลยนั่นคือหนังที่เข้าประกวดในเทศกาลหนังปูซานเทศกาลหนังสำคัญจากซีกเอเชีย อย่าง “Photocopier” หนังขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ “Wregas Bhanuteja” ที่ถึงแม้จะไม่ได้ถูกจดจำมากนักจากเทศกาลของเกาหลีใต้ แต่ กลายเป็นว่าเมื่อหนังที่อินโดนีเซียหนังสร้างแรงกระเพื่อมด้วยการกวาดถึงสิบสองรางวัลจากการเข้าชิงสิบหกรางวัล ก่อนที่จะลงฉายทางสตรีม มิ่ง นอกจากนี้หนังหลายหนังหลายเรื่องยังเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าลักษณะของหนังอินโดนีเซียที่เป็นหนังที่มีคาแรคเตอร์ลึกลับ อาชญากรรมสืบสวนสอบสวนเพื่อค้นหาความจริงที่ซ่อนอยู่ รวมทั้งหนังแอคชั่นเอาชีวิตรอดเป็นสินค้าส่งออกที่ประเทศทั่วโลกให้ความสนใจไม่ น้อยไม่ว่าจะเป็นหนังเรื่อง “Paranoid” ของผู้กำกับ “Riri Riza” หนังดราม่าครอบครัวพล็อตลึกลับที่ได้เข้าฉายที่เทศกาลหนังปูชอน และ “Preman” ของผู้กำกับ “Randolph Zaini” เรื่องราวการเอาตัวรอดหลังไปเจอการฆาตกรรมสุดสยดสยอง หนังได้ฉายที่แฟนตาสติกเฟสที่ ออสตินและเซี่ยงไฮ้ ก่อนที่หนังทั้งสองเรื่องจะได้เข้าชิงรางวัลในบ้านเกิดตัวเอง นี่ถือเป็นปีที่สำคัญของหนังอินโดนีเซีย และแน่นอนว่าหนังจาก อาเซียนที่ผลักดันให้ผู้กำกับที่เคยมีผลงานอยู่แล้วเป็นที่รู้จักในระดับสากลมากขึ้น และแจ้งเกิดผู้กำกับหน้าใหม่หลายคน ซึ่งหวังว่าเราจะเห็น วงการหนังทั้งหนังทำเงินและหนังรางวัลในอาเซียนเติบโตยิ่งขึ้นไปในอนาคต (Paranoid, Riri Riza) (Preman, Randolph Zaini)
  • 10. List of Myanmar Artists missing or captured by military dictatorship Ma Aeint (film producer) Htun Zaw Win (director, actor) Christina Kyi (director) and Zen Kyi (actor) Pyay Ti Oo (actor) Eindra Kyaw Zin (actress) May Toe Khing (actress) Ye Deight (actor) Zin Waing (actor) Zarganar (actor) Po Po (singer, performance artist) Myo Thandar Tun (actress) Athen Cho Swe (singer) Min Htin Ko Ko Gyi (director). Saw Phoe Khwar (singer) And others that we don’t know… Please stay safe. Thurein Lwin Lin Thit (actor) Khin Min Khant (actor) Zhan Qi (actress) Kristina Qi (director)
  • 11. 1. Who’s Stopping Us (Jonas Trueba, 2021) ความคลุมเครือของพรมแดนงานสารคดีและเรื่องแต่งถูกขมวดไว้อย่างน่าสนใจภายใต้โครงเรื่องของการเติบโตก้าวผ่านวัยและจิต วิญญาณของหนุ่มสาวที่โหยหายการเปลี่ยนแปลง และการอุบัติขึ้นของโรคระบาดที่เปลี่ยนช่วงวัยของพวกเขาไปตลอดกาล 2. Mr. Bachmann and His Class (Maria Speth, 2021) สารคดีอันเปี่ยมเสน่ห์ที่ร้อยเรียงเรื่องราวอย่างเป็นธรรมชาติด้วยการเล่าเรื่องเชิงสำรวจความสัมพันธ์และความรู้สึกของตัวละครที่ เกิดขึ้นในชั้นเรียน มันเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจและการแทรกสอดของความรู้สึกที่สะท้อนมนุษยนิยม
  • 12. 3. History of Ha (Lav Diaz, 2021) หนังขาวดำจับช่วงเวลาเริ่มต้นของยุคมืดฟิลิปปินส์ภายหลังการสูญเสียแมกไซไซ และประเทศเริ่มดำดิ่งสู่เงามืด หนังเปี่ยมไปด้วย ประวัติศาสตร์ของความเศร้าโศก และความหวังที่กร่อนทลายลงอย่างต่อเนื่องในทุกขณะที่หนังเดินเรื่องไปข้างหน้า 4. The Tsugua Diaries (Miguel Gomes, Maureen Fazendeiro, 2021) ไดอารี่ของความรักและความเศร้าที่คลุกเคล้าด้วยเวทมนต์ของการระลึกถึงในช่วงเวลาที่โรคระบาดลดทอนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ด้วยกันลง หนังเต็มไปด้วยห้วงคำนึงของความรู้สึกและความฝันในยามค่ำคืนของฤดูร้อน
  • 13. 5. Drive My Car (Ryusuke Hamaguchi, 2021) งานดัดแปลงที่เปี่ยมด้วยมนต์ของการจับจ้อง ความผิดปกติวิสัยถ่ายทอดอย่างคลุมเครือทว่ามีชั้นเชิง ความสัมพันธ์อันไร้พรมแดนของ ความรู้สึกถูกยืดยาวออกไปไร้จุดสิ้นสุด การบรรจบของอดีตและปัจจุบันสร้างความซับซ้อนของความรู้สึกได้อย่างมีเสน่ห์ 6. Petite Maman (Celine Sciamma, 2021) การประนีประนอมของความเศร้าและการสูญเสีย การลาจากเป็นภาพฝันของห้วงวัยเด็กอันแสนเจ็บปวดแต่งดงาม เรื่องราวอันเรียบ ง่ายถูกร้อยเรียงผ่านชั้นเชิงของการถ่ายทอดความรู้สึกที่ผสานกับบรรยากาศที่รายล้อมตัวละครได้อย่างงดงาม
  • 14. 7. Flee (Jonas Poher Rasmussen, 2021) งานสารคดีที่ผสมผสานงานแอนิเมชันสำรวจความเจ็บปวดที่ถูกปิดตายมานานหลายทศวรรษ การร้อยเรียงความรู้สึกของคำว่าบ้าน ผ่านการสำรวจตัวตนที่ถูกละทิ้ง นี่คือผลงานอันเปี่ยมด้วยความรู้สึกที่แตกสลายและเยียวยาผ่านกาลเวลา 8. Wheel of Fortune and Fantasy (Ryusuke Hamaguchi, 2021) เสน่ห์ของโชคชะตาที่เต็มไปด้วยดินแดนของความรู้สึกที่ลึกลับถูกบอกเล่าด้วยท่าทีที่ขมวดทบกันไม่เป็นเส้นตรง หนังซ้อนความรู้สึกของ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้อย่างน่าสนใจ และมีแง่มุมของความแปลกประหลาดน่าค้นหา
  • 15. 9. Licorice Pizza (Paul Thomas Anderson, 2021) หนังที่แสนจะเรียบง่ายของผู้กำกับที่เล่าความสัมพันธ์อย่างละเอียดอ่อนของคนต่างช่วงวัยสองคนท่ามกลางบรรยากาศและการเล่า เรื่องที่ผสานกันอย่างลงตัว งานที่ถูกออกแบบอย่างประณีตไต่ระดับความซับซ้อนของมนุษย์ได้อย่างงดงาม 10. Memoria (Apichatpong Weerasethakul, 2021) การทดลองของผู้กำกับที่พาผู้ชมไปสำรวจพรมแดนของเสียงในพื้นที่ใหม่ วิพากษ์ประเด็นการล่าอาณานิคม การสังหารหมู่ รวมทั้ง ชาติพันธุ์ที่สั่นประสาทตั้งแต่เสียงและเงาที่ดังขึ้นตอนต้นเรื่องไปจนถึงบทสรุปที่เต็มไปด้วยความทรงจำที่แสนคลุมเครือ
  • 16. 11. The Souvenir Part II (Joanna Hogg, 2021) งานภาคต่อที่สำรวจตัวตนที่เข้มข้นและดิ่งลึกมากยิ่งขึ้น ความแข็งแรงของงานภาพ และการกำกับที่สำรวจสภพแวดล้อมอันก้ำกึ่งของ สภาพจิตใจตัวละครถูกถ่ายทอดผ่านการเคลื่อนไหวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีชั้นเชิง 12. Hit the Road (Panah Panahi, 2021) ความขมุกขมัว และความเวิ้งว้างอันไร้จุดสิ้นสุดของบรรยากาศพื้นหลัง เส้นทางเดินของเรื่องราวที่ไม่ทราบซึ่งจุดหมาย การสำรวจที่ ทรงพลังของความรู้สึกของสถานที่และผู้คนที่หล่อหลอมความซับซ้อนของความรู้สึกที่เรียกว่า “บ้าน”
  • 17. 13. The Power of the Dog (Jane Campion, 2021) งานกำกับชั้นเยี่ยมที่ทับซ้อนขมวดทบความรู้สึกที่แท้จริงของตัวละครในเรื่องผ่านภาพเปลือกนอกของตัวละครและภูมิทัศน์ที่งดงาม การผสานความรู้สึกที่ถูกเยียวยาและความโกรธที่แผดเผาอยู่ในชั้นลึกของมโนทัศน์ถูกนำเสนอได้อย่างแข็งแรง 14. In Front of Your Face (Hong Sang-soo, 2021) งานชั้นเยี่ยมที่ถ่ายทอดความเลือนลางของภาพฝันและความเป็นจริงที่ต่างถูกประนีประนอมกับความผิดหวังและเสียใจที่เคยเกิดขึ้นใน อดีต ความศรัทธาที่ทอประกายอยู่ตรงหน้าพร่าเลือนความเป็นจริงที่ดำเนินอยู่ภายในสังคมให้มลายหายไป
  • 18. 15. Faya Dayi (Jessica Beshir, 2021) การล่องลอยไปกับความเพ้อฝันที่เกิดขึ้นบนเส้นเรื่องที่ไม่ชัดเจนและไม่คงตัว สารคดีเรื่องนี้เคลื่อนไหวเหมือนบทกวีที่คลอเคล้าไปกับ สารเสพติดที่พวยพุ่งอย่างไม่ลดละ มันทั้งลอยละล่องงดงามสุดประณีต แต่ในขณะเดียวกันมันก็ให้ความคมและรุนแรง 16. Vengeance is Mine, All Others Pay Cash (Edwin, 2021) ผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการกำกับของผู้กำกับอินโดนีเซียที่ผสมผสานแนวทางของตัวเองเข้าไปสรรเสริญหนังเกรดบียุคเก่า สะท้อน และอุปมาวิพากษ์สังคมชายเป็นใหญ่ในอินโดนีเซีย และพลวัตของการเปลี่ยนแปลงของหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างดี
  • 19. 17. The Book of Fish (Lee Joon-ik, 2021) ช่วงรอยต่อที่สถาบันกษัตริย์ใกล้ล่มสลาย สัจธรรมและธรรมชาตินิยมที่เคารพรากเหง้าของความเป็นมนุษย์ถูกถ่ายทอดได้อย่างมีชั้น เชิงบนสถานที่อันโดดเดี่ยวและกาลเวลาอันไร้ที่สิ้นสุด นี่คือหนังชั้นเยี่ยมที่เคารพความรู้สึกของมนุษย์ในสายลมของการเปลี่ยนผ่าน 18. The Edge of Daybreak (Taiki Sakpisit, 2021) งานภาพเชิงทดลอง เรื่องราวเชิงอุปมา ต่างผสมผสานเป็นหน่วยของความสัมพันธ์ที่วิพากษ์ผลกระทบของการเมืองและสังคมไทยได้ อย่างมีชั้นเชิง ความสัมพันธ์ของชนชั้นและการเมืองซึมซาบผ่านประสบการณ์ทางความรู้สึกที่เหมือนฝันร้ายไม่รู้จบ
  • 20. 19. Miguel’s War (Eliane Raheb, 2021) สารคดีชั้นเยี่ยมที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันแสนเจ็บปวดของชีวิตหนุ่มเกย์คนหนึ่งหลังหนีออกจากเลบานอนบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือการจัด วางของความจงใจที่พาผู้ชมกลับไปสำรวจประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด ความรวดร้าวของความรู้สึกผิด และการเยียวยา 20. The Girl and the Spider (Ramon Zurcher, Silvan Zurcher, 2021) ชั้นเชิงของการนำเสนอความซับซ้อนที่ลึกลับผ่านอุปมาเชิงสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคาแรคเตอร์นำสองคน เคล้า คลอกับบรรยากาศที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ และเต็มไปด้วยความคลุมเครือที่น่าสนใจของความสัมพันธ์มนุษย์
  • 21. 21. Yuni (Kamila Andini, 2021) เรียบง่าย บางเบา เหมือนต้องมนต์ที่รุนแรงของสถานที่และผู้คนสะท้อนผ่านชีวิตของวัยรุ่นในสังคมที่ถูกบีบรัดไว้ด้วยคุณค่าของ ศาสนาและความชายเป็นใหญ่ การร้อยเรียงเรื่องราวของหญิงสาวสอดประสานอย่างลงตัวกับทิศทางและบรรยากาศ 22. Bergman Island (Mia Hansen-Love, 2021) การผสมผสานระหว่างความลึกลับของสถานที่ เข้ากับเรื่องราวความสัมพันธ์เชิงรักใคร่ซึ่งล้วนแต่มีจุดร่วมกันในเรื่องของกาลเวลาที่ ผนวกเอาอดีตและปัจจุบันไว้ด้วยกันได้อย่างแนบเนียน สร้างผลลัพธ์ที่ทรงพลังกับความรู้สึกที่อยากจะจำกัดความ
  • 22. 23. Haruhara-san’s Recorder (Kyoshi Sugita, 2021) ความเรียบง่ายของการนำเสนอขมวดทบตัวกันอย่างช้ากับเรื่องราวที่คืบคลานไม่ชัดเจน แต่งแต้มอย่างแผ่วเบากับบรรยากาศที่ยากจะ ชี้ชัดแต่มีรสของความลึกลับชวนค้นหา นี่คือหนังที่สะท้อนความลึกลับซับซ้อนของการทำความเข้าใจการสูญเสียได้อย่างมีเสน่ห์ 24. Bad Luck Banging or Looney Porn (Radu Jude, 2021) ความตลกร้ายที่สะท้อนผ่านงานที่จัดจ้านมากที่สุดเรื่องหนึ่งของผู้กำกับสะท้อนความบิดเบี้ยวของสังคมที่เกิดขึ้นในโรมาเนียได้อย่าง ชัดเจน นี่คือส่วนผสมอันลงตัวของการวิพากษ์ความไม่เข้าที่เข้าทางที่เกิดขึ้นในประเทศสารขัณฑ์นี้
  • 23. 25. What Do We See When We Look at the Sky? (Alexandre Koberidze, 2021) เหมือนบทกวีที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ของการนำเสนอชีวิตประจำวันของผู้คน การผสมผสานความรักความสัมพันธ์ของตัวละคร นำยั่วล้อไปกับความหมกมุ่นของผู้คนในกีฬาฟุตบอลของจอร์เจียผ่านสภาวะกึ่งฝันได้อย่างน่าสนใจ 26. Compartment No.6 (Juho Kuosmanen, 2021) หนังการเมืองโรแมนติกที่สำรวจรากเหง้าอันคลุมเครือของความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และรัสเซียผ่านการเดินทางไปค้นหาอักษร ภาพสลักหิน นี่คือหนังรักของความไหวหวั่นทั้งในเชิงระดับบุคคล และประเด็นทางสังคมการเมืองระดับมหภาคของสองประเทศ
  • 24. 27. Minamata Mandala (Kazuo Hara, 2020) การสร้างสมดุลระหว่างการสำรวจเชิงคดีและการนำเสนอการเคลื่อนไหวของชีวิตจากบาดแผลในอดีตที่พวกเขาได้รับถูกวางสัดส่วน และจังหวะการเล่าเรื่องได้ดี สะท้อนความงดงามของชีวิตที่ยังคงดิ้นรนดำเนินต่อไปข้างหน้าแม้ผ่านมาเป็นทศวรรษ 28. The Worst Person in the World (Joaquim Trier, 2021) การกลับมาสร้างผลงานขึ้นหิ้งของผู้กำกับที่แต่งเติมพื้นที่ของการศึกษาคาแรคเตอร์ของตัวละครนำผ่านช่วงเวลาที่ผสมผสานความฝัน และความจริงได้อย่างงดงามล้อไปกับการเปลี่ยนผ่านที่คงตัวของพื้นหลังและบรรยากาศท้องเรื่อง
  • 25. 29. Once Upon a Time in Calcutta (Aditya Vikram Sengupta, 2021) งานทะเยอทะยานที่ประสบผลสำเร็จอย่างมหาศาล การจับภาพของชีวิตผู้คนผลักดันเรื่องราวดุจบทกวีที่สะท้อนแง่มุมเชิงสังคม วัฒนธรรมและการเมืองของพื้นที่ในปัจจุบันทั้งการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วและอิทธิพลของนักปรัชญา “รพินทรนาถ ฐากุร” 30. The Diary of Vaino Vahing (Rainer Sarnet, 2021) สารคดีกึ่งทดลองผสมผสานชีวประวัติซ้อนทับกับความสงสัยที่เกิดขึ้นในจิตใจที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งของ นักเขียนและจิตแพทย์ชาว เอสโตเนีย “ไวโน วาฮิง” สารคดีเต็มไปด้วยพื้นที่ของความหมกมุ่นและความบิดเบี้ยวของการสำรวจข้อขัดแย้งในความจริง
  • 26. 31. Looking for Horses (Stefan Pavlovic, 2021) สารคดีที่เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกของมนุษย์ การเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านความสัมพันธ์ของเพื่อนแปลกหน้าที่พบกันระหว่างทาง กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของเขา พัฒนาซึ่งการสำรวจบาดแผลในวัยเยาว์ท่ามกลางสงครามที่ทำให้เขาระหกระเหินจากบ้านเกิด 32. Pathos Ethos Logos (Joaquim Pinto, Nuno Leonel, 2021) หนังกึ่งทดลองที่กินเวลาการเล่าเรื่องมากกว่าสิบชั่วโมงแบ่งเรื่องราวเป็นสามส่วนผ่านการดำดิ่งไปในอาณาจักรของพระเจ้าผ่านความ กลัว ความหมดศรัทธา และแสงสว่างของชีวิตในรูปแบบที่ไม่เป็นเส้นตรง นี่คือหนังที่โอบกอดชีวิตมนุษย์ได้อย่างอัศจรรย์
  • 27. 33. All Light, Everywhere (Theo Anthony, 2021) สารคดีผสานความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและมนุษย์ด้วยวิธีการกำกับเชิงทดลองด้วยประสาทสัมผัสของภาพที่ทั้งต่อเนื่องและแยกออก จากกัน งานภาพของการสื่อความหมายและอารมณ์ความรู้สึกยังทรงพลังในงานของผู้กำกับเสมอ 34. Ghost Tropic (Bas Devos, 2019) งานภาพและจังหวะของความเหงาเดียวดายของชีวิตท่ามกลางแสงสียามค่ำคืนอันเงียบงัน การนั่งรถไฟจนสุดสถานี การเดินไป ข้างหน้าที่มีจุดหมายไม่แน่ใจ ถูกร้อยเรียงผ่านจังหวะความโดดเดี่ยวออกมาได้อย่างงดงามจับใจ
  • 28. 35. Ahed’s Knee (Nadav Lapid, 2021) จดหมายส่วนตัวถึงอดีตและบ้านเกิดที่เต็มไปด้วยความเศร้าและความโกรธ หนังเชิงทดลองสะท้อนความสัมพันธ์ที่ยุ่งเหยิงกับประเทศ ที่เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ชายเป็นใหญ่ และการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวด นี่คือหนังทดลองความรักที่เขามีต่ออิสราเอล 36. The Hand of God (Paolo Sorrentino, 2021) องค์ประกอบที่เรียบง่ายต่างจากงานหลายเรื่องของเขา ซึมซาบความรู้สึกและความทรงจำของผู้กำกับในอดีตเหมือนเสียงคลื่นที่ กระทบชายฝั่งอย่างแผ่วเบา เป็นการเคลื่อนไหวที่นิ่งเงียบเป็นธรรมชาติและซึมซับความศรัทธาของความทรงจำ
  • 29. 37. A Night of Knowing Nothing (Payal Kapadia, 2021) การปะทะกันระหว่างจดหมายรักที่รุ่มรวยไปด้วยความรู้สึกที่ผลิบานกับความโหดร้ายของระบบชนชั้นวรรณะที่ฝังรากลึกอยู่ใน วัฒนธรรมอินเดีย การร้อยเรียงเรื่องราวที่ผสมผสานอย่างลงตัวทั้งอ่อนโยนและดุดดัน เป็นงานสารคดีที่มีรสสัมผัสพิเศษ 38. Babi Yar. Context (Sergey Loznitsa, 2021) สารคดีสำรวจผลลัพธ์ผ่านกาลเวลาหลังนาซีสังหารยิวกว่าสามหมื่นคนในสามวันที่ยูเครน บาดแผลที่วิ่งผ่านอดีตทั้งการเข้ามาของโซ เวียต และการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในพื้นที่ต่างถูกร้อยเรียงได้อย่างมีชั้นเชิงสะท้อนวิกฤติเชิงมนุษยนิยม