SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  38
Télécharger pour lire hors ligne
E-book ทัศนศิลป์
ใบความรู้ การ์ตูน
การ์ตูน (อังกฤษ: cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่งเพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน
หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist)
การ์ตูนเริ่มต้นที่ยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 ช่วงเรเนซองต์
การ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เริ่มมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 มังงะ(manga)
ภาพล้อฝีมือขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) นักเขียนการ์ตูนล้อเลียนการเมืองคนแรกของไทย
ประวัติศาสตร์การ์ตูนไทยเริ่มจากการเข้ามาของวิทยาการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งขรัวอินโข่ง จิตรกร
ในสมัยรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝา
ผนังในลักษณะเหมือนจริง หลายคนจึงถือกันว่าท่านเป็นนักเขียนการ์ตูนไทยคนแรกถึงสมัยรัชกาลที่ 7ออก
กฎหมายการเขียนการ์ตูนล้อการเมือง วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จนถึง พ.ศ. 2475
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็น
สัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูน
สันติภาพโลก เมื่อ ปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last
Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์
นายชัย ราชวัตร (สมชัย กตัญญตานนท์) เขียนการ์ตูนการเมืองชุด ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ใน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ใบความรู้ ยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ(เรอเนสซองส์)
เรอเนสซองส์ แปลว่า การเกิดใหม่ หมายถึง การฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน เป็นยุคที่เน้นอุดม
คติมนุษย์นิยม คือเชื่อว่ามนุษย์มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล
สถาปัตยกรรมที่สำคัญสมัยเรอเนสซองส์ ได้แก่ วิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งออกแบบโดยราฟาเอล บรา
มันเต้ และไม่เคิลแองเจโล
*ศิลปินที่สำคัญของสมัยเรอเนสซองส์ ได้แก่
- ไมเคิล แองเจโล ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การออกแบบสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์ ภาพคำพิพากษาสุดท้าย
การแกะสลักหินอ่อนปีเอตา , รูปหลักเดวิด วิหารเซนต์ปีเตอร์
- ลีโอนาร์โด ดาวินซี ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ ภาพโมนาลิซา อาหารเย็นมื้อสุดท้าย ภาพโมนาลิซา
- วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ โรเมโอจูเลียต เวนิสวานิส โรเมโอจูเลียต
ศิลปวัฒนธรรมสมัยเรอเนสซองส์
1. ศิลปะไบแซนไทน์ (Bizantine Arts)
จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-11 มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติ
โนเปิล (Constntinople) หรือ อิสตันบลู เมืองหลวงของตุรกีในปัจจุบัน ทำหน้าที่รับทอดศิลปวัฒนธรรม
กรีกและโรมัน โดยนำมาผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมตะวันออกทำให้กลายเป็นลักษณะเฉพาะตัว
แสดงออกถึงอิทธิพลของคริสต์ศาสนา ซึ่งมีลักษณะการผสมระหว่างศิลปะโรมันและมุสลิม ได้แก่ วิหาร
เซนต์โซเฟีย วิหารฮาร์เจียโซเฟีย การวาดภาพแบบเฟรสโก คือ การวาดภาพลงบนปูนฉาบที่ยังเปียกอยู่
1.1 งานสถาปัตยกรรม มีลักษณะงดงามทั้งโครงสร้างและการตกแต่ง นิยมสร้างวิหารที่มีรูปโดมอยู่ตรง
กลาง และประดับกระจกสีเหนือบนประตูหน้าต่างอย่างวิจิตรบรรจง งานชิ้นเอกแห่งยุค คือ มหาวิหารซาน
ตา โซเฟีย (Santa Sophia) และวิหารซานตา โซเฟีย (Santa Sophia) ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
มหาวิหารซานตาโซเฟีย
1.2 งานประติมากรรม มักปรากฎในลักษณะของรูปบูชาที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา เช่น พระเยซู หรือ
พระสาวก ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักงาช้างหรืองานสำริดประเภทนูนต่ำ (Base-relief)
1.3 งานประติมากรรม มักปรากฎในลักษณะของรูปบูชาที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา เช่น พระเยซู หรือ
พระสาวก ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักงาช้างหรืองานสำริดประเภทนูนต่ำ (Base-relief)
ใบความรู้ การเขียนภาพประกอบเรื่อง
ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เปนภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเลาเรื่องราว หรือถายทอด เหตุการณตาง ๆ
ใหผูอื่นไดรับรูโดยอาจเปนทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีรหรือภาพเขียนบนฝาผนังอาคาร
สถาปตยกรรมตางๆและรวมถึงภาพโฆษณาตางๆดวย
จินตนาการหมายถึง การคิดสร้างภาพในจิตใจหรือพลังของจิตที่สร้างภาพขันใหม่ภายในใจ
ให้น่าพอใจกว่า สวยกว่า เป็นระเบียบกว่าหรือร้ายกาจกว่าสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป
จินตนาการมี 3 ประเภท
1.จินตนาการจากประสบการณ์ตรง
2.จินตนาการประสบการณ์ทางอ้อม
3.จินตนาการจากการสร้างสรรค์เอง
ใบความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาสิ่งแปลกใหม่และเป็นคำตอบที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น
1.ต้องเป็นสิ่งใหม่ เป็นความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร ไม่เคยมีมาก่อน
2.ต้องใช้การได้ เป็นความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและดีกว่าความคิดเดิม
3.ต้องมีความเหมาะสม เป็นความคิดที่มีเหตุผลมีความเหมาะสมและมีคุณค่าคนทั่วไปยอมรับร่วมกันได้
ประเภทความคิดสร้างสรรค์ มี 2 ประเภท
1.แบบรูปธรรม เหมือนจริง เห็นแจ้ง ว่าเป็นเรื่องราวอะไร
2.นามธรรม ดูไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจความหมาย ของศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์
ศิลปินที่ มีแนวสร้างสรรค์ แบบนามธรรม คือ อ.กมล ทัศนาลี ปิกาสโซ่ แวนก๊อก เฟื้อ หริพิทักษ์
อาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงคือ นักวาดภาพ นักดนตรี นักออกแบบบ้าน สถาปนิก ตกแต่งภายใน
ออกแบบกราฟฟิก
ใบความรู้ ประติมากรรม
ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนัก
และกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด
วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้าง
งานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี
วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่แข็ง เปราะ โดยอาศัยเครื่องมือ
วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้
โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยม
นำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4.การทุบ เช่นวัสดุโลหะ เงินทุบให้เป็นรูปต่างๆ
5.การเชื่อม บัดกรี งานโลหะให้เป็นรูปลักษณะที่ต้องการ
***** ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร ถ้าปั้นพระ เรียกว่า ปฏิมากร
ประเภทของงานประติมากรรมมี 3 ประเภท
1. ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ
มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูน
แบบเหรียญบาท เหรียญพระ เหรียญรางวัล
2. ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบนูนต่ำ แต่มี
ความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน เช่นลายปูนปั้นหน้าประตู
โบสถ์ ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
3. ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือมองเห็น
รอบด้าน ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม
รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์
ใบความรู้ ป๊อป อาร์ต (Pop Art)
ป๊อป อาร์ต (Pop Art) ศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 20
ป็อป อาร์ต (Pop Art) มาจากภาษาอังกฤษว่า "Popular Art" ซึ่งแปลว่า ศิลปะที่เป็นที่นิยม การ
เคลื่อนไหวของป๊อปอาร์ตในอเมริกาและอังกฤษเกิดขึ้นใน ค.ศ.1950 โดยนำแรงบันดาลใจมาจาก
แนวความคิดของสังคมบริโภค และความนิยมในสังคมมาสร้างเป็นงานศิลปะเช่น การ์ตูน รูปโฆษณาสินค้า
รูปถ่ายดาราภาพยนตร์ที่ประชาชนคลั่งไคล้ ตัวอักษรหรือหนังสือขำขัน ป้ายโฆษณาตามทางหลวง
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ถ้วยพลาสติค กระป๋องเบียร์ กระป๋องโคล่า ไอศกรีมซันเดย์ ฮอทด็อก และ
แฮมเบอร์เกอร์
เจ้าพ่อป๊อปอาร์ต แอนดี้ วอร์ฮอล
“In the future , everyone will be world-famous for 15 minutes.”
“ในอนาคต ทุกคนจะมีโอกาสมีชื่อเสียงในระดับโลกกันคนละ 15 นาที”
ป็อปอาร์ต เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ศิลปินในลัทธินี้มีความเชื่อว่าศิลปะสร้างขึ้นจากสิ่ง
ต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกของประสบการณ์ทั้งหมดของศิลปินใน
ช่วงเวลาหนึ่งและสถานที่แห่งหนึ่งเท่านั้น รูปแบบของศิลปะจะขึ้นอยู่กับความสนใของศิลปินแต่ละคนที่ได้
พบเห็นสิ่งเหล่านั้นอยู่ทุกวัน
งานป็อบอาร์ต (Pop Art) มักหยิบเอาสิ่งที่คนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาจำลองหรือทำขึ้นใหม่ ใน
รูปแบบอันแปลกตา เพื่อเล่นสนุกกับประสบการณ์และการรับรู้ของผู้ชม กลายเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ
ประวัติการกำเนิด ภาพลักษณ์อันเปี่ยมสีสันของฮอลลีวูดหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมโฆษณาและทิวทัศน์
ของลอสแองเจลิส ศิลปินเปลี่ยนวัตถุและสถานที่ธรรมดาสามัญอย่างปั๊มน้ำมัน ให้กลายเป็นสัญลักษณ์
แทนวัฒนธรรมบริโภคนิยมของอเมริกัน
จิรภัทร ทัศนสมบูรณ์ มีสไตล์โดดเด่นไม่เหมือนใครสามารถทำให้ใครก็ตามที่ได้เห็นงานของเขารู้สึกทึ่งและ
จดจำได้ตั้งแต่ครั้งแรก จากความแปลกในการนำเอาตัวละครไทยจากเรื่อง รามเกียรติ์ ไปใส่ไว้ในผลงาน
ภาพเขียนระดับโลก การนำเอาซุปเปอร์ฮีโร่หรือตัวการ์ตูนดังมาใส่ไว้ในงานจิตรกรรมไทย ไม่เพียงเท่านั้น
เขายังนำตัวละครเด่นจากวงการต่าง ๆ ทั้งบันเทิง การเมือง เข้ามาอยู่ในผลงานเพื่อสื่อถึงมุมมองความคิด
แรงบันดาลใจที่ได้จากสถานการณ์สังคมและการบ้านการเมือง ลักษณะลายเส้นละเอียดสีสันอ่อนโยน ซุก
ซ่อนความสนุกสนานขี้เล่นเอาไว้เห็นแล้วต้องยิ้มตาม
ศิลปินป็อปอาร์ตคนสำคัญ อาทิ รอย ลิคเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) ที่หยิบเอาภาพจากหนังสือ
การ์ตูนและเทคนิคในระบบอุตสาหกรรมการพิมพ์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีสันอันสดใสและลายเส้นอัน
คมชัดของหนังสือการ์ตูน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหยิบยืมลายจุดของการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต (ที่เรียกว่า
Benday Dots) มาใช้ (ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ให้ลองเอาแว่นขยายไปส่องภาพบนหนังสือพิมพ์หรือ
นิตยสารดู) รวมถึงการใช้กรอบแบบการ์ตูนช่อง (comic strip) ในหนังสือพิมพ์ ผลงานของเขาลบเลือน
เส้นแบ่งระหว่างงานสื่อสารมวลชนเข้ากับศิลปะชั้นสูงได้อย่างแนบเนียนศิลปินป็อปอาร์คนสำคัญทางฝั่ง
เวสต์โคสต์ อย่าง เอ็ด รัสก้า (Ed Ruscha) ผู้หลอมรวมภาพลักษณ์อันเปี่ยมสีสันของฮอลลีวูดเข้ากับ
วัฒนธรรมโฆษณาและทิวทัศน์ของลอสแองเจลิส เขาเปลี่ยนวัตถุและสถานที่ธรรมดาสามัญ
หรือศิลปินอเมริกันอย่าง เจมส์ โรเซนควิสต์ (James Rosenquist) ที่หยิบเอาภาพข่าวและโฆษณาจาก
นิตยสารมาคอลลาจในสไตล์ที่แปลกประหลาดเหนือจริง และใช้มันเป็นต้นแบบ แล้ววาดขึ้นมาใหม่ด้วย
เทคนิคอันเชี่ยวชาญ ด้วยความที่พื้นเพเป็นนักวาดคัตเอาท์และป้ายโฆษณา ภาพวาดของเขามักมีขนาด
กว้างใหญ่ หลายภาพมีขนาดใหญ่กว่าหกเมตร เขาเปลี่ยนภาพลักษณ์อันคุ้นตาที่คนพบเห็นใน
ชีวิตประจำวันให้กลายเป็นงานศิลปะชั้นเลิศได้อย่างน่าทึ่ง
ใบความรู้ เรื่องศิลปะไทย
ศิลปภาพลายไทยแต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ“ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่ ลายไทยในสมัยโบราณเป็น
ศิลปะประเภท อุดมคติ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด ได้แก่
๑. หมวดกระหนกได้มาจากดอกบัว หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนก
ใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
๒. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึก
เขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
๓.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอา
ยักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
๔.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว
ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น
สีชาดคือ สีแดง เขียนภาพแบบตานกมอง ลักษณะ 2 มิติ ไม่แสดงกล้ามเนื้อ นิยมเขียนภาพประดับฝา
ผนังโบสถ์ เรื่องพุทธประวัติ ด้านหลังพระประธานนิยมเขียนเรื่องมารผจญ ส่วนวัดพระแก้วเขียนเรื่อง
รามเกียรติ์ตั้งแต่ราชกาลที่ 1
จิตรกรรมไทยเรื่องรามเกียรติ์ เขียนที่วัดพระแก้ว..ท่านขรัวอินโข่งเป็นพระภิกษุที่ได้เขียนภาพจิตกรรมแบบตะวันตกใน ร.
4 (ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส) ภาพไทยจะไม่แสดงกล้ามเนื้อ สีแบนเรียบ ตัดเส้นมีแค่ 2
มิติ สีชาดคือ สีแดง
ใบความรู้ ลัทธิคิวบิส
ศิลปะแบบคิวบิส (Cubism) คือ การค้นหาความงามจากรูปทรงของเหลี่ยม ลูกบาศก์ ค้นหาโครงสร้าง
ตามความจริงที่เป็นแท่ง ๆ มากกว่าจะไปเน้นที่รายละเอียดในธรรมชาติ ถือเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะที่
แสดงให้เห็นวัตถุธาตุมิใช่แค่การเลียนแบบวัตถุ เพราะยังคงมีเนื้อหาและเรื่องราวในภาพอยู่ อาจถือได้ว่า
เป็นศิลปะที่พยายามเชื่อมโยงทั้งทางความคิด และสายตา เข้าด้วยกันเพราะการสร้างผลงานทางศิลปะ
แบบคิวบิสนั้นเป็นการ สร้างรูปทรงเรขาคณิต โดยการหาโครงสร้างแยกย่อยแล้วนำมาประกอบเข้ากันใหม่
โดยสีที่ใช้ จะใช้สีมัว ไม่สด ไม่รุนแรง เป็นสีแบน ๆ หรือบางทีจะนำโครงสร้างด้านหน้าและด้านหลังมา
ประกอบพร้อม ๆ กันเพื่อให้สามารถเห็นวัตถุนั้นทั้งสองด้านได้ในคราวเดียวกันและเห็นถึงความตื้นลึกของ
ภาพแม้อยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งศิลปะแบบคิวบิสนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาของภาพเขียนที่มีเพียง
สองมิติและตาเห็นได้แค่ด้านเดียว
ปาโบล ปีกัสโซ (อังกฤษ: Pablo Picasso) ซึ่งทั้งสองต่างมีจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจ “โครงสร้างเรขาคณิต
เป็นรากฐานของรูปทรงธรรมชาติทั้งมวล” และ ถ้าเข้าใจรูปทรงของโลกภายนอก และโครงสร้างตาม
ความเป็นจริงแล้ว จงมองดูรูปเหล่านั้นให้เป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่ายๆ ทั้งปิกัสโซและบาร์ค พยายามเน้น
คุณค่าของปริมาตร เป็นชาวเสปน นิยมสีฟ้าและชมพู
2.จอร์จ บราค (GEORGE BRAQUE, 1882-1963)
ฌอร์ฌ บรัก (ฝรั่งเศส: George Braque) เป็นศิลปินในคติโฟวิสต์และต่อมาในบาศกนิยม บรักเกิดเมื่อ
วันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1882 เติบโตในเมืองเลออาฟร์ (Le Havre) และเริ่มศึกษาศิลปะที่โรงเรียน
ศิลปะในเมืองนี้เมื่ออายุ 17 ปี
ลัทธิแอสแตรค (Astract)
แอบสแตรค ที่หมายถึง นามธรรม ศิลปินมีการสร้างสรรค์ผลงานโฑดยการคำนึงถึงเส้นและสีเท่านั้น มี
ลวดลายค้ายลายผ้า ลายพรม หรือ ลายกระเบื้องปูพื้น ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น คองดินสกี(Kandinsky)
มองดีออง (Mondrian) และ วิลอง (Villon)
วาซีลี วาซีเลียวิช คันดินสกี
มองดีออง (Mondrian) และ วิลอง (Villon)
การทำงานของ Jackson Pollock ตามความคิดของเขาแตกต่างจากศิลปินผู้อื่น ตรงที่ศิลปินปกติส่วน
ใหญ่จะยืน หรือนั่งอยู่กับที่ ใช้เพียงมือ ที่ถ่ายทอด ผลงานออกมา แต่เขาใช้วิธีวางเฟลมกับพื้น เพื่อที่จะ
สามารถใช้ทุกส่วนของร่างกายในการถ่ายทอดผลงาน
ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เกิดขึ้นทางเหนือของยุโรป โดยที่ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ศิลปะแนว
นี้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปินสำคัญ 2 คนคือ Vincent Van Gogh และศิลปินชาว Norwegian ที่ชื่อ
Edvard Munch ใช้สีที่รุนแรง บ้าระห่ำ เกลียดชังทารุณ เจ็บปวด และเกินความเป็นจริง โดยเน้นความ
พอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือ กฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใดๆในอดีตเลย
ใบความรู้ ศิลปะตะวันตก ม.4
.สถาปัตยกรรมยุคกรีกมหาวิหารพาเธนอน กรุงเอเธนประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน เทพความสวยงาม
วีนัส แห่งไมโล
ชาวกรีกนับถือเทพเจ้า.เทพเจ้าตัวแทนการแข่งขันโอลิมปิกไมรอน
สถาปัตยกรรมกรีกหัวเสา 3 แบบคือ 1 ดรอลิก(วิหารพาร์เธนอน) 2ไอโอนิค(วิหารอีเรกทีอุม) 3 คลอลิ
เธียน(วิหารโอลิมเปีย ) ชาวโรมันชาติแรกที่คิดคอนกรีต.สนามกีฬาที่ใช้การแข่งขันโอลิมปิกยุคโรมัน โค
ลีเซียม.การสร้างท่อประปาอยู่ที่โชเกเวียน (เสปน)อะคูสคัต.ศิลปะยุคไบเซนไทน์ สร้างโบสถ์เพดานยอด
กลมคอปโปล่ารูปกางเขน (ตัวที)ศิลปะยุคโกธิกอาคารทรงสูงยอดแหลมได้แก่มหาวิหารเนอสเตอร์ดัมส์
ศิลปะยุคโกธิกอาคารยอดแหลม
ใบความรู้ องค์ประกอบศิลป์
ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่
จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็น
งานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้าง
อารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน
– แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ ทั้งสิ้น
องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของทัศนธาตุต่าง ๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง
รูปทรง ขนาด สัดส่วน แสงเงา สี ช่องว่าง และลักษณะผิว มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้
องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อ
ความหมายทางศิลปะได้ โดยยึดหลักการจัดดังนี้
1. เอกภาพ (Unity)หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. ความสมดุล (Balance) หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน
3. จังหวะ จุดเด่น (Dominance) หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัด สะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ
จุดเด่นจะช่วยสร้าง
ความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น จุดเด่นเกิดจากการ
จัดวางที่
4. ความกลมกลืน (Harmony) และเป็นความกลมกลืนในเรื่องสีวรรณะเดียวกัน
5. ความขัดแย้ง (Contrast)ขัดแย้งด้วยรูปทรง ขัดแย้งด้วยขนาด ขัดแย้งด้วยเส้น
ขัดแย้งด้วยผิว ขัดแย้งด้วยสี
6. ขนาด สัดส่วน (Size Proporty)มีความสำคัญมาก ทุกส่วนของภาพวาดจะต้องมีความสอดคล้องกัน
ของขนาดและสัดส่วน จะผิดเพี้ยนไม่ได้
- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน
- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง
- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และ
การขัดแย้ง
- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
ภาพคนเต็มตัว (Figure)
การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้นคือการวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ
โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหวการวาดคนเต็มตัว ( Figure ) มีการแบ่ง
สัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7ส่วนครึ่ง ประวัติการเขียนภาพนเต็มตัวมีมาตั้งแต่
สมัยเรเนซ้อง (ฟื้นฟู) โดยท่านลีโอนาโด ดาวินซีผู้ศึกษา ชำแหระศพคนแรกแล้วเขียนภาพลงในกระดาษ
ศึกษากระดูก และกล้ามเนื้อ
ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง
ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก
ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ
ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา
ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน
ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง
ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า
ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า
ใบความรู้ภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (200,000 ปีก่อน คริสตกาล) โดยมนุษย์
โครมันยอง ดังพบภาพพิมพ์รูปมือบนผนังถ้ำในถ้ำลาสโควซ์ ประเทศฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิรา ประเทศ
สเปน ต่อมาชาวอียิปต์และชาวเมโสโปเตเมียรู้จักการพิมพ์ภาพแบบใช้แรงกดประทับบนผิววัสดุที่อ่อนนิ่ม
เช่น ดิน ขี้ผึ้ง จากนั้นมนุษย์คิดค้นกระดาษขึ้นได้จึงเปลี่ยนวัสดุรองรับที่เป็นดินหรือขี้ผึ้งมาเป็นกระดาษ
แทน นับแต่นั้นมาภาพพิมพ์ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านรูปแบบ กลวิธีการพิมพ์ตามวิวัฒนาการ
ของมนุษย์และความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการด้านการพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่นนั้น แสดงให้เห็นว่า จีนเป็นชนชาติแรกที่
คิดค้นการทำภาพพิมพ์ขึ้น โดยการแกะสลักลงบนหิน หยก งาช้าง กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์ เพื่อทำเป็น
แม่พิมพ์แล้วกดแม่พิมพ์ลงบนดินเหนียว ครั่ง ขี้ผึ้งหรือกระดาษให้เกิดลักษณะเป็นรอย ความรู้การพิมพ์นี้
ได้เผยแพร่ไปยังประเทศตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งประเทศ
เกาหลีได้พัฒนาความรู้เรื่องการพิมพ์นี้จนสามารถทำตัวเรียงพิมพ์ เป็นโลหะสำเร็จ
ประเภทของภาพพิมพ์
๑. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นราบ Planographic Process กรรมวิธีลักษณะนี้ คือภาพ
พิมพ์แม่พิมพ์หิน (Lithography) เกิดจากแม่พิมพ์ที่เป็นพื้นราบทั้งส่วนที่ทำหน้าที่รับหมึกพิมพ์และส่วนที่
ไม่ต้องการ ด้านผิวพื้นด้านหน้าของแม่พิมพ์ทั้งแผ่นหิน
๒. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นนูน Relief Process กรรมวิธีนี้ยุ่งยากน้อยที่สุด คือ ภาพพิมพ์
แม่พิมพ์ไม้ (Woodcut ; Wood engraving) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์กระเบื้องยาง(Linocut) เกิดจากความ
ต่างระดับความสูง ต่ำของแม่พิมพ์ ส่วนที่ไม่ต้องการจะถูกแกะออกลึกลงไป ด้วยเครื่องมือแกะ ส่วนที่ทำ
หน้าที่รับหมึกคือ ส่วนที่เป็นพื้นนูน
3.ภาพพิมพ์จากลักษณะร่องลึก Intaglio Process กรรมวิธีนี้ตรงกันข้ามกับภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์
ลักษณะพื้นนูน ซึ่งสร้างภาพจากพื้นนูนของแม่พิมพ์ Intaglio มาจากภาษาอิตาเลี่ยนคือ Itagliaro
หมายถึง แกะ สลัก เจาะ ตัด ภาพพิมพ์ จากแม่พิมพ์ลักษณะร่องลึก คือการใช้แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ เช่น
ทองแดง สังกะสี ทำให้เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ทำหน้าที่เป็นส่วนสร้างรูป หรือส่วนรับหมึก ลักษณะเด่น
เฉพาะของกรรมวิธีนี้คือ ร่องรอยรายละเอียดของพื้นผิว
๔. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นฉลุ Stencil Process
กรรมวิธีการสร้างแม่พิมพ์ด้วยลักษณะนี้ คือ การสร้างแม่พิมพ์ให้เป็นลายฉลุโดยหมึกพิมพ์สามารถลอด
ผ่านลายฉลุ ได้ วิธีการพิมพ์แบบนี้มักใช้การพิมพ์ทับกันหลายๆครั้งผลงานจึกสมบูรณ์ วิธีทำแม่พิมพ์ใน
อดีตมักใช้เส้นไหม ส่วนปัจจุบันใช้เส้นใยสังเคราะห์”โพลีเอสเตอร์ (Polyester Resin) หรือไนล่อน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ เป็นบุตรของนายสายบัว พงษ์ดำ และนางเป้ พงษ์ดำ เกิดเมื่อ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2477
ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 木版画 โรมาจิ: moku hanga อังกฤษ: Woodblock
printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า "ภาพอูกิโยะ"
ใบความรู้
การเขียนภาพทัศนียภาพ PERSPECTIVEเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือน
ใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ...
PERSPECTIVE จะประกอบด้วย
1.เส้นระดับสายตา HORIZON LINE (H.L.)
2.และจุดสายตา VIEW POINT (V.P.)
PERSPECTIVE 1 จุด
จะเป็นลักษณะการเขียนจะเห็นด้านระนาบของวัตถุเช่นด้านหน้าหรือด้านข้างเป็น 2 มิติ จากนั้นลากเส้น
ความลึกเข้าไปในจุด V.P
PERSPECTIVE 3 จุด
จะคล้ายการเขียน 2 POINT จะต่างกันตรงที่เส้นตั้งจะลากไปยังจุด V.P.3
ใบความรู้เรื่องการเขียนภาพสัตว์
“ การเขียนภาพสัตว์ ”
การเขียนภาพสัตว์เป็นการเขียนลักษณะท่าทาง การเคลื่อนไหวของสัตว์ในอาการต่างๆ การเขียนภาพสัตว์
ต้องใช้ความเร็วและความละเอียดพอควร เพราะสัตว์มีชีวิต ชอบเคลื่อนไหว เราไม่สามารถพูดให้มันหยุด
นิ่งเพื่อเป็นหุ่นได้ ดังนั้นผู้เขียนจะต้องสังเกตและจดจำรายละเอียดให้เร็วและจับลักษณะเอกลักษณ์ของมัน
ให้ได้ สัตว์มีธรรมชาติของสรีระและส่วนประกอบที่สวยงาม น่ารักแตกต่างกัน สัตว์ที่นิยมนำมาเป็นแบบใน
การเขียนภาพ เช่น สัตว์ 4 เท้า และสัตว์ปีก ความงามของสัตว์ 4 เท้าอยู่ที่สัดส่วน กล้ามเนื้อ ลีลาการ
เคลื่อนไหว ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ที่แววตาและขน
หลักการเขียนภาพสัตว์ ต้องเขียนให้มีชีวิตชีวา ได้ความรู้สึกในท่วงท่า ลีลา และสื่อบุคลิกลักษณะนิสัยของ
มันออกมาด้วย วิธีการเขียนภาพสัตว์มีดังนี้
1. สังเกตลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสัตว์แต่ละชนิด หาจุดเด่นและสังเกตลีลา ท่าทาง การเรียนการสอน
และอุปนิสัยของสัตว์ที่เราวาด
2. ร่างภาพจากโครงสร้างโดยส่วนรวมก่อน โดยอาศัยพื้นฐานโครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิตเช่น รูป
สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม วงรี
3. ร่างเส้นเชื่อมรูปทรงใส่รายละเอียดลงไปบนโครงสร้าง เช่นหู หาง เท้า
4. ลงน้ำหนักด้วยแรเงาหรือสี ตามความเป็นจริง ด้วยความประณีต ละเอียดอ่อน จะได้ภาพสัตว์ที่มีความ
น่ารักสวยงามเหมือนจริง
ใบความรู้ ลัทธิ DADA
ลัทธิ DADA หยุดดัดจริตโลกสวย แล้วเผชิญความจริงบนโลกที่ไม่สมบูรณ์แบบ
ลัทธิดาด้า (DADAISM) เกิดจากการรวมกลุ่มของศิลปิน Avant-Garde ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี
1914-1918 เพื่อแสดงการต่อต้าน ถากถาง ประชดประชัน เสียดสีสงครามและสภาพแวดล้อมทางสังคม
ทั้งการเกลียดชังตัวบุคคล อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี และบริบทต้นเหตุทั้งหมดที่อาจนำพาไปสู่การ
เกิดสงคราม ซึ่งหยิบยกข้ออ้างต่างๆและความเหลื่อมล้ำทางสังคมมาเพื่อใช้ทำลายมนุษย์ด้วยกัน รวมไป
ถึงการเยาะเย้ยความงามของศิลปะที่สมบูรณ์แบบและชิงชังในสิ่งที่สวยงามน่าหลงไหลอย่างมีแบบแผน
ชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่เพ้อฝันเสแสร้งดัดจริตผิดแปลกไปจากความจริงที่ว่าโลกไม่ได้ประกอบขึ้นด้วยความ
สวยงามและความสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด ดาด้ามองเห็นทุกอย่างเป็นศิลปะ และต่อต้านแนวคิดของ
พวกทุนนิยมที่นำพาไปสู่การขัดแย้งและการเกิดสงคราม ซึ่งพวกเขาแสดงออกด้วยการประชดประชัน
เยาะเย้ย ถากถาง และทำให้มันกลายเป็นเรื่องไร้สาระ ดูตลก หรือจงใจเสียดสีด้วยความดิบเถื่อน
เหลวไหล ทำลายความสมบูรณ์แบบลง ใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์ด้วยวิธีที่ผิดปกติซึ่งทำให้งานออกมามี
ลักษณะที่แปลกใหม่ไปจากงานศิลปะดั้งเดิม อีกทั้งการแสดงออกทางความคิดเพื่อเสียดสีความดัดจริตและ
สิ่งเลวร้ายที่พบเห็นได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งทิ้งคำถามให้กับสังคมผ่านทางงานศิลปะที่สร้าง
อีกหนึ่งวิธีสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจของดาด้าอิสม์คือการนำเอา"วัตถุประกอบสำเร็จ" (Ready
Made) มาปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมรายละเอียด เพื่อให้สามารถสัมผัสกับอีกมุมมองหนึ่งทางศิลปะ
กรณีการนำเสนอทางด้านความคิดอย่างเช่น “Fountain” ในปี 1917 ที่สร้างโดย "Marcel Duchamp"
แกนนำคนสำคัญของ ดาด้าอิสม์
ดาด้าถูกนำไปใช้เป็นฐานความคิดในการขบถทางศิลปะของกลุ่ม "เซอร์เรียลลิสม์" (Surrealism) ที่
แยกตัวออกมาโดย "อ็องเดร เบรอตง" (Andre Breton) และสมาชิกบางส่วน ซึ่งยังคงความคิดของลัทธิ
ดาด้าในการขบถต่อกฏเกณฑ์ที่มีอยู่เดิมและมุ่งทำลายค่านิยมทุกชนิดของชนชั้นกลาง
ชื่อผลงานAfter Orgasm -โดย Zeren Badar
ชื่อL.H.O.O.Q. -โดย Marcel Duchamp
ใบความรู้ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism)
ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ลัทธินี้มีความเชื่อว่า ชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้องกับความเร็ว เครื่องจักร เครื่องทุ่น
แรงต่างๆ ศิลปินมักมีการวาดภาพที่แสดงความเร็วของคนหรือสัตว์ เครื่องจักร โดยพยายามเน้นความหมาย
ของอนาคต
เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่
สนใจภาพเปลือย ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์
เทคนิควิชาการต่างๆ ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมี
แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ
ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็น
ศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วย
ความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน
ศิลปินที่สำคัญ เช่น คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966) อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto
Boccioni, ค.ศ. 1882-1916) จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็น
ต้น
Carlo Carrà. "Horse and Rider or Red Rider
(Il cavaliere rosso)", 1913, tempera and ink on woven paper,
Civico Museo d'Arte Contemporanea, Milan
Giacomo Balla : Dynamism of a Dog on a Leash.
C 1912. Oil on canvas Size 89.9 x 109.9 cm.
Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York
ผลงานรัชกาลที่ 9 ชื่อภาพ ไม่มีชื่อ
ใบความรู้ลัทธิโฟวิสซึ่ม (Faurism)
ลัทธิโฟวิสซึ่ม (Faurism) คำว่า โฟวิสท์ มีความหมายถึง สัตว์ป่าอันหมายถึง ผลงานของศิลปินกลุ่มนี้ ซึ่งมี
ลักษณะการใช้สีสันสดใสตัดกันอย่างรุนแรงลัทธินี้เกิดขึ้นและหมดความนิยมลงในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น แต่
ผลงานคล้ายกับคตินิยมของศิลปะแลลเอ๊กซเพรสชั่นนีสซึ่มในประเทศเยอรมันนี และศิลปินทั้งสองลัทธินี้ก็
แตกแยกกลายเป็นผู้สร้างงานศิลปะนามธรรม (Adstract Art) ขึ้นในเวลาต่อมา Smiley
แนวทางการสร้างผลงาน Fauvism
1.ผลงานมีรูปทรงอิสระสร้างขึ้นตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ งานจะปรากฎความสนุกสนาน
ในลีลาของรอยฝีแปรงและจังหวะของสีต่างๆ
2.มีการตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่างๆ เพื่อเน้นห้เด่นชัดมีรูปแบบง่ายๆ เรียบๆ ต้องการแสดงทั้งรูปทรงและแสง
ไปพร้อมกัน
3.นิยมใช้สีตัดกันรุนแรง แต่มีความประสานสัมพันธ์ โดยส่วนรวม เช่น ใช้สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดง และสี
ม่วง เป็นต้น
4.สีมีความสำคัญกว่าเรื่องของหลักการทัศนียภายและรูปทรง5.ผลงานมีลักษณะเป็นแบบสัญลักษณ์ มีความ
เกี่ยวพันกับเรื่องศีลธรรม จรรยา ปรัชญา หรือเงื่อนไขความคิดทางการเมืองและทางสังคมน้อยมาก มีลักษณะ
เหมาะสมในการใช้ตกแต่งอาคารสถานที่มากกว่า
กลุ่มศิลปะ Fauvism นี้มี Henri Matisse เป็นผู้นำกลุ่มคนสำคัญ ศิลปินโฟวิสนั้นเป็นผู้นำ แนวคิดแนวใหม่ มา
สู่วงการศิลปะในศตวรรษที่ 20 ซึ่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ โลกศิลปะถูก ครอบงำด้วยหลักการ การค้นคว้า
ในเรื่องลี้ลับ ทางจิตวิทยาของพวกSymbolist, หลักการของพวก นาบีส์ (Nabis) ที่ล้วนเอาทฤษฎีต่างๆของ โก
แกง เซซาน มาดัดแปลง แต่ศิลปินโฟฟ มุ่งหมายที่ จะหลุดพ้นจากวงจร ความคิดเหล่านี้ ด้วยการที่ หวนกับไป
หาหลักการใช้สีที่ Gauguin, Seurat, Van Gogh เคยใช้ นั้นคือ การใช้สีที่จงใจไม่ให้บรรยายลักษณะใดๆ ใน
ธรรมชาติเลย ในการใช้สีของพวกโฟวิสนี้ บางครั้งพวกเขาอาจแต้มสีลงไปเป็น บริเวณเล็กๆ หรือเป็นแค่
จุดๆ ที่คล้ายศิลปิน Neo-Impressionism แต่สีเหล่านี้ จะเป็นสีที่จัดและรุนแรงกว่า โดยไม่คำนึงถึง ทฤษฎีสี
แต่องค์ประกอบศิลป์ในงานแบบโฟวิส อาจจัดได้ด้วยลำพังแค่สีล้วนๆ ซึ่งดูแล้วอาจเป็น สัญลักษณ์มากกว่า
เหมือนจริง ถึงแม้ศิลปินโฟวิสจะเขียนภาพที่เป็น Objective World เช่น ภาพวิว ภาพคน ภาพหุ่นนิ่ง แต่
พวกโฟวิส ก็ทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็น Abstract ด้วยการลงสี ที่ไม่เหมือนกับ ธรรมชาติ การใส่สีจัด และสีสดๆลงไป
เลย ซึ่งก็จะทำให้สีนั้นหมดหน้าที่ ที่จะบอกว่า สีนี้ สีนั้น คืออะไร ณ.เวลานี้สีจะสื่ออะไรมากกว่าความเป็นสี
ศิลปินโฟวิสจะใช้สีสดล้วนๆในการแสดงระนาบ และแสดงวัตถุ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล แม้แต่การ ให้แสงและ
เงา ก็เป็นบริเวณของสีสดๆทั้งสิ้น ซึ่งก็อาจเล่นสีร้อน สีเย็นได้ สีที่กลุ่มจิตรกรโฟวิสใช้นี้ มิใช่ ใช้ตามที่ตาสัมผัส
เห็น แต่จะใช้ไปตามอารมณ์ และความพอใจของศิลปินเอง สีจัดๆ ที่สดใสสีหนึ่ง จะอยู่เคียงกับอีกสีหนึ่ง เป็นฝี
แปรงหลวมๆ ที่แต้มต่อตัดกันไปให้เกิดพื้นผิวภาพที่มีสี เพื่อแสดงอารมณ์ ของสีในตัวของมันเองอย่างอิสระ
มิใช่แสดงให้เห็นว่า คือของสิ่งใด เป็นการแสดงความพอใจ ในการ เล่นสี ของจิตรกรเอง การสร้างภาพให้แบน
และให้ระนาบคุมเคลือนี้ เป็นการหักเหออกจากหลักการ เรื่อง Perspective ในแบบสมัยเก่าๆ กลุ่มศิลปิน
Fauvism นี้ได้นำหลักการของจิตรกรในอดีตมาแล้ว แต่นำหลักการ เหล่านั้นมาใช้อย่างรุนแรง เด็ดขาด จน
ผ่านเลยผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ไปไกล ทำให้สีมีบทบาท 2 อย่าง ควบกันไปคือ สีประสานกัน สร้างเค้าโครงของภาพ
ขึ้นมา นพร้อมกับอีกหน้าที่หนึ่งคือ สีจะแสดงความ รู้สึกของสีออกมา แต่ถ้าเราจะมองกลุ่มศิลปินโฟวิส ในแง่
การแสดงความรู้สึกออกมาแรงๆนั้น เราอาจ เรียกศิลปินกลุ่มนี้ว่าเป็น Expressionism ในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้
ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าอิทธิพล ของโฟวิสนี้ ไปปรากฎในภาพเขียนสมัยใหม่ ของพวก Expressionism ใน
ประเทศเยอรมัน ที่อิ่ม ตัวเต็มที่ในช่วง แรกๆของศตวรรษที่ 20 นั่นเอง Smiley
ใบความรู้ลัทธิเอ๊กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism)
ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เกิดขึ้นทางเหนือของยุโรป โดยที่ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน
ศิลปะแนวนี้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปินสำคัญ 2 คนคือ Vincent Van Gogh และศิลปินชาว Norwegian ที่ชื่อ
Edvard Munch ซึ่งทั้งสองคนนี้ ใช้สีที่รุนแรง และเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก
ไม่ยึดถือ กฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใดๆในอดีตเลย สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดัน ที่อยู่ใน
ความรู้สึกนึกคิด ของจิตใจคน เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึก ที่แข็งๆ ดิบ รุนแรง
ศิลปินที่สําคัญช่น เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch, ค.ศ. 1863-1944) ฟรัชซ์ มาร์ค (Franz Marc, ค.ศ.
1880-1916) วาสสิลี่ แคนดินสกี (Wassily Kandinsky, ค.ศ. 1866-1944)
ศิลปินที่สําคัญเช่น เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch, ค.ศ. 1863-1944) ฟรัชซ์ มาร์ค (Franz Marc, ค.ศ.
1880-1916) วาสสิลี่ แคนดินสกี (Wassily Kandinsky, ค.ศ. 1866-1944)
The Scream by Edvard Munch (1893)
which inspired 20th century Expressionista
The Fate of the Animals by Franz Marc, 1913.
ศิลปินไทยผู้บุกเบิกงานจิตรกรรมแนวอิมเพรส์ชั่นนิสม์อาจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์
ใบความรู้วิชาทัศนศิลป์ ศ 21101 ม.1เรื่องศิลปะกราฟฟิตี้
รอยขูดขีดเขียน (อังกฤษ: graffiti) เป็นภาพวาดที่เกิดจากการขีดเขียนไปบนผนัง คำ "graffiti" เป็นคำศัพท์ที่มา
จากภาษากรีก grafito ซึ่งแปลว่าการเขียนภาพลงบนผนังหรือกำแพงในสมัยโบราณ โดยที่รู้จักกันทั่วไปจะมี
ลักษณะของการพ่น (bombing) เซ็นชื่อ หรือเป็นการเซ็นลายเซ็น โดยเริ่มต้นจากเมืองฟิลาเดลเฟียในรัฐเพน
ซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงแพร่หลายในนิวยอร์กช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 60
จากตำรารอยขูดขีดเขียนไม่น้อยระบุไว้ตรงกันว่า รอยขูดขีดเขียนเริ่มต้นขึ้นในเมืองฟิลาเดลเฟียในช่วงทศวรรษ
ที่ 60 ก่อนจะแพร่เข้ามายังนิวยอร์กในทศวรรษต่อมา สาเหตุการเกิดของรอยขูดขีดเขียนนั้น ในยุคสมัยที่การ
เหยียดสีผิวเป็นไปอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1954 ที่ผู้ปกครองนักเรียนผิวสีรวมตัว
เรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่คณะกรรมการโรงเรียนแห่งรัฐแคนซัสปฏิเสธที่จะรับเด้กผิวสีเข้าศึกษา และ
ในปีถัดมา สตรีผิวสีนาม โรซา พาร์กส ที่เธอถูกตัดสินมีความผิดฐานละเมิดกฎหมายที่จะสละที่นั่งของเธอให้
บุรุษผิวขาวตามที่กฎหมายของรัฐกำหนด เป็นที่มาของการเคลื่อนไหวให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสิทธิ
พลเมือง จนกระทั่งเกิดกฎหมายนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1964 แต่ว่าคนผิวสีก็ยังตกอยู่ในสภาพคนชายขอบของสังคม
ได้เป็นแรงผลักดันให้พวกเขาสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งเพลงบลูส์ แจ๊ซ และเร้กเก้ และอีกด้านหนึ่งของคนผิวสีที่
ต้องเผชิญ พวกเขาได้แสดงออกมาอย่างเกรี้ยวกราด ดิบหยาบ ประกาศให้เห็นถึงความ ขบถ ดังเช่น ดนตรีแร็ป
ที่เต็มไปด้วยคำด่าทอสังคมอย่างไม่เกรงกลัว รอยขูดขีดเขียนถือกำเนิดมาในยุคสมัยนี้
ในช่วยปลายทศวรรษที่ 60 รอยขูดขีดเขียนเดินทางเข้าสู่นิวยอร์ก โดย JULIO204 ไรเตอร์จากสลัมย่านบรองซ์
นำเข้าไปเผยแพร่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 ที่นิวยอร์ก "ทากิ" ไรเตอร์ชื่อดังที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสัญลักษณ์
แห่งการเริ่มต้นยุคสมัยของเหล่าไรเตอร์หรือนักเขียนรอยขูดขีดเขียนโดยแท้จริง เมื่อคำว่า TAKI 183 ของเขา
ได้รับการสัมภาษณ์และเปิดเผย ตีพิมพ์ภาพลายเซ็นของเขาในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส คำว่า TAKI 183 ที่
เขาเขียนปรากฏให้เห็นทั้งในรถไฟใต้ดินและสถานที่สำคัญอย่างบรอดเวย์ สนามบินเคนเนดี รวมทั้งที่ต่าง ๆ ทั้ง
ในนิวเจอร์ซีย์ คอนเนตทิคัต และสถานที่อื่น ๆ ทั่วนิวยอร์ก
หลังจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้วางแผง วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยต่างประทับใจในชื่อเสียงของทากิ พวกเขาจึงเริ่ม
เขียนชื่อของตัวเองตามสถานที่สาธารณะ จนค่อย ๆ ได้รับความนิยมและคึกคักในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งช่วงต้นทศวรรษที่ 70 รอยขูดขีดเขียนได้ถูกเขียนเต็มไปหมดจากไรเตอร์อย่าง TRACY168 StayHigh149
และ PHASE2 เริ่มเขียน "tag" (แท็ก) หรือลายเซ็นของตนตามโบกี้รถไฟ
ในปี ค.ศ. 1972 TOPCAT ได้นำเทคนิคใหม่ เข้าสู่นิวยอร์ก คือตัวอักษรยาว ๆ เก้งก้างเต็มพื้นที่คอนเทนเนอร์
รถไฟ ต่อมารูปแบบนี้ได้รับความนิยมจากเหล่าไรเตอร์นิวยอร์ก และเรียกว่าเป็น "Broadway Elegant" ซึ่งมี
ลักษณะเป็นตัวอักษรที่เขียนต่อก่อเป็นแถวยาว ๆ
ปี ค.ศ. 1973 รอยขูดขีดเขียนปรากฏอยู่แทบทุกซอกมุมตึกในนิวยอร์ก ดังที่ ริชาร์ด โกด์สไตน์ เขียนลง
นิวยอร์กแม็กกาซีนไว้ว่า "ดูเหมือนเหล่าวัยรุ่นหนุ่ม ๆ แทบจะไม่สนใจอะไรเลย นอกจากมองหาทำเลที่พวกเขา
•"Tag" คือการเซ็นลายเซ็นหรือนามแฝงของแต่ละคนโดยสเปรย์กระป๋อง หรือ ปากกา ส่วนมากใช้สีเดียว บาง
คนอาจพ่นเป็นตัวอักษรธรรมดา ขณะที่บางคนดีไซน์ให้เป็นตัวอักษรที่เกาะเกี่ยวกันจนอ่านไม่ออก เน้นให้ดู
แปลกและสะดุดตา
•"Throw-ups" คือการเขียนเร็ว ๆ ด้วยสีพื้นฐาน จำนวนน้อยสีนิยมใช้สีขาวดำ แสดงให้เห็นเส้นสายที่รวดเร็ว
เป็นการเขียนตัวอักษรน้อยตัว มีเส้นตัดขอบเพื่อให้ดูมีมิติ ไม่เน้นความสวยงาม เพราะต้องทำแข่งกับเวลา
•"Fill-in" หรือ "Piece" คือ "Throw-ups" ที่ซับซ้อนขึ้น เป็นผลงานของไรเตอร์คนเดียว เป็นการพ่นสีสเปรย์ให้
เป็นภาพหรือตัวอักษรที่สวยงาม ใช้เวลานานในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์
•"Block" หรือ "Bubble" การเขียน Tag ที่ดูมีมิติมากขึ้น ใช้สีประมาณ 3 สี หรือมากกว่านั้น
•"Wildstyle" หรือ "Wickedstyle" เป็นสไตล์ที่ซับซ้อนขึ้น มีการเกาะเกี่ยวกันของตัวหนังสือ ลักษณะการ
เขียนประเภทนี้จะอ่านค่อนข้างยาก เพื่อแสดงความเหนือชั้นของการดีไซน์
•"Blockbuster" คือ "Fill-in" ที่เขียนที่ตั้งใจเขียนทั้งผนัง
•Character" คือการพ่นเป็นรูปคน หรือ คาแร็กเตอร์ต่าง ๆ ไม่วาจะเป็นตัวการ์ตูน หรือเป็นภาพเสมือนจริง
ของดารา-นักร้องในดวงใจ หรืออาจเป็นตัวการ์ตูนที่ไรเตอร์ออกแบบเองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของไร
เตอร์คนนั้น ๆ
•"Production" คือ การรวมรอยขูดขีดเขียนทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน เกิดจากการรวมที่ไรเตอร์หลายคนหรือหลาย
กลุ่มนัดกันสร้างผลงานร่วมกัน โดยมีธีมไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดคล้องกัน เช่น นัดกันพ่นคาแร็กเตอร์ประ
จำตัวของไรเตอร์แต่ละคนหรือพ่นชื่อกลุ่ม ชื่อตัวเอง หรือเปล่าไรเตอร์อาจร่วมกันกำหนดวาระต่าง ๆ ขึ้นเอง
คำถามท้ายบท
1.ศิลปะกราฟิตี้เกิดที่ไหน.................................................................................................................
2.ใครเป็นผู้ให้กำเนิด...............................................................................................................................
3.กราฟิตี้หมายถึง.....................................................................................................................................
4.ในเมืองไทยกราฟิตี้เข้าเมื่อไร...............................................................................................,,,,,,,
5.กราฟิตี้มีกี่ประเภท..........................................................................................................................
ให้นักเรียนวาดภาพลายเส้นกราฟฟิตี้ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
ใบความรู้ศิลปะไทยแบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้
1.) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย คือ
1. แบบทวาราวดี (ราว พ.ศ. 500 - 1200)
2. แบบศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1200 - 1700)
3. แบบลพบุรี (ราว พ.ศ. 1700 - 1800)
1. แบบทวาราวดี (ราว พ.ศ. 500 - 1200)
เป็นฝีมือของชนชาติอินเดียซึ่งอพยพมาสู่สุวรรณภูมิ ศูนย์กลางอยู่นครปฐม เป็นศิลปะแบบอุดมคติ รุ่น
แรกเป็นฝีมือชาวอินเดีย แต่สมะยหลังเป็นฝีมือของชาวพื้นเมืองโดยสอดใส่อุดมคติทางความงาม ตลอดจน
ลักษณะทางเชื้อชาติ ศิลปะที่สำคัญคือ
1. ประติมากรรม
พระพุทธรูปแบบทวาราวดี สังเกตได้ชัดเจนคือพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทและยก
พระหัตถ์ขึ้น โดยส่วนมากสลักด้วยหินปูน ภาพสลักมากคือบริเวณพระปฐมเจดีย์ คือ
ธรรมจักรกับกวางหมอบ
2. สถาปัตกรรม
ที่ปรากฎหลักฐานบริเวณนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ได้แก่
สถูปลักษณะเดินดิน ทำเป็นมานาวผ่าซีก หรือรูปบาตรคว่ำ อยู่บนฐานสีเหลี่ยม เช่น
เจดีย์นครปฐมองค์เดิม
2. แบบศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1200 - 1700)
เป็นศิลปะแบบบอินดีย - ชวา ศูนย์กลางของศิลปะนี้อยู่ที่ไชยามีอาณาเขตของศิลปะศรีวิชัย เกาะสุมาตร
ตรา พวกศรีวิชัยเดิมเป็นพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนใต้ แพร่เข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิ
มหายาน ได้สร้างสิ่งมหัสจรรยทของโลกไว้
อย่างหนึ่ง
โดยสลักเขาทั้งลูกให้เป็นเขาไกลลาส คือ สถูปโบโรบูเดอร์
ศิลปะกรรมในประเทศไทย คือ
1. ประติมากรรม
ค้นพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทำเป็นสัมฤทธิ์ที่ไชยา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถือว่า
เป็นศิลปะชั้นเยื่ยมของแบบศรีวิชัย
2. สถาปัตยกรรม
มีงานตกแต่งเข้ามาปนอยมากู่ในสถูป เช่นสถูปพระบรมธาตุไชยา สถูปวัดมหาธาตุ
3. แบบลพบุรี (ราว พ.ศ. 1700 - 1800)
ศิลปะแบบนี้คล้ายของขอม ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทตามความเชื่อ
สร้างเทวาสถานอัน
ใหญ่โตแข็งแรงคงทนถาวร เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง นครวัด นับเป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก
1. ประติมากรรม
สร้างพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระพุทธรูปสมัยลพบุรีเปลือยองค์ท่อนบน พระพักตร์เกือบเป็นสี
เหลี่ยม มีฝีมือในการ
แกะลวดลายมาก
2. สถาปัตยกรรม
สร้างปรางค์เป็นเทวสถาน การก่อสร้างใช้งวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เช่น ศิลาแลง
หินทราย ศิลปะที่สำคัญได้แก่ ปรางค์ลพบุรี
2.) ยุคประวัติศาสตร์ไทย คือ
1. แบบเชียงแสน (พ.ศ. 1600 - 2089)
2. แบบสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1981)
3. แบบอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 1310)
4. แบบรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)
1. แบบเชียงแสน (พ.ศ. 1600 - 2089)
เรียกตามชื่อเมืองเชีงแสน ซึ้งเคยเป็นราชธานีแคว้นล้านนาในสมัยตอนต้น ไทยเข้ามาปกครองแคว้นนี้
เป็นพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ซึ่งพระเจ้านิรุทธมหาราชทรงนำมาเผยแพร่ไว้ ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรกไทยได้รับอิทธิพลพุกาม (พม่า) วัตถุที่
ใช้ ประกอบงานสถาปัตยกรรมยุคนี้ใช้อิท
ปูน โลหะ ไม่ปรากฎว่าใช้หิน ศิลปะเชียงแสนรุ่งเรืองมากถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชซึ่งเรียกได้ว่า
"ยุคทอง"
1. ประติมากรรม
พระพุทธรูป ที่ถือได้ว่าเป็นแบบเชียงแสน จัดว่างามได้แก่ พระพุทธสิหิงส์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแหล่ง
ชาติ หล่อด้วยโลหะนอกจากนั้นมี
2. สถาปัตยกรรม
ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบต่างๆ เช่น
2.1 อิทธิพลพุกาม (พม่า) ได้แก่ สถูปที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน
2.2 อิทธิพลลานนาเดิม (มอญ - อินเดีย) ได้แก่ เจดีย์เหลี่ยม เช่น วัดกู่กุฏิ จังหวัดลำพูน
2.3 อิทธิพลแบบลานช้าง (โคตรบูรณ์) ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม พระธาตุสรีทัติ จังหวัดนครพนม
2.4 อิทธิพลลังกา ชอบทำฐานสูง มีบัวซ้อนกันหลายชั้น เช่น วัดเจดีย์หลวง พระธาตุดอยสุเทพ
จังหวัดเชียงใหม่
2.5 แบบเชียงแสนแท้ ได้แก่ โบสถ์และหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
2. แบบสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1981)
ศิลปะแบบสุโขทัยแบบผสมมาก และจัดว่าฝีมือของศิลปินไทยในยุคนี้สูงสุดในประวัติศาสตร์มีแบบอย่าง
เป็นของตนเอง
เรียกว่า ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ พระพุทธรูปำด้รับยกย่องว่า เป็นศิลปกรรมชั้นเลิศ ศิลปกรรมที่สำคัญที่สุดคือ
1. จิตกรรม เป็นแบบเส้นกัน พื้นดินสีแดง ตัดเส้นดำ ผมดำ ผิวเนื้อขาว ลวดลายมีสีเหลืองบ้าง
เช่นซุ้มประตูวัดมหาธาตุ สุโขทัย
2. ประติมากรรม พระพุทธรูป สมัยสุโขทัยแสดงถึงความรู้สึกของชาติไทยโดยเฉพาะ ได้สร้าง
พระพุทธรูปปางลีลาอ่อนช้อย แบบสุโขทัยหนักไปทางธรรมชาติให้ความรู้สึกอ่อนโยน เมตตา พระพุทธรูปที่
สำคัญในศิลปะแบบสุโขทัยคือ พระพุทธชินราช พิษณุโลก ภาพปั้นปูนแบบสุโขทัยที่งดงาม เป็นภาพปั้น
ประกอบลวดลายที่วัดนางพญา ภาพสลักไม้เพดานปรางค์ วัดหมาธาตุ
3. สถาปัตยกรรม
แบ่งตามอิทธิพลดังนี้
3.1 อิทธิพลลพบุรี ได้แก่ ปรางค์วัดมหาธาตุ สวรรคโลก
3.2 อิทธิพลลังกา ได้แก สถูปวัดช้างล้อม สุโขทัย
3.3 อิทธิพลศรีวิชัย ได้แก่ สถูปวัดเจดีย์เจ็ดแถว สวรรคโลก
3.4 อิทธิพลสูโทัยแท้ ได้แก่ สถูปยุทธหัตถีย์ (องค์เดิม) จังหวัดตาก
3. แบบอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 1310) มีอายุถึง 417 ปี และมีแบบอย่างศิลปะมากที่สุดในประเทศไทย
ลัทธิศาสนาในอาณาจักรนี้มีศาสนาพุทธ และลัทธิหินยานลัทธิลังกาวงค์ ศาสนาพราหมณ์ของขอม ศาสนาค
ริสเตียน กรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1893 อาณาจักที่มีพระเจ้าอู่
ทอง เชื้อวงศ์เชียงราย ได้สร้างขึ้นใหม่ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากมาย จึงได้รับอิทธิพลจำนวน
มาก
ศิลปะที่สำคัญ
1. จิตกรรม- อิทธพลจากจีนและยุโรบ ได้รับการติดต่อทางการค้าขาย ศิลปะภาพเขีนยหนักไปทาง
ประดิษฐ์ ใช้ทองปิดเป็นบางแห่ง
2. ประติมากรรม
2.1 พระพทธรูปแบบอู่ทอง ได้สร้างขึ้นแพร่หลายมาก มีพระพักตร์ยาว ทำด้วยหินทรายหล่อ
สัมฤทธิ์
2.2 งานปั้นสลัก -ภาพสลักวัดพระสรีสรรเพชญ์ ภาพสลักบานประตูวัดหันตรา
3. สถาปัตยกรรม
แบ่งตามอิทธิพลคือ
3.1 อิทธิพลทวาราวดี งานสถาปัตยกรรมเห็นไม่ชัด แต่ปรากฏในงานสลักไม้
3.2 อิทธิพลลพบุรี ได้แก่ปรางค์ที่วัดราชบูรณะ อยุธยา
3.3 อิทธิพลเชียงแสน ได้แก่ สถูปทรงสี่เหลี่ยมวัดไชยวัฒนา
3.4 อิทธิพลลังกา ได้แก่สถูปพระศรีสุริโยทัย
3.5 อิทธิพลตะวันตก ได้แก่ พระที่นั่งเย็น (สร้างริมบึงพระราม) ลพบุรี
E book arts
E book arts
E book arts
E book arts
E book arts

Contenu connexe

Plus de peter dontoom

Plus de peter dontoom (20)

research 653.pdf
research 653.pdfresearch 653.pdf
research 653.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
 
portfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdfportfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdf
 
supervision 65.pdf
supervision 65.pdfsupervision 65.pdf
supervision 65.pdf
 
research 65.pdf
research 65.pdfresearch 65.pdf
research 65.pdf
 
Instruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfInstruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdf
 
portfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdfportfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdf
 
Supervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfSupervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdf
 
4.3.pdf
4.3.pdf4.3.pdf
4.3.pdf
 

E book arts

  • 1. E-book ทัศนศิลป์ ใบความรู้ การ์ตูน การ์ตูน (อังกฤษ: cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่งเพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist) การ์ตูนเริ่มต้นที่ยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 ช่วงเรเนซองต์ การ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เริ่มมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 มังงะ(manga) ภาพล้อฝีมือขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) นักเขียนการ์ตูนล้อเลียนการเมืองคนแรกของไทย ประวัติศาสตร์การ์ตูนไทยเริ่มจากการเข้ามาของวิทยาการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งขรัวอินโข่ง จิตรกร ในสมัยรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝา ผนังในลักษณะเหมือนจริง หลายคนจึงถือกันว่าท่านเป็นนักเขียนการ์ตูนไทยคนแรกถึงสมัยรัชกาลที่ 7ออก กฎหมายการเขียนการ์ตูนล้อการเมือง วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จนถึง พ.ศ. 2475 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็น สัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูน สันติภาพโลก เมื่อ ปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ นายชัย ราชวัตร (สมชัย กตัญญตานนท์) เขียนการ์ตูนการเมืองชุด ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ใน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  • 2. ใบความรู้ ยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ(เรอเนสซองส์) เรอเนสซองส์ แปลว่า การเกิดใหม่ หมายถึง การฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน เป็นยุคที่เน้นอุดม คติมนุษย์นิยม คือเชื่อว่ามนุษย์มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล สถาปัตยกรรมที่สำคัญสมัยเรอเนสซองส์ ได้แก่ วิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งออกแบบโดยราฟาเอล บรา มันเต้ และไม่เคิลแองเจโล *ศิลปินที่สำคัญของสมัยเรอเนสซองส์ ได้แก่ - ไมเคิล แองเจโล ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การออกแบบสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์ ภาพคำพิพากษาสุดท้าย การแกะสลักหินอ่อนปีเอตา , รูปหลักเดวิด วิหารเซนต์ปีเตอร์ - ลีโอนาร์โด ดาวินซี ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ ภาพโมนาลิซา อาหารเย็นมื้อสุดท้าย ภาพโมนาลิซา - วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ โรเมโอจูเลียต เวนิสวานิส โรเมโอจูเลียต ศิลปวัฒนธรรมสมัยเรอเนสซองส์ 1. ศิลปะไบแซนไทน์ (Bizantine Arts) จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-11 มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติ โนเปิล (Constntinople) หรือ อิสตันบลู เมืองหลวงของตุรกีในปัจจุบัน ทำหน้าที่รับทอดศิลปวัฒนธรรม กรีกและโรมัน โดยนำมาผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมตะวันออกทำให้กลายเป็นลักษณะเฉพาะตัว แสดงออกถึงอิทธิพลของคริสต์ศาสนา ซึ่งมีลักษณะการผสมระหว่างศิลปะโรมันและมุสลิม ได้แก่ วิหาร เซนต์โซเฟีย วิหารฮาร์เจียโซเฟีย การวาดภาพแบบเฟรสโก คือ การวาดภาพลงบนปูนฉาบที่ยังเปียกอยู่ 1.1 งานสถาปัตยกรรม มีลักษณะงดงามทั้งโครงสร้างและการตกแต่ง นิยมสร้างวิหารที่มีรูปโดมอยู่ตรง กลาง และประดับกระจกสีเหนือบนประตูหน้าต่างอย่างวิจิตรบรรจง งานชิ้นเอกแห่งยุค คือ มหาวิหารซาน ตา โซเฟีย (Santa Sophia) และวิหารซานตา โซเฟีย (Santa Sophia) ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล มหาวิหารซานตาโซเฟีย 1.2 งานประติมากรรม มักปรากฎในลักษณะของรูปบูชาที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา เช่น พระเยซู หรือ พระสาวก ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักงาช้างหรืองานสำริดประเภทนูนต่ำ (Base-relief)
  • 3. 1.3 งานประติมากรรม มักปรากฎในลักษณะของรูปบูชาที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา เช่น พระเยซู หรือ พระสาวก ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักงาช้างหรืองานสำริดประเภทนูนต่ำ (Base-relief)
  • 4. ใบความรู้ การเขียนภาพประกอบเรื่อง ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เปนภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเลาเรื่องราว หรือถายทอด เหตุการณตาง ๆ ใหผูอื่นไดรับรูโดยอาจเปนทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีรหรือภาพเขียนบนฝาผนังอาคาร สถาปตยกรรมตางๆและรวมถึงภาพโฆษณาตางๆดวย จินตนาการหมายถึง การคิดสร้างภาพในจิตใจหรือพลังของจิตที่สร้างภาพขันใหม่ภายในใจ ให้น่าพอใจกว่า สวยกว่า เป็นระเบียบกว่าหรือร้ายกาจกว่าสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป จินตนาการมี 3 ประเภท 1.จินตนาการจากประสบการณ์ตรง 2.จินตนาการประสบการณ์ทางอ้อม 3.จินตนาการจากการสร้างสรรค์เอง
  • 5. ใบความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาสิ่งแปลกใหม่และเป็นคำตอบที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น 1.ต้องเป็นสิ่งใหม่ เป็นความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร ไม่เคยมีมาก่อน 2.ต้องใช้การได้ เป็นความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและดีกว่าความคิดเดิม 3.ต้องมีความเหมาะสม เป็นความคิดที่มีเหตุผลมีความเหมาะสมและมีคุณค่าคนทั่วไปยอมรับร่วมกันได้ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ มี 2 ประเภท 1.แบบรูปธรรม เหมือนจริง เห็นแจ้ง ว่าเป็นเรื่องราวอะไร 2.นามธรรม ดูไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจความหมาย ของศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ ศิลปินที่ มีแนวสร้างสรรค์ แบบนามธรรม คือ อ.กมล ทัศนาลี ปิกาสโซ่ แวนก๊อก เฟื้อ หริพิทักษ์ อาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงคือ นักวาดภาพ นักดนตรี นักออกแบบบ้าน สถาปนิก ตกแต่งภายใน ออกแบบกราฟฟิก
  • 6. ใบความรู้ ประติมากรรม ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนัก และกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้าง งานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ 1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น 2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่แข็ง เปราะ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น 3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยม นำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา) 4.การทุบ เช่นวัสดุโลหะ เงินทุบให้เป็นรูปต่างๆ 5.การเชื่อม บัดกรี งานโลหะให้เป็นรูปลักษณะที่ต้องการ ***** ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร ถ้าปั้นพระ เรียกว่า ปฏิมากร ประเภทของงานประติมากรรมมี 3 ประเภท 1. ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูน แบบเหรียญบาท เหรียญพระ เหรียญรางวัล 2. ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบนูนต่ำ แต่มี ความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน เช่นลายปูนปั้นหน้าประตู โบสถ์ ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 3. ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือมองเห็น รอบด้าน ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์
  • 7. ใบความรู้ ป๊อป อาร์ต (Pop Art) ป๊อป อาร์ต (Pop Art) ศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 20 ป็อป อาร์ต (Pop Art) มาจากภาษาอังกฤษว่า "Popular Art" ซึ่งแปลว่า ศิลปะที่เป็นที่นิยม การ เคลื่อนไหวของป๊อปอาร์ตในอเมริกาและอังกฤษเกิดขึ้นใน ค.ศ.1950 โดยนำแรงบันดาลใจมาจาก แนวความคิดของสังคมบริโภค และความนิยมในสังคมมาสร้างเป็นงานศิลปะเช่น การ์ตูน รูปโฆษณาสินค้า รูปถ่ายดาราภาพยนตร์ที่ประชาชนคลั่งไคล้ ตัวอักษรหรือหนังสือขำขัน ป้ายโฆษณาตามทางหลวง เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ถ้วยพลาสติค กระป๋องเบียร์ กระป๋องโคล่า ไอศกรีมซันเดย์ ฮอทด็อก และ แฮมเบอร์เกอร์ เจ้าพ่อป๊อปอาร์ต แอนดี้ วอร์ฮอล “In the future , everyone will be world-famous for 15 minutes.” “ในอนาคต ทุกคนจะมีโอกาสมีชื่อเสียงในระดับโลกกันคนละ 15 นาที” ป็อปอาร์ต เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ศิลปินในลัทธินี้มีความเชื่อว่าศิลปะสร้างขึ้นจากสิ่ง ต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกของประสบการณ์ทั้งหมดของศิลปินใน ช่วงเวลาหนึ่งและสถานที่แห่งหนึ่งเท่านั้น รูปแบบของศิลปะจะขึ้นอยู่กับความสนใของศิลปินแต่ละคนที่ได้ พบเห็นสิ่งเหล่านั้นอยู่ทุกวัน งานป็อบอาร์ต (Pop Art) มักหยิบเอาสิ่งที่คนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาจำลองหรือทำขึ้นใหม่ ใน รูปแบบอันแปลกตา เพื่อเล่นสนุกกับประสบการณ์และการรับรู้ของผู้ชม กลายเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ ประวัติการกำเนิด ภาพลักษณ์อันเปี่ยมสีสันของฮอลลีวูดหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมโฆษณาและทิวทัศน์ ของลอสแองเจลิส ศิลปินเปลี่ยนวัตถุและสถานที่ธรรมดาสามัญอย่างปั๊มน้ำมัน ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ แทนวัฒนธรรมบริโภคนิยมของอเมริกัน จิรภัทร ทัศนสมบูรณ์ มีสไตล์โดดเด่นไม่เหมือนใครสามารถทำให้ใครก็ตามที่ได้เห็นงานของเขารู้สึกทึ่งและ จดจำได้ตั้งแต่ครั้งแรก จากความแปลกในการนำเอาตัวละครไทยจากเรื่อง รามเกียรติ์ ไปใส่ไว้ในผลงาน
  • 8. ภาพเขียนระดับโลก การนำเอาซุปเปอร์ฮีโร่หรือตัวการ์ตูนดังมาใส่ไว้ในงานจิตรกรรมไทย ไม่เพียงเท่านั้น เขายังนำตัวละครเด่นจากวงการต่าง ๆ ทั้งบันเทิง การเมือง เข้ามาอยู่ในผลงานเพื่อสื่อถึงมุมมองความคิด แรงบันดาลใจที่ได้จากสถานการณ์สังคมและการบ้านการเมือง ลักษณะลายเส้นละเอียดสีสันอ่อนโยน ซุก ซ่อนความสนุกสนานขี้เล่นเอาไว้เห็นแล้วต้องยิ้มตาม ศิลปินป็อปอาร์ตคนสำคัญ อาทิ รอย ลิคเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) ที่หยิบเอาภาพจากหนังสือ การ์ตูนและเทคนิคในระบบอุตสาหกรรมการพิมพ์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีสันอันสดใสและลายเส้นอัน คมชัดของหนังสือการ์ตูน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหยิบยืมลายจุดของการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต (ที่เรียกว่า Benday Dots) มาใช้ (ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ให้ลองเอาแว่นขยายไปส่องภาพบนหนังสือพิมพ์หรือ นิตยสารดู) รวมถึงการใช้กรอบแบบการ์ตูนช่อง (comic strip) ในหนังสือพิมพ์ ผลงานของเขาลบเลือน เส้นแบ่งระหว่างงานสื่อสารมวลชนเข้ากับศิลปะชั้นสูงได้อย่างแนบเนียนศิลปินป็อปอาร์คนสำคัญทางฝั่ง เวสต์โคสต์ อย่าง เอ็ด รัสก้า (Ed Ruscha) ผู้หลอมรวมภาพลักษณ์อันเปี่ยมสีสันของฮอลลีวูดเข้ากับ วัฒนธรรมโฆษณาและทิวทัศน์ของลอสแองเจลิส เขาเปลี่ยนวัตถุและสถานที่ธรรมดาสามัญ หรือศิลปินอเมริกันอย่าง เจมส์ โรเซนควิสต์ (James Rosenquist) ที่หยิบเอาภาพข่าวและโฆษณาจาก นิตยสารมาคอลลาจในสไตล์ที่แปลกประหลาดเหนือจริง และใช้มันเป็นต้นแบบ แล้ววาดขึ้นมาใหม่ด้วย เทคนิคอันเชี่ยวชาญ ด้วยความที่พื้นเพเป็นนักวาดคัตเอาท์และป้ายโฆษณา ภาพวาดของเขามักมีขนาด กว้างใหญ่ หลายภาพมีขนาดใหญ่กว่าหกเมตร เขาเปลี่ยนภาพลักษณ์อันคุ้นตาที่คนพบเห็นใน ชีวิตประจำวันให้กลายเป็นงานศิลปะชั้นเลิศได้อย่างน่าทึ่ง
  • 9. ใบความรู้ เรื่องศิลปะไทย ศิลปภาพลายไทยแต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ“ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่ ลายไทยในสมัยโบราณเป็น ศิลปะประเภท อุดมคติ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด ได้แก่ ๑. หมวดกระหนกได้มาจากดอกบัว หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนก ใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น ๒. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึก เขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ ๓.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอา ยักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก ๔.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น สีชาดคือ สีแดง เขียนภาพแบบตานกมอง ลักษณะ 2 มิติ ไม่แสดงกล้ามเนื้อ นิยมเขียนภาพประดับฝา ผนังโบสถ์ เรื่องพุทธประวัติ ด้านหลังพระประธานนิยมเขียนเรื่องมารผจญ ส่วนวัดพระแก้วเขียนเรื่อง รามเกียรติ์ตั้งแต่ราชกาลที่ 1 จิตรกรรมไทยเรื่องรามเกียรติ์ เขียนที่วัดพระแก้ว..ท่านขรัวอินโข่งเป็นพระภิกษุที่ได้เขียนภาพจิตกรรมแบบตะวันตกใน ร. 4 (ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส) ภาพไทยจะไม่แสดงกล้ามเนื้อ สีแบนเรียบ ตัดเส้นมีแค่ 2 มิติ สีชาดคือ สีแดง
  • 10. ใบความรู้ ลัทธิคิวบิส ศิลปะแบบคิวบิส (Cubism) คือ การค้นหาความงามจากรูปทรงของเหลี่ยม ลูกบาศก์ ค้นหาโครงสร้าง ตามความจริงที่เป็นแท่ง ๆ มากกว่าจะไปเน้นที่รายละเอียดในธรรมชาติ ถือเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ แสดงให้เห็นวัตถุธาตุมิใช่แค่การเลียนแบบวัตถุ เพราะยังคงมีเนื้อหาและเรื่องราวในภาพอยู่ อาจถือได้ว่า เป็นศิลปะที่พยายามเชื่อมโยงทั้งทางความคิด และสายตา เข้าด้วยกันเพราะการสร้างผลงานทางศิลปะ แบบคิวบิสนั้นเป็นการ สร้างรูปทรงเรขาคณิต โดยการหาโครงสร้างแยกย่อยแล้วนำมาประกอบเข้ากันใหม่ โดยสีที่ใช้ จะใช้สีมัว ไม่สด ไม่รุนแรง เป็นสีแบน ๆ หรือบางทีจะนำโครงสร้างด้านหน้าและด้านหลังมา ประกอบพร้อม ๆ กันเพื่อให้สามารถเห็นวัตถุนั้นทั้งสองด้านได้ในคราวเดียวกันและเห็นถึงความตื้นลึกของ ภาพแม้อยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งศิลปะแบบคิวบิสนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาของภาพเขียนที่มีเพียง สองมิติและตาเห็นได้แค่ด้านเดียว ปาโบล ปีกัสโซ (อังกฤษ: Pablo Picasso) ซึ่งทั้งสองต่างมีจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจ “โครงสร้างเรขาคณิต เป็นรากฐานของรูปทรงธรรมชาติทั้งมวล” และ ถ้าเข้าใจรูปทรงของโลกภายนอก และโครงสร้างตาม ความเป็นจริงแล้ว จงมองดูรูปเหล่านั้นให้เป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่ายๆ ทั้งปิกัสโซและบาร์ค พยายามเน้น คุณค่าของปริมาตร เป็นชาวเสปน นิยมสีฟ้าและชมพู 2.จอร์จ บราค (GEORGE BRAQUE, 1882-1963) ฌอร์ฌ บรัก (ฝรั่งเศส: George Braque) เป็นศิลปินในคติโฟวิสต์และต่อมาในบาศกนิยม บรักเกิดเมื่อ วันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1882 เติบโตในเมืองเลออาฟร์ (Le Havre) และเริ่มศึกษาศิลปะที่โรงเรียน ศิลปะในเมืองนี้เมื่ออายุ 17 ปี
  • 11. ลัทธิแอสแตรค (Astract) แอบสแตรค ที่หมายถึง นามธรรม ศิลปินมีการสร้างสรรค์ผลงานโฑดยการคำนึงถึงเส้นและสีเท่านั้น มี ลวดลายค้ายลายผ้า ลายพรม หรือ ลายกระเบื้องปูพื้น ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น คองดินสกี(Kandinsky) มองดีออง (Mondrian) และ วิลอง (Villon) วาซีลี วาซีเลียวิช คันดินสกี มองดีออง (Mondrian) และ วิลอง (Villon) การทำงานของ Jackson Pollock ตามความคิดของเขาแตกต่างจากศิลปินผู้อื่น ตรงที่ศิลปินปกติส่วน ใหญ่จะยืน หรือนั่งอยู่กับที่ ใช้เพียงมือ ที่ถ่ายทอด ผลงานออกมา แต่เขาใช้วิธีวางเฟลมกับพื้น เพื่อที่จะ สามารถใช้ทุกส่วนของร่างกายในการถ่ายทอดผลงาน
  • 12. ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เกิดขึ้นทางเหนือของยุโรป โดยที่ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ศิลปะแนว นี้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปินสำคัญ 2 คนคือ Vincent Van Gogh และศิลปินชาว Norwegian ที่ชื่อ Edvard Munch ใช้สีที่รุนแรง บ้าระห่ำ เกลียดชังทารุณ เจ็บปวด และเกินความเป็นจริง โดยเน้นความ พอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือ กฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใดๆในอดีตเลย ใบความรู้ ศิลปะตะวันตก ม.4
  • 13. .สถาปัตยกรรมยุคกรีกมหาวิหารพาเธนอน กรุงเอเธนประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน เทพความสวยงาม วีนัส แห่งไมโล ชาวกรีกนับถือเทพเจ้า.เทพเจ้าตัวแทนการแข่งขันโอลิมปิกไมรอน สถาปัตยกรรมกรีกหัวเสา 3 แบบคือ 1 ดรอลิก(วิหารพาร์เธนอน) 2ไอโอนิค(วิหารอีเรกทีอุม) 3 คลอลิ เธียน(วิหารโอลิมเปีย ) ชาวโรมันชาติแรกที่คิดคอนกรีต.สนามกีฬาที่ใช้การแข่งขันโอลิมปิกยุคโรมัน โค ลีเซียม.การสร้างท่อประปาอยู่ที่โชเกเวียน (เสปน)อะคูสคัต.ศิลปะยุคไบเซนไทน์ สร้างโบสถ์เพดานยอด กลมคอปโปล่ารูปกางเขน (ตัวที)ศิลปะยุคโกธิกอาคารทรงสูงยอดแหลมได้แก่มหาวิหารเนอสเตอร์ดัมส์ ศิลปะยุคโกธิกอาคารยอดแหลม ใบความรู้ องค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็น งานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้าง อารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ ทั้งสิ้น
  • 14. องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของทัศนธาตุต่าง ๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สัดส่วน แสงเงา สี ช่องว่าง และลักษณะผิว มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้ องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อ ความหมายทางศิลปะได้ โดยยึดหลักการจัดดังนี้ 1. เอกภาพ (Unity)หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2. ความสมดุล (Balance) หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน 3. จังหวะ จุดเด่น (Dominance) หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัด สะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ จุดเด่นจะช่วยสร้าง ความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น จุดเด่นเกิดจากการ จัดวางที่ 4. ความกลมกลืน (Harmony) และเป็นความกลมกลืนในเรื่องสีวรรณะเดียวกัน 5. ความขัดแย้ง (Contrast)ขัดแย้งด้วยรูปทรง ขัดแย้งด้วยขนาด ขัดแย้งด้วยเส้น ขัดแย้งด้วยผิว ขัดแย้งด้วยสี 6. ขนาด สัดส่วน (Size Proporty)มีความสำคัญมาก ทุกส่วนของภาพวาดจะต้องมีความสอดคล้องกัน ของขนาดและสัดส่วน จะผิดเพี้ยนไม่ได้ - เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา - เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง - เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน - เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน - เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และ การขัดแย้ง - เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
  • 15.
  • 16. ภาพคนเต็มตัว (Figure) การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้นคือการวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหวการวาดคนเต็มตัว ( Figure ) มีการแบ่ง สัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7ส่วนครึ่ง ประวัติการเขียนภาพนเต็มตัวมีมาตั้งแต่ สมัยเรเนซ้อง (ฟื้นฟู) โดยท่านลีโอนาโด ดาวินซีผู้ศึกษา ชำแหระศพคนแรกแล้วเขียนภาพลงในกระดาษ ศึกษากระดูก และกล้ามเนื้อ ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า
  • 17. ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า ใบความรู้ภาพพิมพ์ ภาพพิมพ์มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (200,000 ปีก่อน คริสตกาล) โดยมนุษย์ โครมันยอง ดังพบภาพพิมพ์รูปมือบนผนังถ้ำในถ้ำลาสโควซ์ ประเทศฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิรา ประเทศ สเปน ต่อมาชาวอียิปต์และชาวเมโสโปเตเมียรู้จักการพิมพ์ภาพแบบใช้แรงกดประทับบนผิววัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ดิน ขี้ผึ้ง จากนั้นมนุษย์คิดค้นกระดาษขึ้นได้จึงเปลี่ยนวัสดุรองรับที่เป็นดินหรือขี้ผึ้งมาเป็นกระดาษ แทน นับแต่นั้นมาภาพพิมพ์ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านรูปแบบ กลวิธีการพิมพ์ตามวิวัฒนาการ ของมนุษย์และความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการด้านการพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่นนั้น แสดงให้เห็นว่า จีนเป็นชนชาติแรกที่ คิดค้นการทำภาพพิมพ์ขึ้น โดยการแกะสลักลงบนหิน หยก งาช้าง กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์ เพื่อทำเป็น แม่พิมพ์แล้วกดแม่พิมพ์ลงบนดินเหนียว ครั่ง ขี้ผึ้งหรือกระดาษให้เกิดลักษณะเป็นรอย ความรู้การพิมพ์นี้ ได้เผยแพร่ไปยังประเทศตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งประเทศ เกาหลีได้พัฒนาความรู้เรื่องการพิมพ์นี้จนสามารถทำตัวเรียงพิมพ์ เป็นโลหะสำเร็จ ประเภทของภาพพิมพ์ ๑. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นราบ Planographic Process กรรมวิธีลักษณะนี้ คือภาพ พิมพ์แม่พิมพ์หิน (Lithography) เกิดจากแม่พิมพ์ที่เป็นพื้นราบทั้งส่วนที่ทำหน้าที่รับหมึกพิมพ์และส่วนที่ ไม่ต้องการ ด้านผิวพื้นด้านหน้าของแม่พิมพ์ทั้งแผ่นหิน ๒. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นนูน Relief Process กรรมวิธีนี้ยุ่งยากน้อยที่สุด คือ ภาพพิมพ์ แม่พิมพ์ไม้ (Woodcut ; Wood engraving) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์กระเบื้องยาง(Linocut) เกิดจากความ ต่างระดับความสูง ต่ำของแม่พิมพ์ ส่วนที่ไม่ต้องการจะถูกแกะออกลึกลงไป ด้วยเครื่องมือแกะ ส่วนที่ทำ หน้าที่รับหมึกคือ ส่วนที่เป็นพื้นนูน 3.ภาพพิมพ์จากลักษณะร่องลึก Intaglio Process กรรมวิธีนี้ตรงกันข้ามกับภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ ลักษณะพื้นนูน ซึ่งสร้างภาพจากพื้นนูนของแม่พิมพ์ Intaglio มาจากภาษาอิตาเลี่ยนคือ Itagliaro หมายถึง แกะ สลัก เจาะ ตัด ภาพพิมพ์ จากแม่พิมพ์ลักษณะร่องลึก คือการใช้แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ เช่น ทองแดง สังกะสี ทำให้เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ทำหน้าที่เป็นส่วนสร้างรูป หรือส่วนรับหมึก ลักษณะเด่น เฉพาะของกรรมวิธีนี้คือ ร่องรอยรายละเอียดของพื้นผิว ๔. ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลักษณะพื้นฉลุ Stencil Process
  • 18. กรรมวิธีการสร้างแม่พิมพ์ด้วยลักษณะนี้ คือ การสร้างแม่พิมพ์ให้เป็นลายฉลุโดยหมึกพิมพ์สามารถลอด ผ่านลายฉลุ ได้ วิธีการพิมพ์แบบนี้มักใช้การพิมพ์ทับกันหลายๆครั้งผลงานจึกสมบูรณ์ วิธีทำแม่พิมพ์ใน อดีตมักใช้เส้นไหม ส่วนปัจจุบันใช้เส้นใยสังเคราะห์”โพลีเอสเตอร์ (Polyester Resin) หรือไนล่อน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ เป็นบุตรของนายสายบัว พงษ์ดำ และนางเป้ พงษ์ดำ เกิดเมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2477 ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 木版画 โรมาจิ: moku hanga อังกฤษ: Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า "ภาพอูกิโยะ" ใบความรู้ การเขียนภาพทัศนียภาพ PERSPECTIVEเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือน ใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ... PERSPECTIVE จะประกอบด้วย 1.เส้นระดับสายตา HORIZON LINE (H.L.)
  • 19. 2.และจุดสายตา VIEW POINT (V.P.) PERSPECTIVE 1 จุด จะเป็นลักษณะการเขียนจะเห็นด้านระนาบของวัตถุเช่นด้านหน้าหรือด้านข้างเป็น 2 มิติ จากนั้นลากเส้น ความลึกเข้าไปในจุด V.P PERSPECTIVE 3 จุด จะคล้ายการเขียน 2 POINT จะต่างกันตรงที่เส้นตั้งจะลากไปยังจุด V.P.3 ใบความรู้เรื่องการเขียนภาพสัตว์ “ การเขียนภาพสัตว์ ” การเขียนภาพสัตว์เป็นการเขียนลักษณะท่าทาง การเคลื่อนไหวของสัตว์ในอาการต่างๆ การเขียนภาพสัตว์ ต้องใช้ความเร็วและความละเอียดพอควร เพราะสัตว์มีชีวิต ชอบเคลื่อนไหว เราไม่สามารถพูดให้มันหยุด นิ่งเพื่อเป็นหุ่นได้ ดังนั้นผู้เขียนจะต้องสังเกตและจดจำรายละเอียดให้เร็วและจับลักษณะเอกลักษณ์ของมัน ให้ได้ สัตว์มีธรรมชาติของสรีระและส่วนประกอบที่สวยงาม น่ารักแตกต่างกัน สัตว์ที่นิยมนำมาเป็นแบบใน
  • 20. การเขียนภาพ เช่น สัตว์ 4 เท้า และสัตว์ปีก ความงามของสัตว์ 4 เท้าอยู่ที่สัดส่วน กล้ามเนื้อ ลีลาการ เคลื่อนไหว ส่วนสัตว์ปีกจะอยู่ที่แววตาและขน หลักการเขียนภาพสัตว์ ต้องเขียนให้มีชีวิตชีวา ได้ความรู้สึกในท่วงท่า ลีลา และสื่อบุคลิกลักษณะนิสัยของ มันออกมาด้วย วิธีการเขียนภาพสัตว์มีดังนี้ 1. สังเกตลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสัตว์แต่ละชนิด หาจุดเด่นและสังเกตลีลา ท่าทาง การเรียนการสอน และอุปนิสัยของสัตว์ที่เราวาด 2. ร่างภาพจากโครงสร้างโดยส่วนรวมก่อน โดยอาศัยพื้นฐานโครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิตเช่น รูป สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม วงรี 3. ร่างเส้นเชื่อมรูปทรงใส่รายละเอียดลงไปบนโครงสร้าง เช่นหู หาง เท้า 4. ลงน้ำหนักด้วยแรเงาหรือสี ตามความเป็นจริง ด้วยความประณีต ละเอียดอ่อน จะได้ภาพสัตว์ที่มีความ น่ารักสวยงามเหมือนจริง ใบความรู้ ลัทธิ DADA ลัทธิ DADA หยุดดัดจริตโลกสวย แล้วเผชิญความจริงบนโลกที่ไม่สมบูรณ์แบบ
  • 21. ลัทธิดาด้า (DADAISM) เกิดจากการรวมกลุ่มของศิลปิน Avant-Garde ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914-1918 เพื่อแสดงการต่อต้าน ถากถาง ประชดประชัน เสียดสีสงครามและสภาพแวดล้อมทางสังคม ทั้งการเกลียดชังตัวบุคคล อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี และบริบทต้นเหตุทั้งหมดที่อาจนำพาไปสู่การ เกิดสงคราม ซึ่งหยิบยกข้ออ้างต่างๆและความเหลื่อมล้ำทางสังคมมาเพื่อใช้ทำลายมนุษย์ด้วยกัน รวมไป ถึงการเยาะเย้ยความงามของศิลปะที่สมบูรณ์แบบและชิงชังในสิ่งที่สวยงามน่าหลงไหลอย่างมีแบบแผน ชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่เพ้อฝันเสแสร้งดัดจริตผิดแปลกไปจากความจริงที่ว่าโลกไม่ได้ประกอบขึ้นด้วยความ สวยงามและความสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด ดาด้ามองเห็นทุกอย่างเป็นศิลปะ และต่อต้านแนวคิดของ พวกทุนนิยมที่นำพาไปสู่การขัดแย้งและการเกิดสงคราม ซึ่งพวกเขาแสดงออกด้วยการประชดประชัน เยาะเย้ย ถากถาง และทำให้มันกลายเป็นเรื่องไร้สาระ ดูตลก หรือจงใจเสียดสีด้วยความดิบเถื่อน เหลวไหล ทำลายความสมบูรณ์แบบลง ใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์ด้วยวิธีที่ผิดปกติซึ่งทำให้งานออกมามี ลักษณะที่แปลกใหม่ไปจากงานศิลปะดั้งเดิม อีกทั้งการแสดงออกทางความคิดเพื่อเสียดสีความดัดจริตและ สิ่งเลวร้ายที่พบเห็นได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งทิ้งคำถามให้กับสังคมผ่านทางงานศิลปะที่สร้าง อีกหนึ่งวิธีสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจของดาด้าอิสม์คือการนำเอา"วัตถุประกอบสำเร็จ" (Ready Made) มาปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมรายละเอียด เพื่อให้สามารถสัมผัสกับอีกมุมมองหนึ่งทางศิลปะ กรณีการนำเสนอทางด้านความคิดอย่างเช่น “Fountain” ในปี 1917 ที่สร้างโดย "Marcel Duchamp" แกนนำคนสำคัญของ ดาด้าอิสม์ ดาด้าถูกนำไปใช้เป็นฐานความคิดในการขบถทางศิลปะของกลุ่ม "เซอร์เรียลลิสม์" (Surrealism) ที่ แยกตัวออกมาโดย "อ็องเดร เบรอตง" (Andre Breton) และสมาชิกบางส่วน ซึ่งยังคงความคิดของลัทธิ ดาด้าในการขบถต่อกฏเกณฑ์ที่มีอยู่เดิมและมุ่งทำลายค่านิยมทุกชนิดของชนชั้นกลาง ชื่อผลงานAfter Orgasm -โดย Zeren Badar
  • 22. ชื่อL.H.O.O.Q. -โดย Marcel Duchamp ใบความรู้ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ลัทธินี้มีความเชื่อว่า ชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้องกับความเร็ว เครื่องจักร เครื่องทุ่น แรงต่างๆ ศิลปินมักมีการวาดภาพที่แสดงความเร็วของคนหรือสัตว์ เครื่องจักร โดยพยายามเน้นความหมาย ของอนาคต
  • 23. เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่ สนใจภาพเปลือย ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์ เทคนิควิชาการต่างๆ ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมี แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็น ศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วย ความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน ศิลปินที่สำคัญ เช่น คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966) อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto Boccioni, ค.ศ. 1882-1916) จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็น ต้น Carlo Carrà. "Horse and Rider or Red Rider (Il cavaliere rosso)", 1913, tempera and ink on woven paper, Civico Museo d'Arte Contemporanea, Milan Giacomo Balla : Dynamism of a Dog on a Leash. C 1912. Oil on canvas Size 89.9 x 109.9 cm. Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York
  • 24. ผลงานรัชกาลที่ 9 ชื่อภาพ ไม่มีชื่อ ใบความรู้ลัทธิโฟวิสซึ่ม (Faurism) ลัทธิโฟวิสซึ่ม (Faurism) คำว่า โฟวิสท์ มีความหมายถึง สัตว์ป่าอันหมายถึง ผลงานของศิลปินกลุ่มนี้ ซึ่งมี ลักษณะการใช้สีสันสดใสตัดกันอย่างรุนแรงลัทธินี้เกิดขึ้นและหมดความนิยมลงในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ ผลงานคล้ายกับคตินิยมของศิลปะแลลเอ๊กซเพรสชั่นนีสซึ่มในประเทศเยอรมันนี และศิลปินทั้งสองลัทธินี้ก็ แตกแยกกลายเป็นผู้สร้างงานศิลปะนามธรรม (Adstract Art) ขึ้นในเวลาต่อมา Smiley แนวทางการสร้างผลงาน Fauvism 1.ผลงานมีรูปทรงอิสระสร้างขึ้นตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ งานจะปรากฎความสนุกสนาน ในลีลาของรอยฝีแปรงและจังหวะของสีต่างๆ 2.มีการตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่างๆ เพื่อเน้นห้เด่นชัดมีรูปแบบง่ายๆ เรียบๆ ต้องการแสดงทั้งรูปทรงและแสง ไปพร้อมกัน 3.นิยมใช้สีตัดกันรุนแรง แต่มีความประสานสัมพันธ์ โดยส่วนรวม เช่น ใช้สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดง และสี ม่วง เป็นต้น
  • 25. 4.สีมีความสำคัญกว่าเรื่องของหลักการทัศนียภายและรูปทรง5.ผลงานมีลักษณะเป็นแบบสัญลักษณ์ มีความ เกี่ยวพันกับเรื่องศีลธรรม จรรยา ปรัชญา หรือเงื่อนไขความคิดทางการเมืองและทางสังคมน้อยมาก มีลักษณะ เหมาะสมในการใช้ตกแต่งอาคารสถานที่มากกว่า กลุ่มศิลปะ Fauvism นี้มี Henri Matisse เป็นผู้นำกลุ่มคนสำคัญ ศิลปินโฟวิสนั้นเป็นผู้นำ แนวคิดแนวใหม่ มา สู่วงการศิลปะในศตวรรษที่ 20 ซึ่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ โลกศิลปะถูก ครอบงำด้วยหลักการ การค้นคว้า ในเรื่องลี้ลับ ทางจิตวิทยาของพวกSymbolist, หลักการของพวก นาบีส์ (Nabis) ที่ล้วนเอาทฤษฎีต่างๆของ โก แกง เซซาน มาดัดแปลง แต่ศิลปินโฟฟ มุ่งหมายที่ จะหลุดพ้นจากวงจร ความคิดเหล่านี้ ด้วยการที่ หวนกับไป หาหลักการใช้สีที่ Gauguin, Seurat, Van Gogh เคยใช้ นั้นคือ การใช้สีที่จงใจไม่ให้บรรยายลักษณะใดๆ ใน ธรรมชาติเลย ในการใช้สีของพวกโฟวิสนี้ บางครั้งพวกเขาอาจแต้มสีลงไปเป็น บริเวณเล็กๆ หรือเป็นแค่ จุดๆ ที่คล้ายศิลปิน Neo-Impressionism แต่สีเหล่านี้ จะเป็นสีที่จัดและรุนแรงกว่า โดยไม่คำนึงถึง ทฤษฎีสี แต่องค์ประกอบศิลป์ในงานแบบโฟวิส อาจจัดได้ด้วยลำพังแค่สีล้วนๆ ซึ่งดูแล้วอาจเป็น สัญลักษณ์มากกว่า เหมือนจริง ถึงแม้ศิลปินโฟวิสจะเขียนภาพที่เป็น Objective World เช่น ภาพวิว ภาพคน ภาพหุ่นนิ่ง แต่ พวกโฟวิส ก็ทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็น Abstract ด้วยการลงสี ที่ไม่เหมือนกับ ธรรมชาติ การใส่สีจัด และสีสดๆลงไป เลย ซึ่งก็จะทำให้สีนั้นหมดหน้าที่ ที่จะบอกว่า สีนี้ สีนั้น คืออะไร ณ.เวลานี้สีจะสื่ออะไรมากกว่าความเป็นสี ศิลปินโฟวิสจะใช้สีสดล้วนๆในการแสดงระนาบ และแสดงวัตถุ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล แม้แต่การ ให้แสงและ เงา ก็เป็นบริเวณของสีสดๆทั้งสิ้น ซึ่งก็อาจเล่นสีร้อน สีเย็นได้ สีที่กลุ่มจิตรกรโฟวิสใช้นี้ มิใช่ ใช้ตามที่ตาสัมผัส เห็น แต่จะใช้ไปตามอารมณ์ และความพอใจของศิลปินเอง สีจัดๆ ที่สดใสสีหนึ่ง จะอยู่เคียงกับอีกสีหนึ่ง เป็นฝี แปรงหลวมๆ ที่แต้มต่อตัดกันไปให้เกิดพื้นผิวภาพที่มีสี เพื่อแสดงอารมณ์ ของสีในตัวของมันเองอย่างอิสระ มิใช่แสดงให้เห็นว่า คือของสิ่งใด เป็นการแสดงความพอใจ ในการ เล่นสี ของจิตรกรเอง การสร้างภาพให้แบน และให้ระนาบคุมเคลือนี้ เป็นการหักเหออกจากหลักการ เรื่อง Perspective ในแบบสมัยเก่าๆ กลุ่มศิลปิน Fauvism นี้ได้นำหลักการของจิตรกรในอดีตมาแล้ว แต่นำหลักการ เหล่านั้นมาใช้อย่างรุนแรง เด็ดขาด จน ผ่านเลยผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ไปไกล ทำให้สีมีบทบาท 2 อย่าง ควบกันไปคือ สีประสานกัน สร้างเค้าโครงของภาพ ขึ้นมา นพร้อมกับอีกหน้าที่หนึ่งคือ สีจะแสดงความ รู้สึกของสีออกมา แต่ถ้าเราจะมองกลุ่มศิลปินโฟวิส ในแง่ การแสดงความรู้สึกออกมาแรงๆนั้น เราอาจ เรียกศิลปินกลุ่มนี้ว่าเป็น Expressionism ในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าอิทธิพล ของโฟวิสนี้ ไปปรากฎในภาพเขียนสมัยใหม่ ของพวก Expressionism ใน ประเทศเยอรมัน ที่อิ่ม ตัวเต็มที่ในช่วง แรกๆของศตวรรษที่ 20 นั่นเอง Smiley
  • 26. ใบความรู้ลัทธิเอ๊กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เกิดขึ้นทางเหนือของยุโรป โดยที่ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ศิลปะแนวนี้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปินสำคัญ 2 คนคือ Vincent Van Gogh และศิลปินชาว Norwegian ที่ชื่อ Edvard Munch ซึ่งทั้งสองคนนี้ ใช้สีที่รุนแรง และเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือ กฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใดๆในอดีตเลย สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดัน ที่อยู่ใน ความรู้สึกนึกคิด ของจิตใจคน เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึก ที่แข็งๆ ดิบ รุนแรง ศิลปินที่สําคัญช่น เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch, ค.ศ. 1863-1944) ฟรัชซ์ มาร์ค (Franz Marc, ค.ศ. 1880-1916) วาสสิลี่ แคนดินสกี (Wassily Kandinsky, ค.ศ. 1866-1944) ศิลปินที่สําคัญเช่น เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch, ค.ศ. 1863-1944) ฟรัชซ์ มาร์ค (Franz Marc, ค.ศ. 1880-1916) วาสสิลี่ แคนดินสกี (Wassily Kandinsky, ค.ศ. 1866-1944) The Scream by Edvard Munch (1893) which inspired 20th century Expressionista
  • 27. The Fate of the Animals by Franz Marc, 1913. ศิลปินไทยผู้บุกเบิกงานจิตรกรรมแนวอิมเพรส์ชั่นนิสม์อาจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ ใบความรู้วิชาทัศนศิลป์ ศ 21101 ม.1เรื่องศิลปะกราฟฟิตี้ รอยขูดขีดเขียน (อังกฤษ: graffiti) เป็นภาพวาดที่เกิดจากการขีดเขียนไปบนผนัง คำ "graffiti" เป็นคำศัพท์ที่มา จากภาษากรีก grafito ซึ่งแปลว่าการเขียนภาพลงบนผนังหรือกำแพงในสมัยโบราณ โดยที่รู้จักกันทั่วไปจะมี ลักษณะของการพ่น (bombing) เซ็นชื่อ หรือเป็นการเซ็นลายเซ็น โดยเริ่มต้นจากเมืองฟิลาเดลเฟียในรัฐเพน ซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงแพร่หลายในนิวยอร์กช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 60 จากตำรารอยขูดขีดเขียนไม่น้อยระบุไว้ตรงกันว่า รอยขูดขีดเขียนเริ่มต้นขึ้นในเมืองฟิลาเดลเฟียในช่วงทศวรรษ ที่ 60 ก่อนจะแพร่เข้ามายังนิวยอร์กในทศวรรษต่อมา สาเหตุการเกิดของรอยขูดขีดเขียนนั้น ในยุคสมัยที่การ
  • 28. เหยียดสีผิวเป็นไปอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1954 ที่ผู้ปกครองนักเรียนผิวสีรวมตัว เรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่คณะกรรมการโรงเรียนแห่งรัฐแคนซัสปฏิเสธที่จะรับเด้กผิวสีเข้าศึกษา และ ในปีถัดมา สตรีผิวสีนาม โรซา พาร์กส ที่เธอถูกตัดสินมีความผิดฐานละเมิดกฎหมายที่จะสละที่นั่งของเธอให้ บุรุษผิวขาวตามที่กฎหมายของรัฐกำหนด เป็นที่มาของการเคลื่อนไหวให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสิทธิ พลเมือง จนกระทั่งเกิดกฎหมายนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1964 แต่ว่าคนผิวสีก็ยังตกอยู่ในสภาพคนชายขอบของสังคม ได้เป็นแรงผลักดันให้พวกเขาสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งเพลงบลูส์ แจ๊ซ และเร้กเก้ และอีกด้านหนึ่งของคนผิวสีที่ ต้องเผชิญ พวกเขาได้แสดงออกมาอย่างเกรี้ยวกราด ดิบหยาบ ประกาศให้เห็นถึงความ ขบถ ดังเช่น ดนตรีแร็ป ที่เต็มไปด้วยคำด่าทอสังคมอย่างไม่เกรงกลัว รอยขูดขีดเขียนถือกำเนิดมาในยุคสมัยนี้ ในช่วยปลายทศวรรษที่ 60 รอยขูดขีดเขียนเดินทางเข้าสู่นิวยอร์ก โดย JULIO204 ไรเตอร์จากสลัมย่านบรองซ์ นำเข้าไปเผยแพร่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 ที่นิวยอร์ก "ทากิ" ไรเตอร์ชื่อดังที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสัญลักษณ์ แห่งการเริ่มต้นยุคสมัยของเหล่าไรเตอร์หรือนักเขียนรอยขูดขีดเขียนโดยแท้จริง เมื่อคำว่า TAKI 183 ของเขา ได้รับการสัมภาษณ์และเปิดเผย ตีพิมพ์ภาพลายเซ็นของเขาในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส คำว่า TAKI 183 ที่ เขาเขียนปรากฏให้เห็นทั้งในรถไฟใต้ดินและสถานที่สำคัญอย่างบรอดเวย์ สนามบินเคนเนดี รวมทั้งที่ต่าง ๆ ทั้ง ในนิวเจอร์ซีย์ คอนเนตทิคัต และสถานที่อื่น ๆ ทั่วนิวยอร์ก หลังจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้วางแผง วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยต่างประทับใจในชื่อเสียงของทากิ พวกเขาจึงเริ่ม เขียนชื่อของตัวเองตามสถานที่สาธารณะ จนค่อย ๆ ได้รับความนิยมและคึกคักในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งช่วงต้นทศวรรษที่ 70 รอยขูดขีดเขียนได้ถูกเขียนเต็มไปหมดจากไรเตอร์อย่าง TRACY168 StayHigh149 และ PHASE2 เริ่มเขียน "tag" (แท็ก) หรือลายเซ็นของตนตามโบกี้รถไฟ ในปี ค.ศ. 1972 TOPCAT ได้นำเทคนิคใหม่ เข้าสู่นิวยอร์ก คือตัวอักษรยาว ๆ เก้งก้างเต็มพื้นที่คอนเทนเนอร์ รถไฟ ต่อมารูปแบบนี้ได้รับความนิยมจากเหล่าไรเตอร์นิวยอร์ก และเรียกว่าเป็น "Broadway Elegant" ซึ่งมี ลักษณะเป็นตัวอักษรที่เขียนต่อก่อเป็นแถวยาว ๆ ปี ค.ศ. 1973 รอยขูดขีดเขียนปรากฏอยู่แทบทุกซอกมุมตึกในนิวยอร์ก ดังที่ ริชาร์ด โกด์สไตน์ เขียนลง นิวยอร์กแม็กกาซีนไว้ว่า "ดูเหมือนเหล่าวัยรุ่นหนุ่ม ๆ แทบจะไม่สนใจอะไรเลย นอกจากมองหาทำเลที่พวกเขา •"Tag" คือการเซ็นลายเซ็นหรือนามแฝงของแต่ละคนโดยสเปรย์กระป๋อง หรือ ปากกา ส่วนมากใช้สีเดียว บาง คนอาจพ่นเป็นตัวอักษรธรรมดา ขณะที่บางคนดีไซน์ให้เป็นตัวอักษรที่เกาะเกี่ยวกันจนอ่านไม่ออก เน้นให้ดู แปลกและสะดุดตา •"Throw-ups" คือการเขียนเร็ว ๆ ด้วยสีพื้นฐาน จำนวนน้อยสีนิยมใช้สีขาวดำ แสดงให้เห็นเส้นสายที่รวดเร็ว เป็นการเขียนตัวอักษรน้อยตัว มีเส้นตัดขอบเพื่อให้ดูมีมิติ ไม่เน้นความสวยงาม เพราะต้องทำแข่งกับเวลา
  • 29. •"Fill-in" หรือ "Piece" คือ "Throw-ups" ที่ซับซ้อนขึ้น เป็นผลงานของไรเตอร์คนเดียว เป็นการพ่นสีสเปรย์ให้ เป็นภาพหรือตัวอักษรที่สวยงาม ใช้เวลานานในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ •"Block" หรือ "Bubble" การเขียน Tag ที่ดูมีมิติมากขึ้น ใช้สีประมาณ 3 สี หรือมากกว่านั้น •"Wildstyle" หรือ "Wickedstyle" เป็นสไตล์ที่ซับซ้อนขึ้น มีการเกาะเกี่ยวกันของตัวหนังสือ ลักษณะการ เขียนประเภทนี้จะอ่านค่อนข้างยาก เพื่อแสดงความเหนือชั้นของการดีไซน์ •"Blockbuster" คือ "Fill-in" ที่เขียนที่ตั้งใจเขียนทั้งผนัง •Character" คือการพ่นเป็นรูปคน หรือ คาแร็กเตอร์ต่าง ๆ ไม่วาจะเป็นตัวการ์ตูน หรือเป็นภาพเสมือนจริง ของดารา-นักร้องในดวงใจ หรืออาจเป็นตัวการ์ตูนที่ไรเตอร์ออกแบบเองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของไร เตอร์คนนั้น ๆ •"Production" คือ การรวมรอยขูดขีดเขียนทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน เกิดจากการรวมที่ไรเตอร์หลายคนหรือหลาย กลุ่มนัดกันสร้างผลงานร่วมกัน โดยมีธีมไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดคล้องกัน เช่น นัดกันพ่นคาแร็กเตอร์ประ จำตัวของไรเตอร์แต่ละคนหรือพ่นชื่อกลุ่ม ชื่อตัวเอง หรือเปล่าไรเตอร์อาจร่วมกันกำหนดวาระต่าง ๆ ขึ้นเอง คำถามท้ายบท 1.ศิลปะกราฟิตี้เกิดที่ไหน................................................................................................................. 2.ใครเป็นผู้ให้กำเนิด............................................................................................................................... 3.กราฟิตี้หมายถึง..................................................................................................................................... 4.ในเมืองไทยกราฟิตี้เข้าเมื่อไร...............................................................................................,,,,,,, 5.กราฟิตี้มีกี่ประเภท.......................................................................................................................... ให้นักเรียนวาดภาพลายเส้นกราฟฟิตี้ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ใบความรู้ศิลปะไทยแบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้ 1.) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย คือ 1. แบบทวาราวดี (ราว พ.ศ. 500 - 1200) 2. แบบศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1200 - 1700)
  • 30. 3. แบบลพบุรี (ราว พ.ศ. 1700 - 1800) 1. แบบทวาราวดี (ราว พ.ศ. 500 - 1200) เป็นฝีมือของชนชาติอินเดียซึ่งอพยพมาสู่สุวรรณภูมิ ศูนย์กลางอยู่นครปฐม เป็นศิลปะแบบอุดมคติ รุ่น แรกเป็นฝีมือชาวอินเดีย แต่สมะยหลังเป็นฝีมือของชาวพื้นเมืองโดยสอดใส่อุดมคติทางความงาม ตลอดจน ลักษณะทางเชื้อชาติ ศิลปะที่สำคัญคือ 1. ประติมากรรม พระพุทธรูปแบบทวาราวดี สังเกตได้ชัดเจนคือพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทและยก พระหัตถ์ขึ้น โดยส่วนมากสลักด้วยหินปูน ภาพสลักมากคือบริเวณพระปฐมเจดีย์ คือ ธรรมจักรกับกวางหมอบ 2. สถาปัตกรรม ที่ปรากฎหลักฐานบริเวณนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ได้แก่ สถูปลักษณะเดินดิน ทำเป็นมานาวผ่าซีก หรือรูปบาตรคว่ำ อยู่บนฐานสีเหลี่ยม เช่น เจดีย์นครปฐมองค์เดิม 2. แบบศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1200 - 1700) เป็นศิลปะแบบบอินดีย - ชวา ศูนย์กลางของศิลปะนี้อยู่ที่ไชยามีอาณาเขตของศิลปะศรีวิชัย เกาะสุมาตร ตรา พวกศรีวิชัยเดิมเป็นพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนใต้ แพร่เข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน ได้สร้างสิ่งมหัสจรรยทของโลกไว้ อย่างหนึ่ง โดยสลักเขาทั้งลูกให้เป็นเขาไกลลาส คือ สถูปโบโรบูเดอร์ ศิลปะกรรมในประเทศไทย คือ 1. ประติมากรรม ค้นพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทำเป็นสัมฤทธิ์ที่ไชยา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยื่ยมของแบบศรีวิชัย
  • 31. 2. สถาปัตยกรรม มีงานตกแต่งเข้ามาปนอยมากู่ในสถูป เช่นสถูปพระบรมธาตุไชยา สถูปวัดมหาธาตุ 3. แบบลพบุรี (ราว พ.ศ. 1700 - 1800) ศิลปะแบบนี้คล้ายของขอม ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทตามความเชื่อ สร้างเทวาสถานอัน ใหญ่โตแข็งแรงคงทนถาวร เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง นครวัด นับเป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก 1. ประติมากรรม สร้างพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระพุทธรูปสมัยลพบุรีเปลือยองค์ท่อนบน พระพักตร์เกือบเป็นสี เหลี่ยม มีฝีมือในการ แกะลวดลายมาก 2. สถาปัตยกรรม สร้างปรางค์เป็นเทวสถาน การก่อสร้างใช้งวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เช่น ศิลาแลง หินทราย ศิลปะที่สำคัญได้แก่ ปรางค์ลพบุรี 2.) ยุคประวัติศาสตร์ไทย คือ 1. แบบเชียงแสน (พ.ศ. 1600 - 2089) 2. แบบสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1981) 3. แบบอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 1310) 4. แบบรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน) 1. แบบเชียงแสน (พ.ศ. 1600 - 2089) เรียกตามชื่อเมืองเชีงแสน ซึ้งเคยเป็นราชธานีแคว้นล้านนาในสมัยตอนต้น ไทยเข้ามาปกครองแคว้นนี้ เป็นพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างพุกาม ซึ่งพระเจ้านิรุทธมหาราชทรงนำมาเผยแพร่ไว้ ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรกไทยได้รับอิทธิพลพุกาม (พม่า) วัตถุที่ ใช้ ประกอบงานสถาปัตยกรรมยุคนี้ใช้อิท
  • 32. ปูน โลหะ ไม่ปรากฎว่าใช้หิน ศิลปะเชียงแสนรุ่งเรืองมากถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชซึ่งเรียกได้ว่า "ยุคทอง" 1. ประติมากรรม พระพุทธรูป ที่ถือได้ว่าเป็นแบบเชียงแสน จัดว่างามได้แก่ พระพุทธสิหิงส์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแหล่ง ชาติ หล่อด้วยโลหะนอกจากนั้นมี 2. สถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบต่างๆ เช่น 2.1 อิทธิพลพุกาม (พม่า) ได้แก่ สถูปที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน 2.2 อิทธิพลลานนาเดิม (มอญ - อินเดีย) ได้แก่ เจดีย์เหลี่ยม เช่น วัดกู่กุฏิ จังหวัดลำพูน 2.3 อิทธิพลแบบลานช้าง (โคตรบูรณ์) ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม พระธาตุสรีทัติ จังหวัดนครพนม 2.4 อิทธิพลลังกา ชอบทำฐานสูง มีบัวซ้อนกันหลายชั้น เช่น วัดเจดีย์หลวง พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ 2.5 แบบเชียงแสนแท้ ได้แก่ โบสถ์และหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ 2. แบบสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1981) ศิลปะแบบสุโขทัยแบบผสมมาก และจัดว่าฝีมือของศิลปินไทยในยุคนี้สูงสุดในประวัติศาสตร์มีแบบอย่าง เป็นของตนเอง เรียกว่า ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ พระพุทธรูปำด้รับยกย่องว่า เป็นศิลปกรรมชั้นเลิศ ศิลปกรรมที่สำคัญที่สุดคือ 1. จิตกรรม เป็นแบบเส้นกัน พื้นดินสีแดง ตัดเส้นดำ ผมดำ ผิวเนื้อขาว ลวดลายมีสีเหลืองบ้าง เช่นซุ้มประตูวัดมหาธาตุ สุโขทัย 2. ประติมากรรม พระพุทธรูป สมัยสุโขทัยแสดงถึงความรู้สึกของชาติไทยโดยเฉพาะ ได้สร้าง พระพุทธรูปปางลีลาอ่อนช้อย แบบสุโขทัยหนักไปทางธรรมชาติให้ความรู้สึกอ่อนโยน เมตตา พระพุทธรูปที่ สำคัญในศิลปะแบบสุโขทัยคือ พระพุทธชินราช พิษณุโลก ภาพปั้นปูนแบบสุโขทัยที่งดงาม เป็นภาพปั้น ประกอบลวดลายที่วัดนางพญา ภาพสลักไม้เพดานปรางค์ วัดหมาธาตุ 3. สถาปัตยกรรม
  • 33. แบ่งตามอิทธิพลดังนี้ 3.1 อิทธิพลลพบุรี ได้แก่ ปรางค์วัดมหาธาตุ สวรรคโลก 3.2 อิทธิพลลังกา ได้แก สถูปวัดช้างล้อม สุโขทัย 3.3 อิทธิพลศรีวิชัย ได้แก่ สถูปวัดเจดีย์เจ็ดแถว สวรรคโลก 3.4 อิทธิพลสูโทัยแท้ ได้แก่ สถูปยุทธหัตถีย์ (องค์เดิม) จังหวัดตาก 3. แบบอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 1310) มีอายุถึง 417 ปี และมีแบบอย่างศิลปะมากที่สุดในประเทศไทย ลัทธิศาสนาในอาณาจักรนี้มีศาสนาพุทธ และลัทธิหินยานลัทธิลังกาวงค์ ศาสนาพราหมณ์ของขอม ศาสนาค ริสเตียน กรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1893 อาณาจักที่มีพระเจ้าอู่ ทอง เชื้อวงศ์เชียงราย ได้สร้างขึ้นใหม่ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากมาย จึงได้รับอิทธิพลจำนวน มาก ศิลปะที่สำคัญ 1. จิตกรรม- อิทธพลจากจีนและยุโรบ ได้รับการติดต่อทางการค้าขาย ศิลปะภาพเขีนยหนักไปทาง ประดิษฐ์ ใช้ทองปิดเป็นบางแห่ง 2. ประติมากรรม 2.1 พระพทธรูปแบบอู่ทอง ได้สร้างขึ้นแพร่หลายมาก มีพระพักตร์ยาว ทำด้วยหินทรายหล่อ สัมฤทธิ์ 2.2 งานปั้นสลัก -ภาพสลักวัดพระสรีสรรเพชญ์ ภาพสลักบานประตูวัดหันตรา 3. สถาปัตยกรรม แบ่งตามอิทธิพลคือ 3.1 อิทธิพลทวาราวดี งานสถาปัตยกรรมเห็นไม่ชัด แต่ปรากฏในงานสลักไม้ 3.2 อิทธิพลลพบุรี ได้แก่ปรางค์ที่วัดราชบูรณะ อยุธยา 3.3 อิทธิพลเชียงแสน ได้แก่ สถูปทรงสี่เหลี่ยมวัดไชยวัฒนา 3.4 อิทธิพลลังกา ได้แก่สถูปพระศรีสุริโยทัย 3.5 อิทธิพลตะวันตก ได้แก่ พระที่นั่งเย็น (สร้างริมบึงพระราม) ลพบุรี