SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  27
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ 2
                          ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู


ขอบเขตเนื้อหา
            2.1   ความเป็นมา
            2.2   ศาสดา
            2.3   คัมภีร์ในศาสนา
            2.4   หลักคาสอนสาคัญ
            2.5   นิกายในศาสนา
            2.6   พิธีกรรมสาคัญ
            2.7   สัญลักษณ์ของศาสนา
            2.8   ฐานะปัจจุบันของศาสนา

แนวคิด
              1. พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคอารยัน
ยุคพระเวท ยุค พราหมณะ และยุคฮินดู
              2. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคาสอน
ต่างๆ พวกพราหมณ์หรือฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ยินหรือฟังมาจากพระเจ้าด้วยตนเอง แล้วมีการ
จดจาไว้และถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจา
              3. คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่
เป็นศรุติ ได้แก่ คัมภีร์พระเวททั้ง 4 คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท 2) ส่วนที่
เป็นสมฤติ ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและสนับสนุนให้
การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่น คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์ม นูศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ
คัมภีร์ภควัทคีตา มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ เป็นต้น
              4. หลักคาสอนสาคัญของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู คือ หลักคาสอนเรื่องอาศรม
หรือวิธีปฏิบัติของพราหมณ์ 4 ประการ หลักคาสอนเรื่องตรีมูรติ หลักคาสอนเรื่องปรมาตมัน
หรือพรหมันและชีวาตมัน หลักคาสอนเรื่องการหลุดพ้นหรือโมกษะ
              5. นิกายสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 4 นิกาย คือ นิกายไวษณวะหรือ
ไวษณพ นิกายไศวะ นิกายศักติ และนิกายตันตระ
              6. พิธีกรรมสาคัญของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู ประกอบด้วย กฎสาหรับวรรณะ
พิธีประจาบ้าน พิธีศราทธ์ และพิธีบูชาเทวดา
7. สัญลั กษณ์ ของศาสนาพราหมณ์ -ฮิ นดู คือ เครื่ องหมาย โอม ที่ หมายถึง
สัญลักษณ์แห่งพลังทั้ง 3 คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ
            8. ขบวนการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู คือ สมาคมพรหมสมาช สมาคม
อารยสมาช สมาคมกฤษณะมิชชั่น ขบวนการสรโวทัย

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
           เมื่อได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ
           1. อธิบายความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           2. อธิบายคัมภีร์สาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           3. อธิบายหลักคาสอนสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           4. อธิบายนิกายสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           5. อธิบายพิธีกรรมสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           6. อธิบายสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้
           7. อธิบายฐานะปัจจุบันของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้

กิจกรรมการเรียน
           1. การบรรยาย
           2. การอภิปรายกลุ่มย่อย
           3. การบันทึกการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมผลงาน

สื่อการสอน
           1.   เอกสารประกอบการสอน
           2.   ใบสรุปการเรียนรู้ประจาบทที่ 2
           3.   แฟ้มสะสมผลงาน
           4.   สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท

การประเมินผล
           1. ประเมินจากการร่วมทากิจกรรมกลุ่ม
           2. ประเมินจากการสรุปการอภิปราย
           3. ประเมินจากใบสรุปการเรียนรู้และแฟ้มสะสมผลงาน



24 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2.1 ความเป็นมา
                ศาสนาพราหมณ์มีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต่การเริ่ม
ตั้ ง ถิ่ น ฐานของชาวอารยั น เริ่ ม ตั้ ง ถิ่ น ฐานในชมพู ท วี ป ต่ อ มาในสมั ย หลั ง พุ ท ธกาล
ศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ใหม่ ซึ่งมีหลักคาสอนที่ผิดแผก
แตกต่างไปจากต้นกาเนิดเดิมของศาสนานี้ จึงนับว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีอายุยาวนาน
ที่สุดของโลกศาสนาหนึ่ง
                ศาสนาพราหมณ์ -ฮินดูเ ป็นศาสนาที่แ ตกต่า งจากศาสนาอื่นในโลกเพราะเป็น
ศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เพราะมีจุดเริ่ม ต้นมาจากความเชื่ อว่ามีเทพเจ้าผู้มีอานาจเหนือ
ธรรมชาติ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ต่อมาชาวอารยันผู้ทาหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า ได้สอนหลักการ
เรื่องกาเนิดของสรรพสิ่งว่า เทพเจ้าหรือพระพรหม เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในลักษณะต่ างๆ ต่อมา
สรรพสิ่งที่พระพรหมสร้างก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย ทาให้มีเทพเจ้า
มากมายและทาหน้าที่ต่างๆกันในที่สุด ศาสนาพราหมณ์หรืฮินดูจึงกลายมาเป็นศาสนาประเภท
พหุเทวนิยมในปัจจุบัน
                เนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาอันยาวนาน ทาให้
แนวความคิดทางศาสนาแตกต่างกันออกไปมาก ดังนั้น การศึกษาประวัติความเป็นมาและ
พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังต่อไปนี้

               2.1.1 ยุคอารยัน
               เดิมทีเดียวชมพูทวีปหรือดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน เป็นที่อยู่ของ
พวกชนพื้นเมืองเรียกว่า ฑราวิฑ (Dravidian) ซึ่งมีเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า มีรูปร่างเล็ก ผิวดา เช่น
เผ่ามองโกลอยด์ เผ่าเปรโตออสเตรลอยด์ และเผ่าเนกริตอย เป็นต้น 1 ต่อมาชนชาติใหม่คือ
พวกอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้าสินธุ จึงเรียกชื่อ
ชนชาติใหม่นี้ว่า พวกสินธุ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเพราะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มน้าสินธุ แต่ชนชาติ
อื่นเรียกเพี้ยนไปเป็นอินดัส (Indus)บ้าง ฮินดู (Hindu) บ้างและกลายเป็นอินดิยาหรืออินเดีย
(India) ในยุคหลังๆ2 เมื่ออพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้าสินธุ คงคาและยมุนาแล้ว
ก็ปรากฏว่าเจริญกว่าคนพื้นเมือง



         1
           สมัคร บุราวาส, ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล (กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์แพร่พิทยา, 2516), หน้า 3-4.
        2
          สุ ว รรณา สั จ จาวี ร วรรณ และคณะ, อารยธรรมตะวั น ออกและตะวั น ตก
(กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2522), หน้า 63.

                                                                         ศาสนาขั้นแนะนา | 25
ชาวอารยันในชมพูทวีปยกย่องธรรมชาติขึ้นเป็นเทพ เช่นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
ท้องฟ้า พายุ ฝน เป็นต้น โดยเชื่อว่าความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับอานาจของเทวะ
ถ้าปรารถนาจะให้หรือไม่ให้เทพแสดงฤทธิ์เดช ก็ต้องอ้อนวอนให้เทพอานวยสิ่งที่ตนปรารถนา
จึงเกิดมีพิธีเซ่นสรวง สังเวยและอ้อนวอน และมีบุคคลผู้ทาพิธีดังกล่าว เรียกว่า พราหมณ์
นอกจากเทพเจ้าที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอารยันยังเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วก็มีอานาจ
เช่ น เดี ย วกั บ เทพเจ้ า ด้ ว ยในการที่ จ ะให้ คุ ณ และโทษแก่ ลู ก หลาน จึ ง ต้ อ งสั ง เวยบวงสรวง
เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พ่อแม่ที่ไม่มีบุตรจะตกนรกชื่อ ปุตระ ถ้าไม่มีลูกชายทาพิธีเซ่น
สรวงบูชาดวงวิญญาณของตน ดังนั้น ลูกชายจึงเป็นที่ปรารถนาของชาวชมพูทวีปมาจนทุกวันนี้
                 เมื่อชาวอารยันเข้ามาปกครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว คนพื้นเมืองที่ไม่ยอมอพยพ
หนีไปเมื่อพ่ายแพ้สงครามก็จะยอมเป็นทาส เรียกว่า ทัสยุ ของชาวอารยัน ส่วนชาวอารยันก็ถือ
ตัวว่าเจริญกว่าคนพื้นเมือง จึงไม่อยากจะหนี การปะปนทางเชื้อชาติเกิดขึ้น จึงได้ห้ามไม่ให้มี
การสมสู่กันระหว่างชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง และสงวนอาชีพสาคัญๆและมีเกียรติไว้สาหรับ
ชาวอารยัน สาหรับชาวอารยันนั้นแบ่งออกเป็น 3 พวกตามตาแหน่งหน้าที่ซึ่งมีฐานะไม่เท่าเทียม
กัน ส่วนชนพื้นเมืองเดิมนั้นมีฐานะต่าที่สุด และประกอบอาชีพที่ชาวอารยันไม่ปรารถนาแล้ว
ในที่สุดจึงกลายมาเป็นระบบวรรณะ (Caste system) ขึ้นมา3 ได้แก่
                 1) วรรณะพราหมณ์ ได้ แ ก่ ชาวอารยั น ที่ มี ห น้ า ที่ เ ล่ า เรี ย นวิ ช าการเวทมนตร์
กระทาพิธีกรรมต่างๆ และสั่งสอนผู้อื่น
                 2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีหน้าที่ปกครองและรักษาบ้านเมือง
                 3) วรรณะไวศยะ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีอาชีพหน้าที่ในการทากสิกรรม การค้าขาย
และเสียภาษี ชาวอารยันกลุ่มนี้เป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจของสังคม
                 4) วรรณะศูทร ได้แก่ พวกชนพื้นเมืองเดิมที่ถูกกดขี่ และถูกกีดกันในด้านอาชีพ
และสังคม ถูกเหยียดหยามว่าเป็นพวกทาสหรือทัสยุ เพราะไม่มีอาชีพที่จะทา จึงจาเป็นต้องคอย
รับใช้พวกอารยัน ได้รับค่าจ้างพอยังชีพเล็กๆน้อยๆ

               2.1.2 ยุคพระเวท : ยุคสมัยแห่งคัมภีร์พระเวท
               ชาวอารยันได้พัฒนาการนับถือเทพเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนดียิ่งขึ้น มีพิธีกรรม
ต่างๆ มากมายและมีความวิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น พราหมณ์ผู้ทาพิธีได้รับการยกย่องมากยิ่งขึ้น
ในฐานะเป็ น ผู้ที่ ส ามารถติ ด ต่อ กั บ เทพเจ้ า ได้ ยุ ค พระเวทเป็น ยุ คเริ่ ม ต้น ของวรรณคดี ข อง
ชาวอารยัน เพราะมีการแต่งคัมภีร์ขึ้นโดยพวกพราหมณ์ ซึ่งเป็นการวบรวมบทสวดอ้อนวอน
เทพเจ้าที่ใช้กันอยู่ในวงศ์ตระกูลขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า เวท หรือวิทยา หมายถึงความรู้ ต่างๆ

         3
         เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียน
สโตร์, 2525), หน้า 174.
26 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
เป็นความรู้จากสวรรค์ที่พวกฤาษี ได้ยินได้ฟังมาจากพระพรหม ซึ่งวิธีการเช่นนี้เรียกว่า ศรุติ
คัมภีร์พระเวทมี 3 หมวดจึงเรียกว่า ไตรเพทหรือ ไตรเวท ต่อมาในปลายสมัยพราหมณะ มีการ
แต่งเพิ่มอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ อาถรรพเวท
              ในสมัยพระเวทยังไม่มีตัวอักษร คัมภีร์ต่างๆจึงยังคงเป็นการนาสืบทอดกันมาจาก
การท่ องจ าปากเปล่ า สื บ ๆมา เรี ย กว่า มุ ขปาฐะ คัม ภี ร์ พ ระเวทถือว่า เป็น คัม ภี ร์ ศักดิ์สิ ท ธิ์ ที่
พระเจ้าประทานลงมา ห้ามคนนอกศาสนาเรียน พวกพราหมณ์ กษัตริย์ และไวศยะเท่านั้น
ที่เรียนได้ พวกศูทรเรียนไม่ได้เลย พวกสตรีในวรรณะสูงทั้งสามก็เรียนไม่ได้
              ในยุคพระเวทชาวอารยันนับถือเทพเจ้า 3 กลุ่ม คือ
              1) เทพเจ้าบนพื้นโลก ได้แก่ พระปฤถวี พระอัคนี พระยม พระพฤหัสบดี เป็นต้น
              2) เทพเจ้าในอากาศ ได้แก่ พระอินทร์ พระมารุต พระวายุ เป็นต้น
              3) เทพเจ้าบนสวรรค์ ได้แก่ พระวรุณ พระอาทิตย์ เทพีอุษา เทพราตรี เป็นต้น4
              เทพเจ้ าเหล่า นี้เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ไม่ขึ้นต่อกันและกั น เทพเจ้า ที่ได้รั บ
การยกย่ อ งมากที่ สุ ด คื อ พระอิ น ทร์ เป็ น เทพเจ้ า แห่ ง สงคราม พระวรุ ณ เป็ น เทพเจ้ า แห่ ง
การเกษตร พระพฤหัสบดีเป็นเทพเจ้าแห่งวิชาความรู้

                2.1.3 ยุคพราหมณะ : ยุคสมัยแห่งคัมภีร์พิธีกรรม
                สมัยพราหมณะ เป็นสมัยที่ชนวรรณะพราหมณ์เรืองอานาจ มีอิทธิพลเหนือวรรณะ
อื่นๆ เพราะเป็นผู้มีอานาจผูกขาดในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ประชาชนให้ความนับถือว่า
เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เป็นผู้กาหนดชะตากรรมของประชาชน
เพราะเป็นผู้ตีความคาสอนในคัมภีร์พระเวทเอง คนในวรรณะอื่นไม่มีโอกาสได้ศึกษาคัมภีร์
พระเวท การที่พราหมณ์ได้รับการยกย่องอย่างสูงทาให้พวกพราหมณ์หลงอานาจ เริ่มมองคนใน
วรรณะอื่นต่าต้อยกว่าตน เพราะเชื่อมั่นว่า พระเจ้าสร้างวรรณะพราหมณ์มาจากพระโอษฐ์ของ
พระเจ้าซึ่งเป็นอวัยวะสูงส่ง และเพราะถือว่า การที่จะเป็นพราหมณ์นั้นทาได้ยากมาก ต้องมี
คุณธรรมต่างๆมากมาย
                พวกพราหมณ์ยกย่องพระศิวะ และพระนารายณ์ให้มีศักดิ์สูงเสมอกับพระพรหม
จึงเรียกว่า ตรีมูรติ มีประเพณี พิธีกรรม และธรรมเนียมต่างๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น
การสงวนวรรณะ ไม่ยอมสมสู่คบหาสมาคมกับคนในวรรณะอื่นๆ สามีไม่ ยอมรับ ประทาน
อาหารกับภรรยา มีลัทธิยกย่องสัตว์บางชนิด เช่น โค ในฐานะพาหนะของพระศิ วะ จนเกิด
แนวคิดเรื่องการนาวัตถุที่เกิดจากวัว (ปัญจโคมัย) มาเป็นวัตถุมงคลในการประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนา นอกจากนี้ยังนับถือลิง และงู อีกด้วย


          4
        หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่ม 2 (กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์,
2546), หน้า 348-349.

                                                                                  ศาสนาขั้นแนะนา | 27
ในสมัยนี้เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในจักรวาล พระพรหมได้สร้าง
มนุษย์โดยแบ่งภาคจากพระองค์เอง ดังนี้
             1) พวกพราหมณ์สร้างมาจากปากของพระพรหม ให้มีหน้าที่สั่งสอน
             2) พวกกษัตริย์ สร้างมาจากแขนของพระพรหม ให้มีหน้าที่รบ
             3) พวกไวศยะสร้างมาจากสะโพก (พระโสณี) ให้มีหน้าที่ทางานหนัก
             4) พวกศูทร สร้างมาจากเท้า ให้มีหน้าที่รับใช้วรรณะอื่นๆ5
             เนื่องจากพวกพราหมณ์พากันคิดค้นพิธีกรรมต่างๆมากมาย และแต่ละพิธีก็มี
ค่าใช้จ่ายทาให้ประชาชนพากันเบื่อพิธีกรรมไม่อยากปฏิบัติตาม ยุคนี้พวกพราหมณ์พากันละทิ้ง
การศึกษาเล่าเรียนและขาดคุณธรรมของการเป็นพราหมณ์ หันมากอบโกยผลประโยชน์จากการ
ประกอบพิธีกรรมที่ประชาชนจาใจต้องปฏิบัติตาม เพราะกลัวพระเจ้าจะลงโทษตามคาขู่ของ
พวกพราหมณ์
             ในปลายสมั ย พราหมณะ พวกพราหมณ์ ไ ด้ แ ต่ ง คั ม ภี ร์ ขึ้ น มาอี ก เล่ ม หนึ่ ง คื อ
อาถรรพเวท โดยอาศัยพื้นฐานจากคัมภีร์พระเวทสามคัมภีร์แรก โดยแต่งเป็นคาถาอาคมเพื่อ
สวดทาพิธีให้เกิดอาถรรพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์สาคัญอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ คัมภีร์อุปนิษัท
ซึ่งเป็นอรรถาธิบายเนื้อความในคัมภีร์พระเวท ได้ก่อให้เกิดความเห็นแตกแยกออกไปเป็น
ระบบปรัชญาอีก 6 สานัก คือ ปรัชญาสางขยะ โยคะ มีมางสา นยายะ ไวเศษิกะ และเวทานตะ
             สรุปได้ว่า ยุคพราหมณะ ชาวอารยันยังคงเชื่อและนับ ถื อเทพเจ้ า และเพื่ อให้
เทพเจ้าโปรดปรานจึงมีพิธีกรรมการบวงสรวงที่วิ จิตรพิสดารมากยิ่งขึ้นทาให้พวกพราหมณ์มี
บทบาทสาคัญในการทาพิธีดังกล่าว จนทาให้เป็นวรรณะที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างมาก
ในสัง คม ในยุคนี้พ ระพรหมมี บทบาทมากกว่า เทพเจ้ าองค์อื่นในฐานะเป็นผู้ส ร้ างสรรพสิ่ ง
ในจักรวาล

             2.1.4 ยุคฮินดู : ยุคสมัยการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่
            สมัยฮินดูเป็นสมัยที่ความเชื่อยังคงเหมือนเดิมเช่นยุคที่ผ่านมา แต่ความคิดทาง
ปรัชญามีความลุ่มลึกขึ้น เป็นแนวความคิดใหม่ เพราะเป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา
เพราะในยุคนี้ได้เกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชนและพุทธศาสนา จนทาให้ศาสนาพราหมณ์ต้อง
ปรับกระบวนการในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู โดยความคิด
ในยุคฮินดู มีดังต่อไปนี้
              1) โลกเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของพรหมั น ไม่ มี ค วามเป็ น จริ ง เป็ น เพี ย งสิ่ ง ที่ ส ะท้ อ น
ออกมาจากพรหมันเท่านั้น

          5
             เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, พิมพ์ครั้งที่ 8                  (กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2546), หน้า 62.
28 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2) วิญญาณทั้งหลายเกิดมาจากพรหมันหรือพระพรหม แล้วถือกาเนิดเรื่อยไป
เพราะกรรม จนกว่าจะบรรลุความหลุดพ้น หรือโมกษะ ซึ่งเป็นการกลับไปสู่พรหมันนั่นเอง
              3) ถ้าปรารถนาจะเข้าถึงความหลุดพ้น ต้องละทิ้ง การดาเนินชีวิตแบบชาวบ้าน
ออกไปอยู่ป่าเป็นนักบวช
              4) คติเรื่องการสร้างโลก และการสร้างโลกใหม่ของพระเจ้ า เพื่อทาลายระบบ
การเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณทั้งหลาย เมื่อสร้างโลกใหม่อีก ธาตุต่างๆก็ชุมนุมกันขึ้นใหม่
วิญญาณทั้งหลายซึ่งกลับไปรวมกับพรหมัน ก็จะออกจากพรหมั นมาเกิดเป็นสัตว์โลกอีกเป็น
การเริ่มระบบใหม่
             จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นจากลัทธิประจาเผ่าพัฒนา
มาเป็นศาสนาประจาเผ่าอารยันซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑหรือทัสยุ
ได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปแล้วตั้งถิ่นฐานที่อยู่ครอบครองลุ่มน้าสินธุและ
คงคาได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้เข้ากับความเชื่อของตน ทาให้เกิดแนวความคิดเรื่อง
วรรณะ ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนับถือพระเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนมาก
ยิ่งขึ้นจนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุค
พราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มีอานาจสูงสุดเพราะเป็นผู้ผูกขาดการทาพิธีกรรมต่างๆ
มีการแต่งคัมภีร์พระเวทขึ้นอีกหนึ่งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นรากฐาน
ของแนวคิดทางปรั ชญาที่ ส าคัญ ในยุ คสุดท้ า ยคือยุ คฮิ นดูเ ป็นยุ คที่ ร ะบบแนวความคิดทาง
ปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิด
ศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชนและพุทธศาสนา จนทาให้ศาสนาพราหมณ์ต้ องปรับกระบวนการ
ในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู
          จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้




                                                                    ศาสนาขั้นแนะนา | 29
ยุคอารยัน(1)




                                       พัฒนาการของ                   ยุคพระเวท(2)
          ยุคฮินดู (4)                    ศาสนา
                                      พราหมณ์-ฮินดู




                                           ยุค
                                       พราหมณะ(3)




                 แผนภูมิภาพที่ 2-1 พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

2.2 ศาสดา
            ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคาสอน
ต่างๆ พวกพราหมณ์หรือฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ยินหรือฟังมาจากพระเจ้า เรียกว่า ศรุติ ด้วยตนเอง
แล้วมีการจดจาไว้และถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจา

2.3 คัมภีร์ในศาสนา
               คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
               2.3.1 ส่วนที่เป็นศรุติ แปลตามรูปศัพท์ว่า ได้ยิน ได้ฟัง ได้แก่ คัมภีร์ที่ถือว่าได้
ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่มีผู้แต่ง เป็นสัจธรรมที่มีความจริงแท้ เพราะเป็น
คาสอนของพระเจ้า เป็นประมวลความรู้ต่างๆอันเป็นความรู้ทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็น
บทสวดสรรเสริ ญ อ้ อ นวอน พิ ธี ก รรมเพื่ อ การบู ช าพระเจ้ า เวทมนต์ ค าถา และกวี นิ พ นธ์
อันไพเราะ บันทึกด้วยภาษาสันสกฤต เรียกว่า คัมภีร์พระเวท แบ่งออกเป็น 4 คัมภีร์หรือหมวด
เรียกว่า สังหิตา คือ
30 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
1) ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด เป็นบทสวดหรือมนต์สรรเสริญอ้อนวอน
พระผู้เป็นเจ้า บทสวดในคัมภีร์ฤคเวทเป็นบทร้อยกรอง
                   2) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ ซึ่งเป็นบท
ร้อยแก้วที่อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและการทาพิธีบูชายัญ
                   3) สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็ นบทร้อยกรอง ใช้สาหรับ
สวดในพิธีถวายน้าโสมและขับกล่อมเทพเจ้า
                   4) อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็นคาถาอาคม
มนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์           สาหรับทาพิธีขับไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นมงคล
นาความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู
                   คัมภีร์พระเวท แม้จะมีจานวน 4 เล่ม แต่ก็เรียกว่า ไตรเพทหรือไตรเวท เพราะ
พวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์อาถรรพเวท ขึ้นมาในภายหลังยุคพระเวท
                   พระเวทแต่ละคัมภีร์แบ่งออกเป็น 2 ภาค เรียกว่า กาณฑะหรือกัณฑ์ ได้แก่
                   1) กรรมกาณฑะ เป็นภาคที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชา
                   2) ชญาณกาณฑะ เป็ น ภาคที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ความรู้ ห รื อ ปรั ช ญาเกี่ ย วกั บ
ความจริงสูงสุด ได้แก่ พรหมัน อาตมันและโลกที่เป็นสิ่งที่ปรากฏออกมาจากพรหมัน
            นอกจากนี้ คัมภีร์พระเวทแต่ละคัมภีร์ยังแบ่งออกเป็น 4 ตอนเช่นเดียวกัน คือ
                   1) มันตระ เป็นส่วนที่รวบรวมมนตร์ต่างๆ สาหรับเป็นบทบริกรรมและขับกล่อม
อ้อนวอน สดุดีเทพเจ้า ในพิธีกรรมบูชาบวงสรวง
                   2) พราหมณะ เป็นบทร้อยแก้ว หรือเรียงความ อธิบายระเบียบการประกอบ
พิธีกรรมต่างๆ ไว้อย่างละเอียด
                   3) อารัณยกะ เป็นบทร้อยแก้ว ใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์ ที่ต้องการ
ดารงชีวิตเป็นผู้อยู่ป่า (วนปรัสถ์) เพื่อหาความสุขสงบ ตัดขาดจากการอยู่ครองเรือน
                   4) อุปนิษัท เป็นตอนสุดท้ายแห่งพระเวท เป็นส่วนที่เป็น แนวคิดทางปรัชญา
อย่ า งลึ ก ซึ้ ง เป็ น บทสนทนาโต้ ต อบ อธิ บ ายถึ ง ธรรมชาติ แ ละจั ก รวาล วิ ญ ญาณของมนุ ษ ย์
การเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม
            ส่ วนที่ เ ป็นมั นตระ และพราหมณะ จั ดอยู่ ใ นภาคกรรมกาณฑะ ส่ วนอรั ณ ยกะและ
อุปนิษัทอยู่ในชญาณกาณฑะ

       2.3.2 ส่วนที่เป็นสมฤติ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่จาไว้ได้ จึงเป็นคัมภีร์ที่จดจาและ
ถ่ายทอดกันสืบต่อมา ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหา และ




                                                                                 ศาสนาขั้นแนะนา | 31
สนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่ น คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์มนูศาสตร์
คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์ภควัทคีตา มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ เป็นต้น6
          จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้

                          คัมภีร์ศรุติ                        คัมภีร์สมฤติ

    1. ฤคเวท

    2. ยชุรเวท

    3. สามเวท                                          แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและ
                                                      สนับสนุนให้ศกษาคัมภีร์พระเวท
                                                                     ึ
    4. อาถรรพเวท


                 แผนภูมิภาพที่ 2-2 คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู


2.4 หลักคาสอนสาคัญ
              หลักคาสอนสาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีดังต่อไปนี้
              2.4.1 อาศรม หรือวิธีปฏิบติของพราหมณ์ 4
                                         ั
              คัมภีร์พราหมณะและอรัณยกะ ได้บัญญัติวิถีชีวิตสาหรับบุคคลที่จะเป็นพราหมณ์
โดยสมบูรณ์ โดยกาหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิตไว้ 4 ตอนๆ ละ 25 ปี
ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม หรือ วัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
              1) ขั้นพรหมจรรย์
                  ในขั้นตอนนี้ เด็กชายในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์และไวศยะที่มี อายุครบ 8 ปี
จะต้องเข้าพิธีอุปานยัน คือ ให้พราหมณ์ผู้ทรงคุณวุ ฒิสวมสายธุรา หรือยัชโญปวีต เป็นการ



        6
         Warren Matthews, World Religions (USA : Wadsworth Cengage Learning,
2010), p. 69.


32 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ประกาศตนเป็นพรหมจารี เป็นการประกาศตนว่าเป็นนักเรียน หรือแปลตามศัพท์ว่าผู้มีความ
ประพฤติประเสริฐ จนอายุครบ 25 ปี พรหมจารีมีหน้าที่ดังนี้
                   (1) ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน
                   (2) เชื่อฟังและปฏิบัติตามคาสั่งสอนของครูอาจารย์
                   (3) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ
                   (4) ไม่คบกับเพศตรงกันข้าม
                   (5) เมื่อสาเร็จการศึกษาแล้วต้องทาพิธีเกศานตสันสกา (ตัดผม) และพิธี
คุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์
              2) ขั้นคฤหัสถ์
                 ในขั้นตอนนี้ พรหมจารีผู้ผ่านอาศรมที่ 1 แล้ว ก็กลับมาสู่บ้านของตน ช่วย
พ่อ-แม่ทางาน แต่งงานเป็นหัวหน้าครอบครัว ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ทาการบูชาเทวดา
ทุกเช้าค่า ชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้า จึงต้องกระทาแต่สิ่งที่ดีงาม อยู่ในช่วงอายุ
26-50 ปี
             3) ขั้นวานปรัสถ์
                 ในขั้ นตอนนี้ คฤหั ส ถ์ผู้ ต้องการแสวงหาความสงบสุ ขทางใจ ก็ จ ะออกจาก
ครอบครัวไปอยู่ในป่าบาเพ็ญสมาธิ โดยอาจจะกลับมาสู่ครอบครัวอีกก็ได้ อยู่ในช่วงอายุ
51-75 ปี
             4) ขั้นสันยาสี
                 ในขั้นตอนนี้ พราหมณ์ที่ปรารถนาความหลุดพ้น เรียกว่า โมกษะ จะออกจาก
ครอบครัวไปอยู่ป่า ออกบวช เพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูง และไม่กลับมาสู่โลกียวิสัยอีกเลย เมื่อบวช
แล้วจะสึกไม่ได้ บาเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้น อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 76 ปีขึ้นไป7

           2.4.2 หลักคาสอนเรื่องตรีมูรติ
           เทพเจ้ า ที่ ส าคั ญ ในศาสนาพราหมณ์ -ฮิ น ดู ได้ แ ก่ พระพรหม พระศิ ว ะ และ
พระนารายณ์ รวมเรียกว่า ตรีมูรติ เทพเจ้าแต่ละองค์มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

            1) พระพรหม
            พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ในแนวคิดยุคแรกๆ
พระพรหมมีลักษณะที่ไม่มีตัวตน แต่ครั้นเวลาต่อมา พวกพราหมณ์ได้พบข้อบกพร่องว่า เมื่อ
พระพรหมไม่มีตัวตน ประชาชนเคารพบูชาไม่ได้ พวกพราหมณ์จึงได้กาหนดให้พระพรหมมี
ตัวตน มี 4 พักตร์ สามารถมองดูได้ทั่วทิศ และเพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา ดังนั้น ลักษณะ


        7
            เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 68-70


                                                                    ศาสนาขั้นแนะนา | 33
ของพระพรหมจึงเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม กล่าวคือ พระพรหมที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
นั้น หมายถึง สิ่ง ที่ เ ป็นแก่นแท้ ของสรรพสิ่ งในจั กรวาล ส่ วนพระพรหมที่ เ ป็นรู ปธรรมเป็น
เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง พระพรหมมีพระชายาชื่อพระสรัสวดี ซึ่งเป็นเทพี
แห่งวาจาและการศึกษาเล่าเรียน เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะวิทยาทั้งปวง

              2) พระศิวะ
              พระศิวะ เป็นเทพเจ้า แห่งการทาลาย มีหลายชื่อ เช่น         อิศวร รุท ระ และ
นาฏราช เป็นต้น ประทับอยู่ที่ภูเขาไกรลาส มีโคนันทีเป็นพาหนะ และมีศิวลึงค์เป็นเครื่องหมาย
ของพลังแห่งการสร้างสรรค์
              ลักษณะของพระศิวะเป็นรูปฤๅษี มี 4 กร นุ่งห่มหนังสัตว์ ประทับนั่งบนหนัง
เสือโคร่ง ถืออาวุธตรีศูล ธนู และคทาหัวกะโหลกมนุษย์ ห้อยพระศอด้วยประคาร้อยด้วย
กะโหลก มีงูเป็นสังวาล พระศอมีสีดาสนิท กลางพระนลาฏมีพระเนตรดวงที่ 3 ถ้าพระศิวะ
ลื ม พระเนตรดวงที่ 3 เมื่ อ ใด ไฟจะไหม้ โ ลกเมื่ อ นั้ น เหนื อ พระเนตรดวงที่ 3 มี รู ป
พระจันทร์ครึ่งซีก
            พระศิวะมีพระชายาชื่ออุมา ซึ่งมีหลายลักษณะและมีรายชื่อเรียก เช่น ปารวตีเทวี
ผู้เป็นธิดาแห่งหิมวัตหรือหิมาลัย ทุรคาเทวีผู้เป็นเจ้าแม่แห่งสงคราม และกาลีเทวีผู้มีกายสีดา
เป็นต้น

             3) พระวิษณุหรือพระนารายณ์
             พระวิ ษ ณุ ห รื อ พระนารายณ์ เป็ น เทพเจ้ า ผู้ รั ก ษาและคุ้ ม ครองโลกให้ เ ป็ น สุ ข
พระนารายณ์เป็นเทพเจ้าที่มีพลังทางทานุบารุงโลก เมื่อเวลาใดโลกเกิดยุคเข็ญ เมื่อเวลานั้น
พระนารายณ์จะเสด็จไปช่วยบาบัดทุกข์ ปราบยุคเข็ญ เรียกว่า อวตาร
             พระนารายณ์ประทับอยู่ในเกษียรสมุทร มีพระยาอนันตราชเป็นบัลลังก์ ทรงครุฑ
เป็นพาหนะ มีพระชายาชื่อ ลักษมี ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม ผู้อานวยโชคลาภ ความมั่งคั่ง และ
ผู้มีใจเมตตาปราณี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นวามนาม ปรศุราม                       และพระราม
พระชายาลักษมีก็เสด็จลงมาเป็นนางปทุมาหรือกมลา นางธรณี และนางสีดาตามลาดับ
             พระนารายณ์จะอวตารลงมาจากสวรรค์และเกิดเป็นสัตว์หรือมนุษย์ต่างๆ เพื่อ
ช่วยเหลือโลกเรียกว่า นารายณ์อวตาร จานวน 10 ปาง ดังต่อไปนี้
             (1) มัตสยาวตาร ลงมาเกิดเป็นปลา เพื่อปราบยักษ์ชื่อ หยครีวะ ซึ่งทาให้มนุษย์
หลงผิดจนเกิดน้าท่วมโลก
             (2) กูรมาวตาร ลงมาเกิดเป็นเต่าในเกษียรสาคร (ทะเลน้านม) ให้หลังรองรับ
ภูเขาชื่อ มันทาระ เทวดาใช้ลาตัวพญานาคมาต่อกันทาเป็นเชือกผูกภูเขาเพื่อใช้เป็นสายโยง
สาหรับดึงภูเขาให้เคลื่อนไหว เพื่อกวนน้าในมหาสมุทรจนกลายเป็นน้าอมฤต

34 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
(3) วราหาวตาร ลงมาเกิดเป็นหมูป่า เพื่อปราบยักษ์ หิรัณยากษะ ผู้จับโลกกดให้
จมน้าทะเล โดยใช้เขี้ยวดุนให้โลกพ้นน้า สัตว์โลกจึงได้เกิดมา
                (4) นรสิงหาวตาร         ลงมาเกิดเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงห์ เพื่อปราบยักษ์ชื่อ
หิรัณยกศิปุ ผู้ได้พรจากพระพรหมว่าจะไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ จึงก่อความเดือดร้อนทั่ว 3 โลก
                (5) วามนาวตาร ลงมาเกิดเป็นคนค่อมผู้มีฤทธิ์ เพื่อปราบยักษ์ชื่อ พลิ มิให้มี
อานาจครองโลกทั้งสาม และได้ไล่ยักษ์พลิให้ไปอยู่ใต้บาดาล
                (6) ปรศุรามาวตาร ลงมาเกิดเป็นรามผู้มีขวานเป็นสัญลักษณ์ เป็นบุตรของ
พราหมณ์ พยายามป้องกันไม่ให้กษัตริย์มีอานาจเหนือวรรณะพราหมณ์ ได้ชาระโลกถึง 21 ครั้ง
เพื่อทาลายกษัตริย์
                (7) รามาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระราม (รามจันทร์) ในมหากาพย์รามายณะ
เพื่อปราบท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์
                (8) กฤษณาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระกฤษณะ ผู้มีผิวกายดา เป็นสารถีขับรถศึกให้
อรชุนเพื่อปราบคนชั่วในมหากาพย์มหาภารตะ
                (9) พุทธาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ประกาศหลักธรรมช่วยมนุษย์ให้พ้น
ทุกข์ซึ่งเป็นการปฏิรูปคาสอนของศาสนาพราหมณ์ เหตุผลที่ศาสนาฮินดูดึงเอาพระพุทธเจ้ามา
เป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์นั้น นับเป็นการกลืนพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง
                (10) กั ล กยาวตาร หรื อ อั ศ วาวตาร ลงมาเกิ ด เป็ น บุ รุ ษ อาชาไนยหรื อ อั ศ วิ น
ผู้ขี่ม้าขาว (กัลกี) ถือดาบอันมีฤทธิ์มีแสงแปลบปลาบดังดาวหาง เพื่อปราบคนชั่วและสถาปนา
ระบบธรรมะขึ้นใหม่ในโลก8
                ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า โลกมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไปในที่สุด
การบูชาเทพเจ้าทั้ง 3 องค์เหล่านี้เป็นลักษณะของบุคลาธิษฐาน เป็นการบูชาเพื่อให้รู้แจ้ง
สภาวธรรม 3 ประการ นั่นคือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไปของโลกนั่นเอง

            2.4.3 หลักคาสอนเรื่องปรมาตมันหรือพรหมัน และชีวาตมัน
            ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า ปรมาตมัน บางครั้งเรียกว่า พรหมัน ปรมาตมันกับ
พรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน มีฐานะเป็นวิญญาณดั้งเดิมหรือความจริงสูงสุดของโลกและสรรพสิ่ง
ในโลก เพราะสรรพสิ่งมาจากปรมาตมัน หรือพรหมัน ดารงอยู่ และในที่สุดก็จะกลับคืนสู่
ความเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันหรือพรหมัน




         8
           สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์รวมสาส์น, 2541), หน้า 291-292.

                                                                           ศาสนาขั้นแนะนา | 35
ปรมาตมันหรือพรหมัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ไม่มีรูปร่างปรากฏ มีอยู่ในสิ่งทั้งหลาย
ทั้งปวง เป็นศูนย์รวมแห่งวิญญาณทั้งปวงเป็นความจริงแท้หรือสัจธรรมเพียงสิ่งเดียว ส่วนโลก
และสรรพสิ่งล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงมายาหรือภาพลวงตาที่มีอยู่เพียงชั่วครั้งคราว
เท่านั้น
                 ส่วนชีวาตมันหรือบางครั้งเรียกว่าอาตมัน เป็นตัวตนย่อย หรือวิญญาณที่มีอยู่ใน
สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ วิญญาณของมนุษย์และสรรพสัตว์ย่อมเกิดมาจากวิญญาณ
สากลคือปรมาตมันหรือพรหมัน เมื่อวิญญาณที่ออกมาจากปรมาตมันหรือพรหมันแล้วต้องเข้า
ไปสิ ง สถิ ต อยู่ ใ นรู ป แบบต่ า งๆของสิ่ ง มี ชี วิ ต นั บ ชาติ ไ ม่ ถ้ ว นและต้ อ งมี ลั ก ษณะสภาวะที่ ไ ม่
เหมือนกันจนกว่าจะเข้าถึงความหลุดพ้น กระบวนการนี้เรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิดหรือ
สังสารวัฏ ดังนั้น การที่อาตมันหรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมัน จึงจะ
เรียกว่า การพ้นจากทุกข์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

               2.4.4 หลักคาสอนการหลุดพ้นหรือโมกษะ
               ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ตายตามร่างกาย การตาย
เป็นเพียงวิญญาณออกจากร่างกาย เพราะร่างกายเดิมไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ วิญญาณก็จะไป
ถือเอาร่างใหม่ หรือที่เรียกว่า เกิดใหม่ ดุจคนสวมเสื้อผ้าที่เก่าคราคร่า ไปหาชุดใหม่สวมใส่
เรียกว่า สังสารวัฏ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่าไปตราบที่ยังไม่บรรลุความหลุดพ้น หรือโมกษะ
ชาวฮินดูเชื่อว่า โมกษะเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพระพรหม
ชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป การปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะนั้น มีหลักปฏิบัติ
4 ประการ คือ
               1) กรรมมรรค (กรรมโยคะ) คือ การปฏิบัติด้วยการประกอบการงานตามหน้าที่
ด้วยความขยันขันแข็ง แต่ทางานด้วยจิตใจสงบ             ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ผู้ปฏิบัติเรียก
กรรมโยคิน
               2) ชยานมรรค (ชยานโยคะ) คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า
ว่า ปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ วิญญาณที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล (ชีวาตมัน) เป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันกับปรมาตมันหรือวิญญาณสากล
               3) ภักติมรรค (ภักติโยคะ) คือ ความจงรักภักดีต่อเทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือ
ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ภักติโยคิน
               4) ราชมรรค (ราชโยคะ) คือ การปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจ บังคับใจให้อยู่ใน
อานาจด้วยการบาเพ็ญโยคะ ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ราชโยคิน9

          9
         Warren Matthews, World religions, (USA : Wadsworth Cengage Learning,
2010), p. 80-83.
36 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้

                             หลักคาสอน
                                                                            ขั้นพรหมจรรย์

                                                                              ขั้นคฤหัสถ์
                  อาศรมหรือวิธปฏิบัติของพราหมณ์
                              ี
                                                                             ขั้นวานปรัสถ์

                                                                               ขั้นสันยาสี

                                                                               พระพรหม
                                ตรีมูรติ                                         พระศิวะ

                                                                           พระวิษณุหรือพระนารายณ์

                 ปรมาตมันหรือพรหมัน และชีวาตมัน



                        การหลุดพ้นหรือโมกษะ


             แผนภูมิภาพที่ 2-3 หลักคาสอนสาคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

2.5 นิกายในศาสนา
               นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอยู่ 4 นิกายใหญ่ๆ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
               1) นิกายไวษณวะ หรือไวษณพ
                   ผู้ก่อตั้ง นิก าย คือ ท่ า นนาถมุ นี ดาเนินการเผยแผ่ลั ท ธิ อยู่ ท างภาคใต้ของ
อิน เดีย เป็นนิกายที่ บูช าพระวิษ ณุ หรื อพระนารายณ์ เชื่ อการอวตารหรื อการลงมาเกิดเพื่ อ
ช่ ว ยเหลื อ มวลมนุ ษ ย์ ข องพระวิ ษ ณุ ห รื อ พระนารายณ์ เช่ น การอวตารลงเป็ น พระรามใน
มหากาพย์ ร ามายณะ เป็น พระกฤษณะในคัม ภี ร์ ภ ควั ท คีต า และเป็ นพระพุ ท ธเจ้ า เป็น ต้ น
นิกายนี้เน้นหนักการนับถือในพระวิษณุหรือพระนารายณ์ว่าสาคัญกว่าเทพเจ้าองค์อื่น หน้าที่


                                                                          ศาสนาขั้นแนะนา | 37
ของพระนารายณ์ ไม่ใช่เพียงรักษาโลกให้ดารงอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างและผู้ทาลายโลก
อีกด้วย นิกายนี้จึงเป็นเอกนิยม นับถือพระวิษณุเพียงองค์เดียว ยุบเอาลักษณะและความเชื่อใน
พระเจ้าทั้ง 3 มารวมไว้ในพระวิษณุองค์เดียว
              ในพุ ทธศตวรรษที่ 19 นิกายไวษณวะ ได้แ ยกแยกออกเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ
เตงกไล ซึ่งเป็นนิกายฝ่า ยใต้ กับ วฑกไล ซึ่ง เป็นนิกายฝ่า ยเหนื อ 10 นอกจากนี้ยั งแตกแยก
ออกเป็นนิกายย่อยอีก 3 นิกาย คือ
              (1) นิกายรามานุช มีสัญลักษณ์ประจาคือ มีดิลก (จุด) และเครื่องหมายเป็น
ขีดเส้นสีขาว 2 เส้นที่หน้าผาก โดยขีดจากตีนผมลงมาจรดคิ้ว และมีเส้นขวางที่ดั้งจมูก
              (2) นิกายมาธวะ มีความเชื่อว่า สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จ ริง ย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีแหล่งกาเนิดของมัน
              (3) นิกายวัลลภะ ไม่ถื อการบาเพ็ ญพรตและการทรมานตนเหมือนนิกายอื่น
นิกายนี้เขียนหน้าผากเป็น 4 แบบ คือ 1) ขีดเส้นคู่ 2 ข้าง แต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง 2) เขียน
เป็นรูปเกือกม้าแต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปเกือกม้าและขีดเส้นตรงเส้นหนึ่ง
ตรงกลาง 4) เขียนเป็นรูปไข่11

              2) นิกายไศวะ
              นิกายนี้ถือว่า พระศิวะเป็นผู้สร้างโลก เป็นแก่นแท้ของจักรวาล การนับถือของ
นิกายนี้มี 2 ลักษณะ คือ
              (1) นับถือและบูชาลิงคะ หรือ ศิวลึงค์ คือ เครื่องหมายเพศบุรุษ เป็นเครื่อง
แทนพระศิวะในฐานะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง
              (2) นับถือและบูชาโคนันทิ ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ เป็นผู้ให้น้านมและเนื้อ
แก่มนุษย์ เปรียบเหมือนเป็นมารดาของคนอินเดีย เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู
              สัญลักษณ์ของคนที่นับถือนิกายนี้ คือ การใช้ขี้เถ้าของขี้วัวเขียนหน้าผากเป็น เส้น
และจุดดิลก 4 แบบ คือ 1) ขีดเส้นที่หน้าผาก 2 ขีด แต้มดิลกข้างใต้ 2) เขียนเส้น 3 ขีด แต้ม
ดิลกใหญ่ตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปสี่เหลี่ยม 4) เขียนเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวแต้มดิลกตรง
กลาง12




         10
            สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 288.
         11
            เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ, 187.
         12
            เรื่องเดียวกัน
38 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
นิกายไศวะนี้ ภายหลังแตกแยกออกเป็นนิกายย่อยใหญ่ๆ 2 นิกาย13 คือ
              1) นิกายกาศมีรไศวะ หรือ กัษมีไศวะ เป็นนิกายฝ่ายเหนือ เกิดขึ้นในแคว้น
แคชเมียร์ เชื่อว่า พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์เดียว และทรงแฝงอยู่ในสรรพสิ่ง

              2) นิกาย ลิงคายัต เป็นนิกายฝ่ายใต้ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ ก่อตั้งโดย
ท่านลกุลีศะซึ่งนิกายนี้เชื่อกันว่าเป็นพระมเหศวร คือ การอวตารเป็นครั้งสุดท้ายของพระศิวะ

               3) นิกายศักติ
               ค าว่ า ศั ก ติ แปลว่ า ความสามารถ อ านาจ พลั ง ความสู ง ส่ ง บุ ค คลผู้ มี พ ลั ง
ดังกล่าวคือเทวีหรือเทพเจ้าผู้หญิง นิกายนี้จึงนับถือมเหสีของมหาเทพทั้ง 3 องค์ การนับถือ
ศักติหรื อมหาเทวีไม่ ได้แยกออกเป็นนิกายเอกเทศ แต่แฝงอยู่ในนิกายไศวะ และไวษณวะ
นั่นเอง กล่าวคือ ในนิกายไศวะก็นับถือพระชายาของพระศิวะซึ่งมีเพียงองค์เดียวแต่มีหลายชื่อ14
เช่น อุมา กาลี ทุรคา เป็นต้น ส่วนนิกายไวษณวะก็นับถือพระนางลักษมีซึ่งเป็นพระชายาของ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์ นิกายที่นับถือพระพรหมก็นับถือพระนางสรัสวดีซึ่งเป็นมเหสีของ
พระพรหม เป็นต้น
               แต่โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะนับถือพระนางอุมายิ่งกว่าเทพีองค์อื่นๆ เพราะ
พระนางเป็นมเหสีของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าที่คนเกรงกลัว               ดังนั้น พระนางอุมาจึงมี
พระนามหลายอย่าง คู่กับพระศิวะ เช่น มหาเทวี คู่กับมหาเทพ โยคินี คู่กับมหาโยคีชคันมาตรี
(มารดาของโลก) คู่กับอิศวร ทุรคา หรือไภรวีคู่กับไภรวะ (ผู้น่ากลัว) กาลี (ผู้ทาลาย) คู่กับ
มหากาล เป็นต้น15
               การบูชาของนิกายศักติแปลกกว่าการบูชาของนิกายอื่นๆ เช่น ตัดคอแพะบูชา
เจ้าแม่กาลี หรือการประกอบพิธีกรรม นิกายศักติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
              (1) ทักษิณาจารี คือ พวกบูชาด้านขวา หมายถึง ผู้นับถือนิกายศักติที่บูชาพระศิวะ
พระวิษณุ พระกฤษณะและพระชายาในฐานะเป็นมหาเทพ ไม่ใช่ด้วยความพึงพอใจต่อพระเทวี
ในแง่กามารมณ์ มีการทาพิธีอย่างเปิดเผย สุภาพ ไม่ลามกอนาจาร ตามคาสอนในคัมภีร์ปุราณะ
              (2) วามาจารี คื อ พวกบู ช าด้ า นซ้ า ย หมายถึ ง ผู้ นั บ ถื อ นิ ก ายศั ก ติ ที่ บู ช า
พระนางทุรคามากกว่าพระศิวะ บูชาพระนางราธามากกว่าพระกฤษณะ และบูชาพระนางลักษมี
มากกว่าพระวิษณุ นิกายนี้บูชาพระเทวีทุรคาไม่ใช่ในฐานะพระชายาของมหาเทพ แต่ในฐานะ
พระเทวีที่ เ ป็นประธานในการร่ วมเพศ และพิ ธี ใ ห้ เ กิดฤทธิ์ เ ดช การบู ชาต้องท าพิ ธี ใ นที่ ลั บ


         13
            สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 293.
         14
            เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 89.
         15
            สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 387-389.

                                                                              ศาสนาขั้นแนะนา | 39
ตามพิธีที่เรียกว่า ปัญจมการ หรือ ม 5 ประการ คือ 1) มัทยะ หรือมัชชะ คือ น้าเมา 2) มางสะ
คือ เนื้อสัตว์ ตลอดทั้งมัตสยะ เนื้อปลาสด 3) มันตระ คือ บทสวดที่จะทาให้เกิดความกาหนัด
4) มุทระ คือ การแสดงท่ายั่วยวน และ 5) ไมถุน คือ เสพเมถุนหรือการร่วมเพศ16 เพราะเชื่อ
กันว่า เจ้าแม่ทุรคา หรือเจ้าแม่กาลีทรงโปรดการบูชายัญและการเสพเมถุน ดังนั้น การประกอบ
กิจดังกล่าวจึงทาให้พระนางพอพระทัย และอีกจุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อให้เบื่อหน่ายในกาม
โดยสนองความต้องการให้เต็มที่ก็จะมาถึงจุดเบื่อหน่าย แบบหนามยอกเอาหนามบ่ง

             4) นิกายตันตระ
             คาว่า ตันตระ แปลว่า พิธีการ แบบแผน หรือกฎเกณฑ์ หมายถึงแบบแผนของ
พิธีกรรมต่างๆ ของฮินดูยุคหลังพุทธกาล นิกายนี้เกิดมาจากการนับถือศักติฝ่ายซ้าย เน้นหนัก
ไปในทางกามารมณ์ การบูชาศักติที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของนิกายนี้คือ การทาพิธี ให้ศักติ
หรือมหาเทพที่เป็นสามีพอใจ ได้แก่ การเริ่มต้นด้วยการพรรณนาคุณแห่งความรักความใคร่
ของสตรีและบุรุษแล้วจบลงด้วยการเสพเมถุน พิธีกรรมดังกล่าวเป็นของพวกวามาจารินหรือ
กาฬจักร เพราะจะต้องประกอบพิธีในเวลาเที่ยงคืนของข้างแรม ผู้เป็นศาสนิกจะพากันมาชุมนุม
กันหน้าเทวรูปของพระอุมาเทวีหรือเจ้าแม่ทุรคา แล้วเริ่มกระทาพิธีกรรมตามขั้นตอนของ ม ทั้ง
5 (ปัญจมการ)17 ดังกล่าวแล้ว
             จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้




        16
           เรื่องเดียวกัน, หน้า 487.
        17
           เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 192.


40 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
นิกายในศาสนา
                                                                   เตงกไล

                                                                   วฑกไล

                     นิกายไวษณวะหรือไวษณพ                          รามานุช

                                                                   มาธวะ

                                                                   วัลลภะ

                                                                กาศมีรไศวะ/
                      นิกายไวษณวะหรือไวษณพ                       กัษมีไศวะ

                                                                  ลิงคายัต


                            นิกายศักติ




                           นิกายตันตระ

                 แผนภูมิภาพที่ 2-4 นิกายในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

2.6 พิธีกรรมสาคัญ
           ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่มีพิธีกรรมเป็นส่วนประกอบสาคัญอย่างหนึ่ง
ของศาสนา เพราะชาวฮินดูทุกวรรณะย่อมมีขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะที่ต้องประพฤติ
ตามที่กาหนดไว้สาหรับวรรณะของตน และกฎประเพณีส่วนรวม ที่ต้องปฏิบัติสาหรับทุกชั้น
วรรณะ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
             2.6.1 กฎสาหรับวรรณะ
             ศาสนาฮินดูมีกฎสาหรับวรรณะให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหลายเรื่อง เช่น
             1) กฎเกี่ยวกับการแต่งงาน จะแต่งงานนอกวรรณะของตนไม่ได้ แต่ผู้ชายเป็น
พราหมณ์จะแต่งงานกั บผู้หญิงในวรรณะอื่นได้ เรียกว่า อนุโลม ส่วนผู้หญิงเป็ นพราหมณ์จะ
แต่งงานกับผู้ชายวรรณะอื่นไม่ได้ เรียกว่าปฏิโลม

                                                                ศาสนาขั้นแนะนา | 41
2) กฎเกี่ยวกับอาหารการกิน มีข้อกาหนดว่าสิ่งใดกินได้ สิ่งใดกินไม่ได้ และ
ข้อกาหนดว่าบุคคลในวรรณะใดปรุงอาหารให้คนวรรณะใดกินไม่ได้ เช่น วรรณะพราหมณ์ไม่
กินอาหารที่คนวรรณะอื่นทา เป็นต้น
            3) กฎเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ต้องประกอบอาชีพที่กาหนดไว้สาหรับคนใน
วรรณะนั้นๆเท่านั้น
            4) กฎเกี่ ย วกั บ สถานที่ อ ยู่ อ าศั ย ในสมั ย โบราณมี ก ฎห้ า มชาวฮิ น ดู มี ถิ่ น ฐาน
บ้านเรือนนอกเขตประเทศอินเดีย และห้ามเดินเรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ถือกันแล้ว
              2.6.2 พิธีประจาบ้าน
              พิธีนี้เป็นพิธีที่กาหนดไว้ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ หรือมนูศาสตร์เรียกว่า พิธี
สังสการ เป็นพิธีกรรมที่คนในวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์และวรรณะไวศยะจะต้องทาโดย
มีพราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้ทาพิธี จานวน 12 ประการ คือ
              1) ครรภาธาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์
              2) ปุงสวัน เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย
              3) สีมันโตนยัน เป็นพิธีตัดผมหญิงมีครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4, 6 หรือ 8 เดือน
              4) ชาตกรรม พิธีคลอดบุตร
              5) นามกรรม พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ 12 หรือ 14 ถัดจากวันคลอด
              6) นิษกรมณ พิธีนาเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน
              7) อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 7 เดือนหรือ 8 เดือน
              8) จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ
              9) เกศานตกรรม พิธีตัดผม              ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี
ถ้าวรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี ถ้าวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 24 ปี
              10) อุปานยัน พิธีเข้ารับการศึกษา พวกวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะต้อง
ทาพิธีเข้ารับการศึกษา และเมื่ออาจารย์ในสานักนั้นๆ รับเด็กไว้แล้วก็จะสวมสายธุรา หรือ
ยัชโญปวีต ผู้ที่ได้สวมสายนี้แล้วก็เรียก ว่า ทวิชหรือทิชาชาติ ได้แก่ เกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกเกิด
จากครรภ์มารดา และครั้งที่ 2 เกิดจากการสวมสายยัชโญปวีต ส่วนพวกศูทรและจัณฑาลเป็น
เอกชาติ คือ เกิดครั้งเดียวไม่อาจเป็นทวิชาติได้
              11) สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสาเร็จการศึกษาและเตรียมตัว
กลับบ้าน
              12) วิวาหะ พิธีแต่งงาน
              พิธีสังสการทั้ง 12 ประการ ถ้าเป็นผู้หญิงห้ามทาพิธีอุปานยันอย่างเดียว นอกนั้น
ทาได้หมด และห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชาย และคน
บางวรรณะเท่านั้น

42 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ในปัจจุบันนี้ชาวฮินดูผู้เป็นทวิชาติคงปฏิบัติอยู่ใน 4 พิธีเท่านั้น คือ พิธีนามกรรม
พิธีอันน ปราศัน พิธีอุปานยัน และพิธีวิวาหะ ที่เหลือนอกนั้นไม่ใคร่ปฏิบัติกันแล้ว ยกเว้นผู้ที่
เคร่งครัดจริงๆ เท่านั้น18
             2.6.3 พิธีศราทธ์
             พิ ธี ศ ราทธ์ เ ป็ น พิ ธี ท าบุ ญ อุ ทิ ศ ให้ ม ารดาบิ ด า หรื อ บรรพบุ รุ ษ ผู้ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว
ในเดือน 10ตั้งแต่วันแรม 1ค่า ถึงวันแรม 15 ค่า การทาบุญอุทิศนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิณฑะ
             2.6.4 พิธีบูชาเทวดา
             ชาวฮินดูมีเทพเจ้าที่เคารพมากมายหลายองค์ ผู้ที่เกิดในวรรณะสูงสมัยก่อนได้บูชา
พระศิวะและพระวิษณุ เป็นต้น เวลาต่อมาเกิดลัทธิอวตารขึ้น มีการบูชาพระกฤษณะและ
พระรามขึ้นอีก แต่บุคคลในวรรณะต่ามักถูกกีดกันมิให้ร่วมบูชาเทพเจ้าของบุคคลในวรรณะสูง
ดังนั้น บุคคลในวรรณะต่าจึงต้องสร้างเทพเจ้าของตนเองขึ้น เช่น เจ้าแม่กาลี เทพลิง เทพงู
เทพเต่า รุกขเทพ เทพช้าง เป็นต้น การทาพิธีบูชานั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปตามวรรณะ
แต่บุคคลในวรรณะสูงมีพิธีในการบูชาพอจะกาหนดได้ ดังนี้
             1) สวดมนต์ภาวนา สนานกาย ชาระและสังเวยเทวดาทุกวัน สาหรับผู้เคร่งครัด
ในศาสนาต้องทาเป็นกิจวัตร ส่วนพวกที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่มักไม่ค่อยปฏิบัติกัน
             2) พิธี ส มโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิ ทธิ์ เช่น ลั กษมีบูชา                        วันบู ชาเจ้ า แม่
ลักษมี สรัสวดีบูชา วันบูชาเจ้าแม่สรัสวดี ทุรคาบูชา วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น ซึ่งอาจ
แตกต่างกันออกไปในแต่ละนิกายและท้องถิ่น
             3) การไปนมัสการบาเพ็ญกุศลตามเทวาลัยต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้า
ที่ตนนับถือ
             จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้

                                                        พิธีกรรม



   กฎสาหรับวรรณะ                     พิธีประจาบ้าน                     พิธีศราทธ์                    พิธีบูชาเทวดา


                     แผนภูมิภาพที่ 2-5 พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

          18
               สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวิติศาสตร์ศาสนา, หน้า 277-278.



                                                                                       ศาสนาขั้นแนะนา | 43
Chapter2
Chapter2
Chapter2
Chapter2
Chapter2
Chapter2

Contenu connexe

Tendances

ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยPadvee Academy
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์native
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1whanpree
 
ใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อนใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อนKroo R WaraSri
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานOnpa Akaradech
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาPadvee Academy
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfssuser6a0d4f
 
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนา
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนาผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนา
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนาPadvee Academy
 
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรป
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรปการเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรป
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรปTin Savastham
 
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา นารีรัตน์
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา   นารีรัตน์พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา   นารีรัตน์
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา นารีรัตน์Nareerat Keereematcharu
 
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อวิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อPadvee Academy
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชนPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาPadvee Academy
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดียอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดียPadvee Academy
 

Tendances (20)

ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทย
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
ใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อนใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อน
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
ขันธ์ 5
ขันธ์ 5 ขันธ์ 5
ขันธ์ 5
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
 
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนา
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนาผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนา
ผลกระทบของลัทธิการเมืองกับพระพุทธศาสนา
 
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรป
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรปการเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรป
การเผยแพร่ศาสนาในทวีปยุโรป
 
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
 
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
 
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา นารีรัตน์
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา   นารีรัตน์พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา   นารีรัตน์
พระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา นารีรัตน์
 
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อวิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อ
วิชาปรัชญาจีน ตอน ปรัชญาขงจื๊อ
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
หลักปฏิจจสมุปบาท
หลักปฏิจจสมุปบาทหลักปฏิจจสมุปบาท
หลักปฏิจจสมุปบาท
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดียอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
 

Similaire à Chapter2

อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์sangworn
 
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยbabyoam
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูPadvee Academy
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูJani Kp
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Net'Net Zii
 
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูบทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูDnnaree Ny
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพรampy48
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555Panda Jing
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่งพัน พัน
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารJack Like
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูJani Kp
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana BuddhismPadvee Academy
 

Similaire à Chapter2 (20)

ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์
 
อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์อาณาจักรตามพรลิงค์
อาณาจักรตามพรลิงค์
 
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทย
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูบทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
ฮินดู
ฮินดูฮินดู
ฮินดู
 
222
222222
222
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 

Plus de Garsiet Creus

โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10 เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...
โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10  เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10  เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...
โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10 เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...Garsiet Creus
 
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creus
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creusสารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creus
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet CreusGarsiet Creus
 
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้Garsiet Creus
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ Garsiet Creus
 
ข้อสอบความรู้รอบตัว
ข้อสอบความรู้รอบตัว ข้อสอบความรู้รอบตัว
ข้อสอบความรู้รอบตัว Garsiet Creus
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.  ภาษาไทย ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.  ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ภาษาไทย Garsiet Creus
 
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา อุปมัย 62 ข้อ
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา  อุปมัย 62 ข้อแนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา  อุปมัย 62 ข้อ
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา อุปมัย 62 ข้อGarsiet Creus
 
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ Garsiet Creus
 
แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ
 แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ  แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ
แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ Garsiet Creus
 
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ Garsiet Creus
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. Garsiet Creus
 
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.Garsiet Creus
 
B.eng. (civil engineering) inter
B.eng. (civil engineering) interB.eng. (civil engineering) inter
B.eng. (civil engineering) interGarsiet Creus
 
ช่างเขียนแบบ
ช่างเขียนแบบช่างเขียนแบบ
ช่างเขียนแบบGarsiet Creus
 
สรุปสูตรฟิสิกส์
สรุปสูตรฟิสิกส์สรุปสูตรฟิสิกส์
สรุปสูตรฟิสิกส์Garsiet Creus
 

Plus de Garsiet Creus (20)

โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10 เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...
โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10  เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10  เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...
โครงการเรียนล่วงหน้า รุ่นที่ 10 เพื่อเข้าศึกษาในสังกัดคณะของมหาวิทยาลัยเกษตร...
 
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creus
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creusสารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creus
สารชีวโมเลกุล By Prof.Dr.Garsiet Creus
 
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้
วศ.บ.(วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ) ฟีโบ้
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 30 ข้อ
 
ข้อสอบความรู้รอบตัว
ข้อสอบความรู้รอบตัว ข้อสอบความรู้รอบตัว
ข้อสอบความรู้รอบตัว
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.  ภาษาไทย ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.  ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ภาษาไทย
 
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา อุปมัย 62 ข้อ
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา  อุปมัย 62 ข้อแนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา  อุปมัย 62 ข้อ
แนวข้อสอบความเข้าใจ อุปมา อุปมัย 62 ข้อ
 
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ
แนวข้อสอบการอ่านคำ 106 ข้อ
 
แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ
 แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ  แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ
แนวข้อสอบการรู้จักความหมายของคำและกลุ่มคำ 30 ข้อ
 
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ
แนวข้อสอบการใช้คำศัพท์และหลักของภาษาไทย 198 ข้อ
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก. ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.
ข้อสอบพร้อมเฉลยข้อสอบภาค.ก.
 
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.
เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ.
 
B.eng. (civil engineering) inter
B.eng. (civil engineering) interB.eng. (civil engineering) inter
B.eng. (civil engineering) inter
 
TEST Aptitude2
TEST Aptitude2TEST Aptitude2
TEST Aptitude2
 
TEST Aptitude
TEST AptitudeTEST Aptitude
TEST Aptitude
 
Biology Chapter10
Biology Chapter10 Biology Chapter10
Biology Chapter10
 
ช่างเขียนแบบ
ช่างเขียนแบบช่างเขียนแบบ
ช่างเขียนแบบ
 
สรุปสูตรฟิสิกส์
สรุปสูตรฟิสิกส์สรุปสูตรฟิสิกส์
สรุปสูตรฟิสิกส์
 
Ch9 wave exercises
Ch9 wave exercisesCh9 wave exercises
Ch9 wave exercises
 
Wave
WaveWave
Wave
 

Chapter2

  • 1. บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ขอบเขตเนื้อหา 2.1 ความเป็นมา 2.2 ศาสดา 2.3 คัมภีร์ในศาสนา 2.4 หลักคาสอนสาคัญ 2.5 นิกายในศาสนา 2.6 พิธีกรรมสาคัญ 2.7 สัญลักษณ์ของศาสนา 2.8 ฐานะปัจจุบันของศาสนา แนวคิด 1. พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคอารยัน ยุคพระเวท ยุค พราหมณะ และยุคฮินดู 2. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคาสอน ต่างๆ พวกพราหมณ์หรือฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ยินหรือฟังมาจากพระเจ้าด้วยตนเอง แล้วมีการ จดจาไว้และถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจา 3. คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่ เป็นศรุติ ได้แก่ คัมภีร์พระเวททั้ง 4 คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท 2) ส่วนที่ เป็นสมฤติ ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและสนับสนุนให้ การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่น คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์ม นูศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์ภควัทคีตา มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ เป็นต้น 4. หลักคาสอนสาคัญของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู คือ หลักคาสอนเรื่องอาศรม หรือวิธีปฏิบัติของพราหมณ์ 4 ประการ หลักคาสอนเรื่องตรีมูรติ หลักคาสอนเรื่องปรมาตมัน หรือพรหมันและชีวาตมัน หลักคาสอนเรื่องการหลุดพ้นหรือโมกษะ 5. นิกายสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 4 นิกาย คือ นิกายไวษณวะหรือ ไวษณพ นิกายไศวะ นิกายศักติ และนิกายตันตระ 6. พิธีกรรมสาคัญของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู ประกอบด้วย กฎสาหรับวรรณะ พิธีประจาบ้าน พิธีศราทธ์ และพิธีบูชาเทวดา
  • 2. 7. สัญลั กษณ์ ของศาสนาพราหมณ์ -ฮิ นดู คือ เครื่ องหมาย โอม ที่ หมายถึง สัญลักษณ์แห่งพลังทั้ง 3 คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ 8. ขบวนการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู คือ สมาคมพรหมสมาช สมาคม อารยสมาช สมาคมกฤษณะมิชชั่น ขบวนการสรโวทัย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ 1. อธิบายความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 2. อธิบายคัมภีร์สาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 3. อธิบายหลักคาสอนสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 4. อธิบายนิกายสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 5. อธิบายพิธีกรรมสาคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 6. อธิบายสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ 7. อธิบายฐานะปัจจุบันของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ กิจกรรมการเรียน 1. การบรรยาย 2. การอภิปรายกลุ่มย่อย 3. การบันทึกการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมผลงาน สื่อการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. ใบสรุปการเรียนรู้ประจาบทที่ 2 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท การประเมินผล 1. ประเมินจากการร่วมทากิจกรรมกลุ่ม 2. ประเมินจากการสรุปการอภิปราย 3. ประเมินจากใบสรุปการเรียนรู้และแฟ้มสะสมผลงาน 24 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 3. 2.1 ความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์มีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต่การเริ่ม ตั้ ง ถิ่ น ฐานของชาวอารยั น เริ่ ม ตั้ ง ถิ่ น ฐานในชมพู ท วี ป ต่ อ มาในสมั ย หลั ง พุ ท ธกาล ศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ใหม่ ซึ่งมีหลักคาสอนที่ผิดแผก แตกต่างไปจากต้นกาเนิดเดิมของศาสนานี้ จึงนับว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีอายุยาวนาน ที่สุดของโลกศาสนาหนึ่ง ศาสนาพราหมณ์ -ฮินดูเ ป็นศาสนาที่แ ตกต่า งจากศาสนาอื่นในโลกเพราะเป็น ศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เพราะมีจุดเริ่ม ต้นมาจากความเชื่ อว่ามีเทพเจ้าผู้มีอานาจเหนือ ธรรมชาติ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ต่อมาชาวอารยันผู้ทาหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า ได้สอนหลักการ เรื่องกาเนิดของสรรพสิ่งว่า เทพเจ้าหรือพระพรหม เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในลักษณะต่ างๆ ต่อมา สรรพสิ่งที่พระพรหมสร้างก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย ทาให้มีเทพเจ้า มากมายและทาหน้าที่ต่างๆกันในที่สุด ศาสนาพราหมณ์หรืฮินดูจึงกลายมาเป็นศาสนาประเภท พหุเทวนิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาอันยาวนาน ทาให้ แนวความคิดทางศาสนาแตกต่างกันออกไปมาก ดังนั้น การศึกษาประวัติความเป็นมาและ พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังต่อไปนี้ 2.1.1 ยุคอารยัน เดิมทีเดียวชมพูทวีปหรือดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน เป็นที่อยู่ของ พวกชนพื้นเมืองเรียกว่า ฑราวิฑ (Dravidian) ซึ่งมีเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า มีรูปร่างเล็ก ผิวดา เช่น เผ่ามองโกลอยด์ เผ่าเปรโตออสเตรลอยด์ และเผ่าเนกริตอย เป็นต้น 1 ต่อมาชนชาติใหม่คือ พวกอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้าสินธุ จึงเรียกชื่อ ชนชาติใหม่นี้ว่า พวกสินธุ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเพราะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มน้าสินธุ แต่ชนชาติ อื่นเรียกเพี้ยนไปเป็นอินดัส (Indus)บ้าง ฮินดู (Hindu) บ้างและกลายเป็นอินดิยาหรืออินเดีย (India) ในยุคหลังๆ2 เมื่ออพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้าสินธุ คงคาและยมุนาแล้ว ก็ปรากฏว่าเจริญกว่าคนพื้นเมือง 1 สมัคร บุราวาส, ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์แพร่พิทยา, 2516), หน้า 3-4. 2 สุ ว รรณา สั จ จาวี ร วรรณ และคณะ, อารยธรรมตะวั น ออกและตะวั น ตก (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2522), หน้า 63. ศาสนาขั้นแนะนา | 25
  • 4. ชาวอารยันในชมพูทวีปยกย่องธรรมชาติขึ้นเป็นเทพ เช่นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า พายุ ฝน เป็นต้น โดยเชื่อว่าความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับอานาจของเทวะ ถ้าปรารถนาจะให้หรือไม่ให้เทพแสดงฤทธิ์เดช ก็ต้องอ้อนวอนให้เทพอานวยสิ่งที่ตนปรารถนา จึงเกิดมีพิธีเซ่นสรวง สังเวยและอ้อนวอน และมีบุคคลผู้ทาพิธีดังกล่าว เรียกว่า พราหมณ์ นอกจากเทพเจ้าที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอารยันยังเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วก็มีอานาจ เช่ น เดี ย วกั บ เทพเจ้ า ด้ ว ยในการที่ จ ะให้ คุ ณ และโทษแก่ ลู ก หลาน จึ ง ต้ อ งสั ง เวยบวงสรวง เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พ่อแม่ที่ไม่มีบุตรจะตกนรกชื่อ ปุตระ ถ้าไม่มีลูกชายทาพิธีเซ่น สรวงบูชาดวงวิญญาณของตน ดังนั้น ลูกชายจึงเป็นที่ปรารถนาของชาวชมพูทวีปมาจนทุกวันนี้ เมื่อชาวอารยันเข้ามาปกครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว คนพื้นเมืองที่ไม่ยอมอพยพ หนีไปเมื่อพ่ายแพ้สงครามก็จะยอมเป็นทาส เรียกว่า ทัสยุ ของชาวอารยัน ส่วนชาวอารยันก็ถือ ตัวว่าเจริญกว่าคนพื้นเมือง จึงไม่อยากจะหนี การปะปนทางเชื้อชาติเกิดขึ้น จึงได้ห้ามไม่ให้มี การสมสู่กันระหว่างชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง และสงวนอาชีพสาคัญๆและมีเกียรติไว้สาหรับ ชาวอารยัน สาหรับชาวอารยันนั้นแบ่งออกเป็น 3 พวกตามตาแหน่งหน้าที่ซึ่งมีฐานะไม่เท่าเทียม กัน ส่วนชนพื้นเมืองเดิมนั้นมีฐานะต่าที่สุด และประกอบอาชีพที่ชาวอารยันไม่ปรารถนาแล้ว ในที่สุดจึงกลายมาเป็นระบบวรรณะ (Caste system) ขึ้นมา3 ได้แก่ 1) วรรณะพราหมณ์ ได้ แ ก่ ชาวอารยั น ที่ มี ห น้ า ที่ เ ล่ า เรี ย นวิ ช าการเวทมนตร์ กระทาพิธีกรรมต่างๆ และสั่งสอนผู้อื่น 2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีหน้าที่ปกครองและรักษาบ้านเมือง 3) วรรณะไวศยะ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีอาชีพหน้าที่ในการทากสิกรรม การค้าขาย และเสียภาษี ชาวอารยันกลุ่มนี้เป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจของสังคม 4) วรรณะศูทร ได้แก่ พวกชนพื้นเมืองเดิมที่ถูกกดขี่ และถูกกีดกันในด้านอาชีพ และสังคม ถูกเหยียดหยามว่าเป็นพวกทาสหรือทัสยุ เพราะไม่มีอาชีพที่จะทา จึงจาเป็นต้องคอย รับใช้พวกอารยัน ได้รับค่าจ้างพอยังชีพเล็กๆน้อยๆ 2.1.2 ยุคพระเวท : ยุคสมัยแห่งคัมภีร์พระเวท ชาวอารยันได้พัฒนาการนับถือเทพเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนดียิ่งขึ้น มีพิธีกรรม ต่างๆ มากมายและมีความวิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น พราหมณ์ผู้ทาพิธีได้รับการยกย่องมากยิ่งขึ้น ในฐานะเป็ น ผู้ที่ ส ามารถติ ด ต่อ กั บ เทพเจ้ า ได้ ยุ ค พระเวทเป็น ยุ คเริ่ ม ต้น ของวรรณคดี ข อง ชาวอารยัน เพราะมีการแต่งคัมภีร์ขึ้นโดยพวกพราหมณ์ ซึ่งเป็นการวบรวมบทสวดอ้อนวอน เทพเจ้าที่ใช้กันอยู่ในวงศ์ตระกูลขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า เวท หรือวิทยา หมายถึงความรู้ ต่างๆ 3 เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียน สโตร์, 2525), หน้า 174. 26 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 5. เป็นความรู้จากสวรรค์ที่พวกฤาษี ได้ยินได้ฟังมาจากพระพรหม ซึ่งวิธีการเช่นนี้เรียกว่า ศรุติ คัมภีร์พระเวทมี 3 หมวดจึงเรียกว่า ไตรเพทหรือ ไตรเวท ต่อมาในปลายสมัยพราหมณะ มีการ แต่งเพิ่มอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ อาถรรพเวท ในสมัยพระเวทยังไม่มีตัวอักษร คัมภีร์ต่างๆจึงยังคงเป็นการนาสืบทอดกันมาจาก การท่ องจ าปากเปล่ า สื บ ๆมา เรี ย กว่า มุ ขปาฐะ คัม ภี ร์ พ ระเวทถือว่า เป็น คัม ภี ร์ ศักดิ์สิ ท ธิ์ ที่ พระเจ้าประทานลงมา ห้ามคนนอกศาสนาเรียน พวกพราหมณ์ กษัตริย์ และไวศยะเท่านั้น ที่เรียนได้ พวกศูทรเรียนไม่ได้เลย พวกสตรีในวรรณะสูงทั้งสามก็เรียนไม่ได้ ในยุคพระเวทชาวอารยันนับถือเทพเจ้า 3 กลุ่ม คือ 1) เทพเจ้าบนพื้นโลก ได้แก่ พระปฤถวี พระอัคนี พระยม พระพฤหัสบดี เป็นต้น 2) เทพเจ้าในอากาศ ได้แก่ พระอินทร์ พระมารุต พระวายุ เป็นต้น 3) เทพเจ้าบนสวรรค์ ได้แก่ พระวรุณ พระอาทิตย์ เทพีอุษา เทพราตรี เป็นต้น4 เทพเจ้ าเหล่า นี้เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ไม่ขึ้นต่อกันและกั น เทพเจ้า ที่ได้รั บ การยกย่ อ งมากที่ สุ ด คื อ พระอิ น ทร์ เป็ น เทพเจ้ า แห่ ง สงคราม พระวรุ ณ เป็ น เทพเจ้ า แห่ ง การเกษตร พระพฤหัสบดีเป็นเทพเจ้าแห่งวิชาความรู้ 2.1.3 ยุคพราหมณะ : ยุคสมัยแห่งคัมภีร์พิธีกรรม สมัยพราหมณะ เป็นสมัยที่ชนวรรณะพราหมณ์เรืองอานาจ มีอิทธิพลเหนือวรรณะ อื่นๆ เพราะเป็นผู้มีอานาจผูกขาดในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ประชาชนให้ความนับถือว่า เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เป็นผู้กาหนดชะตากรรมของประชาชน เพราะเป็นผู้ตีความคาสอนในคัมภีร์พระเวทเอง คนในวรรณะอื่นไม่มีโอกาสได้ศึกษาคัมภีร์ พระเวท การที่พราหมณ์ได้รับการยกย่องอย่างสูงทาให้พวกพราหมณ์หลงอานาจ เริ่มมองคนใน วรรณะอื่นต่าต้อยกว่าตน เพราะเชื่อมั่นว่า พระเจ้าสร้างวรรณะพราหมณ์มาจากพระโอษฐ์ของ พระเจ้าซึ่งเป็นอวัยวะสูงส่ง และเพราะถือว่า การที่จะเป็นพราหมณ์นั้นทาได้ยากมาก ต้องมี คุณธรรมต่างๆมากมาย พวกพราหมณ์ยกย่องพระศิวะ และพระนารายณ์ให้มีศักดิ์สูงเสมอกับพระพรหม จึงเรียกว่า ตรีมูรติ มีประเพณี พิธีกรรม และธรรมเนียมต่างๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น การสงวนวรรณะ ไม่ยอมสมสู่คบหาสมาคมกับคนในวรรณะอื่นๆ สามีไม่ ยอมรับ ประทาน อาหารกับภรรยา มีลัทธิยกย่องสัตว์บางชนิด เช่น โค ในฐานะพาหนะของพระศิ วะ จนเกิด แนวคิดเรื่องการนาวัตถุที่เกิดจากวัว (ปัญจโคมัย) มาเป็นวัตถุมงคลในการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา นอกจากนี้ยังนับถือลิง และงู อีกด้วย 4 หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่ม 2 (กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์, 2546), หน้า 348-349. ศาสนาขั้นแนะนา | 27
  • 6. ในสมัยนี้เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในจักรวาล พระพรหมได้สร้าง มนุษย์โดยแบ่งภาคจากพระองค์เอง ดังนี้ 1) พวกพราหมณ์สร้างมาจากปากของพระพรหม ให้มีหน้าที่สั่งสอน 2) พวกกษัตริย์ สร้างมาจากแขนของพระพรหม ให้มีหน้าที่รบ 3) พวกไวศยะสร้างมาจากสะโพก (พระโสณี) ให้มีหน้าที่ทางานหนัก 4) พวกศูทร สร้างมาจากเท้า ให้มีหน้าที่รับใช้วรรณะอื่นๆ5 เนื่องจากพวกพราหมณ์พากันคิดค้นพิธีกรรมต่างๆมากมาย และแต่ละพิธีก็มี ค่าใช้จ่ายทาให้ประชาชนพากันเบื่อพิธีกรรมไม่อยากปฏิบัติตาม ยุคนี้พวกพราหมณ์พากันละทิ้ง การศึกษาเล่าเรียนและขาดคุณธรรมของการเป็นพราหมณ์ หันมากอบโกยผลประโยชน์จากการ ประกอบพิธีกรรมที่ประชาชนจาใจต้องปฏิบัติตาม เพราะกลัวพระเจ้าจะลงโทษตามคาขู่ของ พวกพราหมณ์ ในปลายสมั ย พราหมณะ พวกพราหมณ์ ไ ด้ แ ต่ ง คั ม ภี ร์ ขึ้ น มาอี ก เล่ ม หนึ่ ง คื อ อาถรรพเวท โดยอาศัยพื้นฐานจากคัมภีร์พระเวทสามคัมภีร์แรก โดยแต่งเป็นคาถาอาคมเพื่อ สวดทาพิธีให้เกิดอาถรรพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์สาคัญอีกคัมภีร์หนึ่ง คือ คัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นอรรถาธิบายเนื้อความในคัมภีร์พระเวท ได้ก่อให้เกิดความเห็นแตกแยกออกไปเป็น ระบบปรัชญาอีก 6 สานัก คือ ปรัชญาสางขยะ โยคะ มีมางสา นยายะ ไวเศษิกะ และเวทานตะ สรุปได้ว่า ยุคพราหมณะ ชาวอารยันยังคงเชื่อและนับ ถื อเทพเจ้ า และเพื่ อให้ เทพเจ้าโปรดปรานจึงมีพิธีกรรมการบวงสรวงที่วิ จิตรพิสดารมากยิ่งขึ้นทาให้พวกพราหมณ์มี บทบาทสาคัญในการทาพิธีดังกล่าว จนทาให้เป็นวรรณะที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างมาก ในสัง คม ในยุคนี้พ ระพรหมมี บทบาทมากกว่า เทพเจ้ าองค์อื่นในฐานะเป็นผู้ส ร้ างสรรพสิ่ ง ในจักรวาล 2.1.4 ยุคฮินดู : ยุคสมัยการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ สมัยฮินดูเป็นสมัยที่ความเชื่อยังคงเหมือนเดิมเช่นยุคที่ผ่านมา แต่ความคิดทาง ปรัชญามีความลุ่มลึกขึ้น เป็นแนวความคิดใหม่ เพราะเป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา เพราะในยุคนี้ได้เกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชนและพุทธศาสนา จนทาให้ศาสนาพราหมณ์ต้อง ปรับกระบวนการในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู โดยความคิด ในยุคฮินดู มีดังต่อไปนี้ 1) โลกเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของพรหมั น ไม่ มี ค วามเป็ น จริ ง เป็ น เพี ย งสิ่ ง ที่ ส ะท้ อ น ออกมาจากพรหมันเท่านั้น 5 เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2546), หน้า 62. 28 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 7. 2) วิญญาณทั้งหลายเกิดมาจากพรหมันหรือพระพรหม แล้วถือกาเนิดเรื่อยไป เพราะกรรม จนกว่าจะบรรลุความหลุดพ้น หรือโมกษะ ซึ่งเป็นการกลับไปสู่พรหมันนั่นเอง 3) ถ้าปรารถนาจะเข้าถึงความหลุดพ้น ต้องละทิ้ง การดาเนินชีวิตแบบชาวบ้าน ออกไปอยู่ป่าเป็นนักบวช 4) คติเรื่องการสร้างโลก และการสร้างโลกใหม่ของพระเจ้ า เพื่อทาลายระบบ การเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณทั้งหลาย เมื่อสร้างโลกใหม่อีก ธาตุต่างๆก็ชุมนุมกันขึ้นใหม่ วิญญาณทั้งหลายซึ่งกลับไปรวมกับพรหมัน ก็จะออกจากพรหมั นมาเกิดเป็นสัตว์โลกอีกเป็น การเริ่มระบบใหม่ จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นจากลัทธิประจาเผ่าพัฒนา มาเป็นศาสนาประจาเผ่าอารยันซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑหรือทัสยุ ได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปแล้วตั้งถิ่นฐานที่อยู่ครอบครองลุ่มน้าสินธุและ คงคาได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้เข้ากับความเชื่อของตน ทาให้เกิดแนวความคิดเรื่อง วรรณะ ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนับถือพระเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนมาก ยิ่งขึ้นจนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุค พราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มีอานาจสูงสุดเพราะเป็นผู้ผูกขาดการทาพิธีกรรมต่างๆ มีการแต่งคัมภีร์พระเวทขึ้นอีกหนึ่งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นรากฐาน ของแนวคิดทางปรั ชญาที่ ส าคัญ ในยุ คสุดท้ า ยคือยุ คฮิ นดูเ ป็นยุ คที่ ร ะบบแนวความคิดทาง ปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิด ศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชนและพุทธศาสนา จนทาให้ศาสนาพราหมณ์ต้ องปรับกระบวนการ ในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ ศาสนาขั้นแนะนา | 29
  • 8. ยุคอารยัน(1) พัฒนาการของ ยุคพระเวท(2) ยุคฮินดู (4) ศาสนา พราหมณ์-ฮินดู ยุค พราหมณะ(3) แผนภูมิภาพที่ 2-1 พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2.2 ศาสดา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคาสอน ต่างๆ พวกพราหมณ์หรือฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ยินหรือฟังมาจากพระเจ้า เรียกว่า ศรุติ ด้วยตนเอง แล้วมีการจดจาไว้และถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจา 2.3 คัมภีร์ในศาสนา คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ 2.3.1 ส่วนที่เป็นศรุติ แปลตามรูปศัพท์ว่า ได้ยิน ได้ฟัง ได้แก่ คัมภีร์ที่ถือว่าได้ ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่มีผู้แต่ง เป็นสัจธรรมที่มีความจริงแท้ เพราะเป็น คาสอนของพระเจ้า เป็นประมวลความรู้ต่างๆอันเป็นความรู้ทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็น บทสวดสรรเสริ ญ อ้ อ นวอน พิ ธี ก รรมเพื่ อ การบู ช าพระเจ้ า เวทมนต์ ค าถา และกวี นิ พ นธ์ อันไพเราะ บันทึกด้วยภาษาสันสกฤต เรียกว่า คัมภีร์พระเวท แบ่งออกเป็น 4 คัมภีร์หรือหมวด เรียกว่า สังหิตา คือ 30 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 9. 1) ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด เป็นบทสวดหรือมนต์สรรเสริญอ้อนวอน พระผู้เป็นเจ้า บทสวดในคัมภีร์ฤคเวทเป็นบทร้อยกรอง 2) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ ซึ่งเป็นบท ร้อยแก้วที่อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและการทาพิธีบูชายัญ 3) สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็ นบทร้อยกรอง ใช้สาหรับ สวดในพิธีถวายน้าโสมและขับกล่อมเทพเจ้า 4) อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็นคาถาอาคม มนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ สาหรับทาพิธีขับไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นมงคล นาความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู คัมภีร์พระเวท แม้จะมีจานวน 4 เล่ม แต่ก็เรียกว่า ไตรเพทหรือไตรเวท เพราะ พวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์อาถรรพเวท ขึ้นมาในภายหลังยุคพระเวท พระเวทแต่ละคัมภีร์แบ่งออกเป็น 2 ภาค เรียกว่า กาณฑะหรือกัณฑ์ ได้แก่ 1) กรรมกาณฑะ เป็นภาคที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชา 2) ชญาณกาณฑะ เป็ น ภาคที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ความรู้ ห รื อ ปรั ช ญาเกี่ ย วกั บ ความจริงสูงสุด ได้แก่ พรหมัน อาตมันและโลกที่เป็นสิ่งที่ปรากฏออกมาจากพรหมัน นอกจากนี้ คัมภีร์พระเวทแต่ละคัมภีร์ยังแบ่งออกเป็น 4 ตอนเช่นเดียวกัน คือ 1) มันตระ เป็นส่วนที่รวบรวมมนตร์ต่างๆ สาหรับเป็นบทบริกรรมและขับกล่อม อ้อนวอน สดุดีเทพเจ้า ในพิธีกรรมบูชาบวงสรวง 2) พราหมณะ เป็นบทร้อยแก้ว หรือเรียงความ อธิบายระเบียบการประกอบ พิธีกรรมต่างๆ ไว้อย่างละเอียด 3) อารัณยกะ เป็นบทร้อยแก้ว ใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์ ที่ต้องการ ดารงชีวิตเป็นผู้อยู่ป่า (วนปรัสถ์) เพื่อหาความสุขสงบ ตัดขาดจากการอยู่ครองเรือน 4) อุปนิษัท เป็นตอนสุดท้ายแห่งพระเวท เป็นส่วนที่เป็น แนวคิดทางปรัชญา อย่ า งลึ ก ซึ้ ง เป็ น บทสนทนาโต้ ต อบ อธิ บ ายถึ ง ธรรมชาติ แ ละจั ก รวาล วิ ญ ญาณของมนุ ษ ย์ การเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม ส่ วนที่ เ ป็นมั นตระ และพราหมณะ จั ดอยู่ ใ นภาคกรรมกาณฑะ ส่ วนอรั ณ ยกะและ อุปนิษัทอยู่ในชญาณกาณฑะ 2.3.2 ส่วนที่เป็นสมฤติ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่จาไว้ได้ จึงเป็นคัมภีร์ที่จดจาและ ถ่ายทอดกันสืบต่อมา ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหา และ ศาสนาขั้นแนะนา | 31
  • 10. สนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่ น คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์มนูศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์ภควัทคีตา มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ เป็นต้น6 จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ คัมภีร์ศรุติ คัมภีร์สมฤติ 1. ฤคเวท 2. ยชุรเวท 3. สามเวท แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและ สนับสนุนให้ศกษาคัมภีร์พระเวท ึ 4. อาถรรพเวท แผนภูมิภาพที่ 2-2 คัมภีร์สาคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 2.4 หลักคาสอนสาคัญ หลักคาสอนสาคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีดังต่อไปนี้ 2.4.1 อาศรม หรือวิธีปฏิบติของพราหมณ์ 4 ั คัมภีร์พราหมณะและอรัณยกะ ได้บัญญัติวิถีชีวิตสาหรับบุคคลที่จะเป็นพราหมณ์ โดยสมบูรณ์ โดยกาหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิตไว้ 4 ตอนๆ ละ 25 ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม หรือ วัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นพรหมจรรย์ ในขั้นตอนนี้ เด็กชายในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์และไวศยะที่มี อายุครบ 8 ปี จะต้องเข้าพิธีอุปานยัน คือ ให้พราหมณ์ผู้ทรงคุณวุ ฒิสวมสายธุรา หรือยัชโญปวีต เป็นการ 6 Warren Matthews, World Religions (USA : Wadsworth Cengage Learning, 2010), p. 69. 32 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 11. ประกาศตนเป็นพรหมจารี เป็นการประกาศตนว่าเป็นนักเรียน หรือแปลตามศัพท์ว่าผู้มีความ ประพฤติประเสริฐ จนอายุครบ 25 ปี พรหมจารีมีหน้าที่ดังนี้ (1) ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน (2) เชื่อฟังและปฏิบัติตามคาสั่งสอนของครูอาจารย์ (3) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ (4) ไม่คบกับเพศตรงกันข้าม (5) เมื่อสาเร็จการศึกษาแล้วต้องทาพิธีเกศานตสันสกา (ตัดผม) และพิธี คุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์ 2) ขั้นคฤหัสถ์ ในขั้นตอนนี้ พรหมจารีผู้ผ่านอาศรมที่ 1 แล้ว ก็กลับมาสู่บ้านของตน ช่วย พ่อ-แม่ทางาน แต่งงานเป็นหัวหน้าครอบครัว ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ทาการบูชาเทวดา ทุกเช้าค่า ชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้า จึงต้องกระทาแต่สิ่งที่ดีงาม อยู่ในช่วงอายุ 26-50 ปี 3) ขั้นวานปรัสถ์ ในขั้ นตอนนี้ คฤหั ส ถ์ผู้ ต้องการแสวงหาความสงบสุ ขทางใจ ก็ จ ะออกจาก ครอบครัวไปอยู่ในป่าบาเพ็ญสมาธิ โดยอาจจะกลับมาสู่ครอบครัวอีกก็ได้ อยู่ในช่วงอายุ 51-75 ปี 4) ขั้นสันยาสี ในขั้นตอนนี้ พราหมณ์ที่ปรารถนาความหลุดพ้น เรียกว่า โมกษะ จะออกจาก ครอบครัวไปอยู่ป่า ออกบวช เพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูง และไม่กลับมาสู่โลกียวิสัยอีกเลย เมื่อบวช แล้วจะสึกไม่ได้ บาเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้น อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 76 ปีขึ้นไป7 2.4.2 หลักคาสอนเรื่องตรีมูรติ เทพเจ้ า ที่ ส าคั ญ ในศาสนาพราหมณ์ -ฮิ น ดู ได้ แ ก่ พระพรหม พระศิ ว ะ และ พระนารายณ์ รวมเรียกว่า ตรีมูรติ เทพเจ้าแต่ละองค์มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1) พระพรหม พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ในแนวคิดยุคแรกๆ พระพรหมมีลักษณะที่ไม่มีตัวตน แต่ครั้นเวลาต่อมา พวกพราหมณ์ได้พบข้อบกพร่องว่า เมื่อ พระพรหมไม่มีตัวตน ประชาชนเคารพบูชาไม่ได้ พวกพราหมณ์จึงได้กาหนดให้พระพรหมมี ตัวตน มี 4 พักตร์ สามารถมองดูได้ทั่วทิศ และเพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา ดังนั้น ลักษณะ 7 เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 68-70 ศาสนาขั้นแนะนา | 33
  • 12. ของพระพรหมจึงเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม กล่าวคือ พระพรหมที่มีลักษณะเป็นนามธรรม นั้น หมายถึง สิ่ง ที่ เ ป็นแก่นแท้ ของสรรพสิ่ งในจั กรวาล ส่ วนพระพรหมที่ เ ป็นรู ปธรรมเป็น เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง พระพรหมมีพระชายาชื่อพระสรัสวดี ซึ่งเป็นเทพี แห่งวาจาและการศึกษาเล่าเรียน เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะวิทยาทั้งปวง 2) พระศิวะ พระศิวะ เป็นเทพเจ้า แห่งการทาลาย มีหลายชื่อ เช่น อิศวร รุท ระ และ นาฏราช เป็นต้น ประทับอยู่ที่ภูเขาไกรลาส มีโคนันทีเป็นพาหนะ และมีศิวลึงค์เป็นเครื่องหมาย ของพลังแห่งการสร้างสรรค์ ลักษณะของพระศิวะเป็นรูปฤๅษี มี 4 กร นุ่งห่มหนังสัตว์ ประทับนั่งบนหนัง เสือโคร่ง ถืออาวุธตรีศูล ธนู และคทาหัวกะโหลกมนุษย์ ห้อยพระศอด้วยประคาร้อยด้วย กะโหลก มีงูเป็นสังวาล พระศอมีสีดาสนิท กลางพระนลาฏมีพระเนตรดวงที่ 3 ถ้าพระศิวะ ลื ม พระเนตรดวงที่ 3 เมื่ อ ใด ไฟจะไหม้ โ ลกเมื่ อ นั้ น เหนื อ พระเนตรดวงที่ 3 มี รู ป พระจันทร์ครึ่งซีก พระศิวะมีพระชายาชื่ออุมา ซึ่งมีหลายลักษณะและมีรายชื่อเรียก เช่น ปารวตีเทวี ผู้เป็นธิดาแห่งหิมวัตหรือหิมาลัย ทุรคาเทวีผู้เป็นเจ้าแม่แห่งสงคราม และกาลีเทวีผู้มีกายสีดา เป็นต้น 3) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ พระวิ ษ ณุ ห รื อ พระนารายณ์ เป็ น เทพเจ้ า ผู้ รั ก ษาและคุ้ ม ครองโลกให้ เ ป็ น สุ ข พระนารายณ์เป็นเทพเจ้าที่มีพลังทางทานุบารุงโลก เมื่อเวลาใดโลกเกิดยุคเข็ญ เมื่อเวลานั้น พระนารายณ์จะเสด็จไปช่วยบาบัดทุกข์ ปราบยุคเข็ญ เรียกว่า อวตาร พระนารายณ์ประทับอยู่ในเกษียรสมุทร มีพระยาอนันตราชเป็นบัลลังก์ ทรงครุฑ เป็นพาหนะ มีพระชายาชื่อ ลักษมี ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม ผู้อานวยโชคลาภ ความมั่งคั่ง และ ผู้มีใจเมตตาปราณี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นวามนาม ปรศุราม และพระราม พระชายาลักษมีก็เสด็จลงมาเป็นนางปทุมาหรือกมลา นางธรณี และนางสีดาตามลาดับ พระนารายณ์จะอวตารลงมาจากสวรรค์และเกิดเป็นสัตว์หรือมนุษย์ต่างๆ เพื่อ ช่วยเหลือโลกเรียกว่า นารายณ์อวตาร จานวน 10 ปาง ดังต่อไปนี้ (1) มัตสยาวตาร ลงมาเกิดเป็นปลา เพื่อปราบยักษ์ชื่อ หยครีวะ ซึ่งทาให้มนุษย์ หลงผิดจนเกิดน้าท่วมโลก (2) กูรมาวตาร ลงมาเกิดเป็นเต่าในเกษียรสาคร (ทะเลน้านม) ให้หลังรองรับ ภูเขาชื่อ มันทาระ เทวดาใช้ลาตัวพญานาคมาต่อกันทาเป็นเชือกผูกภูเขาเพื่อใช้เป็นสายโยง สาหรับดึงภูเขาให้เคลื่อนไหว เพื่อกวนน้าในมหาสมุทรจนกลายเป็นน้าอมฤต 34 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 13. (3) วราหาวตาร ลงมาเกิดเป็นหมูป่า เพื่อปราบยักษ์ หิรัณยากษะ ผู้จับโลกกดให้ จมน้าทะเล โดยใช้เขี้ยวดุนให้โลกพ้นน้า สัตว์โลกจึงได้เกิดมา (4) นรสิงหาวตาร ลงมาเกิดเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงห์ เพื่อปราบยักษ์ชื่อ หิรัณยกศิปุ ผู้ได้พรจากพระพรหมว่าจะไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ จึงก่อความเดือดร้อนทั่ว 3 โลก (5) วามนาวตาร ลงมาเกิดเป็นคนค่อมผู้มีฤทธิ์ เพื่อปราบยักษ์ชื่อ พลิ มิให้มี อานาจครองโลกทั้งสาม และได้ไล่ยักษ์พลิให้ไปอยู่ใต้บาดาล (6) ปรศุรามาวตาร ลงมาเกิดเป็นรามผู้มีขวานเป็นสัญลักษณ์ เป็นบุตรของ พราหมณ์ พยายามป้องกันไม่ให้กษัตริย์มีอานาจเหนือวรรณะพราหมณ์ ได้ชาระโลกถึง 21 ครั้ง เพื่อทาลายกษัตริย์ (7) รามาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระราม (รามจันทร์) ในมหากาพย์รามายณะ เพื่อปราบท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์ (8) กฤษณาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระกฤษณะ ผู้มีผิวกายดา เป็นสารถีขับรถศึกให้ อรชุนเพื่อปราบคนชั่วในมหากาพย์มหาภารตะ (9) พุทธาวตาร ลงมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ประกาศหลักธรรมช่วยมนุษย์ให้พ้น ทุกข์ซึ่งเป็นการปฏิรูปคาสอนของศาสนาพราหมณ์ เหตุผลที่ศาสนาฮินดูดึงเอาพระพุทธเจ้ามา เป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์นั้น นับเป็นการกลืนพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง (10) กั ล กยาวตาร หรื อ อั ศ วาวตาร ลงมาเกิ ด เป็ น บุ รุ ษ อาชาไนยหรื อ อั ศ วิ น ผู้ขี่ม้าขาว (กัลกี) ถือดาบอันมีฤทธิ์มีแสงแปลบปลาบดังดาวหาง เพื่อปราบคนชั่วและสถาปนา ระบบธรรมะขึ้นใหม่ในโลก8 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า โลกมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไปในที่สุด การบูชาเทพเจ้าทั้ง 3 องค์เหล่านี้เป็นลักษณะของบุคลาธิษฐาน เป็นการบูชาเพื่อให้รู้แจ้ง สภาวธรรม 3 ประการ นั่นคือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไปของโลกนั่นเอง 2.4.3 หลักคาสอนเรื่องปรมาตมันหรือพรหมัน และชีวาตมัน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า ปรมาตมัน บางครั้งเรียกว่า พรหมัน ปรมาตมันกับ พรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน มีฐานะเป็นวิญญาณดั้งเดิมหรือความจริงสูงสุดของโลกและสรรพสิ่ง ในโลก เพราะสรรพสิ่งมาจากปรมาตมัน หรือพรหมัน ดารงอยู่ และในที่สุดก็จะกลับคืนสู่ ความเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันหรือพรหมัน 8 สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์รวมสาส์น, 2541), หน้า 291-292. ศาสนาขั้นแนะนา | 35
  • 14. ปรมาตมันหรือพรหมัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ไม่มีรูปร่างปรากฏ มีอยู่ในสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นศูนย์รวมแห่งวิญญาณทั้งปวงเป็นความจริงแท้หรือสัจธรรมเพียงสิ่งเดียว ส่วนโลก และสรรพสิ่งล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงมายาหรือภาพลวงตาที่มีอยู่เพียงชั่วครั้งคราว เท่านั้น ส่วนชีวาตมันหรือบางครั้งเรียกว่าอาตมัน เป็นตัวตนย่อย หรือวิญญาณที่มีอยู่ใน สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ วิญญาณของมนุษย์และสรรพสัตว์ย่อมเกิดมาจากวิญญาณ สากลคือปรมาตมันหรือพรหมัน เมื่อวิญญาณที่ออกมาจากปรมาตมันหรือพรหมันแล้วต้องเข้า ไปสิ ง สถิ ต อยู่ ใ นรู ป แบบต่ า งๆของสิ่ ง มี ชี วิ ต นั บ ชาติ ไ ม่ ถ้ ว นและต้ อ งมี ลั ก ษณะสภาวะที่ ไ ม่ เหมือนกันจนกว่าจะเข้าถึงความหลุดพ้น กระบวนการนี้เรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิดหรือ สังสารวัฏ ดังนั้น การที่อาตมันหรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมัน จึงจะ เรียกว่า การพ้นจากทุกข์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป 2.4.4 หลักคาสอนการหลุดพ้นหรือโมกษะ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ตายตามร่างกาย การตาย เป็นเพียงวิญญาณออกจากร่างกาย เพราะร่างกายเดิมไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ วิญญาณก็จะไป ถือเอาร่างใหม่ หรือที่เรียกว่า เกิดใหม่ ดุจคนสวมเสื้อผ้าที่เก่าคราคร่า ไปหาชุดใหม่สวมใส่ เรียกว่า สังสารวัฏ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่าไปตราบที่ยังไม่บรรลุความหลุดพ้น หรือโมกษะ ชาวฮินดูเชื่อว่า โมกษะเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพระพรหม ชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป การปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะนั้น มีหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ 1) กรรมมรรค (กรรมโยคะ) คือ การปฏิบัติด้วยการประกอบการงานตามหน้าที่ ด้วยความขยันขันแข็ง แต่ทางานด้วยจิตใจสงบ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ผู้ปฏิบัติเรียก กรรมโยคิน 2) ชยานมรรค (ชยานโยคะ) คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า ว่า ปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ วิญญาณที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล (ชีวาตมัน) เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันกับปรมาตมันหรือวิญญาณสากล 3) ภักติมรรค (ภักติโยคะ) คือ ความจงรักภักดีต่อเทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือ ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ภักติโยคิน 4) ราชมรรค (ราชโยคะ) คือ การปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจ บังคับใจให้อยู่ใน อานาจด้วยการบาเพ็ญโยคะ ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ราชโยคิน9 9 Warren Matthews, World religions, (USA : Wadsworth Cengage Learning, 2010), p. 80-83. 36 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 15. จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ หลักคาสอน ขั้นพรหมจรรย์ ขั้นคฤหัสถ์ อาศรมหรือวิธปฏิบัติของพราหมณ์ ี ขั้นวานปรัสถ์ ขั้นสันยาสี พระพรหม ตรีมูรติ พระศิวะ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ปรมาตมันหรือพรหมัน และชีวาตมัน การหลุดพ้นหรือโมกษะ แผนภูมิภาพที่ 2-3 หลักคาสอนสาคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 2.5 นิกายในศาสนา นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอยู่ 4 นิกายใหญ่ๆ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1) นิกายไวษณวะ หรือไวษณพ ผู้ก่อตั้ง นิก าย คือ ท่ า นนาถมุ นี ดาเนินการเผยแผ่ลั ท ธิ อยู่ ท างภาคใต้ของ อิน เดีย เป็นนิกายที่ บูช าพระวิษ ณุ หรื อพระนารายณ์ เชื่ อการอวตารหรื อการลงมาเกิดเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ มวลมนุ ษ ย์ ข องพระวิ ษ ณุ ห รื อ พระนารายณ์ เช่ น การอวตารลงเป็ น พระรามใน มหากาพย์ ร ามายณะ เป็น พระกฤษณะในคัม ภี ร์ ภ ควั ท คีต า และเป็ นพระพุ ท ธเจ้ า เป็น ต้ น นิกายนี้เน้นหนักการนับถือในพระวิษณุหรือพระนารายณ์ว่าสาคัญกว่าเทพเจ้าองค์อื่น หน้าที่ ศาสนาขั้นแนะนา | 37
  • 16. ของพระนารายณ์ ไม่ใช่เพียงรักษาโลกให้ดารงอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างและผู้ทาลายโลก อีกด้วย นิกายนี้จึงเป็นเอกนิยม นับถือพระวิษณุเพียงองค์เดียว ยุบเอาลักษณะและความเชื่อใน พระเจ้าทั้ง 3 มารวมไว้ในพระวิษณุองค์เดียว ในพุ ทธศตวรรษที่ 19 นิกายไวษณวะ ได้แ ยกแยกออกเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ เตงกไล ซึ่งเป็นนิกายฝ่า ยใต้ กับ วฑกไล ซึ่ง เป็นนิกายฝ่า ยเหนื อ 10 นอกจากนี้ยั งแตกแยก ออกเป็นนิกายย่อยอีก 3 นิกาย คือ (1) นิกายรามานุช มีสัญลักษณ์ประจาคือ มีดิลก (จุด) และเครื่องหมายเป็น ขีดเส้นสีขาว 2 เส้นที่หน้าผาก โดยขีดจากตีนผมลงมาจรดคิ้ว และมีเส้นขวางที่ดั้งจมูก (2) นิกายมาธวะ มีความเชื่อว่า สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จ ริง ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีแหล่งกาเนิดของมัน (3) นิกายวัลลภะ ไม่ถื อการบาเพ็ ญพรตและการทรมานตนเหมือนนิกายอื่น นิกายนี้เขียนหน้าผากเป็น 4 แบบ คือ 1) ขีดเส้นคู่ 2 ข้าง แต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง 2) เขียน เป็นรูปเกือกม้าแต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปเกือกม้าและขีดเส้นตรงเส้นหนึ่ง ตรงกลาง 4) เขียนเป็นรูปไข่11 2) นิกายไศวะ นิกายนี้ถือว่า พระศิวะเป็นผู้สร้างโลก เป็นแก่นแท้ของจักรวาล การนับถือของ นิกายนี้มี 2 ลักษณะ คือ (1) นับถือและบูชาลิงคะ หรือ ศิวลึงค์ คือ เครื่องหมายเพศบุรุษ เป็นเครื่อง แทนพระศิวะในฐานะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง (2) นับถือและบูชาโคนันทิ ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ เป็นผู้ให้น้านมและเนื้อ แก่มนุษย์ เปรียบเหมือนเป็นมารดาของคนอินเดีย เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู สัญลักษณ์ของคนที่นับถือนิกายนี้ คือ การใช้ขี้เถ้าของขี้วัวเขียนหน้าผากเป็น เส้น และจุดดิลก 4 แบบ คือ 1) ขีดเส้นที่หน้าผาก 2 ขีด แต้มดิลกข้างใต้ 2) เขียนเส้น 3 ขีด แต้ม ดิลกใหญ่ตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปสี่เหลี่ยม 4) เขียนเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวแต้มดิลกตรง กลาง12 10 สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 288. 11 เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ, 187. 12 เรื่องเดียวกัน 38 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 17. นิกายไศวะนี้ ภายหลังแตกแยกออกเป็นนิกายย่อยใหญ่ๆ 2 นิกาย13 คือ 1) นิกายกาศมีรไศวะ หรือ กัษมีไศวะ เป็นนิกายฝ่ายเหนือ เกิดขึ้นในแคว้น แคชเมียร์ เชื่อว่า พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์เดียว และทรงแฝงอยู่ในสรรพสิ่ง 2) นิกาย ลิงคายัต เป็นนิกายฝ่ายใต้ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ ก่อตั้งโดย ท่านลกุลีศะซึ่งนิกายนี้เชื่อกันว่าเป็นพระมเหศวร คือ การอวตารเป็นครั้งสุดท้ายของพระศิวะ 3) นิกายศักติ ค าว่ า ศั ก ติ แปลว่ า ความสามารถ อ านาจ พลั ง ความสู ง ส่ ง บุ ค คลผู้ มี พ ลั ง ดังกล่าวคือเทวีหรือเทพเจ้าผู้หญิง นิกายนี้จึงนับถือมเหสีของมหาเทพทั้ง 3 องค์ การนับถือ ศักติหรื อมหาเทวีไม่ ได้แยกออกเป็นนิกายเอกเทศ แต่แฝงอยู่ในนิกายไศวะ และไวษณวะ นั่นเอง กล่าวคือ ในนิกายไศวะก็นับถือพระชายาของพระศิวะซึ่งมีเพียงองค์เดียวแต่มีหลายชื่อ14 เช่น อุมา กาลี ทุรคา เป็นต้น ส่วนนิกายไวษณวะก็นับถือพระนางลักษมีซึ่งเป็นพระชายาของ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ นิกายที่นับถือพระพรหมก็นับถือพระนางสรัสวดีซึ่งเป็นมเหสีของ พระพรหม เป็นต้น แต่โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะนับถือพระนางอุมายิ่งกว่าเทพีองค์อื่นๆ เพราะ พระนางเป็นมเหสีของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าที่คนเกรงกลัว ดังนั้น พระนางอุมาจึงมี พระนามหลายอย่าง คู่กับพระศิวะ เช่น มหาเทวี คู่กับมหาเทพ โยคินี คู่กับมหาโยคีชคันมาตรี (มารดาของโลก) คู่กับอิศวร ทุรคา หรือไภรวีคู่กับไภรวะ (ผู้น่ากลัว) กาลี (ผู้ทาลาย) คู่กับ มหากาล เป็นต้น15 การบูชาของนิกายศักติแปลกกว่าการบูชาของนิกายอื่นๆ เช่น ตัดคอแพะบูชา เจ้าแม่กาลี หรือการประกอบพิธีกรรม นิกายศักติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ทักษิณาจารี คือ พวกบูชาด้านขวา หมายถึง ผู้นับถือนิกายศักติที่บูชาพระศิวะ พระวิษณุ พระกฤษณะและพระชายาในฐานะเป็นมหาเทพ ไม่ใช่ด้วยความพึงพอใจต่อพระเทวี ในแง่กามารมณ์ มีการทาพิธีอย่างเปิดเผย สุภาพ ไม่ลามกอนาจาร ตามคาสอนในคัมภีร์ปุราณะ (2) วามาจารี คื อ พวกบู ช าด้ า นซ้ า ย หมายถึ ง ผู้ นั บ ถื อ นิ ก ายศั ก ติ ที่ บู ช า พระนางทุรคามากกว่าพระศิวะ บูชาพระนางราธามากกว่าพระกฤษณะ และบูชาพระนางลักษมี มากกว่าพระวิษณุ นิกายนี้บูชาพระเทวีทุรคาไม่ใช่ในฐานะพระชายาของมหาเทพ แต่ในฐานะ พระเทวีที่ เ ป็นประธานในการร่ วมเพศ และพิ ธี ใ ห้ เ กิดฤทธิ์ เ ดช การบู ชาต้องท าพิ ธี ใ นที่ ลั บ 13 สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 293. 14 เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 89. 15 สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, หน้า 387-389. ศาสนาขั้นแนะนา | 39
  • 18. ตามพิธีที่เรียกว่า ปัญจมการ หรือ ม 5 ประการ คือ 1) มัทยะ หรือมัชชะ คือ น้าเมา 2) มางสะ คือ เนื้อสัตว์ ตลอดทั้งมัตสยะ เนื้อปลาสด 3) มันตระ คือ บทสวดที่จะทาให้เกิดความกาหนัด 4) มุทระ คือ การแสดงท่ายั่วยวน และ 5) ไมถุน คือ เสพเมถุนหรือการร่วมเพศ16 เพราะเชื่อ กันว่า เจ้าแม่ทุรคา หรือเจ้าแม่กาลีทรงโปรดการบูชายัญและการเสพเมถุน ดังนั้น การประกอบ กิจดังกล่าวจึงทาให้พระนางพอพระทัย และอีกจุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อให้เบื่อหน่ายในกาม โดยสนองความต้องการให้เต็มที่ก็จะมาถึงจุดเบื่อหน่าย แบบหนามยอกเอาหนามบ่ง 4) นิกายตันตระ คาว่า ตันตระ แปลว่า พิธีการ แบบแผน หรือกฎเกณฑ์ หมายถึงแบบแผนของ พิธีกรรมต่างๆ ของฮินดูยุคหลังพุทธกาล นิกายนี้เกิดมาจากการนับถือศักติฝ่ายซ้าย เน้นหนัก ไปในทางกามารมณ์ การบูชาศักติที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของนิกายนี้คือ การทาพิธี ให้ศักติ หรือมหาเทพที่เป็นสามีพอใจ ได้แก่ การเริ่มต้นด้วยการพรรณนาคุณแห่งความรักความใคร่ ของสตรีและบุรุษแล้วจบลงด้วยการเสพเมถุน พิธีกรรมดังกล่าวเป็นของพวกวามาจารินหรือ กาฬจักร เพราะจะต้องประกอบพิธีในเวลาเที่ยงคืนของข้างแรม ผู้เป็นศาสนิกจะพากันมาชุมนุม กันหน้าเทวรูปของพระอุมาเทวีหรือเจ้าแม่ทุรคา แล้วเริ่มกระทาพิธีกรรมตามขั้นตอนของ ม ทั้ง 5 (ปัญจมการ)17 ดังกล่าวแล้ว จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ 16 เรื่องเดียวกัน, หน้า 487. 17 เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 192. 40 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 19. นิกายในศาสนา เตงกไล วฑกไล นิกายไวษณวะหรือไวษณพ รามานุช มาธวะ วัลลภะ กาศมีรไศวะ/ นิกายไวษณวะหรือไวษณพ กัษมีไศวะ ลิงคายัต นิกายศักติ นิกายตันตระ แผนภูมิภาพที่ 2-4 นิกายในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 2.6 พิธีกรรมสาคัญ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่มีพิธีกรรมเป็นส่วนประกอบสาคัญอย่างหนึ่ง ของศาสนา เพราะชาวฮินดูทุกวรรณะย่อมมีขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะที่ต้องประพฤติ ตามที่กาหนดไว้สาหรับวรรณะของตน และกฎประเพณีส่วนรวม ที่ต้องปฏิบัติสาหรับทุกชั้น วรรณะ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้ 2.6.1 กฎสาหรับวรรณะ ศาสนาฮินดูมีกฎสาหรับวรรณะให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหลายเรื่อง เช่น 1) กฎเกี่ยวกับการแต่งงาน จะแต่งงานนอกวรรณะของตนไม่ได้ แต่ผู้ชายเป็น พราหมณ์จะแต่งงานกั บผู้หญิงในวรรณะอื่นได้ เรียกว่า อนุโลม ส่วนผู้หญิงเป็ นพราหมณ์จะ แต่งงานกับผู้ชายวรรณะอื่นไม่ได้ เรียกว่าปฏิโลม ศาสนาขั้นแนะนา | 41
  • 20. 2) กฎเกี่ยวกับอาหารการกิน มีข้อกาหนดว่าสิ่งใดกินได้ สิ่งใดกินไม่ได้ และ ข้อกาหนดว่าบุคคลในวรรณะใดปรุงอาหารให้คนวรรณะใดกินไม่ได้ เช่น วรรณะพราหมณ์ไม่ กินอาหารที่คนวรรณะอื่นทา เป็นต้น 3) กฎเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ต้องประกอบอาชีพที่กาหนดไว้สาหรับคนใน วรรณะนั้นๆเท่านั้น 4) กฎเกี่ ย วกั บ สถานที่ อ ยู่ อ าศั ย ในสมั ย โบราณมี ก ฎห้ า มชาวฮิ น ดู มี ถิ่ น ฐาน บ้านเรือนนอกเขตประเทศอินเดีย และห้ามเดินเรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ถือกันแล้ว 2.6.2 พิธีประจาบ้าน พิธีนี้เป็นพิธีที่กาหนดไว้ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ หรือมนูศาสตร์เรียกว่า พิธี สังสการ เป็นพิธีกรรมที่คนในวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์และวรรณะไวศยะจะต้องทาโดย มีพราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้ทาพิธี จานวน 12 ประการ คือ 1) ครรภาธาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์ 2) ปุงสวัน เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย 3) สีมันโตนยัน เป็นพิธีตัดผมหญิงมีครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4, 6 หรือ 8 เดือน 4) ชาตกรรม พิธีคลอดบุตร 5) นามกรรม พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ 12 หรือ 14 ถัดจากวันคลอด 6) นิษกรมณ พิธีนาเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน 7) อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 7 เดือนหรือ 8 เดือน 8) จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ 9) เกศานตกรรม พิธีตัดผม ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี ถ้าวรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี ถ้าวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 24 ปี 10) อุปานยัน พิธีเข้ารับการศึกษา พวกวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะต้อง ทาพิธีเข้ารับการศึกษา และเมื่ออาจารย์ในสานักนั้นๆ รับเด็กไว้แล้วก็จะสวมสายธุรา หรือ ยัชโญปวีต ผู้ที่ได้สวมสายนี้แล้วก็เรียก ว่า ทวิชหรือทิชาชาติ ได้แก่ เกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกเกิด จากครรภ์มารดา และครั้งที่ 2 เกิดจากการสวมสายยัชโญปวีต ส่วนพวกศูทรและจัณฑาลเป็น เอกชาติ คือ เกิดครั้งเดียวไม่อาจเป็นทวิชาติได้ 11) สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสาเร็จการศึกษาและเตรียมตัว กลับบ้าน 12) วิวาหะ พิธีแต่งงาน พิธีสังสการทั้ง 12 ประการ ถ้าเป็นผู้หญิงห้ามทาพิธีอุปานยันอย่างเดียว นอกนั้น ทาได้หมด และห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชาย และคน บางวรรณะเท่านั้น 42 | ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 21. ในปัจจุบันนี้ชาวฮินดูผู้เป็นทวิชาติคงปฏิบัติอยู่ใน 4 พิธีเท่านั้น คือ พิธีนามกรรม พิธีอันน ปราศัน พิธีอุปานยัน และพิธีวิวาหะ ที่เหลือนอกนั้นไม่ใคร่ปฏิบัติกันแล้ว ยกเว้นผู้ที่ เคร่งครัดจริงๆ เท่านั้น18 2.6.3 พิธีศราทธ์ พิ ธี ศ ราทธ์ เ ป็ น พิ ธี ท าบุ ญ อุ ทิ ศ ให้ ม ารดาบิ ด า หรื อ บรรพบุ รุ ษ ผู้ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว ในเดือน 10ตั้งแต่วันแรม 1ค่า ถึงวันแรม 15 ค่า การทาบุญอุทิศนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิณฑะ 2.6.4 พิธีบูชาเทวดา ชาวฮินดูมีเทพเจ้าที่เคารพมากมายหลายองค์ ผู้ที่เกิดในวรรณะสูงสมัยก่อนได้บูชา พระศิวะและพระวิษณุ เป็นต้น เวลาต่อมาเกิดลัทธิอวตารขึ้น มีการบูชาพระกฤษณะและ พระรามขึ้นอีก แต่บุคคลในวรรณะต่ามักถูกกีดกันมิให้ร่วมบูชาเทพเจ้าของบุคคลในวรรณะสูง ดังนั้น บุคคลในวรรณะต่าจึงต้องสร้างเทพเจ้าของตนเองขึ้น เช่น เจ้าแม่กาลี เทพลิง เทพงู เทพเต่า รุกขเทพ เทพช้าง เป็นต้น การทาพิธีบูชานั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปตามวรรณะ แต่บุคคลในวรรณะสูงมีพิธีในการบูชาพอจะกาหนดได้ ดังนี้ 1) สวดมนต์ภาวนา สนานกาย ชาระและสังเวยเทวดาทุกวัน สาหรับผู้เคร่งครัด ในศาสนาต้องทาเป็นกิจวัตร ส่วนพวกที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่มักไม่ค่อยปฏิบัติกัน 2) พิธี ส มโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิ ทธิ์ เช่น ลั กษมีบูชา วันบู ชาเจ้ า แม่ ลักษมี สรัสวดีบูชา วันบูชาเจ้าแม่สรัสวดี ทุรคาบูชา วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น ซึ่งอาจ แตกต่างกันออกไปในแต่ละนิกายและท้องถิ่น 3) การไปนมัสการบาเพ็ญกุศลตามเทวาลัยต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้า ที่ตนนับถือ จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ พิธีกรรม กฎสาหรับวรรณะ พิธีประจาบ้าน พิธีศราทธ์ พิธีบูชาเทวดา แผนภูมิภาพที่ 2-5 พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 18 สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวิติศาสตร์ศาสนา, หน้า 277-278. ศาสนาขั้นแนะนา | 43