SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  76
Télécharger pour lire hors ligne
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๑ พุทธาปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๑. พุทธวรรค
หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นต้น
๑. พุทธาปทาน
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
เกริ่นนา
พระอานนท์ น้อมกายลงทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารว่า พระ
สัพพัญญูพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเพราะเหตุอะไร
[๑] พระอานนทเถระ ผู้เป็นมุนีชาวแคว้นวิเทหะ น้อมกายลงทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ ณ
พระเชตวันมหาวิหารว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็น
นักปราชญ์ ทรงอุบัติขึ้นเพราะเหตุอะไร
[๒] ลาดับนั้น พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสกับพระอานนท์ผู้เจริญ
ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะว่า ธีรชนเหล่าใดได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ยังไม่ได้ความ
หลุดพ้นจากกิเลสในศาสนาของพระชินเจ้าทั้งหลาย
[๓] เพราะมุ่งหน้าต่อสัมโพธิญาณนั้นแล ธีรชนผู้มีปัญญาแก่กล้าดี จึงได้บรรลุความเป็นพระ
สัพพัญญู ด้วยอัธยาศัยที่เข้มแข็งและด้วยอานาจแห่งปัญญา
[๔] ถึงเราก็ได้เป็นผู้มีใจปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ในสานักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หลาย
พระองค์ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงเป็นพระธรรมราชา นับไม่ถ้วน
[๕] ต่อไปนี้ ขอให้เธอทั้งหลายผู้มีใจหมดจด จงฟังประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ประการ (บารมี ๓๐ ประการ คือ ทาน ศีล
เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา, ทานอุปบารมี ฯลฯ อุเบกขาอุปบารมี, ทาน
ปรมัตถบารมี ฯลฯ อุเบกขาปรมัตถบารมี ทานบารมี การบาเพ็ญทานตามปกติ ทานอุปบารมี การบาเพ็ญ
ทานยิ่งกว่าปกติ ทานปรมัตถบารมี การบาเพ็ญทานระดับสูงสุด เช่น สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี
สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทาน เป็นปรมัตถบารมี) นับไม่ถ้วน
2
[๖] เรายกนิ้ วมือทั้ง ๑๐ นิ้ วขึ้น นอบน้อมพระโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด อภิวาท
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า
[๗] ในพุทธเขต (พุทธเขต (เขตแดนของพระพุทธเจ้า) มี ๓ คือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต ชาติ
เขตมีขอบเขตหนึ่งหมื่นจักรวาลจะเกิดการหวั่นไหวทั่วถึงกันในคราวพระพุทธเจ้าถือปฏิสนธิเป็นต้น อาณา
เขตมีขอบเขตถึงหนึ่งแสนโกฏิจักรวาล เป็นสถานที่ที่อานุภาพแห่งพระปริตรแผ่ไปถึง วิสัยเขตไม่มีขอบเขตที่
จะกาหนดได้) มีรัตนะที่อยู่ในอากาศ ที่อยู่บนภาคพื้นดิน นับจานวนไม่ถ้วนอยู่เท่าใด เราพึงนึกนารัตนะ
เท่านั้นทั้งหมดมาได้
[๘] ณ พื้นที่อันเป็นเงินนั้น เราได้เนรมิตปราสาทแก้วหลายร้อยชั้น สูงตระหง่านโชติช่วงใน
ท้องฟ้า
[๙] มีเสาวิจิตรงดงาม มีค่ามากตั้งอยู่เรียงราย มีขื่อทาด้วยทองคา (ติดคู่ห่วงทองคาที่ขื่อหรือ
จันทัน) ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร
[๑๐] พื้นชั้นแรกทาด้วยแก้วไพฑูรย์ งดงามดังก้อนเมฆปราศจากมลทิน มีภาพฝูงปลาและดอกบัว
อยู่เกลื่อนกลาด ย่อมงามด้วยพื้นทองคาอย่างดี
[๑๑] (ที่ปราสาทนั้น) พื้นบางชั้นมีภาพกิ่งไม้อ่อนช้อย มีสีเหมือนสีแก้วประพาฬ บางชั้นมีสีแดง
สด บางชั้นงดงามเปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง (แมลงค่อมทอง หมายถึงแมลงปีกแข็ง ตัวเล็กกว่าแมลงทับ
ปีกสีเขียวเหลืองทอง) บางชั้นสว่างไสวไปทั่วทิศ
[๑๒] (ที่ปราสาทนั้น) แบ่งพื้นที่เป็นหน้ามุข ระเบียง หน้าต่าง ไว้อย่างดี มีพวงอุบะหอม (พวง
อุบะหอม ในที่นี้ หมายถึงพวงของหอม (ดอกไม้ร้อยเป็นพวงอย่างพู่สาหรับห้อยระหว่างเฟื่องเป็นต้น)) ที่น่า
รื่นรมย์ใจ ห้อยย้อยจากวลัยไพที (ไพที ในที่นี้ หมายถึงแท่นที่รองเครื่องบูชา) และบานประตูข่ายทั้ง ๔ ด้าน
[๑๓] (ที่ปราสาทนั้น) ประกอบด้วยเรือนยอดชั้นเยี่ยม ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีสีเขียว สี
เหลือง สีแดง สีขาว สีดาล้วน
[๑๔] (ที่ปราสาทนั้น) มีดอกปทุมชูก้านบานสะพรั่ง งดงามด้วยภาพหมู่เนื้ อร้ายและฝูงนก
ดารดาษด้วยดวงดาวพราวพรายระยิบระยับ ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
[๑๕] (ปราสาทนั้น) ใช้ตาข่ายทองคาปกคลุม ติดข่ายกระดิ่งทองคา พวงดอกไม้ทองคา น่า
รื่นรมย์ใจ ลมพัดมากระทบเข้าก็เกิดเสียงดังกังวาน
[๑๖] (ที่ปราสาทนั้น) ขึงธงทิวซึ่งย้อมด้วยสีนานาชนิด คือ ธงสีหงสบาท สีแดง สีเหลือง สีทอง
ชมพูนุท
[๑๗] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่นอนต่างๆ งดงาม มากมายหลายร้อยชนิด ทาด้วยแก้วผลึก เงิน แก้ว
มณี ทับทิม แก้วลาย ปูด้วยผ้าแคว้นกาสีเนื้ อละเอียดอ่อน
[๑๘] ผ้าห่มสีเหลือง ทอด้วยด้ายขนสัตว์ ทอด้วยผ้าเปลือกไม้ ทอด้วยฝ้ายเมืองจีน ทอด้วยฝ้าย
เมืองปัตตุณณะ เครื่องปูลาดต่างๆ ทั้งหมดเราอธิษฐานใจปูลาดไว้
[๑๙] แต่ละชั้นประดับด้วยช่อฟ้าซึ่งทาด้วยรัตนะ มีคนยืนถือประทีปดวงแก้วสว่างไสวอยู่เรียงราย
3
[๒๐] มีเสาระเนียด (เสาปักเรียงรายตลอดรั้ว) และเสาค่ายทองคา เสาค่ายทองชมพูนุท เสาค่าย
ไม้แก่น (และ)เสาค่ายเงินที่งดงาม ย่อมทาปราสาทนั้นให้งดงาม
[๒๑] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่ต่อ(ช่อง)หลายแห่งจัดไว้เรียบร้อยดี มีบานประตูและลูกดาลงดงาม มี
กระถางบัวหลวง บัวขาบเรียงรายอยู่ทั้ง ๒ ด้าน
[๒๒] เราเนรมิตพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลกในอดีตทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก
ด้วยวรรณะและรูปตามปกติ
[๒๓] พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พร้อมด้วยสาวกเป็นหมู่พระอริยะ เสด็จเข้าไปทางประตูนั้น ประทับ
นั่งบนตั่งทองคาล้วน
[๒๔] พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทุกพระองค์ ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาท
ของเราแล้ว
[๒๕] พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ (พระสยัมภู ผู้ไม่
ทรงพ่ายแพ้ หมายถึง ไม่พ่ายแพ้แก่มาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร)
ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทั้งหมด ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของเราแล้ว
[๒๖] ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ (ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ หมายถึงต้นไม้ที่เกิดในเทวโลก) และต้น
กัลปพฤกษ์มนุษย์ มีมากมาย เราได้นาผ้าทุกอย่างมาจากต้นกัลปพฤกษ์เหล่านั้น ตัดเย็บเป็นไตรจีวรถวาย
ให้นุ่งห่ม
[๒๗] ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้าปานะ รวมทั้งอาหารมีอยู่อย่างเพียบพร้อม เราถวายบรรจุจน
เต็มบาตรแก้วมณีลูกงามทุกลูก
[๒๘] หมู่พระอริยะเหล่านั้น เป็นผู้หมดจดจากกิเลส ครองจีวรผ้าทิพย์เสมอกัน อันข้าพเจ้านิมนต์
ฉันจนอิ่มหนา ด้วยน้าตาลกรวด น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย และข้าวอย่างดี
[๒๙] ทั้งหมดได้เข้าไปสู่ห้องแก้ว เหมือนไกรสรราชสีห์เข้าไปสู่ถ้า
[๓๐] สาเร็จสีหไสยาสน์บนที่นอนมีค่ามาก มีสติสัมปชัญญะ ลุกขึ้นแล้ว นั่งขัดสมาธิบนที่นอน
[๓๑] ซึ่งเป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แนบแน่นด้วยความยินดีในฌาน หมู่หนึ่งแสดง
ธรรม หมู่หนึ่งยินดีด้วยฤทธิ์
[๓๒] หมู่หนึ่งเข้าอัปปนาฌาน หมู่หนึ่งเจริญอภิญญาวสี (อภิญญาวสี หมายถึงความชานาญใน
อภิญญา ๕ ประการ คือ (๑) อาวัชชนวสี ชานาญในการคานึงถึง (๒) สมาปัชชนวสี ชานาญในการเข้า (๓)
วุฏฐานวสี ชานาญในการออก (๔) อธิฏฐานวสี ชานาญในการอธิษฐาน (๕) ปัจจเวกขณวสี ชานาญในการ
พิจารณา) แสดงฤทธิ์ได้หลายร้อยหลายพันประการ
[๓๓] ฝ่ายพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงปัญหาอันเป็นวิสัยแห่งพระ
สัพพัญญุตญาณ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ทรงรู้แจ้งเหตุอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนด้วยปัญญา
[๓๔] สาวกทั้งหลายก็ทูลถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสถามสาวกทั้งหลาย
ทั้งพระพุทธเจ้าและสาวกเหล่านั้นต่างก็ถามตอบกันและกัน
4
[๓๕] พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกผู้ปรนนิบัติเหล่านั้น ต่างรื่นรมย์ยินดีในปราสาท
ด้วยความยินดีด้วยประการฉะนี้
[๓๖] (พระเจ้าติโลกวิชัยทรงดาริว่า) ฉัตรตั้งซ้อนกัน มีรัศมีเปล่งปลั่งดังแก้วไพฑูรย์ ขอให้ทุกคน
จงกั้นฉัตร มีตาข่ายทองคาห้อยระย้า ประดับด้วยตาข่ายเงิน แวดล้อมด้วยตาข่ายแก้วมุกดาไว้เหนือศีรษะ
ข้าพเจ้า
[๓๗] มีเพดานผ้าติดดวงดาวทองมีแสงแวววาว มีพวงมาลัยห้อยอยู่ทั่วงดงามตระการตา เพดาน
ผ้าทั้งหมด จงดาดอยู่เหนือศีรษะ
[๓๘] สระที่ดารดาษด้วยพวงมาลัย งดงามด้วยพวงของหอม (พวงของหอม หมายถึงจันทน์ ดอก
บัวบก หรือหญ้าฝรั่นและกฤษณา เป็นต้น) มีพวงผ้าห้อยระย้า ประดับประดาด้วยพวงรัตนะ
[๓๙] มีดอกไม้เรียงราย งดงามนัก อบด้วยของหอมกลิ่นฟุ้งขจายไป ใช้นิ้ วมือทั้ง ๕ เจิมด้วยของ
หอม มุงด้วยหลังคาทองคา
[๔๐] ทั้ง ๔ ทิศ (แห่งปราสาท) ดารดาษด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ปรากฏเป็นสีทอง หอมฟุ้ง
ด้วยละอองเกสรดอกปทุม
[๔๑] รอบๆ ปราสาท ต้นไม้ทุกต้นจงออกดอกบานสะพรั่ง ดอกไม้หล่นเอง ปลิวไปโปรยปราสาท
[๔๒] ใกล้ๆ ปราสาทนั้น ขอฝูงนกยูงจงราแพน (หาง) ฝูงหงส์ทิพย์จงส่งเสียงร้อง ฝูงนกการเวกจง
ร้องขับขาน วิหคก็จงส่งเสียงขับขานอยู่รอบๆ ปราสาท
[๔๓] กลองทุกชนิดจงดังขึ้น พิณทุกชนิดจงบรรเลง เครื่องสังคีตทุกชนิดจงบรรเลงขับกล่อมอยู่
รอบๆ ปราสาท
[๔๔-๔๕] ตลอดพุทธเขตและในจักรวาล ต่อจากนั้นจงมีบัลลังก์ทองขนาดใหญ่ เรืองรองด้วยรัศมี
ไม่มีช่องว่าง ขลิบด้วยรัตนะ ตั้งอยู่ (รอบๆ ปราสาท) ขอต้นพฤกษาประทีป (พฤกษาประทีป หมายถึงต้นไม้
ที่แขวนตะเกียง, โคมไฟ) จงส่องสว่าง มีแสงโชติช่วงติดต่อเป็นอันเดียวกันทั้ง ๑๐,๐๐๐ ดวง
[๔๖] หญิงนักฟ้อนก็จงฟ้อน หญิงนักร้องก็จงขับร้อง หมู่นางอัปสรก็จงร่ายรา สนามเต้นราต่างๆ
จงปรากฏอยู่รอบๆ ปราสาท
[๔๗] เรา(ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่าติโลกวิชัยในครั้งนั้น) สั่งให้ยกธงทุกชนิด วิจิตรงดงาม
๕ สี (วิจิตรงดงาม ๕ สี หมายถึงสีมีสีเขียวและสีแดงเป็นต้น) ไว้บนยอดไม้ บนยอดภูเขา และบนยอดภูเขา
สิเนรุ
[๔๘] หมู่มนุษย์ หมู่นาค หมู่คนธรรพ์ และหมู่เทวดา ทั้งหมดนั้น จงเข้ามาประนมมือนอบน้อม
แวดล้อมปราสาทของเรา
[๔๙] กุศลกรรมใดๆ ควรเพื่อบังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ที่ข้าพเจ้าพึงกระทาด้วยกาย วาจา ใจ
กุศลกรรมนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กระทาแล้ว
[๕๐] สัตว์เหล่าใดมีสัญญาก็ตาม และสัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญาก็ตามมีอยู่ ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด
จงเป็นผู้มีส่วนเสวยผลบุญที่เราทาแล้ว
5
[๕๑] สัตว์เหล่าใดรู้ว่าเราทาบุญ ขอสัตว์เหล่านั้น จงมีส่วนเสวยผลบุญที่เราให้แล้ว ก็ในบรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอเทวดาจงไปประกาศให้สัตว์เหล่านั้นทราบ
[๕๒] เหล่าสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีวิตทุกจาพวก ขอจงได้โภชนาหารที่น่าพอใจ ตาม
เจตนาของเรา
[๕๓] เราให้ทานด้วยใจ ยึดถือความเลื่อมใสด้วยใจเรา (เรา ในที่นี้ หมายถึงพระเจ้าจักรพรรดิ) ได้
บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระชินเจ้าแล้ว
[๕๔] ด้วยกรรมที่เราทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น เราละร่างกายมนุษย์แล้วจึงได้
ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๕๕] เรารู้จักแต่ภพทั้ง ๒ คือความเป็นเทวดาหรือความเป็นมนุษย์ มิได้รู้จักคติอื่นเลย นี้ เป็นผล
แห่งความปรารถนาด้วยใจ
[๕๖] (เมื่อเราเกิดเป็นเทวดา) เราก็ยิ่งใหญ่กว่าพวกเทวดา (เมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์) เราก็ยิ่งใหญ่
กว่าพวกมนุษย์ เราสมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญา
[๕๗] โภชนะมีรสอร่อยหลายชนิด รัตนะมิใช่น้อย ผ้าชนิดต่างๆ จากฟากฟ้า ย่อมเข้ามาหาเราเร็ว
พลัน
[๕๘] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม
ภักษาหารอันเป็นทิพย์ (อาหารทิพย์) จากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๕๙] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม รัตนะทุก
อย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๐] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ของหอม
ทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๑] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม
ยานพาหนะทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๒] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ดอกไม้
ทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๓] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม
เครื่องประดับทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๔] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม หญิงสาว
ทั้งมวลจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๕] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม น้าผึ้งและ
น้าตาลกรวดจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
[๖๖] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ของขบ
เคี้ยวทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
6
[๖๗] เราให้ทานอย่างดีแก่คนไร้ทรัพย์ คนเดินทางไกล คนขอทาน และคนหลงทาง เพื่อต้องการ
จะบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๖๘] เราทาให้ภูเขาศิลาล้วนบันลือ ทาให้ภูเขาหนาทึบกระหึ่ม ทาให้มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ร่าเริง จะเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
[๖๙] ทิศทั้ง ๑๐ ในโลก เมื่อคนเดินไป ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ในส่วนแห่งทิศนั้น พุทธเขตก็นับจานวน
ไม่ถ้วน(เหมือนกัน)
[๗๐] แสงสว่างตามปกติของเรา(ในสมัยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ปรากฏเปล่งรังสีออกมาเป็นคู่ๆ
ข่ายรัศมีมีอยู่ในระหว่างนี้ แสงสว่างมีอย่างไพบูลย์
[๗๑] ขอประชาชนทั้งหมดในโลกธาตุประมาณเท่านี้ จงมองเห็นเรา ทั้งหมดจงดีใจ ทั้งหมดจง
คล้อยตามเรา
[๗๒] เราตีกลองอมฤต (กลองอมฤต หมายถึงกลองสวรรค์) มีเสียงไพเราะกังวาน ขอประชาชน
ในระหว่างนี้ จงฟังเสียงที่ไพเราะ(ของเรา)
[๗๓] เมื่อตถาคตบันดาลเมฆฝนคือพระธรรมให้ตกลง ขอชนทั้งหมดจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาผู้
ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ ผู้มีคุณต่าสุด จงเป็นพระโสดาบัน
[๗๔] เราให้ทานที่ควรให้แล้ว บาเพ็ญศีลบารมีอย่างเต็มเปี่ยม สาเร็จเนกขัมมบารมีแล้วบรรลุ
สัมโพธิญาณอันสูงสุด (สัมโพธิญาณอันสูงสุด หมายถึงมรรคญาณ ๔)
[๗๕] เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย (บาเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว) บาเพ็ญวิริยบารมีแล้ว สาเร็จขันติ
บารมีแล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๗๖] เราบาเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว บาเพ็ญสัจจบารมีแล้ว สาเร็จเมตตาบารมีแล้ว บรรลุสัมโพธิ
ญาณอันสูงสุด
[๗๗] เรามีใจสม่าเสมอในอารมณ์ทั้งปวง คือทั้งในลาภ ในความเสื่อมลาภ ในความสุข ในความ
ทุกข์ ในการนับถือและในการถูกดูหมิ่น (บาเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว) บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๗๘] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความเกียจคร้านเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความเพียรเป็นสิ่งปลอดภัย
จงบาเพ็ญเพียรกันเถิด นี้ เป็นคาสอนของพระพุทธเจ้า
[๗๙] ท่านทั้งหลาย จงเห็นการวิวาทกันเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นการไม่วิวาทกันเป็นสิ่งปลอดภัย
จงสมัครสมานสามัคคีกัน พูดจาไพเราะกันเถิด นี้ เป็นคาสอนของพระพุทธเจ้า
[๘๐] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความประมาทเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความไม่ประมาทเป็นสิ่ง
ปลอดภัย จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เถิด (มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา
สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) นี้ เป็นคาสอนของ
พระพุทธเจ้า
[๘๑] พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์จานวนมากมาประชุมพร้อมกัน ท่านทั้งหลายจงกราบ
ไหว้พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์เถิด
7
[๘๒] ตามที่กล่าวมานี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย (อจินไตย หมายถึงสภาวะที่พ้น
ความคิดของตนที่จะคิดได้ คือไม่อยู่ในวิสัยที่จะคิดได้) ธรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นอจินไตย สาหรับผู้ที่
เลื่อมใสในอจินไตย ย่อมมีวิบากเป็นอจินไตย ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงให้พระอานนทเถระทราบพุทธจริตของพระองค์จึงได้ตรัส
ธรรมบรรยายชื่อว่าพุทธาปทานิยะ (การประกาศประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า) ด้วยประการฉะนี้
พุทธาปทานจบ
-----------------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๑. พุทธวรรค
๑. พุทธาปทาน
นิทานกถา
บรรดานิทานนั้น เบื้องต้นพึงทราบปริเฉทคือการกาหนดขั้นตอนของนิทานเหล่านั้นเสียก่อน. ก็
กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระมหาสัตว์กระทาอภินิหาร ณ เบื้องบาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกรจนถึงจุติจาก
อัตภาพพระเวสสันดรบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล). กถามรรคที่เล่าเรื่อง
ตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน (นิทานใน
กาลไม่ไกล). ส่วนสันติเกนิทาน (นิทานในกาลใกล้) จะหาได้ในที่นั้นๆ แห่งพระองค์เมื่อประทับอยู่ในที่
นั้นๆ แล.
ทูเรนิทานกถา
ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล). มีดังต่อไปนี้
เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยกาไรแสนกัปนับแต่ภัทรกัปนี้ ไป ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมร
วดี ในนครนั้น มีพราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ เขามีกาเนิดมาดีจากทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มี
ครรภ์อันบริสุทธิ์นับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใครๆ จะคัดค้านดูถูกเกี่ยวกับเรื่องชาติมิได้ มีรูปสวยน่าดู น่าเลื่อมใส
ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขาไม่กระทาการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น.
มารดาบิดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม ต่อมาอามาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์
ของเขานาเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็มด้วยทอง เงิน แก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้
ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา เท่านี้ เป็นของบิดา เท่านี้
เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจงครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้ เถิด.
สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้
8
ทรัพย์กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทาเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบ
ทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร ให้ทานแก่มหาชน แล้วบวชเป็นดาบส.
เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้ แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากสมาบัติ.
พระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. ในการถือปฏิสนธิ การประสูติ การตรัสรู้และการ
ประกาศพระธรรมจักรของพระศาสดาพระองค์นั้น หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวร้องลั่น.
บุพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธดาบสยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในสมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นและ
ไม่ได้เห็นบุพนิมิตเหล่านั้นด้วย. ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว
เสด็จจาริกไปถึงรัมมนคร เสด็จประทับอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร.
ชนชาวรัมมนครได้ทราบข่าวว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่า
สมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณอันยิ่งยอด ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลาดับ
เสด็จถึงรัมมนครของพวกเราแล้ว เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใส
และเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ก็พากันหลั่งไหลไปจนถึงที่
พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ประทับ เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชาด้วยของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง สดับพระธรรมเทศนา ทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วพากันลุก
จากอาสนะหลีกไป.
ในวันรุ่งขึ้น ชนเหล่านั้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับพระนครตกแต่งหนทางที่จะเสด็จ
มาแห่งพระทศพล ในที่มีน้าขังก็เอาดินถม ทาพื้นที่ดินให้ราบเรียบ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรย
ข้าวตอกและดอกไม้ เอาผ้าย้อมสีต่างๆ ยกเป็นธงชายและธงแผ่นผ้า ตั้งต้นกล้วยและแถวหม้อน้าเต็ม.
ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมของตนขึ้นสู่อากาศ แล้วเหาะไปทางส่วนเบื้องบนของคน
เหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริง ยินดีกัน จึงคิดว่ามีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง ถามคน
ทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาหนทางอันไม่สม่าเสมอในที่นี้ เพื่อใครกัน.
มนุษย์ทั้งหลายจึงเรียนว่า ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบหรือ พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
นามว่าทีปังกร บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา
เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร พวกเราทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมา จึงพากันตกแต่งทาง
เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
ลาดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า แม้เพียงคาประกาศว่า พุทโธ ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไป
ใยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับคนเหล่านี้ ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย. ท่านจึง
กล่าวกะคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายตกแต่งทางนี้ เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านจงให้โอกาส
แห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางพร้อมกับพวกท่าน.
คนเหล่านั้นรับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้กันอยู่ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกาหนดเอาโอกาสที่น้าขังให้
ไปด้วยคาว่า ท่านจงตกแต่งที่นี้ .
9
สุเมธดาบสถือเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้วคิดว่า เราสามารถจะตกแต่งโอกาสนี้ ด้วย
ฤทธิ์ได้ โอกาสคือที่ว่างซึ่งเราตกแต่งด้วยฤทธิ์อย่างนี้ จะไม่ทาเราให้ดีใจนัก วันนี้ เราควรกระทาการ
ขวนขวายด้วยกาย จึงขนดินมาถมลงในสถานที่นั้น.
เมื่อสถานที่นั้นของสุเมธดาบสยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทีปังกรทศพลห้อมล้อมด้วยพระ
ขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมากสี่แสน เมื่อเหล่าเทวดาบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์เป็นต้น
บรรเลงดนตรีทิพย์ ขับสังคีตทิพย์ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และดนตรีอันเป็น
ของมนุษย์ พระองค์ได้เสด็จดาเนินตามทางที่ตกแต่งประดับประดานั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาอุปมามิได้
ประดุจราชสีห์เยื้องกรายบนมโนศิลาฉะนั้น.
สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดาเนินมาตามทางที่ตกแต่ง
ไว้ ซึ่งถึงความงามด้วยพระรูปโฉมอันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุยัญชนะ
๘๐ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา เปล่งพระพุทธรัศมีอันหนาทึบมีพรรณ ๖ ประการเป็นวงๆ และเป็นคู่ๆ
เหมือนสายฟ้าแลบมีประการต่างๆ ในพื้นท้องฟ้าซึ่งมีสีดังแก้วมณีฉะนั้น จึงคิดว่า วันนี้ เราควรบริจาคชีวิต
เพื่อพระทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงเหยียบบนหลังเราเสด็จไปพร้อมกับ
พระขีณาสพสี่แสนองค์ เหมือนกับเหยียบสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและสุข
แก่เราตลอดกาลนาน ครั้นคิดแล้วจึงสยายผม แล้วเอาหนังเสือ ชฎามณฑลและผ้าเปลือกไม้ปูลาดลงบน
เปือกตมอันมีสีดา แล้วนอนลงบนหลังเปือกตม ประหนึ่งว่าสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น.
สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองขึ้นอีก เห็นพระพุทธสิริของพระทีปัง
กรทศพล จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงเป็นสังฆนวกะเข้าไปสู่รัมมนครได้ แต่เราไม่มีกิจ
ด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุพระนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร
บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวาให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้ว จึงปรินิพพาน
ภายหลัง ข้อนี้ สมควรแก่เรา.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้ว ทรงยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระ
เนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธ
ดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม จึงทรงดาริว่า ดาบสนี้ กระทาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้ จะสาเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ
ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ ไป ดาบสนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าโคดม ทั้งที่ทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายเห็นดาบสผู้มี
ตบะสูงผู้นี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า.
พระองค์จึงตรัสว่า
ดาบสนี้ กระทาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความ
10
ปรารถนาของดาบสนี้ จักสาเร็จ ด้วยว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ ไป ดาบสนี้ จักได้เป็น
พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม, ก็ในอัตภาพนั้น พระนครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา พระเทวี
พระนามว่ามายาจักเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา พระเถระนามว่าอุปติส
สะจักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าโกลิตะจักเป็นทุติยสาวก พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธ
อุปัฏฐาก พระเถรีนามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติยสาวิกา ดาบสนี้ มี
ญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรใหญ่ รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริม
ฝั่งแม่น้าเนรัญชราแล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์.
สุเมธดาบสได้ฟังดังนั้น ได้มีความโสมนัสว่า นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสาเร็จ. มหาชน
ได้ฟังพระดารัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างพากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่ง
พระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า ธรรมดาว่ามนุษย์เมื่อจะข้าม
แม่น้า เมื่อไม่อาจข้ามตามท่าตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้เราทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
ไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ก็พึงสามารถทาให้แจ้งมรรคและผลต่อหน้าท่าน ในกาล
ที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังนี้ แล้วพากันตั้งความปรารถนาไว้.
ฝ่ายพระทศพลทีปังกรสรรเสริญพระโพธิสัตว์แล้ว บูชาด้วยดอกไม้ ๘ กามือ ทรงกระทา
ประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พระขีณาสพนับได้สี่แสนแม้เหล่านั้น ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและ
ดอกไม้ กระทาประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็บูชาอย่างนั้นเหมือนกัน ไหว้แล้วพา
กันหลีกไป.
ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงลุกขึ้นจากที่นอนแล้วคิดว่า เราจักเลือกเฟ้นหา
บารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิบนยอดกองดอกไม้. เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งอย่างนี้ แล้ว เทวดาทั้งหลายในหมื่น
จักรวาลทั้งสิ้นให้สาธุการแล้วกล่าวกันว่า ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า ในกาลที่พระโพธิสัตว์ครั้งเก่าก่อน
นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่าจักเฟ้นหาบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตอันใดย่อมปรากฏ แม้บุรพนิมิตเหล่านั้น
ทั้งหมดก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้นว่า นิมิตเหล่านี้
ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยแน่แท้ ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่นคงเถิด แล้ว
กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยคาสรรเสริญนานัปการ.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดารัสของพระทีปังกรทศพล และเทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความ
อุตสาหะยิ่งกว่าประมาณ จึงคิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดารัสไม่เปล่า ถ้อยคาของ
พระพุทธเจ้าไม่เป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตกแน่นอน สัตว์เกิดแล้ว
จะต้องตาย เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ออกจากที่อยู่ก็จะต้องบันลือสีหนาท หญิงมีครรภ์
แก่ก็จะต้องคลอดเป็นของมีแน่นอนฉันใด ธรรมดาพระดารัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของแน่นอนไม่เปล่า. เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.
สุเมธดาบสนั้นกระทาการตกลงอย่างนี้ ว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญ
11
ถึงธรรมที่กระทาให้เป็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าธรรมอันกระทาให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบน
หรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย
เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้นไปโดยลาดับก็ได้เห็น ทานบารมี ข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อน
ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจา จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า
หม้อน้าที่คว่าไว้ย่อมคายน้าออกหมด ไม่นากลับเข้าไปฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ
บุตรและภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึงกระทามิให้มีส่วน
เหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทา
ให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทาให้เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้
เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ศีลบารมี ข้อที่ ๒ จึงได้มีความคิดอันนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบาเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาว่าเนื้ อทรายจามรีไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จาเดิม
แต่นี้ ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่
๒ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีประมาณเท่านี้ เลย จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น เนกขัมมบารมี ข้อที่ ๓ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า
บุรุษผู้อยู่ในเรือนจามาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจานั้นเลย โดยที่แท้ราคาญอย่างเดียว ไม่
อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงทาภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจา ราคาญอยากจะพ้นไป
จากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะคือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่าง
นี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ปัญญาบารมี ข้อที่ ๔ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้น
ใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นต่า ชั้นกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมดไต่ถามปัญหา. เหมือน
อย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ละเว้นตระกูลไรๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่าเป็นต้น เที่ยวไป
บิณฑบาตตามลาดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลันฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถาม
ปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็น วิริยบารมี ข้อที่ ๕ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
12
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญา
ราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวงฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้มีความเพียรมั่นใน
อิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึง
อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ขันติบารมี ข้อที่ ๖ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทน
ทั้งในการยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทาความรักและความขัดเคืองเพราะการกระทาอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน
ย่อมกลั้นไว้ได้ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการนับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็น
พระพุทธเจ้า.ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น แล้ว
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น สัจจบารมี ข้อที่ ๗ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะ
ตกลงบนกระหม่อมก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอานาจฉันทะเป็นต้น เพื่อต้องการทรัพย์
เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาดาวประกายพรึกในฤดูทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่
ย่อมจะโคจรไปในวิถีของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะกล่าวมุสาวาทเลย จัก
ได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจบารมีข้อที่ ๗ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น อธิษฐานบารมี ข้อที่ ๘ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านจงบาเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่
หวั่นไหวในอธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดในทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่
เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตนฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานคือการตั้งใจมั่น
ของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทาให้มั่นแล้ว.
ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง
ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น เมตตาบารมี ข้อที่ ๙ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิต
เป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาน้าย่อมไหล
แผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่าง
เดียวด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙
กระทาให้มั่นแล้ว.
13
ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึงพิจารณา
ให้ยิ่งขึ้นไปก็ได้เห็น อุเบกขาบารมี ข้อที่ ๑๐ แล้วได้มีความคิดดังนี้ ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านจงบาเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็น
กลางทั้งในสุขและทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อม
ทาใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็น
พระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทาให้มั่นแล้ว.
ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณที่
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มีเพียงนี้ เท่านั้น เว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง
๑๐ นี้ แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่
มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัยของเราเท่านั้น.
ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด
กระทาให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอา
ตอนต้นทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอาที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบ
ลงตอนกลาง.
การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะน้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี
การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือ
บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ามันไปมา และเหมือนเอาเขา
มหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวาลฉะนั้น.
เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีนี้ หนาสองแสน
สี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบ
อ้อยที่กาลังหีบอ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ามัน.
เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง
ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัดฉะนั้น ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้นกลิ้งกระทบกันและกันแตก
ละเอียด.
มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์
ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้ เลยว่า แผ่นดินนี้ นาคทาให้หมุน หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง
ทาให้หมุน. อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ ถูกทาให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอ
พระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด.
ลาดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคาของชนเหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัว
เลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมีต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ ว่า สุเมธ
14
บัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้ พิจารณาบารมี ๑๐ เมื่อเขาพิจารณา
ไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่งจึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว.
มหาชนได้ฟังพระดารัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากันถือเอาดอกไม้ของหอมและ
เครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทา
ประทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี ๑๐ อธิษฐานความเพียรกระทาให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป.
ลาดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วย
ดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้วป่าวประกาศคาสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า
ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระทีปัง
กรทศพล ความปรารถนานั้นจงสาเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้ ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มี
แก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อยจงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบาเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้งพระ
สัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน.
ก็แหละครั้นป่าวประกาศอย่างนี้ แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้วจึงคิดว่า เราจักบาเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์
เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้ แล้วอธิษฐานความเพียรกระทาให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้น
สู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที.
ฝ่ายชนชาวรัมมนคร ครั้นเข้าไปยังนครแล้วก็ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่พวกเขา ให้มหาชนดารงอยู่ในสรณะเป็นต้น แล้วเสด็จออกจา
กรัมมนครไป.
ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดารงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ ทรงกระทาพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลาดับ.
ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย พระศาสดาพระนามว่า โกณ
ฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้น. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนโกฏิ
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสดง
ธรรม. พระโพธิสัตว์นั้นทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว สละราชสมบัติออกบวช เรียนพระไตรปิฎก
ทาสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อม ไปเกิดในพรหมโลก.
ในกาลต่อจากพระโกณฑัญญพุทธเจ้านั้น ล่วงไปหนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นเอง มี
พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้ว คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ.
ในกาล พระมังคละ นั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเป็นพราหมณ์นามว่าสุรุจิ คิดว่าจักนิมนต์
พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับ
15
ภิกษาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ .
พระศาสดาตรัสถามว่า พราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุเท่าไร? พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุม
เป็นครั้งแรกพอดี เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่ามีภิกษุแสนโกฏิ. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์พร้อมกับภิกษุทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด.
พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว.
พราหมณ์ทูลนิมนต์เพื่อให้เสวยในวันพรุ่งนี้ แล้ว จึงไปเรือนคิดว่าเราอาจถวายยาคู ภัตและผ้า
เป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายประมาณเท่านี้ ได้ แต่ที่สาหรับนั่งจักมีได้อย่างไร.
ความคิดนั้นของเรา ทาให้เกิดความร้อนแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราชผู้ประทับอยู่
ในที่สุดแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดาริว่า ใครหนอมีความประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ จึงทรง
ตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็ได้เห็นพระมหาบุรุษ จึงทรงดาริว่า พราหมณ์นามว่าสุรุจิ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วคิดเพื่อต้องการที่นั่ง แม้เราก็ควรไปในที่นั้นแล้วถือเอาส่วนบุญ จึงทรงนิรมิต
ร่างเป็นช่างไม้ ถือมีดและขวานไปปรากฏเบื้องหน้าของมหาบุรุษกล่าวว่า ใครๆ มีกิจที่จะต้องทาด้วยการจ้าง
บ้าง.
พระมหาบุรุษเห็นช่างไม้นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจักทางานอะไร.
ท้าวสักกะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราจะไม่รู้ ย่อมไม่มี ผู้ใดจะให้ทางานใด จะเป็นบ้านหรือ
มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะให้งานนั้นแก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรามีงาน. ท้าวสักกะตรัสถาม
ว่า งานอะไรนาย.
พระมหาบุรุษกล่าวว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิมาฉันพรุ่งนี้ เราจักกระทามณฑปสาหรับนั่งของ
ภิกษุเหล่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ธรรมดาเรากระทาได้ ถ้าท่านสามารถให้ค่าจ้างเรา.
พระมหาบุรุษกล่าวว่า เราสามารถ พ่อ.
ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทา แล้วไปแลดูสถานที่แห่งหนึ่ง. สถานที่ประมาณสิบสองสิบ
สามโยชน์ได้มีพื้นราบเรียบ เสมือนมณฑลกสิณ. ท้าวสักกะนั้นทรงแลดูแล้วคิดว่า ในที่มีประมาณเท่านี้
มณฑปอันล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงผุดขึ้น. ทันใดนั้น มณฑปก็ชาแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา.
มณฑปนั้นที่เสาอันล้วนด้วยทองคา มีปุ่มล้วนด้วยเงิน ที่เสาอันล้วนด้วยเงิน มีปุ่มล้วนด้วย
ทองคา ที่เสาอันล้วนด้วยแก้วมณี มีปุ่มล้วนด้วยแก้วประพาฬ ที่เสาล้วนด้วยแก้วประพาฬ มีปุ่มล้วนด้วยแก้ว
มณี ที่เสาอันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีปุ่มล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗. ต่อจากนั้น จึงทรงแลดูด้วยพระดาริว่า ตาข่าย
กระดึงจงห้อยย้อยในระหว่างๆ ของมณฑป. พร้อมกับทรงมองดูเท่านั้น ตาข่ายก็ห้อยย้อยลง เสียงอันไพเราะ
ของตาข่ายกระดึงซึ่งถูกลมอ่อนราเพยพัดก็เปล่งเสียงออกมา ดุจเสียงดนตรีอันประกอบด้วยองค์ ๕ ดูราวกับ
เวลาที่สังคีตทิพย์บรรเลงอยู่ฉะนั้น.
เมื่อท้าวสักกะทรงพระดาริว่า ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงในระหว่างๆ
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf

Contenu connexe

Similaire à (๑) พุทธาปทาน มจร.pdf

๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
Rose Banioki
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tongsamut vorasan
 

Similaire à (๑) พุทธาปทาน มจร.pdf (20)

๕๐. รัชชุมาลาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๐. รัชชุมาลาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕๐. รัชชุมาลาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๐. รัชชุมาลาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
 
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
1. สุนัขจิ้งจอกจอมยุยง วณฺณาโรหชาตกํ ๓๖๑
1. สุนัขจิ้งจอกจอมยุยง  วณฺณาโรหชาตกํ  ๓๖๑1. สุนัขจิ้งจอกจอมยุยง  วณฺณาโรหชาตกํ  ๓๖๑
1. สุนัขจิ้งจอกจอมยุยง วณฺณาโรหชาตกํ ๓๖๑
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 

Plus de maruay songtanin

หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdfหงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
maruay songtanin
 
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
maruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
maruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
maruay songtanin
 

Plus de maruay songtanin (20)

หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdfหงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
 
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๑ พุทธาปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๑. พุทธวรรค หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑. พุทธาปทาน พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เกริ่นนา พระอานนท์ น้อมกายลงทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารว่า พระ สัพพัญญูพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเพราะเหตุอะไร [๑] พระอานนทเถระ ผู้เป็นมุนีชาวแคว้นวิเทหะ น้อมกายลงทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็น นักปราชญ์ ทรงอุบัติขึ้นเพราะเหตุอะไร [๒] ลาดับนั้น พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสกับพระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะว่า ธีรชนเหล่าใดได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ยังไม่ได้ความ หลุดพ้นจากกิเลสในศาสนาของพระชินเจ้าทั้งหลาย [๓] เพราะมุ่งหน้าต่อสัมโพธิญาณนั้นแล ธีรชนผู้มีปัญญาแก่กล้าดี จึงได้บรรลุความเป็นพระ สัพพัญญู ด้วยอัธยาศัยที่เข้มแข็งและด้วยอานาจแห่งปัญญา [๔] ถึงเราก็ได้เป็นผู้มีใจปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ในสานักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หลาย พระองค์ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงเป็นพระธรรมราชา นับไม่ถ้วน [๕] ต่อไปนี้ ขอให้เธอทั้งหลายผู้มีใจหมดจด จงฟังประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ประการ (บารมี ๓๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา, ทานอุปบารมี ฯลฯ อุเบกขาอุปบารมี, ทาน ปรมัตถบารมี ฯลฯ อุเบกขาปรมัตถบารมี ทานบารมี การบาเพ็ญทานตามปกติ ทานอุปบารมี การบาเพ็ญ ทานยิ่งกว่าปกติ ทานปรมัตถบารมี การบาเพ็ญทานระดับสูงสุด เช่น สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทาน เป็นปรมัตถบารมี) นับไม่ถ้วน
  • 2. 2 [๖] เรายกนิ้ วมือทั้ง ๑๐ นิ้ วขึ้น นอบน้อมพระโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด อภิวาท พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า [๗] ในพุทธเขต (พุทธเขต (เขตแดนของพระพุทธเจ้า) มี ๓ คือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต ชาติ เขตมีขอบเขตหนึ่งหมื่นจักรวาลจะเกิดการหวั่นไหวทั่วถึงกันในคราวพระพุทธเจ้าถือปฏิสนธิเป็นต้น อาณา เขตมีขอบเขตถึงหนึ่งแสนโกฏิจักรวาล เป็นสถานที่ที่อานุภาพแห่งพระปริตรแผ่ไปถึง วิสัยเขตไม่มีขอบเขตที่ จะกาหนดได้) มีรัตนะที่อยู่ในอากาศ ที่อยู่บนภาคพื้นดิน นับจานวนไม่ถ้วนอยู่เท่าใด เราพึงนึกนารัตนะ เท่านั้นทั้งหมดมาได้ [๘] ณ พื้นที่อันเป็นเงินนั้น เราได้เนรมิตปราสาทแก้วหลายร้อยชั้น สูงตระหง่านโชติช่วงใน ท้องฟ้า [๙] มีเสาวิจิตรงดงาม มีค่ามากตั้งอยู่เรียงราย มีขื่อทาด้วยทองคา (ติดคู่ห่วงทองคาที่ขื่อหรือ จันทัน) ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร [๑๐] พื้นชั้นแรกทาด้วยแก้วไพฑูรย์ งดงามดังก้อนเมฆปราศจากมลทิน มีภาพฝูงปลาและดอกบัว อยู่เกลื่อนกลาด ย่อมงามด้วยพื้นทองคาอย่างดี [๑๑] (ที่ปราสาทนั้น) พื้นบางชั้นมีภาพกิ่งไม้อ่อนช้อย มีสีเหมือนสีแก้วประพาฬ บางชั้นมีสีแดง สด บางชั้นงดงามเปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง (แมลงค่อมทอง หมายถึงแมลงปีกแข็ง ตัวเล็กกว่าแมลงทับ ปีกสีเขียวเหลืองทอง) บางชั้นสว่างไสวไปทั่วทิศ [๑๒] (ที่ปราสาทนั้น) แบ่งพื้นที่เป็นหน้ามุข ระเบียง หน้าต่าง ไว้อย่างดี มีพวงอุบะหอม (พวง อุบะหอม ในที่นี้ หมายถึงพวงของหอม (ดอกไม้ร้อยเป็นพวงอย่างพู่สาหรับห้อยระหว่างเฟื่องเป็นต้น)) ที่น่า รื่นรมย์ใจ ห้อยย้อยจากวลัยไพที (ไพที ในที่นี้ หมายถึงแท่นที่รองเครื่องบูชา) และบานประตูข่ายทั้ง ๔ ด้าน [๑๓] (ที่ปราสาทนั้น) ประกอบด้วยเรือนยอดชั้นเยี่ยม ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีสีเขียว สี เหลือง สีแดง สีขาว สีดาล้วน [๑๔] (ที่ปราสาทนั้น) มีดอกปทุมชูก้านบานสะพรั่ง งดงามด้วยภาพหมู่เนื้ อร้ายและฝูงนก ดารดาษด้วยดวงดาวพราวพรายระยิบระยับ ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ [๑๕] (ปราสาทนั้น) ใช้ตาข่ายทองคาปกคลุม ติดข่ายกระดิ่งทองคา พวงดอกไม้ทองคา น่า รื่นรมย์ใจ ลมพัดมากระทบเข้าก็เกิดเสียงดังกังวาน [๑๖] (ที่ปราสาทนั้น) ขึงธงทิวซึ่งย้อมด้วยสีนานาชนิด คือ ธงสีหงสบาท สีแดง สีเหลือง สีทอง ชมพูนุท [๑๗] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่นอนต่างๆ งดงาม มากมายหลายร้อยชนิด ทาด้วยแก้วผลึก เงิน แก้ว มณี ทับทิม แก้วลาย ปูด้วยผ้าแคว้นกาสีเนื้ อละเอียดอ่อน [๑๘] ผ้าห่มสีเหลือง ทอด้วยด้ายขนสัตว์ ทอด้วยผ้าเปลือกไม้ ทอด้วยฝ้ายเมืองจีน ทอด้วยฝ้าย เมืองปัตตุณณะ เครื่องปูลาดต่างๆ ทั้งหมดเราอธิษฐานใจปูลาดไว้ [๑๙] แต่ละชั้นประดับด้วยช่อฟ้าซึ่งทาด้วยรัตนะ มีคนยืนถือประทีปดวงแก้วสว่างไสวอยู่เรียงราย
  • 3. 3 [๒๐] มีเสาระเนียด (เสาปักเรียงรายตลอดรั้ว) และเสาค่ายทองคา เสาค่ายทองชมพูนุท เสาค่าย ไม้แก่น (และ)เสาค่ายเงินที่งดงาม ย่อมทาปราสาทนั้นให้งดงาม [๒๑] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่ต่อ(ช่อง)หลายแห่งจัดไว้เรียบร้อยดี มีบานประตูและลูกดาลงดงาม มี กระถางบัวหลวง บัวขาบเรียงรายอยู่ทั้ง ๒ ด้าน [๒๒] เราเนรมิตพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลกในอดีตทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ด้วยวรรณะและรูปตามปกติ [๒๓] พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พร้อมด้วยสาวกเป็นหมู่พระอริยะ เสด็จเข้าไปทางประตูนั้น ประทับ นั่งบนตั่งทองคาล้วน [๒๔] พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทุกพระองค์ ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ของเราแล้ว [๒๕] พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ (พระสยัมภู ผู้ไม่ ทรงพ่ายแพ้ หมายถึง ไม่พ่ายแพ้แก่มาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร) ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทั้งหมด ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของเราแล้ว [๒๖] ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ (ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ หมายถึงต้นไม้ที่เกิดในเทวโลก) และต้น กัลปพฤกษ์มนุษย์ มีมากมาย เราได้นาผ้าทุกอย่างมาจากต้นกัลปพฤกษ์เหล่านั้น ตัดเย็บเป็นไตรจีวรถวาย ให้นุ่งห่ม [๒๗] ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้าปานะ รวมทั้งอาหารมีอยู่อย่างเพียบพร้อม เราถวายบรรจุจน เต็มบาตรแก้วมณีลูกงามทุกลูก [๒๘] หมู่พระอริยะเหล่านั้น เป็นผู้หมดจดจากกิเลส ครองจีวรผ้าทิพย์เสมอกัน อันข้าพเจ้านิมนต์ ฉันจนอิ่มหนา ด้วยน้าตาลกรวด น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย และข้าวอย่างดี [๒๙] ทั้งหมดได้เข้าไปสู่ห้องแก้ว เหมือนไกรสรราชสีห์เข้าไปสู่ถ้า [๓๐] สาเร็จสีหไสยาสน์บนที่นอนมีค่ามาก มีสติสัมปชัญญะ ลุกขึ้นแล้ว นั่งขัดสมาธิบนที่นอน [๓๑] ซึ่งเป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แนบแน่นด้วยความยินดีในฌาน หมู่หนึ่งแสดง ธรรม หมู่หนึ่งยินดีด้วยฤทธิ์ [๓๒] หมู่หนึ่งเข้าอัปปนาฌาน หมู่หนึ่งเจริญอภิญญาวสี (อภิญญาวสี หมายถึงความชานาญใน อภิญญา ๕ ประการ คือ (๑) อาวัชชนวสี ชานาญในการคานึงถึง (๒) สมาปัชชนวสี ชานาญในการเข้า (๓) วุฏฐานวสี ชานาญในการออก (๔) อธิฏฐานวสี ชานาญในการอธิษฐาน (๕) ปัจจเวกขณวสี ชานาญในการ พิจารณา) แสดงฤทธิ์ได้หลายร้อยหลายพันประการ [๓๓] ฝ่ายพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงปัญหาอันเป็นวิสัยแห่งพระ สัพพัญญุตญาณ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ทรงรู้แจ้งเหตุอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนด้วยปัญญา [๓๔] สาวกทั้งหลายก็ทูลถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสถามสาวกทั้งหลาย ทั้งพระพุทธเจ้าและสาวกเหล่านั้นต่างก็ถามตอบกันและกัน
  • 4. 4 [๓๕] พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกผู้ปรนนิบัติเหล่านั้น ต่างรื่นรมย์ยินดีในปราสาท ด้วยความยินดีด้วยประการฉะนี้ [๓๖] (พระเจ้าติโลกวิชัยทรงดาริว่า) ฉัตรตั้งซ้อนกัน มีรัศมีเปล่งปลั่งดังแก้วไพฑูรย์ ขอให้ทุกคน จงกั้นฉัตร มีตาข่ายทองคาห้อยระย้า ประดับด้วยตาข่ายเงิน แวดล้อมด้วยตาข่ายแก้วมุกดาไว้เหนือศีรษะ ข้าพเจ้า [๓๗] มีเพดานผ้าติดดวงดาวทองมีแสงแวววาว มีพวงมาลัยห้อยอยู่ทั่วงดงามตระการตา เพดาน ผ้าทั้งหมด จงดาดอยู่เหนือศีรษะ [๓๘] สระที่ดารดาษด้วยพวงมาลัย งดงามด้วยพวงของหอม (พวงของหอม หมายถึงจันทน์ ดอก บัวบก หรือหญ้าฝรั่นและกฤษณา เป็นต้น) มีพวงผ้าห้อยระย้า ประดับประดาด้วยพวงรัตนะ [๓๙] มีดอกไม้เรียงราย งดงามนัก อบด้วยของหอมกลิ่นฟุ้งขจายไป ใช้นิ้ วมือทั้ง ๕ เจิมด้วยของ หอม มุงด้วยหลังคาทองคา [๔๐] ทั้ง ๔ ทิศ (แห่งปราสาท) ดารดาษด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ปรากฏเป็นสีทอง หอมฟุ้ง ด้วยละอองเกสรดอกปทุม [๔๑] รอบๆ ปราสาท ต้นไม้ทุกต้นจงออกดอกบานสะพรั่ง ดอกไม้หล่นเอง ปลิวไปโปรยปราสาท [๔๒] ใกล้ๆ ปราสาทนั้น ขอฝูงนกยูงจงราแพน (หาง) ฝูงหงส์ทิพย์จงส่งเสียงร้อง ฝูงนกการเวกจง ร้องขับขาน วิหคก็จงส่งเสียงขับขานอยู่รอบๆ ปราสาท [๔๓] กลองทุกชนิดจงดังขึ้น พิณทุกชนิดจงบรรเลง เครื่องสังคีตทุกชนิดจงบรรเลงขับกล่อมอยู่ รอบๆ ปราสาท [๔๔-๔๕] ตลอดพุทธเขตและในจักรวาล ต่อจากนั้นจงมีบัลลังก์ทองขนาดใหญ่ เรืองรองด้วยรัศมี ไม่มีช่องว่าง ขลิบด้วยรัตนะ ตั้งอยู่ (รอบๆ ปราสาท) ขอต้นพฤกษาประทีป (พฤกษาประทีป หมายถึงต้นไม้ ที่แขวนตะเกียง, โคมไฟ) จงส่องสว่าง มีแสงโชติช่วงติดต่อเป็นอันเดียวกันทั้ง ๑๐,๐๐๐ ดวง [๔๖] หญิงนักฟ้อนก็จงฟ้อน หญิงนักร้องก็จงขับร้อง หมู่นางอัปสรก็จงร่ายรา สนามเต้นราต่างๆ จงปรากฏอยู่รอบๆ ปราสาท [๔๗] เรา(ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่าติโลกวิชัยในครั้งนั้น) สั่งให้ยกธงทุกชนิด วิจิตรงดงาม ๕ สี (วิจิตรงดงาม ๕ สี หมายถึงสีมีสีเขียวและสีแดงเป็นต้น) ไว้บนยอดไม้ บนยอดภูเขา และบนยอดภูเขา สิเนรุ [๔๘] หมู่มนุษย์ หมู่นาค หมู่คนธรรพ์ และหมู่เทวดา ทั้งหมดนั้น จงเข้ามาประนมมือนอบน้อม แวดล้อมปราสาทของเรา [๔๙] กุศลกรรมใดๆ ควรเพื่อบังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ที่ข้าพเจ้าพึงกระทาด้วยกาย วาจา ใจ กุศลกรรมนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กระทาแล้ว [๕๐] สัตว์เหล่าใดมีสัญญาก็ตาม และสัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญาก็ตามมีอยู่ ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นผู้มีส่วนเสวยผลบุญที่เราทาแล้ว
  • 5. 5 [๕๑] สัตว์เหล่าใดรู้ว่าเราทาบุญ ขอสัตว์เหล่านั้น จงมีส่วนเสวยผลบุญที่เราให้แล้ว ก็ในบรรดา สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอเทวดาจงไปประกาศให้สัตว์เหล่านั้นทราบ [๕๒] เหล่าสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีวิตทุกจาพวก ขอจงได้โภชนาหารที่น่าพอใจ ตาม เจตนาของเรา [๕๓] เราให้ทานด้วยใจ ยึดถือความเลื่อมใสด้วยใจเรา (เรา ในที่นี้ หมายถึงพระเจ้าจักรพรรดิ) ได้ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระชินเจ้าแล้ว [๕๔] ด้วยกรรมที่เราทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น เราละร่างกายมนุษย์แล้วจึงได้ ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๕๕] เรารู้จักแต่ภพทั้ง ๒ คือความเป็นเทวดาหรือความเป็นมนุษย์ มิได้รู้จักคติอื่นเลย นี้ เป็นผล แห่งความปรารถนาด้วยใจ [๕๖] (เมื่อเราเกิดเป็นเทวดา) เราก็ยิ่งใหญ่กว่าพวกเทวดา (เมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์) เราก็ยิ่งใหญ่ กว่าพวกมนุษย์ เราสมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญา [๕๗] โภชนะมีรสอร่อยหลายชนิด รัตนะมิใช่น้อย ผ้าชนิดต่างๆ จากฟากฟ้า ย่อมเข้ามาหาเราเร็ว พลัน [๕๘] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ภักษาหารอันเป็นทิพย์ (อาหารทิพย์) จากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๕๙] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม รัตนะทุก อย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๐] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ของหอม ทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๑] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ยานพาหนะทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๒] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ดอกไม้ ทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๓] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม เครื่องประดับทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๔] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม หญิงสาว ทั้งมวลจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๕] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม น้าผึ้งและ น้าตาลกรวดจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๖] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้า และในป่า ก็ตาม ของขบ เคี้ยวทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา
  • 6. 6 [๖๗] เราให้ทานอย่างดีแก่คนไร้ทรัพย์ คนเดินทางไกล คนขอทาน และคนหลงทาง เพื่อต้องการ จะบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ [๖๘] เราทาให้ภูเขาศิลาล้วนบันลือ ทาให้ภูเขาหนาทึบกระหึ่ม ทาให้มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก ร่าเริง จะเป็นพระพุทธเจ้าในโลก [๖๙] ทิศทั้ง ๑๐ ในโลก เมื่อคนเดินไป ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ในส่วนแห่งทิศนั้น พุทธเขตก็นับจานวน ไม่ถ้วน(เหมือนกัน) [๗๐] แสงสว่างตามปกติของเรา(ในสมัยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ปรากฏเปล่งรังสีออกมาเป็นคู่ๆ ข่ายรัศมีมีอยู่ในระหว่างนี้ แสงสว่างมีอย่างไพบูลย์ [๗๑] ขอประชาชนทั้งหมดในโลกธาตุประมาณเท่านี้ จงมองเห็นเรา ทั้งหมดจงดีใจ ทั้งหมดจง คล้อยตามเรา [๗๒] เราตีกลองอมฤต (กลองอมฤต หมายถึงกลองสวรรค์) มีเสียงไพเราะกังวาน ขอประชาชน ในระหว่างนี้ จงฟังเสียงที่ไพเราะ(ของเรา) [๗๓] เมื่อตถาคตบันดาลเมฆฝนคือพระธรรมให้ตกลง ขอชนทั้งหมดจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาผู้ ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ ผู้มีคุณต่าสุด จงเป็นพระโสดาบัน [๗๔] เราให้ทานที่ควรให้แล้ว บาเพ็ญศีลบารมีอย่างเต็มเปี่ยม สาเร็จเนกขัมมบารมีแล้วบรรลุ สัมโพธิญาณอันสูงสุด (สัมโพธิญาณอันสูงสุด หมายถึงมรรคญาณ ๔) [๗๕] เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย (บาเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว) บาเพ็ญวิริยบารมีแล้ว สาเร็จขันติ บารมีแล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด [๗๖] เราบาเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว บาเพ็ญสัจจบารมีแล้ว สาเร็จเมตตาบารมีแล้ว บรรลุสัมโพธิ ญาณอันสูงสุด [๗๗] เรามีใจสม่าเสมอในอารมณ์ทั้งปวง คือทั้งในลาภ ในความเสื่อมลาภ ในความสุข ในความ ทุกข์ ในการนับถือและในการถูกดูหมิ่น (บาเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว) บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด [๗๘] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความเกียจคร้านเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความเพียรเป็นสิ่งปลอดภัย จงบาเพ็ญเพียรกันเถิด นี้ เป็นคาสอนของพระพุทธเจ้า [๗๙] ท่านทั้งหลาย จงเห็นการวิวาทกันเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นการไม่วิวาทกันเป็นสิ่งปลอดภัย จงสมัครสมานสามัคคีกัน พูดจาไพเราะกันเถิด นี้ เป็นคาสอนของพระพุทธเจ้า [๘๐] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความประมาทเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความไม่ประมาทเป็นสิ่ง ปลอดภัย จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เถิด (มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) นี้ เป็นคาสอนของ พระพุทธเจ้า [๘๑] พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์จานวนมากมาประชุมพร้อมกัน ท่านทั้งหลายจงกราบ ไหว้พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์เถิด
  • 7. 7 [๘๒] ตามที่กล่าวมานี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย (อจินไตย หมายถึงสภาวะที่พ้น ความคิดของตนที่จะคิดได้ คือไม่อยู่ในวิสัยที่จะคิดได้) ธรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นอจินไตย สาหรับผู้ที่ เลื่อมใสในอจินไตย ย่อมมีวิบากเป็นอจินไตย ดังนี้ แล ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงให้พระอานนทเถระทราบพุทธจริตของพระองค์จึงได้ตรัส ธรรมบรรยายชื่อว่าพุทธาปทานิยะ (การประกาศประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า) ด้วยประการฉะนี้ พุทธาปทานจบ ----------------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๑. พุทธวรรค ๑. พุทธาปทาน นิทานกถา บรรดานิทานนั้น เบื้องต้นพึงทราบปริเฉทคือการกาหนดขั้นตอนของนิทานเหล่านั้นเสียก่อน. ก็ กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระมหาสัตว์กระทาอภินิหาร ณ เบื้องบาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกรจนถึงจุติจาก อัตภาพพระเวสสันดรบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล). กถามรรคที่เล่าเรื่อง ตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน (นิทานใน กาลไม่ไกล). ส่วนสันติเกนิทาน (นิทานในกาลใกล้) จะหาได้ในที่นั้นๆ แห่งพระองค์เมื่อประทับอยู่ในที่ นั้นๆ แล. ทูเรนิทานกถา ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล). มีดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยกาไรแสนกัปนับแต่ภัทรกัปนี้ ไป ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมร วดี ในนครนั้น มีพราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ เขามีกาเนิดมาดีจากทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มี ครรภ์อันบริสุทธิ์นับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใครๆ จะคัดค้านดูถูกเกี่ยวกับเรื่องชาติมิได้ มีรูปสวยน่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขาไม่กระทาการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น. มารดาบิดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม ต่อมาอามาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์ ของเขานาเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็มด้วยทอง เงิน แก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้ ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา เท่านี้ เป็นของบิดา เท่านี้ เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจงครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้ เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้
  • 8. 8 ทรัพย์กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทาเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบ ทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร ให้ทานแก่มหาชน แล้วบวชเป็นดาบส. เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้ แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากสมาบัติ. พระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. ในการถือปฏิสนธิ การประสูติ การตรัสรู้และการ ประกาศพระธรรมจักรของพระศาสดาพระองค์นั้น หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวร้องลั่น. บุพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธดาบสยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในสมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นและ ไม่ได้เห็นบุพนิมิตเหล่านั้นด้วย. ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปถึงรัมมนคร เสด็จประทับอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร. ชนชาวรัมมนครได้ทราบข่าวว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่า สมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณอันยิ่งยอด ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลาดับ เสด็จถึงรัมมนครของพวกเราแล้ว เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใส และเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ก็พากันหลั่งไหลไปจนถึงที่ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ประทับ เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชาด้วยของหอมและ ดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง สดับพระธรรมเทศนา ทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วพากันลุก จากอาสนะหลีกไป. ในวันรุ่งขึ้น ชนเหล่านั้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับพระนครตกแต่งหนทางที่จะเสด็จ มาแห่งพระทศพล ในที่มีน้าขังก็เอาดินถม ทาพื้นที่ดินให้ราบเรียบ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรย ข้าวตอกและดอกไม้ เอาผ้าย้อมสีต่างๆ ยกเป็นธงชายและธงแผ่นผ้า ตั้งต้นกล้วยและแถวหม้อน้าเต็ม. ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมของตนขึ้นสู่อากาศ แล้วเหาะไปทางส่วนเบื้องบนของคน เหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริง ยินดีกัน จึงคิดว่ามีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง ถามคน ทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาหนทางอันไม่สม่าเสมอในที่นี้ เพื่อใครกัน. มนุษย์ทั้งหลายจึงเรียนว่า ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบหรือ พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ นามว่าทีปังกร บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร พวกเราทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมา จึงพากันตกแต่งทาง เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลาดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า แม้เพียงคาประกาศว่า พุทโธ ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไป ใยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับคนเหล่านี้ ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย. ท่านจึง กล่าวกะคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายตกแต่งทางนี้ เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านจงให้โอกาส แห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางพร้อมกับพวกท่าน. คนเหล่านั้นรับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้กันอยู่ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกาหนดเอาโอกาสที่น้าขังให้ ไปด้วยคาว่า ท่านจงตกแต่งที่นี้ .
  • 9. 9 สุเมธดาบสถือเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้วคิดว่า เราสามารถจะตกแต่งโอกาสนี้ ด้วย ฤทธิ์ได้ โอกาสคือที่ว่างซึ่งเราตกแต่งด้วยฤทธิ์อย่างนี้ จะไม่ทาเราให้ดีใจนัก วันนี้ เราควรกระทาการ ขวนขวายด้วยกาย จึงขนดินมาถมลงในสถานที่นั้น. เมื่อสถานที่นั้นของสุเมธดาบสยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทีปังกรทศพลห้อมล้อมด้วยพระ ขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมากสี่แสน เมื่อเหล่าเทวดาบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์เป็นต้น บรรเลงดนตรีทิพย์ ขับสังคีตทิพย์ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และดนตรีอันเป็น ของมนุษย์ พระองค์ได้เสด็จดาเนินตามทางที่ตกแต่งประดับประดานั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาอุปมามิได้ ประดุจราชสีห์เยื้องกรายบนมโนศิลาฉะนั้น. สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดาเนินมาตามทางที่ตกแต่ง ไว้ ซึ่งถึงความงามด้วยพระรูปโฉมอันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุยัญชนะ ๘๐ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา เปล่งพระพุทธรัศมีอันหนาทึบมีพรรณ ๖ ประการเป็นวงๆ และเป็นคู่ๆ เหมือนสายฟ้าแลบมีประการต่างๆ ในพื้นท้องฟ้าซึ่งมีสีดังแก้วมณีฉะนั้น จึงคิดว่า วันนี้ เราควรบริจาคชีวิต เพื่อพระทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงเหยียบบนหลังเราเสด็จไปพร้อมกับ พระขีณาสพสี่แสนองค์ เหมือนกับเหยียบสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและสุข แก่เราตลอดกาลนาน ครั้นคิดแล้วจึงสยายผม แล้วเอาหนังเสือ ชฎามณฑลและผ้าเปลือกไม้ปูลาดลงบน เปือกตมอันมีสีดา แล้วนอนลงบนหลังเปือกตม ประหนึ่งว่าสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น. สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองขึ้นอีก เห็นพระพุทธสิริของพระทีปัง กรทศพล จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงเป็นสังฆนวกะเข้าไปสู่รัมมนครได้ แต่เราไม่มีกิจ ด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุพระนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวาให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้ว จึงปรินิพพาน ภายหลัง ข้อนี้ สมควรแก่เรา. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้ว ทรงยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระ เนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธ ดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม จึงทรงดาริว่า ดาบสนี้ กระทาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น พระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้ จะสาเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ ไป ดาบสนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนาม ว่าโคดม ทั้งที่ทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายเห็นดาบสผู้มี ตบะสูงผู้นี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดาบสนี้ กระทาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความ
  • 10. 10 ปรารถนาของดาบสนี้ จักสาเร็จ ด้วยว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ ไป ดาบสนี้ จักได้เป็น พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม, ก็ในอัตภาพนั้น พระนครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา พระเทวี พระนามว่ามายาจักเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา พระเถระนามว่าอุปติส สะจักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าโกลิตะจักเป็นทุติยสาวก พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธ อุปัฏฐาก พระเถรีนามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติยสาวิกา ดาบสนี้ มี ญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรใหญ่ รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริม ฝั่งแม่น้าเนรัญชราแล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์. สุเมธดาบสได้ฟังดังนั้น ได้มีความโสมนัสว่า นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสาเร็จ. มหาชน ได้ฟังพระดารัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างพากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่ง พระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า ธรรมดาว่ามนุษย์เมื่อจะข้าม แม่น้า เมื่อไม่อาจข้ามตามท่าตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้เราทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ ไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ก็พึงสามารถทาให้แจ้งมรรคและผลต่อหน้าท่าน ในกาล ที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังนี้ แล้วพากันตั้งความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระทศพลทีปังกรสรรเสริญพระโพธิสัตว์แล้ว บูชาด้วยดอกไม้ ๘ กามือ ทรงกระทา ประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พระขีณาสพนับได้สี่แสนแม้เหล่านั้น ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและ ดอกไม้ กระทาประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็บูชาอย่างนั้นเหมือนกัน ไหว้แล้วพา กันหลีกไป. ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงลุกขึ้นจากที่นอนแล้วคิดว่า เราจักเลือกเฟ้นหา บารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิบนยอดกองดอกไม้. เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งอย่างนี้ แล้ว เทวดาทั้งหลายในหมื่น จักรวาลทั้งสิ้นให้สาธุการแล้วกล่าวกันว่า ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า ในกาลที่พระโพธิสัตว์ครั้งเก่าก่อน นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่าจักเฟ้นหาบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตอันใดย่อมปรากฏ แม้บุรพนิมิตเหล่านั้น ทั้งหมดก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้นว่า นิมิตเหล่านี้ ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยแน่แท้ ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่นคงเถิด แล้ว กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยคาสรรเสริญนานัปการ. พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดารัสของพระทีปังกรทศพล และเทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความ อุตสาหะยิ่งกว่าประมาณ จึงคิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดารัสไม่เปล่า ถ้อยคาของ พระพุทธเจ้าไม่เป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตกแน่นอน สัตว์เกิดแล้ว จะต้องตาย เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ออกจากที่อยู่ก็จะต้องบันลือสีหนาท หญิงมีครรภ์ แก่ก็จะต้องคลอดเป็นของมีแน่นอนฉันใด ธรรมดาพระดารัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของแน่นอนไม่เปล่า. เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้. สุเมธดาบสนั้นกระทาการตกลงอย่างนี้ ว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญ
  • 11. 11 ถึงธรรมที่กระทาให้เป็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าธรรมอันกระทาให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบน หรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้นไปโดยลาดับก็ได้เห็น ทานบารมี ข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจา จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า หม้อน้าที่คว่าไว้ย่อมคายน้าออกหมด ไม่นากลับเข้าไปฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึงกระทามิให้มีส่วน เหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทา ให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทาให้เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้ เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ศีลบารมี ข้อที่ ๒ จึงได้มีความคิดอันนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบาเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้ อทรายจามรีไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จาเดิม แต่นี้ ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่ ๒ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีประมาณเท่านี้ เลย จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น เนกขัมมบารมี ข้อที่ ๓ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อยู่ในเรือนจามาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจานั้นเลย โดยที่แท้ราคาญอย่างเดียว ไม่ อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงทาภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจา ราคาญอยากจะพ้นไป จากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะคือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่าง นี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ปัญญาบารมี ข้อที่ ๔ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้น ใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นต่า ชั้นกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมดไต่ถามปัญหา. เหมือน อย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ละเว้นตระกูลไรๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่าเป็นต้น เที่ยวไป บิณฑบาตตามลาดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลันฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถาม ปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็น วิริยบารมี ข้อที่ ๕ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า
  • 12. 12 ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญา ราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวงฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้มีความเพียรมั่นใน อิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึง อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น ขันติบารมี ข้อที่ ๖ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทน ทั้งในการยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทาความรักและความขัดเคืองเพราะการกระทาอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน ย่อมกลั้นไว้ได้ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการนับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็น พระพุทธเจ้า.ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น แล้ว ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น สัจจบารมี ข้อที่ ๗ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะ ตกลงบนกระหม่อมก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอานาจฉันทะเป็นต้น เพื่อต้องการทรัพย์ เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาดาวประกายพรึกในฤดูทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่ ย่อมจะโคจรไปในวิถีของตนเท่านั้นฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะกล่าวมุสาวาทเลย จัก ได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจบารมีข้อที่ ๗ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น อธิษฐานบารมี ข้อที่ ๘ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านจงบาเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่ หวั่นไหวในอธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดในทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่ เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตนฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานคือการตั้งใจมั่น ของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทาให้มั่นแล้ว. ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงนี้ เท่านั้น จึง ใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็น เมตตาบารมี ข้อที่ ๙ จึงได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านพึงบาเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิต เป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาน้าย่อมไหล แผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่าง เดียวด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทาให้มั่นแล้ว.
  • 13. 13 ลาดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายจะไม่พึงมีเพียงเท่านั้น จึงพิจารณา ให้ยิ่งขึ้นไปก็ได้เห็น อุเบกขาบารมี ข้อที่ ๑๐ แล้วได้มีความคิดดังนี้ ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จาเดิมแต่นี้ ไป ท่านจงบาเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็น กลางทั้งในสุขและทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อม ทาใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็น พระพุทธเจ้า. ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทาให้มั่นแล้ว. ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณที่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มีเพียงนี้ เท่านั้น เว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ นี้ แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่ มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัยของเราเท่านั้น. ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด กระทาให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอา ตอนต้นทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอาที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบ ลงตอนกลาง. การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะน้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ามันไปมา และเหมือนเอาเขา มหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวาลฉะนั้น. เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีนี้ หนาสองแสน สี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบ อ้อยที่กาลังหีบอ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ามัน. เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัดฉะนั้น ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้นกลิ้งกระทบกันและกันแตก ละเอียด. มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้ เลยว่า แผ่นดินนี้ นาคทาให้หมุน หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ทาให้หมุน. อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ ถูกทาให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอ พระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด. ลาดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคาของชนเหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัว เลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมีต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ ว่า สุเมธ
  • 14. 14 บัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้ พิจารณาบารมี ๑๐ เมื่อเขาพิจารณา ไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่งจึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว. มหาชนได้ฟังพระดารัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากันถือเอาดอกไม้ของหอมและ เครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทา ประทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี ๑๐ อธิษฐานความเพียรกระทาให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป. ลาดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วย ดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้วป่าวประกาศคาสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระทีปัง กรทศพล ความปรารถนานั้นจงสาเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้ ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มี แก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อยจงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบาเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้งพระ สัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน. ก็แหละครั้นป่าวประกาศอย่างนี้ แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้วจึงคิดว่า เราจักบาเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์ เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้ แล้วอธิษฐานความเพียรกระทาให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้น สู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที. ฝ่ายชนชาวรัมมนคร ครั้นเข้าไปยังนครแล้วก็ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประธาน. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่พวกเขา ให้มหาชนดารงอยู่ในสรณะเป็นต้น แล้วเสด็จออกจา กรัมมนครไป. ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดารงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ ทรงกระทาพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลาดับ. ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย พระศาสดาพระนามว่า โกณ ฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้น. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสดง ธรรม. พระโพธิสัตว์นั้นทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว สละราชสมบัติออกบวช เรียนพระไตรปิฎก ทาสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อม ไปเกิดในพรหมโลก. ในกาลต่อจากพระโกณฑัญญพุทธเจ้านั้น ล่วงไปหนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นเอง มี พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้ว คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ. ในกาล พระมังคละ นั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเป็นพราหมณ์นามว่าสุรุจิ คิดว่าจักนิมนต์ พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับ
  • 15. 15 ภิกษาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ . พระศาสดาตรัสถามว่า พราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุเท่าไร? พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุม เป็นครั้งแรกพอดี เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่ามีภิกษุแสนโกฏิ. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พร้อมกับภิกษุทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว. พราหมณ์ทูลนิมนต์เพื่อให้เสวยในวันพรุ่งนี้ แล้ว จึงไปเรือนคิดว่าเราอาจถวายยาคู ภัตและผ้า เป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายประมาณเท่านี้ ได้ แต่ที่สาหรับนั่งจักมีได้อย่างไร. ความคิดนั้นของเรา ทาให้เกิดความร้อนแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราชผู้ประทับอยู่ ในที่สุดแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดาริว่า ใครหนอมีความประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ จึงทรง ตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็ได้เห็นพระมหาบุรุษ จึงทรงดาริว่า พราหมณ์นามว่าสุรุจิ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วคิดเพื่อต้องการที่นั่ง แม้เราก็ควรไปในที่นั้นแล้วถือเอาส่วนบุญ จึงทรงนิรมิต ร่างเป็นช่างไม้ ถือมีดและขวานไปปรากฏเบื้องหน้าของมหาบุรุษกล่าวว่า ใครๆ มีกิจที่จะต้องทาด้วยการจ้าง บ้าง. พระมหาบุรุษเห็นช่างไม้นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจักทางานอะไร. ท้าวสักกะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราจะไม่รู้ ย่อมไม่มี ผู้ใดจะให้ทางานใด จะเป็นบ้านหรือ มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะให้งานนั้นแก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรามีงาน. ท้าวสักกะตรัสถาม ว่า งานอะไรนาย. พระมหาบุรุษกล่าวว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิมาฉันพรุ่งนี้ เราจักกระทามณฑปสาหรับนั่งของ ภิกษุเหล่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ธรรมดาเรากระทาได้ ถ้าท่านสามารถให้ค่าจ้างเรา. พระมหาบุรุษกล่าวว่า เราสามารถ พ่อ. ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทา แล้วไปแลดูสถานที่แห่งหนึ่ง. สถานที่ประมาณสิบสองสิบ สามโยชน์ได้มีพื้นราบเรียบ เสมือนมณฑลกสิณ. ท้าวสักกะนั้นทรงแลดูแล้วคิดว่า ในที่มีประมาณเท่านี้ มณฑปอันล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงผุดขึ้น. ทันใดนั้น มณฑปก็ชาแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา. มณฑปนั้นที่เสาอันล้วนด้วยทองคา มีปุ่มล้วนด้วยเงิน ที่เสาอันล้วนด้วยเงิน มีปุ่มล้วนด้วย ทองคา ที่เสาอันล้วนด้วยแก้วมณี มีปุ่มล้วนด้วยแก้วประพาฬ ที่เสาล้วนด้วยแก้วประพาฬ มีปุ่มล้วนด้วยแก้ว มณี ที่เสาอันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีปุ่มล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗. ต่อจากนั้น จึงทรงแลดูด้วยพระดาริว่า ตาข่าย กระดึงจงห้อยย้อยในระหว่างๆ ของมณฑป. พร้อมกับทรงมองดูเท่านั้น ตาข่ายก็ห้อยย้อยลง เสียงอันไพเราะ ของตาข่ายกระดึงซึ่งถูกลมอ่อนราเพยพัดก็เปล่งเสียงออกมา ดุจเสียงดนตรีอันประกอบด้วยองค์ ๕ ดูราวกับ เวลาที่สังคีตทิพย์บรรเลงอยู่ฉะนั้น. เมื่อท้าวสักกะทรงพระดาริว่า ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงในระหว่างๆ