SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  61
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ 1
                                          บทนำ

ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ
             คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีความคิด
สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้
อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
2551 : 1)
             พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545
หมวดที่ 9 มาตรา 63-69 กาหนดให้รัฐมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษาโดยให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา และให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและ
ทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ส่วนด้าน
ผู้เรียนให้มีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรก
ที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้
ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตลอดจนรัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและ
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย (สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 : 37-38)
             ส่วนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตร
สถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกาลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มี
ความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และ
ทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จาเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็ม
2



ตามศักยภาพ และการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) มุ่งเน้นให้
ผู้เรียนได้สารวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน
มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดาเนินชีวิต
มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นสนอง
ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท โดยเฉพาะเน้นสื่อที่ผู้เรียนและผู้สอน
ใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง (กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้. 2553 : 5-22)
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนโฉมโครงสร้างทาง
สังคมและเศรษฐกิจของโลกให้เป็นชุมชนแห่งการติดต่อ สื่อสารที่ไร้พรมแดน ด้วยปริมาณข้อมูล
จานวนมหาศาลที่ถูกส่งผ่านในแต่ละวัน ได้เอื้อประโยชน์ต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ ตลอดจนการพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
            อีกทั้งปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ทาให้
มีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต
มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา ทาให้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่การศึกษาในทุกระดับ สถานศึกษาต่างเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ
หน่วยงานเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้สอนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้
ในโลกภายนอกโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาให้นักการศึกษาหลายคนเกิดความคิดที่จะนา
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้สืบค้น
ข้อมูล ใช้ในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปของกระดานข่าว หรือ ทางสื่อสังคม (Social
Media)
            จุดเด่นของการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือการนาเสนอข้อมูลที่สามารถนาเสนอได้
ทั้งข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว และในรูปของเสียง ที่สามารถดึงดูดความสนใจ
มีชีวิตชีวา ในด้านการศึกษาก็สามารถแก้ไขข้อจากัดทางด้านเวลาและสนองต่อความต้องการ
ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี จะเรียนได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับตัวของนักเรียนเอง โดยไม่จากัดเวลา และ
สถานที่ ทาให้นักเรียนมีกาลังใจในการเรียน จึงได้รับความนิยมและมีการพัฒนาเผยแพร่ไป
อย่างมาก หน่วยงานทางการศึกษาหลายหน่วยงานได้ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
การประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ในการส่งเสริมภาพพจน์ และในลักษณะของการเรียนการสอนโดย
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งผู้เรียนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เทียบเท่าหรือสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนโดยปกติ โดยใช้เวลาเรียนน้อยกว่าและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
3



วิชานั้นๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่หาความรู้ และกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการเรียน
การสอนมากขึ้นกว่าเดิม ผู้เรียนสามารถตอบโต้กับคอมพิวเตอร์ได้ ผู้เรียนไม่ต้องกลัวหรืออาย
คอมพิวเตอร์
             แต่ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรายัง
พัฒนาได้ไม่มากเท่าที่ควรซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้น
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิชาคณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรมทาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ช้าและเข้าใจ
ได้ยาก เป็นวิชาที่ต้องใช้จินตนาการอย่างมากในการทาความเข้าใจ และจากรายงานผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ ในปีการศึกษา
ที่ผ่าน ๆ มาพบว่า ผลการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่น่าพอใจ ซึ่งผลจาก
การประเมินคุณภาพนักเรียนดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนมีปัญหา
ดังนั้นจึงถือเป็นหน้าที่สาคัญของครูที่จะต้องหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการจัดสภาพการเรียน
การสอน เพื่อให้เด็กมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาและเพื่อให้เกิดคุณภาพสูงสุดทางการศึกษา
การสร้างบทเรียนออนไลน์ไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดช่องทางการเรียนรู้อีกทางหนึ่ง
ให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จากัดเวลา สถานที่ และจานวนครั้ง
              ดังนั้น จากความสาคัญของคณิตศาสตร์ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
และอินเทอร์เน็ตดังกล่าว ทาให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ ซึ่งเป็นนักเรียน
ที่ผู้วิจัยสอนอยู่ แล้วทดลองสอนและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนต่อไป

ควำมมุ่งหมำยของกำรวิจัย
         1. เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80%
         2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
         3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์

สมมติฐำนกำรวิจัย
         1. บทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80%
         2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
         3. นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก
4



ควำมสำคัญของกำรวิจัย
            1. ได้บทเรียนออนไลน์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพ สาหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
            2. ได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
            3. เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
มากขึ้น
            4. นักเรียนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เป็นการส่วนตัวที่บ้านสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
สามารถเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ
            5. เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน ในการสร้างสื่อประเภท
บทเรียนออนไลน์ หรือ E-Learning อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็น
ภาษาไทยเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ต่อไป
            6. เป็นการสร้างคุณภาพที่ดีต่อระบบการศึกษา โดยนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้นักเรียนก้าวทันต่อความก้าวหน้าของโลก
ยุคดิจิตอล

ขอบเขตของกำรวิจัย
          1. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง
             ประชำกร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์
อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จานวน 2 ห้องเรียน ปีการศึกษา 2554 จานวน 40 คน
             กลุ่มตัวอย่ำง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์
อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2554 จานวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
(Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
          2. ตัวแปรที่ศึกษำ
             2.1 ตัวแปรอิสระ คือ
                  2.1.1 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส
             2.2 ตัวแปรตำม คือ
                  2.2.1 ประสิทธิ์ภาพของบทเรียนออนไลน์
                  2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
                  2.2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์
5



         3. ระยะเวลำในกำรทำวิจัย
            ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เวลาในการทดลอง จานวน 16 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2554 (1 พฤศจิกายน - 16 ธันวาคม 2554)
         4. เนื้อหำ
            เนื้อหาที่ใช้ในบทเรียนออนไลน์เป็นเนื้อหาความรู้เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยแบ่ง
หน่วยการเรียนรู้ออกเป็น 3 หน่วย ดังนี้
            หน่วยที่ 1 ความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยม
            หน่วยที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
            หน่วยที่ 3 บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

นิยำมศัพท์เฉพำะอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ที่ http://youtachai.wordpress.com ที่
           บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) หมายถึง บทเรียนออนไลน์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนสามารถเรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
ที่มีระบบอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นสื่อมัลติมีเดีย ประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและ
ข้อความต่างๆ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์
ลักษณะสองทาง ผู้เรียนทราบผลการเรียนได้ทันที
           ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ซึ่งวัดได้จากการทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนออนไลน์
เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
           แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทฤษฎี
บทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยบทเรียนออนไลน์ เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 1 ฉบับ มี 30 ข้อ
           ประสิทธิภำพของบทเรียนออนไลน์ หมายถึง ความสามารถของบทเรียนในการสร้าง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ที่คาดหวังไว้
           เกณฑ์ 80% หมายถึง ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่คาดหวังไว้ โดยพิจารณา
จากค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยอัตราส่วนของคะแนนแบบฝึกหัดกับค่าเฉลี่ยอัตราส่วนของคะแนน
แบบทดสอบคิดเป็นร้อยละ
6



                                         บทที่ 2
                                เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นาเสนอตาม
หัวข้อต่อไปนี้
          1. ความสาคัญของคณิตศาสตร์
          2. หลักการสอนคณิตศาสตร์
          3. กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
          4. ความหมายของการเรียนการสอนบนเว็บ
          5. คุณลักษณะของการสอนบนเว็บ
          6. ลักษณะสาคัญของ E-Learning
          7. ข้อดีของการสอนบนเว็บ
          8. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
          9. ประโยชน์ของ E-Learning
          10. หลักทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          11. ส่วนประกอบในการจัดทาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          12. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               12.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ
               12.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ

ควำมสำคัญของคณิตศำสตร์
            คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีความคิด
สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้
อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
2551 : 1)
7



หลักกำรสอนคณิตศำสตร์
            การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ครูผู้สอนจะต้องรู้
หลักการสอนซึ่งเป็นธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ที่ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องให้มีความสมดุลระหว่างสาระ
ด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ได้แก่การทางานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ส่วนในการวัด
และประเมินผลด้านทักษะและกระบวนการ สามารถประเมินในระหว่างการเรียนการสอน หรือ
ประเมินไปพร้อมกับการประเมินความรู้(สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 2)
            บุญทัน อยู่ชมบุญ (2539 : 24-25) ได้สรุปหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
            1. สอนโดยคานึงถึงความพร้อมของเด็ก คือ พร้อมในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา
และความพร้อมในแง่ความรู้พื้นฐานที่มาต่อเนื่องกับความรู้ใหม่ โดยครูจะต้องมีการทบทวนความรู้
เดิมก่อน เพื่อให้ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ต่อเนื่องกัน จะช่วยให้นักเรียนเกิดความ
เข้าใจมองเห็นความสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนได้ดี
            2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ
ความสนใจและความสามารถของเด็ก เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
            3. ควรคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ครู
จาเป็นต้องคานึงถึงให้มากกว่าวิชาอื่น ๆ ในแง่ความสามารถทางสติปัญญา การเตรียมความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้จะช่วยให้
นักเรียนมีความพร้อมตามวัยและความสามารถของแต่ละคน
            4. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีระบบต้องเรียนไปตามลาดับขั้นการสอน เพื่อสร้างความคิด
ความเข้าใจในระยะเริ่มแรกจะต้องเป็นประสบการณ์ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องและทาให้
เกิดความสับสน จะต้องไม่นาเข้ามาในกระบวนการเรียนการสอนการสอนจึงจะเป็นไปตามลาดับ
ขั้นที่วางไว้
            5. การสอนแต่ละครั้งจะต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอนว่า จัดกิจกรรมเพื่อสนองจุดประสงค์
อะไร
            6. เวลาที่ใช้ในการสอนควรจะใช้ระยะเวลาพอสมควรไม่นานเกินไป
            7. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการยืดหยุ่นได้ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกทา
กิจกรรมตามความพอใจตามความถนัดของตนและให้อิสระในการทางานแก่เด็กสิ่งสาคัญประการ
8



หนึ่ง คือการปลูกฝังเจตคติที่ดีแก่เด็กในการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยให้เด็กพอใจในการเรียน
วิชานี้ รวมทั้งเห็นประโยชน์และคุณค่าจนเกิดความสนใจมากขึ้น
            8. การสอนที่ดีควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการวางแผนร่วมกันกับครู เพราะจะช่วยให้
ครูเกิดความมั่นใจในการสอนและเป็นไปตามความพอใจของเด็ก
            9. การสอนคณิตศาสตร์ที่ดีควรให้เด็กมีโอกาสทางานร่วมกันหรือมีส่วนร่วมใน
การค้นคว้า สรุปกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองกับเพื่อน ๆ
            10. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกับการเรียนรู้ด้วย
จึงจะสร้างบรรยากาศที่น่าติดตามต่อไปแก่เด็ก
            11. นักเรียนจะเรียนได้อีกเมื่อเริ่มเรียนโดยครูใช้ของจริง อุปกรณ์จึงเป็นรูปธรรมนาไปสู่
นามธรรมตามลาดับ จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่จาดังเช่นการสอนในอดีตที่ผ่าน
มา ทาให้เห็นว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ง่ายต่อการเรียนรู้
            12. การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของ
การเรียนการสอน ครูอาจใช้วิธีการสังเกต การตรวจแบบฝึกหัด การสอบถาม เป็นเครื่องมือใน
การวัดผล จะช่วยให้ครูทราบข้อบกพร่องของนักเรียนและการสอนของตน
            13. ไม่ควรจากัดวิธีคิดคานวณหาคาตอบของเด็ก แต่ควรแนะวิธีคิดที่เร็วและแม่นยาใน
ภายหลัง
            14. ฝึกให้เด็กรู้จักตรวจคาตอบด้วยตนเอง
            นอกจากนั้นแล้ว สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545 : 18-19) ยังได้
กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้บรรลุผลนั้น
ควรมีจิตวิทยาการสอนดังนี้
            1. ดูความพร้อม ก่อนจะสอนเรื่องใดก็ตามต้องดูความพร้อมตามวัยและวุฒิภาวะของ
เด็กว่าในวัยเช่นนี้ควรจะเรียนรู้เรื่องอะไรได้บ้าง
            2. ล้อมด้วยประสบการณ์ หมายถึง ในการสอนคณิตศาสตร์ควรใช้สิ่งที่นักเรียนเคยรู้จัก
เคยเห็นมาประกอบเป็นตัวอย่างหรือโจทย์ เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพ และเชื่อมโยงความรู้ได้ง่าย ๆ
เช่น โรงเรียนในชนบท ครูใช้โจทย์ตัวอย่างว่า “เรือดาน้าลาหนึ่ง บรรทุกขีปนาวุธ 8 ลูก ยิงออกไป
3 ลูก เหลือขีปนาวุธกี่ลูก” ความจริงเป็นโจทย์ง่าย ๆ แต่ใช้คาที่นักเรียนอาจจะไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น
เช่น ขีปนาวุธ เรือดาน้า ก็อาจจะทาให้เด็กงงได้ ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็น “เลี้ยงไก่ไว้ 8 ตัว ขายไป 3
ตัว เหลือไก่กี่ตัว” จะเห็นว่าง่ายกว่า เด็กก็นึกภาพออก
            3. สืบสานจากสิ่งง่าย คือให้สอนจากสิ่งที่ง่าย ๆ เริ่มจากตัวอย่างง่าย ๆ ก่อนแล้วจึง
ค่อย ๆ เพิ่มความยากไปทีละน้อย
9



           4. ให้เข้าใจหลักการ จะสอนเนื้อหาใดควรให้นักเรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้
รู้ความเป็นมาของเรื่องนั้น เช่น สอนเรื่องการคูณ ก็ต้องให้รู้ว่าการคูณคืออะไร เช่น 3  2 = 6
เขียนเป็นสัญลักษณ์การบวกได้อย่างไร (2+2+2 = 6)
           5. เชี่ยวชาญด้วยการฝึก วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะเมื่อสอนหลักการและรู้วิธีการ
แล้ว ต้องให้นักเรียนฝึกจากแบบฝึกหัดในบทเรียนหรือจะสร้างแบบฝึกเพิ่มเติมอีกก็ได้
           6. สานึกในความเป็นครู ต้องมีวิญญาณครู รักที่จะสอน รักในอาชีพ รักและเมตตาต่อ
ศิษย์ทุกคน
           7. รู้ถึงความแตกต่าง ต้องรู้จักเด็ก รู้ความแตกต่างของเด็กว่าคนไหนเก่งหรืออ่อนเพื่อจะ
เลือกสอนได้ง่ายขึ้น
           8. ทุกอย่างต้องให้กาลังใจ การให้กาลังใจแบบง่าย ๆ เช่น การให้คาชมเชย
การยกย่องในชั้นเรียน ฯลฯ
           นอกจากครูผู้สอนจาเป็นต้องรู้หลักการสอนแล้วในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน จะต้องเน้นย้าให้นักเรียนปฏิบัติตามข้อตกลงเบื้องต้นในการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนี้
(สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. 2545 : 19-20)
           1. การบวกลบ พื้นฐานต้องแม่นยา และรวดเร็ว
           2. สูตรคูณต้องแม่นยา
           3. ฝึก ย้า ซ้า ทวน อยู่เสมอ
           4. จาเทคนิคการคิดเลขเร็ว และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง
           การที่จะเป็นนักคิดคณิตศาสตร์ได้นั้น สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา
(2545 : 20) ได้เสนอแนะหนทางสู่การเป็นนักคิดคณิต ไว้ดังนี้
           1. ฝึกฝนอยู่เป็นนิจ คณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะต้องมีการฝึกหัดและทบทวนอยู่เสมอ
จึงจะเกิดความชานาญ
           2. ชอบคิดขี้สงสัย ชอบคิดปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือปัญหาที่ท้าทายเมื่อคิดไม่ได้
จริง ๆ ต้องพยายามแสวงหาคาตอบโดยการถามผู้รู้
           3. สนใจสมการ พื้นฐานที่สาคัญในการคิดอย่างหนึ่งคือสมการ เพราะปัญหาบางปัญหา
อาจแก้หรือคิดได้โดยง่าย ถ้าใช้สมการช่วยในการคิด
           4. เชี่ยวชาญกลเม็ด ต้องมีเทคนิควิธีคิดอย่างหลากหลาย
           5. มีทีเด็ดสูตรคูณ ต้องมีความแม่นยาเกี่ยวกับสูตรคูณ และต้องสามารถใช้ได้
อย่างรวดเร็วถูกต้อง อย่างน้อยต้องถึงแม่ 12
           6. เพิ่มพูนวิทยาการ หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
10



           7. คูณหารอย่าให้พลาด ต้องมีทักษะในคิดคานวณ
           8. เฉียบขาดเรื่องพื้นฐาน ต้องมีความรู้พื้นฐานง่าย ๆ เช่น ค.ร.น. ห.ร.ม. พื้นที่
รูปเรขาคณิตต่าง ๆ ปริมาตรรูปทรงต่าง ๆ ฯลฯ
           จากธรรมชาติและความสาคัญ ตลอดจนหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่กล่าวมา
จะเห็นได้ว่าหลักสูตรคณิตศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมด้านการคิดอย่างมีเหตุมีผลและ
เน้นพฤติกรรมด้านความรู้สึกเป็นจุดมุ่งหมายที่สาคัญ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มี
การยืดหยุ่นได้ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกทากิจกรรมตามความพอใจตามความถนัดของตนและ
ให้อิสระในการทางานแก่เด็กสิ่งสาคัญประการหนึ่ง คือการปลูกฝังเจตคติที่ดีแก่เด็กในการเรียน
คณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยให้เด็กพอใจในการเรียนวิชานี้ รวมทั้งเห็นประโยชน์และคุณค่าจนเกิด
ความสนใจมากขึ้น โดยครูใช้ของจริง หรือสื่อการสอนที่เป็นรูปธรรมนาไปสู่นามธรรมตามลาดับ
จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนาน
บันเทิงไปพร้อมกับการเรียนรู้ด้วยจึงจะสร้างบรรยากาศที่น่าติดตามต่อไปแก่เด็ก ดังนั้นครูผู้สอน
ต้องศึกษาถึงหลักการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ และเน้นย้าข้อปฏิบัติในการเรียนและการเป็นนักคิด
คณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

กระบวนกำรแก้ปัญหำคณิตศำสตร์
         สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2545 : 123-124) ได้กล่าวถึงกระบวนการ
แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไว้ว่า การแก้ปัญหาใด ๆ จะต้องใช้ความคิดซึ่งอาศัยกระบวนการทางสมอง
ประสบการณ์ ความรู้ที่ได้ศึกษามา ความพยายามและการหยั่งรู้ เพื่อจะตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด
ในการแก้ปัญหานั้น องค์ประกอบที่ช่วยในการแก้ปัญหา มีดังนี้
         1. ประสบการณ์ เช่น สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว พื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์
         วิธีการแก้ปัญหาที่คุ้นเคย ลักษณะของโจทย์ปัญหาที่คุ้นเคย อายุ
         2. จิตพิสัย เช่น ความสนใจ ความตั้งใจ ความอดทน ความกระตือรือร้น
ความพยายาม ฯลฯ
         3. สติปัญญา เช่น ความสามารถทางการอ่าน ความสามารถในการให้เหตุผล ความจา
ความสามารถในการคิดคานวณ ความสามารถในการวิเคราะห์ ความสามารถในการมองภาพ 3 มิติ
         การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคาตอบ ปัญหาของคนหนึ่งอาจไม่ใช่
ปัญหาของอีกคนหนึ่ง ในการแก้ปัญหาจะต้องมีการวางแผนการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ การกาหนด
สารสนเทศที่ต้องการเพิ่มเติม มีการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางวิธีการแก้ปัญหาที่
11



หลากหลาย และตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาหาที่เหมาะสม เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป กระบวนการ
แก้ปัญหาที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไป คือ “กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา”
           กระบวนกำรแก้ปัญหำของโพลยำ
           กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (George Polya) ได้มีการเขียนไว้ในหนังสือชื่อ How
to Solve It ในปี ค.ศ.1957 เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากโดยได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกไม่
น้อยกว่า 15 ภาษา กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ
           ขั้นที่ 1 การทาความเข้าใจปัญหา (Understanding the Problem)
           ต้องเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร โจทย์กาหนดอะไรมาให้และเพียงพอสาหรับ
การแก้ปัญหานั้นหรือไม่ สามารถสรุปปัญหาออกมาเป็นภาษาของตนเองได้ ถ้ายังไม่ชัดเจนใน
โจทย์อาจใช้การวาดรูป และแยกแยะสถานการณ์ หรือเงื่อนไขในโจทย์ออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งจะช่วย
ทาให้เข้าใจปัญหามากขึ้น
           ขั้นที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา (Devising a Plan)
           การวางแผนการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่โจทย์ถามกับ
ข้อมูลหรือสิ่งที่โจทย์กาหนดให้ ถ้าหากไม่สามารถหาความสัมพันธ์ได้ ก็ควรอาศัยหลักการของการ
วางแผนแก้ปัญหา ดังนี้
             1) โจทย์ปัญหาลักษณะนี้เคยพบมาก่อนหรือไม่ มีลักษณะคล้ายคลึงกับโจทย์ปัญหาที่
เคยทามาแล้วอย่างไร
             2) เคยพบโจทย์ปัญหาลักษณะนี้เมื่อไร และใช้วิธีการใดแก้ปัญหา
             3) ถ้าอ่านโจทย์ปัญหาครั้งแรกแล้วไม่เข้าใจ ควรอ่านโจทย์ปัญหาอีกครั้งแล้ววิเคราะห์
ความแตกต่างของปัญหานี้กับปัญหาที่เคยทามาก่อน
           ขั้นที่ 3 การดาเนินการตามแผน (Carrying Out the Plan)
           การดาเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้ได้คาตอบของปัญหาด้วยการรู้จักเลือกวิธีการคิด
คานวณ สมบัติ กฎ หรือสูตรที่เหมาะสมมาใช้
           ขั้นที่ 4 การตรวจสอบผล (Looking Back)
           เป็นการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้อง สมบูรณ์โดยการพิจารณา และ
ตรวจดูว่าถูกต้อง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ ตลอดจนกระบวนการในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะ
ใช้วิธีการอีกวิธีหนึ่งตรวจสอบ เพื่อตรวจดูว่าผลลัพธ์ที่ได้ตรงกันหรือไม่ หรืออาจจะใช้
การประมาณค่าของคาตอบอย่างคร่าว ๆ
           สรุปได้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ จะต้องมีการวางแผนการรวบรวมข้อมูล
ต่าง ๆ การกาหนดสารสนเทศที่ต้องการเพิ่มเติม มีการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางวิธีการ
12



แก้ปัญหาที่หลากหลาย และตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาหาที่เหมาะสมเพื่อนาไปสู่ข้อสรุป
กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไป มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ การทา
ความเข้าใจปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา การดาเนินการตามแผน การตรวจสอบผล ซึ่งเป็น
กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา

ควำมหมำยของกำรเรียนกำรสอนบนเว็บ
            บทเรียนออนไลน์ หรือการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ
อินเทอร์เน็ต เรียกอีกอย่างว่า E-Learning ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเว็บไซต์
ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญทางการศึกษาและกลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้
เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่ง
การเรียนรู้อันกว้างใหญ่ รวมทั้งการนาการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วยข้อจากัดทางด้านเวลาและ
สถานที่ มีผู้ให้ความหมายและความสาคัญไว้ดังนี้
            ดริสคอลล์ (Driscoll. 1999 : 37-44) ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตว่า เป็นการใช้ทักษะ หรือความรู้ต่าง ๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ
เป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น
            กิดานันท์ มลิทอง (2543 : 11) กล่าวว่า การเรียนการสอนสื่อบนเครือข่ายเป็นการใช้
เครือข่ายในการเรียนการสอนโดยนาเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมด ตาม
หลักสูตรหรือเพียงใช้เสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก
คุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต มาใช้ประกอบกันเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด
            ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ (2545 : 26-28) ได้ให้ความหมายของ คาว่า E-Learning หรือ
Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้
(Knowledge) ได้โดยไม่จากัดเวลาและสถานที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบ
การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุ
วัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
            พรรณี เกษกมล (2543 : 49-55) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้บนเว็บ (Web-Based Instruction :
WBI) ว่าเป็นวิถีทางของนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อผู้เรียนทางไกลโดยการใช้เว็บ
เป็นสื่อกลางการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่จะทาให้ได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมที่สะดวก
ต่อผู้เรียน การบรรลุถึงซึ่งความสาเร็จของเป้าหมายการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ เฉพาะด้านเป็นสื่อกลาง
13



ในการส่งสาร ในการเรียนการสอนให้ติดต่อถึงกันได้ การเรียนรู้บนเว็บเป็นโปรมแกรมการเรียน
การสอนบนฐานของสื่อที่ได้เชื่อมโยงกันในทางไกลซึ่งได้ประโยชน์จากเหตุผลและทรัพยากรของ
World Wide Web เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความหมายที่สนับสนุนและช่วยให้เกิด
การเรียนรู้บนเว็บได้
            สรรรัชต์ ห่อไพศาล (2544 : 93-104) ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็น
การใช้โปรแกรมสื่อหลายมิติที่อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตและ
เวิลด์วายเว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้สอน
ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
            ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) กล่าวถึงการสอนบนเว็บ (Web-Based
Instruction) ว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียน
การสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจากัดทางด้านสถานที่และ
เวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัด
สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้
อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
            ส่วนแวววลี สิริวรจรรยาดี (2551 : 9) ได้กล่าวว่าบทเรียนออนไลน์ เรียกอีกอย่างว่า
E-Learning หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต โดย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอาไว้บน
เว็บไซต์หรือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จากัดเวลา สถานที่
และระยะทาง
             จากการศึกษาความหมายของบทเรียนออนไลน์ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า บทเรียน
ออนไลน์ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต โดยการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอาไว้บน
เว็บไซต์หรือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จากัดเวลา สถานที่ ครู
อาจารย์ในสถานศึกษาทุกระดับสามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนการ
สอนรวมทั้งฝ่ายบริหาร นักการศึกษาที่จะพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ต่อเยาวชนของชาติ พัฒนาแหล่ง
การเรียนรู้ให้มากขึ้น และให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ให้มากที่สุด ควรจะได้พัฒนาการเรียนรู้
บนเว็บนี้ให้เห็นผลในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นการให้โอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้และประสบการณ์
ใหม่ ๆ สาหรับผู้เรียนทั่วโลกที่จะมีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างทัดเทียมกัน
14



คุณลักษณะของกำรสอนบนเว็บ
            ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสาคัญของเว็บซึ่งเอื้อ
ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่
            1. การที่เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และ
ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน
            2. การที่เว็บสามารถนาเสนอเนื้อหา ในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia)
            3. การที่เว็บเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูล
ได้ทั่วโลก
            4. การที่เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์ (Online Search/Resource)
            5. ความไม่มีข้อจากัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ (Device, Distance and
Time Independent) ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใดก็ได้ ซึ่งต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถเข้า
เรียนจากที่ใดก็ได้ในเวลาใดก็ได้
            6. การที่เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (Learner Controlled) ผู้เรียนสามารถเรียน
ตามความพร้อม ความถนัดและความสนใจของตน
            7. การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self- Contained) ทาให้เราสามารถจัด
กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้
            8. การที่เว็บ อนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบเวลาเดียว (Synchronous
Communication) เช่น Chat และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น Web Board
เป็นต้น
            สรุปได้ว่า คุณลักษณะสาคัญของเว็บซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนนั้น
จะต้องเป็นเว็บที่เปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน
หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน เป็นเว็บที่สามารถนาเสนอเนื้อหา ในรูปแบบของสื่อประสม เป็นเว็บ
ระบบเปิดซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก และอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อ
การสืบค้นออนไลน์ รวมทั้งการไม่มีข้อจากัดทางสถานที่และเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนตามความ
พร้อม ความถนัดและความสนใจของตน การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง ทาให้เราสามารถจัด
กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้ ตลอดจนอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบเวลา
เดียวและต่างเวลากัน ซึ่งในการสร้างเว็บช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องคานึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา
15



ลักษณะสำคัญของ E-Learning
            ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง (2545) ยังได้กล่าวถึงลักษณะสาคัญของ
E-Learning ไว้ว่าในการสร้างบทเรียนให้มีคุณภาพ จะต้องคานึงลักษณะสาคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ เราสามารถที่จะแยกประเด็นลักษณะสาคัญได้ดังนี้
            1. Anywhere, Anytime หมายถึง E-Learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึง
เนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตาม
ความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศไทยควรมีการใช้เทคโนโลยีการนาเสนอเนื้อหา
ที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) และในขณะทีออฟไลน์
                                                                                        ่
(เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย)
            2. Multimedia หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการนาเสนอเนื้อหาโดย ใช้ประโยชน์
จากสื่อประสมเพื่อให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
            3. Non-linear หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการนาเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็น
เชิงเส้นตรง กล่าวคือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย E-Learning จะต้องจัดหา
การเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่น แก่ผู้เรียน
            4. Interaction หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ
(มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้ กล่าวคือ E-Learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่ง
ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียน
สามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้ E-Learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้
ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นกับ
ผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน
            5. Immediate Response หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการออกแบบให้มี
การทดสอบ การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ใน
ลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน หรือแบบทดสอบหลังเรียน ก็ตาม
            สรุปได้ว่า ลักษณะสาคัญของ E-Learning ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและสามารถทาให้
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย การเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนได้โดยไม่จากัด
เวลาและสถานที่ พร้อมทั้งเปิดกว้างให้อิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก ตลอดจนการนาเสนอ
บทเรียนควรมีลักษณะเป็นสื่อมัลติมีเดีย สามารถเรียนรู้ได้ตามสนใจ และมีการประเมินผลโดย
ให้ผลย้อนกลับทันที
16



ข้อดีของกำรสอนบนเว็บ
            ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) ได้กล่าวถึงข้อดีของการสอนบนเว็บไว้ว่า
การเรียนรู้บนเว็บ ถือเป็นความสาเร็จทางวิชาการโดยกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อที่ทันสมัย
เปิดโอกาสให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งมีข้อดี ดังนี้
            1. การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้า
ชั้นเรียนได้เรียนในเวลา และสถานที่ที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทางาน หรือสถานศึกษา
ใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องเดินทาง
มายังสถานศึกษาที่กาหนดไว้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจากัดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่
ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี
            2. การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่
ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาค หรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย
กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่งสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวง หรือในต่างประเทศก็ตาม
            3. การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจาก
เว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหา
ความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้
รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
            4. การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกาแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียนสี่เหลี่ยม
ไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยง สิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบใน
ความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization)
และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism
            5. การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอน ที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็น
แหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลก โดยไม่จากัดภาษา
การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหาของข้อจากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิม จากห้องสมุด อันได้แก่
ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จากัด และเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่
หลากหลายและเป็นจานวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การเชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย
(Hypermedia) ซึ่งทาให้การค้นหาทาได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิม
            6. การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะ
ของเว็บที่เอื้ออานวยให้เกิดการศึกษาในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่
17



ตลอดเวลาโดยไม่จาเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัว อย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทา
กิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ด
หรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกัน
ที่ห้องสนทนา เป็นต้น
             7. การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทาได้
2 รูปแบบ คือ
                 7.1 ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน
                 7.2 ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บ
             ซึ่งลักษณะแรกนี้ จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน
(ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) ส่วนในลักษณะหลังนั้น จะอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัด
หรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้ให้แก่ผู้เรียน
             8. การสอนบนเว็บ ยังเป็นการเปิดโอกาสสาหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ สาขา
ต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถาบัน จากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อ
สอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรง ซึ่งไม่สามารถทาได้ใน
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับ
การติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิม ๆ
             9. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผู้อื่น
อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จากัดเฉพาะเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้น
จึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสาหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผล
งานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเอง นอกจากนี้ ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่น เพื่อนามา
พัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
             10. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้
อย่างสะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ดังนั้นผู้สอนสามารถ
อัพเดตเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและ
แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทาให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียน
การสอนแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสาคัญ
             11. การสอนบนเว็บสามารถนาเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง
เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของ
การนาเสนอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5
Report1 5

Contenu connexe

Tendances

มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
ไชยยา มะณี
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Newแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
Nattayaporn Dokbua
 
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
พิพัฒน์ ตะภา
 
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
Jiraporn Kru
 
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
chaiwat vichianchai
 
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Nattapon
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
Nattapon
 

Tendances (20)

คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรีนน
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรีนนคู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรีนน
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรีนน
 
ระบบประสาท
ระบบประสาทระบบประสาท
ระบบประสาท
 
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Newแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ New
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
รายงานการสังเคราะห์การฝึกพิมพ์สัมผัส ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
รายงานการสังเคราะห์การฝึกพิมพ์สัมผัส ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปรายงานการสังเคราะห์การฝึกพิมพ์สัมผัส ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
รายงานการสังเคราะห์การฝึกพิมพ์สัมผัส ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
 
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
การพัฒนาทักษะการพิมพ์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ 4
 
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
 
Title
TitleTitle
Title
 
บทที่ึ7
บทที่ึ7บทที่ึ7
บทที่ึ7
 
มคอ.3 il156
มคอ.3 il156มคอ.3 il156
มคอ.3 il156
 
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
 
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
 
งานนวัตกรรม Chapter 9
งานนวัตกรรม Chapter 9งานนวัตกรรม Chapter 9
งานนวัตกรรม Chapter 9
 
แผนการเรียนรู้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
แผนการเรียนรู้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)แผนการเรียนรู้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
แผนการเรียนรู้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
 
M3 plan1-4-work4-1
M3 plan1-4-work4-1M3 plan1-4-work4-1
M3 plan1-4-work4-1
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
 

En vedette

โครงงานคณิตศาสตร์ มุม
โครงงานคณิตศาสตร์ มุมโครงงานคณิตศาสตร์ มุม
โครงงานคณิตศาสตร์ มุม
chanaruk
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
Jipss JJ
 
โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
Nomjeab Nook
 

En vedette (7)

คณิตเพิ่ม ม6 เล่ม2 - บทที่ 1
คณิตเพิ่ม ม6 เล่ม2 - บทที่ 1คณิตเพิ่ม ม6 เล่ม2 - บทที่ 1
คณิตเพิ่ม ม6 เล่ม2 - บทที่ 1
 
โครงงาน 5 บท
โครงงาน  5 บทโครงงาน  5 บท
โครงงาน 5 บท
 
โครงงานคิดคล่องว่องไว
โครงงานคิดคล่องว่องไวโครงงานคิดคล่องว่องไว
โครงงานคิดคล่องว่องไว
 
โครงงานคณิตศาสตร์ มุม
โครงงานคณิตศาสตร์ มุมโครงงานคณิตศาสตร์ มุม
โครงงานคณิตศาสตร์ มุม
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
 
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
 

Similaire à Report1 5

รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
Natmol Thedsanabun
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
khuwawa
 
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
Kruanchalee
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
กฤตพร สุดสงวน
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
Panita Wannapiroon Kmutnb
 
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
ฝฝ' ฝน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
dechathon
 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
Nattapon
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
benty2443
 

Similaire à Report1 5 (20)

รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
 
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
 
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ย่อยที่ 4
 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
 
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 

Plus de kruwaeo

แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
kruwaeo
 
Technology
TechnologyTechnology
Technology
kruwaeo
 
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
kruwaeo
 
การใช้งานWordpress
การใช้งานWordpressการใช้งานWordpress
การใช้งานWordpress
kruwaeo
 

Plus de kruwaeo (20)

ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 b
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 bข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 b
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 b
 
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 a
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 aข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 a
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 61 a
 
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 b
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 bข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 b
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 b
 
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 a
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 aข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 a
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 62 a
 
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 d
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 dข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 d
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 d
 
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 c
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 cข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 c
ข้อสอบ O-Net ปี 2553 ไทย วิทย์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน 91 c
 
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92D
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92Dข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92D
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92D
 
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92 c
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92 cข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92 c
ข้อสอบ O-net ปี 2553 สังคม อังกฤษ คณิต 92 c
 
8 นโยบายการศึกษา
8 นโยบายการศึกษา8 นโยบายการศึกษา
8 นโยบายการศึกษา
 
วิทยฐานะเชิงประจักษ์
วิทยฐานะเชิงประจักษ์วิทยฐานะเชิงประจักษ์
วิทยฐานะเชิงประจักษ์
 
ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน ครั้งที่ 1
ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน ครั้งที่ 1ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน ครั้งที่ 1
ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน ครั้งที่ 1
 
แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
แนวทางการออกข้อสอบ Onet ม.3 ปี 56
 
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
 
Technology
TechnologyTechnology
Technology
 
Lesson plans
Lesson plansLesson plans
Lesson plans
 
หลักสูตรแกนกลางสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หลักสูตรแกนกลางสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมหลักสูตรแกนกลางสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หลักสูตรแกนกลางสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
การแต่งภาพด้วยโปรแกรม powerPoint2007
 
Presentwordpess
PresentwordpessPresentwordpess
Presentwordpess
 
การใช้งานWordpress
การใช้งานWordpressการใช้งานWordpress
การใช้งานWordpress
 
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
 

Report1 5

  • 1. บทที่ 1 บทนำ ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 9 มาตรา 63-69 กาหนดให้รัฐมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาโดยให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา และให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและ ทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ส่วนด้าน ผู้เรียนให้มีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรก ที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตลอดจนรัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย (สานักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 : 37-38) ส่วนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตร สถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกาลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และ ทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จาเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็ม
  • 2. 2 ตามศักยภาพ และการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) มุ่งเน้นให้ ผู้เรียนได้สารวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดาเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นสนอง ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท โดยเฉพาะเน้นสื่อที่ผู้เรียนและผู้สอน ใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง (กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้. 2553 : 5-22) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนโฉมโครงสร้างทาง สังคมและเศรษฐกิจของโลกให้เป็นชุมชนแห่งการติดต่อ สื่อสารที่ไร้พรมแดน ด้วยปริมาณข้อมูล จานวนมหาศาลที่ถูกส่งผ่านในแต่ละวัน ได้เอื้อประโยชน์ต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ตลอดจนการพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ทาให้ มีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา ทาให้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่การศึกษาในทุกระดับ สถานศึกษาต่างเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้สอนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ ในโลกภายนอกโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาให้นักการศึกษาหลายคนเกิดความคิดที่จะนา เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้สืบค้น ข้อมูล ใช้ในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปของกระดานข่าว หรือ ทางสื่อสังคม (Social Media) จุดเด่นของการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือการนาเสนอข้อมูลที่สามารถนาเสนอได้ ทั้งข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว และในรูปของเสียง ที่สามารถดึงดูดความสนใจ มีชีวิตชีวา ในด้านการศึกษาก็สามารถแก้ไขข้อจากัดทางด้านเวลาและสนองต่อความต้องการ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี จะเรียนได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับตัวของนักเรียนเอง โดยไม่จากัดเวลา และ สถานที่ ทาให้นักเรียนมีกาลังใจในการเรียน จึงได้รับความนิยมและมีการพัฒนาเผยแพร่ไป อย่างมาก หน่วยงานทางการศึกษาหลายหน่วยงานได้ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน การประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ในการส่งเสริมภาพพจน์ และในลักษณะของการเรียนการสอนโดย ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งผู้เรียนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เทียบเท่าหรือสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนโดยปกติ โดยใช้เวลาเรียนน้อยกว่าและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
  • 3. 3 วิชานั้นๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่หาความรู้ และกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการเรียน การสอนมากขึ้นกว่าเดิม ผู้เรียนสามารถตอบโต้กับคอมพิวเตอร์ได้ ผู้เรียนไม่ต้องกลัวหรืออาย คอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรายัง พัฒนาได้ไม่มากเท่าที่ควรซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิชาคณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรมทาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ช้าและเข้าใจ ได้ยาก เป็นวิชาที่ต้องใช้จินตนาการอย่างมากในการทาความเข้าใจ และจากรายงานผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ ในปีการศึกษา ที่ผ่าน ๆ มาพบว่า ผลการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่น่าพอใจ ซึ่งผลจาก การประเมินคุณภาพนักเรียนดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนมีปัญหา ดังนั้นจึงถือเป็นหน้าที่สาคัญของครูที่จะต้องหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการจัดสภาพการเรียน การสอน เพื่อให้เด็กมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาและเพื่อให้เกิดคุณภาพสูงสุดทางการศึกษา การสร้างบทเรียนออนไลน์ไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดช่องทางการเรียนรู้อีกทางหนึ่ง ให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จากัดเวลา สถานที่ และจานวนครั้ง ดังนั้น จากความสาคัญของคณิตศาสตร์ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตดังกล่าว ทาให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ ซึ่งเป็นนักเรียน ที่ผู้วิจัยสอนอยู่ แล้วทดลองสอนและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนต่อไป ควำมมุ่งหมำยของกำรวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80% 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ สมมติฐำนกำรวิจัย 1. บทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80% 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก
  • 4. 4 ควำมสำคัญของกำรวิจัย 1. ได้บทเรียนออนไลน์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพ สาหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. ได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มากขึ้น 4. นักเรียนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เป็นการส่วนตัวที่บ้านสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ สามารถเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ 5. เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน ในการสร้างสื่อประเภท บทเรียนออนไลน์ หรือ E-Learning อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็น ภาษาไทยเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ต่อไป 6. เป็นการสร้างคุณภาพที่ดีต่อระบบการศึกษา โดยนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้นักเรียนก้าวทันต่อความก้าวหน้าของโลก ยุคดิจิตอล ขอบเขตของกำรวิจัย 1. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง ประชำกร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จานวน 2 ห้องเรียน ปีการศึกษา 2554 จานวน 40 คน กลุ่มตัวอย่ำง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ อาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2554 จานวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม 2. ตัวแปรที่ศึกษำ 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ 2.1.1 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส 2.2 ตัวแปรตำม คือ 2.2.1 ประสิทธิ์ภาพของบทเรียนออนไลน์ 2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2.2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์
  • 5. 5 3. ระยะเวลำในกำรทำวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เวลาในการทดลอง จานวน 16 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 (1 พฤศจิกายน - 16 ธันวาคม 2554) 4. เนื้อหำ เนื้อหาที่ใช้ในบทเรียนออนไลน์เป็นเนื้อหาความรู้เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยแบ่ง หน่วยการเรียนรู้ออกเป็น 3 หน่วย ดังนี้ หน่วยที่ 1 ความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยม หน่วยที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หน่วยที่ 3 บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส นิยำมศัพท์เฉพำะอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ที่ http://youtachai.wordpress.com ที่ บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) หมายถึง บทเรียนออนไลน์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนสามารถเรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่มีระบบอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นสื่อมัลติมีเดีย ประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและ ข้อความต่างๆ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะสองทาง ผู้เรียนทราบผลการเรียนได้ทันที ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ซึ่งวัดได้จากการทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทฤษฎี บทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์ เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 1 ฉบับ มี 30 ข้อ ประสิทธิภำพของบทเรียนออนไลน์ หมายถึง ความสามารถของบทเรียนในการสร้าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ที่คาดหวังไว้ เกณฑ์ 80% หมายถึง ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่คาดหวังไว้ โดยพิจารณา จากค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยอัตราส่วนของคะแนนแบบฝึกหัดกับค่าเฉลี่ยอัตราส่วนของคะแนน แบบทดสอบคิดเป็นร้อยละ
  • 6. 6 บทที่ 2 เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นาเสนอตาม หัวข้อต่อไปนี้ 1. ความสาคัญของคณิตศาสตร์ 2. หลักการสอนคณิตศาสตร์ 3. กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 4. ความหมายของการเรียนการสอนบนเว็บ 5. คุณลักษณะของการสอนบนเว็บ 6. ลักษณะสาคัญของ E-Learning 7. ข้อดีของการสอนบนเว็บ 8. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา 9. ประโยชน์ของ E-Learning 10. หลักทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 11. ส่วนประกอบในการจัดทาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 12. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ 12.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ ควำมสำคัญของคณิตศำสตร์ คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 1)
  • 7. 7 หลักกำรสอนคณิตศำสตร์ การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ครูผู้สอนจะต้องรู้ หลักการสอนซึ่งเป็นธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ที่ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องให้มีความสมดุลระหว่างสาระ ด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ได้แก่การทางานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ส่วนในการวัด และประเมินผลด้านทักษะและกระบวนการ สามารถประเมินในระหว่างการเรียนการสอน หรือ ประเมินไปพร้อมกับการประเมินความรู้(สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551 : 2) บุญทัน อยู่ชมบุญ (2539 : 24-25) ได้สรุปหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้ 1. สอนโดยคานึงถึงความพร้อมของเด็ก คือ พร้อมในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และความพร้อมในแง่ความรู้พื้นฐานที่มาต่อเนื่องกับความรู้ใหม่ โดยครูจะต้องมีการทบทวนความรู้ เดิมก่อน เพื่อให้ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ต่อเนื่องกัน จะช่วยให้นักเรียนเกิดความ เข้าใจมองเห็นความสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนได้ดี 2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจและความสามารถของเด็ก เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง 3. ควรคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ครู จาเป็นต้องคานึงถึงให้มากกว่าวิชาอื่น ๆ ในแง่ความสามารถทางสติปัญญา การเตรียมความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้จะช่วยให้ นักเรียนมีความพร้อมตามวัยและความสามารถของแต่ละคน 4. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีระบบต้องเรียนไปตามลาดับขั้นการสอน เพื่อสร้างความคิด ความเข้าใจในระยะเริ่มแรกจะต้องเป็นประสบการณ์ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องและทาให้ เกิดความสับสน จะต้องไม่นาเข้ามาในกระบวนการเรียนการสอนการสอนจึงจะเป็นไปตามลาดับ ขั้นที่วางไว้ 5. การสอนแต่ละครั้งจะต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอนว่า จัดกิจกรรมเพื่อสนองจุดประสงค์ อะไร 6. เวลาที่ใช้ในการสอนควรจะใช้ระยะเวลาพอสมควรไม่นานเกินไป 7. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการยืดหยุ่นได้ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกทา กิจกรรมตามความพอใจตามความถนัดของตนและให้อิสระในการทางานแก่เด็กสิ่งสาคัญประการ
  • 8. 8 หนึ่ง คือการปลูกฝังเจตคติที่ดีแก่เด็กในการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยให้เด็กพอใจในการเรียน วิชานี้ รวมทั้งเห็นประโยชน์และคุณค่าจนเกิดความสนใจมากขึ้น 8. การสอนที่ดีควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการวางแผนร่วมกันกับครู เพราะจะช่วยให้ ครูเกิดความมั่นใจในการสอนและเป็นไปตามความพอใจของเด็ก 9. การสอนคณิตศาสตร์ที่ดีควรให้เด็กมีโอกาสทางานร่วมกันหรือมีส่วนร่วมใน การค้นคว้า สรุปกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองกับเพื่อน ๆ 10. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกับการเรียนรู้ด้วย จึงจะสร้างบรรยากาศที่น่าติดตามต่อไปแก่เด็ก 11. นักเรียนจะเรียนได้อีกเมื่อเริ่มเรียนโดยครูใช้ของจริง อุปกรณ์จึงเป็นรูปธรรมนาไปสู่ นามธรรมตามลาดับ จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่จาดังเช่นการสอนในอดีตที่ผ่าน มา ทาให้เห็นว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ 12. การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนการสอน ครูอาจใช้วิธีการสังเกต การตรวจแบบฝึกหัด การสอบถาม เป็นเครื่องมือใน การวัดผล จะช่วยให้ครูทราบข้อบกพร่องของนักเรียนและการสอนของตน 13. ไม่ควรจากัดวิธีคิดคานวณหาคาตอบของเด็ก แต่ควรแนะวิธีคิดที่เร็วและแม่นยาใน ภายหลัง 14. ฝึกให้เด็กรู้จักตรวจคาตอบด้วยตนเอง นอกจากนั้นแล้ว สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545 : 18-19) ยังได้ กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้บรรลุผลนั้น ควรมีจิตวิทยาการสอนดังนี้ 1. ดูความพร้อม ก่อนจะสอนเรื่องใดก็ตามต้องดูความพร้อมตามวัยและวุฒิภาวะของ เด็กว่าในวัยเช่นนี้ควรจะเรียนรู้เรื่องอะไรได้บ้าง 2. ล้อมด้วยประสบการณ์ หมายถึง ในการสอนคณิตศาสตร์ควรใช้สิ่งที่นักเรียนเคยรู้จัก เคยเห็นมาประกอบเป็นตัวอย่างหรือโจทย์ เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพ และเชื่อมโยงความรู้ได้ง่าย ๆ เช่น โรงเรียนในชนบท ครูใช้โจทย์ตัวอย่างว่า “เรือดาน้าลาหนึ่ง บรรทุกขีปนาวุธ 8 ลูก ยิงออกไป 3 ลูก เหลือขีปนาวุธกี่ลูก” ความจริงเป็นโจทย์ง่าย ๆ แต่ใช้คาที่นักเรียนอาจจะไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น เช่น ขีปนาวุธ เรือดาน้า ก็อาจจะทาให้เด็กงงได้ ถ้าเปลี่ยนโจทย์เป็น “เลี้ยงไก่ไว้ 8 ตัว ขายไป 3 ตัว เหลือไก่กี่ตัว” จะเห็นว่าง่ายกว่า เด็กก็นึกภาพออก 3. สืบสานจากสิ่งง่าย คือให้สอนจากสิ่งที่ง่าย ๆ เริ่มจากตัวอย่างง่าย ๆ ก่อนแล้วจึง ค่อย ๆ เพิ่มความยากไปทีละน้อย
  • 9. 9 4. ให้เข้าใจหลักการ จะสอนเนื้อหาใดควรให้นักเรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้ รู้ความเป็นมาของเรื่องนั้น เช่น สอนเรื่องการคูณ ก็ต้องให้รู้ว่าการคูณคืออะไร เช่น 3  2 = 6 เขียนเป็นสัญลักษณ์การบวกได้อย่างไร (2+2+2 = 6) 5. เชี่ยวชาญด้วยการฝึก วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะเมื่อสอนหลักการและรู้วิธีการ แล้ว ต้องให้นักเรียนฝึกจากแบบฝึกหัดในบทเรียนหรือจะสร้างแบบฝึกเพิ่มเติมอีกก็ได้ 6. สานึกในความเป็นครู ต้องมีวิญญาณครู รักที่จะสอน รักในอาชีพ รักและเมตตาต่อ ศิษย์ทุกคน 7. รู้ถึงความแตกต่าง ต้องรู้จักเด็ก รู้ความแตกต่างของเด็กว่าคนไหนเก่งหรืออ่อนเพื่อจะ เลือกสอนได้ง่ายขึ้น 8. ทุกอย่างต้องให้กาลังใจ การให้กาลังใจแบบง่าย ๆ เช่น การให้คาชมเชย การยกย่องในชั้นเรียน ฯลฯ นอกจากครูผู้สอนจาเป็นต้องรู้หลักการสอนแล้วในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน จะต้องเน้นย้าให้นักเรียนปฏิบัติตามข้อตกลงเบื้องต้นในการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนี้ (สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. 2545 : 19-20) 1. การบวกลบ พื้นฐานต้องแม่นยา และรวดเร็ว 2. สูตรคูณต้องแม่นยา 3. ฝึก ย้า ซ้า ทวน อยู่เสมอ 4. จาเทคนิคการคิดเลขเร็ว และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง การที่จะเป็นนักคิดคณิตศาสตร์ได้นั้น สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545 : 20) ได้เสนอแนะหนทางสู่การเป็นนักคิดคณิต ไว้ดังนี้ 1. ฝึกฝนอยู่เป็นนิจ คณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะต้องมีการฝึกหัดและทบทวนอยู่เสมอ จึงจะเกิดความชานาญ 2. ชอบคิดขี้สงสัย ชอบคิดปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือปัญหาที่ท้าทายเมื่อคิดไม่ได้ จริง ๆ ต้องพยายามแสวงหาคาตอบโดยการถามผู้รู้ 3. สนใจสมการ พื้นฐานที่สาคัญในการคิดอย่างหนึ่งคือสมการ เพราะปัญหาบางปัญหา อาจแก้หรือคิดได้โดยง่าย ถ้าใช้สมการช่วยในการคิด 4. เชี่ยวชาญกลเม็ด ต้องมีเทคนิควิธีคิดอย่างหลากหลาย 5. มีทีเด็ดสูตรคูณ ต้องมีความแม่นยาเกี่ยวกับสูตรคูณ และต้องสามารถใช้ได้ อย่างรวดเร็วถูกต้อง อย่างน้อยต้องถึงแม่ 12 6. เพิ่มพูนวิทยาการ หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
  • 10. 10 7. คูณหารอย่าให้พลาด ต้องมีทักษะในคิดคานวณ 8. เฉียบขาดเรื่องพื้นฐาน ต้องมีความรู้พื้นฐานง่าย ๆ เช่น ค.ร.น. ห.ร.ม. พื้นที่ รูปเรขาคณิตต่าง ๆ ปริมาตรรูปทรงต่าง ๆ ฯลฯ จากธรรมชาติและความสาคัญ ตลอดจนหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าหลักสูตรคณิตศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมด้านการคิดอย่างมีเหตุมีผลและ เน้นพฤติกรรมด้านความรู้สึกเป็นจุดมุ่งหมายที่สาคัญ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มี การยืดหยุ่นได้ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกทากิจกรรมตามความพอใจตามความถนัดของตนและ ให้อิสระในการทางานแก่เด็กสิ่งสาคัญประการหนึ่ง คือการปลูกฝังเจตคติที่ดีแก่เด็กในการเรียน คณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยให้เด็กพอใจในการเรียนวิชานี้ รวมทั้งเห็นประโยชน์และคุณค่าจนเกิด ความสนใจมากขึ้น โดยครูใช้ของจริง หรือสื่อการสอนที่เป็นรูปธรรมนาไปสู่นามธรรมตามลาดับ จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนาน บันเทิงไปพร้อมกับการเรียนรู้ด้วยจึงจะสร้างบรรยากาศที่น่าติดตามต่อไปแก่เด็ก ดังนั้นครูผู้สอน ต้องศึกษาถึงหลักการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ และเน้นย้าข้อปฏิบัติในการเรียนและการเป็นนักคิด คณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ กระบวนกำรแก้ปัญหำคณิตศำสตร์ สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2545 : 123-124) ได้กล่าวถึงกระบวนการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไว้ว่า การแก้ปัญหาใด ๆ จะต้องใช้ความคิดซึ่งอาศัยกระบวนการทางสมอง ประสบการณ์ ความรู้ที่ได้ศึกษามา ความพยายามและการหยั่งรู้ เพื่อจะตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด ในการแก้ปัญหานั้น องค์ประกอบที่ช่วยในการแก้ปัญหา มีดังนี้ 1. ประสบการณ์ เช่น สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว พื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิธีการแก้ปัญหาที่คุ้นเคย ลักษณะของโจทย์ปัญหาที่คุ้นเคย อายุ 2. จิตพิสัย เช่น ความสนใจ ความตั้งใจ ความอดทน ความกระตือรือร้น ความพยายาม ฯลฯ 3. สติปัญญา เช่น ความสามารถทางการอ่าน ความสามารถในการให้เหตุผล ความจา ความสามารถในการคิดคานวณ ความสามารถในการวิเคราะห์ ความสามารถในการมองภาพ 3 มิติ การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคาตอบ ปัญหาของคนหนึ่งอาจไม่ใช่ ปัญหาของอีกคนหนึ่ง ในการแก้ปัญหาจะต้องมีการวางแผนการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ การกาหนด สารสนเทศที่ต้องการเพิ่มเติม มีการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางวิธีการแก้ปัญหาที่
  • 11. 11 หลากหลาย และตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาหาที่เหมาะสม เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป กระบวนการ แก้ปัญหาที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไป คือ “กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา” กระบวนกำรแก้ปัญหำของโพลยำ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (George Polya) ได้มีการเขียนไว้ในหนังสือชื่อ How to Solve It ในปี ค.ศ.1957 เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากโดยได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ น้อยกว่า 15 ภาษา กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การทาความเข้าใจปัญหา (Understanding the Problem) ต้องเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร โจทย์กาหนดอะไรมาให้และเพียงพอสาหรับ การแก้ปัญหานั้นหรือไม่ สามารถสรุปปัญหาออกมาเป็นภาษาของตนเองได้ ถ้ายังไม่ชัดเจนใน โจทย์อาจใช้การวาดรูป และแยกแยะสถานการณ์ หรือเงื่อนไขในโจทย์ออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งจะช่วย ทาให้เข้าใจปัญหามากขึ้น ขั้นที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา (Devising a Plan) การวางแผนการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่โจทย์ถามกับ ข้อมูลหรือสิ่งที่โจทย์กาหนดให้ ถ้าหากไม่สามารถหาความสัมพันธ์ได้ ก็ควรอาศัยหลักการของการ วางแผนแก้ปัญหา ดังนี้ 1) โจทย์ปัญหาลักษณะนี้เคยพบมาก่อนหรือไม่ มีลักษณะคล้ายคลึงกับโจทย์ปัญหาที่ เคยทามาแล้วอย่างไร 2) เคยพบโจทย์ปัญหาลักษณะนี้เมื่อไร และใช้วิธีการใดแก้ปัญหา 3) ถ้าอ่านโจทย์ปัญหาครั้งแรกแล้วไม่เข้าใจ ควรอ่านโจทย์ปัญหาอีกครั้งแล้ววิเคราะห์ ความแตกต่างของปัญหานี้กับปัญหาที่เคยทามาก่อน ขั้นที่ 3 การดาเนินการตามแผน (Carrying Out the Plan) การดาเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้ได้คาตอบของปัญหาด้วยการรู้จักเลือกวิธีการคิด คานวณ สมบัติ กฎ หรือสูตรที่เหมาะสมมาใช้ ขั้นที่ 4 การตรวจสอบผล (Looking Back) เป็นการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้อง สมบูรณ์โดยการพิจารณา และ ตรวจดูว่าถูกต้อง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ ตลอดจนกระบวนการในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะ ใช้วิธีการอีกวิธีหนึ่งตรวจสอบ เพื่อตรวจดูว่าผลลัพธ์ที่ได้ตรงกันหรือไม่ หรืออาจจะใช้ การประมาณค่าของคาตอบอย่างคร่าว ๆ สรุปได้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ จะต้องมีการวางแผนการรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ การกาหนดสารสนเทศที่ต้องการเพิ่มเติม มีการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางวิธีการ
  • 12. 12 แก้ปัญหาที่หลากหลาย และตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาหาที่เหมาะสมเพื่อนาไปสู่ข้อสรุป กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไป มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ การทา ความเข้าใจปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา การดาเนินการตามแผน การตรวจสอบผล ซึ่งเป็น กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ควำมหมำยของกำรเรียนกำรสอนบนเว็บ บทเรียนออนไลน์ หรือการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ต เรียกอีกอย่างว่า E-Learning ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเว็บไซต์ ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญทางการศึกษาและกลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้ เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่ง การเรียนรู้อันกว้างใหญ่ รวมทั้งการนาการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วยข้อจากัดทางด้านเวลาและ สถานที่ มีผู้ให้ความหมายและความสาคัญไว้ดังนี้ ดริสคอลล์ (Driscoll. 1999 : 37-44) ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ตว่า เป็นการใช้ทักษะ หรือความรู้ต่าง ๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น กิดานันท์ มลิทอง (2543 : 11) กล่าวว่า การเรียนการสอนสื่อบนเครือข่ายเป็นการใช้ เครือข่ายในการเรียนการสอนโดยนาเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมด ตาม หลักสูตรหรือเพียงใช้เสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก คุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต มาใช้ประกอบกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ (2545 : 26-28) ได้ให้ความหมายของ คาว่า E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (Knowledge) ได้โดยไม่จากัดเวลาและสถานที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบ การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ พรรณี เกษกมล (2543 : 49-55) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้บนเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) ว่าเป็นวิถีทางของนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อผู้เรียนทางไกลโดยการใช้เว็บ เป็นสื่อกลางการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่จะทาให้ได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมที่สะดวก ต่อผู้เรียน การบรรลุถึงซึ่งความสาเร็จของเป้าหมายการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ เฉพาะด้านเป็นสื่อกลาง
  • 13. 13 ในการส่งสาร ในการเรียนการสอนให้ติดต่อถึงกันได้ การเรียนรู้บนเว็บเป็นโปรมแกรมการเรียน การสอนบนฐานของสื่อที่ได้เชื่อมโยงกันในทางไกลซึ่งได้ประโยชน์จากเหตุผลและทรัพยากรของ World Wide Web เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความหมายที่สนับสนุนและช่วยให้เกิด การเรียนรู้บนเว็บได้ สรรรัชต์ ห่อไพศาล (2544 : 93-104) ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็น การใช้โปรแกรมสื่อหลายมิติที่อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตและ เวิลด์วายเว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้สอน ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) กล่าวถึงการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียน การสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจากัดทางด้านสถานที่และ เวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัด สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้ อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้ ส่วนแวววลี สิริวรจรรยาดี (2551 : 9) ได้กล่าวว่าบทเรียนออนไลน์ เรียกอีกอย่างว่า E-Learning หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต โดย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอาไว้บน เว็บไซต์หรือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จากัดเวลา สถานที่ และระยะทาง จากการศึกษาความหมายของบทเรียนออนไลน์ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า บทเรียน ออนไลน์ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต โดยการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เอาไว้บน เว็บไซต์หรือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จากัดเวลา สถานที่ ครู อาจารย์ในสถานศึกษาทุกระดับสามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนการ สอนรวมทั้งฝ่ายบริหาร นักการศึกษาที่จะพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ต่อเยาวชนของชาติ พัฒนาแหล่ง การเรียนรู้ให้มากขึ้น และให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ให้มากที่สุด ควรจะได้พัฒนาการเรียนรู้ บนเว็บนี้ให้เห็นผลในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นการให้โอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้และประสบการณ์ ใหม่ ๆ สาหรับผู้เรียนทั่วโลกที่จะมีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างทัดเทียมกัน
  • 14. 14 คุณลักษณะของกำรสอนบนเว็บ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสาคัญของเว็บซึ่งเอื้อ ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่ 1. การที่เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และ ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน 2. การที่เว็บสามารถนาเสนอเนื้อหา ในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) 3. การที่เว็บเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูล ได้ทั่วโลก 4. การที่เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์ (Online Search/Resource) 5. ความไม่มีข้อจากัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ (Device, Distance and Time Independent) ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใดก็ได้ ซึ่งต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถเข้า เรียนจากที่ใดก็ได้ในเวลาใดก็ได้ 6. การที่เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (Learner Controlled) ผู้เรียนสามารถเรียน ตามความพร้อม ความถนัดและความสนใจของตน 7. การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self- Contained) ทาให้เราสามารถจัด กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้ 8. การที่เว็บ อนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบเวลาเดียว (Synchronous Communication) เช่น Chat และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น Web Board เป็นต้น สรุปได้ว่า คุณลักษณะสาคัญของเว็บซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนนั้น จะต้องเป็นเว็บที่เปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน เป็นเว็บที่สามารถนาเสนอเนื้อหา ในรูปแบบของสื่อประสม เป็นเว็บ ระบบเปิดซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก และอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อ การสืบค้นออนไลน์ รวมทั้งการไม่มีข้อจากัดทางสถานที่และเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนตามความ พร้อม ความถนัดและความสนใจของตน การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง ทาให้เราสามารถจัด กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้ ตลอดจนอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบเวลา เดียวและต่างเวลากัน ซึ่งในการสร้างเว็บช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องคานึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา
  • 15. 15 ลักษณะสำคัญของ E-Learning ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง (2545) ยังได้กล่าวถึงลักษณะสาคัญของ E-Learning ไว้ว่าในการสร้างบทเรียนให้มีคุณภาพ จะต้องคานึงลักษณะสาคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ เราสามารถที่จะแยกประเด็นลักษณะสาคัญได้ดังนี้ 1. Anywhere, Anytime หมายถึง E-Learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึง เนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตาม ความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศไทยควรมีการใช้เทคโนโลยีการนาเสนอเนื้อหา ที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) และในขณะทีออฟไลน์ ่ (เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) 2. Multimedia หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการนาเสนอเนื้อหาโดย ใช้ประโยชน์ จากสื่อประสมเพื่อให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น 3. Non-linear หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการนาเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็น เชิงเส้นตรง กล่าวคือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย E-Learning จะต้องจัดหา การเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่น แก่ผู้เรียน 4. Interaction หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้ กล่าวคือ E-Learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่ง ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียน สามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้ E-Learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นกับ ผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน 5. Immediate Response หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการออกแบบให้มี การทดสอบ การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ใน ลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน หรือแบบทดสอบหลังเรียน ก็ตาม สรุปได้ว่า ลักษณะสาคัญของ E-Learning ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและสามารถทาให้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย การเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนได้โดยไม่จากัด เวลาและสถานที่ พร้อมทั้งเปิดกว้างให้อิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก ตลอดจนการนาเสนอ บทเรียนควรมีลักษณะเป็นสื่อมัลติมีเดีย สามารถเรียนรู้ได้ตามสนใจ และมีการประเมินผลโดย ให้ผลย้อนกลับทันที
  • 16. 16 ข้อดีของกำรสอนบนเว็บ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) ได้กล่าวถึงข้อดีของการสอนบนเว็บไว้ว่า การเรียนรู้บนเว็บ ถือเป็นความสาเร็จทางวิชาการโดยกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อที่ทันสมัย เปิดโอกาสให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งมีข้อดี ดังนี้ 1. การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้า ชั้นเรียนได้เรียนในเวลา และสถานที่ที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทางาน หรือสถานศึกษา ใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องเดินทาง มายังสถานศึกษาที่กาหนดไว้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจากัดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี 2. การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาค หรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่งสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวง หรือในต่างประเทศก็ตาม 3. การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจาก เว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหา ความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 4. การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกาแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียนสี่เหลี่ยม ไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยง สิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบใน ความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism 5. การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอน ที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็น แหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลก โดยไม่จากัดภาษา การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหาของข้อจากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิม จากห้องสมุด อันได้แก่ ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จากัด และเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่ หลากหลายและเป็นจานวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การเชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ซึ่งทาให้การค้นหาทาได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิม 6. การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะ ของเว็บที่เอื้ออานวยให้เกิดการศึกษาในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่
  • 17. 17 ตลอดเวลาโดยไม่จาเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัว อย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทา กิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ด หรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกัน ที่ห้องสนทนา เป็นต้น 7. การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทาได้ 2 รูปแบบ คือ 7.1 ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน 7.2 ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บ ซึ่งลักษณะแรกนี้ จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน (ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) ส่วนในลักษณะหลังนั้น จะอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้ให้แก่ผู้เรียน 8. การสอนบนเว็บ ยังเป็นการเปิดโอกาสสาหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ สาขา ต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถาบัน จากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อ สอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรง ซึ่งไม่สามารถทาได้ใน การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับ การติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิม ๆ 9. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผู้อื่น อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จากัดเฉพาะเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้น จึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสาหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผล งานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเอง นอกจากนี้ ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่น เพื่อนามา พัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 10. การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้ อย่างสะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ดังนั้นผู้สอนสามารถ อัพเดตเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและ แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทาให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียน การสอนแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสาคัญ 11. การสอนบนเว็บสามารถนาเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของ การนาเสนอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน