SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  16
พฤติก รรมสัต ว์
            สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้น
ทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำาให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออก
หรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย

ความหมายของพฤติก รรม
  พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
  สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรม
ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
  1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด
      ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
  2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร นำ้า การ
      สัมผัส สารเคมี เป็นต้น

กลไกการเกิด พฤติก รรม
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (stimulus) ได้
การตอบสนองดังกล่าวจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิต โดย
ทั่วไปสัตว์จะแสดงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้รวดเร็วและสังเกตได้ง่าย เช่น
การกินอาหาร การวิ่งหนีศัตรู เป็นต้น กิริยาที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเป็นการ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นนี้เรียกว่า พฤติกรรม (behavior)

การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกสิ่งมีชีวิตนั้นๆ อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรืออาจล่าช้าไปได้บ้าง และ
เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้อง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อนำาไปสู่
ความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต จึงกล่าวได้ว่า พฤติกรรมเป็นกลไกอย่างหนึ่งใน
การรักษาสภาพสมดุล (homeostasis)

ในสัตว์ต่างๆ พฤติกรรมของสัตว์เกิดจากการประสานงานกันระหว่างระบบ
ประสาท ระบบกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ตลอดจนระบบต่อมที่มีท่อและต่อม
ไร้ท่อต่างๆ สัตว์แต่ละชนิดจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกัน การศึกษาพฤติกรรม
กระทำาได้ 2 วิธี คือ
   1. วิธ ีท างสรีร วิท ยา (physiological approach) จุดมุ่งหมายของการ
      ศึกษาด้วยวิธีการนี้ก็เพื่อที่จะอธิบายพฤติกรรมในรูปแบบของกลไกการ
      ทำางานของระบบประสาท
2. วิธ ีก ารทางจิต วิท ยา (phychological approach) เป็นการศึกษา
      ถึงผลของปัจจัยต่างๆ รอบตัวและภายในร่างกายสัตว์ที่มีต่อการพัฒนา
      และการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน
ขณะที่แมววิ่งไล่จับหนูหรือตะครุบจิ้งจกเป็นอาหาร ถ้าพิจารณาถึงกลไกของ
ระบบประสาทที่ทำาให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็ว ก็น่าจะ
อธิบายได้ว่า แมวรับรู้สิ่งเร้าโดยการได้ยินและการเก็บเหยื่อซึ่งเป็นสิ่งเร้า
ภายนอก แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งการมายัง
อวัยวะต่างๆ ให้ทำางานหรือแสดงพฤติกรรมออกมา

ในการแสดงพฤติกรรมของสัตว์นั้นนอกจากจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้ว สัตว์
จะแสดงพฤติกรรมได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจูงใจ (motivation) ให้แสดงพฤติกรรม
นั้นๆ เหตุจูงใจนี้หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดง
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของเหตุจูงใจนี้เช่น ความหิวโหย
ความกระหาย เหตุจูงใจเกิดจากการทำางานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ
ได้แก่ สุขภาพทั่วไปของสัตว์ ฮอร์โมน ระบบประสาท หรือประสบการณ์ที่
สัตว์ได้รับ การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้ สัตว์จะ
ต้องมีเหตุจูงใจอยู่ในระดับที่สูงพอสมควรและได้รับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่
สอดคล้องกับเหตุจูงใจนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อระดับนำ้าตาลในเลือดตำ่าจะไป
กระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกในสมอง สัตว์จะเกิดความหิวโหย และสมองจะสั่ง
คำาสั่งไปยังวงจรของกระแสประสาทที่ทำาหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมการกิน
อาหารให้พร้อมที่จะทำางาน เมื่อสัตว์ได้รับตัวกระตุ้นที่เหมาะสมคือ อาหาร
วงจรกระแสประสาทจะทำาให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารออกมาทันที ตัว
กระตุ้นที่เหมาะสมกับความพร้อมในร่างกายของสัตว์ และทำาให้สัตว์ปลด
ปล่อยพฤติกรรมออกมาได้นี้ เรียกว่า ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (releasing
stimulus) ส่วนวงจรกระแสประสาทที่ไวต่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยนี้เรียกว่า
กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (releasing mechanism) โดยทั่วไปความ
สัมพันธ์ระหว่างเหตุจูงใจ และตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะเป็นปฏิภาคกลับกัน ถ้า
เหตุจูงใจสูงสัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ แม้ตัวกระตุ้นปลด
ปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงข้ามถ้าเหตุจูงใจของสัตว์ตำ่า สัตว์จะแสดง
พฤติกรรมได้ เมื่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก

จากตัวอย่างการแสดงพฤติกรรมที่กล่าวมา คงพอจะทำาให้เห็นภาพกลไก
โครงสร้างของร่างกายที่ควบคุมการเกิดพฤติกรรมได้ดังแผนภาพ

สำาหรับสิ่งมีชีวิตชั้นตำ่าที่ไม่มีระบบประสาทหรือมีระบบประสาทที่ไม่เจริญ จะมี
โครงสร้างบางอย่าง เช่น มีเส้นใยประสานงาน และมีหน่วยรับความรู้สึกอยู่ที่
ผิวของร่างกายซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิด เป็นกลไกควบคุมการเกิด
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตพวกนี้ด้วย
พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นกับระดับความเจริญของปัจจัยสำาคัญ
ต่างๆ (ในแผนภาพ) อันก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ปัจจัยดังกล่าวแยกออกได้
เป็น
   • หน่วยรับความรู้สึก (receptor) คือส่วนของเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่ไวเป็น
      พิเศษต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และสามารถเปลี่ยน
      พลังงานที่ได้รับจากการกระตุ้น เช่น แสง ความร้อน ให้เป็นกระแส
      ประสาท แบ่งเป็น หน่วยรับความรู้สึกภายนอกร่างกาย และหน่วยรับ
      ความรู้สึกภายในร่างกาย

  •   ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) คือ ศูนย์รวม
      ข้อมูลและออกคำาสั่ง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท และเส้นใย
      ประสาทจำานวนมากมารวมกัน ซึ่งจะมีความสลับซับซ้อนมากน้อยเพียง
      ใดขึ้นกับชนิดของสัตว์ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีระบบประสาทส่งนก
      ลางที่พัฒนาการดี เช่น สมอง และไขสันหลัง ในโพรโทซัว และฟองนำ้า
      จะไม่มีระบบประสาทส่วนกลางนี้เลย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีหน่วยรับความ
      รู้สึกที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ใกล้กับหน่วยปฏิบัติงานมาก จึงแสดงพฤติกรรมได้
      โดยไม่ต้องผ่านระบบประสาทส่วนกลาง

  •   หน่วยปฏิบัติงาน (effector) คือ ส่วนของร่างกายที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่ง
      เร้าต่างๆ ในรูปการเคลื่อนไหว ระดับความเจริญของหน่วยปฏิบัติงาน
      ในสัตว์มักจะสัมพันธ์กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกของ
      ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ในสัตว์มักจะมีกล้ามเนื้อเป็นหน่วยปฏิบัติ
      งาน
สัตว์แสดงพฤติกรรมมากมายหลายอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน
การแสดงพฤติกรรมไม่ได้เป็นไปอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมาเท่านั้น บาง
พฤติกรรมก็ซับซ้อนโดยเฉพาะพฤติกรรมของคนซึ่งยากแก่การจำาแนกได้
ว่าการแสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมแบบใดแน่ อย่างไรก็ตามนักพฤติกรรมได้
พยายามจำาแนกพฤติกรรมออกเป็นแบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและ
ทำาความเข้าใจ

พฤติก รรมแบบต่า งๆ ในคนและสัต ว์
พฤติก รรมที่เ ป็น มาตั้ง แต่ก ำา เนิด (innate behavior)

ก. พฤติก รรมแบบรีเ ฟลซ์

เมื่อเราเดินเหยียบหนามหรือของแหลม พฤติกรรมที่แสดงออกมา คือ ยกเท้า
หนีทันที หรือเมือมีสิ่งของเข้ามาใกล้ๆ ตา ก็จะกระพริบตา เวลาที่เรายกเท้า
                 ่
หนีหรือกระพริบตานั้น เราต้องคิดก่อนหรือไม่ ?

การแสดงกิริยาดังกล่าวเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ซึ่งได้ทราบมาแล้วในเรื่อง
ระบบประสาท ปฏิกิริยานี้ทำาให้สิ่งมีชีวิตแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้
ทันที พฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบ
สนองต่อสิ่งเร้ามากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า พฤติกรรมแบบรีแฟลกซ์
การตอบสนองดังกล่าวอยู่นอกเหนืออำานาจจิตใจ จึงทำาให้แสดงพฤติกรรม
ออกไปได้อย่างกระทันหัน พฤติกรรมรีแฟลกซ์เป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่
ยุ่งยากและซับซ้อนที่เกิดขึ้นในคนและสัตว์ทั่วไป

สัตว์ชั้นตำ่าที่ระบบประสาทยังไม่เจริญดี หรือในโพรทิสต์ซึ่งยังไม่มีระบบ
ประสาทก็สามารถแสดงอาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพ
แวดล้อมได้ ในลักษณะเดียวกับพฤติกรรมแบบรีเฟลซ์ กล่าวคือ เป็นไปใน
ลักษณะกระตุ้นและตอบสนองนั่นเอง (stimulus response) อาทิเช่น
พฤติกรรมที่เรียกว่า โอเรียนเตชั่น (orientation) ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่
สัตว์ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ ให้เกิดดการวางตัวที่สอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับการดำารงชีวิต เช่น ปลาว่ายนำ้าใน
ลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ ทำาให้ศัตรูที่อยู่ในระดับตำ่ากว่ามองไม่
เห็น เป็นการหลีกเลี่ยงศัตรูได้ เป็นต้น นอกจากนี้พฤติกรรมแบบโอเรียนเต
ชันนี้ ยังจะทำาให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์ในปริเวณที่เหมาะกับการดำารง
ชีวิตของสัตว์ชนิดนั้นๆ อีกด้วย ทำาให้เราพบสัตว์ต่างชนิดในต่างบริเวณ

พารามีเซียมจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งในธรรมชาติ
จะเป็นบริเวณที่มีแบคทีเรียซึ่งเป็นอาหารของพารามีเซียม แต่พารามีเซียมจะ
เคลื่อนที่ออกจากสารบางอย่างเช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งอาจเป็น
อันตรายต่อเซลล์

มีการศึกษาพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นของพารามีเซียม คือ
ทดลองปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในนำ้าบนสไลด์ที่มีพารามีเซียม พบว่า
พารามีเซียมจะถอยออกมาห่างจากฟองคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเบี่ยงด้าน
ท้ายของลำาตัวไปนิดหนึ่ง และจึงค่อยเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าอีก ถ้ายังพบ
ฟองคาร์บอนไดออกไซด์อีกพารามีเซียมก็จะถอยหนีในลักษณะเดิมอีกเป็น
เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากฟองคาร์บอนไดออกไซด์ จะเห็นได้ว่า
ทิศทางที่พารามีเซียมเคลื่อนที่ไปแต่ละครั้ง เมื่อหลบออกจากสิ่งเร้ามาแล้วนั้น
มิได้สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าเลย ถือว่า ทิศทางไม่แน่นอน เราเรียก
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ทั้งตัวแบบมีทิศทางไม่
แน่นอนว่า ไคนีซิส (kinesis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ โอเรียนเตชัน
พฤติกรรมแบบนี้มักพบในโพรโทซัว หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นตำ่า ซึ่ง
ระบบประสาทเจริญที่ไม่ดี หน่วยรับความรู้สึกไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะตอบ
สนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่ไกลๆ จึงมีการตอบสนองต่อเมื่อมาอยู่ใกล้สิ่งเร้านั้นๆ โดย
เคลื่อนเข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้า

สัตว์บางชนิดมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากพารามีเซียม เช่น จากการทดลองเพื่อ
สังเกตการเคลื่อนที่ของพลานาเรียเข้าหาแสง เมื่อวางแหล่งแสงที่มีความเข้ม
ของแสงเท่ากัน โดยให้มีระยะห่างจากพลานาเรียเท่าๆ กัน จะเห็นได้ว่า พลา
นาเรียเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกลางระหว่างแหล่งแสง 2 แหล่งนั้น

การทดลองอีกแบบหนึ่งเพื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของพลานาเรียเข้าหาอาหาร
โดยนำาพลานาเรียที่อดอาหารมาวางไว้ในจานเพาะเชื้อที่มีนำ้า เมื่อหย่อนเศษ
ตับลงไปในจานให้ห่างจากพลานาเรีย 10 เซนติเมตร พลานาเรียจะเคลื่อนที่
เข้าหาเศษตับ เวลาเคลื่อนที่จะส่ายหัวไปมา เพื่อใช้อวัยวะรับความรู้สึกทั้ง
สองด้านของส่วนหัวเปรียบเทียบความเข้มของสิ่งเร้า จนกระทั่งถึงระยะ 2-3
เซนติเมตร ก่อนจะถึงอาหาร พลานาเรียจะหยุดส่ายหัวแต่จะเคลื่อนที่ตรงๆ
ไปยังอาหาร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพลานาเรียอยู่ในระยะที่ใกล้พอที่อวัยวะรับ
ความรู้สึกสองด้านจะสามารถรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้เท่าๆ กัน

พลานาเรียเคลื่อนที่โดยพยามยามรักษาทิศทางที่จะทำาให้หน่วยรับความรู้สึก
ทั้งสองด้านซ้ายและด้านขวาของลำาตัวได้รับการกระตุ้นต่อสิ่งเร้าเท่าๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้า การเคลื่อนที่จึงมีการปรับ
ทิศทางซ้ายขวา เช่น เมื่อจะเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่าง ก็จะพยายามเคลื่อนไป
ในทิศทางที่อวัยวะรับแสงคือ อายสปอต (eye spot) 2 ข้างได้รับการกระตุ้น
เท่าๆ กัน ถ้าแหล่งกำาเนิดแสงนั้นอยู่นิ่ง ทิศทางการเคลื่อนที่ก็จะอยู่ในแนว
ตรงขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่แสงสว่าง จะเห็นได้ว่า ทิศทางของการเคลื่อนที่สัมพันธ์
กับสิ่งเร้าเป็นการเคลื่อนที่แบบมีทิศทางแน่นอน เรียกพฤติกรรมการเคลื่อนที่
แบบนี้ว่า แทกซิส (taxis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมแบบโอเรียนเต
ชัน สิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมแบบแทกซิสนี้มักจะมีหน่วยรับความรู้สึกเจริญดี
พอที่จะสามารถรับรู้และเปรียบเทียบสิ่งเร้าได้

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมแบบแทกซิส ได้แก่ หนอนแมลงวันซึ่งอยู่
ใกล้จะเข้าสู่ระยะดักแด้เคลื่อนที่ออกจากแสงสว่างแต่เข้าหาความมืด ยูกลีนา
เคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่าง แมลงเม่าบินเข้าหาแสงสว่าง ค้างคาวบินเข้าหา
แหล่งอาหารตามเสียงสะท้อน เป็นต้น

ข. พฤติก รรมแบบรีเ ฟลกซ์ต ่อ เนื่อ ง

พฤติกรรมบางอย่าง เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้วจะประกอบด้วยพฤติกรรม
ย่อยๆ หลายพฤติกรรม เช่น การดูดนมของเด็กอ่อน ที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้น
จากสิ่งเร้าคือความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม ก็เป็นการกระตุ้นให้แสดง
พฤติกรรมดูดนมซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ เมื่อยัง
ไม่อิ่มก็จะเกิดปฏิกิริยากระตุ้นให้ดูดนมอีก ทารกจะแสดงพฤติกรรมดูดนม
ติดต่อกันไปจนกว่าจะอิ่ม จึงหยุดพฤติกรรมนี้ จะเห็นได้ว่า การดูดนมเป็น
พฤติกรรมที่ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายพฤติกรรมเป็นปฏิกิริยา
รีเฟลกซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปกระตุ้นรีเฟลกซ์อื่นๆ ของระบบประสาทให้
ทำางาน เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (chain of
reflexes) ตัวอย่างอื่นๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์อื่นๆ เช่น การสร้างรัง
ของนก การชักใยของแมงมุม การฟักไข่ การเลี้ยงดูลูกอ่อนของไก่

เดิมทีนักชีววิทยานิยมเรียกพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่องว่า สัญชาตญาณ
(instinct) แต่ปัจจุบันนี้ไม่นิยมและพบน้อยมากในทางพฤติกรรมและ
จิตวิทยาสมัยใหม่ เพราะความหมายของคำาว่าสัญชาตญาณนี้กว้างเกินไป
ซึ่งอาจหมายรวมไปถึงพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิดทุกๆ แบบด้วย

พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์และรีเฟลก์ต่อเนื่องเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิด มี
แบบแผนที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือถ้าได้ก็จะน้อยมาก เป็นลักษณะ
เฉพาะของสปีชียส์ ซึ่งสามารถแสดงได้โดยไม่จำาเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน และ
กระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยสิ่งเร้าแบบง่ายๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์
อาศัยอยู่ เช่น ปัจจัยทางชีวภาพบางพฤติกรรมจะแสดงได้เมื่อมีความพร้อม
ทางร่างกาย เช่น การบินของนก นกแรกเกิดไม่สามารถบินได้ เมื่อเติบโต
แข็งแรงจึงบินได้ เป็นต้น

พฤติกรรมบางอย่างจองสัตว์จะต้องอาศัยประสบการณ์จึงจะเกิดพฤติกรรม
นั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อนำาแมลงปอมาแขวนไว้ที่ด้านหน้าของคางคก มัน
จะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมามีผู้ทดลองได้นำาแมลงชนิดหนึ่ง
ที่เรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนไว้ คางคกจะกินแมลงรอบ
เบอร์ ผู้ทดลองจึงนำาผึ้งมาแขวนแทน คางคกก็กินผึ้งแต่โดนผึ้งต่อย ต่อมาผู้
ทดลองนำาแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า คางคกไม่
ยอมกินแมลงรอบเบอรฺหรือผึ้งเลย แต่เมื่อนำาแมลงปอมาแขวน คากคกจะจับ
แมลงปอกิน

การที่คางคกใช้ลิ้นตวัดจับแมลงกินเป็นอาหารเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิด
ส่วนการที่คางคกนั้นไม่กินผึ้งหรือแมลงที่มีลักษณะคล้ายผึ้งเลย เนื่องจาก
ประสบการณ์ที่ได้รับพฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์นี้ เรียกว่า พฤติกรรม
การเรียนรู้
พฤติก รรมการเรีย นรู้ (learning behavior)

พฤติกรรมการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ของ
สัตว์ ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี แต่
ในสัตว์ชั้นตำ่าบางชนิดก็แสดงพฤติกรรมนี้ได้ ยิ่งเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการของ
ระบบประสาทสูงมากเท่าไรก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้มาก
เท่านั้น

พฤติกรรมหลายอย่างของสัตว์ที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออก
เป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้

ก. การเรีย นรู้แ บบแฮบบิช ูเ อชัน (habituation)

ถ้าสังเกตพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ในบ้าน เมื่อ
ได้ยินเสียงเครื่องบินครั้งแรก สุนัขอาจจะตกใจหรือมีกิริยาตอบสนองด้วย
การแหงนมองตามเสียงนั้น แต่พอได้ยินซำ้าๆ กันหลายครั้ง โดยที่สิ่งเร้านั้น
ไม่มีผลต่อตัวเองแต่อย่างใด สุนัขจะเลิกการตอบสนองที่เคยทำาอยู่เดิม

นกที่สร้างรังอยู่ริมถนน จะตกใจและบินหนีทุกครั้งที่มีรถแล่นผ่าน แต่พอ
นานๆ เข้านกจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าอันตรายจะไม่เกิดขึ้น จึงเลิกบินหนีและดำารง
ชีวิตปกติ

อีกตัวอย่างหนึ่งที่เกืดขึ้นกับคน และเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เช่น ใน
เวลาสงครามการเปิดสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ ผู้ที่ได้ยินก็จะรีบหลบ
เข้าไปอยู่ในหลุมหลบภัย แต่ถ้าปรากฏว่า ไม่มีเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ทั้งๆ ที่
เปิดสัญญาณ และเป็นเช่นนี้ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ความกลัวก็จะค่อยๆ ลดลง
จนในที่สุดจะไม่เข้าไปหลบอยู่ในหลุมหลบภัย

การที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังไดรับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจาก
สัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นๆ ไม่มีผลต่อการดำาเนินชีวิตของตัวเอง เราเรียก
พฤติกรรมดังกล่าวนี้ว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน พฤติกรรมนี้
ในคนอาจมีประโยชน์ในแง่ที่เมื่อเกิดการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน การตื่น
เต้นตกใจจากเหตุการณ์ที่มากระตุ้นจะลดน้อยลง ทำาให้หัวใจและระบบของ
ร่างกาย ซึ่งทำางานมากในขณะที่ตกใจกลับมาเป็นปกติ พฤติกรรมการเรียนรู้
แบบแฮบบิชูเอชันอาจมีโทษในแง่ที่เมื่อละเลยไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น คือ
การเตือนภัย เมื่อถึงคราวเกิดภัยจริงๆ ก็อาจเป็นอันตรายได้

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชันนี้เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศียความ
สามารถในการจำาสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ จึงจะเกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งเร้าใด ไม่
เกิดโทษหรือประโยชน์ต่อตนอย่างไร สิ่งมีชีวิตที่จะแสดงพฤติกรรมแบบนี้ได้
ดี จึงต้องมีระบบประสาทที่เจริญดีด้วย




แสดงวงจรการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขเมื่อทดลองเป็นขั้นๆ ไป
ก. เมื่อกินอาหาร สุนัขนำ้าลายไหล
ข. เมื่อสั่นกระดิ่งให้อาหาร สุนขก็นำ้าลายไหล
                               ั
ค. เมื่อสั่นกระดิ่งแต่ไม่ให้อาหาร สุนขก็ยังนำ้าลายไหล
                                      ั
(ลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท)


ข. การเรีย นรู้แ บบมีเ งื่อ ไข (conditioning)

เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาว
รัสเซีย ศึกษาพฤติกรรมแบบนี้ โดยทดลองกับสุนัข ตามปกติเมื่อให้อาหาร
สุนัข สุนัขจะแสดงพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์อย่างง่าย คือ มีนำ้าลายไหลออกมา
ในทันทีที่อาหาร เนื่องจากมีการนำากระแสประสาทจากตุ่มรับรสที่ลิ้นผ่านไป
ที่สมอง แล้วส่งมาตามเซลล์ประสาทสั่งการไปที่ต่อมนำ้าลายกระตุ้นให้นำ้าลาย
ไหล ในการทดลองระยะแรกพาฟลอฟสั่นกระดิ่งพบว่า สุนัขไม่แสดง
พฤติกรรมนำ้าลายไหล ต่อมาพาฟลอฟสั่นกระดิ่ง พบว่า สุนัขไม่แสดง
พฤติกรรม ต่อมาจึงได้สั่นกระดิ่งพร้อมกับให้อาหาร และทำาเช่นนี้ติดต่อกัน
หลายวัน ในที่สุดเมื่อสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสุนัขก็นำ้าลายไหลได้ทั้งๆ ที่
ไม่มีอาหาร

พฤติกรรมของสุนัขเช่นนี้ พาฟลอฟอธิบายว่า เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อ
สิ่งเร้า 2 ชนิด คือ อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่มิใช่เงื่อนไข (unconditioning
stimulus) หรือสิ่งเร้าแท้ เพราะสุนัขเกิดการเรียรู้ว่าเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งจะ
ได้กินอาหารด้วย ต่อมาแม้จะสั่นกระดิ่งอย่างเดียวก็ยังคงกระตุ้นให้แสดง
พฤติกรรมเช่นเดียวกับเมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าทั้งสองอย่าง คือ นำ้าลายไหล ซึ่ง
เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ นั่นคือสิ่งเร้าทั้ง 2 ชนิด เกิดความสัมพันธ์กัน

การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข (conditioning
stimulus) แม้ว่าจะไม่มีสิ่งเร้าที่แท้จริงอยู่ด้วย กล่าวคือ ลำาพังสิ่งเร้าที่เป็น
เงื่อนไขเพียงอย่างเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นๆ ตอบสนองได้เช่นเดียว
กับกรณีที่มีแตสิ่งเร้าแท้โดยลำาพัง พาฟลอฟเรียกพฤติกรรมนี้ว่า การเรียนรู้
แบบมีเงื่อนไข

นักพฤติกรรมศึกษาการเกิดพฤติกรรมการมีเงื่อนไขในสัตว์ชนิดต่างๆ และ
พบว่า แม้แต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นตำ่าที่เพิ่งเริ่มมีระบบประสาท เช่น พวก
พลานาเรียก็สามารถฝึกให้เกิดพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขได้




แสดงพฤติกรรมการเรียนรูแบบมีเงื่อนไขของพลานาเรีย
                           ้
ก. เมื่อได้รับแสงพลานาเรียยืดตัวออก
ข. เมือกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าพลานาเรียหดตัวสั้นเข้า
ค. เมื่อให้แสงแล้วกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าสลับกัน
ง. เมื่อให้แสงและไม่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า พลานาเรียจะหดตัว

เมื่อฉายแสงไปยังพลานาเรีย พลานาเรียจะตอบสนองแสงสว่างด้วยการยืด
ยาวออก แต่เมื่อกระตุ้น้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ พลานาเรียจะตอบสนองด้วย
การหดตัวสั้นเข้า ถ้าให้แสงแล้วตามด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้า ทำาเช่นนี้
ซำ้าๆ กัน 100 ครั้ง จะพบว่า ในที่สุดเมื่อนำาพลานาเรียมาอยู่ในที่มีแสง แม้จะ
ไม่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า พลานาเรียก็จะหดตัวได้ ซึ่งเป็นการตอบสนอง
ต่อแสงสว่างโดยลำาพัง อย่างไรก็ดี พลานาเรียจะแสดงพฤติกรรมแบบมี
เงื่อนไขได้จะต้องฝึกติดต่อกันไปเท่านั้น ต่างกับสุนัขซึ่งสามารถจดจำา
พฤติกรรมที่ถูกฝึกได้เป็นระยะเวลานานๆ

ค. การเรีย นรู้แ บบลองผิด ลองถูก (trial and error)

การแสดงพฤติกรรมบางอย่างอาจมีการทดลองทำาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จะ
เห็นได้ว่า เวลาที่เราใช้ในการลากเส้นจากจุดเริ่มต้นถึงปลายทางครั้งหลังๆ
จะน้อยกว่าในครั้งแรกๆ จำานวนครั้งที่เดินทางผิดก็จะลดน้อยลงด้วย แสดงว่า
เราเกิดการเรียนรู้ว่าจะลากเส้นไปในทางวกวนถูกต้องอย่างไร โดยอาศัย
การทดลองทำาดูก่อน เรารียกพฤติกรรมที่มีการทดลองทำาว่า การเรียนรู้แบบ
ลองผิดลองถูก
มีการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ชั้นตำ่าบางชนิด เช่น ไส้เดือนดิน เพื่อจะดูว่ามี
พฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำาไปใส่ไว้ในกล่องพลาสติกรูปตัว T ที่ด้านหนึ่งมืด
และชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ปรากฏว่าในการทดลอง
ซำ้าๆ กันไม่ตำ่ากว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกมาแล้วจะเลือกทางได้
ถูก คือ เคลื่อนที่ไปทางที่มืดและชื้น ประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึก
โอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกถูกหรือผิดมีร้อยละ 50 เท่านั้น




ได้มีการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกในสัตว์อื่นๆ หลาย
ชนิด น ให้หนูเนผ่านทางวกวนไปหาอาหาร พบว่า หนูสามารถเรียนรู้ทางวก
วนได้อย่างรวดเร็ว

สัตว์บางชนิด เช่น สัตว์ครึ่งนำ้าครึ่งบก ซึ่งเรียนรู้ได้ช้า แต่เมื่อนำามาทดลอง
กับทางวกวนอย่างง่ายๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ถ้าถูกทำาโทษเมื่อเดินไป
ผิดทาง ในการพิจารณาว่าสัตว์มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกได้
ดีหรือไม่นั้น ดูได้จากจำานวนครั้งที่ทำาผิดน้อยลง

ง. การเรีย นรู้แ บบฝัง ใจ (imprinting)

นักชีววิทยาชาวออสเตรียชื่อ ดร.คอนราด ลอเรนซ์ (Dr.Konrad Lorenz)
ได้ศึกษาพฤติกรรมนี้โดยการทำาการทดลองในปี ค.ศ.1935 ดร.ลอเรนซ์ ได้
ฟักไข่ห่าน เมื่อลูกห่านฟักออกจากไข่สิ่งแรกที่ลูกห่านเห็นคือ ดร.ลอเรนซ์
ลูกห่านจึงเดินตาม ดร.ลอเร้นซ์แต่ไม่เดินตามแม่ห่านซึ่งได้พบทีหลังเลย
ดร.ลอเรนซ์ได้ทดลองฟักไข่ห่านหลายๆ ครั้ง จนในที่สุดสรุปได้ว่า ลูกห่านที่
เพิ่งฟักอออกจากไข่จะเดินตามวัตถุที่เคลื่อนที่และจำาเสียงได้ ซึ่งเห็นเป็นครั้ง
อรกหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ พฤติกรรมดังกล่าวนี้เป็นพฤติกรรมการ
เรียนรู้แบบฝังใจ

นอกจากนี้ ดร.ลอเรนซ์ ยังพบว่า ลูกห่านจะเริ่มเกิดการเรียนรู้แบบฝังใจใน
ช่วงประมาณ 36 ชั่วโมงแรกหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ ถ้าพ้นระยะนี้ไป
แล้วห่านจะไม่เกิดการเรียนรู้แบบฝังใจได้เลย แม้สิ่งเร้านั้นจะเป็นแม่ของมัน
เอง ความฝังใจที่เกิดขึ้นอาจเป็นไปตลอดชีวิตหรืออาจจะแสดงอยู่เพียงระยะ
หนึ่ง ระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรมฝังใจของสัตว์ต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป แต่
จะเหมือนกันในสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น สัตว์ประเภทนก ช่วงที่เกิดความฝังใจ
ประมาณ 36 ชั่วโมงหลังจากฟักออกจากไข่

สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการฝังใจ นอกจากจะเป็นการมองเห็นแล้ว
เสียงหรือกลิ่นยังกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนี้ด้วย เช่น ลูกเป็ดเมื่อฟักออกจาก
ไข่ ได้ยินเสียงแม่เป็ดร้องอยู่นอกรังโดยที่ยังไม่ได้เห็นตัวก็อาจจะวิ่งออกไป
ตามหาแหล่งของเสียง เมื่อได้ยินเสียงนั้นอีกในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่สัตว์เห็น
เคลื่อนที่หรือส่งเสียงมักจะเป็นแม่ของตัวเอง จึงเกิดความผูกพันยึดเหนี่ยวกับ
แม่

จ. การเรีย นรู้แ บบใช้เ หตุผ ล (reasoning)

เป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ ในการศึกษาพฤติกรรมนี้ได้มีผู้ทำา
หารทดลองกับสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างกว้างขวาง




แผนภาพแสดงการทดลองเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างเด็กอายุ 5 ขวบ สุนข และไก่
                                                              ั
จากภาพเป็นการทดลองที่เปรียบพฤติกรรมระหว่างเด็กอายุ 5 ขวบ สุนัข
และไก่โดยให้อยู่ในสภาพที่หิวและอยู่ในรั้ว นอกรั้วมีขนมสำาหรับเด็ก อาหาร
สำาหรับสุนัขและสำาหรับไก่วางอยู่แล้ว สังเกตว่าทั้งเด็ก สุนัข และไก่จะมีวิธีแก้
ปัญหาอย่างไร ผลปรากฏว่า ไก่ไม่สามารถออกมากินอาหารได้ ส่วนสุนัขนั้น
ครั้งแรกเดินตรงไปยังอาหารแต่ติดรั้ว ครั้งต่อมาเดินอ้อมออกมานอกรั้ว และ
ได้กินอาหาร สำาหรับเด็กเมื่ออยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ก็เดินอ้อมรั้วออกมาถึง
จานอาหารได้เลย

จากการทดลองนี้ จะเห็นว่า ไก่ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ส่วนสุนัขแก้ปัญหา
โดยการทดลองทำาก่อนเมื่อวิธีแรกไม่สำาเร็จจึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ส่วนเด็กจะเห็น
ได้ว่า สามารถแก้ปัญหาโดยการทดลองทำาก่อนเมื่อวิธีแรกไม่สำาเร็จจึงเปลี่ยน
วิธีใหม่ ส่วนเด็กนั้นจะเห็นว่า สามารถแก้ปัญหานี้โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก
พฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตสามารถแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ได้ในครั้งแรกหรือ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากสถานการณ์เดิม โดยอาศัยการ
เรียนรู้จากสถานการณ์แบบอื่นๆ หรือจากหลายๆ สถานการณ์ เป็นการเรียน
รู้แบบใช้เหตุผล

มนุษย์สามารถที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ทั้งแบบที่ง่ายๆ และที่สลับซับ
ซ้อนได้ นอกจากนี้มนุษย์ยังสามารถนำาสิ่งที่เรียนรู้มาสร้างเป็นกฏเกณฑ์
ต่างๆ และสามารถที่จะบันทึกสิ่งที่ได้เรียรู้เก็บไว้ในสมอง การตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าส่วนใหญ่เกิดจากการศึกษาเหตุผลโดยอาศัยความรู้ที่บันทึกไว้ในสอง
นี่เอง พฤติกรรมแบบนี้จะพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงและคน

ได้มีการศึกษาว่าสัตว์อื่นๆ เช่น สุนัข มีพฤติกรรมแบบใช้เหตุผลหรือไม่ โดย
ผูกสุนัขให้เชือกอ้อมเสาอีกต้นหนึ่ง แล้วสังเกตดูว่า สุนัขจะสามารถแก้ปัญหา
เพื่อให้ได้กินอาหารที่ใส่ไว้ในจานใกล้ๆ ตัวได้อย่างไร

จากการทดลองพบว่า เมื่อสุนัขเห็นอาหาร สุนัขจะพยายามใช้กำาลังดึงตัวเอง
เข้าหาอาหารดังภาพ สัตว์อื่นๆ เช่น หนู หรือไก่ ก็พยายามทำาแบบเดียวกับ
สุนัข

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้นี้มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจะอำานวยให้สัตว์
สามารถปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
เวลา เพื่อการอยู่รอดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงจำาเป็นสำาหรับสัตว์ที่มีช่วงชีวิตที่
ยาวนาน

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า พฤติกรรมเป็นผลจากการทำางานร่วมกันเอง
ระหว่างพันธุกรรมและประสบการณ์ โดยที่หน่วยพันธุกรรมควบคุมระดับ
ความเจริญของโครงสร้างต่างๆ ของสัตว์ที่เป็นปัจจัยสำาคัญอันจะก่อให้เกิด
พฤติกรรมได้ เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ และขอบเขตที่พฤติกร
รมนั้นๆ ถูกดัดแปลงไปได้มากบ้างน้อยบ้าง ยากที่จะตัดสินลงไปว่า
พันธุกรรมหรือประสบการณ์จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่ากัน อย่างไรก็ดี
พฤติกรรมจะเห็นได้ชัดเจนในสัตว์ชั้นตำ่ามากกว่าสัตว์ชั้นสูง

ความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งพฤติก รรมกับ พัฒ นาการของ
ระบบประสาท
จากการศึกษาพฤติกรรมสิ่งมีชีวิตแบบต่างๆ ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า
พฤติกรรมแบบหนึ่งๆ ไม่ได้มีในสิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิด สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจ
ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าอย่างเดียวกันด้วยพฤติกรรมที่แตกต่าง
กันออกไป เช่น คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีความสามารถแสดง
พฤติกรรมอย่างมีเหตุผล และมีความประณีตมากกว่าสัตว์อื่นๆ ซึ่งเป็นผล
เนื่องมาจากการพัฒนาของระบบประสาท ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
จากตาราง จะเห็นได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนามากขึ้นจะมี
พฤติกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น ถ้านำาพฤติกรรมต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นตำ่าไป
จนถึงสัตว์ชั้นสูงมากเปรียบเทียบกันในรูปของกราฟ จะได้กราฟดังภาพ

จะเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถแสดงพฤติกรรมที่แม้ว่าจะแตกต่างกันออกไป
แต่ก็ล้วนเป็นไปเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการเคลื่อนที่เข้าหาอาหาร หนี
อันตราย หลบหนี สภาวะที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ

พฤติก รรมทางสัง คม
พฤติก รรมทางสัง คม (social behavior) สัตว์ทอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่
                                                      ี่
เป็นสังคมที่มีความจำาเป็นที่จะต้องสื่อสาร ติดต่อกันเพื่อที่จะทำาให้สัตว์
สามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อใดก็ตามที่พฤติกรรมของสัตว์ตัวหนึ่งทำาให้
พฤติกรรมของสัตว์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพื่อนร่วมสปีชีส์หรือต่างสปีชีส์
เปลี่ยนไปได้ ก็กล่าวได้ว่าเกิดการสื่อสารขึ้น ดังนั้น การสื่อสารจึงมีองค์
ประกอบที่สำาคัญคือผู้ส่งสัญญาณและผู้รับสัญญาณ การสื่อสารกระทำาได้
หลายรูปแบบ ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์และชนิดของผู้ส่งสัญญาณและ
ผู้รับสัญญาณ เราอาจจำาแนกพฤติกรรมทางสังคมที่ใช้ในการสื่อสารได้ดังนี้

ก. การสื่อ สารด้ว ยท่า ทาง

ท่าทางที่แสดงออกมา อาจเป็นมาแต่กำาเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ โดยการ
แสดงออกทางท่าทางหรือทางสีหน้า เราคงจะพอนึกออกได้ว่า สัตว์เลี้ยงใน
บ้าน เช่น สุนัขหรือแมวแสดงท่าทางและลักษณะอย่างไร เมื่อเวลาโกรธ
ตกใจ หรือประจบ หรือแม้แต่นักเรียนเองก็สามารถสังเกตอารมณ์และความ
รู้สึกของเพื่อนๆ ได้จากทางสีหน้าหรือท่าทาง

การสื่อสารด้วยท่าทาง มีประโยชน์ต่อสัตว์ในด้านอื่นๆ หลายประการ เช่น
ใช้เป็นสื่อในการเกี้ยวพาราสี และการผสมพันธุ์ แบบแผนของพฤติกรรมของ
สัตว์บางชนิดประกอบด้วยท่าทางหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กันและเป็นแบบ
เฉพาะ

ในผึ้งงานเมื่อออกไปหาอาหารแล้วกลับมารัง สามารถบอกให้ผึ้งตัวอื่นๆ
ทราบถึงแหล่งอาหารได้ด้วย การเต้น ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบเลขแปด
แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ไกล แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้จะเต้นแบบวงกลมดัง
ภาพ
ข. การสื่อ สารด้ว ยเสีย ง
สัตว์หลายชนิดใช้เสียงเป็นสื่อในการติดต่อระหว่างกัน นิโก ทินเบอร์เกน
(Niko Tinbergen) ได้ทำาการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารด้วย
เสียงของสัตว์




การทดลองดังภาพ แม่ไก่จะไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ต่อลูกไก่ที่อยู่ในครอบ
แก้ว เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงร้องของลูกไก่ถึงแม้จะเห็นลูกไก่ก็ตาม ส่วนภาพ
ต่อมาเสียงร้องของลูกไก่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับแม่ไก่ คือพยายามจะไปตาม
เสียงของลูก ถึงแม้จะไม่เห็นตัวลูกไก่ก็ตาม

จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เสียงใช้เป็นสื่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อให้
เกิดปฏิกิริยาตามชนิดของเสียงนั้น ในธรรมชาติสัตว์มักจะส่งเสียงเมื่อภัยมา
เสียงนั้นเป็นการช่วยเตือนภัยให้กับตัวอื่นด้วย เช่น นกร้องเมื่อภัยมาแล้วบิน
หนี นอกจากนี้สัตว์หลายชนิดยังใช้เสียงเป็นสื่อในการเรียกคู่มาผสมพันธุ์
เช่น เสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย ซึ่งนอกจากเรียกยุงตัวผู้แล้ว
ยังบ่งบอกถึงสปีชีส์ของยุงได้ด้วย เสียงร้องของนกตัวผู้ที่เรียกร้องความสนใจ
จากนกตัวเมียแล้วยังเป็นสิ่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบพพันธุ์
ด้วย เช่น ได้มีผู้ทำาการทดลองจับกบตัวเมียชนิดหนึ่งมาจำานวนหนึ่ง ปล่อยไว้
ในห้องทดลอง แล้วเปิดเทปเสียงของกบตัวผู้ชนิดเดียวกัน ปรากฏว่า กบตัว
เมียเข้ามาหาต้นเสียงนั้น และกบตัวเมียหลายตัววางไข่ได้

นอกจากนี้สัตว์ยังใช้เสียงเป็นสื่อแสดงความโกรธ ความกลัว การขู่ การบอก
ความเป็นเจ้าของสถานที่ สัตว์บางชนิดสามารถกำาหนดสถานที่ของแหล่ง
อาหารโดยรับเสียงสะท้อนกลับ เช่น ค้างคาว เป็นต้น
ค. การสื่อ สารด้ว ยการสัม ผัส

การสัมผัสก็นับเป็นสื่อที่มีความสำาคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนำ้านม แสดงพฤติกรรมของลูกลิงที่มีต่อหุ่นที่ใช้แทนแม่
ลิง นักพฤติกรรมพบว่า การที่แม่และลูกลิงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มี
ส่วนสำาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางอารมณ์ของลูกอ่อน




สัตว์บางชนิดใช้การสัมผัสเป็นสื่อบอกถึงความเป็นมิตรหรืออ่อนน้อมด้วย
เช่น สุนัขเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่เหนือกว่า หรือลิงชิมแพนซีจะยื่นมือให้ลิง
ตัวที่มีอำานาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ สัตว์บางชนิดใช้การ
สัมผัสเพื่อขออาหาร เช่น ลูกนกนางนวลบางชนิดจะใช้จะงอยปากจิกที่
จะงอยปากของแม่เพื่อกระตุ้นให้ตัวแม่ไปหาอาหารมาให้

ง. การสื่อ สารด้ว ยสารเคมี

ในเรื่องของฮอร์โมน เราทราบมาแล้วว่า สัตว์บางชนิดใช้ฟีโรโมนเป็นท่อ
กลางดึงดูดเพศตรงข้าม เช่น พวกผีเสื้อกลางคืนตัวเมียสามารถปล่อยฟีโรโม
นออกจากร่างกายแม้เพียงปริมาณเล็กน้อย แต่ผีเสื้อกลางคือตัวผู้ที่อยู่ห่าง
ไกลหลายกิโลเมตรก็ยังได้กลิ่นและบินมาหาได้ถูก นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยว
กับพฤติกรรมของแมลง ได้สกัดฟีโรโมนจากแมลงตัวเมียเอามาใช้ล่อแมลง
ตัวผู้หลายชนิดให้มาหาได้ การค้นพบในทำานองนี้นับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการควบคุมประชากรของแมลงอย่างที่ให้คุณและให้โทษต่อพืชเศรษฐกิข
ของมนุษย์

นอกจากนี้สัตว์บางชนิดยังใช้ฟีโรโมนในการเตือนภัย หรือแสดงความเป็น
เจ้าของอาณาเขต เช่น กวางบางชนิด เช็ดสารบางชนิดที่สร้างจากต่อม
บริเวณใบหน้ากับต้นไม้ตามทาง หรือสุนัขถ่ายปัสสาวะในที่ต่างๆ เพื่อ
กำาหนดอาณาเขต

หากเคยสังเกตมดที่เดินตามกัน จะเห็นว่า มดเดินตามรอบเดินได้อย่างถูกต้อง
แม้กระทั่งทางเดินจะคดโค้งไปอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมดปล่อยฟีโรโมนที่
เป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิกไว้ตามทางที่มีกลิ่นนั้นไปยังแหล่งอาหารได้ แต่
ถ้ามดไม่พบอาหารก็จะไม่ปล่อยสารฟีโรโมนออกมาเวลาเดินกลับรัง

จะเห็นได้ว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีการแสดงพฤติกรรมทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน
พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นมักจะเป็นไปในทางที่จะช่วยปรับปรุงชีวิตความ
เป็นอยู่ในหมู่ของตนให้ดีขึ้น เช่น อาจช่วยให้หาอาหารได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันหรือหลบหลีกศัตรูที่มาทำาอันตราย ช่วยให้สืบพันธุ์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

Contenu connexe

Tendances

สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์Beerza Kub
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตPinutchaya Nakchumroon
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemsupreechafkk
 
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกบทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกTa Lattapol
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์Phattarawan Wai
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1dnavaroj
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงWichai Likitponrak
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากThanyamon Chat.
 
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.peter dontoom
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกThanyamon Chat.
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมAomiko Wipaporn
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่Benjapron Seesukong
 
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรมThanyamon Chat.
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชsukanya petin
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองsukanya petin
 

Tendances (20)

สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous system
 
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกบทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
บทที่ 3 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
 
ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
Nervous system
Nervous systemNervous system
Nervous system
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)
3ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ (ไฟล์ที่ 3)
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
 
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
 
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 

Similaire à พฤติกรรมสัตว์

ระบบประสาท
ระบบประสาทระบบประสาท
ระบบประสาทflimgold
 
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์Temm Quintuplet
 
ระบบประสาท
ระบบประสาทระบบประสาท
ระบบประสาทPok Tanti
 
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5สำเร็จ นางสีคุณ
 
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxการทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxBewwyKh1
 
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxการทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxminhNguynnh15
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfpitsanu duangkartok
 
ตัวอย่างpowerpoint 1
ตัวอย่างpowerpoint 1ตัวอย่างpowerpoint 1
ตัวอย่างpowerpoint 1Abhai Lawan
 
บทที่3 Basic Of Physiological
บทที่3  Basic Of  Physiologicalบทที่3  Basic Of  Physiological
บทที่3 Basic Of PhysiologicalTuk Diving
 
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาท (Nervous system)ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาท (Nervous system)พัน พัน
 

Similaire à พฤติกรรมสัตว์ (20)

บทที่ ๑๐ พฤติกรรม
บทที่ ๑๐ พฤติกรรมบทที่ ๑๐ พฤติกรรม
บทที่ ๑๐ พฤติกรรม
 
ระบบประสาท
ระบบประสาทระบบประสาท
ระบบประสาท
 
animals
animalsanimals
animals
 
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
สัตว์
สัตว์สัตว์
สัตว์
 
ระบบประสาท
ระบบประสาทระบบประสาท
ระบบประสาท
 
Behavior
BehaviorBehavior
Behavior
 
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
 
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxการทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
 
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptxการทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
การทำงานของสมอง-และระบบประสาท.pptx
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
ตัวอย่างpowerpoint 1
ตัวอย่างpowerpoint 1ตัวอย่างpowerpoint 1
ตัวอย่างpowerpoint 1
 
Lecture12
Lecture12Lecture12
Lecture12
 
Lecture12
Lecture12Lecture12
Lecture12
 
บทที่3 Basic Of Physiological
บทที่3  Basic Of  Physiologicalบทที่3  Basic Of  Physiological
บทที่3 Basic Of Physiological
 
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาท (Nervous system)ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาท (Nervous system)
 
5 behavi plan
5 behavi plan5 behavi plan
5 behavi plan
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 

พฤติกรรมสัตว์

  • 1. พฤติก รรมสัต ว์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้น ทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำาให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออก หรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย ความหมายของพฤติก รรม พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรม ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น 2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร นำ้า การ สัมผัส สารเคมี เป็นต้น กลไกการเกิด พฤติก รรม สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (stimulus) ได้ การตอบสนองดังกล่าวจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิต โดย ทั่วไปสัตว์จะแสดงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้รวดเร็วและสังเกตได้ง่าย เช่น การกินอาหาร การวิ่งหนีศัตรู เป็นต้น กิริยาที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเป็นการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นนี้เรียกว่า พฤติกรรม (behavior) การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกสิ่งมีชีวิตนั้นๆ อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรืออาจล่าช้าไปได้บ้าง และ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อนำาไปสู่ ความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต จึงกล่าวได้ว่า พฤติกรรมเป็นกลไกอย่างหนึ่งใน การรักษาสภาพสมดุล (homeostasis) ในสัตว์ต่างๆ พฤติกรรมของสัตว์เกิดจากการประสานงานกันระหว่างระบบ ประสาท ระบบกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ตลอดจนระบบต่อมที่มีท่อและต่อม ไร้ท่อต่างๆ สัตว์แต่ละชนิดจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกัน การศึกษาพฤติกรรม กระทำาได้ 2 วิธี คือ 1. วิธ ีท างสรีร วิท ยา (physiological approach) จุดมุ่งหมายของการ ศึกษาด้วยวิธีการนี้ก็เพื่อที่จะอธิบายพฤติกรรมในรูปแบบของกลไกการ ทำางานของระบบประสาท
  • 2. 2. วิธ ีก ารทางจิต วิท ยา (phychological approach) เป็นการศึกษา ถึงผลของปัจจัยต่างๆ รอบตัวและภายในร่างกายสัตว์ที่มีต่อการพัฒนา และการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน ขณะที่แมววิ่งไล่จับหนูหรือตะครุบจิ้งจกเป็นอาหาร ถ้าพิจารณาถึงกลไกของ ระบบประสาทที่ทำาให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็ว ก็น่าจะ อธิบายได้ว่า แมวรับรู้สิ่งเร้าโดยการได้ยินและการเก็บเหยื่อซึ่งเป็นสิ่งเร้า ภายนอก แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งการมายัง อวัยวะต่างๆ ให้ทำางานหรือแสดงพฤติกรรมออกมา ในการแสดงพฤติกรรมของสัตว์นั้นนอกจากจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้ว สัตว์ จะแสดงพฤติกรรมได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจูงใจ (motivation) ให้แสดงพฤติกรรม นั้นๆ เหตุจูงใจนี้หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของเหตุจูงใจนี้เช่น ความหิวโหย ความกระหาย เหตุจูงใจเกิดจากการทำางานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สุขภาพทั่วไปของสัตว์ ฮอร์โมน ระบบประสาท หรือประสบการณ์ที่ สัตว์ได้รับ การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้ สัตว์จะ ต้องมีเหตุจูงใจอยู่ในระดับที่สูงพอสมควรและได้รับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ สอดคล้องกับเหตุจูงใจนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อระดับนำ้าตาลในเลือดตำ่าจะไป กระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกในสมอง สัตว์จะเกิดความหิวโหย และสมองจะสั่ง คำาสั่งไปยังวงจรของกระแสประสาทที่ทำาหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมการกิน อาหารให้พร้อมที่จะทำางาน เมื่อสัตว์ได้รับตัวกระตุ้นที่เหมาะสมคือ อาหาร วงจรกระแสประสาทจะทำาให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารออกมาทันที ตัว กระตุ้นที่เหมาะสมกับความพร้อมในร่างกายของสัตว์ และทำาให้สัตว์ปลด ปล่อยพฤติกรรมออกมาได้นี้ เรียกว่า ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (releasing stimulus) ส่วนวงจรกระแสประสาทที่ไวต่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยนี้เรียกว่า กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (releasing mechanism) โดยทั่วไปความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุจูงใจ และตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะเป็นปฏิภาคกลับกัน ถ้า เหตุจูงใจสูงสัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ แม้ตัวกระตุ้นปลด ปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงข้ามถ้าเหตุจูงใจของสัตว์ตำ่า สัตว์จะแสดง พฤติกรรมได้ เมื่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก จากตัวอย่างการแสดงพฤติกรรมที่กล่าวมา คงพอจะทำาให้เห็นภาพกลไก โครงสร้างของร่างกายที่ควบคุมการเกิดพฤติกรรมได้ดังแผนภาพ สำาหรับสิ่งมีชีวิตชั้นตำ่าที่ไม่มีระบบประสาทหรือมีระบบประสาทที่ไม่เจริญ จะมี โครงสร้างบางอย่าง เช่น มีเส้นใยประสานงาน และมีหน่วยรับความรู้สึกอยู่ที่ ผิวของร่างกายซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิด เป็นกลไกควบคุมการเกิด พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตพวกนี้ด้วย
  • 3. พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นกับระดับความเจริญของปัจจัยสำาคัญ ต่างๆ (ในแผนภาพ) อันก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ปัจจัยดังกล่าวแยกออกได้ เป็น • หน่วยรับความรู้สึก (receptor) คือส่วนของเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่ไวเป็น พิเศษต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และสามารถเปลี่ยน พลังงานที่ได้รับจากการกระตุ้น เช่น แสง ความร้อน ให้เป็นกระแส ประสาท แบ่งเป็น หน่วยรับความรู้สึกภายนอกร่างกาย และหน่วยรับ ความรู้สึกภายในร่างกาย • ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) คือ ศูนย์รวม ข้อมูลและออกคำาสั่ง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท และเส้นใย ประสาทจำานวนมากมารวมกัน ซึ่งจะมีความสลับซับซ้อนมากน้อยเพียง ใดขึ้นกับชนิดของสัตว์ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีระบบประสาทส่งนก ลางที่พัฒนาการดี เช่น สมอง และไขสันหลัง ในโพรโทซัว และฟองนำ้า จะไม่มีระบบประสาทส่วนกลางนี้เลย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีหน่วยรับความ รู้สึกที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ใกล้กับหน่วยปฏิบัติงานมาก จึงแสดงพฤติกรรมได้ โดยไม่ต้องผ่านระบบประสาทส่วนกลาง • หน่วยปฏิบัติงาน (effector) คือ ส่วนของร่างกายที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่ง เร้าต่างๆ ในรูปการเคลื่อนไหว ระดับความเจริญของหน่วยปฏิบัติงาน ในสัตว์มักจะสัมพันธ์กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกของ ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ในสัตว์มักจะมีกล้ามเนื้อเป็นหน่วยปฏิบัติ งาน สัตว์แสดงพฤติกรรมมากมายหลายอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน การแสดงพฤติกรรมไม่ได้เป็นไปอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมาเท่านั้น บาง พฤติกรรมก็ซับซ้อนโดยเฉพาะพฤติกรรมของคนซึ่งยากแก่การจำาแนกได้ ว่าการแสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมแบบใดแน่ อย่างไรก็ตามนักพฤติกรรมได้ พยายามจำาแนกพฤติกรรมออกเป็นแบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและ ทำาความเข้าใจ พฤติก รรมแบบต่า งๆ ในคนและสัต ว์ พฤติก รรมที่เ ป็น มาตั้ง แต่ก ำา เนิด (innate behavior) ก. พฤติก รรมแบบรีเ ฟลซ์ เมื่อเราเดินเหยียบหนามหรือของแหลม พฤติกรรมที่แสดงออกมา คือ ยกเท้า หนีทันที หรือเมือมีสิ่งของเข้ามาใกล้ๆ ตา ก็จะกระพริบตา เวลาที่เรายกเท้า ่
  • 4. หนีหรือกระพริบตานั้น เราต้องคิดก่อนหรือไม่ ? การแสดงกิริยาดังกล่าวเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ซึ่งได้ทราบมาแล้วในเรื่อง ระบบประสาท ปฏิกิริยานี้ทำาให้สิ่งมีชีวิตแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ ทันที พฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบ สนองต่อสิ่งเร้ามากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า พฤติกรรมแบบรีแฟลกซ์ การตอบสนองดังกล่าวอยู่นอกเหนืออำานาจจิตใจ จึงทำาให้แสดงพฤติกรรม ออกไปได้อย่างกระทันหัน พฤติกรรมรีแฟลกซ์เป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่ ยุ่งยากและซับซ้อนที่เกิดขึ้นในคนและสัตว์ทั่วไป สัตว์ชั้นตำ่าที่ระบบประสาทยังไม่เจริญดี หรือในโพรทิสต์ซึ่งยังไม่มีระบบ ประสาทก็สามารถแสดงอาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพ แวดล้อมได้ ในลักษณะเดียวกับพฤติกรรมแบบรีเฟลซ์ กล่าวคือ เป็นไปใน ลักษณะกระตุ้นและตอบสนองนั่นเอง (stimulus response) อาทิเช่น พฤติกรรมที่เรียกว่า โอเรียนเตชั่น (orientation) ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่ สัตว์ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ ให้เกิดดการวางตัวที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับการดำารงชีวิต เช่น ปลาว่ายนำ้าใน ลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ ทำาให้ศัตรูที่อยู่ในระดับตำ่ากว่ามองไม่ เห็น เป็นการหลีกเลี่ยงศัตรูได้ เป็นต้น นอกจากนี้พฤติกรรมแบบโอเรียนเต ชันนี้ ยังจะทำาให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์ในปริเวณที่เหมาะกับการดำารง ชีวิตของสัตว์ชนิดนั้นๆ อีกด้วย ทำาให้เราพบสัตว์ต่างชนิดในต่างบริเวณ พารามีเซียมจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งในธรรมชาติ จะเป็นบริเวณที่มีแบคทีเรียซึ่งเป็นอาหารของพารามีเซียม แต่พารามีเซียมจะ เคลื่อนที่ออกจากสารบางอย่างเช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อเซลล์ มีการศึกษาพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นของพารามีเซียม คือ ทดลองปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในนำ้าบนสไลด์ที่มีพารามีเซียม พบว่า พารามีเซียมจะถอยออกมาห่างจากฟองคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเบี่ยงด้าน ท้ายของลำาตัวไปนิดหนึ่ง และจึงค่อยเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าอีก ถ้ายังพบ ฟองคาร์บอนไดออกไซด์อีกพารามีเซียมก็จะถอยหนีในลักษณะเดิมอีกเป็น เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากฟองคาร์บอนไดออกไซด์ จะเห็นได้ว่า ทิศทางที่พารามีเซียมเคลื่อนที่ไปแต่ละครั้ง เมื่อหลบออกจากสิ่งเร้ามาแล้วนั้น มิได้สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าเลย ถือว่า ทิศทางไม่แน่นอน เราเรียก พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ทั้งตัวแบบมีทิศทางไม่ แน่นอนว่า ไคนีซิส (kinesis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ โอเรียนเตชัน พฤติกรรมแบบนี้มักพบในโพรโทซัว หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นตำ่า ซึ่ง
  • 5. ระบบประสาทเจริญที่ไม่ดี หน่วยรับความรู้สึกไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะตอบ สนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่ไกลๆ จึงมีการตอบสนองต่อเมื่อมาอยู่ใกล้สิ่งเร้านั้นๆ โดย เคลื่อนเข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้า สัตว์บางชนิดมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากพารามีเซียม เช่น จากการทดลองเพื่อ สังเกตการเคลื่อนที่ของพลานาเรียเข้าหาแสง เมื่อวางแหล่งแสงที่มีความเข้ม ของแสงเท่ากัน โดยให้มีระยะห่างจากพลานาเรียเท่าๆ กัน จะเห็นได้ว่า พลา นาเรียเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกลางระหว่างแหล่งแสง 2 แหล่งนั้น การทดลองอีกแบบหนึ่งเพื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของพลานาเรียเข้าหาอาหาร โดยนำาพลานาเรียที่อดอาหารมาวางไว้ในจานเพาะเชื้อที่มีนำ้า เมื่อหย่อนเศษ ตับลงไปในจานให้ห่างจากพลานาเรีย 10 เซนติเมตร พลานาเรียจะเคลื่อนที่ เข้าหาเศษตับ เวลาเคลื่อนที่จะส่ายหัวไปมา เพื่อใช้อวัยวะรับความรู้สึกทั้ง สองด้านของส่วนหัวเปรียบเทียบความเข้มของสิ่งเร้า จนกระทั่งถึงระยะ 2-3 เซนติเมตร ก่อนจะถึงอาหาร พลานาเรียจะหยุดส่ายหัวแต่จะเคลื่อนที่ตรงๆ ไปยังอาหาร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพลานาเรียอยู่ในระยะที่ใกล้พอที่อวัยวะรับ ความรู้สึกสองด้านจะสามารถรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้เท่าๆ กัน พลานาเรียเคลื่อนที่โดยพยามยามรักษาทิศทางที่จะทำาให้หน่วยรับความรู้สึก ทั้งสองด้านซ้ายและด้านขวาของลำาตัวได้รับการกระตุ้นต่อสิ่งเร้าเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้า การเคลื่อนที่จึงมีการปรับ ทิศทางซ้ายขวา เช่น เมื่อจะเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่าง ก็จะพยายามเคลื่อนไป ในทิศทางที่อวัยวะรับแสงคือ อายสปอต (eye spot) 2 ข้างได้รับการกระตุ้น เท่าๆ กัน ถ้าแหล่งกำาเนิดแสงนั้นอยู่นิ่ง ทิศทางการเคลื่อนที่ก็จะอยู่ในแนว ตรงขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่แสงสว่าง จะเห็นได้ว่า ทิศทางของการเคลื่อนที่สัมพันธ์ กับสิ่งเร้าเป็นการเคลื่อนที่แบบมีทิศทางแน่นอน เรียกพฤติกรรมการเคลื่อนที่ แบบนี้ว่า แทกซิส (taxis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมแบบโอเรียนเต ชัน สิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมแบบแทกซิสนี้มักจะมีหน่วยรับความรู้สึกเจริญดี พอที่จะสามารถรับรู้และเปรียบเทียบสิ่งเร้าได้ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมแบบแทกซิส ได้แก่ หนอนแมลงวันซึ่งอยู่ ใกล้จะเข้าสู่ระยะดักแด้เคลื่อนที่ออกจากแสงสว่างแต่เข้าหาความมืด ยูกลีนา เคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่าง แมลงเม่าบินเข้าหาแสงสว่าง ค้างคาวบินเข้าหา แหล่งอาหารตามเสียงสะท้อน เป็นต้น ข. พฤติก รรมแบบรีเ ฟลกซ์ต ่อ เนื่อ ง พฤติกรรมบางอย่าง เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้วจะประกอบด้วยพฤติกรรม
  • 6. ย่อยๆ หลายพฤติกรรม เช่น การดูดนมของเด็กอ่อน ที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้น จากสิ่งเร้าคือความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม ก็เป็นการกระตุ้นให้แสดง พฤติกรรมดูดนมซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ เมื่อยัง ไม่อิ่มก็จะเกิดปฏิกิริยากระตุ้นให้ดูดนมอีก ทารกจะแสดงพฤติกรรมดูดนม ติดต่อกันไปจนกว่าจะอิ่ม จึงหยุดพฤติกรรมนี้ จะเห็นได้ว่า การดูดนมเป็น พฤติกรรมที่ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายพฤติกรรมเป็นปฏิกิริยา รีเฟลกซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปกระตุ้นรีเฟลกซ์อื่นๆ ของระบบประสาทให้ ทำางาน เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (chain of reflexes) ตัวอย่างอื่นๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์อื่นๆ เช่น การสร้างรัง ของนก การชักใยของแมงมุม การฟักไข่ การเลี้ยงดูลูกอ่อนของไก่ เดิมทีนักชีววิทยานิยมเรียกพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่องว่า สัญชาตญาณ (instinct) แต่ปัจจุบันนี้ไม่นิยมและพบน้อยมากในทางพฤติกรรมและ จิตวิทยาสมัยใหม่ เพราะความหมายของคำาว่าสัญชาตญาณนี้กว้างเกินไป ซึ่งอาจหมายรวมไปถึงพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิดทุกๆ แบบด้วย พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์และรีเฟลก์ต่อเนื่องเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิด มี แบบแผนที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือถ้าได้ก็จะน้อยมาก เป็นลักษณะ เฉพาะของสปีชียส์ ซึ่งสามารถแสดงได้โดยไม่จำาเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน และ กระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยสิ่งเร้าแบบง่ายๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์ อาศัยอยู่ เช่น ปัจจัยทางชีวภาพบางพฤติกรรมจะแสดงได้เมื่อมีความพร้อม ทางร่างกาย เช่น การบินของนก นกแรกเกิดไม่สามารถบินได้ เมื่อเติบโต แข็งแรงจึงบินได้ เป็นต้น พฤติกรรมบางอย่างจองสัตว์จะต้องอาศัยประสบการณ์จึงจะเกิดพฤติกรรม นั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อนำาแมลงปอมาแขวนไว้ที่ด้านหน้าของคางคก มัน จะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมามีผู้ทดลองได้นำาแมลงชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนไว้ คางคกจะกินแมลงรอบ เบอร์ ผู้ทดลองจึงนำาผึ้งมาแขวนแทน คางคกก็กินผึ้งแต่โดนผึ้งต่อย ต่อมาผู้ ทดลองนำาแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า คางคกไม่ ยอมกินแมลงรอบเบอรฺหรือผึ้งเลย แต่เมื่อนำาแมลงปอมาแขวน คากคกจะจับ แมลงปอกิน การที่คางคกใช้ลิ้นตวัดจับแมลงกินเป็นอาหารเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำาเนิด ส่วนการที่คางคกนั้นไม่กินผึ้งหรือแมลงที่มีลักษณะคล้ายผึ้งเลย เนื่องจาก ประสบการณ์ที่ได้รับพฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์นี้ เรียกว่า พฤติกรรม การเรียนรู้
  • 7. พฤติก รรมการเรีย นรู้ (learning behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ของ สัตว์ ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี แต่ ในสัตว์ชั้นตำ่าบางชนิดก็แสดงพฤติกรรมนี้ได้ ยิ่งเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการของ ระบบประสาทสูงมากเท่าไรก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้มาก เท่านั้น พฤติกรรมหลายอย่างของสัตว์ที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออก เป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้ ก. การเรีย นรู้แ บบแฮบบิช ูเ อชัน (habituation) ถ้าสังเกตพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ในบ้าน เมื่อ ได้ยินเสียงเครื่องบินครั้งแรก สุนัขอาจจะตกใจหรือมีกิริยาตอบสนองด้วย การแหงนมองตามเสียงนั้น แต่พอได้ยินซำ้าๆ กันหลายครั้ง โดยที่สิ่งเร้านั้น ไม่มีผลต่อตัวเองแต่อย่างใด สุนัขจะเลิกการตอบสนองที่เคยทำาอยู่เดิม นกที่สร้างรังอยู่ริมถนน จะตกใจและบินหนีทุกครั้งที่มีรถแล่นผ่าน แต่พอ นานๆ เข้านกจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าอันตรายจะไม่เกิดขึ้น จึงเลิกบินหนีและดำารง ชีวิตปกติ อีกตัวอย่างหนึ่งที่เกืดขึ้นกับคน และเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เช่น ใน เวลาสงครามการเปิดสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ ผู้ที่ได้ยินก็จะรีบหลบ เข้าไปอยู่ในหลุมหลบภัย แต่ถ้าปรากฏว่า ไม่มีเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ทั้งๆ ที่ เปิดสัญญาณ และเป็นเช่นนี้ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ความกลัวก็จะค่อยๆ ลดลง จนในที่สุดจะไม่เข้าไปหลบอยู่ในหลุมหลบภัย การที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังไดรับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจาก สัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นๆ ไม่มีผลต่อการดำาเนินชีวิตของตัวเอง เราเรียก พฤติกรรมดังกล่าวนี้ว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน พฤติกรรมนี้ ในคนอาจมีประโยชน์ในแง่ที่เมื่อเกิดการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน การตื่น เต้นตกใจจากเหตุการณ์ที่มากระตุ้นจะลดน้อยลง ทำาให้หัวใจและระบบของ ร่างกาย ซึ่งทำางานมากในขณะที่ตกใจกลับมาเป็นปกติ พฤติกรรมการเรียนรู้ แบบแฮบบิชูเอชันอาจมีโทษในแง่ที่เมื่อละเลยไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น คือ การเตือนภัย เมื่อถึงคราวเกิดภัยจริงๆ ก็อาจเป็นอันตรายได้ พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชันนี้เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศียความ
  • 8. สามารถในการจำาสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ จึงจะเกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งเร้าใด ไม่ เกิดโทษหรือประโยชน์ต่อตนอย่างไร สิ่งมีชีวิตที่จะแสดงพฤติกรรมแบบนี้ได้ ดี จึงต้องมีระบบประสาทที่เจริญดีด้วย แสดงวงจรการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขเมื่อทดลองเป็นขั้นๆ ไป ก. เมื่อกินอาหาร สุนัขนำ้าลายไหล ข. เมื่อสั่นกระดิ่งให้อาหาร สุนขก็นำ้าลายไหล ั ค. เมื่อสั่นกระดิ่งแต่ไม่ให้อาหาร สุนขก็ยังนำ้าลายไหล ั (ลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท) ข. การเรีย นรู้แ บบมีเ งื่อ ไข (conditioning) เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาว รัสเซีย ศึกษาพฤติกรรมแบบนี้ โดยทดลองกับสุนัข ตามปกติเมื่อให้อาหาร สุนัข สุนัขจะแสดงพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์อย่างง่าย คือ มีนำ้าลายไหลออกมา ในทันทีที่อาหาร เนื่องจากมีการนำากระแสประสาทจากตุ่มรับรสที่ลิ้นผ่านไป ที่สมอง แล้วส่งมาตามเซลล์ประสาทสั่งการไปที่ต่อมนำ้าลายกระตุ้นให้นำ้าลาย ไหล ในการทดลองระยะแรกพาฟลอฟสั่นกระดิ่งพบว่า สุนัขไม่แสดง พฤติกรรมนำ้าลายไหล ต่อมาพาฟลอฟสั่นกระดิ่ง พบว่า สุนัขไม่แสดง พฤติกรรม ต่อมาจึงได้สั่นกระดิ่งพร้อมกับให้อาหาร และทำาเช่นนี้ติดต่อกัน หลายวัน ในที่สุดเมื่อสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสุนัขก็นำ้าลายไหลได้ทั้งๆ ที่ ไม่มีอาหาร พฤติกรรมของสุนัขเช่นนี้ พาฟลอฟอธิบายว่า เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อ สิ่งเร้า 2 ชนิด คือ อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่มิใช่เงื่อนไข (unconditioning stimulus) หรือสิ่งเร้าแท้ เพราะสุนัขเกิดการเรียรู้ว่าเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งจะ ได้กินอาหารด้วย ต่อมาแม้จะสั่นกระดิ่งอย่างเดียวก็ยังคงกระตุ้นให้แสดง พฤติกรรมเช่นเดียวกับเมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าทั้งสองอย่าง คือ นำ้าลายไหล ซึ่ง เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ นั่นคือสิ่งเร้าทั้ง 2 ชนิด เกิดความสัมพันธ์กัน การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข (conditioning
  • 9. stimulus) แม้ว่าจะไม่มีสิ่งเร้าที่แท้จริงอยู่ด้วย กล่าวคือ ลำาพังสิ่งเร้าที่เป็น เงื่อนไขเพียงอย่างเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นๆ ตอบสนองได้เช่นเดียว กับกรณีที่มีแตสิ่งเร้าแท้โดยลำาพัง พาฟลอฟเรียกพฤติกรรมนี้ว่า การเรียนรู้ แบบมีเงื่อนไข นักพฤติกรรมศึกษาการเกิดพฤติกรรมการมีเงื่อนไขในสัตว์ชนิดต่างๆ และ พบว่า แม้แต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นตำ่าที่เพิ่งเริ่มมีระบบประสาท เช่น พวก พลานาเรียก็สามารถฝึกให้เกิดพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขได้ แสดงพฤติกรรมการเรียนรูแบบมีเงื่อนไขของพลานาเรีย ้ ก. เมื่อได้รับแสงพลานาเรียยืดตัวออก ข. เมือกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าพลานาเรียหดตัวสั้นเข้า ค. เมื่อให้แสงแล้วกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าสลับกัน ง. เมื่อให้แสงและไม่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า พลานาเรียจะหดตัว เมื่อฉายแสงไปยังพลานาเรีย พลานาเรียจะตอบสนองแสงสว่างด้วยการยืด ยาวออก แต่เมื่อกระตุ้น้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ พลานาเรียจะตอบสนองด้วย การหดตัวสั้นเข้า ถ้าให้แสงแล้วตามด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้า ทำาเช่นนี้ ซำ้าๆ กัน 100 ครั้ง จะพบว่า ในที่สุดเมื่อนำาพลานาเรียมาอยู่ในที่มีแสง แม้จะ ไม่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า พลานาเรียก็จะหดตัวได้ ซึ่งเป็นการตอบสนอง ต่อแสงสว่างโดยลำาพัง อย่างไรก็ดี พลานาเรียจะแสดงพฤติกรรมแบบมี เงื่อนไขได้จะต้องฝึกติดต่อกันไปเท่านั้น ต่างกับสุนัขซึ่งสามารถจดจำา พฤติกรรมที่ถูกฝึกได้เป็นระยะเวลานานๆ ค. การเรีย นรู้แ บบลองผิด ลองถูก (trial and error) การแสดงพฤติกรรมบางอย่างอาจมีการทดลองทำาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จะ เห็นได้ว่า เวลาที่เราใช้ในการลากเส้นจากจุดเริ่มต้นถึงปลายทางครั้งหลังๆ จะน้อยกว่าในครั้งแรกๆ จำานวนครั้งที่เดินทางผิดก็จะลดน้อยลงด้วย แสดงว่า เราเกิดการเรียนรู้ว่าจะลากเส้นไปในทางวกวนถูกต้องอย่างไร โดยอาศัย การทดลองทำาดูก่อน เรารียกพฤติกรรมที่มีการทดลองทำาว่า การเรียนรู้แบบ ลองผิดลองถูก
  • 10. มีการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ชั้นตำ่าบางชนิด เช่น ไส้เดือนดิน เพื่อจะดูว่ามี พฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำาไปใส่ไว้ในกล่องพลาสติกรูปตัว T ที่ด้านหนึ่งมืด และชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ปรากฏว่าในการทดลอง ซำ้าๆ กันไม่ตำ่ากว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกมาแล้วจะเลือกทางได้ ถูก คือ เคลื่อนที่ไปทางที่มืดและชื้น ประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึก โอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกถูกหรือผิดมีร้อยละ 50 เท่านั้น ได้มีการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกในสัตว์อื่นๆ หลาย ชนิด น ให้หนูเนผ่านทางวกวนไปหาอาหาร พบว่า หนูสามารถเรียนรู้ทางวก วนได้อย่างรวดเร็ว สัตว์บางชนิด เช่น สัตว์ครึ่งนำ้าครึ่งบก ซึ่งเรียนรู้ได้ช้า แต่เมื่อนำามาทดลอง กับทางวกวนอย่างง่ายๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ถ้าถูกทำาโทษเมื่อเดินไป ผิดทาง ในการพิจารณาว่าสัตว์มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกได้ ดีหรือไม่นั้น ดูได้จากจำานวนครั้งที่ทำาผิดน้อยลง ง. การเรีย นรู้แ บบฝัง ใจ (imprinting) นักชีววิทยาชาวออสเตรียชื่อ ดร.คอนราด ลอเรนซ์ (Dr.Konrad Lorenz) ได้ศึกษาพฤติกรรมนี้โดยการทำาการทดลองในปี ค.ศ.1935 ดร.ลอเรนซ์ ได้ ฟักไข่ห่าน เมื่อลูกห่านฟักออกจากไข่สิ่งแรกที่ลูกห่านเห็นคือ ดร.ลอเรนซ์ ลูกห่านจึงเดินตาม ดร.ลอเร้นซ์แต่ไม่เดินตามแม่ห่านซึ่งได้พบทีหลังเลย ดร.ลอเรนซ์ได้ทดลองฟักไข่ห่านหลายๆ ครั้ง จนในที่สุดสรุปได้ว่า ลูกห่านที่ เพิ่งฟักอออกจากไข่จะเดินตามวัตถุที่เคลื่อนที่และจำาเสียงได้ ซึ่งเห็นเป็นครั้ง อรกหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ พฤติกรรมดังกล่าวนี้เป็นพฤติกรรมการ เรียนรู้แบบฝังใจ นอกจากนี้ ดร.ลอเรนซ์ ยังพบว่า ลูกห่านจะเริ่มเกิดการเรียนรู้แบบฝังใจใน ช่วงประมาณ 36 ชั่วโมงแรกหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ ถ้าพ้นระยะนี้ไป แล้วห่านจะไม่เกิดการเรียนรู้แบบฝังใจได้เลย แม้สิ่งเร้านั้นจะเป็นแม่ของมัน
  • 11. เอง ความฝังใจที่เกิดขึ้นอาจเป็นไปตลอดชีวิตหรืออาจจะแสดงอยู่เพียงระยะ หนึ่ง ระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรมฝังใจของสัตว์ต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป แต่ จะเหมือนกันในสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น สัตว์ประเภทนก ช่วงที่เกิดความฝังใจ ประมาณ 36 ชั่วโมงหลังจากฟักออกจากไข่ สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการฝังใจ นอกจากจะเป็นการมองเห็นแล้ว เสียงหรือกลิ่นยังกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนี้ด้วย เช่น ลูกเป็ดเมื่อฟักออกจาก ไข่ ได้ยินเสียงแม่เป็ดร้องอยู่นอกรังโดยที่ยังไม่ได้เห็นตัวก็อาจจะวิ่งออกไป ตามหาแหล่งของเสียง เมื่อได้ยินเสียงนั้นอีกในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่สัตว์เห็น เคลื่อนที่หรือส่งเสียงมักจะเป็นแม่ของตัวเอง จึงเกิดความผูกพันยึดเหนี่ยวกับ แม่ จ. การเรีย นรู้แ บบใช้เ หตุผ ล (reasoning) เป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ ในการศึกษาพฤติกรรมนี้ได้มีผู้ทำา หารทดลองกับสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างกว้างขวาง แผนภาพแสดงการทดลองเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างเด็กอายุ 5 ขวบ สุนข และไก่ ั จากภาพเป็นการทดลองที่เปรียบพฤติกรรมระหว่างเด็กอายุ 5 ขวบ สุนัข และไก่โดยให้อยู่ในสภาพที่หิวและอยู่ในรั้ว นอกรั้วมีขนมสำาหรับเด็ก อาหาร สำาหรับสุนัขและสำาหรับไก่วางอยู่แล้ว สังเกตว่าทั้งเด็ก สุนัข และไก่จะมีวิธีแก้ ปัญหาอย่างไร ผลปรากฏว่า ไก่ไม่สามารถออกมากินอาหารได้ ส่วนสุนัขนั้น ครั้งแรกเดินตรงไปยังอาหารแต่ติดรั้ว ครั้งต่อมาเดินอ้อมออกมานอกรั้ว และ ได้กินอาหาร สำาหรับเด็กเมื่ออยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ก็เดินอ้อมรั้วออกมาถึง จานอาหารได้เลย จากการทดลองนี้ จะเห็นว่า ไก่ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ส่วนสุนัขแก้ปัญหา โดยการทดลองทำาก่อนเมื่อวิธีแรกไม่สำาเร็จจึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ส่วนเด็กจะเห็น ได้ว่า สามารถแก้ปัญหาโดยการทดลองทำาก่อนเมื่อวิธีแรกไม่สำาเร็จจึงเปลี่ยน วิธีใหม่ ส่วนเด็กนั้นจะเห็นว่า สามารถแก้ปัญหานี้โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก พฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตสามารถแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ได้ในครั้งแรกหรือ แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากสถานการณ์เดิม โดยอาศัยการ เรียนรู้จากสถานการณ์แบบอื่นๆ หรือจากหลายๆ สถานการณ์ เป็นการเรียน
  • 12. รู้แบบใช้เหตุผล มนุษย์สามารถที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ทั้งแบบที่ง่ายๆ และที่สลับซับ ซ้อนได้ นอกจากนี้มนุษย์ยังสามารถนำาสิ่งที่เรียนรู้มาสร้างเป็นกฏเกณฑ์ ต่างๆ และสามารถที่จะบันทึกสิ่งที่ได้เรียรู้เก็บไว้ในสมอง การตอบสนองต่อ สิ่งเร้าส่วนใหญ่เกิดจากการศึกษาเหตุผลโดยอาศัยความรู้ที่บันทึกไว้ในสอง นี่เอง พฤติกรรมแบบนี้จะพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงและคน ได้มีการศึกษาว่าสัตว์อื่นๆ เช่น สุนัข มีพฤติกรรมแบบใช้เหตุผลหรือไม่ โดย ผูกสุนัขให้เชือกอ้อมเสาอีกต้นหนึ่ง แล้วสังเกตดูว่า สุนัขจะสามารถแก้ปัญหา เพื่อให้ได้กินอาหารที่ใส่ไว้ในจานใกล้ๆ ตัวได้อย่างไร จากการทดลองพบว่า เมื่อสุนัขเห็นอาหาร สุนัขจะพยายามใช้กำาลังดึงตัวเอง เข้าหาอาหารดังภาพ สัตว์อื่นๆ เช่น หนู หรือไก่ ก็พยายามทำาแบบเดียวกับ สุนัข จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้นี้มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจะอำานวยให้สัตว์ สามารถปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา เพื่อการอยู่รอดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงจำาเป็นสำาหรับสัตว์ที่มีช่วงชีวิตที่ ยาวนาน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า พฤติกรรมเป็นผลจากการทำางานร่วมกันเอง ระหว่างพันธุกรรมและประสบการณ์ โดยที่หน่วยพันธุกรรมควบคุมระดับ ความเจริญของโครงสร้างต่างๆ ของสัตว์ที่เป็นปัจจัยสำาคัญอันจะก่อให้เกิด พฤติกรรมได้ เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ และขอบเขตที่พฤติกร รมนั้นๆ ถูกดัดแปลงไปได้มากบ้างน้อยบ้าง ยากที่จะตัดสินลงไปว่า พันธุกรรมหรือประสบการณ์จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่ากัน อย่างไรก็ดี พฤติกรรมจะเห็นได้ชัดเจนในสัตว์ชั้นตำ่ามากกว่าสัตว์ชั้นสูง ความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งพฤติก รรมกับ พัฒ นาการของ ระบบประสาท จากการศึกษาพฤติกรรมสิ่งมีชีวิตแบบต่างๆ ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมแบบหนึ่งๆ ไม่ได้มีในสิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิด สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจ ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าอย่างเดียวกันด้วยพฤติกรรมที่แตกต่าง กันออกไป เช่น คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีความสามารถแสดง พฤติกรรมอย่างมีเหตุผล และมีความประณีตมากกว่าสัตว์อื่นๆ ซึ่งเป็นผล เนื่องมาจากการพัฒนาของระบบประสาท ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
  • 13. จากตาราง จะเห็นได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนามากขึ้นจะมี พฤติกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น ถ้านำาพฤติกรรมต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นตำ่าไป จนถึงสัตว์ชั้นสูงมากเปรียบเทียบกันในรูปของกราฟ จะได้กราฟดังภาพ จะเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถแสดงพฤติกรรมที่แม้ว่าจะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ล้วนเป็นไปเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการเคลื่อนที่เข้าหาอาหาร หนี อันตราย หลบหนี สภาวะที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ พฤติก รรมทางสัง คม พฤติก รรมทางสัง คม (social behavior) สัตว์ทอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ ี่ เป็นสังคมที่มีความจำาเป็นที่จะต้องสื่อสาร ติดต่อกันเพื่อที่จะทำาให้สัตว์ สามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อใดก็ตามที่พฤติกรรมของสัตว์ตัวหนึ่งทำาให้ พฤติกรรมของสัตว์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพื่อนร่วมสปีชีส์หรือต่างสปีชีส์ เปลี่ยนไปได้ ก็กล่าวได้ว่าเกิดการสื่อสารขึ้น ดังนั้น การสื่อสารจึงมีองค์ ประกอบที่สำาคัญคือผู้ส่งสัญญาณและผู้รับสัญญาณ การสื่อสารกระทำาได้ หลายรูปแบบ ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์และชนิดของผู้ส่งสัญญาณและ ผู้รับสัญญาณ เราอาจจำาแนกพฤติกรรมทางสังคมที่ใช้ในการสื่อสารได้ดังนี้ ก. การสื่อ สารด้ว ยท่า ทาง ท่าทางที่แสดงออกมา อาจเป็นมาแต่กำาเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ โดยการ แสดงออกทางท่าทางหรือทางสีหน้า เราคงจะพอนึกออกได้ว่า สัตว์เลี้ยงใน บ้าน เช่น สุนัขหรือแมวแสดงท่าทางและลักษณะอย่างไร เมื่อเวลาโกรธ ตกใจ หรือประจบ หรือแม้แต่นักเรียนเองก็สามารถสังเกตอารมณ์และความ รู้สึกของเพื่อนๆ ได้จากทางสีหน้าหรือท่าทาง การสื่อสารด้วยท่าทาง มีประโยชน์ต่อสัตว์ในด้านอื่นๆ หลายประการ เช่น ใช้เป็นสื่อในการเกี้ยวพาราสี และการผสมพันธุ์ แบบแผนของพฤติกรรมของ สัตว์บางชนิดประกอบด้วยท่าทางหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กันและเป็นแบบ เฉพาะ ในผึ้งงานเมื่อออกไปหาอาหารแล้วกลับมารัง สามารถบอกให้ผึ้งตัวอื่นๆ ทราบถึงแหล่งอาหารได้ด้วย การเต้น ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบเลขแปด แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ไกล แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้จะเต้นแบบวงกลมดัง ภาพ
  • 14. ข. การสื่อ สารด้ว ยเสีย ง สัตว์หลายชนิดใช้เสียงเป็นสื่อในการติดต่อระหว่างกัน นิโก ทินเบอร์เกน (Niko Tinbergen) ได้ทำาการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารด้วย เสียงของสัตว์ การทดลองดังภาพ แม่ไก่จะไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ต่อลูกไก่ที่อยู่ในครอบ แก้ว เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงร้องของลูกไก่ถึงแม้จะเห็นลูกไก่ก็ตาม ส่วนภาพ ต่อมาเสียงร้องของลูกไก่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับแม่ไก่ คือพยายามจะไปตาม เสียงของลูก ถึงแม้จะไม่เห็นตัวลูกไก่ก็ตาม จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เสียงใช้เป็นสื่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อให้ เกิดปฏิกิริยาตามชนิดของเสียงนั้น ในธรรมชาติสัตว์มักจะส่งเสียงเมื่อภัยมา เสียงนั้นเป็นการช่วยเตือนภัยให้กับตัวอื่นด้วย เช่น นกร้องเมื่อภัยมาแล้วบิน หนี นอกจากนี้สัตว์หลายชนิดยังใช้เสียงเป็นสื่อในการเรียกคู่มาผสมพันธุ์ เช่น เสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย ซึ่งนอกจากเรียกยุงตัวผู้แล้ว ยังบ่งบอกถึงสปีชีส์ของยุงได้ด้วย เสียงร้องของนกตัวผู้ที่เรียกร้องความสนใจ จากนกตัวเมียแล้วยังเป็นสิ่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบพพันธุ์ ด้วย เช่น ได้มีผู้ทำาการทดลองจับกบตัวเมียชนิดหนึ่งมาจำานวนหนึ่ง ปล่อยไว้ ในห้องทดลอง แล้วเปิดเทปเสียงของกบตัวผู้ชนิดเดียวกัน ปรากฏว่า กบตัว เมียเข้ามาหาต้นเสียงนั้น และกบตัวเมียหลายตัววางไข่ได้ นอกจากนี้สัตว์ยังใช้เสียงเป็นสื่อแสดงความโกรธ ความกลัว การขู่ การบอก ความเป็นเจ้าของสถานที่ สัตว์บางชนิดสามารถกำาหนดสถานที่ของแหล่ง อาหารโดยรับเสียงสะท้อนกลับ เช่น ค้างคาว เป็นต้น
  • 15. ค. การสื่อ สารด้ว ยการสัม ผัส การสัมผัสก็นับเป็นสื่อที่มีความสำาคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนำ้านม แสดงพฤติกรรมของลูกลิงที่มีต่อหุ่นที่ใช้แทนแม่ ลิง นักพฤติกรรมพบว่า การที่แม่และลูกลิงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มี ส่วนสำาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางอารมณ์ของลูกอ่อน สัตว์บางชนิดใช้การสัมผัสเป็นสื่อบอกถึงความเป็นมิตรหรืออ่อนน้อมด้วย เช่น สุนัขเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่เหนือกว่า หรือลิงชิมแพนซีจะยื่นมือให้ลิง ตัวที่มีอำานาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ สัตว์บางชนิดใช้การ สัมผัสเพื่อขออาหาร เช่น ลูกนกนางนวลบางชนิดจะใช้จะงอยปากจิกที่ จะงอยปากของแม่เพื่อกระตุ้นให้ตัวแม่ไปหาอาหารมาให้ ง. การสื่อ สารด้ว ยสารเคมี ในเรื่องของฮอร์โมน เราทราบมาแล้วว่า สัตว์บางชนิดใช้ฟีโรโมนเป็นท่อ กลางดึงดูดเพศตรงข้าม เช่น พวกผีเสื้อกลางคืนตัวเมียสามารถปล่อยฟีโรโม นออกจากร่างกายแม้เพียงปริมาณเล็กน้อย แต่ผีเสื้อกลางคือตัวผู้ที่อยู่ห่าง ไกลหลายกิโลเมตรก็ยังได้กลิ่นและบินมาหาได้ถูก นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยว กับพฤติกรรมของแมลง ได้สกัดฟีโรโมนจากแมลงตัวเมียเอามาใช้ล่อแมลง ตัวผู้หลายชนิดให้มาหาได้ การค้นพบในทำานองนี้นับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการควบคุมประชากรของแมลงอย่างที่ให้คุณและให้โทษต่อพืชเศรษฐกิข ของมนุษย์ นอกจากนี้สัตว์บางชนิดยังใช้ฟีโรโมนในการเตือนภัย หรือแสดงความเป็น เจ้าของอาณาเขต เช่น กวางบางชนิด เช็ดสารบางชนิดที่สร้างจากต่อม บริเวณใบหน้ากับต้นไม้ตามทาง หรือสุนัขถ่ายปัสสาวะในที่ต่างๆ เพื่อ กำาหนดอาณาเขต หากเคยสังเกตมดที่เดินตามกัน จะเห็นว่า มดเดินตามรอบเดินได้อย่างถูกต้อง แม้กระทั่งทางเดินจะคดโค้งไปอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมดปล่อยฟีโรโมนที่
  • 16. เป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิกไว้ตามทางที่มีกลิ่นนั้นไปยังแหล่งอาหารได้ แต่ ถ้ามดไม่พบอาหารก็จะไม่ปล่อยสารฟีโรโมนออกมาเวลาเดินกลับรัง จะเห็นได้ว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีการแสดงพฤติกรรมทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นมักจะเป็นไปในทางที่จะช่วยปรับปรุงชีวิตความ เป็นอยู่ในหมู่ของตนให้ดีขึ้น เช่น อาจช่วยให้หาอาหารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันหรือหลบหลีกศัตรูที่มาทำาอันตราย ช่วยให้สืบพันธุ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น