SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  15
Télécharger pour lire hors ligne
การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Cross -cultural Management forEntering ASEAN Economic Community
สานิตย์ หนูนิล1
SanitNoonin
บทคัดย่อ
ปัจจุบันองค์การต่าง ๆต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่สามารถคาดการณ์
ได้และไม่สามารถคาดการณ์ได้ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือ
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญอีกครั้งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและ
ด้านลบต่อประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะด้านการค้าการ
ลงทุน รวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ทาให้องค์การต้องเตรียมรับมือกับการจัดการในด้านต่าง ๆ
รวมทั้งการจัดการด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือการจัดการข้ามวัฒนธรรมโดยเป็นการศึกษาที่ให้
ความสาคัญกับเรื่องการจัดการภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด เพื่อให้
การดาเนินงานภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประสบความสาเร็จรวมทั้งเพื่อสร้างความได้เปรียบใน
การแข่งขัน บทความนี้จึงต้องการที่จะนาเสนอแนวคิดที่สาคัญเกี่ยวกับการจัดการข้ามวัฒนธรรม
โดยเฉพาะในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อที่จะได้เข้าใจแนวคิดการจัดการข้ามวัฒนธรรม
และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในองค์การได้ต่อไป
คาสาคัญ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Abstract
Atthe present, organizations are faced withthe changes thathave occurred overtime; both
predictableandunpredictable,andin2015ThailandwillentertheASEANEconomicCommunity(AEC),
whichisamajorchangeonceagain.Suchchanges willcertainlyimpactThailandandothercountries in
the region both positively and negatively, especially in trade, investment and labor mobility. The
organizationsmustbepreparedtohandledifferentaspectsincludingthehandlingofdifferencesincultural
1
อาจารย์ประจาภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี E-mail: sanit.no@dtc.ac.th
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
177
or cross - cultural management that focus on the management of different cultural environments.
Tosucceedinoperatingunderdifferentculturesandtocreateacompetitiveadvantage.Thisarticleaimsto
presentthekeyconceptsoncross-culturalmanagement,especiallyinthe contextofthe AEC, inorderto
understandthe concept ofcross - cultural management andcan apply to manage the cross - cultural
differences inorganizations further.
Keywords : Cross -cultural Management,ASEAN Economic Community
บทนา
ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้านของโลกปัจจุบันทาให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการ
ปรับตัวเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปิดเสรีในด้านต่าง ๆ ของ
องค์การธุรกิจ และเป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ.2558ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community : AEC)ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวที่
สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการแรงงานฝีมือและเงินทุนได้อย่าง
เสรี ทาให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเปิดเสรีดังกล่าวสิ่งสาคัญประการหนึ่ งที่
องค์การจะต้องให้ความสาคัญและต้องตระเตรียมนั่นก็คือ การเรียนรู้การจัดการข้ามวัฒนธรรม (Cross -
culturalManagement)ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน
เนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมจะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลเชิง
บวกและเชิงลบอาทิทาให้เกิดแนวคิดและวิธีการทางานใหม่ๆและเกิดความขัดแย้งเนื่องจากวัฒนธรรม
ที่ต่างกันทาให้มีความเข้าใจที่แตกต่างกันได้ (DongandLiu, 2010) นอกจากนั้นจากการศึกษาของ
นักวิชาการยังพบว่า การจัดการข้ามวัฒนธรรมมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการ
แข่งขันขององค์การ(Sultana etal., 2013) ทาให้ทั้งนักวิชาการและนักบริหารมืออาชีพเริ่มหันมาให้
ความสาคัญในเรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมกันมากขึ้น และมีการค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องนี้อย่างมาก
โดยมีการศึกษา วิจัยเพื่อเข้าใจตัวแปรหลักที่สาคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นที่มีอิทธิพลใน
การอธิบายความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และผลกระทบที่มีต่อการจัดการการจัดการทางการตลาด การ
บริหารการปฏิบัติการและการจัดการทางด้านการเงิน ซึ่งล้วนส่งผลต่อการดาเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
ทั้งสิ้น (ผลิน ภู่จรูญ, 2548:110)
สาหรับวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นก็มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง ด้าน
ความเหมือนคือเป็นลักษณะวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม(Collectivism)ต่างจากชาวตะวันตกโดยส่วนใหญ่ที่
มีความเป็นปัจเจก(Individualism)สูง สาหรับความแตกต่างที่เด่นชัดในภูมิภาคนี้ สืบเนื่องจากความ
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
178
หลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนาแม้แต่ประเทศเดียวกัน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย มีชนชาติ
(Ethnicities)มากกว่า300ชนชาติ(สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส, 2556:80) ซึ่งความแตกต่างดังกล่าว
ส่งผลให้เกิดความแตกต่างด้านค่านิยม ความคิดรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
บทความนี้จึงต้องการที่จะนาเสนอประเด็นเกี่ยวกับการจัดการข้ามวัฒนธรรมโดยเฉพาะในบริบท
ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการนาไปประยุกต์ใช้จริงในการจัดการข้าม
วัฒนธรรมในองค์การต่อไป
การจัดการข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรมนั้นแบ่งออกเป็นหลายระดับอาทิวัฒนธรรมภายในกลุ่ม วัฒนธรรมในองค์การ
วัฒนธรรมระดับชาติเป็นต้น ก่อนที่จะกล่าวถึงการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นควรจะต้องทาความเข้าใจ
คาว่า วัฒนธรรม (Culture)และวัฒนธรรมองค์การ(OrganizationalCulture)เป็นลาดับแรก
คาว่าวัฒนธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้อธิบายความหมายไว้ว่า
หมายถึงพฤติกรรมและสิ่งที่คนหมู่มากได้ผลิตหรือสร้างขึ้นมาด้วยกัน และร่วมใช้หรือปฏิบัติตามกันอยู่
ในหมู่พวกตน
สาหรับวัฒนธรรมองค์การนั้น มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย มีความหมายที่
สาคัญสรุปได้ดังนี้ Schein(2004:17)อธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่าหมายถึงแบบแผนของ
ฐานคติพื้นฐานร่วม ซึ่งได้รับการเรียนรู้จากองค์การในฐานะที่เป็นสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาของการปรับตัว
ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกส่วนเพ็ชรีรูปะวิเชตร์(2554:84)ได้สรุปความหมายของวัฒนธรรม
องค์การว่าคือรูปแบบ(Pattern)ระเบียบแบบแผน (Norm) ความคิด (Thinking) ความเชื่อ (Belief)
พฤติกรรม (Behavior)ที่แต่ละองค์การกาหนดขึ้นมาและสมาชิกในองค์การมีการถ่ายทอดเรียนรู้กันจาก
คนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยวัฒนธรรมองค์การแต่ละองค์การจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละ
องค์การ
ส่วนการจัดการข้ามวัฒนธรรม เป็นการศึกษาที่ให้ความสาคัญกับเรื่องการจัดการภายใต้
สิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด มีอิทธิพลต่อปัจจัยในการจัดการ โดยมี
แก่นสารในการศึกษาที่สามารถสรุปแบ่งออกได้เป็นประเด็นที่สาคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ (ผลิน ภู่จรูญ,
2548:117-118)
1) การสร้างให้เกิดความระมัดระวังในความแตกต่างของวัฒนธรรมความระวังระไวที่จะต้อง
จัดการในประเทศที่มีความแตกต่างในทางวัฒนธรรมเมื่อเทียบกับวัฒนธรรมของบริษัทแม่ทั้งในเรื่องของ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
179
ปรัชญาการจัดการค่านิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในการดาเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะในการทางานกับคนที่มีสัญชาติและเชื้อชาติที่แตกต่างกัน
2) การสร้างให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมการสร้างให้เกิดความเข้าใจใน
วัฒนธรรมนั้นอย่างลึกซึ้งเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงแก่นและสาระของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง
สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการได้อย่างแท้จริง
3) ความสามารถในการทางานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง พัฒนาให้ผู้บริหารมีความสามารถ
จัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมเดิมของตัวเอง
ในการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆหลายประการที่จะต้องดาเนินการ
ควบคู่กันไปโดยจะต้องคานึงถึงความคิดของแต่ละบุคคลต้องให้ความสาคัญกับการสื่อสารแบบไม่เป็น
ทางการรวมทั้งจะต้องให้ความสาคัญกับการจัดการด้านอารมณ์อีกด้วย(XiaoandBoyd,2010)นอกจากนั้น
LussierandArchua (2004: 440-444)ได้นาเสนอหลักการจัดการข้ามวัฒนธรรมขององค์การให้ประสบ
ความสาเร็จไว้ดังนี้
1) องค์การต้องมีปรัชญาว่าเป็นองค์การที่มีความหลากหลาย
2) ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนและมีพันธะสัญญาว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม
เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจขององค์การ
3) ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องสนับสนุนให้องค์การที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เช่น มีวิธีการที่เหมาะสมในการคัดเลือกบุคลากรและการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่ง นอกจากนั้นต้องมีการ
สัมมนาด้านวัฒนธรรม มีแนวทางในการปฏิบัติที่ยุติธรรมต่อบุคลากร
4) มีการสื่อสารเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ข่าวสารแผ่นพับ ปฏิทิน ถ้วย
ชามที่มีสัญลักษณ์ของความสาเร็จในการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ขณะเดียวกันองค์การจะต้องรับฟังปัญหาและทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ และทาให้
ความหลากหลายนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวัน
5) ใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นมาตรวัดหนึ่งที่แสดงถึงความสาเร็จขององค์การ
หากองค์การสามารถทางานร่วมกันอย่างมีความสุข
6) องค์การต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมแก่บุคลากรและ
ให้การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมแก่ผู้นา
นอกจากนั้นผลินภู่จรูญ(2548:120)ยังได้เสนอแนวทางปฏิบัติในการจัดการข้ามวัฒนธรรมที่
สาคัญไว้ว่าแนวคิดการจัดการข้ามวัฒนธรรมต้องเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ให้
ความสาคัญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพราะเป็นปัจจัยหลักสาคัญที่เป็นกลไกในการทางานและ
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
180
ประสานงาน การให้ความสาคัญในเรื่องนี้จะทาให้การทางานภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมลด
น้อยลง โดยจะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในการดาเนินงานระหว่างกันในระยะยาว
โดยสรุปในการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันโดยเฉพาะผู้นา
หรือผู้บริหารองค์การจะต้องตระหนักและให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าวมีการกาหนดเรื่องการจัดการ
ข้ามวัฒนธรรมไว้ในนโยบายขององค์การมีการจัดทาแผนการดาเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้นผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างความตระหนักรวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับพนักงาน
ในองค์การผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิการจัดฝึกอบรม การไปศึกษาดูงานในองค์การที่มีการจัดการข้าม
วัฒนธรรมประสบความสาเร็จการจัดทาเอกสารเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเป็นต้น
ซึ่งหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญในเรื่องดังกล่าวสาหรับพนักงาน
ที่ปฏิบัติงานในองค์การที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ต้องมีการปรับตัวเรียนรู้ในเรื่องของความ
แตกต่างด้านวัฒนธรรม ต้องหมั่นศึกษาหาความความรู้เพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอเนื่องจาก
ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อการดาเนินงานในองค์การอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มิติความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ศาสตราจารย์ Hofstede ได้ทาการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมของคนในประเทศต่าง ๆ โดยพยายาม
ศึกษาว่ามีมิติหลักของวัฒนธรรมสาคัญอะไรบ้างที่สามารถสรุปผลออกมาได้ในทางทฤษฎีโดยศึกษาถึง
อิทธิพลของวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนามาอธิบาย ความเชื่อประเพณี บรรทัด
ฐานและกรอบแนวคิดของคนในประเทศนั้นๆและสร้างให้เกิดความเข้าใจที่สามารถนามาใช้เปรียบเทียบ
ระหว่างกันโดยอธิบายได้อย่างมีหลักการและเหตุผลว่าทาไมคนที่มีสัญชาติต่างกันจึงมีการแสดงออกถึง
ค่านิยม และทัศนคติที่มีลักษณะแตกต่างกันไปซึ่งมิติทางวัฒนธรรมจากการศึกษาของ Hofstede แบ่ง
ออกเป็น มิติต่าง ๆ ดังนี้ (HofstedandHofsted, 2005 :45-238)
1) ระยะห่างของอานาจ(PowerDistance)เป็นดัชนีที่ใช้วัดลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้า
ของอานาจหรือหมายถึงการที่สมาชิกในสังคมหนึ่ง ๆ มีอานาจน้อยกว่าสามารถยอมรับได้ว่าสังคมที่ตน
อยู่นั้นมีการกระจายอานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน นั่นคือในสังคมที่มีการแบ่งแยกคนออกเป็นกลุ่ม ๆ ตาม
อานาจที่เขาได้มาไม่ว่าอายุ เพศฐานะทางการเงิน การศึกษาตาแหน่งหน้าที่การงาน พื้นฐานครอบครัว
หน้าตาเป็นต้น ถ้าเป็นคนในวัฒนธรรมที่มีลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้าของอานาจสูง จะเป็นผู้
ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวผู้ที่อยู่ในระดับต่ากว่ามีหน้าที่เพียงปฏิบัติตามคาสั่งการทางานไม่ตั้งแง่สงสัยและ
มักยอมรับอานาจลักษณะนี้ โดยไม่คาดหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางตรงกันข้ามวัฒนธรรมที่มี
ลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้าของอานาจต่าจะยินดีรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานทุกระดับมี
ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
181
2) การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน(UncertaintyAvoidance)เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงระดับความ
ไม่แน่นอนหรือความผิดปกติที่สังคมหนึ่งๆยอมรับได้หรือหมายถึงระดับที่คนในสังคมจะยอมรับสภาพ
ของสถานการณ์ที่คลุมเครือไม่แน่นอนได้มากน้อยเท่าไรหากในสังคมที่มีดัชนีการหลีกเลี่ยงความไม่
แน่นอนสูง ก็หมายความว่าคนในสังคมนั้นไม่ชอบความไม่นอน ไม่ยอมรับสภาวะ “ผิดปกติ” หรือ
“แตกต่าง” ใดๆ สังคมที่มีวัฒนธรรมที่มีลักษณะหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน จะพยายามสร้างกฎระเบียบ
จานวนมากเพื่อเป็นกรอบให้กับสมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติตาม ประชาชนในวัฒนธรรมนี้ อาจเกิด
ความเครียดสูง การตัดสินใจต่าง ๆ จะใช้มติของกลุ่มเป็นหลักหรือตามลาดับขั้นตอน ในทางตรงกันข้าม
วัฒนธรรมที่มีลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่าจะมีโครงสร้างองค์การที่ไม่ซับซ้อน มีการ
สนับสนุนให้หัวหน้างานตัดสินใจในลักษณะที่กล้าเผชิญกับความเสี่ยง ประชาชนไม่ค่อยมีความเครียด
กล้ายอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความคิดสร้างสรรค์
3) ความเป็นปัจเจกชนและการรวมเป็ นกลุ่ม (Individualism& Collectivism) มิตินี้ แบ่ง
ออกเป็น 2ขั้วใหญ่ๆ คือIndividualism หมายถึง แนวโน้มที่คนในสังคมหนึ่งจะสนใจดูแลตัวเอง หรือ
ครอบครัวที่อยู่วงใกล้ชิดเป็นหลักในขณะที่Collectivism หมายถึง แนวโน้มที่คนในสังคมหนึ่ งจะให้
ความสนใจกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม ประเทศที่มีความเป็น Individualism หรือเน้นความเป็น
ปัจเจกชนสูง ระบบการศึกษาได้ปลูกฝังให้สมาชิกในสังคมรับผิดชอบต่ออนาคตของตนเอง และต้อง
พยายามพัฒนาความสามารถของตนเองตลอดเวลาขยันขันแข็งในการทางานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สูงกว่ารวมทั้งยังนิยมระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่งที่พิจารณาจากผลการทางานเป็นหลักในขณะที่
ประเทศที่มีความเป็น Collectivism สูง คนจะมีความขยันขันแข็งในการทางานน้อยกว่ามีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์น้อยกว่ารวมทั้งนิยมระบบอาวุโส(SenioritySystem)ในการเลื่อนขั้นเป็นหลัก
4) ความเข้มแข็งและความนุ่มนวล(Masculinity&Femininity)มิตินี้แบ่งออกเป็น 2ขั้วที่มี
ความหมายตรงกันข้าม คือวัฒนธรรมที่มีลักษณะเข้มแข็ง มีความเป็นชาย (Masculinity) หมายถึง
วัฒนธรรมที่สังคมเน้นการแข่งขันแก่งแย่งชิงเด่น ให้คุณค่ากับความสาเร็จ เงินทองและวัตถุสิ่งของ
ตรงกันข้าม คือวัฒนธรรมที่มีความนุ่มนวล(Femininity)หมายถึง วัฒนธรรมที่สังคมให้ความสาคัญกับ
การใส่ใจผู้อื่นรวมทั้งคุณภาพชีวิตมากกว่าความสาเร็จในหน้าที่การงานเงินทองหรือวัตถุสิ่งของประเทศ
ที่มีดัชนีด้านนี้ยิ่งมากแปลว่าผู้ชายมีบทบาทมากกว่าผู้หญิง มีการแข่งขันสูงกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือ
ผู้ชายก็ตาม ในขณะที่สมาชิกของสังคมที่มีดัชนีด้านนี้ต่าจะค่อนข้างถ่อมตนและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
เพราะเป็นค่านิยมของสังคมซึ่งเน้นการให้ความสนใจผู้อื่น
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
182
5) มุมมองระยะยาวและระยะสั้น (Long&Short-termOrientation)มิติสุดท้ายนี้ ได้รับ
อิทธิพลจากลัทธิขงจื้อ(ConfucianDynamism)พบว่าLong-termOrientationคือวัฒนธรรมที่มองผลระยะ
ยาวเป็นหลักให้ความสาคัญกับอนาคตซึ่งทาให้มีค่านิยมบางประการที่ทาให้การดาเนินชีวิตด้วยความ
ระมัดระวังเช่นความมัธยัสถ์ความอดทน เป็นต้นเวลาว่างสาหรับการพักผ่อนไม่ใช่สิ่งสาคัญ ความเพียร
พยายามเป็นอุปนิสัยที่สาคัญยิ่ง ในทางตรงกันข้าม Short-termOrientation คือสังคมที่ให้ความสาคัญกับ
ปัจจุบัน เช่น การเคารพกฎกติกาและการป้องกันการเสียหน้าเวลาว่างสาหรับการพักผ่อนเป็นสิ่งสาคัญ
ความเพียรพยายามเป็นอุปนิสัยที่ไม่สาคัญนัก
การทาความเข้าใจในมิติทางวัฒนธรรมดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่จาเป็น และมีประโยชน์อย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การดาเนินธุรกิจต้องมีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ถือเป็นยุคของการไร้พรมแดนมีการรวมกลุ่มประเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ และเพื่อ
ความเข้มแข็งทางการเมืองมีการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการเปิดประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า AECเป็นหนึ่งใน 3เสาหลัก
ในการที่จะทาให้อาเซียนบรรลุการเป็น “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558 มีฐานมาจากการนาความ
ร่วมมือและความตกลงทางเศรษฐกิจที่อาเซียนได้ดาเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็น
รูปธรรมและมีความเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
(AFTA)ความตกลงด้านการส่งเสริมการลงทุนอาเซียน ความตกลงด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และ
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน โดยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเครื่องมือ
สาคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สามสร้าง
อานาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลกเพิ่มสวัสดิการและการ
ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10ประเทศบนหลักการของการจัดตั้ง
ประชาคมเศรษฐกิจซึ่งได้แก่การประหยัดต่อขนาดการแบ่งงานกันทาและการพัฒนาความชานาญในการ
ผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน สามารถสรุปจุดมุ่งหมายของการจัดการตั้งประชาคมเศรษฐกิจได้ดังนี้
(ไพรสิทธิ์ ศรีสุทธิเกิดพร, 2555:75-78)
1) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน
2) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้าบริการการลงทุน เงินทุน การพัฒนาทาง
เศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้าทางสังคมภายในปี 2020
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
183
3) ทาให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานผลิตเดียว(Single MarketandProductionBase)
4) มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนสินค้าการบริการการลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศ
สมาชิกโดยเสรี
5) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชาลาวพม่าและเวียดนาม
หรือCLMV)เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน
6) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน
การประกันภัยและภาษีอากรการพัฒนาโครงสร้างพลังงานการท่องเที่ยวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดย
การยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการเปิดเสรีแรงงาน
วัตถุประสงค์สาคัญประการหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ต้องการที่จะเปิดเสรีด้าน
แรงงานโดยเฉพาะแรงงานฝีมือ(SkilledLabor)จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่9เมื่อวันที่7ตุลาคม
2546ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้กาหนดจัดทาข้อตกลงร่วมกัน (MutualRecognition Arrangements :
MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลักแรงงานเชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถพิเศษเพื่ออานวยความ
สะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี 2558ในเบื้องต้นที่ได้ทาข้อตกลงร่วมกันแล้ว7
สาขาคือวิศวกรรม พยาบาลสถาปัตยกรรม การสารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี(ไพรสิทธิ์ ศรีสุทธิ
เกิดพร,2555:162)ซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรีนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อกาจัดดังนี้ (กรรณิกาแท่นคา,
2557)
ข้อดีของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
1) เกิดความยืดหยุ่นในตลาดแรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะ
ผนวกเข้ากับการค้าโลกแรงงานทั้งหลายจึงมีโอกาสเลือกทางานในสถานที่ที่แสดงศักยภาพได้สูงสุดซึ่ง
ในที่สุดก็จะนามาสู่การสร้างรายได้ที่สูงขึ้น
2) ส่งผลทางบวกต่ออุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง และเพิ่มอานาจต่อรอง
ให้กับแรงงาน
3) ประเทศที่มีเป็นแหล่งเป้าหมายของแรงงานจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่
ขยายตัวจากผลิตผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ข้อจากัดของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
1) บางอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบจากการไหลบ่าของแรงงานที่เข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น
และสังคมอาจเกิดความวิตกเรื่องปัญหากลัวชาวต่างชาติและการเหยียดเชื้อชาติ
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
184
2) ทาให้ปัญหาแรงงานของไทยเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปัจจุบันมีการขาดแคลนแรงงาน
ระดับกลางประมาณ 1แสนคน
3) เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือออกไปทางานในต่างประเทศ
4) จานวนแรงงานจากจีนและอินเดียที่มีสูงมากจะไหลเข้าสู่อาเซียนที่มีโอกาสดีกว่าและยัง
เป็นแรงงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากโดยเฉพาะรัฐบาลจีนได้ใช้งบประมาณจานวนมากปรับปรุง
มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาอย่างมหาศาลซึ่งการรวมกลุ่ม AEC จะทาให้ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเป็น
300ล้านคน
สิ่งที่ตามมาจากการเปิดเสรีด้านแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็คือ ทาให้มีการ
แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์การที่มีแรงงานที่มาจากวัฒนธรรมที่มีความ
แตกต่างกันจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการข้ามวัฒนธรรม ตลอดจนเข้าใจถึง
วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมทั้ง
วัฒนธรรมของประเทศอื่นๆในเอเชียอาทิจีนญี่ปุ่นเกาหลีใต้อินเดีย เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือเป็น
ประเทศที่มีความสาคัญต่อการดาเนินธุรกิจของประเทศไทยโดยในอนาคตมีแผนที่จะเปิดเสรีกับประเทศ
ดังกล่าวอีกด้วย
การจัดการข้ามวัฒนธรรมในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การจัดการข้ามวัฒนธรรมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนอกจากองค์การต้องดาเนินการ
ตามหลักการของการจัดการข้ามวัฒนธรรมดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น สิ่งสาคัญที่สุดอีกประการหนึ่ งก็คือ
การทาความเข้าใจถึงมิติความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน สรุปลักษณะที่สาคัญ
ของวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งประเทศในเอเชียได้ดังนี้ (สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส,
2556:99-102)
การสื่อสารทางอ้อม(IndirectCommunication) วัฒนธรรมของคนอาเซียนส่วนใหญ่นิยมการ
ติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการคือการไม่พูดตรง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนอาเซียนมีค่านิยมในการ
รักษาหน้า(FaceSaving)การปฏิเสธหรือการSay“No”บางครั้งถือเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ ไม่ให้เกียรติกับคู่
สนทนาอีกฝ่ายซึ่งการสื่อสารในลักษณะดังกล่าวอาจทาให้เกิดการเข้าใจผิดได้ดังนั้นจึงจาเป็นต้องเรียนรู้
ถึงภาษากาย สีหน้าท่าทาง เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคู่สนทนาด้วย
การรักษาหน้า(Face Saving)คนอาเซียนหรือคนเอเชียโดยทั่วไปจะมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน
ประการหนึ่ง คือการรักษาหน้าจะเห็นได้จากการที่คนเอเชียส่วนใหญ่นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนมจาก
ตะวันตกที่มีราคาแพง เพื่อเป็นการแสดงถึงสถานะทางสังคมของตนเอง เมื่อกล่าวถึงในด้านการทาธุรกิจ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
185
กับคนอาเซียนก็มีข้อคานึงว่าจะต้องไม่พูดหรือแสดงอาการใดๆให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียหน้าการพูดจาถนอม
น้าใจและการอ่อนน้อมถ่อมตน(BeingHumble)และการให้เกียรติผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสาคัญมากในขณะที่การ
พูดยกตนข่มท่านเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทาอย่างยิ่ง
การรักษาความกลมกลืนและการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Maintaining Harmony-avoiding
Conflict)คนอาเซียนจะรักษาความกลมกลืน ไม่แสดงความแตกแยกหรือพูดง่าย ๆ ว่าพยายามหลีกเลี่ยง
ความขัดแย้งระหว่างกัน การเจรจาต่อรองส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบ Win-win เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้สึกถึง
ความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
การให้ความเคารพ(ShowingRespect)วัฒนธรรมของประเทศในอาเซียนหรือเอเชียโดยทั่วไป
มีระยะห่างของอานาจที่สูง และคนจะให้ความสาคัญกับระบบอาวุโส(SenioritySystem)ค่อนข้างมาก
การแสดงความนับถือและการให้เกียรติแก่ผู้อาวุโสจึงเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในประเทศอาเซียนและ
ประเทศในเอเชียโดยทั่วไปและในความเป็นจริงก็ไม่จากัดว่าจะต้องเป็นพฤติกรรมที่กระทากับผู้อาวุโส
เท่านั้น แต่การให้เกียรติกับผู้อื่นแม้จะเป็นในระดับเดียวกันหรือผู้น้อยก็จัดเป็นสิ่งที่พึงกระทาในสังคม
อาเซียนและเอเชียโดยทั่วไปด้วยเช่นกัน
ความอดทน(Patience)คนอาเซียนโดยทั่วไปมักจะมีลักษณะใจเย็นอดทนแต่อาจยกเว้นพวกที่
มีเชื้อสายจีนที่มักใจร้อนและชอบทาอะไรเร็วๆ แต่หากเป็นเรื่องธุรกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนอาเซียน
พื้นเมืองหรือคนที่มีเชื้อสายจีนจะนิยมใช้SlowApproachในการดาเนินธุรกิจและเขาจะไม่ชอบให้มีการ
กดดันหรือเร่งรัดในการเซ็นสัญญาใดๆ แต่จะนิยมใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวๆ มีการไป
ทานข้าวเพื่อสร้างความรู้จักกันในฐานะเพื่อน ก่อนที่จะลงมือทาธุรกิจใดๆ ข้อดีของการทาธุรกิจแบบ
อาเซียนนี้คือความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมาในฐานะเพื่อนที่ไว้ใจได้จะคงอยู่นาน ทาให้การทาธุรกิจในลาดับ
ต่อๆ ไปสะดวกง่ายดายมากขึ้น
การสร้างความสัมพันธ์ (BuildingupRelationships)การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทาธุรกิจ
นั้นมิได้จากัดอยู่แค่หุ้นส่วนหรือลูกค้าเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่จะประสบความสาเร็จ
จะต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์ความกลมเกลียวกันกับคนในองค์การด้วยเพราะคนเอเชียส่วนใหญ่แล้วจะ
ชอบบรรยากาศการทางานที่เป็นเหมือนครอบครัวอยู่กันเหมือนพี่น้อง การทาความรู้จักไปถึงครอบครัว
ของเขานับเป็นจุดที่ดีของการสร้างความสัมพันธ์ ถือเป็นการสร้างบรรยากาศการทางานให้เป็นไปอย่าง
ราบรื่น เปรียบเสมือนกับคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีธุรกิจในเอเชียมักจะจัดให้มี
FamilyOutingเพื่อให้ความสัมพันธ์ที่กระชับแน่นแฟ้นเพราะถือว่าเมื่อเรารู้จักกับสมาชิกในครอบครัวเขา
แล้วจะรู้สึกเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งต่างกับบริษัทของยุโรปหรืออเมริกาที่มักแยกเรื่องงานกับ
เรื่องส่วนตัวออกจากกัน
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
186
นอกจากนั้นอรุณีเลิศกรกิจกา(2557)ได้ทาการศึกษาถึงวัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน
(6ประเทศประกอบด้วยอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)ตามมิติทางวัฒนธรรม
ของ Hofstede ทั้ง 5มิติมีข้อสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้
1) ระยะห่างของอานาจพบว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีระดับคะแนนด้านนี้ค่อนข้างสูงโดย
ประเทศที่มีระดับคะแนนด้านนี้สูงสุดคือประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศที่มีค่าระดับต่าสุดคือประเทศไทย
แสดงให้เห็นว่าสังคมในกลุ่มประเทศอาเซียนในภาพรวมยังยอมรับอานาจจากเบื้องบน มีการนับถืออาวุโส
ลาดับชั้นในสังคมและความไม่เสมอภาคได้ค่อนข้างสูงประชาชนในประเทศที่มีการยอมรับความเหลื่อม
ล้าทางอานาจสูงจะมีความพยายามผลักดันตนเองให้เปลี่ยนชนชั้นตนเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยการ
พยายามศึกษาเล่าเรียนหรือทาธุรกิจให้ประสบความสาเร็จเพื่อเป็นที่ยอมรับทางสังคม
การสร้างความประทับใจและมารยาทที่ดีในการทาธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการ
ยอมรับความเหลื่อมล้าทางอานาจสูง นักธุรกิจจึงควรศึกษาตาแหน่ง ฐานะทางสังคม อายุของคู่ค้าทาง
ธุรกิจ ให้ความสาคัญกับอาวุโสหรือผู้มีตาแหน่งทางสังคมเรียงจากมากไปน้อย และต้องพิจารณาเรื่อง
วรรณะของพนักงาน เช่น ไม่จ้างบุคลากรคนละวรรณะให้ทางานร่วมกัน
2) การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน สาหรับการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ในกลุ่มประเทศ
อาเซียนมีระดับคะแนนค่อนข้างหลากหลาย ประเทศที่มีระดับคะแนนสูงสุดคือ ประเทศไทย แสดงให้
เห็นว่าวัฒนธรรมทางสังคมของประเทศไทยเน้นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ความไม่แน่นอนและพยายามที่
จะหาหนทางไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อสถาบันต่าง ๆ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่
แน่นอนเหล่านั้นส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนต่าสุดคือประเทศสิงคโปร์ แสดงว่าวัฒนธรรมทางสังคม
ของประเทศสิงคโปร์ยอมรับความแตกต่าง ความไม่เป็นระบบความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการทา
ธุรกิจได้สูงเปิดรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆอดทนต่อความหลากหลายและเชื่อในความสามารถของตน
มากกว่าปัจจัยภายนอก
องค์การในสังคมที่มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูง จะมีการจัดโครงสร้างที่แน่นอน มี
การแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน กฎระเบียบต่าง ๆ จะถูกเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรพนักงานจะมี
ความทะเยอทะยานต่ากว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่น้อยกว่าและมีความกล้าเสี่ยงที่น้อยกว่าด้วยซึ่งอาจ
ส่งผลเสียต่อองค์การได้
3) ความเป็นปัจเจกชนและการเป็นกลุ่มกลุ่มประเทศอาเซียนมีความเป็นปัจเจกชนค่อนข้างต่า
ประเทศที่ระดับคะแนนต่าสุดคือประเทศอินโดนีเซียตามด้วยประเทศไทยประเทศสิงคโปร์ และประเทศ
เวียดนามส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนความเป็นปัจเจกชนสูงสุดในกลุ่มคือประเทศฟิลิปปินส์แสดงให้
เห็นว่าสังคมอาเซียนเป็นสังคมรวมกลุ่มหรือ Collectivistที่เน้นความสัมพันธ์ระยะยาวมีสานึกในความ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
187
เป็น “เรา” เน้นสร้างความปลอดภัยในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในกลุ่มหรือพวกพ้อง เป็นสังคมที่ให้
ความสาคัญต่อความภักดีต่อกลุ่ม มีการสื่อสารที่ใช้บริบทสูง รวมถึงมีระบบการตัดสินใจที่ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากทุกฝ่ายในกลุ่ม
4) ความเข้มแข็งและความนุ่มนวล กลุ่มประเทศอาเซียนมีความหลากหลายในมิติของความ
เข้มแข็งและความนุ่มนวลโดยประเทศที่มีระดับคะแนนด้านนี้สูงสุดคือประเทศฟิลิปปินส์ (วัฒนธรรมที่
มีความเป็นชายสูง หรือMasculinity)ซึ่งการทาธุรกิจในวัฒนธรรมที่ให้ความสาคัญกับเพศชายมากกว่า
เพศหญิงผู้ชายอาจได้เปรียบในการเจรจาทางธุรกิจมากกว่าเพศหญิง ส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนต่าสุด
ได้แก่ประเทศไทย จัดเป็นวัฒนธรรมที่มีความเป็นหญิงมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน เพราะโดยนิสัย
คนไทยมีจิตใจโอบอ้อมอารี เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ดังนั้น นักธุรกิจหญิงในประเทศไทยจึงได้รับความ
ทัดเทียมและโอกาสทางการแข่งขันเท่ากับเพศชาย
5) มุมมองระยะยาวและระยะสั้น ประเทศที่มีระดับคะแนนสูงแสดงว่าวัฒนธรรมของสังคม
ประเทศนั้นให้ความสาคัญกับอนาคตมากประเทศที่มีระดับคะแนนสูงสุดคือประเทศเวียดนาม ตามด้วย
ประเทศไทยประเทศสิงคโปร์และประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งการทาธุรกิจกับกลุ่มประเทศที่มีระดับคะแนนสูง
ต้องให้ความสาคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวรวมถึงการให้เกียรติและไม่กระทาการอันใดที่
ทาให้นักธุรกิจเสียหน้า
แม้ว่าวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อของคนในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือเอเชียจะมีความ
คล้ายคลึงกันโดยเฉพาะการเป็นวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม เป็นสังคมที่ให้ความสาคัญกับความแตกต่าง
ทางด้านชนชั้นหรือระบบอาวุโสแต่หากพิจารณาในรายละเอียดตามมิติทางวัฒนธรรมจะพบว่าในแต่ละ
ประเทศก็ยังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมดังข้อมูลที่ได้นาเสนอไปดังนั้นถือเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งใน
การศึกษาเพื่อทาความเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเพื่อที่จะทาให้การจัดการ
ข้ามวัฒนธรรมประสบความสาเร็จ
บทสรุป
ความท้าทายของการบริหารจัดการองค์การในปัจจุบันและในอนาคตคือ การจัดการกับการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญอีกครั้งหนึ่งที่กาลังจะเกิดขึ้นใน
ประเทศกลุ่มอาเซียนก็คือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่าAEC การเปิด
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมามากมาย หลายองค์การได้
เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประเด็นที่สาคัญอีกอย่างหนึ่ งที่
องค์การในปัจจุบันให้ความสาคัญและมีการพูดถึงกันมากขึ้นก็คือการจัดการข้ามวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึง
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
188
การบริหารจัดการบนพื้นฐานของความแตกต่างในด้านต่างๆอาทิเชื้อชาติศาสนาภาษาความเชื่อค่านิยม
จารีตประเพณีเป็นต้นความแตกต่างดังกล่าวจะส่งผลต่อการดาเนินงานขององค์การที่มีความหลากหลาย
ดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนเองก็มีวัฒนธรรมทั้งเหมือนและแตกต่างกัน
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสาคัญอย่างยิ่งที่องค์การจะต้องตระหนักและเห็นถึงความสาคัญในเรื่องดังกล่าว
การจัดการข้ามวัฒนธรรมให้ประสบความสาเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยความร่วมมือของผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเริ่มจากผู้นาหรือผู้บริหารองค์การจะต้องให้ความสาคัญในเรื่องดังกล่าวโดยอาจ
กาหนดเป็นวาระเร่งด่วนหรือกาหนดเป็นนโยบายขององค์การที่จะต้องดาเนินการโดยหน่วยงานด้านการ
บริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การควรจะเป็นเจ้าภาพหลักในการดาเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยจะต้องมี
การวางแนวทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการข้ามวัฒนธรรมให้กับบุคลากรใน
องค์การผ่านกระบวนการต่าง ๆ อาทิฝึกอบรมและพัฒนาการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ส่วน
พนักงานในองค์การก็จะต้องเปิดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น พัฒนาความรู้ความสามารถของ
ตนเองอยู่ตลอดเวลารวมทั้งศึกษาวัฒนธรรมของชาติต่างๆที่เป็นสมาชิกในองค์การนอกจากนั้นหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐรวมทั้งสถาบันการศึกษาก็จะต้องช่วยกันเตรียมความ
พร้อมในด้านต่างๆผ่านการเผยแพร่ความรู้การให้การศึกษาการวิจัย เป็นต้น หากองค์การต่าง ๆ สามารถ
ที่จะจัดการบนพื้นฐานของความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่นและประสบความสาเร็จก็จะส่งผล
ดีทั้งต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ต่อองค์การรวมทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และ
ต่อประเทศชาติโดยรวมอีกด้วย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี
189
บรรณานุกรม
กรรณิกาแท่นคา. การเปิดเสรีด้านแรงงานและงานความปลอดภัย.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:
http://www.oshthai.org/files/16free%20trade_labor.pdf วันที่เข้าถึง:13มีนาคม2558.
ผลิน ภู่จรูญ. การจัดการร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:เอกพิมพ์ไท,2548.
พจนากรมฉบับราชบัณฑิต. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์,2552.
เพ็ชรีรูปะวิเชตร์. การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ:การจัดการข้ามวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ:
ดวงกมลพับลิชชิ่ง, 2554.
ไพสิทธิ์ ศรีสุทธิเกิดพร.อาเซียน2558(2015). กรุงเทพฯ:ปัญญาชนดิสทริบิวเตอร์, 2555.
สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส. อาเซียนเซียนธุรกิจ.กรุงเทพฯ:แมคกรอ-ฮิล,2556.
อรุณี เลิศกรกิจจา. วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.researchgate.net/publication/258836411_Business_Culture_in_ASEAN_Countries/f
ile/504635291e7f1ef4e9.pdfวันที่เข้าถึง:13มีนาคม2558.
Dong,K.&Liu,Y. Cross-culturalmanagementinChina.CrossCulturalManagement:An
InternationalJournal.17,3(2010):223-243.
Hofstede,G.&Hofstede,G.,J. CulturesandOrganizations:Softwareofthemind.2nd
ed.
NewYork:McGraw-Hill,2005.
Lussier,R.,N.&Achua,C.F. Leadership:Theory,application,skilldevelopment.Mason,
Ohio:Thomson/South-Western,2004.
Schein,E.,H. OrganizationalCultureandLeadership.SanFrancisco:Jossey-Bass,2004.
Sultana,A.,Rashid,M.,Mohiuddin,M.&Mazumder,M.N.H. “Cross-culturalManagementand
OrganizationalPerformance:AContentAnalysisPerspective.” InternationalJournalof
BusinessandManagement.8,8(2013):133-146.
Xiao,H.&Boyd,D. “Learningfromcross-culturalproblemsininternationalproject:aChinese
case.”Engineering,ConstructionandArchitecturalManagement.17,6(2010):549-562.
Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015
190
นายสานิตย์ หนูนิลวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์และองค์การคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์ ปัจจุบันศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการคณะวิทยาการ
จัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจาภาควิชา
บริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการวิทยาลัยดุสิตธานี

Contenu connexe

Tendances

กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยChatchamon Uthaikao
 
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรการติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรChainarong Maharak
 
Globalization1
Globalization1Globalization1
Globalization1Teeranan
 
การนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัยNU
 
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)Ritthiporn Lekdee
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
การจัดทำ Tows matrix
การจัดทำ  Tows matrixการจัดทำ  Tows matrix
การจัดทำ Tows matrixLateefah Hansuek
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คtumetr1
 
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตการวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตKitipan Kitbamroong Ph.D. CISA
 
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่Aj.Mallika Phongphaew
 
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศ
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศmeeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศ
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศChuta Tharachai
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำissareening
 
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)Love Plukkie Zaa
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องmoohhack
 
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การ
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การChapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การ
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การwanna2728
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร Prathum Charoenroop
 

Tendances (20)

กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
 
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรการติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
 
Globalization1
Globalization1Globalization1
Globalization1
 
การนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัย
 
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
การจัดทำ Tows matrix
การจัดทำ  Tows matrixการจัดทำ  Tows matrix
การจัดทำ Tows matrix
 
Global Product & Price Strategy (ch.7)
Global Product & Price Strategy (ch.7)Global Product & Price Strategy (ch.7)
Global Product & Price Strategy (ch.7)
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
 
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตการวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
 
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
 
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศ
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศmeeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศ
meeting organizer manual คู่มือบริษัทรับจัดการไมซ์ในประเทศ
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
รายงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
หลักการจัดการ.
หลักการจัดการ.หลักการจัดการ.
หลักการจัดการ.
 
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การ
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การChapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การ
Chapter 5 กระบวนการพัฒนาองค์การ
 
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
 
Chapter 5 define
Chapter 5 defineChapter 5 define
Chapter 5 define
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร
 

En vedette

บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013stiu
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติTeetut Tresirichod
 
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมบทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมTeetut Tresirichod
 
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรอง
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรองบทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรอง
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรองTeetut Tresirichod
 
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร - Suradet...
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร  - Suradet...การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร  - Suradet...
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร - Suradet...Suradet Sriangkoon
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงSuradet Sriangkoon
 
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรมWannarat Wattana
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่Natepanna Yavirach
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียDe'Icejoong Ice
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 

En vedette (20)

การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21
 
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
 
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมบทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
บทที่ 4 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
 
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรอง
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรองบทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรอง
บทที่ 2 ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและการเจราจาต่อรอง
 
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร - Suradet...
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร  - Suradet...การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร  - Suradet...
การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการ่วมด้วย และช่วยกันของทุกๆคนในองค์กร - Suradet...
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
 
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
Project based learning
Project based learningProject based learning
Project based learning
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
 

Plus de Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมบทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีบทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 

Plus de Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University (9)

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
 
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมบทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
 
Adult learning and HRD
Adult learning and HRDAdult learning and HRD
Adult learning and HRD
 
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
 
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
 
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
 
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีบทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
 

บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  • 1. การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Cross -cultural Management forEntering ASEAN Economic Community สานิตย์ หนูนิล1 SanitNoonin บทคัดย่อ ปัจจุบันองค์การต่าง ๆต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่สามารถคาดการณ์ ได้และไม่สามารถคาดการณ์ได้ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญอีกครั้งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและ ด้านลบต่อประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะด้านการค้าการ ลงทุน รวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ทาให้องค์การต้องเตรียมรับมือกับการจัดการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือการจัดการข้ามวัฒนธรรมโดยเป็นการศึกษาที่ให้ ความสาคัญกับเรื่องการจัดการภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด เพื่อให้ การดาเนินงานภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประสบความสาเร็จรวมทั้งเพื่อสร้างความได้เปรียบใน การแข่งขัน บทความนี้จึงต้องการที่จะนาเสนอแนวคิดที่สาคัญเกี่ยวกับการจัดการข้ามวัฒนธรรม โดยเฉพาะในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อที่จะได้เข้าใจแนวคิดการจัดการข้ามวัฒนธรรม และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในองค์การได้ต่อไป คาสาคัญ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Abstract Atthe present, organizations are faced withthe changes thathave occurred overtime; both predictableandunpredictable,andin2015ThailandwillentertheASEANEconomicCommunity(AEC), whichisamajorchangeonceagain.Suchchanges willcertainlyimpactThailandandothercountries in the region both positively and negatively, especially in trade, investment and labor mobility. The organizationsmustbepreparedtohandledifferentaspectsincludingthehandlingofdifferencesincultural 1 อาจารย์ประจาภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี E-mail: sanit.no@dtc.ac.th
  • 2. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 177 or cross - cultural management that focus on the management of different cultural environments. Tosucceedinoperatingunderdifferentculturesandtocreateacompetitiveadvantage.Thisarticleaimsto presentthekeyconceptsoncross-culturalmanagement,especiallyinthe contextofthe AEC, inorderto understandthe concept ofcross - cultural management andcan apply to manage the cross - cultural differences inorganizations further. Keywords : Cross -cultural Management,ASEAN Economic Community บทนา ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้านของโลกปัจจุบันทาให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการ ปรับตัวเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปิดเสรีในด้านต่าง ๆ ของ องค์การธุรกิจ และเป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ.2558ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวที่ สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการแรงงานฝีมือและเงินทุนได้อย่าง เสรี ทาให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเปิดเสรีดังกล่าวสิ่งสาคัญประการหนึ่ งที่ องค์การจะต้องให้ความสาคัญและต้องตระเตรียมนั่นก็คือ การเรียนรู้การจัดการข้ามวัฒนธรรม (Cross - culturalManagement)ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมจะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลเชิง บวกและเชิงลบอาทิทาให้เกิดแนวคิดและวิธีการทางานใหม่ๆและเกิดความขัดแย้งเนื่องจากวัฒนธรรม ที่ต่างกันทาให้มีความเข้าใจที่แตกต่างกันได้ (DongandLiu, 2010) นอกจากนั้นจากการศึกษาของ นักวิชาการยังพบว่า การจัดการข้ามวัฒนธรรมมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการ แข่งขันขององค์การ(Sultana etal., 2013) ทาให้ทั้งนักวิชาการและนักบริหารมืออาชีพเริ่มหันมาให้ ความสาคัญในเรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมกันมากขึ้น และมีการค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องนี้อย่างมาก โดยมีการศึกษา วิจัยเพื่อเข้าใจตัวแปรหลักที่สาคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นที่มีอิทธิพลใน การอธิบายความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และผลกระทบที่มีต่อการจัดการการจัดการทางการตลาด การ บริหารการปฏิบัติการและการจัดการทางด้านการเงิน ซึ่งล้วนส่งผลต่อการดาเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งสิ้น (ผลิน ภู่จรูญ, 2548:110) สาหรับวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นก็มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง ด้าน ความเหมือนคือเป็นลักษณะวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม(Collectivism)ต่างจากชาวตะวันตกโดยส่วนใหญ่ที่ มีความเป็นปัจเจก(Individualism)สูง สาหรับความแตกต่างที่เด่นชัดในภูมิภาคนี้ สืบเนื่องจากความ
  • 3. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 178 หลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนาแม้แต่ประเทศเดียวกัน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย มีชนชาติ (Ethnicities)มากกว่า300ชนชาติ(สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส, 2556:80) ซึ่งความแตกต่างดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความแตกต่างด้านค่านิยม ความคิดรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน บทความนี้จึงต้องการที่จะนาเสนอประเด็นเกี่ยวกับการจัดการข้ามวัฒนธรรมโดยเฉพาะในบริบท ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการนาไปประยุกต์ใช้จริงในการจัดการข้าม วัฒนธรรมในองค์การต่อไป การจัดการข้ามวัฒนธรรม วัฒนธรรมนั้นแบ่งออกเป็นหลายระดับอาทิวัฒนธรรมภายในกลุ่ม วัฒนธรรมในองค์การ วัฒนธรรมระดับชาติเป็นต้น ก่อนที่จะกล่าวถึงการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นควรจะต้องทาความเข้าใจ คาว่า วัฒนธรรม (Culture)และวัฒนธรรมองค์การ(OrganizationalCulture)เป็นลาดับแรก คาว่าวัฒนธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้อธิบายความหมายไว้ว่า หมายถึงพฤติกรรมและสิ่งที่คนหมู่มากได้ผลิตหรือสร้างขึ้นมาด้วยกัน และร่วมใช้หรือปฏิบัติตามกันอยู่ ในหมู่พวกตน สาหรับวัฒนธรรมองค์การนั้น มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย มีความหมายที่ สาคัญสรุปได้ดังนี้ Schein(2004:17)อธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่าหมายถึงแบบแผนของ ฐานคติพื้นฐานร่วม ซึ่งได้รับการเรียนรู้จากองค์การในฐานะที่เป็นสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาของการปรับตัว ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกส่วนเพ็ชรีรูปะวิเชตร์(2554:84)ได้สรุปความหมายของวัฒนธรรม องค์การว่าคือรูปแบบ(Pattern)ระเบียบแบบแผน (Norm) ความคิด (Thinking) ความเชื่อ (Belief) พฤติกรรม (Behavior)ที่แต่ละองค์การกาหนดขึ้นมาและสมาชิกในองค์การมีการถ่ายทอดเรียนรู้กันจาก คนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยวัฒนธรรมองค์การแต่ละองค์การจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละ องค์การ ส่วนการจัดการข้ามวัฒนธรรม เป็นการศึกษาที่ให้ความสาคัญกับเรื่องการจัดการภายใต้ สิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด มีอิทธิพลต่อปัจจัยในการจัดการ โดยมี แก่นสารในการศึกษาที่สามารถสรุปแบ่งออกได้เป็นประเด็นที่สาคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ (ผลิน ภู่จรูญ, 2548:117-118) 1) การสร้างให้เกิดความระมัดระวังในความแตกต่างของวัฒนธรรมความระวังระไวที่จะต้อง จัดการในประเทศที่มีความแตกต่างในทางวัฒนธรรมเมื่อเทียบกับวัฒนธรรมของบริษัทแม่ทั้งในเรื่องของ
  • 4. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 179 ปรัชญาการจัดการค่านิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในการดาเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในการทางานกับคนที่มีสัญชาติและเชื้อชาติที่แตกต่างกัน 2) การสร้างให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมการสร้างให้เกิดความเข้าใจใน วัฒนธรรมนั้นอย่างลึกซึ้งเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงแก่นและสาระของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจถึง สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการได้อย่างแท้จริง 3) ความสามารถในการทางานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง พัฒนาให้ผู้บริหารมีความสามารถ จัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมเดิมของตัวเอง ในการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆหลายประการที่จะต้องดาเนินการ ควบคู่กันไปโดยจะต้องคานึงถึงความคิดของแต่ละบุคคลต้องให้ความสาคัญกับการสื่อสารแบบไม่เป็น ทางการรวมทั้งจะต้องให้ความสาคัญกับการจัดการด้านอารมณ์อีกด้วย(XiaoandBoyd,2010)นอกจากนั้น LussierandArchua (2004: 440-444)ได้นาเสนอหลักการจัดการข้ามวัฒนธรรมขององค์การให้ประสบ ความสาเร็จไว้ดังนี้ 1) องค์การต้องมีปรัชญาว่าเป็นองค์การที่มีความหลากหลาย 2) ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนและมีพันธะสัญญาว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจขององค์การ 3) ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องสนับสนุนให้องค์การที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น มีวิธีการที่เหมาะสมในการคัดเลือกบุคลากรและการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่ง นอกจากนั้นต้องมีการ สัมมนาด้านวัฒนธรรม มีแนวทางในการปฏิบัติที่ยุติธรรมต่อบุคลากร 4) มีการสื่อสารเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ข่าวสารแผ่นพับ ปฏิทิน ถ้วย ชามที่มีสัญลักษณ์ของความสาเร็จในการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขณะเดียวกันองค์การจะต้องรับฟังปัญหาและทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ และทาให้ ความหลากหลายนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวัน 5) ใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นมาตรวัดหนึ่งที่แสดงถึงความสาเร็จขององค์การ หากองค์การสามารถทางานร่วมกันอย่างมีความสุข 6) องค์การต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมแก่บุคลากรและ ให้การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมแก่ผู้นา นอกจากนั้นผลินภู่จรูญ(2548:120)ยังได้เสนอแนวทางปฏิบัติในการจัดการข้ามวัฒนธรรมที่ สาคัญไว้ว่าแนวคิดการจัดการข้ามวัฒนธรรมต้องเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ ความสาคัญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพราะเป็นปัจจัยหลักสาคัญที่เป็นกลไกในการทางานและ
  • 5. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 180 ประสานงาน การให้ความสาคัญในเรื่องนี้จะทาให้การทางานภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมลด น้อยลง โดยจะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในการดาเนินงานระหว่างกันในระยะยาว โดยสรุปในการจัดการข้ามวัฒนธรรมนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันโดยเฉพาะผู้นา หรือผู้บริหารองค์การจะต้องตระหนักและให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าวมีการกาหนดเรื่องการจัดการ ข้ามวัฒนธรรมไว้ในนโยบายขององค์การมีการจัดทาแผนการดาเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างความตระหนักรวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับพนักงาน ในองค์การผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิการจัดฝึกอบรม การไปศึกษาดูงานในองค์การที่มีการจัดการข้าม วัฒนธรรมประสบความสาเร็จการจัดทาเอกสารเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเป็นต้น ซึ่งหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญในเรื่องดังกล่าวสาหรับพนักงาน ที่ปฏิบัติงานในองค์การที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ต้องมีการปรับตัวเรียนรู้ในเรื่องของความ แตกต่างด้านวัฒนธรรม ต้องหมั่นศึกษาหาความความรู้เพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอเนื่องจาก ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อการดาเนินงานในองค์การอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิติความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสตราจารย์ Hofstede ได้ทาการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมของคนในประเทศต่าง ๆ โดยพยายาม ศึกษาว่ามีมิติหลักของวัฒนธรรมสาคัญอะไรบ้างที่สามารถสรุปผลออกมาได้ในทางทฤษฎีโดยศึกษาถึง อิทธิพลของวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนามาอธิบาย ความเชื่อประเพณี บรรทัด ฐานและกรอบแนวคิดของคนในประเทศนั้นๆและสร้างให้เกิดความเข้าใจที่สามารถนามาใช้เปรียบเทียบ ระหว่างกันโดยอธิบายได้อย่างมีหลักการและเหตุผลว่าทาไมคนที่มีสัญชาติต่างกันจึงมีการแสดงออกถึง ค่านิยม และทัศนคติที่มีลักษณะแตกต่างกันไปซึ่งมิติทางวัฒนธรรมจากการศึกษาของ Hofstede แบ่ง ออกเป็น มิติต่าง ๆ ดังนี้ (HofstedandHofsted, 2005 :45-238) 1) ระยะห่างของอานาจ(PowerDistance)เป็นดัชนีที่ใช้วัดลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้า ของอานาจหรือหมายถึงการที่สมาชิกในสังคมหนึ่ง ๆ มีอานาจน้อยกว่าสามารถยอมรับได้ว่าสังคมที่ตน อยู่นั้นมีการกระจายอานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน นั่นคือในสังคมที่มีการแบ่งแยกคนออกเป็นกลุ่ม ๆ ตาม อานาจที่เขาได้มาไม่ว่าอายุ เพศฐานะทางการเงิน การศึกษาตาแหน่งหน้าที่การงาน พื้นฐานครอบครัว หน้าตาเป็นต้น ถ้าเป็นคนในวัฒนธรรมที่มีลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้าของอานาจสูง จะเป็นผู้ ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวผู้ที่อยู่ในระดับต่ากว่ามีหน้าที่เพียงปฏิบัติตามคาสั่งการทางานไม่ตั้งแง่สงสัยและ มักยอมรับอานาจลักษณะนี้ โดยไม่คาดหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางตรงกันข้ามวัฒนธรรมที่มี ลักษณะการยอมรับความเหลื่อมล้าของอานาจต่าจะยินดีรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานทุกระดับมี ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น
  • 6. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 181 2) การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน(UncertaintyAvoidance)เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงระดับความ ไม่แน่นอนหรือความผิดปกติที่สังคมหนึ่งๆยอมรับได้หรือหมายถึงระดับที่คนในสังคมจะยอมรับสภาพ ของสถานการณ์ที่คลุมเครือไม่แน่นอนได้มากน้อยเท่าไรหากในสังคมที่มีดัชนีการหลีกเลี่ยงความไม่ แน่นอนสูง ก็หมายความว่าคนในสังคมนั้นไม่ชอบความไม่นอน ไม่ยอมรับสภาวะ “ผิดปกติ” หรือ “แตกต่าง” ใดๆ สังคมที่มีวัฒนธรรมที่มีลักษณะหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน จะพยายามสร้างกฎระเบียบ จานวนมากเพื่อเป็นกรอบให้กับสมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติตาม ประชาชนในวัฒนธรรมนี้ อาจเกิด ความเครียดสูง การตัดสินใจต่าง ๆ จะใช้มติของกลุ่มเป็นหลักหรือตามลาดับขั้นตอน ในทางตรงกันข้าม วัฒนธรรมที่มีลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่าจะมีโครงสร้างองค์การที่ไม่ซับซ้อน มีการ สนับสนุนให้หัวหน้างานตัดสินใจในลักษณะที่กล้าเผชิญกับความเสี่ยง ประชาชนไม่ค่อยมีความเครียด กล้ายอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความคิดสร้างสรรค์ 3) ความเป็นปัจเจกชนและการรวมเป็ นกลุ่ม (Individualism& Collectivism) มิตินี้ แบ่ง ออกเป็น 2ขั้วใหญ่ๆ คือIndividualism หมายถึง แนวโน้มที่คนในสังคมหนึ่งจะสนใจดูแลตัวเอง หรือ ครอบครัวที่อยู่วงใกล้ชิดเป็นหลักในขณะที่Collectivism หมายถึง แนวโน้มที่คนในสังคมหนึ่ งจะให้ ความสนใจกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม ประเทศที่มีความเป็น Individualism หรือเน้นความเป็น ปัจเจกชนสูง ระบบการศึกษาได้ปลูกฝังให้สมาชิกในสังคมรับผิดชอบต่ออนาคตของตนเอง และต้อง พยายามพัฒนาความสามารถของตนเองตลอดเวลาขยันขันแข็งในการทางานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สูงกว่ารวมทั้งยังนิยมระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่งที่พิจารณาจากผลการทางานเป็นหลักในขณะที่ ประเทศที่มีความเป็น Collectivism สูง คนจะมีความขยันขันแข็งในการทางานน้อยกว่ามีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์น้อยกว่ารวมทั้งนิยมระบบอาวุโส(SenioritySystem)ในการเลื่อนขั้นเป็นหลัก 4) ความเข้มแข็งและความนุ่มนวล(Masculinity&Femininity)มิตินี้แบ่งออกเป็น 2ขั้วที่มี ความหมายตรงกันข้าม คือวัฒนธรรมที่มีลักษณะเข้มแข็ง มีความเป็นชาย (Masculinity) หมายถึง วัฒนธรรมที่สังคมเน้นการแข่งขันแก่งแย่งชิงเด่น ให้คุณค่ากับความสาเร็จ เงินทองและวัตถุสิ่งของ ตรงกันข้าม คือวัฒนธรรมที่มีความนุ่มนวล(Femininity)หมายถึง วัฒนธรรมที่สังคมให้ความสาคัญกับ การใส่ใจผู้อื่นรวมทั้งคุณภาพชีวิตมากกว่าความสาเร็จในหน้าที่การงานเงินทองหรือวัตถุสิ่งของประเทศ ที่มีดัชนีด้านนี้ยิ่งมากแปลว่าผู้ชายมีบทบาทมากกว่าผู้หญิง มีการแข่งขันสูงกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือ ผู้ชายก็ตาม ในขณะที่สมาชิกของสังคมที่มีดัชนีด้านนี้ต่าจะค่อนข้างถ่อมตนและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เพราะเป็นค่านิยมของสังคมซึ่งเน้นการให้ความสนใจผู้อื่น
  • 7. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 182 5) มุมมองระยะยาวและระยะสั้น (Long&Short-termOrientation)มิติสุดท้ายนี้ ได้รับ อิทธิพลจากลัทธิขงจื้อ(ConfucianDynamism)พบว่าLong-termOrientationคือวัฒนธรรมที่มองผลระยะ ยาวเป็นหลักให้ความสาคัญกับอนาคตซึ่งทาให้มีค่านิยมบางประการที่ทาให้การดาเนินชีวิตด้วยความ ระมัดระวังเช่นความมัธยัสถ์ความอดทน เป็นต้นเวลาว่างสาหรับการพักผ่อนไม่ใช่สิ่งสาคัญ ความเพียร พยายามเป็นอุปนิสัยที่สาคัญยิ่ง ในทางตรงกันข้าม Short-termOrientation คือสังคมที่ให้ความสาคัญกับ ปัจจุบัน เช่น การเคารพกฎกติกาและการป้องกันการเสียหน้าเวลาว่างสาหรับการพักผ่อนเป็นสิ่งสาคัญ ความเพียรพยายามเป็นอุปนิสัยที่ไม่สาคัญนัก การทาความเข้าใจในมิติทางวัฒนธรรมดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่จาเป็น และมีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การดาเนินธุรกิจต้องมีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ถือเป็นยุคของการไร้พรมแดนมีการรวมกลุ่มประเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ และเพื่อ ความเข้มแข็งทางการเมืองมีการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า AECเป็นหนึ่งใน 3เสาหลัก ในการที่จะทาให้อาเซียนบรรลุการเป็น “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558 มีฐานมาจากการนาความ ร่วมมือและความตกลงทางเศรษฐกิจที่อาเซียนได้ดาเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็น รูปธรรมและมีความเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)ความตกลงด้านการส่งเสริมการลงทุนอาเซียน ความตกลงด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน โดยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเครื่องมือ สาคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สามสร้าง อานาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลกเพิ่มสวัสดิการและการ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10ประเทศบนหลักการของการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจซึ่งได้แก่การประหยัดต่อขนาดการแบ่งงานกันทาและการพัฒนาความชานาญในการ ผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน สามารถสรุปจุดมุ่งหมายของการจัดการตั้งประชาคมเศรษฐกิจได้ดังนี้ (ไพรสิทธิ์ ศรีสุทธิเกิดพร, 2555:75-78) 1) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน 2) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้าบริการการลงทุน เงินทุน การพัฒนาทาง เศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้าทางสังคมภายในปี 2020
  • 8. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 183 3) ทาให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานผลิตเดียว(Single MarketandProductionBase) 4) มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนสินค้าการบริการการลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศ สมาชิกโดยเสรี 5) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชาลาวพม่าและเวียดนาม หรือCLMV)เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน 6) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การประกันภัยและภาษีอากรการพัฒนาโครงสร้างพลังงานการท่องเที่ยวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดย การยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการเปิดเสรีแรงงาน วัตถุประสงค์สาคัญประการหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ต้องการที่จะเปิดเสรีด้าน แรงงานโดยเฉพาะแรงงานฝีมือ(SkilledLabor)จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่9เมื่อวันที่7ตุลาคม 2546ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้กาหนดจัดทาข้อตกลงร่วมกัน (MutualRecognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลักแรงงานเชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถพิเศษเพื่ออานวยความ สะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี 2558ในเบื้องต้นที่ได้ทาข้อตกลงร่วมกันแล้ว7 สาขาคือวิศวกรรม พยาบาลสถาปัตยกรรม การสารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี(ไพรสิทธิ์ ศรีสุทธิ เกิดพร,2555:162)ซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรีนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อกาจัดดังนี้ (กรรณิกาแท่นคา, 2557) ข้อดีของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี 1) เกิดความยืดหยุ่นในตลาดแรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะ ผนวกเข้ากับการค้าโลกแรงงานทั้งหลายจึงมีโอกาสเลือกทางานในสถานที่ที่แสดงศักยภาพได้สูงสุดซึ่ง ในที่สุดก็จะนามาสู่การสร้างรายได้ที่สูงขึ้น 2) ส่งผลทางบวกต่ออุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง และเพิ่มอานาจต่อรอง ให้กับแรงงาน 3) ประเทศที่มีเป็นแหล่งเป้าหมายของแรงงานจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ ขยายตัวจากผลิตผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อจากัดของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี 1) บางอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบจากการไหลบ่าของแรงงานที่เข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น และสังคมอาจเกิดความวิตกเรื่องปัญหากลัวชาวต่างชาติและการเหยียดเชื้อชาติ
  • 9. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 184 2) ทาให้ปัญหาแรงงานของไทยเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปัจจุบันมีการขาดแคลนแรงงาน ระดับกลางประมาณ 1แสนคน 3) เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือออกไปทางานในต่างประเทศ 4) จานวนแรงงานจากจีนและอินเดียที่มีสูงมากจะไหลเข้าสู่อาเซียนที่มีโอกาสดีกว่าและยัง เป็นแรงงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากโดยเฉพาะรัฐบาลจีนได้ใช้งบประมาณจานวนมากปรับปรุง มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาอย่างมหาศาลซึ่งการรวมกลุ่ม AEC จะทาให้ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 300ล้านคน สิ่งที่ตามมาจากการเปิดเสรีด้านแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็คือ ทาให้มีการ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์การที่มีแรงงานที่มาจากวัฒนธรรมที่มีความ แตกต่างกันจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการข้ามวัฒนธรรม ตลอดจนเข้าใจถึง วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมทั้ง วัฒนธรรมของประเทศอื่นๆในเอเชียอาทิจีนญี่ปุ่นเกาหลีใต้อินเดีย เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือเป็น ประเทศที่มีความสาคัญต่อการดาเนินธุรกิจของประเทศไทยโดยในอนาคตมีแผนที่จะเปิดเสรีกับประเทศ ดังกล่าวอีกด้วย การจัดการข้ามวัฒนธรรมในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดการข้ามวัฒนธรรมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนอกจากองค์การต้องดาเนินการ ตามหลักการของการจัดการข้ามวัฒนธรรมดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น สิ่งสาคัญที่สุดอีกประการหนึ่ งก็คือ การทาความเข้าใจถึงมิติความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน สรุปลักษณะที่สาคัญ ของวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งประเทศในเอเชียได้ดังนี้ (สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส, 2556:99-102) การสื่อสารทางอ้อม(IndirectCommunication) วัฒนธรรมของคนอาเซียนส่วนใหญ่นิยมการ ติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการคือการไม่พูดตรง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนอาเซียนมีค่านิยมในการ รักษาหน้า(FaceSaving)การปฏิเสธหรือการSay“No”บางครั้งถือเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ ไม่ให้เกียรติกับคู่ สนทนาอีกฝ่ายซึ่งการสื่อสารในลักษณะดังกล่าวอาจทาให้เกิดการเข้าใจผิดได้ดังนั้นจึงจาเป็นต้องเรียนรู้ ถึงภาษากาย สีหน้าท่าทาง เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคู่สนทนาด้วย การรักษาหน้า(Face Saving)คนอาเซียนหรือคนเอเชียโดยทั่วไปจะมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน ประการหนึ่ง คือการรักษาหน้าจะเห็นได้จากการที่คนเอเชียส่วนใหญ่นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนมจาก ตะวันตกที่มีราคาแพง เพื่อเป็นการแสดงถึงสถานะทางสังคมของตนเอง เมื่อกล่าวถึงในด้านการทาธุรกิจ
  • 10. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 185 กับคนอาเซียนก็มีข้อคานึงว่าจะต้องไม่พูดหรือแสดงอาการใดๆให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียหน้าการพูดจาถนอม น้าใจและการอ่อนน้อมถ่อมตน(BeingHumble)และการให้เกียรติผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสาคัญมากในขณะที่การ พูดยกตนข่มท่านเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทาอย่างยิ่ง การรักษาความกลมกลืนและการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Maintaining Harmony-avoiding Conflict)คนอาเซียนจะรักษาความกลมกลืน ไม่แสดงความแตกแยกหรือพูดง่าย ๆ ว่าพยายามหลีกเลี่ยง ความขัดแย้งระหว่างกัน การเจรจาต่อรองส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบ Win-win เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้สึกถึง ความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว การให้ความเคารพ(ShowingRespect)วัฒนธรรมของประเทศในอาเซียนหรือเอเชียโดยทั่วไป มีระยะห่างของอานาจที่สูง และคนจะให้ความสาคัญกับระบบอาวุโส(SenioritySystem)ค่อนข้างมาก การแสดงความนับถือและการให้เกียรติแก่ผู้อาวุโสจึงเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในประเทศอาเซียนและ ประเทศในเอเชียโดยทั่วไปและในความเป็นจริงก็ไม่จากัดว่าจะต้องเป็นพฤติกรรมที่กระทากับผู้อาวุโส เท่านั้น แต่การให้เกียรติกับผู้อื่นแม้จะเป็นในระดับเดียวกันหรือผู้น้อยก็จัดเป็นสิ่งที่พึงกระทาในสังคม อาเซียนและเอเชียโดยทั่วไปด้วยเช่นกัน ความอดทน(Patience)คนอาเซียนโดยทั่วไปมักจะมีลักษณะใจเย็นอดทนแต่อาจยกเว้นพวกที่ มีเชื้อสายจีนที่มักใจร้อนและชอบทาอะไรเร็วๆ แต่หากเป็นเรื่องธุรกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนอาเซียน พื้นเมืองหรือคนที่มีเชื้อสายจีนจะนิยมใช้SlowApproachในการดาเนินธุรกิจและเขาจะไม่ชอบให้มีการ กดดันหรือเร่งรัดในการเซ็นสัญญาใดๆ แต่จะนิยมใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวๆ มีการไป ทานข้าวเพื่อสร้างความรู้จักกันในฐานะเพื่อน ก่อนที่จะลงมือทาธุรกิจใดๆ ข้อดีของการทาธุรกิจแบบ อาเซียนนี้คือความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมาในฐานะเพื่อนที่ไว้ใจได้จะคงอยู่นาน ทาให้การทาธุรกิจในลาดับ ต่อๆ ไปสะดวกง่ายดายมากขึ้น การสร้างความสัมพันธ์ (BuildingupRelationships)การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทาธุรกิจ นั้นมิได้จากัดอยู่แค่หุ้นส่วนหรือลูกค้าเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่จะประสบความสาเร็จ จะต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์ความกลมเกลียวกันกับคนในองค์การด้วยเพราะคนเอเชียส่วนใหญ่แล้วจะ ชอบบรรยากาศการทางานที่เป็นเหมือนครอบครัวอยู่กันเหมือนพี่น้อง การทาความรู้จักไปถึงครอบครัว ของเขานับเป็นจุดที่ดีของการสร้างความสัมพันธ์ ถือเป็นการสร้างบรรยากาศการทางานให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น เปรียบเสมือนกับคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีธุรกิจในเอเชียมักจะจัดให้มี FamilyOutingเพื่อให้ความสัมพันธ์ที่กระชับแน่นแฟ้นเพราะถือว่าเมื่อเรารู้จักกับสมาชิกในครอบครัวเขา แล้วจะรู้สึกเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งต่างกับบริษัทของยุโรปหรืออเมริกาที่มักแยกเรื่องงานกับ เรื่องส่วนตัวออกจากกัน
  • 11. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 186 นอกจากนั้นอรุณีเลิศกรกิจกา(2557)ได้ทาการศึกษาถึงวัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน (6ประเทศประกอบด้วยอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)ตามมิติทางวัฒนธรรม ของ Hofstede ทั้ง 5มิติมีข้อสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) ระยะห่างของอานาจพบว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีระดับคะแนนด้านนี้ค่อนข้างสูงโดย ประเทศที่มีระดับคะแนนด้านนี้สูงสุดคือประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศที่มีค่าระดับต่าสุดคือประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสังคมในกลุ่มประเทศอาเซียนในภาพรวมยังยอมรับอานาจจากเบื้องบน มีการนับถืออาวุโส ลาดับชั้นในสังคมและความไม่เสมอภาคได้ค่อนข้างสูงประชาชนในประเทศที่มีการยอมรับความเหลื่อม ล้าทางอานาจสูงจะมีความพยายามผลักดันตนเองให้เปลี่ยนชนชั้นตนเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยการ พยายามศึกษาเล่าเรียนหรือทาธุรกิจให้ประสบความสาเร็จเพื่อเป็นที่ยอมรับทางสังคม การสร้างความประทับใจและมารยาทที่ดีในการทาธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการ ยอมรับความเหลื่อมล้าทางอานาจสูง นักธุรกิจจึงควรศึกษาตาแหน่ง ฐานะทางสังคม อายุของคู่ค้าทาง ธุรกิจ ให้ความสาคัญกับอาวุโสหรือผู้มีตาแหน่งทางสังคมเรียงจากมากไปน้อย และต้องพิจารณาเรื่อง วรรณะของพนักงาน เช่น ไม่จ้างบุคลากรคนละวรรณะให้ทางานร่วมกัน 2) การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน สาหรับการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ในกลุ่มประเทศ อาเซียนมีระดับคะแนนค่อนข้างหลากหลาย ประเทศที่มีระดับคะแนนสูงสุดคือ ประเทศไทย แสดงให้ เห็นว่าวัฒนธรรมทางสังคมของประเทศไทยเน้นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ความไม่แน่นอนและพยายามที่ จะหาหนทางไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อสถาบันต่าง ๆ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ แน่นอนเหล่านั้นส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนต่าสุดคือประเทศสิงคโปร์ แสดงว่าวัฒนธรรมทางสังคม ของประเทศสิงคโปร์ยอมรับความแตกต่าง ความไม่เป็นระบบความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการทา ธุรกิจได้สูงเปิดรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆอดทนต่อความหลากหลายและเชื่อในความสามารถของตน มากกว่าปัจจัยภายนอก องค์การในสังคมที่มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูง จะมีการจัดโครงสร้างที่แน่นอน มี การแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน กฎระเบียบต่าง ๆ จะถูกเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรพนักงานจะมี ความทะเยอทะยานต่ากว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่น้อยกว่าและมีความกล้าเสี่ยงที่น้อยกว่าด้วยซึ่งอาจ ส่งผลเสียต่อองค์การได้ 3) ความเป็นปัจเจกชนและการเป็นกลุ่มกลุ่มประเทศอาเซียนมีความเป็นปัจเจกชนค่อนข้างต่า ประเทศที่ระดับคะแนนต่าสุดคือประเทศอินโดนีเซียตามด้วยประเทศไทยประเทศสิงคโปร์ และประเทศ เวียดนามส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนความเป็นปัจเจกชนสูงสุดในกลุ่มคือประเทศฟิลิปปินส์แสดงให้ เห็นว่าสังคมอาเซียนเป็นสังคมรวมกลุ่มหรือ Collectivistที่เน้นความสัมพันธ์ระยะยาวมีสานึกในความ
  • 12. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 187 เป็น “เรา” เน้นสร้างความปลอดภัยในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในกลุ่มหรือพวกพ้อง เป็นสังคมที่ให้ ความสาคัญต่อความภักดีต่อกลุ่ม มีการสื่อสารที่ใช้บริบทสูง รวมถึงมีระบบการตัดสินใจที่ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากทุกฝ่ายในกลุ่ม 4) ความเข้มแข็งและความนุ่มนวล กลุ่มประเทศอาเซียนมีความหลากหลายในมิติของความ เข้มแข็งและความนุ่มนวลโดยประเทศที่มีระดับคะแนนด้านนี้สูงสุดคือประเทศฟิลิปปินส์ (วัฒนธรรมที่ มีความเป็นชายสูง หรือMasculinity)ซึ่งการทาธุรกิจในวัฒนธรรมที่ให้ความสาคัญกับเพศชายมากกว่า เพศหญิงผู้ชายอาจได้เปรียบในการเจรจาทางธุรกิจมากกว่าเพศหญิง ส่วนประเทศที่มีระดับคะแนนต่าสุด ได้แก่ประเทศไทย จัดเป็นวัฒนธรรมที่มีความเป็นหญิงมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน เพราะโดยนิสัย คนไทยมีจิตใจโอบอ้อมอารี เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ดังนั้น นักธุรกิจหญิงในประเทศไทยจึงได้รับความ ทัดเทียมและโอกาสทางการแข่งขันเท่ากับเพศชาย 5) มุมมองระยะยาวและระยะสั้น ประเทศที่มีระดับคะแนนสูงแสดงว่าวัฒนธรรมของสังคม ประเทศนั้นให้ความสาคัญกับอนาคตมากประเทศที่มีระดับคะแนนสูงสุดคือประเทศเวียดนาม ตามด้วย ประเทศไทยประเทศสิงคโปร์และประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งการทาธุรกิจกับกลุ่มประเทศที่มีระดับคะแนนสูง ต้องให้ความสาคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวรวมถึงการให้เกียรติและไม่กระทาการอันใดที่ ทาให้นักธุรกิจเสียหน้า แม้ว่าวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อของคนในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือเอเชียจะมีความ คล้ายคลึงกันโดยเฉพาะการเป็นวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม เป็นสังคมที่ให้ความสาคัญกับความแตกต่าง ทางด้านชนชั้นหรือระบบอาวุโสแต่หากพิจารณาในรายละเอียดตามมิติทางวัฒนธรรมจะพบว่าในแต่ละ ประเทศก็ยังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมดังข้อมูลที่ได้นาเสนอไปดังนั้นถือเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งใน การศึกษาเพื่อทาความเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเพื่อที่จะทาให้การจัดการ ข้ามวัฒนธรรมประสบความสาเร็จ บทสรุป ความท้าทายของการบริหารจัดการองค์การในปัจจุบันและในอนาคตคือ การจัดการกับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญอีกครั้งหนึ่งที่กาลังจะเกิดขึ้นใน ประเทศกลุ่มอาเซียนก็คือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่าAEC การเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมามากมาย หลายองค์การได้ เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประเด็นที่สาคัญอีกอย่างหนึ่ งที่ องค์การในปัจจุบันให้ความสาคัญและมีการพูดถึงกันมากขึ้นก็คือการจัดการข้ามวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึง
  • 13. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 188 การบริหารจัดการบนพื้นฐานของความแตกต่างในด้านต่างๆอาทิเชื้อชาติศาสนาภาษาความเชื่อค่านิยม จารีตประเพณีเป็นต้นความแตกต่างดังกล่าวจะส่งผลต่อการดาเนินงานขององค์การที่มีความหลากหลาย ดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนเองก็มีวัฒนธรรมทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสาคัญอย่างยิ่งที่องค์การจะต้องตระหนักและเห็นถึงความสาคัญในเรื่องดังกล่าว การจัดการข้ามวัฒนธรรมให้ประสบความสาเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยความร่วมมือของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเริ่มจากผู้นาหรือผู้บริหารองค์การจะต้องให้ความสาคัญในเรื่องดังกล่าวโดยอาจ กาหนดเป็นวาระเร่งด่วนหรือกาหนดเป็นนโยบายขององค์การที่จะต้องดาเนินการโดยหน่วยงานด้านการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การควรจะเป็นเจ้าภาพหลักในการดาเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยจะต้องมี การวางแนวทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการข้ามวัฒนธรรมให้กับบุคลากรใน องค์การผ่านกระบวนการต่าง ๆ อาทิฝึกอบรมและพัฒนาการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ส่วน พนักงานในองค์การก็จะต้องเปิดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น พัฒนาความรู้ความสามารถของ ตนเองอยู่ตลอดเวลารวมทั้งศึกษาวัฒนธรรมของชาติต่างๆที่เป็นสมาชิกในองค์การนอกจากนั้นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐรวมทั้งสถาบันการศึกษาก็จะต้องช่วยกันเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆผ่านการเผยแพร่ความรู้การให้การศึกษาการวิจัย เป็นต้น หากองค์การต่าง ๆ สามารถ ที่จะจัดการบนพื้นฐานของความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่นและประสบความสาเร็จก็จะส่งผล ดีทั้งต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ต่อองค์การรวมทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และ ต่อประเทศชาติโดยรวมอีกด้วย
  • 14. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 189 บรรณานุกรม กรรณิกาแท่นคา. การเปิดเสรีด้านแรงงานและงานความปลอดภัย.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.oshthai.org/files/16free%20trade_labor.pdf วันที่เข้าถึง:13มีนาคม2558. ผลิน ภู่จรูญ. การจัดการร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:เอกพิมพ์ไท,2548. พจนากรมฉบับราชบัณฑิต. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์,2552. เพ็ชรีรูปะวิเชตร์. การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ:การจัดการข้ามวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง, 2554. ไพสิทธิ์ ศรีสุทธิเกิดพร.อาเซียน2558(2015). กรุงเทพฯ:ปัญญาชนดิสทริบิวเตอร์, 2555. สมชนก(คุ้มพันธุ์)ภาสกรจรัส. อาเซียนเซียนธุรกิจ.กรุงเทพฯ:แมคกรอ-ฮิล,2556. อรุณี เลิศกรกิจจา. วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.researchgate.net/publication/258836411_Business_Culture_in_ASEAN_Countries/f ile/504635291e7f1ef4e9.pdfวันที่เข้าถึง:13มีนาคม2558. Dong,K.&Liu,Y. Cross-culturalmanagementinChina.CrossCulturalManagement:An InternationalJournal.17,3(2010):223-243. Hofstede,G.&Hofstede,G.,J. CulturesandOrganizations:Softwareofthemind.2nd ed. NewYork:McGraw-Hill,2005. Lussier,R.,N.&Achua,C.F. Leadership:Theory,application,skilldevelopment.Mason, Ohio:Thomson/South-Western,2004. Schein,E.,H. OrganizationalCultureandLeadership.SanFrancisco:Jossey-Bass,2004. Sultana,A.,Rashid,M.,Mohiuddin,M.&Mazumder,M.N.H. “Cross-culturalManagementand OrganizationalPerformance:AContentAnalysisPerspective.” InternationalJournalof BusinessandManagement.8,8(2013):133-146. Xiao,H.&Boyd,D. “Learningfromcross-culturalproblemsininternationalproject:aChinese case.”Engineering,ConstructionandArchitecturalManagement.17,6(2010):549-562.
  • 15. Dusit Thani College Journal Vol.9 No.2 July – December 2015 190 นายสานิตย์ หนูนิลวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และองค์การคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ ปัจจุบันศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการคณะวิทยาการ จัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจาภาควิชา บริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการวิทยาลัยดุสิตธานี