SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1

Natdanaj




                                 เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า
เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตาม*สเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10


 สเกลของโมส์ เป็นมาตราความแข็งของแร่ตามที่นักวิทยาแร่ชาวเยอรมัน ชื่อ ฟรีดริช โมส์ (Friedrich Mohs)
 กำหนดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1812 ประกอบด้วยแร่มาตรฐาน 10 ชนิด เรียงลำดับตั้งแต่แร่ที่ทนทานต่อการขูดขีดน้อย
 ที่สุด จนถึงมากที่สุด ดังนี้

   ความแข็ง            แร่            ความแข็งสัมบูรณ์                           คุณสมบัติ
      1               ทัลก์                 1                ผิวลื่นเหมือนสบู่ใช้เล็บขูดเป็นรอยได้อย่างง่ายดาย
      2              ยิปซัม                    2                             ใช้เล็บขูดเป็นรอย
      3              แคลไซต์                   9                             ขูดยิปซัมเป็นรอย
      4            ฟลูออไรต์                  21
                                                                            ใช้แก้วขูดเป็นรอย
      5                                       48
                   อะพาไทต์                                                  ใช้มีดขูดเป็นรอย
      6                                       72
                   ออโทเคลสฯ
      7                                      100                              ขูดแก้วเป็นรอย
      8             ควอตซ์
                                             200                ขูดแก้วเป็นรอย และไม่เป็นรอยเมื่อใช้มีดขูด
      9             บุษราคัม
                                             400                         ขูดแร่ที่อ่อนกว่าเป็นรอย
      10            คอรันดัม                1500                         ขูดแร่ที่อ่อนกว่าเป็นรอย
                     เพชร
                                                                     ทำให้เป็นรอยได้ด้วยเพชรเท่านั้น


  ออร์โทเคลส เฟลสปาร์ -เรียกเต็ม

 คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้
 ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณαδάμας (adámas)
 ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ"


เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์"
มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง
แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้




                               เพชรขาวบริสุทธิ์




เพชรแฟนซี(                                               Color Diamonds)
2

Natdanaj


ำห
น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ ดังนั้นเพชรขนาด 75 สตางค์
จึงมีน้ำหนักเท่ากับ 0.75 กะรัต ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุด (เพชร 1 กระรัต
จะมีน้ำหนักที่ 0.22 กรัม )




แต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือ เพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากัน อาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สี และความบริสุทธิ์




วิธีดูเพชรเบื้องต้น
1.ดูน้ำหนัก(Carat weight) น้ำหนักและขนาดเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก
2.ความบริสุธิ์(Clarity) เพชรส่วนมากจะมีสินแร่ต่างๆเล็กน้อยภายใน ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือธรรมชาติ
สรรสร้างเอกลักษณ์ของเพชรแต่ละเม็ด กระนั้นก็มิได้ทำให้เพชรด้อยความงามหรือลดความแข็งแกร่งลง
แต่อย่างใด แต่ทว่ายิ่งมีสินแร่น้อยเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้แสงผ่านได้มากขึ้น ทำให้เพชรทอประกายเจิดจ้า
ระยิบระยับยิ่งขึ้น เพชรเหนือกว่าอัญมณีอื่นใด สามารถทอประกายแสงได้สุกใสงดงามที่สุด
3.สี(Color) เพชรจะมีสีธรรมชาติหลากหลายเฉด มีตั้งแต่ขาวใสไร้สี ซึ่งหายากและมีค่าที่สุด ไปถึงสี
เหลืองจางๆ โดยมีเฉดสีอ่อน แก่ ในระหว่างกลางมากมาย เพชรยิ่งสีน้อยเท่าไร ก็ยิ่งอำนวยให้แสงสีขาว
สามารถวิ่งผ่านเนื้อภายในได้สะดวก และจะสะท้อนประกายไฟสีรุ้ง บนผิวหน้าเพชรได้สวยงามมากขึ้น
เท่านั้น แต่กระนั้น สีเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวของแต่ละบุคคล ดังนั้นเมื่อคุณเลือกสีของเพชร ก็ควร
เลือกเฉดสีที่คุณชอบเป็นสำคัญ
4.การเจียรไน(Cut) ความเจิดจรัสของเพชร ขึ้นอยู่กับการสะท้อน และหักเหของแสง
การเจียระไนจะช่วยให้เพชรเล่นแสงได้อย่างไร
       1. เจียระไนตื้นเกินไป - แสงจะลอดออกทางด้านล่าง
       2. เจียระไนลึกเกินไป - แสงจะลอดออกทางด้านข้าง
       3. เจียระไนอย่างถูกสัดส่วน - แสงจะสะท้อนแพรวพราวเป็นประกายมากขึ้นทางด้านบนของเพชร
3

Natdanaj




เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพเพชร
1. ดูความแข็ง เพราะเพชร มีอะตอมที่อยู่ใกล้กันมาก ซึ่งผลจากการที่อะตอมอยู่ใกล้กัน เวลาช่างนำ
มาเจียระไน ขอบที่ได้ก็จะมีความคมเฉียบ เทียบง่ายๆ ได้กับพลาสติก ซึ่งเป็นโพลีเมอร์( Polymer)
จะมีอะตอมจะอยู่ห่างกัน ต่อให้ช่างเจียระไนเก่งแค่ไหน ก็ไม่มีทางได้ขอบที่คม เพราะขอบพลาสติก
จะยืดหยุ่น นอกจากนี้การเจียระไนเพชรนั้นจะปรากฎขอบบริเวณรอยเจียระไน ของเพชร หรือเกิลเดิล
(girdle) ลักษณะเป็นเส้นๆ ที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “หนวดเพชร”
2. เหลี่ยมเพชรไม่พบเส้นซ้อน หรือขอบเหลี่ยมเพชรนั้น เมื่อใช้กล่องส่องแล้ว จะเห็นได้ว่าทุกด้าน
เป็นเหลี่ยมเป็นมุม ไม่พบเส้นซ้อน ดังนั้นหากเราส่องเข้าไปใกล้ๆ ที่มุมใดมุมหนึ่ง แล้วเห็นเป็นลักษณะ โค้งๆ
แสดงว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เพชร ข้อควรจำอีกอย่างเวลาดูเพชรจะต้องไม่ส่องดูแค่มุมเดียว ต้องส่องดูหลายๆ
มุมไปจนรอบ
3.การประเมินความสะอาดของเพชร (clarity) - การประเมินความสะอาดต้องดูภายใต้กล้องขยาย10 เท่า
โดยต้องใช้โคม daylight ช่วยส่องสว่าง กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นฝุ่น หรือมลทินที่อยู่ในเพชร ให้สังเกตว่าอยู่
บริเวณผิว หรืออยู่ในเนื้อเพชร และให้ใช้ผ้าเช็ดดู เมื่อเช็ดแล้ว ถ้าเป็นฝุ่นก็จะหลุดออก ถ้ายังเห็นก็น่าจะเป็น
มลทินในเนื้อเพชร เวลาส่องดูให้พลิกเพชรมองดูหลายๆมุม บางครั้งมุมนึงอาจมองไม่เห็น
แต่พอมองอีกมุมกลับเห็น
● กรณีที่ส่องดูจนทั่วใช้เวลากว่านาทีแล้วยังไม่พบอะไร เพชรเม็ดนั้นน่าจะเป็น IF (Internal Flawless)
● กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ ครึ่งนาที หรือมากกว่า(ขึ้นอยู่กับความชำนาญ)
    ถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมากมาก ลักษณะคล้ายรูเข็ม (pinpoint) หรือผลึกขนาดเล็กมากๆ เหมือนรูป
    สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ VVS (Very Very Small Included)
● กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ 10 วินาที หรือมากกว่าถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมาก
    ซึ่งมีขนาดใหญ่และจำนวนมากกว่าความสะอาด VVS ตามรูปกลาง สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น
    มีความสะอาดระดับ VS (Very Small Included) สำหรับเพชรความสะอาดระดับ VS มลทินหรือตำ หนิจะมีขนาดเล็กมาก
    ไม่สามารถเห็นได้ด้วย ตาเปล่า และไม่ขัดขวางการเดินทางของแสง จึงไม่ มีผลใดๆต่อความสวยงามของเพชร
●   กรณีที่ส่องกล้องแล้วเห็นตำหนิทันที โดยไม่ต้องค้นหา และตำหนิขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดใหญ่และ จำนวนมากกว่าความสะอาด
    VS สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ SI (Small Included) สำหรับความสะอาดระดับ SI ถ้ามลทินมีขนาดใหญ่
    หรือมีสี หรืออยู่กลางหน้าเพชร อาจขัดขวาง การเดินทางของแสงและมีผลต่อความสวยงามของเพชรโดยรวม
●   กรณีที่สามารถมองเห็นตำหนิด้วยตาเปล่า เพชรเม็ดนั้นมีความสะอาดระดับ I (Imperfect)
    ตำหนิมีขนาดใหญ่ มีผลต่อความสวยงามและความคงทนของเพชรครับ แนะนำให้หลีกเลี่ยงทุกกรณี
4

Natdanaj




4. การประเมินสีเพชร (color) - วิธีแรกคือการประเมินสี โดยที่มีเพชรต้นแบบ (master stone
กรณีนี้ยกตัวอย่างว่าสีต้นแบบเป็นสี G น้ำ 97) ไว้เปรียบเทียบ ให้วางเพชรต้นแบบและ เพชรทีต้อง
การเทียบสี คว่ำลงครับ โดยให้มองที่ก้นเพชรเฉียงๆ มุม 45 องศา โดยให้วางเพชรต้นแบบ ไว้ตรงกลาง
และให้วางเพชรที่ต้องการเทียบไว้ทางซ้าย สังเกตว่าสีอ่อนกว่า (ขาวกว่า) หรือเข้มกว่า (เหลืองกว่า)
เสร็จแล้วให้เปลี่ยนเพชรที่ต้องการเทียบมาไว้ด้านขวาและเปรียบเทียบอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยง master eye
effect (การประเมินสีต้องดูเพชรภายใต้แสงอาทิตย์ หรือแสงสีขาว-Daylight)
● ถ้าผลสรุปว่า วางด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงสีเข้มกว่า
    สรุปได้ว่าเพชรที่นำมาเทียบสีเดียวกันกับเพชรต้นแบบ คือ น้ำ 97
● ถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ
    เพชรเม็ดนี้น้ำ 96
5

Natdanaj

●   ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ
    เพชรเม็ดนี้น้ำ 98
●   ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงก็อ่อนกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2 ขั้น
    กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 99 ขึ้นไป
●   และถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านนึงก็เข้มกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2
    ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำต่ำกว่าหรือเท่ากับ 95 ลงมา




●




    ● สี D-F        =      เพชรปราศจากสี
    ● สี G-J        =      เพชรเกือบปราศจากสี
    ● สี K-M = เพชรเริ่มมีสีเหลืองอ่อนมาก
    ● สี N-R        =      เพชรสีเหลืองอ่อนมาก
    ● สี S-Z        =      เพชรสีเหลืองอ่อน ถึง เหลือง
การประเมินสีเพชรโดยไม่มีเพชรต้นแบบ - กรณีที่ไม่มีเพชรต้นแบบไว้ใช้เปรียบเทียบ ให้ลองดู
เพชรจากด้านหน้า ถ้าเป็นสีขาว ไร้สี และลองมองจากก้นเพชร มองมุม 45 องศา ถ้าเป็นสีขาวไร้สี เช่นกัน
เพชรเม็ดนั้นเป็นเพชรเกรด ไร้สี (Colorless) น้ำสูงกว่า 98 (F) ขึ้นไป ในกรณีทีมองจากด้านหน้า
เป็นสีขาว ไร้สี และมองจากก้นเพชรเป็นสีนวล แสดงว่าเพชรเม็ดนั้น สีประมาณ 97-96 (G-
H) ถ้ามองจากด้านหน้าเป็นสีนวล ด้านก้นเพชรเป็นสีนวล เพชรเม็ดนั้นเป็นสี 95-94 (I-J)
กรณีที่มองจากด้านหน้าเห็นสีเหลืองชัดเจนเป็นสี 93 (K) หรือต่ำกว่า
6

Natdanaj

การประเมินคุณภาพการเจียรไน - คุณภาพในการเจียรไน ถือว่ามีผลต่อความสวยงามของเพชรมาก ต่อให้เพชรคุณภาพ
D/IF หากเจียรไน ไม่ดี ก็จะไม่สามารถเปล่งประกายสวยงามได้อย่างที่ควรที่จะเป็น และคุณภาพการเจียรไน
เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก

ก่อนที่จะสามารถประเมินคุณภาพของการเจียรไนเพชรได้อย่างคร่าวๆ เราต้องทราบก่อนว่าเหลี่ยมต่างๆของเพชร
เรียกว่าอะไรกันมั่ง หลังจากนั้นค่อยมาเริ่มวิธีการดูเหลี่ยม




เอกลักษณ์ของเพชร คือ การเล่นแสง เพชรที่ดีจะก่อให้เกิดประกายที่สวยงาม ที่เราเรียกว่า "น้ำ"
เพชรน้ำดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ การเล่นแสงของเพชร ยิ่งเพชรสะท้อนแสงได้มากเท่าไหร่ เพชรยิ่งสวย
งามมากขึ้นเท่านั้น
สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ ของเพชรนั้นส่งผลต่อการกระจายแสงของเพชร โดยเพชรที่เจียระไน
ตื้นและมีหน้ากว้างไป หรือเจียรไนลึกและแคบไปนั้นจะทำให้แสงออกด้านข้าง และด้านล่างของเพชร
ทำให้เพชรเสีย ความสุกสว่าง และการส่องประกาย


 ชนิดของเพชร
 ชนิด Ia (Type Ia) : ประมาณ 98% ของเพชรทั้งหมดที่พบในธรรมชาติ มีธาตุไนโตรเจนแทรกเป็น
 หย่อมๆเล็กน้อย สีที่เห็นจะเป็นใสไม่มีสี-สีออกเหลืองอ่อนๆ เรียกว่า "Cape diamomd"
 ชนิด Ib (Type Ib) : น้อยกว่า 1% ของเพชรทั้งหมดที่พบในธรรมชาติ มีธาตุไนโตรเจน และสีเหลืองเข้ม
 ชนิด IIa (Type IIa) : พบยากมากในธรรมชาติ มีธาตุคาร์บอน 100% บริสุทธิ์ ใส ไม่มีสี
 ชนิด IIb (Type IIb) : พบยากมากในธรรมชาติ มีธาตุโบรอนปนอยู่ ทำให้นำไฟฟ้าได้ดี มีสีฟ้า-เทา
 บางครั้งใสเกือบไม่มีสี ซึ่งหายากมาก
7

Natdanaj




ชื่อเรียกเหลี่ยมต่างๆของเพชร จากมุมมองด้านข้าง
1.เหลี่ยมเทเบิ้ล (Table)




2.เหลี่ยมสตาร์ (Star)




3.เหลี่ยมเบเซิล หรือเหลี่ยมไคท์(Kite)
8

Natdanaj




4. เหลี่ยมอัพเพอร์เกิลเดิล (Upper girdle)




5.เหลี่ยมโลเวอร์เกิลเดิล (Lower girdle)




6.เหลี่ยมพาวิลเลียนเมน (Pavilion main)
9

Natdanaj

7.คิวเลท (Culet) เมื่อมองเพชรจากด้านข้าง ส่วนด้านบนของเพชรเรียกว่า "คราวน์" (Crown)
ส่วนด้านล่างของเพชรเรียกว่า "พาวิลเลี่ยน" (Pavillion) และ ส่วนกลางของเพชร หรือขอบเพชร
เรียกว่า "Girdle




"พาวิลเลี่ยน" (Pavillion)




มีต่อตอนที่2 เรื่องเหลี่ยมเพชร
1) เหลี่ยมรัสเชี่ยน 2) เหลี่ยมเบลเยี่ยม 3) เหลี่ยมซูเปอร์อินเดีย 4) เหลี่ยมกุหลาบ 5) เหลี่ยมเดี่ยว




                                                Russian diamonds
10

Natdanaj

Contenu connexe

En vedette

สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
tommy
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
tommy
 
นางแมวผี
นางแมวผีนางแมวผี
นางแมวผี
tommy
 
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดีแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
tommy
 
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึกเศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
tommy
 
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
tommy
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
tommy
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
Por Waragorn
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
sornblog2u
 
36 กลศึก
36 กลศึก36 กลศึก
36 กลศึก
tommy
 
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคตสามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
tommy
 

En vedette (14)

สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
 
นางแมวผี
นางแมวผีนางแมวผี
นางแมวผี
 
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดีแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
 
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึกเศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
 
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
 
สอนการดูลายมือด้วยตัวเอง
สอนการดูลายมือด้วยตัวเองสอนการดูลายมือด้วยตัวเอง
สอนการดูลายมือด้วยตัวเอง
 
โหงวเฮ้งกับงาน HR
โหงวเฮ้งกับงาน HRโหงวเฮ้งกับงาน HR
โหงวเฮ้งกับงาน HR
 
36 กลศึก
36 กลศึก36 กลศึก
36 กลศึก
 
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคตสามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
 

Plus de tommy

ศักดินาไทย
ศักดินาไทยศักดินาไทย
ศักดินาไทย
tommy
 
แบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิแบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิ
tommy
 
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
tommy
 
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบการเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
tommy
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดิน
tommy
 
Samkok01
Samkok01Samkok01
Samkok01
tommy
 
เย้ยพระยม
เย้ยพระยมเย้ยพระยม
เย้ยพระยม
tommy
 
ผีตายซาก
ผีตายซากผีตายซาก
ผีตายซาก
tommy
 
สมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจสมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจ
tommy
 
หมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบหมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบ
tommy
 
เจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชยเจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชย
tommy
 
บ้านผีสิง
บ้านผีสิงบ้านผีสิง
บ้านผีสิง
tommy
 
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
tommy
 
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
tommy
 

Plus de tommy (15)

อันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็นอันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็น
 
ศักดินาไทย
ศักดินาไทยศักดินาไทย
ศักดินาไทย
 
แบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิแบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิ
 
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
 
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบการเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดิน
 
Samkok01
Samkok01Samkok01
Samkok01
 
เย้ยพระยม
เย้ยพระยมเย้ยพระยม
เย้ยพระยม
 
ผีตายซาก
ผีตายซากผีตายซาก
ผีตายซาก
 
สมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจสมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจ
 
หมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบหมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบ
 
เจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชยเจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชย
 
บ้านผีสิง
บ้านผีสิงบ้านผีสิง
บ้านผีสิง
 
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
 
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
ตั้งฮั่น ตอนที่ 3
 

ความรู้เรื่อง เพชร-

  • 1. 1 Natdanaj เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตาม*สเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 สเกลของโมส์ เป็นมาตราความแข็งของแร่ตามที่นักวิทยาแร่ชาวเยอรมัน ชื่อ ฟรีดริช โมส์ (Friedrich Mohs) กำหนดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1812 ประกอบด้วยแร่มาตรฐาน 10 ชนิด เรียงลำดับตั้งแต่แร่ที่ทนทานต่อการขูดขีดน้อย ที่สุด จนถึงมากที่สุด ดังนี้ ความแข็ง แร่ ความแข็งสัมบูรณ์ คุณสมบัติ 1 ทัลก์ 1 ผิวลื่นเหมือนสบู่ใช้เล็บขูดเป็นรอยได้อย่างง่ายดาย 2 ยิปซัม 2 ใช้เล็บขูดเป็นรอย 3 แคลไซต์ 9 ขูดยิปซัมเป็นรอย 4 ฟลูออไรต์ 21 ใช้แก้วขูดเป็นรอย 5 48 อะพาไทต์ ใช้มีดขูดเป็นรอย 6 72 ออโทเคลสฯ 7 100 ขูดแก้วเป็นรอย 8 ควอตซ์ 200 ขูดแก้วเป็นรอย และไม่เป็นรอยเมื่อใช้มีดขูด 9 บุษราคัม 400 ขูดแร่ที่อ่อนกว่าเป็นรอย 10 คอรันดัม 1500 ขูดแร่ที่อ่อนกว่าเป็นรอย เพชร ทำให้เป็นรอยได้ด้วยเพชรเท่านั้น ออร์โทเคลส เฟลสปาร์ -เรียกเต็ม คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้ ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณαδάμας (adámas) ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ" เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้ เพชรขาวบริสุทธิ์ เพชรแฟนซี( Color Diamonds)
  • 2. 2 Natdanaj ำห น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ ดังนั้นเพชรขนาด 75 สตางค์ จึงมีน้ำหนักเท่ากับ 0.75 กะรัต ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุด (เพชร 1 กระรัต จะมีน้ำหนักที่ 0.22 กรัม ) แต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือ เพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากัน อาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สี และความบริสุทธิ์ วิธีดูเพชรเบื้องต้น 1.ดูน้ำหนัก(Carat weight) น้ำหนักและขนาดเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก 2.ความบริสุธิ์(Clarity) เพชรส่วนมากจะมีสินแร่ต่างๆเล็กน้อยภายใน ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือธรรมชาติ สรรสร้างเอกลักษณ์ของเพชรแต่ละเม็ด กระนั้นก็มิได้ทำให้เพชรด้อยความงามหรือลดความแข็งแกร่งลง แต่อย่างใด แต่ทว่ายิ่งมีสินแร่น้อยเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้แสงผ่านได้มากขึ้น ทำให้เพชรทอประกายเจิดจ้า ระยิบระยับยิ่งขึ้น เพชรเหนือกว่าอัญมณีอื่นใด สามารถทอประกายแสงได้สุกใสงดงามที่สุด 3.สี(Color) เพชรจะมีสีธรรมชาติหลากหลายเฉด มีตั้งแต่ขาวใสไร้สี ซึ่งหายากและมีค่าที่สุด ไปถึงสี เหลืองจางๆ โดยมีเฉดสีอ่อน แก่ ในระหว่างกลางมากมาย เพชรยิ่งสีน้อยเท่าไร ก็ยิ่งอำนวยให้แสงสีขาว สามารถวิ่งผ่านเนื้อภายในได้สะดวก และจะสะท้อนประกายไฟสีรุ้ง บนผิวหน้าเพชรได้สวยงามมากขึ้น เท่านั้น แต่กระนั้น สีเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวของแต่ละบุคคล ดังนั้นเมื่อคุณเลือกสีของเพชร ก็ควร เลือกเฉดสีที่คุณชอบเป็นสำคัญ 4.การเจียรไน(Cut) ความเจิดจรัสของเพชร ขึ้นอยู่กับการสะท้อน และหักเหของแสง การเจียระไนจะช่วยให้เพชรเล่นแสงได้อย่างไร 1. เจียระไนตื้นเกินไป - แสงจะลอดออกทางด้านล่าง 2. เจียระไนลึกเกินไป - แสงจะลอดออกทางด้านข้าง 3. เจียระไนอย่างถูกสัดส่วน - แสงจะสะท้อนแพรวพราวเป็นประกายมากขึ้นทางด้านบนของเพชร
  • 3. 3 Natdanaj เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพเพชร 1. ดูความแข็ง เพราะเพชร มีอะตอมที่อยู่ใกล้กันมาก ซึ่งผลจากการที่อะตอมอยู่ใกล้กัน เวลาช่างนำ มาเจียระไน ขอบที่ได้ก็จะมีความคมเฉียบ เทียบง่ายๆ ได้กับพลาสติก ซึ่งเป็นโพลีเมอร์( Polymer) จะมีอะตอมจะอยู่ห่างกัน ต่อให้ช่างเจียระไนเก่งแค่ไหน ก็ไม่มีทางได้ขอบที่คม เพราะขอบพลาสติก จะยืดหยุ่น นอกจากนี้การเจียระไนเพชรนั้นจะปรากฎขอบบริเวณรอยเจียระไน ของเพชร หรือเกิลเดิล (girdle) ลักษณะเป็นเส้นๆ ที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “หนวดเพชร” 2. เหลี่ยมเพชรไม่พบเส้นซ้อน หรือขอบเหลี่ยมเพชรนั้น เมื่อใช้กล่องส่องแล้ว จะเห็นได้ว่าทุกด้าน เป็นเหลี่ยมเป็นมุม ไม่พบเส้นซ้อน ดังนั้นหากเราส่องเข้าไปใกล้ๆ ที่มุมใดมุมหนึ่ง แล้วเห็นเป็นลักษณะ โค้งๆ แสดงว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เพชร ข้อควรจำอีกอย่างเวลาดูเพชรจะต้องไม่ส่องดูแค่มุมเดียว ต้องส่องดูหลายๆ มุมไปจนรอบ 3.การประเมินความสะอาดของเพชร (clarity) - การประเมินความสะอาดต้องดูภายใต้กล้องขยาย10 เท่า โดยต้องใช้โคม daylight ช่วยส่องสว่าง กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นฝุ่น หรือมลทินที่อยู่ในเพชร ให้สังเกตว่าอยู่ บริเวณผิว หรืออยู่ในเนื้อเพชร และให้ใช้ผ้าเช็ดดู เมื่อเช็ดแล้ว ถ้าเป็นฝุ่นก็จะหลุดออก ถ้ายังเห็นก็น่าจะเป็น มลทินในเนื้อเพชร เวลาส่องดูให้พลิกเพชรมองดูหลายๆมุม บางครั้งมุมนึงอาจมองไม่เห็น แต่พอมองอีกมุมกลับเห็น ● กรณีที่ส่องดูจนทั่วใช้เวลากว่านาทีแล้วยังไม่พบอะไร เพชรเม็ดนั้นน่าจะเป็น IF (Internal Flawless) ● กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ ครึ่งนาที หรือมากกว่า(ขึ้นอยู่กับความชำนาญ) ถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมากมาก ลักษณะคล้ายรูเข็ม (pinpoint) หรือผลึกขนาดเล็กมากๆ เหมือนรูป สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ VVS (Very Very Small Included) ● กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ 10 วินาที หรือมากกว่าถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมาก ซึ่งมีขนาดใหญ่และจำนวนมากกว่าความสะอาด VVS ตามรูปกลาง สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ VS (Very Small Included) สำหรับเพชรความสะอาดระดับ VS มลทินหรือตำ หนิจะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถเห็นได้ด้วย ตาเปล่า และไม่ขัดขวางการเดินทางของแสง จึงไม่ มีผลใดๆต่อความสวยงามของเพชร ● กรณีที่ส่องกล้องแล้วเห็นตำหนิทันที โดยไม่ต้องค้นหา และตำหนิขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดใหญ่และ จำนวนมากกว่าความสะอาด VS สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ SI (Small Included) สำหรับความสะอาดระดับ SI ถ้ามลทินมีขนาดใหญ่ หรือมีสี หรืออยู่กลางหน้าเพชร อาจขัดขวาง การเดินทางของแสงและมีผลต่อความสวยงามของเพชรโดยรวม ● กรณีที่สามารถมองเห็นตำหนิด้วยตาเปล่า เพชรเม็ดนั้นมีความสะอาดระดับ I (Imperfect) ตำหนิมีขนาดใหญ่ มีผลต่อความสวยงามและความคงทนของเพชรครับ แนะนำให้หลีกเลี่ยงทุกกรณี
  • 4. 4 Natdanaj 4. การประเมินสีเพชร (color) - วิธีแรกคือการประเมินสี โดยที่มีเพชรต้นแบบ (master stone กรณีนี้ยกตัวอย่างว่าสีต้นแบบเป็นสี G น้ำ 97) ไว้เปรียบเทียบ ให้วางเพชรต้นแบบและ เพชรทีต้อง การเทียบสี คว่ำลงครับ โดยให้มองที่ก้นเพชรเฉียงๆ มุม 45 องศา โดยให้วางเพชรต้นแบบ ไว้ตรงกลาง และให้วางเพชรที่ต้องการเทียบไว้ทางซ้าย สังเกตว่าสีอ่อนกว่า (ขาวกว่า) หรือเข้มกว่า (เหลืองกว่า) เสร็จแล้วให้เปลี่ยนเพชรที่ต้องการเทียบมาไว้ด้านขวาและเปรียบเทียบอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยง master eye effect (การประเมินสีต้องดูเพชรภายใต้แสงอาทิตย์ หรือแสงสีขาว-Daylight) ● ถ้าผลสรุปว่า วางด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงสีเข้มกว่า สรุปได้ว่าเพชรที่นำมาเทียบสีเดียวกันกับเพชรต้นแบบ คือ น้ำ 97 ● ถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 96
  • 5. 5 Natdanaj ● ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 98 ● ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงก็อ่อนกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 99 ขึ้นไป ● และถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านนึงก็เข้มกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำต่ำกว่าหรือเท่ากับ 95 ลงมา ● ● สี D-F = เพชรปราศจากสี ● สี G-J = เพชรเกือบปราศจากสี ● สี K-M = เพชรเริ่มมีสีเหลืองอ่อนมาก ● สี N-R = เพชรสีเหลืองอ่อนมาก ● สี S-Z = เพชรสีเหลืองอ่อน ถึง เหลือง การประเมินสีเพชรโดยไม่มีเพชรต้นแบบ - กรณีที่ไม่มีเพชรต้นแบบไว้ใช้เปรียบเทียบ ให้ลองดู เพชรจากด้านหน้า ถ้าเป็นสีขาว ไร้สี และลองมองจากก้นเพชร มองมุม 45 องศา ถ้าเป็นสีขาวไร้สี เช่นกัน เพชรเม็ดนั้นเป็นเพชรเกรด ไร้สี (Colorless) น้ำสูงกว่า 98 (F) ขึ้นไป ในกรณีทีมองจากด้านหน้า เป็นสีขาว ไร้สี และมองจากก้นเพชรเป็นสีนวล แสดงว่าเพชรเม็ดนั้น สีประมาณ 97-96 (G- H) ถ้ามองจากด้านหน้าเป็นสีนวล ด้านก้นเพชรเป็นสีนวล เพชรเม็ดนั้นเป็นสี 95-94 (I-J) กรณีที่มองจากด้านหน้าเห็นสีเหลืองชัดเจนเป็นสี 93 (K) หรือต่ำกว่า
  • 6. 6 Natdanaj การประเมินคุณภาพการเจียรไน - คุณภาพในการเจียรไน ถือว่ามีผลต่อความสวยงามของเพชรมาก ต่อให้เพชรคุณภาพ D/IF หากเจียรไน ไม่ดี ก็จะไม่สามารถเปล่งประกายสวยงามได้อย่างที่ควรที่จะเป็น และคุณภาพการเจียรไน เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก ก่อนที่จะสามารถประเมินคุณภาพของการเจียรไนเพชรได้อย่างคร่าวๆ เราต้องทราบก่อนว่าเหลี่ยมต่างๆของเพชร เรียกว่าอะไรกันมั่ง หลังจากนั้นค่อยมาเริ่มวิธีการดูเหลี่ยม เอกลักษณ์ของเพชร คือ การเล่นแสง เพชรที่ดีจะก่อให้เกิดประกายที่สวยงาม ที่เราเรียกว่า "น้ำ" เพชรน้ำดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ การเล่นแสงของเพชร ยิ่งเพชรสะท้อนแสงได้มากเท่าไหร่ เพชรยิ่งสวย งามมากขึ้นเท่านั้น สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ ของเพชรนั้นส่งผลต่อการกระจายแสงของเพชร โดยเพชรที่เจียระไน ตื้นและมีหน้ากว้างไป หรือเจียรไนลึกและแคบไปนั้นจะทำให้แสงออกด้านข้าง และด้านล่างของเพชร ทำให้เพชรเสีย ความสุกสว่าง และการส่องประกาย ชนิดของเพชร ชนิด Ia (Type Ia) : ประมาณ 98% ของเพชรทั้งหมดที่พบในธรรมชาติ มีธาตุไนโตรเจนแทรกเป็น หย่อมๆเล็กน้อย สีที่เห็นจะเป็นใสไม่มีสี-สีออกเหลืองอ่อนๆ เรียกว่า "Cape diamomd" ชนิด Ib (Type Ib) : น้อยกว่า 1% ของเพชรทั้งหมดที่พบในธรรมชาติ มีธาตุไนโตรเจน และสีเหลืองเข้ม ชนิด IIa (Type IIa) : พบยากมากในธรรมชาติ มีธาตุคาร์บอน 100% บริสุทธิ์ ใส ไม่มีสี ชนิด IIb (Type IIb) : พบยากมากในธรรมชาติ มีธาตุโบรอนปนอยู่ ทำให้นำไฟฟ้าได้ดี มีสีฟ้า-เทา บางครั้งใสเกือบไม่มีสี ซึ่งหายากมาก
  • 8. 8 Natdanaj 4. เหลี่ยมอัพเพอร์เกิลเดิล (Upper girdle) 5.เหลี่ยมโลเวอร์เกิลเดิล (Lower girdle) 6.เหลี่ยมพาวิลเลียนเมน (Pavilion main)
  • 9. 9 Natdanaj 7.คิวเลท (Culet) เมื่อมองเพชรจากด้านข้าง ส่วนด้านบนของเพชรเรียกว่า "คราวน์" (Crown) ส่วนด้านล่างของเพชรเรียกว่า "พาวิลเลี่ยน" (Pavillion) และ ส่วนกลางของเพชร หรือขอบเพชร เรียกว่า "Girdle "พาวิลเลี่ยน" (Pavillion) มีต่อตอนที่2 เรื่องเหลี่ยมเพชร 1) เหลี่ยมรัสเชี่ยน 2) เหลี่ยมเบลเยี่ยม 3) เหลี่ยมซูเปอร์อินเดีย 4) เหลี่ยมกุหลาบ 5) เหลี่ยมเดี่ยว Russian diamonds