SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  7
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ 5
อัคคีภัย (Fire Hazard)
5.1 ความหมายของอัคคีภัย
อัคคีภัย หมายถึง ภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทาให้เกิดการติดต่อลุกลาม
ไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มี
เชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความ
สูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต
5.2 องค์ประกอบของไฟ
องค์ประกอบของไฟมี 3 สิ่ง (ดังภาพที่ 5.1) กล่าวคือ
1.เชื้อเพลิง (Fuel) อาจจะอยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซเชื้อเพลิงที่ทาให้เกิดการลุก
ไหม้มาจากสารเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์เคมี และอินทรีย์เคมี
- สารอนินทรีย์เคมี เป็นสารที่เป็นพวกแร่ธาตุที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งมีชีวิต และไม่มีส่วนประกอบของ
คาร์บอน เช่น โพแทสเซียมไนเตรท โซเดียม กรดต่าง ๆ เป็นต้น
- สารอินทรีย์เคมี เป็นสารที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอน เช่น น้ามัน ถ่าน
หิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
2. ออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งมีอยู่ในอากาศประมาณ 21% โดยปริมาตร ที่ช่วยให้ติดไฟ แต่หาก
ออกซิเจนลดต่าลงเหลือ 16% ไฟก็จะไหม้ช้าลงหรือดับมอดไป
3. ความร้อน (Heat) จะมีความร้อนที่ทาให้เชื้อเพลิงเปลี่ยนสถานะเป็นไอหรือก๊าซ ที่เรา
เรียกว่า ความร้อนถึงจุดวาบไฟ 1 และอีกอย่างคือความร้อนถึงจุดติดไฟหรือจุดชวาล 2 ทาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีเพียงพอที่จะติดไฟได้ จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสารสมบัติของ
เชื้อเพลิงด้วย
- อุณภูมิต่าที่สุดที่ทาให้เชื้อเพลิงเกิดการคายไอผสมอยู่ในอากาศเกิดการลุกติดไฟในลักษณะไม่
ต่อเนื่อง คือเมื่อมีแหล่งความร้อน หรือประกายไฟ จะเกิดการลุกวาบอยู่ชั่วขณะ
- อุณหภูมิต่าสุดที่ของสามารถติดไฟได้เอง โดยไม่อาศัยประกายไฟ ของแข็งก็เช่นกันต้องอยู่
ใอุณหภูมิที่สูงพอ จึงจะจุดติดไฟได้ ดังนั้นการติดไฟของฟืนจึงต้องอาศัย ฟาง กระดาษ และไต้ เพื่อให้
วัสดุพวกนี้ติดไฟก่อน ความร้อนจากการเผาไหม้ทาให้เกิดอุณหภูมิสูงที่บางจุดของฟืนเป็นเวลานานพอ
จึงติดไฟได้แม้ว่า ก๊าซบางชนิดจะติดไฟได้ง่าย แต่ก๊าซเหล่านี้ต้องผสมกับอากาศในสัดส่วนที่ถูกต้อง จึง
จะติดไฟได้
4. ปฎิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) หรือการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง คือ กระบวนการเผาไหม้ที่
เริ่มตั้งแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟเมื่อเกิดไฟขึ้น หมายถึง การเกิดปฏิกิริยา กล่าวคืออะตอมจะ
ถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิง กลายเป็นอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐาน
ของไฟอย่างรวดเร็ว ทาให้เกิดเปลวไฟ
ภาพที่ 5.1 แสดงสามเหลี่ยมของไฟ
นอกเหนือจากองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว จะต้องมีปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) ของ
การสันดาป คือ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้ และมี
ออกซิเจนในอากาศไม่ต่ากว่าร้อยละ16 ไฟก็จะติดขึ้น โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มี
ขนาดเล็กลงๆ จนแปรสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบ
ของการเผาไหม้เป็นรูปปิรามิดของไฟ แต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด การสันดาปก็จะหยุดลง
จากประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน เรารู้ว่าวัสดุต่างๆ ติดไฟได้ยากหรือง่ายต่างกันอย่างไร
อย่างเช่น เทียนไขจะติดไฟได้ต้องอาศัยไส้ที่ช่วยการติดไฟ ส่วนแก๊สหุงต้ม ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี
คล้ายเทียนไขกลับติดไฟได้ง่ายมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การลุกเป็นไฟขึ้นอยู่กับสถานะของสาร แก๊สหุง
ต้มอยู่ในสถานที่พร้อมที่จะสัมผัสและปะปนกับออกซิเจนในอากาศอยู่แล้ว ส่วนสารของเทียนไข ต้องถูก
หลอมและระเหยให้เป็นก๊าซด้วยไฟที่ไส้ จึงจะติดไฟต่อไปได้ กล่าวคือเปลวไฟของเทียนไขเกิดจากการ
เผาไหม้ก๊าซที่ได้ระเหยจากตัวเทียนไข และความร้อนที่เกิดขึ้นใน เปลวไฟกลับมาช่วยให้ไขหลอมและ
ระเหยต่อไป การลุกไหม้ของสารต้องพึ่งปัจจัย 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง (ไอของมัน) อากาศ (ออกซิเจน) ใน
สัดส่วนที่พอเหมาะ และอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้นการดับไฟ คือการที่
ทาให้เกิดการขาดปัจจัยอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น การปิดวาวล์ถังแก๊ส เป็นการทาให้ขาดเชื้อเพลิง การฉีด
น้าทาให้ลดอุณหภูมิและลดการสัมผัสกับออกซิเจนเป็นต้น
5.3 ชนิดของไฟ
ความร้อนและรังสีที่เกิดจากไฟไหม้ การลุกไหม้ของวัตถุต่างชนิดกันและความเร็วของการเผา
ไหม้ที่ต่างกันย่อมทาให้เกิดความร้อนไม่เท่ากันด้วย ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นหากไม่มีการถ่ายเทจะทา
ให้อุณหภูมิในบริเวณการลุกไหม้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทาให้เกิดการระเหยของเชื้อเพลิงมากขึ้น เชื้อเพลิง
ระเหยนี้ จะวิ่งหาอากาศและออกซิเจน เพื่อให้เกิดการเผาไหม้มากขึ้นเสมอ ฉะนั้น เวลาเกิดไฟไหม้
รุนแรงภายในตึกที่ปิดมิดชิดพอควร หากเกิดการถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้นทันทีทันใด เช่น หน้าต่างแตกหรือ
ประตูเปิด จะเกิดเปลวไฟวาบขึ้นแรงมากเพราะเกิดการเผาไหม้ที่อัตราเพิ่มขึ้น และเพิ่มความร้อนซึ่งช่วย
เร่งการเผาไหม้และเกิดอันตรายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน การถ่ายเทความร้อนมีกลไก 3 อย่าง คือ
ก) การนาพาความร้อนไปด้วยการผสมกันกับอากาศหรือของเหลว เช่น อากาศร้อนจะขึ้นสูง
และอากาศที่เย็นกว่าจะลงมาแทนที่ ทาให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศความร้อนจึงหมุนเวียนและผสม
ไปกับอากาศที่นาพามันไป ของเหลวก็เช่นกันจะหมุนเวียนไปได้
ข) การนาความร้อนไปด้วยของแข็ง เช่น การนาความร้อนจากห้องหนึ่งโดยนาผ่านท่อเหล็ก
ไปยัง อีกห้องหนึ่ง หรือความร้อนภายในห้องที่เกิดไฟไหม้ถูกนาผ่านลูกบิดประตูออกมาข้างนอกห้อง
ค) การแผ่รังสี ตัวอย่างเช่น การที่ความร้อนจากหลอดไฟแผ่มายังมือที่วางอยู่ใต้หลอดไฟ
ความร้อนนี้มิได้เกิดจากการนาพาโดยอากาศ เพราะว่าอากาศที่ร้อนจะลอยขึ้นและไม่ลอยลงมาที่มือ
หรือในกรณีความร้อนจากการผิงไฟ คือ รังสีความร้อนเป็นตัวหลักที่ทาให้เราร้อน เพราะว่าหากเอา
กระจกมากั้นระหว่างกองไฟกับ ตัวเราอย่างรวดเร็ว ตัวเราจะรู้สึกเย็นลงทันทีทั้งๆ ที่บริเวณที่เรายืนอยู่
ยังไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากนัก
ฉะนั้น ในกรณีไฟไหม้ ควรระวังความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ และอุณหภูมิที่เป็นผล
ตามมา เราต้องรู้ว่าเชื้อเพลิงที่กลายเป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายในห้องปิดที่มีอุณหภูมิ สูงจะวิ่งหาอากาศเมื่อ
ห้องเปิด และความร้อนจากการแผ่รังสีจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่เปิดประตูห้องทันที ขณะเดียวกันความรู้
เรื่องกลไกถ่ายเทความร้อน จะทาให้เราระวังก่อนจะจับต้องสิ่งของในบริเวณไฟไหม้ และระวังว่าต้องอยู่
ห่างจากที่เกิดเหตุพอสมควรเพราะเป็นการแผ่รังสีความร้อน
การเลือกใช้สารเคมีดับไฟจึงต้องใช้ตามประเภทของไฟ (Fire Classification) ซึ่งแบ่งตาม
ลักษณะของเชื้อเพลิงได้ดังต่อไปนี้
1. ไฟประเภท A เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่นไม้ กระดาษ เสื้อผ้า อาคาร
บ้านเรือนไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหล่านี้สามารถดับได้ด้วยการให้ความเย็นโดยใช้น้าฉีดเป็นฝอยไปยัง
ฐานของเพลิง
2.ไฟประเภท B ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว พวกน้ามันหรือแก็สต่างๆ ซึ่งจะดับ
ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงชนิดนี้ได้ด้วยวิธีป้องกันมิให้อากาศเข้าไปรวมตัวกับเชื้อเพลิงโดยการคลุมผิวหน้า
ของเชื้อเพลิง ด้วยต้องพยายามตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน
3. ไฟประเภท C ได้แก่ ไฟที่ไหม้พวกอุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ ก่อนอื่นต้องพยายามตัด
วงจรไฟฟ้าเสียก่อน เพื่อจะลดอันตราย และเครื่องดับเพลิงที่ใช้ดับต้องไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ฮารอน
คาร์บอนไดออกไซด์
4. ไฟประเภท D เป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้ของสารเคมีต่างๆ เช่น แมกนีเซียม ปุ๋ยยูเรีย หรือ
วัตถุระเบิด
5. ไฟประเภท K เป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้น้ามันประกอบอาหาร
ภาพที่ 5.2 ชนิดของไฟ
5.3 หลักการออกแบบการป้องกันและระงับอัคคีภัย (Design Concept of Fire Prevention)
การป้องกันและระงับอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการออกแบบป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่
การวางผังการก่อสร้างอาคารโดยแนวคิดสาหรับการวางระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีการนามาประยุกต์ใช้
อย่างกว้างขวางในปัจจุบันเป็นแนวคิดของ National Fire Protection Association แนวคิดดังกล่าวเป็น
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการกับอัคคีภัยซึ่งแบ่งการจัดการอัคคีภัยเป็น 3 ส่วนได้แก่การควบคุม
กระบวนการเผาไหม้ การระงับเมื่อเกิดอัคคีภัย และการควบคุมไฟโดยการออกแบบโครงสร้างที่
เหมาะสม ซึ่งในแต่ละส่วนยังมีการจาแนกสิ่งที่ต้องจัดการควบคุมแตกแขนงแยกย่อยออกไปคล้าย
แผนภูมิต้นไม้ โดยในแต่ละแขนงมีการกาหนดในสิ่งที่ต้องควบคุมหรือจัดการร่วมกันหรือสามารถเลือก
ควบคุมหรือจัดการอีกสิ่งหนึ่งแทนได้ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ การจัดการเกี่ยวกับไฟจะต้องทากิจกรรม
3 ส่วนร่วมกันคือ การควบคุมกระบวนการเผาไหม้ การระงับเมื่อเกิดอัคคีภัย และการควบคุมไฟโดยการ
ออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม โดย
ส่วนที่ 1 การควบคุมกระบวนการเผาไหม้จะต้องมีการควบคุมที่เชื้อเพลิงและควบคุม
สภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นควบคู่กัน ซึ่งการควบคุมกระบวนการเผาไหม้ก็จะต้องมีการมีการควบคุม
คุณสมบัติของเชื้อเพลิง การควบคุมปริมาณเชื้อเพลิง และการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อเพลิง
ร่วมกันไป โดยในส่วนของการควบคุมสภาพแวดล้อมก็จะต้องมีการควบคุมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
ร่วมกับทางเคมี
ส่วนที่ 2 การระงับอัคคีภัยจะต้องมีการดาเนินงาน 2 ส่วนร่วมกันคือการใช้ระบบระงับอัคคีภัย
อัตโนมัติซึ่งอาจจะใช้ระบบตรวจจับไฟ หรือใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยที่เพียงพอ และการใช้ระบบระงับ
อัคคีภัยด้วยมือซึ่งอาจจะเลือกระบบการตรวจจับไฟ ระบบสัญญาณเตือนภัย การดาเนินการตาม
ข้อกาหนด การตอบสนองภายในพื้นที่ การใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยที่เพียงพอซึ่งเราสามารถเลือกการ
จัดการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบพร้อมกันก็ได้
ส่วนที่ 3 การควบคุมไฟโดยการออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม โดยสามารถเลือกการ
ดาเนินการควบคุมโดยการจัดให้มีโครงสร้างที่มีเสถียรภาพ เช่นการสร้างกาแพงทนไฟ การใช้วัสดุทนไฟ
หรือการควบคุมการเคลื่อนที่ของไฟ ซึ่งในกรณีที่เลือกการควบคุมการเคลื่อนที่ของไฟจะต้องควบคุม
ทิศทางลมของไฟและควบคุมขอบเขตของไฟให้ได้ด้วย
สาหรับประเทศไทยแนวความคิดในการนาการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมกับการป้องกัน
อัคคีภัยผนวกไว้ร่วมกัน ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการออกแบบเพื่อการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก(Active)
และการออกแบบเพื่อป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive)
การออกแบบเพื่อการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุกจะประกอบด้วย การแบ่งส่วนพื้นที่อาคารให้เหมาะ
แก่การใช้งาน การสร้างเส้นทางหนีไฟให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน การปิดในส่วนของช่องเปิด
ต่างๆของตัวอาคาร เช่น ช่องลิฟท์ ช่องระบายอากาศเพื่อไม่ให้ไฟลุกลามผ่านไปยังส่วนอื่นของอาคาร
ส่วนการออกแบบเพื่อป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ ได้แก่การติดตั้งระบบเฝ้าระวังอัคคีภัย เช่น อุปกรณ์แจ้งเหตุ
เพลิงไฟชนิดต่างๆตามความเหมาะสมการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย เช่น ระบบดับเพลิงแบบหัว
กระจายน้าดับเพลิง และการติดตั้งระบบควบคุมควันไฟไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนพื้นที่ปลอดภัยเช่น
ระบบอัดอากาศเข้าสู่บันไดหนีไฟ
การป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive Fire Safety) เป็นการเน้นการป้องกันในส่วนของการ
ออกแบบโครงสร้างอาคารเพื่อจากัดการลุกลามของไฟ
ควบคุมการเกิดควันไฟและการกระจายตัวของควันไฟ เพื่อระบายควันไฟออกนอกบริเวณขณะ
เกิดเพลิงไหม้อาคาร ลดหรือป้องกันการแพร่กระจายของควัน ด้วยการออกแบบการใช้งาน การติดตั้ง
การทดสอบ และซ่อมบารุงระบบรวมถึงการเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้แก่ระบบปรับอากาศและระบบหัวกระจาย
น้าในระบบดับเพลิงให้ทางานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การป้องกันการลามไฟเมื่ออพยพหนีไฟให้เป็นไปอย่างปลอดภัยโดยที่ผนังปิดล้อมพื้นที่ต้องมี
อัตราทนไฟ 2 ชั่วโมง และมีระบบอัดอากาศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่ปิดล้อมมีความ
ดันขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสคาล โดยมีการพิจารณาความเร็วอากาศที่ผ่านประตูหนีไฟเพื่อ
ป้องกันควันย้อนกลับ โดยให้อาคารที่มีระบบหัวกระจายน้าดับเพลิง มีความเร็วอากาศที่ผ่านประตูต่าสุด
ที่ยอมได้คือ 0.30 เมตรต่อวินาที และอาคารที่ไม่มีระบบหัวกระจายน้าดับเพลิง มีความเร็วอากาศที่ผ่าน
ประตูต่าสุดที่ยอมได้เท่ากับ 0.80 เมตรต่อวินาที ในขณะที่ความเร็วของอากาศที่จ่ายออกจากช่องท่ออัด
อากาศจะต้องอยู่ในช่วง 2-3 เมตรต่อวินาที วัสดุที่ใช้ในงานท่อลมทั้งหมดจะต้องไม่ติดไฟ และวัสดุ
จะต้องมีค่าอุณหภูมิของการหลอมละลายไม่น้อยกว่า 1,000 องศาเซลเซียส
การใช้วัสดุประเภทไม่ลามไฟหรือสร้างความเสถียรภาพของโครงสร้างเป็นวัสดุประเภทป้องกัน
โครงสร้างของอาคารขณะเกิดเพลิงไหม้ ไม่ให้เกิดการแตกร้าว การทลายตัวเป็นการเลือกวัสดุของสร้าง
อาคารให้มีโครงสร้างทนไฟตั้งแต่เริ่มการออกแบบ
การป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก (Active Fire Safety) เป็นการป้องกันอัคคีภัยเมื่อไฟได้เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์การเฝ้าระวัง อุปกรณ์การป้องกันการลุกลามของไฟ และอุปกรณ์สาหรับ
การควบคุมควันไฟ
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้นั้นความสามารถของอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้จะจาแนกตามระยะเวลา
ของการเกิดไฟเริ่มต้นตั้งแต่การเป็นสถานะของเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งกลายเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะ
ก๊าซ จากนั้นควันไฟจะก่อตัวขึ้นต่อมาจะเกิดเปลวไฟ และในที่สุดจะเกิดความร้อนจากเปลวไฟ
แพร่กระจายออกไปดังแสดงในภาพที่ 5.3
ภาพที่ 5.3 ขั้นตอนการเกิดไฟซึ่งจะเป็นตัวกาหนดอุปกรณ์ตรวจจับของไฟ
ที่มา: National Fire Protection Association (1999)
จากภาพจะพบว่าระยะเวลาการเกิดไฟแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) ซึ่งระยะนี้จะไม่สามารถมองเห็นอนุภาคของควัน
ควันไฟ เปลวไฟ และจะไม่รู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับไอออน
และก๊าซจากการเผาไหม้
ระยะที่ 2 ระยะเกิดควัน (Smoldering Stage) ซึ่งระยะนี้เราไม่สามารถมองเห็นเปลว และจะ
ไม่รู้สึกถึงความร้อน แต่จะมองเห็นควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
ระยะที่ 3 ระยะเกิดเปลวไฟ (Flame Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็น เปลวไฟ ควันไฟ
และเริ่มรู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ
ระยะที่ 4 ระยะเกิดความร้อน (Heat Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็นเปลวไฟควันไฟ จะ
ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ อากาศร้อนจะแผ่ขยายตัวออกไป อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Incipient Stage Smoldering Stage Flame Stage Heat Stage

Contenu connexe

Plus de freelance

Ch 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsCh 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsfreelance
 
Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster educationfreelance
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentfreelance
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazardfreelance
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survivalfreelance
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalfreelance
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)freelance
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsfreelance
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsfreelance
 
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentWeek 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentfreelance
 
Week 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterWeek 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterfreelance
 
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปกลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปfreelance
 
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2freelance
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงfreelance
 
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่freelance
 
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงกลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงfreelance
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือfreelance
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเราfreelance
 

Plus de freelance (20)

Ch 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsCh 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informatics
 
Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster education
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessment
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazard
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reduction
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survival
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systems
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reduction
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informatics
 
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentWeek 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
 
Week 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterWeek 1 intro to disaster
Week 1 intro to disaster
 
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปกลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
 
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
 
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
 
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงกลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
 

Ch 5 fire hazard

  • 1. บทที่ 5 อัคคีภัย (Fire Hazard) 5.1 ความหมายของอัคคีภัย อัคคีภัย หมายถึง ภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทาให้เกิดการติดต่อลุกลาม ไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มี เชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความ สูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต 5.2 องค์ประกอบของไฟ องค์ประกอบของไฟมี 3 สิ่ง (ดังภาพที่ 5.1) กล่าวคือ 1.เชื้อเพลิง (Fuel) อาจจะอยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซเชื้อเพลิงที่ทาให้เกิดการลุก ไหม้มาจากสารเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์เคมี และอินทรีย์เคมี - สารอนินทรีย์เคมี เป็นสารที่เป็นพวกแร่ธาตุที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งมีชีวิต และไม่มีส่วนประกอบของ คาร์บอน เช่น โพแทสเซียมไนเตรท โซเดียม กรดต่าง ๆ เป็นต้น - สารอินทรีย์เคมี เป็นสารที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอน เช่น น้ามัน ถ่าน หิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น 2. ออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งมีอยู่ในอากาศประมาณ 21% โดยปริมาตร ที่ช่วยให้ติดไฟ แต่หาก ออกซิเจนลดต่าลงเหลือ 16% ไฟก็จะไหม้ช้าลงหรือดับมอดไป 3. ความร้อน (Heat) จะมีความร้อนที่ทาให้เชื้อเพลิงเปลี่ยนสถานะเป็นไอหรือก๊าซ ที่เรา เรียกว่า ความร้อนถึงจุดวาบไฟ 1 และอีกอย่างคือความร้อนถึงจุดติดไฟหรือจุดชวาล 2 ทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีเพียงพอที่จะติดไฟได้ จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสารสมบัติของ เชื้อเพลิงด้วย - อุณภูมิต่าที่สุดที่ทาให้เชื้อเพลิงเกิดการคายไอผสมอยู่ในอากาศเกิดการลุกติดไฟในลักษณะไม่ ต่อเนื่อง คือเมื่อมีแหล่งความร้อน หรือประกายไฟ จะเกิดการลุกวาบอยู่ชั่วขณะ - อุณหภูมิต่าสุดที่ของสามารถติดไฟได้เอง โดยไม่อาศัยประกายไฟ ของแข็งก็เช่นกันต้องอยู่ ใอุณหภูมิที่สูงพอ จึงจะจุดติดไฟได้ ดังนั้นการติดไฟของฟืนจึงต้องอาศัย ฟาง กระดาษ และไต้ เพื่อให้ วัสดุพวกนี้ติดไฟก่อน ความร้อนจากการเผาไหม้ทาให้เกิดอุณหภูมิสูงที่บางจุดของฟืนเป็นเวลานานพอ จึงติดไฟได้แม้ว่า ก๊าซบางชนิดจะติดไฟได้ง่าย แต่ก๊าซเหล่านี้ต้องผสมกับอากาศในสัดส่วนที่ถูกต้อง จึง จะติดไฟได้ 4. ปฎิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) หรือการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง คือ กระบวนการเผาไหม้ที่ เริ่มตั้งแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟเมื่อเกิดไฟขึ้น หมายถึง การเกิดปฏิกิริยา กล่าวคืออะตอมจะ ถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิง กลายเป็นอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐาน ของไฟอย่างรวดเร็ว ทาให้เกิดเปลวไฟ
  • 2. ภาพที่ 5.1 แสดงสามเหลี่ยมของไฟ นอกเหนือจากองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว จะต้องมีปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) ของ การสันดาป คือ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้ และมี ออกซิเจนในอากาศไม่ต่ากว่าร้อยละ16 ไฟก็จะติดขึ้น โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มี ขนาดเล็กลงๆ จนแปรสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบ ของการเผาไหม้เป็นรูปปิรามิดของไฟ แต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด การสันดาปก็จะหยุดลง จากประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน เรารู้ว่าวัสดุต่างๆ ติดไฟได้ยากหรือง่ายต่างกันอย่างไร อย่างเช่น เทียนไขจะติดไฟได้ต้องอาศัยไส้ที่ช่วยการติดไฟ ส่วนแก๊สหุงต้ม ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี คล้ายเทียนไขกลับติดไฟได้ง่ายมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การลุกเป็นไฟขึ้นอยู่กับสถานะของสาร แก๊สหุง ต้มอยู่ในสถานที่พร้อมที่จะสัมผัสและปะปนกับออกซิเจนในอากาศอยู่แล้ว ส่วนสารของเทียนไข ต้องถูก หลอมและระเหยให้เป็นก๊าซด้วยไฟที่ไส้ จึงจะติดไฟต่อไปได้ กล่าวคือเปลวไฟของเทียนไขเกิดจากการ เผาไหม้ก๊าซที่ได้ระเหยจากตัวเทียนไข และความร้อนที่เกิดขึ้นใน เปลวไฟกลับมาช่วยให้ไขหลอมและ ระเหยต่อไป การลุกไหม้ของสารต้องพึ่งปัจจัย 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง (ไอของมัน) อากาศ (ออกซิเจน) ใน สัดส่วนที่พอเหมาะ และอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้นการดับไฟ คือการที่ ทาให้เกิดการขาดปัจจัยอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น การปิดวาวล์ถังแก๊ส เป็นการทาให้ขาดเชื้อเพลิง การฉีด น้าทาให้ลดอุณหภูมิและลดการสัมผัสกับออกซิเจนเป็นต้น 5.3 ชนิดของไฟ ความร้อนและรังสีที่เกิดจากไฟไหม้ การลุกไหม้ของวัตถุต่างชนิดกันและความเร็วของการเผา ไหม้ที่ต่างกันย่อมทาให้เกิดความร้อนไม่เท่ากันด้วย ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นหากไม่มีการถ่ายเทจะทา ให้อุณหภูมิในบริเวณการลุกไหม้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทาให้เกิดการระเหยของเชื้อเพลิงมากขึ้น เชื้อเพลิง ระเหยนี้ จะวิ่งหาอากาศและออกซิเจน เพื่อให้เกิดการเผาไหม้มากขึ้นเสมอ ฉะนั้น เวลาเกิดไฟไหม้ รุนแรงภายในตึกที่ปิดมิดชิดพอควร หากเกิดการถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้นทันทีทันใด เช่น หน้าต่างแตกหรือ ประตูเปิด จะเกิดเปลวไฟวาบขึ้นแรงมากเพราะเกิดการเผาไหม้ที่อัตราเพิ่มขึ้น และเพิ่มความร้อนซึ่งช่วย เร่งการเผาไหม้และเกิดอันตรายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน การถ่ายเทความร้อนมีกลไก 3 อย่าง คือ
  • 3. ก) การนาพาความร้อนไปด้วยการผสมกันกับอากาศหรือของเหลว เช่น อากาศร้อนจะขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะลงมาแทนที่ ทาให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศความร้อนจึงหมุนเวียนและผสม ไปกับอากาศที่นาพามันไป ของเหลวก็เช่นกันจะหมุนเวียนไปได้ ข) การนาความร้อนไปด้วยของแข็ง เช่น การนาความร้อนจากห้องหนึ่งโดยนาผ่านท่อเหล็ก ไปยัง อีกห้องหนึ่ง หรือความร้อนภายในห้องที่เกิดไฟไหม้ถูกนาผ่านลูกบิดประตูออกมาข้างนอกห้อง ค) การแผ่รังสี ตัวอย่างเช่น การที่ความร้อนจากหลอดไฟแผ่มายังมือที่วางอยู่ใต้หลอดไฟ ความร้อนนี้มิได้เกิดจากการนาพาโดยอากาศ เพราะว่าอากาศที่ร้อนจะลอยขึ้นและไม่ลอยลงมาที่มือ หรือในกรณีความร้อนจากการผิงไฟ คือ รังสีความร้อนเป็นตัวหลักที่ทาให้เราร้อน เพราะว่าหากเอา กระจกมากั้นระหว่างกองไฟกับ ตัวเราอย่างรวดเร็ว ตัวเราจะรู้สึกเย็นลงทันทีทั้งๆ ที่บริเวณที่เรายืนอยู่ ยังไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากนัก ฉะนั้น ในกรณีไฟไหม้ ควรระวังความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ และอุณหภูมิที่เป็นผล ตามมา เราต้องรู้ว่าเชื้อเพลิงที่กลายเป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายในห้องปิดที่มีอุณหภูมิ สูงจะวิ่งหาอากาศเมื่อ ห้องเปิด และความร้อนจากการแผ่รังสีจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่เปิดประตูห้องทันที ขณะเดียวกันความรู้ เรื่องกลไกถ่ายเทความร้อน จะทาให้เราระวังก่อนจะจับต้องสิ่งของในบริเวณไฟไหม้ และระวังว่าต้องอยู่ ห่างจากที่เกิดเหตุพอสมควรเพราะเป็นการแผ่รังสีความร้อน การเลือกใช้สารเคมีดับไฟจึงต้องใช้ตามประเภทของไฟ (Fire Classification) ซึ่งแบ่งตาม ลักษณะของเชื้อเพลิงได้ดังต่อไปนี้ 1. ไฟประเภท A เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่นไม้ กระดาษ เสื้อผ้า อาคาร บ้านเรือนไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหล่านี้สามารถดับได้ด้วยการให้ความเย็นโดยใช้น้าฉีดเป็นฝอยไปยัง ฐานของเพลิง 2.ไฟประเภท B ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว พวกน้ามันหรือแก็สต่างๆ ซึ่งจะดับ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงชนิดนี้ได้ด้วยวิธีป้องกันมิให้อากาศเข้าไปรวมตัวกับเชื้อเพลิงโดยการคลุมผิวหน้า ของเชื้อเพลิง ด้วยต้องพยายามตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน 3. ไฟประเภท C ได้แก่ ไฟที่ไหม้พวกอุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ ก่อนอื่นต้องพยายามตัด วงจรไฟฟ้าเสียก่อน เพื่อจะลดอันตราย และเครื่องดับเพลิงที่ใช้ดับต้องไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ฮารอน คาร์บอนไดออกไซด์ 4. ไฟประเภท D เป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้ของสารเคมีต่างๆ เช่น แมกนีเซียม ปุ๋ยยูเรีย หรือ วัตถุระเบิด 5. ไฟประเภท K เป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้น้ามันประกอบอาหาร
  • 4. ภาพที่ 5.2 ชนิดของไฟ 5.3 หลักการออกแบบการป้องกันและระงับอัคคีภัย (Design Concept of Fire Prevention) การป้องกันและระงับอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการออกแบบป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ การวางผังการก่อสร้างอาคารโดยแนวคิดสาหรับการวางระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีการนามาประยุกต์ใช้ อย่างกว้างขวางในปัจจุบันเป็นแนวคิดของ National Fire Protection Association แนวคิดดังกล่าวเป็น แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการกับอัคคีภัยซึ่งแบ่งการจัดการอัคคีภัยเป็น 3 ส่วนได้แก่การควบคุม กระบวนการเผาไหม้ การระงับเมื่อเกิดอัคคีภัย และการควบคุมไฟโดยการออกแบบโครงสร้างที่ เหมาะสม ซึ่งในแต่ละส่วนยังมีการจาแนกสิ่งที่ต้องจัดการควบคุมแตกแขนงแยกย่อยออกไปคล้าย แผนภูมิต้นไม้ โดยในแต่ละแขนงมีการกาหนดในสิ่งที่ต้องควบคุมหรือจัดการร่วมกันหรือสามารถเลือก ควบคุมหรือจัดการอีกสิ่งหนึ่งแทนได้ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ การจัดการเกี่ยวกับไฟจะต้องทากิจกรรม
  • 5. 3 ส่วนร่วมกันคือ การควบคุมกระบวนการเผาไหม้ การระงับเมื่อเกิดอัคคีภัย และการควบคุมไฟโดยการ ออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม โดย ส่วนที่ 1 การควบคุมกระบวนการเผาไหม้จะต้องมีการควบคุมที่เชื้อเพลิงและควบคุม สภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นควบคู่กัน ซึ่งการควบคุมกระบวนการเผาไหม้ก็จะต้องมีการมีการควบคุม คุณสมบัติของเชื้อเพลิง การควบคุมปริมาณเชื้อเพลิง และการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อเพลิง ร่วมกันไป โดยในส่วนของการควบคุมสภาพแวดล้อมก็จะต้องมีการควบคุมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ร่วมกับทางเคมี ส่วนที่ 2 การระงับอัคคีภัยจะต้องมีการดาเนินงาน 2 ส่วนร่วมกันคือการใช้ระบบระงับอัคคีภัย อัตโนมัติซึ่งอาจจะใช้ระบบตรวจจับไฟ หรือใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยที่เพียงพอ และการใช้ระบบระงับ อัคคีภัยด้วยมือซึ่งอาจจะเลือกระบบการตรวจจับไฟ ระบบสัญญาณเตือนภัย การดาเนินการตาม ข้อกาหนด การตอบสนองภายในพื้นที่ การใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยที่เพียงพอซึ่งเราสามารถเลือกการ จัดการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบพร้อมกันก็ได้ ส่วนที่ 3 การควบคุมไฟโดยการออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม โดยสามารถเลือกการ ดาเนินการควบคุมโดยการจัดให้มีโครงสร้างที่มีเสถียรภาพ เช่นการสร้างกาแพงทนไฟ การใช้วัสดุทนไฟ หรือการควบคุมการเคลื่อนที่ของไฟ ซึ่งในกรณีที่เลือกการควบคุมการเคลื่อนที่ของไฟจะต้องควบคุม ทิศทางลมของไฟและควบคุมขอบเขตของไฟให้ได้ด้วย สาหรับประเทศไทยแนวความคิดในการนาการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมกับการป้องกัน อัคคีภัยผนวกไว้ร่วมกัน ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการออกแบบเพื่อการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก(Active) และการออกแบบเพื่อป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive) การออกแบบเพื่อการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุกจะประกอบด้วย การแบ่งส่วนพื้นที่อาคารให้เหมาะ แก่การใช้งาน การสร้างเส้นทางหนีไฟให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน การปิดในส่วนของช่องเปิด ต่างๆของตัวอาคาร เช่น ช่องลิฟท์ ช่องระบายอากาศเพื่อไม่ให้ไฟลุกลามผ่านไปยังส่วนอื่นของอาคาร ส่วนการออกแบบเพื่อป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ ได้แก่การติดตั้งระบบเฝ้าระวังอัคคีภัย เช่น อุปกรณ์แจ้งเหตุ เพลิงไฟชนิดต่างๆตามความเหมาะสมการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย เช่น ระบบดับเพลิงแบบหัว กระจายน้าดับเพลิง และการติดตั้งระบบควบคุมควันไฟไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนพื้นที่ปลอดภัยเช่น ระบบอัดอากาศเข้าสู่บันไดหนีไฟ การป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive Fire Safety) เป็นการเน้นการป้องกันในส่วนของการ ออกแบบโครงสร้างอาคารเพื่อจากัดการลุกลามของไฟ ควบคุมการเกิดควันไฟและการกระจายตัวของควันไฟ เพื่อระบายควันไฟออกนอกบริเวณขณะ เกิดเพลิงไหม้อาคาร ลดหรือป้องกันการแพร่กระจายของควัน ด้วยการออกแบบการใช้งาน การติดตั้ง การทดสอบ และซ่อมบารุงระบบรวมถึงการเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้แก่ระบบปรับอากาศและระบบหัวกระจาย น้าในระบบดับเพลิงให้ทางานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 6. การป้องกันการลามไฟเมื่ออพยพหนีไฟให้เป็นไปอย่างปลอดภัยโดยที่ผนังปิดล้อมพื้นที่ต้องมี อัตราทนไฟ 2 ชั่วโมง และมีระบบอัดอากาศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่ปิดล้อมมีความ ดันขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสคาล โดยมีการพิจารณาความเร็วอากาศที่ผ่านประตูหนีไฟเพื่อ ป้องกันควันย้อนกลับ โดยให้อาคารที่มีระบบหัวกระจายน้าดับเพลิง มีความเร็วอากาศที่ผ่านประตูต่าสุด ที่ยอมได้คือ 0.30 เมตรต่อวินาที และอาคารที่ไม่มีระบบหัวกระจายน้าดับเพลิง มีความเร็วอากาศที่ผ่าน ประตูต่าสุดที่ยอมได้เท่ากับ 0.80 เมตรต่อวินาที ในขณะที่ความเร็วของอากาศที่จ่ายออกจากช่องท่ออัด อากาศจะต้องอยู่ในช่วง 2-3 เมตรต่อวินาที วัสดุที่ใช้ในงานท่อลมทั้งหมดจะต้องไม่ติดไฟ และวัสดุ จะต้องมีค่าอุณหภูมิของการหลอมละลายไม่น้อยกว่า 1,000 องศาเซลเซียส การใช้วัสดุประเภทไม่ลามไฟหรือสร้างความเสถียรภาพของโครงสร้างเป็นวัสดุประเภทป้องกัน โครงสร้างของอาคารขณะเกิดเพลิงไหม้ ไม่ให้เกิดการแตกร้าว การทลายตัวเป็นการเลือกวัสดุของสร้าง อาคารให้มีโครงสร้างทนไฟตั้งแต่เริ่มการออกแบบ การป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก (Active Fire Safety) เป็นการป้องกันอัคคีภัยเมื่อไฟได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์การเฝ้าระวัง อุปกรณ์การป้องกันการลุกลามของไฟ และอุปกรณ์สาหรับ การควบคุมควันไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้นั้นความสามารถของอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้จะจาแนกตามระยะเวลา ของการเกิดไฟเริ่มต้นตั้งแต่การเป็นสถานะของเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งกลายเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะ ก๊าซ จากนั้นควันไฟจะก่อตัวขึ้นต่อมาจะเกิดเปลวไฟ และในที่สุดจะเกิดความร้อนจากเปลวไฟ แพร่กระจายออกไปดังแสดงในภาพที่ 5.3 ภาพที่ 5.3 ขั้นตอนการเกิดไฟซึ่งจะเป็นตัวกาหนดอุปกรณ์ตรวจจับของไฟ ที่มา: National Fire Protection Association (1999)
  • 7. จากภาพจะพบว่าระยะเวลาการเกิดไฟแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) ซึ่งระยะนี้จะไม่สามารถมองเห็นอนุภาคของควัน ควันไฟ เปลวไฟ และจะไม่รู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับไอออน และก๊าซจากการเผาไหม้ ระยะที่ 2 ระยะเกิดควัน (Smoldering Stage) ซึ่งระยะนี้เราไม่สามารถมองเห็นเปลว และจะ ไม่รู้สึกถึงความร้อน แต่จะมองเห็นควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ ระยะที่ 3 ระยะเกิดเปลวไฟ (Flame Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็น เปลวไฟ ควันไฟ และเริ่มรู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ ระยะที่ 4 ระยะเกิดความร้อน (Heat Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็นเปลวไฟควันไฟ จะ ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ อากาศร้อนจะแผ่ขยายตัวออกไป อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Incipient Stage Smoldering Stage Flame Stage Heat Stage