SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  14
Télécharger pour lire hors ligne
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕    1



  คนดีใช้ธรรม คนระย�าใช้กิเลส
  ยมฺหิ	สจฺจญฺจ	ธมฺโม	จ	 อหึสา	สญฺญโม	ทโม
	 เอตทริยา	เสวนฺติ	         เอต�	โลเก	อนามต�.
   สัจจะ	ธรรมะ	อหิงสา	สัญญมะ	ทมะ	มีอยู่ในผู้ใด	
 อารยชนย่อมคบหาผู้นั้น	นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
              นภญฺจ	ทูเร	ปฐวี	จ	ทูเร
             ปาร�	สมุทฺทสฺส	ตทาหุ	ทูเร
               ตโต	หเว	ทูรตร�	วทนฺติ
            สตญฺจ	ธมฺโม	อสตญฺจ	ราช.
      ดูก่อนราช!	เขากล่าวกันว่าฟ้ากับดินไกลกัน	
      และฝั่งทะเลก็ไกลกัน	แต่ธรรมของสัตบุรุษ
            กับอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

      ในสังคมมนุษย์ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์
มีคนอยู่รวมกันกล่าวโดยสรุปแล้ว มีอยู่สองประเภท คือ คนดี
กับคนชัว		คนบาปกับคนบุญ		คนมีธรรมกับคนไม่มธรรม	 ทุก
         ่                                       ี
ยุคทุกสมัย มีคนอาศัยอยูในสังคมโลกเพียง ๒ ประเภทนีเท่านัน
                         ่                          ้ ้
ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน พูดภาษาอะไร นับถือลัทธิศาสนาอะไร
มีความเชื่อถืออะไร ก็มีคนอยู่เพียง ๒ ประเภทเหมือนกันทั้งนั้น
ประเทศชาติไหนมีคนดีอาศัยอยูมาก ประเทศชาตินนก็มแต่ความ
                              ่               ั้ ี
2                     พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์และปัญหานานาประการ
แต่ในทางตรงข้าม ประเทศชาติไหนมีคนชั่ว คนเลว คนระย�า
พ�านักอาศัยอยู่มาก ประเทศชาตินั้น ก็มีแต่ความทุกข์ ความ
เดื อ ดร้ อ น ความล� า บากยากจน ผู ้ ค นเอารั ด เอาเปรี ย บ
เบียดเบียนซึงกันและกัน หาวันสงบสุขมิได้ โดยประการทังปวง
              ่                                           ้
       ในหัวข้อที่ตั้งไว้ว่า “คนดีใช้ธรรม		คนระย�าใช้กิเลส” นั้น
ก็มุ่งหมายเอาบุคคลทั้งสองประเภทนี้เอง ในที่นี้จะขอพูดใน
ประเด็น “คนระย�าใช้กเลสก่อน” ขอท�าความเข้าใจกับท่านผูอาน
                          ิ                                 ้ ่
ผู้ฟังในค�าว่า “คนระย�า” กันเสียก่อน เดี๋ยวจะเข้าใจกันว่าเป็น
ค�าหยาบคาย ฟังแล้วระคายหู ไม่สู้จะเป็นมงคล ความจริงค�า
ว่า “ระย�า” นี้ เป็นค�าไทยแท้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ใช้กัน
มาตั้งแต่โบราณ กล่าวขานถึงคนชั่วช้าเลวทราม ต�่าช้า กันว่า
“คนระย�า” มิหน�าแถมค�าว่า “อัปรีย” ต่อท้ายเข้าไปอีกว่า “ระย�า
                                       ์
อัปรีย์” ค�านี้ในพจนานุกรมภาษาไทยให้ค�านิยามไว้ว่า “ชั่วช้า
ต�่าช้า เลวทราม อัปมงคล” นี่คือความหมายของค�าว่าระย�า
ในพจนานุกรมไทย
       ประเด็นต่อไป ขอพูดถึง “คนระย�าใช้กิเลส” เพื่อให้ท่าน
ศึกษาหาความรู้กันต่อไป คนระย�าคือคนชั่ว คนเลว คน
ปราศจากศีลธรรม คนประเภทนี้เป็นบุคคลที่ตกเป็นทาสของ
กิเลสประเภทต่างๆ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทิฏฐิ
มานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย พฤติกรรมที่แสดงออกมา
ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ของบุคคลเหล่านี้ จึงเป็น
พฤติกรรมที่แสดงออกมาด้วยอ�านาจอิทธิพลของกิเลส ด้วย
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕     3

เหตุนี้ พวกเขาจึงได้สมญานามว่า “คนระย�า” คือคนชัวช้า คน
                                                      ่
เลวทราม คนอัปมงคล เป็นบุคคลประเภทอันตราย ก่อความ
เสียหายให้เกิดขึ้นในสังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน มีโทษอันมหันต์
เหลือที่จะพรรณนา พระบรมศาสดาตรัสว่า คนที่ตกเป็นทาส
ของความโลภ ความโกรธ และความหลงนัน เขาย่อมไม่รอรรถ
                                           ้             ู้
ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบง�า
จิตใจเมื่อไร ความมืดตื้อ ความมืดบอดทางปัญญา ย่อมมีเมื่อ
นั้น ดังพุทธภาษิตที่สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจารย์ตรัส
ไว้ว่า
       ลุทฺโธ	อตฺถ�		น		ชานาติ			 ลุทฺโธ	ธมฺม�		น		ปสฺสติ
	 อนฺธตม�		ตทา		โหติ						 ย�		โลโภ	สหเต		นร�.
	 คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ		คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม		ความ
โลภครอบง�านรชนเมื่อไร		ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น
	 กุทฺโธ	อตฺถ�		น	ชานาติ				 กุทฺโธ	ธมฺม�		น	ปสฺสติ
	 อนฺธตม�	ตทา		โหติ								 ย�	โกโธ	สหเต		นร�.
	 คนโกรธย่อมไม่รอรรถ		คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม		ความ
                        ู้
โกรธครอบง�านรชนเมื่อไร		ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น
	 มุฬฺโห	อตฺถ�		น	ชานาติ					มุฬฺโห	ธมฺม�	น	ปสฺสติ
	 อนฺธตม�	ตทา		โหติ								 ย�		โมโห	สหเต		นร�.
	 คนหลงย่อมไม่รู้อรรถ		คนหลงย่อมไม่เห็นธรรม	ความ
หลงครอบง�านรชนเมื่อไร		ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น
       กิเลสทั้ง ๓ ประเภทนี้แหละ ที่มันเป็นรากเหง้าเค้ามูลของ
ความชั่วทั้งหลาย บุคคลใดก็ตามที่ถูกกิเลสทั้ง ๓ ประเภทนี้
4                    พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ครอบง�าจิตใจ เขาก็กลายเป็นคนชั่ว คนเลว คนต�่าช้า (คน
ระย�า) ทันที ในประเด็นที่ว่า “คนระย�าใช้กิเลส” นั้น ความจริง
แล้วกิเลสมันใช้คนระย�า การท�า การพูด การคิดของบุคคล
ประเภทนี้ ตกอยู่ภายในประกาศิตของกิเลสทั้ง ๓ ประเภทนั้น
กิเลสสังให้ทาก็ทา กิเลสสังให้พดก็พด กิเลสสังให้คดก็คด ไม่มี
       ่        � �       ่    ู ู             ่ ิ ิ
อิสรเสรีเป็นตัวของตัวเองเลย ท�าอะไร พูดอะไร คิดอะไร ก็ตก
อยู่ในบังคับบัญชาของกิเลสทั้งนั้น ในสังคมปัจจุบันทุกวันนี้ มี
คนระย�าใช้กิเลสระบาดกันทั่วไปในสังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน ไม่
ว่าจะเป็นสังคมชาวบ้าน สังคมชาวเมือง เรื่องของคนระย�าใช้
กิเลสมีจ�านวนปริมาณมากขึนอย่างผิดสังเกต เป็นเหตุให้สงคม
                            ้                               ั
มนุษย์ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ เกิดปัญหา
สารพัดนานาประการ เพราะการทีมคนระย�าใช้กเลสอาศัยอยูใน
                                  ่ ี           ิ             ่
สังคม
      ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนระย�าใช้กเลสประเภทโลภะ ความโลภ
                                    ิ
โลภะ ความโลภในทีนี้ โปรดเข้าใจกันให้ดี อย่าให้ผดความหมาย
                     ่                              ิ
เพราะคนทังหลายมักจะเข้าใจกันว่า คนเราถ้าไม่มความโลภแล้ว
            ้                                     ี
จะเป็นคนรวยได้อย่างไร เพราะความโลภช่วยให้คนรวย ความ
เข้าใจเช่นนีผดถนัด ความรวยไม่ใช่เกิดจากความโลภ และความ
              ้ ิ
โลภก็ไม่ใช่ให้เกิดความรวย ความโลภเป็นปฏิปักษ์กับความรวย
ต่างหาก มีความโลภทีไหน ความรวยก็หมดไปจากทีนน ความ
                       ่                              ่ ั้
รวยเกิดจากความขยันหมั่นท�าการงานให้เหมาะเจาะ		เพราะ
ความขยันจึงหาทรัพย์ได้กลายเป็นเศรษฐี		มหาเศรษฐี		มั่งมี
ร�ารวย		ด้วยมีปญญาจึงหาทรัพย์ได้ในทางทีชอบ	 นีคอปัจจัย
  ่               ั                          ่          ่ ื
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕         5

ให้เกิดความรวยไม่ใช่ความโลภ แต่คือความขยัน หมั่นรักษา
คบค้าคนดี ใช้จายด้วยวิธประหยัด จ�ากันไว้ให้ดี จะได้เป็นเศรษฐี
                   ่       ี
ในวันข้างหน้า อย่าใช้กิเลสคือความโลภกันเลย
         โลภะ ความโลภนั้น ได้แก่ความอยากได้ในทางทุจริต ผิด
ศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ผิดวัฒนธรรมประเพณี มีความ
โลภทุกอย่างไม่เลือกทาง ขอให้ได้มาเป็นพอ คอร์รัปชั่นคดโกง
ฆ่าเจ้าเอาของ หลอกลวงอ�าพราง ท�าทุกอย่างขอให้ได้มาซึ่ง
อ�านาจเงิน และอ�านาจรัฐ โดยไม่ค�านึงว่าใครจะเดือดร้อน
เพราะการกระท�าของตน คนระย�าใช้กิเลสประเภทความโลภนี้
เขาจะเอารัดเอาเปรียบเหยียบย�่าคนอื่น เพราะความเห็นแก่ตัว
เขามองไม่เห็นคนอืนนอกจากตัวเขาเอง และพรรคพวกของเขา
                      ่
เท่านัน นีคอลักษณะของคนระย�าใช้กเลสประเภทความโลภ ยก
        ้ ่ ื                           ิ
มาพอให้เห็นเป็นตัวอย่าง
         คนระย�าใช้กิเลสประเภท “โทสะ” โทสะความประทุษร้าย
คิ ด ท� า ลายล้ า งผลาญ คิ ด ให้ ค นอื่ น ถึ ง ความพิ น าศฉิ บ หาย
วอดวาย ล่มจม นี่คือลักษณะของโทสะ คนที่ถูกโทสะครอบง�า
จิตใจกลายเป็นคนระย�า ใจด�าอ�ามหิต โหดร้ายทารุณ คนระย�า
ประเภทนีกาลังระบาดทัวไปในสังคมปัจจุบน เทียวฆ่าฟันรันแทง
            ้ �          ่                    ั ่
ท�าลายล้างผลาญกันไม่เว้นแต่ละวัน น่าสังเวชสลดใจ นี่แหละ
พิษสงของคนระย�าใช้กิเลสประเภทโทสะ มันเป็นอันตรายต่อ
ความสงบสุขของสังคมเช่นนี้
         คนระย�าใช้กิเลสประเภท “โมหะ” โมหะ แปลว่าความลุ่ม
หลง ความมัวเมา ความโง่เขลา คือความไม่รู้ตามความเป็น
6                     พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

จริง รู้เหมือนกันแต่ไม่รู้จริง หมายถึงความมืดบอดทางจิตใจ
ความมืดมนอนธกาล ขาดความส�านึกผิดถูก ชัวดี นีคอลักษณะ
                                                ่       ่ ื
ของโมหะ ทีเข้าใจกันของบรรดานักศึกษาธรรมทังหลาย หลาย
               ่                                      ้
คนเข้าใจว่า โมหะคือความไม่รู้ ไม่รู้อะไรก็จัดเป็นโมหะทั้งนั้น
ความเข้าใจเช่นนี้ ไม่ตรงกับลักษณะของโมหะนัก ตามหลัก
ความหมายเดิม ค�าว่า “โมหะ” หมายถึงความส�าคัญผิด ความ
เห็นผิด ความเข้าใจผิด ความรู้ผิด นี่คือความหมายเดิม ความ
หมายเช่นนี้ จึงจะตรงกับความเป็นจริง เพราะโมหะนั้นไม่ใช่ว่า
ไม่รู้ รู้เหมือนกันแต่ดันไปรู้ผิดเข้า ซึ่งเราชาวบ้านเรียกขานกัน
ว่า “เสือกรู้”
       ที่ว่า “โมหะ” รู้ผิดนั้นคือรู้อย่างไร? ก็คือรู้ผิดจากสภาว
ธรรมความเป็นจริง เช่น สภาวธรรมทั้งหลายเป็นอนิจจัง ไม่
เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ดับไปตลอด
เวลา อนัตตา หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอ�านาจบังคับ
บัญชาของใคร นีคอความจริงของสภาวธรรมทังหลาย แต่โมหะ
                   ่ ื                              ้
กลับไปรู้ผิดคิดว่า เป็นของเที่ยง, มีความสุข, เป็นตัวเป็นตน
เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราเป็นของเขาก็เลยยุงกันใหญ่ เพราะ
                                                  ่
ไปรู้ผิดจากความเป็นจริง นี่แหละคือลักษณะของความรู้ผิด
ความเห็นผิด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจผิด ความรู้ผิด นี่
แหละที่เป็นตัวการสร้างปัญหาต่างๆ ในทางสังคมให้เกิดขึ้นแก่
คนเรา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
       มุฬฺโห		อตฺถ�		น	ชานาติ			 มุฬฺโห		ธมฺม�		น	ปสฺสติ
	 อนฺธตม�		ตทา	โหติ									 ย�		โมโห		สหเต		นร�.
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕              7

	 คนหลงผิดย่อมไม่รู้อรรถ	 คนหลงผิดย่อมไม่เห็นธรรม	
ความหลงผิดครอบง�านรชนเมือไร		ความมืดมิดย่อมมีเมือนัน
                                         ่                       ่ ้
       ตามพุทธด�ารัสนี้ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีความรู้ผิด ความเห็น
ผิด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจผิดนั้น เป็นคนไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล
เป็นคนตกอยู่ในความมืด เต็มไปด้วยภัยอันตรายนานาประการ
เป็นคนที่น่าสงสารแถมสมเพช เพราะเหตุแห่งความยึดมั่น ถือ
มั่นยืนยันในความรู้ผิด หลงผิดของตนอย่างถอนไม่ขึ้น นีแหละ       ่
คือโมหะ ความหลงผิด ความรูผด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจ
                                        ้ ิ
ผิด มันเป็นพิษเป็นภัย ท�าให้คนดีๆ เป็นคนระย�าใช้กิเลส
       นอกจากคนระย�าจะใช้กเลสทัง ๓ ประเภทนีแล้ว คนระย�า
                                      ิ      ้           ้
ก็ยังถล�าไปใช้กิเลสประเภททิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่า
ร้าย ใช้ความโกรธความเกลียดความชัง ดังที่เห็นกันอยู่ใน
ปัจจุบันทุกวันนี้ แล้วก็ยังมีอคติ ล�าเอียงเพราะชอบ ล�าเอียง
เพราะชัง ล�าเอียงเพราะขลาด ล�าเอียงเพราะเขลา เล่นเอาคนใน
สังคมเกิดความระส�าระสายวุนวายกันไปทุกหย่อมหญ้า คนระย�า
                      ่             ่
ใช้กิเลสนี้ถ้ามีอยู่ในคนธรรมดาสามัญชาวบ้านทั่วไป แม้จะเป็น
พิษเป็นภัยก็อยู่ในขอบเขตจ�ากัดเท่านั้น ข้อส�าคัญถ้าผู้มีความ
รับผิดชอบบริหารประเทศชาติบานเมือง มีอานาจเงินอ�านาจรัฐ
                                           ้       �
เป็นคนระย�าใช้กิเลสกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดเภทภัยอันตรายต่อ
สั ง คมแห่ ง การอยู ่ ร ่ ว มกั น อย่ า งกว้ า งใหญ่ ไ พศาล สุ ด ที่ จ ะ
ประมาณได้ ขอให้เราท่านทังหลายใช้ความสังเกตให้ดี ก็จะเห็น
                                  ้
กันว่า สังคมทุกวันนี้มีคนระย�าใช้กิเลสเพิ่มจ�านวนมากขึ้นตาม
ล�าดับ นับว่าน่าเป็นห่วงกันจริงๆ
8                   พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

      ได้พูดมาในประเด็น “คนระย�าใช้กิเลส” พอสมควรแล้ว
ต่อไปก็เข้าสู่ประเด็น “คนดีใช้ธรรม” เพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ
ว่า บุคคลทังสองประเภทนี้ ประเภทไหนส่งผลกระทบต่อสังคม
            ้
แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นอันดับต่อไปนี้ จะพาท่านทั้งหลาย
ไปศึกษาหาความรู้ในเรื่องของ “คนดีใช้ธรรม” กันต่อไป คน
ดีคอคนประเภทไหน? คนดีได้แก่คนทีมพฤติกรรมทางกาย ทาง
    ื                               ่ ี
วาจา และทางใจ ที่แสดงออกมาในทางสุจริต คือกายสุจริต
ประพฤติชอบด้วยกาย วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา มโน
สุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ กายสุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม, วจีสุจริต ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่
พูดค�าหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ มโนสุจริต
ประพฤติชอบด้วยใจ ไม่คดโลภอยากได้ของเขา, ไม่คดพยาบาท
                         ิ                        ิ
ปองร้ายเขา, ไม่คดเห็นผิดจากท�านองคลองธรรม นีคอลักษณะ
                   ิ                             ่ ื
ของคนดี คนดีมีกาย วาจา ใจ อันบริสุทธิ์สะอาด ปราศจาก
บาปทั้งหลายทั้งปวง
      คนดีใช้ธรรม ตรงกันข้ามกับคนระย�าใช้กิเลส เพราะคน
ระย�าจิตใจต�่าเต็มไปด้วยกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความ
หลง ทิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย คนระย�าก็ใช้กิเลส
เหล่านี้แหละ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ก็กิเลสเหล่านี้ที่ใช้คนระย�า
กิเลสใช้คนระย�าให้โลภ คนระย�าก็โลภ กิเลสใช้คนระย�าให้โกรธ
คนระย�าก็โกรธ กิเลสใช้คนระย�าให้หลง คนระย�าก็หลง กิเลส
ใช้คนระย�าให้อจฉาริษยา คนระย�าก็อจฉาริษยา กิเลสใช้คนระย�า
               ิ                  ิ
ให้นินทาว่าร้าย คนระย�าก็นินทาว่าร้าย รวมความว่า คนระย�า
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕    9

จะท�า จะพูด จะคิด จะประกอบกิจการอะไร ก็ท�า ก็พูด ก็
คิด ตามประกาศิตของกิเลสทั้งนั้น
      ส่วนคนดี มีจิตใจปราศจากความโลภ ความโกรธ ความ
หลง ทิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย คนดีจึงใช้ธรรมคือ
ความดี ความถูกต้อง และความจริง คนดีจะท�าอะไรก็ท�าดี จะ
พูดอะไรก็พูดดี จะคิดอะไรก็คิดดี คือท�าตามอ�านาจของพระ
ธรรม พูดตามอ�านาจของพระธรรม คิดตามอ�านาจของพระธรรม
เรียกว่าพระธรรมให้ท�าจึงท�า พระธรรมให้พูดจึงพูด พระธรรม
ให้คิดจึงคิด นี่คือความหมายค�าว่า “คนดีใช้ธรรม” คนดีก็คือ
คนมีธรรม คนประพฤติธรรม คนปฏิบัติธรรม มีธรรมเป็น
เรือนใจ มีธรรมเป็นที่อยู่อาศัย เป็น “ธรรมวิหารี” คนดีมีอยู่
ในหมูใด คณะใด สังคมใด ประเทศชาติใด หมูนน คณะนัน สังคม
      ่                                   ่ ั้     ้
นั้น ประเทศชาตินั้น ก็มีแต่ความสงบสุข ปราศจากทุกข์และ
ปัญหาต่างๆ โดยประการทั้งปวง
      ขอยกตัวอย่าง คนดีใช้ธรรมในหมวดทีชอว่า “พรหมวิหาร
                                        ่ ื่
ธรรม	๔” คือ
      ใช้เมตตาธรรม มีความรักใคร่ปรารถนาให้คนอื่น และ
สัตว์อื่นมีความสุข การอยู่ร่วมกันในสังคมของคนหมู่มาก ถ้า
อยากให้คนในสังคมมีความสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรม มี
ความรัก ความเมตตา ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข คน
ทุกคนต้องมีความรักซึ่งกันและกัน นั่นคือเหตุ คือปัจจัยให้เกิด
ความสุข ตามหลักที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “อพฺยาปชฺฌ� สุข� โล
เก” ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก โลกมนุษย์จะมีความ
10                    พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ร่มเย็นเป็นสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรมประจ�าใจ จะท�า จะพูด
จะคิดอะไร ต้องท�าต้องพูดต้องคิดด้วยเมตตาธรรม นี่คือหลัก
ค�้าประกันให้คนในสังคมมีความสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรม
จ�ากันไว้ให้ดี
        ใช้กรุณาธรรม คือความสงสารต้องการช่วยเหลือให้คน
อืน และสัตว์อนพ้นจากความทุกข์ พ้นจากปัญหานานาประการ
   ่             ื่
คนทีมกรุณาธรรมประจ�าใจ เมือเห็นคนอืนตกทุกข์ได้ยากล�าบาก
       ่ ี                      ่           ่
โดยประการใดๆ ทนดูอยู่ไม่ได้ ต้องหาอุบายเข้าไปช่วยบรรเทา
ความทุกข์ ความเดือดร้อนของเขาเหล่านั้นทันทีไม่ดูดาย ใช้
อุบายของพระอินทร์เมืองคน คือเห็นคนอื่นสัตว์อื่นเดือดร้อน
ก็รอนใจขึนมาทันที ไม่หนรีหนขวางอ้างนันอ้างนี่ รีบวิงรีเข้าไป
     ้      ้           ั ั                   ่        ่ ่
ช่วยเหลือทันทีทันควัน เพื่อช่วยให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความ
ทุกข์ความเดือดร้อน ตามสติกาลังความสามารถทีจะช่วยได้ ถ้า
                              �                    ่
ทุกคนใช้กรุณาธรรม มีความสงสารต้องการช่วยเหลือคนอืนให้      ่
พ้นจากความทุกข์เช่นนี้ นี่คือคนดีใช้ธรรม น� ามาพอเป็น
ตัวอย่าง
        ใช้มุทิตาธรรม พลอยดีใจในเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี ธรรมะข้อ
นี้มีความส�าคัญมาก ถ้าหากคนเราทุกคนในสังคมมีค่านิยมใน
การใช้มุทิตาธรรม คือเมื่อเราเห็นคนอื่นท�าดีได้ดี มีความสุข
ความเจริญ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เจริญด้วยลาภ
ยศ สรรเสริญ สุข เราก็พลอยดีใจ อนุโมทนาสาธุ ขอให้เขา
มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือวิสัยผู้ใช้มุทิตาธรรม ถ้าทุกคนใน
สังคมพากันนิยมใช้ธรรมะข้อนี้กันให้มากๆ สังคมก็จะมีแต่ความ
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕           11

ร่มเย็นเป็นสุข เพราะทุกคนมีความดีใจ มีความพอใจในความ
ดีของกันและกัน แต่เท่าที่สังเกตเห็นคนส่วนใหญ่ในสังคม
ปั จ จุ บั น ทุ ก วั น นี้ คนเรามั ก จะพากั น ลื ม ในการใช้ ธ รรมข้ อ
“มุทิตา” เห็นคนอื่นท�าดีได้ดีมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แทนที่
จะพลอยดีใจด้วย กลับมีความอิจฉาริษยาในความดีของคนอื่น
เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ หรือมีใครพูดถึงความดีของคน
อื่นโดยเป็นคนที่ตนเองไม่ชอบแล้ว มันทนฟังไม่ได้ เหมือนเอา
ของแหลมมาทิ่มแทงหัวใจ ทนฟังไม่ได้ ส่ายหน้า สั่นหัว ดู
เอาเถอะ! พวกอิจฉาตาไฟ สร้างความเสนียดจัญไรให้แก่ตวเอง           ั
แท้ๆ...อนิจจา! คนเอ๋ยคน หันมาใส่ใจทางนี้กันหน่อยดีไหม
จิตใจจะได้เบาสบาย หันมาใช้มุทิตาธรรม พลอยดีใจ ชื่นใจ
ในเมื่อเห็นคนอื่นเขาท�าดีแล้วได้ดี เท่านี้ก็หมดเรื่องจะไปเปลือง
ตัวกับความอิจฉาริษยาท�าไมกันเล่า มันเผาไหม้จิตใจของเราให้
ไหม้เกรียมเปล่าๆ แล้วก็เศร้าใจเสียใจตลอดชีวิต พิชิตความ
อิจฉาริษยาด้วยการใช้มุทิตาธรรมกันเถิดท่านที่รักทั้งหลาย
จิตใจของเราจะได้เบาสบาย ไร้ปัญหาโดยประการทั้งปวง
        ใช้อุเบกขาธรรม อุเบกขาวางใจให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้าง
อคติ ล�าเอียงเพราะชอบ ล�าเอียงเพราะชัง ล�าเอียงเพราะขลาด
ล�าเอียงเพราะเขลา เอาใจตั้งไว้ตรงกลาง ทุกอย่างก็จะมีความ
เป็นธรรม ความยุติธรรม ความเสมอภาค ถ้าหากต้องการให้
เกิดความยุติธรรมในสังคม ก็ต้องใช้อุเบกขาธรรม เพราะ
อุเบกขานั่นแหละ คือความเป็นธรรม ความยุติธรรม จึงขอ
ฝากท่านทั้งหลายให้พากันใช้อุเบกขาธรรมกันเถิด จะเกิดสิริ
12                     พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

มงคลส่งผลให้คนในสังคมมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจาก
ทุกข์นานัปการ แต่เหตุการณ์ในสังคมทุกวันนี้ สังเกตให้ดีหา
คนอยู่ตรงๆ ไม่ค่อยจะได้ มีแต่พวกเอียงซ้าย เอียงขวา เอียง
หน้า เอียงหลัง บางคนล�าเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) ลงได้
ชอบใครแล้วมันจะชั่วเลวอย่างไรก็ชอบใจ พอใจอยู่นั่นแหละ
แต่บางคนก็เอียงเพราะชัง (โทสาคติ) ลงได้ชังแล้ว จะท�าดีท�า
ชอบอย่างไร ก็ไม่ยอมรับ ยังเกลียด ยังชังอยู่นั่นแหละ ด้วย
เหตุทคนเรามีอคติ ไม่ใช้อเบกขาธรรมนีเองแหละ สังคมมนุษย์
         ี่                  ุ                 ้
จึ ง เต็ ม ไปด้ ว ยความสั บ สนวุ ่ น วาย กลายเป็ น สั ง คมคนป่ า
หาความสงบสุขมิได้
         คนดีใช้ธรรม คนระย�าใช้กิเลส บุคคลทั้งสองประเภทนี้
มีผลกระทบต่อสังคมแห่งการอยูรวมกัน ไม่เสมอกัน ไม่เหมือน
                                        ่่
กัน แตกต่างกัน คนดีใช้ธรรม ท�าให้สงคมมีความร่มเย็นเป็นสุข
                                             ั
เพราะคนในสังคมมีความรัก ความสามัคคี ไม่มีการเอารัดเอา
เปรียบเหยียบย�าท�าลายกัน อยูกนฉันมิตรมีนาจิตเอือเฟือเกือกูล
                   ่                ่ ั          �้   ้ ้ ้
กัน เพราะต่างคนต่างก็ใช้ธรรมะ ในชีวิตประจ�าวัน จะท�าอะไร
จะพูดอะไร จะคิดอะไรก็ใช้ธรรมน�าหน้า ใช้ปัญญาเป็นเครื่อง
น�าทาง ต่างคนต่างก็มหริ ความละอายต่อความชัว มีโอตตัปปะ
                        ี ิ                         ่
กลั ว ต่ อ ผลของบาปกรรม ดั ง นั้ น ผลกระทบซึ่ ง เกิ ด จาก
พฤติกรรมของคนดีใช้ธรรม จึงมีแต่ความสงบสุขทุกประการ
         ส่วนในด้านคนระย�าใช้กเลสนัน เป็นเหตุท�าให้สงคมจมอยู่
                               ิ           ้           ั
ในปลักแห่งความทุกข์ ความเดือดร้อน ส่งผลสะท้อนต่อสังคม
ในทางลบ ท�าให้คนในสังคมประสบกับปัญหานานาประการ
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕   13

เพราะสันดานของคนระย�านั้น สร้างแต่บาปท�าแต่อกุศล จึงส่ง
ผลให้ได้รบความทุกข์ในปัจจุบนทันตาเห็น เพือเป็นหลักประกัน
             ั                ั           ่
ให้เกิดความสงบสุข และความปลอดภัยในชีวต ขอสะกิดให้ทาน
                                        ิ                ่
ทังหลายใช้ธรรมกันเถิด จะเกิดสิรมงคลส่งผลให้มแต่ความสงบ
  ้                              ิ               ี
สุขทุกประการ
           พวกคนดี      ใช้ธรรม             ประจ�าจิต
    น�าชีวิต            สู่ความสุข          ทุกสมัย
    คนใช้ธรรม           น�าชีวิต            ศิวิไลซ์
    อยู่ที่ไหน          ก็ปลอดภัย           ทุกประการ
           เมื่อคนดี    ใช้ธรรม             ประจ�าอยู่
    ในสังคม             ทุกหมู่             คู่ประสาน
    ก็ท�าให้            ทุกคน               สุขส�าราญ
    ใจเบิกบาน           เพราะใช้ธรรม        น�าวิญญาณ
           เมื่อทุกคน   ใช้ธรรม             น�าชีวิต
    ก็พิชิต             ปัญหา               นานัปการ
    ครองชีวิต           สงบสุข              ทุกประการ
    ธรรมบันดาล          สงบเย็น             เป็นนิรันดร์
           ด้วยเหตุนี้  ปราชญ์เมธี          จึงเตือนตัก
    ให้ทุกคน            รู้จัก              ใช้ธรรมกัน
    เมื่อทุกคน          ใช้ธรรม             ประจ�าวัน
    ความสุขสันต์        ก็เกิดมี            ทุกวี่วัน
14                  พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

       คนระย�า       ใช้กิเลส                   พระท่านเทศน์
ก็เป็นเหตุ           ให้เกิดทุกข์               ไม่สุขสันต์
เกิดปัญหา            นานา                       สารพัน
ทุกข์ด้วยกัน         ทั่วไป                     ในสังคม
       คนระย�า       ใช้กิเลส                   เศษมนุษย์
เลวที่สุด            ทุกอย่าง                   ทางสังคม
อยู่ที่ไหน           ไปที่ไหน                   ให้ล่มจม
ท�าสังคม             ให้เดือดร้อน               ทุกตอนไป
       ด้วยเหตุนี้   ขอคนดี                     จงหมายมั่น
พร้อมใจกัน           ใช้ธรรม                    ประจ�าใจ
จะประสบ              ความสุข                    ทุกเมื่อไป
อยู่ที่ไหน           เหมือนสวรรค์               ชั้นวิมาน ฯ

Contenu connexe

Tendances

ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชนPadvee Academy
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียPadvee Academy
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาPadvee Academy
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย Bom Anuchit
 
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยการเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยPadvee Academy
 
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธ
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธ
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธniralai
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1thnaporn999
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 00703ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007Dream'Es W.c.
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยPadvee Academy
 

Tendances (18)

ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
Onet social
Onet socialOnet social
Onet social
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
 
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยการเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธ
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธ
ศึกษาวิถีธรรมวิถีพุทธ
 
Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 00703ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทย
 

En vedette

Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2Ake Ekkarart
 
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี""ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"Wat Thai Washington, D.C.
 

En vedette (8)

Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2
 
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี""ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 

Similaire à คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส

ฉันทศาสตร์ 2
ฉันทศาสตร์ 2ฉันทศาสตร์ 2
ฉันทศาสตร์ 2tayanon
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุniralai
 
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติ
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติบันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติ
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติJunya Yimprasert
 
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดPadvee Academy
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญาTongsamut vorasan
 
สาส์นนิเทศศาสตร์
สาส์นนิเทศศาสตร์สาส์นนิเทศศาสตร์
สาส์นนิเทศศาสตร์Nattapong Manlee
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงSongsarid Ruecha
 
การวางแผนเลือกคู่ชีวิต
การวางแผนเลือกคู่ชีวิตการวางแผนเลือกคู่ชีวิต
การวางแผนเลือกคู่ชีวิตSarid Tojaroon
 
สงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาสงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาNapadon Yingyongsakul
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1saoBenz
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdfmaruay songtanin
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarmaTongsamut vorasan
 
เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
เสียดายคนตายไม่ได้อ่านเสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
เสียดายคนตายไม่ได้อ่านkrutew Sudarat
 

Similaire à คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส (20)

ฉันทศาสตร์ 2
ฉันทศาสตร์ 2ฉันทศาสตร์ 2
ฉันทศาสตร์ 2
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุ
 
ภาษาไทย จ้า11
ภาษาไทย จ้า11ภาษาไทย จ้า11
ภาษาไทย จ้า11
 
กลอน
กลอนกลอน
กลอน
 
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติ
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติบันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติ
บันทึกโลกาภิวัฒน์ เรียนรู้โลก-เพื่อรู้จักตัวเอง-และเตรียมรับวิกฤติ
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
สาส์นนิเทศศาสตร์
สาส์นนิเทศศาสตร์สาส์นนิเทศศาสตร์
สาส์นนิเทศศาสตร์
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวง
 
ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 
การวางแผนเลือกคู่ชีวิต
การวางแผนเลือกคู่ชีวิตการวางแผนเลือกคู่ชีวิต
การวางแผนเลือกคู่ชีวิต
 
เบญจศีล
เบญจศีลเบญจศีล
เบญจศีล
 
สงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาสงครามนกกระสา
สงครามนกกระสา
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
งานไทย
งานไทยงานไทย
งานไทย
 
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
2 แก้กรรม แนวพุทธ cancelkarma
 
เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
เสียดายคนตายไม่ได้อ่านเสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
 

Plus de Wat Thai Washington, D.C.

Plus de Wat Thai Washington, D.C. (20)

Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C. Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
 
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDCLoykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
 
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011 Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
 
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
 
Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
 

คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส

  • 1. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 1 คนดีใช้ธรรม คนระย�าใช้กิเลส ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม เอตทริยา เสวนฺติ เอต� โลเก อนามต�. สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบหาผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปาร� สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร ตโต หเว ทูรตร� วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช. ดูก่อนราช! เขากล่าวกันว่าฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น ในสังคมมนุษย์ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ มีคนอยู่รวมกันกล่าวโดยสรุปแล้ว มีอยู่สองประเภท คือ คนดี กับคนชัว คนบาปกับคนบุญ คนมีธรรมกับคนไม่มธรรม ทุก ่ ี ยุคทุกสมัย มีคนอาศัยอยูในสังคมโลกเพียง ๒ ประเภทนีเท่านัน ่ ้ ้ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน พูดภาษาอะไร นับถือลัทธิศาสนาอะไร มีความเชื่อถืออะไร ก็มีคนอยู่เพียง ๒ ประเภทเหมือนกันทั้งนั้น ประเทศชาติไหนมีคนดีอาศัยอยูมาก ประเทศชาตินนก็มแต่ความ ่ ั้ ี
  • 2. 2 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์และปัญหานานาประการ แต่ในทางตรงข้าม ประเทศชาติไหนมีคนชั่ว คนเลว คนระย�า พ�านักอาศัยอยู่มาก ประเทศชาตินั้น ก็มีแต่ความทุกข์ ความ เดื อ ดร้ อ น ความล� า บากยากจน ผู ้ ค นเอารั ด เอาเปรี ย บ เบียดเบียนซึงกันและกัน หาวันสงบสุขมิได้ โดยประการทังปวง ่ ้ ในหัวข้อที่ตั้งไว้ว่า “คนดีใช้ธรรม คนระย�าใช้กิเลส” นั้น ก็มุ่งหมายเอาบุคคลทั้งสองประเภทนี้เอง ในที่นี้จะขอพูดใน ประเด็น “คนระย�าใช้กเลสก่อน” ขอท�าความเข้าใจกับท่านผูอาน ิ ้ ่ ผู้ฟังในค�าว่า “คนระย�า” กันเสียก่อน เดี๋ยวจะเข้าใจกันว่าเป็น ค�าหยาบคาย ฟังแล้วระคายหู ไม่สู้จะเป็นมงคล ความจริงค�า ว่า “ระย�า” นี้ เป็นค�าไทยแท้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ใช้กัน มาตั้งแต่โบราณ กล่าวขานถึงคนชั่วช้าเลวทราม ต�่าช้า กันว่า “คนระย�า” มิหน�าแถมค�าว่า “อัปรีย” ต่อท้ายเข้าไปอีกว่า “ระย�า ์ อัปรีย์” ค�านี้ในพจนานุกรมภาษาไทยให้ค�านิยามไว้ว่า “ชั่วช้า ต�่าช้า เลวทราม อัปมงคล” นี่คือความหมายของค�าว่าระย�า ในพจนานุกรมไทย ประเด็นต่อไป ขอพูดถึง “คนระย�าใช้กิเลส” เพื่อให้ท่าน ศึกษาหาความรู้กันต่อไป คนระย�าคือคนชั่ว คนเลว คน ปราศจากศีลธรรม คนประเภทนี้เป็นบุคคลที่ตกเป็นทาสของ กิเลสประเภทต่างๆ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทิฏฐิ มานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย พฤติกรรมที่แสดงออกมา ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ของบุคคลเหล่านี้ จึงเป็น พฤติกรรมที่แสดงออกมาด้วยอ�านาจอิทธิพลของกิเลส ด้วย
  • 3. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 3 เหตุนี้ พวกเขาจึงได้สมญานามว่า “คนระย�า” คือคนชัวช้า คน ่ เลวทราม คนอัปมงคล เป็นบุคคลประเภทอันตราย ก่อความ เสียหายให้เกิดขึ้นในสังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน มีโทษอันมหันต์ เหลือที่จะพรรณนา พระบรมศาสดาตรัสว่า คนที่ตกเป็นทาส ของความโลภ ความโกรธ และความหลงนัน เขาย่อมไม่รอรรถ ้ ู้ ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบง�า จิตใจเมื่อไร ความมืดตื้อ ความมืดบอดทางปัญญา ย่อมมีเมื่อ นั้น ดังพุทธภาษิตที่สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจารย์ตรัส ไว้ว่า ลุทฺโธ อตฺถ� น ชานาติ ลุทฺโธ ธมฺม� น ปสฺสติ อนฺธตม� ตทา โหติ ย� โลโภ สหเต นร�. คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความ โลภครอบง�านรชนเมื่อไร ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น กุทฺโธ อตฺถ� น ชานาติ กุทฺโธ ธมฺม� น ปสฺสติ อนฺธตม� ตทา โหติ ย� โกโธ สหเต นร�. คนโกรธย่อมไม่รอรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความ ู้ โกรธครอบง�านรชนเมื่อไร ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น มุฬฺโห อตฺถ� น ชานาติ มุฬฺโห ธมฺม� น ปสฺสติ อนฺธตม� ตทา โหติ ย� โมโห สหเต นร�. คนหลงย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงย่อมไม่เห็นธรรม ความ หลงครอบง�านรชนเมื่อไร ความมืดตื้อย่อมมีเมื่อนั้น กิเลสทั้ง ๓ ประเภทนี้แหละ ที่มันเป็นรากเหง้าเค้ามูลของ ความชั่วทั้งหลาย บุคคลใดก็ตามที่ถูกกิเลสทั้ง ๓ ประเภทนี้
  • 4. 4 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ครอบง�าจิตใจ เขาก็กลายเป็นคนชั่ว คนเลว คนต�่าช้า (คน ระย�า) ทันที ในประเด็นที่ว่า “คนระย�าใช้กิเลส” นั้น ความจริง แล้วกิเลสมันใช้คนระย�า การท�า การพูด การคิดของบุคคล ประเภทนี้ ตกอยู่ภายในประกาศิตของกิเลสทั้ง ๓ ประเภทนั้น กิเลสสังให้ทาก็ทา กิเลสสังให้พดก็พด กิเลสสังให้คดก็คด ไม่มี ่ � � ่ ู ู ่ ิ ิ อิสรเสรีเป็นตัวของตัวเองเลย ท�าอะไร พูดอะไร คิดอะไร ก็ตก อยู่ในบังคับบัญชาของกิเลสทั้งนั้น ในสังคมปัจจุบันทุกวันนี้ มี คนระย�าใช้กิเลสระบาดกันทั่วไปในสังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน ไม่ ว่าจะเป็นสังคมชาวบ้าน สังคมชาวเมือง เรื่องของคนระย�าใช้ กิเลสมีจ�านวนปริมาณมากขึนอย่างผิดสังเกต เป็นเหตุให้สงคม ้ ั มนุษย์ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ เกิดปัญหา สารพัดนานาประการ เพราะการทีมคนระย�าใช้กเลสอาศัยอยูใน ่ ี ิ ่ สังคม ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนระย�าใช้กเลสประเภทโลภะ ความโลภ ิ โลภะ ความโลภในทีนี้ โปรดเข้าใจกันให้ดี อย่าให้ผดความหมาย ่ ิ เพราะคนทังหลายมักจะเข้าใจกันว่า คนเราถ้าไม่มความโลภแล้ว ้ ี จะเป็นคนรวยได้อย่างไร เพราะความโลภช่วยให้คนรวย ความ เข้าใจเช่นนีผดถนัด ความรวยไม่ใช่เกิดจากความโลภ และความ ้ ิ โลภก็ไม่ใช่ให้เกิดความรวย ความโลภเป็นปฏิปักษ์กับความรวย ต่างหาก มีความโลภทีไหน ความรวยก็หมดไปจากทีนน ความ ่ ่ ั้ รวยเกิดจากความขยันหมั่นท�าการงานให้เหมาะเจาะ เพราะ ความขยันจึงหาทรัพย์ได้กลายเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี มั่งมี ร�ารวย ด้วยมีปญญาจึงหาทรัพย์ได้ในทางทีชอบ นีคอปัจจัย ่ ั ่ ่ ื
  • 5. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 5 ให้เกิดความรวยไม่ใช่ความโลภ แต่คือความขยัน หมั่นรักษา คบค้าคนดี ใช้จายด้วยวิธประหยัด จ�ากันไว้ให้ดี จะได้เป็นเศรษฐี ่ ี ในวันข้างหน้า อย่าใช้กิเลสคือความโลภกันเลย โลภะ ความโลภนั้น ได้แก่ความอยากได้ในทางทุจริต ผิด ศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ผิดวัฒนธรรมประเพณี มีความ โลภทุกอย่างไม่เลือกทาง ขอให้ได้มาเป็นพอ คอร์รัปชั่นคดโกง ฆ่าเจ้าเอาของ หลอกลวงอ�าพราง ท�าทุกอย่างขอให้ได้มาซึ่ง อ�านาจเงิน และอ�านาจรัฐ โดยไม่ค�านึงว่าใครจะเดือดร้อน เพราะการกระท�าของตน คนระย�าใช้กิเลสประเภทความโลภนี้ เขาจะเอารัดเอาเปรียบเหยียบย�่าคนอื่น เพราะความเห็นแก่ตัว เขามองไม่เห็นคนอืนนอกจากตัวเขาเอง และพรรคพวกของเขา ่ เท่านัน นีคอลักษณะของคนระย�าใช้กเลสประเภทความโลภ ยก ้ ่ ื ิ มาพอให้เห็นเป็นตัวอย่าง คนระย�าใช้กิเลสประเภท “โทสะ” โทสะความประทุษร้าย คิ ด ท� า ลายล้ า งผลาญ คิ ด ให้ ค นอื่ น ถึ ง ความพิ น าศฉิ บ หาย วอดวาย ล่มจม นี่คือลักษณะของโทสะ คนที่ถูกโทสะครอบง�า จิตใจกลายเป็นคนระย�า ใจด�าอ�ามหิต โหดร้ายทารุณ คนระย�า ประเภทนีกาลังระบาดทัวไปในสังคมปัจจุบน เทียวฆ่าฟันรันแทง ้ � ่ ั ่ ท�าลายล้างผลาญกันไม่เว้นแต่ละวัน น่าสังเวชสลดใจ นี่แหละ พิษสงของคนระย�าใช้กิเลสประเภทโทสะ มันเป็นอันตรายต่อ ความสงบสุขของสังคมเช่นนี้ คนระย�าใช้กิเลสประเภท “โมหะ” โมหะ แปลว่าความลุ่ม หลง ความมัวเมา ความโง่เขลา คือความไม่รู้ตามความเป็น
  • 6. 6 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ จริง รู้เหมือนกันแต่ไม่รู้จริง หมายถึงความมืดบอดทางจิตใจ ความมืดมนอนธกาล ขาดความส�านึกผิดถูก ชัวดี นีคอลักษณะ ่ ่ ื ของโมหะ ทีเข้าใจกันของบรรดานักศึกษาธรรมทังหลาย หลาย ่ ้ คนเข้าใจว่า โมหะคือความไม่รู้ ไม่รู้อะไรก็จัดเป็นโมหะทั้งนั้น ความเข้าใจเช่นนี้ ไม่ตรงกับลักษณะของโมหะนัก ตามหลัก ความหมายเดิม ค�าว่า “โมหะ” หมายถึงความส�าคัญผิด ความ เห็นผิด ความเข้าใจผิด ความรู้ผิด นี่คือความหมายเดิม ความ หมายเช่นนี้ จึงจะตรงกับความเป็นจริง เพราะโมหะนั้นไม่ใช่ว่า ไม่รู้ รู้เหมือนกันแต่ดันไปรู้ผิดเข้า ซึ่งเราชาวบ้านเรียกขานกัน ว่า “เสือกรู้” ที่ว่า “โมหะ” รู้ผิดนั้นคือรู้อย่างไร? ก็คือรู้ผิดจากสภาว ธรรมความเป็นจริง เช่น สภาวธรรมทั้งหลายเป็นอนิจจัง ไม่ เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ดับไปตลอด เวลา อนัตตา หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอ�านาจบังคับ บัญชาของใคร นีคอความจริงของสภาวธรรมทังหลาย แต่โมหะ ่ ื ้ กลับไปรู้ผิดคิดว่า เป็นของเที่ยง, มีความสุข, เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราเป็นของเขาก็เลยยุงกันใหญ่ เพราะ ่ ไปรู้ผิดจากความเป็นจริง นี่แหละคือลักษณะของความรู้ผิด ความเห็นผิด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจผิด ความรู้ผิด นี่ แหละที่เป็นตัวการสร้างปัญหาต่างๆ ในทางสังคมให้เกิดขึ้นแก่ คนเรา พระพุทธเจ้าตรัสว่า มุฬฺโห อตฺถ� น ชานาติ มุฬฺโห ธมฺม� น ปสฺสติ อนฺธตม� ตทา โหติ ย� โมโห สหเต นร�.
  • 7. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 7 คนหลงผิดย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงผิดย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงผิดครอบง�านรชนเมือไร ความมืดมิดย่อมมีเมือนัน ่ ่ ้ ตามพุทธด�ารัสนี้ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีความรู้ผิด ความเห็น ผิด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจผิดนั้น เป็นคนไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล เป็นคนตกอยู่ในความมืด เต็มไปด้วยภัยอันตรายนานาประการ เป็นคนที่น่าสงสารแถมสมเพช เพราะเหตุแห่งความยึดมั่น ถือ มั่นยืนยันในความรู้ผิด หลงผิดของตนอย่างถอนไม่ขึ้น นีแหละ ่ คือโมหะ ความหลงผิด ความรูผด ความส�าคัญผิด ความเข้าใจ ้ ิ ผิด มันเป็นพิษเป็นภัย ท�าให้คนดีๆ เป็นคนระย�าใช้กิเลส นอกจากคนระย�าจะใช้กเลสทัง ๓ ประเภทนีแล้ว คนระย�า ิ ้ ้ ก็ยังถล�าไปใช้กิเลสประเภททิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่า ร้าย ใช้ความโกรธความเกลียดความชัง ดังที่เห็นกันอยู่ใน ปัจจุบันทุกวันนี้ แล้วก็ยังมีอคติ ล�าเอียงเพราะชอบ ล�าเอียง เพราะชัง ล�าเอียงเพราะขลาด ล�าเอียงเพราะเขลา เล่นเอาคนใน สังคมเกิดความระส�าระสายวุนวายกันไปทุกหย่อมหญ้า คนระย�า ่ ่ ใช้กิเลสนี้ถ้ามีอยู่ในคนธรรมดาสามัญชาวบ้านทั่วไป แม้จะเป็น พิษเป็นภัยก็อยู่ในขอบเขตจ�ากัดเท่านั้น ข้อส�าคัญถ้าผู้มีความ รับผิดชอบบริหารประเทศชาติบานเมือง มีอานาจเงินอ�านาจรัฐ ้ � เป็นคนระย�าใช้กิเลสกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดเภทภัยอันตรายต่อ สั ง คมแห่ ง การอยู ่ ร ่ ว มกั น อย่ า งกว้ า งใหญ่ ไ พศาล สุ ด ที่ จ ะ ประมาณได้ ขอให้เราท่านทังหลายใช้ความสังเกตให้ดี ก็จะเห็น ้ กันว่า สังคมทุกวันนี้มีคนระย�าใช้กิเลสเพิ่มจ�านวนมากขึ้นตาม ล�าดับ นับว่าน่าเป็นห่วงกันจริงๆ
  • 8. 8 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ได้พูดมาในประเด็น “คนระย�าใช้กิเลส” พอสมควรแล้ว ต่อไปก็เข้าสู่ประเด็น “คนดีใช้ธรรม” เพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ ว่า บุคคลทังสองประเภทนี้ ประเภทไหนส่งผลกระทบต่อสังคม ้ แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นอันดับต่อไปนี้ จะพาท่านทั้งหลาย ไปศึกษาหาความรู้ในเรื่องของ “คนดีใช้ธรรม” กันต่อไป คน ดีคอคนประเภทไหน? คนดีได้แก่คนทีมพฤติกรรมทางกาย ทาง ื ่ ี วาจา และทางใจ ที่แสดงออกมาในทางสุจริต คือกายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา มโน สุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ กายสุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม, วจีสุจริต ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่ พูดค�าหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ ไม่คดโลภอยากได้ของเขา, ไม่คดพยาบาท ิ ิ ปองร้ายเขา, ไม่คดเห็นผิดจากท�านองคลองธรรม นีคอลักษณะ ิ ่ ื ของคนดี คนดีมีกาย วาจา ใจ อันบริสุทธิ์สะอาด ปราศจาก บาปทั้งหลายทั้งปวง คนดีใช้ธรรม ตรงกันข้ามกับคนระย�าใช้กิเลส เพราะคน ระย�าจิตใจต�่าเต็มไปด้วยกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความ หลง ทิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย คนระย�าก็ใช้กิเลส เหล่านี้แหละ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ก็กิเลสเหล่านี้ที่ใช้คนระย�า กิเลสใช้คนระย�าให้โลภ คนระย�าก็โลภ กิเลสใช้คนระย�าให้โกรธ คนระย�าก็โกรธ กิเลสใช้คนระย�าให้หลง คนระย�าก็หลง กิเลส ใช้คนระย�าให้อจฉาริษยา คนระย�าก็อจฉาริษยา กิเลสใช้คนระย�า ิ ิ ให้นินทาว่าร้าย คนระย�าก็นินทาว่าร้าย รวมความว่า คนระย�า
  • 9. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 9 จะท�า จะพูด จะคิด จะประกอบกิจการอะไร ก็ท�า ก็พูด ก็ คิด ตามประกาศิตของกิเลสทั้งนั้น ส่วนคนดี มีจิตใจปราศจากความโลภ ความโกรธ ความ หลง ทิฏฐิมานะ อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย คนดีจึงใช้ธรรมคือ ความดี ความถูกต้อง และความจริง คนดีจะท�าอะไรก็ท�าดี จะ พูดอะไรก็พูดดี จะคิดอะไรก็คิดดี คือท�าตามอ�านาจของพระ ธรรม พูดตามอ�านาจของพระธรรม คิดตามอ�านาจของพระธรรม เรียกว่าพระธรรมให้ท�าจึงท�า พระธรรมให้พูดจึงพูด พระธรรม ให้คิดจึงคิด นี่คือความหมายค�าว่า “คนดีใช้ธรรม” คนดีก็คือ คนมีธรรม คนประพฤติธรรม คนปฏิบัติธรรม มีธรรมเป็น เรือนใจ มีธรรมเป็นที่อยู่อาศัย เป็น “ธรรมวิหารี” คนดีมีอยู่ ในหมูใด คณะใด สังคมใด ประเทศชาติใด หมูนน คณะนัน สังคม ่ ่ ั้ ้ นั้น ประเทศชาตินั้น ก็มีแต่ความสงบสุข ปราศจากทุกข์และ ปัญหาต่างๆ โดยประการทั้งปวง ขอยกตัวอย่าง คนดีใช้ธรรมในหมวดทีชอว่า “พรหมวิหาร ่ ื่ ธรรม ๔” คือ ใช้เมตตาธรรม มีความรักใคร่ปรารถนาให้คนอื่น และ สัตว์อื่นมีความสุข การอยู่ร่วมกันในสังคมของคนหมู่มาก ถ้า อยากให้คนในสังคมมีความสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรม มี ความรัก ความเมตตา ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข คน ทุกคนต้องมีความรักซึ่งกันและกัน นั่นคือเหตุ คือปัจจัยให้เกิด ความสุข ตามหลักที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “อพฺยาปชฺฌ� สุข� โล เก” ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก โลกมนุษย์จะมีความ
  • 10. 10 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ร่มเย็นเป็นสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรมประจ�าใจ จะท�า จะพูด จะคิดอะไร ต้องท�าต้องพูดต้องคิดด้วยเมตตาธรรม นี่คือหลัก ค�้าประกันให้คนในสังคมมีความสุข ทุกคนต้องใช้เมตตาธรรม จ�ากันไว้ให้ดี ใช้กรุณาธรรม คือความสงสารต้องการช่วยเหลือให้คน อืน และสัตว์อนพ้นจากความทุกข์ พ้นจากปัญหานานาประการ ่ ื่ คนทีมกรุณาธรรมประจ�าใจ เมือเห็นคนอืนตกทุกข์ได้ยากล�าบาก ่ ี ่ ่ โดยประการใดๆ ทนดูอยู่ไม่ได้ ต้องหาอุบายเข้าไปช่วยบรรเทา ความทุกข์ ความเดือดร้อนของเขาเหล่านั้นทันทีไม่ดูดาย ใช้ อุบายของพระอินทร์เมืองคน คือเห็นคนอื่นสัตว์อื่นเดือดร้อน ก็รอนใจขึนมาทันที ไม่หนรีหนขวางอ้างนันอ้างนี่ รีบวิงรีเข้าไป ้ ้ ั ั ่ ่ ่ ช่วยเหลือทันทีทันควัน เพื่อช่วยให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความ ทุกข์ความเดือดร้อน ตามสติกาลังความสามารถทีจะช่วยได้ ถ้า � ่ ทุกคนใช้กรุณาธรรม มีความสงสารต้องการช่วยเหลือคนอืนให้ ่ พ้นจากความทุกข์เช่นนี้ นี่คือคนดีใช้ธรรม น� ามาพอเป็น ตัวอย่าง ใช้มุทิตาธรรม พลอยดีใจในเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี ธรรมะข้อ นี้มีความส�าคัญมาก ถ้าหากคนเราทุกคนในสังคมมีค่านิยมใน การใช้มุทิตาธรรม คือเมื่อเราเห็นคนอื่นท�าดีได้ดี มีความสุข ความเจริญ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เราก็พลอยดีใจ อนุโมทนาสาธุ ขอให้เขา มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือวิสัยผู้ใช้มุทิตาธรรม ถ้าทุกคนใน สังคมพากันนิยมใช้ธรรมะข้อนี้กันให้มากๆ สังคมก็จะมีแต่ความ
  • 11. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 11 ร่มเย็นเป็นสุข เพราะทุกคนมีความดีใจ มีความพอใจในความ ดีของกันและกัน แต่เท่าที่สังเกตเห็นคนส่วนใหญ่ในสังคม ปั จ จุ บั น ทุ ก วั น นี้ คนเรามั ก จะพากั น ลื ม ในการใช้ ธ รรมข้ อ “มุทิตา” เห็นคนอื่นท�าดีได้ดีมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แทนที่ จะพลอยดีใจด้วย กลับมีความอิจฉาริษยาในความดีของคนอื่น เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ หรือมีใครพูดถึงความดีของคน อื่นโดยเป็นคนที่ตนเองไม่ชอบแล้ว มันทนฟังไม่ได้ เหมือนเอา ของแหลมมาทิ่มแทงหัวใจ ทนฟังไม่ได้ ส่ายหน้า สั่นหัว ดู เอาเถอะ! พวกอิจฉาตาไฟ สร้างความเสนียดจัญไรให้แก่ตวเอง ั แท้ๆ...อนิจจา! คนเอ๋ยคน หันมาใส่ใจทางนี้กันหน่อยดีไหม จิตใจจะได้เบาสบาย หันมาใช้มุทิตาธรรม พลอยดีใจ ชื่นใจ ในเมื่อเห็นคนอื่นเขาท�าดีแล้วได้ดี เท่านี้ก็หมดเรื่องจะไปเปลือง ตัวกับความอิจฉาริษยาท�าไมกันเล่า มันเผาไหม้จิตใจของเราให้ ไหม้เกรียมเปล่าๆ แล้วก็เศร้าใจเสียใจตลอดชีวิต พิชิตความ อิจฉาริษยาด้วยการใช้มุทิตาธรรมกันเถิดท่านที่รักทั้งหลาย จิตใจของเราจะได้เบาสบาย ไร้ปัญหาโดยประการทั้งปวง ใช้อุเบกขาธรรม อุเบกขาวางใจให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้าง อคติ ล�าเอียงเพราะชอบ ล�าเอียงเพราะชัง ล�าเอียงเพราะขลาด ล�าเอียงเพราะเขลา เอาใจตั้งไว้ตรงกลาง ทุกอย่างก็จะมีความ เป็นธรรม ความยุติธรรม ความเสมอภาค ถ้าหากต้องการให้ เกิดความยุติธรรมในสังคม ก็ต้องใช้อุเบกขาธรรม เพราะ อุเบกขานั่นแหละ คือความเป็นธรรม ความยุติธรรม จึงขอ ฝากท่านทั้งหลายให้พากันใช้อุเบกขาธรรมกันเถิด จะเกิดสิริ
  • 12. 12 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ มงคลส่งผลให้คนในสังคมมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจาก ทุกข์นานัปการ แต่เหตุการณ์ในสังคมทุกวันนี้ สังเกตให้ดีหา คนอยู่ตรงๆ ไม่ค่อยจะได้ มีแต่พวกเอียงซ้าย เอียงขวา เอียง หน้า เอียงหลัง บางคนล�าเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) ลงได้ ชอบใครแล้วมันจะชั่วเลวอย่างไรก็ชอบใจ พอใจอยู่นั่นแหละ แต่บางคนก็เอียงเพราะชัง (โทสาคติ) ลงได้ชังแล้ว จะท�าดีท�า ชอบอย่างไร ก็ไม่ยอมรับ ยังเกลียด ยังชังอยู่นั่นแหละ ด้วย เหตุทคนเรามีอคติ ไม่ใช้อเบกขาธรรมนีเองแหละ สังคมมนุษย์ ี่ ุ ้ จึ ง เต็ ม ไปด้ ว ยความสั บ สนวุ ่ น วาย กลายเป็ น สั ง คมคนป่ า หาความสงบสุขมิได้ คนดีใช้ธรรม คนระย�าใช้กิเลส บุคคลทั้งสองประเภทนี้ มีผลกระทบต่อสังคมแห่งการอยูรวมกัน ไม่เสมอกัน ไม่เหมือน ่่ กัน แตกต่างกัน คนดีใช้ธรรม ท�าให้สงคมมีความร่มเย็นเป็นสุข ั เพราะคนในสังคมมีความรัก ความสามัคคี ไม่มีการเอารัดเอา เปรียบเหยียบย�าท�าลายกัน อยูกนฉันมิตรมีนาจิตเอือเฟือเกือกูล ่ ่ ั �้ ้ ้ ้ กัน เพราะต่างคนต่างก็ใช้ธรรมะ ในชีวิตประจ�าวัน จะท�าอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไรก็ใช้ธรรมน�าหน้า ใช้ปัญญาเป็นเครื่อง น�าทาง ต่างคนต่างก็มหริ ความละอายต่อความชัว มีโอตตัปปะ ี ิ ่ กลั ว ต่ อ ผลของบาปกรรม ดั ง นั้ น ผลกระทบซึ่ ง เกิ ด จาก พฤติกรรมของคนดีใช้ธรรม จึงมีแต่ความสงบสุขทุกประการ ส่วนในด้านคนระย�าใช้กเลสนัน เป็นเหตุท�าให้สงคมจมอยู่ ิ ้ ั ในปลักแห่งความทุกข์ ความเดือดร้อน ส่งผลสะท้อนต่อสังคม ในทางลบ ท�าให้คนในสังคมประสบกับปัญหานานาประการ
  • 13. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 13 เพราะสันดานของคนระย�านั้น สร้างแต่บาปท�าแต่อกุศล จึงส่ง ผลให้ได้รบความทุกข์ในปัจจุบนทันตาเห็น เพือเป็นหลักประกัน ั ั ่ ให้เกิดความสงบสุข และความปลอดภัยในชีวต ขอสะกิดให้ทาน ิ ่ ทังหลายใช้ธรรมกันเถิด จะเกิดสิรมงคลส่งผลให้มแต่ความสงบ ้ ิ ี สุขทุกประการ พวกคนดี ใช้ธรรม ประจ�าจิต น�าชีวิต สู่ความสุข ทุกสมัย คนใช้ธรรม น�าชีวิต ศิวิไลซ์ อยู่ที่ไหน ก็ปลอดภัย ทุกประการ เมื่อคนดี ใช้ธรรม ประจ�าอยู่ ในสังคม ทุกหมู่ คู่ประสาน ก็ท�าให้ ทุกคน สุขส�าราญ ใจเบิกบาน เพราะใช้ธรรม น�าวิญญาณ เมื่อทุกคน ใช้ธรรม น�าชีวิต ก็พิชิต ปัญหา นานัปการ ครองชีวิต สงบสุข ทุกประการ ธรรมบันดาล สงบเย็น เป็นนิรันดร์ ด้วยเหตุนี้ ปราชญ์เมธี จึงเตือนตัก ให้ทุกคน รู้จัก ใช้ธรรมกัน เมื่อทุกคน ใช้ธรรม ประจ�าวัน ความสุขสันต์ ก็เกิดมี ทุกวี่วัน
  • 14. 14 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ คนระย�า ใช้กิเลส พระท่านเทศน์ ก็เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์ ไม่สุขสันต์ เกิดปัญหา นานา สารพัน ทุกข์ด้วยกัน ทั่วไป ในสังคม คนระย�า ใช้กิเลส เศษมนุษย์ เลวที่สุด ทุกอย่าง ทางสังคม อยู่ที่ไหน ไปที่ไหน ให้ล่มจม ท�าสังคม ให้เดือดร้อน ทุกตอนไป ด้วยเหตุนี้ ขอคนดี จงหมายมั่น พร้อมใจกัน ใช้ธรรม ประจ�าใจ จะประสบ ความสุข ทุกเมื่อไป อยู่ที่ไหน เหมือนสวรรค์ ชั้นวิมาน ฯ