SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  36
Télécharger pour lire hors ligne
ไฮไลท์
ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR)
และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC)
ของ American Heart Association (AHA) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558
บทน�ำ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .1
ประเด็นด้านจริยธรรม. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  3
ระบบการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  3
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่และคุณภาพในการนวดหัวใจ
ผายปอดกู้ชีพ: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพโดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  5
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่และคุณภาพในการนวดหัวใจ
ผายปอดกู้ชีพ: ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 8
เทคนิคทางเลือกและอุปกรณ์ช่วยเหลือส�ำหรับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ. . . . . . . 11
การช่วยชีวิตขั้นสูงส�ำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในผู้ใหญ่. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .13
การดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .15
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 16
การกู้ชีพในสถานการณ์พิเศษ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 18
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในเด็กและคุณภาพในการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ. . . . . . . 20
การช่วยชีวิตขั้นสูงในเด็ก. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  23
การกู้ชีพในทารกแรกเกิด. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  25
การให้ความรู้. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 27
การปฐมพยาบาล. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  29
เอกสารอ้างอิง. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  32
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
American Heart Association ขอขอบคุณบุคคลดังต่อไปนี้ที่ให้การสนับสนุนในการพัฒนาเอกสารนี้: Mary Fran Hazinski, RN, MSN; Michael
Shuster, MD; Michael W. Donnino, MD; Andrew H. Travers, MD, MSc; Ricardo A. Samson, MD; Steven M. Schexnayder, MD; Elizabeth
H. Sinz, MD; Jeff A. Woodin, NREMT-P; Dianne L. Atkins, MD; Farhan Bhanji, MD; Steven C. Brooks, MHSc, MD; Clifton W. Callaway,
MD, PhD; Allan R. de Caen, MD; Monica E. Kleinman, MD; Steven L. Kronick, MD, MS; Eric J. Lavonas, MD; Mark S. Link, MD;
Mary E. Mancini, RN, PhD; Laurie J. Morrison, MD, MSc; Robert W. Neumar, MD, PhD; Robert E. O’Connor, MD, MPH; Eunice M.
Singletary, MD; Myra H. Wyckoff, MD; and the AHA Guidelines Highlights Project Team.
© 2558 American Heart Association
ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 1
ภาพที่ 1
บทน�ำ
เอกสาร “ไฮไลท์ของแนวทาง” ฉบับนี้ได้สรุปประเด็นส�ำคัญและการเปลี่ยนแปลง
ใน แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ American Heart Association (AHA)
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาส�ำหรับผู้ด�ำเนินการกู้ชีพและส�ำหรับครู
ของ AHA เพื่อมุ่งเน้นวิทยาศาสตร์การกู้ชีพและค�ำแนะน�ำตามแนวทางที่ส�ำคัญที่
สุดหรือข้อโต้แย้ง หรือสิ่งที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติการกู้ชีพ
หรือการฝึกอบรมการกู้ชีพ นอกจากนี้ ยังระบุถึงเหตุผลส�ำหรับค�ำแนะน�ำด้วย
เนื่องจากเอกสารฉบับนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นบทสรุป จึงไม่ได้อ้างอิง
การวิจัยสนับสนุนที่ตีพิมพ์และไม่ได้แสดงประเภทของค�ำแนะน�ำหรือระดับของ
หลักฐาน ส�ำหรับข้อมูลโดยละเอียดและเอกสารอ้างอิง ขอเชิญชวนให้ผู้อ่าน
อ่าน แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 รวม
ถึง บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร1
ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ในเดือน
ตุลาคม 2558 ตลอดจนถึงดูบทสรุปโดยละเอียดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกู้ชีพ
ใน ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR)
และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อมกับ
ค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์พร้อมกัน
ในวารสาร Circulation2
และ Resuscitation3
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 อิงกับ
กระบวนการประเมินหลักฐานระหว่างประเทศที่ผู้ทบทวนหลักฐาน 250 คน
จาก 39 ประเทศมีส่วนร่วม กระบวนการในการทบทวนอย่างเป็นระบบ ส�ำหรับ
คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศด้านการกู้ชีพ (ILCOR) พ.ศ. 2558
แตกต่างอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการที่ใช้ใน พ.ศ. 2553 ส�ำหรับ
กระบวนการในการทบทวนอย่างเป็นระบบ พ.ศ. 2558 นั้น คณะท�ำงาน
เฉพาะกิจของ ILCOR ได้จัดล�ำดับความส�ำคัญของหัวข้อในการทบทวน โดย
เลือกหัวข้อที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หรือข้อโต้แย้งใหม่เพียงพอที่จะกระตุ้น
ให้ท�ำการทบทวนอย่างเป็นระบบ ผลของการจัดล�ำดับความส�ำคัญนี้ ท�ำให้มี
การทบทวนที่ด�ำเนินการเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2558 (166 รายการ) น้อยกว่าใน
พ.ศ. 2553 (274 รายการ)
ระบบการจ�ำแนกประเภทใหม่ของ AHA ส�ำหรับประเภทของค�ำแนะน�ำและระดับของหลักฐาน*
ระดับ (ความแข็งแรง) ของคำาแนะนำา
ระดับ I (ชัดเจน) ประโยชน์ >>> ความเสี่ยง
วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:
 ขอแนะนำ�
 มีข้อบ่งใช้/มีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี
 ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ
 วลีเปรียบเทียบประสิทธิผล†:
 ก�รรักษ�/แนวท�ง ก นั้นเป็นที่แนะนำ�/มีข้อบ่งชี้ม�กกว่� ก�รรักษ� ข
 ก�รรักษ� ก ควรจะถูกเลือกม�กกว่� ก�รรักษ� ข
ระดับ IIa (ปานกลาง) ประโยชน์ >> ความเสี่ยง
วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:
 มีเหตุผล
 น่�จะมีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี
 วลีเปรียบเทียบประสิทธิผล†:
 ก�รรักษ�/แนวท�ง ก นั้นอ�จจะเป็นที่แนะนำ�/มีข้อบ่งชี้ม�กกว่�
ก�รรักษ� ข
 มีเหตุผลที่จะเลือกก�รรักษ� ก ม�กกว่� ก�รรักษ� ข
ระดับ IIb (อ่อน) ประโยชน์ ≥ ความเสี่ยง
วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:
 อ�จ/อ�จจะมีเหตุผล
 อ�จ/อ�จพิจ�รณ�
 ประโยชน์/ประสิทธิผล ยังไม่เป็นที่ทร�บ/ไม่ชัดเจน/ไม่แน่นอน หรือ
ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
ระดับ III: ไม่มีประโยชน์ (ปานกลาง) ประโยชน์ = ความเสี่ยง
(โดยทั่วไป, ใช้ระดับของหลักฐาน A หรือ B เท่านั้น)
วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:
 ไม่แนะนำ�
 ไม่มีข้อบ่งใช้/มีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี
 ไม่ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ
ระดับ III: เป็นอันตราย (ชัดเจน) ความเสี่ยง > ประโยชน์
วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:
 มีโอก�สทำ�ให้เกิดอันตร�ยได้
 ทำ�ให้เกิดอันตร�ย
 เกี่ยวข้องกับก�รเพิ่มขึ้นของอัตร�ก�รเจ็บป่วย/อัตร�ก�รต�ย
 ไม่ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ
ระดับ (คุณภาพ) ของหลักฐาน‡
ระดับ A
 หลักฐ�นคุณภ�พ-สูง‡ จ�กม�กกว่� 1 ก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม
 ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภ�พ-สูง
 หนึ่ง หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมซึ่งยืนยันโดยก�รศึกษ�
ที่ได้รับก�รลงทะเบียนที่มีคุณภ�พ-สูง
ระดับ B-R (แบบสุ่ม)
 หลักฐ�นคุณภ�พ-ป�นกล�ง‡ จ�ก 1 หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบสุ่ม
มีกลุ่มควบคุม
 ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภ�พ-ป�นกล�ง
ระดับ B-NR (แบบไม่มีการสุ่ม)
 หลักฐ�นคุณภ�พ-ป�นกล�ง‡ จ�ก 1 หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบไม่มี
ก�รสุ่มที่มีก�รออกแบบที่ดีและก�รดำ�เนินก�รที่ดี, ก�รศึกษ�แบบสังเกต,
หรือก�รศึกษ�ที่ได้รับก�รลงทะเบียน
 ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รศึกษ�เหล่�นั้น
ระดับ C-LD (ข้อมูลที่มีอย่างจำากัด)
 ก�รศึกษ�แบบสังเกตแบบสุ่มหรือแบบไม่มีก�รสุ่ม หรือ ก�รศึกษ�ที่ได้รับ
ก�รลงทะเบียนที่มีข้อจำ�กัดในก�รออกแบบหรือก�รดำ�เนินก�ร
 ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รศึกษ�เหล่�นั้น
 ก�รศึกษ�ท�งสรีรวิทย�หรือกลไกในมนุษย์
ระดับ C-EO (ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ)
ฉันท�มติของคว�มเห็นของผู้เชี่ยวช�ญโดยอิงจ�กประสบก�รณ์ท�งคลินิก
ระดับคว�มแข็งแรงของคำ�แนะนำ�และระดับของหลักฐ�นจะถูกกำ�หนดโดยอิสระจ�กกัน (ระดับคว�ม
แข็งแรงของคำ�แนะนำ�ใดๆ อ�จถูกจับคู่กับระดับของหลักฐ�นใดๆ)
คำ�แนะนำ�ซึ่งมีระดับของหลักฐ�น C ไม่ได้หม�ยคว�มว่�คำ�แนะนำ�นั้นจะไม่หนักแน่น หล�ยคำ�ถ�ม
ท�งคลินิกที่สำ�คัญที่ได้กล่�วถึงในแนวท�งก�รปฏิบัติไม่เหม�ะสมกับก�รวิจัยท�งคลินิก อ�จจะมี
คว�มเห็นเป็นเอกฉันท์ท�งคลินิกที่ชัดเจนม�กว่�ก�รทดสอบหรือก�รรักษ�นั้นๆเป็นประโยชน์หรือ
มีประสิทธิภ�พแม้ว่�จะไม่มีผลก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม
* ผลลัพธ์หรือผลจ�กก�รให้ก�รรักษ�ควรจะชัดเจน (เป็นผลก�รรักษ�ที่ดีขึ้นหรือคว�มถูกต้องของ
ก�รวินิจฉัยเพิ่มขึ้นหรือข้อมูลเพื่อก�รพย�กรณ์โรคที่เพิ่มขึ้น)
† คำ�แนะนำ�สำ�หรับก�รเปรียบเทียบประสิทธิผล (ระดับคว�มแข็งแรงของคำ�แนะนำ� I และ IIa; ระดับ
ของหลักฐ�น A และ B เท่�นั้น), ก�รศึกษ�ที่สนับสนุนก�รใช้คำ�กริย�เพื่อใช้เปรียบเทียบควรจะ
เกี่ยวข้องกับก�รเปรียบเทียบโดยตรงของก�รรักษ�หรือก�รประเมินแผนก�รรักษ�
‡ วิธีก�รประเมินคุณภ�พมีก�รพัฒน�ขึ้น, รวมทั้งก�รประยุกต์ใช้เครื่องมือก�รให้คะแนนหลักฐ�นที่มี
ม�ตรฐ�น, มีก�รใช้กันอย่�งแพร่หล�ย และโดยเฉพ�ะอย่�งยิ่งตรวจสอบแล้ว; และก�รผนวกเข้�กัน
ของคณะกรรมก�รทบทวนหลักฐ�นสำ�หรับก�รทบทวนเอกส�รอย่�งเป็นระบบ
EO หม�ยถึง คว�มเห็นของผู้เชี่ยวช�ญ; LD หม�ยถึง ข้อมูลที่มีอย่�งจำ�กัด; NR หม�ยถึง แบบไม่มีก�รสุ่ม;
R หม�ยถึง แบบสุ่ม
2	 American Heart Association
ภาพที่ 2
การกระจายตัวของประเภทของประเภทของค�ำแนะน�ำ
และระดับของหลักฐานคิดเป็นร้อยละจากค�ำแนะน�ำ
ทั้งหมด 315 ค�ำแนะน�ำ จาก แนวทางของ AHA
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558
เมื่อเลือกหัวข้อได้แล้ว มีกระบวนการที่ส�ำคัญเพิ่มเติม 2 ข้อในกระบวนการ
ทบทวนใน พ.ศ. 2558 ประการแรกคือผู้ทบทวนใช้การจัดระดับ
การประเมินค�ำแนะน�ำ การพัฒนา และการประเมินผล (GRADE:
www.gradeworkinggroup.org) ซึ่งเป็นระบบการทบทวนหลักฐานที่มีการจัด
โครงสร้างอย่างดีและสามารถท�ำซ�้ำได้เพื่อปรับปรุงความสอดคล้องและคุณภาพ
ของการทบทวนอย่างเป็นระบบใน พ.ศ. 2558 ประการที่สอง ผู้ทบทวนจาก
ทั่วโลกสามารถท�ำงานร่วมกันในการทบทวนอย่างเป็นระบบได้จริง โดยใช้
แพลตฟอร์มบนเว็บ AHA ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์นี้ชื่อว่า ระบบประเมินผล
และทบทวนหลักฐานอย่างเป็นระบบ (SEERS) ซึ่งได้รับการออกแบบมา
เพื่อรองรับขั้นตอนจ�ำนวนมากในกระบวนการประเมินผล มีการใช้เว็บไซต์
SEERS ในการเผยแพร่ร่างเอกสาร ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การ
นวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดใน
ภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อมกับค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR)
ของ ILCOR ต่อสาธารณะ และใช้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะด้วยเช่นกัน
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEERS และดูรายการการทบทวน
อย่างเป็นระบบทั้งหมดที่ด�ำเนินการโดย ILCOR โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์
www.ilcor.org/seers
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรค
หัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2558 แตกต่างไปจากแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR)
และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ
AHA ฉบับก่อนหน้านี้อย่างมาก คณะกรรมการการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC Committee) เห็นว่าฉบับ พ.ศ. 2558 นี้
เป็นการปรับปรุงที่ด�ำเนินการเฉพาะหัวข้อที่ด�ำเนินการในการทบทวนหลักฐาน
ของ ILCOR พ.ศ. 2558 หรือหัวข้อที่ได้รับการร้องขอจากเครือข่ายการฝึกอบรม
การตัดสินใจนี้ท�ำให้มั่นใจว่าเรามีมาตรฐานในการประเมินหลักฐานเพียงหนึ่ง
เดียวเท่านั้น และนั่นคือกระบวนการที่สร้างขึ้นโดย ILCOR ดังนั้น แนวทาง
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดใน
ภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 จึงไม่ใช่การแก้ไข
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับ พ.ศ. 2553 อย่างครอบคลุม
เอกสารฉบับสมบูรณ์มีอยู่ในระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ ECCguidelines.heart.org
เอกสาร ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ
(CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อม
กับค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR) เริ่มกระบวนการทบทวน
วิทยาศาสตร์การกู้ชีพที่มีความต่อเนื่อง โดยจะมีการปรับปรุงหัวข้อที่ได้รับ
การทบทวนใน พ.ศ. 2558 ตามที่จ�ำเป็น ตลอดจนถึงมีการเพิ่มหัวข้อใหม่
ผู้อ่านจะต้องการติดตามเว็บไซด์ SEERS เพื่อให้ได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์การกู้ชีพและการประเมินผลของ ILCOR ในวิทยาศาสตร์
การกู้ชีพดังกล่าว เมื่อมีหลักฐานเพียงพอที่ระบุถึงความจ�ำเป็นในการ
เปลี่ยนแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรค
หัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA จะมีการด�ำเนินการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสื่อสารไปยังแพทย์และเครือข่ายการฝึกอบรม
แนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ใช้ค�ำจ�ำกัดความประเภทค�ำแนะน�ำและระดับ
ของหลักฐานเวอร์ชั่นล่าสุดของ AHA (ภาพที่ 1) ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าเวอร์ชั่นนี้มี
ค�ำแนะน�ำประเภทที่ 3 ที่ปรับปรุงคือ ไม่มีประโยชน์ ใช้ไม่บ่อยนักเมื่อหลักฐาน
บ่งชี้ว่ากลยุทธ์ที่สาธิตโดยการศึกษาที่มีคุณภาพปานกลางหรือสูง (ระดับของ
หลักฐาน [LOE] A หรือ B ตามล�ำดับ) ไม่ดีไปกว่ากลุ่มควบคุม มีการปรับปรุง
ระดับของหลักฐาน ปัจจุบันระดับของหลักฐาน B แบ่งเป็นระดับของหลักฐาน
B-R (การศึกษาแบบสุ่ม) และระดับของหลักฐาน B-NR (การศึกษาที่ไม่ใช่
แบบสุ่ม) ปัจจุบันระดับของหลักฐาน C แบ่งเป็นระดับของหลักฐาน C-LD
(ข้อมูลจ�ำกัด) และ C-EO (ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ)
ดังที่ได้สรุปความไว้ในรายงานของสถาบันทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ล่าสุด4
และการตอบสนองจากการส�ำรวจความคิดเห็นด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ต่อรายงานฉบับนี้5
ว่าจ�ำเป็น
ต้องด�ำเนินการอีกมากเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และแนวทางปฏิบัติด้านการกู้ชีพ
ให้ก้าวหน้าต่อไป ต้องมีความพยายามร่วมกันเพื่อจัดหาเงินทุนส�ำหรับการวิจัย
การกู้ชีพในภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเหมือนกับที่เคยขับเคลื่อนการวิจัยโรคมะเร็ง
และโรคหลอดเลือดสมองในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาค�ำแนะน�ำ
ในแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 (ภาพที่ 2) พบว่ามีช่องว่างในวิทยาศาสตร์
อย่างชัดเจน โดยรวมแล้ว ระดับของหลักฐานและประเภทของค�ำแนะน�ำใน
การกู้ชีพมีค่าต�่ำ เพียง 1% ของค�ำแนะน�ำทั้งหมดใน พ.ศ. 2558 (3 จาก 315)
โดยยึดตามระดับสูงสุดของหลักฐาน (LOE A) และเพียง 25% ของค�ำแนะน�ำ
(78 จาก 315) ซึ่งจัดเป็นประเภทที่ 1 (แนะน�ำอย่างยิ่ง) ค�ำแนะน�ำในแนวทาง
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ส่วนใหญ่ (69%) ได้รับการสนับสนุนโดยระดับต�่ำสุด
ของหลักฐาน (LOE C-LD หรือ C-EO) และเกือบครึ่ง (144 จาก 315, 45%)
จัดเป็นประเภท IIb (แนะน�ำอย่างไม่หนักแน่น)
ผู้เข้าร่วมยึดถือข้อก�ำหนดในการเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนของ AHA อย่าง
เคร่งครัดตลอดกระบวนการประเมินผลหลักฐานของคณะกรรมการประสานงาน
ระหว่างประเทศด้านการกู้ชีพ และการพัฒนาแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558
เจ้าหน้าที่ AHA ได้ประมวลผลการเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนมากกว่า 1000
รายการ และประธานของกลุ่มที่เขียนแนวทางทั้งหมดและสมาชิกของกลุ่มที่
เขียนแนวทางอย่างน้อย 50% ถูกก�ำหนดว่าจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
ที่เกี่ยวข้อง
ระดับ III: เป็นอันตราย
5%
ระดับ III: ไม่มี
ประโยชน์
2%
ระดับ IIb:
45%
ระดับ I:
25%
ระดับ IIa:
23%
ประเภทของค�ำแนะน�ำ พ.ศ. 2558
ระดับของหลักฐาน
C-ข้อมูลที่มีอย่างจ�ำกัด
46%
ระดับของ
หลักฐาน C-
ความเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญ
23%
ระดับของหลักฐาน
B-การศึกษา
แบบสุ่ม
15% ระดับของ
หลักฐาน B-
การศึกษาที่
ไม่มีการสุ่ม 15%
ระดับของหลักฐาน A
1%
ระดับของหลักฐาน
ร้อยละจากค�ำแนะน�ำทั้งหมด 315 ค�ำแนะน�ำ
ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 3
ภาพที่ 3
การจัดหมวดหมู่ของระบบการดูแล: SPSO
ประเด็นด้านจริยธรรม
ขณะที่แนวทางการปฏิบัติการกู้ชีพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพิจารณา
ด้านจริยธรรมก็จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาเช่นกัน การจัดการการตัดสินใจ
หลายอย่างเกี่ยวกับการกู้ชีพเป็นความท้าทายในหลายมุมมอง แต่ไม่มีอะไร
ท้าทายไปกว่าเมื่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (HCP) ด�ำเนินการกับการตัดสิน
ใจด้านจริยธรรมเพื่อให้หรือหยุดการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดฉุกเฉิน
ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับว่าจะเริ่มการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพหรือไม่ หรือ
จะหยุดเมื่อใด มีความซับซ้อนและอาจแตกต่างไปตามสถานการณ์ (ภายในหรือ
ภายนอกโรงพยาบาล) ผู้ด�ำเนินการ (พื้นฐานหรือขั้นสูง) และกลุ่มผู้ป่วย (ทารก
แรกเกิด เด็ก ผู้ใหญ่) ถึงแม้ว่าหลักการด้านจริยธรรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่มีการเผยแพร่แนวทางฉบับ พ.ศ. 2553 แต่มีการปรับปรุงข้อมูลที่
รายงานการหารือด้านจริยธรรมหลายครั้งตลอดกระบวนการทบทวนหลักฐาน
กระบวนการทบทวนหลักฐานของ ILCOR พ.ศ. 2558 และผลของแนวทาง
ฉบับปรับปรุงของ AHA ระบุถึงการปรับปรุงทางวิทยาศาสตร์หลายประการ
ซึ่งมีผลโดยนัยต่อการตัดสินใจด้านจริยธรรมส�ำหรับผู้ป่วยที่ใกล้ภาวะหัวใจ
หยุดท�ำงาน (periarrest) ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (arrest) และหลังภาวะหัวใจ
หยุดท�ำงาน (post arrest)
ค�ำแนะน�ำที่ปรับปรุงและค�ำแนะน�ำใหม่ที่ส�ำคัญ
ซึ่งอาจให้ข้อมูลในการตัดสินใจ ด้านจริยธรรม
•	 การท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพภายนอกร่างกาย (ECPR)
ส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
•	 ปัจจัยช่วยพยากรณ์โรคภายในภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
(Intra-arrest prognostic factors)
•	 การทบทวนหลักฐานเกี่ยวกับคะแนนการพยากรณ์โรคในทารก
ที่คลอดก่อนก�ำหนด
•	 การพยากรณ์โรคในเด็กและผู้ใหญ่หลังจากภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
•	 การท�ำงานของอวัยวะที่ปลูกถ่ายที่ฟื้นตัวหลังจากภาวะหัวใจหยุด
ท�ำงาน
กลยุทธ์ในการกู้ชีพแบบใหม่ เช่น การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพภายนอกร่างกาย
(ECPR) ท�ำให้การตัดสินใจหยุดมาตรการกู้ชีพซับซ้อนมากขึ้น (ดูหัวข้อ การช่วย
ให้ฟื้นคืนชีพจากโรคหัวใจ
หลอดเลือดขั้นสูงในผู้ใหญ่ ใน
เอกสารนี้) การท�ำความเข้าใจ
การใช้อย่างเหมาะสม สิ่งที่
เกี่ยวข้อง และผลประโยชน์ที่
เป็นไปได้ที่เกี่ยวกับการรักษา
แบบใหม่นั้นจะส่งผลกระทบ
ต่อการตัดสินใจ มีข้อมูลใหม่
เกี่ยวกับการพยากรณ์โรคใน
ทารกแรกเกิด เด็ก และผู้ใหญ่
ที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานและ
หลังจากภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
(ดูหัวข้อการช่วยให้ฟื้นคืนชีพ
จากโรคหัวใจหลอดเลือดขั้น
สูงในผู้ใหญ่ และการดูแลหลัง
ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน) การใช้
การจัดการให้ได้ตามอุณหภูมิ
เป้าหมาย (TTM) ที่เพิ่มขึ้น
ท�ำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ
ในการท�ำนายผลลัพธ์ทาง
ประสาทวิทยาในผู้ป่วยที่อยู่ใน
ภาวะโคม่าหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับประโยชน์ของการ
ทดสอบและการศึกษาเฉพาะจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมายของ
การดูแลและการรักษาที่จ�ำกัด
เป็นที่รับรู้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้เด็กและวัยรุ่นจะไม่สามารถท�ำการตัดสินใจที่
ผูกพันทางกฎหมายได้ แต่เด็กและวัยรุ่นก็ควรจะได้รับการแบ่งบันข้อมูลเท่าที่
เป็นไปได้ โดยใช้ภาษาและข้อมูลที่เหมาะสมส�ำหรับระดับพัฒนาการของผู้ป่วย
แต่ละคน นอกจากนี้ ได้มีการเปลี่ยนวลี ข้อจ�ำกัดในการดูแล เป็น ข้อจ�ำกัดใน
การรักษา และมีการเพิ่มการจัดเตรียมแบบฟอร์มค�ำสั่งแพทย์ส�ำหรับการรักษา
ชีวิตไว้ (POLST) ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการระบุบุคคลที่มีข้อจ�ำกัดที่เฉพาะเจาะจง
ในการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิตตามกฎหมายทั้งในและนอกสถานพยาบาล
แม้มีข้อมูลใหม่ว่าความส�ำเร็จในการปลูกถ่ายไตและตับจากผู้บริจาคที่เป็นผู้ใหญ่
ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ผู้บริจาคได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพหรือไม่ แต่การ
บริจาคอวัยวะหลังจากการกู้ชีพยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน มุมมองเกี่ยวกับข้อกังวล
ด้านจริยธรรมหลายข้อที่ยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะใน
สถานการณ์ฉุกเฉินสรุปอยู่ใน “ส่วนที่ 3: ประเด็นด้านจริยธรรม” ของแนวทาง
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558
ระบบการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพ
อย่างต่อเนื่อง
แนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 น�ำเสนอมุมมองใหม่ด้านระบบการดูแลที่
ท�ำให้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล (IHCAs) ต่างกับภาวะหัวใจ
หยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล (OHCAs) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไฮไลท์
ส�ำคัญ ได้แก่
•	 การแบ่งประเภทระบบการดูแลแบบสากล
•	 การแบ่งแยกแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องส�ำหรับผู้ใหญ่โดย AHA
ของการรอดชีวิตเป็น 2 เหตุการณ์ต่อเนื่อง เหตุการณ์ต่อเนื่อง
หนึ่งส�ำหรับระบบการดูแลภายในโรงพยาบาล และอีกเหตุการณ์
ต่อเนื่องหนึ่งส�ำหรับระบบการดูแลภายนอกโรงพยาบาล
•	 การทบทวนหลักฐานที่ดีที่สุดว่ามีการทบทวนระบบการดูแลภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงานเหล่านี้อย่างไร โดยเน้นที่ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST-segment elevation (STEMI)
และโรคหลอดเลือดสมอง
โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ
ผู้ป่วย
ผลลัพธ์
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บูรณาการ ความร่วมมือ การวัดผล เกณฑ์มาตรฐาน การแสดงความคิดเห็น
บุคลากร
การให้ความรู้
อุปกรณ์
เกณฑ์วิธี
นโยบาย
ขั้นตอน
แผนงาน
องค์กร
วัฒนธรรม
ความพึงพอใจ
คุณภาพ ความปลอดภัย
โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ ผลลัพธ์
4	 American Heart Association
ภาพที่ 4
เหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิตส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล (IHCA)
และภาวะหัวใจหยุดท�ำงานนอกโรงพยาบาล (OHCA)
องค์ประกอบของระบบการดูแล
2558 (ใหม่): มีการแสดงองค์ประกอบสากลของระบบการดูแลให้กับผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องโดยให้กรอบโครงร่วมเพื่อประกอบกันเป็นระบบการกู้ชีพที่สมบูรณ์
(ภาพที่ 3)
เหตุผล: การให้บริการทางสาธารณสุขต้องมีโครงสร้าง (เช่น คน เครื่องมือ
การศึกษา) และกระบวนการ (เช่น นโยบาย เกณฑ์วิธี ขั้นตอน) ซึ่งเมื่อครบถ้วน
สมบูรณ์แล้วจะท�ำให้เกิดระบบ (เช่น โครงการ หน่วยงาน วัฒนธรรม) ซึ่งน�ำไป
สู่ผลลัพธ์ที่เหมาะสม (เช่น การรอดชีวิตและความปลอดภัยของผู้ป่วย คุณภาพ
ความพึงพอใจ) ระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยองค์ประกอบ
ทั้งหมดเหล่านี้ ได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ และผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย
ในกรอบโครงการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิต
2558 (ใหม่): มีค�ำแนะน�ำให้แยกเหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิต (ภาพ
ที่ 4) ที่ระบุวิธีการดูแลที่ต่างกันส�ำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานภายใน
โรงพยาบาลกับที่เกิดในสถานการณ์ภายนอกโรงพบาบาล
เหตุผล: การดูแลผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงานทุกคนไม่ว่าจะเกิดภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงานที่ใด ต่างมารวมกันอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการดูแล
ผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงานจะด�ำเนินการโดยหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก
องค์ประกอบของโครงสร้างและกระบวนการที่จ�ำเป็นก่อนที่จะมาจบลงที่
โรงพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันมากระหว่าง 2 สถานการณ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงานจะพึ่งพาความช่วยเหลือของชุมชน ผู้ช่วยเหลือทั่วไปต้องรับรู้ว่า
เป็นภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ขอความช่วยเหลือ และเริ่มการนวดหัวใจผายปอด
กู้ชีพ และท�ำการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (เช่น การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่
สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ (PAD)) จนกระทั่งทีมผู้ให้บริการด้านการบริการ
ทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ที่เป็นมืออาชีพเข้ามารับผิดชอบ และส่งผู้ป่วยไปยัง
แผนกฉุกเฉิน และหรือ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ และที่สุดแล้วผู้ป่วยจะถูกส่งต่อ
ไปยังหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤตเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วย
ซึ่งเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลจะพึ่งพิงระบบการเฝ้าระวัง
ที่เหมาะสม (เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว หรือ ระบบการเตือนล่วงหน้า)
เพื่อป้องกันภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน หากมีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะ
พึ่งพิงการท�ำงานร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างแผนกและบริการต่างๆ ของสถาบัน
และพึ่งพิงทีมผู้ให้บริการมืออาชีพจากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ แพทย์
พยาบาล นักบ�ำบัดระบบหายใจ และอื่นๆ
การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเรียกตัวผู้ช่วยเหลือ
2558 (ใหม่): อาจมีเหตุผลที่ชุมชนจะน�ำเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์
มาใช้เรียกตัวผู้ช่วยเหลือซึ่งอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงาน และยินดีและสามารถ ท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพได้
เหตุผล: มีหลักฐานจ�ำนวนจ�ำกัดที่สนับสนุนการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยมีผู้รับ
เรื่องแจ้งไปยังผู้ช่วยเหลือที่มีศักยภาพต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานซึ่งอยู่ใกล้เคียง
และการกระตุ้นให้สื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้แสดงว่ามีการรอดชีวิตดีขึ้นจากภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดในประเทศสวีเดนพบว่ามีการ
ผูใหบริการดานสุขภาพขั้นพื้นฐาน ทีมกูชีพฉุกเฉิน หนวยดูแล
ผูปวยหนัก
หอง
ปฏิบัติการ
สวนหัวใจ
ภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล
ภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล
ผูชวยเหลือที่เปนบุคคลทั่วไป การบริการ
ทางการแพทย
ฉุกเฉิน
แผนก
ฉุกเฉิน
การเฝาระวังและ
การปองกัน
การรับรูและ
การแจงระบบตอบรับ
ฉุกเฉิน
การนวดหัวใจผายปอด
กูชีพที่มีคุณภาพสูง
อยางทันที
การกระตุนหัวใจ
ดวยไฟฟาอยางรวดเร็ว
การชวยชีวิตขั้นสูง
และการดูแลภายหลัง
ภาวะหัวใจหยุดทำงาน
การรับรูและ
การแจงระบบตอบรับ
ฉุกเฉิน
การนวดหัวใจผายปอด
กูชีพที่มีคุณภาพสูง
อยางทันที
การกระตุนหัวใจ
ดวยไฟฟาอยางรวดเร็ว
บริการการแพทย
ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน
และขั้นสูง
การชวยชีวิตขั้นสูง
และการดูแลภายหลัง
ภาวะหัวใจหยุดทำงาน
หอง
ปฏิบัติการ
สวนหัวใจ
หนวย
ดูแล
ผูปวยหนัก
ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 5
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญของอัตราการเริ่มนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพโดยผู้ประสบ
เหตุ เมื่อมีการใช้ระบบรับแจ้งเรื่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่6
จากอันตรายใน
ระดับต�่ำและประโยชน์ที่เป็นไปได้ ตลอดจนถึงอุปกรณ์ดิจิตอลที่พบได้ทั่วไป
เทศบาลเมืองต่างๆ ควรพิจารณาในการน�ำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบการ
ดูแลภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
การกู้ชีพเป็นทีม: ระบบสัญญาณเตือนล่วงหน้า
ทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน
2558 (ปรับปรุง): ส�ำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ ระบบทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (RRT)
หรือ ระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน (MET) สามารถมีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์
ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหอผู้ป่วยทั่วไป สถานพยาบาล
ซึ่งให้การดูแลเด็กที่มีการเจ็บป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในแผนกผู้ป่วยในทั่วไป ควร
พิจารณาจัดตั้งระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน/ทีมดูแลผู้ป่วยเด็กฉุกเฉิน อาจพิจารณาใช้
ระบบสัญญาณเตือนล่วงหน้าส�ำหรับผู้ใหญ่และเด็ก
2553 (เดิม): แม้มีหลักฐานที่ขัดแย้งกันอยู่ แต่ฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ
แนะน�ำให้มีการบ่งชี้ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานอย่างเป็นระบบ การ
ตอบสนองที่มีการจัดการอย่างดีส�ำหรับผู้ป่วยดังกล่าว และการประเมินผลลัพธ์
เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เหตุผล: มีการจัดตั้ง RRT หรือ MET ขึ้นเพื่อให้การรักษาระยะเริ่มแรก
แก่ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกแย่ลงโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะหัวใจ
หยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ทีมประกอบไปด้วยการรวมกันของแพทย์
พยาบาล และนักบ�ำบัดระบบหายใจ ตามปกติ ทีมเหล่านี้จะถูกเรียกตัวมาที่ข้าง
เตียงผู้ป่วยเมื่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยมีอาการแย่ลงอย่างเฉียบพลัน
โดยทั่วไป ทีมจะน�ำอุปกรณ์ตรวจสอบฉุกเฉินและอุปกรณ์กู้ชีพและยามาด้วย
ถึงแม้ว่าหลักฐานยังมีการพัฒนาต่อไป แต่พบว่าแนวคิดให้ทีมฝีกอบรมในท่าทาง
การกู้ชีพที่ซับซ้อนมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ก�ำหนด
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องส�ำหรับ
โครงการกู้ชีพ
2558 (การยืนยันของปี 2553): ควรก�ำหนดให้มีการประเมินระบบ
การกู้ชีพอย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงระบบการดูแล
เหตุผล: มีหลักฐานแสดงถึงความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่ส�ำคัญใน
เหตุการณ์ที่รายงานและผลลัพธ์ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสหรัฐฯ ความแตก
ต่างนี้แสดงถึงความจ�ำเป็นของชุมชนและระบบในการระบุการเกิดภาวะหัวใจหยุด
ท�ำงานที่ได้รับการรักษาอย่างแม่นย�ำ และการบันทึกผลลัพธ์ มีแนวโน้มส�ำหรับ
โอกาสในการปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตในหลายชุมชน
โครงการกู้ชีพที่ด�ำเนินการในชุมชนและโครงการกู้ชีพที่ด�ำเนินการใน
โรงพยาบาลควรตรวจสอบภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ระดับการดูแลระหว่างการกู้ชีพ
ที่ด�ำเนินการ และผลลัพธ์อย่างเป็นระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการประเมินและการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ การวัดผลหรือ
เกณฑ์มาตรฐาน และการวิเคราะห์ จ�ำเป็นต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง
เพื่อท�ำให้การดูแลระหว่างการกู้ชีพมีความเหมาะสม เพื่อลดช่องว่างระหว่าง
การปฏิบัติการกู้ชีพตามหลักการและตามความเป็นจริง
การแบ่งการดูแลตามภูมิภาค
2558 (การยืนยันของปี 2553): อาจพิจารณาวิธีการแบ่งตามภูมิภาค
ส�ำหรับการกู้ชีพภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน รวมถึงการใช้ศูนย์นวดหัวใจกู้ชีพ
เหตุผล: ศูนย์นวดหัวใจกู้ชีพ คือ โรงพยาบาลที่ท�ำการดูแลตามหลักฐาน
เชิงประจักษ์ในการกู้ชีพและการดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ได้แก่ ความ
สามารถที่จะท�ำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI)
ในเวลา 24 ชม. และ 7 วัน การจัดการให้ได้ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่มีปริมาณ
ผู้ป่วยต่อปีที่เพียงพอ และข้อตกลงในการปรับปรุงสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งรวมถึงการวัดผล เกณฑ์มาตรฐาน และทั้งการแสดงความคิดเห็นและการ
เปลี่ยนแปลงกระบวนการ โดยหวังว่าระบบการดูแลระหว่างการกู้ชีพจะ
ประสบความส�ำเร็จในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการ
ก�ำหนดระบบการดูแลอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและ
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพในผู้ใหญ่
คุณภาพ: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ
โดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป
สรุปย่อประเด็นและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ
ประเด็นและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญตามค�ำแนะน�ำในแนวทางฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2558 ส�ำหรับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพในผู้ใหญ่โดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป
มีดังต่อไปนี้
•	 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมโยงที่ส�ำคัญในแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง
ส�ำหรับผู้ใหญ่ของการรอดชีวิตภายนอกโรงพยาบาลไปจาก พ.ศ. 2553
โดยยังคงเน้นที่ขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ในผู้ใหญ่
•	 มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่เพื่อสะท้อน
ข้อเท็จจริงว่าผู้ช่วยเหลือสามารถกระตุ้นให้มีการตอบรับฉุกเฉินได้ (ได้แก่
โดยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่) โดยไม่ต้องออกห่างจากข้างกายผู้ป่วย
•	 มีค�ำแนะน�ำว่าชุมชนซึ่งมีผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานให้น�ำโครงการ
การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ (PAD) มาใช้
ปฏิบัติ
•	 มีการปรับปรุงค�ำแนะน�ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึง
การไม่ตอบสนองได้ในทันที การกระตุ้นระบบตอบรับฉุกเฉิน และการ
เริ่มต้นการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ถ้าผู้ช่วยเหลือทั่วไปพบว่าผู้ป่วย
ไม่ตอบสนองคือไม่หายใจหรือหายใจไม่เป็นปกติ (เช่น หายใจล�ำบาก)
•	 เพิ่มการเน้นย�้ำเกี่ยวกับการบ่งชี้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่อาจเกิดขึ้นได้
รวดเร็วโดยผู้รับเรื่องที่ให้การสอนวิธีการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพให้กับผู้โทร
ได้ในทันที (ได้แก่ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่อง
(dispatch-guided CPR))
•	 ยืนยันล�ำดับขั้นตอนที่แนะน�ำส�ำหรับผู้ช่วยเหลือคนเดียว โดยผู้ช่วยเหลือ
คนเดียวเริ่มกดที่หน้าอกก่อนการช่วยหายใจ (การกดหน้าอก (C) -
การเปิดทางเดินหายใจ (A) - การช่วยหายใจ (B) แทนที่จะเป็น การเปิด
ทางเดินหายใจ (A) - การช่วยหายใจ (B) - การเพิ่มการไหลเวียนเลือด
(C)) เพื่อไม่ให้การกดหน้าอกครั้งแรกช้าออกไป ผู้ช่วยเหลือคนเดียว
ควรเริ่มท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้ง
ตามด้วยการช่วยหายใจ 2 ครั้ง
•	 มีการเน้นย�้ำถึงลักษณะของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพที่มีคุณภาพสูง
โดยการกดหน้าอกในอัตราและความลึกเพียงพอ การให้หน้าอกขยายกลับ
ได้เต็มที่หลังจากการกดแต่ละครั้ง การลดการเว้นระยะในการกดหน้าอก
และการหลีกเลี่ยง การระบายลมมากเกินไป
•	 อัตราการกดหน้าอกที่แนะน�ำคือ 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที (เปลี่ยนแปลง
จากอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที)
•	 ค�ำแนะน�ำที่ชัดเจนส�ำหรับความลึกในการกดหน้าอก ส�ำหรับผู้ใหญ่คือ
อย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) แต่ไม่เกิน 2.4 นิ้ว (6 ซม.)
•	 อาจพิจารณาการให้ยานาโลโซนโดยผู้ประสบเหตุเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ซึ่งสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยากลุ่มสารสกัดจากฝิ่นที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
(suspected life-threatening opioid-associated emergencies)
6	 American Heart Association
มีการออกแบบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อท�ำให้การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือทั่วไป
ท�ำได้ง่ายและเพื่อเน้นความจ�ำเป็นของการกดหน้าอกในช่วงแรกที่ผู้ป่วยที่เกิด
ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานกะทันหัน มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
เหล่านี้แสดงไว้ด้านล่าง
ในหัวข้อต่อไปนี้ จะแสดงเครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้ที่การเปลี่ยนแปลง
หรือประเด็นส�ำคัญ ซึ่งเหมือนกันทั้งในผู้ช่วยเหลือทั่วไปและบุคลากรทาง
การแพทย์
โครงการเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจาก
ภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติส�ำหรับผู้ช่วยเหลือ
ทั่วไปในชุมชน
2558 (ปรับปรุง): มีค�ำแนะน�ำให้ด�ำเนินโครงการการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
ที่สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะส�ำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสถาน
ที่สาธารณะซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (เช่น สนามบิน
กาสิโน สถานที่ออกก�ำลังกาย)
2553 (เดิม): มีค�ำแนะน�ำให้ผู้ตอบสนองคนแรกในเหตุการณ์ความปลอดภัย
สาธารณะใช้การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วย
ไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ (AED) เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานกะทันหันนอกโรงพยาบาล แนวทาง พ.ศ. 2553
แนะน�ำให้จัดตั้งโครงการเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย
แบบอัตโนมัติในสถานที่สาธารณะซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบภาวะหัวใจหยุด
ท�ำงาน (เช่น สนามบิน บ่อนการพนัน สถานที่ออกก�ำลังกาย)
เหตุผล: มีหลักฐานที่ชัดเจนและสอดคล้องว่าการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นจากภาวะ
หัวใจหยุดท�ำงานเมื่อผู้ประสบเหตุท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและใช้เครื่อง
กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ดังนั้น
การเข้าถึงเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงทีจึงเป็นองค์ประกอบ
ส�ำคัญในระบบการดูแล การน�ำโครงการการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่สามารถ
เข้าถึงได้ในที่สาธารณะมาปฏิบัติจ�ำเป็นต้องมีองค์ประกอบส�ำคัญ 4 ข้อ ได้แก่
(1) การตอบสนองตามแบบแผนและได้รับการฝึกฝน ซึ่งตามหลักการจะรวมถึง
การบ่งชี้ต�ำแหน่งและบริเวณใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
การติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติใน
บริเวณเหล่านั้นและท�ำให้มั่นใจว่าผู้ประสบเหตุรับรู้ต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกระตุ้น
หัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ และโดยปกติแล้วได้รับการ
ดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ (2) การฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ
และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติให้
กับผู้ช่วยเหลือที่คาดไว้ (3) การเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์กับระบบการบริการทาง
การแพทย์ฉุกเฉินของท้องถิ่น และ (4) โครงการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
การเข้าถึงระบบการดูแลส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงานอาจรวมถึงนโยบาย
สาธารณะซึ่งสนับสนุนการแจ้งต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
จากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติสาธารณะต่อจุดเข้าถึงบริการสาธารณะ
(PSAP หรือ จุดเข้าถึงบริการสาธารณะ มาแทนที่ ศูนย์ส่งเจ้าหน้าที่ให้บริการ
ทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS dispatch center) ซึ่งสื่อความหมายไม่ตรงนัก)
นโยบายดังกล่าวจะท�ำให้จุดเข้าถึงบริการสาธารณะน�ำทางผู้ประสบเหตุไปยัง
เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติที่อยู่ใกล้เคียง
และช่วยในการใช้งานเมื่อมีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเกิดขึ้น เทศบาลเมืองหลาย
แห่ง ตลอดจนถึงรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ออกกฎหมายให้มีการติดตั้งเครื่อง
กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติในอาคารของเทศบาล
เมือง สถานที่สาธารณะขนาดใหญ่ สนามบิน กาสิโน และโรงเรียน 20% ของ
ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานซึ่งเกิดในที่สาธารณะ โครงการในชุมชนเหลานี้เป็น
สัญลักษณ์ของการเชื่อมโยงที่ส�ำคัญในแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอด
ชีวิต (Chain of Survival) ระหว่างการรับรู้และการกระตุ้นของจุดเข้าถึงบริการ
สาธารณะ ข้อมูลเหล่านี้มีรายละเอียดระบุไว้ใน “ส่วนที่ 4: ระบบการดูแลและ
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง” ในแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558
ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะน�ำหรือต่อต้านการเตรียมเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วย
ไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติไว้ในบ้าน ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
ซึ่งเกิดขึ้นในที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการกดหน้าอกน้อย
กว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสถานที่สาธารณะ การให้ค�ำแนะน�ำ
ตามเวลาจริงโดยผู้รับเรื่องฉุกเฉินอาจช่วยผู้ช่วยเหลือในบ้านที่มีศักยภาพให้เริ่ม
ปฏิบัติการได้ โครงการฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพส�ำหรับภาวะหัวใจ
หยุดท�ำงานของชุมชนที่เข้มแข็ง รวมกับเกณฑ์วิธีก่อนเจ้าหน้าที่จะไปถึงอาจให้
ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
การบ่งชี้อาการหายใจเฮือกโดยผู้รับเรื่อง
บางครั้งผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน จะแสดงอาการคล้ายอาการชักหรืออาการ
หายใจเฮือกซึ่งอาจท�ำให้ผู้ช่วยเหลือสับสน ผู้รับเรื่องควรได้รับการฝึกอบรมเป็น
พิเศษในการระบุอาการเหล่านี้ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเพื่อให้สามารถรับรู้ได้
ทันทีและท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องทันที
2558 (ปรับปรุง): ผู้รับเรื่องควรสอบถามเกี่ยวกับอาการขาดการตอบสนอง
ของผู้ป่วยและคุณภาพของการหายใจ (ปกติหรือไม่ปกติ) เพื่อช่วยให้ผู้ประสบเหตุ
รับรู้ถึงภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองร่วมกับไม่หายใจหรือหายใจ
ผิดปกติ ผู้ช่วยเหลือและผู้รับเรื่องควรสันนิษฐานว่าผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุด
ท�ำงาน ควรมีการฝึกอบรมผู้รับเรื่องให้สามารถบ่งชี้อาการขาดการตอบสนองร่วม
กับอาการหายใจเฮือกและผิดปกติทั้งในด้านอาการแสดงทางคลินิกและลักษณะ
ทั่วไป
2553 (เดิม): เพื่อช่วยให้ผู้ประสบเหตุรับรู้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ผู้รับเรื่อง
ควรสอบถามเกี่ยวกับการตอบสนองของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ว่าผู้ป่วยหายใจอยู่หรือ
ไม่ และการหายใจปกติหรือไม่ โดยพยายามแยกผู้ป่วยที่มีอาการหายใจเฮือก
(เช่น ผู้ที่จ�ำเป็นต้องได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ) จากผู้ป่วยที่หายใจปกติ
และไม่จ�ำเป็นต้องได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ
เหตุผล: การเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากแนวทาง พ.ศ. 2553 โดยเน้นบทบาท
ที่ผู้รับเรื่องฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือทั่วไปให้รับรู้ว่าไม่หายใจ
หรือหายใจผิดปกติ
ควรมีการฝึกอบรมผู้รับเรื่องเป็นพิเศษให้สามารถช่วยผู้ประสบเหตุรับรู้ว่าอาการ
หายใจเฮือกเป็นอาการแสดงของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ผู้รับเรื่องควรตระหนัก
ว่าอาการชักทั่วไปในเวลาสั้นๆ อาจเป็นอาการเริ่มแรกของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน
โดยสรุป นอกจากการกระตุ้นของผู้ตอบสนองฉุกเฉินแบบมืออาชีพแล้ว ผู้รับเรื่อง
ควรถามค�ำถามที่ตรงไปตรงมาว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองหรือไม่ และการหายใจ
ปกติหรือผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานและ
สามารถท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องได้
เน้นย�้ำการกดหน้าอก*
2558 (ปรับปรุง): ผู้ช่วยเหลือทั่วไปที่ไม่เคยรับการฝึกอบรมมาก่อนควร
ท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่างเดียว (ใช้มืออย่างเดียว)
ให้แก่ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานโดยท�ำตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องหรือ
ไม่ก็ได้ ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่าง
เดียวจนกว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติหรือ
ผู้ช่วยเหลือที่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมมาถึง อย่างน้อยที่สุดผู้ช่วยเหลือทั่วไป
ทั้งหมดควรท�ำการกดหน้าอกให้ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน นอกจากนี้
ถ้าผู้ช่วยเหลือทั่วไปที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถให้การช่วยหายใจ ผู้ช่วยเหลือ
นั้นควรท�ำการช่วยหายใจเพิ่มในอัตราส่วนการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วย
หายใจ 2 ครั้ง ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพอย่างต่อเนื่องจน
กระทั่งเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติมาถึงและ
พร้อมใช้งาน ผู้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้ามาดูแลผู้ป่วยแทน หรือผู้ป่วย
เริ่มขยับตัว
2553 (เดิม): ถ้าผู้ประสบเหตุไม่เคยรับการฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอด
กู้ชีพมาก่อน ผู้ประสบเหตุควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอก
อย่างเดียวส�ำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งล้มพับกะทันหัน โดยเน้นให้ “กดแรง
และเร็ว” ตรงกลางหน้าอก หรือท�ำตามค�ำสั่งของผู้รับเรื่องบริการทางการแพทย์
ฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่าง
เดียวจนกว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ
มาถึงและพร้อมใช้งานหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้ามาดูแลผู้ป่วย
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai
2015 aha-guidelines-highlights-thai

Contenu connexe

Tendances

ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์Utai Sukviwatsirikul
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นSutthiluck Kaewboonrurn
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โปรตอน บรรณารักษ์
 
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์taem
 
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510Utai Sukviwatsirikul
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical tracer highlight 2013
Clinical tracer highlight 2013Clinical tracer highlight 2013
Clinical tracer highlight 2013Warunee Eauchai
 
Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
แผ่นพับต่อมไทรอยด์
แผ่นพับต่อมไทรอยด์แผ่นพับต่อมไทรอยด์
แผ่นพับต่อมไทรอยด์parwaritfast
 

Tendances (20)

Cpg ped
Cpg pedCpg ped
Cpg ped
 
10 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
10 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง10 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
10 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017
 
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
QaพยาบาลเสนอจังหวัดQaพยาบาลเสนอจังหวัด
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
 
CPG COPD Thailand 2553
CPG COPD Thailand 2553CPG COPD Thailand 2553
CPG COPD Thailand 2553
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
 
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์
นวัตกรรมการพยาบาลฉุกเฉิน อ.สุนันทา สิริเวชพันธ์
 
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
Clinical tracer highlight 2013
Clinical tracer highlight 2013Clinical tracer highlight 2013
Clinical tracer highlight 2013
 
Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital Pediatric dose from angthong hospital
Pediatric dose from angthong hospital
 
Fte kan57
Fte kan57Fte kan57
Fte kan57
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...
แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผูปวย ที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร...
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
แผ่นพับต่อมไทรอยด์
แผ่นพับต่อมไทรอยด์แผ่นพับต่อมไทรอยด์
แผ่นพับต่อมไทรอยด์
 
ระบบยา
ระบบยาระบบยา
ระบบยา
 

En vedette

BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานBLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานPaleenui Jariyakanjana
 
Basic life support นพ.ธานินทร์
Basic life support นพ.ธานินทร์Basic life support นพ.ธานินทร์
Basic life support นพ.ธานินทร์Thanindesu Lokeskrawee
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009taem
 
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNeonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNarenthorn EMS Center
 
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16Imelda Wijaya
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgtechno UCH
 
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...Utai Sukviwatsirikul
 
Updates of 2015 PALS guidlines
Updates of 2015 PALS guidlinesUpdates of 2015 PALS guidlines
Updates of 2015 PALS guidlinesMarwa Elhady
 
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aid
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aidCPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aid
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aidNarenthorn EMS Center
 

En vedette (20)

BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานBLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
 
การช่วยฟื้นคืนชีพ
การช่วยฟื้นคืนชีพการช่วยฟื้นคืนชีพ
การช่วยฟื้นคืนชีพ
 
Cpr 2015
Cpr 2015Cpr 2015
Cpr 2015
 
PALS 2010
PALS 2010PALS 2010
PALS 2010
 
ACLS 2015
ACLS 2015ACLS 2015
ACLS 2015
 
Basic life support นพ.ธานินทร์
Basic life support นพ.ธานินทร์Basic life support นพ.ธานินทร์
Basic life support นพ.ธานินทร์
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009
 
Neonatal resuscitation 2015
Neonatal resuscitation 2015Neonatal resuscitation 2015
Neonatal resuscitation 2015
 
AHA CPR UPDATE 2015
AHA CPR UPDATE 2015AHA CPR UPDATE 2015
AHA CPR UPDATE 2015
 
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNeonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
 
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16
CPR 2015 oleh Bram, MD, Anesthesiologist 20.01.16
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekg
 
Autopulse
AutopulseAutopulse
Autopulse
 
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉ...
 
EKG in ACLS
EKG in ACLSEKG in ACLS
EKG in ACLS
 
CPR2015 update: Adult ACLS
CPR2015 update: Adult ACLSCPR2015 update: Adult ACLS
CPR2015 update: Adult ACLS
 
Acls update class 2015
Acls update class 2015Acls update class 2015
Acls update class 2015
 
Updates of 2015 PALS guidlines
Updates of 2015 PALS guidlinesUpdates of 2015 PALS guidlines
Updates of 2015 PALS guidlines
 
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aid
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aidCPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aid
CPR2015 update: BLS, CPR Quality and First aid
 
First aid by Narenthorn 2016
First aid by Narenthorn 2016First aid by Narenthorn 2016
First aid by Narenthorn 2016
 

Plus de Hummd Mdhum

ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100
ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100
ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100Hummd Mdhum
 
Patients with weakness
Patients with weaknessPatients with weakness
Patients with weaknessHummd Mdhum
 
Peripheral blood smear
Peripheral blood smearPeripheral blood smear
Peripheral blood smearHummd Mdhum
 
Newborn nt ปี 5
Newborn nt ปี 5Newborn nt ปี 5
Newborn nt ปี 5Hummd Mdhum
 
Survival for all draft 1 เล่ม 1
Survival for all draft 1 เล่ม 1Survival for all draft 1 เล่ม 1
Survival for all draft 1 เล่ม 1Hummd Mdhum
 
Gout ii acr 2012
Gout ii   acr 2012Gout ii   acr 2012
Gout ii acr 2012Hummd Mdhum
 
Gina pocket guide 2012
Gina pocket guide 2012Gina pocket guide 2012
Gina pocket guide 2012Hummd Mdhum
 
Atp iii guideline
Atp iii guidelineAtp iii guideline
Atp iii guidelineHummd Mdhum
 
Ada 2013 executive summary
Ada 2013 executive summaryAda 2013 executive summary
Ada 2013 executive summaryHummd Mdhum
 
020 normal and abnormal puerperium 2
020 normal and abnormal puerperium 2020 normal and abnormal puerperium 2
020 normal and abnormal puerperium 2Hummd Mdhum
 
007 laceration of the birth canal
007 laceration of the birth canal007 laceration of the birth canal
007 laceration of the birth canalHummd Mdhum
 
050 evaluation and management of sexual assault victims .....new
050 evaluation and management of sexual assault victims .....new050 evaluation and management of sexual assault victims .....new
050 evaluation and management of sexual assault victims .....newHummd Mdhum
 

Plus de Hummd Mdhum (20)

ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100
ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100
ข้อสอบNt จัดพิมพ์โดย med pnu3 goal100
 
Patients with weakness
Patients with weaknessPatients with weakness
Patients with weakness
 
DDX Paraplegia
DDX ParaplegiaDDX Paraplegia
DDX Paraplegia
 
Peripheral blood smear
Peripheral blood smearPeripheral blood smear
Peripheral blood smear
 
Newborn nt ปี 5
Newborn nt ปี 5Newborn nt ปี 5
Newborn nt ปี 5
 
Survival new
Survival newSurvival new
Survival new
 
Survival
SurvivalSurvival
Survival
 
Survival for all draft 1 เล่ม 1
Survival for all draft 1 เล่ม 1Survival for all draft 1 เล่ม 1
Survival for all draft 1 เล่ม 1
 
Gout i acr 2012
Gout i   acr 2012Gout i   acr 2012
Gout i acr 2012
 
Gout ii acr 2012
Gout ii   acr 2012Gout ii   acr 2012
Gout ii acr 2012
 
Gina pocket guide 2012
Gina pocket guide 2012Gina pocket guide 2012
Gina pocket guide 2012
 
Gerd 2004
Gerd 2004Gerd 2004
Gerd 2004
 
Dyspepsia 2010
Dyspepsia 2010Dyspepsia 2010
Dyspepsia 2010
 
Asthma 2012
Asthma 2012Asthma 2012
Asthma 2012
 
Ckd 2009
Ckd 2009Ckd 2009
Ckd 2009
 
Atp iii guideline
Atp iii guidelineAtp iii guideline
Atp iii guideline
 
Ada 2013 executive summary
Ada 2013 executive summaryAda 2013 executive summary
Ada 2013 executive summary
 
020 normal and abnormal puerperium 2
020 normal and abnormal puerperium 2020 normal and abnormal puerperium 2
020 normal and abnormal puerperium 2
 
007 laceration of the birth canal
007 laceration of the birth canal007 laceration of the birth canal
007 laceration of the birth canal
 
050 evaluation and management of sexual assault victims .....new
050 evaluation and management of sexual assault victims .....new050 evaluation and management of sexual assault victims .....new
050 evaluation and management of sexual assault victims .....new
 

2015 aha-guidelines-highlights-thai

  • 2. บทน�ำ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .1 ประเด็นด้านจริยธรรม. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3 ระบบการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่และคุณภาพในการนวดหัวใจ ผายปอดกู้ชีพ: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพโดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 5 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่และคุณภาพในการนวดหัวใจ ผายปอดกู้ชีพ: ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 8 เทคนิคทางเลือกและอุปกรณ์ช่วยเหลือส�ำหรับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ. . . . . . . 11 การช่วยชีวิตขั้นสูงส�ำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในผู้ใหญ่. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .13 การดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .15 ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 16 การกู้ชีพในสถานการณ์พิเศษ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 18 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในเด็กและคุณภาพในการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ. . . . . . . 20 การช่วยชีวิตขั้นสูงในเด็ก. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 23 การกู้ชีพในทารกแรกเกิด. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 25 การให้ความรู้. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 27 การปฐมพยาบาล. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 29 เอกสารอ้างอิง. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 32 สารบัญ กิตติกรรมประกาศ American Heart Association ขอขอบคุณบุคคลดังต่อไปนี้ที่ให้การสนับสนุนในการพัฒนาเอกสารนี้: Mary Fran Hazinski, RN, MSN; Michael Shuster, MD; Michael W. Donnino, MD; Andrew H. Travers, MD, MSc; Ricardo A. Samson, MD; Steven M. Schexnayder, MD; Elizabeth H. Sinz, MD; Jeff A. Woodin, NREMT-P; Dianne L. Atkins, MD; Farhan Bhanji, MD; Steven C. Brooks, MHSc, MD; Clifton W. Callaway, MD, PhD; Allan R. de Caen, MD; Monica E. Kleinman, MD; Steven L. Kronick, MD, MS; Eric J. Lavonas, MD; Mark S. Link, MD; Mary E. Mancini, RN, PhD; Laurie J. Morrison, MD, MSc; Robert W. Neumar, MD, PhD; Robert E. O’Connor, MD, MPH; Eunice M. Singletary, MD; Myra H. Wyckoff, MD; and the AHA Guidelines Highlights Project Team. © 2558 American Heart Association
  • 3. ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 1 ภาพที่ 1 บทน�ำ เอกสาร “ไฮไลท์ของแนวทาง” ฉบับนี้ได้สรุปประเด็นส�ำคัญและการเปลี่ยนแปลง ใน แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ American Heart Association (AHA) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาส�ำหรับผู้ด�ำเนินการกู้ชีพและส�ำหรับครู ของ AHA เพื่อมุ่งเน้นวิทยาศาสตร์การกู้ชีพและค�ำแนะน�ำตามแนวทางที่ส�ำคัญที่ สุดหรือข้อโต้แย้ง หรือสิ่งที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติการกู้ชีพ หรือการฝึกอบรมการกู้ชีพ นอกจากนี้ ยังระบุถึงเหตุผลส�ำหรับค�ำแนะน�ำด้วย เนื่องจากเอกสารฉบับนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นบทสรุป จึงไม่ได้อ้างอิง การวิจัยสนับสนุนที่ตีพิมพ์และไม่ได้แสดงประเภทของค�ำแนะน�ำหรือระดับของ หลักฐาน ส�ำหรับข้อมูลโดยละเอียดและเอกสารอ้างอิง ขอเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่าน แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 รวม ถึง บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร1 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ในเดือน ตุลาคม 2558 ตลอดจนถึงดูบทสรุปโดยละเอียดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกู้ชีพ ใน ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อมกับ ค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์พร้อมกัน ในวารสาร Circulation2 และ Resuscitation3 แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 อิงกับ กระบวนการประเมินหลักฐานระหว่างประเทศที่ผู้ทบทวนหลักฐาน 250 คน จาก 39 ประเทศมีส่วนร่วม กระบวนการในการทบทวนอย่างเป็นระบบ ส�ำหรับ คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศด้านการกู้ชีพ (ILCOR) พ.ศ. 2558 แตกต่างอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการที่ใช้ใน พ.ศ. 2553 ส�ำหรับ กระบวนการในการทบทวนอย่างเป็นระบบ พ.ศ. 2558 นั้น คณะท�ำงาน เฉพาะกิจของ ILCOR ได้จัดล�ำดับความส�ำคัญของหัวข้อในการทบทวน โดย เลือกหัวข้อที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หรือข้อโต้แย้งใหม่เพียงพอที่จะกระตุ้น ให้ท�ำการทบทวนอย่างเป็นระบบ ผลของการจัดล�ำดับความส�ำคัญนี้ ท�ำให้มี การทบทวนที่ด�ำเนินการเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2558 (166 รายการ) น้อยกว่าใน พ.ศ. 2553 (274 รายการ) ระบบการจ�ำแนกประเภทใหม่ของ AHA ส�ำหรับประเภทของค�ำแนะน�ำและระดับของหลักฐาน* ระดับ (ความแข็งแรง) ของคำาแนะนำา ระดับ I (ชัดเจน) ประโยชน์ >>> ความเสี่ยง วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:  ขอแนะนำ�  มีข้อบ่งใช้/มีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี  ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ  วลีเปรียบเทียบประสิทธิผล†:  ก�รรักษ�/แนวท�ง ก นั้นเป็นที่แนะนำ�/มีข้อบ่งชี้ม�กกว่� ก�รรักษ� ข  ก�รรักษ� ก ควรจะถูกเลือกม�กกว่� ก�รรักษ� ข ระดับ IIa (ปานกลาง) ประโยชน์ >> ความเสี่ยง วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:  มีเหตุผล  น่�จะมีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี  วลีเปรียบเทียบประสิทธิผล†:  ก�รรักษ�/แนวท�ง ก นั้นอ�จจะเป็นที่แนะนำ�/มีข้อบ่งชี้ม�กกว่� ก�รรักษ� ข  มีเหตุผลที่จะเลือกก�รรักษ� ก ม�กกว่� ก�รรักษ� ข ระดับ IIb (อ่อน) ประโยชน์ ≥ ความเสี่ยง วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:  อ�จ/อ�จจะมีเหตุผล  อ�จ/อ�จพิจ�รณ�  ประโยชน์/ประสิทธิผล ยังไม่เป็นที่ทร�บ/ไม่ชัดเจน/ไม่แน่นอน หรือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ระดับ III: ไม่มีประโยชน์ (ปานกลาง) ประโยชน์ = ความเสี่ยง (โดยทั่วไป, ใช้ระดับของหลักฐาน A หรือ B เท่านั้น) วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:  ไม่แนะนำ�  ไม่มีข้อบ่งใช้/มีประโยชน์/มีประสิทธิภ�พ/มีผลดี  ไม่ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ ระดับ III: เป็นอันตราย (ชัดเจน) ความเสี่ยง > ประโยชน์ วลีที่แนะนำ�สำ�หรับก�รเขียนคำ�แนะนำ�:  มีโอก�สทำ�ให้เกิดอันตร�ยได้  ทำ�ให้เกิดอันตร�ย  เกี่ยวข้องกับก�รเพิ่มขึ้นของอัตร�ก�รเจ็บป่วย/อัตร�ก�รต�ย  ไม่ควรจะดำ�เนินก�ร/ให้/อื่นๆ ระดับ (คุณภาพ) ของหลักฐาน‡ ระดับ A  หลักฐ�นคุณภ�พ-สูง‡ จ�กม�กกว่� 1 ก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม  ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภ�พ-สูง  หนึ่ง หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมซึ่งยืนยันโดยก�รศึกษ� ที่ได้รับก�รลงทะเบียนที่มีคุณภ�พ-สูง ระดับ B-R (แบบสุ่ม)  หลักฐ�นคุณภ�พ-ป�นกล�ง‡ จ�ก 1 หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม  ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภ�พ-ป�นกล�ง ระดับ B-NR (แบบไม่มีการสุ่ม)  หลักฐ�นคุณภ�พ-ป�นกล�ง‡ จ�ก 1 หรือม�กกว่�ของก�รวิจัยแบบไม่มี ก�รสุ่มที่มีก�รออกแบบที่ดีและก�รดำ�เนินก�รที่ดี, ก�รศึกษ�แบบสังเกต, หรือก�รศึกษ�ที่ได้รับก�รลงทะเบียน  ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รศึกษ�เหล่�นั้น ระดับ C-LD (ข้อมูลที่มีอย่างจำากัด)  ก�รศึกษ�แบบสังเกตแบบสุ่มหรือแบบไม่มีก�รสุ่ม หรือ ก�รศึกษ�ที่ได้รับ ก�รลงทะเบียนที่มีข้อจำ�กัดในก�รออกแบบหรือก�รดำ�เนินก�ร  ก�รวิเคร�ะห์อภิม�นของก�รศึกษ�เหล่�นั้น  ก�รศึกษ�ท�งสรีรวิทย�หรือกลไกในมนุษย์ ระดับ C-EO (ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ) ฉันท�มติของคว�มเห็นของผู้เชี่ยวช�ญโดยอิงจ�กประสบก�รณ์ท�งคลินิก ระดับคว�มแข็งแรงของคำ�แนะนำ�และระดับของหลักฐ�นจะถูกกำ�หนดโดยอิสระจ�กกัน (ระดับคว�ม แข็งแรงของคำ�แนะนำ�ใดๆ อ�จถูกจับคู่กับระดับของหลักฐ�นใดๆ) คำ�แนะนำ�ซึ่งมีระดับของหลักฐ�น C ไม่ได้หม�ยคว�มว่�คำ�แนะนำ�นั้นจะไม่หนักแน่น หล�ยคำ�ถ�ม ท�งคลินิกที่สำ�คัญที่ได้กล่�วถึงในแนวท�งก�รปฏิบัติไม่เหม�ะสมกับก�รวิจัยท�งคลินิก อ�จจะมี คว�มเห็นเป็นเอกฉันท์ท�งคลินิกที่ชัดเจนม�กว่�ก�รทดสอบหรือก�รรักษ�นั้นๆเป็นประโยชน์หรือ มีประสิทธิภ�พแม้ว่�จะไม่มีผลก�รวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม * ผลลัพธ์หรือผลจ�กก�รให้ก�รรักษ�ควรจะชัดเจน (เป็นผลก�รรักษ�ที่ดีขึ้นหรือคว�มถูกต้องของ ก�รวินิจฉัยเพิ่มขึ้นหรือข้อมูลเพื่อก�รพย�กรณ์โรคที่เพิ่มขึ้น) † คำ�แนะนำ�สำ�หรับก�รเปรียบเทียบประสิทธิผล (ระดับคว�มแข็งแรงของคำ�แนะนำ� I และ IIa; ระดับ ของหลักฐ�น A และ B เท่�นั้น), ก�รศึกษ�ที่สนับสนุนก�รใช้คำ�กริย�เพื่อใช้เปรียบเทียบควรจะ เกี่ยวข้องกับก�รเปรียบเทียบโดยตรงของก�รรักษ�หรือก�รประเมินแผนก�รรักษ� ‡ วิธีก�รประเมินคุณภ�พมีก�รพัฒน�ขึ้น, รวมทั้งก�รประยุกต์ใช้เครื่องมือก�รให้คะแนนหลักฐ�นที่มี ม�ตรฐ�น, มีก�รใช้กันอย่�งแพร่หล�ย และโดยเฉพ�ะอย่�งยิ่งตรวจสอบแล้ว; และก�รผนวกเข้�กัน ของคณะกรรมก�รทบทวนหลักฐ�นสำ�หรับก�รทบทวนเอกส�รอย่�งเป็นระบบ EO หม�ยถึง คว�มเห็นของผู้เชี่ยวช�ญ; LD หม�ยถึง ข้อมูลที่มีอย่�งจำ�กัด; NR หม�ยถึง แบบไม่มีก�รสุ่ม; R หม�ยถึง แบบสุ่ม
  • 4. 2 American Heart Association ภาพที่ 2 การกระจายตัวของประเภทของประเภทของค�ำแนะน�ำ และระดับของหลักฐานคิดเป็นร้อยละจากค�ำแนะน�ำ ทั้งหมด 315 ค�ำแนะน�ำ จาก แนวทางของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 เมื่อเลือกหัวข้อได้แล้ว มีกระบวนการที่ส�ำคัญเพิ่มเติม 2 ข้อในกระบวนการ ทบทวนใน พ.ศ. 2558 ประการแรกคือผู้ทบทวนใช้การจัดระดับ การประเมินค�ำแนะน�ำ การพัฒนา และการประเมินผล (GRADE: www.gradeworkinggroup.org) ซึ่งเป็นระบบการทบทวนหลักฐานที่มีการจัด โครงสร้างอย่างดีและสามารถท�ำซ�้ำได้เพื่อปรับปรุงความสอดคล้องและคุณภาพ ของการทบทวนอย่างเป็นระบบใน พ.ศ. 2558 ประการที่สอง ผู้ทบทวนจาก ทั่วโลกสามารถท�ำงานร่วมกันในการทบทวนอย่างเป็นระบบได้จริง โดยใช้ แพลตฟอร์มบนเว็บ AHA ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์นี้ชื่อว่า ระบบประเมินผล และทบทวนหลักฐานอย่างเป็นระบบ (SEERS) ซึ่งได้รับการออกแบบมา เพื่อรองรับขั้นตอนจ�ำนวนมากในกระบวนการประเมินผล มีการใช้เว็บไซต์ SEERS ในการเผยแพร่ร่างเอกสาร ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การ นวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดใน ภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อมกับค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR) ของ ILCOR ต่อสาธารณะ และใช้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะด้วยเช่นกัน หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEERS และดูรายการการทบทวน อย่างเป็นระบบทั้งหมดที่ด�ำเนินการโดย ILCOR โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ilcor.org/seers แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรค หัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 แตกต่างไปจากแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับก่อนหน้านี้อย่างมาก คณะกรรมการการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC Committee) เห็นว่าฉบับ พ.ศ. 2558 นี้ เป็นการปรับปรุงที่ด�ำเนินการเฉพาะหัวข้อที่ด�ำเนินการในการทบทวนหลักฐาน ของ ILCOR พ.ศ. 2558 หรือหัวข้อที่ได้รับการร้องขอจากเครือข่ายการฝึกอบรม การตัดสินใจนี้ท�ำให้มั่นใจว่าเรามีมาตรฐานในการประเมินหลักฐานเพียงหนึ่ง เดียวเท่านั้น และนั่นคือกระบวนการที่สร้างขึ้นโดย ILCOR ดังนั้น แนวทาง การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดใน ภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 จึงไม่ใช่การแก้ไข แนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ฉบับ พ.ศ. 2553 อย่างครอบคลุม เอกสารฉบับสมบูรณ์มีอยู่ในระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ ECCguidelines.heart.org เอกสาร ฉันทามตินานาชาติด้านวิทยาศาสตร์การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) พร้อม กับค�ำแนะน�ำการรักษา พ.ศ. 2558 (COSTAR) เริ่มกระบวนการทบทวน วิทยาศาสตร์การกู้ชีพที่มีความต่อเนื่อง โดยจะมีการปรับปรุงหัวข้อที่ได้รับ การทบทวนใน พ.ศ. 2558 ตามที่จ�ำเป็น ตลอดจนถึงมีการเพิ่มหัวข้อใหม่ ผู้อ่านจะต้องการติดตามเว็บไซด์ SEERS เพื่อให้ได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การกู้ชีพและการประเมินผลของ ILCOR ในวิทยาศาสตร์ การกู้ชีพดังกล่าว เมื่อมีหลักฐานเพียงพอที่ระบุถึงความจ�ำเป็นในการ เปลี่ยนแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรค หัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA จะมีการด�ำเนินการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสื่อสารไปยังแพทย์และเครือข่ายการฝึกอบรม แนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ใช้ค�ำจ�ำกัดความประเภทค�ำแนะน�ำและระดับ ของหลักฐานเวอร์ชั่นล่าสุดของ AHA (ภาพที่ 1) ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าเวอร์ชั่นนี้มี ค�ำแนะน�ำประเภทที่ 3 ที่ปรับปรุงคือ ไม่มีประโยชน์ ใช้ไม่บ่อยนักเมื่อหลักฐาน บ่งชี้ว่ากลยุทธ์ที่สาธิตโดยการศึกษาที่มีคุณภาพปานกลางหรือสูง (ระดับของ หลักฐาน [LOE] A หรือ B ตามล�ำดับ) ไม่ดีไปกว่ากลุ่มควบคุม มีการปรับปรุง ระดับของหลักฐาน ปัจจุบันระดับของหลักฐาน B แบ่งเป็นระดับของหลักฐาน B-R (การศึกษาแบบสุ่ม) และระดับของหลักฐาน B-NR (การศึกษาที่ไม่ใช่ แบบสุ่ม) ปัจจุบันระดับของหลักฐาน C แบ่งเป็นระดับของหลักฐาน C-LD (ข้อมูลจ�ำกัด) และ C-EO (ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ) ดังที่ได้สรุปความไว้ในรายงานของสถาบันทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ล่าสุด4 และการตอบสนองจากการส�ำรวจความคิดเห็นด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน (ECC) ของ AHA ต่อรายงานฉบับนี้5 ว่าจ�ำเป็น ต้องด�ำเนินการอีกมากเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และแนวทางปฏิบัติด้านการกู้ชีพ ให้ก้าวหน้าต่อไป ต้องมีความพยายามร่วมกันเพื่อจัดหาเงินทุนส�ำหรับการวิจัย การกู้ชีพในภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเหมือนกับที่เคยขับเคลื่อนการวิจัยโรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมองในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาค�ำแนะน�ำ ในแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 (ภาพที่ 2) พบว่ามีช่องว่างในวิทยาศาสตร์ อย่างชัดเจน โดยรวมแล้ว ระดับของหลักฐานและประเภทของค�ำแนะน�ำใน การกู้ชีพมีค่าต�่ำ เพียง 1% ของค�ำแนะน�ำทั้งหมดใน พ.ศ. 2558 (3 จาก 315) โดยยึดตามระดับสูงสุดของหลักฐาน (LOE A) และเพียง 25% ของค�ำแนะน�ำ (78 จาก 315) ซึ่งจัดเป็นประเภทที่ 1 (แนะน�ำอย่างยิ่ง) ค�ำแนะน�ำในแนวทาง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ส่วนใหญ่ (69%) ได้รับการสนับสนุนโดยระดับต�่ำสุด ของหลักฐาน (LOE C-LD หรือ C-EO) และเกือบครึ่ง (144 จาก 315, 45%) จัดเป็นประเภท IIb (แนะน�ำอย่างไม่หนักแน่น) ผู้เข้าร่วมยึดถือข้อก�ำหนดในการเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนของ AHA อย่าง เคร่งครัดตลอดกระบวนการประเมินผลหลักฐานของคณะกรรมการประสานงาน ระหว่างประเทศด้านการกู้ชีพ และการพัฒนาแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ AHA ได้ประมวลผลการเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนมากกว่า 1000 รายการ และประธานของกลุ่มที่เขียนแนวทางทั้งหมดและสมาชิกของกลุ่มที่ เขียนแนวทางอย่างน้อย 50% ถูกก�ำหนดว่าจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ที่เกี่ยวข้อง ระดับ III: เป็นอันตราย 5% ระดับ III: ไม่มี ประโยชน์ 2% ระดับ IIb: 45% ระดับ I: 25% ระดับ IIa: 23% ประเภทของค�ำแนะน�ำ พ.ศ. 2558 ระดับของหลักฐาน C-ข้อมูลที่มีอย่างจ�ำกัด 46% ระดับของ หลักฐาน C- ความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ 23% ระดับของหลักฐาน B-การศึกษา แบบสุ่ม 15% ระดับของ หลักฐาน B- การศึกษาที่ ไม่มีการสุ่ม 15% ระดับของหลักฐาน A 1% ระดับของหลักฐาน ร้อยละจากค�ำแนะน�ำทั้งหมด 315 ค�ำแนะน�ำ
  • 5. ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 3 ภาพที่ 3 การจัดหมวดหมู่ของระบบการดูแล: SPSO ประเด็นด้านจริยธรรม ขณะที่แนวทางการปฏิบัติการกู้ชีพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพิจารณา ด้านจริยธรรมก็จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาเช่นกัน การจัดการการตัดสินใจ หลายอย่างเกี่ยวกับการกู้ชีพเป็นความท้าทายในหลายมุมมอง แต่ไม่มีอะไร ท้าทายไปกว่าเมื่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (HCP) ด�ำเนินการกับการตัดสิน ใจด้านจริยธรรมเพื่อให้หรือหยุดการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดฉุกเฉิน ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับว่าจะเริ่มการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพหรือไม่ หรือ จะหยุดเมื่อใด มีความซับซ้อนและอาจแตกต่างไปตามสถานการณ์ (ภายในหรือ ภายนอกโรงพยาบาล) ผู้ด�ำเนินการ (พื้นฐานหรือขั้นสูง) และกลุ่มผู้ป่วย (ทารก แรกเกิด เด็ก ผู้ใหญ่) ถึงแม้ว่าหลักการด้านจริยธรรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่มีการเผยแพร่แนวทางฉบับ พ.ศ. 2553 แต่มีการปรับปรุงข้อมูลที่ รายงานการหารือด้านจริยธรรมหลายครั้งตลอดกระบวนการทบทวนหลักฐาน กระบวนการทบทวนหลักฐานของ ILCOR พ.ศ. 2558 และผลของแนวทาง ฉบับปรับปรุงของ AHA ระบุถึงการปรับปรุงทางวิทยาศาสตร์หลายประการ ซึ่งมีผลโดยนัยต่อการตัดสินใจด้านจริยธรรมส�ำหรับผู้ป่วยที่ใกล้ภาวะหัวใจ หยุดท�ำงาน (periarrest) ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (arrest) และหลังภาวะหัวใจ หยุดท�ำงาน (post arrest) ค�ำแนะน�ำที่ปรับปรุงและค�ำแนะน�ำใหม่ที่ส�ำคัญ ซึ่งอาจให้ข้อมูลในการตัดสินใจ ด้านจริยธรรม • การท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพภายนอกร่างกาย (ECPR) ส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน • ปัจจัยช่วยพยากรณ์โรคภายในภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (Intra-arrest prognostic factors) • การทบทวนหลักฐานเกี่ยวกับคะแนนการพยากรณ์โรคในทารก ที่คลอดก่อนก�ำหนด • การพยากรณ์โรคในเด็กและผู้ใหญ่หลังจากภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน • การท�ำงานของอวัยวะที่ปลูกถ่ายที่ฟื้นตัวหลังจากภาวะหัวใจหยุด ท�ำงาน กลยุทธ์ในการกู้ชีพแบบใหม่ เช่น การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพภายนอกร่างกาย (ECPR) ท�ำให้การตัดสินใจหยุดมาตรการกู้ชีพซับซ้อนมากขึ้น (ดูหัวข้อ การช่วย ให้ฟื้นคืนชีพจากโรคหัวใจ หลอดเลือดขั้นสูงในผู้ใหญ่ ใน เอกสารนี้) การท�ำความเข้าใจ การใช้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ เกี่ยวข้อง และผลประโยชน์ที่ เป็นไปได้ที่เกี่ยวกับการรักษา แบบใหม่นั้นจะส่งผลกระทบ ต่อการตัดสินใจ มีข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับการพยากรณ์โรคใน ทารกแรกเกิด เด็ก และผู้ใหญ่ ที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานและ หลังจากภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (ดูหัวข้อการช่วยให้ฟื้นคืนชีพ จากโรคหัวใจหลอดเลือดขั้น สูงในผู้ใหญ่ และการดูแลหลัง ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน) การใช้ การจัดการให้ได้ตามอุณหภูมิ เป้าหมาย (TTM) ที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ในการท�ำนายผลลัพธ์ทาง ประสาทวิทยาในผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะโคม่าหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับประโยชน์ของการ ทดสอบและการศึกษาเฉพาะจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมายของ การดูแลและการรักษาที่จ�ำกัด เป็นที่รับรู้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้เด็กและวัยรุ่นจะไม่สามารถท�ำการตัดสินใจที่ ผูกพันทางกฎหมายได้ แต่เด็กและวัยรุ่นก็ควรจะได้รับการแบ่งบันข้อมูลเท่าที่ เป็นไปได้ โดยใช้ภาษาและข้อมูลที่เหมาะสมส�ำหรับระดับพัฒนาการของผู้ป่วย แต่ละคน นอกจากนี้ ได้มีการเปลี่ยนวลี ข้อจ�ำกัดในการดูแล เป็น ข้อจ�ำกัดใน การรักษา และมีการเพิ่มการจัดเตรียมแบบฟอร์มค�ำสั่งแพทย์ส�ำหรับการรักษา ชีวิตไว้ (POLST) ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการระบุบุคคลที่มีข้อจ�ำกัดที่เฉพาะเจาะจง ในการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิตตามกฎหมายทั้งในและนอกสถานพยาบาล แม้มีข้อมูลใหม่ว่าความส�ำเร็จในการปลูกถ่ายไตและตับจากผู้บริจาคที่เป็นผู้ใหญ่ ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ผู้บริจาคได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพหรือไม่ แต่การ บริจาคอวัยวะหลังจากการกู้ชีพยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน มุมมองเกี่ยวกับข้อกังวล ด้านจริยธรรมหลายข้อที่ยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะใน สถานการณ์ฉุกเฉินสรุปอยู่ใน “ส่วนที่ 3: ประเด็นด้านจริยธรรม” ของแนวทาง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ระบบการดูแลและการปรับปรุงคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง แนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 น�ำเสนอมุมมองใหม่ด้านระบบการดูแลที่ ท�ำให้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล (IHCAs) ต่างกับภาวะหัวใจ หยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล (OHCAs) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไฮไลท์ ส�ำคัญ ได้แก่ • การแบ่งประเภทระบบการดูแลแบบสากล • การแบ่งแยกแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องส�ำหรับผู้ใหญ่โดย AHA ของการรอดชีวิตเป็น 2 เหตุการณ์ต่อเนื่อง เหตุการณ์ต่อเนื่อง หนึ่งส�ำหรับระบบการดูแลภายในโรงพยาบาล และอีกเหตุการณ์ ต่อเนื่องหนึ่งส�ำหรับระบบการดูแลภายนอกโรงพยาบาล • การทบทวนหลักฐานที่ดีที่สุดว่ามีการทบทวนระบบการดูแลภาวะ หัวใจหยุดท�ำงานเหล่านี้อย่างไร โดยเน้นที่ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST-segment elevation (STEMI) และโรคหลอดเลือดสมอง โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ ผู้ป่วย ผลลัพธ์ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง บูรณาการ ความร่วมมือ การวัดผล เกณฑ์มาตรฐาน การแสดงความคิดเห็น บุคลากร การให้ความรู้ อุปกรณ์ เกณฑ์วิธี นโยบาย ขั้นตอน แผนงาน องค์กร วัฒนธรรม ความพึงพอใจ คุณภาพ ความปลอดภัย โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ ผลลัพธ์
  • 6. 4 American Heart Association ภาพที่ 4 เหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิตส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล (IHCA) และภาวะหัวใจหยุดท�ำงานนอกโรงพยาบาล (OHCA) องค์ประกอบของระบบการดูแล 2558 (ใหม่): มีการแสดงองค์ประกอบสากลของระบบการดูแลให้กับผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องโดยให้กรอบโครงร่วมเพื่อประกอบกันเป็นระบบการกู้ชีพที่สมบูรณ์ (ภาพที่ 3) เหตุผล: การให้บริการทางสาธารณสุขต้องมีโครงสร้าง (เช่น คน เครื่องมือ การศึกษา) และกระบวนการ (เช่น นโยบาย เกณฑ์วิธี ขั้นตอน) ซึ่งเมื่อครบถ้วน สมบูรณ์แล้วจะท�ำให้เกิดระบบ (เช่น โครงการ หน่วยงาน วัฒนธรรม) ซึ่งน�ำไป สู่ผลลัพธ์ที่เหมาะสม (เช่น การรอดชีวิตและความปลอดภัยของผู้ป่วย คุณภาพ ความพึงพอใจ) ระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ทั้งหมดเหล่านี้ ได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการ ระบบ และผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย ในกรอบโครงการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิต 2558 (ใหม่): มีค�ำแนะน�ำให้แยกเหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอดชีวิต (ภาพ ที่ 4) ที่ระบุวิธีการดูแลที่ต่างกันส�ำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานภายใน โรงพยาบาลกับที่เกิดในสถานการณ์ภายนอกโรงพบาบาล เหตุผล: การดูแลผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงานทุกคนไม่ว่าจะเกิดภาวะ หัวใจหยุดท�ำงานที่ใด ต่างมารวมกันอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการดูแล ผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงานจะด�ำเนินการโดยหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก องค์ประกอบของโครงสร้างและกระบวนการที่จ�ำเป็นก่อนที่จะมาจบลงที่ โรงพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันมากระหว่าง 2 สถานการณ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะ หัวใจหยุดท�ำงานจะพึ่งพาความช่วยเหลือของชุมชน ผู้ช่วยเหลือทั่วไปต้องรับรู้ว่า เป็นภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ขอความช่วยเหลือ และเริ่มการนวดหัวใจผายปอด กู้ชีพ และท�ำการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (เช่น การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่ สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ (PAD)) จนกระทั่งทีมผู้ให้บริการด้านการบริการ ทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ที่เป็นมืออาชีพเข้ามารับผิดชอบ และส่งผู้ป่วยไปยัง แผนกฉุกเฉิน และหรือ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ และที่สุดแล้วผู้ป่วยจะถูกส่งต่อ ไปยังหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤตเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วย ซึ่งเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลจะพึ่งพิงระบบการเฝ้าระวัง ที่เหมาะสม (เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว หรือ ระบบการเตือนล่วงหน้า) เพื่อป้องกันภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน หากมีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะ พึ่งพิงการท�ำงานร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างแผนกและบริการต่างๆ ของสถาบัน และพึ่งพิงทีมผู้ให้บริการมืออาชีพจากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักบ�ำบัดระบบหายใจ และอื่นๆ การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเรียกตัวผู้ช่วยเหลือ 2558 (ใหม่): อาจมีเหตุผลที่ชุมชนจะน�ำเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ มาใช้เรียกตัวผู้ช่วยเหลือซึ่งอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดภาวะ หัวใจหยุดท�ำงาน และยินดีและสามารถ ท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพได้ เหตุผล: มีหลักฐานจ�ำนวนจ�ำกัดที่สนับสนุนการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยมีผู้รับ เรื่องแจ้งไปยังผู้ช่วยเหลือที่มีศักยภาพต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานซึ่งอยู่ใกล้เคียง และการกระตุ้นให้สื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้แสดงว่ามีการรอดชีวิตดีขึ้นจากภาวะ หัวใจหยุดท�ำงาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดในประเทศสวีเดนพบว่ามีการ ผูใหบริการดานสุขภาพขั้นพื้นฐาน ทีมกูชีพฉุกเฉิน หนวยดูแล ผูปวยหนัก หอง ปฏิบัติการ สวนหัวใจ ภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล ผูชวยเหลือที่เปนบุคคลทั่วไป การบริการ ทางการแพทย ฉุกเฉิน แผนก ฉุกเฉิน การเฝาระวังและ การปองกัน การรับรูและ การแจงระบบตอบรับ ฉุกเฉิน การนวดหัวใจผายปอด กูชีพที่มีคุณภาพสูง อยางทันที การกระตุนหัวใจ ดวยไฟฟาอยางรวดเร็ว การชวยชีวิตขั้นสูง และการดูแลภายหลัง ภาวะหัวใจหยุดทำงาน การรับรูและ การแจงระบบตอบรับ ฉุกเฉิน การนวดหัวใจผายปอด กูชีพที่มีคุณภาพสูง อยางทันที การกระตุนหัวใจ ดวยไฟฟาอยางรวดเร็ว บริการการแพทย ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน และขั้นสูง การชวยชีวิตขั้นสูง และการดูแลภายหลัง ภาวะหัวใจหยุดทำงาน หอง ปฏิบัติการ สวนหัวใจ หนวย ดูแล ผูปวยหนัก
  • 7. ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ(CPR)และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉิน(ECC)ของAHAฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558 5 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญของอัตราการเริ่มนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพโดยผู้ประสบ เหตุ เมื่อมีการใช้ระบบรับแจ้งเรื่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่6 จากอันตรายใน ระดับต�่ำและประโยชน์ที่เป็นไปได้ ตลอดจนถึงอุปกรณ์ดิจิตอลที่พบได้ทั่วไป เทศบาลเมืองต่างๆ ควรพิจารณาในการน�ำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบการ ดูแลภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน การกู้ชีพเป็นทีม: ระบบสัญญาณเตือนล่วงหน้า ทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน 2558 (ปรับปรุง): ส�ำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ ระบบทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (RRT) หรือ ระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน (MET) สามารถมีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์ ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหอผู้ป่วยทั่วไป สถานพยาบาล ซึ่งให้การดูแลเด็กที่มีการเจ็บป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในแผนกผู้ป่วยในทั่วไป ควร พิจารณาจัดตั้งระบบทีมแพทย์ฉุกเฉิน/ทีมดูแลผู้ป่วยเด็กฉุกเฉิน อาจพิจารณาใช้ ระบบสัญญาณเตือนล่วงหน้าส�ำหรับผู้ใหญ่และเด็ก 2553 (เดิม): แม้มีหลักฐานที่ขัดแย้งกันอยู่ แต่ฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ แนะน�ำให้มีการบ่งชี้ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานอย่างเป็นระบบ การ ตอบสนองที่มีการจัดการอย่างดีส�ำหรับผู้ป่วยดังกล่าว และการประเมินผลลัพธ์ เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เหตุผล: มีการจัดตั้ง RRT หรือ MET ขึ้นเพื่อให้การรักษาระยะเริ่มแรก แก่ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกแย่ลงโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะหัวใจ หยุดท�ำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ทีมประกอบไปด้วยการรวมกันของแพทย์ พยาบาล และนักบ�ำบัดระบบหายใจ ตามปกติ ทีมเหล่านี้จะถูกเรียกตัวมาที่ข้าง เตียงผู้ป่วยเมื่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยมีอาการแย่ลงอย่างเฉียบพลัน โดยทั่วไป ทีมจะน�ำอุปกรณ์ตรวจสอบฉุกเฉินและอุปกรณ์กู้ชีพและยามาด้วย ถึงแม้ว่าหลักฐานยังมีการพัฒนาต่อไป แต่พบว่าแนวคิดให้ทีมฝีกอบรมในท่าทาง การกู้ชีพที่ซับซ้อนมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ก�ำหนด การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องส�ำหรับ โครงการกู้ชีพ 2558 (การยืนยันของปี 2553): ควรก�ำหนดให้มีการประเมินระบบ การกู้ชีพอย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงระบบการดูแล เหตุผล: มีหลักฐานแสดงถึงความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่ส�ำคัญใน เหตุการณ์ที่รายงานและผลลัพธ์ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสหรัฐฯ ความแตก ต่างนี้แสดงถึงความจ�ำเป็นของชุมชนและระบบในการระบุการเกิดภาวะหัวใจหยุด ท�ำงานที่ได้รับการรักษาอย่างแม่นย�ำ และการบันทึกผลลัพธ์ มีแนวโน้มส�ำหรับ โอกาสในการปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตในหลายชุมชน โครงการกู้ชีพที่ด�ำเนินการในชุมชนและโครงการกู้ชีพที่ด�ำเนินการใน โรงพยาบาลควรตรวจสอบภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ระดับการดูแลระหว่างการกู้ชีพ ที่ด�ำเนินการ และผลลัพธ์อย่างเป็นระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประเมินและการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ การวัดผลหรือ เกณฑ์มาตรฐาน และการวิเคราะห์ จ�ำเป็นต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อท�ำให้การดูแลระหว่างการกู้ชีพมีความเหมาะสม เพื่อลดช่องว่างระหว่าง การปฏิบัติการกู้ชีพตามหลักการและตามความเป็นจริง การแบ่งการดูแลตามภูมิภาค 2558 (การยืนยันของปี 2553): อาจพิจารณาวิธีการแบ่งตามภูมิภาค ส�ำหรับการกู้ชีพภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน รวมถึงการใช้ศูนย์นวดหัวใจกู้ชีพ เหตุผล: ศูนย์นวดหัวใจกู้ชีพ คือ โรงพยาบาลที่ท�ำการดูแลตามหลักฐาน เชิงประจักษ์ในการกู้ชีพและการดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ได้แก่ ความ สามารถที่จะท�ำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) ในเวลา 24 ชม. และ 7 วัน การจัดการให้ได้ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่มีปริมาณ ผู้ป่วยต่อปีที่เพียงพอ และข้อตกลงในการปรับปรุงสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการวัดผล เกณฑ์มาตรฐาน และทั้งการแสดงความคิดเห็นและการ เปลี่ยนแปลงกระบวนการ โดยหวังว่าระบบการดูแลระหว่างการกู้ชีพจะ ประสบความส�ำเร็จในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการ ก�ำหนดระบบการดูแลอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพในผู้ใหญ่ คุณภาพ: การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ โดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป สรุปย่อประเด็นและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ประเด็นและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญตามค�ำแนะน�ำในแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ส�ำหรับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพในผู้ใหญ่โดยผู้ช่วยเหลือทั่วไป มีดังต่อไปนี้ • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมโยงที่ส�ำคัญในแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง ส�ำหรับผู้ใหญ่ของการรอดชีวิตภายนอกโรงพยาบาลไปจาก พ.ศ. 2553 โดยยังคงเน้นที่ขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ในผู้ใหญ่ • มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่เพื่อสะท้อน ข้อเท็จจริงว่าผู้ช่วยเหลือสามารถกระตุ้นให้มีการตอบรับฉุกเฉินได้ (ได้แก่ โดยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่) โดยไม่ต้องออกห่างจากข้างกายผู้ป่วย • มีค�ำแนะน�ำว่าชุมชนซึ่งมีผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงานให้น�ำโครงการ การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ (PAD) มาใช้ ปฏิบัติ • มีการปรับปรุงค�ำแนะน�ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึง การไม่ตอบสนองได้ในทันที การกระตุ้นระบบตอบรับฉุกเฉิน และการ เริ่มต้นการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ถ้าผู้ช่วยเหลือทั่วไปพบว่าผู้ป่วย ไม่ตอบสนองคือไม่หายใจหรือหายใจไม่เป็นปกติ (เช่น หายใจล�ำบาก) • เพิ่มการเน้นย�้ำเกี่ยวกับการบ่งชี้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานที่อาจเกิดขึ้นได้ รวดเร็วโดยผู้รับเรื่องที่ให้การสอนวิธีการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพให้กับผู้โทร ได้ในทันที (ได้แก่ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่อง (dispatch-guided CPR)) • ยืนยันล�ำดับขั้นตอนที่แนะน�ำส�ำหรับผู้ช่วยเหลือคนเดียว โดยผู้ช่วยเหลือ คนเดียวเริ่มกดที่หน้าอกก่อนการช่วยหายใจ (การกดหน้าอก (C) - การเปิดทางเดินหายใจ (A) - การช่วยหายใจ (B) แทนที่จะเป็น การเปิด ทางเดินหายใจ (A) - การช่วยหายใจ (B) - การเพิ่มการไหลเวียนเลือด (C)) เพื่อไม่ให้การกดหน้าอกครั้งแรกช้าออกไป ผู้ช่วยเหลือคนเดียว ควรเริ่มท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ตามด้วยการช่วยหายใจ 2 ครั้ง • มีการเน้นย�้ำถึงลักษณะของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพที่มีคุณภาพสูง โดยการกดหน้าอกในอัตราและความลึกเพียงพอ การให้หน้าอกขยายกลับ ได้เต็มที่หลังจากการกดแต่ละครั้ง การลดการเว้นระยะในการกดหน้าอก และการหลีกเลี่ยง การระบายลมมากเกินไป • อัตราการกดหน้าอกที่แนะน�ำคือ 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที (เปลี่ยนแปลง จากอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที) • ค�ำแนะน�ำที่ชัดเจนส�ำหรับความลึกในการกดหน้าอก ส�ำหรับผู้ใหญ่คือ อย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) แต่ไม่เกิน 2.4 นิ้ว (6 ซม.) • อาจพิจารณาการให้ยานาโลโซนโดยผู้ประสบเหตุเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยากลุ่มสารสกัดจากฝิ่นที่เป็นอันตรายต่อชีวิต (suspected life-threatening opioid-associated emergencies)
  • 8. 6 American Heart Association มีการออกแบบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อท�ำให้การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือทั่วไป ท�ำได้ง่ายและเพื่อเน้นความจ�ำเป็นของการกดหน้าอกในช่วงแรกที่ผู้ป่วยที่เกิด ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานกะทันหัน มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เหล่านี้แสดงไว้ด้านล่าง ในหัวข้อต่อไปนี้ จะแสดงเครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้ที่การเปลี่ยนแปลง หรือประเด็นส�ำคัญ ซึ่งเหมือนกันทั้งในผู้ช่วยเหลือทั่วไปและบุคลากรทาง การแพทย์ โครงการเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจาก ภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติส�ำหรับผู้ช่วยเหลือ ทั่วไปในชุมชน 2558 (ปรับปรุง): มีค�ำแนะน�ำให้ด�ำเนินโครงการการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า ที่สามารถเข้าถึงได้ในที่สาธารณะส�ำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสถาน ที่สาธารณะซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (เช่น สนามบิน กาสิโน สถานที่ออกก�ำลังกาย) 2553 (เดิม): มีค�ำแนะน�ำให้ผู้ตอบสนองคนแรกในเหตุการณ์ความปลอดภัย สาธารณะใช้การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วย ไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ (AED) เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานกะทันหันนอกโรงพยาบาล แนวทาง พ.ศ. 2553 แนะน�ำให้จัดตั้งโครงการเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย แบบอัตโนมัติในสถานที่สาธารณะซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบภาวะหัวใจหยุด ท�ำงาน (เช่น สนามบิน บ่อนการพนัน สถานที่ออกก�ำลังกาย) เหตุผล: มีหลักฐานที่ชัดเจนและสอดคล้องว่าการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นจากภาวะ หัวใจหยุดท�ำงานเมื่อผู้ประสบเหตุท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและใช้เครื่อง กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเข้าถึงเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงทีจึงเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญในระบบการดูแล การน�ำโครงการการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าที่สามารถ เข้าถึงได้ในที่สาธารณะมาปฏิบัติจ�ำเป็นต้องมีองค์ประกอบส�ำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ (1) การตอบสนองตามแบบแผนและได้รับการฝึกฝน ซึ่งตามหลักการจะรวมถึง การบ่งชี้ต�ำแหน่งและบริเวณใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน การติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติใน บริเวณเหล่านั้นและท�ำให้มั่นใจว่าผู้ประสบเหตุรับรู้ต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกระตุ้น หัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ และโดยปกติแล้วได้รับการ ดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ (2) การฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติให้ กับผู้ช่วยเหลือที่คาดไว้ (3) การเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์กับระบบการบริการทาง การแพทย์ฉุกเฉินของท้องถิ่น และ (4) โครงการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงระบบการดูแลส�ำหรับภาวะหัวใจหยุดท�ำงานอาจรวมถึงนโยบาย สาธารณะซึ่งสนับสนุนการแจ้งต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า จากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติสาธารณะต่อจุดเข้าถึงบริการสาธารณะ (PSAP หรือ จุดเข้าถึงบริการสาธารณะ มาแทนที่ ศูนย์ส่งเจ้าหน้าที่ให้บริการ ทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS dispatch center) ซึ่งสื่อความหมายไม่ตรงนัก) นโยบายดังกล่าวจะท�ำให้จุดเข้าถึงบริการสาธารณะน�ำทางผู้ประสบเหตุไปยัง เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติที่อยู่ใกล้เคียง และช่วยในการใช้งานเมื่อมีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเกิดขึ้น เทศบาลเมืองหลาย แห่ง ตลอดจนถึงรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ออกกฎหมายให้มีการติดตั้งเครื่อง กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติในอาคารของเทศบาล เมือง สถานที่สาธารณะขนาดใหญ่ สนามบิน กาสิโน และโรงเรียน 20% ของ ภาวะหัวใจหยุดท�ำงานซึ่งเกิดในที่สาธารณะ โครงการในชุมชนเหลานี้เป็น สัญลักษณ์ของการเชื่อมโยงที่ส�ำคัญในแผนภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องของการรอด ชีวิต (Chain of Survival) ระหว่างการรับรู้และการกระตุ้นของจุดเข้าถึงบริการ สาธารณะ ข้อมูลเหล่านี้มีรายละเอียดระบุไว้ใน “ส่วนที่ 4: ระบบการดูแลและ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง” ในแนวทางฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะน�ำหรือต่อต้านการเตรียมเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วย ไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติไว้ในบ้าน ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ซึ่งเกิดขึ้นในที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการกดหน้าอกน้อย กว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานในสถานที่สาธารณะ การให้ค�ำแนะน�ำ ตามเวลาจริงโดยผู้รับเรื่องฉุกเฉินอาจช่วยผู้ช่วยเหลือในบ้านที่มีศักยภาพให้เริ่ม ปฏิบัติการได้ โครงการฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพส�ำหรับภาวะหัวใจ หยุดท�ำงานของชุมชนที่เข้มแข็ง รวมกับเกณฑ์วิธีก่อนเจ้าหน้าที่จะไปถึงอาจให้ ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น การบ่งชี้อาการหายใจเฮือกโดยผู้รับเรื่อง บางครั้งผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน จะแสดงอาการคล้ายอาการชักหรืออาการ หายใจเฮือกซึ่งอาจท�ำให้ผู้ช่วยเหลือสับสน ผู้รับเรื่องควรได้รับการฝึกอบรมเป็น พิเศษในการระบุอาการเหล่านี้ของภาวะหัวใจหยุดท�ำงานเพื่อให้สามารถรับรู้ได้ ทันทีและท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องทันที 2558 (ปรับปรุง): ผู้รับเรื่องควรสอบถามเกี่ยวกับอาการขาดการตอบสนอง ของผู้ป่วยและคุณภาพของการหายใจ (ปกติหรือไม่ปกติ) เพื่อช่วยให้ผู้ประสบเหตุ รับรู้ถึงภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองร่วมกับไม่หายใจหรือหายใจ ผิดปกติ ผู้ช่วยเหลือและผู้รับเรื่องควรสันนิษฐานว่าผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุด ท�ำงาน ควรมีการฝึกอบรมผู้รับเรื่องให้สามารถบ่งชี้อาการขาดการตอบสนองร่วม กับอาการหายใจเฮือกและผิดปกติทั้งในด้านอาการแสดงทางคลินิกและลักษณะ ทั่วไป 2553 (เดิม): เพื่อช่วยให้ผู้ประสบเหตุรับรู้ภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ผู้รับเรื่อง ควรสอบถามเกี่ยวกับการตอบสนองของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ว่าผู้ป่วยหายใจอยู่หรือ ไม่ และการหายใจปกติหรือไม่ โดยพยายามแยกผู้ป่วยที่มีอาการหายใจเฮือก (เช่น ผู้ที่จ�ำเป็นต้องได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ) จากผู้ป่วยที่หายใจปกติ และไม่จ�ำเป็นต้องได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ เหตุผล: การเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากแนวทาง พ.ศ. 2553 โดยเน้นบทบาท ที่ผู้รับเรื่องฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือทั่วไปให้รับรู้ว่าไม่หายใจ หรือหายใจผิดปกติ ควรมีการฝึกอบรมผู้รับเรื่องเป็นพิเศษให้สามารถช่วยผู้ประสบเหตุรับรู้ว่าอาการ หายใจเฮือกเป็นอาการแสดงของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน ผู้รับเรื่องควรตระหนัก ว่าอาการชักทั่วไปในเวลาสั้นๆ อาจเป็นอาการเริ่มแรกของภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน โดยสรุป นอกจากการกระตุ้นของผู้ตอบสนองฉุกเฉินแบบมืออาชีพแล้ว ผู้รับเรื่อง ควรถามค�ำถามที่ตรงไปตรงมาว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองหรือไม่ และการหายใจ ปกติหรือผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงานและ สามารถท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องได้ เน้นย�้ำการกดหน้าอก* 2558 (ปรับปรุง): ผู้ช่วยเหลือทั่วไปที่ไม่เคยรับการฝึกอบรมมาก่อนควร ท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่างเดียว (ใช้มืออย่างเดียว) ให้แก่ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจหยุดท�ำงานโดยท�ำตามค�ำบอกของผู้รับเรื่องหรือ ไม่ก็ได้ ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่าง เดียวจนกว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติหรือ ผู้ช่วยเหลือที่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมมาถึง อย่างน้อยที่สุดผู้ช่วยเหลือทั่วไป ทั้งหมดควรท�ำการกดหน้าอกให้ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน นอกจากนี้ ถ้าผู้ช่วยเหลือทั่วไปที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถให้การช่วยหายใจ ผู้ช่วยเหลือ นั้นควรท�ำการช่วยหายใจเพิ่มในอัตราส่วนการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วย หายใจ 2 ครั้ง ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพอย่างต่อเนื่องจน กระทั่งเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติมาถึงและ พร้อมใช้งาน ผู้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้ามาดูแลผู้ป่วยแทน หรือผู้ป่วย เริ่มขยับตัว 2553 (เดิม): ถ้าผู้ประสบเหตุไม่เคยรับการฝึกอบรมการนวดหัวใจผายปอด กู้ชีพมาก่อน ผู้ประสบเหตุควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอก อย่างเดียวส�ำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งล้มพับกะทันหัน โดยเน้นให้ “กดแรง และเร็ว” ตรงกลางหน้าอก หรือท�ำตามค�ำสั่งของผู้รับเรื่องบริการทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือควรท�ำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพด้วยการกดหน้าอกอย่าง เดียวจนกว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติ มาถึงและพร้อมใช้งานหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้ามาดูแลผู้ป่วย