SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  202
พิ(ศ)พิธภัณฑ์
Museum Refocused
ISBN: 978-616-329-057-1
บรรณาธิการ
ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
กองบรรณาธิการ
ชนน์ชนก พลสิงห์ วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ อาทิตย์ เคนมี
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ อารยา คงแป้น
พิสูจน์อักษร
คีรีบูน วงษ์ชื่น
ออกแบบปก
สกลชนก เผื่อนพงษ์
ศิลปกรรม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
ภาพถ่าย
อนุชิต นิ่มตลุง		
จัดพิมพ์โดย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
www.ndmi.or.th
พิมพ์ครั้งแรก	 กันยายน 2558
จำ�นวนพิมพ์	 1,000 เล่ม
พิมพ์ที่	 ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์
ดำ�เนินการผลิตโดย
เปนไท พับลิชชิ่ง
Pen Thai Publishing
โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891
waymagazine@yahoo.com
www.waymagazine.org
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ภายใต้กำ�กับ
สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี
มีพันธกิจในการจัดตั้งและบริหารจัดการมิวเซียมสยาม สร้างความร่วมมือกับเครือข่าย
พิพิธภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ของประเทศ เผยแพร่วัฒนธรรม
สร้างสรรค์ และเสริมสร้างความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาแก่สังคมไทย
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการจัดประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษา
พิ(ศ)พิธภัณฑ์ หรือ Museum Refocused ซึ่งเป็นการประชุมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ทบทวนและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ 2) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑ์ระหว่างนักวิชาการและนักปฏิบัติการจากหลากสาขา
วิชา การประชุมดังกล่าวทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นต่างๆ ทางด้านพิพิธภัณฑ์ในภาพ
กว้าง ส่วนหนังสือเล่มนี้ ทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นที่เจาะจงสำ�หรับนักปฏิบัติการด้าน
พิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยจัดทำ�ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และเรียบเรียงความคิด แนวทาง
การทำ�งานของผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์จำ�นวน 9 เรื่อง
สำ�หรับคนทำ�งานด้านพิพิธภัณฑ์ หนังสือเล่มนี้เปิดให้เห็นวิธีคิดของคนทำ�
พิพิธภัณฑ์ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านนิทรรศการ ด้านการอนุรักษ์ ด้านกิจกรรม
การศึกษา ด้านการทำ�งานกับชุมชน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับผู้ชม ฯลฯ
สำ�หรับสาธารณชนที่สนใจหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์ หรือนักท่องพิพิธภัณฑ์ การ
ได้รับทราบส่วนเสี้ยวเบื้องหลังการทำ�งานพิพิธภัณฑ์ น่าจะทำ�ให้ท่านเที่ยวพิพิธภัณฑ์
ได้อย่างเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น
สพร. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือที่อยู่ในมือท่านเล่มนี้จะยังประโยชน์ให้ผู้อ่าน
ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยความตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์จะทำ�หน้าที่ของตัวเองอย่าง
เต็มที่ และสามารถสร้างวัฒนธรรมการหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์ขึ้นได้ในสังคมไทย
ก็ด้วยอาศัยความเข้าใจ ความสนับสนุน และการมีส่วนร่วมทั้งจากชุมชนพิพิธภัณฑ์
และสาธารณชนโดยรวม
ราเมศ พรหมเย็น
รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
และผู้อำ�นวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์	9
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน	
เพราะรัก...เพาะรู้	21
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง	
ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน	41
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ	
ผ้าที่นี่มีชีวิต 	 65
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 	
ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก 	85
หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน
ภัณฑารักษ์วิถี 	103
ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อิสระ
อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ	
หัวหอมในหอศิลป์ 	119
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร	
ดวงดาวของชาวสวน 	139
พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร	
เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต 	163
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)	
ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์ 	183
พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันที่ถือกำ�เนิดในสังคมไทยมาร่วมร้อยปีแล้ว จาก
จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้เห็นพิพิธภัณฑ์ในหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล พิพิธภัณฑ์ในวัด พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน
เส้นทางของพิพิธภัณฑ์ไทยไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ ในโลก การอนุรักษ์วัตถุ การ
จัดแสดง การเล่าเรื่อง การสื่อสารกับผู้ชม การให้การศึกษา การให้บริการแก่ผู้ชม ฯลฯ
เป็นประเด็นเชิงปฏิบัติการที่นักพิพิธภัณฑ์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นล้วนเผชิญ
ในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชนพิพิธภัณฑ์ไทย ฝ่ายวิชาการ มิวเซียมสยามคิดว่าน่า
จะทำ�หนังสือที่ ‘แกะกล่อง ถอดรหัส’ ความคิดของคนทำ�งานพิพิธภัณฑ์ ตามประเด็น
พิพิธภัณฑ์ศึกษาที่ร่ำ�เรียนกันมา เช่น เรื่องการวางแผน การให้การศึกษา การทำ�
นิทรรศการ การดูแลคลังวัตถุ การตลาด กิจกรรม ชุมชน ฯลฯ โดยตั้งเป้าว่าหนังสือ
เล่มนี้จะเสนอทั้งวิธีคิดและวิธีการ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำ�ไปทดลองและปรับใช้
เองได้ ทีมงานได้คัดเลือกประเด็นและคัดเลือกพิพิธภัณฑ์ที่เห็นว่าเด่นและน่าจะเป็น
ตัวแทนของประเด็นที่ตั้งใจไว้ แล้วสัมภาษณ์ บนเป้าหมายดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ เราพบว่าถึงแม้ว่าแต่ละพิพิธภัณฑ์จะมีข้อเด่น
แตกต่างกัน แต่เมื่อมองภาพกว้าง ก็พบว่ามีจุดร่วมกันไม่น้อย เป็นต้นว่าการสร้าง
ความรู้และปฏิบัติการในเงื่อนไขที่สังคมไทยเป็น ภายใต้ข้อจำ�กัดของงบประมาณ
ของความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่พอจะรองรับการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดของพิพิธภัณฑ์
ในขณะเดียวกันก็มีโจทย์ร่วมกันที่การสื่อสารความรู้ ออกไปสู่สังคมวงกว้าง ที่ไม่ได้มี
วัฒนธรรมของการใช้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ ทีมงานเห็นว่าประเด็นที่หยิบยกมา
ในที่นี้สะท้อนสภาวะของพิพิธภัณฑ์ในบริบทแบบ ‘ไทยๆ’ ได้อย่างน่าสังเกต กล่าวคือ
10
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน
วัตถุ ความรู้และการปรับตัว
วัตถุเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด เป็นสิ่งที่สร้างภาพจำ�ให้กับพิพิธภัณฑ์ เป็นเกณฑ์
ในการบ่งชี้ว่าที่ใดใช่หรือไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ การดูแล อนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์เป็น
ศาสตร์เฉพาะทาง และแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคพิพิธภัณฑ์เบ่งบาน แต่กลับมีพิพิธภัณฑ์
ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์ ห้องคลังเก็บวัตถุที่มี
มาตรฐานสากล พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น
หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว พิพิธภัณฑ์นี้ให้ความสำ�คัญกับขั้นตอนของการหาข้อมูล
เกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่งๆ ให้ความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดกับงานด้านการอนุรักษ์ จัดเก็บ
และการทำ�ทะเบียนเกี่ยวกับวัตถุแต่ละชิ้น นอกจากระบบทะเบียนแล้ว พิพิธภัณฑ์ผ้า
นำ�ระบบสืบค้นข้อมูลวัตถุด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้ อย่างไรก็ดี ใช่ว่าพิพิธภัณฑ์แบบอื่นๆ
จะไม่มีระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล วัตถุชิ้นหนึ่งๆ มีประวัติศาสตร์ของมัน ทั้งระดับ
ท้องถิ่น ภูมิภาค ชุมชน และบุคคล ข้อมูลเหล่านี้มักถูกจัดเก็บไว้ในระบบทะเบียนที่
‘มีชีวิต’ คือคลังความทรงจำ�ของภัณฑารักษ์ ซึ่งจะสูญสิ้นไปพร้อมกับตัวบุคคล แต่
หากพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดเก็บและสืบค้นแบบดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ก็จะทำ�ให้เกิดการ
สะสมความรู้ และเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุอย่างเป็นระบบ และสืบทอดต่อไปได้อย่างไม่
สิ้นสุด ไม่จบไปพร้อมกับภัณฑารักษ์ที่ดูแลพิพิธภัณฑ์
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ได้จากการพูดคุยที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ
นางเจ้าฯ คือการปรับตัว ปรับความรู้ให้เข้ากับพื้นถิ่น พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ
นางเจ้าฯ มีที่ปรึกษาเป็นชาวต่างชาติ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ส่วนหนึ่งได้รับมา
จาก ‘มาตรฐาน’ แบบตะวันตก หากในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีความรู้ใดที่สำ�เร็จรูป
ในการจัดเก็บพระภูษา พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พบว่าชั้นใต้ดินเป็นชั้น
ที่ไม่เหมาะกับการจัดเก็บวัตถุ เนื่องจากอากาศร้อนชื้นของเขตเส้นศูนย์สูตรก่อให้
เกิดความชื้นและรา
นอกจากนี้ยังมีแมลงประจำ�ถิ่นซึ่งแม้ว่าทางผู้เชี่ยวชาญตะวันตกจะได้ให้การ
อบรมเกี่ยวกับแมลงแล้ว แต่ในความเป็นจริง แมลงในเขตร้อนชื้นก็แตกต่างจากแมลง
ในอีกซีกโลกหนึ่ง จนถึงขั้นต้องออกแบบการสำ�รวจแมลงในพิพิธภัณฑ์เพื่อหาวิธีมา
จัดการกับแมลงเฉพาะทางเหล่านี้ ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานจริง จึงขยาย
ออกไปจากความรู้แบบที่ได้รับการฝึกฝนมา ซึ่งต่างจากโลกตะวันตก จะเห็นได้ว่า
ความรู้ที่ใช้ในพิพิธภัณฑ์มีพลวัตเสมอ แม้ในมิติที่เป็นเทคนิคซึ่งดูเหมือนจะสำ�เร็จรูป
11
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
ก็ตาม เมื่อนำ�ไปใช้ในท้องถิ่น ในสภาวะแวดล้อมหนึ่งๆ ย่อมถูกปรับแปลงให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมนั้นๆ
ความรู้และการเรียนรู้
สังคมไทยมีพิพิธภัณฑ์หลากหลายประเภท ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ก็มีหลากหลาย
บ้างเป็นเรื่องโบราณวัตถุ บ้างเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ บ้างเป็นเรื่องข้าวของเครื่องใช้
ของบุคคลสำ�คัญ บ้างเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน่วยงาน บ้างเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่น ฯลฯ
อย่างไรก็ดี หากเรามองเรื่องความรู้ให้พ้นไปจากการ ‘จัดแสดงเนื้อหา’ มาสู่ความคิด
เกี่ยวกับความรู้ และการเรียนรู้ น่าจะทำ�ให้เห็นที่มาที่ไปอันเป็นเบื้องใต้ของการจัด
แสดงความรู้ในพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งได้ดียิ่งขึ้น
หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน เน้นว่าเรื่องราวที่จะนำ�มาจัดนิทรรศการนั้น จะต้อง
มีความเชื่อมโยงระหว่าง อดีตและปัจจุบัน เก่ากับใหม่ รวมถึงคิดเชื่อมปัจจุบันกับ
อนาคตโดยที่ยึดโยงกับอดีตด้วย ในกระบวนการหาความรู้ที่นี่เน้นการวิจัยด้วยตนเอง
ก่อนที่จะนำ�ความรู้นั้นมาตีความและจัดแสดง ด้วยวิธีเช่นนี้ทำ�ให้ หอศิลป์ บ้านจิม
ทอมป์สัน สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมเกี่ยวข้องกับนิทรรศการได้อย่างน่าสนใจ
ส่วนที่ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร นั้น พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์
สุภาทโร เห็นว่าเมื่อมาที่นี่ผู้ชมควรได้รู้จักตัวตน อัตลักษณ์ของท้องถิ่น เข้าใจความ
เป็นท้องถิ่นว่าแตกต่างกับถิ่นอื่นอย่างไร อย่างไรก็ตามท่านตั้งคำ�ถามให้คิดว่าอะไร
และอย่างไรคือการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ในทัศนะของท่านจะคิดถึงการเรียนรู้แต่จากฝั่ง
ผู้ชมโดยไม่ได้คิดจากฝั่งคนทำ�พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ ผู้ชมจะเรียนรู้ได้ ผู้ทำ�จะต้องเรียนรู้ก่อน
ผู้ทำ�ต้องค้นคว้า ต้องตอบคำ�ถาม ต้องรับฟังคำ�ถามของคนชมพิพิธภัณฑ์ ต้องปรับ
เนื้อหา วัตถุ การนำ�ชมตามคำ�ถามของคนดู คือปรับทั้งความรู้และวิธีสื่อสาร เพื่อให้
ผู้ชมเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด หากก็ต้องรักษาประเด็นของตัวเองให้ชัด ในแง่นี้หมายความว่า
เนื้อหาในพิพิธภัณฑ์นั้น แม้จะเป็นนิทรรศการถาวร แต่จะไม่ใช่ความถาวรแบบหยุดนิ่ง
ตายตัว หากมีพลวัตจากการสื่อสารสองทางกับผู้ชมเสมอ
ส่วนที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นั้น ชัดเจนในพันธกิจว่า อพวช.
ไม่ได้ทำ�พิพิธภัณฑ์เพื่อช่วยเด็กทำ�การบ้านหรือเข้ามหาวิทยาลัย แต่เพื่อสร้างสังคม
แห่งการใช้เหตุผล หากพิพิธภัณฑ์จะเป็นที่ที่สร้างกระบวนการให้คนคิด พิพิธภัณฑ์
12
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน
จะต้องให้มากกว่าข้อมูล ความรู้ แต่ต้องสร้างความเข้าใจและความตระหนัก ต้องเน้น
การสร้างกระบวนการคิดแบบเป็นวิทยาศาสตร์ คือตั้งข้อสังเกต พิสูจน์ หาคำ�ตอบ อัน
จะทำ�ให้เห็นว่าวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่นำ�มา
ใช้ทำ�ความเข้าใจทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่เป็นวิทยาศาสตร์มากๆ หรือหัวข้อ
ทางสังคม เช่น ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แม้ว่าดูเผินๆ แล้ว ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง จะไม่ได้แตกต่างจาก
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วไป คือจัดแสดงสิ่งของและเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีของชุมชน
อัตลักษณ์ผู้คนที่นั่น แต่เมื่อพูดถึงประเด็นการเรียนรู้แล้ว พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง
เห็นว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องบูรณาการการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับสาระการเรียนรู้
ในหลักสูตรของนักเรียน มีการปรับหลักสูตรเพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้
นอกระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบได้ ที่น่าสนใจคือการใช้ข้าวของ
เครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์มาเป็นสื่อการเรียนรู้ ในแง่นี้ข้าวของเครื่องใช้จะมีหน้าที่อัน
สำ�คัญ ไม่ใช่เพียงของที่ตั้งโชว์ หรือของที่ต้องอนุรักษ์สงวนไว้ แต่เป็นของที่ถูกนำ�มา
เพื่อการเรียนรู้ ในมิติของการเรียนรู้แล้ว ข้าวของพวกนี้เชื่อมโยงอดีตให้เข้ากับปัจจุบัน
และเชื่อมโยงการศึกษานอกและในระบบเข้าด้วยกัน
จากประเด็นเรื่องการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ สะท้อนให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง
พยายามอย่างมากที่จะก้าวข้ามข้อท้าทายเกี่ยวกับวิถีของการเรียนรู้ของผู้ชมในสังคม
ไทย อีกนัยหนึ่ง เราสามารถมองเห็นสังคมไทย การรับรู้ การเรียนรู้ของคนไทยปัจจุบัน
ได้จากความพยายามที่จะทำ�งานกับกลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ เป็นต้นว่า
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งข้อสังเกตว่างานศิลปะแนว
avant-garde เป็นแนวที่ผู้ชมไม่สนใจดูเท่ากับงานแนวประเพณี ใช่หรือไม่ว่าคนไทย
ไม่ได้ถูกสอนให้คิดในเชิงมโนทัศน์ จึงไม่รู้สึกชื่นชมการแสดงของในงานศิลปะสกุลนี้
ส่วน อดีตภัณฑารักษ์จาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC) คิดกับ
เรื่องการจัดแสดงและการดีไซน์ว่าจะดึงความสนใจคนอย่างไร ให้อยู่กับนิทรรศการ
ให้นานที่สุด งานดีไซน์จึงเน้นให้ประสบการณ์การดูนิทรรศการเป็นประสบการณ์ที่
สนุกสนาน พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร ใช้วิธีจำ�กัดคนดู พระเป็น
ผู้นำ�ชมเองเพื่อโฟกัสความสนใจ ให้มีปฏิสัมพันธ์ เป็นการดึงคนไม่ให้หลุดและไปสนใจ
แต่เรื่องการถ่ายรูปตัวเองกับวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)
ไม่ได้เน้นจับกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบฉาบฉวย และเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีความ
สนใจในเนื้อหา พิพิธภัณฑ์ได้เตรียมสถานีความรู้ไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ ที่
13
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
โรงงานและในหมู่บ้าน โดยที่แต่ละจุดมีความเชื่อมต่อกัน กล่าวโดยย่อ โจทย์ของทุกคน
ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่อง ผู้ชม (audience) ว่าจะทำ�อย่างไรถึงจะดึงความสนใจของ
ผู้ชมที่แม้ว่าจะดั้นด้นมาจนถึงพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็ยังไม่ใช้เวลาเต็มที่กับความรู้เบื้องหน้า
ผู้ชมและการ ‘หมั้นหมาย’
ในภาพจำ�ของคนทั่วไป พิพิธภัณฑ์เป็นที่ของข้าวของมีค่า เป็นที่ของเรื่องราวจาก
อดีต เป็นที่ของผู้ทรงภูมิที่มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง และทำ�หน้าที่ ‘ให้’ ความรู้
นั้นกับผู้ชม หากในมุมของคนทำ�งานพิพิธภัณฑ์แล้ว พิพิธภัณฑ์เป็นมากกว่านั้น คน
ทำ�พิพิธภัณฑ์ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ใหญ่หรือเล็ก ต้องคิดถึงผู้ชมเป็นสำ�คัญ
พิพิธภัณฑ์ในอังกฤษหรืออเมริกาต้องหันมาคำ�นึงถึงความต้องการของผู้ชม สิ่งที่ผู้ชม
สนใจ กิจกรรมที่รองรับผู้ชมที่มีความหลากหลายทั้งวัย การศึกษา ข้อจำ�กัดทางกาย
ความต่างทางวัฒนธรรม จนแทบกล่าวได้ว่าอนาคตของพิพิธภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ชม
ในประเทศไทยก็เช่นกัน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งไม่ได้มองตัวเองเป็นองค์กรที่แยกอยู่
อย่างโดดเดี่ยว หากให้ความสนใจกับผู้ชมและสัมพันธ์กับผู้ชมในหลายระดับ หลาย
มิติด้วยกัน
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) มีการกำ�หนดกลุ่มเป้าหมาย
ที่ไม่ได้ดูแค่อายุแต่ดูไลฟ์สไตล์ ดูพฤติกรรมการรับสื่อ ดูความสนใจ จนเห็นความ
หลากหลายของกลุ่มผู้ชม และนำ�มาคิดงานที่รองรับความสนใจของคนที่แตกต่างกัน
ความพยายามที่จะรองรับกลุ่มคนที่แตกต่าง ส่งผลกลับไปที่การนิยามความหมายของ
ศิลปะ ว่าจะต้อง engage กับผู้คน และในบางครั้งศิลปะก็เป็นสื่อที่อาจสร้างปฏิสัมพันธ์
ระหว่างกลุ่มผู้ชมที่แตกต่างกันได้ด้วย ด้วยการคำ�นึงถึงผู้ชม หอศิลปวัฒนธรรม
แห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ปรับตัว ปรับวิธีการทำ�งาน จากการที่ภัณฑารักษ์
หรือกรรมการบริหารหน่วยงานเป็นผู้กำ�หนด มาเป็นการให้ความสำ�คัญกับผู้ชมว่า
เขาเป็นใคร เขาอยากรู้อะไร เขาใช้เวลากับอะไร จะสร้างงานที่ engage กับผู้ชมได้
อย่างไร จะให้เด็กเข้าใจศิลปะที่มีตัวเองเป็นหลักได้อย่างไร
ในประเทศไทย มีพิพิธภัณฑ์จำ�นวนไม่น้อยที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากวัตถุสิ่งของ
เลอค่า ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากของสะสม หากสร้างขึ้นมาจากวิกฤติ หรือสร้างจากการ
ที่มีการเผชิญกับภาวะอันไม่พึงใจบางอย่าง เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1
14
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน
(ฝาง) ที่เกิดขึ้นหลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ อาคารถูกกระแสน้ำ�ทำ�ลาย พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น
เพื่อชุบชีวิตให้โรงงาน และสร้างชีวิตใหม่ให้กับพื้นที่บ้านยางกลายเป็นแหล่งเรียนรู้
สำ�หรับทั้งคนในและคนนอกชุมชน เมื่อเวลาผ่านไป พิพิธภัณฑ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ในการพัฒนาชุมชน โดยในการพัฒนาระยะแรก พิพิธภัณฑ์เป็นผู้กำ�หนดและดำ�เนิน
โครงการ หากในภายหลังที่ชุมชนกับพิพิธภัณฑ์ทำ�งานร่วมกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น
จนถึงจุดที่ชุมชนมีข้อเสนอว่าชุมชนต้องการอะไร โครงการแบบไหนเหมาะสมที่
จะดำ�เนินการในพื้นที่ โครงการที่ชุมชนเสนอมักมาจากองค์ความรู้ของเขาที่มีต่อ
พื้นถิ่น เช่นเรื่องการทำ�ฝาย ชาวบ้านจะรู้มากกว่าว่าจะทำ�ฝายกั้นลำ�น้ำ�ไหน ส่วนใน
งานพิพิธภัณฑ์นั้น ชาวบ้านเสนอการทำ�หนังสือประวัติหมู่บ้าน ทำ�ห้องเรียนชุมชน
จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า พิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นฝ่ายที่ถ่ายทอด เอื้อมมือไปหาชุมชน
ฝ่ายเดียว ชุมชนเองก็เห็นพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของเขา เป็นหุ้นส่วนในการทำ�งาน
ของกันและกัน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ แม้จะเน้นว่ากลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน
และเยาวชน แต่คนที่ อพวช. ให้ความสำ�คัญมากและพยายามจัดความสัมพันธ์ให้ดี
คือกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากครูเป็นผู้นำ�เด็กมาพิพิธภัณฑ์ ครูคือ
ผู้สอน ผู้ให้การศึกษา อพวช. จึงทำ�งานกับครูด้วยการให้ครูมาช่วยทำ�กิจกรรม ช่วยทำ�
นิทรรศการ มาให้ความเห็น ผลิตสื่อ ออกแบบเนื้อหา ให้ข้อเสนอแนะต่อพิพิธภัณฑ์
สิ่งที่ อพวช. พยายามจะสร้างให้เกิดขึ้นกับกลุ่มครูนั้น มากไปกว่า ‘การมีส่วนร่วม’ แต่
ขยายไปสู่การสร้าง ‘ความเป็นเจ้าของ’ ร่วม พิพิธภัณฑ์เป็นของครูไม่น้อยไปกว่าเป็น
ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการ ‘หมั้นหมาย’ ที่ทั้งสองฝ่าย
ในคู่ความสัมพันธ์ต่างยื่นมือให้กันและกันเพื่อสร้างพันธสัญญาบางอย่างร่วมกัน
ปฏิบัติการ engage กับผู้ชมของพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น ทำ�ให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่
พื้นที่ที่สถิตความรู้ที่พิพิธภัณฑ์เป็นผู้ให้ฝ่ายเดียว ชุมชนหรือผู้ชมก็สามารถให้ความรู้
ให้การเรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์ได้ พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เป็นขุมคลังความรู้
ที่แยกจากผู้ชม หรือเป็นผู้ผลิตและบริการความรู้แก่สังคมเท่านั้น แต่อนาคตของ
พิพิธภัณฑ์ ความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์นั้น อยู่ได้ด้วยการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม
อย่างใกล้ชิด จนถึงระดับของความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ และด้วยการ
สร้างสำ�นึกเช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
15
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ชุมชน: คนนอกหรือคนใน
เมื่อพูดถึงพิพิธภัณฑ์ชุมชน หลายคนมีความเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนควรเป็น
สิ่งที่ชาวบ้านหรือคนในชุมชนทำ�เอง ทำ�เรื่องเกี่ยวกับชุมชน โดยชุมชน วัตถุประสงค์
คือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พบในความเป็นจริง
คือพิพิธภัณฑ์ชุมชนอาจไม่จำ�เป็นต้องทำ�โดยคนในชุมชนเสมอไป คนนอกชุมชนก็
สามารถทำ�พิพิธภณฑ์ชุมชนได้ หากเราจะนิยามพิพิธภัณฑ์ชุมชนจากกระบวนการ
ทำ�งานเป็นสำ�คัญ
ในหนังสือเล่มนี้ เราอาจแบ่งคนทำ�พิพิธภัณฑ์ชุมชนออกเป็นสองกลุ่มใหญ่
กลุ่มแรกคือกลุ่ม ‘คนใน’ คือคนในชุมชนเองที่ทำ�พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชุมชน กลุ่มนี้
ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร และ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง
ชุมชนเจริญไชย กลุ่มที่สองคือ ‘คนนอก’ หรือคนที่มาจากที่อื่น ไม่ใช่คนในชุมชน
เช่นที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง แต่ไม่ว่า
จะเป็นคนนอกหรือคนใน คนทำ�พิพิธภัณฑ์ก็มีวิธีทำ�งานที่ไม่ต่างกันนักคือต้องอ่าน
ถาม ฟัง สร้างความสัมพันธ์ ทำ�ความเข้าใจ กับคนในพื้นที่ กรณี พิพิธภัณฑ์เพื่อการ
ศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร แม้ว่าพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร จะเป็นคนในพื้นที่
เอง แต่ในกระบวนการทำ�พิพิธภัณฑ์ยังต้องหาวัตถุ หาข้อมูลเพิ่มจากคนเฒ่าคนแก่
ต้องเชิญคนจากชุมชนมาดูความถูกต้องของการจัดแสดง ต้องจัดหมุนเวียนวัตถุเพื่อ
ให้ญาติโยมสบายใจว่าข้าวของที่ตนเองบริจาคมาได้รับการจัดแสดง ที่ พิพิธภัณฑ์
บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ก็เช่นกัน ผู้ทำ�พิพิธภัณฑ์ต้องค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน
มีการทำ�ความเข้าใจกับชุมชนถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกระบวนการเชื่อมโยง
พิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับพื้นที่นี้ไม่ต่างจากที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) หรือ
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ซึ่งคนทำ�งานมาจาก ‘ที่อื่น’ เลย นอกเหนือจาก
การทำ�ความเข้าใจพื้นที่แล้ว การสร้างความเข้าใจให้คนชุมชนตระหนักเกี่ยวกับ
พิพิธภัณฑ์ และทำ�ให้ชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก็เป็นกระบวนการ
ที่พิพิธภัณฑ์ต้องสร้างขึ้น เช่น การร่วมบริจาคข้าวของให้พิพิธภัณฑ์ การฝึกเด็กให้
สามารถนำ�ชมนิทรรศการ เช่นที่ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เช่นที่ พิพิธภัณฑ์
บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ที่ต้องทำ�ความเข้าใจกับชุมชนนอกพิพิธภัณฑ์ เช่น
ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่คนนอกชุมชนได้ก้าวข้ามความเป็นคนนอกไป
16
จากเบื้องหลังคนทำ�งาน
ระดับหนึ่ง ไปสู่การทำ�งานที่ participate เกินงานในขอบเขตของพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น
สิ่งที่มีร่วมกันไม่ว่าจะคนนอกหรือคนในชุมชนทำ�คือการสัมพันธ์กับชุมชน คือการ
ตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้อยู่โดดๆ เป็นอิสระ ดำ�เนินการได้ตามใจของคนทำ�
พิพิธภัณฑ์โดยไม่ต้องสนใจชุมชน แม้ว่าชุมชนเองเห็นด้วย เห็นชอบกับการมีอยู่ของ
พิพิธภัณฑ์ ความ ‘ใส่ใจ’ นี้ยังต้องขยายไปถึงขั้นการรักษาความสัมพันธ์ ด้วยสำ�นึก
เช่นนี้ทำ�ให้พิพิธภัณฑ์ต้องรักษาความสัมพันธ์กับชุมชนในหลายมิติ ซึ่งในอีกทางหนึ่ง
ส่งผลให้การดำ�รงอยู่ของพิพิธภัณฑ์มีความชอบธรรมมากขึ้นในสำ�นึกของชุมชน
น่าสังเกตว่า เมื่อพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือของอะไรบางอย่าง เช่น การพัฒนา
การยืนยันอัตลักษณ์ชุมชน การต่อสู้ คนทำ�พิพิธภัณฑ์มีบทบาทมากกว่าการอนุรักษ์
ข้าวของ การเล่าเรื่อง การจัดแสดง หากบทบาทของเขาขยายไปสู่การเป็นนักสื่อสารที่
ต้องสื่อสารกับชุมชน สื่อสารกับคนนอก และต้องเป็นนักพัฒนาไปโดยปริยาย เพราะ
ขอบเขตของงานเป้าหมายของงานไม่ใช่แค่พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์แต่ขยายไปพ้นอาคารพ้น
รั้วพิพิธภัณฑ์ เวลาทำ�การของนักพิพิธภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ได้จบลงแค่เวลาปิด 16.30 น.
แต่บางคราอาจจะเป็นเสาร์อาทิตย์ เป็นการไปร่วมงานบวช งานแต่งงาน การขุดฝาย
การไปต่อรองกับเจ้าของที่ การไปจัดกิจกรรมกับครู นักเรียน การทำ�ค่าย บทบาท
ทางสังคมเหล่านี้ทำ�ให้ความหมายของคำ�ว่าภัณฑารักษ์ขยายไปมากกว่าความเข้าใจ
ในคำ�แต่ดั้งเดิม
ชีวิตพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
วลีหนึ่งที่เรามักจะได้ยินเสมอในหมู่คนทำ�พิพิธภัณฑ์คือ ต้องทำ�ให้พิพิธภัณฑ์
‘มีชีวิต’ แต่หากจะถามว่าอะไรคือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ อะไรทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
คำ�ตอบของแต่ละคนก็อาจจะต่างกันไป หากจะตอบจากคนทำ�พิพิธภัณฑ์ทั้ง 9 แห่ง
ก็อาจตอบได้ว่าพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตคือพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ไม่นิ่งในหลายๆ ระดับ
ทั้งระดับของการวิจัย การหาเรื่องมาเล่า การจัดแสดง การหมุนเวียนข้าวของ การ
สัมพันธ์กับชุมชน การ engage กับคนดู ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมและสำ�นึกถึงความ
เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ เหล่านี้คือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ในความหมายที่แท้จริงของการ
เป็น ‘พื้นที่การเรียนรู้’
17
‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์
สุดท้าย หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการนำ�เสนอวิธีคิดของคนทำ�พิพิธภัณฑ์ในบาง
เรื่อง และยังขาดคำ�ถามสำ�คัญอีกหลายเรื่องที่น่าจะนำ�มาสู่การหาคำ�ตอบต่อไป
เป็นต้นว่าพิพิธภัณฑ์ไทยจะรองรับการเรียนรู้ของผู้มีข้อจำ�กัดทางกายภาพอย่างไรได้
บ้าง เทคโนโลยีที่ซับซ้อนจำ�เป็นขนาดไหนกับการเรียนรู้ของผู้ชม การออกแบบการ
เรียนรู้สำ�หรับพิพิธภัณฑ์สำ�หรับทุกคนควรเป็นอย่างไร พิพิธภัณฑ์จะมีส่วนในการสร้าง
การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภาวะทางสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างไร
ได้บ้างคำ�ถามเหล่านี้และคำ�ถามอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกถามในที่นี้ล้วนรอให้ผู้ปฏิบัติการ
ทางวัฒนธรรมคิดและทำ� เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นอีกหนึ่ง cultural landscape ที่หยั่ง
รากลงไปในปริมณฑลของการเรียนรู้ในสังคมไทยอย่างแท้จริง
ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
18
เพราะรัก...เพาะรู้
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง
พิพิธภัณฑ์ที่ดีต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ต้อง
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อนุญาตให้เด็กนักเรียนจับต้องได้
ต้องมีการเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษา
ไม่ใช่ว่ามีแต่ของมาตั้งโชว์ พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�ให้
คนพื้นถิ่นรู้สึกว่าพวกเขาต้องช่วยกันเฝ้าระวัง
ทางวัฒนธรรม
อุบล ทรัพย์อินทร์
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง จังหวัด
สุพรรณบุรี โรงเรียนแห่งนี้มีประชากรตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ภายใน
พิพิธภัณฑ์แบ่งพื้นที่การจัดแสดงสิ่งของเป็น 3 ส่วน
อาคารแรก เป็นพื้นที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่อดีตถึง
ปัจจุบัน มีวัตถุจัดแสดงตั้งแต่เครื่องมือหินขัดที่พบในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาแล้ว
กระทั่งเครื่องใช้ร่วมสมัย เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ โทรศัพท์มือ
ถือ วิทยุ กล้องถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์ม พัดลม เครื่องพิมพ์ดีด จักรเย็บผ้า ฯลฯ
“ห้องนี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ของมนุษย์ในแถบนี้ค่ะ” นักเรียนหญิงชั้น
ป.5 ให้ข้อมูลด้วยเสน่ห์แบบสำ�เนียงสุพรรณฯ
อาคารที่ 2 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในอำ�เภอด่านช้าง มีบ้านเรือน
จำ�ลองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ละว้า และลาวครั่ง เครื่องแต่งกายที่สวมอยู่บน
หุ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสาม รวมถึงโครงกระดูกจำ�ลองซึ่งเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของ
นักเรียน
และอาคารที่ 3 จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน และวิถีชีวิตของ
ชาวด่านช้าง
เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผิน พิพิธภัณฑ์ด่านช้างไม่ได้ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ชุมชน
แห่งอื่น ที่จัดแสดงสิ่งของที่บอกเล่าความเป็นมา อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชุมชน
แต่สิ่งที่ทำ�ให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตขึ้นมาจากสิ่งของในอดีต คือการใช้สอยพื้นที่และ
เรื่องราวในพิพิธภัณฑ์เป็นห้องเรียน
เด็กนักเรียนที่นี่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ผ่านสิ่งของและเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 25
ยุคบุกเบิก
“ผอ.นพรัตน์ พิมพ์จุฬา ไปพบขวานหินที่ไร่มันสำ�ปะหลัง ท่านก็ให้กรมทรัพยากร
ธรณีพิสูจน์ ก็พบว่ามันมีอายุ 3,300 กว่าปี ตรงกับยุคหินใหม่” สิทถาพร ป้อมทอง
อดีตครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง ผู้เป็นครูในยุคบุกเบิกการ
ทำ�พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เล่าให้ฟังถึงจุดตั้งต้นในสมัยที่ นพรัตน์ พิมพ์จุฬา ผู้อำ�นวยการ
คนเก่าได้ริเริ่มจัดทำ�พิพิธภัณฑ์ที่บ่งบอกตัวตนในอดีตของอำ�เภอด่านช้าง จังหวัด
สุพรรณบุรี เพื่อบูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง
นอกจากความสนใจโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้เก่าๆ ที่พบในเขตอำ�เภอ
ด่านช้างของผู้อำ�นวยการคนเก่าแล้ว สิทถาพรยังเล่าว่า ในช่วงเวลานั้นทางโรงเรียน
เพราะรัก...เพาะรู้26
พิพิธภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร วิชาประวัติศาสตร์
นี่ก็ตรงกับสิ่งที่นำ�เสนอในพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว ภาษาไทยก็
ตรงกับพิพิธภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์
ของชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าภาษาอังกฤษเรียกว่า
อะไร วิชาสุขศึกษาก็วางโครงกระดูกของชาติพันธุ์เป็น
อนาโตมี คณิตศาสตร์เราสอนเรื่องทิศ เอาโม่หินใน
พิพิธภัณฑ์มาวางไว้ 8 ทิศ
ได้รับนโยบายจากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพฐ.) สุพรรณบุรี เขต 3 ให้มีการ
จัดกิจกรรมในวาระฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จึงได้เริ่มมีโครงการจัดนิทรรศการ
และศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของอำ�เภอด่านช้าง
ขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง
คณะครูรุ่นบุกเบิกอย่างอดีตผู้อำ�นวยการนพรัตน์และอดีตครูวิทยาศาสตร์อย่าง
สิทถาพร เริ่มสะสมข้าวของเครื่องใช้โบราณเข้ามายังโรงเรียนในปี 2550 พร้อมกับ
ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครองถึงจุดประสงค์ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อ
ร่วมบริจาค จนกระทั่งได้ของสะสมมากพอ พวกเขาทำ�การแยกหมวดหมู่สิ่งของ ซึ่ง
นำ�องค์ความรู้มาจากพิพิธภัณฑ์อู่ทอง เรียนรู้วิธีการจัดแยก วิธีการรักษาให้คงสภาพ
เดิม จนได้พื้นที่จัดแสดงในอาคารที่ 1
“ศูนย์แรกคือเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องปั้นดินเผาไล่เรียงตามการแบ่งยุคสมัย
ทางประวัติศาสตร์ เริ่มจากยุคหินใหม่ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ โดยมีเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์เป็นจุดอ้างอิง เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายในการเข้าดู เครื่อง
มือเครื่องใช้บางอย่างที่เราไม่มีเราก็ทำ�เลียนแบบเพื่อให้เด็กเห็นภาพว่าเครื่องมือ
เครื่องไม้ชนิดนี้เคยมีบทบาทอย่างไรต่อชีวิตคนสมัยก่อนบ้าง” สิทถาพรเล่า
จากหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่พบในเขตอำ�เภอด่านช้าง
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 27
แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในบริเวณนี้มาอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่
นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการถลุงโลหะในสมัยอยุธยา ก่อนที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกทิ้งร้าง
ไป หลงเหลือเพียงหลักฐานการบันทึกและคำ�บอกเล่าถึงกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ใน
เขตนี้ก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวพื้นราบ (ชาวสุพรรณ) คือ ชาวกะเหรี่ยง ละว้า
และลาวครั่ง โดยกลุ่มหลังนี้เพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เมื่อคราว
รัชกาลที่ 3 ซึ่งได้ยกทัพไปทำ�สงครามกับเวียดนาม ขากลับก็ได้กวาดต้อนผู้คนเมือง
ภูครัง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�โขง และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และ
เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการเสาะหาสิ่งของได้มากขึ้น ทำ�ให้เกิดการแบ่ง
พื้นที่เพื่อจัดแสดงเป็น 3 อาคารดังกล่าว ปัจจุบันสิทถาพรเกษียณอายุราชการแล้ว แต่
ยังคงแวะเวียนมาให้คำ�ปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือในบางเรื่อง ภารกิจก่อนเกษียณ
อายุราชการของเขาคือ ฝึกฝนให้เด็กซึมซับเรื่องราวภายในพิพิธภัณฑ์จนสามารถ
ถ่ายทอดความรู้ออกไปยังผู้อื่นได้
“ผมจะฝึกเด็กให้เป็นมัคคุเทศก์น้อย ให้เขาสามารถนำ�เสนอสิ่งของในพิพิธภัณฑ์
เพราะรัก...เพาะรู้28
ได้ โดยแบ่งเป็น 3 โซน เราไม่ได้เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดีอะไร แต่เราอาศัยอิง
ตามช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ แล้วให้เด็กเข้าไปเรียนรู้ แบ่งตามหนังสือที่เราค้นคว้า”
สิทถาพรเล่า
นอกจากการก่อรูปก่อร่างของศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างแล้ว โรงเรียน
อนุบาลด่านช้างยังจัดทำ�หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยมีพิพิธภัณฑ์
เป็นสื่อการเรียนการสอน
“ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จะมีการบูรณาการเข้ากับศูนย์การเรียนรู้
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกอย่าง อย่างน้อยๆ เด็กที่อยู่
ในโรงเรียนนี้จะได้เรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์นี้ เพราะจุดประสงค์ของพิพิธภัณฑ์คือเป็น
ห้องเรียนที่มีชีวิต”
ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างดูแลโดย ครูอุบล ทรัพย์อินทร์ ซึ่ง
เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นในการบูรณาการการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้กับศูนย์
การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์
ทั้งด้วยบุคลิกส่วนตัวของเธอ และความเอาจริงเอาจัง
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 29
เพาะความรู้
“หลักสูตรต้องปรับ!” เสียงดังฟังชัดทุกถ้อยคำ� บ่งลักษณะอย่างน้อยสองประการ
ของ อุบล ทรัพย์อินทร์
หนึ่ง เธอเป็นครูภาษาไทย
สอง เธอเป็นมนุษย์นิยมความสมบูรณ์แบบ – เพอร์เฟ็คชั่นนิสต์
“หลักสูตรต้องปรับ เรากำ�ลังปรับหลักสูตร แต่เดิมนั้นหลักสูตรของเราคือการ
ให้เด็กทุกชั้น ทุกสาระการเรียนรู้ต้องเข้ามาที่ศูนย์ฯ ซึ่งมันเยอะไป ทำ�ให้เกิดขึ้น
จริงได้ยาก ก็เลยมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้เด็กได้เข้ามาเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ แต่เราจะ
ให้สาระการเรียนรู้สาระฯ ใดสาระฯ หนึ่งเป็นเจ้าภาพ เช่น ป.1 ให้สาระภาษาไทย
เป็นเจ้าภาพ ป.2 คณิตศาสตร์ ป.3 อังกฤษ ป.4 สุขศึกษา ป.5 ภาษาไทยและสังคม
ป.6 ประวัติศาสตร์และเทคโนฯ การงาน ก็จะครบทุกสาระ เด็กได้เข้าทุกชั้นปีแน่ถ้า
เดินตามหลักสูตรนี้”
เพราะรัก...เพาะรู้30
สิ่งที่ครูอุบลกล่าว หมายความว่าในทุกสาระวิชาที่กล่าวมา จะต้องเชื่อมโยงกับ
เนื้อหาสาระที่ปรากฏในศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ถามว่า แล้ววิชาอย่างคณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับความรู้ในพิพิธภัณฑ์
อย่างไร
“คณิตศาสตร์” แน่นอน ครูอุบลตอบด้วยเสียงดังฟังชัดเช่นเดิม “เราจะพูดเรื่อง
ของทิศ เราจะเอาโม่หินที่เรามีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ฯ มาวางไว้ เราต้องการให้เด็กรู้
ว่าทิศทั้ง 8 มีอะไรบ้างโดยผ่านสื่อการสอนอย่างโม่หิน ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขาจะได้
เรียนรู้ว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ทำ�อะไร”
สิ่งที่ครูอุบลพยายามทำ�ให้เกิดขึ้นอยู่นี้คือการประยุกต์เอาวัตถุสะสมที่มีอยู่ใน
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ปรับให้สอดคล้องเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน
“ถูกค่ะ” ครูอุบลตอบทันที และเสียงดังชัดเจน
“ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ถ้าสิ่งของเหล่านี้ไม่เข้าไปในหลักสูตร...มันไม่ได้ ต้อง
เรียนเข้าไปในเนื้อหาหลักสูตร เช่น วิชาประวัติศาสตร์นี่ก็ตรงกับสิ่งที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์
อยู่แล้ว...ไม่ยาก ภาษาไทยก็ตรงกับพิพิธภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์ ของ
ชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าในภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร แล้วก็ทำ�เป็นสมุดศัพท์
อย่างวิชาสุขศึกษาเราก็วางโครงกระดูกของชาติพันธุ์เป็นอนาโตมี เพื่อเชื่อมโยงกับการ
เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชนชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชน นี่คือตัวอย่างของการเชื่อมโยง
สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์” ครูอุบลอธิบาย
ฉะฉาน
ครูอุบลโมเดล
สำ�หรับครูอุบล การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนรู้สามารถสัมผัสจับต้อง เพราะความรู้
ไม่ควรอยู่บนหิ้ง
“ถ้าศูนย์การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จัดโชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรู้แค่นั้น ไม่เกิดประโยชน์
หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้อง
ทำ�หน้าที่ปลุกคนให้เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เด็กต้องรักและตระหนัก กล้าที่จะจับ หิน
ชิ้นนี้คือขวานหินมันเกิดจากกระบวนการอย่างไร เด็กต้องจับได้ ไห 4 หูเริ่มใช้กันมา
ตั้งแต่สมัยใด เด็กต้องได้จับต้องและรู้ว่าอยู่สมัยไหน ใช้ทำ�อะไร แล้วเราต้องปลูกฝัง
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 31
เรื่องการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมด้วย”
จากการเฝ้าสังเกตนักเรียน ครูอุบลพบว่า ท่าทีการพูดคุยกันระหว่างครูกับ
นักเรียนย่อมมีช่องว่างมากกว่านักเรียนด้วยกันเอง เธอจึงเลือกใช้การสร้างเครือข่าย
ในหมู่นักเรียนเพื่อการส่งต่อและถ่ายทอดความรู้
“ภาษาที่เราถ่ายทอดจะเป็นภาษาผู้ใหญ่ ซึ่งมีกำ�แพงกั้นอยู่ แต่ถ้าเด็กเขาคุย
กันเอง เขาจะมีความลึกซึ้ง เวลาครูฟังพวกเขาคุยกันครูสังเกตว่า มันจะมีความ
ลึกซึ้งกว่ามาก ประกอบกับจำ�นวนเด็กมี 200 คน เด็กที่นี่มีเยอะ แต่ครูมีน้อย
ก็เป็นการยากที่จะไปลากไปดึงกันมา เราทำ�ให้เด็กเขารู้สึกว่าเขามีหน้าที่ แล้วทำ�ให้เขา
ตระหนักถึงหน้าที่ ให้เขาไปหาเครือข่ายในโรงเรียน 5 คน เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้
ให้กันภายในเครือข่าย ครูไม่ได้คาดหวังว่าต้องสำ�เร็จภายในวันเดียวหรือภายในเดือน
เดียว ครูปล่อยให้ซึมซับทั้งปีนะ ให้เขาค่อยๆ เรียนรู้ ปล่อยให้เด็กสอนกัน ดึงกันเข้าหา
ความรู้ แล้วปลายเทอมเราก็ให้คะแนน”
ถามครูอุบลว่าคำ�ว่าบูรณาการ และการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center)
จะเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร คำ�ตอบที่เราได้รับเป็นคำ�ตอบที่เฉพาะตัวอย่าง
ยิ่ง สะท้อนความเป็นตัวตนของครูอุบลอย่างยิ่ง
และแน่นอน เสียงของครูอุบลชัดถ้อยชัดคำ�อย่างยิ่ง
“เอาคำ�ว่าบูรณาการก่อน ตามความเข้าใจของครูนะ หรือจะลองแลกเปลี่ยน
กันก็ได้ คำ�ว่าบูรณาการของครูก็คือการหลอมรวม ตัวกลางในการรวมหลอมในที่นี้
ก็คือพิพิธภัณฑ์ แล้วเราจะบูรณาการกับอะไร เราต้องรู้ เช่น เราจะบูรณาการกับทุก
สาระการเรียนรู้หรือทุกสายชั้น นี่คือการดึงเข้ามายังพิพิธภัณฑ์ โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็น
ตัวหลัก ถามว่าเป็นตัวหลักยังไง เราก็ต้องรู้ว่าพิพิธภัณฑ์มีอะไรบ้าง มีความเป็นมา
ตรงไหน ตรงนี้คือเนื้อหาหลัก แต่เนื้อหารองที่ให้บูรณาการเสริม เช่น วิชาคณิตศาสตร์
รู้เรื่องทิศ สุขศึกษารู้เรื่องอนาโตมีของโครงกระดูกที่ค้นพบในด่านช้าง รู้เรื่องความเป็นอยู่
เพราะรัก...เพาะรู้32
ถ้าศูนย์การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จัดโชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรู้แค่นั้น มัน
ไม่เกิดประโยชน์ หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�หน้าที่ปลุกคนให้เฝ้าระวังทาง
วัฒนธรรม เด็กต้องรัก ตระหนัก และกล้าที่จะจับ
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 33
เพราะรัก...เพาะรู้34
ครูพิพิธภัณฑ์ไม่ยากลำ�บากอะไร ลำ�ดับแรกเราต้องรักก่อน ต่อให้คุณ
จบด้านนี้มาแต่คุณไม่รัก พิพิธภัณฑ์ก็ตาย ถ้าเป็นคนที่รักจะพยายามคิด
หากิจกรรมต่างๆ ดึงเด็กเข้ามา ดึงเพื่อนครูเข้ามาให้เกิดการสนับสนุน
แต่ต้องไม่ลืมว่าเราต้องทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลนไปก่อน
ของคนในอดีต วิชาภาษาไทยเรียนรู้เกี่ยวกับการขับเสภาเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์
ส่วนวิชาประวัติศาสตร์นี่ตรงอยู่แล้ว เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สังคมวิถีพุทธ
ดึงเข้ามา อย่างนี้จึงเรียกว่าบูรณาการ”
สำ�หรับการเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในทัศนะของครูอุบลนั้น ยิ่งน่ารับฟัง
“ถ้าพูดว่าศูนย์กลาง Child Center มาจากอังกฤษ แต่ขอโทษเถอะค่ะ ตอนนี้เขา
เลิกแล้วนะ จริงๆ แล้วหัวใจของการเรียนรู้ให้ประสบความสำ�เร็จ ครูจะต้องเป็นตัวเอก!
แต่จะเป็นอย่างไร เป็นแบบผู้กำ�กับให้เขาทำ�กิจกรรมด้วยตัวเอง ตามความเข้าใจ
ของครูน่ะนะ การเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางคือให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างทฤษฎี
‘CIPPA Model’ ที่ครูเอานำ�ร่องในวิชาภาษาไทย ขั้นแรกเด็กต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน
เขาจึงจะอยากศึกษา ได้จับได้ต้องได้สัมผัส ชิ้นนั้นชิ้นนี้ เราต้องกล้าปล่อยให้เขาจับเลย
“แต่ถ้าเรื่องไหนที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้เราต้องสร้างเป็นหนังสือ แล้ว
หนังสือธรรมดาเด็กไม่สนใจ เราก็เล่นหนังสือป๊อปอัพ สร้างเครื่องมือเป็นสื่อการสอน
ที่นี่เล่นสื่อป๊อปอัพ แต่ถ้าเรามีอยู่แล้ว เช่น ขวานหิน มีหม้อ มีไห ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วย
ตัวเอง พอเด็กได้เรียนได้รู้ได้จับต้องด้วยตัวเอง เราต้องมีสื่อเป็นหนังสือเป็นเอกสาร
ประกอบสอนเขา หรือครูเป็นผู้ถ่ายทอด นี่คือการเรียนรู้ด้วยตัวเองในทฤษฎีซิปป้า
โมเดล มันก็คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี่เอง”
นอกจากนี้ ครูอุบลยังเน้นย้ำ�ว่า ผลลัพธ์ปลายทางของการเรียนรู้ต้องเกิดให้เห็น
ได้อย่างเป็นรูปธรรม
“เด็กจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ได้ เด็กก็ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาต้องพูดคุย
กันเองแลกเปลี่ยนกันเอง ซึ่งความรู้ที่เขาแลกเปลี่ยนต้องเป็นความรู้ที่มีคุณภาพ
นะคะ ซึ่งเกิดจากการจัดให้โดยครู ให้เด็กได้เรียน แล้วเราก็จับหลอมกันเลย เอาสอง
กิจกรรมมารวมกัน ให้เด็กแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ้าให้เด็กนั่งนิ่งๆ เด็กก็จะเบื่อใช่มั้ย
เราต้องปล่อยให้เด็กได้เคลื่อนที่ไปจุดนั้นจุดนี้ เราเอาเกมเข้ามา เอามาหลอมรวม
ซิปป้า โมเดลเชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องผ่านกระบวนการที่หลากหลาย กระบวนการ
แก้ปัญหา ครูต้องตั้งโจทย์ขึ้นมา เพื่อให้เด็กแก้ปัญหา
“เช่นครูบอกว่า เธอเรียนรู้เรื่องตำ�นานด่านช้างแล้ว เธอรู้ทฤษฎีของกลอนแปด
แล้ว ลองเล่าเรื่องราวตำ�นานด่านช้างโดยหาวิธีนำ�เสนอหน้าห้องสิ เธอจะนำ�เสนอยังไง
ให้เขาจับคู่กันคิดเพื่อนำ�เสนอผลงานเป็นคู่ ทฤษฎีนี้คือการแก้ปัญหา และสุดท้ายต้อง
ประยุกต์ เราจะรู้ได้ไงว่าเด็กประสบผลสำ�เร็จหรือไม่ประสบผลสำ�เร็จ ก็ต้องให้เด็กสร้าง
ชิ้นงานเขาจะสร้างเป็นหนังสือเล่มเล็กสร้างเป็นสื่อป๊อปอัพหรือสร้างใบความรู้แต่เด็ก
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 35
จะทำ�ได้ครูก็ต้องมีสื่อต้นแบบเป็นตัวอย่าง นี่สำ�คัญนะคะ เราจะมาบอกเด็กอย่างนั้น
อย่างนี้แล้วไปทำ�มา มันไม่ได้ เราต้องมีสื่อตัวอย่าง แล้วเขาก็ไปค้นของเขาเอง ก็จะ
ได้เป็นสื่อใหม่จากเด็ก นี่คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามที่ครูเข้าใจนะ ครูดึง
ซิปป้า โมเดล เข้ามาสร้างการเรียนการสอน” ครูอุบลแจกแจง
เพราะรัก...เพาะรู้36
เพราะความรัก
ครูอุบลเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำ�เนิด เธอจบเอกวิชาภาษาไทย จบโทวิชา
นาฏศิลป์ และพ่วงด้วย คศ.3 จึงทำ�ให้ครูอุบลสามารถสร้างสื่อการสอนอย่างหนังสือ
ป๊อปอัพ ที่ดึงดูดนักเรียนให้เข้าถึงเนื้อหาด้วยงานศิลปะ นอกจากนี้ครูอุบลยังสนใจ
ประวัติศาสตร์ ทำ�ให้เธอสวมบทบาทนักประวัติศาสตร์ เป็นนักรื้อค้นข้อมูลถึงขนาด
เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนของอำ�เภอด่านช้าง และด้วยความสามารถด้าน
นาฏศิลป์ ครูอุบลจึงอาสาทำ�ละครให้ทางโรงเรียนและทางอำ�เภอ
ก่อนที่ครูอุบลจะมาดูแลศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เธอเป็นครูสอน
วิชาภาษาไทย ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และดูแลการแสดงละครเวทีของ
นักเรียน เธอมองเห็นว่าศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มหยุดนิ่ง และดูคล้ายว่า
จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีชีวิต ครูอุบลจึงขออาสาผู้อำ�นวยการโรงเรียน เข้ามาดูแลศูนย์
การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง
“ก่อนหน้านี้ พิพิธภัณฑ์ก็ดูเหมือนเงียบไปเลย ครูจึงขอเข้ามาดูแล ขอ
ผู้อำ�นวยการด้วยตัวเองเลย ตอนแรกครูดูแลเรื่องการแสดงของโรงเรียน แต่ไม่จับการ
แสดงแล้วเพราะมีครูรุ่นน้องที่ทำ�ได้ สำ�หรับงานพิพิธภัณฑ์ถ้าไม่รักครูไม่ทำ� เพราะเรา
ทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลน ดูสิว่าตัวอาคารกว่าเราจะขอได้ หลังคาก็รั่ว แล้วก็
ร้อนกว่าทุกตึก แต่เราอดทน พออยู่ๆ ไปเด็กที่เข้ามาเรียนเขาเห็นสื่อการสอนเขาก็
ตื่นเต้น ครูก็เลยยึดเอาพิพิธภัณฑ์เป็นที่สอน
“แล้วครูปวารณาตนเข้ามาด้วยเหตุผลอะไร ครูชอบทำ�ด้านนี้ ครูชอบสืบค้น
เรื่องภูมิปัญญา ครูเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านกะเหรี่ยง หมู่บ้านละว้า ครูเป็นคนชอบ
เข้าไปสืบค้นเพื่อหาคำ�ตอบ เช่น ครูอยากรู้ว่าตอนนี้ลาวครั่งอยู่ที่ไหนบ้างในด่านช้าง
ละว้าอยู่ที่ไหน กะเหรี่ยงอยู่ที่ไหน ครูเข้าไปในพื้นที่แล้วกลับมาแต่งหนังสือทีละเล่ม
สองเล่ม จนกระทั่งเขตการศึกษารู้ ก็ดึงครูเข้าไปทำ�หนังสือท่องแดนด่านช้าง เกี่ยวกับ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำ�เภอด่านช้าง แล้วครูก็ได้ไอเดียว่าจะทำ�ยังไงให้เด็กสามารถ
จับต้องความรู้ได้ ครูก็เอา ซิปป้า โมเดล มาใช้อย่างที่เล่าให้ฟังไปแล้วเสียยืดยาว
สิ่งที่ทำ�มานี้ครูอยากจะบอกเพื่อนครูด้วยกันว่ามันสามารถทำ�ให้เป็นจริงได้ พิพิธภัณฑ์
จะไม่ตาย ความรู้จะไหลเวียน และเด็กจะมีทักษะในการสื่อสาร”
ถามว่าพิพิธภัณฑ์ที่ดีในทัศนะของครูอุบลเป็นอย่างไร
ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 37
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused
Book Museum Refocused

Contenu connexe

Similaire à Book Museum Refocused (8)

ความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุด
 
Pipit
PipitPipit
Pipit
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
RSU Library Newsletter (Vol.18 No.2 February 2021)
RSU Library Newsletter (Vol.18 No.2 February 2021)RSU Library Newsletter (Vol.18 No.2 February 2021)
RSU Library Newsletter (Vol.18 No.2 February 2021)
 
แนะนำ BOI Fair
แนะนำ BOI Fairแนะนำ BOI Fair
แนะนำ BOI Fair
 
บทที่ 15
บทที่ 15บทที่ 15
บทที่ 15
 
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
 

Plus de National Discovery Museum Institute (NDMI)

09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์ ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์  ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์  ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์ ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
National Discovery Museum Institute (NDMI)
 
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
National Discovery Museum Institute (NDMI)
 
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
National Discovery Museum Institute (NDMI)
 

Plus de National Discovery Museum Institute (NDMI) (20)

รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม คืออะไร ความหมายของการ bully ทั้งที่รู้ต...
รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม คืออะไร ความหมายของการ bully ทั้งที่รู้ต...รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม คืออะไร ความหมายของการ bully ทั้งที่รู้ต...
รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม คืออะไร ความหมายของการ bully ทั้งที่รู้ต...
 
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 1
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 1ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 1
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 1
 
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 2
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 2ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 2
ครู กับการ bully ในสถานศึกษา slide 2
 
Agenda museum-in focus-bully
Agenda museum-in focus-bullyAgenda museum-in focus-bully
Agenda museum-in focus-bully
 
Education Within & Beyond Museum Walls : A Singapore Case Study
Education Within & Beyond Museum Walls : A Singapore Case StudyEducation Within & Beyond Museum Walls : A Singapore Case Study
Education Within & Beyond Museum Walls : A Singapore Case Study
 
We make the Museum as We Learn : Storytelling as a Bridge between Education a...
We make the Museum as We Learn : Storytelling as a Bridge between Education a...We make the Museum as We Learn : Storytelling as a Bridge between Education a...
We make the Museum as We Learn : Storytelling as a Bridge between Education a...
 
เมื่อต้องทำนิทรรศการหอจดหมายเหตุบุคคล : มณเฑียร อาเตอลิเย่
เมื่อต้องทำนิทรรศการหอจดหมายเหตุบุคคล : มณเฑียร อาเตอลิเย่เมื่อต้องทำนิทรรศการหอจดหมายเหตุบุคคล : มณเฑียร อาเตอลิเย่
เมื่อต้องทำนิทรรศการหอจดหมายเหตุบุคคล : มณเฑียร อาเตอลิเย่
 
Museum forum2017 thai
Museum forum2017 thaiMuseum forum2017 thai
Museum forum2017 thai
 
Museum Academy 2017 poster
Museum Academy 2017 posterMuseum Academy 2017 poster
Museum Academy 2017 poster
 
Museum Academy 2017
Museum Academy 2017Museum Academy 2017
Museum Academy 2017
 
การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ | Museum forum 2017
การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ | Museum forum 2017การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ | Museum forum 2017
การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ | Museum forum 2017
 
MA application form-2017
MA application form-2017MA application form-2017
MA application form-2017
 
10 ขุดแล้วไปไหน จากงานโบราณคดีสู่สื่อการเรียนรู้ชุมชน - รัศมี ชูทรงเดช
10 ขุดแล้วไปไหน จากงานโบราณคดีสู่สื่อการเรียนรู้ชุมชน - รัศมี ชูทรงเดช10 ขุดแล้วไปไหน จากงานโบราณคดีสู่สื่อการเรียนรู้ชุมชน - รัศมี ชูทรงเดช
10 ขุดแล้วไปไหน จากงานโบราณคดีสู่สื่อการเรียนรู้ชุมชน - รัศมี ชูทรงเดช
 
09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์ ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์  ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์  ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
09 มนุษย(ส)ภาพในพิพิธภัณฑ์ ความกระหายใคร่รู้และการบีฑา - สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
 
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
08 หา ‘เรื่อง’ กระบวนการสร้างเนื้อหาในนิทรรศการ - ธนาพล อิ๋วสกุล
 
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
04 how to start a museum - หทัยรัตน์ มณเฑียร
 
03 translation of artwork into public knowledge - ประพล คำจิ่ม
03 translation of artwork into public knowledge - ประพล คำจิ่ม03 translation of artwork into public knowledge - ประพล คำจิ่ม
03 translation of artwork into public knowledge - ประพล คำจิ่ม
 
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
02 เบื้องหลังปฏิบัติการวัตถุพิพิธภัณฑ์ - ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
 
Forum Agenda Museum Without Walls
 Forum Agenda Museum Without Walls Forum Agenda Museum Without Walls
Forum Agenda Museum Without Walls
 
Museum Forum | Museum without walls 2016
Museum Forum | Museum without walls 2016Museum Forum | Museum without walls 2016
Museum Forum | Museum without walls 2016
 

Book Museum Refocused

  • 1.
  • 2.
  • 3. พิ(ศ)พิธภัณฑ์ Museum Refocused ISBN: 978-616-329-057-1 บรรณาธิการ ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร กองบรรณาธิการ ชนน์ชนก พลสิงห์ วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ อาทิตย์ เคนมี ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ อารยา คงแป้น พิสูจน์อักษร คีรีบูน วงษ์ชื่น ออกแบบปก สกลชนก เผื่อนพงษ์ ศิลปกรรม ณขวัญ ศรีอรุโณทัย ภาพถ่าย อนุชิต นิ่มตลุง จัดพิมพ์โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 www.ndmi.or.th พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2558 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์
  • 4. ดำ�เนินการผลิตโดย เปนไท พับลิชชิ่ง Pen Thai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com www.waymagazine.org
  • 5. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ภายใต้กำ�กับ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี มีพันธกิจในการจัดตั้งและบริหารจัดการมิวเซียมสยาม สร้างความร่วมมือกับเครือข่าย พิพิธภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ของประเทศ เผยแพร่วัฒนธรรม สร้างสรรค์ และเสริมสร้างความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาแก่สังคมไทย หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการจัดประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษา พิ(ศ)พิธภัณฑ์ หรือ Museum Refocused ซึ่งเป็นการประชุมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ 2) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑ์ระหว่างนักวิชาการและนักปฏิบัติการจากหลากสาขา วิชา การประชุมดังกล่าวทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นต่างๆ ทางด้านพิพิธภัณฑ์ในภาพ กว้าง ส่วนหนังสือเล่มนี้ ทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นที่เจาะจงสำ�หรับนักปฏิบัติการด้าน พิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยจัดทำ�ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และเรียบเรียงความคิด แนวทาง การทำ�งานของผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์จำ�นวน 9 เรื่อง
  • 6. สำ�หรับคนทำ�งานด้านพิพิธภัณฑ์ หนังสือเล่มนี้เปิดให้เห็นวิธีคิดของคนทำ� พิพิธภัณฑ์ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านนิทรรศการ ด้านการอนุรักษ์ ด้านกิจกรรม การศึกษา ด้านการทำ�งานกับชุมชน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับผู้ชม ฯลฯ สำ�หรับสาธารณชนที่สนใจหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์ หรือนักท่องพิพิธภัณฑ์ การ ได้รับทราบส่วนเสี้ยวเบื้องหลังการทำ�งานพิพิธภัณฑ์ น่าจะทำ�ให้ท่านเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ได้อย่างเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น สพร. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือที่อยู่ในมือท่านเล่มนี้จะยังประโยชน์ให้ผู้อ่าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยความตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์จะทำ�หน้าที่ของตัวเองอย่าง เต็มที่ และสามารถสร้างวัฒนธรรมการหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์ขึ้นได้ในสังคมไทย ก็ด้วยอาศัยความเข้าใจ ความสนับสนุน และการมีส่วนร่วมทั้งจากชุมชนพิพิธภัณฑ์ และสาธารณชนโดยรวม ราเมศ พรหมเย็น รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผู้อำ�นวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
  • 7. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ 9 จากเบื้องหลังคนทำ�งาน เพราะรัก...เพาะรู้ 21 ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน 41 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ผ้าที่นี่มีชีวิต 65 พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก 85 หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน
  • 8. ภัณฑารักษ์วิถี 103 ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อิสระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หัวหอมในหอศิลป์ 119 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ดวงดาวของชาวสวน 139 พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต 163 พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์ 183 พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย
  • 9.
  • 11. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันที่ถือกำ�เนิดในสังคมไทยมาร่วมร้อยปีแล้ว จาก จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้เห็นพิพิธภัณฑ์ในหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล พิพิธภัณฑ์ในวัด พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน เส้นทางของพิพิธภัณฑ์ไทยไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ ในโลก การอนุรักษ์วัตถุ การ จัดแสดง การเล่าเรื่อง การสื่อสารกับผู้ชม การให้การศึกษา การให้บริการแก่ผู้ชม ฯลฯ เป็นประเด็นเชิงปฏิบัติการที่นักพิพิธภัณฑ์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นล้วนเผชิญ ในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชนพิพิธภัณฑ์ไทย ฝ่ายวิชาการ มิวเซียมสยามคิดว่าน่า จะทำ�หนังสือที่ ‘แกะกล่อง ถอดรหัส’ ความคิดของคนทำ�งานพิพิธภัณฑ์ ตามประเด็น พิพิธภัณฑ์ศึกษาที่ร่ำ�เรียนกันมา เช่น เรื่องการวางแผน การให้การศึกษา การทำ� นิทรรศการ การดูแลคลังวัตถุ การตลาด กิจกรรม ชุมชน ฯลฯ โดยตั้งเป้าว่าหนังสือ เล่มนี้จะเสนอทั้งวิธีคิดและวิธีการ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำ�ไปทดลองและปรับใช้ เองได้ ทีมงานได้คัดเลือกประเด็นและคัดเลือกพิพิธภัณฑ์ที่เห็นว่าเด่นและน่าจะเป็น ตัวแทนของประเด็นที่ตั้งใจไว้ แล้วสัมภาษณ์ บนเป้าหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ เราพบว่าถึงแม้ว่าแต่ละพิพิธภัณฑ์จะมีข้อเด่น แตกต่างกัน แต่เมื่อมองภาพกว้าง ก็พบว่ามีจุดร่วมกันไม่น้อย เป็นต้นว่าการสร้าง ความรู้และปฏิบัติการในเงื่อนไขที่สังคมไทยเป็น ภายใต้ข้อจำ�กัดของงบประมาณ ของความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่พอจะรองรับการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดของพิพิธภัณฑ์ ในขณะเดียวกันก็มีโจทย์ร่วมกันที่การสื่อสารความรู้ ออกไปสู่สังคมวงกว้าง ที่ไม่ได้มี วัฒนธรรมของการใช้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ ทีมงานเห็นว่าประเด็นที่หยิบยกมา ในที่นี้สะท้อนสภาวะของพิพิธภัณฑ์ในบริบทแบบ ‘ไทยๆ’ ได้อย่างน่าสังเกต กล่าวคือ 10
  • 12. จากเบื้องหลังคนทำ�งาน วัตถุ ความรู้และการปรับตัว วัตถุเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด เป็นสิ่งที่สร้างภาพจำ�ให้กับพิพิธภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ ในการบ่งชี้ว่าที่ใดใช่หรือไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ การดูแล อนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์เป็น ศาสตร์เฉพาะทาง และแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคพิพิธภัณฑ์เบ่งบาน แต่กลับมีพิพิธภัณฑ์ ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์ ห้องคลังเก็บวัตถุที่มี มาตรฐานสากล พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว พิพิธภัณฑ์นี้ให้ความสำ�คัญกับขั้นตอนของการหาข้อมูล เกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่งๆ ให้ความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดกับงานด้านการอนุรักษ์ จัดเก็บ และการทำ�ทะเบียนเกี่ยวกับวัตถุแต่ละชิ้น นอกจากระบบทะเบียนแล้ว พิพิธภัณฑ์ผ้า นำ�ระบบสืบค้นข้อมูลวัตถุด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้ อย่างไรก็ดี ใช่ว่าพิพิธภัณฑ์แบบอื่นๆ จะไม่มีระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล วัตถุชิ้นหนึ่งๆ มีประวัติศาสตร์ของมัน ทั้งระดับ ท้องถิ่น ภูมิภาค ชุมชน และบุคคล ข้อมูลเหล่านี้มักถูกจัดเก็บไว้ในระบบทะเบียนที่ ‘มีชีวิต’ คือคลังความทรงจำ�ของภัณฑารักษ์ ซึ่งจะสูญสิ้นไปพร้อมกับตัวบุคคล แต่ หากพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดเก็บและสืบค้นแบบดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ก็จะทำ�ให้เกิดการ สะสมความรู้ และเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุอย่างเป็นระบบ และสืบทอดต่อไปได้อย่างไม่ สิ้นสุด ไม่จบไปพร้อมกับภัณฑารักษ์ที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ได้จากการพูดคุยที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ นางเจ้าฯ คือการปรับตัว ปรับความรู้ให้เข้ากับพื้นถิ่น พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ นางเจ้าฯ มีที่ปรึกษาเป็นชาวต่างชาติ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ส่วนหนึ่งได้รับมา จาก ‘มาตรฐาน’ แบบตะวันตก หากในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีความรู้ใดที่สำ�เร็จรูป ในการจัดเก็บพระภูษา พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พบว่าชั้นใต้ดินเป็นชั้น ที่ไม่เหมาะกับการจัดเก็บวัตถุ เนื่องจากอากาศร้อนชื้นของเขตเส้นศูนย์สูตรก่อให้ เกิดความชื้นและรา นอกจากนี้ยังมีแมลงประจำ�ถิ่นซึ่งแม้ว่าทางผู้เชี่ยวชาญตะวันตกจะได้ให้การ อบรมเกี่ยวกับแมลงแล้ว แต่ในความเป็นจริง แมลงในเขตร้อนชื้นก็แตกต่างจากแมลง ในอีกซีกโลกหนึ่ง จนถึงขั้นต้องออกแบบการสำ�รวจแมลงในพิพิธภัณฑ์เพื่อหาวิธีมา จัดการกับแมลงเฉพาะทางเหล่านี้ ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานจริง จึงขยาย ออกไปจากความรู้แบบที่ได้รับการฝึกฝนมา ซึ่งต่างจากโลกตะวันตก จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ใช้ในพิพิธภัณฑ์มีพลวัตเสมอ แม้ในมิติที่เป็นเทคนิคซึ่งดูเหมือนจะสำ�เร็จรูป 11
  • 13. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ ก็ตาม เมื่อนำ�ไปใช้ในท้องถิ่น ในสภาวะแวดล้อมหนึ่งๆ ย่อมถูกปรับแปลงให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้นๆ ความรู้และการเรียนรู้ สังคมไทยมีพิพิธภัณฑ์หลากหลายประเภท ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ก็มีหลากหลาย บ้างเป็นเรื่องโบราณวัตถุ บ้างเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ บ้างเป็นเรื่องข้าวของเครื่องใช้ ของบุคคลสำ�คัญ บ้างเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน่วยงาน บ้างเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่น ฯลฯ อย่างไรก็ดี หากเรามองเรื่องความรู้ให้พ้นไปจากการ ‘จัดแสดงเนื้อหา’ มาสู่ความคิด เกี่ยวกับความรู้ และการเรียนรู้ น่าจะทำ�ให้เห็นที่มาที่ไปอันเป็นเบื้องใต้ของการจัด แสดงความรู้ในพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งได้ดียิ่งขึ้น หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน เน้นว่าเรื่องราวที่จะนำ�มาจัดนิทรรศการนั้น จะต้อง มีความเชื่อมโยงระหว่าง อดีตและปัจจุบัน เก่ากับใหม่ รวมถึงคิดเชื่อมปัจจุบันกับ อนาคตโดยที่ยึดโยงกับอดีตด้วย ในกระบวนการหาความรู้ที่นี่เน้นการวิจัยด้วยตนเอง ก่อนที่จะนำ�ความรู้นั้นมาตีความและจัดแสดง ด้วยวิธีเช่นนี้ทำ�ให้ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมเกี่ยวข้องกับนิทรรศการได้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร นั้น พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร เห็นว่าเมื่อมาที่นี่ผู้ชมควรได้รู้จักตัวตน อัตลักษณ์ของท้องถิ่น เข้าใจความ เป็นท้องถิ่นว่าแตกต่างกับถิ่นอื่นอย่างไร อย่างไรก็ตามท่านตั้งคำ�ถามให้คิดว่าอะไร และอย่างไรคือการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ในทัศนะของท่านจะคิดถึงการเรียนรู้แต่จากฝั่ง ผู้ชมโดยไม่ได้คิดจากฝั่งคนทำ�พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ ผู้ชมจะเรียนรู้ได้ ผู้ทำ�จะต้องเรียนรู้ก่อน ผู้ทำ�ต้องค้นคว้า ต้องตอบคำ�ถาม ต้องรับฟังคำ�ถามของคนชมพิพิธภัณฑ์ ต้องปรับ เนื้อหา วัตถุ การนำ�ชมตามคำ�ถามของคนดู คือปรับทั้งความรู้และวิธีสื่อสาร เพื่อให้ ผู้ชมเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด หากก็ต้องรักษาประเด็นของตัวเองให้ชัด ในแง่นี้หมายความว่า เนื้อหาในพิพิธภัณฑ์นั้น แม้จะเป็นนิทรรศการถาวร แต่จะไม่ใช่ความถาวรแบบหยุดนิ่ง ตายตัว หากมีพลวัตจากการสื่อสารสองทางกับผู้ชมเสมอ ส่วนที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นั้น ชัดเจนในพันธกิจว่า อพวช. ไม่ได้ทำ�พิพิธภัณฑ์เพื่อช่วยเด็กทำ�การบ้านหรือเข้ามหาวิทยาลัย แต่เพื่อสร้างสังคม แห่งการใช้เหตุผล หากพิพิธภัณฑ์จะเป็นที่ที่สร้างกระบวนการให้คนคิด พิพิธภัณฑ์ 12
  • 14. จากเบื้องหลังคนทำ�งาน จะต้องให้มากกว่าข้อมูล ความรู้ แต่ต้องสร้างความเข้าใจและความตระหนัก ต้องเน้น การสร้างกระบวนการคิดแบบเป็นวิทยาศาสตร์ คือตั้งข้อสังเกต พิสูจน์ หาคำ�ตอบ อัน จะทำ�ให้เห็นว่าวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่นำ�มา ใช้ทำ�ความเข้าใจทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่เป็นวิทยาศาสตร์มากๆ หรือหัวข้อ ทางสังคม เช่น ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าดูเผินๆ แล้ว ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง จะไม่ได้แตกต่างจาก พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วไป คือจัดแสดงสิ่งของและเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีของชุมชน อัตลักษณ์ผู้คนที่นั่น แต่เมื่อพูดถึงประเด็นการเรียนรู้แล้ว พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เห็นว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องบูรณาการการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับสาระการเรียนรู้ ในหลักสูตรของนักเรียน มีการปรับหลักสูตรเพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้ นอกระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบได้ ที่น่าสนใจคือการใช้ข้าวของ เครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์มาเป็นสื่อการเรียนรู้ ในแง่นี้ข้าวของเครื่องใช้จะมีหน้าที่อัน สำ�คัญ ไม่ใช่เพียงของที่ตั้งโชว์ หรือของที่ต้องอนุรักษ์สงวนไว้ แต่เป็นของที่ถูกนำ�มา เพื่อการเรียนรู้ ในมิติของการเรียนรู้แล้ว ข้าวของพวกนี้เชื่อมโยงอดีตให้เข้ากับปัจจุบัน และเชื่อมโยงการศึกษานอกและในระบบเข้าด้วยกัน จากประเด็นเรื่องการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ สะท้อนให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง พยายามอย่างมากที่จะก้าวข้ามข้อท้าทายเกี่ยวกับวิถีของการเรียนรู้ของผู้ชมในสังคม ไทย อีกนัยหนึ่ง เราสามารถมองเห็นสังคมไทย การรับรู้ การเรียนรู้ของคนไทยปัจจุบัน ได้จากความพยายามที่จะทำ�งานกับกลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ เป็นต้นว่า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งข้อสังเกตว่างานศิลปะแนว avant-garde เป็นแนวที่ผู้ชมไม่สนใจดูเท่ากับงานแนวประเพณี ใช่หรือไม่ว่าคนไทย ไม่ได้ถูกสอนให้คิดในเชิงมโนทัศน์ จึงไม่รู้สึกชื่นชมการแสดงของในงานศิลปะสกุลนี้ ส่วน อดีตภัณฑารักษ์จาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC) คิดกับ เรื่องการจัดแสดงและการดีไซน์ว่าจะดึงความสนใจคนอย่างไร ให้อยู่กับนิทรรศการ ให้นานที่สุด งานดีไซน์จึงเน้นให้ประสบการณ์การดูนิทรรศการเป็นประสบการณ์ที่ สนุกสนาน พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร ใช้วิธีจำ�กัดคนดู พระเป็น ผู้นำ�ชมเองเพื่อโฟกัสความสนใจ ให้มีปฏิสัมพันธ์ เป็นการดึงคนไม่ให้หลุดและไปสนใจ แต่เรื่องการถ่ายรูปตัวเองกับวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ไม่ได้เน้นจับกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบฉาบฉวย และเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีความ สนใจในเนื้อหา พิพิธภัณฑ์ได้เตรียมสถานีความรู้ไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ ที่ 13
  • 15. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ โรงงานและในหมู่บ้าน โดยที่แต่ละจุดมีความเชื่อมต่อกัน กล่าวโดยย่อ โจทย์ของทุกคน ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่อง ผู้ชม (audience) ว่าจะทำ�อย่างไรถึงจะดึงความสนใจของ ผู้ชมที่แม้ว่าจะดั้นด้นมาจนถึงพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็ยังไม่ใช้เวลาเต็มที่กับความรู้เบื้องหน้า ผู้ชมและการ ‘หมั้นหมาย’ ในภาพจำ�ของคนทั่วไป พิพิธภัณฑ์เป็นที่ของข้าวของมีค่า เป็นที่ของเรื่องราวจาก อดีต เป็นที่ของผู้ทรงภูมิที่มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง และทำ�หน้าที่ ‘ให้’ ความรู้ นั้นกับผู้ชม หากในมุมของคนทำ�งานพิพิธภัณฑ์แล้ว พิพิธภัณฑ์เป็นมากกว่านั้น คน ทำ�พิพิธภัณฑ์ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ใหญ่หรือเล็ก ต้องคิดถึงผู้ชมเป็นสำ�คัญ พิพิธภัณฑ์ในอังกฤษหรืออเมริกาต้องหันมาคำ�นึงถึงความต้องการของผู้ชม สิ่งที่ผู้ชม สนใจ กิจกรรมที่รองรับผู้ชมที่มีความหลากหลายทั้งวัย การศึกษา ข้อจำ�กัดทางกาย ความต่างทางวัฒนธรรม จนแทบกล่าวได้ว่าอนาคตของพิพิธภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ชม ในประเทศไทยก็เช่นกัน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งไม่ได้มองตัวเองเป็นองค์กรที่แยกอยู่ อย่างโดดเดี่ยว หากให้ความสนใจกับผู้ชมและสัมพันธ์กับผู้ชมในหลายระดับ หลาย มิติด้วยกัน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) มีการกำ�หนดกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่ได้ดูแค่อายุแต่ดูไลฟ์สไตล์ ดูพฤติกรรมการรับสื่อ ดูความสนใจ จนเห็นความ หลากหลายของกลุ่มผู้ชม และนำ�มาคิดงานที่รองรับความสนใจของคนที่แตกต่างกัน ความพยายามที่จะรองรับกลุ่มคนที่แตกต่าง ส่งผลกลับไปที่การนิยามความหมายของ ศิลปะ ว่าจะต้อง engage กับผู้คน และในบางครั้งศิลปะก็เป็นสื่อที่อาจสร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผู้ชมที่แตกต่างกันได้ด้วย ด้วยการคำ�นึงถึงผู้ชม หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ปรับตัว ปรับวิธีการทำ�งาน จากการที่ภัณฑารักษ์ หรือกรรมการบริหารหน่วยงานเป็นผู้กำ�หนด มาเป็นการให้ความสำ�คัญกับผู้ชมว่า เขาเป็นใคร เขาอยากรู้อะไร เขาใช้เวลากับอะไร จะสร้างงานที่ engage กับผู้ชมได้ อย่างไร จะให้เด็กเข้าใจศิลปะที่มีตัวเองเป็นหลักได้อย่างไร ในประเทศไทย มีพิพิธภัณฑ์จำ�นวนไม่น้อยที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากวัตถุสิ่งของ เลอค่า ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากของสะสม หากสร้างขึ้นมาจากวิกฤติ หรือสร้างจากการ ที่มีการเผชิญกับภาวะอันไม่พึงใจบางอย่าง เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 14
  • 16. จากเบื้องหลังคนทำ�งาน (ฝาง) ที่เกิดขึ้นหลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ อาคารถูกกระแสน้ำ�ทำ�ลาย พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น เพื่อชุบชีวิตให้โรงงาน และสร้างชีวิตใหม่ให้กับพื้นที่บ้านยางกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ สำ�หรับทั้งคนในและคนนอกชุมชน เมื่อเวลาผ่านไป พิพิธภัณฑ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาชุมชน โดยในการพัฒนาระยะแรก พิพิธภัณฑ์เป็นผู้กำ�หนดและดำ�เนิน โครงการ หากในภายหลังที่ชุมชนกับพิพิธภัณฑ์ทำ�งานร่วมกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น จนถึงจุดที่ชุมชนมีข้อเสนอว่าชุมชนต้องการอะไร โครงการแบบไหนเหมาะสมที่ จะดำ�เนินการในพื้นที่ โครงการที่ชุมชนเสนอมักมาจากองค์ความรู้ของเขาที่มีต่อ พื้นถิ่น เช่นเรื่องการทำ�ฝาย ชาวบ้านจะรู้มากกว่าว่าจะทำ�ฝายกั้นลำ�น้ำ�ไหน ส่วนใน งานพิพิธภัณฑ์นั้น ชาวบ้านเสนอการทำ�หนังสือประวัติหมู่บ้าน ทำ�ห้องเรียนชุมชน จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า พิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นฝ่ายที่ถ่ายทอด เอื้อมมือไปหาชุมชน ฝ่ายเดียว ชุมชนเองก็เห็นพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของเขา เป็นหุ้นส่วนในการทำ�งาน ของกันและกัน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ แม้จะเน้นว่ากลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน และเยาวชน แต่คนที่ อพวช. ให้ความสำ�คัญมากและพยายามจัดความสัมพันธ์ให้ดี คือกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากครูเป็นผู้นำ�เด็กมาพิพิธภัณฑ์ ครูคือ ผู้สอน ผู้ให้การศึกษา อพวช. จึงทำ�งานกับครูด้วยการให้ครูมาช่วยทำ�กิจกรรม ช่วยทำ� นิทรรศการ มาให้ความเห็น ผลิตสื่อ ออกแบบเนื้อหา ให้ข้อเสนอแนะต่อพิพิธภัณฑ์ สิ่งที่ อพวช. พยายามจะสร้างให้เกิดขึ้นกับกลุ่มครูนั้น มากไปกว่า ‘การมีส่วนร่วม’ แต่ ขยายไปสู่การสร้าง ‘ความเป็นเจ้าของ’ ร่วม พิพิธภัณฑ์เป็นของครูไม่น้อยไปกว่าเป็น ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการ ‘หมั้นหมาย’ ที่ทั้งสองฝ่าย ในคู่ความสัมพันธ์ต่างยื่นมือให้กันและกันเพื่อสร้างพันธสัญญาบางอย่างร่วมกัน ปฏิบัติการ engage กับผู้ชมของพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น ทำ�ให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่ พื้นที่ที่สถิตความรู้ที่พิพิธภัณฑ์เป็นผู้ให้ฝ่ายเดียว ชุมชนหรือผู้ชมก็สามารถให้ความรู้ ให้การเรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์ได้ พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เป็นขุมคลังความรู้ ที่แยกจากผู้ชม หรือเป็นผู้ผลิตและบริการความรู้แก่สังคมเท่านั้น แต่อนาคตของ พิพิธภัณฑ์ ความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์นั้น อยู่ได้ด้วยการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม อย่างใกล้ชิด จนถึงระดับของความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ และด้วยการ สร้างสำ�นึกเช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 15
  • 17. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ชุมชน: คนนอกหรือคนใน เมื่อพูดถึงพิพิธภัณฑ์ชุมชน หลายคนมีความเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนควรเป็น สิ่งที่ชาวบ้านหรือคนในชุมชนทำ�เอง ทำ�เรื่องเกี่ยวกับชุมชน โดยชุมชน วัตถุประสงค์ คือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พบในความเป็นจริง คือพิพิธภัณฑ์ชุมชนอาจไม่จำ�เป็นต้องทำ�โดยคนในชุมชนเสมอไป คนนอกชุมชนก็ สามารถทำ�พิพิธภณฑ์ชุมชนได้ หากเราจะนิยามพิพิธภัณฑ์ชุมชนจากกระบวนการ ทำ�งานเป็นสำ�คัญ ในหนังสือเล่มนี้ เราอาจแบ่งคนทำ�พิพิธภัณฑ์ชุมชนออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือกลุ่ม ‘คนใน’ คือคนในชุมชนเองที่ทำ�พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชุมชน กลุ่มนี้ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร และ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย กลุ่มที่สองคือ ‘คนนอก’ หรือคนที่มาจากที่อื่น ไม่ใช่คนในชุมชน เช่นที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง แต่ไม่ว่า จะเป็นคนนอกหรือคนใน คนทำ�พิพิธภัณฑ์ก็มีวิธีทำ�งานที่ไม่ต่างกันนักคือต้องอ่าน ถาม ฟัง สร้างความสัมพันธ์ ทำ�ความเข้าใจ กับคนในพื้นที่ กรณี พิพิธภัณฑ์เพื่อการ ศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร แม้ว่าพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร จะเป็นคนในพื้นที่ เอง แต่ในกระบวนการทำ�พิพิธภัณฑ์ยังต้องหาวัตถุ หาข้อมูลเพิ่มจากคนเฒ่าคนแก่ ต้องเชิญคนจากชุมชนมาดูความถูกต้องของการจัดแสดง ต้องจัดหมุนเวียนวัตถุเพื่อ ให้ญาติโยมสบายใจว่าข้าวของที่ตนเองบริจาคมาได้รับการจัดแสดง ที่ พิพิธภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ก็เช่นกัน ผู้ทำ�พิพิธภัณฑ์ต้องค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน มีการทำ�ความเข้าใจกับชุมชนถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกระบวนการเชื่อมโยง พิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับพื้นที่นี้ไม่ต่างจากที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) หรือ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ซึ่งคนทำ�งานมาจาก ‘ที่อื่น’ เลย นอกเหนือจาก การทำ�ความเข้าใจพื้นที่แล้ว การสร้างความเข้าใจให้คนชุมชนตระหนักเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ และทำ�ให้ชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก็เป็นกระบวนการ ที่พิพิธภัณฑ์ต้องสร้างขึ้น เช่น การร่วมบริจาคข้าวของให้พิพิธภัณฑ์ การฝึกเด็กให้ สามารถนำ�ชมนิทรรศการ เช่นที่ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เช่นที่ พิพิธภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ที่ต้องทำ�ความเข้าใจกับชุมชนนอกพิพิธภัณฑ์ เช่น ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่คนนอกชุมชนได้ก้าวข้ามความเป็นคนนอกไป 16
  • 18. จากเบื้องหลังคนทำ�งาน ระดับหนึ่ง ไปสู่การทำ�งานที่ participate เกินงานในขอบเขตของพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น สิ่งที่มีร่วมกันไม่ว่าจะคนนอกหรือคนในชุมชนทำ�คือการสัมพันธ์กับชุมชน คือการ ตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้อยู่โดดๆ เป็นอิสระ ดำ�เนินการได้ตามใจของคนทำ� พิพิธภัณฑ์โดยไม่ต้องสนใจชุมชน แม้ว่าชุมชนเองเห็นด้วย เห็นชอบกับการมีอยู่ของ พิพิธภัณฑ์ ความ ‘ใส่ใจ’ นี้ยังต้องขยายไปถึงขั้นการรักษาความสัมพันธ์ ด้วยสำ�นึก เช่นนี้ทำ�ให้พิพิธภัณฑ์ต้องรักษาความสัมพันธ์กับชุมชนในหลายมิติ ซึ่งในอีกทางหนึ่ง ส่งผลให้การดำ�รงอยู่ของพิพิธภัณฑ์มีความชอบธรรมมากขึ้นในสำ�นึกของชุมชน น่าสังเกตว่า เมื่อพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือของอะไรบางอย่าง เช่น การพัฒนา การยืนยันอัตลักษณ์ชุมชน การต่อสู้ คนทำ�พิพิธภัณฑ์มีบทบาทมากกว่าการอนุรักษ์ ข้าวของ การเล่าเรื่อง การจัดแสดง หากบทบาทของเขาขยายไปสู่การเป็นนักสื่อสารที่ ต้องสื่อสารกับชุมชน สื่อสารกับคนนอก และต้องเป็นนักพัฒนาไปโดยปริยาย เพราะ ขอบเขตของงานเป้าหมายของงานไม่ใช่แค่พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์แต่ขยายไปพ้นอาคารพ้น รั้วพิพิธภัณฑ์ เวลาทำ�การของนักพิพิธภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ได้จบลงแค่เวลาปิด 16.30 น. แต่บางคราอาจจะเป็นเสาร์อาทิตย์ เป็นการไปร่วมงานบวช งานแต่งงาน การขุดฝาย การไปต่อรองกับเจ้าของที่ การไปจัดกิจกรรมกับครู นักเรียน การทำ�ค่าย บทบาท ทางสังคมเหล่านี้ทำ�ให้ความหมายของคำ�ว่าภัณฑารักษ์ขยายไปมากกว่าความเข้าใจ ในคำ�แต่ดั้งเดิม ชีวิตพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ วลีหนึ่งที่เรามักจะได้ยินเสมอในหมู่คนทำ�พิพิธภัณฑ์คือ ต้องทำ�ให้พิพิธภัณฑ์ ‘มีชีวิต’ แต่หากจะถามว่าอะไรคือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ อะไรทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต คำ�ตอบของแต่ละคนก็อาจจะต่างกันไป หากจะตอบจากคนทำ�พิพิธภัณฑ์ทั้ง 9 แห่ง ก็อาจตอบได้ว่าพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตคือพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ไม่นิ่งในหลายๆ ระดับ ทั้งระดับของการวิจัย การหาเรื่องมาเล่า การจัดแสดง การหมุนเวียนข้าวของ การ สัมพันธ์กับชุมชน การ engage กับคนดู ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมและสำ�นึกถึงความ เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ เหล่านี้คือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ในความหมายที่แท้จริงของการ เป็น ‘พื้นที่การเรียนรู้’ 17
  • 19. ‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ สุดท้าย หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการนำ�เสนอวิธีคิดของคนทำ�พิพิธภัณฑ์ในบาง เรื่อง และยังขาดคำ�ถามสำ�คัญอีกหลายเรื่องที่น่าจะนำ�มาสู่การหาคำ�ตอบต่อไป เป็นต้นว่าพิพิธภัณฑ์ไทยจะรองรับการเรียนรู้ของผู้มีข้อจำ�กัดทางกายภาพอย่างไรได้ บ้าง เทคโนโลยีที่ซับซ้อนจำ�เป็นขนาดไหนกับการเรียนรู้ของผู้ชม การออกแบบการ เรียนรู้สำ�หรับพิพิธภัณฑ์สำ�หรับทุกคนควรเป็นอย่างไร พิพิธภัณฑ์จะมีส่วนในการสร้าง การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภาวะทางสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างไร ได้บ้างคำ�ถามเหล่านี้และคำ�ถามอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกถามในที่นี้ล้วนรอให้ผู้ปฏิบัติการ ทางวัฒนธรรมคิดและทำ� เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นอีกหนึ่ง cultural landscape ที่หยั่ง รากลงไปในปริมณฑลของการเรียนรู้ในสังคมไทยอย่างแท้จริง ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร 18
  • 20.
  • 21.
  • 23.
  • 24. พิพิธภัณฑ์ที่ดีต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ต้อง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อนุญาตให้เด็กนักเรียนจับต้องได้ ต้องมีการเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษา ไม่ใช่ว่ามีแต่ของมาตั้งโชว์ พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�ให้ คนพื้นถิ่นรู้สึกว่าพวกเขาต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ทางวัฒนธรรม อุบล ทรัพย์อินทร์ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง
  • 25.
  • 26. ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี โรงเรียนแห่งนี้มีประชากรตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ภายใน พิพิธภัณฑ์แบ่งพื้นที่การจัดแสดงสิ่งของเป็น 3 ส่วน อาคารแรก เป็นพื้นที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน มีวัตถุจัดแสดงตั้งแต่เครื่องมือหินขัดที่พบในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาแล้ว กระทั่งเครื่องใช้ร่วมสมัย เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ โทรศัพท์มือ ถือ วิทยุ กล้องถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์ม พัดลม เครื่องพิมพ์ดีด จักรเย็บผ้า ฯลฯ “ห้องนี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ของมนุษย์ในแถบนี้ค่ะ” นักเรียนหญิงชั้น ป.5 ให้ข้อมูลด้วยเสน่ห์แบบสำ�เนียงสุพรรณฯ อาคารที่ 2 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในอำ�เภอด่านช้าง มีบ้านเรือน จำ�ลองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ละว้า และลาวครั่ง เครื่องแต่งกายที่สวมอยู่บน หุ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสาม รวมถึงโครงกระดูกจำ�ลองซึ่งเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของ นักเรียน และอาคารที่ 3 จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน และวิถีชีวิตของ ชาวด่านช้าง เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผิน พิพิธภัณฑ์ด่านช้างไม่ได้ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ชุมชน แห่งอื่น ที่จัดแสดงสิ่งของที่บอกเล่าความเป็นมา อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชุมชน แต่สิ่งที่ทำ�ให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตขึ้นมาจากสิ่งของในอดีต คือการใช้สอยพื้นที่และ เรื่องราวในพิพิธภัณฑ์เป็นห้องเรียน เด็กนักเรียนที่นี่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ผ่านสิ่งของและเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 25
  • 27. ยุคบุกเบิก “ผอ.นพรัตน์ พิมพ์จุฬา ไปพบขวานหินที่ไร่มันสำ�ปะหลัง ท่านก็ให้กรมทรัพยากร ธรณีพิสูจน์ ก็พบว่ามันมีอายุ 3,300 กว่าปี ตรงกับยุคหินใหม่” สิทถาพร ป้อมทอง อดีตครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง ผู้เป็นครูในยุคบุกเบิกการ ทำ�พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เล่าให้ฟังถึงจุดตั้งต้นในสมัยที่ นพรัตน์ พิมพ์จุฬา ผู้อำ�นวยการ คนเก่าได้ริเริ่มจัดทำ�พิพิธภัณฑ์ที่บ่งบอกตัวตนในอดีตของอำ�เภอด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อบูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง นอกจากความสนใจโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้เก่าๆ ที่พบในเขตอำ�เภอ ด่านช้างของผู้อำ�นวยการคนเก่าแล้ว สิทถาพรยังเล่าว่า ในช่วงเวลานั้นทางโรงเรียน เพราะรัก...เพาะรู้26
  • 28. พิพิธภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร วิชาประวัติศาสตร์ นี่ก็ตรงกับสิ่งที่นำ�เสนอในพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว ภาษาไทยก็ ตรงกับพิพิธภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์ ของชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าภาษาอังกฤษเรียกว่า อะไร วิชาสุขศึกษาก็วางโครงกระดูกของชาติพันธุ์เป็น อนาโตมี คณิตศาสตร์เราสอนเรื่องทิศ เอาโม่หินใน พิพิธภัณฑ์มาวางไว้ 8 ทิศ ได้รับนโยบายจากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพฐ.) สุพรรณบุรี เขต 3 ให้มีการ จัดกิจกรรมในวาระฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จึงได้เริ่มมีโครงการจัดนิทรรศการ และศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของอำ�เภอด่านช้าง ขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง คณะครูรุ่นบุกเบิกอย่างอดีตผู้อำ�นวยการนพรัตน์และอดีตครูวิทยาศาสตร์อย่าง สิทถาพร เริ่มสะสมข้าวของเครื่องใช้โบราณเข้ามายังโรงเรียนในปี 2550 พร้อมกับ ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครองถึงจุดประสงค์ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อ ร่วมบริจาค จนกระทั่งได้ของสะสมมากพอ พวกเขาทำ�การแยกหมวดหมู่สิ่งของ ซึ่ง นำ�องค์ความรู้มาจากพิพิธภัณฑ์อู่ทอง เรียนรู้วิธีการจัดแยก วิธีการรักษาให้คงสภาพ เดิม จนได้พื้นที่จัดแสดงในอาคารที่ 1 “ศูนย์แรกคือเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องปั้นดินเผาไล่เรียงตามการแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ เริ่มจากยุคหินใหม่ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ โดยมีเอกสาร ทางประวัติศาสตร์เป็นจุดอ้างอิง เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายในการเข้าดู เครื่อง มือเครื่องใช้บางอย่างที่เราไม่มีเราก็ทำ�เลียนแบบเพื่อให้เด็กเห็นภาพว่าเครื่องมือ เครื่องไม้ชนิดนี้เคยมีบทบาทอย่างไรต่อชีวิตคนสมัยก่อนบ้าง” สิทถาพรเล่า จากหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่พบในเขตอำ�เภอด่านช้าง ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 27
  • 29. แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในบริเวณนี้มาอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการถลุงโลหะในสมัยอยุธยา ก่อนที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกทิ้งร้าง ไป หลงเหลือเพียงหลักฐานการบันทึกและคำ�บอกเล่าถึงกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ใน เขตนี้ก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวพื้นราบ (ชาวสุพรรณ) คือ ชาวกะเหรี่ยง ละว้า และลาวครั่ง โดยกลุ่มหลังนี้เพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เมื่อคราว รัชกาลที่ 3 ซึ่งได้ยกทัพไปทำ�สงครามกับเวียดนาม ขากลับก็ได้กวาดต้อนผู้คนเมือง ภูครัง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�โขง และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และ เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการเสาะหาสิ่งของได้มากขึ้น ทำ�ให้เกิดการแบ่ง พื้นที่เพื่อจัดแสดงเป็น 3 อาคารดังกล่าว ปัจจุบันสิทถาพรเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ ยังคงแวะเวียนมาให้คำ�ปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือในบางเรื่อง ภารกิจก่อนเกษียณ อายุราชการของเขาคือ ฝึกฝนให้เด็กซึมซับเรื่องราวภายในพิพิธภัณฑ์จนสามารถ ถ่ายทอดความรู้ออกไปยังผู้อื่นได้ “ผมจะฝึกเด็กให้เป็นมัคคุเทศก์น้อย ให้เขาสามารถนำ�เสนอสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ เพราะรัก...เพาะรู้28
  • 30. ได้ โดยแบ่งเป็น 3 โซน เราไม่ได้เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดีอะไร แต่เราอาศัยอิง ตามช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ แล้วให้เด็กเข้าไปเรียนรู้ แบ่งตามหนังสือที่เราค้นคว้า” สิทถาพรเล่า นอกจากการก่อรูปก่อร่างของศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างแล้ว โรงเรียน อนุบาลด่านช้างยังจัดทำ�หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยมีพิพิธภัณฑ์ เป็นสื่อการเรียนการสอน “ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จะมีการบูรณาการเข้ากับศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกอย่าง อย่างน้อยๆ เด็กที่อยู่ ในโรงเรียนนี้จะได้เรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์นี้ เพราะจุดประสงค์ของพิพิธภัณฑ์คือเป็น ห้องเรียนที่มีชีวิต” ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างดูแลโดย ครูอุบล ทรัพย์อินทร์ ซึ่ง เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นในการบูรณาการการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้กับศูนย์ การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ ทั้งด้วยบุคลิกส่วนตัวของเธอ และความเอาจริงเอาจัง ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 29
  • 31. เพาะความรู้ “หลักสูตรต้องปรับ!” เสียงดังฟังชัดทุกถ้อยคำ� บ่งลักษณะอย่างน้อยสองประการ ของ อุบล ทรัพย์อินทร์ หนึ่ง เธอเป็นครูภาษาไทย สอง เธอเป็นมนุษย์นิยมความสมบูรณ์แบบ – เพอร์เฟ็คชั่นนิสต์ “หลักสูตรต้องปรับ เรากำ�ลังปรับหลักสูตร แต่เดิมนั้นหลักสูตรของเราคือการ ให้เด็กทุกชั้น ทุกสาระการเรียนรู้ต้องเข้ามาที่ศูนย์ฯ ซึ่งมันเยอะไป ทำ�ให้เกิดขึ้น จริงได้ยาก ก็เลยมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้เด็กได้เข้ามาเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ แต่เราจะ ให้สาระการเรียนรู้สาระฯ ใดสาระฯ หนึ่งเป็นเจ้าภาพ เช่น ป.1 ให้สาระภาษาไทย เป็นเจ้าภาพ ป.2 คณิตศาสตร์ ป.3 อังกฤษ ป.4 สุขศึกษา ป.5 ภาษาไทยและสังคม ป.6 ประวัติศาสตร์และเทคโนฯ การงาน ก็จะครบทุกสาระ เด็กได้เข้าทุกชั้นปีแน่ถ้า เดินตามหลักสูตรนี้” เพราะรัก...เพาะรู้30
  • 32. สิ่งที่ครูอุบลกล่าว หมายความว่าในทุกสาระวิชาที่กล่าวมา จะต้องเชื่อมโยงกับ เนื้อหาสาระที่ปรากฏในศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถามว่า แล้ววิชาอย่างคณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับความรู้ในพิพิธภัณฑ์ อย่างไร “คณิตศาสตร์” แน่นอน ครูอุบลตอบด้วยเสียงดังฟังชัดเช่นเดิม “เราจะพูดเรื่อง ของทิศ เราจะเอาโม่หินที่เรามีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ฯ มาวางไว้ เราต้องการให้เด็กรู้ ว่าทิศทั้ง 8 มีอะไรบ้างโดยผ่านสื่อการสอนอย่างโม่หิน ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขาจะได้ เรียนรู้ว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ทำ�อะไร” สิ่งที่ครูอุบลพยายามทำ�ให้เกิดขึ้นอยู่นี้คือการประยุกต์เอาวัตถุสะสมที่มีอยู่ใน ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ปรับให้สอดคล้องเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน “ถูกค่ะ” ครูอุบลตอบทันที และเสียงดังชัดเจน “ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ถ้าสิ่งของเหล่านี้ไม่เข้าไปในหลักสูตร...มันไม่ได้ ต้อง เรียนเข้าไปในเนื้อหาหลักสูตร เช่น วิชาประวัติศาสตร์นี่ก็ตรงกับสิ่งที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ อยู่แล้ว...ไม่ยาก ภาษาไทยก็ตรงกับพิพิธภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์ ของ ชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าในภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร แล้วก็ทำ�เป็นสมุดศัพท์ อย่างวิชาสุขศึกษาเราก็วางโครงกระดูกของชาติพันธุ์เป็นอนาโตมี เพื่อเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชนชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชน นี่คือตัวอย่างของการเชื่อมโยง สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์” ครูอุบลอธิบาย ฉะฉาน ครูอุบลโมเดล สำ�หรับครูอุบล การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนรู้สามารถสัมผัสจับต้อง เพราะความรู้ ไม่ควรอยู่บนหิ้ง “ถ้าศูนย์การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จัดโชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรู้แค่นั้น ไม่เกิดประโยชน์ หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้อง ทำ�หน้าที่ปลุกคนให้เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เด็กต้องรักและตระหนัก กล้าที่จะจับ หิน ชิ้นนี้คือขวานหินมันเกิดจากกระบวนการอย่างไร เด็กต้องจับได้ ไห 4 หูเริ่มใช้กันมา ตั้งแต่สมัยใด เด็กต้องได้จับต้องและรู้ว่าอยู่สมัยไหน ใช้ทำ�อะไร แล้วเราต้องปลูกฝัง ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 31
  • 33. เรื่องการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมด้วย” จากการเฝ้าสังเกตนักเรียน ครูอุบลพบว่า ท่าทีการพูดคุยกันระหว่างครูกับ นักเรียนย่อมมีช่องว่างมากกว่านักเรียนด้วยกันเอง เธอจึงเลือกใช้การสร้างเครือข่าย ในหมู่นักเรียนเพื่อการส่งต่อและถ่ายทอดความรู้ “ภาษาที่เราถ่ายทอดจะเป็นภาษาผู้ใหญ่ ซึ่งมีกำ�แพงกั้นอยู่ แต่ถ้าเด็กเขาคุย กันเอง เขาจะมีความลึกซึ้ง เวลาครูฟังพวกเขาคุยกันครูสังเกตว่า มันจะมีความ ลึกซึ้งกว่ามาก ประกอบกับจำ�นวนเด็กมี 200 คน เด็กที่นี่มีเยอะ แต่ครูมีน้อย ก็เป็นการยากที่จะไปลากไปดึงกันมา เราทำ�ให้เด็กเขารู้สึกว่าเขามีหน้าที่ แล้วทำ�ให้เขา ตระหนักถึงหน้าที่ ให้เขาไปหาเครือข่ายในโรงเรียน 5 คน เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ ให้กันภายในเครือข่าย ครูไม่ได้คาดหวังว่าต้องสำ�เร็จภายในวันเดียวหรือภายในเดือน เดียว ครูปล่อยให้ซึมซับทั้งปีนะ ให้เขาค่อยๆ เรียนรู้ ปล่อยให้เด็กสอนกัน ดึงกันเข้าหา ความรู้ แล้วปลายเทอมเราก็ให้คะแนน” ถามครูอุบลว่าคำ�ว่าบูรณาการ และการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) จะเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร คำ�ตอบที่เราได้รับเป็นคำ�ตอบที่เฉพาะตัวอย่าง ยิ่ง สะท้อนความเป็นตัวตนของครูอุบลอย่างยิ่ง และแน่นอน เสียงของครูอุบลชัดถ้อยชัดคำ�อย่างยิ่ง “เอาคำ�ว่าบูรณาการก่อน ตามความเข้าใจของครูนะ หรือจะลองแลกเปลี่ยน กันก็ได้ คำ�ว่าบูรณาการของครูก็คือการหลอมรวม ตัวกลางในการรวมหลอมในที่นี้ ก็คือพิพิธภัณฑ์ แล้วเราจะบูรณาการกับอะไร เราต้องรู้ เช่น เราจะบูรณาการกับทุก สาระการเรียนรู้หรือทุกสายชั้น นี่คือการดึงเข้ามายังพิพิธภัณฑ์ โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็น ตัวหลัก ถามว่าเป็นตัวหลักยังไง เราก็ต้องรู้ว่าพิพิธภัณฑ์มีอะไรบ้าง มีความเป็นมา ตรงไหน ตรงนี้คือเนื้อหาหลัก แต่เนื้อหารองที่ให้บูรณาการเสริม เช่น วิชาคณิตศาสตร์ รู้เรื่องทิศ สุขศึกษารู้เรื่องอนาโตมีของโครงกระดูกที่ค้นพบในด่านช้าง รู้เรื่องความเป็นอยู่ เพราะรัก...เพาะรู้32 ถ้าศูนย์การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จัดโชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรู้แค่นั้น มัน ไม่เกิดประโยชน์ หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับ หลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�หน้าที่ปลุกคนให้เฝ้าระวังทาง วัฒนธรรม เด็กต้องรัก ตระหนัก และกล้าที่จะจับ
  • 35. เพราะรัก...เพาะรู้34 ครูพิพิธภัณฑ์ไม่ยากลำ�บากอะไร ลำ�ดับแรกเราต้องรักก่อน ต่อให้คุณ จบด้านนี้มาแต่คุณไม่รัก พิพิธภัณฑ์ก็ตาย ถ้าเป็นคนที่รักจะพยายามคิด หากิจกรรมต่างๆ ดึงเด็กเข้ามา ดึงเพื่อนครูเข้ามาให้เกิดการสนับสนุน แต่ต้องไม่ลืมว่าเราต้องทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลนไปก่อน
  • 36. ของคนในอดีต วิชาภาษาไทยเรียนรู้เกี่ยวกับการขับเสภาเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ส่วนวิชาประวัติศาสตร์นี่ตรงอยู่แล้ว เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สังคมวิถีพุทธ ดึงเข้ามา อย่างนี้จึงเรียกว่าบูรณาการ” สำ�หรับการเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในทัศนะของครูอุบลนั้น ยิ่งน่ารับฟัง “ถ้าพูดว่าศูนย์กลาง Child Center มาจากอังกฤษ แต่ขอโทษเถอะค่ะ ตอนนี้เขา เลิกแล้วนะ จริงๆ แล้วหัวใจของการเรียนรู้ให้ประสบความสำ�เร็จ ครูจะต้องเป็นตัวเอก! แต่จะเป็นอย่างไร เป็นแบบผู้กำ�กับให้เขาทำ�กิจกรรมด้วยตัวเอง ตามความเข้าใจ ของครูน่ะนะ การเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางคือให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างทฤษฎี ‘CIPPA Model’ ที่ครูเอานำ�ร่องในวิชาภาษาไทย ขั้นแรกเด็กต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน เขาจึงจะอยากศึกษา ได้จับได้ต้องได้สัมผัส ชิ้นนั้นชิ้นนี้ เราต้องกล้าปล่อยให้เขาจับเลย “แต่ถ้าเรื่องไหนที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้เราต้องสร้างเป็นหนังสือ แล้ว หนังสือธรรมดาเด็กไม่สนใจ เราก็เล่นหนังสือป๊อปอัพ สร้างเครื่องมือเป็นสื่อการสอน ที่นี่เล่นสื่อป๊อปอัพ แต่ถ้าเรามีอยู่แล้ว เช่น ขวานหิน มีหม้อ มีไห ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วย ตัวเอง พอเด็กได้เรียนได้รู้ได้จับต้องด้วยตัวเอง เราต้องมีสื่อเป็นหนังสือเป็นเอกสาร ประกอบสอนเขา หรือครูเป็นผู้ถ่ายทอด นี่คือการเรียนรู้ด้วยตัวเองในทฤษฎีซิปป้า โมเดล มันก็คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี่เอง” นอกจากนี้ ครูอุบลยังเน้นย้ำ�ว่า ผลลัพธ์ปลายทางของการเรียนรู้ต้องเกิดให้เห็น ได้อย่างเป็นรูปธรรม “เด็กจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ได้ เด็กก็ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาต้องพูดคุย กันเองแลกเปลี่ยนกันเอง ซึ่งความรู้ที่เขาแลกเปลี่ยนต้องเป็นความรู้ที่มีคุณภาพ นะคะ ซึ่งเกิดจากการจัดให้โดยครู ให้เด็กได้เรียน แล้วเราก็จับหลอมกันเลย เอาสอง กิจกรรมมารวมกัน ให้เด็กแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ้าให้เด็กนั่งนิ่งๆ เด็กก็จะเบื่อใช่มั้ย เราต้องปล่อยให้เด็กได้เคลื่อนที่ไปจุดนั้นจุดนี้ เราเอาเกมเข้ามา เอามาหลอมรวม ซิปป้า โมเดลเชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องผ่านกระบวนการที่หลากหลาย กระบวนการ แก้ปัญหา ครูต้องตั้งโจทย์ขึ้นมา เพื่อให้เด็กแก้ปัญหา “เช่นครูบอกว่า เธอเรียนรู้เรื่องตำ�นานด่านช้างแล้ว เธอรู้ทฤษฎีของกลอนแปด แล้ว ลองเล่าเรื่องราวตำ�นานด่านช้างโดยหาวิธีนำ�เสนอหน้าห้องสิ เธอจะนำ�เสนอยังไง ให้เขาจับคู่กันคิดเพื่อนำ�เสนอผลงานเป็นคู่ ทฤษฎีนี้คือการแก้ปัญหา และสุดท้ายต้อง ประยุกต์ เราจะรู้ได้ไงว่าเด็กประสบผลสำ�เร็จหรือไม่ประสบผลสำ�เร็จ ก็ต้องให้เด็กสร้าง ชิ้นงานเขาจะสร้างเป็นหนังสือเล่มเล็กสร้างเป็นสื่อป๊อปอัพหรือสร้างใบความรู้แต่เด็ก ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 35
  • 37. จะทำ�ได้ครูก็ต้องมีสื่อต้นแบบเป็นตัวอย่าง นี่สำ�คัญนะคะ เราจะมาบอกเด็กอย่างนั้น อย่างนี้แล้วไปทำ�มา มันไม่ได้ เราต้องมีสื่อตัวอย่าง แล้วเขาก็ไปค้นของเขาเอง ก็จะ ได้เป็นสื่อใหม่จากเด็ก นี่คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามที่ครูเข้าใจนะ ครูดึง ซิปป้า โมเดล เข้ามาสร้างการเรียนการสอน” ครูอุบลแจกแจง เพราะรัก...เพาะรู้36
  • 38. เพราะความรัก ครูอุบลเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำ�เนิด เธอจบเอกวิชาภาษาไทย จบโทวิชา นาฏศิลป์ และพ่วงด้วย คศ.3 จึงทำ�ให้ครูอุบลสามารถสร้างสื่อการสอนอย่างหนังสือ ป๊อปอัพ ที่ดึงดูดนักเรียนให้เข้าถึงเนื้อหาด้วยงานศิลปะ นอกจากนี้ครูอุบลยังสนใจ ประวัติศาสตร์ ทำ�ให้เธอสวมบทบาทนักประวัติศาสตร์ เป็นนักรื้อค้นข้อมูลถึงขนาด เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนของอำ�เภอด่านช้าง และด้วยความสามารถด้าน นาฏศิลป์ ครูอุบลจึงอาสาทำ�ละครให้ทางโรงเรียนและทางอำ�เภอ ก่อนที่ครูอุบลจะมาดูแลศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เธอเป็นครูสอน วิชาภาษาไทย ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และดูแลการแสดงละครเวทีของ นักเรียน เธอมองเห็นว่าศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มหยุดนิ่ง และดูคล้ายว่า จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีชีวิต ครูอุบลจึงขออาสาผู้อำ�นวยการโรงเรียน เข้ามาดูแลศูนย์ การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง “ก่อนหน้านี้ พิพิธภัณฑ์ก็ดูเหมือนเงียบไปเลย ครูจึงขอเข้ามาดูแล ขอ ผู้อำ�นวยการด้วยตัวเองเลย ตอนแรกครูดูแลเรื่องการแสดงของโรงเรียน แต่ไม่จับการ แสดงแล้วเพราะมีครูรุ่นน้องที่ทำ�ได้ สำ�หรับงานพิพิธภัณฑ์ถ้าไม่รักครูไม่ทำ� เพราะเรา ทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลน ดูสิว่าตัวอาคารกว่าเราจะขอได้ หลังคาก็รั่ว แล้วก็ ร้อนกว่าทุกตึก แต่เราอดทน พออยู่ๆ ไปเด็กที่เข้ามาเรียนเขาเห็นสื่อการสอนเขาก็ ตื่นเต้น ครูก็เลยยึดเอาพิพิธภัณฑ์เป็นที่สอน “แล้วครูปวารณาตนเข้ามาด้วยเหตุผลอะไร ครูชอบทำ�ด้านนี้ ครูชอบสืบค้น เรื่องภูมิปัญญา ครูเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านกะเหรี่ยง หมู่บ้านละว้า ครูเป็นคนชอบ เข้าไปสืบค้นเพื่อหาคำ�ตอบ เช่น ครูอยากรู้ว่าตอนนี้ลาวครั่งอยู่ที่ไหนบ้างในด่านช้าง ละว้าอยู่ที่ไหน กะเหรี่ยงอยู่ที่ไหน ครูเข้าไปในพื้นที่แล้วกลับมาแต่งหนังสือทีละเล่ม สองเล่ม จนกระทั่งเขตการศึกษารู้ ก็ดึงครูเข้าไปทำ�หนังสือท่องแดนด่านช้าง เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำ�เภอด่านช้าง แล้วครูก็ได้ไอเดียว่าจะทำ�ยังไงให้เด็กสามารถ จับต้องความรู้ได้ ครูก็เอา ซิปป้า โมเดล มาใช้อย่างที่เล่าให้ฟังไปแล้วเสียยืดยาว สิ่งที่ทำ�มานี้ครูอยากจะบอกเพื่อนครูด้วยกันว่ามันสามารถทำ�ให้เป็นจริงได้ พิพิธภัณฑ์ จะไม่ตาย ความรู้จะไหลเวียน และเด็กจะมีทักษะในการสื่อสาร” ถามว่าพิพิธภัณฑ์ที่ดีในทัศนะของครูอุบลเป็นอย่างไร ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง 37