SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  14
Télécharger pour lire hors ligne
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๑๔ กุมารกัสสปเถราปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมารกัสสปเถระ
เกริ่นนา
ผู้นี้ จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระ
ศาสดาพระองค์นั้น เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้าอันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย เขาจักถึงความเป็นเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
(พระกุมารกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ทรงบาเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล
แก่สรรพสัตว์ เป็นนักปราชญ์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงเลื่องลือ เรียนจบไตรเพท เที่ยวพักสาราญในเวลา
กลางวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก
[๑๕๒] กาลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้ตรัสรู้ กาลังสรรเสริญสาวกของ
พระองค์ ผู้กล่าวธรรมีกถาอย่างวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน
[๑๕๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเบิกบานใจจึงทูลนิมนต์พระตถาคต แล้วประดับมณฑปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสี
ต่างๆ
[๑๕๔] ให้โชติช่วงด้วยรัตนะต่างๆ ทูลนิมนต์พระตถาคต พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันโภชนะ
มีรสเลิศต่างๆ ตลอด ๗ วัน ในมณฑปนั้น
[๑๕๕] ได้บูชาพระตถาคตพร้อมทั้งสาวก ด้วยดอกไม้อันสวยงามนานาชนิด แล้วหมอบลงแทบ
พระบาท ปรารถนาตาแหน่งนั้น
[๑๕๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระกรุณา ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐนี้ ผู้มี
ปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม
[๑๕๗] ผู้มากด้วยความปรีดาปราโมทย์ มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น มีนัยน์ตากลมโต นาความร่า
เริงมา มีความอาลัยในศาสนาของเรา
2
[๑๕๘] ผู้มีใจดี มีผ้าผืนเดียวหมอบอยู่แทบเท้าของเรา เขาปรารถนาตาแหน่งคือการกล่าวธรรม
ได้อย่างวิจิตรนั้น
[๑๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไปพระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพ
ในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๖๐] ผู้นี้ จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของ
พระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๖๑] เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้าอันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย เขาจักถึงความเป็นเลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร’
[๑๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๖๓] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนตัวละครเต้นราหมุนเวียนอยู่กลาง
เวที ข้าพเจ้าเป็นลูกของเนื้ อชื่อสาขะ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่เนื้ อ
[๑๖๔] ครั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์ ถึงวาระที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของข้าพเจ้าถูกเนื้ อชื่อ
สาขะทอดทิ้ง จึงยึดเนื้ อชื่อนิโครธเป็นที่พึ่ง
[๑๖๕] มารดาของข้าพเจ้าได้พญาเนื้ อชื่อนิโครธนั้น สละชีวิตของตนช่วยให้พ้นจากความตายแล้ว
ตักเตือนข้าพเจ้าผู้เป็นลูกของตนในครั้งนั้นอย่างนี้ ว่า
[๑๖๖] ‘ควรคบแต่เนื้ อชื่อนิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้ อชื่อสาขะ การตายในสานักของ
เนื้ อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า การมีชีวิตอยู่ในสานักของเนื้ อชื่อสาขะ จะประเสริฐอย่างไร
[๑๖๗] ข้าพเจ้า มารดาของข้าพเจ้าและพวกเนื้ อนอกนี้ ได้เนื้ อชื่อนิโครธผู้เป็นนายฝูงนั้นพร่าสอน
อาศัยโอวาทของเนื้ อชื่อนิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือสวรรค์ชั้นดุสิตที่รื่นรมย์ ประหนึ่งว่าได้ไปยังเรือน
ของตนที่ทิ้งจากไป
[๑๖๘] เมื่อศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า กาลังถึงความสิ้นไป ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขา บาเพ็ญ
เพียรตามคาสอนของพระชินเจ้า
[๑๖๙] ก็บัดนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ มารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ ออกบวชเป็น
บรรพชิต
[๑๗๐] ภิกษุณีทั้งหลายรู้ว่ามารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ จึงนาไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้น
กล่าวว่า ‘จงนาสนะภิกษุณีชั่วรูปนี้ เสีย’
[๑๗๑] แม้ในบัดนี้ มารดาผู้ให้กาเนิดของข้าพเจ้า อันพระชินเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้
จึงได้มีความสุขอยู่ในสานักของภิกษุณี
[๑๗๒] พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล ได้ทรงทราบเรื่องนั้นแล้วจึงทรงชุบเลี้ยงข้าพเจ้าไว้ ด้วย
เครื่องบริหารพระกุมาร และตัวข้าพเจ้าก็มีชื่อว่ากัสสปะ
[๑๗๓] เพราะอาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ ข้าพเจ้าจึงมีชื่อว่ากุมารกัสสปะ เพราะได้ฟังพระ
ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า กายเช่นกับจอมปลวก
3
[๑๗๔] จากนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น ไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าได้รับตาแหน่ง
เอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ
[๑๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่อง
ผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสานักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้
บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว
[๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว สั่ง
สอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ จบ
--------------------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของกุมารกัสสปเถราปทาน
ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง ขณะที่กาลังฟังธรรมในสานักของพระศาสดา ได้เป็นภิกษุ
รูปหนึ่งซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตาแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร แม้ตนเองก็
ปรารถนาตาแหน่งนั้น ดารงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว.
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บวชในพระ
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว บาเพ็ญสมณธรรม ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติทั้งหลายอย่าง
เดียว ได้เสวยทิพยสุขและมนุษยสุขแล้ว.
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในท้องลูกสาวเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์.
ทราบว่า ลูกสาวเศรษฐีนั้น ในเวลาที่เป็นเด็กหญิงนั่นแล มีความประสงค์จะบวช จึงขออนุญาต
มารดาบิดา เมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้บวชจึงไปยังตระกูลสามี ได้มีครรภ์ แต่ไม่รู้ว่ามีครรภ์นั้น จึงคิดแล้วว่า
เราจักทาให้สามียินดี (ทาให้ถูกใจสามี) แล้วจึงจักขออนุญาตบวช.
เมื่อนางจะทาให้ถูกใจสามี จึงชี้ให้ถึงโทษของสรีระโดยนัยเป็นต้นว่า
ถ้าว่าในภายในของร่างกายนี้ จะถึงกลับออกมาในภายนอกไซร้ บุคคลก็จะต้องถือท่อนไม้คอยไล่
หมู่กาและหมู่สุนัขแน่นอน ดังนี้ .
จึงทาให้สามีผู้ประเสริฐนั้นได้ยินดีแล้ว
หญิงนั้นได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว ไม่รู้ว่ามีครรภ์จึงได้บวชในหมู่นางภิกษุณีฝ่ายของพระ
เทวทัต. พวกนางภิกษุณีได้เห็นว่านางมีครรภ์จึงไปถามพระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นตัดสินว่า นางภิกษุณีนี้ ไม่
4
เป็นสมณะ.
นางภิกษุณีนั้นจึงคิดว่า เรามิได้บวชอุทิศพระเทวทัต. แต่เราบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้
จึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามพระทศพล.
พรศาสดาทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระรับหน้าที่ไป.
พระเถระสั่งให้เรียกตระกูลชาวพระนครสาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาแล้ว เมื่อจะวินิจฉัย
เรื่อองนั้นพร้อมกับบริษัทผู้มีความขัดแย้ง จึงกล่าวว่า นางได้มีครรภ์ก่อนบวช ครรภ์ไม่มีอันตรายบวชแล้ว.
พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว จึงทรงประทาน
สาธุการแก่พระเถระ.
นางภิกษุณีรูปนี้ ได้คลอดบุตรรูปร่างงดงามดุจทองคา.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดาริว่า การเลี้ยงดูทารกจะเป็นความกังวลใจแก่พวกนางภิกษุณี จึง
ทรงรับสั่งให้แก่พวกญาติแล้ว รับสั่งให้เลี้ยงดู.
พวกญาติได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า กัสสป.
ในกาลต่อมา มารดาประดับตกแต่งแล้ว นาไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลขอบรรพชาแล้ว. ก็เพราะ
ท่านบวชในเวลาที่เป็นเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปะมา พวกเธอจงให้ผลไม้
หรือว่าของที่ควรเคี้ยวนี้ แก่กัสสปะ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า กัสสปะไหน.
ต่อมาในเวลาเจริญวัยแล้ว จึงปรากฏชื่อว่ากุมารกัสสปะ เพราะตั้งชื่อเสียใหม่ว่า กุมารกัสส
ปะ และเพราะเป็นบุตรที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง.
จาเดิมแต่บวชแล้ว ท่านก็บาเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน และศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะ.
ลาดับนั้น ท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระอนาคามีบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ได้บาเพ็ญสมณธรรมบน
ยอดภูเขาร่วมกับท่านคิดว่า เราจักชี้ทางวิปัสสนาแล้ว กระทาอุบายเพื่อบรรลุมรรคผลได้ ดังนี้ แล้วจึงแต่ง
ปัญหาขึ้น ๑๕ ข้อ แล้วบอกแก่พระเถระผู้อยู่ในป่าอันธวันว่า ท่านควรถามปัญหาเหล่านี้ กะพระศาสดา.
ทีนั้น ท่านจึงทูลภามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงวิสัชนาแก่เธอแล้ว.
พระเถระเล่าเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทานองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทั้งหมด ยังวิปัสสนา
ให้ถือเอาซึ่งห้องแล้ว ให้บรรลุพระอรหัต.
พระกุมารกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความโสมนัส
ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคาเริ่มต้นว่า อิโต สตสหส
สมหิ ดังนี้
อธิบายว่า ครั้นได้สดับพระดารัสนั้นแล้ว จิตของเราไม่ยึดถืออาสวะทั้งหลาย พ้นแล้วจากกิเลส
ได้โดยพิเศษ คือดารงอยู่แล้วในพระอรหัตผล.
5
ในกาลต่อมา พระศาสดาได้ทรงทราบจากภิกษุทั้งหลายในที่นั้นๆ ว่า พระเถระนั้นเป็นผู้กล่าว
ธรรมกถาได้อย่างวิจิตร จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตาแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารกัสสปะนี้ เป็นผู้
เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวธรรมกถาให้วิจิตรแล.
จบอรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน
----------------------------------------
6
วัมมิกสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๓. วัมมิกสูตร
ว่าด้วยจอมปลวกปริศนา
[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัต
ถี สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน ครั้งนั้น เมื่อราตรี (ราตรี ในที่นี้ หมายถึงปฐมยาม
ความนี้ มีความหมายว่า เมื่อสิ้นปฐมยามกาลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม เทวดาก็ปรากฏ) ผ่านไป เทวดาองค์
หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนักได้เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระกุมารกัสสปะว่า
“พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลากลางวัน พราหมณ์
ได้กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นทางสองแพร่ง จึงกล่าวว่า ‘ทางสองแพร่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นหม้อกรองน้าด่าง จึงกล่าวว่า ‘หม้อกรองน้าด่างขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเต่า จึงกล่าวว่า ‘เต่า ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้ อ จึงกล่าวว่า ‘เขียงหั่นเนื้ อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นชิ้นเนื้ อ จึงกล่าวว่า ‘ชิ้นเนื้ อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทาความนอบน้อม
นาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจาคา
เฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคล
7
ผู้ฟังจากสานัก(ของข้าพเจ้า) นี้ เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทาจิต(ของข้าพเจ้า) ให้ยินดีด้วยการ
ตอบปัญหาเหล่านี้ ได้”
เทวดานั้นได้กล่าวคานี้ แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
พระกุมารกัสสปะทูลถามปริศนาธรรม
[๒๕๐] ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระกุมารกัสสปะก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า
‘พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในเวลากลางวัน พราหมณ์ได้กล่าว
อย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ ฯลฯ ได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค
ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทาความนอบน้อม
นาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจาคา
เฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคล
ผู้ฟังจากสานัก(ของข้าพเจ้า)นี้ เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทาจิต(ของข้าพเจ้า)ให้ยินดีด้วยการตอบ
ปัญหาเหล่านี้ ’
เทวดานั้นได้กล่าวคานี้ แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. อะไรหนอ ชื่อว่าจอมปลวก
๒. อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน
๓. อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน
๔. ใคร ชื่อว่าพราหมณ์
๕. ใคร ชื่อว่าสุเมธ
๖. อะไร ชื่อว่าศัสตรา
๗. อย่างไร ชื่อว่าการขุด
๘. อะไร ชื่อว่าลิ่มสลัก
๙. อะไร ชื่อว่าอึ่ง
๑๐. อะไร ชื่อว่าทางสองแพร่ง
8
๑๑. อะไร ชื่อว่าหม้อกรองน้าด่าง
๑๒. อะไร ชื่อว่าเต่า
๑๓. อะไร ชื่อว่าเขียงหั่นเนื้ อ
๑๔. อะไร ชื่อว่าชิ้นเนื้ อ
๑๕. อะไร ชื่อว่านาค”
พระผู้มีพระภาคทรงเฉลยปริศนาธรรม
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ
๑. คาว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตกสลาย และกระจัด
กระจายไปเป็นธรรมดา
๒. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่การที่บุคคลทาการงานในเวลา
กลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลากลางคืน นี้ ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน
๓. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ใน
เวลากลางคืน แล้วประกอบการงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน
๔. คาว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. คาว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ
๖. คาว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ
๗. คาว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร
๘. คาว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธเธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น
คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’
๙. คาว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ
เธอจงใช้ศัสตรานาอึ่งขึ้นมา คือ จงละความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’
๑๐. คาว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถาก
ทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จงขุดขึ้นมา’
๑๑. คาว่า หม้อกรองน้าด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ
กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา คือจงละนิวรณ์ ๕ ประการ
จงขุดขึ้นมา’
๑๒. คาว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ คือ
9
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาเต่าขึ้นมา คือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุด
ขึ้นมา’
๑๓. คาว่า เขียงหั่นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กาหนัด
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละกามคุณ ๕ ประการ จง
ขุดขึ้นมา’
๑๔. คาว่า ชิ้นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกาหนัดด้วยอานาจ ความเพลิดเพลิน) คา
นั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’
๑๕. คาว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คานั้นมีอธิบายว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธอ
อย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทาความนอบน้อมนาค”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้ แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาค ดังนี้ แล
วัมมิกสูตรที่ ๓ จบ
-----------------------------------------
10
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค
วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก
อรรถกถาวัมมิกสูตร
วัมมิกสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
พึงทราบวินิจฉัยในวัมมิกสูตรนั้น
คาว่า กุมารกสฺสโป เป็นชื่อของท่าน. แต่เพราะท่านบวชในเวลายังเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า จงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้หรือของเคี้ยวนี้ แก่กัสสป เพราะภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า กัสสปองค์ไหน
จึงขนานนามท่านอย่างนี้ ว่า กุมารกัสสป ตั้งแต่นั้นมา ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่าก็ยังเรียกว่า กุมารกัสสปอยู่
นั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายจาหมายท่านว่า กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา.
จะกล่าวให้แจ่มแจ้งตั้งแต่บุพพประโยคของท่าน ดังต่อไปนี้ .
ดังได้สดับมา พระเถระเป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ต่อมาวันหนึ่ง
พระเถระเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาสาวกของพระองค์รูปหนึ่ง ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรไว้ในฐานันดร
ถวายทาน ๗ วันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทาความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์ก็พึง
เป็นสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรเหมือนพระเถระรูปนี้ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล ดังนี้ แล้ว
กระทาบุญทั้งหลาย บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป ไม่อาจทาคุณวิเศษให้
บังเกิดได้.
ครั้งนั้นเมื่อพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วเสื่อมลง ภิกษุ ๕ รูปผูก
บันไดขึ้นภูเขากระทาสมณธรรม. พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตต์วันที่ ๓. พระอนุเถระเป็นพระอนาคามีวันที่
๔. ฝ่ายพระเถระอีก ๓ รูปไม่อาจทาคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ไปบังเกิดในเทวโลก.
เมื่อเทพเหล่านั้นเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง องค์หนึ่งก็ไปเกิดในราช
ตระกูล กรุงตักกสิลา เป็นพระราชาพระนามว่าปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่กรุงราชคฤห์ ฟัง
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โรงช่างหม้อ บรรลุอนาคามิผล.
องค์หนึ่งบังเกิดในเรือนสกุลใกล้ท่าเรือแห่งสุปารกะแห่งหนึ่ง ขึ้นเรือ เรืออับปาง นุ่งท่อนไม้แทน
ผ้า ถึงลาภสมบัติเกิดความคิดขึ้นว่า ข้าเป็นพระอรหันต์ ถูกเทวดาผู้หวังดีตักเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์
ดอก ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาเถิด ได้กระทาเหมือนอย่างนั้น บรรลุอรหัตตผล.
องค์หนึ่งเกิดในท้องของหญิงผู้มีสกุลคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. นางได้อ้อนวอนมารดาบิดา เมื่อ
ไม่ได้บรรพชาก็แต่งงาน ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อ้อนวอนสามี สามีอนุญาตก็บวชในสานักภิกษุณี. ภิกษุณี
ทั้งหลายเห็นนางตั้งครรภ์จึงถามพระเทวทัตต์. พระเทวทัตต์ตอบว่า นางไม่เป็นสมณะแล้ว. เหล่าภิกษุณีจึง
ไปทูลถามพระทศพล.
พระศาสดาโปรดให้พระอุบาลีรับเรื่องไว้พิจารณา พระเถระให้เชิญสกุลชาวพระนครสาวัตถีและ
นางวิสาขาอุบาสิกา ให้ช่วยกันชาระ (ได้ข้อเท็จจริงแล้ว) จึงกล่าวว่า นางมีครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย.
พระศาสดาประทานสาธุการแก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตรมี
ประพิมประพายดังแท่งทอง. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับเด็กนั้นมาชุบเลี้ยง ประทานนามเด็กนั้นว่า กัสสป.
11
ต่อมาทรงเลี้ยงเจริญวัยแล้วนาไปยังสานักพระศาสดา ให้บรรพชา. ดังนั้น คนทั้งหลายจึงหมายชื่อเด็กนั้นว่า
กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชาแล.
สมัยนั้น ท่านกุมารกัสสปก็บาเพ็ญเสกขปฏิปทาอยู่ที่อันธวันนั้น. เทพบุตรได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า ผู้นี้ อยู่ในระหว่างกามาวจรภูมิ ส่วนเราเป็นพรหมจารีตั้งแต่กาลนั้นในเวลานั้น. แม้สมณสัญญาของ
เทพบุตรนั้นยังปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้นจึงไม่ไหว้ เทพบุตรนั้นเป็นบุรพสหายของพระเถระ
ตั้งแต่กาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ. บรรดาสหายทั้ง ๕ ที่มาในครั้งก่อน สหายนั้นใดที่
ท่านกล่าวว่าพระอนุเถระได้เป็นพระอนาคามี ในวันที่ ๔ สหายนั้นก็คือผู้นี้ . (ภิกษุ ๕ รูปผูกบันไดขึ้นภูเขา
กระทาสมณธรรม. พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตต์วันที่ ๓. พระอนุเถระเป็นพระอนาคามีวันที่ ๔. ฝ่ายพระ
เถระอีก ๓ รูปไม่อาจทาคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ไปบังเกิดในเทวโลก.)
พระอนุเถระนั้นครั้นดารงอยู่ในชั้นสุทธาวาสแล้ว ตรวจดูสหายเหล่านั้น ก็เห็นว่า สหายผู้หนึ่ง
ปรินิพพานในครั้งนั้นแล ผู้หนึ่งบรรลุอริยภูมิในสานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยไม่นาน ผู้หนึ่งอาศัยลาภ
สักการะเกิดความคิดขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์ อยู่ที่ท่าเรือชื่อสุปปารกะนั่นแล แล้วเข้าไปหาเขา สั่งเขาไป
ด้วยกล่าวว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ยังปฏิบัติไม่ถึงพระอรหัตตมรรค จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟัง
ธรรมเสีย. แม้สหายผู้นั้นทูลขอโอวาทกะพระผู้มีพระภาคเจ้าในละแวกบ้าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาท
โดยสังเขปว่า พาหิยะ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงศึกษาในสิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จงเป็นสักแต่ว่าเห็น ก็บรรลุอริยภูมิ.
สหายผู้หนึ่งนอกจากนั้นมีอยู่ เขาตรวจดูว่าอยู่ที่ไหน ก็เห็นว่ากาลังบาเพ็ญเสกขปฏิปทาอยู่ใน
อันธวัน จึงคิดว่า เราจักไปยังสานักของสหาย แต่เมื่อไปไม่ไปมือเปล่า ควรจะถือเครื่องบรรณาการบางอย่าง
ไปด้วย แต่สหายของเราไม่มีอามิสอยู่บนยอดเขา แต่สหายนั้นจักไม่ฉันแม้บิณฑบาตที่เรายืนอยู่บนอากาศ
ถวาย ได้กระทาสมณธรรม บัดนี้ ท่านจักรับอามิสบรรณาการหรือจาเราจักถือธรรมบรรณาการไป แล้วดารง
ในพรหมโลกนั่นแล จาแนกปัญหา ๑๕ ข้อเหมือนร้อยรัตนวลีพวงแก้วถือธรรมบรรณาการนั้นมา.
๑. คาว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตกสลาย และกระจัด
กระจายไปเป็นธรรมดา (กายภายนอก ท่านเรียกว่าวัมมิกะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ จอมปลวกย่อมคาย ๑
ผู้คาย ๑ ผู้คายร่างที่ประชุมธาตุสี่ ๑ ผู้คายความสัมพันธ์ด้วยเสน่หา ๑. เพราะฉะนั้น กายนั้น ชื่อว่าวัมมิกะ
กายอันตัวปลวกคายแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่าวัมมิกะ. กายอันตัวปลวกก่อขึ้นด้วยผงฝุ่น ที่ตัวคายยกขึ้นด้วย
จะงอยปากประมาณเพียงสะเอวบ้าง ชั่วบุรุษบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวัมมิกะ. กายเมื่อฝนตก ๗ สัปดาห์
อันตัวปลวกเกลี่ย เพราะเนื่องด้วยยางน้าลายที่คายออก แม้ในฤดูแล้งมันก็คายเอาฝุ่นจากที่นั้น บีบที่นั้นให้
เป็นกอง ยางเหนียวก็ออก แล้วก็ติดกันด้วยยางเหนียวที่คาย เหตุนั้นจึงชื่อว่าวัมมิกะ ฉันใดนั้นแล แม้กายนี้
ก็ฉันนั้น ชื่อว่าวัมมิกะ เพราะคายของไม่สะอาด ของมีโทษและมลทินมีประการต่างๆ โดยนัยเป็นต้นว่าขี้ตา
ออกจากลูกตาเป็นต้น และชื่อว่าวัมมิกะ เพราะอันพระอริยเจ้าคายแล้ว เหตุพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ
และพระขีณาสพ ทิ้งอัตตภาพไป เพราะหมดความเยื่อใยในอัตตภาพนี้ ชื่อว่าวัมมิกะ เพราะคายหมดทั้งร่าง
ที่ประชุมธาตุ ๔ เหตุที่พระอริยเจ้าคายร่างทั้งหมดที่กระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นรัดด้วยเอ็น ฉาบด้วยเนื้ อ ห่อ
12
ด้วยหนังสด ย้อมผิว ลวงสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าวัมมิกะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
คาว่า วัมมิกะ นี้ เป็นชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.)
๒. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่การที่บุคคลทาการงานในเวลา
กลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลากลางคืน นี้ ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน (ท่านประสงค์เอาว่าเป็นไป
ในวิตก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นี่การหวนควันในกลางคืน.)
๓. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ใน
เวลากลางคืน แล้วประกอบการงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน
(การงานที่จะพึงทาในกลางวัน.)
๔. คาว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระตถาคตชื่อว่าพราหมณ์
เพราะทรงลอยธรรมทั้ง ๗ ได้แล้ว. ธรรมทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส ที่ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรมทั้ง ๗ เหล่านี้ ได้แล้ว.)
๕. คาว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ (ผู้มีปัญญาดี.)
๖. คาว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ (คานี้ เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นโลกิยและโล
กุตตระ ไม่ใช่เป็นชื่อของอาวุธและศาสตรา.)
๗. คาว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร (ได้แก่ ความเพียรทางกายและทางใจ.
ความเพียรนั้น ย่อมเป็นคติแห่งปัญญาทีเดียว ความเพียรที่เป็นคติแห่งโลกิยปัญญาจัดเป็นโลกิยะ เป็นคติ
แห่งโลกุตตรปัญญาจัดเป็นโลกุตตระ.)
๘. คาว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธเธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น
คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’ (เมื่อปิดประตูพระนคร ใส่ลิ่มสลัก มหาชนก็ขาดการไป เหล่าชนที่อยู่ภายใน
พระนครก็คงอยู่ภายในนั้นเอง พวกที่อยู่ภายนอกพระนครก็อยู่ภายนอกฉันใด กลอนเหล็กคืออวิชชาตกไป
ในปากคือญาณของผู้ใด การไปคือญาณที่ให้ถึงพระนิพพานของผู้นั้นก็ขาด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงอวิชชาให้เป็นดังกลอนเหล็ก. การละอวิชชาด้วยอานาจการเรียนและการสอบถามกัมมัฏฐาน.)
๙. คาว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ
เธอจงใช้ศัสตรานาอึ่งขึ้นมา คือ จงละความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’ (อึ่งที่พองขึ้นไม่
ใหญ่ประมาณเท่าหลังเล็บอยู่ในระหว่างใบไม้เก่าๆ ในระหว่างกอไม้ หรือระหว่างเถาวัลย์ มันถูกปลายไม้
ปลายเถาวัลย์หรือละอองฝุ่นเสียดสีขยายออกมีปริมณฑลใหญ่ ขนาดเท่าแว่นมะตูม ๔ เท้าขวักไขว่ในอากาศ
ขาดการไป (เดินไม่ได้) ตกอยู่ในอานาจของศัตรู เป็นเหยื่อของกาและนกเค้าเป็นต้นฉันใด ความโกรธนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นคราวแรกก็เป็นเพียงความขุ่นมัวแห่งจิตเท่านั้น ไม่ถูกข่มเสียในขณะนั้นก็ขยาย
ให้ถึงการหน้านิ้ วคิ้วขมวด ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงคางสั่น ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงการเปล่ง
วาจาหยาบ ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ก็ให้ถึงการมองไม่เห็นทิศ ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการยื้อกันมา
ยื้อกันไป ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงการจับมือ ก้อนดิน ท่อนไม้และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้
ถึงการประหารด้วยท่อนไม้ และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการฆ่าผู้อื่นบ้าง ฆ่าตัวเองบ้าง. ท่าน
กล่าวการละด้วยการพิจารณา)
13
๑๐. คาว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถาก
ทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จงขุดขึ้นมา’ (บุรุษผู้มีทรัพย์โภคะ เดินทางไกลอันกันดาร ถึงทาง ๒ แพร่ง
ไม่อาจตัดสินใจว่า ควรไปทางนี้ หรือไม่ควรไปทางนี้ หยุดอยู่ในที่นั้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น เหล่าโจรปรากฏ
ตัวขึ้นมาก็จะทาผู้นั้นให้ถึงความย่อยยับฉันใด ภิกษุผู้นั่งกาหนดกัมมัฏฐานเบื้องต้นก็ฉันนั้นนั่นแล เมื่อเกิด
ความสงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ไม่อาจเจริญกัมมัฏฐานได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ปวงมารมีกิเลสมารเป็นต้น
ย่อมทาภิกษุนั้นให้ถึงความย่อยยับ วิจิกิจฉาจึงเสมอด้วยทาง ๒ แพร่งด้วยประการฉะนี้ . การละวิจิกิจฉาด้วย
การเรียนและการสอบถามกัมมัฏฐาน.)
๑๑. คาว่า หม้อกรองน้าด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ
กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา คือจงละนิวรณ์ ๕ ประการ
จงขุดขึ้นมา’ (เมื่อช่างย้อมใส่น้าลงในหม้อกรองน้าด่าง หม้อน้า ๑ หม้อ ๒ หม้อบ้าง ๑๐ หม้อบ้าง ๒๐ หม้อ
บ้าง ๑๐๐ หม้อบ้างก็ไหลออก น้าแม้ฟายมือเดียวก็ไม่ขังอยู่ฉันใด กุศลธรรมภายในของบุคคลผู้
ประกอบด้วยนีวรณ์ ย่อมไม่ตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน. การละนีวรณ์ด้วยวิกขัมภนปหานและตทังคปหาน.)
๑๒. คาว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ คือ
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาเต่าขึ้นมา คือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุด
ขึ้นมา’ (เต่ามีอวัยวะ ๕ คือ เท้า ๔ ศีรษะ ๑ ฉันใด สังขตธรรมทั้งหมด เมื่อรวบรัดก็มีขันธ์ ๕ เท่านั้นฉันนั้น
เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า เต่านี้ เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕.
การละความกาหนัดด้วยอานาจความพอใจในขันธ์ ๕.)
๑๓. คาว่า เขียงหั่นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
14
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กาหนัด
คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละกามคุณ ๕ ประการ จง
ขุดขึ้นมา’ (เอาเนื้ อวางบนเขียง เอามีดสับฉันใด สัตว์เหล่านี้ เมื่อถูกกามกิเลสกระทบ เพื่อประโยชน์แก่ทาไว้
บนวัตถุกาม ถูกกิเลสกามตัดสับก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า เขียง
มีด นี้ เป็นชื่อของกามคุณทั้ง ๕. การละความกาหนัดด้วยอานาจความพอใจในกามคุณ ๕.)
๑๔. คาว่า ชิ้นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกาหนัดด้วยอานาจ ความเพลิดเพลิน) คา
นั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’ (ขึ้นชื่อว่าชิ้นเนื้ อ
นี้ คนเป็นอันมากปรารถนากันแล้ว ทั้งเหล่ามนุษย์มีกษัตริย์เป็นต้น ทั้งสัตว์ดิรัจฉานมีกาเป็นต้น ต่าง
ปรารถนามัน สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยอวิชชา อาศัยความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน ต่างก็
ปรารถนาวัฏฏะ ชิ้นเนื้ อย่อมติดอยู่ในที่วางไว้ๆ ฉันใด สัตว์เหล่านี้ ถูกความกาหนัดด้วยอานาจความ
เพลิดเพลินผูกไว้ก็ติดอยู่ในวัฏฏะ แม้ประสบทุกข์ก็ไม่เบื่อฉันนั้น ความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน
ย่อมเสมือนชิ้นเนื้ อด้วยประการฉะนี้ . ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า ชิ้นเนื้ อ นี้
เป็นชื่อของความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน. การละความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลินด้วย
มรรคที่ ๔.)
๑๕. คาว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คานั้นมีอธิบายว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธอ
อย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทาความนอบน้อมนาค” (ดูก่อนภิกษุ คาว่า นาค นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพนี้
พระขีณาสพท่านเรียกว่านาค ท่านจงกระทาการนอบน้อมพระพุทธนาคผู้พระขีณาสพว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้านั้นตรัสรู้แล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงฝึกแล้ว ทรงแสดงธรรม
เพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสงบแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงข้ามแล้ว แสดงธรรมเพื่อข้าม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นดับสนิทแล้ว แสดงธรรมเพื่อดับสนิท.)
พระสูตรนี้ ได้เป็นกัมมัฏฐานของพระเถระด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเถระทาพระสูตรนี้ แลให้เป็น
กัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนทรงถือเอายอดมณีในกองรัตนะ ทรงจบเทศนาตามลาดับอนุสนธิ
ด้วยประการฉะนี้ แล.
จบอรรถกถาวัมมิกสูตรที่ ๓
-----------------------------------------------------

Contenu connexe

Similaire à (๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
Tongsamut vorasan
 
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
Kasetsart University
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
Tongsamut vorasan
 
บาลี 21 80
บาลี 21 80บาลี 21 80
บาลี 21 80
Rose Banioki
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
Tongsamut vorasan
 
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
Tongsamut vorasan
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวก
chaichaichaiyoyoyo
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tongsamut vorasan
 
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 

Similaire à (๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf (20)

(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
 
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 19 พระคาถา
 
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้พระพุทธศาสนากับป่าไม้
พระพุทธศาสนากับป่าไม้
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
 
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยการนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
 
บาลี 21 80
บาลี 21 80บาลี 21 80
บาลี 21 80
 
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
2 21+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๓
 
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 21 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
1 06+อุภัยพากยปริวัตน์+ภาค+1 2
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวก
 
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
 
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
ท่องแดนพระพุทธศาสนา ที่ศรีลังกา(ส่วนหน้า)
 

Plus de maruay songtanin

100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Plus de maruay songtanin (20)

100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๑๔ กุมารกัสสปเถราปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระกุมารกัสสปเถระ เกริ่นนา ผู้นี้ จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระ ศาสดาพระองค์นั้น เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้าอันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย เขาจักถึงความเป็นเลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร (พระกุมารกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๕๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก ทรงบาเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล แก่สรรพสัตว์ เป็นนักปราชญ์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป [๑๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงเลื่องลือ เรียนจบไตรเพท เที่ยวพักสาราญในเวลา กลางวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นาสัตว์โลก [๑๕๒] กาลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้ตรัสรู้ กาลังสรรเสริญสาวกของ พระองค์ ผู้กล่าวธรรมีกถาอย่างวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน [๑๕๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเบิกบานใจจึงทูลนิมนต์พระตถาคต แล้วประดับมณฑปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสี ต่างๆ [๑๕๔] ให้โชติช่วงด้วยรัตนะต่างๆ ทูลนิมนต์พระตถาคต พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันโภชนะ มีรสเลิศต่างๆ ตลอด ๗ วัน ในมณฑปนั้น [๑๕๕] ได้บูชาพระตถาคตพร้อมทั้งสาวก ด้วยดอกไม้อันสวยงามนานาชนิด แล้วหมอบลงแทบ พระบาท ปรารถนาตาแหน่งนั้น [๑๕๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระกรุณา ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐนี้ ผู้มี ปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม [๑๕๗] ผู้มากด้วยความปรีดาปราโมทย์ มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น มีนัยน์ตากลมโต นาความร่า เริงมา มีความอาลัยในศาสนาของเรา
  • 2. 2 [๑๕๘] ผู้มีใจดี มีผ้าผืนเดียวหมอบอยู่แทบเท้าของเรา เขาปรารถนาตาแหน่งคือการกล่าวธรรม ได้อย่างวิจิตรนั้น [๑๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไปพระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพ ในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๑๖๐] ผู้นี้ จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของ พระศาสดาพระองค์นั้น [๑๖๑] เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้าอันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย เขาจักถึงความเป็นเลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร’ [๑๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทาไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๑๖๓] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนตัวละครเต้นราหมุนเวียนอยู่กลาง เวที ข้าพเจ้าเป็นลูกของเนื้ อชื่อสาขะ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่เนื้ อ [๑๖๔] ครั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์ ถึงวาระที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของข้าพเจ้าถูกเนื้ อชื่อ สาขะทอดทิ้ง จึงยึดเนื้ อชื่อนิโครธเป็นที่พึ่ง [๑๖๕] มารดาของข้าพเจ้าได้พญาเนื้ อชื่อนิโครธนั้น สละชีวิตของตนช่วยให้พ้นจากความตายแล้ว ตักเตือนข้าพเจ้าผู้เป็นลูกของตนในครั้งนั้นอย่างนี้ ว่า [๑๖๖] ‘ควรคบแต่เนื้ อชื่อนิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้ อชื่อสาขะ การตายในสานักของ เนื้ อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า การมีชีวิตอยู่ในสานักของเนื้ อชื่อสาขะ จะประเสริฐอย่างไร [๑๖๗] ข้าพเจ้า มารดาของข้าพเจ้าและพวกเนื้ อนอกนี้ ได้เนื้ อชื่อนิโครธผู้เป็นนายฝูงนั้นพร่าสอน อาศัยโอวาทของเนื้ อชื่อนิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือสวรรค์ชั้นดุสิตที่รื่นรมย์ ประหนึ่งว่าได้ไปยังเรือน ของตนที่ทิ้งจากไป [๑๖๘] เมื่อศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า กาลังถึงความสิ้นไป ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขา บาเพ็ญ เพียรตามคาสอนของพระชินเจ้า [๑๖๙] ก็บัดนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ มารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ ออกบวชเป็น บรรพชิต [๑๗๐] ภิกษุณีทั้งหลายรู้ว่ามารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ จึงนาไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้น กล่าวว่า ‘จงนาสนะภิกษุณีชั่วรูปนี้ เสีย’ [๑๗๑] แม้ในบัดนี้ มารดาผู้ให้กาเนิดของข้าพเจ้า อันพระชินเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้ จึงได้มีความสุขอยู่ในสานักของภิกษุณี [๑๗๒] พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล ได้ทรงทราบเรื่องนั้นแล้วจึงทรงชุบเลี้ยงข้าพเจ้าไว้ ด้วย เครื่องบริหารพระกุมาร และตัวข้าพเจ้าก็มีชื่อว่ากัสสปะ [๑๗๓] เพราะอาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ ข้าพเจ้าจึงมีชื่อว่ากุมารกัสสปะ เพราะได้ฟังพระ ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า กายเช่นกับจอมปลวก
  • 3. 3 [๑๗๔] จากนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น ไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าได้รับตาแหน่ง เอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ [๑๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่อง ผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสานักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้ บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว [๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว สั่ง สอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ จบ -------------------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของกุมารกัสสปเถราปทาน ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง ขณะที่กาลังฟังธรรมในสานักของพระศาสดา ได้เป็นภิกษุ รูปหนึ่งซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตาแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร แม้ตนเองก็ ปรารถนาตาแหน่งนั้น ดารงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บวชในพระ ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว บาเพ็ญสมณธรรม ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติทั้งหลายอย่าง เดียว ได้เสวยทิพยสุขและมนุษยสุขแล้ว. ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในท้องลูกสาวเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. ทราบว่า ลูกสาวเศรษฐีนั้น ในเวลาที่เป็นเด็กหญิงนั่นแล มีความประสงค์จะบวช จึงขออนุญาต มารดาบิดา เมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้บวชจึงไปยังตระกูลสามี ได้มีครรภ์ แต่ไม่รู้ว่ามีครรภ์นั้น จึงคิดแล้วว่า เราจักทาให้สามียินดี (ทาให้ถูกใจสามี) แล้วจึงจักขออนุญาตบวช. เมื่อนางจะทาให้ถูกใจสามี จึงชี้ให้ถึงโทษของสรีระโดยนัยเป็นต้นว่า ถ้าว่าในภายในของร่างกายนี้ จะถึงกลับออกมาในภายนอกไซร้ บุคคลก็จะต้องถือท่อนไม้คอยไล่ หมู่กาและหมู่สุนัขแน่นอน ดังนี้ . จึงทาให้สามีผู้ประเสริฐนั้นได้ยินดีแล้ว หญิงนั้นได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว ไม่รู้ว่ามีครรภ์จึงได้บวชในหมู่นางภิกษุณีฝ่ายของพระ เทวทัต. พวกนางภิกษุณีได้เห็นว่านางมีครรภ์จึงไปถามพระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นตัดสินว่า นางภิกษุณีนี้ ไม่
  • 4. 4 เป็นสมณะ. นางภิกษุณีนั้นจึงคิดว่า เรามิได้บวชอุทิศพระเทวทัต. แต่เราบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ จึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามพระทศพล. พรศาสดาทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระรับหน้าที่ไป. พระเถระสั่งให้เรียกตระกูลชาวพระนครสาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาแล้ว เมื่อจะวินิจฉัย เรื่อองนั้นพร้อมกับบริษัทผู้มีความขัดแย้ง จึงกล่าวว่า นางได้มีครรภ์ก่อนบวช ครรภ์ไม่มีอันตรายบวชแล้ว. พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว จึงทรงประทาน สาธุการแก่พระเถระ. นางภิกษุณีรูปนี้ ได้คลอดบุตรรูปร่างงดงามดุจทองคา. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดาริว่า การเลี้ยงดูทารกจะเป็นความกังวลใจแก่พวกนางภิกษุณี จึง ทรงรับสั่งให้แก่พวกญาติแล้ว รับสั่งให้เลี้ยงดู. พวกญาติได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า กัสสป. ในกาลต่อมา มารดาประดับตกแต่งแล้ว นาไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลขอบรรพชาแล้ว. ก็เพราะ ท่านบวชในเวลาที่เป็นเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปะมา พวกเธอจงให้ผลไม้ หรือว่าของที่ควรเคี้ยวนี้ แก่กัสสปะ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า กัสสปะไหน. ต่อมาในเวลาเจริญวัยแล้ว จึงปรากฏชื่อว่ากุมารกัสสปะ เพราะตั้งชื่อเสียใหม่ว่า กุมารกัสส ปะ และเพราะเป็นบุตรที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง. จาเดิมแต่บวชแล้ว ท่านก็บาเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน และศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะ. ลาดับนั้น ท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระอนาคามีบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ได้บาเพ็ญสมณธรรมบน ยอดภูเขาร่วมกับท่านคิดว่า เราจักชี้ทางวิปัสสนาแล้ว กระทาอุบายเพื่อบรรลุมรรคผลได้ ดังนี้ แล้วจึงแต่ง ปัญหาขึ้น ๑๕ ข้อ แล้วบอกแก่พระเถระผู้อยู่ในป่าอันธวันว่า ท่านควรถามปัญหาเหล่านี้ กะพระศาสดา. ทีนั้น ท่านจึงทูลภามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงวิสัชนาแก่เธอแล้ว. พระเถระเล่าเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทานองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทั้งหมด ยังวิปัสสนา ให้ถือเอาซึ่งห้องแล้ว ให้บรรลุพระอรหัต. พระกุมารกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความโสมนัส ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคาเริ่มต้นว่า อิโต สตสหส สมหิ ดังนี้ อธิบายว่า ครั้นได้สดับพระดารัสนั้นแล้ว จิตของเราไม่ยึดถืออาสวะทั้งหลาย พ้นแล้วจากกิเลส ได้โดยพิเศษ คือดารงอยู่แล้วในพระอรหัตผล.
  • 5. 5 ในกาลต่อมา พระศาสดาได้ทรงทราบจากภิกษุทั้งหลายในที่นั้นๆ ว่า พระเถระนั้นเป็นผู้กล่าว ธรรมกถาได้อย่างวิจิตร จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตาแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารกัสสปะนี้ เป็นผู้ เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวธรรมกถาให้วิจิตรแล. จบอรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน ----------------------------------------
  • 6. 6 วัมมิกสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๓. วัมมิกสูตร ว่าด้วยจอมปลวกปริศนา [๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัต ถี สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน ครั้งนั้น เมื่อราตรี (ราตรี ในที่นี้ หมายถึงปฐมยาม ความนี้ มีความหมายว่า เมื่อสิ้นปฐมยามกาลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม เทวดาก็ปรากฏ) ผ่านไป เทวดาองค์ หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนักได้เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระกุมารกัสสปะว่า “พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลากลางวัน พราหมณ์ ได้กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาศัสตราไปขุดดู’ สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นทางสองแพร่ง จึงกล่าวว่า ‘ทางสองแพร่ง ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นหม้อกรองน้าด่าง จึงกล่าวว่า ‘หม้อกรองน้าด่างขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเต่า จึงกล่าวว่า ‘เต่า ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้ อ จึงกล่าวว่า ‘เขียงหั่นเนื้ อ ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นชิ้นเนื้ อ จึงกล่าวว่า ‘ชิ้นเนื้ อ ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทาความนอบน้อม นาค’ พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจาคา เฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคล
  • 7. 7 ผู้ฟังจากสานัก(ของข้าพเจ้า) นี้ เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทาจิต(ของข้าพเจ้า) ให้ยินดีด้วยการ ตอบปัญหาเหล่านี้ ได้” เทวดานั้นได้กล่าวคานี้ แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น พระกุมารกัสสปะทูลถามปริศนาธรรม [๒๕๐] ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระกุมารกัสสปะก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง รัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า ‘พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในเวลากลางวัน พราหมณ์ได้กล่าว อย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงนาศัสตราไปขุดดู’ สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ ฯลฯ ได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ ว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทาความนอบน้อม นาค’ พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจาคา เฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคล ผู้ฟังจากสานัก(ของข้าพเจ้า)นี้ เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทาจิต(ของข้าพเจ้า)ให้ยินดีด้วยการตอบ ปัญหาเหล่านี้ ’ เทวดานั้นได้กล่าวคานี้ แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑. อะไรหนอ ชื่อว่าจอมปลวก ๒. อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน ๓. อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน ๔. ใคร ชื่อว่าพราหมณ์ ๕. ใคร ชื่อว่าสุเมธ ๖. อะไร ชื่อว่าศัสตรา ๗. อย่างไร ชื่อว่าการขุด ๘. อะไร ชื่อว่าลิ่มสลัก ๙. อะไร ชื่อว่าอึ่ง ๑๐. อะไร ชื่อว่าทางสองแพร่ง
  • 8. 8 ๑๑. อะไร ชื่อว่าหม้อกรองน้าด่าง ๑๒. อะไร ชื่อว่าเต่า ๑๓. อะไร ชื่อว่าเขียงหั่นเนื้ อ ๑๔. อะไร ชื่อว่าชิ้นเนื้ อ ๑๕. อะไร ชื่อว่านาค” พระผู้มีพระภาคทรงเฉลยปริศนาธรรม [๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ๑. คาว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็น แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตกสลาย และกระจัด กระจายไปเป็นธรรมดา ๒. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่การที่บุคคลทาการงานในเวลา กลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลากลางคืน นี้ ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน ๓. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ใน เวลากลางคืน แล้วประกอบการงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน ๔. คาว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕. คาว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ ๖. คาว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ ๗. คาว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร ๘. คาว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธเธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’ ๙. คาว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาอึ่งขึ้นมา คือ จงละความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’ ๑๐. คาว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถาก ทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จงขุดขึ้นมา’ ๑๑. คาว่า หม้อกรองน้าด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ) ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย) คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา คือจงละนิวรณ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’ ๑๒. คาว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ คือ
  • 9. 9 รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาเต่าขึ้นมา คือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุด ขึ้นมา’ ๑๓. คาว่า เขียงหั่นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้ กาหนัด คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละกามคุณ ๕ ประการ จง ขุดขึ้นมา’ ๑๔. คาว่า ชิ้นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกาหนัดด้วยอานาจ ความเพลิดเพลิน) คา นั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’ ๑๕. คาว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คานั้นมีอธิบายว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธอ อย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทาความนอบน้อมนาค” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้ แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ดังนี้ แล วัมมิกสูตรที่ ๓ จบ -----------------------------------------
  • 10. 10 อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก อรรถกถาวัมมิกสูตร วัมมิกสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :- พึงทราบวินิจฉัยในวัมมิกสูตรนั้น คาว่า กุมารกสฺสโป เป็นชื่อของท่าน. แต่เพราะท่านบวชในเวลายังเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า จงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้หรือของเคี้ยวนี้ แก่กัสสป เพราะภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า กัสสปองค์ไหน จึงขนานนามท่านอย่างนี้ ว่า กุมารกัสสป ตั้งแต่นั้นมา ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่าก็ยังเรียกว่า กุมารกัสสปอยู่ นั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายจาหมายท่านว่า กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา. จะกล่าวให้แจ่มแจ้งตั้งแต่บุพพประโยคของท่าน ดังต่อไปนี้ . ดังได้สดับมา พระเถระเป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ต่อมาวันหนึ่ง พระเถระเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาสาวกของพระองค์รูปหนึ่ง ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรไว้ในฐานันดร ถวายทาน ๗ วันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทาความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์ก็พึง เป็นสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรเหมือนพระเถระรูปนี้ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล ดังนี้ แล้ว กระทาบุญทั้งหลาย บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป ไม่อาจทาคุณวิเศษให้ บังเกิดได้. ครั้งนั้นเมื่อพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วเสื่อมลง ภิกษุ ๕ รูปผูก บันไดขึ้นภูเขากระทาสมณธรรม. พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตต์วันที่ ๓. พระอนุเถระเป็นพระอนาคามีวันที่ ๔. ฝ่ายพระเถระอีก ๓ รูปไม่อาจทาคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เมื่อเทพเหล่านั้นเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง องค์หนึ่งก็ไปเกิดในราช ตระกูล กรุงตักกสิลา เป็นพระราชาพระนามว่าปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่กรุงราชคฤห์ ฟัง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โรงช่างหม้อ บรรลุอนาคามิผล. องค์หนึ่งบังเกิดในเรือนสกุลใกล้ท่าเรือแห่งสุปารกะแห่งหนึ่ง ขึ้นเรือ เรืออับปาง นุ่งท่อนไม้แทน ผ้า ถึงลาภสมบัติเกิดความคิดขึ้นว่า ข้าเป็นพระอรหันต์ ถูกเทวดาผู้หวังดีตักเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ดอก ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาเถิด ได้กระทาเหมือนอย่างนั้น บรรลุอรหัตตผล. องค์หนึ่งเกิดในท้องของหญิงผู้มีสกุลคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. นางได้อ้อนวอนมารดาบิดา เมื่อ ไม่ได้บรรพชาก็แต่งงาน ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อ้อนวอนสามี สามีอนุญาตก็บวชในสานักภิกษุณี. ภิกษุณี ทั้งหลายเห็นนางตั้งครรภ์จึงถามพระเทวทัตต์. พระเทวทัตต์ตอบว่า นางไม่เป็นสมณะแล้ว. เหล่าภิกษุณีจึง ไปทูลถามพระทศพล. พระศาสดาโปรดให้พระอุบาลีรับเรื่องไว้พิจารณา พระเถระให้เชิญสกุลชาวพระนครสาวัตถีและ นางวิสาขาอุบาสิกา ให้ช่วยกันชาระ (ได้ข้อเท็จจริงแล้ว) จึงกล่าวว่า นางมีครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย. พระศาสดาประทานสาธุการแก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตรมี ประพิมประพายดังแท่งทอง. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับเด็กนั้นมาชุบเลี้ยง ประทานนามเด็กนั้นว่า กัสสป.
  • 11. 11 ต่อมาทรงเลี้ยงเจริญวัยแล้วนาไปยังสานักพระศาสดา ให้บรรพชา. ดังนั้น คนทั้งหลายจึงหมายชื่อเด็กนั้นว่า กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชาแล. สมัยนั้น ท่านกุมารกัสสปก็บาเพ็ญเสกขปฏิปทาอยู่ที่อันธวันนั้น. เทพบุตรได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า ผู้นี้ อยู่ในระหว่างกามาวจรภูมิ ส่วนเราเป็นพรหมจารีตั้งแต่กาลนั้นในเวลานั้น. แม้สมณสัญญาของ เทพบุตรนั้นยังปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้นจึงไม่ไหว้ เทพบุตรนั้นเป็นบุรพสหายของพระเถระ ตั้งแต่กาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ. บรรดาสหายทั้ง ๕ ที่มาในครั้งก่อน สหายนั้นใดที่ ท่านกล่าวว่าพระอนุเถระได้เป็นพระอนาคามี ในวันที่ ๔ สหายนั้นก็คือผู้นี้ . (ภิกษุ ๕ รูปผูกบันไดขึ้นภูเขา กระทาสมณธรรม. พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตต์วันที่ ๓. พระอนุเถระเป็นพระอนาคามีวันที่ ๔. ฝ่ายพระ เถระอีก ๓ รูปไม่อาจทาคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ไปบังเกิดในเทวโลก.) พระอนุเถระนั้นครั้นดารงอยู่ในชั้นสุทธาวาสแล้ว ตรวจดูสหายเหล่านั้น ก็เห็นว่า สหายผู้หนึ่ง ปรินิพพานในครั้งนั้นแล ผู้หนึ่งบรรลุอริยภูมิในสานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยไม่นาน ผู้หนึ่งอาศัยลาภ สักการะเกิดความคิดขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์ อยู่ที่ท่าเรือชื่อสุปปารกะนั่นแล แล้วเข้าไปหาเขา สั่งเขาไป ด้วยกล่าวว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ยังปฏิบัติไม่ถึงพระอรหัตตมรรค จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟัง ธรรมเสีย. แม้สหายผู้นั้นทูลขอโอวาทกะพระผู้มีพระภาคเจ้าในละแวกบ้าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาท โดยสังเขปว่า พาหิยะ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงศึกษาในสิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จงเป็นสักแต่ว่าเห็น ก็บรรลุอริยภูมิ. สหายผู้หนึ่งนอกจากนั้นมีอยู่ เขาตรวจดูว่าอยู่ที่ไหน ก็เห็นว่ากาลังบาเพ็ญเสกขปฏิปทาอยู่ใน อันธวัน จึงคิดว่า เราจักไปยังสานักของสหาย แต่เมื่อไปไม่ไปมือเปล่า ควรจะถือเครื่องบรรณาการบางอย่าง ไปด้วย แต่สหายของเราไม่มีอามิสอยู่บนยอดเขา แต่สหายนั้นจักไม่ฉันแม้บิณฑบาตที่เรายืนอยู่บนอากาศ ถวาย ได้กระทาสมณธรรม บัดนี้ ท่านจักรับอามิสบรรณาการหรือจาเราจักถือธรรมบรรณาการไป แล้วดารง ในพรหมโลกนั่นแล จาแนกปัญหา ๑๕ ข้อเหมือนร้อยรัตนวลีพวงแก้วถือธรรมบรรณาการนั้นมา. ๑. คาว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็น แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตกสลาย และกระจัด กระจายไปเป็นธรรมดา (กายภายนอก ท่านเรียกว่าวัมมิกะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ จอมปลวกย่อมคาย ๑ ผู้คาย ๑ ผู้คายร่างที่ประชุมธาตุสี่ ๑ ผู้คายความสัมพันธ์ด้วยเสน่หา ๑. เพราะฉะนั้น กายนั้น ชื่อว่าวัมมิกะ กายอันตัวปลวกคายแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่าวัมมิกะ. กายอันตัวปลวกก่อขึ้นด้วยผงฝุ่น ที่ตัวคายยกขึ้นด้วย จะงอยปากประมาณเพียงสะเอวบ้าง ชั่วบุรุษบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวัมมิกะ. กายเมื่อฝนตก ๗ สัปดาห์ อันตัวปลวกเกลี่ย เพราะเนื่องด้วยยางน้าลายที่คายออก แม้ในฤดูแล้งมันก็คายเอาฝุ่นจากที่นั้น บีบที่นั้นให้ เป็นกอง ยางเหนียวก็ออก แล้วก็ติดกันด้วยยางเหนียวที่คาย เหตุนั้นจึงชื่อว่าวัมมิกะ ฉันใดนั้นแล แม้กายนี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่าวัมมิกะ เพราะคายของไม่สะอาด ของมีโทษและมลทินมีประการต่างๆ โดยนัยเป็นต้นว่าขี้ตา ออกจากลูกตาเป็นต้น และชื่อว่าวัมมิกะ เพราะอันพระอริยเจ้าคายแล้ว เหตุพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และพระขีณาสพ ทิ้งอัตตภาพไป เพราะหมดความเยื่อใยในอัตตภาพนี้ ชื่อว่าวัมมิกะ เพราะคายหมดทั้งร่าง ที่ประชุมธาตุ ๔ เหตุที่พระอริยเจ้าคายร่างทั้งหมดที่กระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นรัดด้วยเอ็น ฉาบด้วยเนื้ อ ห่อ
  • 12. 12 ด้วยหนังสด ย้อมผิว ลวงสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าวัมมิกะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า วัมมิกะ นี้ เป็นชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.) ๒. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่การที่บุคคลทาการงานในเวลา กลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลากลางคืน นี้ ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน (ท่านประสงค์เอาว่าเป็นไป ในวิตก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นี่การหวนควันในกลางคืน.) ๓. คาว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ใน เวลากลางคืน แล้วประกอบการงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน (การงานที่จะพึงทาในกลางวัน.) ๔. คาว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระตถาคตชื่อว่าพราหมณ์ เพราะทรงลอยธรรมทั้ง ๗ ได้แล้ว. ธรรมทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ที่ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรมทั้ง ๗ เหล่านี้ ได้แล้ว.) ๕. คาว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ (ผู้มีปัญญาดี.) ๖. คาว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ (คานี้ เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นโลกิยและโล กุตตระ ไม่ใช่เป็นชื่อของอาวุธและศาสตรา.) ๗. คาว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร (ได้แก่ ความเพียรทางกายและทางใจ. ความเพียรนั้น ย่อมเป็นคติแห่งปัญญาทีเดียว ความเพียรที่เป็นคติแห่งโลกิยปัญญาจัดเป็นโลกิยะ เป็นคติ แห่งโลกุตตรปัญญาจัดเป็นโลกุตตระ.) ๘. คาว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธเธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’ (เมื่อปิดประตูพระนคร ใส่ลิ่มสลัก มหาชนก็ขาดการไป เหล่าชนที่อยู่ภายใน พระนครก็คงอยู่ภายในนั้นเอง พวกที่อยู่ภายนอกพระนครก็อยู่ภายนอกฉันใด กลอนเหล็กคืออวิชชาตกไป ในปากคือญาณของผู้ใด การไปคือญาณที่ให้ถึงพระนิพพานของผู้นั้นก็ขาด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงแสดงอวิชชาให้เป็นดังกลอนเหล็ก. การละอวิชชาด้วยอานาจการเรียนและการสอบถามกัมมัฏฐาน.) ๙. คาว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาอึ่งขึ้นมา คือ จงละความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’ (อึ่งที่พองขึ้นไม่ ใหญ่ประมาณเท่าหลังเล็บอยู่ในระหว่างใบไม้เก่าๆ ในระหว่างกอไม้ หรือระหว่างเถาวัลย์ มันถูกปลายไม้ ปลายเถาวัลย์หรือละอองฝุ่นเสียดสีขยายออกมีปริมณฑลใหญ่ ขนาดเท่าแว่นมะตูม ๔ เท้าขวักไขว่ในอากาศ ขาดการไป (เดินไม่ได้) ตกอยู่ในอานาจของศัตรู เป็นเหยื่อของกาและนกเค้าเป็นต้นฉันใด ความโกรธนี้ ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นคราวแรกก็เป็นเพียงความขุ่นมัวแห่งจิตเท่านั้น ไม่ถูกข่มเสียในขณะนั้นก็ขยาย ให้ถึงการหน้านิ้ วคิ้วขมวด ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงคางสั่น ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงการเปล่ง วาจาหยาบ ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ก็ให้ถึงการมองไม่เห็นทิศ ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการยื้อกันมา ยื้อกันไป ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงการจับมือ ก้อนดิน ท่อนไม้และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ ถึงการประหารด้วยท่อนไม้ และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการฆ่าผู้อื่นบ้าง ฆ่าตัวเองบ้าง. ท่าน กล่าวการละด้วยการพิจารณา)
  • 13. 13 ๑๐. คาว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถาก ทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จงขุดขึ้นมา’ (บุรุษผู้มีทรัพย์โภคะ เดินทางไกลอันกันดาร ถึงทาง ๒ แพร่ง ไม่อาจตัดสินใจว่า ควรไปทางนี้ หรือไม่ควรไปทางนี้ หยุดอยู่ในที่นั้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น เหล่าโจรปรากฏ ตัวขึ้นมาก็จะทาผู้นั้นให้ถึงความย่อยยับฉันใด ภิกษุผู้นั่งกาหนดกัมมัฏฐานเบื้องต้นก็ฉันนั้นนั่นแล เมื่อเกิด ความสงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ไม่อาจเจริญกัมมัฏฐานได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ปวงมารมีกิเลสมารเป็นต้น ย่อมทาภิกษุนั้นให้ถึงความย่อยยับ วิจิกิจฉาจึงเสมอด้วยทาง ๒ แพร่งด้วยประการฉะนี้ . การละวิจิกิจฉาด้วย การเรียนและการสอบถามกัมมัฏฐาน.) ๑๑. คาว่า หม้อกรองน้าด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ) ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย) คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้าด่างขึ้นมา คือจงละนิวรณ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’ (เมื่อช่างย้อมใส่น้าลงในหม้อกรองน้าด่าง หม้อน้า ๑ หม้อ ๒ หม้อบ้าง ๑๐ หม้อบ้าง ๒๐ หม้อ บ้าง ๑๐๐ หม้อบ้างก็ไหลออก น้าแม้ฟายมือเดียวก็ไม่ขังอยู่ฉันใด กุศลธรรมภายในของบุคคลผู้ ประกอบด้วยนีวรณ์ ย่อมไม่ตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน. การละนีวรณ์ด้วยวิกขัมภนปหานและตทังคปหาน.) ๑๒. คาว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ คือ รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานาเต่าขึ้นมา คือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุด ขึ้นมา’ (เต่ามีอวัยวะ ๕ คือ เท้า ๔ ศีรษะ ๑ ฉันใด สังขตธรรมทั้งหมด เมื่อรวบรัดก็มีขันธ์ ๕ เท่านั้นฉันนั้น เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า เต่านี้ เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕. การละความกาหนัดด้วยอานาจความพอใจในขันธ์ ๕.) ๑๓. คาว่า เขียงหั่นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
  • 14. 14 โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้ กาหนัด คานั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละกามคุณ ๕ ประการ จง ขุดขึ้นมา’ (เอาเนื้ อวางบนเขียง เอามีดสับฉันใด สัตว์เหล่านี้ เมื่อถูกกามกิเลสกระทบ เพื่อประโยชน์แก่ทาไว้ บนวัตถุกาม ถูกกิเลสกามตัดสับก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า เขียง มีด นี้ เป็นชื่อของกามคุณทั้ง ๕. การละความกาหนัดด้วยอานาจความพอใจในกามคุณ ๕.) ๑๔. คาว่า ชิ้นเนื้ อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกาหนัดด้วยอานาจ ความเพลิดเพลิน) คา นั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบชิ้นเนื้ อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’ (ขึ้นชื่อว่าชิ้นเนื้ อ นี้ คนเป็นอันมากปรารถนากันแล้ว ทั้งเหล่ามนุษย์มีกษัตริย์เป็นต้น ทั้งสัตว์ดิรัจฉานมีกาเป็นต้น ต่าง ปรารถนามัน สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยอวิชชา อาศัยความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน ต่างก็ ปรารถนาวัฏฏะ ชิ้นเนื้ อย่อมติดอยู่ในที่วางไว้ๆ ฉันใด สัตว์เหล่านี้ ถูกความกาหนัดด้วยอานาจความ เพลิดเพลินผูกไว้ก็ติดอยู่ในวัฏฏะ แม้ประสบทุกข์ก็ไม่เบื่อฉันนั้น ความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน ย่อมเสมือนชิ้นเนื้ อด้วยประการฉะนี้ . ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คาว่า ชิ้นเนื้ อ นี้ เป็นชื่อของความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลิน. การละความกาหนัดด้วยอานาจความเพลิดเพลินด้วย มรรคที่ ๔.) ๑๕. คาว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คานั้นมีอธิบายว่า ‘นาคจงดารงอยู่เถิด เธอ อย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทาความนอบน้อมนาค” (ดูก่อนภิกษุ คาว่า นาค นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพนี้ พระขีณาสพท่านเรียกว่านาค ท่านจงกระทาการนอบน้อมพระพุทธนาคผู้พระขีณาสพว่า พระผู้มีพระภาค เจ้านั้นตรัสรู้แล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงฝึกแล้ว ทรงแสดงธรรม เพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสงบแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงข้ามแล้ว แสดงธรรมเพื่อข้าม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นดับสนิทแล้ว แสดงธรรมเพื่อดับสนิท.) พระสูตรนี้ ได้เป็นกัมมัฏฐานของพระเถระด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเถระทาพระสูตรนี้ แลให้เป็น กัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์. พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนทรงถือเอายอดมณีในกองรัตนะ ทรงจบเทศนาตามลาดับอนุสนธิ ด้วยประการฉะนี้ แล. จบอรรถกถาวัมมิกสูตรที่ ๓ -----------------------------------------------------