SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  7
Télécharger pour lire hors ligne
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 1
บทที่ 6
ทรรศนะและเหตุผลของศาสดาและปรัชญาเมธี
อุดมคติของชีวิตทรรศนะของปรัชญาเมธี
เป้าหมายของชีวิตตามทรรศนะของปรัชญา จะมีความแตกต่างจากเป้าหมายของชีวิตใน
ทรรศนะของศาสนา ปรัชญาเมื่ออธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆนาเสนอทฤษฎีหรือการอ้างเหตุอ้าง
ผลมาสนับสนุนทุกครั้ง ส่วนศาสนาบ้างศาสนาไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์ได้
อาศัยความเชื่อความศรัทธาในอธิบายเรื่องนั้นๆ แม้แต่การอธิบายเป้าหมายของชีวิตทางปรัชญาก็
เป็นการอ้างทฤษฎีประกอบการเอาเหตุผลมารองรับ ดังจะอธิบายของกลุ่มนักปรัชญาที่มีพูดถึง
เป้าหมายของชีวิตอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม สุขนิยม กลุ่มอสุขนิยม(ศานติ) และกลุ่มมนุษยนิยม
1. กลุ่มสุขนิยมปรัชญากลุ่มสุขนิยม (Hedonism)
ท่านลองไปยืนบนหน้าต่างตึก 3 ชั้น และมองลงมาดูคนที่เดินขวักไขว่ที่อยู่ข้างถนน แล้ว
นึกสืบสวนดูซิว่า ผู้คนเหล่านั้นกาลังเดินไปหาอะไร นั่นประเสริฐเพื่อนของท่านกาลังวิ่งตามรถเมล์
ที่กาลังจะเคลื่อนออก ท่านรู้ดีว่านั่นก็เพราะเขากลัวไปถึงที่ทางานสาย ทาไมละ ก็เพราะถ้าบ่อยเข้า
เจ้านายอาจจะไล่ออก เพราะกลัวหางานใหม่ไม่ได้ เพราะเดี่ยวนี้หางานยาก ทาไมกลัวจะไม่ได้
ทางานละ ก็เพราะถ้ามีงานทาแล้วก็จะได้มีเงินเดือน เอาเงินมาทาอะไรละ ไม่มีเงินแล้วจะได้อะไร
กิน อะไรใช้ละ ทาไมต้องกินละ ก็เพราะถ้าหิวแล้วมันเกิดทุกข์ไม่สบายละซิ ทาไมจะต้องพ้นจาก
ความทุกข์มาสุขความสบายด้วยละ ตรงนี้ไม่มีคาตอบต่อไป
เราอาจต้องการสิ่งหนึ่งเพื่อสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อใดที่เราพ้นทุกข์ได้สุขเราถามไม่ได้ต่อไปว่าเรา
ต้องการสิ่งนี้เพื่ออะไร มันเป็นที่สุดของความต้องการ คนอื่นๆ ที่ท่านเห็นเดินอยู่ข้างล่างเขาอาจ
ไม่ได้ไปทางานหาเงิน เช่น คนกาลังไปดูหนัง คนนั้นกาลงจะไปพักผ่อนที่ใดที่หนึ่ง หรือบางคน
อาจจะไปเล่นเทนนิส แต่ถึงกระนั้นจุดหมายปลายทางอันที่สุดของทุกคนก็คือ การพ้นจากความ
ทุกข์และการได้มาซึ่งความสุขสบาย
กลุ่มวัตถุนิยม (Materialism) ในทางอภิปรัชญาทัศนะของกลุ่มนี้คือ สสารนิยม จักรกล
นิยม คนเราเป็นเครื่องจักรไม่เป็นอิสระ ในทางทฤษฎีความรู้ก็เป็นประสบการณ์นิยม ทางจริย
ศาสตร์ก็คือ หลักของฮ๊อบส์และสุขนิยม (รวมถึงประโยชน์นิยม)
โลกทัศน์ของกลุ่มนี้คือ ไม่มีพระเจ้า ไม่มีโลกอันเป็นแบบแผน แม่บทของเพลโต้ในโลก
นามธรรมมีอยู่เฉพาะในความคิด วัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง มนุษย์หลงตัวว่ามีเสรี แต่โดยความเป็นจริง
แล้ว มิได้มีอะไรเป็นตัวของเราเลย จิตเป็นเงื่อนไขของวัตถุ เราไม่สามารถแก้ไขจิตใจของคนโดยการ
สั่งสอน แต่ต้องปรับสภาพวัตถุให้ดีขึ้น มนุษย์ไม่ควรแสวงหาอะไรนอกจากความสุขสบาย คนที่
หลงใหลในกับนามธรรมอันไม่เป็นจริงนั้นหลอกตัวเอง เป็นพวกหนีชีวิต ชีวิตต้องต่อสู้ ต้องแข่งขัน
แต่ควรมีกฎและกติกาบ้างเพื่อประโยชน์ของทุกคน
ลัทธิกลุ่มสุขนิยมที่เชื่อว่า ความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ความสุขเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด
ความสุขเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวของมัน (Intrinsic value) คือสิ้นสุดในตัวของมันเอง ซึ่งตรงข้ามกับค่า
ภายในนอกเพราะเป็นค่าที่นาไปสู่สิ่งอื่นหรือภาวะอื่น (Extrinsic value) ความสุขจึงเป็นเป้าหมาย
สูงสุด เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา นักปรัชญาที่สาคัญๆที่ควรกล่าวถึงในกลุ่มสุข
นิยมนี้มี ฟรอยด์(นักจิตวิทยา) เจเรมี เบนธัม, เอพิคคิวรัส,จอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นต้น
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 2
ซิกมันด์ พรอยด์ (Sigmund Freud:1856-1939.) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาว ออสเตรีย
มีความเห็นว่า พฤติกรรมหรือการกระทาทุกอย่างของมนุษย์ล้วนมุ่งความสุขเป็นจุดสุดท้าย การ
แสวงหาความสุขนั้นอาจมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังเช่น ฟรอยด์ ได้กล่าวว่า
“......อะไรคือสิ่งที่ชีวิตต้องการและปรารถนาจะบรรลุถึง ต่อปัญหานี้คาตอบไม่มีอะไรน่า
สงสัย มนุษย์แสวงหาความสุข เขาต้องการได้รับความสุข และธารงมันไว้
การแสวงหานี้มี 2 ด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านหนึ่งมนุษย์แสวงหาสภาพที่
ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์อีกด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเขาแสวงหาความรู้สึกที่เป็นสุข
สบาย”
เจเรมี เบนธัม (Jereme Bentham:1748-1832) นักปรัชญาชาวอังกฤษมีความเห็นว่า
แรงส่งหรือแรกผลักดันที่ทาให้มนุษย์ (อาจรวมถึงสัตว์ด้วย)ต้องทาอย่างโน้นอย่างนี้นั้นมี 2 อย่าง
คือ การหลีกหนีความเจ็บปวด และการได้มาซึ่งความสุข การหลีกหนีความเจ็บปวดจะเห็นได้ เช่น
การฝึกสิงโต เป็นต้นของละครสัตว์ ซึ่งเขาต้องทาให้มันเจ็บปวดเสียก่อน สิงโตจึงจะยอมทาหรือ
แสดงอย่างที่ผู้ฝึกต้องการ ตัวอย่างของการความสุขจะเห็นได้จากพฤติกรรมของมนุษย์ทั่วไป เพราะ
กิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์นั้นถ้าสาวไปลึกๆล้วนมีความสุขเป็นเป้าหมายสุดท้ายทั้งสิ้น ดังนั้น
มนุษย์จึงอยู่ภายใต้การบงการของนายที่มีอานาจเต็ม 2 คน อันได้แก่ ความเจ็บปวด และความสุข
สบาย
เอพิคคิวรัส (Apicurus:341-270 B.C.) นักปรัชญาชาวกรีกอีกคนหนึ่ง เป็นผู้มีความคิด
แนวสุขนิยมเช่นกัน โดยพื้นฐานเอพิคคิวรัส เป็นพวกสสารนิยม เขาจึงไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่อง
นรก สวรรค์ คนตายแล้วร่างกายก็เน่าเปื่อยผุพังไป ดังนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ควรแสวงหาความสุขใส่
ตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ในการแสวงหาความสุขนั้น ต้องรู้จักคิด รู้จักเลือก ไม่ต้องหา
ความสุขกับของหายาก หรือของราคาแพง เพราะมิฉะนั้น เราจะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้นๆไป
เพราะการเป็นอิสระจากสิ่งภายนอกเป็นความดีอย่างหนึ่ง
จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuar Mill:1800-1873) นักปรัชญาชาวอังกฤษอีกท่านคน
หนึ่งได้เสริมแต่งแนวคิดแบบสุขนิยมขึ้นอีก โดยกล่าวว่า มนุษย์กับสัตว์มีสมรรถนะหรือ
ความสามารถ(Faculty)ไม่เท่ากัน ดังนั้น ความสุขของสัตว์ เช่น สุกร เป็นต้น กับความสุขของ
มนุษย์ย่อมแตกต่างกันหรือมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะความสุขมี 2 ชนิด คือความสุขทางกาย กับ
ความสุขทางใจ ทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็มีความสุขทางกายเหมือนกันได้ แต่ความสุขทางใจนั้น
มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักได้ และความสุขทั้งสองชนิดนี้มีค่าไม่เท่ากัน ความสุขทางใจมีค่ามากกว่า และ
ถาวรปลอดภัยมากกว่าความสุขทางกาย
ลัทธิจารวากของอินเดียก็มีทรรศนะคล้ายกับพวกสุขนิยม แต่ได้เตือนว่าในความสุขนั้น
อาจมีความทุกข์เจือปนด้วย เพราะในขณะที่แสวงหาความสุขบางทีอาจต้องเผชิญกับความทุกข์ด้วย
ฉะนั้น บางที่ดีเราจะต้องรู้จักคัดเลือกหรือระมัดระวัง เหมือนคนจะกินปลา ต้องระวังไม่ให้ก้างปลา
ติดคอ ในบางครั้งเราอาจจะต้องยอมทุกข์ยากเสียก่อนเพื่อแลกกับความสุขระยะยาว
เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามความเห็นของกลุ่มวัตถุนิยมคือ สิ่งที่ประเสริฐสุดสาหรับชีวิต
ที่ควรแสวงหาก็คือ การมีความสุขระยะยาวการหลีกเลี่ยงความทุกข์ ซึ่งความสุขเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้
ด้วยความฉลาดรอบคอบที่จะพิจารณาไตร่ตรองเลือกการกระทา มนุษย์เราควรดาเนินชีวิตเรียบง่าย
และไม่ควรผูกผันกับสิ่งใด แต่การออกบวชก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะเหตุว่าการออกบวชย่อมมีศีล
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 3
ข้อปฏิบัติที่ผูกพันทาให้ตัวเราขาดอิสระ การเป็นตัวของตัวเอง ไตร่ตรองเลือกการกระทาอยู่อย่างไร้
ข้อผูกพันเป็นชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง
ชาวสุขนิยมเชื่อว่า ยิ่งวิทยาศาสตร์เจริญขึ้นมนุษย์ยิ่งสบายมากขึ้น อาจมีบางคนแย้งว่า
ทาไมเดี๋ยวนี้คนเรามีความสุขน้อยกว่าเก่า ชาวสุขนิยมจะบอกว่า นี้ไม่เป็นความจริง ถ้าดูอย่างผิว
เผินหรือถ้าพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่วิเคราะห์ลงไปจริงจังก็ดูเหมือนว่าปัจจุบันเรามีความสุข
น้อยกว่าเมื่อก่อน แต่ถ้าดูโดยทั่วๆ ไป เราจะต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้เรามีความสุขสบายมากกว่า
เมื่อก่อน มีใครบ้างที่อยากกลับไปอยู่ในยุคสมัยหิน ซึ่งมนุษย์ต้องทนกับความหนาวความร้อนและ
โรคภัยไข้เจ็บ ชาวสุขนิยมจะบอกว่า ถ้ามนุษย์เราฉลาดรอบคอบและมองการณ์ไกลแล้ว ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์แสวงหาความสุขอย่างดีเยี่ยมเราศึกษาวิทาศาสตร์มิใช่เพราะมันมี
ค่าในตัวของมันเอง สิ่งมีค่าสาหรับมนุษย์มีเพียงสิ่งเดียวคือความสุข ค่าทางวิทยาศาสตร์อยู่เพียงว่า
มันทาให้เราบรรลุสุขสบายได้ดีขึ้น (วิทย์ วิศทเวทย์, 2540 : 144-146)
สรุปเป้าหมายของชีวิตกของกลุ่มสุขนิยมคือ คือ การมีสิ่งที่มาสนองความต้องการของ
มนุษย์ให้มากพอกับความต้องการ หมายความว่า ความต้องการของมนุษย์(want) ที่เป็นจริงที่สุด
คือความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Five Senses Organ) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เอง
มนุษย์จะเข้าถึงความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่สนองความต้องการของประสาทสัมผัสนี้เท่านั้น ตราบใด
ที่ความต้องการของมนุษย์ไม่ได้รับการตอบสนองความสุขก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็ยังมา
ไม่ถึง แต่ถ้าความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนองจนกระทั่งเกิดความความเพลิดเพลินทาง
กามารมณ์ (Pleasure) ในการเสพของมนุษย์ความสุขก็จะเกิดขึ้น ลักษณะความสุขที่พูดถึงแบบนี้
จึงเป็นความสุขที่เกิดจากการนาวัตถุมาสนอง ความสุขแบบนี้บางครั้งจึงเรียกว่าเป็น วัตถุนิยม
บริโภคนิยม วลีที่เราคุ้นเคย เช่น “ความสุขที่คุณดื่มได้” “ฉันรักเธอชอบเธอด้วยใจ ของอะไรไม่
ต้องเอามาฝาก ฉันรักเธอไม่ได้รักของฝาก ... แต่เงินน่ะมีไหม” น่าจะเป็นวลีที่แสดงความคิดแบบ
“สุขนิยม” นี้ได้ดี
2. กลุ่มอสุขนิยมปรัชญากลุ่มศานติ หรือ อสุขนิยม (Non-Hedonism)
ปรัชญาลัทธิอสุขนิยม หรือบางพวกเรียกว่า ศานติ คือลัทธิที่ถือว่า สิ่งที่มีค่าสูงสุดที่
มนุษย์ทุกคนแสวงหาหรือควรแสวงหานั้นหาใช่ความสุขไม่ แต่เป็นความสงบของจิตใจอันเกิดจาก
การเอาชนะจิตใจของตนเอง และการแสวงสัจธรรม นักปรัชญาเมธีหลายสานักเสนอว่าอย่าไปเที่ยว
แสวงหาความสุขให้มากเลย ยิ่งท่านหามันเท่าไรท่านยิ่งจะได้น้อยเท่านั้น กลุ่มศานตินิยมบอกว่าสิ่ง
ที่มีค่าของชีวิตมิได้อยู่ที่ความสุขจากวัตถุภายนอก แต่อยู่ที่ความสงบของจิตและวิญญาณภายใน
ของชีวิต อยู่ที่การที่วิญญาณได้ลิ้มรสอะไรบางอย่าง ไม่ใช่การที่ร่างกายได้สัมผัสรูปธรรมภายนอก
ปรัชญาเมธีกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าสิ่งที่มนุษย์ควรจะแสวงหาในฐานะที่มันเป็นความมุ่งหมาย
ของชีวิตนั้นควรจะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าวัตถุทั้งมวล โดยใช้คาว่า “ศานติ” ซึ่งมันเป็นสิ่งตรงข้าม
กับ “ความสุข” ที่กล่าวมา บางครั้งมีผู้เรียกว่า “อสุข” ซึ่งเป็นการใช้คาเพื่อให้เกิดการแย้งกันใน
ความหมายว่าชีวิตที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุและการเสพด้วยประสาทสัมผัส แต่ไม่ใช่ “ทุกข์” (Suffering)
ที่ตรงข้ามกับสุข ซึ่งเรามักจะเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ในชีวิต แต่ศานติหรืออสุขนิยมนี้เป็นสิ่ง
ที่พึงประสงค์ของชีวิต แนวความคิดแบบศานตินิยมนี้ที่สาคัญมี 2 กลุ่ม คือ
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 4
2.1 วิมุตตินิยม (Salvationism)
พวกวิมุตินิยม คือ พวกที่เชื่อว่า ความสงบของจิตและการหลุดพ้นกิเลสตัณหาเป็นสิ่ง
ที่ดีที่สุดของชีวิต นักปรัชญาที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่พวกซินนิค(Synnic)พวกสโตอิก(Stoic) และศาสนา
ต่างๆรวมทั้งปรัชญาอินเดียโดยทั่วไป นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อว่า ค่าอันแท้จริงของชีวิตอยู่ที่การ
ดารงชีวิตอย่างง่าย ๆมีสิ่งจาเป็นในชีวิตให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ชีวิตแบบเรียบง่ายเป็นจุดหมาย
ในตัวมันเอง มีค่าในตัวเอง แต่สาหรับโสเครตีสชีวิตที่เรียบง่ายไม่ได้มีค่าในตัวเอง แต่เป็นเพียงวิถีที่
จะนาจิตไปสู่สัจธรรมอันเป็นอมตะเท่านั้น
แก่นแท้ของปรัชญากลุ่มนี้ คือ การลดความต้องการทางเนื้อหนังลงเหลือเท่าจาเป็นจริง
ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ดวงวิญญาณเป็นอิสระ ความสุขอันแท้จริงของมนุษย์อยู่ที่การดารงชีวิตอย่างถูกต้อง
และฉลาด พวกซินนิคชอบการดารงชีวิตอย่างปอนๆ เรียบง่าย นอนบนดิน กินอาหารทุกอย่างเท่าที่
พบ เท่าที่หาได้ ทาตัวเหมือนสั่งสุนัขข้างถนน พวกซินนิกพยายามปลดเปลื้องมนุษย์จากพันธนาการ
ของมนุษย์ลงให้เหลือเท่าที่จาเป็นสาหรับชีวิตเท่านั้น ปรัชญาของพวกเขาจึงเป็นปรัชญาที่กลับไป
หาธรรมชาติและอาจมองได้ว่า ในทรรศนะที่มีลักษณะหนี (Negative) มากกว่าจะเป็นลักษณะเข้า
เผชิญ(Positive) มนุษย์อาจตกอยู่ใต้อานาจของกิเลส และตกเป็นทาสของกิเลส หรืออาจหนีจาก
กิเลสได้ โดยนาเอาศีลธรรมขึ้นมาช่วย เมื่อเขาชนะกิเลสได้เขาก็เป็นอิสระ ซึ่งนั่นคือความเป็นอิสระ
อย่างแท้จริง เพราะอิสรภาพเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ อิสรภาพคือความสงบทางด้านจิตใจ
ความสงบไม่ได้เกิดจากความสมอยาก แต่เกิดจากการระงับความอยาก และความอยากจะระงับได้
เมื่อเรายึดเหตุผลอยู่เสมอ ดังนั้น มนุษย์ควรเอาชนะตัวเอง ถ้าเอาชนะตัวเองได้ จะเอาชนะโลกทั้ง
โลกได้ นอกจากนี้ พวกสโตอิกยังสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น แต่สอนให้คิดว่าทุกสิ่งที่เราแต่ละคนมีอยู่
นั้นไม่ใช่ของเราที่แท้จริง ถ้าคิดเช่นนี้เราจะไม่มีความเสียใจ ไม่ผิดหวัง มีแต่ความสงบ แต่แนวคิด
เช่นนี้จะศึกษาได้จากคาพูดของเอพิคเตตัส (Epictetus:60-110) นักปรัชญาสายสโตอิคคนหนึ่ง
ความว่า
“ถ้าท่านเลิกชื่นชมกับเสื้อผ้า ท่านจะไม่โกรธขโมย ถ้าท่านเลิกชื่นชมกับความงามของ
ภรรยา ท่านจะไม่โกรธชายชู้ จงรู้ว่าขโมยกับชู้ไม่สามารถทาอะไรได้กับสิ่งที่เป็นของท่านจริงๆ ทาได้
ก็แต่สิ่งที่เป็นของคนอื่นและสิ่งที่อยู่พ้นอานาจของท่านเท่านั้น ถ้าท่านจะวางมันเสียโอกาสที่ท่านจะ
โกรธใครก็ไม่มีได้ แต่ถ้าท่านชื่นชมกับสิ่งเหล่านี้อยู่ ท่านควรจะโกรธตัวเองมากกว่าจะขโมยหรือชาย
ชู้ (วิทย์ วิศทเวทย์2529:53อักษรเจริญทัศน์)
กลุ่มวิมุตินิยม มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มปัญญานิยม คือ ถือว่า ความสุขไม่ใช่สาระสาคัญ
ของชีวิต ความสงบแห่งใจมีค่ามากกว่า กลุ่มปัญญานิยมจะมุ่งเน้นที่การแสวงหาสัจจะหรือความ
จริงที่เป็นสิ่งประเสริฐของชีวิต แต่วิมุตินิยมจะเน้นในเรื่องการดับความต้องการทางร่างกาย และ
การเอาชนะตนเองมากกว่า ความพอใจของมนุษย์คือ ความพอใจระหว่างสิ่งที่เราต้องการและ
สิ่งที่เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการนั้น เราได้มาจากภายนอกซึ่งต้องเอามาโดยวิธีการต่างๆ เพราะ
เป็นสิ่งที่มีจานวนจากัด ทุกคนอยากได้อยากมีและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราได้มันมาแล้ว ก็ไม่
สามารถที่จะแน่นอนใจได้ว่ามันจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มันอาจ
เสื่อมสภาพ อาจหายไปหรือโดนขโมยไปก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเรายึดติดกับของพวกนี้ก็จะทาให้เรา
เป็นทุกข์ หรือผิดหวังโดยไม่ทันตั้งตัว เหตุเพราะความสุขของเราขึ้นอยู่กับของที่ไม่แน่นอนที่เราไม่
สามารถควบคุมมันได้ ถ้าเราลดความต้องการสิ่งของวัตถุพวกนี้ลง เราจะมีความสุขมากกว่าการ
ที่เราต้องไปดิ้นรนขวนขวายหาสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนนั้น การเอาชนะใจ
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 5
ตนเองนั้นเป็นการง่ายและแน่นอนกว่าการที่เราจะไปเอาชนะผู้อื่น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธีแห่ง
ความสุขอย่างแท้จริง
ตามทัศนะของวิมุตินิยมถือว่า ความสงบของจิต ความหลุดพ้นจากความต้องการเป็นสิ่ง
ที่ดีที่สุด ความหลุดพ้นในที่นี้ หมายถึง จิตที่หลุดพ้นจากความต้องการ จิตสะอาดปราศจากกิเลส
ทั้งหลาย
2.2 ปัญญานิยม (Rationalism)
ปรัชญาเมธีกลุ่มนี้เห็นว่าสาระสาคัญของมนุษย์คือ วิญญาณไม่ใช่วัตถุร่างกาย และใน
วิญญาณสิ่งที่เป็นสาระก็คือ “ปัญญา” (Wisdom) หรือ “ความรู้” (Knowledge) โดยเชื่อว่าโดย
สภาพแล้วมนุษย์เป็นผู้ที่ต้องการหาปัญญา เพราะธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้ที่มีความสงสัยอยู่เป็น
นิจ เขาต้องการคาอธิบายของสิ่งต่างๆ ที่มีรอบตัวเอง ปัญญาหรือความรู้นี้จะทาให้เขาเกิดความ
เปลี่ยนแปลงจากสัตว์ไปสู่มนุษย์ จากความชั่วไปสู่ความดี ชีวิตที่พึงประสงค์คือชีวิตที่มีปัญญา
พวกปัญญานิยมคือพวกที่ถือว่า ปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ ปัญญาเป็น
สิ่งที่มีค่าในตัวเอง นักปรัชญาสานักสาคัญๆในสายนี้ได้แก่ โสเครตีส เพลโต้ และอริสโตเติล ทั้งสาม
คนนี้มีความคิดพื้นฐานเหมือนกัน แต่มีรายละเอียดอาจแตกต่างกันบ้าง แนวคิดของปรัชญากลุ่มนี้
คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีลักษณะเฉพาะของมัน เป็นลักษณะที่ทาให้สิ่งหนึ่งเป็นตัวของมันเอง
แยกได้จากสิ่งอื่น ลักษณะเฉพาะที่มีประจาอยู่ในแต่ละสิ่งนี้เรียกว่า “สาระ”ของสิ่งนั้นๆ ทั้ง
อริสโตเติลและเพลโต้ต่างก็เชื่อว่า สารของคนคือปัญญา ปัญญาคือความสามารถในการใช้เหตุผล
เพื่อแสวงหาความจริง ปัญญาเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ ปัญญาทาให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
และทาให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเอง ตามความคิดของเพลโต มนุษย์จะเข้าถึงโลกแห่งแบบได้ก็
ด้วยอาศัยปัญญา ชีวิตที่ดีไม่ใช่ชีวิตที่แสวงหาความพอใจให้แก่ร่างกาย แต่เป็นชีวิตที่หันเข้าหาสาระ
หรือธาตุแท้ของคน เป็นชีวิตที่อยู่กับปัญญา
กล่าวโดยสรุป กลุ่มวิมุตินิยม มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มปัญญานิยม คือ ถือว่า ความสุข
ไม่ใช่สาระสาคัญของชีวิต ความสงบแห่งใจมีค่ามากกว่า กลุ่มปัญญานิยมจะมุ่งเน้นที่การแสวงหา
สัจจะหรือความจริงที่เป็นสิ่งประเสริฐของชีวิต แต่วิมุตินิยมจะเน้นในเรื่องการดับความต้องการทาง
ร่างกาย และการเอาชนะตนเองมากกว่า ความพอใจของมนุษย์คือ ความพอใจระหว่างสิ่งที่เรา
ต้องการและสิ่งที่เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการนั้น เราได้มาจากภายนอกซึ่งต้องเอามาโดยวิธีการ
ต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่มีจานวนจากัด ทุกคนอยากได้อยากมีและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราได้มัน
มาแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะแน่นอนใจได้ว่ามันจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่คงที่
มันอาจเสื่อมสภาพ อาจหายไปหรือโดนขโมยไปก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเรายึดติดกับของพวกนี้ก็จะทา
ให้เราเป็นทุกข์ หรือผิดหวังโดยไม่ทันตั้งตัว เหตุเพราะความสุขของเราขึ้นอยู่กับของที่ไม่แน่นอนที่
เราไม่สามารถควบคุมมันได้ ถ้าเราลดความต้องการสิ่งของวัตถุพวกนี้ลง เราจะมีความสุข
มากกว่าการที่เราต้องไปดิ้นรนขวนขวายหาสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนนั้น การ
เอาชนะใจตนเองนั้นเป็นการง่ายและแน่นอนกว่าการที่เราจะไปเอาชนะผู้อื่น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธี
แห่งความสุขอย่างแท้จริง
ตามทัศนะของวิมุตินิยมถือว่า ความสงบของจิต ความหลุดพ้นจากความต้องการเป็นสิ่ง
ที่ดีที่สุด ความหลุดพ้นในที่นี้ หมายถึง จิตที่หลุดพ้นจากความต้องการ จิตสะอาดปราศจากกิเลส
ทั้งหลาย
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 6
3. มนุษย์นิยม (Humanism)
นักปรัชญามนุษย์นิยมไม่เห็นด้วยกับฝ่ายสุขนิยม เพราะพวกสุขนิยมให้ความสาคัญแก่
ความสุขสบายมากเกินไป และไม่เห็นด้วยกับพวกปัญญานิยมและวิมุตินิยม เพราะพวกปัญญานิยม
และวิมุตินิยมให้ความสาคัญแก่จิตมากเกินไป มนุษย์นิยมเห็นว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งสาคัญ
เพราะถ้าไม่มีร่างกายมนุษย์ก็ไม่เป็นมนุษย์ ส่วนจิตใจนั้น ก็อาศัยร่างกายไม่สามารถแยกอิสระจาก
ร่างกายได้มนุษย์นิยมเห็นความสาคัญของทั้งร่างกายและใจเสมอกัน
พวกมนุษย์นิยมเห็นว่าเราไม่ควรลดมนุษย์ให้ลงไปเป็นสัตว์ และไม่ควรเชิดชูเขาให้เท่า
เทียมกับพระเจ้า เพราะผิดธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่พระเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่พืช มนุษย์มี
ธรรมชาติของมนุษย์เอง มีร่างกายไม่แข็งแรงอย่างสัตว์บางชนิดที่อาจอยู่ในน้าได้ตลอดเวลา อยู่ใน
อากาศตลอดเวลา อยู่ในหิมะโดยไม่มีเครื่องกันหนาว
แต่พวกมนุษย์นิยมถือว่าร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งประกอบที่ดีที่สุดของมนุษย์พร้อมกับ
จิตใจ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากร่างกายและจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น สิ่งที่มนุษย์ต้องรักษาให้ดี
ที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ “ร่างกาย และ จิตใจ” มนุษย์เราควรมองชีวิตให้รอบด้าน แทนที่
จะมองด้านเดียว เพราะนั้นจะทาให้ทัศนคติของมนุษย์แคบไปด้วย ซึ่งส่งผลให้การใช้ชีวิตของเรา
นั้นแคบไปด้วย ทางที่ถูกคือ เราต้องมองชีวิตทั้งในด้านสุขนิยม ปัญญานิยม วิมุตินิยม ไปด้วย
ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่มีค่าและที่มนุษย์ควรแสวงหาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ คือ
สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้าน
จิตใจ แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมความต้องการให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะพอดี และเหมาะสมด้วย ไม่เอน
เอียงไปทางใดทางหนึ่ง ต้องทาให้สมดุลกัน จึงจะเป็นการใช้ชีวิตรอบคอบมากที่สุด
แนวคิดที่ยกย่องเชิดชูศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้สูงกว่าสิ่งอื่นใดในแง่ที่เกี่ยวกับ
เป้าหมายของชีวิต พวกมนุษยนิยมมีแนวความคิดที่ประสานแนวความคิดต่างๆ ที่ผ่านมาเข้า
ด้วยกัน พวกสุขนิยม วิมุตินิยม พวกปัญญานิยม เข้าด้วยกัน พวกมนุษยนิยมเห็นว่า
แนวความคิดทั้งสามลักษณะที่มุ่งให้ความสาคัญต่อการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพียงด้าน
ใดด้านหนึ่ง
ในการนาเสนอความคิด มนุษยนิยมคัดค้านแนวคิดอื่น ๆ โดยตั้งคาถามและให้คาตอบไว้
ดังนี้ หากมนุษย์พึงแสวหาสิ่งตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย หรือให้คุณค่าแต่กับวัตถุตาม
แนวสุขนิยมแล้ว มนุษย์ก็ดูจะไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์อื่นหากมนุษย์พึงแสวงหาสิ่งตอบสนองความ
ต้องการทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว ก็ดูเหมือนจะลด
พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 7
คุณค่าของความเป็นมนุษย์ลงไปเป็นเพียงเครื่องจักร
1. หากมนุษย์ยึดถือแต่อารมณ์ความรู้สึกจะกลายเป็นพวกเอาแต่ใจตัวเองและอยู่
ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ได้
2. หากมนุษย์เอาแต่ควบคุมความต้องการของตนเอง ก็จะทาให้มนุษย์พลาดจาก
โอกาสที่จะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พวกมนุษย์จึงเสนอแนวคิดว่า เป้าหมายของ
ชีวิตมนุษย์นั้น คือการแสวงหาสิ่งตอบสนองต่างๆ เท่าที่มนุษย์จะมีความต้องการได้ คือ ยอมรับว่า
มนุษย์มีความต้องการความสุขทางด้านร่างกายและวัตถุตามแบบสุขนิยม ยอมรับว่ามนุษย์ต้อง
แสวงหาความรู้และสิ่งตอบสนองทางด้านสติปัญญาบ้างตามโอกาส แต่มนุษย์ก็ควรแสวงหาสิ่ง
ตอบสนองความต้องการหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางด้านความสุนทรียภาพ เช่น ฟังเพลง ดูภาพยนตร์
ชื่นชมศิลปะ หรือเที่ยวชมทิวทัศน์ที่งดงาม ตลอดจนต้องรู้จักชื่นชมต่อความดีงามของผู้อื่น รู้จัก
ทาตัวให้เป็นที่ยอมรับในสังคม รู้จักตั้งเป้าหมายของงาน และทาให้สาเร็จเพื่อความภาคภูมิใจใน
ผลงาน
สรุป อุดมคติของชีวิตมนุษย์ของปรัชญามีความแตกต่างกันออกดไปตามลัทธินั้นๆ แต่
อย่างที่กล่าวแล้ว จริยศาสตร์เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา การอ้างเหตุผล การแสดงความ
คิดเห็นเป็นเรื่องของปรัชญาและการวิพากษ์พฤติกรรมของการกระทาในแต่ละครั้งจึงต้องการเปิดใจ
ก้าวเพื่อการวิพากษ์จะได้เกิดปัญญาองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา อุดมคติทางเป็นเรื่องของศาสนาก็จะยึด
เอาความเชื่อของศาสนานั้นเป็นอุดมคติ เช่น ศาสนาพุทธอุดมคติคือการดับสนิทจากกิเลสที่จะทา
ให้จิตใจเศร้าหมองเป็นต้น ได้แก่ นิพพาน

Contenu connexe

Tendances

ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาPadvee Academy
 
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์Pazalulla Ing Chelsea
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดพัน พัน
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3Khunnawang Khunnawang
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรFh Fatihah
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 6.1
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  6.1การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  6.1
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 6.1Noo Suthina
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1Sokoy_jj
 
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6Thanawut Rattanadon
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์native
 
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดกหน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดกวุฒิชาติ มาตย์นอก
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2LeoBlack1017
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติwaraporny
 
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาNontaporn Pilawut
 
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชาวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชาThongsawan Seeha
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51Suwanan Nonsrikham
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1page
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1pageสไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1page
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1pagePrachoom Rangkasikorn
 

Tendances (20)

ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
ใบงานหน่วยที่ 4 สหกรณ์
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 6.1
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  6.1การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  6.1
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 6.1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
 
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดกหน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
หน่วย2 พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
 
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชาวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1page
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1pageสไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1page
สไลด์ ศาสนพิธี ป.5+483+dltvsocp5+55t2soc p05 f14-1page
 

Similaire à จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี

กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตfreelance
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สินSorasak Tongon
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สินSorasak Tongon
 
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์บรรพต แคไธสง
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีPa'rig Prig
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาppompuy pantham
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้Phairot Odthon
 
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์boomlove
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349CUPress
 
น.ส. จุฑารัตน์ มัธยม
น.ส. จุฑารัตน์     มัธยมน.ส. จุฑารัตน์     มัธยม
น.ส. จุฑารัตน์ มัธยมJutarat Mattayom
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayatippaya6563
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาutumporn charoensuk
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิตTongsamut vorasan
 

Similaire à จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี (20)

กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
 
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
 
น.ส. จุฑารัตน์ มัธยม
น.ส. จุฑารัตน์     มัธยมน.ส. จุฑารัตน์     มัธยม
น.ส. จุฑารัตน์ มัธยม
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippaya
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
 

Plus de Pa'rig Prig

ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินPa'rig Prig
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์Pa'rig Prig
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาคPa'rig Prig
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาคPa'rig Prig
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาคPa'rig Prig
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลPa'rig Prig
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตPa'rig Prig
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพPa'rig Prig
 

Plus de Pa'rig Prig (20)

4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
Eport2
Eport2Eport2
Eport2
 
5
55
5
 
4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
2
22
2
 
1
11
1
 
ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมิน
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาค
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาค
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาค
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาล
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
 

จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี

  • 1. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 1 บทที่ 6 ทรรศนะและเหตุผลของศาสดาและปรัชญาเมธี อุดมคติของชีวิตทรรศนะของปรัชญาเมธี เป้าหมายของชีวิตตามทรรศนะของปรัชญา จะมีความแตกต่างจากเป้าหมายของชีวิตใน ทรรศนะของศาสนา ปรัชญาเมื่ออธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆนาเสนอทฤษฎีหรือการอ้างเหตุอ้าง ผลมาสนับสนุนทุกครั้ง ส่วนศาสนาบ้างศาสนาไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์ได้ อาศัยความเชื่อความศรัทธาในอธิบายเรื่องนั้นๆ แม้แต่การอธิบายเป้าหมายของชีวิตทางปรัชญาก็ เป็นการอ้างทฤษฎีประกอบการเอาเหตุผลมารองรับ ดังจะอธิบายของกลุ่มนักปรัชญาที่มีพูดถึง เป้าหมายของชีวิตอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม สุขนิยม กลุ่มอสุขนิยม(ศานติ) และกลุ่มมนุษยนิยม 1. กลุ่มสุขนิยมปรัชญากลุ่มสุขนิยม (Hedonism) ท่านลองไปยืนบนหน้าต่างตึก 3 ชั้น และมองลงมาดูคนที่เดินขวักไขว่ที่อยู่ข้างถนน แล้ว นึกสืบสวนดูซิว่า ผู้คนเหล่านั้นกาลังเดินไปหาอะไร นั่นประเสริฐเพื่อนของท่านกาลังวิ่งตามรถเมล์ ที่กาลังจะเคลื่อนออก ท่านรู้ดีว่านั่นก็เพราะเขากลัวไปถึงที่ทางานสาย ทาไมละ ก็เพราะถ้าบ่อยเข้า เจ้านายอาจจะไล่ออก เพราะกลัวหางานใหม่ไม่ได้ เพราะเดี่ยวนี้หางานยาก ทาไมกลัวจะไม่ได้ ทางานละ ก็เพราะถ้ามีงานทาแล้วก็จะได้มีเงินเดือน เอาเงินมาทาอะไรละ ไม่มีเงินแล้วจะได้อะไร กิน อะไรใช้ละ ทาไมต้องกินละ ก็เพราะถ้าหิวแล้วมันเกิดทุกข์ไม่สบายละซิ ทาไมจะต้องพ้นจาก ความทุกข์มาสุขความสบายด้วยละ ตรงนี้ไม่มีคาตอบต่อไป เราอาจต้องการสิ่งหนึ่งเพื่อสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อใดที่เราพ้นทุกข์ได้สุขเราถามไม่ได้ต่อไปว่าเรา ต้องการสิ่งนี้เพื่ออะไร มันเป็นที่สุดของความต้องการ คนอื่นๆ ที่ท่านเห็นเดินอยู่ข้างล่างเขาอาจ ไม่ได้ไปทางานหาเงิน เช่น คนกาลังไปดูหนัง คนนั้นกาลงจะไปพักผ่อนที่ใดที่หนึ่ง หรือบางคน อาจจะไปเล่นเทนนิส แต่ถึงกระนั้นจุดหมายปลายทางอันที่สุดของทุกคนก็คือ การพ้นจากความ ทุกข์และการได้มาซึ่งความสุขสบาย กลุ่มวัตถุนิยม (Materialism) ในทางอภิปรัชญาทัศนะของกลุ่มนี้คือ สสารนิยม จักรกล นิยม คนเราเป็นเครื่องจักรไม่เป็นอิสระ ในทางทฤษฎีความรู้ก็เป็นประสบการณ์นิยม ทางจริย ศาสตร์ก็คือ หลักของฮ๊อบส์และสุขนิยม (รวมถึงประโยชน์นิยม) โลกทัศน์ของกลุ่มนี้คือ ไม่มีพระเจ้า ไม่มีโลกอันเป็นแบบแผน แม่บทของเพลโต้ในโลก นามธรรมมีอยู่เฉพาะในความคิด วัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง มนุษย์หลงตัวว่ามีเสรี แต่โดยความเป็นจริง แล้ว มิได้มีอะไรเป็นตัวของเราเลย จิตเป็นเงื่อนไขของวัตถุ เราไม่สามารถแก้ไขจิตใจของคนโดยการ สั่งสอน แต่ต้องปรับสภาพวัตถุให้ดีขึ้น มนุษย์ไม่ควรแสวงหาอะไรนอกจากความสุขสบาย คนที่ หลงใหลในกับนามธรรมอันไม่เป็นจริงนั้นหลอกตัวเอง เป็นพวกหนีชีวิต ชีวิตต้องต่อสู้ ต้องแข่งขัน แต่ควรมีกฎและกติกาบ้างเพื่อประโยชน์ของทุกคน ลัทธิกลุ่มสุขนิยมที่เชื่อว่า ความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ความสุขเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด ความสุขเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวของมัน (Intrinsic value) คือสิ้นสุดในตัวของมันเอง ซึ่งตรงข้ามกับค่า ภายในนอกเพราะเป็นค่าที่นาไปสู่สิ่งอื่นหรือภาวะอื่น (Extrinsic value) ความสุขจึงเป็นเป้าหมาย สูงสุด เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา นักปรัชญาที่สาคัญๆที่ควรกล่าวถึงในกลุ่มสุข นิยมนี้มี ฟรอยด์(นักจิตวิทยา) เจเรมี เบนธัม, เอพิคคิวรัส,จอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นต้น
  • 2. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 2 ซิกมันด์ พรอยด์ (Sigmund Freud:1856-1939.) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาว ออสเตรีย มีความเห็นว่า พฤติกรรมหรือการกระทาทุกอย่างของมนุษย์ล้วนมุ่งความสุขเป็นจุดสุดท้าย การ แสวงหาความสุขนั้นอาจมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังเช่น ฟรอยด์ ได้กล่าวว่า “......อะไรคือสิ่งที่ชีวิตต้องการและปรารถนาจะบรรลุถึง ต่อปัญหานี้คาตอบไม่มีอะไรน่า สงสัย มนุษย์แสวงหาความสุข เขาต้องการได้รับความสุข และธารงมันไว้ การแสวงหานี้มี 2 ด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านหนึ่งมนุษย์แสวงหาสภาพที่ ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์อีกด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเขาแสวงหาความรู้สึกที่เป็นสุข สบาย” เจเรมี เบนธัม (Jereme Bentham:1748-1832) นักปรัชญาชาวอังกฤษมีความเห็นว่า แรงส่งหรือแรกผลักดันที่ทาให้มนุษย์ (อาจรวมถึงสัตว์ด้วย)ต้องทาอย่างโน้นอย่างนี้นั้นมี 2 อย่าง คือ การหลีกหนีความเจ็บปวด และการได้มาซึ่งความสุข การหลีกหนีความเจ็บปวดจะเห็นได้ เช่น การฝึกสิงโต เป็นต้นของละครสัตว์ ซึ่งเขาต้องทาให้มันเจ็บปวดเสียก่อน สิงโตจึงจะยอมทาหรือ แสดงอย่างที่ผู้ฝึกต้องการ ตัวอย่างของการความสุขจะเห็นได้จากพฤติกรรมของมนุษย์ทั่วไป เพราะ กิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์นั้นถ้าสาวไปลึกๆล้วนมีความสุขเป็นเป้าหมายสุดท้ายทั้งสิ้น ดังนั้น มนุษย์จึงอยู่ภายใต้การบงการของนายที่มีอานาจเต็ม 2 คน อันได้แก่ ความเจ็บปวด และความสุข สบาย เอพิคคิวรัส (Apicurus:341-270 B.C.) นักปรัชญาชาวกรีกอีกคนหนึ่ง เป็นผู้มีความคิด แนวสุขนิยมเช่นกัน โดยพื้นฐานเอพิคคิวรัส เป็นพวกสสารนิยม เขาจึงไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่อง นรก สวรรค์ คนตายแล้วร่างกายก็เน่าเปื่อยผุพังไป ดังนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ควรแสวงหาความสุขใส่ ตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ในการแสวงหาความสุขนั้น ต้องรู้จักคิด รู้จักเลือก ไม่ต้องหา ความสุขกับของหายาก หรือของราคาแพง เพราะมิฉะนั้น เราจะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้นๆไป เพราะการเป็นอิสระจากสิ่งภายนอกเป็นความดีอย่างหนึ่ง จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuar Mill:1800-1873) นักปรัชญาชาวอังกฤษอีกท่านคน หนึ่งได้เสริมแต่งแนวคิดแบบสุขนิยมขึ้นอีก โดยกล่าวว่า มนุษย์กับสัตว์มีสมรรถนะหรือ ความสามารถ(Faculty)ไม่เท่ากัน ดังนั้น ความสุขของสัตว์ เช่น สุกร เป็นต้น กับความสุขของ มนุษย์ย่อมแตกต่างกันหรือมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะความสุขมี 2 ชนิด คือความสุขทางกาย กับ ความสุขทางใจ ทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็มีความสุขทางกายเหมือนกันได้ แต่ความสุขทางใจนั้น มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักได้ และความสุขทั้งสองชนิดนี้มีค่าไม่เท่ากัน ความสุขทางใจมีค่ามากกว่า และ ถาวรปลอดภัยมากกว่าความสุขทางกาย ลัทธิจารวากของอินเดียก็มีทรรศนะคล้ายกับพวกสุขนิยม แต่ได้เตือนว่าในความสุขนั้น อาจมีความทุกข์เจือปนด้วย เพราะในขณะที่แสวงหาความสุขบางทีอาจต้องเผชิญกับความทุกข์ด้วย ฉะนั้น บางที่ดีเราจะต้องรู้จักคัดเลือกหรือระมัดระวัง เหมือนคนจะกินปลา ต้องระวังไม่ให้ก้างปลา ติดคอ ในบางครั้งเราอาจจะต้องยอมทุกข์ยากเสียก่อนเพื่อแลกกับความสุขระยะยาว เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามความเห็นของกลุ่มวัตถุนิยมคือ สิ่งที่ประเสริฐสุดสาหรับชีวิต ที่ควรแสวงหาก็คือ การมีความสุขระยะยาวการหลีกเลี่ยงความทุกข์ ซึ่งความสุขเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ด้วยความฉลาดรอบคอบที่จะพิจารณาไตร่ตรองเลือกการกระทา มนุษย์เราควรดาเนินชีวิตเรียบง่าย และไม่ควรผูกผันกับสิ่งใด แต่การออกบวชก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะเหตุว่าการออกบวชย่อมมีศีล
  • 3. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 3 ข้อปฏิบัติที่ผูกพันทาให้ตัวเราขาดอิสระ การเป็นตัวของตัวเอง ไตร่ตรองเลือกการกระทาอยู่อย่างไร้ ข้อผูกพันเป็นชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง ชาวสุขนิยมเชื่อว่า ยิ่งวิทยาศาสตร์เจริญขึ้นมนุษย์ยิ่งสบายมากขึ้น อาจมีบางคนแย้งว่า ทาไมเดี๋ยวนี้คนเรามีความสุขน้อยกว่าเก่า ชาวสุขนิยมจะบอกว่า นี้ไม่เป็นความจริง ถ้าดูอย่างผิว เผินหรือถ้าพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่วิเคราะห์ลงไปจริงจังก็ดูเหมือนว่าปัจจุบันเรามีความสุข น้อยกว่าเมื่อก่อน แต่ถ้าดูโดยทั่วๆ ไป เราจะต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้เรามีความสุขสบายมากกว่า เมื่อก่อน มีใครบ้างที่อยากกลับไปอยู่ในยุคสมัยหิน ซึ่งมนุษย์ต้องทนกับความหนาวความร้อนและ โรคภัยไข้เจ็บ ชาวสุขนิยมจะบอกว่า ถ้ามนุษย์เราฉลาดรอบคอบและมองการณ์ไกลแล้ว ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์แสวงหาความสุขอย่างดีเยี่ยมเราศึกษาวิทาศาสตร์มิใช่เพราะมันมี ค่าในตัวของมันเอง สิ่งมีค่าสาหรับมนุษย์มีเพียงสิ่งเดียวคือความสุข ค่าทางวิทยาศาสตร์อยู่เพียงว่า มันทาให้เราบรรลุสุขสบายได้ดีขึ้น (วิทย์ วิศทเวทย์, 2540 : 144-146) สรุปเป้าหมายของชีวิตกของกลุ่มสุขนิยมคือ คือ การมีสิ่งที่มาสนองความต้องการของ มนุษย์ให้มากพอกับความต้องการ หมายความว่า ความต้องการของมนุษย์(want) ที่เป็นจริงที่สุด คือความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Five Senses Organ) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เอง มนุษย์จะเข้าถึงความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่สนองความต้องการของประสาทสัมผัสนี้เท่านั้น ตราบใด ที่ความต้องการของมนุษย์ไม่ได้รับการตอบสนองความสุขก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็ยังมา ไม่ถึง แต่ถ้าความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนองจนกระทั่งเกิดความความเพลิดเพลินทาง กามารมณ์ (Pleasure) ในการเสพของมนุษย์ความสุขก็จะเกิดขึ้น ลักษณะความสุขที่พูดถึงแบบนี้ จึงเป็นความสุขที่เกิดจากการนาวัตถุมาสนอง ความสุขแบบนี้บางครั้งจึงเรียกว่าเป็น วัตถุนิยม บริโภคนิยม วลีที่เราคุ้นเคย เช่น “ความสุขที่คุณดื่มได้” “ฉันรักเธอชอบเธอด้วยใจ ของอะไรไม่ ต้องเอามาฝาก ฉันรักเธอไม่ได้รักของฝาก ... แต่เงินน่ะมีไหม” น่าจะเป็นวลีที่แสดงความคิดแบบ “สุขนิยม” นี้ได้ดี 2. กลุ่มอสุขนิยมปรัชญากลุ่มศานติ หรือ อสุขนิยม (Non-Hedonism) ปรัชญาลัทธิอสุขนิยม หรือบางพวกเรียกว่า ศานติ คือลัทธิที่ถือว่า สิ่งที่มีค่าสูงสุดที่ มนุษย์ทุกคนแสวงหาหรือควรแสวงหานั้นหาใช่ความสุขไม่ แต่เป็นความสงบของจิตใจอันเกิดจาก การเอาชนะจิตใจของตนเอง และการแสวงสัจธรรม นักปรัชญาเมธีหลายสานักเสนอว่าอย่าไปเที่ยว แสวงหาความสุขให้มากเลย ยิ่งท่านหามันเท่าไรท่านยิ่งจะได้น้อยเท่านั้น กลุ่มศานตินิยมบอกว่าสิ่ง ที่มีค่าของชีวิตมิได้อยู่ที่ความสุขจากวัตถุภายนอก แต่อยู่ที่ความสงบของจิตและวิญญาณภายใน ของชีวิต อยู่ที่การที่วิญญาณได้ลิ้มรสอะไรบางอย่าง ไม่ใช่การที่ร่างกายได้สัมผัสรูปธรรมภายนอก ปรัชญาเมธีกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าสิ่งที่มนุษย์ควรจะแสวงหาในฐานะที่มันเป็นความมุ่งหมาย ของชีวิตนั้นควรจะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าวัตถุทั้งมวล โดยใช้คาว่า “ศานติ” ซึ่งมันเป็นสิ่งตรงข้าม กับ “ความสุข” ที่กล่าวมา บางครั้งมีผู้เรียกว่า “อสุข” ซึ่งเป็นการใช้คาเพื่อให้เกิดการแย้งกันใน ความหมายว่าชีวิตที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุและการเสพด้วยประสาทสัมผัส แต่ไม่ใช่ “ทุกข์” (Suffering) ที่ตรงข้ามกับสุข ซึ่งเรามักจะเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ในชีวิต แต่ศานติหรืออสุขนิยมนี้เป็นสิ่ง ที่พึงประสงค์ของชีวิต แนวความคิดแบบศานตินิยมนี้ที่สาคัญมี 2 กลุ่ม คือ
  • 4. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 4 2.1 วิมุตตินิยม (Salvationism) พวกวิมุตินิยม คือ พวกที่เชื่อว่า ความสงบของจิตและการหลุดพ้นกิเลสตัณหาเป็นสิ่ง ที่ดีที่สุดของชีวิต นักปรัชญาที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่พวกซินนิค(Synnic)พวกสโตอิก(Stoic) และศาสนา ต่างๆรวมทั้งปรัชญาอินเดียโดยทั่วไป นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อว่า ค่าอันแท้จริงของชีวิตอยู่ที่การ ดารงชีวิตอย่างง่าย ๆมีสิ่งจาเป็นในชีวิตให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ชีวิตแบบเรียบง่ายเป็นจุดหมาย ในตัวมันเอง มีค่าในตัวเอง แต่สาหรับโสเครตีสชีวิตที่เรียบง่ายไม่ได้มีค่าในตัวเอง แต่เป็นเพียงวิถีที่ จะนาจิตไปสู่สัจธรรมอันเป็นอมตะเท่านั้น แก่นแท้ของปรัชญากลุ่มนี้ คือ การลดความต้องการทางเนื้อหนังลงเหลือเท่าจาเป็นจริง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ดวงวิญญาณเป็นอิสระ ความสุขอันแท้จริงของมนุษย์อยู่ที่การดารงชีวิตอย่างถูกต้อง และฉลาด พวกซินนิคชอบการดารงชีวิตอย่างปอนๆ เรียบง่าย นอนบนดิน กินอาหารทุกอย่างเท่าที่ พบ เท่าที่หาได้ ทาตัวเหมือนสั่งสุนัขข้างถนน พวกซินนิกพยายามปลดเปลื้องมนุษย์จากพันธนาการ ของมนุษย์ลงให้เหลือเท่าที่จาเป็นสาหรับชีวิตเท่านั้น ปรัชญาของพวกเขาจึงเป็นปรัชญาที่กลับไป หาธรรมชาติและอาจมองได้ว่า ในทรรศนะที่มีลักษณะหนี (Negative) มากกว่าจะเป็นลักษณะเข้า เผชิญ(Positive) มนุษย์อาจตกอยู่ใต้อานาจของกิเลส และตกเป็นทาสของกิเลส หรืออาจหนีจาก กิเลสได้ โดยนาเอาศีลธรรมขึ้นมาช่วย เมื่อเขาชนะกิเลสได้เขาก็เป็นอิสระ ซึ่งนั่นคือความเป็นอิสระ อย่างแท้จริง เพราะอิสรภาพเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ อิสรภาพคือความสงบทางด้านจิตใจ ความสงบไม่ได้เกิดจากความสมอยาก แต่เกิดจากการระงับความอยาก และความอยากจะระงับได้ เมื่อเรายึดเหตุผลอยู่เสมอ ดังนั้น มนุษย์ควรเอาชนะตัวเอง ถ้าเอาชนะตัวเองได้ จะเอาชนะโลกทั้ง โลกได้ นอกจากนี้ พวกสโตอิกยังสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น แต่สอนให้คิดว่าทุกสิ่งที่เราแต่ละคนมีอยู่ นั้นไม่ใช่ของเราที่แท้จริง ถ้าคิดเช่นนี้เราจะไม่มีความเสียใจ ไม่ผิดหวัง มีแต่ความสงบ แต่แนวคิด เช่นนี้จะศึกษาได้จากคาพูดของเอพิคเตตัส (Epictetus:60-110) นักปรัชญาสายสโตอิคคนหนึ่ง ความว่า “ถ้าท่านเลิกชื่นชมกับเสื้อผ้า ท่านจะไม่โกรธขโมย ถ้าท่านเลิกชื่นชมกับความงามของ ภรรยา ท่านจะไม่โกรธชายชู้ จงรู้ว่าขโมยกับชู้ไม่สามารถทาอะไรได้กับสิ่งที่เป็นของท่านจริงๆ ทาได้ ก็แต่สิ่งที่เป็นของคนอื่นและสิ่งที่อยู่พ้นอานาจของท่านเท่านั้น ถ้าท่านจะวางมันเสียโอกาสที่ท่านจะ โกรธใครก็ไม่มีได้ แต่ถ้าท่านชื่นชมกับสิ่งเหล่านี้อยู่ ท่านควรจะโกรธตัวเองมากกว่าจะขโมยหรือชาย ชู้ (วิทย์ วิศทเวทย์2529:53อักษรเจริญทัศน์) กลุ่มวิมุตินิยม มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มปัญญานิยม คือ ถือว่า ความสุขไม่ใช่สาระสาคัญ ของชีวิต ความสงบแห่งใจมีค่ามากกว่า กลุ่มปัญญานิยมจะมุ่งเน้นที่การแสวงหาสัจจะหรือความ จริงที่เป็นสิ่งประเสริฐของชีวิต แต่วิมุตินิยมจะเน้นในเรื่องการดับความต้องการทางร่างกาย และ การเอาชนะตนเองมากกว่า ความพอใจของมนุษย์คือ ความพอใจระหว่างสิ่งที่เราต้องการและ สิ่งที่เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการนั้น เราได้มาจากภายนอกซึ่งต้องเอามาโดยวิธีการต่างๆ เพราะ เป็นสิ่งที่มีจานวนจากัด ทุกคนอยากได้อยากมีและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราได้มันมาแล้ว ก็ไม่ สามารถที่จะแน่นอนใจได้ว่ามันจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มันอาจ เสื่อมสภาพ อาจหายไปหรือโดนขโมยไปก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเรายึดติดกับของพวกนี้ก็จะทาให้เรา เป็นทุกข์ หรือผิดหวังโดยไม่ทันตั้งตัว เหตุเพราะความสุขของเราขึ้นอยู่กับของที่ไม่แน่นอนที่เราไม่ สามารถควบคุมมันได้ ถ้าเราลดความต้องการสิ่งของวัตถุพวกนี้ลง เราจะมีความสุขมากกว่าการ ที่เราต้องไปดิ้นรนขวนขวายหาสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนนั้น การเอาชนะใจ
  • 5. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 5 ตนเองนั้นเป็นการง่ายและแน่นอนกว่าการที่เราจะไปเอาชนะผู้อื่น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธีแห่ง ความสุขอย่างแท้จริง ตามทัศนะของวิมุตินิยมถือว่า ความสงบของจิต ความหลุดพ้นจากความต้องการเป็นสิ่ง ที่ดีที่สุด ความหลุดพ้นในที่นี้ หมายถึง จิตที่หลุดพ้นจากความต้องการ จิตสะอาดปราศจากกิเลส ทั้งหลาย 2.2 ปัญญานิยม (Rationalism) ปรัชญาเมธีกลุ่มนี้เห็นว่าสาระสาคัญของมนุษย์คือ วิญญาณไม่ใช่วัตถุร่างกาย และใน วิญญาณสิ่งที่เป็นสาระก็คือ “ปัญญา” (Wisdom) หรือ “ความรู้” (Knowledge) โดยเชื่อว่าโดย สภาพแล้วมนุษย์เป็นผู้ที่ต้องการหาปัญญา เพราะธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้ที่มีความสงสัยอยู่เป็น นิจ เขาต้องการคาอธิบายของสิ่งต่างๆ ที่มีรอบตัวเอง ปัญญาหรือความรู้นี้จะทาให้เขาเกิดความ เปลี่ยนแปลงจากสัตว์ไปสู่มนุษย์ จากความชั่วไปสู่ความดี ชีวิตที่พึงประสงค์คือชีวิตที่มีปัญญา พวกปัญญานิยมคือพวกที่ถือว่า ปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ ปัญญาเป็น สิ่งที่มีค่าในตัวเอง นักปรัชญาสานักสาคัญๆในสายนี้ได้แก่ โสเครตีส เพลโต้ และอริสโตเติล ทั้งสาม คนนี้มีความคิดพื้นฐานเหมือนกัน แต่มีรายละเอียดอาจแตกต่างกันบ้าง แนวคิดของปรัชญากลุ่มนี้ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีลักษณะเฉพาะของมัน เป็นลักษณะที่ทาให้สิ่งหนึ่งเป็นตัวของมันเอง แยกได้จากสิ่งอื่น ลักษณะเฉพาะที่มีประจาอยู่ในแต่ละสิ่งนี้เรียกว่า “สาระ”ของสิ่งนั้นๆ ทั้ง อริสโตเติลและเพลโต้ต่างก็เชื่อว่า สารของคนคือปัญญา ปัญญาคือความสามารถในการใช้เหตุผล เพื่อแสวงหาความจริง ปัญญาเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ ปัญญาทาให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ และทาให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเอง ตามความคิดของเพลโต มนุษย์จะเข้าถึงโลกแห่งแบบได้ก็ ด้วยอาศัยปัญญา ชีวิตที่ดีไม่ใช่ชีวิตที่แสวงหาความพอใจให้แก่ร่างกาย แต่เป็นชีวิตที่หันเข้าหาสาระ หรือธาตุแท้ของคน เป็นชีวิตที่อยู่กับปัญญา กล่าวโดยสรุป กลุ่มวิมุตินิยม มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มปัญญานิยม คือ ถือว่า ความสุข ไม่ใช่สาระสาคัญของชีวิต ความสงบแห่งใจมีค่ามากกว่า กลุ่มปัญญานิยมจะมุ่งเน้นที่การแสวงหา สัจจะหรือความจริงที่เป็นสิ่งประเสริฐของชีวิต แต่วิมุตินิยมจะเน้นในเรื่องการดับความต้องการทาง ร่างกาย และการเอาชนะตนเองมากกว่า ความพอใจของมนุษย์คือ ความพอใจระหว่างสิ่งที่เรา ต้องการและสิ่งที่เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการนั้น เราได้มาจากภายนอกซึ่งต้องเอามาโดยวิธีการ ต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่มีจานวนจากัด ทุกคนอยากได้อยากมีและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราได้มัน มาแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะแน่นอนใจได้ว่ามันจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มันอาจเสื่อมสภาพ อาจหายไปหรือโดนขโมยไปก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเรายึดติดกับของพวกนี้ก็จะทา ให้เราเป็นทุกข์ หรือผิดหวังโดยไม่ทันตั้งตัว เหตุเพราะความสุขของเราขึ้นอยู่กับของที่ไม่แน่นอนที่ เราไม่สามารถควบคุมมันได้ ถ้าเราลดความต้องการสิ่งของวัตถุพวกนี้ลง เราจะมีความสุข มากกว่าการที่เราต้องไปดิ้นรนขวนขวายหาสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนนั้น การ เอาชนะใจตนเองนั้นเป็นการง่ายและแน่นอนกว่าการที่เราจะไปเอาชนะผู้อื่น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธี แห่งความสุขอย่างแท้จริง ตามทัศนะของวิมุตินิยมถือว่า ความสงบของจิต ความหลุดพ้นจากความต้องการเป็นสิ่ง ที่ดีที่สุด ความหลุดพ้นในที่นี้ หมายถึง จิตที่หลุดพ้นจากความต้องการ จิตสะอาดปราศจากกิเลส ทั้งหลาย
  • 6. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 6 3. มนุษย์นิยม (Humanism) นักปรัชญามนุษย์นิยมไม่เห็นด้วยกับฝ่ายสุขนิยม เพราะพวกสุขนิยมให้ความสาคัญแก่ ความสุขสบายมากเกินไป และไม่เห็นด้วยกับพวกปัญญานิยมและวิมุตินิยม เพราะพวกปัญญานิยม และวิมุตินิยมให้ความสาคัญแก่จิตมากเกินไป มนุษย์นิยมเห็นว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งสาคัญ เพราะถ้าไม่มีร่างกายมนุษย์ก็ไม่เป็นมนุษย์ ส่วนจิตใจนั้น ก็อาศัยร่างกายไม่สามารถแยกอิสระจาก ร่างกายได้มนุษย์นิยมเห็นความสาคัญของทั้งร่างกายและใจเสมอกัน พวกมนุษย์นิยมเห็นว่าเราไม่ควรลดมนุษย์ให้ลงไปเป็นสัตว์ และไม่ควรเชิดชูเขาให้เท่า เทียมกับพระเจ้า เพราะผิดธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่พระเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่พืช มนุษย์มี ธรรมชาติของมนุษย์เอง มีร่างกายไม่แข็งแรงอย่างสัตว์บางชนิดที่อาจอยู่ในน้าได้ตลอดเวลา อยู่ใน อากาศตลอดเวลา อยู่ในหิมะโดยไม่มีเครื่องกันหนาว แต่พวกมนุษย์นิยมถือว่าร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งประกอบที่ดีที่สุดของมนุษย์พร้อมกับ จิตใจ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากร่างกายและจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น สิ่งที่มนุษย์ต้องรักษาให้ดี ที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ “ร่างกาย และ จิตใจ” มนุษย์เราควรมองชีวิตให้รอบด้าน แทนที่ จะมองด้านเดียว เพราะนั้นจะทาให้ทัศนคติของมนุษย์แคบไปด้วย ซึ่งส่งผลให้การใช้ชีวิตของเรา นั้นแคบไปด้วย ทางที่ถูกคือ เราต้องมองชีวิตทั้งในด้านสุขนิยม ปัญญานิยม วิมุตินิยม ไปด้วย ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่มีค่าและที่มนุษย์ควรแสวงหาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ คือ สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้าน จิตใจ แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมความต้องการให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะพอดี และเหมาะสมด้วย ไม่เอน เอียงไปทางใดทางหนึ่ง ต้องทาให้สมดุลกัน จึงจะเป็นการใช้ชีวิตรอบคอบมากที่สุด แนวคิดที่ยกย่องเชิดชูศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้สูงกว่าสิ่งอื่นใดในแง่ที่เกี่ยวกับ เป้าหมายของชีวิต พวกมนุษยนิยมมีแนวความคิดที่ประสานแนวความคิดต่างๆ ที่ผ่านมาเข้า ด้วยกัน พวกสุขนิยม วิมุตินิยม พวกปัญญานิยม เข้าด้วยกัน พวกมนุษยนิยมเห็นว่า แนวความคิดทั้งสามลักษณะที่มุ่งให้ความสาคัญต่อการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพียงด้าน ใดด้านหนึ่ง ในการนาเสนอความคิด มนุษยนิยมคัดค้านแนวคิดอื่น ๆ โดยตั้งคาถามและให้คาตอบไว้ ดังนี้ หากมนุษย์พึงแสวหาสิ่งตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย หรือให้คุณค่าแต่กับวัตถุตาม แนวสุขนิยมแล้ว มนุษย์ก็ดูจะไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์อื่นหากมนุษย์พึงแสวงหาสิ่งตอบสนองความ ต้องการทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว ก็ดูเหมือนจะลด
  • 7. พุทธศาสนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย จริยศาสตร์ ศึกษา / 7 คุณค่าของความเป็นมนุษย์ลงไปเป็นเพียงเครื่องจักร 1. หากมนุษย์ยึดถือแต่อารมณ์ความรู้สึกจะกลายเป็นพวกเอาแต่ใจตัวเองและอยู่ ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ 2. หากมนุษย์เอาแต่ควบคุมความต้องการของตนเอง ก็จะทาให้มนุษย์พลาดจาก โอกาสที่จะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พวกมนุษย์จึงเสนอแนวคิดว่า เป้าหมายของ ชีวิตมนุษย์นั้น คือการแสวงหาสิ่งตอบสนองต่างๆ เท่าที่มนุษย์จะมีความต้องการได้ คือ ยอมรับว่า มนุษย์มีความต้องการความสุขทางด้านร่างกายและวัตถุตามแบบสุขนิยม ยอมรับว่ามนุษย์ต้อง แสวงหาความรู้และสิ่งตอบสนองทางด้านสติปัญญาบ้างตามโอกาส แต่มนุษย์ก็ควรแสวงหาสิ่ง ตอบสนองความต้องการหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางด้านความสุนทรียภาพ เช่น ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ชื่นชมศิลปะ หรือเที่ยวชมทิวทัศน์ที่งดงาม ตลอดจนต้องรู้จักชื่นชมต่อความดีงามของผู้อื่น รู้จัก ทาตัวให้เป็นที่ยอมรับในสังคม รู้จักตั้งเป้าหมายของงาน และทาให้สาเร็จเพื่อความภาคภูมิใจใน ผลงาน สรุป อุดมคติของชีวิตมนุษย์ของปรัชญามีความแตกต่างกันออกดไปตามลัทธินั้นๆ แต่ อย่างที่กล่าวแล้ว จริยศาสตร์เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา การอ้างเหตุผล การแสดงความ คิดเห็นเป็นเรื่องของปรัชญาและการวิพากษ์พฤติกรรมของการกระทาในแต่ละครั้งจึงต้องการเปิดใจ ก้าวเพื่อการวิพากษ์จะได้เกิดปัญญาองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา อุดมคติทางเป็นเรื่องของศาสนาก็จะยึด เอาความเชื่อของศาสนานั้นเป็นอุดมคติ เช่น ศาสนาพุทธอุดมคติคือการดับสนิทจากกิเลสที่จะทา ให้จิตใจเศร้าหมองเป็นต้น ได้แก่ นิพพาน