SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  32
Télécharger pour lire hors ligne
1
เสวนาวิชาการภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14 พฤศจิกายน 2559
ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่:
บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง
ผู้ร่วมเสวนา:
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ไชยวัฒน์ ค้าชู
ศ. ดร. สุรชาติ บารุงสุข
รศ. ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี
ผู้ดาเนินรายการและร่วมเสวนา:
ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์
กล่าวต้อนรับ
ผศ. ดร. ศุภมิตร ปิติพัฒน์
หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขอต้อนรับทุกท่านในงาน
เสวนาวิชาการวันนี้ เราจัดงานเสวนา "ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่: บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศ
และการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง" ขึ้น เพราะตระหนักในความสาคัญของสหรัฐอเมริกาและการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจากเหตุผลสาคัญ 3 ข้อ
ข้อแรก เพราะสหรัฐอเมริกา คือการทดลองและห้องทดลองขนาดใหญ่ที่สาคัญที่สุดของ
ประชาธิปไตย อันเป็นการงานซึ่งไม่มีเสร็จสิ้นของประชาชนคนธรรมดาในการจัดการปกครองตนเอง
และเพราะสังคมแห่งนี้คือแดนที่กาเนิดมาในการแสวงหาอิสรภาพสาหรับให้คนต่างเชื้อชาติ สีผิว ภาษา
ศาสนา ชนชั้น เพศ เพศสภาพ และโลกทัศน์ความคิดอ่าน ได้มาอยู่รวมกัน เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขาไม่
เพียงอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันเพื่อให้แต่ละคนแสวงหาความสุขได้ แต่ยังทาให้สังคมที่พวกเขาอยู่นั้น
ดารงอยู่โดยยึดมั่นในคุณค่าหลักการที่เคารพความเสมอภาค เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เหตุผลข้อสอง ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่พูดถึงความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และ
ต้องการให้ประเทศของท่านคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ความยิ่งใหญ่นั้นจัดเป็นสถานะ และเช่นเดียวกับสิ่ง
ที่จัดว่าเป็นสถานะทั้งหลาย ความยิ่งใหญ่ย่อมต้องอาศัยการยอมรับของคนอื่นๆ เป็นปัจจัยสาคัญ ปัญหา
ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในเวลานี้ไม่ได้เป็นเพราะอานาจและความมั่งคั่งที่สหรัฐครอบครองอยู่มีไม่
2
พอหรือถดถอยลง แต่เกิดจากการใช้อานาจนั้นดาเนินนโยบายที่ผ่านมาโดยไม่อาจสร้างเป้าหมายและ
เจตจานงร่วมที่กว้างขวางมากพอที่จะรักษาฉันทามติและการยอมรับของฝ่ายต่างๆ ทั้งในประชาคม
ระหว่างประเทศ และฝ่ายต่างๆ ในสังคมอเมริกันเองไว้ได้ หน้าที่และความสามารถสาคัญที่สุดของ
ประธานาธิบดีสหรัฐคือการกาหนดเป้าหมายที่จะยังให้เกิดอานาจการนา ในทางที่จะทาให้ทั้งสังคม
ภายในและระหว่างประเทศเกิดความเห็นพ้องต้องกัน และโดยเหตุนั้นทุกฝ่ายจึงพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อ
ไปสู่เป้าหมายอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันนั้นด้วยความเต็มใจ และโดยความหมายนี้ ที่เราอยากเห็น
America Great Again เช่นเดียวกับท่านว่าที่ประธานาธิบดี
เหตุผลข้อสุดท้าย สหรัฐอเมริกามีความสาคัญ เพราะไทยและอาเซียนถือว่าสหรัฐอเมริกาคือ
เพื่อนของเรา เราจึงมีความหวังว่าเพื่อนของเราจะกลับมาเป็นแรงบันดาลใจดังที่เป็นมาแล้ว ว่าด้านดี
ของมนุษย์จะมีชัยชนะเหนือด้านชั่วร้ายของมนุษย์ได้ ก็เมื่อเขาเชื่อในความเท่าเทียมกันของคน รักษา
และเคารพในเสรีภาพของกันและกัน และมีสิทธิ์ในการปกครองตัวเอง
เรามาเสวนากันในวันนี้ก็เพราะเรายังอยากจะรักษาความหวังเช่นนั้น และเพราะเราเชื่อมั่นใน
เพื่อนของเรา
กล่าวนา
ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์
หัวข้อเสวนาที่ อ. ศุภมิตร ตั้งไว้คือ “ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่: บนทางแพร่งนโยบาย
ต่างประเทศและการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง” ดิฉันมีข้อสังเกตบางประการ ดังนี้
นับจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์พอดีหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในการ
เลือกตั้งครั้งนี้มีศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางคนมองว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น American tragedy
บางคนบอกว่าเป็น Shock and Awe ซึ่งใหญ่กว่า shock and awe ในปี 2011 บางคนบอกว่าผลของการ
เลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแหกกฎทุกกฎที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมืองอเมริกัน และแหกกฎทุกกฎที่เกี่ยวข้อง
กับบรรทัดฐานทั้งในการเมืองอเมริกันและการเมืองระหว่างประเทศ ขณะนี้สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นาที่มี
บทบาทในการส่งเสริมประชาธิปไตย ก็มีการตั้งข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ประชาธิปไตยแบบนี้เป็น
ประชาธิปไตยทางอ้อม ซึ่งอาจจะไม่ work หรือเปล่า
ก่อนที่เราจะไปพูดเรื่องเหล่านั้น ดิฉันจะขอพูดเรื่องที่เป็น “สิ่งที่ปรกติในการเมืองอเมริกัน”
เสียก่อน เนื่องจากในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ทุกคนต่างรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ปกติเอาเสียเลย แต่ในความ
คิดเห็นของดิฉัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ปรกติมากใน 2-3 ประเด็นด้วยกัน
ประการแรก การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐถือว่าเป็นเรื่องปรกติ (normalcy) ทางการเมืองของ
สหรัฐ ในทุกๆ 4 ปี ทุกคนรู้ว่าจะมีการเลือกตั้ง เปลี่ยนผ่านผู้นาฝ่ายบริหารของสหรัฐ พร้อมๆ กับการ
เปลี่ยนผ่านผู้นาฝ่ายนิติบัญญัติ 435 คนในสภา การเปลี่ยนผ่านในวุฒิสภา รวมถึงการเลือกตั้งผู้ว่าการ
3
มลรัฐ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้คือกระบวนการปกติของประเทศประชาธิปไตย ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่การ
เลือกตั้งและการปกครองใหม่ทุกๆ 4 ปี ไม่ได้มีความผิดปรกติอะไรเลย เพียงแต่ครั้งนี้ที่คิดว่าผิดปรกติ
เพราะทุกคนนั้นคาดหมายผลการเลือกตั้งผิด จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการหักปากกาเซียนทั้งหมด หรือ
แม้แต่การตั้งคาถามกับผลโพลล์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
นี่คือ normalcy ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาก็มี
การทาโพลล์ และหากดูในอดีต ส่วนใหญ่แล้วผลการเลือกตั้งก็ไม่ค่อยจะผิดไปจากโพลชนิดหักปากกา
เซียนขนาดนี้ เพราะการทาโพลล์ก็มีหลักฐานทางวิชาการกากับอยู่ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า
โพลล์ที่ออกมา ทั้งที่เป็นโพลล์จากสื่อและไม่ใช่สื่อนั้น มีความโน้มเอียงเข้าข้างหรือเชียร์นางคลินตัน
อย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ศาสตร์ทางรัฐศาสตร์ไม่มีทางที่จะทานายถูกต้อง 100% เราไม่ได้อยู่ใน
ห้องทดลอง คุณจะใช้ Rational Choice เท่าไหร่ก็ตาม ก็ไม่มีทางถูกต้องทั้งหมด
Normalcy ประการที่สอง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทุกครั้ง ประเด็นในการหาเสียงไม่
เคยเปลี่ยนแปลง กล่าวคือประเด็นหลักในการหาเสียงทุกครั้งเป็นเรื่อง “ปากท้อง” ในคาพูดของอดีต
ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ก็คือ “It’s economy, stupid” เท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องอื่น ซึ่งเรืองปากท้องเรื่อง
เศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นเรื่องของประชาชนอเมริกันให้ความสนใจเท่านั้น แต่คนทั่วโลกก็กังวลกับเรื่องนี้
ทั้งนั้น ว่าจะมีกินมีใช้หรือไม่ มีหลักประกันถ้วนหน้าหรือไม่ มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ถูกตัดภาษีมากน้อย
แค่ไหน อีกประเด็นหนึ่งที่อยู่ในการเลือกตั้งตลอดก็คือเรื่องสีผิว (race) ซึ่งเรื่องนี้ไม่เคยหายไปจาก
การเมืองอเมริกัน เรื่องสุขภาพ (health care) ก็ไม่เคยหายไปจากการเมืองอเมริกัน ในขณะที่เรื่องผู้
อพยพ (immigration) ก็อาจจะมีบ้าง แต่ต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความเท่าเทียม (equality) ของคน
อเมริกัน แต่ประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คือ เรื่องอาชญากรรม แต่ประเด็น
ที่ไม่เคยเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทุกครั้งก็คือ เรื่องนโยบาย
ต่างประเทศ นโยบายต่างประเทศมีความสาคัญน้อยมากในการหาเสียงเลือกตั้ง นโยบายต่างประเทศจะ
เป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีวิกฤตขึ้น เช่น กรณี 9/11 หรือจะเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับ
เศรษฐกิจ เช่นในกรณีของสงครามเวียดนาม หรือจะเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับความ
มั่นคงแห่งชาติ (national security) นั่นคือแม้นโยบายต่างประเทศจะสาคัญ แต่ก็อยู่ในการหาเสียงน้อย
มาก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการสาบานตนเข้ารับตาแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560 แล้ว คงจะ
เห็นทิศทางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่ชัดเจนมากขึ้น
Normalcy อีกประการหนึ่ง การที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ก็เป็นผลจากการที่ฝ่ายบริหารอยู่ใน
ตาแหน่งมาแล้ว 2 สมัย โอกาสของผู้สมัครคนใหม่จากพรรคการเมืองเดียวกับที่บริหารมาแล้ว 2 สมัย
เป็นเรื่องที่ยากมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คลินตันจะไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้
สิ่งที่ดิฉันคิดว่าไม่ปรกติในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คือ ประเด็นเรื่องบุคลิกลักษณะ (characteristics)
และการใช้ถ้อยคา (rhetoric) ที่หยาบคาย กลายเป็นประเด็นหลักมากกว่าเรื่องนโยบาย หากดูการหา
เสียงและ debate ที่ผ่านมาจะพบว่ากล่าวถึงเรื่องนโยบายน้อยมาก แต่โจมตีกันเรื่องบุคลิกลักษณะ นิสัย
ใจคอเป็นสาคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการเมืองอเมริกัน ประเด็นก็คือ
หากกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ เราควรจะเอาอย่างบรรทัดฐานใหม่นี้หรือไม่
4
ดิฉันจะตั้งคาถามเพื่อเป็นกรอบให้วิทยากรเลือกตอบ ก็คือ
1) การเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนอะไรที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยในสหรัฐ ไม่ใช่แค่กระบวนการ
เลือกตั้งเท่านั้น ระบบการเลือกตั้ง การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น และยังสะท้อนหรือไม่ว่า
ประชาธิปไตยไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในประเทศได้ หรืออาจกล่าวได้หรือไม่ว่าการ
เลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการประชาธิปไตยแบบอเมริกันยิ่งสร้างช่องว่างของคนในสหรัฐให้
ห่างยิ่งขึ้น จึงเกิดความไม่เท่าเทียมกัน หากเราดูการวิเคราะห์วิจารณ์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็คือ ครั้งนี้
เป็นการปฏิเสธต่อ establishment เป็นการปฏิเสธ เป็นความโกรธและความไม่พอใจต่อกลุ่มคนรวย คน
ที่อยู่ในตาแหน่ง รวมถึงสื่อด้วย เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ยิ่งสร้างความห่างทางเศรษฐกิจและการมีโอกาส
ทางการเมือง ตกลงว่าประชาธิปไตยของสหรัฐล้มเหลวหรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่สหรัฐยึดถือมาโดย
ตลอดไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีก็คือ การส่งเสริมประชาธิปไตย
2) การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อระเบียบโลกอย่างไรหรือไม่ ทุกคนบอกว่าตอนนี้ระเบียบโลก
สั่นคลอนมาก คือ Liberalized order อันเป็นระเบียบโลกซึ่งสหรัฐสร้างมาเองกับมือหลังสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 โดยมีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นแกนนานั้น กาลังถูกท้าทายอย่างมาก เพราะทรัมป์ประกาศว่าจะ
ถอนตัวออกจากระเบียบโลกนี้ และจะดาเนินนโยบายโดดเดี่ยว (isolationism) และ America First
3) เราในฐานะประเทศกาลังพัฒนาและกาลังเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เราจะเรียนรู้อะไรจาก
ประชาธิปไตยแบบสหรัฐ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ไชยวัฒน์ ค้าชู
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศประชาธิปไตยแห่งเดียวในโลกที่ประกาศผู้ชนะการเลือกตั้ง โดยที่
ปัจจุบันก็ยังนับคะแนนไม่เสร็จสิ้น และผู้แพ้ก็ออกมาประกาศยอมรับความพ่ายแพ้แล้ว ผลการเลือกตั้งที่
เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิด โพลล์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ก็บอกมา
อย่างคงเส้นคงวาว่า โอกาสที่นางฮิลลารี คลินตัน จะชนะการเลือกตั้งมีถึง 99% ในขณะที่ผู้ก่อตั้งโพลล์
Princeton Consortium คือ Prof. Sam Wang ก็ไม่คิดว่าทรัมป์จะชนะการเลือกตั้ง หรือแม้แต่นิตยสาร
Newsweek เองก็เตรียมฉบับล่วงหน้าไว้ พร้อมกับพาดหัวนิตยสารว่า “Madam President Hillary
Clinton: Historic Journey to the White House” และเนื้อหาในบทบรรณาธิการที่เตรียมไว้ได้กล่าวว่า
ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าคนอเมริกันปฏิเสธแนวทางหาเสียงแบบอนุรักษ์นิยมของโดนัล
ทรัมป์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเกลียดชังและความกลัว ทาให้เพดานหรือกาแพงที่สูงที่สุดในโลก
ตะวันตกได้ถูกทาลายลงแล้ว ก็คือเป็นผู้หญิงคนแรกของสหรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่
ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็ทาให้นิตยสารดังกล่าวต้องเรียกนิตยสารคืนทั้งหมด เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็น
ถึงการคาดการณ์ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้
สาหรับผู้ที่ติดตามการเลือกตั้งสหรัฐและเข้าใจระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ จะพบว่าโอกาส
ที่ทรัมป์ จะชนะการเลือกตั้งนั้นยากมาก เนื่องจากสหรัฐมีระบบการเลือกตั้งโดยใช้คณะผู้เลือกตั้ง
5
(electoral college) ที่มีคะแนนรวม 538 เสียง หากผู้สมัครคนใดได้คะแนนเกินกว่า 270 เสียงก่อน ก็
ชนะการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ทรัมป์ สามารถเอาชนะได้ โดยชนะอย่างเฉียดฉิวใน 3 มลรัฐใหญ่ที่เป็น
battleground states ได้แก่ มิชิแกน เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน ซึ่งทั้ง 3 มลรัฐนี้มีคะแนน electoral
college รวมกัน 46 เสียง และในการเลือกตั้งที่ผ่านมา 6 ครั้ง พรรคเดโมแครตได้ชัยชนะในมลรัฐเหล่านี้
ทั้งสิ้น แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเดโมแครตแพ้การเลือกตั้งอย่างเฉียดฉิวเท่านั้น โดยก่อนการ
เลือกตั้ง ทั้งโพลล์หรือแม้แต่ตัวผู้สมัครชิงตาแหน่งประธานาธิบดีเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าผลการเลือกตั้งจะ
ออกมาเป็นเช่นนี้ และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้ที่ชนะ popular vote แต่พ่ายแพ้ใน electoral college จะ
ไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ยังนามาสู่ข้อถกเถียงของการยกเลิกระบบการเลือกตั้งแบบ electoral
college และให้ดูที่คะแนน popular vote แทน โดยให้เหตุผลว่าผู้ที่เป็นประธานาธิบดีที่ชนะ electoral
college แต่แพ้คะแนนเสียงใน popular vote นั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของคน
ทั้งประเทศ ในขณะที่ทรัมป์ หรือตัวแทนผู้สมัครชิงตาแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในอดีตก็
กล่าวประณามและเสนอให้ยกเลิกระบบการเลือกตั้งแบบนี้อย่างมากอีกด้วย
ในทัศนะของผม ผมเห็นด้วยกับระบบเลือกตั้งของสหรัฐ เพราะจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของระบบการ
เลือกตั้งแบบ electoral college ก็เพื่อป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เป็นพวก demagogue พวกที่หาเสียง
ให้ผู้คนหลงเชื่อ ได้รับเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งจะต้องได้รับการกลั่นกรองผ่านระบบ electoral college
เสียก่อน
ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวจากฝ่ายสนับสนุนนางคลินตันเรียกร้องให้คณะผู้เลือกตั้งไม่ไป
ลงคะแนนเสียงให้ทรัมป์ เพื่อให้มีคะแนน electoral college ไม่ถึง 270 คะแนน แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้คง
เป็นไปได้ยาก
ส่วนการวิเคราะห์ว่าเหตุใดทรัมป์ถึงชนะการเลือกตั้งนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะทรัมป์ บริสุทธิ์ใจ
หรือเพราะเป็นคนดี ก่อนหน้านี้ทรัมป์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเรื่องอุปนิสัยและพฤติกรรมในอดีต ซึ่ง
เกินกว่าคนอเมริกันจะยอมรับได้ แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่ได้เดินทางไปสหรัฐในช่วง
ก่อนการเลือกตั้งพบว่า ทัศนคติของคนอเมริกันสะท้อนชัดเจนว่า “เขาเลือกประธานาธิบดี ไม่ได้เลือก
สังฆราช เขาไม่ได้เลือกอดีตของทรัมป์ แต่เลือกอนาคตของประเทศ” คาพูดเหล่านี้สะท้อนว่า คน
อเมริกันไม่ได้สนใจเรื่องส่วนตัวของทรัมป์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่ประชาชนเลือกคนที่คิดว่าจะ
มาเปลี่ยนแปลง มาแก้ไขปัญหา แล้วก็สอดคล้องกับ exit poll ที่ถามถึงคุณสมบัติที่สาคัญที่สุดของ
ประธานาธิบดี คาตอบออกมาชัดเจนมากก็คือ ผู้ที่สามารถทาการเปลี่ยนแปลงได้ และผู้ที่มีคาตอบเช่นนี้
กว่า 83% ลงคะแนนเสียงเลือกทรัมป์
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทาให้คลินตันแพ้ใน 3 มลรัฐใหญ่ในแถบ Mid-West ซึ่งเป็นรัฐหัวใจสาคัญของ
อุตสาหกรรมของสหรัฐ และในอดีตยังเป็นฐานเสียงของพรรคเดโมแครต เนื่องจากคนทางานนิยมพรรคนี้
แต่ตอนนี้พวกเขารู้สึกว่าได้รับผลกระทบ ในขณะที่ทรัมป์เองก็ประสบความสาเร็จในการโน้มน้าวให้เห็น
ว่า นโยบายของพรรคเดโมแครตในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน โดยเฉพาะเรื่องเขตการค้าเสรี
ส่งผลให้คนทางานเหล่านี้ต้องตกงานและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ประเด็นนี้ยังสอดคล้องกับ exit poll ที่
6
ถามถึงทัศนะต่อเรื่องการค้าเสรี ประชาชนกว่า 42% เห็นว่าเป็นการแย่งงานคนอเมริกัน โดยคนจานวน
นี้กว่า 65% ลงคะแนนให้ทรัมป์ นั่นคือ การต่อต้านโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งรวมกรณี Brexit ด้วย
ผู้คนเห็นว่าเขาได้รับผลกระทบมากกว่าผลดี
ในการสารวจยังพบอีกด้วยว่า ตลอดการดารงตาแหน่ง 8 ปีของโอบามา มีผู้ชื่นชอบและเห็นด้วย
กับผลงาน 53% ซึ่งเป็นเรื่องยาก ในสมัยประธานาธิบดีเรแกนก็ได้รับคะแนนนิยมมาก จนมีอานิสงส์ให้
บุช ผู้พ่อ ชนะการเลือกตั้ง จนเป็นการครองตาแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 3 ของพรรครีพลับลิกัน แต่
นางคลินตันโชคไม่ดี ทั้งๆ ที่โอบามามีคะแนนนิยมดี แต่คะแนนนิยมดังกล่าวไม่ได้ถูกส่งต่อมายังนาง
คลินตัน แต่ประเด็นสาคัญที่สุดที่ทาให้นางคลินตันแพ้การเลือกตั้งก็คือ ฐานเสียงของพรรคเดโมแครต
ของโอบามาก็คือ กลุ่มสุภาพสตรี คนแอฟริกันอเมริกัน คนกลุ่มน้อย เช่น คนลาติโน คนเอเชีย ในขณะที่
โอบามาไม่ค่อยได้รับคะแนนเสียงจากกลุ่มอเมริกันผิวขาว แต่ได้รับคะแนนจากฐานเสียงอย่างมาก จน
ได้รับการเลือกตั้งถึง 2 สมัย แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มฐานเสียงเหล่านี้ไม่ได้ลงคะแนนให้นางคลินตัน
มากเท่ากับที่เคยลงให้กับโอบามา
จากที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นถึงปัจจัยที่ทาให้ผลการเลือกตั้งครั้งนี้เหนือความคาดหมาย
ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์
อ. ไชยวัฒน์ ได้กล่าวถึงระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ ดิฉันอยากจะขอเสริมว่า คะแนนเสียง
popular vote ตัดสินคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ทั้งสองส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกัน หมายความว่า
ผู้แทนของพรรคใดได้คะแนนเสียง popular vote ในรัฐนั้นมากที่สุด ก็จะได้คะแนนเสียง electoral
college ของรัฐนั้นไปทั้งหมด (ยกเว้น 2 มลรัฐ ที่มีการคิดคะแนน electoral college แบบสัดส่วน)
กล่าวคือ เมื่อพรรคใดชนะในรัฐนั้น คณะผู้เลือกตั้งของพรรคนั้นๆ ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาในการเลือกตั้งแต่ละ
ครั้งเป็นการเฉพาะ ก็จะลงคะแนนให้กับพรรคตน ในขณะที่คณะผู้เลือกตั้งของอีกพรรคหนึ่งที่พ่ายแพ้
การเลือกตั้ง ก็จะไม่ได้ทาหน้าที่นี้
อีกประเด็นหนึ่งคือองค์ประกอบของผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่สาคัญมากของปีนี้และ
ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ กลุ่มคน Millennial ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่กลุ่มใหม่ บางส่วนเพิ่งมีสิทธิ์ออกเสียง
เลือกตั้งครั้งแรก บางส่วนอายุราว 20-30 บางส่วนเป็นคนทางาน และได้รับผลกระทบมากที่สุด เดโม
แครตหวังว่าคนกลุ่มนี้จะออกมาเลือกตั้งและลงคะแนนเสียงให้ตน แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่แน่ใจถึงสาเหตุว่า
คนกลุ่มนี้ลงคะแนนให้เดโมแครตน้อยกว่าหรือคนกลุ่มนี้ไม่ออกมาเลือกตั้งเลย ประเด็นนี้สาคัญมาก
เพราะจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วโลก ในอนาคตสังคมทั่วโลกจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มี
คนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้น แต่ถ้าคนเหล่านี้ไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจการเลือกตั้ง คิด
ว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ จึงไม่มาออกเสียงเลือกตั้ง จะเกิดอะไรขึ้น
7
รศ. ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี
พฤติกรรมการตัดสินใจของคนอเมริกัน
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีมายาคติจานวนมากในการตีความพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนอเมริกัน
ในครั้งนี้ เช่น คนเลือกทรัมป์เป็นคนนอกเมือง ไม่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีฐานะยากจน เป็นต้น
ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงกับการเมืองไทยโดยไม่จาเป็น แต่โดยปกติ พฤติกรรม
การเลือกตั้งของคนอเมริกัน คนขาวที่จบการศึกษาในระดับมัธยมหรืออนุปริญญาก็มักจะเลือกพรรครีพับ
ลิกันอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องปรกติ ในด้านฐานะทางเศรษฐกิจ คนที่เลือกรีพับลิกันจะมีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่
ในระดับต่ากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐต่อปี กับอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมาก ส่วนคนที่
เลือกเดโมแครตจะอยู่ในระดับกลางๆ จบปริญญาตรี เป็นชนชั้นกลางทั่วไป และฐานเสียงของเดโมแครต
ก็ไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปรกติของการเมืองอเมริกัน
สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น New Normal หรือสิ่งที่ครั้งนี้ต่างไปจากครั้งอื่นก็คือ การเลือกตั้งครั้งนี้
เป็นการพังทลายของกลุ่มพันธมิตรเดิมที่เคยเลือกโอบามามาตั้งแต่ ค.ศ. 2008 (the collapse of
Obama coalitions)
การเกิดขึ้นของ Obama coalitions ทาให้นึกถึงการเกิดขึ้นของฐานเสียงของเดโมแครตใน
สมัยแฟรงคลิน รุสเวลท์ เดิมฐานเสียงของรีพับลิกันคือคนผิวสีที่อยู่ทางใต้ แต่รุสเวลท์เป็นคนที่สร้าง
coalitions ใหม่ขึ้นมา คือดึงคะแนนของคนผิวสีให้มาเลือกเดโมแครตจากนโยบาย New Deal ซึ่งเสนอ
ว่าจะสร้าง social safety net จะนางบประมาณจากภาษีมากระจายให้แก่ชนชั้นล่างมากขึ้น การมี
สวัสดิการสังคม เป็นต้น ข้อเสนอเหล่านี้เป็นการสร้างพันธมิตรใหม่ และโอบามาเองก็ได้สร้างพันธมิตรนี้
มาตั้งแต่การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2008
ดิฉันเชื่อว่าฮิลลารีอาจจะประเมินพันธมิตรทางการเมืองนี้เข้มแข็งเกินไป และไม่ได้ตระหนักถึง
การพังทลายของพันธมิตรนี้
ในส่วนของ 3 มลรัฐที่ อ. ไชยวัฒน์ กล่าวถึง รวมถึงมลรัฐอื่นๆ ใน Mid-West เช่น มิชิแกน
เพนซิลวาเนีย วิสคอนซิน โอไฮโอ และอิลลินอยส์ มีลักษณะเป็น “Rust Belt” คือเป็น “ภูมิภาคขึ้นสนิม
ทางเศรษฐกิจ” กล่าวคือ มลรัฐเหล่านี้เคยรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมหนัก เช่น
รถยนต์ เหล็ก แต่ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทาให้อุตสาหกรรมในพื้นที่แถบนี้เสื่อมถอย ฮิลลารี
ค่อนข้างมั่นใจกับคะแนนเสียงจากพื้นที่เหล่านี้ จนแทบไม่ลงพื้นที่หาเสียงเลย เนื่องจากมลรัฐเหล่านี้เป็น
พันธมิตรหลักของโอบามาและทาให้โอบามาชนะการเลือกตั้ง หรือกล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ พื้นที่ในมลรัฐ
แถบนี้เคยเป็นพื้นที่สีน้าเงินมาก่อน
แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า คนอเมริกันผิวขาว ทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะที่อยู่ในเขตนอก
เมือง (non-urban) เลือกรีพับลิกัน ทั้งๆ ที่คนกลุ่มนี้เคยเป็นฐานของเดโมแครตมาก่อน เหตุผลก็
เพราะว่า คนเหล่านี้เห็นว่านโยบายของเดโมแครตที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อ
พวกเขาอย่างมาก โดยพวกเขาตาหนินโยบายการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ในสมัยประธานาธิบดี
คลินตัน และเมื่อโอบามาผลักดันนโยบายข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
8
(TPP) ผู้คนเหล่านี้ต่างก็ไม่พอใจอย่างมาก ขณะเดียวกันทรัมป์ก็ใช้ Alamo Campaign เป็นกลยุทธ์ใน
การหาเสียง โดยการใช้ความสามารถทางโซเชียลมีเดียในการให้ข้อมูลแก่กลุ่มคนต่างๆ ว่าคนกลุ่มไหน
ควรให้ข้อมูลอะไร เช่น กลุ่มผู้หญิงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์นอกสมรสของบิล คลินตัน และฮิล
ลารีใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงเหล่านี้ ส่วนผู้คนในพื้นที่ Rust Belt ก็อาจได้ข้อมูลว่าฮิลลารีสนับสนุน TPP
และนโยบายนี้จะส่งผลกระทบอย่างไร เป็นต้น
อีกตัวแปรหนึ่งที่สาคัญก็คือ ผู้สมัครคนที่ 3 จากข้อมูลพบว่า ในหลายมลรัฐ ฮิลลารีถูกช่วงชิงชัย
ชนะไปเพราะผู้สมัครคนที่ 3 เช่นในเพนซิลวาเนีย ทรัมป์ได้ 48% คลินตันได้ 47% จอห์นสันได้ 3% ถ้า
หากรวมคะแนนของจอห์นสันกับฮิลลารี ฮิลลารีก็จะได้คะแนน electoral vote ทั้งหมดของรัฐนี้ไป แต่
เมื่อมีผู้สมัครคนที่ 3 ทาให้คะแนน electoral vote เป็นของทรัมป์ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในมลรัฐ
อื่นๆ อีก เช่น ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน1
จากที่กล่าวในข้างต้น สิ่งที่เป็น New Normal ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบนี้ก็คือ การ
เปลี่ยนของคนที่เคยสนับสนุนโอบามา โดยคนกลุ่มนี้มาลงคะแนนเสียงให้ฮิลลารีน้อยลง ในขณะที่อีก
ส่วนหนึ่งไม่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งค่อนข้างน้อย แม้ฮิลลา
รีจะได้คะแนนเสียงอย่างมาก แต่ก็น้อยกว่าที่โอบามาเคยได้อย่างมาก
การที่คนกลุ่มนี้ออกมาลงเสียงให้ฮิลลารีน้อย ก็มีการวิเคราะห์ว่าเป็นกลุ่มคนที่ “Feel the Bern”
หรือกลุ่มคนที่สนับสนุนเบอร์นี แซนเดอร์ส ซึ่งคนเหล่านี้รู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขาไม่ได้รับการ
ตอบสนอง ประเด็นนี้น่าสนใจต่อพรรคเดโมแครต 2 ประการ คือ ถ้าเบอร์นีลงสมัคร จะชนะหรือไม่ แต่ก็
ไม่มีใครสามารถตอบได้ แต่คาถามสาคัญคือทาไมฮิลลารีไม่เลือกเบอร์นีมาเป็น running mate เพราะนี่
จะเป็นการรักษาฐานเสียงของพรรคเดโมแครต ซึ่งเสียงที่ต้องการเลือกเบอร์นีคือเสียงที่ต้องการความ
เปลี่ยนแปลงในพรรคเดโมแครต สิ่งที่ชัดเจนอย่างหนึ่งในการเมืองอเมริกันคือ เดโมแครตกับรีพับลิกัน
ต่างกันน้อยมาก มีจุดยืนทางนโยบายใกล้กันมาก เบอร์นีต้องการที่จะขับเคลื่อนเดโมแครตออกไปซ้าย
มากขึ้น เบอร์นีทาให้คาว่าสังคมนิยม ซึ่งคานี้ถือว่าเป็นคาต้องห้ามในสังคมอเมริกัน กลับมาได้รับการ
ถกแถลงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นฐานเสียงหลักของเดโม
แครต ดิฉันเชื่อว่ากลุ่มคนที่ “Feel the Bern” ประท้วงเดโมแครตด้วยการไม่ออกมาลงคะแนน นี่เป็น
เหตุผลหนึ่งที่ทาให้จานวนผู้มาเลือกตั้งมีน้อย
ระบบการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง กฎกติกา
ดิฉันคิดว่า โครงสร้างการเลือกผู้สมัครในครั้งนี้มีปัญหา กล่าวคือเหตุใด super delegates จึง
ไม่ให้คะแนนเบอร์นีเลย หลายคนมองว่านี่เป็นการล็อคผลการเลือกผู้แทนของเดโมแครต อีกประการ
หนึ่งคือ เหตุใดแกนนาพรรคเดโมแครตที่เป็น establishment จึงลาเอียง เทคะแนนให้กับฮิลลารีอย่าง
ท่วมท้นถล่มทลาย นอกจากนี้ยังมีอีเมลล์เผยแพร่ว่า ในการอภิปรายเพื่อชิงตาแหน่งตัวแทนผู้สมัครจาก
เดโมแครตนั้น ฮิลลารีได้รับคาถามล่วงหน้า เป็นต้น ความรู้สึกเหล่านี้สะท้อนถึงกระบวนการจัดการ
เลือกตั้ง คือการเลือกตั้งขั้นต้น รวมไปถึงผลจาก exit poll ที่ถามผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าตัดสินใจเลือก
1 http://www.politico.com/2016-election/results/map/president [17 พฤศจิกายน 2559]
9
ผู้สมัครคนใดตั้งแต่เมื่อไร ผลปรากฏว่า 60% เลือกตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีการ
อภิปรายระหว่างผู้ชิงตาแหน่งประธานาธิบดีและก่อนที่จะมีกรณีอีเมลล์ หรือข่าวลือใดๆ เสียอีก นั่นคือ
การเลือกตั้งถูกตัดสินใจไปแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แต่ละคนได้รับ
คาถามสาคัญคือ การอภิปรายของผู้ชิงตาแหน่งประธานาธิบดีมีส่วนช่วยอะไรหรือไม่ แต่ดิฉันคิดว่า
อย่างไรก็คงต้องมี เพราะทาให้เราได้ทดสอบคุณลักษณะ (character) ของผู้สมัคร ถึงแม้ว่าผู้คนจะ
ตัดสินใจไปแล้วก็ตาม และสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ก็คือ สื่อจะมีการเช็คข้อมูล (fact check) ทุกครั้ง
ประเด็นสาคัญคือ ทาอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลให้ได้มากที่สุด ส่วนการตัดสินใจจะเป็น
อย่างไรนั้น เราอาจยอมรับได้มากกว่านี้ อีกประเด็นคือถ้าเป็นระบบ popular vote ผลการเลือกตั้งจะ
ออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ในเมื่อกฎกติกาเป็นแบบนี้ ทั้งฮิลลารี และ democratic establishment ไม่มี
ใครออกมากล่าวหาว่าระบบนี้ไม่เป็นธรรม เพราะระบบ electoral vote ได้รับการยอมรับว่าเป็นกติกามา
ตั้งแต่แรกแล้ว แต่ถามว่ามีโอกาสที่จะแก้กติกานี้หรือไม่ ดิฉันเชื่อว่ามี แต่คงไม่ใช่ระยะเวลาอันใกล้ ครั้งนี้
เป็นครั้งที่ 5 ที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียง popular vote น้อยกว่า ชนะการเลือกตั้ง และทั้ง 5 ครั้ง พรรคเด
โมแครตเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งสิ้น สิ่งที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงก็คือ หลายรัฐอาจจะเปลี่ยนวิธีการ
เลือกตั้งของตัวเอง จากแบบ winner takes all เป็นแบบ proportion คือคะแนน electoral vote แบ่งตาม
สัดส่วนของคะแนน popular vote ที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ ซึ่งจะทาให้ผลการเลือกตั้งเป็นธรรมมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นแต่ละมลรัฐสามารถดาเนินการเช่นนี้ได้โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การเลือกตั้งในระบบ electoral vote ส่งผลต่อการกาหนดกลยุทธ์ของการเลือกตั้ง กล่าวคือระบบ
นี้จะทาให้ผู้สมัครไม่ลงพื้นที่หาเสียงในมลรัฐที่มีคะแนน electoral vote น้อย แต่จุดเริ่มต้นของระบบการ
เลือกตั้งแบบนี้ก็คือ ประเทศสหรัฐใหญ่ คนที่จะมาเลือกตั้งอาจไม่รู้จักหน้าค่าตาของประธานาธิบดี จึงให้
มีการเลือกตั้งผ่านตัวแทน แต่หากพิจารณาในรายละเอียดแล้ว ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐมีที่มาจาก
ประเด็นเรื่องสีผิว ผู้ที่อยากให้มีระบบการเลือกตั้งแบบนี้คือ James Madison ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน
Thomas Jefferson เนื่องจากประชากรทางเหนือเป็นคนผิวขาวมากกว่า ส่วนประชากรทางใต้ส่วนใหญ่
เป็นผิวสีและทาส Madison บอกว่าถ้าให้เป็น popular vote คนผิวขาวทางเหนือชนะตลอด จะไม่เป็น
ธรรมกับคนทางใต้ ซึ่งมีประชากรเยอะกว่า แต่มีผิวสี Madison เสนอว่าต้องใช้ electoral vote โดยให้
ประชากรผิวสี 5 คนเท่ากับ 2 เสียงของ electoral vote แต่คนผิวสีไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง เฉพาะคนผิวขาว
เท่านั้นที่จะเป็น electoral vote ได้ แต่ให้นับคนผิวสีด้วย ระบบนี้ทาให้ Jefferson เอาชนะ John Adams
และขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐได้
อ. ไชยวัฒน์
ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองหรือผู้ที่สนใจการเมืองสหรัฐมักจะคิดว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในการ
เลือกตั้งเป็นเสรีนิยม (liberals) หรืออนุรักษ์นิยม (conservatives) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชน
อเมริกันเป็นพวกสายกลางและ independent ดังนั้นในการหาเสียงเลือกตั้ง ฮิลลารีก็พยายามดึงกลุ่มคน
10
ที่เป็นสายกลางเหล่านี้ให้มาสนับสนุนตน ในขณะที่เบอร์นีนั้นซ้ายจัด ในการเลือกตั้งขั้นต้น ฮิลลารีจึงมี
ท่าทีเอียงซ้าย เพื่อไม่ให้คะแนนเสียงเทไปที่เบอร์นีมากเกินไป
ในกรณีที่เบอร์นีลงแข่งกับทรัมป์ นโยบายของเบอร์นีอาจจะดี แต่ผมไม่คิดว่าเบอร์นีจะชนะ ใน
ความเป็นจริงทางการเมือง นโยบายของเบอร์นีนั้นซ้ายสุดโต่ง กลุ่ม independent หรือแม้แต่พวก Wall
Street Journal เองต่างก็ให้ความสนับสนุนฮิลลารี เพราะเชื่อว่าเธอจะเดินทางสายกลาง ในขณะที่โพลล์
ก็ระบุว่า ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าสหรัฐ liberal มากเกินไป นั่นคือยุทธศาสตร์ในการเลือกผู้สมัครของสหรัฐ
คือ เลือกผู้สมัครที่มีแนวคิดกลางๆ อาจจะค่อนไปซ้ายหรือขวาเล็กน้อย แต่ถ้าเลือกผู้สมัครที่สุดโต่งไป
ในทางใดทางหนึ่ง จะทาให้ไม่มีฐานเสียงที่กว้างพอ
ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยโอบามาก็เรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง
มาใช้ popular vote เนื่องด้วยเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมาก
ประธานาธิบดีนิกสันและฟอร์ดต่างก็เคยเสนอให้ยกเลิกระบบ electoral college ทางฝั่งเดโมแครต
ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับจอห์นสันเองก็มีข้อเรียกร้องลักษณะนี้เช่นกัน
ในปี ค.ศ. 2011 มีการทาประชามติ คนอเมริกันส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะยกเลิกระบบ electoral
college แต่จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม
อ. ปราณี
เรื่องการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากมาก เพราะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่ง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐไม่ใช่เรื่องง่าย ยกตัวอย่างเช่น การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มเงินเดือนแก่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องใช้เวลาอย่างยาวนานกว่าจะแก้ไขได้
ในกรณีนี้ ถ้าเราจะเลียนแบบประเด็นอะไรของการเลือกตั้งสหรัฐ ก็ขอให้ยกมาทั้งระบบ ไม่ใช่
เลือกบางส่วนที่อยากได้ เช่น ไทยน่าจะนาระบบการเลือกตั้งขั้นต้น (primary) มาใช้ แต่ดิฉันเห็นว่าทา
ไม่ได้ เนื่องจากเราไม่ได้ปกครองในระบบสหพันธรัฐ (federal system) และงบประมาณที่ใช้ในการหา
เสียงในระบบแบบนี้มากมายมหาศาล
อีกประเด็นที่สาคัญ เราควรจะต้องมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลทุกรูปแบบ เพราะข้อมูลที่เราเห็น เป็น
ข้อมูลที่ถูกกรองมาแล้วให้เราเชื่อ เมื่อเราได้รับข้อมูลเรื่องหนึ่งเรื่องใดด้านเดียวตลอดเวลา การโน้มเอียง
จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะเราจะไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายพูดอะไร ประชาธิปไตยที่สาคัญที่สุดคือ ทุกคนต้องมี
สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างเท่าเทียมกัน สื่อเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้
ข้อมูลอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านหนึ่งด้านใดเท่านั้น
ศ. ดร. สุรชาติ บารุงสุข
ผมอยากจะนาเสนอ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นประเด็นที่พวกเราให้ความสนใจ แม้จะไม่ได้อยู่ในสังคม
อเมริกันโดยตรงก็ตาม เราอยู่ภายใต้บริบทของโพลล์ เราดูโพลล์มากกว่าดูการอภิปราย เมื่อเป็นเช่นนั้น
11
เราถูกครอบงาโดยตัวเลขจากโพลล์ แต่เมื่อโพลล์พลิก คาถามที่ตามมาคือ เกิดอะไรขึ้น อีกประเด็นหนึ่ง
คือเรื่องผลกระทบ
ในส่วนแรก การเลือกตั้งสหรัฐครั้งนี้น่าสนใจมาก ผู้ลงชิงตาแหน่งประธานาธิบดี 2 คน แตกต่าง
กันอย่างมากในทุกมิติ ทั้งเพศสภาพและความคิด ในบริบททางความคิด น่าสนใจมากว่า ถ้าถามว่าฮิลลา
รีเป็นตัวแทนของใคร คาตอบที่ชัดคือ ฮิลลารีเป็นตัวแทนของปีกชนชั้นนาในเดโมแครต และมีความเป็น
international คือเป็นคนที่อยู่ในวงการระหว่างประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าถามว่าทรัมป์เป็นใครในทาง
ความคิด ผมคิดว่าทรัมป์เป็นทั้งนักชาตินิยม (nationalist) นักนิยมนโยบายโดดเดี่ยว (isolationist) และ
เป็นประชานิยม (populist) ในบริบทของทรัมป์ที่รวมทั้งสามอย่าง เวลาหาเสียงจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ
มาก ถ้าเราลองจินตนาการว่าเราอยู่ในสังคมอเมริกัน เราเห็นฮิลลารีก็อาจจะไม่ตื่นเต้น ไม่มีอะไรใหม่
หรือเป็นการรับช่วงต่อด้านนโยบายจากประธานาธิบดีโอบามา คนที่เบื่อ 8 ปีของโอบามาไม่ได้อยู่แต่
เพียงในรีพับลิกันเท่านั้น ในเดโมแครตเองก็มีคนที่รู้สึกแบบนี้ ในขณะที่ทรัมป์มีวิธีการนาเสนอและการ
หาเสียงที่แหวกไปจากประเพณีการเมืองของอเมริกัน ในชัยชนะของทรัมป์ เป็นภาพสะท้อนของ 3 อย่าง
คือ “ความกลัวอนาคต ความเบื่อปัจจุบัน และการถวิลหาโลกในอดีต”
ในเรื่องของความกลัวอนาคตนั้น วันนี้เวลาเราพูดเรื่องโลกาภิวัตน์มันส่งผลกระทบกับชนชั้น
ล่าง คนทางานอย่างมาก พวกเขาทางานเยอะ แต่รู้สึกว่าได้ค่าตอบแทนน้อย ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งตั้ง
คาถามว่า ทาไมงานจึงหายไปจากสหรัฐ งานไปอยู่ที่จีนและที่อื่นๆ แล้วในบริบทส่วนนี้ โลกอนาคตน่า
กลัว โลกอนาคตยังมาจากตัวแบบ 2 อย่างคือ กรณี 11 กันยายน ค.ศ. 2001 (9/11) และในปีที่ผ่านมา
เราเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงในสหรัฐ แม้จะไม่รุนแรงเท่าในปารีส คือกรณีก่อเหตุร้ายในออร์แลนโด
ฟลอริดา และการก่อเหตุในซานเบอร์นาดิโนในแคลิฟอร์เนีย เป็นตัวแบบของการก่อการร้ายที่เชื่อมโยง
กับกลุ่มที่เคลื่อนไหวในอิรักและซีเรีย หรือกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ประเด็นเหล่านี้ ถ้าเราจินตนาการถึงคน
อเมริกันที่ต้องใช้ชีวิตปกติ โจทย์เหล่านี้น่ากลัว ผมคิดว่าคนอเมริกันติดตามข่าวที่เกิดขึ้นในยุโรป ผู้
อพยพจากแอฟริกาเหนือที่พยายามทาทุกวิถีทางเพื่อข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังยุโรป ผมคิดว่าเป็น
ความน่ากลัวสาหรับคนอเมริกัน โลกอนาคตแบบนี้ทาให้สาระของการหาเสียงของตัวละคร 2 ตัว ซึ่งผม
เปรียบว่าทรัมป์เป็นม้านอกสนาม ไม่ใช่ม้าตีนปลาย ไม่เคยมีใครเอาม้านอกสนามมาแข่งในการเมือง
เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการหาเสียงในระดับมลรัฐ แต่เป็นการหาเสียงในระดับชาติที่ลงชิงตาแหน่ง
ประธานาธิบดี เพราะฉะนั้นม้านอกสนามหาเสียงด้วยสาระอีกแบบหนึ่ง และโดนใจคนอเมริกันกับปัญหา
อนาคต
ยิ่งพูดถึงความเบื่อปัจจุบัน ผมว่าน่าสนใจ ผมคิดว่า generation ใหม่ๆ ในสังคมไทยก็คงไม่
ต่างกัน ความเบื่อปัจจุบัน อาจจะหมายถึงเบื่อพวกที่มีอานาจ (anti-establishment) เบื่อพวกชนชั้นนา
และกลุ่มคนที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง ในการเลือกตั้งรอบนี้ยังมีคาใหม่อีกคาหนึ่งคือ ชนชั้นดาวอส
(Davos Class) ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงชนชั้นนาในประเทศเท่านั้น หากแต่เป็นชนชั้นนาระดับโลก เช่น
กลุ่มทางการเมือง กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสพบปะพูดคุย
และสร้างวาระของการเมืองและเศรษฐกิจในเวทีโลก คาถามคือ แล้วประชาชนคนธรรมดาอยู่ตรงไหนใน
โลกปัจจุบัน สิ่งที่คนเริ่มเห็นก็คือ ฮิลลารีไม่ใช่ใครเลยนอกจากเป็นตัวแทนของคนกลุ่มเก่า แต่ในอีกส่วน
12
หนึ่ง คนในเดโมแครตหันไปสนับสนุนเบอร์นี แซนเดอร์ส ผมคิดว่าคาว่า socialist เคลื่อนอยู่ในสังคม
อเมริกันระดับหนึ่งในหมู่ชนชั้นคนงาน แม้หลักการของลัทธิสังคมนิยมจะหายไปหลังการล่มสลายของ
สหภาพโซเวียต แต่บรรดาคนงานอีกส่วนหนึ่ง ความคิดเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน ถ้าแซนเดอร์สเป็น
ตัวแทน ก็จะเป็นตัวแทนของสังคมนิยมแบบเสรี (liberal socialist) เบอร์นี แซนเดอร์สสะท้อนให้เห็นถึง
เดโมแครตที่ต่อต้านชนชั้นนา ทั้งในพรรค ในรัฐบาล และในเวทีโลก ผมคิดว่าโจทย์เรื่องความเบื่อ
ปัจจุบันเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทั่วโลกไม่แตกต่างกัน
อีกส่วนหนึ่งจากการที่ทรัมป์หาเสียง ผมตีความว่ามันคือการถวิลหาโลกในอดีต ถ้าเราตีความ
กรณี Brexit ของอังกฤษว่าเป็นการที่ประชาชนอยากเห็นเส้นเขตแดนอีกครั้ง ในกรณีของทรัมป์ ก็
คล้ายกัน จากการที่ทรัมป์หาเสียงว่า Make America Great Again หรือ America First นั้น มันพาเรา
ย้อนไปสู่ข้อถกเถียงเดิมของสังคมอเมริกันว่าสหรัฐควรจะถอยกลับเข้ามาในบ้านตนเองหรือไม่ ถ้าสหรัฐ
ควรถอยกลับมาเหมือนนโยบายโดดเดี่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เห็นความปั่นป่วนของยุโรปเป็น
ปัญหา แล้วเชื่อว่าภายใต้ความปั่นป่วนของการเมืองในยุโรป โอกาสที่เป็นความปลอดภัยมากที่สุดของ
สหรัฐคือ การถอยกลับบ้าน หรือถอยกลับไปเมื่อครั้ง Andrew Jackson เป็นประธานาธิบดี ก็ถือว่าโลก
ภายนอกอเมริกาเป็นโลกที่น่ากลัว และสิ่งที่ต้องทาคือการถอยกลับมาตั้งหลักภายใต้เส้นเขตแดนของ
ตนเอง
เมื่อความกลัวอนาคต ความเบื่อปัจจุบัน และการถวิลหาโลกในอดีตผสมผสานกัน เราในฐานะ
คนนอก ที่อยู่นอกสังคมอเมริกัน และอาจมีวาทกรรมของเสรีนิยมครอบเราอยู่ เราอาจไม่ตอบรับกับ
ข้อเสนอของทรัมป์และอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมอเมริกันอาจจะตอบรับ สิ่งที่เรา
กาลังเห็นและผมคิดว่าเป็นข้อดีของประชาธิปไตยก็คือ “ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้คนได้เลือกและเปิด
โอกาสให้นักการเมืองที่อยากเป็นผู้นาเสนอความคิด และตัดสินด้วยการลงเสียงของประชาชน”
ถ้าในวันนี้คนอเมริกันไม่อยากเห็นอเมริกาอย่างที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน หรือเรียกร้องให้
สหรัฐเปลี่ยนบทบาทในเวทีโลก ผลกระทบจะเป็นอย่างไร
หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์ ผลของการเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในที่ส่งผลต่อการเมือง
โลกและการเปลี่ยนระเบียบระหว่างประเทศ เช่น การเลือกตั้งในเยอรมนีในปี ค.ศ. 1932 และนามาซึ่ง
การขึ้นสู่อานาจของฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1933 รวมถึงการขึ้นสู่อานาจของกอร์บาชอฟ ซึ่งนาไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงการเมืองภายในรัสเซีย การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ และนามาสู่สิ้นสุดของ
สงครามเย็นใน ค.ศ. 1989
สิ่งที่เรากาลังจะเห็นในอนาคตคือ Trumpism หรือ Trump Doctrine ซึ่งจะกลายมาเป็น
แกนกลางของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ จะส่งผลต่อระเบียบระหว่างประเทศหรือไม่ เรากาลังเรียกได้
ไหมว่า Trumpism หรือลัทธิทรัมป์ แต่ถ้าใช้ในวิชานโยบายต่างประเทศของ อาจารย์ปราณีนั้น ผมสงสัย
ว่าเราคงถึงขั้นจะต้องเรียกว่า Trump Doctrine ผมคิดว่าถ้า Trump Doctrine หรือ Trumpism เข้ามา
เป็นแกนกลางทางความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งวันนี้เราตอบได้ชัดว่าสหรัฐฯ เป็น
มหาอานาจใหญ่ ผลพวงใหญ่ที่ตามมาก็คือแล้วจะมีผลกระทบต่อตัวระเบียบระหว่างประเทศ หรือภาษา
ตรงๆ ก็คือระเบียบโลกหรือไม่ ผมคิดว่าระเบียบโลกมีแกนอยู่ 3 แกน แกนหนึ่งคือระเบียบความมั่นคง
13
ระหว่างประเทศ แกนที่สองคือระเบียบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แกนที่สามคือตัวระบบระหว่าง
ประเทศ หรือแกนที่ว่าด้วยข้อตกลงและพันธสัญญาต่างๆ ถ้าเราดูการหาเสียงของทรัมป์ เราตัดฮิลลารี
ออกแล้ว ผมเชื่อว่าผลการเลือกตั้งไม่เปลี่ยนแปลง ณ วันนี้ผมเชื่อว่าการประท้วงไม่มีนัยยะต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่อการเข้าสู่ตาแหน่งที่ทาเนียบขาว วันนี้สิ่งที่ผมนั่งรอคือหลังวันที่ 20 มกราคม 2016
ความชัดเจนจะเกิด
1. ใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ
2. ใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ
3. โดยนัยยะอีกส่วนหนึ่ง ใครจะเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทาเนียบขาว
ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่เราจะเห็นในลาดับแรก อาจจะเห็นเพียงการเลือกคนที่เป็น Chief-of-Staff ของ
ทาเนียบขาว คาคานี้เป็นความยุ่งยากมากสาหรับคนเรียนการเมือง เนื่องจากเวลาแปลเป็นภาษาทหาร
แล้วเหมือนหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการของทาเนียบขาว แต่จริงๆ คือคนที่คุมงานทาเนียบขาวทั้งหมด และจะ
เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกและการตัดสินในของผู้นาในทาเนียบขาวมาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะ
เห็นเฉพาะหน้าวันนี้ เครื่องหมายคาถามใหญ่คือ ใครจะเป็นสายอนุรักษนิยมใหญ่ที่จะขึ้นมาสู่ตาแหน่ง
Chief-of-Staff ของทาเนียบขาว แล้วคาถามหลังวันที่ 20 มกราคม คือ สามตาแหน่ง รัฐมนตรีกลาโหม
รัฐมนตรีต่างประเทศ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคง เพราะฉะนั้นในบริบท ถ้าเราดูเฉพาะส่วนที่ทรัมป์หา
เสียง ผมคิดว่าความน่าสนใจของ 3 เสา ผมเสนอท่าน 21 ประเด็น แต่จะไม่พูดทั้งหมด ถ้าท่านมองสิ่งที่
สหรัฐฯ จะเผชิญในเสาความมั่นคง ผมคิดว่าระเบียบระหว่างประเทศปัจจุบันกาลังหันกลับสู่การแข่งขัน
และการต่อสู้ทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอานาจ ในบริบทอย่างนี้มีโจทย์เฉพาะหน้าอยู่ เป็นโจทย์ใหญ่
คือ โจทย์รัสเซีย โจทย์จีน โจทย์ยุโรป โจทย์เกาหลีเหนือ และโจทย์ปัญหาในตะวันออกกลาง ปัญหาใน
ตะวันออกกลางผมลงรายละเอียดเพิ่มอีก 5 โจทย์ใหญ่ ฝากถึงทรัมป์ในทาเนียบขาว โจทย์สงครามใน
ซีเรีย โจทย์อิรัก โจทย์อัฟกานิสถาน โจทย์ปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน โจทย์ปัญหาซาอุดีอาระเบีย รวมถึง
โจทย์ล่าสุดที่ใครตามข่าวจะต้องดู คือปัญหาความขัดแย้งและสงครามในเยเมน ซึ่งมีแนวโน้มว่าถ้าคุมไม่
อยู่ สงครามในเยเมนอาจจะกลายเป็นสนามรบใหม่ของซีเรีย เพราะฉะนั้น โจทย์ห้าโจทย์ จะเห็นท่าที
จากการหาเสียงของทรัมป์ ทรัมป์มีแนวโน้มที่จะประนีประนอมกับรัสเซีย ถ้าทรัมป์กับปูตินจับมือกันได้
มากขึ้น นั่นหมายความว่าสหรัฐฯ อาจจะต้องยอมหลับตากับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียบางส่วน
วันนี้เป็นไปได้ไหมในอนาคตว่าทรัมป์ยอมรับบทบาทของรัสเซียในแหลมไครเมีย ทรัมป์ยอมรับบทบาท
ของรัสเซียในยูเครน และอาจรวมถึงทรัมป์ต้องหลับตากับปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในอเลปโป หรือ
ยอมรับที่จะให้รัสเซียขยายบทบาทในซีเรีย เป็นต้น ถ้าคิดแบบโลกสวย เป็นไปได้ไหมที่ถ้าทรัมป์กับ
ปูตินจับมือกันได้ โอกาสที่จะลดความขัดแย้งระหว่างสองมหาอานาจใหญ่ในเวทีโลกก็จะเป็นโอกาสใหญ่
แต่ก็จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก หรือในมุมหนึ่ง ถ้าทรัมป์กับปูตินจับมือกันได้ แล้วทาสงครามกับกลุ่มรัฐ
อิสลาม ผมว่าโจทย์ชุดนี้ใหญ่ วันนี้มีคนล้อเล่นๆ ว่าทรัมป์กับปูตินจะเป็น “เอทีม” เอทีมในวิชาความ
มั่นคงนั้นคือชุดปฏิบัติการที่ถือว่าดีที่สุด เป็นไปได้ไหมที่จะมีเอทีมสู้กับรัฐอิสลามอย่างนั้นเป็นต้น
จีนน่าสนใจ ทรัมป์ไม่สนใจบทบาททางทหารของจีน แต่ทรัมป์สนใจการค้ากับจีน กับยุโรปผมคิด
ว่าโจทย์นี้ใหญ่ ผมเชื่อว่าผู้นาในยุโรปนั้นกาลังมีเครื่องหมายคาถามใหญ่ๆ กับนโยบายสหรัฐฯ ต่ออียู
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"
ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"

Contenu connexe

En vedette

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...DevGAMM Conference
 

En vedette (20)

Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
 

ถอดเทปการเสวนา"ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่:บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในภายหลังการเลือกตั้ง"

  • 1. 1 เสวนาวิชาการภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14 พฤศจิกายน 2559 ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่: บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศและการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง ผู้ร่วมเสวนา: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ไชยวัฒน์ ค้าชู ศ. ดร. สุรชาติ บารุงสุข รศ. ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้ดาเนินรายการและร่วมเสวนา: ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์ กล่าวต้อนรับ ผศ. ดร. ศุภมิตร ปิติพัฒน์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขอต้อนรับทุกท่านในงาน เสวนาวิชาการวันนี้ เราจัดงานเสวนา "ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่: บนทางแพร่งนโยบายต่างประเทศ และการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง" ขึ้น เพราะตระหนักในความสาคัญของสหรัฐอเมริกาและการ เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจากเหตุผลสาคัญ 3 ข้อ ข้อแรก เพราะสหรัฐอเมริกา คือการทดลองและห้องทดลองขนาดใหญ่ที่สาคัญที่สุดของ ประชาธิปไตย อันเป็นการงานซึ่งไม่มีเสร็จสิ้นของประชาชนคนธรรมดาในการจัดการปกครองตนเอง และเพราะสังคมแห่งนี้คือแดนที่กาเนิดมาในการแสวงหาอิสรภาพสาหรับให้คนต่างเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ชนชั้น เพศ เพศสภาพ และโลกทัศน์ความคิดอ่าน ได้มาอยู่รวมกัน เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขาไม่ เพียงอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันเพื่อให้แต่ละคนแสวงหาความสุขได้ แต่ยังทาให้สังคมที่พวกเขาอยู่นั้น ดารงอยู่โดยยึดมั่นในคุณค่าหลักการที่เคารพความเสมอภาค เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เหตุผลข้อสอง ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่พูดถึงความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และ ต้องการให้ประเทศของท่านคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ความยิ่งใหญ่นั้นจัดเป็นสถานะ และเช่นเดียวกับสิ่ง ที่จัดว่าเป็นสถานะทั้งหลาย ความยิ่งใหญ่ย่อมต้องอาศัยการยอมรับของคนอื่นๆ เป็นปัจจัยสาคัญ ปัญหา ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในเวลานี้ไม่ได้เป็นเพราะอานาจและความมั่งคั่งที่สหรัฐครอบครองอยู่มีไม่
  • 2. 2 พอหรือถดถอยลง แต่เกิดจากการใช้อานาจนั้นดาเนินนโยบายที่ผ่านมาโดยไม่อาจสร้างเป้าหมายและ เจตจานงร่วมที่กว้างขวางมากพอที่จะรักษาฉันทามติและการยอมรับของฝ่ายต่างๆ ทั้งในประชาคม ระหว่างประเทศ และฝ่ายต่างๆ ในสังคมอเมริกันเองไว้ได้ หน้าที่และความสามารถสาคัญที่สุดของ ประธานาธิบดีสหรัฐคือการกาหนดเป้าหมายที่จะยังให้เกิดอานาจการนา ในทางที่จะทาให้ทั้งสังคม ภายในและระหว่างประเทศเกิดความเห็นพ้องต้องกัน และโดยเหตุนั้นทุกฝ่ายจึงพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อ ไปสู่เป้าหมายอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันนั้นด้วยความเต็มใจ และโดยความหมายนี้ ที่เราอยากเห็น America Great Again เช่นเดียวกับท่านว่าที่ประธานาธิบดี เหตุผลข้อสุดท้าย สหรัฐอเมริกามีความสาคัญ เพราะไทยและอาเซียนถือว่าสหรัฐอเมริกาคือ เพื่อนของเรา เราจึงมีความหวังว่าเพื่อนของเราจะกลับมาเป็นแรงบันดาลใจดังที่เป็นมาแล้ว ว่าด้านดี ของมนุษย์จะมีชัยชนะเหนือด้านชั่วร้ายของมนุษย์ได้ ก็เมื่อเขาเชื่อในความเท่าเทียมกันของคน รักษา และเคารพในเสรีภาพของกันและกัน และมีสิทธิ์ในการปกครองตัวเอง เรามาเสวนากันในวันนี้ก็เพราะเรายังอยากจะรักษาความหวังเช่นนั้น และเพราะเราเชื่อมั่นใน เพื่อนของเรา กล่าวนา ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์ หัวข้อเสวนาที่ อ. ศุภมิตร ตั้งไว้คือ “ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่: บนทางแพร่งนโยบาย ต่างประเทศและการเมืองภายในหลังการเลือกตั้ง” ดิฉันมีข้อสังเกตบางประการ ดังนี้ นับจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์พอดีหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในการ เลือกตั้งครั้งนี้มีศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางคนมองว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น American tragedy บางคนบอกว่าเป็น Shock and Awe ซึ่งใหญ่กว่า shock and awe ในปี 2011 บางคนบอกว่าผลของการ เลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแหกกฎทุกกฎที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมืองอเมริกัน และแหกกฎทุกกฎที่เกี่ยวข้อง กับบรรทัดฐานทั้งในการเมืองอเมริกันและการเมืองระหว่างประเทศ ขณะนี้สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นาที่มี บทบาทในการส่งเสริมประชาธิปไตย ก็มีการตั้งข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ประชาธิปไตยแบบนี้เป็น ประชาธิปไตยทางอ้อม ซึ่งอาจจะไม่ work หรือเปล่า ก่อนที่เราจะไปพูดเรื่องเหล่านั้น ดิฉันจะขอพูดเรื่องที่เป็น “สิ่งที่ปรกติในการเมืองอเมริกัน” เสียก่อน เนื่องจากในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ทุกคนต่างรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ปกติเอาเสียเลย แต่ในความ คิดเห็นของดิฉัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ปรกติมากใน 2-3 ประเด็นด้วยกัน ประการแรก การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐถือว่าเป็นเรื่องปรกติ (normalcy) ทางการเมืองของ สหรัฐ ในทุกๆ 4 ปี ทุกคนรู้ว่าจะมีการเลือกตั้ง เปลี่ยนผ่านผู้นาฝ่ายบริหารของสหรัฐ พร้อมๆ กับการ เปลี่ยนผ่านผู้นาฝ่ายนิติบัญญัติ 435 คนในสภา การเปลี่ยนผ่านในวุฒิสภา รวมถึงการเลือกตั้งผู้ว่าการ
  • 3. 3 มลรัฐ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้คือกระบวนการปกติของประเทศประชาธิปไตย ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่การ เลือกตั้งและการปกครองใหม่ทุกๆ 4 ปี ไม่ได้มีความผิดปรกติอะไรเลย เพียงแต่ครั้งนี้ที่คิดว่าผิดปรกติ เพราะทุกคนนั้นคาดหมายผลการเลือกตั้งผิด จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการหักปากกาเซียนทั้งหมด หรือ แม้แต่การตั้งคาถามกับผลโพลล์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ นี่คือ normalcy ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาก็มี การทาโพลล์ และหากดูในอดีต ส่วนใหญ่แล้วผลการเลือกตั้งก็ไม่ค่อยจะผิดไปจากโพลชนิดหักปากกา เซียนขนาดนี้ เพราะการทาโพลล์ก็มีหลักฐานทางวิชาการกากับอยู่ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า โพลล์ที่ออกมา ทั้งที่เป็นโพลล์จากสื่อและไม่ใช่สื่อนั้น มีความโน้มเอียงเข้าข้างหรือเชียร์นางคลินตัน อย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ศาสตร์ทางรัฐศาสตร์ไม่มีทางที่จะทานายถูกต้อง 100% เราไม่ได้อยู่ใน ห้องทดลอง คุณจะใช้ Rational Choice เท่าไหร่ก็ตาม ก็ไม่มีทางถูกต้องทั้งหมด Normalcy ประการที่สอง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทุกครั้ง ประเด็นในการหาเสียงไม่ เคยเปลี่ยนแปลง กล่าวคือประเด็นหลักในการหาเสียงทุกครั้งเป็นเรื่อง “ปากท้อง” ในคาพูดของอดีต ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ก็คือ “It’s economy, stupid” เท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องอื่น ซึ่งเรืองปากท้องเรื่อง เศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นเรื่องของประชาชนอเมริกันให้ความสนใจเท่านั้น แต่คนทั่วโลกก็กังวลกับเรื่องนี้ ทั้งนั้น ว่าจะมีกินมีใช้หรือไม่ มีหลักประกันถ้วนหน้าหรือไม่ มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ถูกตัดภาษีมากน้อย แค่ไหน อีกประเด็นหนึ่งที่อยู่ในการเลือกตั้งตลอดก็คือเรื่องสีผิว (race) ซึ่งเรื่องนี้ไม่เคยหายไปจาก การเมืองอเมริกัน เรื่องสุขภาพ (health care) ก็ไม่เคยหายไปจากการเมืองอเมริกัน ในขณะที่เรื่องผู้ อพยพ (immigration) ก็อาจจะมีบ้าง แต่ต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความเท่าเทียม (equality) ของคน อเมริกัน แต่ประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คือ เรื่องอาชญากรรม แต่ประเด็น ที่ไม่เคยเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทุกครั้งก็คือ เรื่องนโยบาย ต่างประเทศ นโยบายต่างประเทศมีความสาคัญน้อยมากในการหาเสียงเลือกตั้ง นโยบายต่างประเทศจะ เป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีวิกฤตขึ้น เช่น กรณี 9/11 หรือจะเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจ เช่นในกรณีของสงครามเวียดนาม หรือจะเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับความ มั่นคงแห่งชาติ (national security) นั่นคือแม้นโยบายต่างประเทศจะสาคัญ แต่ก็อยู่ในการหาเสียงน้อย มาก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการสาบานตนเข้ารับตาแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560 แล้ว คงจะ เห็นทิศทางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่ชัดเจนมากขึ้น Normalcy อีกประการหนึ่ง การที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ก็เป็นผลจากการที่ฝ่ายบริหารอยู่ใน ตาแหน่งมาแล้ว 2 สมัย โอกาสของผู้สมัครคนใหม่จากพรรคการเมืองเดียวกับที่บริหารมาแล้ว 2 สมัย เป็นเรื่องที่ยากมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คลินตันจะไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ สิ่งที่ดิฉันคิดว่าไม่ปรกติในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คือ ประเด็นเรื่องบุคลิกลักษณะ (characteristics) และการใช้ถ้อยคา (rhetoric) ที่หยาบคาย กลายเป็นประเด็นหลักมากกว่าเรื่องนโยบาย หากดูการหา เสียงและ debate ที่ผ่านมาจะพบว่ากล่าวถึงเรื่องนโยบายน้อยมาก แต่โจมตีกันเรื่องบุคลิกลักษณะ นิสัย ใจคอเป็นสาคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการเมืองอเมริกัน ประเด็นก็คือ หากกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ เราควรจะเอาอย่างบรรทัดฐานใหม่นี้หรือไม่
  • 4. 4 ดิฉันจะตั้งคาถามเพื่อเป็นกรอบให้วิทยากรเลือกตอบ ก็คือ 1) การเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนอะไรที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยในสหรัฐ ไม่ใช่แค่กระบวนการ เลือกตั้งเท่านั้น ระบบการเลือกตั้ง การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น และยังสะท้อนหรือไม่ว่า ประชาธิปไตยไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในประเทศได้ หรืออาจกล่าวได้หรือไม่ว่าการ เลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการประชาธิปไตยแบบอเมริกันยิ่งสร้างช่องว่างของคนในสหรัฐให้ ห่างยิ่งขึ้น จึงเกิดความไม่เท่าเทียมกัน หากเราดูการวิเคราะห์วิจารณ์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็คือ ครั้งนี้ เป็นการปฏิเสธต่อ establishment เป็นการปฏิเสธ เป็นความโกรธและความไม่พอใจต่อกลุ่มคนรวย คน ที่อยู่ในตาแหน่ง รวมถึงสื่อด้วย เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ยิ่งสร้างความห่างทางเศรษฐกิจและการมีโอกาส ทางการเมือง ตกลงว่าประชาธิปไตยของสหรัฐล้มเหลวหรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่สหรัฐยึดถือมาโดย ตลอดไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีก็คือ การส่งเสริมประชาธิปไตย 2) การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อระเบียบโลกอย่างไรหรือไม่ ทุกคนบอกว่าตอนนี้ระเบียบโลก สั่นคลอนมาก คือ Liberalized order อันเป็นระเบียบโลกซึ่งสหรัฐสร้างมาเองกับมือหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 โดยมีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นแกนนานั้น กาลังถูกท้าทายอย่างมาก เพราะทรัมป์ประกาศว่าจะ ถอนตัวออกจากระเบียบโลกนี้ และจะดาเนินนโยบายโดดเดี่ยว (isolationism) และ America First 3) เราในฐานะประเทศกาลังพัฒนาและกาลังเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เราจะเรียนรู้อะไรจาก ประชาธิปไตยแบบสหรัฐ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ไชยวัฒน์ ค้าชู สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศประชาธิปไตยแห่งเดียวในโลกที่ประกาศผู้ชนะการเลือกตั้ง โดยที่ ปัจจุบันก็ยังนับคะแนนไม่เสร็จสิ้น และผู้แพ้ก็ออกมาประกาศยอมรับความพ่ายแพ้แล้ว ผลการเลือกตั้งที่ เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิด โพลล์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ก็บอกมา อย่างคงเส้นคงวาว่า โอกาสที่นางฮิลลารี คลินตัน จะชนะการเลือกตั้งมีถึง 99% ในขณะที่ผู้ก่อตั้งโพลล์ Princeton Consortium คือ Prof. Sam Wang ก็ไม่คิดว่าทรัมป์จะชนะการเลือกตั้ง หรือแม้แต่นิตยสาร Newsweek เองก็เตรียมฉบับล่วงหน้าไว้ พร้อมกับพาดหัวนิตยสารว่า “Madam President Hillary Clinton: Historic Journey to the White House” และเนื้อหาในบทบรรณาธิการที่เตรียมไว้ได้กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าคนอเมริกันปฏิเสธแนวทางหาเสียงแบบอนุรักษ์นิยมของโดนัล ทรัมป์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเกลียดชังและความกลัว ทาให้เพดานหรือกาแพงที่สูงที่สุดในโลก ตะวันตกได้ถูกทาลายลงแล้ว ก็คือเป็นผู้หญิงคนแรกของสหรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็ทาให้นิตยสารดังกล่าวต้องเรียกนิตยสารคืนทั้งหมด เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็น ถึงการคาดการณ์ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ สาหรับผู้ที่ติดตามการเลือกตั้งสหรัฐและเข้าใจระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ จะพบว่าโอกาส ที่ทรัมป์ จะชนะการเลือกตั้งนั้นยากมาก เนื่องจากสหรัฐมีระบบการเลือกตั้งโดยใช้คณะผู้เลือกตั้ง
  • 5. 5 (electoral college) ที่มีคะแนนรวม 538 เสียง หากผู้สมัครคนใดได้คะแนนเกินกว่า 270 เสียงก่อน ก็ ชนะการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ทรัมป์ สามารถเอาชนะได้ โดยชนะอย่างเฉียดฉิวใน 3 มลรัฐใหญ่ที่เป็น battleground states ได้แก่ มิชิแกน เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน ซึ่งทั้ง 3 มลรัฐนี้มีคะแนน electoral college รวมกัน 46 เสียง และในการเลือกตั้งที่ผ่านมา 6 ครั้ง พรรคเดโมแครตได้ชัยชนะในมลรัฐเหล่านี้ ทั้งสิ้น แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเดโมแครตแพ้การเลือกตั้งอย่างเฉียดฉิวเท่านั้น โดยก่อนการ เลือกตั้ง ทั้งโพลล์หรือแม้แต่ตัวผู้สมัครชิงตาแหน่งประธานาธิบดีเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าผลการเลือกตั้งจะ ออกมาเป็นเช่นนี้ และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้ที่ชนะ popular vote แต่พ่ายแพ้ใน electoral college จะ ไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ยังนามาสู่ข้อถกเถียงของการยกเลิกระบบการเลือกตั้งแบบ electoral college และให้ดูที่คะแนน popular vote แทน โดยให้เหตุผลว่าผู้ที่เป็นประธานาธิบดีที่ชนะ electoral college แต่แพ้คะแนนเสียงใน popular vote นั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของคน ทั้งประเทศ ในขณะที่ทรัมป์ หรือตัวแทนผู้สมัครชิงตาแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในอดีตก็ กล่าวประณามและเสนอให้ยกเลิกระบบการเลือกตั้งแบบนี้อย่างมากอีกด้วย ในทัศนะของผม ผมเห็นด้วยกับระบบเลือกตั้งของสหรัฐ เพราะจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของระบบการ เลือกตั้งแบบ electoral college ก็เพื่อป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่เป็นพวก demagogue พวกที่หาเสียง ให้ผู้คนหลงเชื่อ ได้รับเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งจะต้องได้รับการกลั่นกรองผ่านระบบ electoral college เสียก่อน ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวจากฝ่ายสนับสนุนนางคลินตันเรียกร้องให้คณะผู้เลือกตั้งไม่ไป ลงคะแนนเสียงให้ทรัมป์ เพื่อให้มีคะแนน electoral college ไม่ถึง 270 คะแนน แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้คง เป็นไปได้ยาก ส่วนการวิเคราะห์ว่าเหตุใดทรัมป์ถึงชนะการเลือกตั้งนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะทรัมป์ บริสุทธิ์ใจ หรือเพราะเป็นคนดี ก่อนหน้านี้ทรัมป์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเรื่องอุปนิสัยและพฤติกรรมในอดีต ซึ่ง เกินกว่าคนอเมริกันจะยอมรับได้ แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่ได้เดินทางไปสหรัฐในช่วง ก่อนการเลือกตั้งพบว่า ทัศนคติของคนอเมริกันสะท้อนชัดเจนว่า “เขาเลือกประธานาธิบดี ไม่ได้เลือก สังฆราช เขาไม่ได้เลือกอดีตของทรัมป์ แต่เลือกอนาคตของประเทศ” คาพูดเหล่านี้สะท้อนว่า คน อเมริกันไม่ได้สนใจเรื่องส่วนตัวของทรัมป์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่ประชาชนเลือกคนที่คิดว่าจะ มาเปลี่ยนแปลง มาแก้ไขปัญหา แล้วก็สอดคล้องกับ exit poll ที่ถามถึงคุณสมบัติที่สาคัญที่สุดของ ประธานาธิบดี คาตอบออกมาชัดเจนมากก็คือ ผู้ที่สามารถทาการเปลี่ยนแปลงได้ และผู้ที่มีคาตอบเช่นนี้ กว่า 83% ลงคะแนนเสียงเลือกทรัมป์ อีกปัจจัยหนึ่งที่ทาให้คลินตันแพ้ใน 3 มลรัฐใหญ่ในแถบ Mid-West ซึ่งเป็นรัฐหัวใจสาคัญของ อุตสาหกรรมของสหรัฐ และในอดีตยังเป็นฐานเสียงของพรรคเดโมแครต เนื่องจากคนทางานนิยมพรรคนี้ แต่ตอนนี้พวกเขารู้สึกว่าได้รับผลกระทบ ในขณะที่ทรัมป์เองก็ประสบความสาเร็จในการโน้มน้าวให้เห็น ว่า นโยบายของพรรคเดโมแครตในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน โดยเฉพาะเรื่องเขตการค้าเสรี ส่งผลให้คนทางานเหล่านี้ต้องตกงานและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ประเด็นนี้ยังสอดคล้องกับ exit poll ที่
  • 6. 6 ถามถึงทัศนะต่อเรื่องการค้าเสรี ประชาชนกว่า 42% เห็นว่าเป็นการแย่งงานคนอเมริกัน โดยคนจานวน นี้กว่า 65% ลงคะแนนให้ทรัมป์ นั่นคือ การต่อต้านโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งรวมกรณี Brexit ด้วย ผู้คนเห็นว่าเขาได้รับผลกระทบมากกว่าผลดี ในการสารวจยังพบอีกด้วยว่า ตลอดการดารงตาแหน่ง 8 ปีของโอบามา มีผู้ชื่นชอบและเห็นด้วย กับผลงาน 53% ซึ่งเป็นเรื่องยาก ในสมัยประธานาธิบดีเรแกนก็ได้รับคะแนนนิยมมาก จนมีอานิสงส์ให้ บุช ผู้พ่อ ชนะการเลือกตั้ง จนเป็นการครองตาแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 3 ของพรรครีพลับลิกัน แต่ นางคลินตันโชคไม่ดี ทั้งๆ ที่โอบามามีคะแนนนิยมดี แต่คะแนนนิยมดังกล่าวไม่ได้ถูกส่งต่อมายังนาง คลินตัน แต่ประเด็นสาคัญที่สุดที่ทาให้นางคลินตันแพ้การเลือกตั้งก็คือ ฐานเสียงของพรรคเดโมแครต ของโอบามาก็คือ กลุ่มสุภาพสตรี คนแอฟริกันอเมริกัน คนกลุ่มน้อย เช่น คนลาติโน คนเอเชีย ในขณะที่ โอบามาไม่ค่อยได้รับคะแนนเสียงจากกลุ่มอเมริกันผิวขาว แต่ได้รับคะแนนจากฐานเสียงอย่างมาก จน ได้รับการเลือกตั้งถึง 2 สมัย แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มฐานเสียงเหล่านี้ไม่ได้ลงคะแนนให้นางคลินตัน มากเท่ากับที่เคยลงให้กับโอบามา จากที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นถึงปัจจัยที่ทาให้ผลการเลือกตั้งครั้งนี้เหนือความคาดหมาย ผศ. ดร. ปราณี ทิพย์รัตน์ อ. ไชยวัฒน์ ได้กล่าวถึงระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ ดิฉันอยากจะขอเสริมว่า คะแนนเสียง popular vote ตัดสินคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ทั้งสองส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกัน หมายความว่า ผู้แทนของพรรคใดได้คะแนนเสียง popular vote ในรัฐนั้นมากที่สุด ก็จะได้คะแนนเสียง electoral college ของรัฐนั้นไปทั้งหมด (ยกเว้น 2 มลรัฐ ที่มีการคิดคะแนน electoral college แบบสัดส่วน) กล่าวคือ เมื่อพรรคใดชนะในรัฐนั้น คณะผู้เลือกตั้งของพรรคนั้นๆ ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาในการเลือกตั้งแต่ละ ครั้งเป็นการเฉพาะ ก็จะลงคะแนนให้กับพรรคตน ในขณะที่คณะผู้เลือกตั้งของอีกพรรคหนึ่งที่พ่ายแพ้ การเลือกตั้ง ก็จะไม่ได้ทาหน้าที่นี้ อีกประเด็นหนึ่งคือองค์ประกอบของผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่สาคัญมากของปีนี้และ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ กลุ่มคน Millennial ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่กลุ่มใหม่ บางส่วนเพิ่งมีสิทธิ์ออกเสียง เลือกตั้งครั้งแรก บางส่วนอายุราว 20-30 บางส่วนเป็นคนทางาน และได้รับผลกระทบมากที่สุด เดโม แครตหวังว่าคนกลุ่มนี้จะออกมาเลือกตั้งและลงคะแนนเสียงให้ตน แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่แน่ใจถึงสาเหตุว่า คนกลุ่มนี้ลงคะแนนให้เดโมแครตน้อยกว่าหรือคนกลุ่มนี้ไม่ออกมาเลือกตั้งเลย ประเด็นนี้สาคัญมาก เพราะจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วโลก ในอนาคตสังคมทั่วโลกจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มี คนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้น แต่ถ้าคนเหล่านี้ไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจการเลือกตั้ง คิด ว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ จึงไม่มาออกเสียงเลือกตั้ง จะเกิดอะไรขึ้น
  • 7. 7 รศ. ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี พฤติกรรมการตัดสินใจของคนอเมริกัน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีมายาคติจานวนมากในการตีความพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนอเมริกัน ในครั้งนี้ เช่น คนเลือกทรัมป์เป็นคนนอกเมือง ไม่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีฐานะยากจน เป็นต้น ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงกับการเมืองไทยโดยไม่จาเป็น แต่โดยปกติ พฤติกรรม การเลือกตั้งของคนอเมริกัน คนขาวที่จบการศึกษาในระดับมัธยมหรืออนุปริญญาก็มักจะเลือกพรรครีพับ ลิกันอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องปรกติ ในด้านฐานะทางเศรษฐกิจ คนที่เลือกรีพับลิกันจะมีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ ในระดับต่ากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐต่อปี กับอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมาก ส่วนคนที่ เลือกเดโมแครตจะอยู่ในระดับกลางๆ จบปริญญาตรี เป็นชนชั้นกลางทั่วไป และฐานเสียงของเดโมแครต ก็ไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปรกติของการเมืองอเมริกัน สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น New Normal หรือสิ่งที่ครั้งนี้ต่างไปจากครั้งอื่นก็คือ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการพังทลายของกลุ่มพันธมิตรเดิมที่เคยเลือกโอบามามาตั้งแต่ ค.ศ. 2008 (the collapse of Obama coalitions) การเกิดขึ้นของ Obama coalitions ทาให้นึกถึงการเกิดขึ้นของฐานเสียงของเดโมแครตใน สมัยแฟรงคลิน รุสเวลท์ เดิมฐานเสียงของรีพับลิกันคือคนผิวสีที่อยู่ทางใต้ แต่รุสเวลท์เป็นคนที่สร้าง coalitions ใหม่ขึ้นมา คือดึงคะแนนของคนผิวสีให้มาเลือกเดโมแครตจากนโยบาย New Deal ซึ่งเสนอ ว่าจะสร้าง social safety net จะนางบประมาณจากภาษีมากระจายให้แก่ชนชั้นล่างมากขึ้น การมี สวัสดิการสังคม เป็นต้น ข้อเสนอเหล่านี้เป็นการสร้างพันธมิตรใหม่ และโอบามาเองก็ได้สร้างพันธมิตรนี้ มาตั้งแต่การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2008 ดิฉันเชื่อว่าฮิลลารีอาจจะประเมินพันธมิตรทางการเมืองนี้เข้มแข็งเกินไป และไม่ได้ตระหนักถึง การพังทลายของพันธมิตรนี้ ในส่วนของ 3 มลรัฐที่ อ. ไชยวัฒน์ กล่าวถึง รวมถึงมลรัฐอื่นๆ ใน Mid-West เช่น มิชิแกน เพนซิลวาเนีย วิสคอนซิน โอไฮโอ และอิลลินอยส์ มีลักษณะเป็น “Rust Belt” คือเป็น “ภูมิภาคขึ้นสนิม ทางเศรษฐกิจ” กล่าวคือ มลรัฐเหล่านี้เคยรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมหนัก เช่น รถยนต์ เหล็ก แต่ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทาให้อุตสาหกรรมในพื้นที่แถบนี้เสื่อมถอย ฮิลลารี ค่อนข้างมั่นใจกับคะแนนเสียงจากพื้นที่เหล่านี้ จนแทบไม่ลงพื้นที่หาเสียงเลย เนื่องจากมลรัฐเหล่านี้เป็น พันธมิตรหลักของโอบามาและทาให้โอบามาชนะการเลือกตั้ง หรือกล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ พื้นที่ในมลรัฐ แถบนี้เคยเป็นพื้นที่สีน้าเงินมาก่อน แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า คนอเมริกันผิวขาว ทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะที่อยู่ในเขตนอก เมือง (non-urban) เลือกรีพับลิกัน ทั้งๆ ที่คนกลุ่มนี้เคยเป็นฐานของเดโมแครตมาก่อน เหตุผลก็ เพราะว่า คนเหล่านี้เห็นว่านโยบายของเดโมแครตที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อ พวกเขาอย่างมาก โดยพวกเขาตาหนินโยบายการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ในสมัยประธานาธิบดี คลินตัน และเมื่อโอบามาผลักดันนโยบายข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
  • 8. 8 (TPP) ผู้คนเหล่านี้ต่างก็ไม่พอใจอย่างมาก ขณะเดียวกันทรัมป์ก็ใช้ Alamo Campaign เป็นกลยุทธ์ใน การหาเสียง โดยการใช้ความสามารถทางโซเชียลมีเดียในการให้ข้อมูลแก่กลุ่มคนต่างๆ ว่าคนกลุ่มไหน ควรให้ข้อมูลอะไร เช่น กลุ่มผู้หญิงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์นอกสมรสของบิล คลินตัน และฮิล ลารีใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงเหล่านี้ ส่วนผู้คนในพื้นที่ Rust Belt ก็อาจได้ข้อมูลว่าฮิลลารีสนับสนุน TPP และนโยบายนี้จะส่งผลกระทบอย่างไร เป็นต้น อีกตัวแปรหนึ่งที่สาคัญก็คือ ผู้สมัครคนที่ 3 จากข้อมูลพบว่า ในหลายมลรัฐ ฮิลลารีถูกช่วงชิงชัย ชนะไปเพราะผู้สมัครคนที่ 3 เช่นในเพนซิลวาเนีย ทรัมป์ได้ 48% คลินตันได้ 47% จอห์นสันได้ 3% ถ้า หากรวมคะแนนของจอห์นสันกับฮิลลารี ฮิลลารีก็จะได้คะแนน electoral vote ทั้งหมดของรัฐนี้ไป แต่ เมื่อมีผู้สมัครคนที่ 3 ทาให้คะแนน electoral vote เป็นของทรัมป์ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในมลรัฐ อื่นๆ อีก เช่น ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน1 จากที่กล่าวในข้างต้น สิ่งที่เป็น New Normal ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบนี้ก็คือ การ เปลี่ยนของคนที่เคยสนับสนุนโอบามา โดยคนกลุ่มนี้มาลงคะแนนเสียงให้ฮิลลารีน้อยลง ในขณะที่อีก ส่วนหนึ่งไม่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งค่อนข้างน้อย แม้ฮิลลา รีจะได้คะแนนเสียงอย่างมาก แต่ก็น้อยกว่าที่โอบามาเคยได้อย่างมาก การที่คนกลุ่มนี้ออกมาลงเสียงให้ฮิลลารีน้อย ก็มีการวิเคราะห์ว่าเป็นกลุ่มคนที่ “Feel the Bern” หรือกลุ่มคนที่สนับสนุนเบอร์นี แซนเดอร์ส ซึ่งคนเหล่านี้รู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขาไม่ได้รับการ ตอบสนอง ประเด็นนี้น่าสนใจต่อพรรคเดโมแครต 2 ประการ คือ ถ้าเบอร์นีลงสมัคร จะชนะหรือไม่ แต่ก็ ไม่มีใครสามารถตอบได้ แต่คาถามสาคัญคือทาไมฮิลลารีไม่เลือกเบอร์นีมาเป็น running mate เพราะนี่ จะเป็นการรักษาฐานเสียงของพรรคเดโมแครต ซึ่งเสียงที่ต้องการเลือกเบอร์นีคือเสียงที่ต้องการความ เปลี่ยนแปลงในพรรคเดโมแครต สิ่งที่ชัดเจนอย่างหนึ่งในการเมืองอเมริกันคือ เดโมแครตกับรีพับลิกัน ต่างกันน้อยมาก มีจุดยืนทางนโยบายใกล้กันมาก เบอร์นีต้องการที่จะขับเคลื่อนเดโมแครตออกไปซ้าย มากขึ้น เบอร์นีทาให้คาว่าสังคมนิยม ซึ่งคานี้ถือว่าเป็นคาต้องห้ามในสังคมอเมริกัน กลับมาได้รับการ ถกแถลงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นฐานเสียงหลักของเดโม แครต ดิฉันเชื่อว่ากลุ่มคนที่ “Feel the Bern” ประท้วงเดโมแครตด้วยการไม่ออกมาลงคะแนน นี่เป็น เหตุผลหนึ่งที่ทาให้จานวนผู้มาเลือกตั้งมีน้อย ระบบการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง กฎกติกา ดิฉันคิดว่า โครงสร้างการเลือกผู้สมัครในครั้งนี้มีปัญหา กล่าวคือเหตุใด super delegates จึง ไม่ให้คะแนนเบอร์นีเลย หลายคนมองว่านี่เป็นการล็อคผลการเลือกผู้แทนของเดโมแครต อีกประการ หนึ่งคือ เหตุใดแกนนาพรรคเดโมแครตที่เป็น establishment จึงลาเอียง เทคะแนนให้กับฮิลลารีอย่าง ท่วมท้นถล่มทลาย นอกจากนี้ยังมีอีเมลล์เผยแพร่ว่า ในการอภิปรายเพื่อชิงตาแหน่งตัวแทนผู้สมัครจาก เดโมแครตนั้น ฮิลลารีได้รับคาถามล่วงหน้า เป็นต้น ความรู้สึกเหล่านี้สะท้อนถึงกระบวนการจัดการ เลือกตั้ง คือการเลือกตั้งขั้นต้น รวมไปถึงผลจาก exit poll ที่ถามผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าตัดสินใจเลือก 1 http://www.politico.com/2016-election/results/map/president [17 พฤศจิกายน 2559]
  • 9. 9 ผู้สมัครคนใดตั้งแต่เมื่อไร ผลปรากฏว่า 60% เลือกตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีการ อภิปรายระหว่างผู้ชิงตาแหน่งประธานาธิบดีและก่อนที่จะมีกรณีอีเมลล์ หรือข่าวลือใดๆ เสียอีก นั่นคือ การเลือกตั้งถูกตัดสินใจไปแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แต่ละคนได้รับ คาถามสาคัญคือ การอภิปรายของผู้ชิงตาแหน่งประธานาธิบดีมีส่วนช่วยอะไรหรือไม่ แต่ดิฉันคิดว่า อย่างไรก็คงต้องมี เพราะทาให้เราได้ทดสอบคุณลักษณะ (character) ของผู้สมัคร ถึงแม้ว่าผู้คนจะ ตัดสินใจไปแล้วก็ตาม และสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ก็คือ สื่อจะมีการเช็คข้อมูล (fact check) ทุกครั้ง ประเด็นสาคัญคือ ทาอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลให้ได้มากที่สุด ส่วนการตัดสินใจจะเป็น อย่างไรนั้น เราอาจยอมรับได้มากกว่านี้ อีกประเด็นคือถ้าเป็นระบบ popular vote ผลการเลือกตั้งจะ ออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ในเมื่อกฎกติกาเป็นแบบนี้ ทั้งฮิลลารี และ democratic establishment ไม่มี ใครออกมากล่าวหาว่าระบบนี้ไม่เป็นธรรม เพราะระบบ electoral vote ได้รับการยอมรับว่าเป็นกติกามา ตั้งแต่แรกแล้ว แต่ถามว่ามีโอกาสที่จะแก้กติกานี้หรือไม่ ดิฉันเชื่อว่ามี แต่คงไม่ใช่ระยะเวลาอันใกล้ ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 5 ที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียง popular vote น้อยกว่า ชนะการเลือกตั้ง และทั้ง 5 ครั้ง พรรคเด โมแครตเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งสิ้น สิ่งที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงก็คือ หลายรัฐอาจจะเปลี่ยนวิธีการ เลือกตั้งของตัวเอง จากแบบ winner takes all เป็นแบบ proportion คือคะแนน electoral vote แบ่งตาม สัดส่วนของคะแนน popular vote ที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ ซึ่งจะทาให้ผลการเลือกตั้งเป็นธรรมมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นแต่ละมลรัฐสามารถดาเนินการเช่นนี้ได้โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งในระบบ electoral vote ส่งผลต่อการกาหนดกลยุทธ์ของการเลือกตั้ง กล่าวคือระบบ นี้จะทาให้ผู้สมัครไม่ลงพื้นที่หาเสียงในมลรัฐที่มีคะแนน electoral vote น้อย แต่จุดเริ่มต้นของระบบการ เลือกตั้งแบบนี้ก็คือ ประเทศสหรัฐใหญ่ คนที่จะมาเลือกตั้งอาจไม่รู้จักหน้าค่าตาของประธานาธิบดี จึงให้ มีการเลือกตั้งผ่านตัวแทน แต่หากพิจารณาในรายละเอียดแล้ว ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐมีที่มาจาก ประเด็นเรื่องสีผิว ผู้ที่อยากให้มีระบบการเลือกตั้งแบบนี้คือ James Madison ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน Thomas Jefferson เนื่องจากประชากรทางเหนือเป็นคนผิวขาวมากกว่า ส่วนประชากรทางใต้ส่วนใหญ่ เป็นผิวสีและทาส Madison บอกว่าถ้าให้เป็น popular vote คนผิวขาวทางเหนือชนะตลอด จะไม่เป็น ธรรมกับคนทางใต้ ซึ่งมีประชากรเยอะกว่า แต่มีผิวสี Madison เสนอว่าต้องใช้ electoral vote โดยให้ ประชากรผิวสี 5 คนเท่ากับ 2 เสียงของ electoral vote แต่คนผิวสีไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง เฉพาะคนผิวขาว เท่านั้นที่จะเป็น electoral vote ได้ แต่ให้นับคนผิวสีด้วย ระบบนี้ทาให้ Jefferson เอาชนะ John Adams และขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐได้ อ. ไชยวัฒน์ ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองหรือผู้ที่สนใจการเมืองสหรัฐมักจะคิดว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในการ เลือกตั้งเป็นเสรีนิยม (liberals) หรืออนุรักษ์นิยม (conservatives) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชน อเมริกันเป็นพวกสายกลางและ independent ดังนั้นในการหาเสียงเลือกตั้ง ฮิลลารีก็พยายามดึงกลุ่มคน
  • 10. 10 ที่เป็นสายกลางเหล่านี้ให้มาสนับสนุนตน ในขณะที่เบอร์นีนั้นซ้ายจัด ในการเลือกตั้งขั้นต้น ฮิลลารีจึงมี ท่าทีเอียงซ้าย เพื่อไม่ให้คะแนนเสียงเทไปที่เบอร์นีมากเกินไป ในกรณีที่เบอร์นีลงแข่งกับทรัมป์ นโยบายของเบอร์นีอาจจะดี แต่ผมไม่คิดว่าเบอร์นีจะชนะ ใน ความเป็นจริงทางการเมือง นโยบายของเบอร์นีนั้นซ้ายสุดโต่ง กลุ่ม independent หรือแม้แต่พวก Wall Street Journal เองต่างก็ให้ความสนับสนุนฮิลลารี เพราะเชื่อว่าเธอจะเดินทางสายกลาง ในขณะที่โพลล์ ก็ระบุว่า ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าสหรัฐ liberal มากเกินไป นั่นคือยุทธศาสตร์ในการเลือกผู้สมัครของสหรัฐ คือ เลือกผู้สมัครที่มีแนวคิดกลางๆ อาจจะค่อนไปซ้ายหรือขวาเล็กน้อย แต่ถ้าเลือกผู้สมัครที่สุดโต่งไป ในทางใดทางหนึ่ง จะทาให้ไม่มีฐานเสียงที่กว้างพอ ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยโอบามาก็เรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง มาใช้ popular vote เนื่องด้วยเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมาก ประธานาธิบดีนิกสันและฟอร์ดต่างก็เคยเสนอให้ยกเลิกระบบ electoral college ทางฝั่งเดโมแครต ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับจอห์นสันเองก็มีข้อเรียกร้องลักษณะนี้เช่นกัน ในปี ค.ศ. 2011 มีการทาประชามติ คนอเมริกันส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะยกเลิกระบบ electoral college แต่จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม อ. ปราณี เรื่องการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากมาก เพราะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐไม่ใช่เรื่องง่าย ยกตัวอย่างเช่น การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มเงินเดือนแก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องใช้เวลาอย่างยาวนานกว่าจะแก้ไขได้ ในกรณีนี้ ถ้าเราจะเลียนแบบประเด็นอะไรของการเลือกตั้งสหรัฐ ก็ขอให้ยกมาทั้งระบบ ไม่ใช่ เลือกบางส่วนที่อยากได้ เช่น ไทยน่าจะนาระบบการเลือกตั้งขั้นต้น (primary) มาใช้ แต่ดิฉันเห็นว่าทา ไม่ได้ เนื่องจากเราไม่ได้ปกครองในระบบสหพันธรัฐ (federal system) และงบประมาณที่ใช้ในการหา เสียงในระบบแบบนี้มากมายมหาศาล อีกประเด็นที่สาคัญ เราควรจะต้องมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลทุกรูปแบบ เพราะข้อมูลที่เราเห็น เป็น ข้อมูลที่ถูกกรองมาแล้วให้เราเชื่อ เมื่อเราได้รับข้อมูลเรื่องหนึ่งเรื่องใดด้านเดียวตลอดเวลา การโน้มเอียง จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะเราจะไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายพูดอะไร ประชาธิปไตยที่สาคัญที่สุดคือ ทุกคนต้องมี สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างเท่าเทียมกัน สื่อเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้ ข้อมูลอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านหนึ่งด้านใดเท่านั้น ศ. ดร. สุรชาติ บารุงสุข ผมอยากจะนาเสนอ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นประเด็นที่พวกเราให้ความสนใจ แม้จะไม่ได้อยู่ในสังคม อเมริกันโดยตรงก็ตาม เราอยู่ภายใต้บริบทของโพลล์ เราดูโพลล์มากกว่าดูการอภิปราย เมื่อเป็นเช่นนั้น
  • 11. 11 เราถูกครอบงาโดยตัวเลขจากโพลล์ แต่เมื่อโพลล์พลิก คาถามที่ตามมาคือ เกิดอะไรขึ้น อีกประเด็นหนึ่ง คือเรื่องผลกระทบ ในส่วนแรก การเลือกตั้งสหรัฐครั้งนี้น่าสนใจมาก ผู้ลงชิงตาแหน่งประธานาธิบดี 2 คน แตกต่าง กันอย่างมากในทุกมิติ ทั้งเพศสภาพและความคิด ในบริบททางความคิด น่าสนใจมากว่า ถ้าถามว่าฮิลลา รีเป็นตัวแทนของใคร คาตอบที่ชัดคือ ฮิลลารีเป็นตัวแทนของปีกชนชั้นนาในเดโมแครต และมีความเป็น international คือเป็นคนที่อยู่ในวงการระหว่างประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าถามว่าทรัมป์เป็นใครในทาง ความคิด ผมคิดว่าทรัมป์เป็นทั้งนักชาตินิยม (nationalist) นักนิยมนโยบายโดดเดี่ยว (isolationist) และ เป็นประชานิยม (populist) ในบริบทของทรัมป์ที่รวมทั้งสามอย่าง เวลาหาเสียงจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ มาก ถ้าเราลองจินตนาการว่าเราอยู่ในสังคมอเมริกัน เราเห็นฮิลลารีก็อาจจะไม่ตื่นเต้น ไม่มีอะไรใหม่ หรือเป็นการรับช่วงต่อด้านนโยบายจากประธานาธิบดีโอบามา คนที่เบื่อ 8 ปีของโอบามาไม่ได้อยู่แต่ เพียงในรีพับลิกันเท่านั้น ในเดโมแครตเองก็มีคนที่รู้สึกแบบนี้ ในขณะที่ทรัมป์มีวิธีการนาเสนอและการ หาเสียงที่แหวกไปจากประเพณีการเมืองของอเมริกัน ในชัยชนะของทรัมป์ เป็นภาพสะท้อนของ 3 อย่าง คือ “ความกลัวอนาคต ความเบื่อปัจจุบัน และการถวิลหาโลกในอดีต” ในเรื่องของความกลัวอนาคตนั้น วันนี้เวลาเราพูดเรื่องโลกาภิวัตน์มันส่งผลกระทบกับชนชั้น ล่าง คนทางานอย่างมาก พวกเขาทางานเยอะ แต่รู้สึกว่าได้ค่าตอบแทนน้อย ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งตั้ง คาถามว่า ทาไมงานจึงหายไปจากสหรัฐ งานไปอยู่ที่จีนและที่อื่นๆ แล้วในบริบทส่วนนี้ โลกอนาคตน่า กลัว โลกอนาคตยังมาจากตัวแบบ 2 อย่างคือ กรณี 11 กันยายน ค.ศ. 2001 (9/11) และในปีที่ผ่านมา เราเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงในสหรัฐ แม้จะไม่รุนแรงเท่าในปารีส คือกรณีก่อเหตุร้ายในออร์แลนโด ฟลอริดา และการก่อเหตุในซานเบอร์นาดิโนในแคลิฟอร์เนีย เป็นตัวแบบของการก่อการร้ายที่เชื่อมโยง กับกลุ่มที่เคลื่อนไหวในอิรักและซีเรีย หรือกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ประเด็นเหล่านี้ ถ้าเราจินตนาการถึงคน อเมริกันที่ต้องใช้ชีวิตปกติ โจทย์เหล่านี้น่ากลัว ผมคิดว่าคนอเมริกันติดตามข่าวที่เกิดขึ้นในยุโรป ผู้ อพยพจากแอฟริกาเหนือที่พยายามทาทุกวิถีทางเพื่อข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังยุโรป ผมคิดว่าเป็น ความน่ากลัวสาหรับคนอเมริกัน โลกอนาคตแบบนี้ทาให้สาระของการหาเสียงของตัวละคร 2 ตัว ซึ่งผม เปรียบว่าทรัมป์เป็นม้านอกสนาม ไม่ใช่ม้าตีนปลาย ไม่เคยมีใครเอาม้านอกสนามมาแข่งในการเมือง เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการหาเสียงในระดับมลรัฐ แต่เป็นการหาเสียงในระดับชาติที่ลงชิงตาแหน่ง ประธานาธิบดี เพราะฉะนั้นม้านอกสนามหาเสียงด้วยสาระอีกแบบหนึ่ง และโดนใจคนอเมริกันกับปัญหา อนาคต ยิ่งพูดถึงความเบื่อปัจจุบัน ผมว่าน่าสนใจ ผมคิดว่า generation ใหม่ๆ ในสังคมไทยก็คงไม่ ต่างกัน ความเบื่อปัจจุบัน อาจจะหมายถึงเบื่อพวกที่มีอานาจ (anti-establishment) เบื่อพวกชนชั้นนา และกลุ่มคนที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง ในการเลือกตั้งรอบนี้ยังมีคาใหม่อีกคาหนึ่งคือ ชนชั้นดาวอส (Davos Class) ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงชนชั้นนาในประเทศเท่านั้น หากแต่เป็นชนชั้นนาระดับโลก เช่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสพบปะพูดคุย และสร้างวาระของการเมืองและเศรษฐกิจในเวทีโลก คาถามคือ แล้วประชาชนคนธรรมดาอยู่ตรงไหนใน โลกปัจจุบัน สิ่งที่คนเริ่มเห็นก็คือ ฮิลลารีไม่ใช่ใครเลยนอกจากเป็นตัวแทนของคนกลุ่มเก่า แต่ในอีกส่วน
  • 12. 12 หนึ่ง คนในเดโมแครตหันไปสนับสนุนเบอร์นี แซนเดอร์ส ผมคิดว่าคาว่า socialist เคลื่อนอยู่ในสังคม อเมริกันระดับหนึ่งในหมู่ชนชั้นคนงาน แม้หลักการของลัทธิสังคมนิยมจะหายไปหลังการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต แต่บรรดาคนงานอีกส่วนหนึ่ง ความคิดเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน ถ้าแซนเดอร์สเป็น ตัวแทน ก็จะเป็นตัวแทนของสังคมนิยมแบบเสรี (liberal socialist) เบอร์นี แซนเดอร์สสะท้อนให้เห็นถึง เดโมแครตที่ต่อต้านชนชั้นนา ทั้งในพรรค ในรัฐบาล และในเวทีโลก ผมคิดว่าโจทย์เรื่องความเบื่อ ปัจจุบันเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทั่วโลกไม่แตกต่างกัน อีกส่วนหนึ่งจากการที่ทรัมป์หาเสียง ผมตีความว่ามันคือการถวิลหาโลกในอดีต ถ้าเราตีความ กรณี Brexit ของอังกฤษว่าเป็นการที่ประชาชนอยากเห็นเส้นเขตแดนอีกครั้ง ในกรณีของทรัมป์ ก็ คล้ายกัน จากการที่ทรัมป์หาเสียงว่า Make America Great Again หรือ America First นั้น มันพาเรา ย้อนไปสู่ข้อถกเถียงเดิมของสังคมอเมริกันว่าสหรัฐควรจะถอยกลับเข้ามาในบ้านตนเองหรือไม่ ถ้าสหรัฐ ควรถอยกลับมาเหมือนนโยบายโดดเดี่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เห็นความปั่นป่วนของยุโรปเป็น ปัญหา แล้วเชื่อว่าภายใต้ความปั่นป่วนของการเมืองในยุโรป โอกาสที่เป็นความปลอดภัยมากที่สุดของ สหรัฐคือ การถอยกลับบ้าน หรือถอยกลับไปเมื่อครั้ง Andrew Jackson เป็นประธานาธิบดี ก็ถือว่าโลก ภายนอกอเมริกาเป็นโลกที่น่ากลัว และสิ่งที่ต้องทาคือการถอยกลับมาตั้งหลักภายใต้เส้นเขตแดนของ ตนเอง เมื่อความกลัวอนาคต ความเบื่อปัจจุบัน และการถวิลหาโลกในอดีตผสมผสานกัน เราในฐานะ คนนอก ที่อยู่นอกสังคมอเมริกัน และอาจมีวาทกรรมของเสรีนิยมครอบเราอยู่ เราอาจไม่ตอบรับกับ ข้อเสนอของทรัมป์และอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมอเมริกันอาจจะตอบรับ สิ่งที่เรา กาลังเห็นและผมคิดว่าเป็นข้อดีของประชาธิปไตยก็คือ “ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้คนได้เลือกและเปิด โอกาสให้นักการเมืองที่อยากเป็นผู้นาเสนอความคิด และตัดสินด้วยการลงเสียงของประชาชน” ถ้าในวันนี้คนอเมริกันไม่อยากเห็นอเมริกาอย่างที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน หรือเรียกร้องให้ สหรัฐเปลี่ยนบทบาทในเวทีโลก ผลกระทบจะเป็นอย่างไร หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์ ผลของการเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในที่ส่งผลต่อการเมือง โลกและการเปลี่ยนระเบียบระหว่างประเทศ เช่น การเลือกตั้งในเยอรมนีในปี ค.ศ. 1932 และนามาซึ่ง การขึ้นสู่อานาจของฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1933 รวมถึงการขึ้นสู่อานาจของกอร์บาชอฟ ซึ่งนาไปสู่การ เปลี่ยนแปลงการเมืองภายในรัสเซีย การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ และนามาสู่สิ้นสุดของ สงครามเย็นใน ค.ศ. 1989 สิ่งที่เรากาลังจะเห็นในอนาคตคือ Trumpism หรือ Trump Doctrine ซึ่งจะกลายมาเป็น แกนกลางของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ จะส่งผลต่อระเบียบระหว่างประเทศหรือไม่ เรากาลังเรียกได้ ไหมว่า Trumpism หรือลัทธิทรัมป์ แต่ถ้าใช้ในวิชานโยบายต่างประเทศของ อาจารย์ปราณีนั้น ผมสงสัย ว่าเราคงถึงขั้นจะต้องเรียกว่า Trump Doctrine ผมคิดว่าถ้า Trump Doctrine หรือ Trumpism เข้ามา เป็นแกนกลางทางความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งวันนี้เราตอบได้ชัดว่าสหรัฐฯ เป็น มหาอานาจใหญ่ ผลพวงใหญ่ที่ตามมาก็คือแล้วจะมีผลกระทบต่อตัวระเบียบระหว่างประเทศ หรือภาษา ตรงๆ ก็คือระเบียบโลกหรือไม่ ผมคิดว่าระเบียบโลกมีแกนอยู่ 3 แกน แกนหนึ่งคือระเบียบความมั่นคง
  • 13. 13 ระหว่างประเทศ แกนที่สองคือระเบียบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แกนที่สามคือตัวระบบระหว่าง ประเทศ หรือแกนที่ว่าด้วยข้อตกลงและพันธสัญญาต่างๆ ถ้าเราดูการหาเสียงของทรัมป์ เราตัดฮิลลารี ออกแล้ว ผมเชื่อว่าผลการเลือกตั้งไม่เปลี่ยนแปลง ณ วันนี้ผมเชื่อว่าการประท้วงไม่มีนัยยะต่อการ เปลี่ยนแปลงต่อการเข้าสู่ตาแหน่งที่ทาเนียบขาว วันนี้สิ่งที่ผมนั่งรอคือหลังวันที่ 20 มกราคม 2016 ความชัดเจนจะเกิด 1. ใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ 2. ใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ 3. โดยนัยยะอีกส่วนหนึ่ง ใครจะเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทาเนียบขาว ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่เราจะเห็นในลาดับแรก อาจจะเห็นเพียงการเลือกคนที่เป็น Chief-of-Staff ของ ทาเนียบขาว คาคานี้เป็นความยุ่งยากมากสาหรับคนเรียนการเมือง เนื่องจากเวลาแปลเป็นภาษาทหาร แล้วเหมือนหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการของทาเนียบขาว แต่จริงๆ คือคนที่คุมงานทาเนียบขาวทั้งหมด และจะ เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกและการตัดสินในของผู้นาในทาเนียบขาวมาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะ เห็นเฉพาะหน้าวันนี้ เครื่องหมายคาถามใหญ่คือ ใครจะเป็นสายอนุรักษนิยมใหญ่ที่จะขึ้นมาสู่ตาแหน่ง Chief-of-Staff ของทาเนียบขาว แล้วคาถามหลังวันที่ 20 มกราคม คือ สามตาแหน่ง รัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีต่างประเทศ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคง เพราะฉะนั้นในบริบท ถ้าเราดูเฉพาะส่วนที่ทรัมป์หา เสียง ผมคิดว่าความน่าสนใจของ 3 เสา ผมเสนอท่าน 21 ประเด็น แต่จะไม่พูดทั้งหมด ถ้าท่านมองสิ่งที่ สหรัฐฯ จะเผชิญในเสาความมั่นคง ผมคิดว่าระเบียบระหว่างประเทศปัจจุบันกาลังหันกลับสู่การแข่งขัน และการต่อสู้ทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอานาจ ในบริบทอย่างนี้มีโจทย์เฉพาะหน้าอยู่ เป็นโจทย์ใหญ่ คือ โจทย์รัสเซีย โจทย์จีน โจทย์ยุโรป โจทย์เกาหลีเหนือ และโจทย์ปัญหาในตะวันออกกลาง ปัญหาใน ตะวันออกกลางผมลงรายละเอียดเพิ่มอีก 5 โจทย์ใหญ่ ฝากถึงทรัมป์ในทาเนียบขาว โจทย์สงครามใน ซีเรีย โจทย์อิรัก โจทย์อัฟกานิสถาน โจทย์ปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน โจทย์ปัญหาซาอุดีอาระเบีย รวมถึง โจทย์ล่าสุดที่ใครตามข่าวจะต้องดู คือปัญหาความขัดแย้งและสงครามในเยเมน ซึ่งมีแนวโน้มว่าถ้าคุมไม่ อยู่ สงครามในเยเมนอาจจะกลายเป็นสนามรบใหม่ของซีเรีย เพราะฉะนั้น โจทย์ห้าโจทย์ จะเห็นท่าที จากการหาเสียงของทรัมป์ ทรัมป์มีแนวโน้มที่จะประนีประนอมกับรัสเซีย ถ้าทรัมป์กับปูตินจับมือกันได้ มากขึ้น นั่นหมายความว่าสหรัฐฯ อาจจะต้องยอมหลับตากับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียบางส่วน วันนี้เป็นไปได้ไหมในอนาคตว่าทรัมป์ยอมรับบทบาทของรัสเซียในแหลมไครเมีย ทรัมป์ยอมรับบทบาท ของรัสเซียในยูเครน และอาจรวมถึงทรัมป์ต้องหลับตากับปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในอเลปโป หรือ ยอมรับที่จะให้รัสเซียขยายบทบาทในซีเรีย เป็นต้น ถ้าคิดแบบโลกสวย เป็นไปได้ไหมที่ถ้าทรัมป์กับ ปูตินจับมือกันได้ โอกาสที่จะลดความขัดแย้งระหว่างสองมหาอานาจใหญ่ในเวทีโลกก็จะเป็นโอกาสใหญ่ แต่ก็จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก หรือในมุมหนึ่ง ถ้าทรัมป์กับปูตินจับมือกันได้ แล้วทาสงครามกับกลุ่มรัฐ อิสลาม ผมว่าโจทย์ชุดนี้ใหญ่ วันนี้มีคนล้อเล่นๆ ว่าทรัมป์กับปูตินจะเป็น “เอทีม” เอทีมในวิชาความ มั่นคงนั้นคือชุดปฏิบัติการที่ถือว่าดีที่สุด เป็นไปได้ไหมที่จะมีเอทีมสู้กับรัฐอิสลามอย่างนั้นเป็นต้น จีนน่าสนใจ ทรัมป์ไม่สนใจบทบาททางทหารของจีน แต่ทรัมป์สนใจการค้ากับจีน กับยุโรปผมคิด ว่าโจทย์นี้ใหญ่ ผมเชื่อว่าผู้นาในยุโรปนั้นกาลังมีเครื่องหมายคาถามใหญ่ๆ กับนโยบายสหรัฐฯ ต่ออียู