SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  92
Télécharger pour lire hors ligne
สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องคการมหาชน)
www.dga.or.th
-GOVTECH
FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู‹รัฐบาลไทย
NOVEMBER
2020
Version 1.0
บรรณาธิการบริหาร	 ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ
บรรณาธิการ	 นางณพิชญา เทพรอด
	 นายพิสิษฐ์ ปิยพสุนทรา
ที่ปรึกษา	 ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ
คณะผู้จัดท�ำ	 นางสาวพิมพ์ลักษณ์ กลางวิชิต
	 นายเมฆินทร์ วรศาสตร์
จัดท�ำโดย	 ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
	 (องค์การมหาชน)
พิมพ์ครั้งที่ 1	 พ.ศ. 2563
จ�ำนวน	 500 เล่ม
ISBN	 978-616-8001-18-9
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย
เวอร์ชัน 1.0 (พฤศจิกายน 2563)
ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
Digital Government Development Agency (Public Organization) (DGA)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ 108 ถนนรางน�้ำ
แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์	 (+66) 0 2612 6000
โทรสาร	 (+66) 0 2612 6011, (+66) 0 2612 6012
Contact Center	 (+66) 0 2612 6060
อีเมล	 contact@dga.or.th
GOVTECH FORESIGHT
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย2
ในยุค VUCA (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity)
ทางเดินข้างหน้า ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และไม่ชัดเจน การบริหาร
งานแบบ Agile ที่ต้องการความรวดเร็ว lean และมีประสิทธิภาพเป็น
สิ่งจ�ำเป็นที่ต้องในทุกองค์กร แต่การบริหารจัดการเหล่านี้ จะไม่ได้
ประสิทธิผล หากขาดเป้าหมาย แนวทาง หรือเราอาจจะเรียกว่า ดาวเหนือ
ของบริษัท และ กลยุทธ์ในการเคลื่อนที่ เพื่อให้มั่นใจว่า ทุกกิจกรรม
ที่เกิดขึ้นในบริษัทว่องไว รวดเร็ว แต่ยังเดินไปสู่ทิศทางที่เราต้องการ
การจะได้มาซึ่งทิศทางในโลกที่ไม่ชัดเจนเช่นนี้ การท�ำ foresight หรือ
การคาดการณ์มองไปข้างหน้าเป็นสิ่งส�ำคัญ เพื่อตีกรอบความเป็น
ไปได้ ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ และท�ำให้เรามีข้อมูลที่เพียงพอ
รับมือกับความเปลี่ยนแปลง การท�ำ Foresight หัวใจส�ำคัญคือ ข้อมูล
ที่รอบด้าน ครบ และลึก ยิ่งเรามีข้อมูลมากและมีคุณภาพเท่าไหร่ ยิ่ง
มีโอกาสเห็นภาพและเข้าใจโอกาสที่จะเกิดมากเท่านั้น แต่เครื่องมือ
ที่ใช้จัดการข้อมูลเหล่านี้ก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน เอกสารชุดที่ท่านก�ำลัง
จะได้อ่าน ได้น�ำเสนอภาพของเครื่องมือที่จ�ำเป็น พร้อมตัวอย่างใน
การใช้งานกับกรณีของภาครัฐ เพื่อเป็นฐานให้องค์กรและหน่วยงาน
อื่น ๆ น�ำไปทดลอง ปรับใช้กับของแต่ละที่ เพื่อจะให้องค์กรพร้อมรับ
ความเปลี่ยนแปลงในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วในยุค disruption
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม
ผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมศาสตร์
หรือมนุษยศาสตร์
3
การมองอนาคตเป็นสิ่งที่มองไกลจนมองอะไรไม่เห็น การมองอนาคต
เป็นการมองสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น คนรุ่นเก่าที่พยายามมองอนาคตล้วน
เป็นคนที่มีอนาคตสั้นแต่มีประสบการณ์ยาวนาน ส่วนคนรุ่นใหม่ที่
ต้องใช้ชีวิตในอนาคตล้วนมีอนาคตยาวนานแต่มีประสบการณ์ที่สั้น
จนมองไม่เห็นอนาคต ความพยายามในการมองให้เห็นอนาคตล้วน
เป็นการคาดเดาและเป็นความฝันที่ต้องการอนาคตอันสดใส
ความฝันจ�ำเป็นต่อการขับเคลื่อนสรรพสิ่งให้เป็นจริง หากไม่มีความฝัน
เสียแล้วจะท�ำความจริงให้ปรากฏได้อย่างไร
เมื่อวานนี้และวันที่ผ่านมาล้วนเป็นอดีตเกิดขึ้นจริง พรุ่งนี้เป็นอนาคต
ที่จะต้องพบเจอย่อมเกิดขึ้นแน่นอน เทคโนโลยีทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ก็จะท�ำให้เทคโนโลยีเดิม
เก่าไปในที่สุด
ประเทศไทยยังมีเส้นทางอีกยาวไกลในสังคมโลก รัฐบาลดิจิทัลเป็น
อนาคตที่มองเห็นได้ว่าต้องเป็นและต้องมี น่ายินดีและชื่นชมที่มีคน
ไทยเก่งกาจมองเทคโนโลยีของโลกที่จะปรับประยุกต์มาใช้กับรัฐบาล
ดิจิทัลไทย
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ใครครองเทคโนโลยีผู้นั้นครองโลก
ใครมองเห็นอนาคตที่จะเกิดขึ้นจริงได้ชัดกว่าผู้นั้นมองเห็นโลกที่จะเข้า
ยึดครอง บ้านเมืองนี้มีความหวังเพราะมีคนจริงจังมองอนาคตให้กับ
ประเทศชาติ
ขอบคุณที่พวกท่านท�ำสิ่งนี้ให้กับพวกเราคนไทยทุกคน
ด้วยจิตคารวะ
ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย4
การวางแผนและก�ำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ขาดการ
ไตร่ตรองที่ดี อาจส่งผลให้การพัฒนาประเทศไม่สามารถไปถึงเป้า
หมายที่วางเอาไว้ได้ การท�ำ Foresight หรือการคาดการณ์อนาคต
จึงเป็นหลักการพื้นฐานที่ส�ำคัญในการตีกรอบความคิด อันจะน�ำมา
ซึ่งข้อเสนอแนะและทิศทางในการพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพ
ในการท�ำ Foresight ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจาก
ผลส�ำรวจก็ดี หรือข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญก็ดี ข้อมูล
พวกนี้จะเป็นส่วนส�ำคัญในการตัดสินใจและก�ำหนดแนวทางต่าง ๆ
เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลที่มี
การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีผลอย่างมากในการยกระดับการ
บริการของหน่วยงานภาครัฐ ก็คือข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพราะฉะนั้นการปรับปรุงข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสม�่ำเสมอ
การหาข้อมูลแนวโน้มการใช้งานทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจน
การคาดการณ์อนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นส่วนส�ำคัญที่
จะท�ำให้ภาครัฐมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยดิจิทัลที่ไม่ซ�้ำซ้อนและ
ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดให้มีความเหมาะสมได้ “อนาคต
เทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย GovTech Foresight” โดยส�ำนักงาน
พัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ยิ่งในการน�ำมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในวางแผน ก�ำหนดทิศทางและ
เป้าหมายให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาประเทศให้
มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
อ.ดร. สุรณพีร์ ภูมิวุฒิสาร
ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5
จากกระแส “Digital disruption” ทั่วโลก ท�ำให้เราคงปฏิเสธไม่ได้
ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของโลกมีผลต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำ
วันของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค�ำว่า “Digital
transformation” หรือ “Digital disruption” เป็นสิ่งที่เราได้ยิน
ได้ฟังกันบ่อย ๆ ปัจจัยทั้ง 4 ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
ดังกล่าว ได้แก่ (The four IT mega trends in S-M-C-I Era)
S หมายถึง Social media M หมายถึง Mobile computing
C หมายถึง Cloud computing และ I หมายถึง Information หรือ
Big data เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนการ
เปลี่ยนแปลงของโลกจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
intelligence) และ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of things)
ก�ำลังมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยการ
เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากปัจจัยทั้งสี่ดังกล่าวมีผลกระทบเกิดขึ้นใน
3 ระดับได้แก่ ระดับบุคคลและครอบครัว ระดับองค์กร และระดับ
ประเทศ
จากปรากฏการณ์ “Digital transformation” และการเข้าสู่ยุค S-M-
I-C (Social–Mobile–Information–Cloud) น�ำไปสู่การเจริญเติบโต
ของธุรกิจแพลตฟอร์ม (Platform) ซึ่งธุรกิจไม่จ�ำเป็นต้องผลิตสินค้า
และบริการเอง แต่เป็นการให้บริการอ�ำนวยความสะดวกและเป็น
ตัวกลางในการท�ำธุรกิจระหว่างลูกค้ามากกว่าหนึ่งประเภท ตัวอย่าง
Platform ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter
Line Instagram เป็นต้น ประเภทค้าปลีก เช่น eBay Alibaba
Amazon เป็นต้น ประเภทสื่อ เช่น YouTube เป็นต้น ประเภทการ
ช�ำระเงิน เช่น PayPal Alipay เป็นต้น ประเภทระบบปฏิบัติการ
บนสมาร์ทโฟน เช่น iOS Android เป็นต้น ประเภทการท่องเที่ยว
เช่น Airbnb เป็นต้น ประเภทบริการรถสาธารณะ เช่น Uber Grab
เป็นต้น นอกจากจากรูปแบบกระบวนการด�ำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง
ไปตามการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว การวิเคราะห์ทางการตลาดยัง
เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากเดิมที่วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยหลัก
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย6
ประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น อายุ เพศ การศึกษา รายได้
สถานภาพ เป็นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยหลักจิตนิสัย (Psycho-
graphic) เช่น รูปแบบการด�ำเนินชีวิต (Lifestyles) ความชื่นชอบ
ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น โดยอาศัยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง
ของแพลตฟอร์ม (Platform) บนสมาร์ทโฟน หรือเครือข่ายสังคม
ออนไลน์ (Social media) ซึ่งท�ำให้ธุรกิจ Platform มีความได้เปรียบ
ในการประกอบธุรกิจ
ดังนั้น ในระดับประเทศ หน่วยงานรัฐจึงจ�ำเป็นต้องมีการวางนโยบาย
ยุทธศาสตร์ แนวทางการน�ำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รวมถึงผู้น�ำในหน่วยงานรัฐจ�ำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ในการน�ำ
เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุง โดยมีบทบาทความเป็น
ผู้น�ำที่เด่นชัด มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และมี
การจัดสรรทรัพยากรที่ชัดเจนเช่นกัน (Clear leadership, roles,
and resource allocation)
ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องมีแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ที่ให้รัฐ
มีบทบาทน�ำ (Government-led) โดยรัฐบาลควรอาศัยกลไกหน่วย
งานภาครัฐในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานที่หน่วยงานรัฐต้องเป็น
ผู้น�ำ ควรจัดให้มีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ในลัษณะของปฏิบัติ
การร่วม (Joint-force) โดยมีหน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพชัดเจน และ
สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่าง
ประเทศ
7
การท�ำ GovTech Foresight จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีการ
ปรับปรุงบริการต่างๆ ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง เกณฑ์การวัดระดับวุฒิภาวะด้านรัฐบาล
ดิจิทัล ซึ่งสามารถจ�ำแนกระดับการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ
ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ระยะที่ 2 : รัฐบาลขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
ระยะที่ 3 : รัฐบาลดิจิทัล
และระยะที่ 4 : รัฐบาลสมรรถนะสูง
ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงจ�ำเป็นต้องจัดให้มีการมองอนาคตเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีดิจิทัล โดยก�ำหนดเป้าหมาย ก�ำหนดกลยุทธ์ ท�ำการมอง
อนาคต และสร้างฉากทัศน์ เป็นต้น
ผู้บริหารในหน่วยงานรัฐจึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องศึกษาการจ�ำแนก
ระดับการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด�ำเนิน
การปรับปรุงไปในแนวทางตามเกณฑ์การวัดระดับวุฒิภาวะด้าน
รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเป็นการปรับไปสู่ระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น เนื้อหาใน
หนังสือเล่มนี้สามารถถูกน�ำมาใช้อ้างอิงเพื่อที่จะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ได้รับประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของส�ำนักงานพัฒนารัฐบาล
ดิจิทัลต่อไป			
ปริญญา หอมเอนก
CONTENTS ท�ำความรู้จักกับ
Government
Technology
การวัดระดับวุฒิภาวะ
ด้านรัฐบาลดิจิทัล
ขององค์กร
ตัวอย่าง
การมองอนาคต
Technology
Foresight
การมองอนาคต
เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ดิจิทัล
ท�ำความรู้จักกับ
Hype Cycle
P. 10
P. 60
P. 26
P. 14
P. 74
P. 44
1
3
52
4
6
ค�ำน�ำ
จากเจตนารมณ์ของรัฐบาลปัจจุบันที่ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ในระยะ 5 ปี ให้มี
ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา
ระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนให้มี
ประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความปลอดภัย
ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนส�ำคัญอย่างมากในการน�ำมาประยุกต์ใช้กับบริการของหน่วยงาน
ภาครัฐ ดังนั้น หน่วยงานรัฐ จ�ำเป็นต้องมีการวางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงวิสัยทัศน์ของ
ผู้น�ำในการเลือกเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) หรือ สพร. มีภารกิจหลักในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล คือ ท�ำหน้าที่ให้
บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวกับ
การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
อย่างไรก็ดีการเลือกเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริการภาครัฐ ต้องค�ำนึงถึงความ
เหมาะสมเเละความเปลี่ยนเเปลงหรือผลที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประเมินความพร้อมในด้านต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมในด้านบุคลากร ทักษะความเชี่ยวชาญ และงบประมาณ ดังนั้น สพร.
จึงได้มีแนวคิดในการจัดท�ำหนังสือ อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย ที่สามารถน�ำไปใช้
เป็นแนวทางในการก�ำหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรืองานบริการภาครัฐบนพื้นฐานของเทคโนโลยี
และนวัตกรรมต่อไป
GOVERNMENT
TECHNOLOGY
ท�ำความรู้จักกับ
Government Technology
1
คืออะไร...
ส‹วนที่ 1
สามารถยกระดับ
คุณภาพชีว�ตของประชาชน
ใหŒดียิ�งข�้น
ส‹วนที่ 2
สามารถเขŒาถึง
บร�การไดŒง‹าย สะดวกรวดเร็ว
ผ‹าน Internet
ส‹วนที่ 3
หน‹วยงานภาครัฐสามารถ
พัฒนาบร�การข�้นไดŒเอง หร�อ
จัดหาผูŒรับจŒางที่เปšนภาคเอกชน
หร�อสตารทอัพมาดําเนินการแทน
11Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี ส่งผลต่อการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันของประชาชน ท�ำให้
ความต้องการในการใช้บริการภาครัฐของประชาชนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ความต้องการใน
การรับบริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่ายและปลอดภัย
ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจ�ำเป็นต้องปรับปรุงบริการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึง
ส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาต่อยอดทางนวัตกรรมเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาประเทศ เช่น การ
ช�ำระภาษีออนไลน์ การต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง จึงเป็น
ที่มาของแนวคิด Government Technology หรือ “GovTech” โดย Herbert Adams
Attorney (2018); ได้ให้ค�ำนิยามไว้ดังนี้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานของหน่วยงาน เป็นสิ่งส�ำคัญ
อย่างมากในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้นหน่วยงานควรพิจารณาปัจจัยในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ ความพร้อมของหน่วยงาน ทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร งบประมาณ
นโยบาย รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยหลักการพิจารณาการเป็น GovTech ประกอบ
ด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
“เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน
และการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยบริการดังกล่าวรัฐ
อาจจัดท�ำขึ้นเอง หรือจัดหาผู้รับจ้างที่เป็นภาคเอกชนมาให้บริการ
แทนก็ได้”
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย12
การให้บริการ GovTech สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1.	 Administration:
	 กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ท�ำให้ท�ำงานง่าย เกิดความ
	 โปร่งใส และตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น บริการที่ช่วยจัดการข้อมูลการเงิน ข้อมูล
	 ทรัพยากรบุคคล แฟ้มคดีต่าง ๆ ในศาล จัดการทรัพย์สินราชการ บริหารจัดการไฟจราจร
	 ฯลฯ
2.	 Delivery:
	 กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยให้ภาครัฐให้บริการด้านธุรกรรมการเงิน การขนส่งหรือ
	 น�ำส่งระหว่างภาครัฐและประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การสร้างระบบ
	 ที่ช่วยให้การขอและออกใบอนุญาตสะดวกขึ้น ไม่ต้องต่อคิวรอ เอกสารสามารถจัดส่งถึง	
	 บ้านได้อย่างรวดเร็วและตรวจเช็คได้ทุกขั้นตอน
3.	 Infrastructure:
	 กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบและสาธารณูปการต่าง ๆ ของ
	 ภาครัฐ ตัวอย่างเช่น การใช้ตัววัดอัจฉริยะ (Smart Meter) โครงข่ายอัจฉริยะ (Smart
	 Grid) ระบบคลาวด์ (Cloud) รวมถึงเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อน�ำมาพยากรณ์
	 และวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ เพื่อให้บริการด้านความปลอดภัย หรือป้องกันอาชญากรรม
	 แบบทันที (Real Time) ฯลฯ
4.	 Participation:
	 กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยในการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐและประชาชน (หรือ	
	 ที่เรียกว่า CivicTech) ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ร้องเรียน แพลตฟอร์มการลงคะแนน ฯลฯ
5.	 Regulation:
	 กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยให้การบริหารจัดการให้เกิดการปฏิบัติตามข้อบังคับทาง
	 กฎหมาย หรือการบังคับใช้กฎหมาย สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หรือที่เรียก
	 ว่า RegTech)
การให้บริการ GovTech
13Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
1.	 การก�ำหนดทิศทางการใช้ Government Technology ในการขับเคลื่อนงานบริการ
	 สาธารณะของภาครัฐไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.	 การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้าน Government Technology
	 ในประเทศไทย
3.	 เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่หน่วยงานภาครัฐ
4.	 เพื่อส่งเสริมและผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ น�ำไปสู่การยกระดับคุณภาพ
	 ชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการท�ำ GovTech Foresight
Technology Foresight
2
PRE-FORESIGHT POST-FORESIGHTMAIN FORESIGHT
CRITICAL CHOICES
CONCLUSIONS
Selection of topics
Expert answer
questions/comment
Convergence of
opinion? Use of results
• no. of experts
in each field
sufficient?
• Peer group blas
in answers?
• Quality of
questions?
• Common
understanding?
• How to obtain
experts?
• Only experts
sufficient?
• Expecations too
high
• Political economy
aspects
• Combine
different
techniques
(roadmapping,
scenario writing)
• Could be
difficult for
smaller,
developing
economies
• Questions
must be tailored
to local
conditions
• Government
support needed
• High cost
การก�ำหนดเป้าหมาย
ของหน่วยงาน
วิเคราะห์ปัจจัยที่มี
ผลกระทบและก�ำหนด
กรอบระยะเวลา
การเปลี่ยนแปลง
หรือพัฒนาของ
เทคโนโลยี
การวิเคราะห์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สิ่งส�ำคัญในการท�ำ Technology Foresight คือ
กระบวนการท�ำ Technology Foresight
สรุป
บทที่ 2
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย16
เมื่อพูดถึงค�ำว่า Foresight หลายคนอาจจะสับสนว่า แล้วต่างกันอย่างไรกับค�ำว่า Forecast
เพราะทั้ง 2 ค�ำ เป็นการกล่าวถึงอนาคตเหมือนกัน
ต้องบอกก่อนว่า Foresight เป็นการวางเป้าหมายแล้วเดินไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ โดยมี
ข้อมูลที่เก็บรวมรวมไว้ในอดีต ข้อมูลจากผลส�ำรวจและข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้
เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการวางเป้าหมาย และทิศทางในอนาคต
แต่ Forecast เป็นการพยากรณ์อนาคตจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้ในอดีตที่ผ่านมา
ร่วมกับการวิเคราะห์แนวโน้ม พร้อมกับท�ำการระบุระยะเวลาที่ใช้ในการพยากรณ์ และโอกาส
ความน่าจะเป็น
เหมือนกับที่ Burrus เคยกล่าวเอาไว้ว่า Foresight คือ การมองอนาคต ไม่ใช่ การท�ำนาย
เพราะการมองอนาคต คือ การด�ำเนินการที่เป็นระบบ มีเป้าหมาย ขั้นตอนชัดเจน และการมี
ส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่าง ๆ ซึ่งเป็นการก�ำหนด
รูปแบบของอนาคต และสามารถมองเห็นลู่ทางที่จะต้องท�ำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น
“การมองอนาคตแบบมีการตั้งสมมติฐานเข้ามาใช้ในการคาดการณ์”
Burrus
17Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
การก�ำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน
หน่วยงานต้องก�ำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบระยะเวลาในการ
ด�ำเนินการให้ชัดเจนและทุกคนในหน่วยงานต้องมีความเข้าใจ
ที่ตรงกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบและก�ำหนดกรอบระยะเวลา
หน่วยงานต้องท�ำการวิเคราะห์หาปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่า
มีผลกระทบต่อเป้าหมายที่ก�ำหนด สิ่งที่ไม่แน่นอนในอนาคต
(Uncertainties) เพื่อสร้างฉากทัศน์ (Scenario) และระบุ
เหตุการณ์ส�ำคัญที่ท�ำให้สามารถบรรลุเป้าหมาย พร้อมกรอบ
ระยะเวลาเพื่อบรรลุไปสู่เป้าหมาย
การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาของเทคโนโลยี
การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีการ
พัฒนาตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น การใช้แอปพลิเคชันในการ
เรียกรถแท็กซี่ โดยผู้บริโภคยังคงใช้บริการแท็กซี่ตามเดิม
ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เปลี่ยนไป คือรูปแบบที่ใช้ในการ
เรียกรถแท็กซี่ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หน่วยงานต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ให้สามารถ
ตอบสนองต่อเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้
สิ่งส�ำคัญในการท�ำ Technology Foresight คือ
1
2
3
4
TECHNOLOGY FORESIGHT
1970 1975 1980 1985 1990 1995 2000 2005 2010
1972
Soviet Union
1982
United States
1985
Germany
1989
Australia
1970
Japan
1991
South Korea,
Philippines
1994
Italy, France,
United Kingdom
1992
Netherlands,
New Zealand
1995
India
1996
Indonesia,
Canada
1997
Thailand, Finland, Hungary,
South Africa, Nigeria
1998
Austria, Ireland,
Spain, Sweden
2000
Argentina, Bolivia, Brazil,
Mexico, Venezuela
2001
Czech Republic
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย18
จากไทม์ไลน์ของการน�ำ Technology Foresight มาใช้ในประเทศต่าง ๆ จะพบว่า ญี่ปุ่นเป็น
ประเทศแรกๆ ที่มีการน�ำแนวคิดการท�ำ Technology Foresight มาใช้ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.
1970 ก่อนที่ประเทศอื่น ๆ อย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย จะเห็นความส�ำคัญและ
น�ำแนวคิดดังกล่าวมาใช้จนเริ่มเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน
ภาพที่ 2.1
ไทม์ไลน์ของการน�ำ Technology Foresight มาใช้ในประเทศต่างๆ
ที่มา : future (2012)
PRE-FORESIGHT POST-FORESIGHTMAIN FORESIGHT
CRITICAL CHOICES
CONCLUSIONS
Selection of topics
Expert answer
questions/comment
Convergence of
opinion? Use of results
• no. of experts
in each field
sufficient?
• Peer group blas
in answers?
• Quality of
questions?
• Common
understanding?
• How to obtain
experts?
• Only experts
sufficient?
• Expecations too
high
• Political economy
aspects
• Combine
different
techniques
(roadmapping,
scenario writing)
• Could be
difficult for
smaller,
developing
economies
• Questions
must be tailored
to local
conditions
• Government
support needed
• High cost
19Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
การท�ำ Technology Foresight มีเครื่องมือที่หลากหลายที่น�ำมาใช้ประกอบการมองอนาคต
ตัวอย่างเช่น การส�ำรวจข้อมูลผ่านแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์
แนวโน้มของเทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จากเครื่องมือที่หลากหลายในการมองอนาคต สิ่งที่ส�ำคัญต่อมาคือ กระบวนการท�ำ Tech-
nology Foresight ที่ประกอบด้วย 3 กระบวนหลักได้แก่ Pre-foresight Main foresight
และ Post foresight
Pre-foresight คือ การท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา แนวโน้ม และก�ำหนดขอบเขต
ของการมองอนาคตว่าจะเป็นระดับใด ระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับองค์กร
และต้องก�ำหนดให้ชัดเจนว่าจะมองอนาคตในระยะกี่ปี หรือเจาะจงเฉพาะประเด็นใด โดยหนังสือ
เล่มนี้ก�ำหนดขอบเขตการมองอนาคตไว้ดังนี้
1.	 แนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในระยะ 3 ปี ของหน่วยงาน
	 ภาครัฐไทย
ภาพที่ 2.2
Typical foresight process
ที่มา : Dominik Schlossstein and Byeongwon Park (2006)
มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย
หน‹วยงานใหŒความสําคัญในการนําเทคโนโลยี
มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน…
หน‹วยงานมีจํานวนบุคลากรที่เพียงพอก‹อนร‹างแผนแม‹บท
ของหน‹วยงานในการนําเทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
หน‹วยงานมีองคความรูŒและทักษะของบุคลากรที่เพียงพอในการนํา
เทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
หน‹วยงานไดŒรับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต‹อการนํา
เทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
หน‹วยงานมีความต‹อเนื่องของนโยบาย
ดŒานเทคโนโลยีดิจิทัล
ผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการใชŒงานเทคโนโลยีในป‚ที่
ผ‹านมาเปšนที่น‹าพึงพอใจ
หน‹วยงานควรมีการศึกษาความตŒองการของผูŒใชŒบริการ (เช‹น
ประชาชน บุคลากรของหน‹วยงาน เปšนตŒน)
หน‹วยงานมีความตŒองการการสนับสนุนจากหน‹วยงาน
ภายนอก
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย20
Main foresight คือ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม
รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย
1.	 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ
2.	 ส�ำรวจข้อมูลผ่านแบบสอบถาม จากหน่วยงานภาครัฐระดับกรมจ�ำนวน 382 หน่วยงาน
ผลการส�ำรวจข้อมูล พบว่าหน่วยงานภาครัฐให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจ�ำนวน
168 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.	 หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ (110 หน่วยงานจาก
	 168 หน่วยงาน) มีการบรรจุแนวทางการน�ำ
	 เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับการท�ำงานหรือการ
	 เปลี่ยนผ่านรัฐบาลดิจิทัล ในการจัดท�ำแผนปฏิบัติ
	 งานของแต่ละหน่วยงาน
2.	 หน่วยงานภาครัฐมีการจัดท�ำแผนการปฏิบัติงานด้านรัฐบาลดิจิทัลที่สอดคล้องกับ (ร่าง)
	 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ สพร.
3.	 การประเมินความพร้อมด้านนโยบาย ท�ำการส�ำรวจ 8 ข้อย่อยดังผลส�ำรวจด้านล่าง
65เปอรเซนต
มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย
ผูŒบริหารของหน‹วยงานมีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšนต‹อ
การนําเทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
บุคลากรของหน‹วยงานมีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšนต‹อ
การนําเทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
จํานวนบุคลากรของหน‹วยงานมีความเพียงพอต‹อการนํา
เทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
หน‹วยงานควรว‹าจŒางผูŒเชี่ยวชาญในการดําเนินงาน
ดŒานเทคโนโลยี
21Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
หน่วยงานภาครัฐให้ความส�ำคัญในการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน และ
ก่อนร่างแผนปฏิบัติงาน การพัฒนาระบบหรือบริการ ควรมีการศึกษาความต้องการของ
ผู้ใช้บริการ (เช่น ประชาชน บุคลากรของหน่วยงาน) แต่ด้วยข้อจ�ำกัดทางด้านจ�ำนวนบุคลากร
ทักษะความรู้ความสามารถ อีกทั้งงบประมาณที่จ�ำกัด หน่วยงานจึงมีความต้องการการสนับสนุน
จากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นที่น่าพึงพอใจ
4.	 การประเมินความพร้อมบุคลากรด้านเทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำเนินงาน
	 ต่าง ๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้น บุคลากร ของแต่ละ
	 องค์กร รวมถึงผู้บริหารของหน่วยงานควรมีทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับการน�ำเทคโนโลยี
	 มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมในการท�ำงาน เพื่อพัฒนากระบวนการท�ำงาน
	 หรือระบบงานและระบบการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และ
	 มีประสิทธิภาพ โดยอาจท�ำการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการด�ำเนินงานด้านเทคโนโลยี
	 เข้ามามีส่วนร่วม
ส‹วนที่ 1
ผูŒบริหารของหน‹วยงาน
มีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšน
ต‹อการนําเทคโนโลยีมาใชŒ
ในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
ส‹วนที่ 2
บุคลากรของหน‹วยงานมี
ความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšน
ในการนําเทคโนโลยี
มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
ส‹วนที่ 3
จํานวนบุคลากรของหน‹วยงานมี
ไม‹เพียงพอต‹อการนําเทคโนโลยี
มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน
จึงควรมีการจŒางผูŒเชี่ยวชาญเขŒามา
ช‹วยดําเนินงานดŒานเทคโนโลยี
มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย
IT Infrastructure (Network, Server, Cloud,
Data Center, Cybersecurity)
Application Software
Data Analytics Center
Internet of Things หรือ IoT
Workstation (คอมพิวเตอร, Notebook, Smart Device)
Artificial Intelligence หรือ AI
Blockchain
เครือข‹าย 5G
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย22
จากการส�ำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตที่ส�ำคัญส�ำหรับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ในระยะ ๓ ปีของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า
5.	 ส�ำหรับระบบ IT Infrastructure (Network, Server, Cloud, Data Center,
	 Cybersecurity) ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่หน่วยงานภาครัฐให้ความส�ำคัญเป็นอันดับ
	 แรกในการลงทุน รองลงมาจะเป็น Data Analytics Center, Application Software
	 Workstation (คอมพิวเตอร์, Notebook, Smart Device) และเครือข่าย 5G เพื่อให้
	 มีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนหน่วยงาน ส�ำหรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง AI
	 (ปัญญาประดิษฐ์) หรือ Blockchain ควรเตรียมการด้านอื่น ๆ ให้พร้อมก่อนการลงทุน
	 โดยพิจารณาจากภารกิจของหน่วยงานเป็นหลัก
มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย
ผูŒบริหารของหน‹วยงาน
บุคลากรของหน‹วยงาน
องคความรูŒที่ใหม‹และเปลี่ยนแปลงอย‹างรวดเร็ว
กฎระเบียบ ขŒอบังคับ
งบประมาณ
การคัดเลือกโครงการ
23Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
6.	 อุปสรรคต่อการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน ประกอบด้วย งบประมาณ
	 องค์ความรู้ที่ใหม่และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฏระเบียบ ข้อบังคับ และสุดท้าย
	 การคัดเลือกโครงการ
7.	 ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่ตอบแบบสอบถามเสนอให้มีการจัดท�ำระบบกลางของหน่วย
	 งานภาครัฐที่ทุกหน่วยงานสามารถใช้บริการร่วมกัน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง
	 หน่วยงานได้ รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่โดยหน่วย
	 งานกลาง อย่างเช่น สพร.
8.	 การหาความสัมพันธ์ในแต่ละเรื่อง ทั้งความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน และความ
	 สัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม ซึ่งพบว่าหน่วยงานให้ความส�ำคัญในการน�ำเทคโนโลยี
	 มาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงานก่อนการร่างแผนแม่บทของหน่วยงาน มีความสัมพันธ์
	 ระดับปานกลางกับเรื่ององค์ความรู้และทักษะของบุคลากรที่เพียงพอในการน�ำ
	 เทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน
	 a.	 ความต่อเนื่องของนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความเพียงพอของจ�ำนวนบุคคล
		 มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับองค์ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคลากร
		 รวมถึงความต่อเนื่องของนโยบายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละปี
		 แต่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงาน
		 ภายนอก
	 b.	 ผู้บริหารของหน่วยงานมีความเข้าใจพื้นฐานที่จ�ำเป็นในการน�ำเทคโนโลยีมาใช้การ
		 ขับเคลื่อนหน่วยงานมีความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูงเกี่ยวกับการมีความรู้ความ
		 เข้าใจพื้นฐานของบุคลากรในหน่วยงาน
ส‹วนที่ 1
กระบวนการตัดสินใจร‹วมกัน
มุ‹งเนŒนการแสดงความคิดเห็น
การตัดสินใจร‹วมกันของ
ผูŒมีส‹วนไดŒส‹วนเสีย
ส‹วนที่ 2
การวางแผน ประกอบดŒวย
การเรียงลําดับความสําคัญ
และการระบุความเสี่ยง
ส‹วนที่ 3
มุมมองต‹ออนาคต
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย24
	 c.	 ความเพียงพอของบุคลากรในหน่วยงาน และ IT Infrastructure (Network,
		 Server, Cloud, Data Center, Cybersecurity) มีความสัมพันธ์กับ Application
		 Software และ Workstation (คอมพิวเตอร์, Notebook, Smart Device)
		 และ Application Software สัมพันธ์กับ Data Analytics Center IoT,
		 AI, Blockchain
	 d.	 อุปสรรคต่อการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน
		 -	 ผู้บริหารของหน่วยงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับบุคลากรระดับ
			 ปฏิบัติการและองค์ความรู้ที่ใหม่
		 -	 การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีความสัมพันธ์กับระเบียบ ข้อบังคับ
Post-foresight คือ การด�ำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูลและสภาพแวดล้อม ที่ได้
จากการด�ำเนินการในกระบวนการที่ 1 และ 2 ไปใช้ในการวางแผนอนาคต ก�ำหนดทิศทาง
นโยบายต่อไป
หลังจากที่ด�ำเนินการในกระบวนที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ต้องท�ำการพิจารณาถึงคุณสมบัติ
และตรรกะพื้นฐานของการมองอนาคตร่วมกับการท�ำ Post-foresight โดยต้องพิจารณา 3
องค์ประกอบหลัก ได้แก่
มุมมองสามมิตินี้เป็นองค์ประกอบส�ำหรับการใช้การมองอนาคตทางเทคโนโลยี ในการ
ก�ำหนดนโยบาย รวมถึงการก�ำหนดล�ำดับความส�ำคัญและประเมินผลกระทบประเมินผลกระทบ
ของนโยบาย และกระบวนการประเมินผล (Cuhls, 2000)
FORESIGHT
Social, technology,
economic ecological,
political trends &
values/ normsTap decentralized
non-connected
knowledge
resources
Pooling
“collective wisdom”
Intensify
collaborative R&D
Set priorities and
assess impacts
Marry future
demand with today’s
R&D investment
Managing
uncertainty through
interaction
Align R&D with
sociatal needs
Contribute to
shaping the NIS
Planning
Networking Futures
25Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
ภาพที่ 2.3
Properties of foresight
ที่มา : Dominik Schlossstein and Byeongwon Park (2006)
ตัวอย่างการมองอนาคต
3
การมองอนาคต
ในแต่ละประเทศ...
สรุป
บทที่ 3
ในการวางแผน การก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย การวางอนาคต และทิศทางการพัฒนาประเทศ
ว่าเป็นไปในทิศทางใด หากมีการน�ำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางจะช่วยให้
รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถมองอนาคตได้แม่นย�ำมากขึ้น และการวางแผนได้
ถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง เพราะสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเห็น
ได้จากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด
ล้วนแต่มีการน�ำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางทั้งนั้น
ดังนั้น หากไม่มีการท�ำ Foresight หรือไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ ทั้งภายใน
และภายนอก อาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ประเทศได้ ดังประเทศเวเนซุเอลา
และอาร์เจนตินา ที่เคยเป็นประเทศร�่ำรวย จากการพบบ่อน�้ำมันดิบขนาดใหญ่ แต่จาก
สถานการณ์ผันผวนของราคาน�้ำมันโลก และไม่มีการเตรียมความพร้อม ท�ำให้กลายเป็น
ประเทศล้มละลายและ GDP ติดลบ
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย28
เริ่มต้นด้วยประเทศที่มีการน�ำ Technology
Foresight หรือ การมองอนาคตมาใช้เป็น
ประเทศแรก ๆ อย่างญี่ปุ่น และประเทศที่
ประสบความส�ำเร็จจากการน�ำ Technology
Foresight มาใช้เป็นแนวทางในการบริหาร
ประเทศไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ เกาหลีใต้และจีน
29Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
ญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่เกิดภัยพิบัติรุนแรงต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น
“ไต้ฝุ่นเซบี” ที่มีความรุนแรงและเสียหายมากที่สุดในรอบ 25 ปี และอุทกภัยครั้งใหญ่ใน
จังหวัดฮิโรชิมา ในช่วงฤดูฝนปี ค.ศ. 2018 แต่หลังเกิดภัยพิบัติรุนแรง คนญี่ปุ่นทั้งในหน่วย
งานรัฐและประชาชน ช่วยกันฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากรัฐบาลมีการวางแผน การเตรียมการรับมือหลังภัยพิบัติ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะ
หน้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งความมีวินัยของคนญี่ปุ่น ที่ร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ว่าจะเกิดภัยพิบัติ
มากมายหลายครั้งก็ตาม
นอกจากภัยพิบัติซ�้ำซากที่ญี่ปุ่นต้องรับมือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นต้องเร่งฟื้นฟู เพราะเมืองส�ำคัญต่าง ๆ รวมถึงก�ำลังการผลิตได้ถูก
ท�ำลายไป แต่ญี่ปุ่นกลับใช้เวลาไม่ถึง 30 ปี ในการฟื้นฟูประเทศ
ญี่ปุ่น
Tokyo
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย30
ส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ญี่ปุ่นสามารถวางแผน
ก�ำหนดทิศทาง และการวางเป้าหมายในการ
พัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
คือ การน�ำ Technology Foresight มาใช้
เป็นแนวทางในวางแผน ก�ำหนดทิศทาง
และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ท�ำให้
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดู
ได้จากค่า GDP Per Capita ที่เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่
41,314.41 (US$) ซึ่งโตขึ้น 0.82
ญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศที่บุกเบิกการน�ำ
Technology Foresight มาใช้ในการ
บริหารจัดการประเทศ โดยเริ่มน�ำมาใช้
ครั้งแรกเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว หรือช่วง
ปี พ.ศ. 2513 ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นประเทศ
ที่ประสบความส�ำเร็จและเป็นตัวอย่างของ
การน�ำ Technology Foresight มาใช้
ส�ำหรับการท�ำ Technology Foresight นั้น ญี่ปุ่นมีการจัดท�ำมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง โดย
ท�ำทุก 5 ปี เพื่ออัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ และข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากท�ำ Technology
Foresight ในครั้งที่ผ่านมา
การท�ำ Technology Foresight ของญี่ปุ่นเริ่มจากการส�ำรวจความต้องการใช้เทคโนโลยี
ใหม่ ศึกษาเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สร้างสถานการณ์จ�ำลองในการพัฒนา และ
ส�ำรวจข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่
ส�ำคัญอย่างมาก โดยท�ำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญอิสระในแต่ละสาขามากกว่า 2,000 คน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับน�ำมาประกอบการมองอนาคตได้อย่างแม่นย�ำ
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและควรเรียนรู้จากญี่ปุ่น คือ แนวคิด การก�ำหนดเป้าหมาย การวางอนาคต
ของญี่ปุ่น ทิศทางการพัฒนาประเทศจะเป็นไปในทิศทางใด
31Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
ญี่ปุ่นกับไทยมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน
คือ การท�ำนาข้าวแต่ด้วยพื้นที่ในการท�ำ
เกษตรกรรมของญี่ปุ่นค่อนข้างจ�ำกัด และ
สภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการท�ำการเกษตร
ท�ำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ ต้องน�ำเข้า
ข้าวจากต่างประเทศ
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ให้ความส�ำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการ
เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของญี่ปุ่น มีการน�ำเทคโนโลยี
และเทคนิคต่าง ๆ มาช่วย ท�ำให้สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงขึ้นเพียงพอต่อความต้องการ
ของคนในประเทศและสามารถส่งออกได้อีกด้วย
สังคมญี่ปุ่น 5.0 คือ แนวคิดการน�ำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม เช่น การน�ำปัญญาประดิษฐ์มาทดแทนการท�ำงานบางอย่างของคน การน�ำข้อมูล
ที่เก็บไว้บน Cloud มาใช้ในการวิเคราห์ต่อยอดบริการต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่ส�ำคัญ คือ
การรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาทางสังคม รวมถึงการเผชิญกับ
การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย32
สิงคโปร์ เป็นประเทศผู้น�ำด้านเทคโนโลยีในกลุ่มประเทศอาเซียน และล�ำดับต้น ๆ ของเอเชีย
เลยก็ว่าได้ และยังเป็นประเทศที่มีการน�ำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผน
การท�ำงานรัฐบาล เช่น การก�ำหนดนโยบายของประเทศ ช่วยให้สามารถบริหารงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ และสามารถมองอนาคตได้แม่นย�ำมากขึ้น
	
ย้อนไปประมาณ 60 ปีที่แล้ว หรือประมาณปี พ.ศ. 2503 สิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่
แยกตัวออกมาจากมาเลเซีย และเป็นประเทศที่ท�ำเกษตรกรรม เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ เช่นเดียวกับ
ประเทศไทย ต่างกันตรงที่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียบพร้อมแบบไทย ต้อง
ถมทะเลเพื่อให้มีที่ดินใช้สอย ต้องซื้อน�้ำจืดจากประเทศอื่นมาใช้
	
แต่ใครจะไปรู้ว่า เวลาผ่านไปไม่นาน สิงคโปร์กลายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศผู้น�ำทั้งทาง
ด้านเทคโนโลยีและในหลาย ๆ ด้าน ถือเป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดอย่างมาก
ทั้งในเรื่องของการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม ช่วยให้การเดินทางสะดวกสบาย
ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มสมดุลระหว่างชีวิตและการท�ำงาน
สิงคโปร์
Singapore
parks and
gardens350
km. of park
connectors313
hectares of
nature reserves3,347
hectares of
skyrise greenery100
million
urban trees2
km. of
nature ways80
community
gardens1,300
33Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
(Work-Life Balance) รวมถึงการน�ำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการผลิตน�้ำจืดใช้เอง
ท�ำให้ไม่ต้องน�ำเข้าน�้ำจืดจากประเทศเพื่อนบ้าน
การน�ำเอา Foresight มาใช้ในการจัดท�ำแผนพัฒนาประเทศของสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2523 หรือ ค.ศ. 1980 โดยวางแผนในการจัดผังเมืองที่อยู่อาศัยของประชาชนก่อน
เพราะสิงคโปร์มีพื้นที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
เริ่มต้นจากเรื่องพื้นที่สีเขียวของสิงคโปร์ ในโครงการ The City in a Garden โดยนายลี กวนยู
อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต้องการเปลี่ยนสิงคโปร์ให้เป็นเมืองสีเขียวและมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร่มรื่น
สะอาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสิงคโปร์ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน
จากโครงการดังกล่าว ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวมาก
ที่สุดในโลก ในขณะที่มีขนาดพื้นที่เท่ากับจังหวัดภูเก็ตของไทยเท่านั้น แต่มีสวนสาธารณะ
มากถึง 350 แห่ง และเชื่อว่าหลายท่านที่เคยไปเยือนสิงคโปร์ต้องเคยไป Botanic Garden
มาแล้ว
Singapore : City in a Garden
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย34
นอกจากนั้นยังน�ำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ เช่น การรับมือกับสังคม
ผู้สูงอายุและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจว่าท�ำไมสิงคโปร์ถึง
เป็นประเทศพัฒนาแล้วแบบก้าวกระโดด
ในชื่อ “Scenario Planning Plus” (SP+) ที่ต่อยอดมาจากของเดิม และเพิ่มเรื่องการวิเคราะห์
หาสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะอ่อนแอ และแรงขับเคลื่อนที่มีโอกาสเกิดได้น้อยแต่หากเกิดขึ้น
จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมาก
ตัวอย่างหนึ่งของการสร้างฉากทัศน์ที่ประสบความส�ำเร็จอย่างเห็นได้ชัดของสิงคโปร์ คือ
ฉากทัศน์เมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติจนไม่สามารถออกจากบ้านได้
เป็นที่มาของนโยบาย การเรียนการสอนออนไลน์ การท�ำงานแบบ Work From Home หรือ
WFH ในทุกปี โดยจัดให้มีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อท�ำให้คนสิงคโปร์สามารถปรับตัว
ปรับเปลี่ยนวิถีการด�ำรงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
สิงคโปร์ ถือเป็นประเทศที่ประสบความส�ำเร็จจากการน�ำ Foresight
มาใช้ในการวางแผนและการพัฒนาประเทศอย่างเห็นได้ชัด และ
ยังพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์อนาคต (Foresight Tools)
ขึ้นเป็นของตนเอง
35Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย36
เกาหลีใต้ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมาก และเมื่อ
พูดถึงประเทศเกาหลีใต้ หลายท่านอาจจะนึกถึง ซีรีย์เกาหลี นักร้อง K-Pop การท�ำศัลยกรรม
หรือเครื่องส�ำอางค์ ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญของเกาหลีใต้ก็ว่าได้ ย้อนกลับไปในช่วง
ปลายปี พ.ศ. 2503 หรือ ค.ศ. 1960 ประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกัน
อย่างมาก ทั้งในเรื่องการท�ำเกษตรกรรม หรือแม้แต่ในเรื่องค่าแรง ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
พอ ๆ กันประมาณ 440 บาท
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 50 ปี เกาหลีใต้แซงไทยในหลายเรื่องตั้งแต่เรื่องรายได้ ที่ปัจจุบันเกาหลีใต้
รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อเดือนมากกว่าไทยถึง 5 เท่า ด้านการศึกษาวิจัย เกาหลีใต้มีแบรนด์
สินค้าเป็นของตัวเอง อย่างเช่น ฮุนได ซัมซุง และยังเป็นประเทศที่มีสินค้าส่งออกมากมาย
ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร รถยนต์ และมีค่า GDP ต่อหัวของเกาหลีใต้สูงกว่าไทยเกือบ
4 เท่าตัว โดยมี GDP Per Capita (US$) อยู่ที่ 32,765.843
เกาหลีใต้
Seoul
DRIVE
CONTINUOUS
ECONOMIC GROWTH
IMPROVE
THE QUALITY
OF LIFE
Create new industries
through IT convergence
Provide a comfortable,
convenient living environment
Ensure a healthy
life expectancy
Establish a safe and
secure society
Expand future
growth engines
37Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
เกาหลีใต้ถือเป็นอีกประเทศที่ให้ความส�ำคัญกับการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการลงทุน
ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรม น�ำเข้าสินค้าและ บริการด้าน
เทคโนโลยี จนกลายเป็นประเทศผู้น�ำด้านเทคโนโลยี และสามารถผลิตและส่งออกได้
และเริ่มมีการน�ำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผนการด�ำเนินงาน การก�ำหนด
นโยบายของประเทศ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1993-1994 และใช้ประกอบการจัดท�ำแผนการด�ำเนินงาน
ของรัฐบาล ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ที่เกาหลีใต้มีการออกกฏหมายเกี่ยวกับ พรบ. วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 2001
การท�ำ Foresight ของเกาหลีใต้ใช้เทคนิคเดลฟาย ประกอบการวิเคราะห์แนวโน้ม โดยมี
วัตถุประสงค์ในการน�ำ Foresight มาใช้ครั้งแรกเพื่อการวางแผนด้านกลยุทธ์ในการพัฒนา
โครงการวิจัยในระยะยาว เพื่อ “ยกระดับกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ในยุค
ค.ศ. 2000 สู่ระดับของประเทศ G7” และได้มีการเพิ่มงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น
กว่าเดิม 1 ล้านล้านวอน ในการคาดการณ์เทคโนโลยีที่ส�ำคัญในอนาคตครั้งนั้นพบว่า จะมี
เทคโนโลยีถึง 1,174 รายการใน 20 ปีข้างหน้า
การจัดท�ำแผนเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ของเกาหลีใต้ ด�ำเนินการทุก 5 ปี
มีการวางแผนกิจกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับหน่วยงาน ซึ่งจากการจัดท�ำแผนดังกล่าว
เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส�ำคัญในอนาคตที่ควรน�ำมาใช้ให้
เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถน�ำมาใช้ก�ำหนดนโยบาย การวางแผน รวมถึง
มีกระบวนการในการคัดเลือกเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการน�ำเทคโนโลยี
ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้
ที่มา : MSIP, KISTEP, 2013c
GOVTECH FORESIGHT
อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย38
จีน ถือเป็นเป็นประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งของโลกหรืออาจจะเปรียบเป็น
คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัย และพัฒนาสินค้าและบริการของ
ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการผลิตสินค้าส�ำหรับใช้เองภายในประเทศและส่งออกจ�ำนวนมากเป็น
อันดับหนึ่งของโลก
แต่ด้วยความที่จีนเป็นประเทศที่มีประชากรจ�ำนวนมาก มีความต้องการและก�ำลังในการซื้อสูง
จึงมีการน�ำเข้าสินค้าบางประเภทจากประเทศอื่นด้วยเช่นกัน ได้แก่ น�้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์
น�้ำมัน เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้
หากย้อนไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงราว ๆ ปี พ.ศ. 2490 จะพบว่า คนจีนจ�ำนวนมาก
อพยพออกจากประเทศ เพื่อหนีสงครามกลางเมือง หนีความยากจน ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่ง
ที่คนจีนแต้จิ๋วอพยพมามากที่สุด
จีน
Beijing
39Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
เพื่อเป็นการหลีกหนีกับดักความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจ 30 ปีต่อมา รัฐบาลจีนจึงท�ำการ
ปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศในปี พ.ศ. 2521 โดยมีการวางแผนและก�ำหนดนโยบายการ
พัฒนาประเทศ เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถไปลงทุนในประเทศจีนได้
หลังจากที่จีนท�ำการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศ พบว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของจีนดีขึ้นแบบก้าวกระโดดเฉลี่ยอยู่ที่ปีละเกือบ 6% แต่ก็ต้องพบกับภาวะการชะลอตัวทาง
เศรษฐกิจโลก บวกกับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ (Trade War) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
ท�ำให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มการเติบโตลดลง และในปี พ.ศ. 2562 GDP Per Capita (US$)
อยู่ที่ 10,276
จากภาวะดังกล่าว จีนได้ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และค่าเงินหยวนอย่าง
ต่อเนื่องในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และเพื่อยกระดับมาตรฐานการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ให้ดียิ่งขึ้น การปรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจีนให้ความ
ส�ำคัญเป็นอย่างมาก
ส�ำหรับทางด้านการเกษตร รัฐบาลจีนมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอ
ส�ำหรับการบริโภคภายในประเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เพื่อยกระดับการผลิต
และการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน
จีนถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการน�ำ Foresight มาใช้ประกอบการวางแผน วางกลยุทธ์ ก�ำหนด
นโยบายเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น และนโยบายสังคมที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของ
ประชากร ซึ่งถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบความส�ำเร็จอย่างมาก ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ และ
เทคโนโลยี อย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคงเป็นเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือก
ซื้อสินค้าและช�ำระเงินได้ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยแอปพลิเคชันอย่าง Alipay และ WeChat Pay
การท�ำ Foresight เป็นเครื่องมือที่หลายประเทศที่ประสบความส�ำเร็จ น�ำไปใช้เป็นแนวทาง
ในวางแผน ก�ำหนดนโยบายต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งนโยบายการบริหารประเทศเป็นสิ่งส�ำคัญ
อย่างมาก หากประเทศใดไม่มีการท�ำ Foresight หรือไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ
ทั้งภายในและภายนอก อาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ประเทศได้ ดังประเทศ
เวเนซุเอลาและอาร์เจนตินา เป็นต้น
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020

Contenu connexe

Tendances

นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10IMC Institute
 
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0maruay songtanin
 
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2ETDAofficialRegist
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_120181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1ETDAofficialRegist
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed20181102 etda annual-2017-for_download_compressed
20181102 etda annual-2017-for_download_compressedETDAofficialRegist
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016คุณโจ kompat
 
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Settapong Malisuwan
 
Thai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of TechnologyThai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of Technologypantapong
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมKm & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมmaruay songtanin
 
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutDigital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutAsst.Prof.Dr.Arnut Ruttanatirakul
 
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformationเพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital TransformationIMC Institute
 

Tendances (15)

นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10
 
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0
Sustainability of production 4.0 การผลิตอย่างยั่งยืน 4.0
 
ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014
 
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
วัยใส วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต 2
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_120181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed_1
 
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed20181102 etda annual-2017-for_download_compressed
20181102 etda annual-2017-for_download_compressed
 
Modern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economyModern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economy
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
 
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Digital transformation พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
Thai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of TechnologyThai-Japan : Management of Technology
Thai-Japan : Management of Technology
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมKm & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม
Km & disruptive technologies การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม
 
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutDigital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
 
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformationเพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
 

Similaire à Government Technology Foresight 2020

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรSoftware Park Thailand
 
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัลแนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัลIsriya Paireepairit
 
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailand
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in ThailandIntroduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailand
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailandsiriporn pongvinyoo
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressedETDAofficialRegist
 
Digital Disruption กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next Normal
Digital Disruption  กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next NormalDigital Disruption  กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next Normal
Digital Disruption กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next NormalDr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
02 passakon-prathombutr-royin-20190831
02 passakon-prathombutr-royin-2019083102 passakon-prathombutr-royin-20190831
02 passakon-prathombutr-royin-20190831thanaruk theeramunkong
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยSoftware Park Thailand
 
Strategic IT Governance and IT Security Management Course
Strategic IT Governance and IT Security Management CourseStrategic IT Governance and IT Security Management Course
Strategic IT Governance and IT Security Management CourseSoftware Park Thailand
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิยะดนัย วิเคียน
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิยะดนัย วิเคียน
 
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018IMC Institute
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยSoftware Park Thailand
 
Nia directory - nesdb seminar - 2017-07-03
Nia   directory - nesdb seminar - 2017-07-03Nia   directory - nesdb seminar - 2017-07-03
Nia directory - nesdb seminar - 2017-07-03Pun-Arj Chairatana
 

Similaire à Government Technology Foresight 2020 (20)

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ และผลกระทบกับองค์กร
 
ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016
 
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัลแนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล
แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล
 
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailand
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in ThailandIntroduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailand
Introduction to Apply Social Networking for Goverment Agencies in Thailand
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
 
Digital Disruption กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next Normal
Digital Disruption  กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next NormalDigital Disruption  กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next Normal
Digital Disruption กับการเปลี่ยนแปลงยุค Next Normal
 
e-Commerce
e-Commercee-Commerce
e-Commerce
 
02 passakon-prathombutr-royin-20190831
02 passakon-prathombutr-royin-2019083102 passakon-prathombutr-royin-20190831
02 passakon-prathombutr-royin-20190831
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
Digital Awareness
Digital AwarenessDigital Awareness
Digital Awareness
 
Digital Transformation
Digital TransformationDigital Transformation
Digital Transformation
 
Strategic IT Governance and IT Security Management Course
Strategic IT Governance and IT Security Management CourseStrategic IT Governance and IT Security Management Course
Strategic IT Governance and IT Security Management Course
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
5 ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออนาคตประเทศไทย
5 ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออนาคตประเทศไทย5 ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออนาคตประเทศไทย
5 ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออนาคตประเทศไทย
 
Ifbl handbook
Ifbl handbookIfbl handbook
Ifbl handbook
 
Smart industry vol32
Smart industry vol32 Smart industry vol32
Smart industry vol32
 
Nia directory - nesdb seminar - 2017-07-03
Nia   directory - nesdb seminar - 2017-07-03Nia   directory - nesdb seminar - 2017-07-03
Nia directory - nesdb seminar - 2017-07-03
 

Plus de Prachyanun Nilsook

Generative Artificial Intelligence for Imagineering in education
Generative Artificial Intelligence for Imagineering in educationGenerative Artificial Intelligence for Imagineering in education
Generative Artificial Intelligence for Imagineering in educationPrachyanun Nilsook
 
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdfPrachyanun Nilsook
 
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdf
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdfเทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdf
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdfPrachyanun Nilsook
 
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาบทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาPrachyanun Nilsook
 
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิตระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิตPrachyanun Nilsook
 
Instructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationInstructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationPrachyanun Nilsook
 
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfคู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfPrachyanun Nilsook
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdf
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdfแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdf
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdfPrachyanun Nilsook
 
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.Prachyanun Nilsook
 
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอนเทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอนPrachyanun Nilsook
 
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนPrachyanun Nilsook
 
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์Prachyanun Nilsook
 
Online education innovation_new_normal_2022
Online education innovation_new_normal_2022Online education innovation_new_normal_2022
Online education innovation_new_normal_2022Prachyanun Nilsook
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2Prachyanun Nilsook
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1Prachyanun Nilsook
 
การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
การทำผลงานทางวิชาการ  เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการการทำผลงานทางวิชาการ  เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการPrachyanun Nilsook
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ Prachyanun Nilsook
 

Plus de Prachyanun Nilsook (20)

Generative Artificial Intelligence for Imagineering in education
Generative Artificial Intelligence for Imagineering in educationGenerative Artificial Intelligence for Imagineering in education
Generative Artificial Intelligence for Imagineering in education
 
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf
3.เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_12.pdf
 
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdf
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdfเทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdf
เทคนิคการเขียนบทความระดับนานาชาติ_2566_10.pdf
 
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาบทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
บทบาทของวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
 
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิตระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต
ระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต
 
Instructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal EducationInstructional Design for Next Normal Education
Instructional Design for Next Normal Education
 
BCG Model
BCG ModelBCG Model
BCG Model
 
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfคู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdf
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdfแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdf
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน-สอศ.2559.pdf
 
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
 
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอนเทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน
เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน
 
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
 
Digital leadership 2022
Digital leadership 2022Digital leadership 2022
Digital leadership 2022
 
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์
กระบวนการร่างบทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์
 
Online education innovation_new_normal_2022
Online education innovation_new_normal_2022Online education innovation_new_normal_2022
Online education innovation_new_normal_2022
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา1
 
การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
การทำผลงานทางวิชาการ  เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการการทำผลงานทางวิชาการ  เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
 
Digital transformation
Digital transformation Digital transformation
Digital transformation
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
 

Government Technology Foresight 2020

  • 2.
  • 3. บรรณาธิการบริหาร ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ บรรณาธิการ นางณพิชญา เทพรอด นายพิสิษฐ์ ปิยพสุนทรา ที่ปรึกษา ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ คณะผู้จัดท�ำ นางสาวพิมพ์ลักษณ์ กลางวิชิต นายเมฆินทร์ วรศาสตร์ จัดท�ำโดย ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2563 จ�ำนวน 500 เล่ม ISBN 978-616-8001-18-9 อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย เวอร์ชัน 1.0 (พฤศจิกายน 2563) ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) Digital Government Development Agency (Public Organization) (DGA) อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ 108 ถนนรางน�้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ (+66) 0 2612 6000 โทรสาร (+66) 0 2612 6011, (+66) 0 2612 6012 Contact Center (+66) 0 2612 6060 อีเมล contact@dga.or.th GOVTECH FORESIGHT
  • 4. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย2 ในยุค VUCA (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) ทางเดินข้างหน้า ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และไม่ชัดเจน การบริหาร งานแบบ Agile ที่ต้องการความรวดเร็ว lean และมีประสิทธิภาพเป็น สิ่งจ�ำเป็นที่ต้องในทุกองค์กร แต่การบริหารจัดการเหล่านี้ จะไม่ได้ ประสิทธิผล หากขาดเป้าหมาย แนวทาง หรือเราอาจจะเรียกว่า ดาวเหนือ ของบริษัท และ กลยุทธ์ในการเคลื่อนที่ เพื่อให้มั่นใจว่า ทุกกิจกรรม ที่เกิดขึ้นในบริษัทว่องไว รวดเร็ว แต่ยังเดินไปสู่ทิศทางที่เราต้องการ การจะได้มาซึ่งทิศทางในโลกที่ไม่ชัดเจนเช่นนี้ การท�ำ foresight หรือ การคาดการณ์มองไปข้างหน้าเป็นสิ่งส�ำคัญ เพื่อตีกรอบความเป็น ไปได้ ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ และท�ำให้เรามีข้อมูลที่เพียงพอ รับมือกับความเปลี่ยนแปลง การท�ำ Foresight หัวใจส�ำคัญคือ ข้อมูล ที่รอบด้าน ครบ และลึก ยิ่งเรามีข้อมูลมากและมีคุณภาพเท่าไหร่ ยิ่ง มีโอกาสเห็นภาพและเข้าใจโอกาสที่จะเกิดมากเท่านั้น แต่เครื่องมือ ที่ใช้จัดการข้อมูลเหล่านี้ก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน เอกสารชุดที่ท่านก�ำลัง จะได้อ่าน ได้น�ำเสนอภาพของเครื่องมือที่จ�ำเป็น พร้อมตัวอย่างใน การใช้งานกับกรณีของภาครัฐ เพื่อเป็นฐานให้องค์กรและหน่วยงาน อื่น ๆ น�ำไปทดลอง ปรับใช้กับของแต่ละที่ เพื่อจะให้องค์กรพร้อมรับ ความเปลี่ยนแปลงในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วในยุค disruption ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์
  • 5. 3 การมองอนาคตเป็นสิ่งที่มองไกลจนมองอะไรไม่เห็น การมองอนาคต เป็นการมองสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น คนรุ่นเก่าที่พยายามมองอนาคตล้วน เป็นคนที่มีอนาคตสั้นแต่มีประสบการณ์ยาวนาน ส่วนคนรุ่นใหม่ที่ ต้องใช้ชีวิตในอนาคตล้วนมีอนาคตยาวนานแต่มีประสบการณ์ที่สั้น จนมองไม่เห็นอนาคต ความพยายามในการมองให้เห็นอนาคตล้วน เป็นการคาดเดาและเป็นความฝันที่ต้องการอนาคตอันสดใส ความฝันจ�ำเป็นต่อการขับเคลื่อนสรรพสิ่งให้เป็นจริง หากไม่มีความฝัน เสียแล้วจะท�ำความจริงให้ปรากฏได้อย่างไร เมื่อวานนี้และวันที่ผ่านมาล้วนเป็นอดีตเกิดขึ้นจริง พรุ่งนี้เป็นอนาคต ที่จะต้องพบเจอย่อมเกิดขึ้นแน่นอน เทคโนโลยีทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ก็จะท�ำให้เทคโนโลยีเดิม เก่าไปในที่สุด ประเทศไทยยังมีเส้นทางอีกยาวไกลในสังคมโลก รัฐบาลดิจิทัลเป็น อนาคตที่มองเห็นได้ว่าต้องเป็นและต้องมี น่ายินดีและชื่นชมที่มีคน ไทยเก่งกาจมองเทคโนโลยีของโลกที่จะปรับประยุกต์มาใช้กับรัฐบาล ดิจิทัลไทย รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ใครครองเทคโนโลยีผู้นั้นครองโลก ใครมองเห็นอนาคตที่จะเกิดขึ้นจริงได้ชัดกว่าผู้นั้นมองเห็นโลกที่จะเข้า ยึดครอง บ้านเมืองนี้มีความหวังเพราะมีคนจริงจังมองอนาคตให้กับ ประเทศชาติ ขอบคุณที่พวกท่านท�ำสิ่งนี้ให้กับพวกเราคนไทยทุกคน ด้วยจิตคารวะ ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 6. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย4 การวางแผนและก�ำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ขาดการ ไตร่ตรองที่ดี อาจส่งผลให้การพัฒนาประเทศไม่สามารถไปถึงเป้า หมายที่วางเอาไว้ได้ การท�ำ Foresight หรือการคาดการณ์อนาคต จึงเป็นหลักการพื้นฐานที่ส�ำคัญในการตีกรอบความคิด อันจะน�ำมา ซึ่งข้อเสนอแนะและทิศทางในการพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพ ในการท�ำ Foresight ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจาก ผลส�ำรวจก็ดี หรือข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญก็ดี ข้อมูล พวกนี้จะเป็นส่วนส�ำคัญในการตัดสินใจและก�ำหนดแนวทางต่าง ๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีผลอย่างมากในการยกระดับการ บริการของหน่วยงานภาครัฐ ก็คือข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะฉะนั้นการปรับปรุงข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสม�่ำเสมอ การหาข้อมูลแนวโน้มการใช้งานทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจน การคาดการณ์อนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นส่วนส�ำคัญที่ จะท�ำให้ภาครัฐมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยดิจิทัลที่ไม่ซ�้ำซ้อนและ ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดให้มีความเหมาะสมได้ “อนาคต เทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย GovTech Foresight” โดยส�ำนักงาน พัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ยิ่งในการน�ำมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในวางแผน ก�ำหนดทิศทางและ เป้าหมายให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาประเทศให้ มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติต่อไป อ.ดร. สุรณพีร์ ภูมิวุฒิสาร ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 7. 5 จากกระแส “Digital disruption” ทั่วโลก ท�ำให้เราคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของโลกมีผลต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำ วันของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค�ำว่า “Digital transformation” หรือ “Digital disruption” เป็นสิ่งที่เราได้ยิน ได้ฟังกันบ่อย ๆ ปัจจัยทั้ง 4 ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ดังกล่าว ได้แก่ (The four IT mega trends in S-M-C-I Era) S หมายถึง Social media M หมายถึง Mobile computing C หมายถึง Cloud computing และ I หมายถึง Information หรือ Big data เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงของโลกจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) และ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of things) ก�ำลังมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากปัจจัยทั้งสี่ดังกล่าวมีผลกระทบเกิดขึ้นใน 3 ระดับได้แก่ ระดับบุคคลและครอบครัว ระดับองค์กร และระดับ ประเทศ จากปรากฏการณ์ “Digital transformation” และการเข้าสู่ยุค S-M- I-C (Social–Mobile–Information–Cloud) น�ำไปสู่การเจริญเติบโต ของธุรกิจแพลตฟอร์ม (Platform) ซึ่งธุรกิจไม่จ�ำเป็นต้องผลิตสินค้า และบริการเอง แต่เป็นการให้บริการอ�ำนวยความสะดวกและเป็น ตัวกลางในการท�ำธุรกิจระหว่างลูกค้ามากกว่าหนึ่งประเภท ตัวอย่าง Platform ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter Line Instagram เป็นต้น ประเภทค้าปลีก เช่น eBay Alibaba Amazon เป็นต้น ประเภทสื่อ เช่น YouTube เป็นต้น ประเภทการ ช�ำระเงิน เช่น PayPal Alipay เป็นต้น ประเภทระบบปฏิบัติการ บนสมาร์ทโฟน เช่น iOS Android เป็นต้น ประเภทการท่องเที่ยว เช่น Airbnb เป็นต้น ประเภทบริการรถสาธารณะ เช่น Uber Grab เป็นต้น นอกจากจากรูปแบบกระบวนการด�ำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง ไปตามการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว การวิเคราะห์ทางการตลาดยัง เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากเดิมที่วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยหลัก
  • 8. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย6 ประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น อายุ เพศ การศึกษา รายได้ สถานภาพ เป็นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยหลักจิตนิสัย (Psycho- graphic) เช่น รูปแบบการด�ำเนินชีวิต (Lifestyles) ความชื่นชอบ ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น โดยอาศัยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง ของแพลตฟอร์ม (Platform) บนสมาร์ทโฟน หรือเครือข่ายสังคม ออนไลน์ (Social media) ซึ่งท�ำให้ธุรกิจ Platform มีความได้เปรียบ ในการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ในระดับประเทศ หน่วยงานรัฐจึงจ�ำเป็นต้องมีการวางนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการน�ำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงผู้น�ำในหน่วยงานรัฐจ�ำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ในการน�ำ เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุง โดยมีบทบาทความเป็น ผู้น�ำที่เด่นชัด มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และมี การจัดสรรทรัพยากรที่ชัดเจนเช่นกัน (Clear leadership, roles, and resource allocation) ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องมีแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ที่ให้รัฐ มีบทบาทน�ำ (Government-led) โดยรัฐบาลควรอาศัยกลไกหน่วย งานภาครัฐในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานที่หน่วยงานรัฐต้องเป็น ผู้น�ำ ควรจัดให้มีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ในลัษณะของปฏิบัติ การร่วม (Joint-force) โดยมีหน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพชัดเจน และ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่าง ประเทศ
  • 9. 7 การท�ำ GovTech Foresight จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีการ ปรับปรุงบริการต่างๆ ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง เกณฑ์การวัดระดับวุฒิภาวะด้านรัฐบาล ดิจิทัล ซึ่งสามารถจ�ำแนกระดับการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 2 : รัฐบาลขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ระยะที่ 3 : รัฐบาลดิจิทัล และระยะที่ 4 : รัฐบาลสมรรถนะสูง ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงจ�ำเป็นต้องจัดให้มีการมองอนาคตเกี่ยวกับ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยก�ำหนดเป้าหมาย ก�ำหนดกลยุทธ์ ท�ำการมอง อนาคต และสร้างฉากทัศน์ เป็นต้น ผู้บริหารในหน่วยงานรัฐจึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องศึกษาการจ�ำแนก ระดับการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด�ำเนิน การปรับปรุงไปในแนวทางตามเกณฑ์การวัดระดับวุฒิภาวะด้าน รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเป็นการปรับไปสู่ระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น เนื้อหาใน หนังสือเล่มนี้สามารถถูกน�ำมาใช้อ้างอิงเพื่อที่จะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของส�ำนักงานพัฒนารัฐบาล ดิจิทัลต่อไป ปริญญา หอมเอนก
  • 11. ค�ำน�ำ จากเจตนารมณ์ของรัฐบาลปัจจุบันที่ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ในระยะ 5 ปี ให้มี ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความปลอดภัย ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนส�ำคัญอย่างมากในการน�ำมาประยุกต์ใช้กับบริการของหน่วยงาน ภาครัฐ ดังนั้น หน่วยงานรัฐ จ�ำเป็นต้องมีการวางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงวิสัยทัศน์ของ ผู้น�ำในการเลือกเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. มีภารกิจหลักในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล คือ ท�ำหน้าที่ให้ บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวกับ การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล อย่างไรก็ดีการเลือกเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริการภาครัฐ ต้องค�ำนึงถึงความ เหมาะสมเเละความเปลี่ยนเเปลงหรือผลที่จะเกิดขึ้น รวมถึงประเมินความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมในด้านบุคลากร ทักษะความเชี่ยวชาญ และงบประมาณ ดังนั้น สพร. จึงได้มีแนวคิดในการจัดท�ำหนังสือ อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย ที่สามารถน�ำไปใช้ เป็นแนวทางในการก�ำหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรืองานบริการภาครัฐบนพื้นฐานของเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่อไป
  • 13. ส‹วนที่ 1 สามารถยกระดับ คุณภาพชีว�ตของประชาชน ใหŒดียิ�งข�้น ส‹วนที่ 2 สามารถเขŒาถึง บร�การไดŒง‹าย สะดวกรวดเร็ว ผ‹าน Internet ส‹วนที่ 3 หน‹วยงานภาครัฐสามารถ พัฒนาบร�การข�้นไดŒเอง หร�อ จัดหาผูŒรับจŒางที่เปšนภาคเอกชน หร�อสตารทอัพมาดําเนินการแทน 11Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี ส่งผลต่อการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันของประชาชน ท�ำให้ ความต้องการในการใช้บริการภาครัฐของประชาชนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ความต้องการใน การรับบริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ง่ายและปลอดภัย ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจ�ำเป็นต้องปรับปรุงบริการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึง ส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาต่อยอดทางนวัตกรรมเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาประเทศ เช่น การ ช�ำระภาษีออนไลน์ การต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง จึงเป็น ที่มาของแนวคิด Government Technology หรือ “GovTech” โดย Herbert Adams Attorney (2018); ได้ให้ค�ำนิยามไว้ดังนี้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานของหน่วยงาน เป็นสิ่งส�ำคัญ อย่างมากในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้นหน่วยงานควรพิจารณาปัจจัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความพร้อมของหน่วยงาน ทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร งบประมาณ นโยบาย รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยหลักการพิจารณาการเป็น GovTech ประกอบ ด้วย 3 ส่วนหลัก คือ “เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน และการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยบริการดังกล่าวรัฐ อาจจัดท�ำขึ้นเอง หรือจัดหาผู้รับจ้างที่เป็นภาคเอกชนมาให้บริการ แทนก็ได้”
  • 14. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย12 การให้บริการ GovTech สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. Administration: กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ท�ำให้ท�ำงานง่าย เกิดความ โปร่งใส และตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น บริการที่ช่วยจัดการข้อมูลการเงิน ข้อมูล ทรัพยากรบุคคล แฟ้มคดีต่าง ๆ ในศาล จัดการทรัพย์สินราชการ บริหารจัดการไฟจราจร ฯลฯ 2. Delivery: กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยให้ภาครัฐให้บริการด้านธุรกรรมการเงิน การขนส่งหรือ น�ำส่งระหว่างภาครัฐและประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การสร้างระบบ ที่ช่วยให้การขอและออกใบอนุญาตสะดวกขึ้น ไม่ต้องต่อคิวรอ เอกสารสามารถจัดส่งถึง บ้านได้อย่างรวดเร็วและตรวจเช็คได้ทุกขั้นตอน 3. Infrastructure: กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบและสาธารณูปการต่าง ๆ ของ ภาครัฐ ตัวอย่างเช่น การใช้ตัววัดอัจฉริยะ (Smart Meter) โครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) ระบบคลาวด์ (Cloud) รวมถึงเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อน�ำมาพยากรณ์ และวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ เพื่อให้บริการด้านความปลอดภัย หรือป้องกันอาชญากรรม แบบทันที (Real Time) ฯลฯ 4. Participation: กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยในการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐและประชาชน (หรือ ที่เรียกว่า CivicTech) ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ร้องเรียน แพลตฟอร์มการลงคะแนน ฯลฯ 5. Regulation: กลุ่มเทคโนโลยีการบริการที่ช่วยให้การบริหารจัดการให้เกิดการปฏิบัติตามข้อบังคับทาง กฎหมาย หรือการบังคับใช้กฎหมาย สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หรือที่เรียก ว่า RegTech) การให้บริการ GovTech
  • 15. 13Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 1. การก�ำหนดทิศทางการใช้ Government Technology ในการขับเคลื่อนงานบริการ สาธารณะของภาครัฐไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้าน Government Technology ในประเทศไทย 3. เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่หน่วยงานภาครัฐ 4. เพื่อส่งเสริมและผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ น�ำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการท�ำ GovTech Foresight
  • 17. PRE-FORESIGHT POST-FORESIGHTMAIN FORESIGHT CRITICAL CHOICES CONCLUSIONS Selection of topics Expert answer questions/comment Convergence of opinion? Use of results • no. of experts in each field sufficient? • Peer group blas in answers? • Quality of questions? • Common understanding? • How to obtain experts? • Only experts sufficient? • Expecations too high • Political economy aspects • Combine different techniques (roadmapping, scenario writing) • Could be difficult for smaller, developing economies • Questions must be tailored to local conditions • Government support needed • High cost การก�ำหนดเป้าหมาย ของหน่วยงาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มี ผลกระทบและก�ำหนด กรอบระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาของ เทคโนโลยี การวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งส�ำคัญในการท�ำ Technology Foresight คือ กระบวนการท�ำ Technology Foresight สรุป บทที่ 2
  • 18. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย16 เมื่อพูดถึงค�ำว่า Foresight หลายคนอาจจะสับสนว่า แล้วต่างกันอย่างไรกับค�ำว่า Forecast เพราะทั้ง 2 ค�ำ เป็นการกล่าวถึงอนาคตเหมือนกัน ต้องบอกก่อนว่า Foresight เป็นการวางเป้าหมายแล้วเดินไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ โดยมี ข้อมูลที่เก็บรวมรวมไว้ในอดีต ข้อมูลจากผลส�ำรวจและข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการวางเป้าหมาย และทิศทางในอนาคต แต่ Forecast เป็นการพยากรณ์อนาคตจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้ในอดีตที่ผ่านมา ร่วมกับการวิเคราะห์แนวโน้ม พร้อมกับท�ำการระบุระยะเวลาที่ใช้ในการพยากรณ์ และโอกาส ความน่าจะเป็น เหมือนกับที่ Burrus เคยกล่าวเอาไว้ว่า Foresight คือ การมองอนาคต ไม่ใช่ การท�ำนาย เพราะการมองอนาคต คือ การด�ำเนินการที่เป็นระบบ มีเป้าหมาย ขั้นตอนชัดเจน และการมี ส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่าง ๆ ซึ่งเป็นการก�ำหนด รูปแบบของอนาคต และสามารถมองเห็นลู่ทางที่จะต้องท�ำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น “การมองอนาคตแบบมีการตั้งสมมติฐานเข้ามาใช้ในการคาดการณ์” Burrus
  • 19. 17Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 การก�ำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน หน่วยงานต้องก�ำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบระยะเวลาในการ ด�ำเนินการให้ชัดเจนและทุกคนในหน่วยงานต้องมีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบและก�ำหนดกรอบระยะเวลา หน่วยงานต้องท�ำการวิเคราะห์หาปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่า มีผลกระทบต่อเป้าหมายที่ก�ำหนด สิ่งที่ไม่แน่นอนในอนาคต (Uncertainties) เพื่อสร้างฉากทัศน์ (Scenario) และระบุ เหตุการณ์ส�ำคัญที่ท�ำให้สามารถบรรลุเป้าหมาย พร้อมกรอบ ระยะเวลาเพื่อบรรลุไปสู่เป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาของเทคโนโลยี การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีการ พัฒนาตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น การใช้แอปพลิเคชันในการ เรียกรถแท็กซี่ โดยผู้บริโภคยังคงใช้บริการแท็กซี่ตามเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เปลี่ยนไป คือรูปแบบที่ใช้ในการ เรียกรถแท็กซี่ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ให้สามารถ ตอบสนองต่อเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ สิ่งส�ำคัญในการท�ำ Technology Foresight คือ 1 2 3 4
  • 20. TECHNOLOGY FORESIGHT 1970 1975 1980 1985 1990 1995 2000 2005 2010 1972 Soviet Union 1982 United States 1985 Germany 1989 Australia 1970 Japan 1991 South Korea, Philippines 1994 Italy, France, United Kingdom 1992 Netherlands, New Zealand 1995 India 1996 Indonesia, Canada 1997 Thailand, Finland, Hungary, South Africa, Nigeria 1998 Austria, Ireland, Spain, Sweden 2000 Argentina, Bolivia, Brazil, Mexico, Venezuela 2001 Czech Republic GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย18 จากไทม์ไลน์ของการน�ำ Technology Foresight มาใช้ในประเทศต่าง ๆ จะพบว่า ญี่ปุ่นเป็น ประเทศแรกๆ ที่มีการน�ำแนวคิดการท�ำ Technology Foresight มาใช้ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ก่อนที่ประเทศอื่น ๆ อย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย จะเห็นความส�ำคัญและ น�ำแนวคิดดังกล่าวมาใช้จนเริ่มเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน ภาพที่ 2.1 ไทม์ไลน์ของการน�ำ Technology Foresight มาใช้ในประเทศต่างๆ ที่มา : future (2012)
  • 21. PRE-FORESIGHT POST-FORESIGHTMAIN FORESIGHT CRITICAL CHOICES CONCLUSIONS Selection of topics Expert answer questions/comment Convergence of opinion? Use of results • no. of experts in each field sufficient? • Peer group blas in answers? • Quality of questions? • Common understanding? • How to obtain experts? • Only experts sufficient? • Expecations too high • Political economy aspects • Combine different techniques (roadmapping, scenario writing) • Could be difficult for smaller, developing economies • Questions must be tailored to local conditions • Government support needed • High cost 19Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 การท�ำ Technology Foresight มีเครื่องมือที่หลากหลายที่น�ำมาใช้ประกอบการมองอนาคต ตัวอย่างเช่น การส�ำรวจข้อมูลผ่านแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ แนวโน้มของเทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากเครื่องมือที่หลากหลายในการมองอนาคต สิ่งที่ส�ำคัญต่อมาคือ กระบวนการท�ำ Tech- nology Foresight ที่ประกอบด้วย 3 กระบวนหลักได้แก่ Pre-foresight Main foresight และ Post foresight Pre-foresight คือ การท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา แนวโน้ม และก�ำหนดขอบเขต ของการมองอนาคตว่าจะเป็นระดับใด ระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับองค์กร และต้องก�ำหนดให้ชัดเจนว่าจะมองอนาคตในระยะกี่ปี หรือเจาะจงเฉพาะประเด็นใด โดยหนังสือ เล่มนี้ก�ำหนดขอบเขตการมองอนาคตไว้ดังนี้ 1. แนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในระยะ 3 ปี ของหน่วยงาน ภาครัฐไทย ภาพที่ 2.2 Typical foresight process ที่มา : Dominik Schlossstein and Byeongwon Park (2006)
  • 22. มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย หน‹วยงานใหŒความสําคัญในการนําเทคโนโลยี มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน… หน‹วยงานมีจํานวนบุคลากรที่เพียงพอก‹อนร‹างแผนแม‹บท ของหน‹วยงานในการนําเทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน หน‹วยงานมีองคความรูŒและทักษะของบุคลากรที่เพียงพอในการนํา เทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน หน‹วยงานไดŒรับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต‹อการนํา เทคโนโลยีมาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน หน‹วยงานมีความต‹อเนื่องของนโยบาย ดŒานเทคโนโลยีดิจิทัล ผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการใชŒงานเทคโนโลยีในป‚ที่ ผ‹านมาเปšนที่น‹าพึงพอใจ หน‹วยงานควรมีการศึกษาความตŒองการของผูŒใชŒบริการ (เช‹น ประชาชน บุคลากรของหน‹วยงาน เปšนตŒน) หน‹วยงานมีความตŒองการการสนับสนุนจากหน‹วยงาน ภายนอก GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย20 Main foresight คือ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 1. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ 2. ส�ำรวจข้อมูลผ่านแบบสอบถาม จากหน่วยงานภาครัฐระดับกรมจ�ำนวน 382 หน่วยงาน ผลการส�ำรวจข้อมูล พบว่าหน่วยงานภาครัฐให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจ�ำนวน 168 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ (110 หน่วยงานจาก 168 หน่วยงาน) มีการบรรจุแนวทางการน�ำ เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับการท�ำงานหรือการ เปลี่ยนผ่านรัฐบาลดิจิทัล ในการจัดท�ำแผนปฏิบัติ งานของแต่ละหน่วยงาน 2. หน่วยงานภาครัฐมีการจัดท�ำแผนการปฏิบัติงานด้านรัฐบาลดิจิทัลที่สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ สพร. 3. การประเมินความพร้อมด้านนโยบาย ท�ำการส�ำรวจ 8 ข้อย่อยดังผลส�ำรวจด้านล่าง 65เปอรเซนต
  • 23. มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย ผูŒบริหารของหน‹วยงานมีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšนต‹อ การนําเทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน บุคลากรของหน‹วยงานมีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšนต‹อ การนําเทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน จํานวนบุคลากรของหน‹วยงานมีความเพียงพอต‹อการนํา เทคโนโลยีมาใชŒการขับเคลื่อนหน‹วยงาน หน‹วยงานควรว‹าจŒางผูŒเชี่ยวชาญในการดําเนินงาน ดŒานเทคโนโลยี 21Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 หน่วยงานภาครัฐให้ความส�ำคัญในการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน และ ก่อนร่างแผนปฏิบัติงาน การพัฒนาระบบหรือบริการ ควรมีการศึกษาความต้องการของ ผู้ใช้บริการ (เช่น ประชาชน บุคลากรของหน่วยงาน) แต่ด้วยข้อจ�ำกัดทางด้านจ�ำนวนบุคลากร ทักษะความรู้ความสามารถ อีกทั้งงบประมาณที่จ�ำกัด หน่วยงานจึงมีความต้องการการสนับสนุน จากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นที่น่าพึงพอใจ 4. การประเมินความพร้อมบุคลากรด้านเทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำเนินงาน ต่าง ๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้น บุคลากร ของแต่ละ องค์กร รวมถึงผู้บริหารของหน่วยงานควรมีทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับการน�ำเทคโนโลยี มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมในการท�ำงาน เพื่อพัฒนากระบวนการท�ำงาน หรือระบบงานและระบบการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และ มีประสิทธิภาพ โดยอาจท�ำการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการด�ำเนินงานด้านเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วม
  • 24. ส‹วนที่ 1 ผูŒบริหารของหน‹วยงาน มีความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšน ต‹อการนําเทคโนโลยีมาใชŒ ในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน ส‹วนที่ 2 บุคลากรของหน‹วยงานมี ความเขŒาใจพื้นฐานที่จําเปšน ในการนําเทคโนโลยี มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน ส‹วนที่ 3 จํานวนบุคลากรของหน‹วยงานมี ไม‹เพียงพอต‹อการนําเทคโนโลยี มาใชŒในการขับเคลื่อนหน‹วยงาน จึงควรมีการจŒางผูŒเชี่ยวชาญเขŒามา ช‹วยดําเนินงานดŒานเทคโนโลยี มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย IT Infrastructure (Network, Server, Cloud, Data Center, Cybersecurity) Application Software Data Analytics Center Internet of Things หรือ IoT Workstation (คอมพิวเตอร, Notebook, Smart Device) Artificial Intelligence หรือ AI Blockchain เครือข‹าย 5G GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย22 จากการส�ำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตที่ส�ำคัญส�ำหรับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในระยะ ๓ ปีของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า 5. ส�ำหรับระบบ IT Infrastructure (Network, Server, Cloud, Data Center, Cybersecurity) ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่หน่วยงานภาครัฐให้ความส�ำคัญเป็นอันดับ แรกในการลงทุน รองลงมาจะเป็น Data Analytics Center, Application Software Workstation (คอมพิวเตอร์, Notebook, Smart Device) และเครือข่าย 5G เพื่อให้ มีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนหน่วยงาน ส�ำหรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง AI (ปัญญาประดิษฐ์) หรือ Blockchain ควรเตรียมการด้านอื่น ๆ ให้พร้อมก่อนการลงทุน โดยพิจารณาจากภารกิจของหน่วยงานเป็นหลัก
  • 25. มากที่สุด มาก ปานกลาง นŒอย นŒอยที่สุดเห็นดŒวย ผูŒบริหารของหน‹วยงาน บุคลากรของหน‹วยงาน องคความรูŒที่ใหม‹และเปลี่ยนแปลงอย‹างรวดเร็ว กฎระเบียบ ขŒอบังคับ งบประมาณ การคัดเลือกโครงการ 23Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 6. อุปสรรคต่อการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน ประกอบด้วย งบประมาณ องค์ความรู้ที่ใหม่และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฏระเบียบ ข้อบังคับ และสุดท้าย การคัดเลือกโครงการ 7. ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่ตอบแบบสอบถามเสนอให้มีการจัดท�ำระบบกลางของหน่วย งานภาครัฐที่ทุกหน่วยงานสามารถใช้บริการร่วมกัน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง หน่วยงานได้ รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่โดยหน่วย งานกลาง อย่างเช่น สพร. 8. การหาความสัมพันธ์ในแต่ละเรื่อง ทั้งความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน และความ สัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม ซึ่งพบว่าหน่วยงานให้ความส�ำคัญในการน�ำเทคโนโลยี มาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงานก่อนการร่างแผนแม่บทของหน่วยงาน มีความสัมพันธ์ ระดับปานกลางกับเรื่ององค์ความรู้และทักษะของบุคลากรที่เพียงพอในการน�ำ เทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน a. ความต่อเนื่องของนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความเพียงพอของจ�ำนวนบุคคล มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับองค์ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคลากร รวมถึงความต่อเนื่องของนโยบายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละปี แต่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภายนอก b. ผู้บริหารของหน่วยงานมีความเข้าใจพื้นฐานที่จ�ำเป็นในการน�ำเทคโนโลยีมาใช้การ ขับเคลื่อนหน่วยงานมีความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูงเกี่ยวกับการมีความรู้ความ เข้าใจพื้นฐานของบุคลากรในหน่วยงาน
  • 26. ส‹วนที่ 1 กระบวนการตัดสินใจร‹วมกัน มุ‹งเนŒนการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจร‹วมกันของ ผูŒมีส‹วนไดŒส‹วนเสีย ส‹วนที่ 2 การวางแผน ประกอบดŒวย การเรียงลําดับความสําคัญ และการระบุความเสี่ยง ส‹วนที่ 3 มุมมองต‹ออนาคต GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย24 c. ความเพียงพอของบุคลากรในหน่วยงาน และ IT Infrastructure (Network, Server, Cloud, Data Center, Cybersecurity) มีความสัมพันธ์กับ Application Software และ Workstation (คอมพิวเตอร์, Notebook, Smart Device) และ Application Software สัมพันธ์กับ Data Analytics Center IoT, AI, Blockchain d. อุปสรรคต่อการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนหน่วยงาน - ผู้บริหารของหน่วยงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับบุคลากรระดับ ปฏิบัติการและองค์ความรู้ที่ใหม่ - การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีความสัมพันธ์กับระเบียบ ข้อบังคับ Post-foresight คือ การด�ำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูลและสภาพแวดล้อม ที่ได้ จากการด�ำเนินการในกระบวนการที่ 1 และ 2 ไปใช้ในการวางแผนอนาคต ก�ำหนดทิศทาง นโยบายต่อไป หลังจากที่ด�ำเนินการในกระบวนที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ต้องท�ำการพิจารณาถึงคุณสมบัติ และตรรกะพื้นฐานของการมองอนาคตร่วมกับการท�ำ Post-foresight โดยต้องพิจารณา 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ มุมมองสามมิตินี้เป็นองค์ประกอบส�ำหรับการใช้การมองอนาคตทางเทคโนโลยี ในการ ก�ำหนดนโยบาย รวมถึงการก�ำหนดล�ำดับความส�ำคัญและประเมินผลกระทบประเมินผลกระทบ ของนโยบาย และกระบวนการประเมินผล (Cuhls, 2000)
  • 27. FORESIGHT Social, technology, economic ecological, political trends & values/ normsTap decentralized non-connected knowledge resources Pooling “collective wisdom” Intensify collaborative R&D Set priorities and assess impacts Marry future demand with today’s R&D investment Managing uncertainty through interaction Align R&D with sociatal needs Contribute to shaping the NIS Planning Networking Futures 25Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 ภาพที่ 2.3 Properties of foresight ที่มา : Dominik Schlossstein and Byeongwon Park (2006)
  • 29. สรุป บทที่ 3 ในการวางแผน การก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย การวางอนาคต และทิศทางการพัฒนาประเทศ ว่าเป็นไปในทิศทางใด หากมีการน�ำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางจะช่วยให้ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถมองอนาคตได้แม่นย�ำมากขึ้น และการวางแผนได้ ถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง เพราะสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเห็น ได้จากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ล้วนแต่มีการน�ำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางทั้งนั้น ดังนั้น หากไม่มีการท�ำ Foresight หรือไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก อาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ประเทศได้ ดังประเทศเวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา ที่เคยเป็นประเทศร�่ำรวย จากการพบบ่อน�้ำมันดิบขนาดใหญ่ แต่จาก สถานการณ์ผันผวนของราคาน�้ำมันโลก และไม่มีการเตรียมความพร้อม ท�ำให้กลายเป็น ประเทศล้มละลายและ GDP ติดลบ
  • 30. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย28 เริ่มต้นด้วยประเทศที่มีการน�ำ Technology Foresight หรือ การมองอนาคตมาใช้เป็น ประเทศแรก ๆ อย่างญี่ปุ่น และประเทศที่ ประสบความส�ำเร็จจากการน�ำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางในการบริหาร ประเทศไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ เกาหลีใต้และจีน
  • 31. 29Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 ญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่เกิดภัยพิบัติรุนแรงต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น “ไต้ฝุ่นเซบี” ที่มีความรุนแรงและเสียหายมากที่สุดในรอบ 25 ปี และอุทกภัยครั้งใหญ่ใน จังหวัดฮิโรชิมา ในช่วงฤดูฝนปี ค.ศ. 2018 แต่หลังเกิดภัยพิบัติรุนแรง คนญี่ปุ่นทั้งในหน่วย งานรัฐและประชาชน ช่วยกันฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลมีการวางแผน การเตรียมการรับมือหลังภัยพิบัติ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะ หน้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งความมีวินัยของคนญี่ปุ่น ที่ร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ว่าจะเกิดภัยพิบัติ มากมายหลายครั้งก็ตาม นอกจากภัยพิบัติซ�้ำซากที่ญี่ปุ่นต้องรับมือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นต้องเร่งฟื้นฟู เพราะเมืองส�ำคัญต่าง ๆ รวมถึงก�ำลังการผลิตได้ถูก ท�ำลายไป แต่ญี่ปุ่นกลับใช้เวลาไม่ถึง 30 ปี ในการฟื้นฟูประเทศ ญี่ปุ่น Tokyo
  • 32. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย30 ส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ญี่ปุ่นสามารถวางแผน ก�ำหนดทิศทาง และการวางเป้าหมายในการ พัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คือ การน�ำ Technology Foresight มาใช้ เป็นแนวทางในวางแผน ก�ำหนดทิศทาง และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ท�ำให้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดู ได้จากค่า GDP Per Capita ที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 41,314.41 (US$) ซึ่งโตขึ้น 0.82 ญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศที่บุกเบิกการน�ำ Technology Foresight มาใช้ในการ บริหารจัดการประเทศ โดยเริ่มน�ำมาใช้ ครั้งแรกเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว หรือช่วง ปี พ.ศ. 2513 ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นประเทศ ที่ประสบความส�ำเร็จและเป็นตัวอย่างของ การน�ำ Technology Foresight มาใช้ ส�ำหรับการท�ำ Technology Foresight นั้น ญี่ปุ่นมีการจัดท�ำมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง โดย ท�ำทุก 5 ปี เพื่ออัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ และข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากท�ำ Technology Foresight ในครั้งที่ผ่านมา การท�ำ Technology Foresight ของญี่ปุ่นเริ่มจากการส�ำรวจความต้องการใช้เทคโนโลยี ใหม่ ศึกษาเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สร้างสถานการณ์จ�ำลองในการพัฒนา และ ส�ำรวจข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่ ส�ำคัญอย่างมาก โดยท�ำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญอิสระในแต่ละสาขามากกว่า 2,000 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับน�ำมาประกอบการมองอนาคตได้อย่างแม่นย�ำ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและควรเรียนรู้จากญี่ปุ่น คือ แนวคิด การก�ำหนดเป้าหมาย การวางอนาคต ของญี่ปุ่น ทิศทางการพัฒนาประเทศจะเป็นไปในทิศทางใด
  • 33. 31Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 ญี่ปุ่นกับไทยมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ การท�ำนาข้าวแต่ด้วยพื้นที่ในการท�ำ เกษตรกรรมของญี่ปุ่นค่อนข้างจ�ำกัด และ สภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการท�ำการเกษตร ท�ำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ ต้องน�ำเข้า ข้าวจากต่างประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ให้ความส�ำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของญี่ปุ่น มีการน�ำเทคโนโลยี และเทคนิคต่าง ๆ มาช่วย ท�ำให้สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูงขึ้นเพียงพอต่อความต้องการ ของคนในประเทศและสามารถส่งออกได้อีกด้วย สังคมญี่ปุ่น 5.0 คือ แนวคิดการน�ำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม เช่น การน�ำปัญญาประดิษฐ์มาทดแทนการท�ำงานบางอย่างของคน การน�ำข้อมูล ที่เก็บไว้บน Cloud มาใช้ในการวิเคราห์ต่อยอดบริการต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่ส�ำคัญ คือ การรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาทางสังคม รวมถึงการเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ
  • 34. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย32 สิงคโปร์ เป็นประเทศผู้น�ำด้านเทคโนโลยีในกลุ่มประเทศอาเซียน และล�ำดับต้น ๆ ของเอเชีย เลยก็ว่าได้ และยังเป็นประเทศที่มีการน�ำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผน การท�ำงานรัฐบาล เช่น การก�ำหนดนโยบายของประเทศ ช่วยให้สามารถบริหารงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และสามารถมองอนาคตได้แม่นย�ำมากขึ้น ย้อนไปประมาณ 60 ปีที่แล้ว หรือประมาณปี พ.ศ. 2503 สิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่ แยกตัวออกมาจากมาเลเซีย และเป็นประเทศที่ท�ำเกษตรกรรม เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย ต่างกันตรงที่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียบพร้อมแบบไทย ต้อง ถมทะเลเพื่อให้มีที่ดินใช้สอย ต้องซื้อน�้ำจืดจากประเทศอื่นมาใช้ แต่ใครจะไปรู้ว่า เวลาผ่านไปไม่นาน สิงคโปร์กลายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศผู้น�ำทั้งทาง ด้านเทคโนโลยีและในหลาย ๆ ด้าน ถือเป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม ช่วยให้การเดินทางสะดวกสบาย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มสมดุลระหว่างชีวิตและการท�ำงาน สิงคโปร์ Singapore
  • 35. parks and gardens350 km. of park connectors313 hectares of nature reserves3,347 hectares of skyrise greenery100 million urban trees2 km. of nature ways80 community gardens1,300 33Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 (Work-Life Balance) รวมถึงการน�ำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการผลิตน�้ำจืดใช้เอง ท�ำให้ไม่ต้องน�ำเข้าน�้ำจืดจากประเทศเพื่อนบ้าน การน�ำเอา Foresight มาใช้ในการจัดท�ำแผนพัฒนาประเทศของสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 หรือ ค.ศ. 1980 โดยวางแผนในการจัดผังเมืองที่อยู่อาศัยของประชาชนก่อน เพราะสิงคโปร์มีพื้นที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เริ่มต้นจากเรื่องพื้นที่สีเขียวของสิงคโปร์ ในโครงการ The City in a Garden โดยนายลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต้องการเปลี่ยนสิงคโปร์ให้เป็นเมืองสีเขียวและมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร่มรื่น สะอาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสิงคโปร์ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน จากโครงการดังกล่าว ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวมาก ที่สุดในโลก ในขณะที่มีขนาดพื้นที่เท่ากับจังหวัดภูเก็ตของไทยเท่านั้น แต่มีสวนสาธารณะ มากถึง 350 แห่ง และเชื่อว่าหลายท่านที่เคยไปเยือนสิงคโปร์ต้องเคยไป Botanic Garden มาแล้ว Singapore : City in a Garden
  • 36. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย34 นอกจากนั้นยังน�ำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ เช่น การรับมือกับสังคม ผู้สูงอายุและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจว่าท�ำไมสิงคโปร์ถึง เป็นประเทศพัฒนาแล้วแบบก้าวกระโดด ในชื่อ “Scenario Planning Plus” (SP+) ที่ต่อยอดมาจากของเดิม และเพิ่มเรื่องการวิเคราะห์ หาสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะอ่อนแอ และแรงขับเคลื่อนที่มีโอกาสเกิดได้น้อยแต่หากเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมาก ตัวอย่างหนึ่งของการสร้างฉากทัศน์ที่ประสบความส�ำเร็จอย่างเห็นได้ชัดของสิงคโปร์ คือ ฉากทัศน์เมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ เป็นที่มาของนโยบาย การเรียนการสอนออนไลน์ การท�ำงานแบบ Work From Home หรือ WFH ในทุกปี โดยจัดให้มีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อท�ำให้คนสิงคโปร์สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิถีการด�ำรงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว สิงคโปร์ ถือเป็นประเทศที่ประสบความส�ำเร็จจากการน�ำ Foresight มาใช้ในการวางแผนและการพัฒนาประเทศอย่างเห็นได้ชัด และ ยังพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์อนาคต (Foresight Tools) ขึ้นเป็นของตนเอง
  • 37. 35Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6
  • 38. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย36 เกาหลีใต้ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมาก และเมื่อ พูดถึงประเทศเกาหลีใต้ หลายท่านอาจจะนึกถึง ซีรีย์เกาหลี นักร้อง K-Pop การท�ำศัลยกรรม หรือเครื่องส�ำอางค์ ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญของเกาหลีใต้ก็ว่าได้ ย้อนกลับไปในช่วง ปลายปี พ.ศ. 2503 หรือ ค.ศ. 1960 ประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกัน อย่างมาก ทั้งในเรื่องการท�ำเกษตรกรรม หรือแม้แต่ในเรื่องค่าแรง ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พอ ๆ กันประมาณ 440 บาท แต่เมื่อเวลาผ่านไป 50 ปี เกาหลีใต้แซงไทยในหลายเรื่องตั้งแต่เรื่องรายได้ ที่ปัจจุบันเกาหลีใต้ รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อเดือนมากกว่าไทยถึง 5 เท่า ด้านการศึกษาวิจัย เกาหลีใต้มีแบรนด์ สินค้าเป็นของตัวเอง อย่างเช่น ฮุนได ซัมซุง และยังเป็นประเทศที่มีสินค้าส่งออกมากมาย ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร รถยนต์ และมีค่า GDP ต่อหัวของเกาหลีใต้สูงกว่าไทยเกือบ 4 เท่าตัว โดยมี GDP Per Capita (US$) อยู่ที่ 32,765.843 เกาหลีใต้ Seoul
  • 39. DRIVE CONTINUOUS ECONOMIC GROWTH IMPROVE THE QUALITY OF LIFE Create new industries through IT convergence Provide a comfortable, convenient living environment Ensure a healthy life expectancy Establish a safe and secure society Expand future growth engines 37Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 เกาหลีใต้ถือเป็นอีกประเทศที่ให้ความส�ำคัญกับการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการลงทุน ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรม น�ำเข้าสินค้าและ บริการด้าน เทคโนโลยี จนกลายเป็นประเทศผู้น�ำด้านเทคโนโลยี และสามารถผลิตและส่งออกได้ และเริ่มมีการน�ำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผนการด�ำเนินงาน การก�ำหนด นโยบายของประเทศ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1993-1994 และใช้ประกอบการจัดท�ำแผนการด�ำเนินงาน ของรัฐบาล ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ที่เกาหลีใต้มีการออกกฏหมายเกี่ยวกับ พรบ. วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 2001 การท�ำ Foresight ของเกาหลีใต้ใช้เทคนิคเดลฟาย ประกอบการวิเคราะห์แนวโน้ม โดยมี วัตถุประสงค์ในการน�ำ Foresight มาใช้ครั้งแรกเพื่อการวางแผนด้านกลยุทธ์ในการพัฒนา โครงการวิจัยในระยะยาว เพื่อ “ยกระดับกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ในยุค ค.ศ. 2000 สู่ระดับของประเทศ G7” และได้มีการเพิ่มงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น กว่าเดิม 1 ล้านล้านวอน ในการคาดการณ์เทคโนโลยีที่ส�ำคัญในอนาคตครั้งนั้นพบว่า จะมี เทคโนโลยีถึง 1,174 รายการใน 20 ปีข้างหน้า การจัดท�ำแผนเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ของเกาหลีใต้ ด�ำเนินการทุก 5 ปี มีการวางแผนกิจกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับหน่วยงาน ซึ่งจากการจัดท�ำแผนดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส�ำคัญในอนาคตที่ควรน�ำมาใช้ให้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถน�ำมาใช้ก�ำหนดนโยบาย การวางแผน รวมถึง มีกระบวนการในการคัดเลือกเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการน�ำเทคโนโลยี ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ ที่มา : MSIP, KISTEP, 2013c
  • 40. GOVTECH FORESIGHT อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย38 จีน ถือเป็นเป็นประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งของโลกหรืออาจจะเปรียบเป็น คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัย และพัฒนาสินค้าและบริการของ ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการผลิตสินค้าส�ำหรับใช้เองภายในประเทศและส่งออกจ�ำนวนมากเป็น อันดับหนึ่งของโลก แต่ด้วยความที่จีนเป็นประเทศที่มีประชากรจ�ำนวนมาก มีความต้องการและก�ำลังในการซื้อสูง จึงมีการน�ำเข้าสินค้าบางประเภทจากประเทศอื่นด้วยเช่นกัน ได้แก่ น�้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ น�้ำมัน เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ หากย้อนไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงราว ๆ ปี พ.ศ. 2490 จะพบว่า คนจีนจ�ำนวนมาก อพยพออกจากประเทศ เพื่อหนีสงครามกลางเมือง หนีความยากจน ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่ง ที่คนจีนแต้จิ๋วอพยพมามากที่สุด จีน Beijing
  • 41. 39Chapter 1 Chapter 2 Chapter 3 Chapter 4 Chapter 5 Chapter 6 เพื่อเป็นการหลีกหนีกับดักความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจ 30 ปีต่อมา รัฐบาลจีนจึงท�ำการ ปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศในปี พ.ศ. 2521 โดยมีการวางแผนและก�ำหนดนโยบายการ พัฒนาประเทศ เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถไปลงทุนในประเทศจีนได้ หลังจากที่จีนท�ำการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศ พบว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของจีนดีขึ้นแบบก้าวกระโดดเฉลี่ยอยู่ที่ปีละเกือบ 6% แต่ก็ต้องพบกับภาวะการชะลอตัวทาง เศรษฐกิจโลก บวกกับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ (Trade War) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ท�ำให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มการเติบโตลดลง และในปี พ.ศ. 2562 GDP Per Capita (US$) อยู่ที่ 10,276 จากภาวะดังกล่าว จีนได้ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และค่าเงินหยวนอย่าง ต่อเนื่องในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และเพื่อยกระดับมาตรฐานการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ให้ดียิ่งขึ้น การปรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจีนให้ความ ส�ำคัญเป็นอย่างมาก ส�ำหรับทางด้านการเกษตร รัฐบาลจีนมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอ ส�ำหรับการบริโภคภายในประเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เพื่อยกระดับการผลิต และการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน จีนถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการน�ำ Foresight มาใช้ประกอบการวางแผน วางกลยุทธ์ ก�ำหนด นโยบายเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น และนโยบายสังคมที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของ ประชากร ซึ่งถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบความส�ำเร็จอย่างมาก ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี อย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคงเป็นเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือก ซื้อสินค้าและช�ำระเงินได้ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยแอปพลิเคชันอย่าง Alipay และ WeChat Pay การท�ำ Foresight เป็นเครื่องมือที่หลายประเทศที่ประสบความส�ำเร็จ น�ำไปใช้เป็นแนวทาง ในวางแผน ก�ำหนดนโยบายต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งนโยบายการบริหารประเทศเป็นสิ่งส�ำคัญ อย่างมาก หากประเทศใดไม่มีการท�ำ Foresight หรือไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก อาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ประเทศได้ ดังประเทศ เวเนซุเอลาและอาร์เจนตินา เป็นต้น