SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  14
Télécharger pour lire hors ligne
ครูในศตวรรษที่ 21
(เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21)
ภาสกร เรืองรอง, ประหยัด จิระวรพงศ์ *
วณิชชา แม่นยา, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรัณยู หมื่นเดช, ชไมพร ศรีสุราช **
บทคัดย่อ
เมื่อสังคมโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสาคัญของนาเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งใน
ชีวิตประจาวัน ครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
ไปด้วย โดยต้องพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้ามามี
บทบาทอย่างมากในวงการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียน
เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา นอกจากนี้ ครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน และต้องมี
เทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่ง
เรียนรู้ภายนอก ฝึกให้นักเรียนทางานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม จัด
สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยต่อนักเรียน ทั้งนี้
กระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผลได้ ถ้าทุกภาคส่วนช่วยกัน หาทางลดปัญหาและ
อุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาครู อาทิ ภาระงานอื่นนอกจากการสอน กาหนดอัตรากาลังไม่เหมาะสม
รวมทั้งครูสอนไม่ตรงสาขา เป็นต้น ซึ่งแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 นั้น
ต้องดาเนินการทั้งด้านนโยบายและด้านการพัฒนาตนเองของครูควบคู่กันไป จึงจะทาให้ครูเป็นครูยุค
ดิจิทัลอย่างแท้จริง
Abstract
Teachers in the 21st century must adapt to learning in the modern era, need to develop
the skills necessary to be able to encourage students to learn on their own. Especially
information technology skills came to play a huge role in the study of the present and the
future. The future teachers also need to have actual knowledge of the subject taught.
Encourage students to construct their own knowledge. Event linking knowledge from external
sources. Training students to work as a team. A design appropriate learning activities.
Environment conducive to learning, and the expression of love and concern for students.
Nonetheless, all sectors must work to find ways to reduce the barriers that hinder the
development of teachers with tasks other than teaching, such as excessive, rates are
inappropriate, teaching majors. And so does not meet the guidelines and the possibility to
develop teachers in the 21st century, it must carry both the policy and the development of
teachers together. The teacher is a teacher is to make the digital experience.
* อาจารย์ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
** นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
2
ความสาคัญและสภาพปัญหา
โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง สังคมโลกกลายเป็นสังคม
ความรู้ (Knowledge Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) องค์การทางการศึกษา จึง
ต้องปรับตัวให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยมีความคาดหวังว่าคุณภาพ
การศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก[1]
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11[2] มีนโยบายมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนา
โดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอก
ประเทศ นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้าง
สังคมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ[3] ที่ต้องการให้พัฒนาการศึกษา ของประเทศอย่างเร่งด่วน โดย 1 ในนโยบาย
เร่งรัดคือ ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบันและ
รองรับหลักสูตรใหม่ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี
2553 [4] และมาตรฐานวิชาชีพครู[5] ตามที่คุรุสภากาหนด
ดังนั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสาคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะ
ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้แก่ศิษย์ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
โดยเน้นกระบวนการ 4 ด้าน[6] คือ ด้านความรู้ ความคิด หรือพุทธพิสัย (Cognitive Domain) ด้าน
ความรู้สึก อารมณ์ สังคมหรือด้านจิตพิสัย (Affective Domain) ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain) และด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ (Management Skill)
ภาพที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน [7]
3
แนวโน้มการศึกษาในระดับนานาชาติได้มุ่งเน้นไปที่ทักษะความสามารถ ทักษะพื้นฐานในการ
ดารงชีวิต การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น รวมทั้งทักษะพื้นฐานด้านการทางาน การคิดวิเคราะห์
ความคิดสร้างสรรค์ การทางานเป็นทีม การสื่อสาร และทักษะเฉพาะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะ ที่องค์การ
สหประชาชาติ (UN) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)[8]
ให้ความสาคัญ ส่วนในวงการศึกษาไทยมองว่า ครู คือ กุญแจสาคัญในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ
การศึกษา [9] แต่รายงานของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [10] พบว่า ความเป็นครูใน
สังคมไทยกาลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพ ดังนั้นจึงควรต้องมี
การศึกษาเกี่ยวกับครูยุคใหม่อย่างเร่งด่วน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พร้อม
ขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศที่มีคุณภาพต่อไป[11]
ความสาคัญและสภาพปัญหาของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ในยุคศตวรรษที่ 21 กระบวนการเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลง[12] โดยผู้เรียนจะเรียนด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มาก
และรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจานวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน[13] จนทาให้วิธีการสอน
แบบเดิมๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสาหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง
ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้เรียนมีการ
นาเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกาลังสอน
หรือนาข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เท่าทันเทคโนโลยี
อยู่เสมอ และต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
เทคนิควิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทาให้ได้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่
สังคมไทยและสังคมโลกต้องการ
ภาพที่ 2 ประยุกต์กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี
4
กระทรวงศึกษาธิการ[15] ได้เล็งเห็นความสาคัญของการนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Communications Technology :ICT) มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสาคัญ
และเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและ
พัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทาง
การศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย
ปัจจุบันมีแนวทางการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา[12] ดังนี้
1) การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา
ทั้งคอมพิวเตอร์ประจาห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ศูนย์
ข้อมูล Data Center และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา สาหรับใช้ในการเรียนการสอน
2) การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบูรณาการโครง
ข่าย MOENet และ NEdNet ให้เป็นโครงข่ายเดียว โดยใช้ชื่อว่า OBEC-NET สาหรับใช้เป็น
เครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัย โดยเชื่อมต่อโรงเรียนต่างๆ ไว้กับศูนย์ข้อมูลของ สพฐ. OBEC Data
Center
3) การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Contents) ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่าน
เว็บไซต์ e-Book หรือ Applications ต่างๆ
เนื่องจากรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาช่วยในการ
เรียนการสอน ทักษะด้าน ICT จึงมีความสาคัญมากสาหรับครู เพราะการพัฒนาสื่อการสอน และจัดสรร
ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการให้เกิด
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล รวมถึงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนา
ทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนด้วย [16]
ครูไทยในอนาคต
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้
จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่
21[17] จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยครูต้องช่วยแก้ไข และชี้แนะความรู้ทั้งถูก ผิด ที่ผู้เรียนได้รับ
จากสื่อภายนอก รวมทั้งสอนให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองความรู้อย่างมีวิจารณญาณ ก่อนนาข้อมูล
มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
นอกจากนี้ครูยังต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและต้องพัฒนาทักษะที่จาเป็นสาหรับการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 ดังที่ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [16] ได้เสนอทักษะที่จาเป็นสาหรับครูไทยในอนาคต
(C-Teacher) ไว้อย่างน่าสนใจ 8 ประการคือ
1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่แม่นในเรื่องที่
สอนหรือถ่ายทอดแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
5
2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการ
จัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับ
นักเรียน และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรู้และ
ทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้น
เองได้จากภายในตัวของผู้เรียน โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ต่างๆ ซึ่งครูสามารถนาแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้
และทักษะที่ต้องการได้
4. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียน
กับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และสถานศึกษากับ
ชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน
5. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้
แบบร่วมมือกันระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทางานเป็นทีม
การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะที่สาคัญอื่น ๆ
6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การ
เลือกใช้สื่อ การนาเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ
นักเรียนได้อย่างเหมาะสม
7. Creativity ในยุคสมัยหน้าครูต้องออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัด
สภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง
เพียงอย่างเดียว
8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย
อย่างจริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อน
คลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ภาพที่ 3 กิจรรมการเรียนการสอน
6
เมื่อหน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมา
เป็นการกล่าวนาเข้าสู่บทเรียน ทาหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนา ให้คาปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน จึง
เกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น[19] กล่าวคือ มีการนาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนแบบ
ปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย (Network) อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปัจจุบันผู้เรียนมีความสามารถ
ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้โดยไม่จาเป็นต้องอยู่ในชั้นเรียน
รูปแบบการเรียนการสอนจึงเป็นแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้ครูคนเดียวสามารถแนะนา ชี้แนะ
และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นๆ ได้
ปัญหาและอุปสรรคของครูไทย
งานด้านการศึกษา ไม่ใช่เฉพาะภาระหน้าที่ของใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่
เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความตระหนักและช่วยกันหาทางออก โดยปัญหาทางการศึกษาที่สาคัญก็คือ
ปัญหาเรื่องครู [20]
จากผลสารวจความคิดเห็นของครู [21] เนื่องในวันครูแห่งชาติ ปี 2555 ที่ผ่านมา พบถึงปัจจัยที่
เป็นอุปสรรรคของการทาหน้าที่ครู และแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู ประกอบด้วย
ภาพที่ 4 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู
1) ภาระหนักนอกเหนือการสอน การทาหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน จะทาให้ครูมี
เวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยให้ครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่
อื่น เช่น พัสดุ บุคคล ธุรการ ฯลฯ จนทาให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง
7
2) จานวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ กาหนดตรากาลังที่ไม่เหมาะสม
ใช้อัตราส่วนของจานวนนักเรียนต่อจานวนครูเป็นเกณฑ์ โดยไม่คานึงถึงจานวนห้องเรียนนั้น ส่งผล
กระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการสอนของครู
3) ขาดทักษะทางด้านไอซีที โดยครูจานวนมากยังขาดทักษะด้านนี้ จึงทาให้รับรู้ข้อมูล
หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน นอกจากนี้สื่อการสอนที่มีแค่ในตาราอาจตอบสนองการรับรู้
และความต้องการของนักเรียนใศตวรรษที่ 21 ได้ไม่เต็มที่
4) ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็น
ครู ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดวิจารณญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว ให้เข้ากับลักษณะของ
ผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ไม่ปรับวิธีการสอน ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเสริมการจัดการเรียนรู้ ให้มี
ประสิทธิภาพ
5) ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น เมื่อคุณภาพของการเรียนมาจากผลสอบที่ทาง
รัฐบาลจัด ครูผู้สอนจึงพยายามสอนเนื้อหาให้เข้มข้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการ
สอบ ทาให้เด็กต้องใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมาก ซึ่งจะเห็นได้จากผลการสารวจของ UNESCO[23] ที่
เด็กไทยใช้เวลาเรียนในห้องเรียนเฉลี่ย มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
6) ขาดอิสระในการจัดการ ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่ง
นโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป เช่น การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ
นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษ 15 ปี แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น
ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
ภาพที่ 5 ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ [24]
8
1) การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายความรู้ จะช่วยให้ครูไม่จากัดเพียงวิธี
การสอนของตนเองเท่านั้น แต่ยังเปิดใจรับวิธีการสอนอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับบริบทของตนเอง
2) การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที เพราะการนาไอซีทีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ
เรียนรู้จะช่วยเพิ่มช่องทางการเรียนที่หลากหลาย รวมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนของนักเรียน
ด้วย
3) การเพิ่มฝ่ายธุรการ จะช่วยให้ครูมีเวลาในการเอาใจใส่ต่องานวิชาการ หรือนักเรียน
มากขึ้น
4) มีการปรับเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งจะส่งผลต่อขวัญและกาลังใจของครูผู้สอนเป็น
อย่างดี
5) ลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและนักเรียน เปลี่ยนเป็นการฝึกทักษะนอก
ห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าในสิ่งที่นักเรียนสนใจ
ปัจจัยดังกล่าวสอดคล้องกับนักวิชาการหลายท่าน [23][24] ที่มีความเห็นว่า การสอนของครูใน
ปัจจุบันยังเป็นการสอนแบบเดิม คือ เป็นการถ่ายทอดวิชาในห้องเรียน ส่งผลให้เด็กขาดภาวะผู้นา
เพราะเด็กไม่มีความคิดเป็นของตนเอง
ปัจจุบัน มีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนา
ทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ ครูไทยจานวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยว
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลก[25]
แนวทางและความเป็นไปได้ในการการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
ด้านนโยบาย
จากสภาพการณ์ที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยต้องมีการพัฒนาให้
สอดคล้องกับสภาวะการณ์โลก ไม่เพียงเฉพาะครูเท่านั้นแต่หมายรวมถึงการพัฒนาระบบให้เอื้อต่อการ
เรียนรู้ในยุคสมัยใหม่ด้วย โดยมีแนวทางที่ควรส่งเสริมและเปิดมุมมองของการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
ดังนี้ [13][16][26][27][28][29]
1. ในอดีต การพัฒนาครูยังมีทิศทางที่ไม่ค่อยชัดเจน และไม่ค่อยให้ความสาคัญอย่างจริงจัง หาก
ต้องการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็กแล้ว ควรจะมีการกาหนดนโยบายเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาครูให้ตรง
จุด เพื่อสนองตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยควรมีการกาหนดหน่วยงานการพัฒนาครูอย่าง
ทั่วถึงทุกพื้นที่ ไม่ใช่กาหนดอานาจการพัฒนาครูไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียว
2. ควรมีการกาหนดมาตรฐานอาชีพครู โดยเฉพาะความรู้ความสามารถด้านมาตรฐานการ
ปฏิบัติงานของครู ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นครูและเป็นเครื่องมือตรวจสอบ
กลั่นกรองผู้ประกอบอาชีพครูและผู้ที่จะมาประกอบอาชีพครูได้อย่างชัดเจนและมีคุณภาพ
3. ควรมีการพัฒนาระบบการผลิตครูออกสู่ตลาดการศึกษาทั้งหลักสูตรตามการเปลี่ยนแปลงไป
ของสังคมโลก
9
4. ควรมีการถ่ายทอดความรู้ตามแนวคิดของการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่ผู้เรียนมีอิสระในการรับรู้ และ
สร้างศักยภาพโดยการหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งชี้นาการเรียนรู้ในลักษณะของผู้ให้คาปรึกษา
(Mentor) และพัฒนาวิธีวิทยาในการสอนให้เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากขึ้น
5. ควรอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูล ความรู้ได้แบบไม่มี
ขีดจากัดเฉพาะในห้องเรียน หรือจากครูเท่านั้น
6. ควรสร้างผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล มีจิตวิจัย ใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาหรือ
เพื่อพัฒนา
7. ควรมีการพัฒนาตนเอง โดยการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รู้จักเผยแพร่ และ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น และยึดมั่นในหลักบูรณาการความรู้แบบสหวิทยาการ
8. ควรสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทางานอย่าง
ใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือ
รายบุคคล การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คาปรึกษาหารือ (Coaching & Mentoring) จึงกลายเป็นกลไก
และวิธีการสาคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน
9. การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่นปรับให้ยืดหยุ่น
หลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัดโดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะ
ใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย
10. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสาคัญในการพัฒนาครูเพื่อการฝึกอบรมหรือ
พัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน
11. การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ “โรงเรียนเรียนรู้ครูนักวิจัย” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนา
แล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น “องค์กรการเรียนรู้”
ที่เน้นให้ครู “เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกัน” มากยิ่งขึ้น
12. ยุทธศาสตร์ “การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู” (Motivation & Inspiration) เน้นการ
ค้นหาและหนุนเสริม “ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคาถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสาคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครู
ผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคาถามดลใจ
อันจะทาให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป
สรุปได้ว่า นโยบายที่ชัดเจนจะก่อให้เกิดการพัฒนาครูอย่างทั่วถึง การกาหนดมาตรฐานวิชาชีพ
และการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ก็เป็นส่วนสาคัญในการกระตุ้นให้ครูมีการพัฒนาตนเอง โดย
เปลี่ยนแปลงทั้งทัศนคติ วิธีสอน และบทบาท ทั้งยังส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์
ที่หลายหลาย จนกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนามาปรับใช้ภายใต้บริบทของตนเอง นอกจากนี้ครู
ต้องมีทักษะ 8 ประการ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อถ่ายทอดและเสริมสร้างความรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหา
เป็น ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิตและวิชาชีพตามคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของชาติและนานาชาติต่อไป
10
ด้านการพัฒนาตนเองของครู
ผู้ที่ได้ชื่อว่า “ครู” เป็นบุคคลสาคัญยิ่งต่อภารกิจในการพัฒนาเยาวชนของชาติ โดยนอกจากครู
จะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูแล้ว ยังต้องเป็นผู้ทรงความรู้ในเนื้อหาที่จะถ่ายทอดสู่ผู้เรียน และครูยัง
ต้องจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาศิษย์ให้มีทักษะ
การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย ซึ่งแนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
15 ประการ[30][31] ได้แก่
ภาพที่ 6 ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
(ที่มา http://infographicsmania.com/tag/online-course/)
1) ทักษะในการตั้งคาถาม ในกระบวนการเรียนการสอนครูควรตั้งประเด็นคาถาม เพื่อให้
นักเรียนรู้จักการคิด และรู้จักค้นหาคาตอบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
2) ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ เพราะความรู้ที่ได้จาก
การปฏิบัติจะเป็นความรู้ที่คงทน อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
ได้อีกด้วย
3) ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง เป็นทักษะที่สอนให้ผู้เรียนคิด
อย่างมีวิจารณญาณ รู้จักกลั่นกรองข้อมูล ความรู้ตามสภาพแวดล้อมจริงที่ปรากฎก่อนนาเสนอ
4) ทักษะในการสร้างความรู้ โดยครูต้องกาหนดเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง
อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง
5) ทักษะให้นักเรียนคิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสม
กับระดับพัฒนาการของเด็ก สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบ
การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยใช้
เหตุการณ์ปัจจุบันรอบตัวมาเป็นกรณีศึกษาให้นักเรียนลองผิดลองถูกเพื่อค้นหาคาตอบ
11
6) ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จากัดเฉพาะแค่รายวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่
สามารถบูรณาการความรู้จากหลายๆวิชา เพื่อเชื่อมโยงความคิด อันจะนาไปสู่การประยุกต์ใช้ในการ
ดารงชีวิตต่อได้
7) ทักษะในการประเมินผล เพราะนักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะฉะนั้น การ
ประเมินผล ก็ต้องประเมินให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และให้เหมาะสมกับตามความต่างนั้นๆ
8) มีจิตวิญญาณความเป็นครู ไม่เฉพาะแค่การสอนเท่านั้น แต่ครูต้องเป็นเสมือนพ่อ แม่ พี่ น้อง
และเพื่อน เพื่อดูแล ประคับประคองนักเรียนให้จบออกไปเป็นเยาวชนที่ดีชองชาติต่อไป
9) ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครูจึงต้องไม่หยุด
นิ่งที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเองและเพื่อไว้สั่งสอนศิษย์
10) เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง เพราะสังคมที่เปลี่ยนไป หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างไม่เหมือนใน
อดีต ครูต้องทาใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง และไตร่ตรองเพื่อนาสิ่งใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงมาประยุกต์ใช้ใน
การดาเนินชีวิต
11) สร้างกาแพงคุณธรรม อีกประการที่สาคัญไม่แพ้จิตวิญญาณความเป็นครู คือครูต้องเป็นผู้มี
คุณธรรม ซึ่งจะเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะผู้มีคุณธรรมย่อมเป็นผู้เจริญ
12) โน้มนาความดีแก่นักเรียน ครูไม่เพียงให้วิชาความรู้เท่านั้น แต่ต้องเป็นที่พึ่งทางใจ สามารถ
เป็นที่ปรึกษาของลูกศิษย์ ยิ่งหากเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณหรือมโนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งทรงคุณค่ามหาศาล
13) มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Creation, Creating, Creative Thinking) เป็นหนึ่งใน
ทักษะสาคัญของครู ที่ได้รับการกาหนดให้เป็นทักษะที่จาเป็นจะต้องนาไปใช้ ในกระบวนการพัฒนา
ผู้เรียนในช่วงศตวรรษที่ 21
14) ครูต้องทาตนให้ศิษย์รัก หนักแน่นในจริยา พัฒนาความรู้ อุตส่าห์สร้างศิษย์ตน อดทนต่อคา
หยาบคาย ขยายคาลึกซึ้ง ไม่ดึงศิษย์ไปในทางเสียหาย
15) บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ โตตามสังคมรอบข้าง รู้จักคาว่า ขอโทษ รู้จักคาว่า
ให้อภัย
ซึ่งครูยุคใหม่จาเป็นต้องมีทักษะทั้ง 15 ด้าน ในการเป็นผู้อานวยความรู้ให้เด็ก แทนที่จะเป็นผู้
ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน หากครูไทยมีทักษะสาคัญดังกล่าวแล้ว เชื่อได้ว่าผู้เรียนจะเป็นเด็กยุคใหม่ที่
ใส่ใจ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี รวมทั้งเห็นคุณค่าของการศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานเศรษฐกิจ
พอเพียง และมีการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ และใช้ความรู้เหล่านั้นเป็นเกราะป้องกันในการใช้
ชีวิตบนสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างงดงาม
12
อ้างอิง
[1] Report to UNESCO of the International Commission on Education for the Twenty-First
Century. (1996). Online from http://www.unesco.org/education/pdf/15_62.pdf
[2] สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.nesdb.go.th.
[3] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 212/2556. (2555). 8 นโยบายการศึกษา "จาตุรนต์ ฉายแสง". สืบค้น
ออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/jul/212.html
[4] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2553. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://203.146.15.33/index.php/notice-law-rule/law-act?limitstart=0
[5] มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=254
[6] ครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685172&Ntype=3
[7] กิจกรรมการเรียนการสอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก
http://pimchamai53041616.blogspot.com/2011/02/blog-post_09.html
[8] สานักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. (2556). สรุปการสัมมนาระดับชาติ การศึกษาเพื่อปวงชน กับ
องค์การยูเนสโก. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=1141:2013-08-19-
11-03-39&catid=36:movement-
[9] รุ่ง แก้วแดง. (2543). การศึกษากับกาลังอานาจของชาติ. สกศ.
[10] คณะกรรมการครู, สานักงาน. (2544). การปฏิรูปการสรรหาครู. สานักงานการศึกษา. โรงพิมพ์
คุรุสภา.
[11] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 256/2556. รมว.ศธ.ปาฐกถาพิเศษ การศึกษาสร้างเด็กไทยก้าวทันโลกยุค
ใหม่. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/256.html
[12] กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ศธ.จี้ครูปรับบทบาทใหม่ทันกับเทคโนโลยีสอนเด็ก. สืบค้นออนไลน์
จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34113&Key=hotnews
[13] สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. 2553. การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนา
สู่ “ครูมืออาชีพ” ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ). 2553. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. สมาคม
เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กร อุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สานักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.
[14] ประยุกต์กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.) สืบค้นออนไลน์จาก
http://womansday.ninemsn.com.au/backtoschool2013/8600885/teaching-kids-with-technology
[15] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 275/2556. (2556). รมว.ศธ.เปิดการเสวนา ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนการ
สอน. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/275.html
13
[16] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้
อนาคต. สืบค้นออนไลน์ จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/next-
generation%20of%20learning.pdf
[17] วิจารย์ พานิช. (2555). ครูแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน. สืบค้น
ออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
[18] กิจรรมการเรียนการสอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก http://earthangels-
angeliclightworkers.com
[19] หน้าที่และบทบาทของครูผู้สอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.learners.in.th/blogs/posts/535256
[20] ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2556). อนาคตครูไทย กับสื่อการเรียนการสอน D-book ในยุค Tablet.
สืบค้นออนไลน์จาก http://www.kku.ac.th/news/
[21] รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ . (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้
ทักษะICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942
[22] ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู. สืบค้นออนไลน์จาก
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3693
[23] UNESCO Institute of Statistics. (2000). Hours of instruction for pupils aged 11 (most
recent) by country. อ้างถึงใน เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน?. (2012). สืบค้นออนไลน์จาก
http://whereisthailand.info/2012/01/pupils-class-hours/
[22] ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ. สืบค้นออนไลน์จาก
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3693
[23] วิจารณ์ พานิช. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะICT.
สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942
[24] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ
ICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942
[25] ______________. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ
ICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942
[26] จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2555). จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อ
การพัฒนาครูไทย. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.ramajitti.com/info_point.php
[27] Ora Kwo.(Assoc. Prof.). (2555). Teachers’ Challenges in 21st Century : Pedagogy,
Standardized Testing, and Paychecks. สืบค้นออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
[28] วิจารย์ พานิช. (2555). บทบาทหน้าที่ของครู และการทดสอบมาตรฐานในศตวรรษที่ ๒๑. สืบค้น
ออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he
[29] ศิริวรรณ นักรู้. (2556). ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษา. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.learners.in.th/blogs/posts/535256
14
[30] จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2556). สกัดความรู้จากโครงการ "สรอ. ขอความรู้" ทักษะของครูในศตวรรษ
ที่ 21. สืบค้นออนไลน์ จาก
http://www.schoolweb.in.th/nongkungsomdet/news.php?view=20130921233056XeRrHwQ
[31] กลิ่น สระทองเนียม. (2556). การศึกษาชาติ รู้ปัญหาต้องเร่งผ่าตัด. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่
27 ส.ค. 2556 (กรอบบ่าย). สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=5877

Contenu connexe

Tendances

ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานSiriporn Kusolpiamsuk
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1Sokoy_jj
 
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]Kull Ch.
 
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfแผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfJiruttiPommeChuaikho
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013Kruthai Kidsdee
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความขนิษฐา ทวีศรี
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาSophinyaDara
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการjustymew
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3ทศพล พรหมภักดี
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยnaykulap
 
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐานPochchara Tiamwong
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57Kongkrit Pimpa
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์krujee
 
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
รายงานวิจัยในชั้นเรียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
รายงานวิจัยในชั้นเรียนchaiwat vichianchai
 
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์srkschool
 
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1วีระยศ เพชรภักดี
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)ครูเฒ่าบุรีรัมย์ ย่าแก่
 
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่ายAum Orrawan
 
ข้อสอบ ม.4 ส41101
ข้อสอบ ม.4  ส41101ข้อสอบ ม.4  ส41101
ข้อสอบ ม.4 ส41101thnaporn999
 

Tendances (20)

ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
 
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน [โครงการอ่านหนังสือให้กับผู้พิการทางสายตา]
 
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfแผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการ
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
 
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
 
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
รายงานวิจัยในชั้นเรียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
 
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
 
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
 
ปก
ปกปก
ปก
 
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
 
ข้อสอบ ม.4 ส41101
ข้อสอบ ม.4  ส41101ข้อสอบ ม.4  ส41101
ข้อสอบ ม.4 ส41101
 

Similaire à ครูในศตวรรษที่ 21

โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์Phiromporn Norachan
 
Stem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentStem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentWeerachat Martluplao
 
0 บทที่ 1
0 บทที่ 10 บทที่ 1
0 บทที่ 1Pala333
 
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลสอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55docหลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55dockrupornpana55
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์สพป.นว.1
 
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55docหลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55dockrupornpana55
 
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนmadechada
 
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ...
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  เรื่อง ...การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  เรื่อง ...
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ...Oui Nuchanart
 
20130814 library-buu
20130814 library-buu20130814 library-buu
20130814 library-buuInvest Ment
 
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6TupPee Zhouyongfang
 
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษาเทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษาJaengJy Doublej
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculamZTu Zii ICe
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_kanyarat chinwong
 

Similaire à ครูในศตวรรษที่ 21 (20)

โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์
 
King Thailand
King Thailand King Thailand
King Thailand
 
Stem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentStem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills development
 
0 บทที่ 1
0 บทที่ 10 บทที่ 1
0 บทที่ 1
 
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล
ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอยู่และจะเป็นไปเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55docหลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
หลักสูตรปกIsม.ต้น.55doc
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์
 
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55docหลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
หลักสูตรปกIsม.ปลาย.55doc
 
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
 
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ...
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  เรื่อง ...การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  เรื่อง ...
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ...
 
20130814 library-buu
20130814 library-buu20130814 library-buu
20130814 library-buu
 
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา C6
 
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษาเทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลียีสารสนเทศทางการศึกษา
 
E book world-class
E book world-classE book world-class
E book world-class
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculam
 
นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่
 
นโยบาย 4ใหม่
 นโยบาย 4ใหม่ นโยบาย 4ใหม่
นโยบาย 4ใหม่
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
 

Plus de KruBeeKa

Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21KruBeeKa
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยKruBeeKa
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยKruBeeKa
 
13 the fourth generation of instructional system development model
13 the fourth generation of instructional system development model13 the fourth generation of instructional system development model
13 the fourth generation of instructional system development modelKruBeeKa
 
12 chapter33-games … and … learning
12 chapter33-games … and … learning12 chapter33-games … and … learning
12 chapter33-games … and … learningKruBeeKa
 
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learnerKruBeeKa
 
10 chapter29-e-learning and instructional design
10 chapter29-e-learning and instructional design10 chapter29-e-learning and instructional design
10 chapter29-e-learning and instructional designKruBeeKa
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciencesKruBeeKa
 
08 chapter2-characteristics of instructional design models
08 chapter2-characteristics of instructional design models08 chapter2-characteristics of instructional design models
08 chapter2-characteristics of instructional design modelsKruBeeKa
 
07 final exam
07 final exam07 final exam
07 final examKruBeeKa
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุคKruBeeKa
 
05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-fullKruBeeKa
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อยKruBeeKa
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัยKruBeeKa
 
01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย
01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย
01 มองอนาคตด้วยเดลฟายKruBeeKa
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศKruBeeKa
 
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ปการโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ปKruBeeKa
 

Plus de KruBeeKa (19)

Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
Tablet pc สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
 
13 the fourth generation of instructional system development model
13 the fourth generation of instructional system development model13 the fourth generation of instructional system development model
13 the fourth generation of instructional system development model
 
12 chapter33-games … and … learning
12 chapter33-games … and … learning12 chapter33-games … and … learning
12 chapter33-games … and … learning
 
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
 
10 chapter29-e-learning and instructional design
10 chapter29-e-learning and instructional design10 chapter29-e-learning and instructional design
10 chapter29-e-learning and instructional design
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences
 
08 chapter2-characteristics of instructional design models
08 chapter2-characteristics of instructional design models08 chapter2-characteristics of instructional design models
08 chapter2-characteristics of instructional design models
 
07 final exam
07 final exam07 final exam
07 final exam
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
 
05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย
 
01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย
01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย
01 มองอนาคตด้วยเดลฟาย
 
Mis_hrcc
Mis_hrccMis_hrcc
Mis_hrcc
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ปการโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
การโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
 

ครูในศตวรรษที่ 21

  • 1. ครูในศตวรรษที่ 21 (เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21) ภาสกร เรืองรอง, ประหยัด จิระวรพงศ์ * วณิชชา แม่นยา, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรัณยู หมื่นเดช, ชไมพร ศรีสุราช ** บทคัดย่อ เมื่อสังคมโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสาคัญของนาเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจาวัน ครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ไปด้วย โดยต้องพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้ามามี บทบาทอย่างมากในวงการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา นอกจากนี้ ครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน และต้องมี เทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่ง เรียนรู้ภายนอก ฝึกให้นักเรียนทางานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม จัด สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยต่อนักเรียน ทั้งนี้ กระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผลได้ ถ้าทุกภาคส่วนช่วยกัน หาทางลดปัญหาและ อุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาครู อาทิ ภาระงานอื่นนอกจากการสอน กาหนดอัตรากาลังไม่เหมาะสม รวมทั้งครูสอนไม่ตรงสาขา เป็นต้น ซึ่งแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 นั้น ต้องดาเนินการทั้งด้านนโยบายและด้านการพัฒนาตนเองของครูควบคู่กันไป จึงจะทาให้ครูเป็นครูยุค ดิจิทัลอย่างแท้จริง Abstract Teachers in the 21st century must adapt to learning in the modern era, need to develop the skills necessary to be able to encourage students to learn on their own. Especially information technology skills came to play a huge role in the study of the present and the future. The future teachers also need to have actual knowledge of the subject taught. Encourage students to construct their own knowledge. Event linking knowledge from external sources. Training students to work as a team. A design appropriate learning activities. Environment conducive to learning, and the expression of love and concern for students. Nonetheless, all sectors must work to find ways to reduce the barriers that hinder the development of teachers with tasks other than teaching, such as excessive, rates are inappropriate, teaching majors. And so does not meet the guidelines and the possibility to develop teachers in the 21st century, it must carry both the policy and the development of teachers together. The teacher is a teacher is to make the digital experience. * อาจารย์ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ** นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 2. 2 ความสาคัญและสภาพปัญหา โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง สังคมโลกกลายเป็นสังคม ความรู้ (Knowledge Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) องค์การทางการศึกษา จึง ต้องปรับตัวให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยมีความคาดหวังว่าคุณภาพ การศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก[1] จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11[2] มีนโยบายมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนา โดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอก ประเทศ นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้าง สังคมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ[3] ที่ต้องการให้พัฒนาการศึกษา ของประเทศอย่างเร่งด่วน โดย 1 ในนโยบาย เร่งรัดคือ ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบันและ รองรับหลักสูตรใหม่ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2553 [4] และมาตรฐานวิชาชีพครู[5] ตามที่คุรุสภากาหนด ดังนั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสาคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะ ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้แก่ศิษย์ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเน้นกระบวนการ 4 ด้าน[6] คือ ด้านความรู้ ความคิด หรือพุทธพิสัย (Cognitive Domain) ด้าน ความรู้สึก อารมณ์ สังคมหรือด้านจิตพิสัย (Affective Domain) ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ (Management Skill) ภาพที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน [7]
  • 3. 3 แนวโน้มการศึกษาในระดับนานาชาติได้มุ่งเน้นไปที่ทักษะความสามารถ ทักษะพื้นฐานในการ ดารงชีวิต การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น รวมทั้งทักษะพื้นฐานด้านการทางาน การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การทางานเป็นทีม การสื่อสาร และทักษะเฉพาะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะ ที่องค์การ สหประชาชาติ (UN) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)[8] ให้ความสาคัญ ส่วนในวงการศึกษาไทยมองว่า ครู คือ กุญแจสาคัญในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ การศึกษา [9] แต่รายงานของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [10] พบว่า ความเป็นครูใน สังคมไทยกาลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพ ดังนั้นจึงควรต้องมี การศึกษาเกี่ยวกับครูยุคใหม่อย่างเร่งด่วน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พร้อม ขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศที่มีคุณภาพต่อไป[11] ความสาคัญและสภาพปัญหาของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ในยุคศตวรรษที่ 21 กระบวนการเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลง[12] โดยผู้เรียนจะเรียนด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มาก และรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจานวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน[13] จนทาให้วิธีการสอน แบบเดิมๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสาหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้เรียนมีการ นาเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกาลังสอน หรือนาข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เท่าทันเทคโนโลยี อยู่เสมอ และต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทาให้ได้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่ สังคมไทยและสังคมโลกต้องการ ภาพที่ 2 ประยุกต์กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี
  • 4. 4 กระทรวงศึกษาธิการ[15] ได้เล็งเห็นความสาคัญของการนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology :ICT) มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสาคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและ พัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทาง การศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย ปัจจุบันมีแนวทางการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา[12] ดังนี้ 1) การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา ทั้งคอมพิวเตอร์ประจาห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ศูนย์ ข้อมูล Data Center และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา สาหรับใช้ในการเรียนการสอน 2) การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบูรณาการโครง ข่าย MOENet และ NEdNet ให้เป็นโครงข่ายเดียว โดยใช้ชื่อว่า OBEC-NET สาหรับใช้เป็น เครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัย โดยเชื่อมต่อโรงเรียนต่างๆ ไว้กับศูนย์ข้อมูลของ สพฐ. OBEC Data Center 3) การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Contents) ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่าน เว็บไซต์ e-Book หรือ Applications ต่างๆ เนื่องจากรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาช่วยในการ เรียนการสอน ทักษะด้าน ICT จึงมีความสาคัญมากสาหรับครู เพราะการพัฒนาสื่อการสอน และจัดสรร ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการให้เกิด สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล รวมถึงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนา ทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนด้วย [16] ครูไทยในอนาคต เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้ จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21[17] จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยครูต้องช่วยแก้ไข และชี้แนะความรู้ทั้งถูก ผิด ที่ผู้เรียนได้รับ จากสื่อภายนอก รวมทั้งสอนให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองความรู้อย่างมีวิจารณญาณ ก่อนนาข้อมูล มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ครูยังต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและต้องพัฒนาทักษะที่จาเป็นสาหรับการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ดังที่ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [16] ได้เสนอทักษะที่จาเป็นสาหรับครูไทยในอนาคต (C-Teacher) ไว้อย่างน่าสนใจ 8 ประการคือ 1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่แม่นในเรื่องที่ สอนหรือถ่ายทอดแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
  • 5. 5 2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับ นักเรียน และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรู้และ ทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี 3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้น เองได้จากภายในตัวของผู้เรียน โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งครูสามารถนาแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ และทักษะที่ต้องการได้ 4. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียน กับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และสถานศึกษากับ ชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน 5. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทางานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะที่สาคัญอื่น ๆ 6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การ เลือกใช้สื่อ การนาเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ นักเรียนได้อย่างเหมาะสม 7. Creativity ในยุคสมัยหน้าครูต้องออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัด สภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง เพียงอย่างเดียว 8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย อย่างจริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อน คลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ภาพที่ 3 กิจรรมการเรียนการสอน
  • 6. 6 เมื่อหน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมา เป็นการกล่าวนาเข้าสู่บทเรียน ทาหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนา ให้คาปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน จึง เกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น[19] กล่าวคือ มีการนาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนแบบ ปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย (Network) อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปัจจุบันผู้เรียนมีความสามารถ ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้โดยไม่จาเป็นต้องอยู่ในชั้นเรียน รูปแบบการเรียนการสอนจึงเป็นแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้ครูคนเดียวสามารถแนะนา ชี้แนะ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นๆ ได้ ปัญหาและอุปสรรคของครูไทย งานด้านการศึกษา ไม่ใช่เฉพาะภาระหน้าที่ของใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่ เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความตระหนักและช่วยกันหาทางออก โดยปัญหาทางการศึกษาที่สาคัญก็คือ ปัญหาเรื่องครู [20] จากผลสารวจความคิดเห็นของครู [21] เนื่องในวันครูแห่งชาติ ปี 2555 ที่ผ่านมา พบถึงปัจจัยที่ เป็นอุปสรรรคของการทาหน้าที่ครู และแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู ประกอบด้วย ภาพที่ 4 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู 1) ภาระหนักนอกเหนือการสอน การทาหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน จะทาให้ครูมี เวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยให้ครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่ อื่น เช่น พัสดุ บุคคล ธุรการ ฯลฯ จนทาให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง
  • 7. 7 2) จานวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ กาหนดตรากาลังที่ไม่เหมาะสม ใช้อัตราส่วนของจานวนนักเรียนต่อจานวนครูเป็นเกณฑ์ โดยไม่คานึงถึงจานวนห้องเรียนนั้น ส่งผล กระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการสอนของครู 3) ขาดทักษะทางด้านไอซีที โดยครูจานวนมากยังขาดทักษะด้านนี้ จึงทาให้รับรู้ข้อมูล หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน นอกจากนี้สื่อการสอนที่มีแค่ในตาราอาจตอบสนองการรับรู้ และความต้องการของนักเรียนใศตวรรษที่ 21 ได้ไม่เต็มที่ 4) ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็น ครู ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดวิจารณญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว ให้เข้ากับลักษณะของ ผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ไม่ปรับวิธีการสอน ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเสริมการจัดการเรียนรู้ ให้มี ประสิทธิภาพ 5) ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น เมื่อคุณภาพของการเรียนมาจากผลสอบที่ทาง รัฐบาลจัด ครูผู้สอนจึงพยายามสอนเนื้อหาให้เข้มข้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการ สอบ ทาให้เด็กต้องใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมาก ซึ่งจะเห็นได้จากผลการสารวจของ UNESCO[23] ที่ เด็กไทยใช้เวลาเรียนในห้องเรียนเฉลี่ย มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 6) ขาดอิสระในการจัดการ ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่ง นโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป เช่น การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษ 15 ปี แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ภาพที่ 5 ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ [24]
  • 8. 8 1) การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายความรู้ จะช่วยให้ครูไม่จากัดเพียงวิธี การสอนของตนเองเท่านั้น แต่ยังเปิดใจรับวิธีการสอนอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับบริบทของตนเอง 2) การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที เพราะการนาไอซีทีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ เรียนรู้จะช่วยเพิ่มช่องทางการเรียนที่หลากหลาย รวมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนของนักเรียน ด้วย 3) การเพิ่มฝ่ายธุรการ จะช่วยให้ครูมีเวลาในการเอาใจใส่ต่องานวิชาการ หรือนักเรียน มากขึ้น 4) มีการปรับเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งจะส่งผลต่อขวัญและกาลังใจของครูผู้สอนเป็น อย่างดี 5) ลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและนักเรียน เปลี่ยนเป็นการฝึกทักษะนอก ห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าในสิ่งที่นักเรียนสนใจ ปัจจัยดังกล่าวสอดคล้องกับนักวิชาการหลายท่าน [23][24] ที่มีความเห็นว่า การสอนของครูใน ปัจจุบันยังเป็นการสอนแบบเดิม คือ เป็นการถ่ายทอดวิชาในห้องเรียน ส่งผลให้เด็กขาดภาวะผู้นา เพราะเด็กไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ปัจจุบัน มีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนา ทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ ครูไทยจานวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลก[25] แนวทางและความเป็นไปได้ในการการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ด้านนโยบาย จากสภาพการณ์ที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยต้องมีการพัฒนาให้ สอดคล้องกับสภาวะการณ์โลก ไม่เพียงเฉพาะครูเท่านั้นแต่หมายรวมถึงการพัฒนาระบบให้เอื้อต่อการ เรียนรู้ในยุคสมัยใหม่ด้วย โดยมีแนวทางที่ควรส่งเสริมและเปิดมุมมองของการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ [13][16][26][27][28][29] 1. ในอดีต การพัฒนาครูยังมีทิศทางที่ไม่ค่อยชัดเจน และไม่ค่อยให้ความสาคัญอย่างจริงจัง หาก ต้องการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็กแล้ว ควรจะมีการกาหนดนโยบายเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาครูให้ตรง จุด เพื่อสนองตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยควรมีการกาหนดหน่วยงานการพัฒนาครูอย่าง ทั่วถึงทุกพื้นที่ ไม่ใช่กาหนดอานาจการพัฒนาครูไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียว 2. ควรมีการกาหนดมาตรฐานอาชีพครู โดยเฉพาะความรู้ความสามารถด้านมาตรฐานการ ปฏิบัติงานของครู ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นครูและเป็นเครื่องมือตรวจสอบ กลั่นกรองผู้ประกอบอาชีพครูและผู้ที่จะมาประกอบอาชีพครูได้อย่างชัดเจนและมีคุณภาพ 3. ควรมีการพัฒนาระบบการผลิตครูออกสู่ตลาดการศึกษาทั้งหลักสูตรตามการเปลี่ยนแปลงไป ของสังคมโลก
  • 9. 9 4. ควรมีการถ่ายทอดความรู้ตามแนวคิดของการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่ผู้เรียนมีอิสระในการรับรู้ และ สร้างศักยภาพโดยการหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งชี้นาการเรียนรู้ในลักษณะของผู้ให้คาปรึกษา (Mentor) และพัฒนาวิธีวิทยาในการสอนให้เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากขึ้น 5. ควรอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูล ความรู้ได้แบบไม่มี ขีดจากัดเฉพาะในห้องเรียน หรือจากครูเท่านั้น 6. ควรสร้างผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล มีจิตวิจัย ใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาหรือ เพื่อพัฒนา 7. ควรมีการพัฒนาตนเอง โดยการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รู้จักเผยแพร่ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น และยึดมั่นในหลักบูรณาการความรู้แบบสหวิทยาการ 8. ควรสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทางานอย่าง ใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือ รายบุคคล การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คาปรึกษาหารือ (Coaching & Mentoring) จึงกลายเป็นกลไก และวิธีการสาคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน 9. การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่นปรับให้ยืดหยุ่น หลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัดโดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะ ใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย 10. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสาคัญในการพัฒนาครูเพื่อการฝึกอบรมหรือ พัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน 11. การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ “โรงเรียนเรียนรู้ครูนักวิจัย” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนา แล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น “องค์กรการเรียนรู้” ที่เน้นให้ครู “เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกัน” มากยิ่งขึ้น 12. ยุทธศาสตร์ “การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู” (Motivation & Inspiration) เน้นการ ค้นหาและหนุนเสริม “ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคาถามดีๆ เชื่อมโยงประเด็นสาคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครู ผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคาถามดลใจ อันจะทาให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป สรุปได้ว่า นโยบายที่ชัดเจนจะก่อให้เกิดการพัฒนาครูอย่างทั่วถึง การกาหนดมาตรฐานวิชาชีพ และการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ก็เป็นส่วนสาคัญในการกระตุ้นให้ครูมีการพัฒนาตนเอง โดย เปลี่ยนแปลงทั้งทัศนคติ วิธีสอน และบทบาท ทั้งยังส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ ที่หลายหลาย จนกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนามาปรับใช้ภายใต้บริบทของตนเอง นอกจากนี้ครู ต้องมีทักษะ 8 ประการ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อถ่ายทอดและเสริมสร้างความรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหา เป็น ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิตและวิชาชีพตามคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของชาติและนานาชาติต่อไป
  • 10. 10 ด้านการพัฒนาตนเองของครู ผู้ที่ได้ชื่อว่า “ครู” เป็นบุคคลสาคัญยิ่งต่อภารกิจในการพัฒนาเยาวชนของชาติ โดยนอกจากครู จะต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูแล้ว ยังต้องเป็นผู้ทรงความรู้ในเนื้อหาที่จะถ่ายทอดสู่ผู้เรียน และครูยัง ต้องจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาศิษย์ให้มีทักษะ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย ซึ่งแนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 15 ประการ[30][31] ได้แก่ ภาพที่ 6 ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 (ที่มา http://infographicsmania.com/tag/online-course/) 1) ทักษะในการตั้งคาถาม ในกระบวนการเรียนการสอนครูควรตั้งประเด็นคาถาม เพื่อให้ นักเรียนรู้จักการคิด และรู้จักค้นหาคาตอบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง 2) ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ เพราะความรู้ที่ได้จาก การปฏิบัติจะเป็นความรู้ที่คงทน อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ได้อีกด้วย 3) ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง เป็นทักษะที่สอนให้ผู้เรียนคิด อย่างมีวิจารณญาณ รู้จักกลั่นกรองข้อมูล ความรู้ตามสภาพแวดล้อมจริงที่ปรากฎก่อนนาเสนอ 4) ทักษะในการสร้างความรู้ โดยครูต้องกาหนดเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง 5) ทักษะให้นักเรียนคิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสม กับระดับพัฒนาการของเด็ก สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ เหตุการณ์ปัจจุบันรอบตัวมาเป็นกรณีศึกษาให้นักเรียนลองผิดลองถูกเพื่อค้นหาคาตอบ
  • 11. 11 6) ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จากัดเฉพาะแค่รายวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่ สามารถบูรณาการความรู้จากหลายๆวิชา เพื่อเชื่อมโยงความคิด อันจะนาไปสู่การประยุกต์ใช้ในการ ดารงชีวิตต่อได้ 7) ทักษะในการประเมินผล เพราะนักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะฉะนั้น การ ประเมินผล ก็ต้องประเมินให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และให้เหมาะสมกับตามความต่างนั้นๆ 8) มีจิตวิญญาณความเป็นครู ไม่เฉพาะแค่การสอนเท่านั้น แต่ครูต้องเป็นเสมือนพ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อน เพื่อดูแล ประคับประคองนักเรียนให้จบออกไปเป็นเยาวชนที่ดีชองชาติต่อไป 9) ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครูจึงต้องไม่หยุด นิ่งที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเองและเพื่อไว้สั่งสอนศิษย์ 10) เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง เพราะสังคมที่เปลี่ยนไป หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างไม่เหมือนใน อดีต ครูต้องทาใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง และไตร่ตรองเพื่อนาสิ่งใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงมาประยุกต์ใช้ใน การดาเนินชีวิต 11) สร้างกาแพงคุณธรรม อีกประการที่สาคัญไม่แพ้จิตวิญญาณความเป็นครู คือครูต้องเป็นผู้มี คุณธรรม ซึ่งจะเป็นแบบอย่างแก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะผู้มีคุณธรรมย่อมเป็นผู้เจริญ 12) โน้มนาความดีแก่นักเรียน ครูไม่เพียงให้วิชาความรู้เท่านั้น แต่ต้องเป็นที่พึ่งทางใจ สามารถ เป็นที่ปรึกษาของลูกศิษย์ ยิ่งหากเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณหรือมโนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งทรงคุณค่ามหาศาล 13) มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Creation, Creating, Creative Thinking) เป็นหนึ่งใน ทักษะสาคัญของครู ที่ได้รับการกาหนดให้เป็นทักษะที่จาเป็นจะต้องนาไปใช้ ในกระบวนการพัฒนา ผู้เรียนในช่วงศตวรรษที่ 21 14) ครูต้องทาตนให้ศิษย์รัก หนักแน่นในจริยา พัฒนาความรู้ อุตส่าห์สร้างศิษย์ตน อดทนต่อคา หยาบคาย ขยายคาลึกซึ้ง ไม่ดึงศิษย์ไปในทางเสียหาย 15) บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ โตตามสังคมรอบข้าง รู้จักคาว่า ขอโทษ รู้จักคาว่า ให้อภัย ซึ่งครูยุคใหม่จาเป็นต้องมีทักษะทั้ง 15 ด้าน ในการเป็นผู้อานวยความรู้ให้เด็ก แทนที่จะเป็นผู้ ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน หากครูไทยมีทักษะสาคัญดังกล่าวแล้ว เชื่อได้ว่าผู้เรียนจะเป็นเด็กยุคใหม่ที่ ใส่ใจ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี รวมทั้งเห็นคุณค่าของการศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานเศรษฐกิจ พอเพียง และมีการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ และใช้ความรู้เหล่านั้นเป็นเกราะป้องกันในการใช้ ชีวิตบนสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างงดงาม
  • 12. 12 อ้างอิง [1] Report to UNESCO of the International Commission on Education for the Twenty-First Century. (1996). Online from http://www.unesco.org/education/pdf/15_62.pdf [2] สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.nesdb.go.th. [3] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 212/2556. (2555). 8 นโยบายการศึกษา "จาตุรนต์ ฉายแสง". สืบค้น ออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/jul/212.html [4] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2553. สืบค้นออนไลน์ จาก http://203.146.15.33/index.php/notice-law-rule/law-act?limitstart=0 [5] มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=254 [6] ครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685172&Ntype=3 [7] กิจกรรมการเรียนการสอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก http://pimchamai53041616.blogspot.com/2011/02/blog-post_09.html [8] สานักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. (2556). สรุปการสัมมนาระดับชาติ การศึกษาเพื่อปวงชน กับ องค์การยูเนสโก. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=1141:2013-08-19- 11-03-39&catid=36:movement- [9] รุ่ง แก้วแดง. (2543). การศึกษากับกาลังอานาจของชาติ. สกศ. [10] คณะกรรมการครู, สานักงาน. (2544). การปฏิรูปการสรรหาครู. สานักงานการศึกษา. โรงพิมพ์ คุรุสภา. [11] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 256/2556. รมว.ศธ.ปาฐกถาพิเศษ การศึกษาสร้างเด็กไทยก้าวทันโลกยุค ใหม่. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/256.html [12] กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ศธ.จี้ครูปรับบทบาทใหม่ทันกับเทคโนโลยีสอนเด็ก. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34113&Key=hotnews [13] สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. 2553. การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนา สู่ “ครูมืออาชีพ” ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ). 2553. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. สมาคม เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กร อุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ. [14] ประยุกต์กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.) สืบค้นออนไลน์จาก http://womansday.ninemsn.com.au/backtoschool2013/8600885/teaching-kids-with-technology [15] ข่าวสานักงานรัฐมนตรี 275/2556. (2556). รมว.ศธ.เปิดการเสวนา ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนการ สอน. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/275.html
  • 13. 13 [16] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้ อนาคต. สืบค้นออนไลน์ จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/next- generation%20of%20learning.pdf [17] วิจารย์ พานิช. (2555). ครูแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน. สืบค้น ออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he [18] กิจรรมการเรียนการสอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก http://earthangels- angeliclightworkers.com [19] หน้าที่และบทบาทของครูผู้สอน. (ม.ป.ป.). สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/535256 [20] ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2556). อนาคตครูไทย กับสื่อการเรียนการสอน D-book ในยุค Tablet. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.kku.ac.th/news/ [21] รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ . (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ ทักษะICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942 [22] ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทาหน้าที่ครู. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3693 [23] UNESCO Institute of Statistics. (2000). Hours of instruction for pupils aged 11 (most recent) by country. อ้างถึงใน เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน?. (2012). สืบค้นออนไลน์จาก http://whereisthailand.info/2012/01/pupils-class-hours/ [22] ปัจจัยส่งเสริมการทาหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพ. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3693 [23] วิจารณ์ พานิช. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942 [24] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ ICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942 [25] ______________. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทางานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ ICT. สืบค้นออนไลน์จาก http://www.enn.co.th/5942 [26] จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2555). จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อ การพัฒนาครูไทย. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.ramajitti.com/info_point.php [27] Ora Kwo.(Assoc. Prof.). (2555). Teachers’ Challenges in 21st Century : Pedagogy, Standardized Testing, and Paychecks. สืบค้นออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he [28] วิจารย์ พานิช. (2555). บทบาทหน้าที่ของครู และการทดสอบมาตรฐานในศตวรรษที่ ๒๑. สืบค้น ออนไลน์ จาก http://lripsm.wix.com/21st#!-21/c6he [29] ศิริวรรณ นักรู้. (2556). ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษา. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/535256
  • 14. 14 [30] จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2556). สกัดความรู้จากโครงการ "สรอ. ขอความรู้" ทักษะของครูในศตวรรษ ที่ 21. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.schoolweb.in.th/nongkungsomdet/news.php?view=20130921233056XeRrHwQ [31] กลิ่น สระทองเนียม. (2556). การศึกษาชาติ รู้ปัญหาต้องเร่งผ่าตัด. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ส.ค. 2556 (กรอบบ่าย). สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=5877