SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  109
Télécharger pour lire hors ligne
คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
(High Alert Drugs : HAD)
จัดทาโดย คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบาบัด
โรงพยาบาลศิริราช
พิมพ์ครั้งที่ 3
พฤษภาคม 2557
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 1
สารบัญ
เรื่อง หน้า
นิยามศัพท์ที่ใช้ในคู่มือนี้ 2
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง 3
Alteplase 8
Adrenaline 20
Calcium injection 24
Digoxin 28
Dobutamine 32
Dopamine 38
Heparin (Unfractionated) 43
Heparin, Low Molecular Weight (Innohep/Tinzaparin) 49
Heparin, Low Molecular Weight (Clexane/Enoxaparin) 52
Heparin, Low Molecular Weight (Arixtra/Fondaparinux) 55
Insulin 61
K+
(Potassium) Injection 69
Magnesium Sulphate injection 72
Morphine 76
Nicardipine 83
Nitroglycerine 87
Norepinephrine 90
Warfarin 94
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 2
นิยามศัพท์ที่ใช้ในคู่มือนี้
Onset หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ให้ยาเข้าไปในร่างกายจนถึงเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์
Peak หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ให้ยาเข้าไปในร่างกายจนถึงเวลาที่มีระดับยาสูงสุดอยู่ในร่างกาย
หลังจาก Peak แล้วยาในร่างกายจะลดลงตามลําดับ
Duration หมายถึง ระยะเวลาที่ยายังคงมีฤทธิ์อยู่
แหล่งข้อมูลที่ใช้นอกเหนือจากเอกสารวิชาการ
การจัดทําคู่มือนี้เป็นการปรับปรุงจากคู่มือฉบับปี พ.ศ. 2550 โดยได้เพิ่มเติมเนื้อหาและมี
ข้อมูลเพิ่มจากการดําเนินงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีแหล่งที่มาดังนี้
1. ที่มาของตารางขนาดยา
คํานวณโดยเภสัชกรจากฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
2. ที่มาของ High Alert Drug Cards
ที่ประชุมคณะทํางานสหสาขาวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ซึ่งประสานงานโดยงาน
จัดการความรู้ และงานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3. ที่มาของ Guidelines การใช้ Heparin และ Low Molecular Weight Heparin
ที่ประชุมคณะทํางานสหสาขาวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เพื่อพัฒนา
Concurrent Trigger Tool ซึ่งประสานงานโดยงานจัดการความรู้ และงานพัฒนาคุณภาพ คณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
4. เอกสารอ้างอิงของยาแต่ละชนิดได้ใส่ไว้ท้ายบทของยานั้น
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 3
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง
1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในการรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชมีความปลอดภัย
2. ขอบข่าย
การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดซื้อ การเก็บรักษา การสั่งใช้ การระบุ
ฉลาก การจ่ายยา การบริหารยา การติดตามผลการใช้ยา และการทําลายยา โดยเน้นดําเนินการเป็น
ทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3. ความรับผิดชอบ
3.1 คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้รับผิดชอบในการ
พิจารณาและกําหนดหลักเกณฑ์การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดการใช้ยา
อย่างปลอดภัย
3.2 แพทย์และบุคลากรของภาควิชาต่างๆเป็นผู้รับผิดชอบการสั่งใช้ตลอดจนการบริหารยาและ
การเฝ้ าระวังผลการใช้ยาต่อผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นผู้บริหารยา และการติดตามผลของการใช้ยาที่มี
ความเสี่ยงสูงที่มีใช้ในภาควิชาของตน
3.3 ฝ่ายเภสัชกรรมเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการในส่วนของการจัดซื้อ การเก็บรักษาใน
คลังยาและห้องจ่ายยา การระบุฉลาก การจ่ายยา การจัดส่งและการให้ข้อมูลยาที่มีความเสี่ยง
สูง
3.4 ฝ่ายการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบการเก็บรักษายาที่มีความเสี่ยงสูงในหอผู้ป่วย การให้ยา
และการเฝ้ าระวังผลการใช้ต่อผู้ป่วยและรายงานแพทย์เจ้าของไข้
3.5 ทีมนําทางคลินิก เป็นผู้รับผิดชอบติดตามประเมินผลของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วย
ของตน
3.6ผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีหน้าที่ในการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นตามระบบรายงานของ
โรงพยาบาล
4. คําจํากัดความ
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs) คือ กลุ่มยาที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
เพราะมีดัชนีการรักษาแคบหรือมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่ออวัยวะสําคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต ฯลฯ
รายการยาที่ประกาศเป็น High Alert Drugs ในร.พ.ศิริราช ซึ่งรวบรวมจากเอกสารอ้างอิงและ
รายงานอุบัติการณ์ด้านยาที่ผ่านมา ได้แก่
1. Adrenergic agonist ได้แก่ Adrenaline, Dopamine, Dobutamine, Norepinephrine
2. กลุ่มยาโรคหัวใจกรณีวิกฤติ ได้แก่ Alteplase injection, Nicardepine injection,
Nitroglycerine injection
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 4
3. Calcium IV ได้แก่ Calcium gluconate injection Calcium chloride injection
4. Digoxin (Lanoxin®
)
5. Heparin (unfractionated) และ low molecular weight heparin (LMWH) ได้แก่
Enoxaparin, Fondaparinux และ Tinzaparin
6. Insulin
7. Magnesium IV ได้แก่ 50% MgSO4 injection, 20% MgSO4 injection
8. Morphine
9. Potassium injection ได้แก่ KCl injection, K2HPO4 injection
10. Warfarin tablet
11. ยาเคมีบําบัดที่เป็นพิษต่อเซลทุกชนิด
12. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
13. Chloral hydrate
14. Benzodiazepine injection
15. Neuromuscular blocking agents
16. Lidocaine IV injection
17. Nitroprusside injection
18. Hypertonic saline ได้แก่ 3% NaCl
โดยรายการยาลําดับที่ 1-10 เป็นรายการยาที่ทุกหน่วยงานต้องติดตามผลการใช้ยาตามคู่มือที่
กําหนด ส่วนรายการยาลําดับที่ 11-18 เป็นรายการที่หน่วยงานเฝ้ าระวังตามความจําเป็นของ
หน่วยงาน
5. เอกสารอ้างอิง
Cohen MR, Kilo CM. High-alert medication: safeguarding against errors. In Cohen
MR,ed. Medication Errors. WashingtonDC: American Pharmaceutical Association, 1999,
5.1-5.40.
Patient Safety Alert : ‘High-alert’ medications and patient safety ; International Journal
for Quality in Health Care 2001 ,Volume 13, No.4 :pp 339-340.
Hayes ER., Kee JL. Pharmacology Pocket Companion for nurses. Pensylvania: W.B.
Saunders Company,1996.
6. รายละเอียด
6.1 การรับยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล
6.1.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงจะนําเข้าตามความจําเป็นโดยต้องผ่านการพิจารณาจาก
อนุกรรมการพิจารณายาแต่ละกลุ่มและกําหนดมาตรการในการป้ องกันอันตรายอย่าง
เหมาะสม
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 5
6.1.2 ยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ถูกส่งมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลศิริราชต้องตรวจรับโดยเภสัชกรที่
ได้รับมอบหมาย
6.2 การเก็บรักษา
6.2.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงทุกชนิดต้องเก็บรักษาโดยแยกจากยาอื่นๆหรือป้ องกันการเข้าถึง
ได้โดยง่าย (ยกเว้นยาของผู้ป่วยเฉพาะราย)
6.2.2 ต้องมีสัญลักษณ์สีชมพูสดเตือนบุคลากรว่าเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจจะเป็น
สติ๊กเกอร์รูปกลมหรือใช้สีสะท้อนแสงสีชมพูขีดที่ชื่อยา โดยฝ่ายเภสัชกรรมเป็นผู้ดําเนินการ
ติดที่ฉลากยาหรือหลอดยาในยา 13 กลุ่มแรก กลุ่มที่เหลือหน่วยงานสามารถดําเนินการได้
ตามความจําเป็นของหน่วยงาน การติดสติ๊กเกอร์ใน MAR ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ
ฝ่ายการพยาบาล
6.2.3 ยาที่มีความเสี่ยงสูงกลุ่มยาเสพติดให้โทษคือ มอร์ฟีน ต้องจํากัดการเข้าถึงโดยต้องใส่
ในตู้หรือลิ้นชักที่ล็อกเสมอ โดยมีผู้ควบคุมการนําออกใช้และมีการตรวจสอบจํานวนยา
อย่างสมํ่าเสมอ
6.3 การสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
6.3.1 ไม่สั่งยาที่มีความเสี่ยงสูงด้วยวาจาถ้าไม่ใช่กรณีเร่งด่วนและหากจําเป็นต้องสั่งด้วย
วาจา ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
6.3.2 ไม่ใช้คําย่อในการสั่งยาที่นอกเหนือจากระเบียบการสั่งจ่ายยาของโรงพยาบาลศิริราช
6.3.3 แพทย์ระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องก่อนการเขียนสั่งยา
6.3.4 แพทย์พิจารณาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือค่าพารามิเตอร์ที่สําคัญก่อนสั่งยาที่
มีความเสี่ยงสูงให้แก่ผู้ป่วย
6.3.5 แพทย์คํานวณขนาดยาซํ้า กรณีต้องมีการคํานวณตามนํ้าหนักหรือพื้นที่ผิวเมื่อสั่งยา
ที่มีความเสี่ยงสูงและสั่งโดยระบุขนาดยาต่อหน่วยนํ้าหนัก หรือพื้นที่ผิวด้วย
6.3.6 แพทย์พิจารณาข้อห้ามใช้และปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีความเสี่ยงสูงกับยาอื่นๆที่ผู้ป่วย
ใช้อยู่ก่อนการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
6.3.7 ถ้ามีแบบฟอร์มสําเร็จรูป ให้แพทย์ใช้แบบฟอร์มสําเร็จรูปในการสั่งยาที่มีความเสี่ยง
สูง
6.3.8 ถ้ามีการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงนอกเหนือจากแบบแผน (protocol) ที่กําหนดไว้โดย
ทีมนําทางคลินิกของภาควิชา ให้แพทย์เขียนหมายเหตุความจําเป็นไว้เป็นหลักฐานในคําสั่ง
การรักษาและใบสั่งยา
6.4 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
6.4.1 เมื่อได้รับใบสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง เภสัชกรต้องตรวจสอบซํ้าชื่อนามสกุล
ผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยา ปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) และผู้ป่วยต้องไม่
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 6
เป็นผู้ที่มีข้อห้ามใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงนั้นๆ (contraindication) ในผู้ป่วยเด็ก
เภสัชกรต้องคํานวณขนาดยาซํ้า กรณีที่พบปัญหาเภสัชกรต้องติดต่อแพทย์ผู้สั่ง
ยาทันที
6.4.2 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง ให้กระทําโดยมีการตรวจสอบซํ้าจากบุคคลอีกคน
หนึ่งเสมอเพื่อความถูกต้องของชื่อนามสกุลผู้ป่วย และความถูกต้องของยาที่จะ
จ่าย
6.4.3 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีเครื่องหมาย **** ที่ชื่อยา ต้องติดฉลากช่วย ข้อ
ควรระวังไว้ที่ซองยาหรือขวดยาหรือมีเอกสารแนะนําผู้ป่วยประกอบการส่งมอบ
ยาทุกครั้ง
6.4.4 สําหรับผู้ป่วยนอก เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ ส่งมอบให้ความรู้ในการใช้ยาและ
การเฝ้ าระวังผลข้างเคียงของยาที่มีความเสี่ยงสูงให้ผู้ป่วยทราบ
6.5 การบริหารยา
6.5.1 เมื่อต้องให้ยา แพทย์หรือพยาบาลผู้ให้ยาต้องตรวจสอบชื่อนามสกุลผู้ป่วย ชื่อ
ยา ขนาดยาให้ถูกต้องซํ้าก่อนให้ยาผู้ป่วย (ตรวจสอบทุกขั้นตอนรวมทั้ง
คํานวณขนาดยาซํ้า
6.5.2 การเตรียมยาให้ปฏิบัติตามที่ระบุในคู่มือของยาแต่ละชนิด
6.5.3 พยาบาลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ตรวจสอบซํ้าก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
6.6 การเฝ้ าระวังผลการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
6.6.1 พยาบาลเฝ้ าระวังอาการผู้ป่วยตามคู่มือ ติดตามและลงบันทึกผลการใช้ยา
หรือความเปลี่ยนแปลงหลังการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงไว้ในแฟ้ มผู้ป่วยหรือเวช
ระเบียน
6.6.2 พยาบาลแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ทันทีเมื่อพบความผิดปกติหรือความผิดพลาด
จากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
6.6.3 แพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการส่งตรวจ สืบค้นเพื่อติดตามผลการใช้ยาที่มีความ
เสี่ยงสูงตามคู่มือที่ได้กําหนดไว้
6.6.4 เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง หรือเกิดความผิดพลาดที่ถึงตัวผู้ป่วยจาก
การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้พบเหตุการณ์ต้องรายงานอุบัติการณ์ทันที
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 7
6.7 การทําลายยาที่เหลือหรือยาหมดอายุ
6.7.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงที่เหลือจากหอผู้ป่วยหรือหมดอายุแล้ว ให้ส่งคืนฝ่ายเภสัช
กรรมเพื่อทําลายต่อไป
6.7.2 ฝ่ายเภสัชกรรมจําแนกยาที่ต้องการทําลายเป็นหมวดหมู่และส่งทําลายตาม
กระบวนการที่คณะกรรมการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมี
กําหนด
6.7.3 ยาเสพติดที่เปิดใช้แล้วมียาเหลือ ให้พยาบาลทําลายทิ้งโดยมีพยานรู้เห็นและ
จดบันทึกชื่อยา จํานวนและลงนามไว้ทั้งสองคนเพื่อเป็นหลักฐาน
6.8 การประกันคุณภาพ
6.8.1 ต้องมีการสุ่มตรวจสอบการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงทุก 6 เดือน เพื่อให้
มั่นใจว่าการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงถูกต้องตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ
และนโยบายของโรงพยาบาลศิริราช
6.8.2 เมื่อเกิดอุบัติการณ์ผิดพลาดถึงผู้ป่วยต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุราก (Root
Cause Analysis/ RCA) ร่วมกันในทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการแก้ไขเชิงระบบ
และวางแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมขึ้นเพื่อป้ องกันอุบัติการณ์ซํ้าโดยส่งรายงานผล
การวิเคราะห์และปรับปรุงถึงประธานคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด
โรงพยาบาลศิริราช หรือ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศิริราช ภายในระยะเวลา 1
เดือน
7. ภาคผนวก
ดูคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลศิริราช
คู่มือ
คณะ
รูปแ
Altep
Altep
50 m
การ
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
แบบยา
1. A
2. A
ชื่อยา
plase inj. 2 m
plase inj.
mg
ขั้นตอน
สั่งยา4-8
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
คู่มื
Alteplase inj 2
Alteplase inj 5
ตารา
mg
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
มือปฏิบัติงาน
โรง
Acti
2 mg
50 mg
งแสดงเภสัช
ภาพยา
Screening
 ข้อบ่งใ
myoc
cathe
 ระวังก
lisinop
ต้น เนื่
หยุดย
epine
 ระวังก
ทําลาย
ถ้าจําเ
อาการ
 ระวังใน
รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
นเกี่ยวกับยาที
งพยาบาลศิริร
ilyse®
(altepl
ชจลนศาสตร์ข
g
ใช้คือ acute is
ardial infarct
eter occlusion
การใช้ยาร่วมกั
pril, quinapri
นองจากเพิ่มโอ
าและรักษาโด
ephrine)
การใช้ยานี้ร่วม
ยมากขึ้นมีผลใ
เป็นอาจใช้ขนา
รได้
ในผู้ป่วยที่มีคว
ริราช (ปรับปรุง
ที่มีความเสี่ยง
ราช
ase)
ของยา altep
onset
IV: corona
thromboly
30 นาที
IV: corona
thromboly
30 นาที
แนวทางปฏิบ
schemic cer
tion, pulmona
n
กับ ACEIs เช่น
l, perindopril
กาสที่จะเกิด
ดยให้ยา antih
มกับ nitroglyc
ให้ระดับยาลด
าดยา nitrogly
วามไวเกินปกติ
งครั้งที่ 2 พฤษภ
งสูง
lase1-3
ary
sis
ที
IV
ary
sis
ที
IV
บัติ
ebrovascula
ary embolism
น enalapril, c
, imidapril แ
orolingual an
istamines, st
erin เนื่องจาก
ดลงอาจจะเกิด
ycerin ตํ่าที่สุด
ติกับยานี้หรือส
ภาคม 2557)
peak
V: 60นาที
V: 60นาที
r accident, a
m และ venous
captopril,
และ ramipril
ngioedema (
teroids หรือ
ก alteplase จ
ด reocclusion
ดที่สามารถคว
ส่วนประกอบอื่
P
duratio
ไม่มีข้อมู
ไม่มีข้อมู
acute
s
เป็น
ควร
ะถูก
n ได้
วบคุม
อนๆ
age 8
n
มูล
มูล
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 9
ในผลิตภัณฑ์เช่น gentamycin
 ข้อห้ามใช้
1.ข้อห้ามใช้ยานี้สําหรับทุกข้อบ่งใช้ ไม่ควรใช้ยานี้เมื่อผู้ป่วยมี
ความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการเลือดออก ได้แก่
1.1 ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือมีภาวะเลือดออก
ผิดปกติ เป็นภายใน 6 เดือนก่อน หรือมีโรคที่ทําให้เลือดออกง่าย
ผิดปกติ
1.2 ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่มี
ประสิทธิภาพ เช่น warfarin (INR >1.3)
1.3 มีประวัติการเจ็บป่วยในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การผ่า
สมองหรือไขสันหลังเนื้องอก หลอดเลือดโป่งพอง(aneurysm)
1.4 มีประวัติหรือมีหลักฐานหรือสงสัยว่าอาจมีเลือดออกในสมอง
หรือเยื่อหุ้มสมอง รวมทั้งเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง (sub-
arachnoid)
1.5 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้
1.6 การผ่าตัดใหญ่หรือการบาดเจ็บที่รุนแรงในช่วง 10 วันที่ผ่าน
มา (รวมถึงการบาดเจ็บใดๆ ที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อเฉียบพลันที่
เป็นอยู่) การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกะโหลก
1.7 มีประวัติการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการนวดหัวใจ
(cardiopulmonary resuscitation) หรือการนวดหัวใจเป็น
เวลานาน (มากกว่า 2 นาที ) และการคลอดบุตรในช่วงไม่เกิน 10
วันที่ผ่านมา การเจาะเลือดในตําแหน่งที่ไม่สามารถกดหลอดเลือด
เหล่านี้เพื่อให้เลือดหยุดได้ (เช่น เจาะที่ subclavianหรือ jugular
vein)
1.8 โรคตับชนิดรุนแรง รวมถึงภาวะตับล้มเหลว ตับแข็ง ความดัน
เลือดในตับสูง (ทําให้เส้นเลือดหลอดอาหารโป่ง) และตับอักเสบ
1.9 bacterial endocarditis หรือ pericarditis
1.10 ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
1.11 มีประวัติแผลในกระเพาะอาหารหรือลําไส้ในช่วง 3 เดือนที่
ผ่านมา
1.12 มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดง หรือเส้นเลือดผิดปกติ
1.13 เนื้องอกที่เสี่ยงในการเกิดเลือดออกได้ง่าย
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 10
2.ในกรณีรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรค
ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด มีข้อห้ามใช้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
2.1 โรคหลอดเลือดในสมองแตก หรืออัมพาตจากโรคหลอดเลือด
ในสมองที่ไม่ทราบสาเหตุทุกช่วงเวลา
2.2 มีประวัติอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ
transient ischaemic attack (TIA) ในระยะเวลา 6 เดือนก่อน
ยกเว้นผู้ป่วยที่เพิ่งจะอัมพาตจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง
3.ในกรณีรักษารักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน
มีข้อห้ามใช้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
3.1 เริ่มมีอาการของการขาดเลือดในสมองมากกว่า 4.5 ชั่วโมง
ก่อนให้ยา หรือไม่ทราบเวลาเกิดอาการเริ่มต้น
3.2 อาการของการขาดเลือดในสมองเฉียบพลัน ดีขึ้นรวดเร็ว
หรือเป็นเล็กน้อยก่อนให้ยา
3.3 ได้รับการประเมินทางคลินิกและ/หรือ จากการตรวจด้วย
imaging technique ที่เหมาะสมและพบว่า
เกิดเส้นเลือดอุดตันที่รุนแรง (เช่น NIHSS > 25)
3.4 มีอาการชักเกร็ง ขณะเริ่มเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
3.5 มีประวัติโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) มาก่อน หรือมีการ
บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะภายในช่วง 3 เดือน
3.6 มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคเบาหวาน
3.7 ได้รับ heparin ภายในช่วง 48 ชั่วโมง ก่อนเริ่มมีโรคหลอด
เลือดสมองอุดตัน และมีค่า aPTT สูงขึ้น
3.8 มีปริมาณเกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm3
3.9 ความดันโลหิตขณะหลอดเลือดบีบตัว (systolic) >
185mmHg หรือความดันโลหิตขณะหลอดเลือดคลายตัว(
diastolic) > 110mmHg หรือจําเป็นต้องให้การรักษาโดยให้ยาฉีด
เข้าหลอดเลือดเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์นี้
3.10 นํ้าตาลในเลือด < 50 หรือ > 400mg/dL
4. alteplase ไม่มีข้อบ่งใช้สําหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
อุดตันเฉียบพลันในเด็ก และผู้ที่มีอายุตํ่ากว่า 18 ปี
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 11
 คําเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
1.ในกรณีการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลิ่มเลือด
อุดตันในปอดเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน
เฉียบพลัน
1.1 การใช้ alteplase เพื่อละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือด
ควรใช้โดยแพทย์ผู้ชํานาญและมีประสบการณ์มาก่อน และต้อง
เตรียมเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ ให้พร้อมเช่นเดียวกับยา
ละลายลิ่มเลือดอื่นๆ แนะนําว่าการใช้ยา alteplase ต้องมี
เครื่องมือและยาที่ใช้ในการกู้ชีวิต (resuscitation)
เตรียมพร้อมอยู่เสมอในทุกกรณี
1.2 ไม่ควรใช้ alteplase ในขนาดเกิน 100 mg ในกรณีกล้ามเนื้อ
หัวใจตายเฉียบพลัน และกรณีที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอดและไม่
เกิน 90 mg ในกรณีหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน เนื่องจาก
พบว่า alteplase ที่ใช้ในขนาดสูงกว่าที่กล่าว
มีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในกระโหลกศีรษะ
เพิ่มขึ้น
1.3 ควรจะมีการพิจารณาผลดีที่จะได้รับกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
จากการรักษาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย
ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการฉีดยาเข้ากล้าม มีบาดแผลเล็กน้อย
หรือเพิ่งผ่านการผ่าตัดขนาดเล็ก เช่น การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
(biopsies) การเจาะเลือดจากหลอดเลือดใหญ่ๆ การนวดหัวใจ
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
- ภาวะใดๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกที่ไม่ได้
ระบุไว้ในข้อห้ามใช้ยา
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ชนิดรับประทาน อาจพิจารณาให้ alteplaseได้ก็ต่อเมื่อได้ทําการ
ทดสอบฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดที่เหมาะสมแล้ว พบว่าไม่
แสดงถึงฤทธิ์ที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก
2. สําหรับการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและลิ่ม
เลือดอุดตันในปอดเฉียบพลัน มีข้อควรระวังเป็นพิเศษเพิ่มเติม
ดังนี้:
2.1 ความดันโลหิต (systolic) > 160mmHg
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 12
2.2 อายุมากซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง
(intracerebral haemorrhage) เพิ่มขึ้น แต่การ
รักษาด้วย alteplase อาจได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ จึง
ควรประเมินผลได้ผลเสียให้รอบคอบ
3. สําหรับการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีข้อควร
ระวังเป็นพิเศษ เพิ่มเติม ดังนี้:
3.1 หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias)
การละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดหัวใจ (coronary) อาจ
ทําให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีเลือด
กลับไปเลี้ยงที่หัวใจ (reperfusion)
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการที่มีเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ
(reperfusion arrhythmias) อาจเป็นสาเหตุที่ทําให้หัวใจหยุดเต้น
จนเป็นอันตรายถึงชีวิต และอาจต้องให้การรักษาอาการเต้นของ
หัวใจผิดปกติ (conventional antiarrhythmic therapies)
3.2 Glyco-Protein II b / III a antagonists
การใช้ยาต้านการทํางานของ GPIIb / IIIa ร่วมด้วย จะเพิ่มความ
เสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติ
3.3 ลิ่มเลือดอุดตัน (thrombo-embolism)
การใช้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดลิ่ม
เลือดอุดตัน ในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดที่หัวใจห้องซ้าย เช่น ในกรณี
mitral stenosis หรือ artrial fibrillation
4. สําหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันอย่าง
เฉียบพลัน มีข้อควรระวังเป็นพิเศษเพิ่มเติมดังนี้:
4.1 การรักษาต้องกระทําภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์ที่
ได้รับการฝึกฝนและมีความชํานาญทางด้านระบบประสาทเป็น
อย่างดี
4.2 การรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันอย่างเฉียบพลันจะมี
อัตราเสี่ยงของการมีเลือดออกในกะโหลกเพิ่มขึ้นมาก จากการที่มี
เลือดออกในบริเวณที่เนื้อสมองตาย โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้
- ทุกสถานการณ์ตามที่กล่าวในหัวข้อ “ข้อห้ามใช้” และ
สถานการณ์อื่นๆ โดยทั่วไปที่มีส่วนสัมพันธ์กับการมี เลือดออกใน
อัตราเสี่ยงสูง
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 13
- หลอดเลือดในสมองโป่งพองเล็กน้อยและไม่มีอาการ
- การเริ่มให้การรักษาช้าหลังจากเกิดอาการ (late time-to-
treatment onset)
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย acetylsalicylic acid (ASA) มา
ก่อนอาจมีอัตราเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในสมอง (intracerebral
haemorrhage) มากขึ้น โดยเฉพาะถ้าให้การรักษาด้วย
alteplase ช้าออกไป และควรให้ alteplase ได้ไม่เกิน 0.9mg/kg
(สูงสุดไม่เกิน 90 mg)
- ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปีอาจมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกใน
สมองเพิ่มขึ้น และได้รับประโยชน์จากการรักษาลดลงเมื่อเทียบกับ
ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า
4.3 ควรเริ่มการรักษาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ
เนื่องจากสัดส่วนระหว่างผลดีและผลเสียที่ไม่น่าพอใจจะขึ้นกับ
- ผลการรักษาลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนานมากขึ้น
- อัตราตายในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ASA มาก่อนเพิ่มขึ้น
- อัตราเสี่ยงของการมีเลือดออกและเกิดอาการเพิ่มขึ้น
4.4 ต้องมีการตรวจวัดความดันโลหิตระหว่างให้ยาจนถึง 24
ชั่วโมง และกรณีที่ความดันโลหิต systolic>180mmHg หรือ
ความดันโลหิต diastolic > 105mmHg แนะนําให้ใช้ยาลดความ
ดันโลหิต
4.5 ผลการรักษาจะลดลงในผู้ป่วยที่เคยมีโรคหลอดเลือดสมองอุด
ตัน (stroke) หรือมีโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ร่วมด้วยทําให้
สัดส่วนระหว่างผลดีและผลเสียลดลง แม้จะยังให้ผลการรักษาที่
เป็นบวกอยู่ก็ตาม
4.6 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันเพียงเล็กน้อย (mild stroke)
ไม่ควรรักษาด้วย alteplase เพราะอัตราเสี่ยงจะไม่คุ้มกับ
ประโยชน์จากการรักษา
4.7 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันอย่างรุนแรง (severe
stroke) ไม่ควรรักษาด้วย alteplase เพราะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะ
เกิดเลือดออกในสมอง (intracerebral haemorrhage) และ
เสียชีวิต
4.8 ผู้ป่วยที่มีเนื้อสมองตายบริเวณกว้าง ควรพิจารณาถึงผลดี
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 14
ผลเสียอย่างรอบคอบเมื่อจะรักษาด้วย alteplase เพราะ
ผลการรักษาอาจไม่ดีพอ โดยมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดเลือดออก
และเสียชีวิตได้
4.9 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอายุมาก มีความ
รุนแรงมากและมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขณะรับตัวเข้ารักษา จะ
ได้ประโยชน์จากผลการรักษาน้อยลง ในขณะที่โอกาสเกิดความ
พิการที่รุนแรงและเสียชีวิตหรือมีเลือดออกในกะโหลก
(intracranial bleeding) เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับการรักษา ดังนั้นไม่
ควรใช้ alteplase ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดรุนแรง
(ซึ่งประเมินโดยทางคลินิกและ/หรือ โดย imaging techniques ที่
เหมาะสม) และผู้ป่วยที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดก่อนการรักษา
< 50mg/dL หรือ > 400mg/dL
4.10 เมื่อมีเลือดกลับไปเลี้ยงสมองบริเวณที่ขาดเลือด อาจทําให้
เนื้อสมองส่วนที่ตายเกิดการบวมนํ้าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรให้ยายับยั้ง
การเกาะตัวของเกล็ดเลือดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการให้
alteplase เพื่อละลายลิ่มเลือด เพราะจะทําให้อัตราเสี่ยงของการ
มีเลือดออกเพิ่มขึ้น
การเขียนสั่งยา
 Double check ชื่อผู้ป่วย ข้อบ่งใช้และขนาดยา
ขนาดยาในผู้ใหญ่
1. Acute myocardial infarction
ควรเริ่มทันทีซึ่งมี 2 วิธีดังนี้
1.1 90-Minute (Accelerated Infusion)
- ในผู้ป่วยนํ้าหนักน้อยกว่า 67 กิโลกรัม
เริ่มต้น 15 mg IV bolus ภายใน 1 – 2 นาทีตามด้วย IV infuse ขนาด 0.75
mg/kg (ไม่ควรเกิน 50 mg)ในเวลามากกว่า 30 นาทีและ IV infuse ขนาด
0.5 mg/kg (ไม่ควรเกิน 35 mg) ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง (ขนาดยารวม
สูงสุดไม่เกิน 100 mg)
- ในผู้ป่วยนํ้าหนักมากกว่า 67 กิโลกรัม (ขนาดยารวม 100 mg ภายใน 1.5
ชั่วโมง)
เริ่มต้น 15 mg IV bolus ภายใน 1 – 2 นาทีตามด้วย 50 mg ในเวลา
มากกว่า 30 นาที จากนั้นให้ยา 35 mg ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 15
1.2 Three Hour Infusion
- ในผู้ป่วยซึ่งสามารถเริ่มให้การรักษาได้ในช่วงระหว่าง 6-12 ชั่วโมง
หลังจากเริ่มมีอาการ
ยาขนาด 10 mg IV bolusแล้วตามด้วย
ยาขนาด 50 mg IV infuse ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง
แล้วตามด้วย IV infuse 10mg ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30นาที จนได้
ขนาดยาที่ต้องการ (สูงสุด 100 mg) ภายใน 3 ชั่วโมง
- ในผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวน้อยกว่า 65 กิโลกรัมขนาดยารวมทั้งหมดไม่ควร
เกิน 1.5 mg/kg
ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา
ปัจจุบัน แนวทางการรักษาระดับนานาชาติ ได้แนะนําให้ใช้
antithrombotic therapy ร่วมด้วย ในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อ
หัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-elevation
2. Acute ischemic stroke
ในผู้ป่วยผู้ใหญ่: หลังจากเกิด acute ischemic stroke ควรเริ่ม alteplase
3 ชั่วโมงแรกตั้งแต่เริ่มมีอาการขนาดยา 0.9 mg/kg (maximum 90 mg)
10% ของขนาดยาทั้งหมดจะให้แบบ IV bolus ตามด้วย 90 % ที่เหลือให้
แบบ continuous infusion มากกว่า 60 นาที
ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากให้การรักษาด้วย ไม่ควรให้ยา
acetylsalicylic acid และ heparin เพราะการศึกษาถึงความปลอดภัยและ
ประสิทธิผลของวิธีการให้ยาเหล่านี้ร่วมกันใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่ม
เกิดภาวะอุดตันยังมีไม่เพียงพอ หากมีความจําเป็นต้องให้ heparin
เนื่องจากข้อบ่งใช้อื่น (เช่น ป้ องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน) ขนาดของ
heparin เมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังไม่ควรมากกว่า 10,000 IU ต่อวัน
3. Pulmonary embolism
- ขนาดของยาที่แนะนําให้ใช้คือ 100 mg โดยให้ยาหมดในเวลา 2 ชั่วโมง
จากการศึกษาที่ผ่านมาแนะนําให้ใช้ยาในขนาดดังนี้คือ
ยาขนาด 10 mg IV bolus มากกว่า 1-2 นาที
ยาขนาด 90 mg IV infuse มากกว่า 2 ชั่วโมง
- สําหรับผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวตํ่ากว่า 65 กิโลกรัม ขนาดของยาทั้งหมดที่ใช้
ไม่ควรเกิน 1.5 mg/kg
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 16
ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา alteplase ถ้าจะเริ่มให้ยา heparin ร่วมด้วย
จะต้องให้ heparin เมื่อค่า aPTT น้อยกว่า 2 เท่าของค่าปกติสูงสุด และ
ปรับขนาดยาให้เหมาะสม โดยกําหนดให้ค่า aPTT อยู่ระหว่าง 50-70
วินาที (1.5-2.5 เท่าของค่าปกติ)
ขนาดยาในเด็ก
ในผู้ป่วยเด็กยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผลในการใช้เพื่อ
รักษา acute myocardial infarction, pulmonary embolism และ
ischemic stroke สําหรับการใช้ใน systemic thromboses ในเด็กนั้น
Chest, 2008 ได้แนะนําให้ใช้ขนาดยา alteplase 0.1-0.6 mg/kg/hr นาน
6 ชั่วโมง ในกรณีที่ plasminogen deficiency ควรมีการเสริม
plasminogen ก่อนเริ่มการใช้ thrombolysis therapy
การจัดยา/ตรวจสอบยา4
 เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก
 ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
การให้ยาแก่ผู้ป่วย4-5
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ใช้ sterile water ในการผสม สามารถใช้ NSS ในการเจือจางไม่
ควรเจือจางด้วย SWI หรือสารละลายพวก dextrose
 ไม่ควรผสมยานี้ร่วมกับยาอื่นๆไม่ว่าจะขวดนํ้าเกลือเดียวกันหรือ
ให้ทางสายนํ้าเกลือเดียวกัน (ไม่ยกเว้นแม้แต่การให้ร่วมกับ
heparin)
 ห้ามเขย่ายาในการผสมแต่ให้หมุนเบาๆ หรือพลิกยาไปมาเบาๆ
 สารละลายที่ได้เมื่อผสมจะใสและปราศจากสีถึงสีเหลืองอ่อน
 ความเข้มข้นของยาที่ผสมได้อย่างน้อยที่สุด 0.2 mg/mL
 นํ้ายาที่เตรียมเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานไม่เกิน 24
ชั่วโมงหรือถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 ºC จะเก็บไว้ได้นาน
ไม่เกิน 8 ชั่วโมงเมื่อพิจารณาทางด้าน
จุลชีววิทยา นํ้ายาที่เตรียมเสร็จแล้วควรต้องใช้ทันที แต่ถ้าไม่ใช้
ทันทีผู้ใช้จะต้องคอยดูแลระยะเวลาในการเก็บและสภาพก่อนการ
ใช้ซึ่งปกติไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง
ที่ 2- 8 ºC
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 17
การตรวจติดตาม3,5-6
 monitor
■ acute ischemic stroke: neurological status
■ acute myocardial infarction: evidence ของ cardiac
reperfusion
■ catheter occlusion: ตรวจการทํางานของ catheter
■ pulmonary embolism: อาการควรดีขึ้น
monitor pulse, BP, hemodynamic และ respiratory status
■ acute ischemic stroke: วัดความดันโลหิตโดยเฉพาะระหว่าง
หรือหลังการให้ยา
■ vital sign และ ระวังการเกิด anaphylaxis
■ Adverse reaction ที่อาจจะเกิดขึ้นคือเลือดออกจากระบบ
ต่างๆในร่างกายเช่น ทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะจํ้าเลือด
เลือดออกไรฟันหรือ เลือดกําเดาไหล cholesterol embolization,
ปากบวม ลิ้นบวม และ reperfusion arrhythmia
■ signs and symptoms of bleeding, โดยเฉพาะ arterial
puncture sites :ซึ่งให้ตรวจ bleeding ทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมง
แรก หลังจากนั้นดูทุก 15 – 30 นาทีใน 8 ชั่วโมงต่อมา และ
หลังจากนั้นอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมงอาจเกิด internal bleeding ได้
ให้ดูอาการดังต่อไปนี้มีอาการทาง neurologic, ปวดท้องและมี
อาการอาเจียนสีนํ้าตาล หรือถ่ายดํา , ปัสสาวะมีเลือดปน, ปวด
ข้อ
■ Lab test: hematocrit, hemoglobin, platelet count,
fibrin/fibrin degradation product titer, fibrinogen
concentration, prothrombin time, thrombin time และ
activated partial thromboplastin
แนวทางแก้ไขเมื่อเกิดพิษ
- monitor vital signs, CBC, renal function และ
hepatic enzymes ในผู้ป่วยที่มีอาการ
- monitor urine และ stool สําหรับ occult blood.
- monitor hematocrit, hemoglobin, partial
thromboplastin time, prothrombin time/INR, platelet
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 18
count, และในผู้ป่วยที่มี serious bleeding
- Hemorrhage: ให้ fresh frozen plasma หรือ fresh
blood และ/หรือ cryoprecipitate, และ packed RBCs
สําหรับ active bleeding
- Hypotensive episode: IV 0.9% NaCl,ให้ blood
products ถ้า bleeding หรือให้ dopamine หรือ
norepinephrine
 ภาวะการมีเลือดออก (Bleeding)
เป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อใช้ alteplase และจะ
เพิ่มขึ้นเมื่อให้ร่วมกับ heparin เพราะไฟบรินจะถูกทําลายและทําให้
เกิดเลือดออกจากบริเวณที่ถูกเจาะมาไม่นานก่อนหน้านี้ได้ ดังนั้นการ
รักษาโดยวิธีละลายลิ่มเลือดที่อุดตันต้องคอยระมัดระวังบริเวณที่จะมี
เลือดออกได้ง่ายทั้งหมด (รวมถึงการสวนท่อ การทํา cutdown ที่
หลอดเลือดแดงและดําและบริเวณที่แทงเข็ม) เมื่อรักษาด้วย
alteplase ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายสวนชนิดแข็ง การฉีดยาเข้ากล้าม
และอื่นๆ ที่ไม่จําเป็น
ภาวะการมีเลือดออกที่อันตรายอาจเกิดได้ โดยเฉพาะภาวะเลือดออก
ในสมอง ซึ่งต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือดและ heparin ที่ให้ร่วมด้วย
โดยทันที และควรพิจารณาให้ protamine ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับ
heparin เข้าไปภายใน 4 ชั่วโมงก่อนเริ่มมีเลือดออกในผู้ป่วยบางรายที่
การรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลอาจจําเป็นต้องให้ผลิตภัณฑ์ของเลือด
(transfusion products) ด้วยความระมัดระวัง การให้
cryoprecipitate, fresh frozen plasma และเกล็ดเลือด (platelets)
ควรทําโดยมีการประเมินผล ทั้งทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ
ภายหลังการให้ทุกครั้ง ระดับเป้ าหมายของไฟบริโนเจนที่ต้องการ
ภายหลังการให้ cryoprecipitate คือ 1 g/L การใช้ยาต้านการละลาย
ไฟบริน (antifibrinolytic agents) ควรจะพิจารณาเป็นอีกทางเลือก
หนึ่ง
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 19
เอกสารอ้างอิง
1. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village,
Colorado (Vol. 159 expires [6/2014]).
2. ฝ่ายเภสัชกรรม, งานจัดซื้อและคลังเวชภัณฑ์, หน่วยบริหารจัดการข้อมูลยาและเวชภัณฑ์. Siriraj
Drug List 2013 [online]. Version 26. Feb 2014.
3. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th
ed. PA: F. A. Davis
Company; 2009. p. 1164-1168.
4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert
Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550.
5. Product information: Actilyse, Alteplase, BoehringerIngelheim, Thailand.
6. Smith KM, Riche DM, Henyan NN, editors. Clinical Drug Data. 11th
ed. NY:McGraw-Hill,
Medical; 2010. p. 731-732.
7. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade
name index. 22nd
ed. OH: Lexicomp; 2013-2014. p.86.
8. American Pharmacists Association.Pediatric and Neonatal Dosage Handbook. 19th
ed. OH:
Lexicomp; 2012-2013. p.91.
คู่มือ
คณะ
รูปแ
Adre
Adre
injec
1 mg
การ
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
แบบยา
enaline injectio
ชื่อยา
enaline
ction
g/mL (1 mL)
ขั้นต
สั่งยา
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
คู่มือป
on 1 mg/mL (
ภาพ
ตอน
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
ปฏิบัติงานเ
โรงพ
Adrena
(1 mL)
พยา
SC
IM
IV
Sc





รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
เกี่ยวกับยา
พยาบาลศิริ
aline (Epine
Onset1
C: 5-10 นาที
M: 6-12 นาที
V: rapid
creening
 ข้อบ่งใช้คือ
arrest) ใช้ห้
 ห้ามใช้ยาร่ว
(ยกเว้นติดต
 ระวังการใช้ร
(เช่น haloth
เต้นผิดจังหว
 ระวังการใช้ร
เช่น นิ้วมือ นิ
หลอดเลือดห
(vasoconst
 ระวังการใช้ใ
stage ล่าช้า
glaucoma)
ที่ shock (n
ริราช (ปรับปรุง
ที่มีความเสี
ริราช
ephrine)
P
SC: 20
IM: ไม่มี
IV: 20 น
แนวทา
แก้แพ้ยา หลอ
ามเลือด (coa
วมกับยา dihy
ตาม BP อย่างใ
ร่วมกับ halog
hane) เพราะจ
วะเมื่อได้รับยา
ร่วมกับยาชาเฉ
นิ้วเท้า ใบหู เพ
หดตัวอย่างรุน
triction and g
ในคนที่กําลังค
าได้, ผู้ป่วยโรค
) , ผู้ป่วยที่มี
on-anaphyla
งครั้งที่ 2 พฤษภ
สี่ยงสูง
eak1
นาที
มีข้อมูล
นาที
างปฏิบัติ
อดลมตีบ หัวใจ
agulation diso
droergotamin
ใกล้ชิด)2
enated hydr
ะทําให้หัวใจมี
ากลุ่ม sympat
ฉพาะที่ในบริเว
พราะจะเพิ่มคว
นแรงและเกิดเนื
gangrene)
คลอด เพราะอ
คต้อหินแบบมุม
organic brain
ctic)2
ภาคม 2557)
Duratio
SC: < 1- 4 ชั่
IM: < 1-4 ชั่วโ
IV: 20 - 30 น
ใจหยุดเต้น (ca
orders)2
ne และ linez
rocarbon ana
มีความไวต่อกา
thomimetic2
วณอวัยวะส่วน
วามเสี่ยงในกา
นื้อเยื่อตาย
อาจจะทําให้ se
มแคบ (close
n damage แล
Pa
on1
ัวโมง
โมง
นาที
ardiac
olid
aesthetic
ารเกิดการ
นปลาย
ารเกิด
econd
d-angle
ละผู้ป่วย
ge 20
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 21
การเขียนสั่งยา
 Double check ชื่อผู้ป่วย ข้อบ่งใช้และขนาดยา
 For Anaphylaxis;
o ผู้ใหญ่ IVinfusion เตรียมโดยใช้ยา 1 mg (1 mL of
1:1000(1 mg/mL)solution) เจือจางใน D5W 250
mL (ความเข้มข้นที่ได้ 4 mcg/mL) และหยดเข้า
หลอดเลือดในอัตราเร็ว1 mcg/min (15 mL/hr)
อัตราเร็วสูงสุดในการหยดยาคือ 10 mcg/min
สามารถเจือจางได้อีกวิธีคือใช้ยา1 mg (1 mL of
1:1000 solution ใน100 mL of NSS (10 mcg/mL))
และหยดเข้าหลอดเลือดในอัตราเร็ว5 -15 mcg/min
(30 -90 mL/hr) สามารถปรับอัตราเร็วในการหยด
ยาได้ตามอาการทางคลินิกและ/หรืออาการข้างเคียง
ที่เกิดขึ้น2
o ผู้ใหญ่ IM/SC 0.2-0.5 mg ทุก 5-10 นาที2
o เด็ก IV , IM และ SC 0.01 mg/kg maximum dose
0.3 mg ในกรณี IV infusion แนะนําให้หยดเข้าหลอด
เลือดในอัตราเร็ว10 mcg/min2
 For Cardiac arrest;2
ผู้ใหญ่ ให้ 1 mg IV ทุก 3- 5 นาที
เด็กเริ่มต้น 0.01 mg/kg (0.1 mL/kg of a 1:10,000 (0.1
mg/mL)solution) IV/Intraosseously ; ทุก3 to 5 minutes
maximum dose 1 mg
 For Post-cardiac arrest hypotension;2
ผู้ใหญ่ให้ 0.1 -0.5 mcg/kg/min IV
เด็ก 0.1 -1 mcg/kg/min IV/INTRAOSSEOUS ปรับอัตราเร็ว
ตามการตอบสนองทางคลินิก
การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก
 ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ขนาดยาที่มีในโรงพยาบาล คือ 1 mg/mL
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 22
การให้ยาแก่ผู้ป่วย  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ถ้าให้ IV infusion ควรใช้ Infusion pump
 สําหรับผู้ใหญ่ หยดสารละลาย สารละลาย 4 mcg/mL ที่
อัตราเร็ว 1 - 10 mcg/min หรือถ้าเป็นสารละลายความเข้มข้น
10 mcg/mL อัตราเร็วเริ่มต้นจะอยู่ที่ 5 - 15 mcg/min
(30 - 90 mL/hr)
 สารนํ้าที่ใช้ได้ D5W, NSS
 ความคงตัวหลังเจือจางยา 24 ชั่วโมงในตู้เย็น3
 ควรให้ทางเส้นเลือดใหญ่
 ไม่ควรใช้ถ้ายาตกตะกอน หรือเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีนํ้าตาล
อ่อน3,4
 ผลิตภัณฑ์บางบริษัทอาจไม่สามารถให้ทาง IV ได้
การตรวจติดตาม  ตรวจ Vital signs (BP, pulse rate) ทุก 3-5 นาที
 เมื่อพบอาการ tachycardia, palpitation, BP สูง แจ้งแพทย์
ทันทีเพราะอาจเกิด ventricular fibrillation, pulmonary
edema จากความดันสูงอาจถึงแก่ชีวิตได้
 บันทึก vital signs , BP ขณะให้ยา5
 BP ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 160/90 มม. ปรอท
 BP เด็กอายุเกิน 1 ปี ไม่ควรเกิน 120/80 มม.ปรอท
 BP เด็กอายุตํ่ากว่า 1 ปีไม่ควรเกิน 100/70 มม. ปรอท
 HR ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/ นาที
 HR เด็กอายุเกิน 1 ปี ไม่ควรเกิน 180 ครั้ง/ นาที
 HR เด็กอายุตํ่ากว่า 1 ปีไม่ควรเกิน 220 ครั้ง/ นาที
 หรือตามแพทย์สั่ง
 ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อระวังการเกิดยารั่วออกนอก
หลอดเลือด (extravasation) ซึ่งจะทําให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้
โดยอาการนําคือ ผิวหนังมีสีขาวซีด (blanching) หรือมีสีเทา
(graying) ผิวหนังเย็น2
คู่มือ
คณะ
เอก
1. D
Com
2. K
Colo
3. P
Thai
4. P
5. โร
Drug
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
สารอ้างอิง:
Deglin JH, Va
mpany; 2009.
Klasco RK (Ed
orado (Vol. 1
Product inform
iland.
Product inform
รงพยาบาลศิริ
gs. พิมพ์ครั้งท
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
allerand AH,
. p. 480-3.
d): DRUGDE
60 expires [6
mation: Adren
mation: Adren
ริราช คณะกรร
ที่ 2. กรุงเทพ
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
editors.Davis
EX® System.
6/2014]).
naline injectio
naline injectio
รมการควบคุม
ฯ: 25 กันยาย
รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
s’s drug guid
. Truven Hea
on, Adrenalin
on, Adrenalin
มและดูแลเรื่อง
ยน 2550. หน้
ริราช (ปรับปรุง
de for Nurses
alth Analytics
ne, Atlantic P
ne, GPO, Th
งยา. คู่มือปฏิบ
น้า 8.
งครั้งที่ 2 พฤษภ
s. 11th ed. PA
s, Greenwood
Pharmaceutic
ailand.
บัติงานสําหรับ
ภาคม 2557)
A: F. A. Dav
d Village,
cal Co., Ltd,
บยา High Ale
Pa
vis
ert
ge 23
คู่มือ
คณะ
รูปแ
Calc
gluco
Injec
Calc
Injec
การ
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
แบบยา
Calcium gluc
Calcium chlo
ชื่อยา
cium
onate
ction
cium Chloride
ction
ขั้นต
สั่งยา
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
คู่มือป
onate Injectio
ride injection
ภาพ
ตอน
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
ปฏิบัติงานเ
โรงพ
Calc
on
พยา
IV
IV
S




ก


รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
กี่ยวกับยา
พยาบาลศิริ
cium injec
onset
V ทันที1
V ทันที1
Screening
 ค่าปกติ s
 ถ้าผู้ป่วยไ
จนเกิดพิษ
เปรียบเทีย
intoxicati
 ห้ามใช้ร่ว
เป็น vent
 ควรหลีกเลี
การเขียนสั่งย
 กรณีใช้แก้
ให้ Ca2+
ท
emergen
 กรณีใช้แก้
ริราช (ปรับปรุง
าที่มีความเ
ริราช
ction
p
IVทันที1
IV ทันที
แนวท
erum calcium
ได้รับ digoxin
ษได้ จึงควรตรว
ยบภายหลัง ห ื
on
มกับ ceftriax
ricular fibrilla
ลี่ยงการใช้ร่วม
ยา
ก้ภาวะ K+
ในเ
ทาง IV push
cy case)
ก้ไขภาวะ Ca2
งครั้งที่ 2 พฤษภ
สี่ยงสูง
peak
ที1
ทางปฏิบัติ
m (Ca2+
) = 4
อยู่ Ca2+
อาจ
วจวัดระดับยา
หรือสังเกตอาก
one ในทารกแ
ation
มกับยากลุ่ม c
ลือดสูงจนเกิด
มากกว่า 5 น
+
ในเลือดตํ่าให
ภาคม 2557)
durati
IV 0.5 – 2ชั่วโ
IV 0.5 – 2 ชั่ว
.2 - 5.1 mEq/
เพิ่มฤทธิ์ของ d
า digoxin ไว้ก
การ digoxin
แรกเกิดและใน
cardiac glyco
ดภาวะหัวใจห
นาที (เฉพาะ
ห้ IV drip
Pa
ion
โมง1
วโมง1
/L
digoxin
ก่อนเพื่อ
นผู้ป่วยที่
oside
ยุดเต้น
ge 24
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 25
 Calcium gluconate และ Calcium chloride มีปริมาณ
Ca2+
ในหน่วย mEq ไม่เท่ากันจึงควรระวังในการคํานวณ
Calcium Chloride 10% (1.36 mEq/mL), Calcium
Gluconate 10% (0.45 mEq/mL)1
การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก
 ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
การให้ยาแก่ผู้ป่วย  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 สามารถเข้ากันได้กับ D5W, D10W และ LRS
 ห้ามผสมใน bicarbonate เพราะอาจตกตะกอน5
 ควรแยกเส้นการให้ Ca++
IV กับยาอื่นๆ เพราะอาจเกิดการ
ตกตะกอนเมื่อผสมกับยาอื่นๆได้ โดยเฉพาะ phosphate
 ควรให้ยาทาง IV ไม่ควรให้ IM หรือ SC เพราะจะทําให้เกิด
necrosis ได้
 Calcium gluconate rate ไม่ควรเกิน 200 mg/min เพราะ
อาจจะทําให้ขยายหลอดเลือดความดันตํ่าลง หัวใจเต้นช้าหัว
ใจเต้นผิดจังหวะหมดสติและหัวใจหยุดเต้น
 Calcium chloride อัตราเร็วในการให้ยา
 ไม่ควรเกิน 45-90 mg/Kg/hour (0.6-1.2 mEq/Kg/min)
หรือ ไม่ควรเกิน 100 mg/min
 กรณีแก้ไข Hyperkalemia อาจต้องให้ Calcium อย่างเร็ว
ควร monitor EKG ขณะฉีด IV pushช้าๆ
การตรวจติดตาม  Ca2+
ตํ่า จะชักกระตุก ปากเบี้ยว นิ้วชา กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
เลือดออกง่าย หัวใจบีบอ่อนลง
 Ca2+
สูง กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดบริเวณกระดูก
 ตรวจดู IV site บ่อยๆ ทุก 30 นาที เพราะถ้ามียารั่วซึม
ออกมา จะทําให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้
 Monitor EKG
- Hypocalcemia: ST segment ยาวและQT prolongation
bradycardia, ventricular arrhythmia หรือ heart block
- Hypercalcemia: ST segment หดสั้นลงและQT interval สั้นลง
คู่มือ
คณะ
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
ริราช (ปรับปรุงงครั้งที่ 2 พฤษภภาคม 2557)
Page 26
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 27
เอกสารอ้างอิง:
1. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th ed. PA: F. A. Davis
Company; 2009.p.256-9.
2. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village,
Colorado (Vol. 160 expires [6/2014]).
3. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade
name index. 22nd ed. OH: Lexicomp; 2013-2014.p.317-9.
4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert
Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550.หน้า 9-10.
5. Trissel LA. Handbook on injectable drugs. 15th ed. Bethesda (MD): American Society of
Health-System Pharmacists;2009.p.176-81.
6. ชัยรัตน์ ฉายากุล. Electrolyte Emergencies.ใน: ชัยรัตน์ ฉายากุล และทิพา ชาคร(บรรณาธิการ).
First hour in Emergency Room: The practical approach 2008. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. พี.
เอ.ลีฟวิ่ง, 2551.หน้า 148-53.
คู่มือ
คณะ
รูปแ
ชื่อย
Lan
mg t
Lan
0.06
Lan
0.05
(60 m
Lan
injec
mg/
การ
อปฏิบัติงานเกี่
ะกรรมการเภสัช
แบบยา
1. Lanoxin
2. Lanoxin
3. Lanoxin
4. Lanoxin
ยา
oxin®
0.25
tablet
oxin®
PG
625 mg table
oxin®
elixir
5mg/mL
mL)
oxin®
ction 0.25
mL (2 mL)
ขั้นตอน
สั่งยา
ยวกับยาที่มีค
ชกรรมและการ
คู่มือป
n®
0.25 mg ta
n®
PG 0.0625
n®
elixir 0.05
n®
injection 0
ภาพยา
et
น
ความเสี่ยงสูงโ
บําบัด โรงพยา
ปฏิบัติงานเ
โรงพ
Digo
ablet
5 mg tablet
mg/mL (60
0.25 mg/mL
Screenin
 ห้ามใ
 ระวัง
รงพยาบาลศิริ
าบาลศิริราช
กี่ยวกับยา
พยาบาลศิริ
oxin (Lano
mL)
(2 mL)
onse
0.5 - 2
ชั่วโมง
0.5 - 2
ชั่วโมง
0.5 - 2
ชั่วโมง
5-30 นา
g
ใช้ในผู้ป่วยที่
งการใช้ใน
ริราช (ปรับปรุง
าที่มีความเ
ริราช
oxin®
)
et
2 – 8
2 - 8
2- 8 ช
ที 1- 4
แนวทางป
ที่เป็น ventricu
งครั้งที่ 2 พฤษภ
สี่ยงสูง
peak
8 ชั่วโมง
ชั่วโมง
ชั่วโมง
ชั่วโมง
ปฏิบัติ
ular fibrillatio
ภาคม 2557)
dura
2-4 วัน1
2-4 วัน1
2-4 วัน1
2-4 วัน1
on
Pa
tion
ge 28
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 29
 ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควร
หลีกเลี่ยงการใช้
 ผู้ป่วยโรคไตรุนแรง(อาจต้องปรับขนาดยา)
 ผู้ป่วยที่มี electrolyte imbalance (hypokalemia, hypo-
หรือ hypercalcemia, hypomagnesemia (อาจต้องปรับ
ขนาดยา)
 ผู้ป่วยที่ใช้ Calcium โดยเฉพาะทาง parenteral
 ผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักลดลงมาก (อาจต้องปรับขนาดยา)
 การใช้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ erythromycin หรือ
clarithromycin อาจจะทําให้ระดับยาเพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากลดการทําลาย digoxin ของเชื้อในลําไส้
การเขียนสั่งยา
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ระบุขนาดยาและรูปแบบยาให้ชัดเจน
 ควรให้วันละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปีควรให้วัน
ละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง3
 แพทย์ควรสั่งการ monitor heart rate ด้วย
 IM: ผู้ใหญ่ควรให้ยาไม่เกิน 500 mcg ใน single injection site
เด็กควรให้ยาไม่เกิน 200 mcg ใน single injection site
 ขนาดยาขึ้นกับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยระดับยาในเลือดและ
ความเสี่ยงของการเกิดพิษจากยา
 ในเด็กเมื่อเปลี่ยนจาก oral หรือ IM ไปเป็น IV ควรลดขนาดยาลง 20
– 25%3
 ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 70 ปีที่มี impaired renal function, หรือมี
lean body mass ตํ่าควรใช้ขนาดยาตํ่าคือ 0.125 mg ทุกวันหรือวัน
เว้นวัน3
การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก
 ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ขนาด 0.25 mg สีขาว มีอักษร D025
 ขนาด 0.0625 mg สีฟ้ าเข้ม มีอักษร D06
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 30
การให้ยาแก่ผู้ป่วย  ดูระดับ K+
ก่อนให้ยา Digoxin ถ้า K+
ตํ่ากว่า 3.5 mEq/L ต้องแจ้ง
แพทย์เพื่อยืนยัน (ควรตรวจระดับ K+
สัปดาห์ละครั้ง กรณีเป็นผู้ป่วย
ใน)
 ตรวจชีพจรและลงบันทึกก่อนให้ยา ในผู้ใหญ่ถ้าชีพจรตํ่ากว่า 60
ครั้ง/นาที ในเด็กชีพจรเต้นช้าผิดปกติเมื่อเทียบตามอายุ ให้แจ้งแพทย์
เพื่อยืนยันก่อนให้ยา
o เด็ก <1ปี HR ตํ่ากว่า 100 ครั้ง/นาที
o เด็ก 1-6 ปี HR ตํ่ากว่า 80 ครั้ง/นาที
o เด็ก >6 ปี HR ตํ่ากว่า 60 ครั้ง/นาที
 Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา
 ชนิดฉีด IV
กรณีต้องการให้ IV Push ให้เจือจางยาอย่างน้อย 4 เท่า (ยาฉีด 1 mL
เจือจางด้วย NSS หรือ D5W อย่างน้อย 4 mL) ต้องฉีดช้าๆ เป็นเวลา
มากกว่า 5 นาที ขึ้นไป
กรณีต้องการให้ IV Drip ให้เจือจางยาอย่างน้อย 250 เท่า (ยาฉีด 1
mL เจือจางด้วย NSS หรือ D5W อย่างน้อย 250 mL) หยดยาเข้าทาง
หลอดเลือดดํา เป็นเวลานาน 10 – 20 นาที
 ยานํ้ารับประทานต้องใช้หลอดหยดที่มีขีดบอกปริมาตรแน่นอน
 ถ้าให้เกินวันละ 1 ครั้ง ยืนยันกับแพทย์ก่อน ยกเว้นผู้ป่วยเด็ก อาจให้
วันละ 2 เวลา ห่างกันทุก 12 ชั่วโมงได้
การตรวจติดตาม  กรณี Digoxin ฉีด ให้วัด vital sign ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง
ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมง จนครบ 5
ชั่วโมง ถ้าผิดปกติให้แจ้งแพทย์
 ควรมีการ monitor EKG ขณะฉีดยาและหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
 ตรวจดูอาการข้างเคียง ได้แก่ หัวใจเต้นช้า อาการบวมตามอวัยวะ
ต่างๆ คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นแสงสีเขียวเหลืองหรือ EKG ผิดปกติ
ให้แจ้งแพทย์
 ถ้าสงสัยว่าเกิด Digoxin toxicity ให้ส่งตรวจวัดระดับยาในเลือดทันที
คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557)
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 31
เอกสารอ้างอิง:
1. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th ed. PA: F. A. Davis
Company; 2009.p.412-5.
2. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village,
Colorado (Vol. 160 expires [6/2014]).
3. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade
name index. 22nd ed. OH: Lexicomp; 2013-2014.p.594-6.
4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert
Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550.หน้า 11-3.
5. Product information: Lanoxin® injection, GlaxoSmithKline Manufacturing SpA, Italy.
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2
Had12may2014  2

Contenu connexe

Tendances

วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
Utai Sukviwatsirikul
 
Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemic
taem
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
techno UCH
 

Tendances (20)

Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
 
บทที่ 7 วัคซีน
บทที่ 7 วัคซีนบทที่ 7 วัคซีน
บทที่ 7 วัคซีน
 
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injuryClinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
Clinical practice-guidelines-for-traumatic-brain-injury
 
Clinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsyClinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsy
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
 
HAP
HAPHAP
HAP
 
Infectious epidemic
Infectious epidemicInfectious epidemic
Infectious epidemic
 
Thai nihss
Thai nihssThai nihss
Thai nihss
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
 
VAP
VAPVAP
VAP
 
Asthma guideline thailand 2012
Asthma guideline thailand 2012Asthma guideline thailand 2012
Asthma guideline thailand 2012
 
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic strokeClinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
 
Ppt. HAD
Ppt. HADPpt. HAD
Ppt. HAD
 
hand foot mouth
hand foot mouthhand foot mouth
hand foot mouth
 
Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke 2012
Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke 2012Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke 2012
Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke 2012
 
MDRO
MDROMDRO
MDRO
 
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
 

Similaire à Had12may2014 2

Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
MedicineAndHealth
 

Similaire à Had12may2014 2 (20)

Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน 2553
แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน 2553แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน 2553
แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน 2553
 
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU PharmacyRational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
 
Rdu drug store 2560
Rdu drug store 2560Rdu drug store 2560
Rdu drug store 2560
 
Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
 
Pharmaceutical care patient safety and quality by pitsanu duangkartok
 Pharmaceutical care patient safety and quality by pitsanu duangkartok Pharmaceutical care patient safety and quality by pitsanu duangkartok
Pharmaceutical care patient safety and quality by pitsanu duangkartok
 
Clinical Pharmacokinetic of thenophylline
Clinical Pharmacokinetic of thenophyllineClinical Pharmacokinetic of thenophylline
Clinical Pharmacokinetic of thenophylline
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 2
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 2มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 2
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 2
 
hepatotoxicity
hepatotoxicityhepatotoxicity
hepatotoxicity
 
CPG warfarin use Thailand
CPG warfarin use ThailandCPG warfarin use Thailand
CPG warfarin use Thailand
 
ระบบยา
ระบบยาระบบยา
ระบบยา
 
Intro to sci
Intro to sciIntro to sci
Intro to sci
 
Hiv pocket 2557_ver2
Hiv pocket 2557_ver2Hiv pocket 2557_ver2
Hiv pocket 2557_ver2
 
Exercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and htExercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and ht
 
Chemo ebook
Chemo ebookChemo ebook
Chemo ebook
 
Chemo ebookสงขลา
Chemo ebookสงขลาChemo ebookสงขลา
Chemo ebookสงขลา
 
หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4
 
Geยาในชีวิตประจำวัน102516
Geยาในชีวิตประจำวัน102516Geยาในชีวิตประจำวัน102516
Geยาในชีวิตประจำวัน102516
 

Had12may2014 2

  • 1. คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs : HAD) จัดทาโดย คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบาบัด โรงพยาบาลศิริราช พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2557
  • 2. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 1 สารบัญ เรื่อง หน้า นิยามศัพท์ที่ใช้ในคู่มือนี้ 2 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง 3 Alteplase 8 Adrenaline 20 Calcium injection 24 Digoxin 28 Dobutamine 32 Dopamine 38 Heparin (Unfractionated) 43 Heparin, Low Molecular Weight (Innohep/Tinzaparin) 49 Heparin, Low Molecular Weight (Clexane/Enoxaparin) 52 Heparin, Low Molecular Weight (Arixtra/Fondaparinux) 55 Insulin 61 K+ (Potassium) Injection 69 Magnesium Sulphate injection 72 Morphine 76 Nicardipine 83 Nitroglycerine 87 Norepinephrine 90 Warfarin 94
  • 3. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 2 นิยามศัพท์ที่ใช้ในคู่มือนี้ Onset หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ให้ยาเข้าไปในร่างกายจนถึงเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ Peak หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ให้ยาเข้าไปในร่างกายจนถึงเวลาที่มีระดับยาสูงสุดอยู่ในร่างกาย หลังจาก Peak แล้วยาในร่างกายจะลดลงตามลําดับ Duration หมายถึง ระยะเวลาที่ยายังคงมีฤทธิ์อยู่ แหล่งข้อมูลที่ใช้นอกเหนือจากเอกสารวิชาการ การจัดทําคู่มือนี้เป็นการปรับปรุงจากคู่มือฉบับปี พ.ศ. 2550 โดยได้เพิ่มเติมเนื้อหาและมี ข้อมูลเพิ่มจากการดําเนินงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีแหล่งที่มาดังนี้ 1. ที่มาของตารางขนาดยา คํานวณโดยเภสัชกรจากฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช 2. ที่มาของ High Alert Drug Cards ที่ประชุมคณะทํางานสหสาขาวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ซึ่งประสานงานโดยงาน จัดการความรู้ และงานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 3. ที่มาของ Guidelines การใช้ Heparin และ Low Molecular Weight Heparin ที่ประชุมคณะทํางานสหสาขาวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เพื่อพัฒนา Concurrent Trigger Tool ซึ่งประสานงานโดยงานจัดการความรู้ และงานพัฒนาคุณภาพ คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 4. เอกสารอ้างอิงของยาแต่ละชนิดได้ใส่ไว้ท้ายบทของยานั้น
  • 4. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 3 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในการรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชมีความปลอดภัย 2. ขอบข่าย การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดซื้อ การเก็บรักษา การสั่งใช้ การระบุ ฉลาก การจ่ายยา การบริหารยา การติดตามผลการใช้ยา และการทําลายยา โดยเน้นดําเนินการเป็น ทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3. ความรับผิดชอบ 3.1 คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้รับผิดชอบในการ พิจารณาและกําหนดหลักเกณฑ์การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดการใช้ยา อย่างปลอดภัย 3.2 แพทย์และบุคลากรของภาควิชาต่างๆเป็นผู้รับผิดชอบการสั่งใช้ตลอดจนการบริหารยาและ การเฝ้ าระวังผลการใช้ยาต่อผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นผู้บริหารยา และการติดตามผลของการใช้ยาที่มี ความเสี่ยงสูงที่มีใช้ในภาควิชาของตน 3.3 ฝ่ายเภสัชกรรมเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการในส่วนของการจัดซื้อ การเก็บรักษาใน คลังยาและห้องจ่ายยา การระบุฉลาก การจ่ายยา การจัดส่งและการให้ข้อมูลยาที่มีความเสี่ยง สูง 3.4 ฝ่ายการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบการเก็บรักษายาที่มีความเสี่ยงสูงในหอผู้ป่วย การให้ยา และการเฝ้ าระวังผลการใช้ต่อผู้ป่วยและรายงานแพทย์เจ้าของไข้ 3.5 ทีมนําทางคลินิก เป็นผู้รับผิดชอบติดตามประเมินผลของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วย ของตน 3.6ผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีหน้าที่ในการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นตามระบบรายงานของ โรงพยาบาล 4. คําจํากัดความ ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs) คือ กลุ่มยาที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เพราะมีดัชนีการรักษาแคบหรือมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่ออวัยวะสําคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต ฯลฯ รายการยาที่ประกาศเป็น High Alert Drugs ในร.พ.ศิริราช ซึ่งรวบรวมจากเอกสารอ้างอิงและ รายงานอุบัติการณ์ด้านยาที่ผ่านมา ได้แก่ 1. Adrenergic agonist ได้แก่ Adrenaline, Dopamine, Dobutamine, Norepinephrine 2. กลุ่มยาโรคหัวใจกรณีวิกฤติ ได้แก่ Alteplase injection, Nicardepine injection, Nitroglycerine injection
  • 5. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 4 3. Calcium IV ได้แก่ Calcium gluconate injection Calcium chloride injection 4. Digoxin (Lanoxin® ) 5. Heparin (unfractionated) และ low molecular weight heparin (LMWH) ได้แก่ Enoxaparin, Fondaparinux และ Tinzaparin 6. Insulin 7. Magnesium IV ได้แก่ 50% MgSO4 injection, 20% MgSO4 injection 8. Morphine 9. Potassium injection ได้แก่ KCl injection, K2HPO4 injection 10. Warfarin tablet 11. ยาเคมีบําบัดที่เป็นพิษต่อเซลทุกชนิด 12. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน 13. Chloral hydrate 14. Benzodiazepine injection 15. Neuromuscular blocking agents 16. Lidocaine IV injection 17. Nitroprusside injection 18. Hypertonic saline ได้แก่ 3% NaCl โดยรายการยาลําดับที่ 1-10 เป็นรายการยาที่ทุกหน่วยงานต้องติดตามผลการใช้ยาตามคู่มือที่ กําหนด ส่วนรายการยาลําดับที่ 11-18 เป็นรายการที่หน่วยงานเฝ้ าระวังตามความจําเป็นของ หน่วยงาน 5. เอกสารอ้างอิง Cohen MR, Kilo CM. High-alert medication: safeguarding against errors. In Cohen MR,ed. Medication Errors. WashingtonDC: American Pharmaceutical Association, 1999, 5.1-5.40. Patient Safety Alert : ‘High-alert’ medications and patient safety ; International Journal for Quality in Health Care 2001 ,Volume 13, No.4 :pp 339-340. Hayes ER., Kee JL. Pharmacology Pocket Companion for nurses. Pensylvania: W.B. Saunders Company,1996. 6. รายละเอียด 6.1 การรับยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล 6.1.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงจะนําเข้าตามความจําเป็นโดยต้องผ่านการพิจารณาจาก อนุกรรมการพิจารณายาแต่ละกลุ่มและกําหนดมาตรการในการป้ องกันอันตรายอย่าง เหมาะสม
  • 6. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 5 6.1.2 ยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ถูกส่งมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลศิริราชต้องตรวจรับโดยเภสัชกรที่ ได้รับมอบหมาย 6.2 การเก็บรักษา 6.2.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงทุกชนิดต้องเก็บรักษาโดยแยกจากยาอื่นๆหรือป้ องกันการเข้าถึง ได้โดยง่าย (ยกเว้นยาของผู้ป่วยเฉพาะราย) 6.2.2 ต้องมีสัญลักษณ์สีชมพูสดเตือนบุคลากรว่าเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจจะเป็น สติ๊กเกอร์รูปกลมหรือใช้สีสะท้อนแสงสีชมพูขีดที่ชื่อยา โดยฝ่ายเภสัชกรรมเป็นผู้ดําเนินการ ติดที่ฉลากยาหรือหลอดยาในยา 13 กลุ่มแรก กลุ่มที่เหลือหน่วยงานสามารถดําเนินการได้ ตามความจําเป็นของหน่วยงาน การติดสติ๊กเกอร์ใน MAR ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ ฝ่ายการพยาบาล 6.2.3 ยาที่มีความเสี่ยงสูงกลุ่มยาเสพติดให้โทษคือ มอร์ฟีน ต้องจํากัดการเข้าถึงโดยต้องใส่ ในตู้หรือลิ้นชักที่ล็อกเสมอ โดยมีผู้ควบคุมการนําออกใช้และมีการตรวจสอบจํานวนยา อย่างสมํ่าเสมอ 6.3 การสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง 6.3.1 ไม่สั่งยาที่มีความเสี่ยงสูงด้วยวาจาถ้าไม่ใช่กรณีเร่งด่วนและหากจําเป็นต้องสั่งด้วย วาจา ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้อย่างเคร่งครัด 6.3.2 ไม่ใช้คําย่อในการสั่งยาที่นอกเหนือจากระเบียบการสั่งจ่ายยาของโรงพยาบาลศิริราช 6.3.3 แพทย์ระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องก่อนการเขียนสั่งยา 6.3.4 แพทย์พิจารณาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือค่าพารามิเตอร์ที่สําคัญก่อนสั่งยาที่ มีความเสี่ยงสูงให้แก่ผู้ป่วย 6.3.5 แพทย์คํานวณขนาดยาซํ้า กรณีต้องมีการคํานวณตามนํ้าหนักหรือพื้นที่ผิวเมื่อสั่งยา ที่มีความเสี่ยงสูงและสั่งโดยระบุขนาดยาต่อหน่วยนํ้าหนัก หรือพื้นที่ผิวด้วย 6.3.6 แพทย์พิจารณาข้อห้ามใช้และปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีความเสี่ยงสูงกับยาอื่นๆที่ผู้ป่วย ใช้อยู่ก่อนการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง 6.3.7 ถ้ามีแบบฟอร์มสําเร็จรูป ให้แพทย์ใช้แบบฟอร์มสําเร็จรูปในการสั่งยาที่มีความเสี่ยง สูง 6.3.8 ถ้ามีการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงนอกเหนือจากแบบแผน (protocol) ที่กําหนดไว้โดย ทีมนําทางคลินิกของภาควิชา ให้แพทย์เขียนหมายเหตุความจําเป็นไว้เป็นหลักฐานในคําสั่ง การรักษาและใบสั่งยา 6.4 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง 6.4.1 เมื่อได้รับใบสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง เภสัชกรต้องตรวจสอบซํ้าชื่อนามสกุล ผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยา ปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) และผู้ป่วยต้องไม่
  • 7. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 6 เป็นผู้ที่มีข้อห้ามใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงนั้นๆ (contraindication) ในผู้ป่วยเด็ก เภสัชกรต้องคํานวณขนาดยาซํ้า กรณีที่พบปัญหาเภสัชกรต้องติดต่อแพทย์ผู้สั่ง ยาทันที 6.4.2 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง ให้กระทําโดยมีการตรวจสอบซํ้าจากบุคคลอีกคน หนึ่งเสมอเพื่อความถูกต้องของชื่อนามสกุลผู้ป่วย และความถูกต้องของยาที่จะ จ่าย 6.4.3 การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีเครื่องหมาย **** ที่ชื่อยา ต้องติดฉลากช่วย ข้อ ควรระวังไว้ที่ซองยาหรือขวดยาหรือมีเอกสารแนะนําผู้ป่วยประกอบการส่งมอบ ยาทุกครั้ง 6.4.4 สําหรับผู้ป่วยนอก เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ ส่งมอบให้ความรู้ในการใช้ยาและ การเฝ้ าระวังผลข้างเคียงของยาที่มีความเสี่ยงสูงให้ผู้ป่วยทราบ 6.5 การบริหารยา 6.5.1 เมื่อต้องให้ยา แพทย์หรือพยาบาลผู้ให้ยาต้องตรวจสอบชื่อนามสกุลผู้ป่วย ชื่อ ยา ขนาดยาให้ถูกต้องซํ้าก่อนให้ยาผู้ป่วย (ตรวจสอบทุกขั้นตอนรวมทั้ง คํานวณขนาดยาซํ้า 6.5.2 การเตรียมยาให้ปฏิบัติตามที่ระบุในคู่มือของยาแต่ละชนิด 6.5.3 พยาบาลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ตรวจสอบซํ้าก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย 6.6 การเฝ้ าระวังผลการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง 6.6.1 พยาบาลเฝ้ าระวังอาการผู้ป่วยตามคู่มือ ติดตามและลงบันทึกผลการใช้ยา หรือความเปลี่ยนแปลงหลังการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงไว้ในแฟ้ มผู้ป่วยหรือเวช ระเบียน 6.6.2 พยาบาลแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ทันทีเมื่อพบความผิดปกติหรือความผิดพลาด จากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง 6.6.3 แพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการส่งตรวจ สืบค้นเพื่อติดตามผลการใช้ยาที่มีความ เสี่ยงสูงตามคู่มือที่ได้กําหนดไว้ 6.6.4 เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง หรือเกิดความผิดพลาดที่ถึงตัวผู้ป่วยจาก การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้พบเหตุการณ์ต้องรายงานอุบัติการณ์ทันที
  • 8. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 7 6.7 การทําลายยาที่เหลือหรือยาหมดอายุ 6.7.1 ยาที่มีความเสี่ยงสูงที่เหลือจากหอผู้ป่วยหรือหมดอายุแล้ว ให้ส่งคืนฝ่ายเภสัช กรรมเพื่อทําลายต่อไป 6.7.2 ฝ่ายเภสัชกรรมจําแนกยาที่ต้องการทําลายเป็นหมวดหมู่และส่งทําลายตาม กระบวนการที่คณะกรรมการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมี กําหนด 6.7.3 ยาเสพติดที่เปิดใช้แล้วมียาเหลือ ให้พยาบาลทําลายทิ้งโดยมีพยานรู้เห็นและ จดบันทึกชื่อยา จํานวนและลงนามไว้ทั้งสองคนเพื่อเป็นหลักฐาน 6.8 การประกันคุณภาพ 6.8.1 ต้องมีการสุ่มตรวจสอบการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงทุก 6 เดือน เพื่อให้ มั่นใจว่าการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงถูกต้องตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ และนโยบายของโรงพยาบาลศิริราช 6.8.2 เมื่อเกิดอุบัติการณ์ผิดพลาดถึงผู้ป่วยต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุราก (Root Cause Analysis/ RCA) ร่วมกันในทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการแก้ไขเชิงระบบ และวางแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมขึ้นเพื่อป้ องกันอุบัติการณ์ซํ้าโดยส่งรายงานผล การวิเคราะห์และปรับปรุงถึงประธานคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช หรือ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศิริราช ภายในระยะเวลา 1 เดือน 7. ภาคผนวก ดูคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลศิริราช
  • 9. คู่มือ คณะ รูปแ Altep Altep 50 m การ อปฏิบัติงานเกี่ ะกรรมการเภสัช แบบยา 1. A 2. A ชื่อยา plase inj. 2 m plase inj. mg ขั้นตอน สั่งยา4-8 ยวกับยาที่มีค ชกรรมและการ คู่มื Alteplase inj 2 Alteplase inj 5 ตารา mg ความเสี่ยงสูงโ บําบัด โรงพยา มือปฏิบัติงาน โรง Acti 2 mg 50 mg งแสดงเภสัช ภาพยา Screening  ข้อบ่งใ myoc cathe  ระวังก lisinop ต้น เนื่ หยุดย epine  ระวังก ทําลาย ถ้าจําเ อาการ  ระวังใน รงพยาบาลศิริ าบาลศิริราช นเกี่ยวกับยาที งพยาบาลศิริร ilyse® (altepl ชจลนศาสตร์ข g ใช้คือ acute is ardial infarct eter occlusion การใช้ยาร่วมกั pril, quinapri นองจากเพิ่มโอ าและรักษาโด ephrine) การใช้ยานี้ร่วม ยมากขึ้นมีผลใ เป็นอาจใช้ขนา รได้ ในผู้ป่วยที่มีคว ริราช (ปรับปรุง ที่มีความเสี่ยง ราช ase) ของยา altep onset IV: corona thromboly 30 นาที IV: corona thromboly 30 นาที แนวทางปฏิบ schemic cer tion, pulmona n กับ ACEIs เช่น l, perindopril กาสที่จะเกิด ดยให้ยา antih มกับ nitroglyc ให้ระดับยาลด าดยา nitrogly วามไวเกินปกติ งครั้งที่ 2 พฤษภ งสูง lase1-3 ary sis ที IV ary sis ที IV บัติ ebrovascula ary embolism น enalapril, c , imidapril แ orolingual an istamines, st erin เนื่องจาก ดลงอาจจะเกิด ycerin ตํ่าที่สุด ติกับยานี้หรือส ภาคม 2557) peak V: 60นาที V: 60นาที r accident, a m และ venous captopril, และ ramipril ngioedema ( teroids หรือ ก alteplase จ ด reocclusion ดที่สามารถคว ส่วนประกอบอื่ P duratio ไม่มีข้อมู ไม่มีข้อมู acute s เป็น ควร ะถูก n ได้ วบคุม อนๆ age 8 n มูล มูล
  • 10. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 9 ในผลิตภัณฑ์เช่น gentamycin  ข้อห้ามใช้ 1.ข้อห้ามใช้ยานี้สําหรับทุกข้อบ่งใช้ ไม่ควรใช้ยานี้เมื่อผู้ป่วยมี ความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการเลือดออก ได้แก่ 1.1 ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือมีภาวะเลือดออก ผิดปกติ เป็นภายใน 6 เดือนก่อน หรือมีโรคที่ทําให้เลือดออกง่าย ผิดปกติ 1.2 ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่มี ประสิทธิภาพ เช่น warfarin (INR >1.3) 1.3 มีประวัติการเจ็บป่วยในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การผ่า สมองหรือไขสันหลังเนื้องอก หลอดเลือดโป่งพอง(aneurysm) 1.4 มีประวัติหรือมีหลักฐานหรือสงสัยว่าอาจมีเลือดออกในสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง รวมทั้งเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง (sub- arachnoid) 1.5 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้ 1.6 การผ่าตัดใหญ่หรือการบาดเจ็บที่รุนแรงในช่วง 10 วันที่ผ่าน มา (รวมถึงการบาดเจ็บใดๆ ที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อเฉียบพลันที่ เป็นอยู่) การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกะโหลก 1.7 มีประวัติการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการนวดหัวใจ (cardiopulmonary resuscitation) หรือการนวดหัวใจเป็น เวลานาน (มากกว่า 2 นาที ) และการคลอดบุตรในช่วงไม่เกิน 10 วันที่ผ่านมา การเจาะเลือดในตําแหน่งที่ไม่สามารถกดหลอดเลือด เหล่านี้เพื่อให้เลือดหยุดได้ (เช่น เจาะที่ subclavianหรือ jugular vein) 1.8 โรคตับชนิดรุนแรง รวมถึงภาวะตับล้มเหลว ตับแข็ง ความดัน เลือดในตับสูง (ทําให้เส้นเลือดหลอดอาหารโป่ง) และตับอักเสบ 1.9 bacterial endocarditis หรือ pericarditis 1.10 ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน 1.11 มีประวัติแผลในกระเพาะอาหารหรือลําไส้ในช่วง 3 เดือนที่ ผ่านมา 1.12 มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดง หรือเส้นเลือดผิดปกติ 1.13 เนื้องอกที่เสี่ยงในการเกิดเลือดออกได้ง่าย
  • 11. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 10 2.ในกรณีรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรค ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด มีข้อห้ามใช้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 2.1 โรคหลอดเลือดในสมองแตก หรืออัมพาตจากโรคหลอดเลือด ในสมองที่ไม่ทราบสาเหตุทุกช่วงเวลา 2.2 มีประวัติอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ transient ischaemic attack (TIA) ในระยะเวลา 6 เดือนก่อน ยกเว้นผู้ป่วยที่เพิ่งจะอัมพาตจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง 3.ในกรณีรักษารักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน มีข้อห้ามใช้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 3.1 เริ่มมีอาการของการขาดเลือดในสมองมากกว่า 4.5 ชั่วโมง ก่อนให้ยา หรือไม่ทราบเวลาเกิดอาการเริ่มต้น 3.2 อาการของการขาดเลือดในสมองเฉียบพลัน ดีขึ้นรวดเร็ว หรือเป็นเล็กน้อยก่อนให้ยา 3.3 ได้รับการประเมินทางคลินิกและ/หรือ จากการตรวจด้วย imaging technique ที่เหมาะสมและพบว่า เกิดเส้นเลือดอุดตันที่รุนแรง (เช่น NIHSS > 25) 3.4 มีอาการชักเกร็ง ขณะเริ่มเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 3.5 มีประวัติโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) มาก่อน หรือมีการ บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะภายในช่วง 3 เดือน 3.6 มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคเบาหวาน 3.7 ได้รับ heparin ภายในช่วง 48 ชั่วโมง ก่อนเริ่มมีโรคหลอด เลือดสมองอุดตัน และมีค่า aPTT สูงขึ้น 3.8 มีปริมาณเกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm3 3.9 ความดันโลหิตขณะหลอดเลือดบีบตัว (systolic) > 185mmHg หรือความดันโลหิตขณะหลอดเลือดคลายตัว( diastolic) > 110mmHg หรือจําเป็นต้องให้การรักษาโดยให้ยาฉีด เข้าหลอดเลือดเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์นี้ 3.10 นํ้าตาลในเลือด < 50 หรือ > 400mg/dL 4. alteplase ไม่มีข้อบ่งใช้สําหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมอง อุดตันเฉียบพลันในเด็ก และผู้ที่มีอายุตํ่ากว่า 18 ปี
  • 12. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 11  คําเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ 1.ในกรณีการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลิ่มเลือด อุดตันในปอดเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน เฉียบพลัน 1.1 การใช้ alteplase เพื่อละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือด ควรใช้โดยแพทย์ผู้ชํานาญและมีประสบการณ์มาก่อน และต้อง เตรียมเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ ให้พร้อมเช่นเดียวกับยา ละลายลิ่มเลือดอื่นๆ แนะนําว่าการใช้ยา alteplase ต้องมี เครื่องมือและยาที่ใช้ในการกู้ชีวิต (resuscitation) เตรียมพร้อมอยู่เสมอในทุกกรณี 1.2 ไม่ควรใช้ alteplase ในขนาดเกิน 100 mg ในกรณีกล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลัน และกรณีที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอดและไม่ เกิน 90 mg ในกรณีหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน เนื่องจาก พบว่า alteplase ที่ใช้ในขนาดสูงกว่าที่กล่าว มีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในกระโหลกศีรษะ เพิ่มขึ้น 1.3 ควรจะมีการพิจารณาผลดีที่จะได้รับกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้น จากการรักษาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย ดังต่อไปนี้ - ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการฉีดยาเข้ากล้าม มีบาดแผลเล็กน้อย หรือเพิ่งผ่านการผ่าตัดขนาดเล็ก เช่น การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsies) การเจาะเลือดจากหลอดเลือดใหญ่ๆ การนวดหัวใจ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย - ภาวะใดๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกที่ไม่ได้ ระบุไว้ในข้อห้ามใช้ยา - ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน อาจพิจารณาให้ alteplaseได้ก็ต่อเมื่อได้ทําการ ทดสอบฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดที่เหมาะสมแล้ว พบว่าไม่ แสดงถึงฤทธิ์ที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก 2. สําหรับการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและลิ่ม เลือดอุดตันในปอดเฉียบพลัน มีข้อควรระวังเป็นพิเศษเพิ่มเติม ดังนี้: 2.1 ความดันโลหิต (systolic) > 160mmHg
  • 13. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 12 2.2 อายุมากซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง (intracerebral haemorrhage) เพิ่มขึ้น แต่การ รักษาด้วย alteplase อาจได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ จึง ควรประเมินผลได้ผลเสียให้รอบคอบ 3. สําหรับการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีข้อควร ระวังเป็นพิเศษ เพิ่มเติม ดังนี้: 3.1 หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) การละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดหัวใจ (coronary) อาจ ทําให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีเลือด กลับไปเลี้ยงที่หัวใจ (reperfusion) อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการที่มีเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ (reperfusion arrhythmias) อาจเป็นสาเหตุที่ทําให้หัวใจหยุดเต้น จนเป็นอันตรายถึงชีวิต และอาจต้องให้การรักษาอาการเต้นของ หัวใจผิดปกติ (conventional antiarrhythmic therapies) 3.2 Glyco-Protein II b / III a antagonists การใช้ยาต้านการทํางานของ GPIIb / IIIa ร่วมด้วย จะเพิ่มความ เสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติ 3.3 ลิ่มเลือดอุดตัน (thrombo-embolism) การใช้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดลิ่ม เลือดอุดตัน ในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดที่หัวใจห้องซ้าย เช่น ในกรณี mitral stenosis หรือ artrial fibrillation 4. สําหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันอย่าง เฉียบพลัน มีข้อควรระวังเป็นพิเศษเพิ่มเติมดังนี้: 4.1 การรักษาต้องกระทําภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์ที่ ได้รับการฝึกฝนและมีความชํานาญทางด้านระบบประสาทเป็น อย่างดี 4.2 การรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันอย่างเฉียบพลันจะมี อัตราเสี่ยงของการมีเลือดออกในกะโหลกเพิ่มขึ้นมาก จากการที่มี เลือดออกในบริเวณที่เนื้อสมองตาย โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้ - ทุกสถานการณ์ตามที่กล่าวในหัวข้อ “ข้อห้ามใช้” และ สถานการณ์อื่นๆ โดยทั่วไปที่มีส่วนสัมพันธ์กับการมี เลือดออกใน อัตราเสี่ยงสูง
  • 14. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 13 - หลอดเลือดในสมองโป่งพองเล็กน้อยและไม่มีอาการ - การเริ่มให้การรักษาช้าหลังจากเกิดอาการ (late time-to- treatment onset) - ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย acetylsalicylic acid (ASA) มา ก่อนอาจมีอัตราเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในสมอง (intracerebral haemorrhage) มากขึ้น โดยเฉพาะถ้าให้การรักษาด้วย alteplase ช้าออกไป และควรให้ alteplase ได้ไม่เกิน 0.9mg/kg (สูงสุดไม่เกิน 90 mg) - ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปีอาจมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกใน สมองเพิ่มขึ้น และได้รับประโยชน์จากการรักษาลดลงเมื่อเทียบกับ ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 4.3 ควรเริ่มการรักษาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ เนื่องจากสัดส่วนระหว่างผลดีและผลเสียที่ไม่น่าพอใจจะขึ้นกับ - ผลการรักษาลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนานมากขึ้น - อัตราตายในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ASA มาก่อนเพิ่มขึ้น - อัตราเสี่ยงของการมีเลือดออกและเกิดอาการเพิ่มขึ้น 4.4 ต้องมีการตรวจวัดความดันโลหิตระหว่างให้ยาจนถึง 24 ชั่วโมง และกรณีที่ความดันโลหิต systolic>180mmHg หรือ ความดันโลหิต diastolic > 105mmHg แนะนําให้ใช้ยาลดความ ดันโลหิต 4.5 ผลการรักษาจะลดลงในผู้ป่วยที่เคยมีโรคหลอดเลือดสมองอุด ตัน (stroke) หรือมีโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ร่วมด้วยทําให้ สัดส่วนระหว่างผลดีและผลเสียลดลง แม้จะยังให้ผลการรักษาที่ เป็นบวกอยู่ก็ตาม 4.6 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันเพียงเล็กน้อย (mild stroke) ไม่ควรรักษาด้วย alteplase เพราะอัตราเสี่ยงจะไม่คุ้มกับ ประโยชน์จากการรักษา 4.7 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันอย่างรุนแรง (severe stroke) ไม่ควรรักษาด้วย alteplase เพราะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะ เกิดเลือดออกในสมอง (intracerebral haemorrhage) และ เสียชีวิต 4.8 ผู้ป่วยที่มีเนื้อสมองตายบริเวณกว้าง ควรพิจารณาถึงผลดี
  • 15. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 14 ผลเสียอย่างรอบคอบเมื่อจะรักษาด้วย alteplase เพราะ ผลการรักษาอาจไม่ดีพอ โดยมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดเลือดออก และเสียชีวิตได้ 4.9 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอายุมาก มีความ รุนแรงมากและมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขณะรับตัวเข้ารักษา จะ ได้ประโยชน์จากผลการรักษาน้อยลง ในขณะที่โอกาสเกิดความ พิการที่รุนแรงและเสียชีวิตหรือมีเลือดออกในกะโหลก (intracranial bleeding) เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับการรักษา ดังนั้นไม่ ควรใช้ alteplase ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดสมองอุดตันชนิดรุนแรง (ซึ่งประเมินโดยทางคลินิกและ/หรือ โดย imaging techniques ที่ เหมาะสม) และผู้ป่วยที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดก่อนการรักษา < 50mg/dL หรือ > 400mg/dL 4.10 เมื่อมีเลือดกลับไปเลี้ยงสมองบริเวณที่ขาดเลือด อาจทําให้ เนื้อสมองส่วนที่ตายเกิดการบวมนํ้าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรให้ยายับยั้ง การเกาะตัวของเกล็ดเลือดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการให้ alteplase เพื่อละลายลิ่มเลือด เพราะจะทําให้อัตราเสี่ยงของการ มีเลือดออกเพิ่มขึ้น การเขียนสั่งยา  Double check ชื่อผู้ป่วย ข้อบ่งใช้และขนาดยา ขนาดยาในผู้ใหญ่ 1. Acute myocardial infarction ควรเริ่มทันทีซึ่งมี 2 วิธีดังนี้ 1.1 90-Minute (Accelerated Infusion) - ในผู้ป่วยนํ้าหนักน้อยกว่า 67 กิโลกรัม เริ่มต้น 15 mg IV bolus ภายใน 1 – 2 นาทีตามด้วย IV infuse ขนาด 0.75 mg/kg (ไม่ควรเกิน 50 mg)ในเวลามากกว่า 30 นาทีและ IV infuse ขนาด 0.5 mg/kg (ไม่ควรเกิน 35 mg) ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง (ขนาดยารวม สูงสุดไม่เกิน 100 mg) - ในผู้ป่วยนํ้าหนักมากกว่า 67 กิโลกรัม (ขนาดยารวม 100 mg ภายใน 1.5 ชั่วโมง) เริ่มต้น 15 mg IV bolus ภายใน 1 – 2 นาทีตามด้วย 50 mg ในเวลา มากกว่า 30 นาที จากนั้นให้ยา 35 mg ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง
  • 16. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 15 1.2 Three Hour Infusion - ในผู้ป่วยซึ่งสามารถเริ่มให้การรักษาได้ในช่วงระหว่าง 6-12 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการ ยาขนาด 10 mg IV bolusแล้วตามด้วย ยาขนาด 50 mg IV infuse ในเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง แล้วตามด้วย IV infuse 10mg ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30นาที จนได้ ขนาดยาที่ต้องการ (สูงสุด 100 mg) ภายใน 3 ชั่วโมง - ในผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวน้อยกว่า 65 กิโลกรัมขนาดยารวมทั้งหมดไม่ควร เกิน 1.5 mg/kg ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา ปัจจุบัน แนวทางการรักษาระดับนานาชาติ ได้แนะนําให้ใช้ antithrombotic therapy ร่วมด้วย ในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-elevation 2. Acute ischemic stroke ในผู้ป่วยผู้ใหญ่: หลังจากเกิด acute ischemic stroke ควรเริ่ม alteplase 3 ชั่วโมงแรกตั้งแต่เริ่มมีอาการขนาดยา 0.9 mg/kg (maximum 90 mg) 10% ของขนาดยาทั้งหมดจะให้แบบ IV bolus ตามด้วย 90 % ที่เหลือให้ แบบ continuous infusion มากกว่า 60 นาที ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากให้การรักษาด้วย ไม่ควรให้ยา acetylsalicylic acid และ heparin เพราะการศึกษาถึงความปลอดภัยและ ประสิทธิผลของวิธีการให้ยาเหล่านี้ร่วมกันใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่ม เกิดภาวะอุดตันยังมีไม่เพียงพอ หากมีความจําเป็นต้องให้ heparin เนื่องจากข้อบ่งใช้อื่น (เช่น ป้ องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน) ขนาดของ heparin เมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังไม่ควรมากกว่า 10,000 IU ต่อวัน 3. Pulmonary embolism - ขนาดของยาที่แนะนําให้ใช้คือ 100 mg โดยให้ยาหมดในเวลา 2 ชั่วโมง จากการศึกษาที่ผ่านมาแนะนําให้ใช้ยาในขนาดดังนี้คือ ยาขนาด 10 mg IV bolus มากกว่า 1-2 นาที ยาขนาด 90 mg IV infuse มากกว่า 2 ชั่วโมง - สําหรับผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวตํ่ากว่า 65 กิโลกรัม ขนาดของยาทั้งหมดที่ใช้ ไม่ควรเกิน 1.5 mg/kg
  • 17. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 16 ยาที่ใช้ร่วมในการรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา alteplase ถ้าจะเริ่มให้ยา heparin ร่วมด้วย จะต้องให้ heparin เมื่อค่า aPTT น้อยกว่า 2 เท่าของค่าปกติสูงสุด และ ปรับขนาดยาให้เหมาะสม โดยกําหนดให้ค่า aPTT อยู่ระหว่าง 50-70 วินาที (1.5-2.5 เท่าของค่าปกติ) ขนาดยาในเด็ก ในผู้ป่วยเด็กยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผลในการใช้เพื่อ รักษา acute myocardial infarction, pulmonary embolism และ ischemic stroke สําหรับการใช้ใน systemic thromboses ในเด็กนั้น Chest, 2008 ได้แนะนําให้ใช้ขนาดยา alteplase 0.1-0.6 mg/kg/hr นาน 6 ชั่วโมง ในกรณีที่ plasminogen deficiency ควรมีการเสริม plasminogen ก่อนเริ่มการใช้ thrombolysis therapy การจัดยา/ตรวจสอบยา4  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก  ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา การให้ยาแก่ผู้ป่วย4-5  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ใช้ sterile water ในการผสม สามารถใช้ NSS ในการเจือจางไม่ ควรเจือจางด้วย SWI หรือสารละลายพวก dextrose  ไม่ควรผสมยานี้ร่วมกับยาอื่นๆไม่ว่าจะขวดนํ้าเกลือเดียวกันหรือ ให้ทางสายนํ้าเกลือเดียวกัน (ไม่ยกเว้นแม้แต่การให้ร่วมกับ heparin)  ห้ามเขย่ายาในการผสมแต่ให้หมุนเบาๆ หรือพลิกยาไปมาเบาๆ  สารละลายที่ได้เมื่อผสมจะใสและปราศจากสีถึงสีเหลืองอ่อน  ความเข้มข้นของยาที่ผสมได้อย่างน้อยที่สุด 0.2 mg/mL  นํ้ายาที่เตรียมเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานไม่เกิน 24 ชั่วโมงหรือถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 ºC จะเก็บไว้ได้นาน ไม่เกิน 8 ชั่วโมงเมื่อพิจารณาทางด้าน จุลชีววิทยา นํ้ายาที่เตรียมเสร็จแล้วควรต้องใช้ทันที แต่ถ้าไม่ใช้ ทันทีผู้ใช้จะต้องคอยดูแลระยะเวลาในการเก็บและสภาพก่อนการ ใช้ซึ่งปกติไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ที่ 2- 8 ºC
  • 18. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 17 การตรวจติดตาม3,5-6  monitor ■ acute ischemic stroke: neurological status ■ acute myocardial infarction: evidence ของ cardiac reperfusion ■ catheter occlusion: ตรวจการทํางานของ catheter ■ pulmonary embolism: อาการควรดีขึ้น monitor pulse, BP, hemodynamic และ respiratory status ■ acute ischemic stroke: วัดความดันโลหิตโดยเฉพาะระหว่าง หรือหลังการให้ยา ■ vital sign และ ระวังการเกิด anaphylaxis ■ Adverse reaction ที่อาจจะเกิดขึ้นคือเลือดออกจากระบบ ต่างๆในร่างกายเช่น ทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะจํ้าเลือด เลือดออกไรฟันหรือ เลือดกําเดาไหล cholesterol embolization, ปากบวม ลิ้นบวม และ reperfusion arrhythmia ■ signs and symptoms of bleeding, โดยเฉพาะ arterial puncture sites :ซึ่งให้ตรวจ bleeding ทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมง แรก หลังจากนั้นดูทุก 15 – 30 นาทีใน 8 ชั่วโมงต่อมา และ หลังจากนั้นอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมงอาจเกิด internal bleeding ได้ ให้ดูอาการดังต่อไปนี้มีอาการทาง neurologic, ปวดท้องและมี อาการอาเจียนสีนํ้าตาล หรือถ่ายดํา , ปัสสาวะมีเลือดปน, ปวด ข้อ ■ Lab test: hematocrit, hemoglobin, platelet count, fibrin/fibrin degradation product titer, fibrinogen concentration, prothrombin time, thrombin time และ activated partial thromboplastin แนวทางแก้ไขเมื่อเกิดพิษ - monitor vital signs, CBC, renal function และ hepatic enzymes ในผู้ป่วยที่มีอาการ - monitor urine และ stool สําหรับ occult blood. - monitor hematocrit, hemoglobin, partial thromboplastin time, prothrombin time/INR, platelet
  • 19. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 18 count, และในผู้ป่วยที่มี serious bleeding - Hemorrhage: ให้ fresh frozen plasma หรือ fresh blood และ/หรือ cryoprecipitate, และ packed RBCs สําหรับ active bleeding - Hypotensive episode: IV 0.9% NaCl,ให้ blood products ถ้า bleeding หรือให้ dopamine หรือ norepinephrine  ภาวะการมีเลือดออก (Bleeding) เป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อใช้ alteplase และจะ เพิ่มขึ้นเมื่อให้ร่วมกับ heparin เพราะไฟบรินจะถูกทําลายและทําให้ เกิดเลือดออกจากบริเวณที่ถูกเจาะมาไม่นานก่อนหน้านี้ได้ ดังนั้นการ รักษาโดยวิธีละลายลิ่มเลือดที่อุดตันต้องคอยระมัดระวังบริเวณที่จะมี เลือดออกได้ง่ายทั้งหมด (รวมถึงการสวนท่อ การทํา cutdown ที่ หลอดเลือดแดงและดําและบริเวณที่แทงเข็ม) เมื่อรักษาด้วย alteplase ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายสวนชนิดแข็ง การฉีดยาเข้ากล้าม และอื่นๆ ที่ไม่จําเป็น ภาวะการมีเลือดออกที่อันตรายอาจเกิดได้ โดยเฉพาะภาวะเลือดออก ในสมอง ซึ่งต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือดและ heparin ที่ให้ร่วมด้วย โดยทันที และควรพิจารณาให้ protamine ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับ heparin เข้าไปภายใน 4 ชั่วโมงก่อนเริ่มมีเลือดออกในผู้ป่วยบางรายที่ การรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลอาจจําเป็นต้องให้ผลิตภัณฑ์ของเลือด (transfusion products) ด้วยความระมัดระวัง การให้ cryoprecipitate, fresh frozen plasma และเกล็ดเลือด (platelets) ควรทําโดยมีการประเมินผล ทั้งทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ ภายหลังการให้ทุกครั้ง ระดับเป้ าหมายของไฟบริโนเจนที่ต้องการ ภายหลังการให้ cryoprecipitate คือ 1 g/L การใช้ยาต้านการละลาย ไฟบริน (antifibrinolytic agents) ควรจะพิจารณาเป็นอีกทางเลือก หนึ่ง
  • 20. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 19 เอกสารอ้างอิง 1. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village, Colorado (Vol. 159 expires [6/2014]). 2. ฝ่ายเภสัชกรรม, งานจัดซื้อและคลังเวชภัณฑ์, หน่วยบริหารจัดการข้อมูลยาและเวชภัณฑ์. Siriraj Drug List 2013 [online]. Version 26. Feb 2014. 3. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th ed. PA: F. A. Davis Company; 2009. p. 1164-1168. 4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550. 5. Product information: Actilyse, Alteplase, BoehringerIngelheim, Thailand. 6. Smith KM, Riche DM, Henyan NN, editors. Clinical Drug Data. 11th ed. NY:McGraw-Hill, Medical; 2010. p. 731-732. 7. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade name index. 22nd ed. OH: Lexicomp; 2013-2014. p.86. 8. American Pharmacists Association.Pediatric and Neonatal Dosage Handbook. 19th ed. OH: Lexicomp; 2012-2013. p.91.
  • 21. คู่มือ คณะ รูปแ Adre Adre injec 1 mg การ อปฏิบัติงานเกี่ ะกรรมการเภสัช แบบยา enaline injectio ชื่อยา enaline ction g/mL (1 mL) ขั้นต สั่งยา ยวกับยาที่มีค ชกรรมและการ คู่มือป on 1 mg/mL ( ภาพ ตอน ความเสี่ยงสูงโ บําบัด โรงพยา ปฏิบัติงานเ โรงพ Adrena (1 mL) พยา SC IM IV Sc      รงพยาบาลศิริ าบาลศิริราช เกี่ยวกับยา พยาบาลศิริ aline (Epine Onset1 C: 5-10 นาที M: 6-12 นาที V: rapid creening  ข้อบ่งใช้คือ arrest) ใช้ห้  ห้ามใช้ยาร่ว (ยกเว้นติดต  ระวังการใช้ร (เช่น haloth เต้นผิดจังหว  ระวังการใช้ร เช่น นิ้วมือ นิ หลอดเลือดห (vasoconst  ระวังการใช้ใ stage ล่าช้า glaucoma) ที่ shock (n ริราช (ปรับปรุง ที่มีความเสี ริราช ephrine) P SC: 20 IM: ไม่มี IV: 20 น แนวทา แก้แพ้ยา หลอ ามเลือด (coa วมกับยา dihy ตาม BP อย่างใ ร่วมกับ halog hane) เพราะจ วะเมื่อได้รับยา ร่วมกับยาชาเฉ นิ้วเท้า ใบหู เพ หดตัวอย่างรุน triction and g ในคนที่กําลังค าได้, ผู้ป่วยโรค ) , ผู้ป่วยที่มี on-anaphyla งครั้งที่ 2 พฤษภ สี่ยงสูง eak1 นาที มีข้อมูล นาที างปฏิบัติ อดลมตีบ หัวใจ agulation diso droergotamin ใกล้ชิด)2 enated hydr ะทําให้หัวใจมี ากลุ่ม sympat ฉพาะที่ในบริเว พราะจะเพิ่มคว นแรงและเกิดเนื gangrene) คลอด เพราะอ คต้อหินแบบมุม organic brain ctic)2 ภาคม 2557) Duratio SC: < 1- 4 ชั่ IM: < 1-4 ชั่วโ IV: 20 - 30 น ใจหยุดเต้น (ca orders)2 ne และ linez rocarbon ana มีความไวต่อกา thomimetic2 วณอวัยวะส่วน วามเสี่ยงในกา นื้อเยื่อตาย อาจจะทําให้ se มแคบ (close n damage แล Pa on1 ัวโมง โมง นาที ardiac olid aesthetic ารเกิดการ นปลาย ารเกิด econd d-angle ละผู้ป่วย ge 20
  • 22. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 21 การเขียนสั่งยา  Double check ชื่อผู้ป่วย ข้อบ่งใช้และขนาดยา  For Anaphylaxis; o ผู้ใหญ่ IVinfusion เตรียมโดยใช้ยา 1 mg (1 mL of 1:1000(1 mg/mL)solution) เจือจางใน D5W 250 mL (ความเข้มข้นที่ได้ 4 mcg/mL) และหยดเข้า หลอดเลือดในอัตราเร็ว1 mcg/min (15 mL/hr) อัตราเร็วสูงสุดในการหยดยาคือ 10 mcg/min สามารถเจือจางได้อีกวิธีคือใช้ยา1 mg (1 mL of 1:1000 solution ใน100 mL of NSS (10 mcg/mL)) และหยดเข้าหลอดเลือดในอัตราเร็ว5 -15 mcg/min (30 -90 mL/hr) สามารถปรับอัตราเร็วในการหยด ยาได้ตามอาการทางคลินิกและ/หรืออาการข้างเคียง ที่เกิดขึ้น2 o ผู้ใหญ่ IM/SC 0.2-0.5 mg ทุก 5-10 นาที2 o เด็ก IV , IM และ SC 0.01 mg/kg maximum dose 0.3 mg ในกรณี IV infusion แนะนําให้หยดเข้าหลอด เลือดในอัตราเร็ว10 mcg/min2  For Cardiac arrest;2 ผู้ใหญ่ ให้ 1 mg IV ทุก 3- 5 นาที เด็กเริ่มต้น 0.01 mg/kg (0.1 mL/kg of a 1:10,000 (0.1 mg/mL)solution) IV/Intraosseously ; ทุก3 to 5 minutes maximum dose 1 mg  For Post-cardiac arrest hypotension;2 ผู้ใหญ่ให้ 0.1 -0.5 mcg/kg/min IV เด็ก 0.1 -1 mcg/kg/min IV/INTRAOSSEOUS ปรับอัตราเร็ว ตามการตอบสนองทางคลินิก การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก  ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ขนาดยาที่มีในโรงพยาบาล คือ 1 mg/mL
  • 23. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 22 การให้ยาแก่ผู้ป่วย  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ถ้าให้ IV infusion ควรใช้ Infusion pump  สําหรับผู้ใหญ่ หยดสารละลาย สารละลาย 4 mcg/mL ที่ อัตราเร็ว 1 - 10 mcg/min หรือถ้าเป็นสารละลายความเข้มข้น 10 mcg/mL อัตราเร็วเริ่มต้นจะอยู่ที่ 5 - 15 mcg/min (30 - 90 mL/hr)  สารนํ้าที่ใช้ได้ D5W, NSS  ความคงตัวหลังเจือจางยา 24 ชั่วโมงในตู้เย็น3  ควรให้ทางเส้นเลือดใหญ่  ไม่ควรใช้ถ้ายาตกตะกอน หรือเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีนํ้าตาล อ่อน3,4  ผลิตภัณฑ์บางบริษัทอาจไม่สามารถให้ทาง IV ได้ การตรวจติดตาม  ตรวจ Vital signs (BP, pulse rate) ทุก 3-5 นาที  เมื่อพบอาการ tachycardia, palpitation, BP สูง แจ้งแพทย์ ทันทีเพราะอาจเกิด ventricular fibrillation, pulmonary edema จากความดันสูงอาจถึงแก่ชีวิตได้  บันทึก vital signs , BP ขณะให้ยา5  BP ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 160/90 มม. ปรอท  BP เด็กอายุเกิน 1 ปี ไม่ควรเกิน 120/80 มม.ปรอท  BP เด็กอายุตํ่ากว่า 1 ปีไม่ควรเกิน 100/70 มม. ปรอท  HR ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/ นาที  HR เด็กอายุเกิน 1 ปี ไม่ควรเกิน 180 ครั้ง/ นาที  HR เด็กอายุตํ่ากว่า 1 ปีไม่ควรเกิน 220 ครั้ง/ นาที  หรือตามแพทย์สั่ง  ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อระวังการเกิดยารั่วออกนอก หลอดเลือด (extravasation) ซึ่งจะทําให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้ โดยอาการนําคือ ผิวหนังมีสีขาวซีด (blanching) หรือมีสีเทา (graying) ผิวหนังเย็น2
  • 24. คู่มือ คณะ เอก 1. D Com 2. K Colo 3. P Thai 4. P 5. โร Drug อปฏิบัติงานเกี่ ะกรรมการเภสัช สารอ้างอิง: Deglin JH, Va mpany; 2009. Klasco RK (Ed orado (Vol. 1 Product inform iland. Product inform รงพยาบาลศิริ gs. พิมพ์ครั้งท ยวกับยาที่มีค ชกรรมและการ allerand AH, . p. 480-3. d): DRUGDE 60 expires [6 mation: Adren mation: Adren ริราช คณะกรร ที่ 2. กรุงเทพ ความเสี่ยงสูงโ บําบัด โรงพยา editors.Davis EX® System. 6/2014]). naline injectio naline injectio รมการควบคุม ฯ: 25 กันยาย รงพยาบาลศิริ าบาลศิริราช s’s drug guid . Truven Hea on, Adrenalin on, Adrenalin มและดูแลเรื่อง ยน 2550. หน้ ริราช (ปรับปรุง de for Nurses alth Analytics ne, Atlantic P ne, GPO, Th งยา. คู่มือปฏิบ น้า 8. งครั้งที่ 2 พฤษภ s. 11th ed. PA s, Greenwood Pharmaceutic ailand. บัติงานสําหรับ ภาคม 2557) A: F. A. Dav d Village, cal Co., Ltd, บยา High Ale Pa vis ert ge 23
  • 25. คู่มือ คณะ รูปแ Calc gluco Injec Calc Injec การ อปฏิบัติงานเกี่ ะกรรมการเภสัช แบบยา Calcium gluc Calcium chlo ชื่อยา cium onate ction cium Chloride ction ขั้นต สั่งยา ยวกับยาที่มีค ชกรรมและการ คู่มือป onate Injectio ride injection ภาพ ตอน ความเสี่ยงสูงโ บําบัด โรงพยา ปฏิบัติงานเ โรงพ Calc on พยา IV IV S     ก   รงพยาบาลศิริ าบาลศิริราช กี่ยวกับยา พยาบาลศิริ cium injec onset V ทันที1 V ทันที1 Screening  ค่าปกติ s  ถ้าผู้ป่วยไ จนเกิดพิษ เปรียบเทีย intoxicati  ห้ามใช้ร่ว เป็น vent  ควรหลีกเลี การเขียนสั่งย  กรณีใช้แก้ ให้ Ca2+ ท emergen  กรณีใช้แก้ ริราช (ปรับปรุง าที่มีความเ ริราช ction p IVทันที1 IV ทันที แนวท erum calcium ได้รับ digoxin ษได้ จึงควรตรว ยบภายหลัง ห ื on มกับ ceftriax ricular fibrilla ลี่ยงการใช้ร่วม ยา ก้ภาวะ K+ ในเ ทาง IV push cy case) ก้ไขภาวะ Ca2 งครั้งที่ 2 พฤษภ สี่ยงสูง peak ที1 ทางปฏิบัติ m (Ca2+ ) = 4 อยู่ Ca2+ อาจ วจวัดระดับยา หรือสังเกตอาก one ในทารกแ ation มกับยากลุ่ม c ลือดสูงจนเกิด มากกว่า 5 น + ในเลือดตํ่าให ภาคม 2557) durati IV 0.5 – 2ชั่วโ IV 0.5 – 2 ชั่ว .2 - 5.1 mEq/ เพิ่มฤทธิ์ของ d า digoxin ไว้ก การ digoxin แรกเกิดและใน cardiac glyco ดภาวะหัวใจห นาที (เฉพาะ ห้ IV drip Pa ion โมง1 วโมง1 /L digoxin ก่อนเพื่อ นผู้ป่วยที่ oside ยุดเต้น ge 24
  • 26. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 25  Calcium gluconate และ Calcium chloride มีปริมาณ Ca2+ ในหน่วย mEq ไม่เท่ากันจึงควรระวังในการคํานวณ Calcium Chloride 10% (1.36 mEq/mL), Calcium Gluconate 10% (0.45 mEq/mL)1 การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก  ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา การให้ยาแก่ผู้ป่วย  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  สามารถเข้ากันได้กับ D5W, D10W และ LRS  ห้ามผสมใน bicarbonate เพราะอาจตกตะกอน5  ควรแยกเส้นการให้ Ca++ IV กับยาอื่นๆ เพราะอาจเกิดการ ตกตะกอนเมื่อผสมกับยาอื่นๆได้ โดยเฉพาะ phosphate  ควรให้ยาทาง IV ไม่ควรให้ IM หรือ SC เพราะจะทําให้เกิด necrosis ได้  Calcium gluconate rate ไม่ควรเกิน 200 mg/min เพราะ อาจจะทําให้ขยายหลอดเลือดความดันตํ่าลง หัวใจเต้นช้าหัว ใจเต้นผิดจังหวะหมดสติและหัวใจหยุดเต้น  Calcium chloride อัตราเร็วในการให้ยา  ไม่ควรเกิน 45-90 mg/Kg/hour (0.6-1.2 mEq/Kg/min) หรือ ไม่ควรเกิน 100 mg/min  กรณีแก้ไข Hyperkalemia อาจต้องให้ Calcium อย่างเร็ว ควร monitor EKG ขณะฉีด IV pushช้าๆ การตรวจติดตาม  Ca2+ ตํ่า จะชักกระตุก ปากเบี้ยว นิ้วชา กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เลือดออกง่าย หัวใจบีบอ่อนลง  Ca2+ สูง กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดบริเวณกระดูก  ตรวจดู IV site บ่อยๆ ทุก 30 นาที เพราะถ้ามียารั่วซึม ออกมา จะทําให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้  Monitor EKG - Hypocalcemia: ST segment ยาวและQT prolongation bradycardia, ventricular arrhythmia หรือ heart block - Hypercalcemia: ST segment หดสั้นลงและQT interval สั้นลง
  • 28. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 27 เอกสารอ้างอิง: 1. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th ed. PA: F. A. Davis Company; 2009.p.256-9. 2. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village, Colorado (Vol. 160 expires [6/2014]). 3. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade name index. 22nd ed. OH: Lexicomp; 2013-2014.p.317-9. 4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550.หน้า 9-10. 5. Trissel LA. Handbook on injectable drugs. 15th ed. Bethesda (MD): American Society of Health-System Pharmacists;2009.p.176-81. 6. ชัยรัตน์ ฉายากุล. Electrolyte Emergencies.ใน: ชัยรัตน์ ฉายากุล และทิพา ชาคร(บรรณาธิการ). First hour in Emergency Room: The practical approach 2008. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. พี. เอ.ลีฟวิ่ง, 2551.หน้า 148-53.
  • 29. คู่มือ คณะ รูปแ ชื่อย Lan mg t Lan 0.06 Lan 0.05 (60 m Lan injec mg/ การ อปฏิบัติงานเกี่ ะกรรมการเภสัช แบบยา 1. Lanoxin 2. Lanoxin 3. Lanoxin 4. Lanoxin ยา oxin® 0.25 tablet oxin® PG 625 mg table oxin® elixir 5mg/mL mL) oxin® ction 0.25 mL (2 mL) ขั้นตอน สั่งยา ยวกับยาที่มีค ชกรรมและการ คู่มือป n® 0.25 mg ta n® PG 0.0625 n® elixir 0.05 n® injection 0 ภาพยา et น ความเสี่ยงสูงโ บําบัด โรงพยา ปฏิบัติงานเ โรงพ Digo ablet 5 mg tablet mg/mL (60 0.25 mg/mL Screenin  ห้ามใ  ระวัง รงพยาบาลศิริ าบาลศิริราช กี่ยวกับยา พยาบาลศิริ oxin (Lano mL) (2 mL) onse 0.5 - 2 ชั่วโมง 0.5 - 2 ชั่วโมง 0.5 - 2 ชั่วโมง 5-30 นา g ใช้ในผู้ป่วยที่ งการใช้ใน ริราช (ปรับปรุง าที่มีความเ ริราช oxin® ) et 2 – 8 2 - 8 2- 8 ช ที 1- 4 แนวทางป ที่เป็น ventricu งครั้งที่ 2 พฤษภ สี่ยงสูง peak 8 ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ปฏิบัติ ular fibrillatio ภาคม 2557) dura 2-4 วัน1 2-4 วัน1 2-4 วัน1 2-4 วัน1 on Pa tion ge 28
  • 30. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 29  ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควร หลีกเลี่ยงการใช้  ผู้ป่วยโรคไตรุนแรง(อาจต้องปรับขนาดยา)  ผู้ป่วยที่มี electrolyte imbalance (hypokalemia, hypo- หรือ hypercalcemia, hypomagnesemia (อาจต้องปรับ ขนาดยา)  ผู้ป่วยที่ใช้ Calcium โดยเฉพาะทาง parenteral  ผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักลดลงมาก (อาจต้องปรับขนาดยา)  การใช้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ erythromycin หรือ clarithromycin อาจจะทําให้ระดับยาเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากลดการทําลาย digoxin ของเชื้อในลําไส้ การเขียนสั่งยา  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ระบุขนาดยาและรูปแบบยาให้ชัดเจน  ควรให้วันละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปีควรให้วัน ละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง3  แพทย์ควรสั่งการ monitor heart rate ด้วย  IM: ผู้ใหญ่ควรให้ยาไม่เกิน 500 mcg ใน single injection site เด็กควรให้ยาไม่เกิน 200 mcg ใน single injection site  ขนาดยาขึ้นกับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยระดับยาในเลือดและ ความเสี่ยงของการเกิดพิษจากยา  ในเด็กเมื่อเปลี่ยนจาก oral หรือ IM ไปเป็น IV ควรลดขนาดยาลง 20 – 25%3  ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 70 ปีที่มี impaired renal function, หรือมี lean body mass ตํ่าควรใช้ขนาดยาตํ่าคือ 0.125 mg ทุกวันหรือวัน เว้นวัน3 การจัดยา/ตรวจสอบยา  เก็บแยกยาไว้ในที่เข้าถึงได้ยาก  ทําสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ขนาด 0.25 mg สีขาว มีอักษร D025  ขนาด 0.0625 mg สีฟ้ าเข้ม มีอักษร D06
  • 31. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 30 การให้ยาแก่ผู้ป่วย  ดูระดับ K+ ก่อนให้ยา Digoxin ถ้า K+ ตํ่ากว่า 3.5 mEq/L ต้องแจ้ง แพทย์เพื่อยืนยัน (ควรตรวจระดับ K+ สัปดาห์ละครั้ง กรณีเป็นผู้ป่วย ใน)  ตรวจชีพจรและลงบันทึกก่อนให้ยา ในผู้ใหญ่ถ้าชีพจรตํ่ากว่า 60 ครั้ง/นาที ในเด็กชีพจรเต้นช้าผิดปกติเมื่อเทียบตามอายุ ให้แจ้งแพทย์ เพื่อยืนยันก่อนให้ยา o เด็ก <1ปี HR ตํ่ากว่า 100 ครั้ง/นาที o เด็ก 1-6 ปี HR ตํ่ากว่า 80 ครั้ง/นาที o เด็ก >6 ปี HR ตํ่ากว่า 60 ครั้ง/นาที  Double check ชื่อผู้ป่วย ชนิดและขนาดยา  ชนิดฉีด IV กรณีต้องการให้ IV Push ให้เจือจางยาอย่างน้อย 4 เท่า (ยาฉีด 1 mL เจือจางด้วย NSS หรือ D5W อย่างน้อย 4 mL) ต้องฉีดช้าๆ เป็นเวลา มากกว่า 5 นาที ขึ้นไป กรณีต้องการให้ IV Drip ให้เจือจางยาอย่างน้อย 250 เท่า (ยาฉีด 1 mL เจือจางด้วย NSS หรือ D5W อย่างน้อย 250 mL) หยดยาเข้าทาง หลอดเลือดดํา เป็นเวลานาน 10 – 20 นาที  ยานํ้ารับประทานต้องใช้หลอดหยดที่มีขีดบอกปริมาตรแน่นอน  ถ้าให้เกินวันละ 1 ครั้ง ยืนยันกับแพทย์ก่อน ยกเว้นผู้ป่วยเด็ก อาจให้ วันละ 2 เวลา ห่างกันทุก 12 ชั่วโมงได้ การตรวจติดตาม  กรณี Digoxin ฉีด ให้วัด vital sign ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมง จนครบ 5 ชั่วโมง ถ้าผิดปกติให้แจ้งแพทย์  ควรมีการ monitor EKG ขณะฉีดยาและหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง  ตรวจดูอาการข้างเคียง ได้แก่ หัวใจเต้นช้า อาการบวมตามอวัยวะ ต่างๆ คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นแสงสีเขียวเหลืองหรือ EKG ผิดปกติ ให้แจ้งแพทย์  ถ้าสงสัยว่าเกิด Digoxin toxicity ให้ส่งตรวจวัดระดับยาในเลือดทันที
  • 32. คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลศิริราช (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2557) คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช Page 31 เอกสารอ้างอิง: 1. Deglin JH, Vallerand AH, editors.Davis’s drug guide for Nurses. 11th ed. PA: F. A. Davis Company; 2009.p.412-5. 2. Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village, Colorado (Vol. 160 expires [6/2014]). 3. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook with International Trade name index. 22nd ed. OH: Lexicomp; 2013-2014.p.594-6. 4. โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการควบคุมและดูแลเรื่องยา. คู่มือปฏิบัติงานสําหรับยา High Alert Drugs. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 25 กันยายน 2550.หน้า 11-3. 5. Product information: Lanoxin® injection, GlaxoSmithKline Manufacturing SpA, Italy.