SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  19
ความน่าจะเป็น โดย ครูสุจินต์  เย้าดุสิต โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
1.  กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ กฎข้อที่  1   ในการทำงานสองอย่างโดยที่งานอย่างแรกทำได้  n 1 วิธี และในแต่ละวิธีที่ทำงานอย่างแรกนี้ มีวิธีที่ทำงานอย่างที่สองได้  n 2 วิธี จำนวนวิธีที่ทำงานทั้งสองอย่างนี้เท่ากับ  n 1 n 2 วิธี ตัวอย่าง   ห้องประชุมมีประตู  6  ประตู จงหาจำนวนวิธีที่ชายคนหนึ่งจะเดินเข้าและเดินออกจากห้องประชุม โดยที่ 1)  จะเข้าหรือออกประตูใดก็ได้ 2)  ห้ามเข้าและออกประตูเดียวกัน วิธีทำ   1)  จำนวนวิธีที่เดินเข้า  6  วิธี   จำนวนวิธีที่เดินออก  6  วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีที่เดินเข้าและออกเท่ากับ  6 x 6  = 36   วิธี      2 )  จำนวนวิธีที่เดินเข้า  6  วิธี   จำนวนวิธีที่เดินออก  5  วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีที่เดินเข้าและออกไม่ซ้ำประตูเดิมเท่ากับ  6 x 5  = 3 0  วิธี   
กฎข้อที่  2   ในการทำงานซึ่งมี  k  ขั้นตอนโดยขั้นตอนที่หนึ่งเลือกทำได้  n 1 วิธี ในแต่ละวิธีของขั้นตอนที่หนึ่งเลือกทำขั้นตอนที่สองได้  n 2 วิธี ในแต่ละวิธีที่ทำขั้นตอนที่หนึ่งและขั้นตอนที่สองเลือกทำขั้นตอนที่สามได้  n 3 วิธี ฯลฯ จำนวนวิธีที่จะเลือกทำงาน  k  อย่างเท่ากับ  n 1 n 2 n 3 …n k วิธี  ตัวอย่าง   มีเลขโดดอยู่  6  ตัว คือ  0,1,2,3,4,5  นำมาสร้างเป็นจำนวนตัวเลข  3  หลักที่มีค่าน้อยกว่า  400  ได้กี่จำนวน เมื่อ 1)  แต่ละหลักใช้เลขซ้ำกันได้ 2)  แต่ละหลักใช้เลข ซ้ำกันไม่ได้ 3)  เป็นจำนวนคู่และแต่ละหลักใช้เลข ซ้ำกันไม่ได้ วิธีทำ   1)  หลักร้อย เลือกตัวเลขได้  3  วิธี  (1,2,3)     หลักสิบ  เลือกตัวเลขได้  6  วิธี  (0,1,2,3,4,5)   หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้  6  วิธี  (0,1,2,3,4,5) ดังนั้น  จำนวนเลขสามหลัก ที่น้อยกว่า  400   มี  3 x6x6   = 108  วิธี   
2)  หลักร้อย เลือกตัวเลขได้  3  วิธี  (1,2,3)   หลักสิบ เลือกตัวเลขได้  5  วิธี  ( หลักร้อยเลือกไปแล้ว  1  ตัว )   หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้  4  วิธี ดังนั้น จำนวนเลขสามหลักที่น้อยกว่า  400   มี  3x5x4 = 60   จำนวน   3)  หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้  2  วิธี  (0,4)   หลักร้อย เลือกตัวเลขได้  3  วิธี  (1,2,3)   หลักสิบ เลือกตัวเลขได้  4  วิธี   และ  หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้  1  วิธี  (2)   หลักร้อย เลือกตัวเลขได้  2  วิธี  (1,3)   หลักสิบ เลือกตัวเลขได้  4  วิธี ดังนั้น จำนวนคู่สามหลักที่น้อยกว่า  400   มี  (2x3x4)+(1x2x4) = 32  จำนวน  
2.  แฟกทอเรียล  n   (n-Factorial) บทนิยาม   เมื่อ  n  เป็นจำนวนเต็มบวก แฟกทอเรียล  n  หมายถึงผลคูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่  1  ถึง  n  แทนด้วย  n! จากบทนิยาม  n! = 1.2.3….(n-1).n หรือ  n! = n.(n-1).(n-2)….3.2.1 0! = 1 ตัวอย่าง  จงหาค่าของ  วิธีทำ
ตัวอย่าง  จงเขียน  504  ให้เป็นแฟกทอเรียล วิธีทำ   504  = 9.8.7 ตัวอย่าง  จงหาค่า  n  จาก  วิธีทำ   n-8 = 10   n = 18
3.   วิธีเรียงสับเปลี่ยน   (Permutation) 1)  วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น กฎข้อที่  3   จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของ  n  สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด เท่ากับ  n!   วิธี   ตัวอย่าง  จะมีวิธีจัดรูปภาพต่างๆกัน  7  รูป แขวนไว้ที่ผนังเป็นแถวได้กี่วิธี ถ้า 1)  ไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม   2)  รูปภาพรูปหนึ่งที่กำหนดให้อยู่ตรงกลาง  วิธีทำ 1)  จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนรูปภาพ  7  รูป ได้  7! = 5,040   วิธี   2)  เพราะว่ารูปภาพที่กำหนดให้อยู่ตรงกลาง เท่ากับจัดรูปภาพ  6  รูป ดังนั้น จำนวนวิธีจัดรูปภาพ  7  รูปโดยให้รูปหนึ่งอยู่กลางได้  6! = 720  วิธี   กฎข้อที่  4   จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของ  n  สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด โดยจัดคราวละ  r  สิ่ง เท่ากับ  P n,r   วิธี  โดย  ,
ตัวอย่าง  จะมีวิธีจัดคน  7  คน ยืนเข้าแถว  2  แถว เพื่อถ่ายรูปได้กี่วิธี ถ้าให้แถวหน้ามี  4  คน และแถวหลังมี  3  คน วิธีทำ   แถวหน้าเลือก  4  คน จาก  7  คน จัดได้  วิธี   เมื่อจัดแถวหน้าแล้วแถวหลัง  3  คน จัดได้  3! =  6   วิธี   ดังนั้น จำนวนวิธีจัดคน  7   คน เข้าแถวได้  =  840 x 6  =  5,040  วิธี   ตัวอย่าง  มีหนังสือคณิตศาสตร์ต่างกัน  5  เล่ม และหนังสือฟิสิกส์ต่างกัน  4  เล่ม จะมีวิธีจัดหนังสือเหล่านี้บนชั้นหนังสือได้กี่วิธี โดยที่หนังสือวิชาเดียวกันอยู่ติดกัน วิธีทำ   การจัดหนังสือวิชาเดียวกันติดกันคิดเป็นของ  1  สิ่ง จัดได้  2!  วิธี หนังสือคณิตศาสตร์จัดได้  5!  วิธี และหนังสือฟิสิกส์จัดได้  4!  วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีจัดเรียงหนังสือทั้งหมดเท่ากับ  2!5!4! = 5,760  วิธี  
2)  วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด กฎข้อที่  5   ถ้ามีของอยู่  n  สิ่ง ในจำนวนนี้มี  n 1 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่หนึ่ง มี  n 2 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่สอง .... มี  n k สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่  k  โดยที่  n 1 +n 2 +n 3 +…+n k = n จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของ  n  สิ่ง เท่ากับ  วิธี ตัวอย่าง  จงหาจำนวนวิธีการจัดเรียงจาน  8  ใบขนาดเดียวกัน ซึ่งมีจานสีขาว  3  ใบ สีเขียว  3  ใบและสีแดง  2  ใบ วิธีทำ   จำนวนวิธีเรียงจานทั้ง  8  ใบ  วิธี  ตัวอย่าง  มีหนังสือคณิตศาสตร์เหมือนกัน  6  เล่ม และหนังสือภาษาอังกฤษเหมือนกัน  4  เล่ม จงหาจำนวนวิธีจัดหนังสือทั้ง  10  เล่ม วางบนชั้นหนังสือโดยให้หนังสือที่อยู่หัวแถวและท้ายแถวเหมือนกัน วิธีทำ   1)   ให้หนังสือคณิตศาสตร์ อยู่หัวแถวและท้ายแถว  วิธี   2)   ให้หนังสือภาษาอังกฤษ อยู่หัวแถวและท้ายแถว  วิธี
3)  วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม กฎข้อที่  6   จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลมของสิ่งของ  n  สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด เท่ากับ  (n-1)!  วิธี ตัวอย่าง   ครอบครัว ครอบครัว หนึ่งมีสมาชิก  6  คน จะจัดให้นั่งรับประทานอาหารรอบโต๊ะกลมซึ่งมี  6  ที่นั่ง ได้ทั้งหมดกี่วิธี วิธีทำ   จำนวนวิธีจัดคน  6  คน นั่งรอบโต๊ะกลมเท่ากับ  (6-1)! = 5! = 120  วิธี   ตัวอย่าง   จะจัดนักเรียนชาย  4  คน และหญิง  4  คน ยืนสลับกันเป็นวงกลมได้กี่วิธี วิธีทำ   จัดนักเรียนชาย  4  คนให้ยืนเป็นวงกลมได้เท่ากับ  (4-1)! = 3!  วิธี จัดนักเรียนหญิง  4  คน ให้ยืนระหว่างนักเรียนชายได้เท่ากับ  4!  วิธี ดังนั้น  จะจัดนักเรียนชาย  4  คน และหญิง  4  คน ยืนสลับกันเป็นวงกลมได้เท่ากับ   3!.4! = 144   วิธี  
4.  วิธีจัดหมู่  (Combination) วิธีจัดหมู่ต่างกับวิธีเรียงสับเปลี่ยนตรงที่เราไม่ถืออันดับหรือตำแหน่งเป็นสำคัญ กล่าวคือการสลับที่กันไม่มีความหมาย  เช่น มีตัวอักษร  2  ตัว คือ  A , B  ถ้าเรียงสับเปลี่ยนจะได้  AB  และ  BA  แต่วิธีจัดหมู่ ถือว่า  AB  และ  BA  เหมือนกัน กฎข้อที่  7   จำนวนวิธีจัดหมู่ของสิ่งของที่แตกต่างกัน  n  สิ่ง ให้มีหมู่ละ  r  สิ่ง เท่ากับ  C n,r   โดย , ตัวอย่าง   ชายคนหนึ่งมีเสื้อที่แตกต่างกัน  10  ตัว ต้องการนำติดตัวไปต่างจังหวัด  4  ตัว จะจัดได้ทั้งหมดกี่วิธี 1)  ไม่มีเงื่อนไขใดเพิ่มเติม 2)  ต้องมีเสื้อสีเหลืองอยู่ด้วย วิธีทำ   1)  จะจัดเสื้อ  4  ตัว จากเสื้อที่ต่างกัน  10  ตัว ได้เท่ากับ  วิธี 2)  จะต้องจัดเสื้ออื่นอีก  3  ตัว จาก  9   ตัว จะจัดได้เท่ากับ  วิธี
5.   ทฤษฎีบททวินาม   (Binomial Theorem) ทฤษฎีบททวินามเป็นทฤษฎีบทเกี่ยวกับการนำ  (a+b) n   มากระจายให้อยู่ในรูปของการบวก พิจารณาการกระจาย  (a+b) n   สัมประสิทธิ์   (a+b) 0  =  1   1   (a+b) 1  =  a+b   1   1   (a+b) 2  =  a 2 +2ab+b 2   1  2  1   (a+b) 3  =  a 3 +3a 2 b+3ab 2 +b 3   1  3  3  1   (a+b) 4  =  a 4 +4a 3 b+6a 2 b 2 +4ab 3 +b 4   1  4  6  4  1   (a+b) 5  =  a 5 +5a 4 b+10a 3 b 2 +10a 2 b 3 +5ab 4 +b 5   ......................................... จะพบว่าผลการกระจายมี  n+1  พจน์ และมีสัมประสิทธิ์เป็น  C n,0  , C n,1  , C n,2  ,….,C n,n
ทฤษฎีบททวินาม   เมื่อ  a , b  เป็นจำนวนจริง  n , r   เป็นจำนวนเต็มบวก และ (a+b) n  = C n,0 a n +C n,1 a n-1 b+C n,2 a n-2 b 2 +….+C n,r a n-r b r +….+C n,n b n หมายเหตุ   1)  C n,r   ที่ปรากฎในทฤษฎีบททวินาม เรียกว่า สัมประสิทธิ์ทวินาม   2)  พจน์ที่  r+1  หรือ  T r+1  = C n,r a n-r b r ตัวอย่าง   จงหาพจน์ที่  6  ในการกระจาย  (2x-y) 8 วิธีทำ   พจน์ที่  6  คือ  T 5+1  = C 8,5 (2x) 8-5 (-y) 5 = 56(2 3 x 3 )(-y 5 )   = -448x 3 y 5   ตัวอย่าง   จงหาพจน์ที่มี  x 9   จากการกระจาย
6.  ความน่าจะเป็น   (Probability) 1)  การทดลองสุ่ม  (Random Experiment) บทนิยาม  การทดลองสุ่ม คือการทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์มีอะไรบ้างแต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทดลองจะเกิดผลลัพธ์อะไร เช่น  ๏ การโยนเหรียญ  1  อัน  1  ครั้ง ๏  การทอดลูกเต๋า  1  ลูก  1  ครั้ง 2)   ปริภูมิตัวอย่าง  (Sample Space)   บทนิยาม  ปริภูมิตัวอย่าง คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เช่น  ๏  ในการทอดลูกเต๋า  1  ลูก  1  ครั้ง ถ้าสนใจแต้มของลูกเต๋า   ปริภูมิตัวอย่าง คือ  S = {1,2,3,4,5,6}
๏ ในการโยนเหรียญ  2  อัน  1  ครั้ง ปริภูมิตัวอย่าง คือ  S = {HH,HT,TH,TT} 3)  เหตุการณ์  (Event) บทนิยาม   เหตุการณ์ คือ สับเซตของปริภูมิตัวอย่าง เช่น  ๏   ในการทอดลูกเต๋า  2  ลูก  1  ครั้ง S = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),…,(6,5),(6,6)} *  เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น  5  คือ   E = {(1,4),(2,3),(3,2),(4,1)} *  เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่างกัน  2  คือ   E = {(1,3),(2,4),(3,1),(3,5),(4,2),(4,6),(5,3),(6,4)}
4)   ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทนิยาม   ถ้า  S  แทนปริภูมิตัวอย่างของการทดลองสุ่มอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละจุดตัวอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน และ  E  แทนเหตุการณ์   แล้ว สมบัติของความน่าจะเป็น 1)  2)  3 ) หมายเหตุ   ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด คือตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่าง   ในการทอดลูกเต๋า  2  ลูก  1  ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 1)  ได้ผลรวมของแต้มมากกว่า  9 2)  ได้ผลรวมของแต้มหารด้วย  3  ลงตัว วิธีทำ   S = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),…,(6,5),(6,6)} , n(S) = 36 1 )  เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่า  9  คือ   E 1  = {(4,6),(5,5),(5,6),(6,4),(6,5),(6,6)} , n(E 1 ) = 6   ดังนั้น     2)  เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มหารด้วย  3  ลงตัว คือ   E 2  = {(1,2),(1,5),(2,1),(2,4),(3,3),(3,6),(4,2),(4,5),(5,1),(5,4),(6,3),(6,6)}   ดังนั้น   
ตัวอย่าง   สุ่มหยิบไพ่  3  ใบ จากไพ่สำรับหนึ่ง จงหาความน่าจะเป็นที่ได้ไพ่โพดำทั้ง  3  ใบ วิธีทำ   n(S)  =  C 52,3   =  22,100   ให้  E  เป็นเหตุการณ์ที่ได้ไพ่โพดำทั้ง  3  ใบ คือ  n(E)  =  C 13,3   =  286   ดังนั้น  5)  กฎที่สำคัญบางประการของความน่าจะเป็น ให้  S  เป็นปริภูมิตัวอย่าง ซึ่งเป็นเซตจำกัด และ  A , B  เป็นเหตุการณ์ใดๆ กฎข้อที่  1 กฎข้อที่  2 , กฎข้อที่  3 กฎข้อที่  4
ตัวอย่าง   ถุงใบหนึ่งมีลูกแก้วสีแ ดง  3  ลูก สีขาว  2  ลูก และสีฟ้า  4  ลูก ถ้าสุ่มหยิบลูกแก้วขึ้นมา  1  ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่ได้ลูกแก้วเป็นสีแดงหรือสีฟ้า วิธีทำ   ให้  A  เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีแดง B  เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีฟ้า เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีแดงหรือสีฟ้า จะได้  , ดังนั้น นั่นคือ  ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ลูกแก้วเป็นสีแดงหรือสีฟ้าเท่ากับ

Contenu connexe

Tendances

พหหุนาม
พหหุนามพหหุนาม
พหหุนาม
krookay2012
 
คณิตศาสตร์ม.32
คณิตศาสตร์ม.32คณิตศาสตร์ม.32
คณิตศาสตร์ม.32
krookay2012
 

Tendances (8)

Probability
ProbabilityProbability
Probability
 
พหหุนาม
พหหุนามพหหุนาม
พหหุนาม
 
ความน่าจะเป็นและวิธีนับ(Probability)
ความน่าจะเป็นและวิธีนับ(Probability)ความน่าจะเป็นและวิธีนับ(Probability)
ความน่าจะเป็นและวิธีนับ(Probability)
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
แนวข้อสอบใช้สอบท้องถิ่นหรือ ก.พ. และหน่วยงานต่างๆ (เล่มที่ 1/ 3)
แนวข้อสอบใช้สอบท้องถิ่นหรือ ก.พ. และหน่วยงานต่างๆ (เล่มที่ 1/ 3)แนวข้อสอบใช้สอบท้องถิ่นหรือ ก.พ. และหน่วยงานต่างๆ (เล่มที่ 1/ 3)
แนวข้อสอบใช้สอบท้องถิ่นหรือ ก.พ. และหน่วยงานต่างๆ (เล่มที่ 1/ 3)
 
ทฤษฎีเศษเหลือ
ทฤษฎีเศษเหลือทฤษฎีเศษเหลือ
ทฤษฎีเศษเหลือ
 
คณิตศาสตร์ม.32
คณิตศาสตร์ม.32คณิตศาสตร์ม.32
คณิตศาสตร์ม.32
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 

Similaire à Prob[1]

Probability[1]
Probability[1]Probability[1]
Probability[1]
numpueng
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
Aon Narinchoti
 
เอกนาม
เอกนามเอกนาม
เอกนาม
krookay2012
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
pumtuy3758
 
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
Jamescoolboy
 

Similaire à Prob[1] (20)

Probability[1]
Probability[1]Probability[1]
Probability[1]
 
Probability
ProbabilityProbability
Probability
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
Counting theorem
Counting theoremCounting theorem
Counting theorem
 
Prob Theory1
Prob Theory1Prob Theory1
Prob Theory1
 
เอกนาม
เอกนามเอกนาม
เอกนาม
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 
เฉลย.pdf
เฉลย.pdfเฉลย.pdf
เฉลย.pdf
 
Pat1 53
Pat1 53Pat1 53
Pat1 53
 
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
ข้อสอบ PAT 1 ปี 53
 
Preliminary number theory
Preliminary number theoryPreliminary number theory
Preliminary number theory
 
สรุปสถิติ
สรุปสถิติสรุปสถิติ
สรุปสถิติ
 

Plus de จุฑารัตน์ สั้นเต้ง (6)

Prob[1]
Prob[1]Prob[1]
Prob[1]
 
Week5[1]
Week5[1]Week5[1]
Week5[1]
 
Ppt%20vector[1]
Ppt%20vector[1]Ppt%20vector[1]
Ppt%20vector[1]
 
Expo[1]
Expo[1]Expo[1]
Expo[1]
 
Biotechforlife[1]
Biotechforlife[1]Biotechforlife[1]
Biotechforlife[1]
 
Expo[1]
Expo[1]Expo[1]
Expo[1]
 

Prob[1]

  • 1. ความน่าจะเป็น โดย ครูสุจินต์ เย้าดุสิต โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
  • 2. 1. กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ กฎข้อที่ 1 ในการทำงานสองอย่างโดยที่งานอย่างแรกทำได้ n 1 วิธี และในแต่ละวิธีที่ทำงานอย่างแรกนี้ มีวิธีที่ทำงานอย่างที่สองได้ n 2 วิธี จำนวนวิธีที่ทำงานทั้งสองอย่างนี้เท่ากับ n 1 n 2 วิธี ตัวอย่าง ห้องประชุมมีประตู 6 ประตู จงหาจำนวนวิธีที่ชายคนหนึ่งจะเดินเข้าและเดินออกจากห้องประชุม โดยที่ 1) จะเข้าหรือออกประตูใดก็ได้ 2) ห้ามเข้าและออกประตูเดียวกัน วิธีทำ 1) จำนวนวิธีที่เดินเข้า 6 วิธี จำนวนวิธีที่เดินออก 6 วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีที่เดินเข้าและออกเท่ากับ 6 x 6 = 36 วิธี  2 ) จำนวนวิธีที่เดินเข้า 6 วิธี จำนวนวิธีที่เดินออก 5 วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีที่เดินเข้าและออกไม่ซ้ำประตูเดิมเท่ากับ 6 x 5 = 3 0 วิธี 
  • 3. กฎข้อที่ 2 ในการทำงานซึ่งมี k ขั้นตอนโดยขั้นตอนที่หนึ่งเลือกทำได้ n 1 วิธี ในแต่ละวิธีของขั้นตอนที่หนึ่งเลือกทำขั้นตอนที่สองได้ n 2 วิธี ในแต่ละวิธีที่ทำขั้นตอนที่หนึ่งและขั้นตอนที่สองเลือกทำขั้นตอนที่สามได้ n 3 วิธี ฯลฯ จำนวนวิธีที่จะเลือกทำงาน k อย่างเท่ากับ n 1 n 2 n 3 …n k วิธี ตัวอย่าง มีเลขโดดอยู่ 6 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5 นำมาสร้างเป็นจำนวนตัวเลข 3 หลักที่มีค่าน้อยกว่า 400 ได้กี่จำนวน เมื่อ 1) แต่ละหลักใช้เลขซ้ำกันได้ 2) แต่ละหลักใช้เลข ซ้ำกันไม่ได้ 3) เป็นจำนวนคู่และแต่ละหลักใช้เลข ซ้ำกันไม่ได้ วิธีทำ 1) หลักร้อย เลือกตัวเลขได้ 3 วิธี (1,2,3) หลักสิบ เลือกตัวเลขได้ 6 วิธี (0,1,2,3,4,5) หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้ 6 วิธี (0,1,2,3,4,5) ดังนั้น จำนวนเลขสามหลัก ที่น้อยกว่า 400 มี 3 x6x6 = 108 วิธี 
  • 4. 2) หลักร้อย เลือกตัวเลขได้ 3 วิธี (1,2,3) หลักสิบ เลือกตัวเลขได้ 5 วิธี ( หลักร้อยเลือกไปแล้ว 1 ตัว ) หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้ 4 วิธี ดังนั้น จำนวนเลขสามหลักที่น้อยกว่า 400 มี 3x5x4 = 60 จำนวน  3) หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้ 2 วิธี (0,4) หลักร้อย เลือกตัวเลขได้ 3 วิธี (1,2,3) หลักสิบ เลือกตัวเลขได้ 4 วิธี และ หลักหน่วย เลือกตัวเลขได้ 1 วิธี (2) หลักร้อย เลือกตัวเลขได้ 2 วิธี (1,3) หลักสิบ เลือกตัวเลขได้ 4 วิธี ดังนั้น จำนวนคู่สามหลักที่น้อยกว่า 400 มี (2x3x4)+(1x2x4) = 32 จำนวน 
  • 5. 2. แฟกทอเรียล n (n-Factorial) บทนิยาม เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก แฟกทอเรียล n หมายถึงผลคูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ 1 ถึง n แทนด้วย n! จากบทนิยาม n! = 1.2.3….(n-1).n หรือ n! = n.(n-1).(n-2)….3.2.1 0! = 1 ตัวอย่าง จงหาค่าของ วิธีทำ
  • 6. ตัวอย่าง จงเขียน 504 ให้เป็นแฟกทอเรียล วิธีทำ 504 = 9.8.7 ตัวอย่าง จงหาค่า n จาก วิธีทำ n-8 = 10 n = 18
  • 7. 3. วิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) 1) วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น กฎข้อที่ 3 จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของ n สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด เท่ากับ n! วิธี ตัวอย่าง จะมีวิธีจัดรูปภาพต่างๆกัน 7 รูป แขวนไว้ที่ผนังเป็นแถวได้กี่วิธี ถ้า 1) ไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม 2) รูปภาพรูปหนึ่งที่กำหนดให้อยู่ตรงกลาง วิธีทำ 1) จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนรูปภาพ 7 รูป ได้ 7! = 5,040 วิธี  2) เพราะว่ารูปภาพที่กำหนดให้อยู่ตรงกลาง เท่ากับจัดรูปภาพ 6 รูป ดังนั้น จำนวนวิธีจัดรูปภาพ 7 รูปโดยให้รูปหนึ่งอยู่กลางได้ 6! = 720 วิธี  กฎข้อที่ 4 จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของ n สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด โดยจัดคราวละ r สิ่ง เท่ากับ P n,r วิธี โดย ,
  • 8. ตัวอย่าง จะมีวิธีจัดคน 7 คน ยืนเข้าแถว 2 แถว เพื่อถ่ายรูปได้กี่วิธี ถ้าให้แถวหน้ามี 4 คน และแถวหลังมี 3 คน วิธีทำ แถวหน้าเลือก 4 คน จาก 7 คน จัดได้ วิธี เมื่อจัดแถวหน้าแล้วแถวหลัง 3 คน จัดได้ 3! = 6 วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีจัดคน 7 คน เข้าแถวได้ = 840 x 6 = 5,040 วิธี  ตัวอย่าง มีหนังสือคณิตศาสตร์ต่างกัน 5 เล่ม และหนังสือฟิสิกส์ต่างกัน 4 เล่ม จะมีวิธีจัดหนังสือเหล่านี้บนชั้นหนังสือได้กี่วิธี โดยที่หนังสือวิชาเดียวกันอยู่ติดกัน วิธีทำ การจัดหนังสือวิชาเดียวกันติดกันคิดเป็นของ 1 สิ่ง จัดได้ 2! วิธี หนังสือคณิตศาสตร์จัดได้ 5! วิธี และหนังสือฟิสิกส์จัดได้ 4! วิธี ดังนั้น จำนวนวิธีจัดเรียงหนังสือทั้งหมดเท่ากับ 2!5!4! = 5,760 วิธี 
  • 9. 2) วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด กฎข้อที่ 5 ถ้ามีของอยู่ n สิ่ง ในจำนวนนี้มี n 1 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่หนึ่ง มี n 2 สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่สอง .... มี n k สิ่งเหมือนกันเป็นกลุ่มที่ k โดยที่ n 1 +n 2 +n 3 +…+n k = n จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของ n สิ่ง เท่ากับ วิธี ตัวอย่าง จงหาจำนวนวิธีการจัดเรียงจาน 8 ใบขนาดเดียวกัน ซึ่งมีจานสีขาว 3 ใบ สีเขียว 3 ใบและสีแดง 2 ใบ วิธีทำ จำนวนวิธีเรียงจานทั้ง 8 ใบ วิธี ตัวอย่าง มีหนังสือคณิตศาสตร์เหมือนกัน 6 เล่ม และหนังสือภาษาอังกฤษเหมือนกัน 4 เล่ม จงหาจำนวนวิธีจัดหนังสือทั้ง 10 เล่ม วางบนชั้นหนังสือโดยให้หนังสือที่อยู่หัวแถวและท้ายแถวเหมือนกัน วิธีทำ 1) ให้หนังสือคณิตศาสตร์ อยู่หัวแถวและท้ายแถว วิธี 2) ให้หนังสือภาษาอังกฤษ อยู่หัวแถวและท้ายแถว วิธี
  • 10. 3) วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม กฎข้อที่ 6 จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลมของสิ่งของ n สิ่งซึ่งแตกต่างกันทั้งหมด เท่ากับ (n-1)! วิธี ตัวอย่าง ครอบครัว ครอบครัว หนึ่งมีสมาชิก 6 คน จะจัดให้นั่งรับประทานอาหารรอบโต๊ะกลมซึ่งมี 6 ที่นั่ง ได้ทั้งหมดกี่วิธี วิธีทำ จำนวนวิธีจัดคน 6 คน นั่งรอบโต๊ะกลมเท่ากับ (6-1)! = 5! = 120 วิธี  ตัวอย่าง จะจัดนักเรียนชาย 4 คน และหญิง 4 คน ยืนสลับกันเป็นวงกลมได้กี่วิธี วิธีทำ จัดนักเรียนชาย 4 คนให้ยืนเป็นวงกลมได้เท่ากับ (4-1)! = 3! วิธี จัดนักเรียนหญิง 4 คน ให้ยืนระหว่างนักเรียนชายได้เท่ากับ 4! วิธี ดังนั้น จะจัดนักเรียนชาย 4 คน และหญิง 4 คน ยืนสลับกันเป็นวงกลมได้เท่ากับ 3!.4! = 144 วิธี 
  • 11. 4. วิธีจัดหมู่ (Combination) วิธีจัดหมู่ต่างกับวิธีเรียงสับเปลี่ยนตรงที่เราไม่ถืออันดับหรือตำแหน่งเป็นสำคัญ กล่าวคือการสลับที่กันไม่มีความหมาย เช่น มีตัวอักษร 2 ตัว คือ A , B ถ้าเรียงสับเปลี่ยนจะได้ AB และ BA แต่วิธีจัดหมู่ ถือว่า AB และ BA เหมือนกัน กฎข้อที่ 7 จำนวนวิธีจัดหมู่ของสิ่งของที่แตกต่างกัน n สิ่ง ให้มีหมู่ละ r สิ่ง เท่ากับ C n,r โดย , ตัวอย่าง ชายคนหนึ่งมีเสื้อที่แตกต่างกัน 10 ตัว ต้องการนำติดตัวไปต่างจังหวัด 4 ตัว จะจัดได้ทั้งหมดกี่วิธี 1) ไม่มีเงื่อนไขใดเพิ่มเติม 2) ต้องมีเสื้อสีเหลืองอยู่ด้วย วิธีทำ 1) จะจัดเสื้อ 4 ตัว จากเสื้อที่ต่างกัน 10 ตัว ได้เท่ากับ วิธี 2) จะต้องจัดเสื้ออื่นอีก 3 ตัว จาก 9 ตัว จะจัดได้เท่ากับ วิธี
  • 12. 5. ทฤษฎีบททวินาม (Binomial Theorem) ทฤษฎีบททวินามเป็นทฤษฎีบทเกี่ยวกับการนำ (a+b) n มากระจายให้อยู่ในรูปของการบวก พิจารณาการกระจาย (a+b) n สัมประสิทธิ์ (a+b) 0 = 1 1 (a+b) 1 = a+b 1 1 (a+b) 2 = a 2 +2ab+b 2 1 2 1 (a+b) 3 = a 3 +3a 2 b+3ab 2 +b 3 1 3 3 1 (a+b) 4 = a 4 +4a 3 b+6a 2 b 2 +4ab 3 +b 4 1 4 6 4 1 (a+b) 5 = a 5 +5a 4 b+10a 3 b 2 +10a 2 b 3 +5ab 4 +b 5 ......................................... จะพบว่าผลการกระจายมี n+1 พจน์ และมีสัมประสิทธิ์เป็น C n,0 , C n,1 , C n,2 ,….,C n,n
  • 13. ทฤษฎีบททวินาม เมื่อ a , b เป็นจำนวนจริง n , r เป็นจำนวนเต็มบวก และ (a+b) n = C n,0 a n +C n,1 a n-1 b+C n,2 a n-2 b 2 +….+C n,r a n-r b r +….+C n,n b n หมายเหตุ 1) C n,r ที่ปรากฎในทฤษฎีบททวินาม เรียกว่า สัมประสิทธิ์ทวินาม 2) พจน์ที่ r+1 หรือ T r+1 = C n,r a n-r b r ตัวอย่าง จงหาพจน์ที่ 6 ในการกระจาย (2x-y) 8 วิธีทำ พจน์ที่ 6 คือ T 5+1 = C 8,5 (2x) 8-5 (-y) 5 = 56(2 3 x 3 )(-y 5 ) = -448x 3 y 5  ตัวอย่าง จงหาพจน์ที่มี x 9 จากการกระจาย
  • 14. 6. ความน่าจะเป็น (Probability) 1) การทดลองสุ่ม (Random Experiment) บทนิยาม การทดลองสุ่ม คือการทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์มีอะไรบ้างแต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทดลองจะเกิดผลลัพธ์อะไร เช่น ๏ การโยนเหรียญ 1 อัน 1 ครั้ง ๏ การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง 2) ปริภูมิตัวอย่าง (Sample Space) บทนิยาม ปริภูมิตัวอย่าง คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เช่น ๏ ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าสนใจแต้มของลูกเต๋า ปริภูมิตัวอย่าง คือ S = {1,2,3,4,5,6}
  • 15. ๏ ในการโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง ปริภูมิตัวอย่าง คือ S = {HH,HT,TH,TT} 3) เหตุการณ์ (Event) บทนิยาม เหตุการณ์ คือ สับเซตของปริภูมิตัวอย่าง เช่น ๏ ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง S = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),…,(6,5),(6,6)} * เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 5 คือ E = {(1,4),(2,3),(3,2),(4,1)} * เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่างกัน 2 คือ E = {(1,3),(2,4),(3,1),(3,5),(4,2),(4,6),(5,3),(6,4)}
  • 16. 4) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทนิยาม ถ้า S แทนปริภูมิตัวอย่างของการทดลองสุ่มอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละจุดตัวอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน และ E แทนเหตุการณ์ แล้ว สมบัติของความน่าจะเป็น 1) 2) 3 ) หมายเหตุ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด คือตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
  • 17. ตัวอย่าง ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 1) ได้ผลรวมของแต้มมากกว่า 9 2) ได้ผลรวมของแต้มหารด้วย 3 ลงตัว วิธีทำ S = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),(2,1),…,(6,5),(6,6)} , n(S) = 36 1 ) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่า 9 คือ E 1 = {(4,6),(5,5),(5,6),(6,4),(6,5),(6,6)} , n(E 1 ) = 6 ดังนั้น  2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มหารด้วย 3 ลงตัว คือ E 2 = {(1,2),(1,5),(2,1),(2,4),(3,3),(3,6),(4,2),(4,5),(5,1),(5,4),(6,3),(6,6)} ดังนั้น 
  • 18. ตัวอย่าง สุ่มหยิบไพ่ 3 ใบ จากไพ่สำรับหนึ่ง จงหาความน่าจะเป็นที่ได้ไพ่โพดำทั้ง 3 ใบ วิธีทำ n(S) = C 52,3 = 22,100 ให้ E เป็นเหตุการณ์ที่ได้ไพ่โพดำทั้ง 3 ใบ คือ n(E) = C 13,3 = 286 ดังนั้น 5) กฎที่สำคัญบางประการของความน่าจะเป็น ให้ S เป็นปริภูมิตัวอย่าง ซึ่งเป็นเซตจำกัด และ A , B เป็นเหตุการณ์ใดๆ กฎข้อที่ 1 กฎข้อที่ 2 , กฎข้อที่ 3 กฎข้อที่ 4
  • 19. ตัวอย่าง ถุงใบหนึ่งมีลูกแก้วสีแ ดง 3 ลูก สีขาว 2 ลูก และสีฟ้า 4 ลูก ถ้าสุ่มหยิบลูกแก้วขึ้นมา 1 ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่ได้ลูกแก้วเป็นสีแดงหรือสีฟ้า วิธีทำ ให้ A เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีแดง B เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีฟ้า เป็นเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกแก้วสีแดงหรือสีฟ้า จะได้ , ดังนั้น นั่นคือ ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ลูกแก้วเป็นสีแดงหรือสีฟ้าเท่ากับ