SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  21
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ทักษะการอ่านภาษาไทย
การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำาเป็นต้องฝึกฝนอยู่
เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและ
ประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิต
ประจำาวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำาคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับ
ความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
ดังคำากล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธี
ชาวอังกฤษที่ว่า “ ”การอ่านทำาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
1. ความหมายของการอ่าน
การอ่าน คือ พฤติกรรมการรับสารที่สำาคัญไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่าการฟัง โดยแบ่งเป็น การอ่านในใจ และการอ่านออกเสียง
การอ่านในใจ หมายถึง การกวาดสายตาไปตามตัวอักษร
เพื่อติดตามเนื้อหาและเก็บใจความสำาคัญ ส่วนการอ่านออกเสียง
คือ การเปล่งเสียงตามตัวอักษรที่ได้อ่าน และถือเป็นการส่งสาร
ประการหนึ่ง เช่น การอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง
การอ่านเป็นหนึ่งในทักษะของการสื่อสารที่สามารถพัฒนา
ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นได้ ในระดับต้น ผู้อ่านอาจจะเริ่มจาก
การอ่านได้อย่างถูกต้องเมื่อออกเสียง และทำาความเข้าใจได้ ตอบ
คำาถามได้ แต่หลังจากที่ผ่านการฝึกฝนแล้ว ผู้อ่านควรจะอ่านได้
เร็วขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลงทั้งในการออกเสียง หรือการจับใจ
ความเพื่อตอบคำาถาม อย่างไรก็ดี เมื่อผู้อ่านพัฒนาขีดความ
สามารถจนถึงขั้นสูงจะสามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองว่าเนื้อหา
ใดสมควรอ่าน หรือสมควรเชื่อ เรียกอีกอย่างว่า การอ่านอย่างมี
วิจารณญาณ ในขั้นนี้ ผู้อ่านจะเข้าใจความหมายทั้งโดยตรง และ
โดยแฝงจากเรื่องที่อ่าน ตลอดจนสามารถเก็บสาระ ใจความมา
ทำาความเข้าใจ จนกระทั่งเกิดแง่คิดจากเรื่องที่อ่านได้
2. ความสำาคัญของการอ่าน
ไม่ว่าจะเป็นความรู้ หรือความบันเทิงใดๆ ในโลกปัจจุบัน มัก
อาศัยตัวอักษรและหนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอด เนื่องจากมีความ
คงทนถาวร และเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น หากต้องการที่จะ
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
เข้าถึงวิทยาการต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องมีความสามารถในการอ่าน
เพื่อประโยชน์ในการดำารงชีวิต และการพัฒนาตนเอง
การอ่านเป็นรากฐานที่สำาคัญของการพัฒนาทักษะการสื่อสา
รอื่นๆ ด้วย ทั้งการเขียน และการพูด เนื่องจากการอ่านเป็นวิธีที่
ช่วยให้คนได้สะสมข้อมูลความรู้ต่างๆ เมื่ออ่านมาก จะมีความ
รู้มาก สามารถถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่ผู้อื่นได้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง
การพูดและการเขียน
ยิ่งในโลกปัจจุบัน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร
ผู้มีความสามารถทางการอ่านย่อมตักตวงประโยชน์จากการอ่าน
ได้มากกว่าบุคคลอื่นที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือไม่ชอบอ่าน
3. จุดประสงค์ของการอ่าน
ในการอ่านนั้น บุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง
คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน
โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ
1) การอ่านเพื่อความรู้ คือ การอ่านที่มุ่งเก็บสาระสำาคัญ
จากเรื่องที่อ่านเพื่อนำาไปใช้ประโยชน์ เช่น การอ่านหนังสือ
ประเภทตำารา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ
เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง
การอ่านเพื่อความรอบรู้จึงเป็นการอ่านที่จำาเป็นที่สุด เพราะ
ความรู้ต่าง ๆ มีการ
เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ จึงมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้า
เพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของข้อความรู้ต่าง ๆ ที่อาจมิได้
ปรากฏชัดเจนในตำารา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทอื่น แม้ใน
หนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิง
เสมอ
2) การอ่านเพื่อความคิด แนวความคิดทางปรัชญา
วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ใน
หนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือ
จริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น อาจกลาย
เป็นแนวทางความคิดของตนเองและสามารถนำามาเป็นแนวปฏิบัติ
ในการดำาเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำาความคิดที่ได้
อ่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางเรื่อง ผู้อ่านอาจเสนอความคิด
โดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิดผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้
อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำานอง
คลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุด แต่ผู้อ่านที่ขาด
วิจารณญาณ อาจเห็นว่าเรื่อง ลิลิตพระลอ เป็นเรื่องจูงใจให้คน
ทำาความผิด ซึ่งนับว่าขาดประโยชน์ที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดาย
การอ่านงานบันเทิงคดีประเภทนี้จึงต้องอาศัยวิจารณญาณ
และประสบการณ์ในชีวิตมาประกอบการคิดเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
ของการตีความที่ผิดพลาด อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเนื้อเรื่อง และ
มุมมองที่ได้รับจากเรื่องที่อ่านของคนแต่ละช่วงวัยนั้นไม่เหมือนกัน
สำาหรับผู้อ่านที่มีประสบการณ์น้อยจึงจำาเป็นต้องได้รับการแนะนำา
อย่างถูกต้องหลังจากการอ่าน และเพื่อพัฒนาไปสู่ความสามารถ
ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือประเมินคุณค่าในเรื่องที่อ่านได้อย่าง
เหมาะสม
3) การอ่านเพื่อความบันเทิง เป็นการอ่านเพื่อพักผ่อน
หย่อนใจให้เกิดความเพลิดเพลิน เช่น การอ่านงานบันเทิงคดีใน
เวลาว่าง หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภท
นี้มีจำานวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดี เป็นต้น
จุดประสงค์ในการอ่านทั้ง 3 ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ใน
การอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำาเป็นต้องแยกจากกันอย่าง
ชัดเจน
การประเมินความสามารถในการอ่าน
ทั้งการอ่านออกเสียง และการอ่านในใจ ล้วนมีเกณฑ์ที่
กำาหนดขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถทางการอ่านด้วย
เช่นกัน
สำาหรับการอ่านออกเสียงที่มีประสิทธิภาพ คือ ความสามารถ
ในการอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ไม่ติดขัด เป็นจังหวะที่เหมาะ
สม โดยเฉพาะการอ่านงานที่มีลักษณะบังคับ เช่น ร้อยกรอง
ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และราบรื่นนั้น
ต้องมีความจำาดี กวาดสายตาได้อย่างรวดเร็ว และมีนำ้าเสียงที่น่า
ฟัง
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ส่วนการอ่านในใจนั้น จะเน้นความสามารถในการเก็บ
ใจความ ความเร็วในการอ่าน การคิดวิเคราะห์จากเรื่องที่ได้อ่าน
ระดับความสามารถในการอ่านจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
ความพยายามในการฝึกฝน อย่างไรก็ดี มักมีปัญหาเกิดขึ้นหลัง
จากการฝึกฝนผ่านไประยะหนึ่ง เช่น เกิดความเบื่อหน่าย
อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหา คือ การสร้างความเข้าใจ และความ
ตระหนักให้แก่ผู้อ่านได้เห็นความสำาคัญ ความจำาเป็น หรือ
ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการอ่าน
ออกเสียง ที่จะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธาในตัวผู้อ่าน
หรือแม้แต่ประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับกับตัวเอง เมื่อต้องดำารงชีวิต
อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารเช่นปัจจุบัน
วิจารณญาณกับการอ่าน
เมื่อต้องอ่านหรือรับรู้ข่าวสารที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งอาจจะ
มีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง และบิดเบือน แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม คือ
การใช้วิจารณญาณในการอ่าน
วิจารณญาณ หมายถึง การคิด วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้
หรือความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ได้อ่าน ก่อนตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือ
ไม่ ซึ่งปัจจุบันจะพบว่ามีบุคคลจำานวนมากที่เคยตกเป็นเหยื่อของ
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะโลกปัจจุบันมี
การแข่งขันกันสูง จึงต้องมีการนำาเสนอข้อมูลด้วยความรวดเร็ว
ความน่าสนใจ หรือความน่าเชื่อถือ ซึ่งในบางกรณี การนำาเสนอ
ด้วยความรวดเร็วอาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ เช่น การนำา
เสนอข่าว ในแง่ของ
การสร้างความน่าสนใจหรือความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคสื่อก็
เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากโฆษณาต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอันน่า
สนใจเพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือและตัดสินใจซื้อ
หรือใช้บริการ ซึ่งในบางครั้ง สินค้าหรือบริการที่โฆษณาเหล่านั้น
ก็ไม่ได้มีคุณภาพดีเท่าที่กล่าวอ้าง
นอกจากนี้ การอ่านงานวิชาการ หรืองานสารคดี ก็จำาเป็น
ต้องอาศัยวิจารณญาณ เช่นเดียวกัน เนื่องจากมุมมองของข้อมูล
ทางวิชาการ เช่น ตำารา หรือบทความ อาจมีความแตกต่างหรือ
เปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของบุคคลหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้น
ดังนั้น นักอ่านที่ดี ต้องไม่ปักใจเชื่อสิ่งใดที่อ่านเพียงแค่ครั้งแรก
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ของการรับสาร แต่ต้องมีการทบทวน ค้นคว้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้
เกิดมุมมองที่หลากหลาย แล้วจึงตัดสินใจด้วยทัศนะของตนเองว่า
จะเลือกเชื่ออย่างไร สิ่งที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้อ่านไม่
จำาเป็นต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ตามเพียงอย่างเดียว ในบางเรื่องเมื่อ
อ่านแล้ว ผู้อ่านอาจมีความคิดเห็นแย้งหรือแตกต่างไปจากข้อมูล
เดิมที่มีอยู่ ผู้อ่านสามารถนำาเสนอแนวคิดของตนเองออกมาได้
เพียงแต่ต้องมีการเสนอเหตุผลที่เหมาะสมประกอบแนวความคิด
ใหม่นั้น
ทักษะการอ่านในการเรียนระดับอุดมศึกษา ต้องพัฒนาขีด
ความสามารถของผู้เรียนให้ไปถึงระดับสูงที่สามารถใช้
วิจารณญาณในการอ่านได้ อย่างไรก็ดี ทักษะการอ่านขั้นสูงนั้น
ต้องอาศัยการมีพื้นฐานที่ดีในการอ่านมาตั้งแต่ระดับต้น เอกสาร
ประกอบการสอนในรายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทยเล่มนี้จึง
เสนอแบบฝึกหัดที่มีความยากง่ายไล่ระดับไปจนกระทั่งถึงเนื้อหาที่
มีความซับซ้อนเพื่อจะพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน
แบบฝึกหัดที่ 1 การอ่านออกเสียง (10 คะแนน)
หัดอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน โดยนักศึกษาไทยให้
ท่องจำาบทอ่านจำานวน 2 แล้วเขียนแสดงความคิดเห็น ส่วน
นักศึกษาจีนให้อ่านจากร่างจำานวน 2 บท
เหตุแห่งรัก 1
ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน
เอวนฺตำ ชายเต เปมำ อุปฺปลำว ยโถทเกติฯ
เหตุปัจจัยสองประการสมานรัก หนึ่งกาลก่อน
เคยสมัครคิดรักใคร่
ได้ร่วมเรียงเคียบเรือนเพื่อนคู่ใจ สองเกื้อกูลกัน
ใหม่ในปัจจุบัน
ความรักมีรากฐานประสานต่อ ดุจบัวงามชู
ช่อละออนั่น
อาศัยเปลือกตมนำ้าเป็นสำาคัญ บัวเกิดก่อรัก
ต่อมั่นนั่นบุพเพ
เหตุแห่งรัก 2
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
เหตุแห่งรักท่านชี้ว่ามีสอง หนึ่ง-เคยปองครอง
รักสมัครสมาน
โดยบุพเพนิยมมานมนาน พอได้พานพบรัก
สมัครใจ
สอง-ปัจจุบันหมั่นเกื้อเอื้อเฟื้อพร้อม รักก็ย่อมเกิดขึ้นมา
อย่าสงสัย
ดังอุบลต้อกอลออใบ ย่อมอาศัยตมนำ้างอกงาม
เอยฯ
แบบฝึกหัดที่ 2 การอ่านคำาควบกลำ้า คำายากให้ถูกต้อง
(10 คะแนน)
เสียเจ้า
เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย
จะเจ็บจำาไปถึงปรโลก
ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
หากเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟ เราเป็นไม้
ให้ทำาลายสิ้นถึงวิญญาณ
แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกาลปาวสาน
แม้นชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา
ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำาพิษชำ้านานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย
กวีนิพนธ์ - อังคาร
กัลยาณพงศ์
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
แบบฝึกหัดที่ 3 การอ่านเพื่อถอดความ (10 คะแนน)
ในลักษณ์นั้นว่าน่าประหลาด
เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า
เหตุไฉนย่อท้อรอรา
ฤาจะกล้าแต่เพียงวาที
เห็นแก้วแวววับที่จับจิต
ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้ถึงที่
เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี
อันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ
อันของสูงแม้ปองต้องจิต
ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้ฤา
มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ
ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม
ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง
คงชวดดวงบุปผาชาติสะอาดหอม
ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม
จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี
บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง
ท้าวแสนปม
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าฯ รัชกาลที่ 6
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
แบบฝึกหัดที่ 4 การอ่านบทความ และแสดงความคิดเห็น
(30 คะแนน)
วันที่ : 10 เมษายน 2551 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : การศึกษาวัน
นี้
ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ศูนย์ประชุม
แห่งชาติสิริกิติ์มีมหกรรมงานหนังสือ 2 งานติดกันคือ งานสัปดาห์
หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม
พ.ศ. 2551 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 36 จัดขึ้น
ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 7 เมษายน พ.ศ. 2551
ทุกครั้งที่มีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประเด็น
ที่ถูกหยิบยกนำามาพูดคุยกันอยู่เสมอคือ คนไทยอ่านหนังสือน้อย
มาก แม้ว่าผู้คนจะให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อหนังสือใน
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเป็นจำานวนมากก็ตาม
ประเด็นถกเถียงในเรื่องการอ่านหนังสือของคนไทย
เป็นสิ่งที่มีการพูดคุยกันมานาน แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้ถูกกล่าว
ถึงกันมากนักคือ“ความสามารถด้านทักษะการอ่านหนังสือของคน
ไทย” การอ่านหนังสือจำานวนมากหรือน้อยอาจไม่สำาคัญเท่ากับ ผู้
อ่านได้รับอะไรจากสิ่งที่อ่านหรือผู้อ่านได้นำาสิ่งที่ได้อ่านนั้นไปใช้
ประโยชน์อย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านเป็นสำาคัญ ผู้อ่านที่
ขาดทักษะการอ่าน แม้อ่านหนังสือมากแต่อาจไม่ได้รับประโยชน์ก็
เป็นได้
ทักษะการอ่าน เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังตั้งแต่ระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา
หลุยส์ เอ็ม โกเมซ (Louis M. Gomez) ศาสตราจารย์ด้าน
ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ (Learning Sciences) แห่งสถาบันสอน
นโยบายการศึกษาและสังคม (school of Education and
Social Policy) มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern
University) และผู้ช่วยศาสตราจารย์คิมเบอร์ลี่ โกเมซ
(Kimberley Gomez) วิทยาลัยการศึกษา (College of
Education) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois)
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ออกมาแสดงความคิดเห็นในนิตยสาร Phi Delta Kappan ฉบับ
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เรื่อง “Reading for Learning:
Literacy support for 21st Century Work” ไว้ว่า การขาด
ทักษะการอ่านของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปัญหา
ใหญ่ที่มีผลต่อการทำางานในอนาคต
นักวิชาการทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า เศรษฐกิจในศตวรรษที่
21 ต้องการแรงงานคนที่มีทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิง
วิเคราะห์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และ
ในอนาคต อาชีพที่จะเติบโตมากที่สุดคือ อาชีพที่อาศัยความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและอาชีพด้านงานบริการ ทั้ง 2 อาชีพ ต้อง
อาศัยทักษะการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่าง โดยเครื่องมือ
สำาคัญ
ที่จะทำาให้ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวคือ “การอ่านเพื่อการเรียนรู้”
เนื่องจากการอ่านต้องอาศัยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จน
สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับและนำาไปใช้ประโยชน์
ผู้เรียนที่มีพื้นฐานด้านทักษะการอ่านที่ไม่ดีตั้งแต่ระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความยากลำาบากในการเรียนระดับการ
ศึกษาที่สูงขึ้นและเมื่อก้าวเข้าสู่โลกการทำางาน ในสหรัฐอเมริกา ผู้
เรียนระดับมัธยมศึกษาจำานวนมาก มีทักษะการอ่านเท่ากับผู้เรียน
ระดับประถมศึกษา นั่นหมายความว่า สถานศึกษาในสหรัฐอเมริกา
หลายแห่ง ไม่ได้ฝึกทักษะพื้นฐานด้านการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้ผู้
เรียน ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งมีสาเหตุเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่
มักคิดว่าตนเองรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ผู้สอนก็มัก
คิดว่าตนเองไม่ได้มีหน้าที่สอนวิธีการอ่านหนังสือและคิดว่าผู้เรียน
น่าจะรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว จึงไม่ได้เข้มข้นในการสอนและ
พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพให้ผู้เรียน
ศ.หลุยส์ เอ็ม โกเมซ และ ผศ.คิมเบอร์ลี่ โกเมซ ได้
แนะนำาเทคนิคการอ่านที่ผู้สอนสามารถนำาไปฝึกทักษะการอ่าน
เพื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ซึ่งสามารถทำาไปพร้อมกับการเรียนการ
สอนได้ ดังนี้
Annotation เป็นเทคนิคการอ่านที่ผู้เรียนต้อง
วิเคราะห์เนื้อหาที่อ่านให้เข้าใจ โดยจับใจความสำาคัญหลัก
ใจความที่สำาคัญรอง ถอดความเข้าใจจากคำาศัพท์ที่ยาก ขีดเส้น
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ใต้จุดที่สำาคัญ และสรุปใจความสำาคัญอย่างย่อในสิ่งที่ได้จากการ
อ่าน การถอดความสำาคัญผู้เรียนสามารถเก็บไว้ใช้เพื่อประโยชน์
ในอนาคต เทคนิคการอ่านนี้ทำาให้ผู้เรียนสามารถสำารวจ
โครงสร้างและใจความสำาคัญของเนื้อหา ซึ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมี
ทักษะการคิดวิเคราะห์
Double-entry readings logs เทคนิคนี้ผู้เรียนต้อง
ทำา 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ถอดใจความสำาคัญจากเรื่องที่อ่าน และ
อธิบายให้ได้ว่าหาใจความสำาคัญมาได้อย่างไร วิธีนี้จะทำาให้ผู้
เรียนสามารถวิเคราะห์เนื้อหาและถ่ายทอดออกมาได้ ส่วนที่สอง
หาคำาศัพท์ใหม่ ๆ หาความหมายของคำาศัพท์ และอธิบายให้ได้ว่า
คำาศัพท์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใจความสำาคัญอย่างไร โดยอาจต้อง
อาศัยการวิเคราะห์ประเด็นแวดล้อม การอ่านหนังสือด้วยเทคนิคนี้
ผู้สอนสามารถประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ว่า สิ่งไหนที่ผู้เรียน
เข้าใจและสิ่งไหนที่จำาเป็นต้องสอนซำ้า
Summarization เป็นการสรุปเนื้อหาจากสิ่งที่อ่าน
ทั้งหมด การสรุปเนื้อหาที่ดี ผู้เรียนต้องจับใจความสำาคัญของ
เนื้อหา ตลอดจนใจความสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับใจความสำาคัญ
เทคนิคนี้ ทำาให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่อ่านลึกซึ้ง และผู้สอน
สามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด
เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่หากถูกนำามา
พัฒนาการสอนในเด็กและเยาวชน ย่อมมีส่วนในการวางรากฐาน
การพัฒนาทักษะการอ่านได้อย่างมีคุณภาพ
กรณีการอ่านในประเทศไทย การเรียนรู้และพัฒนา
ด้านทักษะการอ่าน ยังไม่ถูกให้ความสำาคัญเท่าที่ควร สาเหตุหนึ่ง
เนื่องจากผู้สอนไม่ได้สอนทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
ให้ผู้เรียน เพราะต้องสอนเนื้อหาวิชาที่มีมาก การสอนจึงเป็น
ลักษณะของการป้อนความรู้และผู้เรียนจำาสิ่งป้อน และแม้ว่าผู้สอน
จะมอบหมายผู้เรียนไปอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ แต่ผู้เรียนไม่รู้
วิธีการอ่านที่ถูกต้อง จึงทำาได้เพียงอ่านเพื่อจำาและนำาไปสอบ ไม่
ได้คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ในเนื้อหาที่อ่านอย่างจริงจัง
กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงและการนำาไปใช้ประโยชน์จึงไม่เกิด
ขึ้น
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ดังนั้น สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้น
ฐาน ควรฝึกการพัฒนาทักษะการอ่านที่ถูกต้องให้ผู้เรียน โดย
ดำาเนินการร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ในการร่วมพัฒนาทักษะ
การอ่านในเด็กและเยาวชน
นอกจากนั้น ผมเสนอว่า จำาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกบ้านควรมี
ชั้นหนังสือ เพื่อให้เด็กเยาวชนและสมาชิกในครอบครัว ได้มี
โอกาสอ่าน ใช้เวลาร่วมกันในการอ่าน อันจะพัฒนาไปสู่การเป็น
นักเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สามารถเอาตัวรอดในสภาพการณ์ที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการ
ศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและการทำางาน
อ่านเรื่องแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ผู้เขียนเสนอแนวคิดไว้อย่างไร ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะ
อะไร (10 คะแนน)
2. บทความนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร ท่านมีแนวทางอื่น
ที่จะเสริมแนวคิดของผู้เขียนอย่างไร (10 คะแนน)
3. สอบอ่านออกเสียง (20 คะแนน)
สมาธิที่ดีสร้างได้ไม่ยากในวัยเยาว์
วันที่ : 1 กรกฎาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : นิตยสารแม่
และเด็ก
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์
วาร์ด
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
kriengsak@kriengsak.com, http://
www.kriengsak.com
เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ผู้ที่สามารถมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่
ทำาอยู่ได้จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นับเป็นคุณลักษณะ
สำาคัญของผู้ที่ประสบความสำาเร็จในชีวิตทั้งในด้านการเรียน การ
ทำางาน โดยทั่วไป
สมาธิ หรือหรือตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายว่าเป็น ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำา
รวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง
นั้น ไม่ใช่เพียงการฝึกจิตให้สงบนิ่งโดยไม่คิดหรือไม่รับรู้สภาพ
การณ์ภายนอกใด ๆ เลย แต่เป็นการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอที่จะคิดหรือทำาในสิ่งต่าง ๆ
เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้จนกว่าจะประสบผลสำาเร็จ ไม่ว่าจะ
เป็นการมีสมาธิอยู่กับการคิด การทำางาน การสนทนา การอ่าน
หนังสือ การฟังครูสอน เป็นต้น
ในสภาพสังคมปัจจุบันเราพบว่า เด็กจำานวนมากที่มี
ปัญหาความบกพร่องในเรื่องของสมาธิอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น
ผลที่เกิดจากปัญหาทางพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวหรือ
อาจเกิดจากความผิดปกติของในการทำางานของสมองบางส่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนใน
สังคมเต็มไปด้วยความเร่งรีบ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก การให้ทีวี
ช่วยเลี้ยงลูก มลพิษทางอากาศ อาหารที่เจือปนด้วยวัตถุกันเสีย
สารกันบูด ที่มีงานวิจัยรองรับออกมาแล้วว่าอาจเป็นสาเหตุสำาคัญ
ของโรคสมาธิสั้นในเด็กและเยาวชนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง
มากขึ้น
พ่อแม่จำานวนมากคงเคยมีความรู้สึก หงุดหงิด หัวเสีย
เกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของลูกหลายประการ ที่เล็งถึง
ความไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่อ ในการทำาสิ่งต่าง ๆ อาทิ ไม่เคยที่จะ
ทำาการบ้านเสร็จลุล่วงไปด้วยดีสักครั้งหากพ่อแม่ไม่คุมเข้ม ไม่เข้า
ห้องนำ้าก็ขอไปเดินเล่น เปิดตู้เย็นทานขนม หรือแอบไปเล่นของ
เล่น ซุกซนมากไม่ยอมอยู่เฉย ไม่ยอมฟังคำาสั่ง ใจร้อนขาดความ
อดทนในการทำาสิ่งต่าง ๆ หลงลืมไม่ใส่ใจในบทบาทหน้าที่ที่รับผิด
ชอบ จนพ่อแม่รู้สึกเหนื่อยล้าหมดแรงหมดกำาลังใจไปกับการดูแล
ลูก ๆ ของตน
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรวิตกกังวลเกินกว่าเหตุว่าหากลูก
มีอาการดังกล่าวแล้วจะต้องเป็น “โรคสมาธิสั้น” ที่ต้องรับการ
รักษาหรือจำาเป็นต้องกินยาควบคุมเสมอไป เนื่องจากอาการที่พ่อ
แม่คิดว่า “ขาดสมาธิ” ของลูกนั้นอาจเป็นไปตามพัฒนาการใน
แต่ละช่วงวัยที่พบว่าในวัยเด็กเล็กจะมีสมาธิหรือใจที่จดจ่อในการ
ทำาสิ่งต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่สั้นกว่าเด็กโต หรืออาการสมาธิสั้นดัง
กล่าวอาจเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูบางประการที่ไม่ถูกต้อง
ของพ่อแม่ก็เป็นได้
ดังนั้น พ่อแม่จึงควรแยกแยะในการตรวจสอบอาการและ
พิจารณาอย่างรอบคอบว่าอาการสมาธิสั้นที่เกิดขึ้นกับลูกของเรา
นั้นเป็นเนื่องมาจากสาเหตุใด โดยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อรับการ
วินิจฉัยว่าอาการดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มของ “โรคสมาธิสั้น”
(Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD)
หรือไม่ เพื่อที่จะรับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วต่อไป หรือ
หากพ่อแม่พบว่าอาการสมาธิสั้นของลูกดังกล่าวนั้นสืบเนื่องมาจาก
พฤติกรรมการเลี้ยงดูไม่ถูกต้องบางประการของพ่อแม่เองแล้ว พ่อ
แม่จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงดูลูกใหม่
เพื่อฝึกฝนการสร้างสมาธิให้กับลูกของตนแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ยังเป็น
เด็กเล็กเพื่อเป็นการลงรากฐานแห่งความสำาเร็จในชีวิตให้กับลูก
ต่อไปในอนาคต
โดยการปรับพฤติกรรมการอบรมสั่งสอนเพื่อการสร้างลูกให้
เป็นเด็กที่มีสมาธิที่ดี มีใจจดจ่อในการคิดหรือการทำาสิ่งต่าง ๆ ให้
สามารถสำาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้น มีหลักสำาคัญที่พ่อแม่สามารถ
นำาไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูก ดังนี้
หลักแห่งการสร้างแรงดึงดูด
ธรรมชาติของเด็กแล้วมักมีความสนใจหรือมีสมาธิจดจ่อ
อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งค่อนข้างน้อยกว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า
โดยมีผู้กล่าวถึงสูตรในการหาเวลาที่เด็กสามารถจดจ่อในสิ่งหนึ่ง
สิ่งใดได้เป็นเวลานานเท่าไรไว้โดยการนำาอายุของเด็กคูณด้วย
สาม เช่น หากลูกอายุ 5 ปี ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่เด็กมีสมาธิหรือ
สามารถจดจ่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ดีคือที่ 5 x 3 = 15 นาที
อย่างไรก็ตามพ่อแม่ไม่ควรจริงจังกับสูตรหาสมาธิดังกล่าวนี้มาก
จนเกินไปหรือพยายามกดดันให้ลูกต้องทำาให้สำาเร็จ หรือต้องทะลุ
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
เป้าเวลามาตรฐานนี้ให้ได้เนื่องจากเป็นวิธีการคำานวณหาโดย
คร่าวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นวิธีตัดสินว่าลูกเราผิดปกติหรือไม่แต่อย่าง
เกดีกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก อาทิ บรรยากาศ สภาพ
แวดล้อมของสถานที่ หรือปัจจัยภายในจากตัวเด็กเองว่ามีความ
พร้อมหรือไม่ทั้งทางฝ่ายกายภาพ อาทิ อยู่ในภาวะง่วงนอน หิว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมหรือสิ่งที่เขาต้องทำาหรือต้องจดจ่ออยู่
เป็นระยะเวลานานนั้นเขามีความชอบหรือความสนใจมากน้อย
เพียงใด
เด็กส่วนใหญ่มักเบื่อง่าย พ่อแม่จึงควรจับจุดนี้ไว้ให้ดี
เพื่อค้นหาวิธีการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกของเราหันมาคิดหรือทำาใน
สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างใจจดจ่อไม่จับจดหรือเลิกราไปกลางครันโดย
ง่าย
โดยพ่อแม่ต้องคอยสังเกตดูพัฒนาการความก้าวหน้าของลูกอยู่
เสมอว่าสิ่งใดที่เขาทำาได้คล่องดีแล้ว เล่นจนหลับตาทำาได้แล้ว สิ่ง
นั้นอาจไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดพอให้เขาจดจ่อค้นหากับมันอีก
ต้องหาความท้าทายใหม่ ๆ ที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างแรงดึงดูด
ให้เขาสนใจที่จะมาค้นหาเป็นลำาดับขั้นต่อไป รวมทั้งหมั่นสังเกต
ว่าลูกของเราชอบหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษสิ่งใดที่ทำาให้เขา
ครุ่นคิดอยู่ได้นาน ๆ โดยอาจทำาให้ไม่สนใจในเรื่องอื่นเลยก็เป็น
ได้พร้อมคอยส่งเสริมหากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีพิษมีภัย
โรเบิร์ต ซิลเวสเตอร์ (Robert Sylvester) นักวิชาการด้าน
การเรียนรู้ ให้คำากล่าวที่น่าสนใจว่า “อารมณ์ทำาให้เกิดความ
สนใจและความสนใจทำาให้เกิดการเรียนรู้” หรือ “Emotion
drives attention, attention drives learning” ยิ่งมีอารมณ์
อยากรู้ กระหายใคร่รู้มาก ยิ่งสร้างแรงดึงดูดให้ใช้เวลาในการ
พิจารณาจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นมากตามไปด้วยและเพียงพอที่จะก่อให้
เกิดการเรียนรู้ตามมา โดยอาจใช้วิธีการสร้างบรรยากาศภายนอก
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ การจดจ่อโดยไม่ถูกสิ่ง
เร้าต่าง ๆ มารบกวน อาทิ การตกแต่งสถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ให้น่า
ตื่นเต้น สวยงามดึงดูดความสนใจ หรือการจัดสถานที่ที่เงียบสงบ
ไม่มีเสียงดัง สับสนวุ่นวาย เหมาะกับการได้ครุ่นคิดกับมัน เป็นต้น
นอกจากนี้การสร้างแรงดึงดูดที่สำาคัญในเรื่องที่เราต้องการ
ให้ลูกได้มีสมาธิหรือจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดีต่อเนื่องและ
ยาวนานที่สุด นั่นคือพ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะย่อยหรือค้นหาว่า
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
สิ่งนั้นมีความเกี่ยวข้อง ใกล้ตัว สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
จริง หรือมีประโยชน์สำาคัญอย่างไรจนมากเพียงพอและควรค่าที่
ลูกจะเห็นความสำาคัญและดึงดูดให้ลูกไปใช้เวลาจดจ่อกับมันใน
ท้ายที่สุดโดยไม่ต้องบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด อันเป็นจุดเริ่มต้น
สำาคัญที่จะนำาไปสู่กระบวนการเรียนรู้อย่างมีสมาธิที่ดีได้ในที่สุด
รวมทั้งการกระตุ้นและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะ
เป็นการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การตั้งคำาถามท้าทายกระตุ้นให้เกิด
ความสนใจและความสงสัยการกระหายใคร่รู้ การพาไปหาผู้รู้
หรือค้นหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้จดจ่อในเรื่องนั้น
ๆ ให้ลึกซึ้งลงไปมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งขยายวงกว้างในการเรียนรู้
เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไปด้วยตัวของเขาเอง
หลักแห่งการวางแผนและทำาอย่างต่อเนื่อง
การใช้ชีวิตอย่างอิสระ ทำาสิ่งใดก็ได้ตามใจตนเองหรือตาม
อารมณ์ความรู้สึกจะพาไปอย่างไร้ซึ่งระเบียบวินัยหรือการบริหาร
เวลาในชีวิตประจำาวัน นับเป็นสาเหตุสำาคัญประการหนึ่งของการ
เกิดปัญหาสมาธิสั้นในเด็กและส่งผลตามมาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เป็น
อุปสรรคขัดขวางกระบวนการเรียนรู้รวมทั้งเป็นการสร้างลักษณะ
นิสัยที่จับจดไม่สามารถทำาสิ่งใดให้สามารถประสบผลสำาเร็จได้
เด็กที่ถูกฝึกในเรื่องการวางแผนและบริหารเวลามาเป็นอย่าง
ดี จะเป็นเด็กที่มีวินัยสูงมีความรับผิดชอบ ไม่เป็นคนผัดวันประกัน
พรุ่ง ไม่จับจด รู้ว่าเวลาไหนควรทำาอะไร เรียนเป็นเรียน เล่นเป็น
เล่น เวลาไหนควรอ่านหนังสือ เวลาใดควรเป็นเวลาในการพัก
ผ่อน ฯลฯ เด็กในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่มีสมาธิดีกว่าเด็ก
ในกลุ่มที่ไม่รู้จักบริหารเวลาหรือควบคุมตนเองอย่างมีนัยสำาคัญ
การวางแผนชีวิตหรือกการทำาตารางเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำาคัญ
มากในการฝึกสมาธิ ความ
จดจ่อในการทำาสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เด็ก เนื่องจากเป็นการฝึกให้เด็ก
เรียนรู้การวางแผนก่อนการกระทำาหรือการฝึกให้คิดก่อนทำา
นั่นเอง เพื่อที่จะรู้ว่าเมื่อทำาสิ่งนี้สำาเร็จแล้วหรือจบภายในระยะเวลา
ที่กำาหนดแล้วจะต้องทำาในสิ่งใดต่อไป
โดยมีการวิจัยพบว่าเด็กส่วนใหญ่จะชอบอะไรที่เป็นกิจวัตร
และสามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากเด็กจะรู้สึกมีความมั่นคงและ
สบายใจในสิ่งที่เขาสามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ทราบว่าในแต่ละวันเขาจะต้องทำาอะไรบ้าง เช่น กิจวัตรประจำาวัน
ทั้งในยามปกติหรือในช่วงเวลาปิดเทอม วันหยุดต่าง ๆ
นอกจากนี้ไม่เพียงแต่การวางแผนและการจัดตารางเวลาใน
ชีวิตประจำาวันเท่านั้น แต่พ่อแม่ต้องเป็นผู้ช่วยคอยควบคุม ฝึกวินัย
จูงใจ ให้ลูกไปถึงเป้าหมายและสามารถทำาตามแผนที่วางไว้ได้
อย่างสำาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีในแต่ละวัน
เนื่องจากการที่ลูกลิ้มรสความสำาเร็จที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการ
สร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงดึงดูดให้ลูกเกิดความสนใจและ
ปรารถนาจะทำาในแผนที่วางไว้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปให้ประสบผล
สำาเร็จเช่นเดียวกัน
โดยในการวางแผนพ่อแม่สามารถสอดแทรกกิจกรรมเสริมที่
มีประโยชน์ในการฝึกสมาธิลงไปด้วย อาทิ การอ่านหนังสือ
เขียนไดอารี่ การฝึกฟังเทปความรู้เทปนิทานต่าง ๆ แล้วนำามาสรุป
หรือเล่าให้ฟัง งานศิลปะ ดนตรี กีฬา การกำาหนดเวลาแห่งการ
พูดคุยสรุปเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่ลูกพบมาในชีวิตประจำาวัน
หรือเมื่อตอนไปโรงเรียน ฯลฯ ตามความชอบถนัดของเด็กและของ
ตัวพ่อแม่เองได้ โดยพยายามลดกิจกรรมที่อาจส่งผลในการ
รบกวนสมาธิออกไป อาทิ การดูทีวี เล่นเกม ให้เหลือน้อยที่สุด
เป็นต้น
การมีสมาธิที่ตั้งมั่นมีจิตใจที่จดจ่อไม่จับจดนับเป็น
คุณลักษณะพื้นฐานที่สำาคัญของกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ รวมทั้งนำาไปสู่ลักษณะชีวิต
ชีวิตของการอดทน พากเพียร พยายาม ทำาจนสำาเร็จ ไม่เสร็จไม่
เลิกรา อันเป็นปัจจัยสำาคัญที่นำาไปสู่ความสำาเร็จในชีวิตไม่ว่าเขา
จะทำาอะไรก็ตาม
เด็กคนใดจะมีสมาธิ การจดจ่อในเรื่องต่าง ๆ มากหรือน้อย
นั้นไม่ได้ขึ้นกับพันธุกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้แต่
อย่างใด แต่ทั้งนี้การที่เด็กจะมีสมาธิที่ดีได้นั้นขึ้นกับพฤติกรรมการ
เลี้ยงดู การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่เป็นสำาคัญ โดยจากหลักแห่ง
การสร้างแรงดึงดูด ความสนใจ และหลักการวางแผนบริหารเวลา
อย่างต่อเนื่องที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น หากพ่อแม่นำาไปฝึกปฏิบัติต่อ
ลูกอย่างเป็นประจำา พ่อแม่จะพบว่าลูกของท่านจะมีสมาธิในการคิด
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
การทำาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นในระดับการพัฒนาที่น่าพึงพอใจอย่าง
แน่นอนครับ
อ่านบทความข้างต้น แล้ววิจารณ์การใช้ภาษา ลีลาการเขียน
ตลอดจนประเมินคุณค่าของงานเขียนนี้ เป็นจำานวน 2 หน้า
กระดาษเอสี่ (40 คะแนน)
สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงการเปิดภาค
เรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำาปีการศึกษา
2550 นับเป็นการเริมต้นของการก้าวเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ซึ่ง
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ครูสอนมีส่วนสำาคัญอย่างมากในการนำาผู้เรียนเข้าสู่โลกของการ
เรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ และสนุกสนาน
ในการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
บทความนี้ เป็นการแนะนำาวิธีการสอนที่ผู้สอนสามารถ
นำาผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ในรูปแบบของการอ่านหนังสือ
ที่ไม่เพียงสอนให้ผู้เรียนอ่านหนังสือเพื่อรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่สอน
ให้ผู้เรียนรู้จักวิธีโต้ตอบกับผู้เขียนอีกด้วย
ในอดีตครูผู้สอนที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียนรักษาสิ่งของ มัก
จะกำาชับผู้เรียนเสมอว่า “ ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ
” เพราะจะทำาให้หนังสือเลอะเทอะ หรือ “ ถ้าต้องการเน้นข้อความ
สำาคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว ” ความคิดเช่นนี้
ทำาให้ผู้เรียนพลาดโอกาสในการใช้หนังสือเพื่อช่วยพัฒนาความ
สามารถในการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความจำา การคิดอย่างมี
วิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์
เดฟ เอลลิส ( Dave Ellis ) ผู้ให้คำาปรึกษาด้านการ
เรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน “ เรียนเก่ง ” กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “ มี
เหตุผลเดียวที่คนเราไม่เขียนอะไรลงไปในหนังสือ เพราะเรากลัว
ว่าเมื่อนำาไปขายต่อจะไม่ได้ราคา ซึ่งแท้จริงแล้วประโยชน์ที่ได้
จากการเขียนลงไปในหนังสือนั้น มีมากกว่าที่ได้รับจากการขาย
ไม่รู้กี่เท่า ”
เอลลิส จึงได้คิดระบบที่เรียกว่า Discovery and
Intention Joumal Entry System ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำามา
ใช้ในระหว่างการอ่านหนังสือของผู้เรียนได้ Discovery คือ ข้อ
ค้นพบ ทัศนคติ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่มีต่อข้อความที่ได้
อ่านจากหนังสือ Intention คือ สิ่งที่ต้องตั้งใจจะทำาต่อไป หลัง
จากที่มีข้อค้นพบ หรือมีข้อคิดจากการอ่านหนังสือ เช่น กลับไป
ถามอาจารย์/เพื่อน ต้องไปค้นพบข้อมูลต่อ เป็นต้น โดยผู้เรียน
สามารถขีด เขียน ลงไปในหนังสือได้ วิธีการอ่านแบบนี้ด้วยแบบนี้
ช่วยทำาให้ผู้เรียนฉลาดขึ้น เพราะผู้เรียนจะกลายเป็น “ ผู้เรียนรู้ ”
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
การสอนผู้เรียนให้อ่านหนังสือและให้พวกเขารับเอาสิ่งที่
ผู้เขียนได้เขียนไว้ทั้งหมดไม่ต่างอะไรกับการฝึกให้นกแก้วนก
ขุนทองพูดตามคำาบอก แต่หากผู้เรียนได้อ่านหนังสือแบบเรียนรู้
จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร ได้
ฝึกโต้ตอบกับผู้เขียนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือเกิดความคิด
สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับผู้เขียน ไม่เพียงเท่านั้น
การอ่านเรียนรู้ยังไม่ทำาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ คำาศัพท์สำา
นวนใหม่ๆ หรืออะไรก็ตามที่ได้รับจากการอ่าน ซึ่งการอ่านแบบ
เรียนรู้นี้จะเกิดต่อเมื่อผู้เรียนได้อ่านแล้ว “ คิด ” หรือ “ ขีดเขียน ”
ลงไปในหนังสือ
ในภาคปฏิบัติ เอลลิสมีคำาแนะนำาที่ครูผู้สอนสามารถนำา
ไปใช้ได้กับผู้เรียนดังนี้
สอนผู้เรียนให้ขีดเส้นใต้ ทำาเครื่องหมาย สร้างสัญญา
ลักษณ์ เหนือข้อความที่คิดว่าสำาคัญ
เมื่อผู้เรียนอ่านหนังสือ ครูผู้สอนสามารถแนะนำาผู้เรียน
ให้วงกลมล้อมรอบข้อความสำาคัญนั้น ถ้าสำาคัญมากและต้องกลับ
มาทบทวนอาจเพิ่มจำานวนดอกจันทร์เป็น*** ตามความสำาคัญของ
เนื้อหา ซึ่งวิธีการนี้จะทำาให้ผู้เรียนได้เข้าใจความคิดของผู้เขียน
ได้คมชัดมากยิ่งขึ้น
สอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน
เมื่อผู้เรียนได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือต้องการยำ้าความ
เข้าใจจากการอ่านหนังสือครูผู้สอนอาจสอนให้ผู้เรียนเขียนสรุป
ความสั้นๆ หรือทำาเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือทำาอะไรก็ได้ตาม
จินตนาการของผู้เรียนไว้มุมใดมุมหนึ่งของหนังสือ การทำาเช่นนี้
เป็นเหมือนการที่ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้
เรียนได้จดจำาและสามารถทบทวนในสิ่งที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น โดย
ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือทั้งเล่ม
สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้อ่าน
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักการโต้ตอบกับผู้เขียน
ระหว่างการอ่านหนังสือ ไม่ควรเป็นผู้รับรู้ข้อมูลเพียงอย่างเดียว
โดยแนะนำาให้ผู้เรียนเขียนสื่อสาร หรือใช้ภาษาสัญลักษณ์ลงไป
ในหนังสือด้วย หากผู้เรียนได้นำาเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือต้องการเสนอความคิดจากสิ่งที่ผู้
เขียนได้นำาเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย
แล้วลากเส้นโยงออกมา เขียนไว้ว่า “ ความคิดนี้สุดยอดจริงๆ ” “ต
รงนี้ไม่เห็นด้วยเขียนแง่ลบเกินไป” เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างผู้
เรียนให้เป็นคนที่มีทักษะการคิด วิเคราะห์ และการคิดเชิง
สร้างสรรค์
สอนให้ผู้เรียนเขียน หรือแสดงสัญลักษณ์ เพื่อมีคำาตอบ
จากการอ่านหนังสือ
ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำาถามในการอ่านไม่
ควรเชื่อในสิ่งที่ผู้เขียน เขียนมาทั้งหมด และเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ
และมีข้อสงสัยควรแนะนำาให้ผู้เรียนใส่เครื่องหมายคำาถาม (?) หรือ
เขียนประเด็นที่สงสัย หรือยังไม่เข้าใจ ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม
หรือสอบถามผู้รู้ และเขียนกำากับไว้ด้วยว่าเราไม่เข้าใจอะไร หรือ
อาจเขียนกำากับไว้ด้วยว่าจะต้องทำาอะไรต่อไป เช่น “ ตรงนี้ต้อง
ถามอาจารย์ ” “ ไปค้นพบในห้องสมุด ” เป็นต้น
อันที่จริง ผมทำาอย่างที่เอลลิสได้กล่าวไว้ข้างต้นมาตั้งแต่
เด็กๆ และพบว่าทำาให้การอ่านหนังสือได้ประโยชน์มาก ยิ่งไปกว่า
นั้น เมื่อคนเอาหนังสือที่ผมอ่านและได้เขียนสิ่งต่างๆ ไปอ่านต่อ
หลายคนบอกผมว่า เขาได้รับประโยชน์จากการขีดเขียนของผม
ในหนังสือเล่มนั้นๆ ด้วย จึงสรุปได้ว่า วิธีการอ่านแบบนี้ช่วยทำาให้
ผู้เรียนได้ประโยชน์มากขึ้น และเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม วิธีเหมาะสำาหรับหนังสือกับผู้เรียนที่เป็น
เจ้าของเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หรือ
แม้กระทั้งหนังสือที่ขึ้นมาอ่านเล่น เพื่อให้การอ่านหนังสือเกิด
ความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด แต่หนังสือที่เป็นของห้องสมุด
ซึ่งต้องใช้ส่วนรวม ครูผู้สอนควรยำ้าให้ผู้เรียนใช้หนังสืออย่างมี
มารยาทและเห็นแก่ผู้อื่น โดยไม่จดข้อความหรือขีดเขียนสิ่งใดลง
รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา
ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101
ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน
พฤหัส เวลา 0800 – 12.00
ไปไม่พบหนังสือหรือวางควำ่าหน้าลง เพราะหนังสืออาจจะหักหรือ
เสียหายได้ และควรดูแลให้หนังสืออยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด
เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์ในการใช้ร่วมกัน
ผมมีความเชื่อว่า เปิดเทอมใหม่นี้ผู้เรียนทุกคนจะ
สามารถพัฒนาตนเองให้เก่งและฉลาดขึ้นได้ หากครูผู้สอนใส่ใจที่
จะฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียนในวิธีการที่เหมาะสม ซึ่ง “ การอ่าน
หนังสือ ” เป็นวิธีการหนึ่ง เพราะช่วยเพิ่มพูนความฉลาดและ
พัฒนาความเก่งและความฉลาดของผู้เรียนได้นั้น เกิดจากการที่
เมื่ออ่านหนังสือผู้เรียนได้อ่านและคิดใคร่ครวญ ขีดเขียน ใส่
สัญลักษณ์ ใส่เครื่องหมาย โต้ตอบกับผู้เขียน แม้จะดูเลอะเทอะ ไม่
น่าดูในสายตาคนอื่น แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ผู้เรียนได้รับนั้นเต็มเปี่ยม
ไปด้วยการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งคุ้มค่ากับการใช้หนังสือหนึ่งเล่ม

Contenu connexe

Tendances

แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้Bhayubhong
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความพัน พัน
 
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญRung Kru
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานkrunueng1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxหน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxSophinyaDara
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติSutat Inpa
 
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษาเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษาOhm Tarit
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติsurang1
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6teerachon
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความsripayom
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4Thanawut Rattanadon
 
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...Totsaporn Inthanin
 
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ราชาศัพท์
ราชาศัพท์kruthai40
 

Tendances (20)

แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความ
 
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงาน
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxหน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษาเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดย กรมพลศึกษา
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
 
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
 
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษการเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
 
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ราชาศัพท์
ราชาศัพท์
 

Similaire à แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)

มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยBoonlert Aroonpiboon
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศBoonlert Aroonpiboon
 
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสปายด์ 'ดื้อ
 
บทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังบทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังAj.Mallika Phongphaew
 
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1Teacher Sophonnawit
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบปNamfon Wannapa
 
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTV
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTVใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTV
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTVสมใจ จันสุกสี
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมPignoi Chimpong
 
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศthanakit553
 
นำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จนำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จshelercherries
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3สุภาพร สิทธิการ
 
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยน้อง มัดไหม
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ nongnoch
 

Similaire à แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) (20)

มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
 
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
 
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
 
บทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังบทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟัง
 
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
แผนการสอนวิชาภาษาจีน ม.1
 
ภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลายภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลาย
 
Sirirat 49
Sirirat 49Sirirat 49
Sirirat 49
 
Sirirat 49
Sirirat 49Sirirat 49
Sirirat 49
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTV
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTVใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTV
ใบความรู้ สื่อ วิชาภาษาไทย ม.2 DLTV
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถม
 
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศ
 
Media
MediaMedia
Media
 
นำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จนำเสนอหนังสือเสร็จ
นำเสนอหนังสือเสร็จ
 
บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
Subject Description_Worksheet 2
Subject Description_Worksheet 2Subject Description_Worksheet 2
Subject Description_Worksheet 2
 
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
 

Plus de Kun Cool Look Natt

การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ Kun Cool Look Natt
 
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง Kun Cool Look Natt
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างKun Cool Look Natt
 
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่างคำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่างKun Cool Look Natt
 
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร Kun Cool Look Natt
 
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร Kun Cool Look Natt
 
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่านแนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่านKun Cool Look Natt
 
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย Kun Cool Look Natt
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย Kun Cool Look Natt
 
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553Kun Cool Look Natt
 
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล Kun Cool Look Natt
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...Kun Cool Look Natt
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...Kun Cool Look Natt
 

Plus de Kun Cool Look Natt (14)

Eng of pre – cadet
Eng  of  pre – cadetEng  of  pre – cadet
Eng of pre – cadet
 
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
 
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
 
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่างคำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
 
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
 
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
 
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่านแนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
 
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
 
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
 

แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)

  • 1. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ทักษะการอ่านภาษาไทย การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำาเป็นต้องฝึกฝนอยู่ เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและ ประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำาวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำาคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับ ความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ดังคำากล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธี ชาวอังกฤษที่ว่า “ ”การอ่านทำาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ 1. ความหมายของการอ่าน การอ่าน คือ พฤติกรรมการรับสารที่สำาคัญไม่ยิ่งหย่อนไป กว่าการฟัง โดยแบ่งเป็น การอ่านในใจ และการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ หมายถึง การกวาดสายตาไปตามตัวอักษร เพื่อติดตามเนื้อหาและเก็บใจความสำาคัญ ส่วนการอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงตามตัวอักษรที่ได้อ่าน และถือเป็นการส่งสาร ประการหนึ่ง เช่น การอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง การอ่านเป็นหนึ่งในทักษะของการสื่อสารที่สามารถพัฒนา ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นได้ ในระดับต้น ผู้อ่านอาจจะเริ่มจาก การอ่านได้อย่างถูกต้องเมื่อออกเสียง และทำาความเข้าใจได้ ตอบ คำาถามได้ แต่หลังจากที่ผ่านการฝึกฝนแล้ว ผู้อ่านควรจะอ่านได้ เร็วขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลงทั้งในการออกเสียง หรือการจับใจ ความเพื่อตอบคำาถาม อย่างไรก็ดี เมื่อผู้อ่านพัฒนาขีดความ สามารถจนถึงขั้นสูงจะสามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองว่าเนื้อหา ใดสมควรอ่าน หรือสมควรเชื่อ เรียกอีกอย่างว่า การอ่านอย่างมี วิจารณญาณ ในขั้นนี้ ผู้อ่านจะเข้าใจความหมายทั้งโดยตรง และ โดยแฝงจากเรื่องที่อ่าน ตลอดจนสามารถเก็บสาระ ใจความมา ทำาความเข้าใจ จนกระทั่งเกิดแง่คิดจากเรื่องที่อ่านได้ 2. ความสำาคัญของการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ หรือความบันเทิงใดๆ ในโลกปัจจุบัน มัก อาศัยตัวอักษรและหนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอด เนื่องจากมีความ คงทนถาวร และเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น หากต้องการที่จะ
  • 2. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 เข้าถึงวิทยาการต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องมีความสามารถในการอ่าน เพื่อประโยชน์ในการดำารงชีวิต และการพัฒนาตนเอง การอ่านเป็นรากฐานที่สำาคัญของการพัฒนาทักษะการสื่อสา รอื่นๆ ด้วย ทั้งการเขียน และการพูด เนื่องจากการอ่านเป็นวิธีที่ ช่วยให้คนได้สะสมข้อมูลความรู้ต่างๆ เมื่ออ่านมาก จะมีความ รู้มาก สามารถถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่ผู้อื่นได้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง การพูดและการเขียน ยิ่งในโลกปัจจุบัน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ผู้มีความสามารถทางการอ่านย่อมตักตวงประโยชน์จากการอ่าน ได้มากกว่าบุคคลอื่นที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือไม่ชอบอ่าน 3. จุดประสงค์ของการอ่าน ในการอ่านนั้น บุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ 1) การอ่านเพื่อความรู้ คือ การอ่านที่มุ่งเก็บสาระสำาคัญ จากเรื่องที่อ่านเพื่อนำาไปใช้ประโยชน์ เช่น การอ่านหนังสือ ประเภทตำารา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง การอ่านเพื่อความรอบรู้จึงเป็นการอ่านที่จำาเป็นที่สุด เพราะ ความรู้ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ จึงมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้า เพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของข้อความรู้ต่าง ๆ ที่อาจมิได้ ปรากฏชัดเจนในตำารา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทอื่น แม้ใน หนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิง เสมอ 2) การอ่านเพื่อความคิด แนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ใน หนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือ จริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น อาจกลาย เป็นแนวทางความคิดของตนเองและสามารถนำามาเป็นแนวปฏิบัติ ในการดำาเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้
  • 3. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำาความคิดที่ได้ อ่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางเรื่อง ผู้อ่านอาจเสนอความคิด โดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิดผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำานอง คลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุด แต่ผู้อ่านที่ขาด วิจารณญาณ อาจเห็นว่าเรื่อง ลิลิตพระลอ เป็นเรื่องจูงใจให้คน ทำาความผิด ซึ่งนับว่าขาดประโยชน์ที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดาย การอ่านงานบันเทิงคดีประเภทนี้จึงต้องอาศัยวิจารณญาณ และประสบการณ์ในชีวิตมาประกอบการคิดเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ของการตีความที่ผิดพลาด อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเนื้อเรื่อง และ มุมมองที่ได้รับจากเรื่องที่อ่านของคนแต่ละช่วงวัยนั้นไม่เหมือนกัน สำาหรับผู้อ่านที่มีประสบการณ์น้อยจึงจำาเป็นต้องได้รับการแนะนำา อย่างถูกต้องหลังจากการอ่าน และเพื่อพัฒนาไปสู่ความสามารถ ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือประเมินคุณค่าในเรื่องที่อ่านได้อย่าง เหมาะสม 3) การอ่านเพื่อความบันเทิง เป็นการอ่านเพื่อพักผ่อน หย่อนใจให้เกิดความเพลิดเพลิน เช่น การอ่านงานบันเทิงคดีใน เวลาว่าง หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภท นี้มีจำานวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดี เป็นต้น จุดประสงค์ในการอ่านทั้ง 3 ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ใน การอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำาเป็นต้องแยกจากกันอย่าง ชัดเจน การประเมินความสามารถในการอ่าน ทั้งการอ่านออกเสียง และการอ่านในใจ ล้วนมีเกณฑ์ที่ กำาหนดขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถทางการอ่านด้วย เช่นกัน สำาหรับการอ่านออกเสียงที่มีประสิทธิภาพ คือ ความสามารถ ในการอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ไม่ติดขัด เป็นจังหวะที่เหมาะ สม โดยเฉพาะการอ่านงานที่มีลักษณะบังคับ เช่น ร้อยกรอง ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และราบรื่นนั้น ต้องมีความจำาดี กวาดสายตาได้อย่างรวดเร็ว และมีนำ้าเสียงที่น่า ฟัง
  • 4. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ส่วนการอ่านในใจนั้น จะเน้นความสามารถในการเก็บ ใจความ ความเร็วในการอ่าน การคิดวิเคราะห์จากเรื่องที่ได้อ่าน ระดับความสามารถในการอ่านจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความพยายามในการฝึกฝน อย่างไรก็ดี มักมีปัญหาเกิดขึ้นหลัง จากการฝึกฝนผ่านไประยะหนึ่ง เช่น เกิดความเบื่อหน่าย อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหา คือ การสร้างความเข้าใจ และความ ตระหนักให้แก่ผู้อ่านได้เห็นความสำาคัญ ความจำาเป็น หรือ ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการอ่าน ออกเสียง ที่จะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธาในตัวผู้อ่าน หรือแม้แต่ประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับกับตัวเอง เมื่อต้องดำารงชีวิต อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารเช่นปัจจุบัน วิจารณญาณกับการอ่าน เมื่อต้องอ่านหรือรับรู้ข่าวสารที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งอาจจะ มีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง และบิดเบือน แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม คือ การใช้วิจารณญาณในการอ่าน วิจารณญาณ หมายถึง การคิด วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ หรือความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ได้อ่าน ก่อนตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือ ไม่ ซึ่งปัจจุบันจะพบว่ามีบุคคลจำานวนมากที่เคยตกเป็นเหยื่อของ ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะโลกปัจจุบันมี การแข่งขันกันสูง จึงต้องมีการนำาเสนอข้อมูลด้วยความรวดเร็ว ความน่าสนใจ หรือความน่าเชื่อถือ ซึ่งในบางกรณี การนำาเสนอ ด้วยความรวดเร็วอาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ เช่น การนำา เสนอข่าว ในแง่ของ การสร้างความน่าสนใจหรือความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคสื่อก็ เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากโฆษณาต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอันน่า สนใจเพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือและตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการ ซึ่งในบางครั้ง สินค้าหรือบริการที่โฆษณาเหล่านั้น ก็ไม่ได้มีคุณภาพดีเท่าที่กล่าวอ้าง นอกจากนี้ การอ่านงานวิชาการ หรืองานสารคดี ก็จำาเป็น ต้องอาศัยวิจารณญาณ เช่นเดียวกัน เนื่องจากมุมมองของข้อมูล ทางวิชาการ เช่น ตำารา หรือบทความ อาจมีความแตกต่างหรือ เปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของบุคคลหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้น ดังนั้น นักอ่านที่ดี ต้องไม่ปักใจเชื่อสิ่งใดที่อ่านเพียงแค่ครั้งแรก
  • 5. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ของการรับสาร แต่ต้องมีการทบทวน ค้นคว้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ เกิดมุมมองที่หลากหลาย แล้วจึงตัดสินใจด้วยทัศนะของตนเองว่า จะเลือกเชื่ออย่างไร สิ่งที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้อ่านไม่ จำาเป็นต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ตามเพียงอย่างเดียว ในบางเรื่องเมื่อ อ่านแล้ว ผู้อ่านอาจมีความคิดเห็นแย้งหรือแตกต่างไปจากข้อมูล เดิมที่มีอยู่ ผู้อ่านสามารถนำาเสนอแนวคิดของตนเองออกมาได้ เพียงแต่ต้องมีการเสนอเหตุผลที่เหมาะสมประกอบแนวความคิด ใหม่นั้น ทักษะการอ่านในการเรียนระดับอุดมศึกษา ต้องพัฒนาขีด ความสามารถของผู้เรียนให้ไปถึงระดับสูงที่สามารถใช้ วิจารณญาณในการอ่านได้ อย่างไรก็ดี ทักษะการอ่านขั้นสูงนั้น ต้องอาศัยการมีพื้นฐานที่ดีในการอ่านมาตั้งแต่ระดับต้น เอกสาร ประกอบการสอนในรายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทยเล่มนี้จึง เสนอแบบฝึกหัดที่มีความยากง่ายไล่ระดับไปจนกระทั่งถึงเนื้อหาที่ มีความซับซ้อนเพื่อจะพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน แบบฝึกหัดที่ 1 การอ่านออกเสียง (10 คะแนน) หัดอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน โดยนักศึกษาไทยให้ ท่องจำาบทอ่านจำานวน 2 แล้วเขียนแสดงความคิดเห็น ส่วน นักศึกษาจีนให้อ่านจากร่างจำานวน 2 บท เหตุแห่งรัก 1 ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน เอวนฺตำ ชายเต เปมำ อุปฺปลำว ยโถทเกติฯ เหตุปัจจัยสองประการสมานรัก หนึ่งกาลก่อน เคยสมัครคิดรักใคร่ ได้ร่วมเรียงเคียบเรือนเพื่อนคู่ใจ สองเกื้อกูลกัน ใหม่ในปัจจุบัน ความรักมีรากฐานประสานต่อ ดุจบัวงามชู ช่อละออนั่น อาศัยเปลือกตมนำ้าเป็นสำาคัญ บัวเกิดก่อรัก ต่อมั่นนั่นบุพเพ เหตุแห่งรัก 2
  • 6. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 เหตุแห่งรักท่านชี้ว่ามีสอง หนึ่ง-เคยปองครอง รักสมัครสมาน โดยบุพเพนิยมมานมนาน พอได้พานพบรัก สมัครใจ สอง-ปัจจุบันหมั่นเกื้อเอื้อเฟื้อพร้อม รักก็ย่อมเกิดขึ้นมา อย่าสงสัย ดังอุบลต้อกอลออใบ ย่อมอาศัยตมนำ้างอกงาม เอยฯ แบบฝึกหัดที่ 2 การอ่านคำาควบกลำ้า คำายากให้ถูกต้อง (10 คะแนน) เสียเจ้า เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย จะเจ็บจำาไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ หากเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์ ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้ สูเป็นไฟ เราเป็นไม้ ให้ทำาลายสิ้นถึงวิญญาณ แม้แต่ธุลีมิอาลัย ลืมเจ้าไซร้ชั่วกาลปาวสาน แม้นชาติไหนเกิดไปพบพาน จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า เพื่อจดจำาพิษชำ้านานา ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย กวีนิพนธ์ - อังคาร กัลยาณพงศ์
  • 7. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 แบบฝึกหัดที่ 3 การอ่านเพื่อถอดความ (10 คะแนน) ในลักษณ์นั้นว่าน่าประหลาด เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า เหตุไฉนย่อท้อรอรา ฤาจะกล้าแต่เพียงวาที เห็นแก้วแวววับที่จับจิต ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้ถึงที่ เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี อันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้ฤา มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง คงชวดดวงบุปผาชาติสะอาดหอม ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ท้าวแสนปม ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าฯ รัชกาลที่ 6
  • 8. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 แบบฝึกหัดที่ 4 การอ่านบทความ และแสดงความคิดเห็น (30 คะแนน) วันที่ : 10 เมษายน 2551 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : การศึกษาวัน นี้ ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์มีมหกรรมงานหนังสือ 2 งานติดกันคือ งานสัปดาห์ หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม พ.ศ. 2551 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 36 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ทุกครั้งที่มีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประเด็น ที่ถูกหยิบยกนำามาพูดคุยกันอยู่เสมอคือ คนไทยอ่านหนังสือน้อย มาก แม้ว่าผู้คนจะให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อหนังสือใน งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเป็นจำานวนมากก็ตาม ประเด็นถกเถียงในเรื่องการอ่านหนังสือของคนไทย เป็นสิ่งที่มีการพูดคุยกันมานาน แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้ถูกกล่าว ถึงกันมากนักคือ“ความสามารถด้านทักษะการอ่านหนังสือของคน ไทย” การอ่านหนังสือจำานวนมากหรือน้อยอาจไม่สำาคัญเท่ากับ ผู้ อ่านได้รับอะไรจากสิ่งที่อ่านหรือผู้อ่านได้นำาสิ่งที่ได้อ่านนั้นไปใช้ ประโยชน์อย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านเป็นสำาคัญ ผู้อ่านที่ ขาดทักษะการอ่าน แม้อ่านหนังสือมากแต่อาจไม่ได้รับประโยชน์ก็ เป็นได้ ทักษะการอ่าน เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังตั้งแต่ระดับการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา หลุยส์ เอ็ม โกเมซ (Louis M. Gomez) ศาสตราจารย์ด้าน ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ (Learning Sciences) แห่งสถาบันสอน นโยบายการศึกษาและสังคม (school of Education and Social Policy) มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) และผู้ช่วยศาสตราจารย์คิมเบอร์ลี่ โกเมซ (Kimberley Gomez) วิทยาลัยการศึกษา (College of Education) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois)
  • 9. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ออกมาแสดงความคิดเห็นในนิตยสาร Phi Delta Kappan ฉบับ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เรื่อง “Reading for Learning: Literacy support for 21st Century Work” ไว้ว่า การขาด ทักษะการอ่านของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปัญหา ใหญ่ที่มีผลต่อการทำางานในอนาคต นักวิชาการทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ต้องการแรงงานคนที่มีทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิง วิเคราะห์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และ ในอนาคต อาชีพที่จะเติบโตมากที่สุดคือ อาชีพที่อาศัยความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและอาชีพด้านงานบริการ ทั้ง 2 อาชีพ ต้อง อาศัยทักษะการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่าง โดยเครื่องมือ สำาคัญ ที่จะทำาให้ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวคือ “การอ่านเพื่อการเรียนรู้” เนื่องจากการอ่านต้องอาศัยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จน สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับและนำาไปใช้ประโยชน์ ผู้เรียนที่มีพื้นฐานด้านทักษะการอ่านที่ไม่ดีตั้งแต่ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความยากลำาบากในการเรียนระดับการ ศึกษาที่สูงขึ้นและเมื่อก้าวเข้าสู่โลกการทำางาน ในสหรัฐอเมริกา ผู้ เรียนระดับมัธยมศึกษาจำานวนมาก มีทักษะการอ่านเท่ากับผู้เรียน ระดับประถมศึกษา นั่นหมายความว่า สถานศึกษาในสหรัฐอเมริกา หลายแห่ง ไม่ได้ฝึกทักษะพื้นฐานด้านการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้ผู้ เรียน ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งมีสาเหตุเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่ มักคิดว่าตนเองรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ผู้สอนก็มัก คิดว่าตนเองไม่ได้มีหน้าที่สอนวิธีการอ่านหนังสือและคิดว่าผู้เรียน น่าจะรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว จึงไม่ได้เข้มข้นในการสอนและ พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพให้ผู้เรียน ศ.หลุยส์ เอ็ม โกเมซ และ ผศ.คิมเบอร์ลี่ โกเมซ ได้ แนะนำาเทคนิคการอ่านที่ผู้สอนสามารถนำาไปฝึกทักษะการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ซึ่งสามารถทำาไปพร้อมกับการเรียนการ สอนได้ ดังนี้ Annotation เป็นเทคนิคการอ่านที่ผู้เรียนต้อง วิเคราะห์เนื้อหาที่อ่านให้เข้าใจ โดยจับใจความสำาคัญหลัก ใจความที่สำาคัญรอง ถอดความเข้าใจจากคำาศัพท์ที่ยาก ขีดเส้น
  • 10. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ใต้จุดที่สำาคัญ และสรุปใจความสำาคัญอย่างย่อในสิ่งที่ได้จากการ อ่าน การถอดความสำาคัญผู้เรียนสามารถเก็บไว้ใช้เพื่อประโยชน์ ในอนาคต เทคนิคการอ่านนี้ทำาให้ผู้เรียนสามารถสำารวจ โครงสร้างและใจความสำาคัญของเนื้อหา ซึ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมี ทักษะการคิดวิเคราะห์ Double-entry readings logs เทคนิคนี้ผู้เรียนต้อง ทำา 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ถอดใจความสำาคัญจากเรื่องที่อ่าน และ อธิบายให้ได้ว่าหาใจความสำาคัญมาได้อย่างไร วิธีนี้จะทำาให้ผู้ เรียนสามารถวิเคราะห์เนื้อหาและถ่ายทอดออกมาได้ ส่วนที่สอง หาคำาศัพท์ใหม่ ๆ หาความหมายของคำาศัพท์ และอธิบายให้ได้ว่า คำาศัพท์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใจความสำาคัญอย่างไร โดยอาจต้อง อาศัยการวิเคราะห์ประเด็นแวดล้อม การอ่านหนังสือด้วยเทคนิคนี้ ผู้สอนสามารถประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ว่า สิ่งไหนที่ผู้เรียน เข้าใจและสิ่งไหนที่จำาเป็นต้องสอนซำ้า Summarization เป็นการสรุปเนื้อหาจากสิ่งที่อ่าน ทั้งหมด การสรุปเนื้อหาที่ดี ผู้เรียนต้องจับใจความสำาคัญของ เนื้อหา ตลอดจนใจความสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับใจความสำาคัญ เทคนิคนี้ ทำาให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่อ่านลึกซึ้ง และผู้สอน สามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่หากถูกนำามา พัฒนาการสอนในเด็กและเยาวชน ย่อมมีส่วนในการวางรากฐาน การพัฒนาทักษะการอ่านได้อย่างมีคุณภาพ กรณีการอ่านในประเทศไทย การเรียนรู้และพัฒนา ด้านทักษะการอ่าน ยังไม่ถูกให้ความสำาคัญเท่าที่ควร สาเหตุหนึ่ง เนื่องจากผู้สอนไม่ได้สอนทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ให้ผู้เรียน เพราะต้องสอนเนื้อหาวิชาที่มีมาก การสอนจึงเป็น ลักษณะของการป้อนความรู้และผู้เรียนจำาสิ่งป้อน และแม้ว่าผู้สอน จะมอบหมายผู้เรียนไปอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ แต่ผู้เรียนไม่รู้ วิธีการอ่านที่ถูกต้อง จึงทำาได้เพียงอ่านเพื่อจำาและนำาไปสอบ ไม่ ได้คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ในเนื้อหาที่อ่านอย่างจริงจัง กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงและการนำาไปใช้ประโยชน์จึงไม่เกิด ขึ้น
  • 11. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ดังนั้น สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้น ฐาน ควรฝึกการพัฒนาทักษะการอ่านที่ถูกต้องให้ผู้เรียน โดย ดำาเนินการร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ในการร่วมพัฒนาทักษะ การอ่านในเด็กและเยาวชน นอกจากนั้น ผมเสนอว่า จำาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกบ้านควรมี ชั้นหนังสือ เพื่อให้เด็กเยาวชนและสมาชิกในครอบครัว ได้มี โอกาสอ่าน ใช้เวลาร่วมกันในการอ่าน อันจะพัฒนาไปสู่การเป็น นักเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สามารถเอาตัวรอดในสภาพการณ์ที่มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการ ศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและการทำางาน อ่านเรื่องแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ผู้เขียนเสนอแนวคิดไว้อย่างไร ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะ อะไร (10 คะแนน) 2. บทความนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร ท่านมีแนวทางอื่น ที่จะเสริมแนวคิดของผู้เขียนอย่างไร (10 คะแนน) 3. สอบอ่านออกเสียง (20 คะแนน) สมาธิที่ดีสร้างได้ไม่ยากในวัยเยาว์ วันที่ : 1 กรกฎาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : นิตยสารแม่ และเด็ก ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ด
  • 12. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ผู้ที่สามารถมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่ ทำาอยู่ได้จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นับเป็นคุณลักษณะ สำาคัญของผู้ที่ประสบความสำาเร็จในชีวิตทั้งในด้านการเรียน การ ทำางาน โดยทั่วไป สมาธิ หรือหรือตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายว่าเป็น ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำา รวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง นั้น ไม่ใช่เพียงการฝึกจิตให้สงบนิ่งโดยไม่คิดหรือไม่รับรู้สภาพ การณ์ภายนอกใด ๆ เลย แต่เป็นการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอที่จะคิดหรือทำาในสิ่งต่าง ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้จนกว่าจะประสบผลสำาเร็จ ไม่ว่าจะ เป็นการมีสมาธิอยู่กับการคิด การทำางาน การสนทนา การอ่าน หนังสือ การฟังครูสอน เป็นต้น ในสภาพสังคมปัจจุบันเราพบว่า เด็กจำานวนมากที่มี ปัญหาความบกพร่องในเรื่องของสมาธิอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น ผลที่เกิดจากปัญหาทางพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวหรือ อาจเกิดจากความผิดปกติของในการทำางานของสมองบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนใน สังคมเต็มไปด้วยความเร่งรีบ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก การให้ทีวี ช่วยเลี้ยงลูก มลพิษทางอากาศ อาหารที่เจือปนด้วยวัตถุกันเสีย สารกันบูด ที่มีงานวิจัยรองรับออกมาแล้วว่าอาจเป็นสาเหตุสำาคัญ ของโรคสมาธิสั้นในเด็กและเยาวชนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง มากขึ้น พ่อแม่จำานวนมากคงเคยมีความรู้สึก หงุดหงิด หัวเสีย เกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของลูกหลายประการ ที่เล็งถึง ความไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่อ ในการทำาสิ่งต่าง ๆ อาทิ ไม่เคยที่จะ ทำาการบ้านเสร็จลุล่วงไปด้วยดีสักครั้งหากพ่อแม่ไม่คุมเข้ม ไม่เข้า ห้องนำ้าก็ขอไปเดินเล่น เปิดตู้เย็นทานขนม หรือแอบไปเล่นของ เล่น ซุกซนมากไม่ยอมอยู่เฉย ไม่ยอมฟังคำาสั่ง ใจร้อนขาดความ อดทนในการทำาสิ่งต่าง ๆ หลงลืมไม่ใส่ใจในบทบาทหน้าที่ที่รับผิด ชอบ จนพ่อแม่รู้สึกเหนื่อยล้าหมดแรงหมดกำาลังใจไปกับการดูแล ลูก ๆ ของตน
  • 13. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรวิตกกังวลเกินกว่าเหตุว่าหากลูก มีอาการดังกล่าวแล้วจะต้องเป็น “โรคสมาธิสั้น” ที่ต้องรับการ รักษาหรือจำาเป็นต้องกินยาควบคุมเสมอไป เนื่องจากอาการที่พ่อ แม่คิดว่า “ขาดสมาธิ” ของลูกนั้นอาจเป็นไปตามพัฒนาการใน แต่ละช่วงวัยที่พบว่าในวัยเด็กเล็กจะมีสมาธิหรือใจที่จดจ่อในการ ทำาสิ่งต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่สั้นกว่าเด็กโต หรืออาการสมาธิสั้นดัง กล่าวอาจเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูบางประการที่ไม่ถูกต้อง ของพ่อแม่ก็เป็นได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรแยกแยะในการตรวจสอบอาการและ พิจารณาอย่างรอบคอบว่าอาการสมาธิสั้นที่เกิดขึ้นกับลูกของเรา นั้นเป็นเนื่องมาจากสาเหตุใด โดยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อรับการ วินิจฉัยว่าอาการดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มของ “โรคสมาธิสั้น” (Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD) หรือไม่ เพื่อที่จะรับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วต่อไป หรือ หากพ่อแม่พบว่าอาการสมาธิสั้นของลูกดังกล่าวนั้นสืบเนื่องมาจาก พฤติกรรมการเลี้ยงดูไม่ถูกต้องบางประการของพ่อแม่เองแล้ว พ่อ แม่จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงดูลูกใหม่ เพื่อฝึกฝนการสร้างสมาธิให้กับลูกของตนแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ยังเป็น เด็กเล็กเพื่อเป็นการลงรากฐานแห่งความสำาเร็จในชีวิตให้กับลูก ต่อไปในอนาคต โดยการปรับพฤติกรรมการอบรมสั่งสอนเพื่อการสร้างลูกให้ เป็นเด็กที่มีสมาธิที่ดี มีใจจดจ่อในการคิดหรือการทำาสิ่งต่าง ๆ ให้ สามารถสำาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้น มีหลักสำาคัญที่พ่อแม่สามารถ นำาไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูก ดังนี้ หลักแห่งการสร้างแรงดึงดูด ธรรมชาติของเด็กแล้วมักมีความสนใจหรือมีสมาธิจดจ่อ อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งค่อนข้างน้อยกว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า โดยมีผู้กล่าวถึงสูตรในการหาเวลาที่เด็กสามารถจดจ่อในสิ่งหนึ่ง สิ่งใดได้เป็นเวลานานเท่าไรไว้โดยการนำาอายุของเด็กคูณด้วย สาม เช่น หากลูกอายุ 5 ปี ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่เด็กมีสมาธิหรือ สามารถจดจ่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ดีคือที่ 5 x 3 = 15 นาที อย่างไรก็ตามพ่อแม่ไม่ควรจริงจังกับสูตรหาสมาธิดังกล่าวนี้มาก จนเกินไปหรือพยายามกดดันให้ลูกต้องทำาให้สำาเร็จ หรือต้องทะลุ
  • 14. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 เป้าเวลามาตรฐานนี้ให้ได้เนื่องจากเป็นวิธีการคำานวณหาโดย คร่าวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นวิธีตัดสินว่าลูกเราผิดปกติหรือไม่แต่อย่าง เกดีกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก อาทิ บรรยากาศ สภาพ แวดล้อมของสถานที่ หรือปัจจัยภายในจากตัวเด็กเองว่ามีความ พร้อมหรือไม่ทั้งทางฝ่ายกายภาพ อาทิ อยู่ในภาวะง่วงนอน หิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมหรือสิ่งที่เขาต้องทำาหรือต้องจดจ่ออยู่ เป็นระยะเวลานานนั้นเขามีความชอบหรือความสนใจมากน้อย เพียงใด เด็กส่วนใหญ่มักเบื่อง่าย พ่อแม่จึงควรจับจุดนี้ไว้ให้ดี เพื่อค้นหาวิธีการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกของเราหันมาคิดหรือทำาใน สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างใจจดจ่อไม่จับจดหรือเลิกราไปกลางครันโดย ง่าย โดยพ่อแม่ต้องคอยสังเกตดูพัฒนาการความก้าวหน้าของลูกอยู่ เสมอว่าสิ่งใดที่เขาทำาได้คล่องดีแล้ว เล่นจนหลับตาทำาได้แล้ว สิ่ง นั้นอาจไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดพอให้เขาจดจ่อค้นหากับมันอีก ต้องหาความท้าทายใหม่ ๆ ที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างแรงดึงดูด ให้เขาสนใจที่จะมาค้นหาเป็นลำาดับขั้นต่อไป รวมทั้งหมั่นสังเกต ว่าลูกของเราชอบหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษสิ่งใดที่ทำาให้เขา ครุ่นคิดอยู่ได้นาน ๆ โดยอาจทำาให้ไม่สนใจในเรื่องอื่นเลยก็เป็น ได้พร้อมคอยส่งเสริมหากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีพิษมีภัย โรเบิร์ต ซิลเวสเตอร์ (Robert Sylvester) นักวิชาการด้าน การเรียนรู้ ให้คำากล่าวที่น่าสนใจว่า “อารมณ์ทำาให้เกิดความ สนใจและความสนใจทำาให้เกิดการเรียนรู้” หรือ “Emotion drives attention, attention drives learning” ยิ่งมีอารมณ์ อยากรู้ กระหายใคร่รู้มาก ยิ่งสร้างแรงดึงดูดให้ใช้เวลาในการ พิจารณาจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นมากตามไปด้วยและเพียงพอที่จะก่อให้ เกิดการเรียนรู้ตามมา โดยอาจใช้วิธีการสร้างบรรยากาศภายนอก การสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ การจดจ่อโดยไม่ถูกสิ่ง เร้าต่าง ๆ มารบกวน อาทิ การตกแต่งสถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ให้น่า ตื่นเต้น สวยงามดึงดูดความสนใจ หรือการจัดสถานที่ที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงดัง สับสนวุ่นวาย เหมาะกับการได้ครุ่นคิดกับมัน เป็นต้น นอกจากนี้การสร้างแรงดึงดูดที่สำาคัญในเรื่องที่เราต้องการ ให้ลูกได้มีสมาธิหรือจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดีต่อเนื่องและ ยาวนานที่สุด นั่นคือพ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะย่อยหรือค้นหาว่า
  • 15. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 สิ่งนั้นมีความเกี่ยวข้อง ใกล้ตัว สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิต จริง หรือมีประโยชน์สำาคัญอย่างไรจนมากเพียงพอและควรค่าที่ ลูกจะเห็นความสำาคัญและดึงดูดให้ลูกไปใช้เวลาจดจ่อกับมันใน ท้ายที่สุดโดยไม่ต้องบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด อันเป็นจุดเริ่มต้น สำาคัญที่จะนำาไปสู่กระบวนการเรียนรู้อย่างมีสมาธิที่ดีได้ในที่สุด รวมทั้งการกระตุ้นและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะ เป็นการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การตั้งคำาถามท้าทายกระตุ้นให้เกิด ความสนใจและความสงสัยการกระหายใคร่รู้ การพาไปหาผู้รู้ หรือค้นหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้จดจ่อในเรื่องนั้น ๆ ให้ลึกซึ้งลงไปมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งขยายวงกว้างในการเรียนรู้ เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไปด้วยตัวของเขาเอง หลักแห่งการวางแผนและทำาอย่างต่อเนื่อง การใช้ชีวิตอย่างอิสระ ทำาสิ่งใดก็ได้ตามใจตนเองหรือตาม อารมณ์ความรู้สึกจะพาไปอย่างไร้ซึ่งระเบียบวินัยหรือการบริหาร เวลาในชีวิตประจำาวัน นับเป็นสาเหตุสำาคัญประการหนึ่งของการ เกิดปัญหาสมาธิสั้นในเด็กและส่งผลตามมาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เป็น อุปสรรคขัดขวางกระบวนการเรียนรู้รวมทั้งเป็นการสร้างลักษณะ นิสัยที่จับจดไม่สามารถทำาสิ่งใดให้สามารถประสบผลสำาเร็จได้ เด็กที่ถูกฝึกในเรื่องการวางแผนและบริหารเวลามาเป็นอย่าง ดี จะเป็นเด็กที่มีวินัยสูงมีความรับผิดชอบ ไม่เป็นคนผัดวันประกัน พรุ่ง ไม่จับจด รู้ว่าเวลาไหนควรทำาอะไร เรียนเป็นเรียน เล่นเป็น เล่น เวลาไหนควรอ่านหนังสือ เวลาใดควรเป็นเวลาในการพัก ผ่อน ฯลฯ เด็กในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่มีสมาธิดีกว่าเด็ก ในกลุ่มที่ไม่รู้จักบริหารเวลาหรือควบคุมตนเองอย่างมีนัยสำาคัญ การวางแผนชีวิตหรือกการทำาตารางเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำาคัญ มากในการฝึกสมาธิ ความ จดจ่อในการทำาสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เด็ก เนื่องจากเป็นการฝึกให้เด็ก เรียนรู้การวางแผนก่อนการกระทำาหรือการฝึกให้คิดก่อนทำา นั่นเอง เพื่อที่จะรู้ว่าเมื่อทำาสิ่งนี้สำาเร็จแล้วหรือจบภายในระยะเวลา ที่กำาหนดแล้วจะต้องทำาในสิ่งใดต่อไป โดยมีการวิจัยพบว่าเด็กส่วนใหญ่จะชอบอะไรที่เป็นกิจวัตร และสามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากเด็กจะรู้สึกมีความมั่นคงและ สบายใจในสิ่งที่เขาสามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
  • 16. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ทราบว่าในแต่ละวันเขาจะต้องทำาอะไรบ้าง เช่น กิจวัตรประจำาวัน ทั้งในยามปกติหรือในช่วงเวลาปิดเทอม วันหยุดต่าง ๆ นอกจากนี้ไม่เพียงแต่การวางแผนและการจัดตารางเวลาใน ชีวิตประจำาวันเท่านั้น แต่พ่อแม่ต้องเป็นผู้ช่วยคอยควบคุม ฝึกวินัย จูงใจ ให้ลูกไปถึงเป้าหมายและสามารถทำาตามแผนที่วางไว้ได้ อย่างสำาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีในแต่ละวัน เนื่องจากการที่ลูกลิ้มรสความสำาเร็จที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการ สร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงดึงดูดให้ลูกเกิดความสนใจและ ปรารถนาจะทำาในแผนที่วางไว้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปให้ประสบผล สำาเร็จเช่นเดียวกัน โดยในการวางแผนพ่อแม่สามารถสอดแทรกกิจกรรมเสริมที่ มีประโยชน์ในการฝึกสมาธิลงไปด้วย อาทิ การอ่านหนังสือ เขียนไดอารี่ การฝึกฟังเทปความรู้เทปนิทานต่าง ๆ แล้วนำามาสรุป หรือเล่าให้ฟัง งานศิลปะ ดนตรี กีฬา การกำาหนดเวลาแห่งการ พูดคุยสรุปเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่ลูกพบมาในชีวิตประจำาวัน หรือเมื่อตอนไปโรงเรียน ฯลฯ ตามความชอบถนัดของเด็กและของ ตัวพ่อแม่เองได้ โดยพยายามลดกิจกรรมที่อาจส่งผลในการ รบกวนสมาธิออกไป อาทิ การดูทีวี เล่นเกม ให้เหลือน้อยที่สุด เป็นต้น การมีสมาธิที่ตั้งมั่นมีจิตใจที่จดจ่อไม่จับจดนับเป็น คุณลักษณะพื้นฐานที่สำาคัญของกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ รวมทั้งนำาไปสู่ลักษณะชีวิต ชีวิตของการอดทน พากเพียร พยายาม ทำาจนสำาเร็จ ไม่เสร็จไม่ เลิกรา อันเป็นปัจจัยสำาคัญที่นำาไปสู่ความสำาเร็จในชีวิตไม่ว่าเขา จะทำาอะไรก็ตาม เด็กคนใดจะมีสมาธิ การจดจ่อในเรื่องต่าง ๆ มากหรือน้อย นั้นไม่ได้ขึ้นกับพันธุกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้แต่ อย่างใด แต่ทั้งนี้การที่เด็กจะมีสมาธิที่ดีได้นั้นขึ้นกับพฤติกรรมการ เลี้ยงดู การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่เป็นสำาคัญ โดยจากหลักแห่ง การสร้างแรงดึงดูด ความสนใจ และหลักการวางแผนบริหารเวลา อย่างต่อเนื่องที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น หากพ่อแม่นำาไปฝึกปฏิบัติต่อ ลูกอย่างเป็นประจำา พ่อแม่จะพบว่าลูกของท่านจะมีสมาธิในการคิด
  • 17. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 การทำาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นในระดับการพัฒนาที่น่าพึงพอใจอย่าง แน่นอนครับ อ่านบทความข้างต้น แล้ววิจารณ์การใช้ภาษา ลีลาการเขียน ตลอดจนประเมินคุณค่าของงานเขียนนี้ เป็นจำานวน 2 หน้า กระดาษเอสี่ (40 คะแนน) สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงการเปิดภาค เรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำาปีการศึกษา 2550 นับเป็นการเริมต้นของการก้าวเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ซึ่ง
  • 18. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ครูสอนมีส่วนสำาคัญอย่างมากในการนำาผู้เรียนเข้าสู่โลกของการ เรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ และสนุกสนาน ในการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด บทความนี้ เป็นการแนะนำาวิธีการสอนที่ผู้สอนสามารถ นำาผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ในรูปแบบของการอ่านหนังสือ ที่ไม่เพียงสอนให้ผู้เรียนอ่านหนังสือเพื่อรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่สอน ให้ผู้เรียนรู้จักวิธีโต้ตอบกับผู้เขียนอีกด้วย ในอดีตครูผู้สอนที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียนรักษาสิ่งของ มัก จะกำาชับผู้เรียนเสมอว่า “ ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ ” เพราะจะทำาให้หนังสือเลอะเทอะ หรือ “ ถ้าต้องการเน้นข้อความ สำาคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว ” ความคิดเช่นนี้ ทำาให้ผู้เรียนพลาดโอกาสในการใช้หนังสือเพื่อช่วยพัฒนาความ สามารถในการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความจำา การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ เดฟ เอลลิส ( Dave Ellis ) ผู้ให้คำาปรึกษาด้านการ เรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน “ เรียนเก่ง ” กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “ มี เหตุผลเดียวที่คนเราไม่เขียนอะไรลงไปในหนังสือ เพราะเรากลัว ว่าเมื่อนำาไปขายต่อจะไม่ได้ราคา ซึ่งแท้จริงแล้วประโยชน์ที่ได้ จากการเขียนลงไปในหนังสือนั้น มีมากกว่าที่ได้รับจากการขาย ไม่รู้กี่เท่า ” เอลลิส จึงได้คิดระบบที่เรียกว่า Discovery and Intention Joumal Entry System ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำามา ใช้ในระหว่างการอ่านหนังสือของผู้เรียนได้ Discovery คือ ข้อ ค้นพบ ทัศนคติ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่มีต่อข้อความที่ได้ อ่านจากหนังสือ Intention คือ สิ่งที่ต้องตั้งใจจะทำาต่อไป หลัง จากที่มีข้อค้นพบ หรือมีข้อคิดจากการอ่านหนังสือ เช่น กลับไป ถามอาจารย์/เพื่อน ต้องไปค้นพบข้อมูลต่อ เป็นต้น โดยผู้เรียน สามารถขีด เขียน ลงไปในหนังสือได้ วิธีการอ่านแบบนี้ด้วยแบบนี้ ช่วยทำาให้ผู้เรียนฉลาดขึ้น เพราะผู้เรียนจะกลายเป็น “ ผู้เรียนรู้ ”
  • 19. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 การสอนผู้เรียนให้อ่านหนังสือและให้พวกเขารับเอาสิ่งที่ ผู้เขียนได้เขียนไว้ทั้งหมดไม่ต่างอะไรกับการฝึกให้นกแก้วนก ขุนทองพูดตามคำาบอก แต่หากผู้เรียนได้อ่านหนังสือแบบเรียนรู้ จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร ได้ ฝึกโต้ตอบกับผู้เขียนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือเกิดความคิด สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับผู้เขียน ไม่เพียงเท่านั้น การอ่านเรียนรู้ยังไม่ทำาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ คำาศัพท์สำา นวนใหม่ๆ หรืออะไรก็ตามที่ได้รับจากการอ่าน ซึ่งการอ่านแบบ เรียนรู้นี้จะเกิดต่อเมื่อผู้เรียนได้อ่านแล้ว “ คิด ” หรือ “ ขีดเขียน ” ลงไปในหนังสือ ในภาคปฏิบัติ เอลลิสมีคำาแนะนำาที่ครูผู้สอนสามารถนำา ไปใช้ได้กับผู้เรียนดังนี้ สอนผู้เรียนให้ขีดเส้นใต้ ทำาเครื่องหมาย สร้างสัญญา ลักษณ์ เหนือข้อความที่คิดว่าสำาคัญ เมื่อผู้เรียนอ่านหนังสือ ครูผู้สอนสามารถแนะนำาผู้เรียน ให้วงกลมล้อมรอบข้อความสำาคัญนั้น ถ้าสำาคัญมากและต้องกลับ มาทบทวนอาจเพิ่มจำานวนดอกจันทร์เป็น*** ตามความสำาคัญของ เนื้อหา ซึ่งวิธีการนี้จะทำาให้ผู้เรียนได้เข้าใจความคิดของผู้เขียน ได้คมชัดมากยิ่งขึ้น สอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน เมื่อผู้เรียนได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือต้องการยำ้าความ เข้าใจจากการอ่านหนังสือครูผู้สอนอาจสอนให้ผู้เรียนเขียนสรุป ความสั้นๆ หรือทำาเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือทำาอะไรก็ได้ตาม จินตนาการของผู้เรียนไว้มุมใดมุมหนึ่งของหนังสือ การทำาเช่นนี้ เป็นเหมือนการที่ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนได้จดจำาและสามารถทบทวนในสิ่งที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น โดย ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือทั้งเล่ม สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้อ่าน
  • 20. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักการโต้ตอบกับผู้เขียน ระหว่างการอ่านหนังสือ ไม่ควรเป็นผู้รับรู้ข้อมูลเพียงอย่างเดียว โดยแนะนำาให้ผู้เรียนเขียนสื่อสาร หรือใช้ภาษาสัญลักษณ์ลงไป ในหนังสือด้วย หากผู้เรียนได้นำาเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือต้องการเสนอความคิดจากสิ่งที่ผู้ เขียนได้นำาเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย แล้วลากเส้นโยงออกมา เขียนไว้ว่า “ ความคิดนี้สุดยอดจริงๆ ” “ต รงนี้ไม่เห็นด้วยเขียนแง่ลบเกินไป” เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างผู้ เรียนให้เป็นคนที่มีทักษะการคิด วิเคราะห์ และการคิดเชิง สร้างสรรค์ สอนให้ผู้เรียนเขียน หรือแสดงสัญลักษณ์ เพื่อมีคำาตอบ จากการอ่านหนังสือ ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำาถามในการอ่านไม่ ควรเชื่อในสิ่งที่ผู้เขียน เขียนมาทั้งหมด และเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ และมีข้อสงสัยควรแนะนำาให้ผู้เรียนใส่เครื่องหมายคำาถาม (?) หรือ เขียนประเด็นที่สงสัย หรือยังไม่เข้าใจ ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม หรือสอบถามผู้รู้ และเขียนกำากับไว้ด้วยว่าเราไม่เข้าใจอะไร หรือ อาจเขียนกำากับไว้ด้วยว่าจะต้องทำาอะไรต่อไป เช่น “ ตรงนี้ต้อง ถามอาจารย์ ” “ ไปค้นพบในห้องสมุด ” เป็นต้น อันที่จริง ผมทำาอย่างที่เอลลิสได้กล่าวไว้ข้างต้นมาตั้งแต่ เด็กๆ และพบว่าทำาให้การอ่านหนังสือได้ประโยชน์มาก ยิ่งไปกว่า นั้น เมื่อคนเอาหนังสือที่ผมอ่านและได้เขียนสิ่งต่างๆ ไปอ่านต่อ หลายคนบอกผมว่า เขาได้รับประโยชน์จากการขีดเขียนของผม ในหนังสือเล่มนั้นๆ ด้วย จึงสรุปได้ว่า วิธีการอ่านแบบนี้ช่วยทำาให้ ผู้เรียนได้ประโยชน์มากขึ้น และเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม วิธีเหมาะสำาหรับหนังสือกับผู้เรียนที่เป็น เจ้าของเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หรือ แม้กระทั้งหนังสือที่ขึ้นมาอ่านเล่น เพื่อให้การอ่านหนังสือเกิด ความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด แต่หนังสือที่เป็นของห้องสมุด ซึ่งต้องใช้ส่วนรวม ครูผู้สอนควรยำ้าให้ผู้เรียนใช้หนังสืออย่างมี มารยาทและเห็นแก่ผู้อื่น โดยไม่จดข้อความหรือขีดเขียนสิ่งใดลง
  • 21. รายวิชา ทักษะการอ่านภาษาไทย กลุ่มเรียน ภาษา ไทย (ศศ.บ.) ปี 1 รหัส 521230101 ผู้สอน อ.ทัตพิชา ชลวิสูตร เวลาเรียน พฤหัส เวลา 0800 – 12.00 ไปไม่พบหนังสือหรือวางควำ่าหน้าลง เพราะหนังสืออาจจะหักหรือ เสียหายได้ และควรดูแลให้หนังสืออยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์ในการใช้ร่วมกัน ผมมีความเชื่อว่า เปิดเทอมใหม่นี้ผู้เรียนทุกคนจะ สามารถพัฒนาตนเองให้เก่งและฉลาดขึ้นได้ หากครูผู้สอนใส่ใจที่ จะฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียนในวิธีการที่เหมาะสม ซึ่ง “ การอ่าน หนังสือ ” เป็นวิธีการหนึ่ง เพราะช่วยเพิ่มพูนความฉลาดและ พัฒนาความเก่งและความฉลาดของผู้เรียนได้นั้น เกิดจากการที่ เมื่ออ่านหนังสือผู้เรียนได้อ่านและคิดใคร่ครวญ ขีดเขียน ใส่ สัญลักษณ์ ใส่เครื่องหมาย โต้ตอบกับผู้เขียน แม้จะดูเลอะเทอะ ไม่ น่าดูในสายตาคนอื่น แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ผู้เรียนได้รับนั้นเต็มเปี่ยม ไปด้วยการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งคุ้มค่ากับการใช้หนังสือหนึ่งเล่ม