SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  118
Télécharger pour lire hors ligne
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
ของการพัฒนา

แหล่งประมง
ปี
35
เล่าเรื่องเบื้องต้น	 ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนซึ่งมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
มีความเหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งทำประมงที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ การพัฒนาการทำประมง
ทะเลมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด จำนวนและประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้แหล่งอาศัยของ
สัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งถูกทำลายโดยเครื่องมือบางประเภท ความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งทำประมงลดลง กรมประมงจึงได้มี
มาตรการ กฎ ระเบียบ และดำเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูแหล่งทำประมงให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ 

นับตั้งแต่โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ภายใต้โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านจนมาถึงโครงการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ภายใต้แผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย เป็นภารกิจต่อเนื่องที่กรมประมงได้ดำเนินการมาเป็น
เวลาไม่น้อยกว่า 35 ปี พบว่าการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล
และแหล่งทำประมงบริเวณชายฝั่งจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบให้ กระทรวง กรม กอง
และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนได้ยึดถือเป็นต้นแบบและแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ทะเล
	 การรวบรวมผลงานการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมงในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นแนวทาง
เผยแพร่องค์ความรู้และผลการศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ เข้าใจ ให้การสนับสนุน 

ช่วยกันสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรสัตว์น้ำ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และเศรษฐกิจให้กับการทำประมงทะเล
ของประเทศไทยสืบไป
(นายวิมล  จันทรโรทัย)
อธิบดีกรมประมง
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
2
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
บอกกล่าวเล่าขาน
	 สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเลได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลที่สั่งสมจนมาถึงวันนี้ ด้วยเจตจำนงที่จะรวบรวมผลงานเพื่อเผยแพร่ให้ได้รู้ถึงประวัติ การทดลอง การติดตามผล 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ที่ได้รับทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ ลูกปลาวัยอ่อน 

แพลงก์ตอน สัตว์หน้าดิน ตลอดจนผลผลิตทางการประมงที่ได้จากการจัดวางแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อเป็นแนวทาง

ให้หน่วยงานหรือองค์กรที่จะสนับสนุนงบประมาณ และขยายการดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้มีแนวทาง

ในการปฏิบัติครบถ้วนทุกขั้นตอนของการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนมีส่วนร่วม คือ ทั้งการร่วมคิดวางแผน 

ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล และร่วมรับผลประโยชน์
	 เอกสารฉบับนี้ เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการประมง ในสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ค้นคว้าเอกสาร 

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ รวบรวมผลการทดลองและวิจัยเป็นเวลานาน ด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผน
ติดตาม และออกกฎระเบียบ เพื่อใช้ประโยชน์แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นคู่มือสำคัญให้หน่วยงาน
ที่เพิ่งเริ่มทำหรือสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้มีแนวทางและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการ
ดำเนินการ กำหนดทิศทางและแผนพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เจริญรุดหน้า พื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล
ไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน หากมีข้อมูลทางวิชาการส่วนหนึ่งส่วนใดขาดตกบกพร่อง 

หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเลยินดีน้อมรับเพื่อพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เจริญ
ก้าวหน้า และรวบรวมผลงานรายงานความก้าวหน้าในโอกาสต่อไป
(นายมาโนช  รุ่งราตรี)
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
3
กว่าจะถึงวันนี้	 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่กรมประมงสร้างขึ้น

แล้วเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ สามารถฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเลของประเทศไทยให้อุดมสมบูรณ์

มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและดำเนินการจัดสร้าง 

ตลอดแนวชายฝั่งทั่วประเทศ หากได้มองย้อนไปถึงครั้งแรกของการจัดสร้างเพื่อเสริม
มาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง ให้รอดพ้นจากการทำประมง
อวนลากและอวนรุนผิดกฎหมาย ลดข้อขัดแย้งระหว่างประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์
ให้ชาวประมงพื้นบ้านมีแหล่งทำประมงบริเวณหน้าชุมชน ลดต้นทุนทำการประมง และ

จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลได้พัฒนา
ก้าวหน้าจากเดิมมาก
	 นักวิจัย นักวิชาการประมง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลของสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล จึงได้ค้นเอกสาร ติดต่อสอบถาม สืบค้นแผน
แม่บทโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล รวบรวมโครงการทั้งหมดที่มีกิจกรรมการ

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล แผนผัง งบประมาณ พื้นที่ ตลอดจนผลการติดตาม ทดลอง
และวิจัย เป็นต้น เพื่อประมวลเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดสร้าง ติดตามผล และ
ออกแบบงานวิจัยด้านการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณา 

รูปแบบ แผนผัง วัสดุ ตลอดจนความคุ้มค่าในการจัดสร้าง ปรับปรุงแผนการวิจัยและ

ติดตามผลให้เกิดประโยชน์และถูกต้องมากกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา
	 หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นอีกฉบับหนึ่งที่กรมประมงจะได้เผยแพร่

ผลงานสำคัญให้ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

ผู้มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการประมง การท่องเที่ยว ธุรกิจขนาดเล็กในชุมชนประมง และอื่นๆ 

ให้ได้รับทราบเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณพัฒนาธุรกิจต่อเนื่อง 

การออกกฎระเบียบเพื่อการใช้ประโยชน์ และที่สำคัญเพื่อสร้างแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์
ให้กับชาวประมงไทยได้สืบทอดอาชีพการทำประมงทะเลให้ยั่งยืน
คณะผู้จัดทำ
กันยายน  2556
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
4
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
5
สารบัญ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
 8
1. พัฒนาการของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย
 15

 1.1 ประวัติการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 16

 1.2 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง
 18

 1.3 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของหน่วยงานอื่น
 22

 1.4 ขั้นตอนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 24
2. วัสดุและแผนผังการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 29

 2.1 วัสดุที่ใช้ในการจัดสร้าง
 31

 2.2 รูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 34

 2.3 แผนผังการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง
 35

 2.4 สภาพพื้นที่การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง
 38

 2.5 การศึกษาความคงทนและการจมตัวของวัสดุ
 44

 2.6 แนวทางการศึกษาด้านวัสดุในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 48
3. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
 51

 3.1 แพลงก์ตอนบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 53

 3.2 การศึกษาสัตว์หน้าดินและสัตว์เกาะติดบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 54

 3.3 การศึกษาชนิดปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 55

 3.4 แนวทางการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 58
4. สภาวะการประมงพื้นบ้าน
 65

 4.1 การเปลี่ยนแปลงผลจับสัตว์น้ำ
 67

 4.2 การเปลี่ยนแปลงการลงแรงประมง
 70

 4.3 แนวทางการศึกษาสภาวะการประมงบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 72

 4.4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
 72
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
6
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
5. สภาวะเศรษฐกิจการประมง
 75

 5.1 รายได้จากการทำประมง
 76

 5.2 ความคุ้มทุนและคุ้มค่า
 77

 5.3 แนวทางการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจการประมงบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 77

 5.4 ข้อเสนอแนะในการศึกษา
 80
6. ความคิดเห็น ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชาวประมงต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 83

 6.1 ความคิดเห็นของชุมชนต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 84

 6.2 ทัศนคติของชาวประมง
 85

 6.3 กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 86

 6.4 การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
 87

 6.5 แนวทางการศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 87
7. ข้อเสนอแนะแนวทางการวิจัยและพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 91
ภาคผนวก
 99
ภาคผนวก ก วิธีการและขั้นตอนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 101
ภาคผนวก ข พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ
 105
ภาคผนวก ค ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอและการอนุญาตให้สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
พ.ศ.2551
109
ภาคผนวก ง คำสั่งสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
 115
7
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
	 ชาวประมงพื้นบ้านของประเทศไทยรู้จักสร้าง

แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมานานนับหลายชั่วอายุคน ในลักษณะ
ของหญ้ากร่ำหรือกร่ำในพื้นที่ทำประมงน้ำจืดและชายฝั่ง 

ตลอดจนการทำซั้งในทะเล โดยสถานีประมงทะเลจังหวัด
ระยอง ได้ทดลองจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พบว่า 

แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์มีความแข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก
มาก สามารถวางจากผิวน้ำโดยไม่ต้องดำน้ำเพื่อจัดเรียง
เนื่องจากวัสดุจะรักษารูปทรงเดิมได้ทุกทิศทางที่ตกถึงพื้น
ทะเล จัดวางเป็นกองสูงได้ตามต้องการ ประหยัดต้นทุนการ
จัดวาง มีอายุการใช้งานนาน มีสัตว์น้ำอาศัยจำนวนมากจึง
เลือกใช้วัสดุนี้ จัดสร้างฯ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยมีขนาด
ความสูงของวัสดุระหว่าง 0.8 - 2.0 เมตร ส่วนใหญ่นิยมใช้
ขนาดความสูง 1.5 เมตร
	 กรมประมงทำการทดลองและติดตามผลการ

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 35 ปี
มีนักวิจัยเกี่ยวกับแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจำนวนไม่น้อยกว่า 67 คน
ตีพิมพ์ผลงาน 53 เรื่อง จึงสามารถพัฒนาการจัดสร้างแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเลมาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
1.	ยุคของการทดลอง ระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2529
ได้ทดลองครั้งแรกบริเวณฝั่งอ่าวไทยที่จังหวัด
ระยอง พ.ศ. 2521 และบริเวณฝั่งอันดามันที่

อ่าวพังงา พ.ศ. 2526 
2.	ยุคจัดสร้างเพื่อพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน
ระหว่าง พ.ศ. 2530 - 2539 ภายใต้โครงการ
พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน โครงการจัด
สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล และโครงการฟาร์มทะเล
3.	ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรสัตว์น้ำ ระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2549
ภายใต้โครงการฟื้นฟูทะเลไทย โครงการจัดการ
และฟื้นฟูทะเลไทย และโครงการฟื้นฟูทรัพยากร
ชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส 
4.	ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการประมง ตั้งแต่ 

พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ภายใต้แผนแม่บทการ
จัดการประมงทะเลไทย กรมประมงเริ่มสนับสนุน 

เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ร่วม

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้ถูกต้องตามขั้นตอน
และกฎหมายการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ เพื่อ
เพิ่มผลผลิตประมงและสร้างความมั่นคงด้าน
อาหาร วัสดุที่จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
ทั้งหมดมีจำนวน 3 ชนิด (ยาง คอนกรีต และ
เหล็ก) รวม 9 รูปแบบ คือ ยางรถยนต์

แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ แผ่นคอนกรีตประกอบ
เป็นชุดสี่เหลี่ยม แท่งคอนกรีตสามเหลี่ยมปีระมิด
ปลอกบ่อคอนกรีต ท่อคอนกรีต ตู้รถไฟ รถถัง
และรถยนต์ รวม 517,313 ชิ้น จัดวางบริเวณน้ำลึก
ระหว่าง 3.50-50.00 เมตร ส่วนใหญ่จัดวาง

ที่ความลึกน้ำ 5.00-10.00 เมตร ระยะห่างฝั่ง
0.15-30.50 กิโลเมตร
	 พื้นที่ทางทะเลของอ่าวไทย 304,000 ตาราง
กิโลเมตร ได้จัดวางวัสดุเพียง 1,523.48 ตารางกิโลเมตร 

(ร้อยละ 0.50) ส่วนฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ทางทะเล
116,200 ตารางกิโลเมตร จัดวางวัสดุเป็นพื้นที่ 520.87
ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 0.45) จังหวัดที่สร้างมากที่สุด คือ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (196.18 ตารางกิโลเมตร) รองลงมา
คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช (175.76 ตารางกิโลเมตร) และ
สงขลา (150.81 ตารางกิโลเมตร) จังหวัดที่สร้างน้อยที่สุด
คือ จังหวัดสมุทรสาคร (50.00 ตารางกิโลเมตร) ความต้องการ
จัดสร้างมีมาก แต่กรมประมงมีงบประมาณ และบุคลากรจำกัด
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
8
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
หน่วยงานต่างๆ จึงได้เข้าร่วมดำเนินโครงการจัดสร้าง

แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมากขึ้นทุกปี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า
259 แห่ง มากกว่า 48 องค์กร ได้แก่ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
มูลนิธิชัยพัฒนา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ
บริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่
พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมพลังงานทดแทน
และอนุรักษ์พลังงาน การท่าเรือแห่งประเทศไทย ธนาคาร
ออมสิน กลุ่มประมงเรือเล็ก เมืองพัทยา บริษัท ปตท. สำรวจ
และผลิตปิโตรเคมี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แนวทางการจัด
สร้างหากใช้วัสดุชนิดใหม่จะต้องจัดสรรงบประมาณและ
ดำเนินการก่อน ระหว่างและหลังการจัดสร้างให้ถูกต้อง 

กรมประมงได้ทดลองติดตามผล และศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้
	 สภาพวัสดุ ภายหลังการจัดวาง 10 ปี บริเวณ
จังหวัดระยอง และนครศรีธรรมราช พบว่าแท่งคอนกรีต

อยู่ในสภาพดี คานล่างจมตัว 3 - 17 เซนติเมตร ส่วนที่
จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส มีการจมตัวของแท่งคอนกรีต 

5 - 10 เซนติเมตร ท่อคอนกรีต 10 - 20 เซนติเมตร ตู้รถไฟ
10 - 20 เซนติเมตร รถยนต์ 10 - 20 เซนติเมตร และรถถัง
5 - 10 เซนติเมตร พบมีการจมตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับส่วน
สูงของวัสดุ การจมตัวทำให้วัสดุตรึงอยู่กับที่ ไม่กระจายเมื่อ
ถูกพายุคลื่นลมแรงหรือถูกฉุดดึงโดยเครื่องมือประมงขนาดใหญ่
	 ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การศึกษาแพลงก์ตอน
บริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่อ่าวมะขาม เกาะเสม็ด 

จังหวัดระยอง พบว่าแพลงก์ตอนในกองวัสดุมีความชุกชุม
มากกว่ารอบนอก โดยผลของกระแสน้ำทำให้แพลงก์ตอน
เคลื่อนไหวไปมารอบกองวัสดุ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน 

พบแพลงก์ตอนจำนวน 91 ชนิด เป็นแพลงก์ตอน พืช 71 ชนิด
แพลงก์ตอนสัตว์ 20 ชนิด ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน
และมีการศึกษาพบไดอะตอมบนพื้นผิววัสดุ จำนวน 117 ชนิด
แสดงให้เห็นว่าเป็นแหล่งอาหารขั้นพื้นฐานในระบบนิเวศ
แหล่งประมง 
	 การศึกษาสัตว์เกาะติด บนแท่งคอนกรีต อายุ 2-3
สัปดาห์ พบสาหร่ายลงเกาะ ต่อมาอายุ 1 เดือน พบเพรียง
และหอยนางรม อายุมากกว่า 2 เดือน พบฟองน้ำ ไบรโอซัว
ไฮดรอยด์ เพรียงหัวหอม และอื่นๆ ส่วนการศึกษาสัตว์หน้าดิน
ขนาดใหญ่ พบความหนาแน่น มากกว่าบริเวณภายนอก
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตอื่นเข้ามาอาศัยมากขึ้นตาม
อายุวัสดุที่มากขึ้นด้วย พบหอยฝาเดียวและหอยสองฝา
จำนวน 61 สกุล 200 ชนิด และสัตว์น้ำอื่นๆ จำนวน 17 กลุ่ม
63 ชนิด เช่น ไอโซปอด แอมพิปอด ดอกไม้ทะเล หนอนทะเล
เม่นทะเล ลิ่นทะเล ทากทะเล ดาวทะเล ปลิงทะเล เพรียง กุ้ง
และปูชนิดต่างๆ และพบสาหร่ายทะเล อีก 14 ชนิด
	 ชนิดของลูกปลาวัยอ่อน บริเวณจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลด้วยตู้รถไฟ แท่งคอนกรีต และท่อคอนกรีต จำนวน
10 แห่ง บริเวณจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พบลูกปลาวัย
อ่อนก่อนการจัดสร้าง 32 วงศ์ ภายหลังการจัดสร้างเป็นเวลา
2 เดือน พบเพิ่มขึ้นเป็น 37 วงศ์ ชนิดที่พบมากที่สุด

เป็นลูกปลาสีกุน รองลงมาเป็นปลาทราย และปลาหลังเขียว 
	 ความหลากหลายของชนิดปลา บริเวณแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ศึกษาโดยการดำน้ำ
พบปลา 54 วงศ์ 111 สกุล 182 ชนิด โดยพบกลุ่มปลาสีกุน
มากที่สุด (19 ชนิด) รองลงมา คือ กลุ่มปลากะพง (11 ชนิด)
และกลุ่มปลากะรัง (10 ชนิด) บริเวณตู้รถไฟพบปลา 39 วงศ์
9
112 ชนิด ท่อคอนกรีตพบปลา 23 วงศ์ 50 ชนิด 

แท่งคอนกรีตพบปลา 46 วงศ์ 129 ชนิด รถยนต์พบปลา 

40 วงศ์ 117 ชนิด และรถถังพบปลา 35 วงศ์ 88 ชนิด 

ผลการใช้ลอบจับสัตว์น้ำที่จังหวัดจันทบุรี ในช่วง 6 เดือน
แรก พบปลา 36 ชนิด และใช้เบ็ดมือจับได้ปลาผิวน้ำ 6 ชนิด
ปลาหน้าดิน 21 ชนิด ผลการวางอวนลอยปลาก่อนการ

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่จังหวัดปัตตานีจับสัตว์น้ำได้
35 ชนิด ภายหลังการจัดสร้าง 1 ปี จับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเป็น
54 ชนิด ซึ่งจากการศึกษาชนิดปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลที่จังหวัดระยอง อ่าวพังงา และจังหวัดสงขลา กลุ่มปลา
ที่พบมากสุดคือ กลุ่มปลากะพง และปลากะรัง ซึ่งมีความ
สำคัญทางเศรษฐกิจ รองลงมาพบปลาอินทรี ปลาสร้อย
นกเขา ปลาน้ำดอกไม้ ปลากระเบน ปลาจวด ปลาดุกทะเล
หอยมุกจาน หอยพัด หอยนางรม หมึกกล้วย และหมึกหอม
เป็นต้น 
	 การศึกษาผลจับสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
จังหวัดปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ระยอง
จันทบุรี และพังงา ด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้านประเภทต่างๆ
พบว่าภายหลังการจัดสร้างจับสัตว์น้ำได้มากขึ้นดังนี้
	 อวนจมกุ้ง ที่จังหวัดปัตตานีมีอัตราการจับสัตว์น้ำ
เฉลี่ยก่อนและหลังการจัดสร้างของอวนจมกุ้งเท่ากับ 5.830
และ 8.103 กก./เที่ยว 
	 อวนจมปู ที่จังหวัดเพชรบุรี มีอัตราการจับต่อหน่วย
การลงแรงประมงสูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ ร้อยละ 176.88 คือ
จาก 8.53 กก./เที่ยว เป็น 23.63 กก./เที่ยว
	 อวนลอยปลากุเรา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 

การจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 5,040.90 กิโลกรัม เป็นปลากุเรา
3,815.60 กิโลกรัม อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น
3.62 กก./เที่ยว คิดเป็นปลากุเราที่เพิ่มขึ้น 2.38 กก./เที่ยว
และจากเดิมที่มีการทำประมงได้เพียง 2-3 เดือน หลังการจัด
สร้างแล้วสามารถทำการประมงได้ตลอดทั้งปี
	 อวนลอยปลาทราย ที่จังหวัดเพชรบุรี อัตราการจับ
ต่อหน่วยการลงแรงประมงสูงขึ้นร้อยละ 63.50 คือ จาก 9.53
กก./เที่ยว เป็น 15.59 กก./เที่ยว
	 อวนปลาดาบลาว ที่จังหวัดเพชรบุรี มีอัตราการจับ
ต่อหน่วยการลงแรงประมง สูงขึ้นร้อยละ 74.00 คือ 

จาก 34.24 กก./เที่ยว เป็น 59.59 กก./เที่ยว
	 อวนปลากระบอกที่เพชรบุรี มีอัตราการจับต่อหน่วย
การลงแรงประมงสูงขึ้นร้อยละ 15.77 คือ จาก 20.13 กก./เที่ยว
เป็น 23.30 กก./เที่ยว
	 ลอบหมึก ที่จังหวัดปัตตานี หลังการจัดสร้าง 3 ปี 

มีอัตราการจับเพิ่มขึ้นสองเท่า จากปีแรก 10.10 กก./เที่ยว
เพิ่มขึ้นเป็น 20.02 กก./เที่ยว ในปีที่ 3 
	 เบ็ดมือ ที่จังหวัดจันทบุรี พบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำ
ในช่วงเวลา 6 เดือนแรก มีค่าสูงกว่า 6 เดือนถัดไป 

โดยจับสัตว์น้ำได้ 430.16 และ 301.59 กรัม/สาย/ชั่วโมง
ตามลำดับ ชาวประมงสามารถทำการประมงในระยะเวลา

ที่นานขึ้น เช่น เบ็ดซึ่งเคยทำการประมงได้เพียง 3 เดือน

เพิ่มขึ้นเป็น 5 เดือน
	 เบ็ดตกปลา ที่จังหวัดปัตตานีพบว่า อัตราการจับ
สัตว์น้ำด้วยเบ็ดตกปลาในปีแรก จำนวน 14.61 กก./เที่ยว
เพิ่มขึ้นเป็น 18.60 กก./เที่ยว ในปีที่สองและเกือบเท่ากับปีที่
สาม คือ 18.58 กก./เที่ยว
	 การลงแรงประมงเพิ่มมากขึ้นในปีที่ 1 ปีที่ 2 และ
ลดลงในปีที่ 3 เนื่องจากภายหลังการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลมีการลงแรงประมงที่ไม่สมดุลกับปริมาณสัตว์น้ำ
ทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง จึงควรมีการกำหนดมาตรการ
ควบคุมจำนวนและฤดูการทำประมงของเครื่องมือประมง
บางชนิดอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก

สัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน 
	 สภาพเศรษฐกิจ ของชาวประมงที่ทำการประมง
บริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง มีรายได้เพิ่มขึ้น
จากเดิม โดยมีกำไร 188,664 บาท/ปี/ครัวเรือน รายได้ของ
ชาวประมงพื้นบ้านก่อนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
จังหวัดเพชรบุรี เท่ากับ 1,572.81 บาท/เดือน/ครัวเรือน
(18,873.74 บาท/ปี/ครัวเรือน) ภายหลังการจัดสร้างเป็น
เวลา 5 ปี มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 6,377.51 บาท/เดือน/ครัวเรือน
(76,530.21 บาท/ปี/ครัวเรือน) การประเมินผลภายหลัง

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดเพชรบุรี 1-3 ปี 

พบว่า ผลผลิตต่อเที่ยวสูงขึ้น ได้รับประโยชน์เป็นมูลค่า
ตอบแทนสูงขึ้นจากเดิม ในอัตราส่วน 1.56  1.56 และ 3.01
ตามลำดับ ชาวประมงจันทบุรีมีรายรับเฉลี่ยสุทธิจากการทำ
ประมงพื้นบ้านเพิ่มขึ้นจาก 36,453 บาท/ปี เป็น 56,404
บาท/ปี ขณะที่ต้นทุนในการทำประมงลดลงจาก 33,471
บาท/ปี เหลือ 26,914 บาท/ปี 
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
10
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
ความคุ้มทุนและคุ้มค่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลจังหวัดระนอง ใน พ.ศ. 2537 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
(NPV) เท่ากับ 458,594 บาท อัตราตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย
(ค่า B/C) เท่ากับ 1.145 และอัตราตอบแทนของโครงการ
(ค่า IRR) เท่ากับ ร้อยละ 15.5 ส่วนโครงการจัดสร้างแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดพังงา พบความคุ้มทุน เท่ากับ 22 เดือน
หรือ 2 ปี ภายหลังการจัดสร้าง ดังนั้น โครงการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลคุ้มค่าต่อการลงทุน เมื่อ ค่า NPV มากกว่า 0,
ค่า B/C มากกว่า 1 และค่า IRR สูงกว่าค่าเสียโอกาส

ของทุนหรืออัตราดอกเบี้ย
	 ทัศนคติและความคิดเห็น ชุมชนประมงพื้นบ้าน
จังหวัดพังงามีความรู้เรื่องแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมากถึงร้อยละ
50 ชาวประมงที่จังหวัดระยองเข้าไปใช้ประโยชน์ในแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเลสูงถึงร้อยละ 86.70 ชาวประมงรู้จักและ
ยอมรับผลดีของการจัดสร้าง อยากให้มีการสร้างเพิ่ม แต่ต้อง
มีการตรวจตรา ควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย และออก
ประกาศห้ามเครื่องมือประมงบางชนิด ควรเพิ่มทุ่นให้เห็น
ชัดเจน แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นแหล่งรวมฝูงสัตว์น้ำ ลดการ
ทำอวนลาก อวนรุน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ และตก
ปลา ชาวประมงที่เคยเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมีความคิดเห็นว่าได้รับประโยชน์สูงกว่า
กลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) แต่
จากการสำรวจชาวประมงมักมีส่วนร่วมในระดับต่ำและปานกลาง
ร้อยละ 45.3 และ 29.7 ตามลำดับ โดยกิจกรรมที่เข้าร่วม
เช่น การรับฟังการประชุมชี้แจงโครงการ พิจารณาพื้นที่จัดสร้าง
และร่วมสังเกตการณ์การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

ร้อยละ 75.0 76.6 และ 68.8 ตามลำดับ สำหรับชาวประมง
จังหวัดสตูลมีความเห็นว่า แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลทำให้ไม่ต้อง
ออกไปทำการประมงไกลฝั่ง ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ฐานะ
ทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านดีขึ้น
	 การรับข้อมูลข่าวสารของชาวประมง ที่จังหวัดพังงา
อยู่ระดับสูงถึงร้อยละ 48 โดยช่องทางการรับรู้ส่วนใหญ่
ทราบจากเพื่อนบ้าน และมีระดับทัศนคติที่ดีต่อแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลสูงด้วย ส่วนชาวประมงบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง
พบว่าส่วนใหญ่รับข้อมูลจากเพื่อน (ร้อยละ 87) หนังสือพิมพ์
(ร้อยละ 47) วารสาร (ร้อยละ 35) กรมประมง (ร้อยละ 32)
วิทยุ (ร้อยละ 27) และโทรทัศน์ (ร้อยละ 25)
	 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมีวัตถุประสงค์แต่
เดิมเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการทำประมง แต่ปัจจุบันมี
วัตถุประสงค์เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ป้องกันการ

กัดเซาะชายฝั่ง หรือขยายแหล่งปะการังธรรมชาติ เป็นต้น
ก่อนการจัดสร้างต้องมีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ชุมชน
ทราบและหากมีการจัดสร้างด้วยวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่เคย

จัดสร้างมาก่อน ต้องมีการศึกษาที่เชื่อถือได้ว่าวัสดุชนิดนั้น

ไม่ส่งผลเสียต่อแหล่งประมงและสิ่งแวดล้อม ในระหว่างการ
จัดสร้างต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และภายหลัง
การจัดสร้างควรมีการติดตามประเมินผลและกำหนดกฎ
กติกา หรือมาตรการควบคุมการทำประมงบางชนิดที่ทำลาย
พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุ
ที่ปัจจุบันมีองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนและ

มีส่วนร่วมในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพิ่มมากขึ้น
กรมประมงจึงควรทำการวิจัยและพัฒนา (research and
development, R&D) ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องดังนี้
11
กลุ่มที่ 3
 การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้แก่ ชนิดของวัสดุ รูปทรง และขนาด รูปแบบ
การวาง เช่น พื้นที่ ระยะห่างฝั่ง ผังการจัดวาง เป็นต้น
- 	 การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยา
- 	 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การศึกษาความคุ้มค่าต่อการลงทุนจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่ผ่านมา
ผลตอบแทนสุทธิที่ได้จากโครงการคิดจากกำไรจากการทำประมงของชาวประมงเท่านั้น ความจริง

ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นควรรวมการขยายตัวของธุรกิจดำน้ำและการท่องเที่ยวในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

เป็นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วย
- 	 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้แก่ ทัศนคติ ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงต่อแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเล
งานวิจัย สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
ก.
กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 2
การประเมินศักยภาพของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
12
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
3
 การสร้างระบบบริหารจัดการ
3.1	สร้างเครือข่ายจัดการทรัพยากรประมง
3.2	จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการศึกษาทางด้านชีววิทยาของสัตว์ทะเล 
3.3	ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางผ่านสื่อต่างๆ อย่างจริงจัง ให้ทุกภาคส่วนได้รู้ข้อเท็จจริงของสภาวะ

การประมงทะเล จักได้ระดมทุนทรัพย์ ทุนความคิด ทุนสังคม ทุนมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา
3.4	ประกาศให้บริเวณที่มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นเขตบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชน

มีส่วนร่วม สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่
งานพัฒนา สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 
ข.
1
 บูรณาการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลกับทุกหน่วยงาน (48 หน่วยงาน) 

ที่ได้ดำเนินการจัดสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1.1	ปรับปรุงแผนผังมาตรฐานในการจัดวางวัสดุจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล การจัดสร้างต่อเนื่องในพื้นที่

ใกล้เคียงกันจะกลายเป็นแปลงหรือคอมเพล็กซ์ (complex) ที่มีประสิทธิภาพในการทำการประมง
1.2	สร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ให้แก่เจ้าของโครงการ สมาชิกในชุมชน
ประมงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างถูกต้องในการจับสัตว์น้ำบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

ให้เกิดคุณค่ามากที่สุด ทั้งนี้อย่าใช้แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นเพียงเครื่องมือในการรวบรวมฝูงปลา 

ต้องมีกฎ กติกา และความร่วมมือของทุกฝ่ายในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
1.3	แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของชุมชนและทรัพยากรประมง
2
 พัฒนาโครงสร้างการบริหาร องค์กร บุคลากร มาตรการและวิธีการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
2.1	จัดทำแผนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลโดยมีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงาน
หลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
2.2	การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลต้องอยู่ภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.3	ภาครัฐต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายประมงให้ทันสมัยโดยเร็ว จะได้มีนโยบายการเพิ่มผลผลิตและจับสัตว์น้ำ
อย่างที่เหมาะสม
2.4	มีนโยบายในการจัดการป้องกันและควบคุมความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือของ
ชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่น
2.5	เพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการพิจารณานโยบายการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
1) 	ให้มีการจัดสร้างในพื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

ผู้ขออนุญาตต้องขออนุญาตเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำกับกรมประมง
2) 	กรมประมง ควรเร่งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ให้แก่บุคลากร

ของหน่วยงานต่างๆ ที่เสนอขออนุมัติจัดสร้างฯ ได้เข้าใจ มีความรู้ความสามารถในการจัดการทรัพยากร
ประมงเพิ่มขึ้นและมีฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้
13
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
14
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
อำนาจ ศิริเพชร
อัญญานี แย้มรุ่งเรือง
บทที่ 1
พัฒนาการของการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย
15
ประวัติการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
บทที่ 1 พัฒนาการของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย
	 เป็นที่ทราบกันดีว่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
เป็นที่รู้จักของชาวประมงในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก 

การค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ถึงกำเนิดของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
พบว่า มนุษย์รู้จักสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมานานแล้ว
Tortell (1993) กล่าวว่า ชนเผ่าอะบอริจิ้น (Aborigines) 

ในประเทศออสเตรเลีย สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาตั้งแต่
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นพบบันทึกว่ามีการ
สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลตั้งแต่ พ.ศ. 2403 ในประเทศ
ฟิลิปปินส์และอินเดียมีการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเมื่อ
ประมาณ พ.ศ. 2443 มากกว่าร้อยปีมาแล้ว สำหรับการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการทำประมงมาไม่น้อยกว่าร้อยปี
ด้วยเช่นกัน ตามบันทึกในสมุดคู่มือเครื่องมือจับสัตว์น้ำ

ในประเทศสยามจัดทำโดย กองการประมง กรมเกษตรและ
การประมง พ.ศ. 2478 กล่าวถึงเครื่องมือจับสัตว์น้ำ 2 ชนิด
ที่จัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ชนิดแรกเรียกว่า หญ้ากร่ำ
เป็นวิธีจับสัตว์น้ำในลำคลอง หนอง บึง โดยใช้พุ่มไม้ กิ่งไม้
สุมไว้ หรือปลูกหญ้าปล้อง โสน ลำเจียก ผักบุ้ง ไว้เป็นพุ่ม
ยาวริมฝั่ง วิธีจับปลาใช้เฝือกล้อมหรืออวนล้อมหญ้ากร่ำ 

แล้วเอาหญ้าและกิ่งแขนงไม้ขึ้น รุกเฝือกและอวนเพื่อจับปลา
พบใช้ในจังหวัดภาคกลาง อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กร่ำกุ้ง 

เป็นวิธีจับกุ้งโดยใช้กิ่งไม้ หลักไม้ปักรวมเป็นกลุ่มริมน้ำหรือ
ริมชายทะเล เวลาจะจับใช้อวนล้อมกิ่งไม้ที่ปักไว้ แล้วถอน
หลักไม้ขึ้นใช้สวิงช้อนจับ เมื่อจับกุ้งปลาได้หมดแล้ว ก็ปักไม้
ลงไว้ดังเดิม พบใช้ในจังหวัดภาคกลางและชายทะเล 

(กองการประมง, 2478)
	 การใช้กิ่งไม้รวมฝูงปลา นอกจากจะพบบริเวณภาค
กลางตามมีบันทึกนั้น จากการที่กรมประมงโดยศูนย์วิจัยและ
พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ได้สอบถาม
ชาวประมงทะเลพื้นบ้านก่อนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ได้ทราบว่าชาวประมง
ทะเลพื้นบ้านภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย รู้จักการทำแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลมาหลายชั่วอายุคน พร้อมๆ กับการรู้จักจับสัตว์น้ำ 

โดยการนำกิ่งไม้ ลำไม้ไผ่ ใบมะพร้าว ไปวางไว้บนพื้นทะเล
กลางน้ำ และผิวน้ำ ให้สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย แล้วจึงจับสัตว์น้ำ
เรียกการจัดสร้างนี้ว่า การทำซั้ง ครั้นถึงยุคสมัยที่อวนลากถูก
นำมาใช้ในประเทศไทยทำให้แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลอย่างง่าย
เหล่านี้ถูกลากทำลายไปด้วย กรมประมงจึงคิดประดิษฐ์พัฒนา
จัดสร้างแหล่งอาศัยด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักมาก คงทนและถาวร
มากขึ้น ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันอวนลากและอวนรุน
ไม่ให้เข้ามาทำการประมงผิดกฎหมายในเขตพื้นที่อนุรักษ์
3,000 เมตร จากฝั่ง ได้ทำการทดลองด้วยยางรถยนต์ 

แท่งคอนกรีต ท่อคอนกรีต และวัสดุอื่นๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึง
รายละเอียดในบทที่ 2 อันเป็นที่มาของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
เพื่อการประมง ดังที่เห็นในปัจจุบัน 
	 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (artificial habitat) หรือ
ปะการังเทียม (artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 

เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นทะเลให้สัตว์น้ำชอบ โดยเลียนแบบ
บริเวณกองหินใต้น้ำตามธรรมชาติ หรือแนวปะการัง 

เพื่อดึงดูดให้สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่งทำการประมง
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นเครื่องมือด้านการประมง 

เพื่อใช้เป็นที่จับสัตว์น้ำ โดยดึงดูดให้สัตว์น้ำมาชุมนุมกัน 

1.1
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
16
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
(fish aggregation) เพื่อสะดวกในการจับขึ้นมาใช้ประโยชน์
นอกจาก วัตถุประสงค์นี้แล้ว มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อนและ

เพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ (Nakamura, 1985) และวัตถุประสงค์อื่นๆ
(Willmann, 1991) ดังนี้
1) 	เพื่อให้มีผลผลิตการจับสัตว์น้ำสูงขึ้นและคงที่มากขึ้น
2)	ลดเวลาค้นหาแหล่งทำการประมง ทำให้ประหยัด
น้ำมันเชื้อเพลิง
3) 	เพื่อกิจกรรมนันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ เช่น 

กีฬาตกปลา ดำน้ำ และถ่ายภาพ เป็นต้น
4) 	ปรับปรุงหรือฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
5)	จัดการควบคุมหรือป้องกันการทำการประมง

บางชนิดใกล้ฝั่ง เช่น อวนลาก เป็นต้น
6)	ปกป้องการทำฟาร์มทะเลและสิ่งก่อสร้างตามแนว
ชายฝั่งจากคลื่นและกระแสน้ำ
7) 	กำจัดสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น ซากรถบัส
รถยนต์ และยางรถยนต์เก่า เป็นต้น
17
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง
	 พัฒนาการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของ

กรมประมงเริ่มจากการทดลองแล้วนำผลที่ได้มาเป็นแนวทาง
ในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการที่ได้รับ
การจัดสรรงบประมาณซึ่งเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการไปตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อเวลาผ่านไป

จึงเริ่มมีการจัดสร้างอย่างต่อเนื่องและกำหนดหลักเกณฑ์การ
จัดสร้าง หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่สำคัญของการกำหนดพื้นที่จัด
สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของประเทศไทย ในช่วงปี 

พ.ศ. 2526-2555 คือ ต้องเป็นไปตามความต้องการของ

ชาวประมงในท้องถิ่น ตามประเภทของเครื่องมือและแหล่งประมง
โดยระดับน้ำลงต่ำสุดต้องอยู่เหนือกองวัสดุไม่น้อยกว่า 6 เมตร
มีสภาพพื้นทะเลที่เหมาะสมไม่ทำให้กองวัสดุจมตัวเกินกว่า
20 เซนติเมตร และเป็นพื้นที่ได้รับความเห็นชอบจากส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมประมง กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า
ซึ่งมักอยู่ในเขต 10 กิโลเมตรจากฝั่ง ระดับน้ำลึกไม่เกิน 

30 เมตร (กรมประมง, 2549) หากแบ่งยุคต่างๆ ของการ

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลตามวัตถุประสงค์ของการ

จัดสร้างที่ผ่านมาสามารถ แบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้
1.2.1 	 ยุคแรกของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 

	 พ.ศ. 2521-2529
	 เป็นยุคแห่งการทดลองจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลและเริ่มการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้
โครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้านตามแผนพัฒนาชนบท
ยากจน ยังไม่มีการขอรับงบประมาณในลักษณะโครงการ

เพื่อการพัฒนา โครงการทดลองครั้งแรก เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2521
โดยสถานีประมงทะเลจังหวัดระยอง ได้ทดลองจัดสร้างด้วย
วัสดุเหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ คอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์
โปร่ง ปลอกบ่อซีเมนต์ หินและไม้ เป็นต้น จัดทำเป็นรูปแบบ
ต่างๆ วางบนพื้นทะเล (Boonkert and Vattanakul,
1979) และมีโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลครั้งที่ 2
บริเวณฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อ พ.ศ. 2526 บริเวณตอนบน
ของเกาะยาวน้อยในอ่าวพังงา จังหวัดพังงา (Lohakarn,
1984) โดยสถานีประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้ดำเนินการ
ต่อมากองประมงทะเลได้นำเสนอการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนาประมงทะเล
พื้นบ้าน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5
1.2
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
18
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
(กนกพรรณ และวิทยา, 2534) จากนั้นจึงมีโครงการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 ภายใต้
โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านและมีการ

จัดสร้างในพื้นที่ของจังหวัดที่อยู่ติดทะเลทั้งฝั่งทะเลอันดามัน
และอ่าวไทย ในปี พ.ศ. 2528 – 2529 มีการใช้งบประมาณ
รวม 5.5 ล้านบาท จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่จังหวัด
เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี สตูล 

รวม 10 แห่ง โดยใช้วัสดุคือ ยางรถยนต์ ปลอกบ่อซีเมนต์
และเริ่มทดลองใช้วัสดุที่จัดสร้างขึ้น คือ แผ่นซีเมนต์ประกอบ
ได้ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.8 x 1.0 x 1.0 เมตร ที่จังหวัด
นครศรีธรรมราช
	 โครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้าน เป็นโครงการ

ในแผนพัฒนาชนบทยากจนได้ผ่านการพิจารณาตามมติ     
ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติครั้งที่ 6 เมื่อ
วันที่ 29 ธันวาคม 2526 เรื่อง การปรับปรุงแผนพัฒนา
ชนบทพื้นที่ยากจนประจำปี 2528-2529 ให้การเรียนรู้และ
ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ กรมประมง

มอบหมายให้กองประมงทะเล โดยสำนักงานโครงการพัฒนา
ประมงทะเลพื้นบ้านเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินการ
พัฒนาชนบทเขตพื้นที่ยากจน ให้สามารถพออยู่พอกิน 

โดยปรับปรุงวิธีการประมง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก

ขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ และประกอบอาชีพ พัฒนาแหล่ง

จับสัตว์น้ำใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายและเวลาทำประมง 

สร้างศูนย์รวมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประชาชนรู้จักการพัฒนา
ตนเองมิใช่เป็นผู้ถูกพัฒนา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

โดยรัฐเป็นที่ปรึกษา (สำนักงานโครงการพัฒนาประมงทะเล
พื้นบ้าน, 2528) เป้าหมายสำคัญของการจัดสร้างในยุคนี้

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากร โดย

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลใกล้หมู่บ้าน ลดค่าใช้จ่ายและ
เวลาในการทำประมง แนะนำและส่งเสริมเครื่องมือที่เหมาะสม 

จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของ

ชาวประมง เช่น ท่าเทียบเรือขนาดเล็ก โรงเรือนเอนกประสงค์
โรงเก็บน้ำแข็ง ถังเก็บน้ำจืด เครื่องกว้านฉุดเรือขึ้นฝั่ง 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ แปรรูปสัตว์น้ำ ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์
และการดูแลรักษาเครื่องยนต์ ส่วนการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเล กำหนดให้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำแห่งละไม่ต่ำกว่า
สามชนิด พร้อมตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือตัวแทนเพื่อ
กำหนดขอบเขตแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ออกแบบและดูแล

การวางให้ตรงตามแบบแปลน พร้อมทั้งร่วมติดตามผล อีกทั้ง

ห้ามปรามและป้องกันชาวประมงเข้ามาทำการประมง

ผิดกฎหมาย ต่อมาเป้าหมายของการจัดสร้างแหล่งอาศัย

สัตว์ทะเลในเขตชนบทยากจน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัตตานีและสตูล มีเพิ่มขึ้นเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่าง
ประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ เพิ่มการอนุรักษ์ทรัพยากร
สัตว์น้ำชายฝั่งมิให้เสื่อมโทรม และลดการว่างงานในชุมชน
ประมง (สำนักงานโครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้าน,
2529 ก; ข)
1.2.2 	 ยุคจัดสร้างเพื่อพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน
	 พ.ศ. 2530-2539
	 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6
(2530-2539) กรมประมงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือ

ชาวประมงขนาดเล็กที่ประกอบอาชีพตามแนวชายฝั่งทะเล
ของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร

ชาวประมงพื้นบ้านและยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของ
สังคมชาวประมงพื้นบ้านให้ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และ
จัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
เช่น ส่งเสริมการพัฒนารายได้ การจัดสร้างสิ่งอำนวยความ
สะดวกขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาแหล่งทำประมงชายฝั่งให้
มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ภายใต้โครงการ
พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน และโครงการจัดสร้าง
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (กองประมงทะเล, 2545) ตลอดจน
โครงการฟาร์มทะเล ซึ่งดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาแหล่ง
ประมง มี 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเลเพื่อป้องกันอวนลากอวนรุน บังคลื่นลมเพื่อการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการ
ฟาร์มทะเลดำเนินการเฉพาะในช่วงปี 2533-2536 (กรมประมง,
2531) การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการ
พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านให้เป็นแหล่งปล่อยพันธุ์
สัตว์น้ำ ประสบปัญหาการก่อสร้างล่าช้าเสร็จไม่ทันในปี 

งบประมาณ เจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัด การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
จึงล่าช้าไปด้วย จึงให้ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งจัดสร้าง

ที่แล้วเสร็จในปีที่ผ่านมาแทน แล้วให้ส่งเสริมกิจกรรมสาธิต
และจัดหาเครื่องมือประมง และกิจกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ
(กรมประมง, 2531) ส่วนโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
มาจนสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7
(2535-2539) แยกตามช่วงเวลาของโครงการดังนี้
19
1) 	โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านระยะที่ 1
(2530-2534) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 18.48 ล้าน
บาท โดยในปี 2530 จัดสร้างด้วยวัสดุคอนกรีตหลาย
รูปแบบ คือ ปลอกบ่อ ขนาด 1.0 x 0.5 x 0.5 เมตร
แผ่นซีเมนต์ประกอบได้ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.8 x 1.0
x 1.0 เมตร และตั้งแต่ปี 2531 จัดทำแท่งคอนกรีต
โครงสี่เหลี่ยมขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 เมตร จัดวาง
เป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็ก
2) 	โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านระยะที่ 2 

(2535-2539) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 86.88 ล้าน
บาท ใช้แท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยม จำนวน 2 ขนาด
เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสม คือ ขนาด 1.0 x 1.0
x 1.0 เมตร และขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร 

ซึ่งเป็นรูปแบบและขนาดที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน 

ซึ่งพบว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุดกับลักษณะ

พื้นทะเล และความลึกโดยเฉลี่ยของประเทศไทย
3) 	โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (พ.ศ. 2530-
2539) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัย
สัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 225 ล้านบาท
เป็นการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ 

ที่จัดสร้างด้วยแท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยม 3 ขนาด
คือ ขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 เมตร ขนาด 1.5 x 1.5 x
1.5 เมตร และขนาด 2.0 x 2.0 x 2.0 เมตร โดย

จัดวางตามรูปแบบและผังการจัดวางที่กำหนด 

โดยขนาดเล็กจัดวางเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ไว้ด้านใน
และขนาดใหญ่จัดวางเป็นกรอบด้านนอก
1.2.3	 ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ	

	 ทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ. 2540 - 2549
	 ยุคนี้วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์
ทะเลมุ่งลดข้อขัดแย้งระหว่างชาวประมงทะเลพื้นบ้านและ
ประมงพาณิชย์ ตลอดจนช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากร
ประมงของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากขึ้น (กองประมงทะเล,
2541) พัฒนาแหล่งทำประมง ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพมาก
ขึ้น ชาวประมงเห็นผลประโยชน์ที่สามารถอนุรักษ์แหล่งเลี้ยง
ตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อนและเพิ่มอัตราการจับสัตว์น้ำที่สำคัญ
ทางเศรษฐกิจ เช่น ปลากุเรา และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น 

(กองประมงทะเล, 2542) ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) กรมประมงได้จัด
ทำโครงการฟื้นฟูทะเลไทย โดยปรับปรุงกิจกรรมบางส่วน
ของโครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านและโครงการ
จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาดำเนินการใหม่ให้
สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางทะเลของประเทศไทย 

(กองประมงทะเล, 2545) ภายใต้โครงการต่างๆ ดังนี้
1) 	โครงการฟื้นฟูทะเลไทย (พ.ศ.2540-2544) กรมประมง
ดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้

งบประมาณรวม 417 ล้านบาท ใช้แท่งคอนกรีต
สี่เหลี่ยมรูปลูกบาศก์เพียง 2 ขนาด คือ ขนาด 1.5 x 1.5
x 1.5 เมตร และขนาด 2.0 x 2.0 x 2.0 เมตร 
2) โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ตั้งแต่ปี
2545 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด
โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส 

ให้หน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริร่วมกัน

จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ด้วยตู้รถไฟ รถยนต์
แท่งคอนกรีต และท่อคอนกรีต ถือเป็นยุคที่ทำให้

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นที่รู้จักอย่าง
กว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป 
3)	 โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล
(2545 - 2549) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง
อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 336 ล้านบาท
ใช้แท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยมเพียงขนาดเดียว คือ
ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร 
35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง
20
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
1.2.4 	 ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการประมง 
	 ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน (2556)
	 กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
โดยใช้แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร
งบประมาณรวม 378.75 ล้านบาท จัดสร้างภายใต้แผนงานดังนี้
1) แผนงบประมาณสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภายใต้โครงการ
ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดน

ภาคใต้ พ.ศ. 2550 – 2552
2) แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร และ
โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 – 2554 
3) โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมง
ทะเลไทย พ.ศ. 2555 - 2556 ใช้งบประมาณ 

รวม 60 ล้านบาท
ตารางที่
1-1
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมงแยกตามแผนงานโครงการ
ลำดับ
 โครงการ/แผนงาน/แผนงบประมาณ
ปี

งบประมาณ
จำนวน

(แห่ง)
งบประมาณ
(ล้านบาท)
1
 ช่วงการทดลอง
 2521-2527
 11
 
2
 โครงการพัฒนาประมงทะเล ตามแผนพัฒนาชนบทยากจน
 2528-2529
 10
 5.50 
3
 โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ระยะที่ 1
 2530-2534
 30
 18.48 
4
 โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ระยะที่ 2
 2535-2539
 67
 86.88 
5
 โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล
 2530-2539
 46
 225.00
6
 โครงการฟื้นฟูทะเลไทย
 2540-2544
 115
 417.00 
7
 โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล  
 2545-2549
 98
 336.00 
8
 โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส 
2545-2550
 49
 57.92 
9
 งบช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากกระทรวงเกษตรฯ
 2547
 12
 36.00 
10
 แผนงานสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ
2550-2554
 71
 243.75
11
 โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 2552-2556
 25
 75.00 
12
 โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย
 2555-2556
 20
 60
 
 รวม
 
 554
 1,561.53
21
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม
35 ปี ปะการังเทียม

Contenu connexe

En vedette

En vedette (16)

การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
 
แมงกระพรุน
แมงกระพรุนแมงกระพรุน
แมงกระพรุน
 
การเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัยการเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัย
 
Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015
 
การ์ตูน Deathnote ภาคหลังจาก L กับคิระตาย
การ์ตูน Deathnote ภาคหลังจาก L กับคิระตายการ์ตูน Deathnote ภาคหลังจาก L กับคิระตาย
การ์ตูน Deathnote ภาคหลังจาก L กับคิระตาย
 
carrying capacity
carrying capacitycarrying capacity
carrying capacity
 
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
 
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
 ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น  ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
 
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
 
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
 
เภสัชกรรมไทย ( ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม )
เภสัชกรรมไทย ( ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม )เภสัชกรรมไทย ( ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม )
เภสัชกรรมไทย ( ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม )
 
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทย
 
คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
 
This, That, These and Those + Exercise
This, That, These and Those + ExerciseThis, That, These and Those + Exercise
This, That, These and Those + Exercise
 
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMSGPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
 
Bill Aulet GEC2016 keynote speech March 16 2016 Medellin Colombia
Bill Aulet GEC2016 keynote speech March 16 2016 Medellin ColombiaBill Aulet GEC2016 keynote speech March 16 2016 Medellin Colombia
Bill Aulet GEC2016 keynote speech March 16 2016 Medellin Colombia
 

Similaire à 35 ปี ปะการังเทียม

โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมง
AbnPlathong Ag'
 
งานนำเสนอ21
งานนำเสนอ21งานนำเสนอ21
งานนำเสนอ21
joy1221
 
โครงการ การประมง
โครงการ การประมงโครงการ การประมง
โครงการ การประมง
moemon12
 
การประมงตามพระราชดำริ
การประมงตามพระราชดำริการประมงตามพระราชดำริ
การประมงตามพระราชดำริ
Tanggwa
 
Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040
i_cavalry
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
bluezbens
 
Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservation
aunun
 
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
KAMOLCHAIKEAWKLANGMO
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
nunticha
 

Similaire à 35 ปี ปะการังเทียม (18)

โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมง
 
งานนำเสนอ21
งานนำเสนอ21งานนำเสนอ21
งานนำเสนอ21
 
โครงการ การประมง
โครงการ การประมงโครงการ การประมง
โครงการ การประมง
 
การประมงตามพระราชดำริ
การประมงตามพระราชดำริการประมงตามพระราชดำริ
การประมงตามพระราชดำริ
 
Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
 
กิจกรรมที่ 2 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 2 นำเสนอโครงงานกิจกรรมที่ 2 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 2 นำเสนอโครงงาน
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ตCorridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
 
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยเอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
 
Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservation
 
¼êí¹
¼êí¹¼êí¹
¼êí¹
 
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรังชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
 
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
คู่มือจำแนกงูทะเลและงูน้ำ - มนตรี สุมณฑา. (นักวิชาการประมงชํานาญการ. สถานีวิจ...
 
Book20110408103212
Book20110408103212Book20110408103212
Book20110408103212
 
โครงการหมู่บ้านไร้มลพิษ E2-2
โครงการหมู่บ้านไร้มลพิษ E2-2โครงการหมู่บ้านไร้มลพิษ E2-2
โครงการหมู่บ้านไร้มลพิษ E2-2
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
 
3 2 3(8)
3 2 3(8)3 2 3(8)
3 2 3(8)
 

35 ปี ปะการังเทียม

  • 1.
  • 3. เล่าเรื่องเบื้องต้น ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนซึ่งมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีความเหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งทำประมงที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ การพัฒนาการทำประมง ทะเลมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด จำนวนและประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้แหล่งอาศัยของ สัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งถูกทำลายโดยเครื่องมือบางประเภท ความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งทำประมงลดลง กรมประมงจึงได้มี มาตรการ กฎ ระเบียบ และดำเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูแหล่งทำประมงให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ นับตั้งแต่โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ภายใต้โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านจนมาถึงโครงการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ภายใต้แผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย เป็นภารกิจต่อเนื่องที่กรมประมงได้ดำเนินการมาเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 35 ปี พบว่าการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล และแหล่งทำประมงบริเวณชายฝั่งจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบให้ กระทรวง กรม กอง และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนได้ยึดถือเป็นต้นแบบและแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ทะเล การรวบรวมผลงานการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมงในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นแนวทาง เผยแพร่องค์ความรู้และผลการศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ เข้าใจ ให้การสนับสนุน ช่วยกันสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรสัตว์น้ำ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และเศรษฐกิจให้กับการทำประมงทะเล ของประเทศไทยสืบไป (นายวิมล จันทรโรทัย) อธิบดีกรมประมง 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 2 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 4. บอกกล่าวเล่าขาน สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเลได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลที่สั่งสมจนมาถึงวันนี้ ด้วยเจตจำนงที่จะรวบรวมผลงานเพื่อเผยแพร่ให้ได้รู้ถึงประวัติ การทดลอง การติดตามผล งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ที่ได้รับทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ ลูกปลาวัยอ่อน แพลงก์ตอน สัตว์หน้าดิน ตลอดจนผลผลิตทางการประมงที่ได้จากการจัดวางแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อเป็นแนวทาง ให้หน่วยงานหรือองค์กรที่จะสนับสนุนงบประมาณ และขยายการดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้มีแนวทาง ในการปฏิบัติครบถ้วนทุกขั้นตอนของการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนมีส่วนร่วม คือ ทั้งการร่วมคิดวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล และร่วมรับผลประโยชน์ เอกสารฉบับนี้ เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการประมง ในสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ค้นคว้าเอกสาร จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ รวบรวมผลการทดลองและวิจัยเป็นเวลานาน ด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผน ติดตาม และออกกฎระเบียบ เพื่อใช้ประโยชน์แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นคู่มือสำคัญให้หน่วยงาน ที่เพิ่งเริ่มทำหรือสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้มีแนวทางและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการ ดำเนินการ กำหนดทิศทางและแผนพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เจริญรุดหน้า พื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล ไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน หากมีข้อมูลทางวิชาการส่วนหนึ่งส่วนใดขาดตกบกพร่อง หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเลยินดีน้อมรับเพื่อพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้เจริญ ก้าวหน้า และรวบรวมผลงานรายงานความก้าวหน้าในโอกาสต่อไป (นายมาโนช รุ่งราตรี) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล 3
  • 5. กว่าจะถึงวันนี้ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่กรมประมงสร้างขึ้น แล้วเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ สามารถฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเลของประเทศไทยให้อุดมสมบูรณ์ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและดำเนินการจัดสร้าง ตลอดแนวชายฝั่งทั่วประเทศ หากได้มองย้อนไปถึงครั้งแรกของการจัดสร้างเพื่อเสริม มาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง ให้รอดพ้นจากการทำประมง อวนลากและอวนรุนผิดกฎหมาย ลดข้อขัดแย้งระหว่างประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ให้ชาวประมงพื้นบ้านมีแหล่งทำประมงบริเวณหน้าชุมชน ลดต้นทุนทำการประมง และ จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลได้พัฒนา ก้าวหน้าจากเดิมมาก นักวิจัย นักวิชาการประมง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลของสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล จึงได้ค้นเอกสาร ติดต่อสอบถาม สืบค้นแผน แม่บทโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล รวบรวมโครงการทั้งหมดที่มีกิจกรรมการ จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล แผนผัง งบประมาณ พื้นที่ ตลอดจนผลการติดตาม ทดลอง และวิจัย เป็นต้น เพื่อประมวลเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดสร้าง ติดตามผล และ ออกแบบงานวิจัยด้านการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณา รูปแบบ แผนผัง วัสดุ ตลอดจนความคุ้มค่าในการจัดสร้าง ปรับปรุงแผนการวิจัยและ ติดตามผลให้เกิดประโยชน์และถูกต้องมากกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นอีกฉบับหนึ่งที่กรมประมงจะได้เผยแพร่ ผลงานสำคัญให้ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ผู้มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการประมง การท่องเที่ยว ธุรกิจขนาดเล็กในชุมชนประมง และอื่นๆ ให้ได้รับทราบเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณพัฒนาธุรกิจต่อเนื่อง การออกกฎระเบียบเพื่อการใช้ประโยชน์ และที่สำคัญเพื่อสร้างแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์ ให้กับชาวประมงไทยได้สืบทอดอาชีพการทำประมงทะเลให้ยั่งยืน คณะผู้จัดทำ กันยายน 2556 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 4 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 6. 5
  • 7. สารบัญ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 8 1. พัฒนาการของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย 15 1.1 ประวัติการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 16 1.2 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง 18 1.3 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของหน่วยงานอื่น 22 1.4 ขั้นตอนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 24 2. วัสดุและแผนผังการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 29 2.1 วัสดุที่ใช้ในการจัดสร้าง 31 2.2 รูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 34 2.3 แผนผังการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง 35 2.4 สภาพพื้นที่การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง 38 2.5 การศึกษาความคงทนและการจมตัวของวัสดุ 44 2.6 แนวทางการศึกษาด้านวัสดุในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 48 3. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต 51 3.1 แพลงก์ตอนบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 53 3.2 การศึกษาสัตว์หน้าดินและสัตว์เกาะติดบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 54 3.3 การศึกษาชนิดปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 55 3.4 แนวทางการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 58 4. สภาวะการประมงพื้นบ้าน 65 4.1 การเปลี่ยนแปลงผลจับสัตว์น้ำ 67 4.2 การเปลี่ยนแปลงการลงแรงประมง 70 4.3 แนวทางการศึกษาสภาวะการประมงบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 72 4.4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 72 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 6 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 8. 5. สภาวะเศรษฐกิจการประมง 75 5.1 รายได้จากการทำประมง 76 5.2 ความคุ้มทุนและคุ้มค่า 77 5.3 แนวทางการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจการประมงบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 77 5.4 ข้อเสนอแนะในการศึกษา 80 6. ความคิดเห็น ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชาวประมงต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 83 6.1 ความคิดเห็นของชุมชนต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 84 6.2 ทัศนคติของชาวประมง 85 6.3 กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 86 6.4 การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 87 6.5 แนวทางการศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นต่อการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 87 7. ข้อเสนอแนะแนวทางการวิจัยและพัฒนาการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 91 ภาคผนวก 99 ภาคผนวก ก วิธีการและขั้นตอนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 101 ภาคผนวก ข พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ 105 ภาคผนวก ค ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอและการอนุญาตให้สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พ.ศ.2551 109 ภาคผนวก ง คำสั่งสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล 115 7
  • 9. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ชาวประมงพื้นบ้านของประเทศไทยรู้จักสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมานานนับหลายชั่วอายุคน ในลักษณะ ของหญ้ากร่ำหรือกร่ำในพื้นที่ทำประมงน้ำจืดและชายฝั่ง ตลอดจนการทำซั้งในทะเล โดยสถานีประมงทะเลจังหวัด ระยอง ได้ทดลองจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พบว่า แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์มีความแข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก มาก สามารถวางจากผิวน้ำโดยไม่ต้องดำน้ำเพื่อจัดเรียง เนื่องจากวัสดุจะรักษารูปทรงเดิมได้ทุกทิศทางที่ตกถึงพื้น ทะเล จัดวางเป็นกองสูงได้ตามต้องการ ประหยัดต้นทุนการ จัดวาง มีอายุการใช้งานนาน มีสัตว์น้ำอาศัยจำนวนมากจึง เลือกใช้วัสดุนี้ จัดสร้างฯ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยมีขนาด ความสูงของวัสดุระหว่าง 0.8 - 2.0 เมตร ส่วนใหญ่นิยมใช้ ขนาดความสูง 1.5 เมตร กรมประมงทำการทดลองและติดตามผลการ จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 35 ปี มีนักวิจัยเกี่ยวกับแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจำนวนไม่น้อยกว่า 67 คน ตีพิมพ์ผลงาน 53 เรื่อง จึงสามารถพัฒนาการจัดสร้างแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเลมาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคของการทดลอง ระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2529 ได้ทดลองครั้งแรกบริเวณฝั่งอ่าวไทยที่จังหวัด ระยอง พ.ศ. 2521 และบริเวณฝั่งอันดามันที่ อ่าวพังงา พ.ศ. 2526 2. ยุคจัดสร้างเพื่อพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ระหว่าง พ.ศ. 2530 - 2539 ภายใต้โครงการ พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน โครงการจัด สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล และโครงการฟาร์มทะเล 3. ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรสัตว์น้ำ ระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2549 ภายใต้โครงการฟื้นฟูทะเลไทย โครงการจัดการ และฟื้นฟูทะเลไทย และโครงการฟื้นฟูทรัพยากร ชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส 4. ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการประมง ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ภายใต้แผนแม่บทการ จัดการประมงทะเลไทย กรมประมงเริ่มสนับสนุน เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ร่วม จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้ถูกต้องตามขั้นตอน และกฎหมายการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ เพื่อ เพิ่มผลผลิตประมงและสร้างความมั่นคงด้าน อาหาร วัสดุที่จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ทั้งหมดมีจำนวน 3 ชนิด (ยาง คอนกรีต และ เหล็ก) รวม 9 รูปแบบ คือ ยางรถยนต์ แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ แผ่นคอนกรีตประกอบ เป็นชุดสี่เหลี่ยม แท่งคอนกรีตสามเหลี่ยมปีระมิด ปลอกบ่อคอนกรีต ท่อคอนกรีต ตู้รถไฟ รถถัง และรถยนต์ รวม 517,313 ชิ้น จัดวางบริเวณน้ำลึก ระหว่าง 3.50-50.00 เมตร ส่วนใหญ่จัดวาง ที่ความลึกน้ำ 5.00-10.00 เมตร ระยะห่างฝั่ง 0.15-30.50 กิโลเมตร พื้นที่ทางทะเลของอ่าวไทย 304,000 ตาราง กิโลเมตร ได้จัดวางวัสดุเพียง 1,523.48 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 0.50) ส่วนฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ทางทะเล 116,200 ตารางกิโลเมตร จัดวางวัสดุเป็นพื้นที่ 520.87 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 0.45) จังหวัดที่สร้างมากที่สุด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (196.18 ตารางกิโลเมตร) รองลงมา คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช (175.76 ตารางกิโลเมตร) และ สงขลา (150.81 ตารางกิโลเมตร) จังหวัดที่สร้างน้อยที่สุด คือ จังหวัดสมุทรสาคร (50.00 ตารางกิโลเมตร) ความต้องการ จัดสร้างมีมาก แต่กรมประมงมีงบประมาณ และบุคลากรจำกัด 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 8 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 10. หน่วยงานต่างๆ จึงได้เข้าร่วมดำเนินโครงการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมากขึ้นทุกปี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 259 แห่ง มากกว่า 48 องค์กร ได้แก่ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ มูลนิธิชัยพัฒนา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ บริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน การท่าเรือแห่งประเทศไทย ธนาคาร ออมสิน กลุ่มประมงเรือเล็ก เมืองพัทยา บริษัท ปตท. สำรวจ และผลิตปิโตรเคมี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แนวทางการจัด สร้างหากใช้วัสดุชนิดใหม่จะต้องจัดสรรงบประมาณและ ดำเนินการก่อน ระหว่างและหลังการจัดสร้างให้ถูกต้อง กรมประมงได้ทดลองติดตามผล และศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพวัสดุ ภายหลังการจัดวาง 10 ปี บริเวณ จังหวัดระยอง และนครศรีธรรมราช พบว่าแท่งคอนกรีต อยู่ในสภาพดี คานล่างจมตัว 3 - 17 เซนติเมตร ส่วนที่ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส มีการจมตัวของแท่งคอนกรีต 5 - 10 เซนติเมตร ท่อคอนกรีต 10 - 20 เซนติเมตร ตู้รถไฟ 10 - 20 เซนติเมตร รถยนต์ 10 - 20 เซนติเมตร และรถถัง 5 - 10 เซนติเมตร พบมีการจมตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับส่วน สูงของวัสดุ การจมตัวทำให้วัสดุตรึงอยู่กับที่ ไม่กระจายเมื่อ ถูกพายุคลื่นลมแรงหรือถูกฉุดดึงโดยเครื่องมือประมงขนาดใหญ่ ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การศึกษาแพลงก์ตอน บริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่อ่าวมะขาม เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง พบว่าแพลงก์ตอนในกองวัสดุมีความชุกชุม มากกว่ารอบนอก โดยผลของกระแสน้ำทำให้แพลงก์ตอน เคลื่อนไหวไปมารอบกองวัสดุ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน พบแพลงก์ตอนจำนวน 91 ชนิด เป็นแพลงก์ตอน พืช 71 ชนิด แพลงก์ตอนสัตว์ 20 ชนิด ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน และมีการศึกษาพบไดอะตอมบนพื้นผิววัสดุ จำนวน 117 ชนิด แสดงให้เห็นว่าเป็นแหล่งอาหารขั้นพื้นฐานในระบบนิเวศ แหล่งประมง การศึกษาสัตว์เกาะติด บนแท่งคอนกรีต อายุ 2-3 สัปดาห์ พบสาหร่ายลงเกาะ ต่อมาอายุ 1 เดือน พบเพรียง และหอยนางรม อายุมากกว่า 2 เดือน พบฟองน้ำ ไบรโอซัว ไฮดรอยด์ เพรียงหัวหอม และอื่นๆ ส่วนการศึกษาสัตว์หน้าดิน ขนาดใหญ่ พบความหนาแน่น มากกว่าบริเวณภายนอก แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตอื่นเข้ามาอาศัยมากขึ้นตาม อายุวัสดุที่มากขึ้นด้วย พบหอยฝาเดียวและหอยสองฝา จำนวน 61 สกุล 200 ชนิด และสัตว์น้ำอื่นๆ จำนวน 17 กลุ่ม 63 ชนิด เช่น ไอโซปอด แอมพิปอด ดอกไม้ทะเล หนอนทะเล เม่นทะเล ลิ่นทะเล ทากทะเล ดาวทะเล ปลิงทะเล เพรียง กุ้ง และปูชนิดต่างๆ และพบสาหร่ายทะเล อีก 14 ชนิด ชนิดของลูกปลาวัยอ่อน บริเวณจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลด้วยตู้รถไฟ แท่งคอนกรีต และท่อคอนกรีต จำนวน 10 แห่ง บริเวณจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พบลูกปลาวัย อ่อนก่อนการจัดสร้าง 32 วงศ์ ภายหลังการจัดสร้างเป็นเวลา 2 เดือน พบเพิ่มขึ้นเป็น 37 วงศ์ ชนิดที่พบมากที่สุด เป็นลูกปลาสีกุน รองลงมาเป็นปลาทราย และปลาหลังเขียว ความหลากหลายของชนิดปลา บริเวณแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ศึกษาโดยการดำน้ำ พบปลา 54 วงศ์ 111 สกุล 182 ชนิด โดยพบกลุ่มปลาสีกุน มากที่สุด (19 ชนิด) รองลงมา คือ กลุ่มปลากะพง (11 ชนิด) และกลุ่มปลากะรัง (10 ชนิด) บริเวณตู้รถไฟพบปลา 39 วงศ์ 9
  • 11. 112 ชนิด ท่อคอนกรีตพบปลา 23 วงศ์ 50 ชนิด แท่งคอนกรีตพบปลา 46 วงศ์ 129 ชนิด รถยนต์พบปลา 40 วงศ์ 117 ชนิด และรถถังพบปลา 35 วงศ์ 88 ชนิด ผลการใช้ลอบจับสัตว์น้ำที่จังหวัดจันทบุรี ในช่วง 6 เดือน แรก พบปลา 36 ชนิด และใช้เบ็ดมือจับได้ปลาผิวน้ำ 6 ชนิด ปลาหน้าดิน 21 ชนิด ผลการวางอวนลอยปลาก่อนการ จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่จังหวัดปัตตานีจับสัตว์น้ำได้ 35 ชนิด ภายหลังการจัดสร้าง 1 ปี จับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเป็น 54 ชนิด ซึ่งจากการศึกษาชนิดปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลที่จังหวัดระยอง อ่าวพังงา และจังหวัดสงขลา กลุ่มปลา ที่พบมากสุดคือ กลุ่มปลากะพง และปลากะรัง ซึ่งมีความ สำคัญทางเศรษฐกิจ รองลงมาพบปลาอินทรี ปลาสร้อย นกเขา ปลาน้ำดอกไม้ ปลากระเบน ปลาจวด ปลาดุกทะเล หอยมุกจาน หอยพัด หอยนางรม หมึกกล้วย และหมึกหอม เป็นต้น การศึกษาผลจับสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล จังหวัดปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ระยอง จันทบุรี และพังงา ด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้านประเภทต่างๆ พบว่าภายหลังการจัดสร้างจับสัตว์น้ำได้มากขึ้นดังนี้ อวนจมกุ้ง ที่จังหวัดปัตตานีมีอัตราการจับสัตว์น้ำ เฉลี่ยก่อนและหลังการจัดสร้างของอวนจมกุ้งเท่ากับ 5.830 และ 8.103 กก./เที่ยว อวนจมปู ที่จังหวัดเพชรบุรี มีอัตราการจับต่อหน่วย การลงแรงประมงสูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ ร้อยละ 176.88 คือ จาก 8.53 กก./เที่ยว เป็น 23.63 กก./เที่ยว อวนลอยปลากุเรา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช การจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 5,040.90 กิโลกรัม เป็นปลากุเรา 3,815.60 กิโลกรัม อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 3.62 กก./เที่ยว คิดเป็นปลากุเราที่เพิ่มขึ้น 2.38 กก./เที่ยว และจากเดิมที่มีการทำประมงได้เพียง 2-3 เดือน หลังการจัด สร้างแล้วสามารถทำการประมงได้ตลอดทั้งปี อวนลอยปลาทราย ที่จังหวัดเพชรบุรี อัตราการจับ ต่อหน่วยการลงแรงประมงสูงขึ้นร้อยละ 63.50 คือ จาก 9.53 กก./เที่ยว เป็น 15.59 กก./เที่ยว อวนปลาดาบลาว ที่จังหวัดเพชรบุรี มีอัตราการจับ ต่อหน่วยการลงแรงประมง สูงขึ้นร้อยละ 74.00 คือ จาก 34.24 กก./เที่ยว เป็น 59.59 กก./เที่ยว อวนปลากระบอกที่เพชรบุรี มีอัตราการจับต่อหน่วย การลงแรงประมงสูงขึ้นร้อยละ 15.77 คือ จาก 20.13 กก./เที่ยว เป็น 23.30 กก./เที่ยว ลอบหมึก ที่จังหวัดปัตตานี หลังการจัดสร้าง 3 ปี มีอัตราการจับเพิ่มขึ้นสองเท่า จากปีแรก 10.10 กก./เที่ยว เพิ่มขึ้นเป็น 20.02 กก./เที่ยว ในปีที่ 3 เบ็ดมือ ที่จังหวัดจันทบุรี พบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำ ในช่วงเวลา 6 เดือนแรก มีค่าสูงกว่า 6 เดือนถัดไป โดยจับสัตว์น้ำได้ 430.16 และ 301.59 กรัม/สาย/ชั่วโมง ตามลำดับ ชาวประมงสามารถทำการประมงในระยะเวลา ที่นานขึ้น เช่น เบ็ดซึ่งเคยทำการประมงได้เพียง 3 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 5 เดือน เบ็ดตกปลา ที่จังหวัดปัตตานีพบว่า อัตราการจับ สัตว์น้ำด้วยเบ็ดตกปลาในปีแรก จำนวน 14.61 กก./เที่ยว เพิ่มขึ้นเป็น 18.60 กก./เที่ยว ในปีที่สองและเกือบเท่ากับปีที่ สาม คือ 18.58 กก./เที่ยว การลงแรงประมงเพิ่มมากขึ้นในปีที่ 1 ปีที่ 2 และ ลดลงในปีที่ 3 เนื่องจากภายหลังการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลมีการลงแรงประมงที่ไม่สมดุลกับปริมาณสัตว์น้ำ ทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง จึงควรมีการกำหนดมาตรการ ควบคุมจำนวนและฤดูการทำประมงของเครื่องมือประมง บางชนิดอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก สัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน สภาพเศรษฐกิจ ของชาวประมงที่ทำการประมง บริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง มีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิม โดยมีกำไร 188,664 บาท/ปี/ครัวเรือน รายได้ของ ชาวประมงพื้นบ้านก่อนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล จังหวัดเพชรบุรี เท่ากับ 1,572.81 บาท/เดือน/ครัวเรือน (18,873.74 บาท/ปี/ครัวเรือน) ภายหลังการจัดสร้างเป็น เวลา 5 ปี มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 6,377.51 บาท/เดือน/ครัวเรือน (76,530.21 บาท/ปี/ครัวเรือน) การประเมินผลภายหลัง การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดเพชรบุรี 1-3 ปี พบว่า ผลผลิตต่อเที่ยวสูงขึ้น ได้รับประโยชน์เป็นมูลค่า ตอบแทนสูงขึ้นจากเดิม ในอัตราส่วน 1.56 1.56 และ 3.01 ตามลำดับ ชาวประมงจันทบุรีมีรายรับเฉลี่ยสุทธิจากการทำ ประมงพื้นบ้านเพิ่มขึ้นจาก 36,453 บาท/ปี เป็น 56,404 บาท/ปี ขณะที่ต้นทุนในการทำประมงลดลงจาก 33,471 บาท/ปี เหลือ 26,914 บาท/ปี 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 10 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 12. ความคุ้มทุนและคุ้มค่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลจังหวัดระนอง ใน พ.ศ. 2537 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 458,594 บาท อัตราตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (ค่า B/C) เท่ากับ 1.145 และอัตราตอบแทนของโครงการ (ค่า IRR) เท่ากับ ร้อยละ 15.5 ส่วนโครงการจัดสร้างแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดพังงา พบความคุ้มทุน เท่ากับ 22 เดือน หรือ 2 ปี ภายหลังการจัดสร้าง ดังนั้น โครงการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลคุ้มค่าต่อการลงทุน เมื่อ ค่า NPV มากกว่า 0, ค่า B/C มากกว่า 1 และค่า IRR สูงกว่าค่าเสียโอกาส ของทุนหรืออัตราดอกเบี้ย ทัศนคติและความคิดเห็น ชุมชนประมงพื้นบ้าน จังหวัดพังงามีความรู้เรื่องแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมากถึงร้อยละ 50 ชาวประมงที่จังหวัดระยองเข้าไปใช้ประโยชน์ในแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเลสูงถึงร้อยละ 86.70 ชาวประมงรู้จักและ ยอมรับผลดีของการจัดสร้าง อยากให้มีการสร้างเพิ่ม แต่ต้อง มีการตรวจตรา ควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย และออก ประกาศห้ามเครื่องมือประมงบางชนิด ควรเพิ่มทุ่นให้เห็น ชัดเจน แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นแหล่งรวมฝูงสัตว์น้ำ ลดการ ทำอวนลาก อวนรุน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ และตก ปลา ชาวประมงที่เคยเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมีความคิดเห็นว่าได้รับประโยชน์สูงกว่า กลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) แต่ จากการสำรวจชาวประมงมักมีส่วนร่วมในระดับต่ำและปานกลาง ร้อยละ 45.3 และ 29.7 ตามลำดับ โดยกิจกรรมที่เข้าร่วม เช่น การรับฟังการประชุมชี้แจงโครงการ พิจารณาพื้นที่จัดสร้าง และร่วมสังเกตการณ์การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ร้อยละ 75.0 76.6 และ 68.8 ตามลำดับ สำหรับชาวประมง จังหวัดสตูลมีความเห็นว่า แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลทำให้ไม่ต้อง ออกไปทำการประมงไกลฝั่ง ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ฐานะ ทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านดีขึ้น การรับข้อมูลข่าวสารของชาวประมง ที่จังหวัดพังงา อยู่ระดับสูงถึงร้อยละ 48 โดยช่องทางการรับรู้ส่วนใหญ่ ทราบจากเพื่อนบ้าน และมีระดับทัศนคติที่ดีต่อแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลสูงด้วย ส่วนชาวประมงบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง พบว่าส่วนใหญ่รับข้อมูลจากเพื่อน (ร้อยละ 87) หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 47) วารสาร (ร้อยละ 35) กรมประมง (ร้อยละ 32) วิทยุ (ร้อยละ 27) และโทรทัศน์ (ร้อยละ 25) การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมีวัตถุประสงค์แต่ เดิมเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการทำประมง แต่ปัจจุบันมี วัตถุประสงค์เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง หรือขยายแหล่งปะการังธรรมชาติ เป็นต้น ก่อนการจัดสร้างต้องมีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ชุมชน ทราบและหากมีการจัดสร้างด้วยวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่เคย จัดสร้างมาก่อน ต้องมีการศึกษาที่เชื่อถือได้ว่าวัสดุชนิดนั้น ไม่ส่งผลเสียต่อแหล่งประมงและสิ่งแวดล้อม ในระหว่างการ จัดสร้างต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และภายหลัง การจัดสร้างควรมีการติดตามประเมินผลและกำหนดกฎ กติกา หรือมาตรการควบคุมการทำประมงบางชนิดที่ทำลาย พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุ ที่ปัจจุบันมีองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนและ มีส่วนร่วมในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพิ่มมากขึ้น กรมประมงจึงควรทำการวิจัยและพัฒนา (research and development, R&D) ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องดังนี้ 11
  • 13. กลุ่มที่ 3 การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ได้แก่ ชนิดของวัสดุ รูปทรง และขนาด รูปแบบ การวาง เช่น พื้นที่ ระยะห่างฝั่ง ผังการจัดวาง เป็นต้น - การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยา - การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การศึกษาความคุ้มค่าต่อการลงทุนจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่ผ่านมา ผลตอบแทนสุทธิที่ได้จากโครงการคิดจากกำไรจากการทำประมงของชาวประมงเท่านั้น ความจริง ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นควรรวมการขยายตัวของธุรกิจดำน้ำและการท่องเที่ยวในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เป็นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วย - การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้แก่ ทัศนคติ ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงต่อแหล่งอาศัย สัตว์ทะเล งานวิจัย สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ ก. กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 การประเมินศักยภาพของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 12 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 14. 3 การสร้างระบบบริหารจัดการ 3.1 สร้างเครือข่ายจัดการทรัพยากรประมง 3.2 จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการศึกษาทางด้านชีววิทยาของสัตว์ทะเล 3.3 ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางผ่านสื่อต่างๆ อย่างจริงจัง ให้ทุกภาคส่วนได้รู้ข้อเท็จจริงของสภาวะ การประมงทะเล จักได้ระดมทุนทรัพย์ ทุนความคิด ทุนสังคม ทุนมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา 3.4 ประกาศให้บริเวณที่มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นเขตบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชน มีส่วนร่วม สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่ งานพัฒนา สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ ข. 1 บูรณาการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลกับทุกหน่วยงาน (48 หน่วยงาน) ที่ได้ดำเนินการจัดสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 1.1 ปรับปรุงแผนผังมาตรฐานในการจัดวางวัสดุจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล การจัดสร้างต่อเนื่องในพื้นที่ ใกล้เคียงกันจะกลายเป็นแปลงหรือคอมเพล็กซ์ (complex) ที่มีประสิทธิภาพในการทำการประมง 1.2 สร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ให้แก่เจ้าของโครงการ สมาชิกในชุมชน ประมงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างถูกต้องในการจับสัตว์น้ำบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ให้เกิดคุณค่ามากที่สุด ทั้งนี้อย่าใช้แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นเพียงเครื่องมือในการรวบรวมฝูงปลา ต้องมีกฎ กติกา และความร่วมมือของทุกฝ่ายในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 1.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของชุมชนและทรัพยากรประมง 2 พัฒนาโครงสร้างการบริหาร องค์กร บุคลากร มาตรการและวิธีการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 2.1 จัดทำแผนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลโดยมีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงาน หลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลต้องอยู่ภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน 2.3 ภาครัฐต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายประมงให้ทันสมัยโดยเร็ว จะได้มีนโยบายการเพิ่มผลผลิตและจับสัตว์น้ำ อย่างที่เหมาะสม 2.4 มีนโยบายในการจัดการป้องกันและควบคุมความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือของ ชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่น 2.5 เพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการพิจารณานโยบายการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 1) ให้มีการจัดสร้างในพื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ผู้ขออนุญาตต้องขออนุญาตเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำกับกรมประมง 2) กรมประมง ควรเร่งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ให้แก่บุคลากร ของหน่วยงานต่างๆ ที่เสนอขออนุมัติจัดสร้างฯ ได้เข้าใจ มีความรู้ความสามารถในการจัดการทรัพยากร ประมงเพิ่มขึ้นและมีฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ 13
  • 16. อำนาจ ศิริเพชร อัญญานี แย้มรุ่งเรือง บทที่ 1 พัฒนาการของการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย 15
  • 17. ประวัติการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บทที่ 1 พัฒนาการของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีว่า การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เป็นที่รู้จักของชาวประมงในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก การค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ถึงกำเนิดของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พบว่า มนุษย์รู้จักสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมานานแล้ว Tortell (1993) กล่าวว่า ชนเผ่าอะบอริจิ้น (Aborigines) ในประเทศออสเตรเลีย สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นพบบันทึกว่ามีการ สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลตั้งแต่ พ.ศ. 2403 ในประเทศ ฟิลิปปินส์และอินเดียมีการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2443 มากกว่าร้อยปีมาแล้ว สำหรับการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการทำประมงมาไม่น้อยกว่าร้อยปี ด้วยเช่นกัน ตามบันทึกในสมุดคู่มือเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ในประเทศสยามจัดทำโดย กองการประมง กรมเกษตรและ การประมง พ.ศ. 2478 กล่าวถึงเครื่องมือจับสัตว์น้ำ 2 ชนิด ที่จัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ชนิดแรกเรียกว่า หญ้ากร่ำ เป็นวิธีจับสัตว์น้ำในลำคลอง หนอง บึง โดยใช้พุ่มไม้ กิ่งไม้ สุมไว้ หรือปลูกหญ้าปล้อง โสน ลำเจียก ผักบุ้ง ไว้เป็นพุ่ม ยาวริมฝั่ง วิธีจับปลาใช้เฝือกล้อมหรืออวนล้อมหญ้ากร่ำ แล้วเอาหญ้าและกิ่งแขนงไม้ขึ้น รุกเฝือกและอวนเพื่อจับปลา พบใช้ในจังหวัดภาคกลาง อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กร่ำกุ้ง เป็นวิธีจับกุ้งโดยใช้กิ่งไม้ หลักไม้ปักรวมเป็นกลุ่มริมน้ำหรือ ริมชายทะเล เวลาจะจับใช้อวนล้อมกิ่งไม้ที่ปักไว้ แล้วถอน หลักไม้ขึ้นใช้สวิงช้อนจับ เมื่อจับกุ้งปลาได้หมดแล้ว ก็ปักไม้ ลงไว้ดังเดิม พบใช้ในจังหวัดภาคกลางและชายทะเล (กองการประมง, 2478) การใช้กิ่งไม้รวมฝูงปลา นอกจากจะพบบริเวณภาค กลางตามมีบันทึกนั้น จากการที่กรมประมงโดยศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) ได้สอบถาม ชาวประมงทะเลพื้นบ้านก่อนการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ได้ทราบว่าชาวประมง ทะเลพื้นบ้านภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย รู้จักการทำแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลมาหลายชั่วอายุคน พร้อมๆ กับการรู้จักจับสัตว์น้ำ โดยการนำกิ่งไม้ ลำไม้ไผ่ ใบมะพร้าว ไปวางไว้บนพื้นทะเล กลางน้ำ และผิวน้ำ ให้สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย แล้วจึงจับสัตว์น้ำ เรียกการจัดสร้างนี้ว่า การทำซั้ง ครั้นถึงยุคสมัยที่อวนลากถูก นำมาใช้ในประเทศไทยทำให้แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลอย่างง่าย เหล่านี้ถูกลากทำลายไปด้วย กรมประมงจึงคิดประดิษฐ์พัฒนา จัดสร้างแหล่งอาศัยด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักมาก คงทนและถาวร มากขึ้น ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันอวนลากและอวนรุน ไม่ให้เข้ามาทำการประมงผิดกฎหมายในเขตพื้นที่อนุรักษ์ 3,000 เมตร จากฝั่ง ได้ทำการทดลองด้วยยางรถยนต์ แท่งคอนกรีต ท่อคอนกรีต และวัสดุอื่นๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึง รายละเอียดในบทที่ 2 อันเป็นที่มาของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมง ดังที่เห็นในปัจจุบัน แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (artificial habitat) หรือ ปะการังเทียม (artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นทะเลให้สัตว์น้ำชอบ โดยเลียนแบบ บริเวณกองหินใต้น้ำตามธรรมชาติ หรือแนวปะการัง เพื่อดึงดูดให้สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่งทำการประมง ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นเครื่องมือด้านการประมง เพื่อใช้เป็นที่จับสัตว์น้ำ โดยดึงดูดให้สัตว์น้ำมาชุมนุมกัน 1.1 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 16 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 18. (fish aggregation) เพื่อสะดวกในการจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ นอกจาก วัตถุประสงค์นี้แล้ว มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อนและ เพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ (Nakamura, 1985) และวัตถุประสงค์อื่นๆ (Willmann, 1991) ดังนี้ 1) เพื่อให้มีผลผลิตการจับสัตว์น้ำสูงขึ้นและคงที่มากขึ้น 2) ลดเวลาค้นหาแหล่งทำการประมง ทำให้ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง 3) เพื่อกิจกรรมนันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ เช่น กีฬาตกปลา ดำน้ำ และถ่ายภาพ เป็นต้น 4) ปรับปรุงหรือฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ 5) จัดการควบคุมหรือป้องกันการทำการประมง บางชนิดใกล้ฝั่ง เช่น อวนลาก เป็นต้น 6) ปกป้องการทำฟาร์มทะเลและสิ่งก่อสร้างตามแนว ชายฝั่งจากคลื่นและกระแสน้ำ 7) กำจัดสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น ซากรถบัส รถยนต์ และยางรถยนต์เก่า เป็นต้น 17
  • 19. การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมง พัฒนาการการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของ กรมประมงเริ่มจากการทดลองแล้วนำผลที่ได้มาเป็นแนวทาง ในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการที่ได้รับ การจัดสรรงบประมาณซึ่งเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการไปตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อเวลาผ่านไป จึงเริ่มมีการจัดสร้างอย่างต่อเนื่องและกำหนดหลักเกณฑ์การ จัดสร้าง หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่สำคัญของการกำหนดพื้นที่จัด สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2526-2555 คือ ต้องเป็นไปตามความต้องการของ ชาวประมงในท้องถิ่น ตามประเภทของเครื่องมือและแหล่งประมง โดยระดับน้ำลงต่ำสุดต้องอยู่เหนือกองวัสดุไม่น้อยกว่า 6 เมตร มีสภาพพื้นทะเลที่เหมาะสมไม่ทำให้กองวัสดุจมตัวเกินกว่า 20 เซนติเมตร และเป็นพื้นที่ได้รับความเห็นชอบจากส่วน ราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมประมง กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า ซึ่งมักอยู่ในเขต 10 กิโลเมตรจากฝั่ง ระดับน้ำลึกไม่เกิน 30 เมตร (กรมประมง, 2549) หากแบ่งยุคต่างๆ ของการ จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลตามวัตถุประสงค์ของการ จัดสร้างที่ผ่านมาสามารถ แบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้ 1.2.1 ยุคแรกของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พ.ศ. 2521-2529 เป็นยุคแห่งการทดลองจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลและเริ่มการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้ โครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้านตามแผนพัฒนาชนบท ยากจน ยังไม่มีการขอรับงบประมาณในลักษณะโครงการ เพื่อการพัฒนา โครงการทดลองครั้งแรก เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยสถานีประมงทะเลจังหวัดระยอง ได้ทดลองจัดสร้างด้วย วัสดุเหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ คอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ โปร่ง ปลอกบ่อซีเมนต์ หินและไม้ เป็นต้น จัดทำเป็นรูปแบบ ต่างๆ วางบนพื้นทะเล (Boonkert and Vattanakul, 1979) และมีโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลครั้งที่ 2 บริเวณฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อ พ.ศ. 2526 บริเวณตอนบน ของเกาะยาวน้อยในอ่าวพังงา จังหวัดพังงา (Lohakarn, 1984) โดยสถานีประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมากองประมงทะเลได้นำเสนอการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนาประมงทะเล พื้นบ้าน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 1.2 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 18 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 20. (กนกพรรณ และวิทยา, 2534) จากนั้นจึงมีโครงการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 ภายใต้ โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านและมีการ จัดสร้างในพื้นที่ของจังหวัดที่อยู่ติดทะเลทั้งฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ในปี พ.ศ. 2528 – 2529 มีการใช้งบประมาณ รวม 5.5 ล้านบาท จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลที่จังหวัด เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี สตูล รวม 10 แห่ง โดยใช้วัสดุคือ ยางรถยนต์ ปลอกบ่อซีเมนต์ และเริ่มทดลองใช้วัสดุที่จัดสร้างขึ้น คือ แผ่นซีเมนต์ประกอบ ได้ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.8 x 1.0 x 1.0 เมตร ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช โครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้าน เป็นโครงการ ในแผนพัฒนาชนบทยากจนได้ผ่านการพิจารณาตามมติ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติครั้งที่ 6 เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2526 เรื่อง การปรับปรุงแผนพัฒนา ชนบทพื้นที่ยากจนประจำปี 2528-2529 ให้การเรียนรู้และ ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ กรมประมง มอบหมายให้กองประมงทะเล โดยสำนักงานโครงการพัฒนา ประมงทะเลพื้นบ้านเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินการ พัฒนาชนบทเขตพื้นที่ยากจน ให้สามารถพออยู่พอกิน โดยปรับปรุงวิธีการประมง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ และประกอบอาชีพ พัฒนาแหล่ง จับสัตว์น้ำใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายและเวลาทำประมง สร้างศูนย์รวมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประชาชนรู้จักการพัฒนา ตนเองมิใช่เป็นผู้ถูกพัฒนา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยรัฐเป็นที่ปรึกษา (สำนักงานโครงการพัฒนาประมงทะเล พื้นบ้าน, 2528) เป้าหมายสำคัญของการจัดสร้างในยุคนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากร โดย จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลใกล้หมู่บ้าน ลดค่าใช้จ่ายและ เวลาในการทำประมง แนะนำและส่งเสริมเครื่องมือที่เหมาะสม จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของ ชาวประมง เช่น ท่าเทียบเรือขนาดเล็ก โรงเรือนเอนกประสงค์ โรงเก็บน้ำแข็ง ถังเก็บน้ำจืด เครื่องกว้านฉุดเรือขึ้นฝั่ง ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ แปรรูปสัตว์น้ำ ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ และการดูแลรักษาเครื่องยนต์ ส่วนการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเล กำหนดให้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำแห่งละไม่ต่ำกว่า สามชนิด พร้อมตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือตัวแทนเพื่อ กำหนดขอบเขตแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ออกแบบและดูแล การวางให้ตรงตามแบบแปลน พร้อมทั้งร่วมติดตามผล อีกทั้ง ห้ามปรามและป้องกันชาวประมงเข้ามาทำการประมง ผิดกฎหมาย ต่อมาเป้าหมายของการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลในเขตชนบทยากจน จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานีและสตูล มีเพิ่มขึ้นเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่าง ประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ เพิ่มการอนุรักษ์ทรัพยากร สัตว์น้ำชายฝั่งมิให้เสื่อมโทรม และลดการว่างงานในชุมชน ประมง (สำนักงานโครงการพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้าน, 2529 ก; ข) 1.2.2 ยุคจัดสร้างเพื่อพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน พ.ศ. 2530-2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2530-2539) กรมประมงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือ ชาวประมงขนาดเล็กที่ประกอบอาชีพตามแนวชายฝั่งทะเล ของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ชาวประมงพื้นบ้านและยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของ สังคมชาวประมงพื้นบ้านให้ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และ จัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น ส่งเสริมการพัฒนารายได้ การจัดสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวกขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาแหล่งทำประมงชายฝั่งให้ มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ภายใต้โครงการ พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน และโครงการจัดสร้าง แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (กองประมงทะเล, 2545) ตลอดจน โครงการฟาร์มทะเล ซึ่งดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาแหล่ง ประมง มี 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเลเพื่อป้องกันอวนลากอวนรุน บังคลื่นลมเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการ ฟาร์มทะเลดำเนินการเฉพาะในช่วงปี 2533-2536 (กรมประมง, 2531) การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการ พัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านให้เป็นแหล่งปล่อยพันธุ์ สัตว์น้ำ ประสบปัญหาการก่อสร้างล่าช้าเสร็จไม่ทันในปี งบประมาณ เจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัด การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จึงล่าช้าไปด้วย จึงให้ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งจัดสร้าง ที่แล้วเสร็จในปีที่ผ่านมาแทน แล้วให้ส่งเสริมกิจกรรมสาธิต และจัดหาเครื่องมือประมง และกิจกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ (กรมประมง, 2531) ส่วนโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มาจนสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (2535-2539) แยกตามช่วงเวลาของโครงการดังนี้ 19
  • 21. 1) โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านระยะที่ 1 (2530-2534) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 18.48 ล้าน บาท โดยในปี 2530 จัดสร้างด้วยวัสดุคอนกรีตหลาย รูปแบบ คือ ปลอกบ่อ ขนาด 1.0 x 0.5 x 0.5 เมตร แผ่นซีเมนต์ประกอบได้ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.8 x 1.0 x 1.0 เมตร และตั้งแต่ปี 2531 จัดทำแท่งคอนกรีต โครงสี่เหลี่ยมขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 เมตร จัดวาง เป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็ก 2) โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านระยะที่ 2 (2535-2539) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 86.88 ล้าน บาท ใช้แท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยม จำนวน 2 ขนาด เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสม คือ ขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 เมตร และขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร ซึ่งเป็นรูปแบบและขนาดที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุดกับลักษณะ พื้นทะเล และความลึกโดยเฉลี่ยของประเทศไทย 3) โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (พ.ศ. 2530- 2539) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัย สัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 225 ล้านบาท เป็นการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ที่จัดสร้างด้วยแท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยม 3 ขนาด คือ ขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 เมตร ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร และขนาด 2.0 x 2.0 x 2.0 เมตร โดย จัดวางตามรูปแบบและผังการจัดวางที่กำหนด โดยขนาดเล็กจัดวางเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ไว้ด้านใน และขนาดใหญ่จัดวางเป็นกรอบด้านนอก 1.2.3 ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ. 2540 - 2549 ยุคนี้วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ ทะเลมุ่งลดข้อขัดแย้งระหว่างชาวประมงทะเลพื้นบ้านและ ประมงพาณิชย์ ตลอดจนช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากร ประมงของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากขึ้น (กองประมงทะเล, 2541) พัฒนาแหล่งทำประมง ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพมาก ขึ้น ชาวประมงเห็นผลประโยชน์ที่สามารถอนุรักษ์แหล่งเลี้ยง ตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อนและเพิ่มอัตราการจับสัตว์น้ำที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ เช่น ปลากุเรา และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น (กองประมงทะเล, 2542) ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) กรมประมงได้จัด ทำโครงการฟื้นฟูทะเลไทย โดยปรับปรุงกิจกรรมบางส่วน ของโครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านและโครงการ จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาดำเนินการใหม่ให้ สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางทะเลของประเทศไทย (กองประมงทะเล, 2545) ภายใต้โครงการต่างๆ ดังนี้ 1) โครงการฟื้นฟูทะเลไทย (พ.ศ.2540-2544) กรมประมง ดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้ งบประมาณรวม 417 ล้านบาท ใช้แท่งคอนกรีต สี่เหลี่ยมรูปลูกบาศก์เพียง 2 ขนาด คือ ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร และขนาด 2.0 x 2.0 x 2.0 เมตร 2) โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2545 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ให้หน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริร่วมกัน จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ด้วยตู้รถไฟ รถยนต์ แท่งคอนกรีต และท่อคอนกรีต ถือเป็นยุคที่ทำให้ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป 3) โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล (2545 - 2549) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่ง อาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้งบประมาณรวม 336 ล้านบาท ใช้แท่งคอนกรีตโครงสี่เหลี่ยมเพียงขนาดเดียว คือ ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร 35 ปี ของการพัฒนาแหล่งประมง 20 แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล :
  • 22. 1.2.4 ยุคจัดสร้างเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการประมง ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน (2556) กรมประมงดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยใช้แท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 เมตร งบประมาณรวม 378.75 ล้านบาท จัดสร้างภายใต้แผนงานดังนี้ 1) แผนงบประมาณสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภายใต้โครงการ ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พ.ศ. 2550 – 2552 2) แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร และ โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 – 2554 3) โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมง ทะเลไทย พ.ศ. 2555 - 2556 ใช้งบประมาณ รวม 60 ล้านบาท ตารางที่ 1-1 การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลของกรมประมงแยกตามแผนงานโครงการ ลำดับ โครงการ/แผนงาน/แผนงบประมาณ ปี งบประมาณ จำนวน (แห่ง) งบประมาณ (ล้านบาท) 1 ช่วงการทดลอง 2521-2527 11 2 โครงการพัฒนาประมงทะเล ตามแผนพัฒนาชนบทยากจน 2528-2529 10 5.50 3 โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ระยะที่ 1 2530-2534 30 18.48 4 โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ระยะที่ 2 2535-2539 67 86.88 5 โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 2530-2539 46 225.00 6 โครงการฟื้นฟูทะเลไทย 2540-2544 115 417.00 7 โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล 2545-2549 98 336.00 8 โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส 2545-2550 49 57.92 9 งบช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากกระทรวงเกษตรฯ 2547 12 36.00 10 แผนงานสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ 2550-2554 71 243.75 11 โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2552-2556 25 75.00 12 โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย 2555-2556 20 60   รวม 554 1,561.53 21