SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  32
Télécharger pour lire hors ligne
ทฤษฎีชีวจริยศาสตร์
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การบรรยายในการอบรมวิชาการ "ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น: ทางเลือกของสังคมไทย"
ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๙ พฤศจิกายน ถึง ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
โครงร่างการบรรยาย
วิชาชีวจริยศาสตร์คืออะไร?
เหตุใดจึงต้องมีวิชานี้?
หลักการพื้นฐานของปรัชญาและจริยศาสตร์
ทฤษฎีต่างๆของชีวจริยศาสตร์
ชีวจริยศาสตร์คืออะไร?
รากศัพท์ - ชีว + จริย + ศาสตร์ ตรงกับภาษา
อังกฤษว่า bioethics ในภาษาอังกฤษคำๆนี้มี
ความหมายตามตัวอักษรว่า "จริยะเกี่ยวกับชีวิต"
ชีวจริยศาสตร์เป็นการคิดค้นเกี่ยวกับปัญหาเชิง
ปทัสฐาน (ควรหรือไม่ควร) ที่เกี่ยวกับชีวิต โดย
มากมักจะหมายถึงชีวิตในบริบทของการให้บริการ
ทางสุขภาพ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป
ชีวจริยศาสตร์คืออะไร?
แม้ว่าคำว่า "ชีวจริยศาสตร์" จะเป็นคำใหม่ในภาษา
ไทย แต่การคิดค้นเกี่ยวกับปัญหาความควรไม่ควร
ที่เกี่ยวขัองกับชีวิต ก็มีมานานพร้อมๆกับที่มนุษย์
รู้จักคิดเกี่ยวกับตนเอง
ตัวอย่างของปัญหา: เราควรปฏิบัติต่อคนตาย
อย่างไร? ถ้าต้องเลือกระหว่างแม่กับลูก ควรเลือก
ใครก่อน? เราควรปฏิบัติต่อคนแก่และคนเจ็บ
อย่างไร? ฯลฯ
ชีวจริยศาสตร์กับ
จริยศาสตร์ประยุกต์
ชีวจริยศาสตร์เป็นจริยศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง
"จริยศาสตร์ประยุกต์" ได้แก่การนำเอาทฤษฎีหรือ
หลักการของจริยศาสตร์ในปรัชญามาใช้กับปัญหา
ในชีวิตประจำวัน
จริยศาสตร์การแพทย์ (medical ethics) -
ประยุกต์หลักการจริยศาสตร์ในการแพทย์
จริยศาสตร์คอมพิวเตอร์ จริยศาสตร์นาโน
จริยศาสตร์สื่อมวลชน ฯลฯ
ความเป็นสหสาขาวิชา
ชีวจริยศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์สหสาขามาตั้ง
แต่ต้น เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยธรรมชาติกับ
วิชาการหลากหลาย ทั้งปรัชญา การแพทย์
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และ
อื่นๆ
ผู้ที่เชี่ยวชาญชีวจริยศาสตร์ จริงๆแล้วจำเป็นต้อง
เชี่ยวชาญในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งอยู่ก่อน แล้วจึง
ใช้มุมมองของศาสตร์นั้นมาแก้ปัญหาในชีว
จริยศาสตร์
ความซับซ้อนของปัญหา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับชีวิตจะมีมา
นาน แต่ก็เพิ่งมาในระยะหลังนี้เอง ที่ปัญหานี้มี
ความซับซ้อนขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากความ
ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ
ชีวิต ทั้งชีวิตมนุษย์ สัตว์และพืช
ความก้าวหน้าดังกล่าวทำให้ปัญหาเรื่องความควร
ไม่ควรเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา เนื่องจากจิตสำนึกทาง
จริยะของเราไม่ได้เตรียมตัวเราสามารถมองเห็น
ทางออกได้ทันทีเหมือนในยุคโบราณ
ตัวอย่างของปัญหา
ตัวอย่างที่ชัดเจนประการหนึ่งก็คือ ปัจจุบัน
เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่สามารถทำให้คนไข้
ที่สูญเสียจิตสำนึกไป สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
อย่างไม่จำกัด
ปัญหาก็คือว่า การรักษาชีวิตไว้เช่นนี้สูญเสีย
ทรัพยากรเป็นอันมาก ซึ่งทรัพยากรดังกล่าวอาจ
นำไปช่วยชีวิตคนไข้รายอื่นๆได้อีกมาก และคนไข้
เหล่านั้นก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนไข้ที่เสีย
จิตสำนึกรายนี้
ตัวอย่างของปัญหา
ปัญหาก็คือว่า เราควรเลือกสถานการณ์แบบใด
ระหว่างการรักษาชีวิตคนไข้ที่ไร้จิตสำนึกรายนี้
หรือเลือกนำเอาทรัพยากรที่จะต้องสูญเสียไป มา
ใช้ช่วยชีวิตคนไข้รายอื่นๆที่สามารถรักษาให้
หายขาดได้
ไม่ว่าเลือกทางใดก็เป็นปัญหาทั้งสิ้น
ทางออก
ทางออกทางหนึ่งก็คือว่า ไม่คิดเกี่ยวกับปัญหาเชิง
ปทัสฐาน แต่ใช้กำลัง กล่าวคือฝ่ายใดมีกำลังมาก
กว่าก็ใช้แนวคิดของฝ่ายนั้นเป็นหลัก
ตามหลักการนี้ ถ้าหากว่าฝ่ายเจ้าของคนไข้ผักมี
อำนาจมากกว่า (เศรษฐกิจ, อาวุธ ฯลฯ) การตัดสิน
ก็เป็นไปตามนั้น
แต่เราเชื่อว่าแนวทางการตัดสินปัญหาด้วยกำลัง
หรืออำนาจไม่ถูกต้อง
แนวทางของชีวจริยศาสตร์
แนวทางของชีวจริยศาสตร์คือ การใช้เหตุผลเพื่อ
แก้ปัญหาความควรไม่ควร
ความเชื่อพื้นฐานได้แก่ การใช้เหตุผลดีกว่าการใช้
กำลัง
ความเชื่อพื้นฐานของจริยศาสตร์: การคิดค้นตาม
หลักการของเหตุผลสามารถนำพาเราเข้าไปถึง
ความจริงเชิงปทัสฐาน (ความจริงที่ว่าอะไรควร
หรือไม่ควร) ได้ และจริยศาสตร์ไม่ใช่การปะทะ
คารมเพื่อเอาชนะกันอย่างเดียว
เหตุใดจึงต้องมีวิชานี้?
ถ้าไม่มี การตัดสินปัญหาควรไม่ควรก็จะใช้เหตุผล
ไม่ได้ (เนื่องจากชีวจริยศาสตร์ได้แก่การทำเช่นนี้)
ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงการใช้กำลังไปไม่พ้น
ในเมื่อการศึกษาเป็นการฝึกฝนผู้คนให้รู้จักใช้
ปัญญา การศึกษาชีวจริยศาสตร์จึงจำเป็นมาก
นอกจากนี้ในสังคมประชาธิปไตยที่การตัดสินใจ
เป็นเรื่องของประชาชน ประชาชนจำเป็นต้องรู้จัก
การแก้ปัญหาควรไม่ควรด้วยเหตุผล
ชีวจริยศาสตร์สองแบบ
ในโลกตะวันตก การอภิปรายทางชีวจริยศาสตร์มัก
จะอยู่ในรูปของการอภิปรายทางวิชาการสมัยใหม่ที่
ไม่อ้างอิงหลักการของศาสนาคริสต์ กล่าวคือการ
แก้ปัญหาเชิงปทัสฐานไม่มีการอ้างอิงหลักการ
สูงสุดของศาสนาคริสต์ (พระเจ้า)
สาเหตุก็คือว่า ศาสนามีมากมายหลากหลาย และ
โลกตะวันตกมีประสบการณ์อันขมขื่นกับความ
แตกแยกทางความคิดและศาสนา
ชีวจริยศาสตร์แบบไม่เกี่ยว
กับศาสนา
หลักการทางปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่ ที่ถือ
เอาเหตุผลและหลักการทางตรรกวิทยาเป็นเกณฑ์
ในการตัดสินความถูกต้องเชิงปทัสฐาน เป็นหลัก
การพื้นฐานของชีวจริยศาสตร์แบบไม่เกี่ยวกับ
ศาสนา (secular bioethics)
ชีวจริยศาสตร์แบบนี้เป็นแบบที่ครอบงำกระแสความ
คิดในประเทศต่างๆในปัจจุบัน
ชีวจริยศาสตร์แบบอิง
ศาสนา
อย่างไรก็ตาม ชีวจริยศาสตร์แบบไม่อิงศาสนาก็
ไม่ใช่แบบเดียวที่เป็นไปได้
ในวัฒนธรรมที่ไม่ได้มีประสบการณ์การต่อสู้แบบ
ในโลกตะวันตก การตัดสินปัญหาปทัสฐานมักจะ
อ้างอิงคำสอนของศาสนา
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถหลีกหนีการคิดเกี่ยวกับ
ประเด็นทางชีวจริยศาสตร์ที่อิงศาสนาไปได้
ชีวจริยศาสตร์แบบอิง
ศาสนา
หลักการพื้นฐานก็คือว่า คำตอบของปัญหาปทัส
ฐานทั้งหลายสามารถหาได้จากคำสอนของศาสนา
ซึ่งมักอ้างอิงถึงหลักการทางอภิปรัชญา ว่่าเป็น
แหล่งที่มาของความรู้ ความถูกต้องของความควร
ไม่ควร
ข้อได้เปรียบของชีวจริยศาสตร์แบบนี้ก็คือว่า
สามารถให้หลักการที่สมาชิกของศาสนานั้นๆเชื่อ
มั่นได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียเปรียบ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบก็คือว่า ใน
สถานการณ์ที่มีศาสนาหลายๆศาสนา จะทำให้เกิด
การปะทะกันของคำสอน
ดังนั้น ทางออกของชาวยุโรปคือหาทางที่คำตอบ
สามารถเป็นที่ตกลงกันได้โดยไม่ต้องอาศัยศาสนา
- ชีวจริยศาสตร์แบบ secular
แต่ในกรณีของสังคมไทย ชีวจริยศาสตร์อาจจะ
ต้องอิงอาศัยศาสนา และหาทางที่ทางออกระหว่าง
ศาสนาเกิดขึ้นได้โดยยังอาศัยหลักของแต่ละ
ศาสนาอยู่
หลักการพื้นฐานของ
จริยศาสตร์สมัยใหม่
คำตอบเชิงปทัสฐานสามารถเป็นที่ตกลงกันได้ และ
สามารถเข้าถึงความจริงได้ หากมีการวิเคราะห์
ความหมายของถ้อยคำอย่างถูกต้อง และมีการเดิน
ตามหลักตรรกวิทยา ประกอบกับมีหลักฐาน
ประกอบถูกต้อง
ปัญหาคือเราจะเข้าถึงความจริงดังกล่าวได้
อย่างไร?
ทฤษฎีของคานท์
คานท์ (Immanuel Kant) เป็นนักปรัชญาคน
สำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลกตะวันตก
แนวคิดทางจริยศาสตร์ของเขาตั้งอยู่บนหลักการ
พื้นฐานว่า ทุกๆคนมีขีดความสามารถในการคิด
และเข้าใจหลักการทางจริยศาสตร์เสมอเหมือนกัน
อันที่จริง หลักการของคานท์ก็เป็นเพียงการ
วิเคราะห์การตัดสินทางจริยะที่คนทั่วไปทำกันอยู่
ตลอด
"จริยศาสตร์หน้าที่"
ภาษาอังกฤษว่า deontological ethics (มาจาก
ภาษากรีก deontos แปลว่า หน้าที่)
"ความดีความถูกต้อง" ได้แก่การทำตามหน้าที่ เรา
จะรู้ได้ว่าเรามีหน้าที่อะไรได้จากการคิดตามกฎ
เกฑณ์การคิดทั่วๆไป (ตรรกวิทยา)
กฎที่สำคัญมากข้อหนึ่งกล่าวว่า หากเราอยากให้ผู้
อื่นปฏิบัติต่อเราอย่างไร เราก็ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น
อย่างนั้น (Golden Rule)
วิพากษ์จริยศาสตร์หน้าที่
จริยศาสตร์แนวนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยนักปรัชญา
ส่วนมาก แต่ก็มีข้อให้วิพากษ์ได้ดังนี้
เราเชื่อมั่นในเหตุผลขนาดนี้ได้อย่างไร?
หลักการพื้นฐานของแนวคิดนี้ไม่มีอะไรมากไป
กว่าความเคยชินในการตัดสินปัญหาจริยะ
เข้มงวดมากเกินไป เน้นกฎมากไป
พูดแต่เรื่องกฎเกณฑ์ แต่ไม่มีเนื้อหา (Hegel)
ประโยชน์นิยม
ในจริยศาสตร์สมัยใหม่ของตะวันตก แนวคิดที่เป็น
อีกทางเลือกหนึ่งได้แก่ประโยชน์นิยม หรือ
utilitarianism
แนวคิดหลักได้แก่หลักมหสุข - The greatest
good for the greatest number (John Stuart
Mill)
ในขณะที่แนวคิดของคานท์เน้นเรื่องสภาวะของ
การกระทำว่ามีหรือไม่คุณค่าทางจริยะ แนวคิดนี้
เน้นเรื่องผลของการกระทำ
ประโยชน์นิยมสองแบบ
ประโยชน์นิยมของการกระทำ - Act
utilitarianism "การกระทำจะถูกต้องหรือไม่ถูก
ต้องขึ้นอยู่กับว่าการกระทำนั้นก่อให้เกิดผลที่ถูก
ต้อง (เช่นหลักมหสุข) หรือไม่"
ประโยชน์นิยมของกฎ - Rule utilitarianism
"การกระทำจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องขึ้นอยู่กับว่า
กฎที่อธิบายหรือเป็นหลักการพื้นฐานของการ
กระทำนั้น เป็นกฎที่ก่อให้เกิดผลที่ถูกต้องหรือไม่"
วิพากษ์ประโยชน์นิยม
การเน้นที่ผลของการกระทำ ทำให้เกิด
สถานการณ์ว่า การกระทำเดียวกันอาจจะเป็นทั้งดี
และไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าก่อให้เกิดผลดีหรือไม่ดี
เน้นกฎมากไป เข้มงวดกับกฎเกฑณ์มากไป
เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอะไรเป็น "ประโยชน์" ที่
พูดถึง?
การคิดเช่นนี้ทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยเสียเปรียบมาก
(เช่นในปัญหาการจัดสรรทรัพยากร)
วิพากษ์แนวคิดทั้งสอง
แนวคิดทั้งสองมีลักษณะร่วมกันคือ ต่างก็ถือว่า
ปัญหาเชิงปทัสฐานสามารถแก้ได้ด้วยการอ้างอิง
กฎเกณฑ์ที่เป็นสากลและตายตัว
ปัญหาก็คือว่า ในหลายกรณีประเด็นที่ต้องตัดสิน
ใจมีเนื้อหารายละเอียดที่ต้องเอาใจใส่ ต้อง
พิจารณาเป็นกรณีๆไป ไม่สามารถใช้กฎสากลได้
ตลอดเวลา
แนวคิดที่ต่อต้านกฎสากล
- จริยศาสตร์คุณธรรม
จริยศาสตร์คุณธรรม (virtue ethics) - เป้าหมาย
ของจริยศาสตร์อยู่ที่การพัฒนา "คุณ
ธรรม" (virtues) ของปัจเจกบุคคล และการตัดสิน
เชิงจริยะต้องคำนึงถึงเหตุการณ์เฉพาะมากกว่าที่
การอ้างอิงกฎสากล
จริยศาสตร์อาทร
จริยศาสตร์อาทร (ethics of care) - การตัดสิน
เชิงจริยะไม่ควรอิงกฎสากล แต่ควรพิจารณากรณี
เฉพาะ เช่นการทำแท้ง ควรพิจารณาถึงสภาพของ
ผู้หญิงที่ต้องตัดสินใจ ความสัมพันธ์ด้านต่างๆที่เขา
มีต่อคนรอบข้าง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ
มากกว่าที่จะอ้างอิงกฎเกณฑ์เช่นหลักการเกี่ยวกับ
สิทธิของตัวอ่อนในครรภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี
การเน้นความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึก มาก
กว่าการใช้เหตุผลตามหลักการสากล
จริยศาสตร์สตรีนิยม
แนวคิดอีกแนวหนึ่งที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นได้แก่
จริยศาสตร์สตรีนิยม (feminist ethics) หลักการ
ได้แก่การตีแผ่อคติเข้าข้างเพศชาย ที่แฝงตัวอยู่
ภายใต้การอ้างอิงถึงหลักการสากล โดยเสนอว่า
หลักการดังกล่าวนั้น แท้จริงเป็นการแฝงตัวไว้ด้วย
อคติที่เข้าข้างเพศชาย จริยศาสตร์สตรีนิยมเกิดขึ้น
ควบคู่กับแนวคิดสตรีนิยมด้านอื่นๆ เช่นญาณวิทยา
สตรีนิยม (feminist epistemology) ที่เน้นการ
ตีแผ่อคติที่แฝงตัวอยู่ในการอ้างความรู้
ทฤษฎีความยุติธรรม
หัวข้อสำคัญอีกประการหนึ่งในทฤษฎีชีว
จริยศาสตร์ อยู่ที่การอภิปรายเรื่องความยุติธรรม
การถกเถียงของนักปรัชญาเรื่องนี้แบ่งได้เป็นสอง
ฝ่ายใหญ่ๆ ได้แก่ฝ่ายที่เดินตามแนวคิดของ John
Rawls ซึ่งเสนอว่าความยุติธรรมเกิดจากการที่ทุก
ฝ่ายตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการความยุติธรรม โดยที่
ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีอยู่จริง
(veil of ignorance)
ทฤษฎีความยุติธรรม
แนวคิดแบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่เน้น
หนักเรื่องสิทธิและความสามารถที่เท่าทียมกันของ
มนุษย์ในการเข้าถึงความจริงเชิงปทัสฐาน โดยไม่
คำนึงถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม มีนักคิดอีกฝ่ายหนึ่งที่ถือว่า
วัฒนธรรม ความเป็นชุมชน ประเพณีมีบทบาทที่
ไม่สามารถดึงออกได้จากการคิดเกี่ยวกับความ
ยุติธรรม
เสรีนิยมกับชุมชนนิยม
นักคิดฝ่ายหลังนี้ได้ชื่อว่า ชุมชนนิยม
(communitarianism) มีจุดร่วมกันในการวิพากษ์
แนวคิดพื้นฐานของเสรีนิยม (liberalism) ที่เชื่อ
มั่นในความเป็นสากลของหลักการของความ
ยุติธรรม
ในสายตาของฝ่ายชุมชนนิยม การพิจารณาเกี่ยว
กับความยุติธรรมเป็นเรื่องของแต่ละชุมชนหรือ
วัฒนธรรมที่จะพิจารณาบนรากฐานของ
ประวัติศาสตร์ของชุมชนหรือวัฒนธรรมนั้นๆ
ชีวจริยศาสตร์แบบอิงศาสนาจะอยู่ฝ่ายชุมชนนิยม
โดยธรรมชาติ
ทฤษฎีความยุติธรรมกับชีว
จริยศาสตร์
ทฤษฎีความยุติธรรมมีบทบาทมากในการพิจารณา
ประเด็นทางชีวจริยศาสตร์
ตัวอย่าง: การแบ่งสรรทรัพยากรสุขภาพ การ
ประกันสุขภาพ สิทธิในการเข้าถึงยา ปัญหาความ
ยุติธรรมภายในรัฐชาติหรือระหว่างรัฐชาติด้วยกัน
ฯลฯ

Contenu connexe

Tendances

คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์jirat266
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกPadvee Academy
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์Proud N. Boonrak
 
บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์Wichai Likitponrak
 
สารรอบตัว
สารรอบตัวสารรอบตัว
สารรอบตัวNetiie Thanaporn
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยNick Nook
 
บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 2  เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบทที่ 2  เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตPinutchaya Nakchumroon
 
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6Thanawut Rattanadon
 
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาบทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาPadvee Academy
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพSirintip Arunmuang
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.Katewaree Yosyingyong
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตPadvee Academy
 
ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1Tae'cub Rachen
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖Anchalee BuddhaBucha
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกPadvee Academy
 
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊สPreeyapat Lengrabam
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1Tanchanok Pps
 

Tendances (20)

คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๗ ปรัชญาตะวันตก
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
 
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
 
บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์
 
สารรอบตัว
สารรอบตัวสารรอบตัว
สารรอบตัว
 
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
 
บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 2  เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบทที่ 2  เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
 
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
 
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาบทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโต
 
ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
7 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
 
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
 

Similaire à ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น

เนื้อหาชีววิทยา
เนื้อหาชีววิทยาเนื้อหาชีววิทยา
เนื้อหาชีววิทยาDew Thamita
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
การศึกษาชีววิทยา.ppt
การศึกษาชีววิทยา.pptการศึกษาชีววิทยา.ppt
การศึกษาชีววิทยา.pptssuser4ff757
 
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 2559
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต   2559บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต   2559
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 2559Pinutchaya Nakchumroon
 
9789740335689
97897403356899789740335689
9789740335689CUPress
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52juriporn chuchanakij
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 Padvee Academy
 
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2krupornpana55
 
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกรมณ รมณ
 
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)kulwadee
 
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตบท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตWichai Likitponrak
 
ปรัชญาภาษา
ปรัชญาภาษาปรัชญาภาษา
ปรัชญาภาษาSoraj Hongladarom
 
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...Bhu KS'peep
 
2559 project
2559 project 2559 project
2559 project tup tup
 

Similaire à ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น (19)

เนื้อหาชีววิทยา
เนื้อหาชีววิทยาเนื้อหาชีววิทยา
เนื้อหาชีววิทยา
 
1 ecosystem 2
1 ecosystem 21 ecosystem 2
1 ecosystem 2
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
การศึกษาชีววิทยา.ppt
การศึกษาชีววิทยา.pptการศึกษาชีววิทยา.ppt
การศึกษาชีววิทยา.ppt
 
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 2559
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต   2559บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต   2559
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 2559
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 
9789740335689
97897403356899789740335689
9789740335689
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
 
Unit1 organism
Unit1 organismUnit1 organism
Unit1 organism
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
 
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
 
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
 
ช วะ ม
ช วะ มช วะ ม
ช วะ ม
 
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
 
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตบท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
 
Des sciencebiology
Des sciencebiologyDes sciencebiology
Des sciencebiology
 
ปรัชญาภาษา
ปรัชญาภาษาปรัชญาภาษา
ปรัชญาภาษา
 
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...
ทฤษฎีเซลล์(Cell theory)ภูบดี อภิรติธรรม ชั้นม.4/4 เลขที่4 จิดาภา เพ็ชรกลม เลข...
 
2559 project
2559 project 2559 project
2559 project
 

Plus de Soraj Hongladarom

Ethical Issues in Compulsory Licensing of Drugs
Ethical Issues in Compulsory Licensing of DrugsEthical Issues in Compulsory Licensing of Drugs
Ethical Issues in Compulsory Licensing of DrugsSoraj Hongladarom
 
Relations between Human Dignity and Human Rights
Relations between Human Dignity and Human RightsRelations between Human Dignity and Human Rights
Relations between Human Dignity and Human RightsSoraj Hongladarom
 
Promoting research integrity - a mission for Thai universities
Promoting research integrity - a mission for Thai universitiesPromoting research integrity - a mission for Thai universities
Promoting research integrity - a mission for Thai universitiesSoraj Hongladarom
 
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนีฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนีSoraj Hongladarom
 
New law on surrogacy in thailand
New law on surrogacy in thailandNew law on surrogacy in thailand
New law on surrogacy in thailandSoraj Hongladarom
 
Big data and the sharing economy
Big data and the sharing economyBig data and the sharing economy
Big data and the sharing economySoraj Hongladarom
 
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care Robots
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care RobotsEthical and Legal Dimensions of Elderly Care Robots
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care RobotsSoraj Hongladarom
 
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยSoraj Hongladarom
 
ประชาธิปไตยในโรงเรียน
ประชาธิปไตยในโรงเรียนประชาธิปไตยในโรงเรียน
ประชาธิปไตยในโรงเรียนSoraj Hongladarom
 
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์Soraj Hongladarom
 
Ethics of Gestational Surrogacy
Ethics of Gestational SurrogacyEthics of Gestational Surrogacy
Ethics of Gestational SurrogacySoraj Hongladarom
 
ความดีในแบบเรียน
ความดีในแบบเรียนความดีในแบบเรียน
ความดีในแบบเรียนSoraj Hongladarom
 
เขียนงานวิชาการ
เขียนงานวิชาการเขียนงานวิชาการ
เขียนงานวิชาการSoraj Hongladarom
 
Ethical issues in e-learning
Ethical issues in e-learningEthical issues in e-learning
Ethical issues in e-learningSoraj Hongladarom
 

Plus de Soraj Hongladarom (20)

Ethical Issues in Compulsory Licensing of Drugs
Ethical Issues in Compulsory Licensing of DrugsEthical Issues in Compulsory Licensing of Drugs
Ethical Issues in Compulsory Licensing of Drugs
 
Relations between Human Dignity and Human Rights
Relations between Human Dignity and Human RightsRelations between Human Dignity and Human Rights
Relations between Human Dignity and Human Rights
 
Pittsburgh-info-ethics.pptx
Pittsburgh-info-ethics.pptxPittsburgh-info-ethics.pptx
Pittsburgh-info-ethics.pptx
 
PAAL-Presentation.ppt.ppt
PAAL-Presentation.ppt.pptPAAL-Presentation.ppt.ppt
PAAL-Presentation.ppt.ppt
 
Promoting research integrity - a mission for Thai universities
Promoting research integrity - a mission for Thai universitiesPromoting research integrity - a mission for Thai universities
Promoting research integrity - a mission for Thai universities
 
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนีฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี
ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี
 
Introduction to Bioethics
Introduction to BioethicsIntroduction to Bioethics
Introduction to Bioethics
 
New law on surrogacy in thailand
New law on surrogacy in thailandNew law on surrogacy in thailand
New law on surrogacy in thailand
 
Big data and the sharing economy
Big data and the sharing economyBig data and the sharing economy
Big data and the sharing economy
 
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care Robots
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care RobotsEthical and Legal Dimensions of Elderly Care Robots
Ethical and Legal Dimensions of Elderly Care Robots
 
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
ธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
 
Human dignity
Human dignityHuman dignity
Human dignity
 
ประชาธิปไตยในโรงเรียน
ประชาธิปไตยในโรงเรียนประชาธิปไตยในโรงเรียน
ประชาธิปไตยในโรงเรียน
 
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์
การเรียนการสอนกับความคิดเชิงวิจารณ์
 
Ethics of Gestational Surrogacy
Ethics of Gestational SurrogacyEthics of Gestational Surrogacy
Ethics of Gestational Surrogacy
 
ความดีในแบบเรียน
ความดีในแบบเรียนความดีในแบบเรียน
ความดีในแบบเรียน
 
Thai science bitec
Thai science   bitecThai science   bitec
Thai science bitec
 
เขียนงานวิชาการ
เขียนงานวิชาการเขียนงานวิชาการ
เขียนงานวิชาการ
 
Ethical issues in e-learning
Ethical issues in e-learningEthical issues in e-learning
Ethical issues in e-learning
 
Two concepts liberty
Two concepts libertyTwo concepts liberty
Two concepts liberty
 

ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น