SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  194
Télécharger pour lire hors ligne
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๔
๑. หมวดการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้เมื่อใด
= วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีกี่หมวด กี่มาตรา
= ๙ หมวด ๔๘ มาตรา
๓. บทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ยังคงมีผลบังคับใช้
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
= บทบัญญัติของหมวดที่ ๒ พระมหากษัตริย์
๔. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ คณะรักษา
ความสงบแห่งชาติกําหนดแนวทางการปัญหาเพื่อนําประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างไร
= แบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
ระยะแรก ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยอาศัยอํานาจคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ
ระยะที่สอง ได้แก่ จัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี
สภาปฏิรูปแห่งชาติ และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ระยะที่สาม ได้แก่ กําหนดให้มีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลตามปกติต่อไป
๕. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนเท่าใด มีที่มาของการดํารงตําแหน่งอย่างไร
= สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา
๖. การตราพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
มีที่มาอย่างไร
= ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน
หรือคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง เว้นแต่ร่าง
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๕
๗. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือรัฐมนตรี
ในคราวเดียวกันได้หรือไม่
= ไม่ได้
๘. ผู้ใดเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ในการแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง
= ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๙. คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีที่มาอย่างไร
= พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรี
อื่นอีกจํานวนไม่เกิน ๓๕ คนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี
๑๐. ข้าราชการประจําสามารถดํารงตําแหน่ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภา
ปฏิรูปแห่งชาติได้หรือไม่
= ได้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๘, ๒๐ และ ๒๙
๑๑. สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านใดบ้าง
= (๑) การเมือง (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(๔) การปกครองท้องถิ่น (๕) การศึกษา (๖) เศรษฐกิจ (๗) พลังงาน
(๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (๙) สื่อสารมวลชน (๑๐) สังคม (๑๑) อื่น ๆ
๑๒. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีที่มาอย่างไร
= สภาปฏิรูปแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน ๒๕๐ คน โดยมีที่มา ๒ ส่วน คือ
- ส่วนที่ ๑ สรรหาจากจังหวัด ๆ ละ ๑ คน รวม ๗๗ คน
- ส่วนที่ ๒ สรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ แต่เมื่อรวมกับส่วนที่ ๑ ต้องไม่เกิน ๒๕๐ คน
๑๓. สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่อย่างไร
= (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ เสนอต่อสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการ
จัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
(๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้น
๑๔. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนกี่คน
= ๓๖ คน
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๖
๑๕. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีที่มาอย่างไร
= (๑) ประธานกรรมาธิการ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ
(๒) กรรมาธิการผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอจํานวน ๒๐ คน
(๓) กรรมาธิการผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เสนอฝุายละ ๕ คน
๑๖. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
= ๑๒๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วเสนอต่อ
สภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณา
๑๗. ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
จะมีผลประการใด
= สมาชิกภาพคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ดําเนินการแต่งตั้ง
คณะกรรมาธิการยกย่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่สมาชิกภาพคณะ
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง
๑๘. ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้
ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป จะมีผลประการใด
= สมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการดําเนินการเพื่อแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญชุดใหม่เพื่อดําเนินการแทน (รธน.มิได้กําหนดกรอบระยะเวลาไว้)
๑๙. คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้หรือไม่
= ได้ เฉพาะในกรณีที่จําเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีมติ
ร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ได้ โดยจัดทําเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ
๒๐. เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้
บรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคําสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่
รัฐธรรมนูญใช้บังคับ ประกาศ หรือคําสั่งดังกล่าวจะมีผลอย่างไร
= ประกาศ หรือคําสั่ง ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้
ประกาศหรือคําสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๗
๒๑. บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
กระทําดังกล่าว มีผลทางกฎหมายอย่างไร
= การกระทําดังกล่าวแม้ว่าจะผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
๒๒. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗
= พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒๓. คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒
พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีสถานะใดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗
= ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลง
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป
๒๔. คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีจํานวนกี่คน
= ไม่เกิน ๑๕ คน
๒๕. คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีบทบาทหน้าที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมืองตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ อย่างไรบ้าง
= ๑. เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙
๒. ในกรณีที่เห็นสมควรอาจมีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับ
คณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ หรือเรื่องอื่น ๆ ตาม
มาตรา ๔๒ วรรคท้าย
๓. มีมติร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เพื่อให้ความเห็นชอบ ตามมาตรา ๔๖

1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๘
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๑. ก่อนที่จะมีการใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นกฎหมายหลัก
ในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้กฎหมายใดเป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน
= ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ใช้เป็นหลักในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน
พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุผลที่ต้องมีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็เพื่อกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน มิให้มีการปฏิบัติงานที่ซ้ําซ้อน เป็นต้น
๒. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับใด
= ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๓ (เป็นการแก้ไขฐานะขององค์กรอัยการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ)
๓. เหตุผลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ (ฉบับที่ ๗
พ.ศ. ๒๕๕๐) คืออะไร
= ๑. เพื่อปรับปรุงระบบบริหารราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการจัดองค์กร
ภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางการนําพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๒. เพื่อให้การปฏิบัติราชการสามารถอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓. เพื่อให้การบริหารราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
และให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดบรรลุผล
๔. หลักการในการบริหารราชการตาม มาตรา ๓/๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕
= ม.๓/๑ กําหนดให้การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปเพื่อ
๑. ประโยชน์สุขของประชาชน
๒. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
๓. ความมีประสิทธิภาค ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
๔. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
๕. การลดภารกิจและการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จําเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้
ท้องถิ่น การกระจายอํานาจตัดสินใจ
๖. การอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
๗. โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน (การประเมินผลการปฏิบัติราชการ)
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๙
๕. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย คือ
= ม.๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน เป็นราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น สําหรับกระทรวง ทบวง กรม
หรือจังหวัด อําเภอ และเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตําบล นั้นเป็นการจัดระเบียบบริหาร
แบบหนึ่งของการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เท่านั้น
๖. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ
= ม.๗ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหารราชการ
ส่วนกลาง ออกเป็น
๑. สํานักนายกรัฐมนตรี
๒. กระทรวง หรือทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
๓. ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
๔. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ฯลฯ
๗. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ กําหนดอํานาจหน้าที่ของจังหวัด
เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับเดิมอย่างไร
= ม.๗ และ ม.๑๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ กําหนดให้
จังหวัดสามารถเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสํานักงบประมาณได้ ซึ่งในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดินฉบับเดิม จังหวัดไม่สามารถกระทําได้ต้องให้กระทรวงเป็นผู้จัดตั้งงบประมาณต่อสํานักงบประมาณให้
๘. ส่วนราชการใด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
= ม.๗ วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้ส่วนราชการได้แก่
สํานักนายกรัฐมนตรี ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๙.โดยทั่วไปการจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม จะต้องตราเป็นกฎหมายใด
= ม.๘ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การจัดตั้งกระทรวง
ทบวง กรม ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนกรณีที่มีการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม
เข้าด้วยกันเป็นส่วนราชการเดียว หรือรวมหรือโอนเพื่อจัดตั้งเป็นส่วนราชการใหม่ โดยไม่มีการกําหนด
ตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นนั้น ม.๘ ทวิ กําหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๑๐. หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแล ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกามิให้มีการ
กําหนดตําแหน่งหรืออัตรากําลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกําหนดสามปี
= ม. ๘ ทวิ วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงบประมาณ
และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลส่วนราชการที่จัดตั้ง
ขึ้นใหม่ โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกานั้น มิให้มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตรากําลังของข้าราชการ
และลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกําหนด ๓ ปีนับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๐
๑๑. หากกรมการปกครอง จะเปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมความมั่นคงภายใน จะต้องตราเป็นกฎหมายใด
= ม.๘ ตรี แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การเปลี่ยนชื่อกระทรวง
ทบวง กรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๑๒. การแบ่งส่วนราชการภายในกรม จะต้องอาศัยกฎหมายข้อใด
= ม.๘ ฉ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การแบ่งส่วนราชการ
ภายในกรม จะต้องออกเป็นกฎกระทรวง
๑๓. หน่วยงานใดมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ในการแบ่งส่วนราชการภายในของกรมการปกครอง
= ม.๘ สัตต แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือนและสํานักงบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่ง
ส่วนราชการภายในของส่วนราชการระดับกรม
๑๔. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ตามข้อใด
= ม.๑๑ (๑) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้
ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง
แสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการได้ แต่จะสั่งให้ราชการส่วนท้องถิ่นชี้แจง
แสดงความคิดเห็นหรือรายงานการปฏิบัติราชการโดยตรงไม่ได้ สั่งได้เฉพาะส่วนราชการที่ควบคุม
ราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
๑๕. กรณีจําเป็นนายกรัฐมนตรีสามารถยับยั้งการปฏิบัติราชการของหน่วยงานใด ได้บ้าง หากหน่วยงานนั้น
ปฏิบัติราชการการขัดต่อนโยบายของรัฐบาล
= ม.๑๑ (๑) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถ
ยับยั้งได้ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น
๑๖. ระเบียบปฏิบัติราชการ ที่นายกรัฐมนตรีกําหนด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ จะมีผลใช้บังคับเมื่อใด
= ม.๑๑ (๙) วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้
นายกรัฐมนตรีมีอํานาจวางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไป
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้ แต่จะมีผลใช้บังคับเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
๑๗. บุคคลใด เป็นข้าราชการการเมือง
= ม.๑๓ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้เลขาธิการ
นายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝุายการเมืองเป็นข้าราชการการเมืองส่วน
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝุายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นข้าราชการ
พลเรือนสามัญ
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๑
๑๘. สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในเรื่องใด
= ม.๑๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์ ส่วนราชการ
การเมืองนั้นเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
๑๙. บุคคลใด เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
= ม.๑๔ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
๒๐. ในการจัดระเบียบราชการของกระทรวง ส่วนราชการใดอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
= ม.๑๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าหากบางกระทรวงเห็นว่า
ไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้ ดังนั้น กรณีนี้ในการจัดระเบียบราชการ
ของกระทรวง จึงอาจจะมีกรมหรือไม่มีก็ได้
๒๑. ส่วนราชการใดมีฐานะเป็นกรม
= ม.๑๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงานปลัดกระทรวง
มีฐานะเป็นกรม ส่วนสํานักงานรัฐมนตรีไม่ได้ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นกรม สําหรับสํานักนายกรัฐมนตรี
นั้น มีฐานะเป็นกระทรวง
๒๒. การกําหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไป อยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกัน สามารถกระทําได้
โดยอาศัยกฎหมายใด
= ม.๒๑ วรรคสี่ กําหนดให้กระทําโดยการออกเป็นกฎกระทรวง
๒๓. การปฏิบัติราชการของหัวหน้ากลุ่มภารกิจขึ้นตรงต่อบุคคลใด
= ม.๒๑ วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจ
ปฏิบัติราชการโดยขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีหรือขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงก็ได้ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
แต่กรณีที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีต้องรายงานผลการดําเนินงานต่อปลัดกระทรวงด้วย
๒๔. สํานักงานรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องใด
= ม.๒๒ กําหนดให้สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
๒๕. อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง คือ
= ม.๒๓ กําหนดให้สํานักงานปลัดกระทรวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกระทรวง และ
ราชการที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับเร่งรัดการปฏิบัติ
ราชการของส่วนราชการในกระทรวงด้วย
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๒
๒๖. ข้อใดเป็นการจัดระเบียบราชการในกรม
= ม.๓๑ กําหนดการจัดระเบียบราชการในกรมเป็น
๑. สํานักงานเลขานุการกรม
๒. กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
๒๗. ในการจัดระเบียบราชการในกรม โดยทั่วไปส่วนราชการใด จะต้องถูกกําหนดไว้เสมอ
= ม.๓๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การจัดระเบียบราชการ
ในกรมโดยทั่วไป จะต้องมีสํานักงานเลขานุการกรมเสมอส่วนกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
หากบางกรมเห็นว่าไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งเป็นกองก็ได้ ส่วนกรณีพิเศษ หากกรมใด
มีความจําเป็นจะแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างอื่นก็ได้
๒๘. อํานาจหน้าที่ของกรม คือ
= ม.๓๒ กําหนดให้กรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรมนั้น
๒๙. กรณีที่มีกฎหมายอื่นกําหนดอํานาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อํานาจและการปฏิบัติ
หน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวของอธิบดี จะต้องคํานึงถึงเรื่องใดบ้าง
= ม.๓๒ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้อธิบดีใช้อํานาจ
และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว โดยคํานึงถึงสิ่งที่กําหนดไว้ตามกฎหมาย
๓๐. การที่กระทรวง จะแบ่งท้องที่ออกเป็นเขต เพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจําเขต นั้นมีวัตถุประสงค์
ในการแบ่งอย่างไร
= ม.๓๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่ากระทรวง ทบวง กรมใด
มีเหตุพิเศษ จะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการก็ได้
๓๑. การที่กระทรวง ทบวง กรมใด จะกําหนดให้มีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต้องพิจารณา
จากสิ่งใด
= ม.๓๕ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่ากระทรวง ทบวง กรมใด
โดยสภาพและปริมาณของงานสมควรมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวงหรือกรมนั้นก็ให้กระทําได้
๓๒. การมอบอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนนั้น ห้ามมิให้มีการมอบอํานาจในกรณีใด
= ม.๓๘ กําหนดหลักการมอบอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนไว้ว่า ถ้ากฎหมาย กฎระเบียบ หรือ
มติของคณะรัฐมนตรี ในเรื่องนั้นมิได้กําหนดเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่อง
การมอบอํานาจไว้ ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นอาจมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน
หรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๓
๓๓. เมื่อมีการมอบอํานาจให้มีการปฏิบัติราชการแทนแล้วผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่อย่างไร
= ม.๓๙ กําหนดหลักการเกี่ยวกับ การมอบอํานาจไว้ว่าเมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว ผู้รับมอบมีหน้าที่ต้อง
รับมอบอํานาจนั้น จะปฏิเสธไม่ได้
๓๔. การมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนนั้น จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใดประกอบด้วย
= ม.๔๐ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการมอบอํานาจไว้ว่า ให้พิจารณาถึง การอํานวยความสะดวกแก่
ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการและการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตําแหน่ง
ของผู้รับมอบอํานาจ
๓๕. กรณีที่กระทรวงมหาดไทย ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
หากปลัดกระทรวงมหาดไทยต้องการที่จะให้มีผู้รักษาราชการแทนตน จะต้องทําอย่างไร
= ม.๔๔ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่ไม่มี
ผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ปลัดกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการ
ในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการกอง หรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
๓๖. การรักษาราชการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ไม่ใช้บังคับแก่
ส่วนราชการใด
= ม.๕๐ กําหนดเรื่องการรักษาราชการแทนว่า มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร
๓๗. “หัวหน้าคณะผู้แทน” ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ โดยทั่วไปเป็นข้าราชการสังกัดส่วนราชการใด
= ม.๕๐/๑ วรรคสอง กําหนดให้ “หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายถึง ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล
ยกเว้นกรณี ของคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศให้หมายความถึง ข้าราชการสังกัด
ส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งหัวหน้า คณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ
ดังนั้น กรณีนี้หัวหน้าคณะผู้แทน โดยทั่วไปจึงเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
๓๘. การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด มีหลักการอย่างไร
= ม.๕๓/๑ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดไว้ว่าต้องสอดคล้องกับแนวทาง
การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมระดับชาติและความต้องการของประชาชน ในท้องถิ่นในจังหวัด
๓๙. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด มีหน้าที่อย่างไร
= ม.๕๕/๑ กําหนดให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด มีหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะ การปฏิบัติ
ภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการ
ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓/๑
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๔
๔๐. บุคคลใดเป็นคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
= ม.๕๕/๑ กําหนดให้ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอํานาจในจังหวัด, ผู้แทนภาคประชาสังคม,
ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นคณะกรรมการ
ธรรมาภิบาลจังหวัด
๔๑. กรณีที่กระทรวงมหาดไทย จะมอบอํานาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้หัวหน้าคณะผู้แทนในการบริหารราชการ
ในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๕ จะต้องทําอย่างไร
= ๕๐/๖ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม
จะมอบอํานาจหรือมีคําสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทนให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
๔๒. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ คือ
= ม.๕๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหารราชการ
ส่วนภูมิภาคออกเป็น จังหวัดและอําเภอ สําหรับ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้านเป็นการจัดตาม พ.ร.บ.
ลักษณะปกครองที่ มิใช่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
๔๓. จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร หากต้องการจะแบ่งเขตพื้นที่ ของบางอําเภอจํานวน
๑,๐๐๐ ตารางเมตร ให้เป็นของจังหวัดสุรินทร์ จะต้องทําอย่างไร
= ม.๕๒ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าการตั้งยุบและเปลี่ยนแปลง
เขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเขตของจังหวัดต้องตราเป็น
พระราชบัญญัติ
๔๔. ในการบริหารราชการแผ่นดินของจังหวัด ใครมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
= ม.๕๓ กําหนดให้คณะกรมการจังหวัดทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
๔๕. หัวหน้าสํานักงานจังหวัด เป็นอะไรในคณะกรมการจังหวัด
= ม.๕๓ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้หัวหน้า
สํานักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเป็นเลขานุการด้วย
๔๖. กรณีที่กระทรวงใดมีหัวหน้าที่ส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ในกระทรวงนั้นส่งมาประจํา
อยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ใครเป็นผู้มีอํานาจกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการคนหนึ่งเป็นผู้แทน
ของกระทรวงในคณะกรมการจังหวัด
= ม.๕๓ วรรคสาม กําหนดกรณีที่กระทรวงใดมีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ใน
กระทรวงนั้นส่งมาประจําในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจกําหนดว่าหัวหน้า
ส่วนราชการคนใดจะเป็นผู้แทนของกระทรวงในคณะกรมการจังหวัด
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๕
๔๗. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หากมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ ๒ คน ใครเป็นผู้มี
อํานาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด
= ม.๕๖ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน
แต่ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
๔๘. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอโครงการของบประมาณต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนํามาพัฒนา
จังหวัดนั้น เมื่อเสนอโครงการของบประมาณแล้วจะต้องทําอย่างไรต่อไป
= ม.๕๗ (๖) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐) กําหนดกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนองบประมาณ
ต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัดว่าให้รายงานกระทรวงมหาดไทยทราบ
๔๙. กรณีที่ส่วนราชการใด ต้องการให้ข้าราชการในสังกัดมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทําอย่างไร
= ม.๕๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าการยกเว้น จํากัด หรือ
ตัดทอน อํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอํานาจหน้าที่
ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด จะกระทําได้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ
๕๐. การแบ่งส่วนราชการของจังหวัดแบ่งได้อย่างไร
= ม.๖๐ กําหนดการแบ่งส่วนราชการของจังหวัด ประกอบด้วย
(๑) สํานักงานจังหวัด
(๒) ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ
๕๑. หน่วยราชการบริหารที่รองจากจังหวัดเรียกว่าอะไร
= ม.๖๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้อําเภอเป็นหน่วยราชการ
บริหารรองจากจังหวัด
๕๒. การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชน ตามอํานาจหน้าที่ของอําเภอมีหลักการอย่างไร
= ม.๖๑/๒ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทของประชาชนว่า คู่กรณี
ฝุายใดฝุายหนึ่ง ต้องมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอําเภอ จึงจะสามารถทําการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทได้
๕๓. ใครเป็นผู้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
= ม.๖๑/๒ วรรคสอง กําหนดให้นายอําเภอเป็นผู้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นคณะบุคคล
ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทแต่บัญชีรายชื่อที่นายอําเภอเป็นผู้จัดทํานี้จะสามารถ
ทําหน้าที่ได้ต่อเมื่อคณะกรมการจังหวัดได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๖
๕๔. คณะบุคคล ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท สามารถทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ในเรื่องใด
= ม.๖๑/๒ กําหนดข้อพิพาทที่ คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท สามารถทําการ
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่กําหนดไว้ดังนี้
๑. ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
๒. ข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดก
๓. ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
๔. ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
๕๕. กรณีที่คู่พิพาทสามารถตกลงกันได้ คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
จะต้องทําอย่างไร
= ม.๖๑/๒ กําหนดไว้ว่าเมื่อคู่พิพาททั้งสองฝุาย สามารถตกลงกันได้ก็ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย
และประนอมข้อพิพาทจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท โดยให้ถือเอา
ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน คู่พิพาททั้งสองฝุาย แต่ถ้าคู่พิพาทไม่สามารถ
ตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจําหน่ายข้อพิพาทนั้น
๕๖. อําเภอ ก. ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอเนื่องจากนายอําเภอคนเดิมย้ายไปดํารงตําแหน่งที่อําเภอ ข.
กรณีเช่นนี้หากต้องการที่จะให้มีการแต่งผู้รักษาราชการแทนนายอําเภอจะต้องทําอย่างไร
= ม.๖๔ กําหนดกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง นายอําเภอ ว่าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอําเภอหรือ
หัวหน้าส่วนราชการผู้อาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอําเภอ
๕๗. การแบ่งส่วนราชการของอําเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งได้อย่างไร
= ม.๖๖ กําหนดการแบ่งส่วนราชการของอําเภอเป็น
(๑) สํานักงานอําเภอ
(๒) ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอําเภอนั้น
๕๘. บุคคลใดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการสํานักงานอําเภอ
= ม.๖๖ (๑) กําหนดให้นายอําเภอ เป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชาข้าราชการสํานักงานอําเภอ
๕๙. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งเป็นส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีมีการปฏิบัติ
ราชการขึ้นตรงต่อใคร
= ม.๗๑/๙ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
๖๐. ก.พ.ร. มีใครเป็นประธาน
= ม.๗๑/๑ กําหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๗
๖๑. ก.พ.ร. มีจํานวนเท่าใด
= ม.๗๑/๑ กําหนดให้ ก.พ.ร. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เป็นประธาน รัฐมนตรีคนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีกําหนดเป็นรองประธานและผู้ซึ่งคณะกรรมการการกระจาย
อํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๑๐ คน
๖๒. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด
= ม.๗๑/๑ กําหนดให้กรรมการผู้ทรงวุฒิใน ก.พ.ร. ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนิติศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการบริหารรัฐกิจ
๖๓. กรณีที่จะเป็นคณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. จํานวนเท่าใดที่ต้องทํางานเต็มเวลา
= ม.๗๑/๑ วรรคสอง กําหนดว่ากรณีจําเป็นคณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่น้อยกว่า ๓ คนแต่ไม่เกิน ๕ คนต้องทํางานเต็มเวลาก็ได้
๖๔. กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. หย่อนความสามารถ ใครเป็นผู้มีอํานาจให้กรรมการดังกล่าว
พ้นจากตําแหน่ง
= ม.๗๑/๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้มีอํานาจให้ออก หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
๖๕. หน่วยงานใดมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔
= ม.๗๑/๑๐ (๘) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การตีความและ
วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เป็นอํานาจของ ก.พ.ร.

1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๘
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
= ม.๒ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้พระราชบัญญัตินี้
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อพระราชบัญญัตินี้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๒ ก ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงมีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันถัดไป
๒. บุคคลใดเป็นข้าราชการพลเรือน
= ม.๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดคํานิยามของข้าราชการ
ฝุายพลเรือนไว้ว่า หมายถึง ข้าราชการพลเรือนและข้าราชการอื่น ในกระทรวงกรมฝุายพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากคํานิยามดังกล่าว
ทั้งปลัดอําเภอและข้าราชการครูต่างก็เป็นข้าราชการฝุายพลเรือนสําหรับปลัดเทศบาลนั้น
ไม่ได้มีฐานะเป็นข้าราชการแต่มีฐานะเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น
๓. บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
= ม.๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้นายกรัฐมนตรี
เป็นผู้รักษาการ
๔. ก.พ. เป็นคําเรียกโดยย่อของคณะกรรมการใด
= ก.พ. เป็นคําย่อของ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตาม ม.๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
๕. บุคคลใดเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนโดยตําแหน่ง
= ม.๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ปลัดกระทรวงการคลัง
ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
๖. กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะต้องเป็นผู้ทรงวุฒิจากด้านใด
= ม.๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้กรรมการซึ่งแต่งตั้ง
จากผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องมาจากด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการบริหาร
และการจัดการเท่านั้น สําหรับด้านรัฐศาสตร์ไม่มี
๗. กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น มีวาระการดํารงตําแหน่ง
คราวละกี่ปี
= ม.๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้กรรมการในคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ ๓ ปี
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๙
๘. สํานักงาน ก.พ.ขึ้นตรงต่อใคร
= ม.๑๓ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้สํานักงาน ก.พ.
ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
๙. คณะอนุกรรมการสามัญ (อ.ก.พ.) โดยทั่วไปมีกี่ระดับ
= ตาม ม.๑๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนดให้มี คณะอนุกรรมการ
สามัญ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ.สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ
มี ๔ ประเภท คือ ๑. อ.ก.พ.กระทรวง ๒. อ.ก.พ.กรม ๓. อ.ก.พ.จังหวัด ๔. อ.ก.พ.ประจําส่วนราชการ
อื่นนอกจากส่วนราชการตาม ข้อ ๑ ถึง ๓
๑๐. อ.ก.พ.กระทรวง หากรวมประธานและเลขานุการแล้ว จะมีจํานวนเท่าใด
= ม.๑๕ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนด อ.ก.พ.กระทรวง
ประกอบด้วย ๑. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน ๒. ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน ๓. ผู้แทน ก.พ.
๑ คน ๔. ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกิน ๓ คน ๕. ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ในกระทรวง จํานวนไม่เกิน ๕ คน ๖. เลขานุการ จํานวน ๑ คน เมื่อพิจารณาจํานวนอนุกรรมการ
ประเภทต่าง ๆ แล้ว อ.ก.พ.กระทรวงจะมีจํานวนอย่างน้อย ๖ คน อย่างมาก ๑๒ คน
๑๑. อนุกรรมการใน อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น ใครเป็นผู้แต่งตั้ง
= ม.๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ประธาน อ.ก.พ.กระทรวง
ซึ่งก็คือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนั่นเองเป็นผู้แต่งตั้ง
๑๒. อ.ก.พ.กรม มีใครเป็นประธาน
= ม.๑๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้อธิบดีเป็นประธาน
อ.ก.พ.กรม
๑๓. โดยทั่วไปแล้ว อ.ก.พ.กรม เมื่อรวมประธานกับเลขานุการแล้ว จะมี่จํานวนเท่าใด
= ม.๑๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ อ.ก.พ.กรม
ประกอบด้วย ๑. อธิบดีเป็นประธาน ๒. รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย เป็นรองประธาน
๓. ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกิน ๓ คน ๔. ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือ
ประเภทอํานวยการในกรม จํานวนไม่เกิน ๖ คน ๕. เลขานุการ จํานวน ๑ คน ดังนั้น อ.ก.พ.กรม
จึงมีอย่างน้อย ๕ คน อย่างมาก ๑๒ คน
๑๔. ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.พ.กรม มีคุณสมบัติอย่างไร
= ๑. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย
ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว
๒. มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น
1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๒๐
๑๕. อ.ก.พ.จังหวัด มีใครเป็นประธาน
= ม.๑๙ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นประธาน อ.ก.พ.จังหวัด
๑๖. ความเหมือนกันของ อ.ก.พ.กระทรวง, อ.ก.พ.กรม และ อ.ก.พ.จังหวัด คือ
= ม.๑๕ (๑) ม.๑๗ (๑) และ ม.๑๙ (๑) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
กําหนดจํานวนอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.พ.กระทรวง, อ.ก.พ.กรม และ อ.ก.พ.จังหวัด
มี ๓ คนเหมือนกัน ส่วนอนุกรรมการโดยตําแหน่ง หรืออนุกรรมการที่ได้รับเลือกจากข้าราชการ
มีจํานวนไม่เท่ากัน
๑๗. “ก.พ.ค.” ย่อมาจากคําใด
= ตาม ม.๒๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ “ก.พ.ค.”
เป็นคําย่อของ “คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม”
๑๘. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีที่มาอย่างไร
= ม.๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้มีคณะกรรมการคัดเลือก
กรรมการ ก.พ.ค. เพื่อทําหน้าที่คัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว มีประธานศาล
ปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาซึ่งได้รับมอบหมาย จากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน และ
กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ ทั้งนี้โดยให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
๑๙. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีจํานวนเท่าใด
= ม.๒๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ
ทําหน้าที่คัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. จํานวน ๗ คน
๒๐. นายสมพร ได้ขับรถชนคนตายโดยประมาท ซึ่งศาลได้ตัดสินให้จําคุกฐานขับรถชนคนตายโดยประมาท
เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมาเมื่อนายสมพรได้พ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา ๖ เดือนได้มีการเปิดสอบปลัดอําเภอ
โดยที่นายสมพร ได้สมัครสอบด้วยซึ่งผลการสอบปรากฏว่า นายสมพรสอบได้จากกรณีดังกล่าว ขอถามว่า
นายสมพร จะสามารถเข้ารับราชการเป็นปลัดอําเภอได้หรือไม่ อย่างไร
= ม.๓๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดลักษณะต้องห้าม
ของข้าราชการพลเรือนไว้ว่า จะต้องไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุก โดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
เพราะกระทําผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ดังนั้น ความผิดของนายสมพรจึงไม่เข้าลักษณะต้องห้ามในการเป็นข้าราชการพลเรือน เพราะกฎหมาย
ยกเว้นให้สําหรับผู้ที่ได้รับโทษจําคุก สําหรับความผิดที่กระทําโดยประมาท และกรณีนี้ก็ไม่จําเป็นที่
จะต้องให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นให้แต่อย่างใด
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ

Contenu connexe

Tendances (8)

Payment settlement act
Payment settlement actPayment settlement act
Payment settlement act
 
Collecting and paying banker
Collecting and paying bankerCollecting and paying banker
Collecting and paying banker
 
Sec 56 others ources
Sec 56 others ources Sec 56 others ources
Sec 56 others ources
 
1.สรุป พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551
1.สรุป พรบ.ข้าราชการพลเรือน 25511.สรุป พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551
1.สรุป พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551
 
Meaning demat
Meaning  dematMeaning  demat
Meaning demat
 
Current account
Current accountCurrent account
Current account
 
Mini Project- Shopping Cart Development
Mini Project- Shopping Cart DevelopmentMini Project- Shopping Cart Development
Mini Project- Shopping Cart Development
 
อธิบายภาษีป้าย
อธิบายภาษีป้ายอธิบายภาษีป้าย
อธิบายภาษีป้าย
 

En vedette

แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-ม
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-มรวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-ม
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-มTophit Sampootong
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksSlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 

En vedette (8)

แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
 
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง
 
หนังสือยินยอมเป็นผู้จัดการมรดก
หนังสือยินยอมเป็นผู้จัดการมรดกหนังสือยินยอมเป็นผู้จัดการมรดก
หนังสือยินยอมเป็นผู้จัดการมรดก
 
กฎหมายที่ใช้เรียนเนติฯ
กฎหมายที่ใช้เรียนเนติฯกฎหมายที่ใช้เรียนเนติฯ
กฎหมายที่ใช้เรียนเนติฯ
 
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
 
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-ม
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-มรวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-ม
รวมข้อสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 13-ม
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 

Similaire à 1000 ถามตอบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557โทษฐาน ที่รู้จักกัน
 
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth kumthavee
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth  kumthaveeแนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth  kumthavee
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth kumthaveeนายจักราวุธ คำทวี
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560Atiwit Siengkiw
 
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPการเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPUtai Sukviwatsirikul
 

Similaire à 1000 ถามตอบ (8)

แนวข้อสอบส่วนราชการต่างๆ
แนวข้อสอบส่วนราชการต่างๆแนวข้อสอบส่วนราชการต่างๆ
แนวข้อสอบส่วนราชการต่างๆ
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว 2557
 
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth kumthavee
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth  kumthaveeแนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth  kumthavee
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พลเรือน ๒๕๕๑ Jukravuth kumthavee
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที...
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
 
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPPการเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
การเตรียมตัวของร้านยาเพื่อรองรับกฎกระทรวง GPP
 

1000 ถามตอบ

  • 1. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๔ ๑. หมวดการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้เมื่อใด = วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีกี่หมวด กี่มาตรา = ๙ หมวด ๔๘ มาตรา ๓. บทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ยังคงมีผลบังคับใช้ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ = บทบัญญัติของหมวดที่ ๒ พระมหากษัตริย์ ๔. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ คณะรักษา ความสงบแห่งชาติกําหนดแนวทางการปัญหาเพื่อนําประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างไร = แบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ระยะแรก ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยอาศัยอํานาจคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ระยะที่สอง ได้แก่ จัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภาปฏิรูปแห่งชาติ และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระยะที่สาม ได้แก่ กําหนดให้มีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลตามปกติต่อไป ๕. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนเท่าใด มีที่มาของการดํารงตําแหน่งอย่างไร = สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา ๖. การตราพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีที่มาอย่างไร = ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง เว้นแต่ร่าง พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
  • 2. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๕ ๗. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือรัฐมนตรี ในคราวเดียวกันได้หรือไม่ = ไม่ได้ ๘. ผู้ใดเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ในการแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง = ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๙. คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีที่มาอย่างไร = พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรี อื่นอีกจํานวนไม่เกิน ๓๕ คนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี ๑๐. ข้าราชการประจําสามารถดํารงตําแหน่ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภา ปฏิรูปแห่งชาติได้หรือไม่ = ได้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๘, ๒๐ และ ๒๙ ๑๑. สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านใดบ้าง = (๑) การเมือง (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (๔) การปกครองท้องถิ่น (๕) การศึกษา (๖) เศรษฐกิจ (๗) พลังงาน (๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (๙) สื่อสารมวลชน (๑๐) สังคม (๑๑) อื่น ๆ ๑๒. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีที่มาอย่างไร = สภาปฏิรูปแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน ๒๕๐ คน โดยมีที่มา ๒ ส่วน คือ - ส่วนที่ ๑ สรรหาจากจังหวัด ๆ ละ ๑ คน รวม ๗๗ คน - ส่วนที่ ๒ สรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ แต่เมื่อรวมกับส่วนที่ ๑ ต้องไม่เกิน ๒๕๐ คน ๑๓. สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่อย่างไร = (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ เสนอต่อสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการ จัดทําร่างรัฐธรรมนูญ (๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้น ๑๔. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนกี่คน = ๓๖ คน
  • 3. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๖ ๑๕. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีที่มาอย่างไร = (๑) ประธานกรรมาธิการ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ (๒) กรรมาธิการผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอจํานวน ๒๐ คน (๓) กรรมาธิการผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เสนอฝุายละ ๕ คน ๑๖. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน = ๑๒๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วเสนอต่อ สภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณา ๑๗. ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด จะมีผลประการใด = สมาชิกภาพคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ดําเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการยกย่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่สมาชิกภาพคณะ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง ๑๘. ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้ ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป จะมีผลประการใด = สมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการดําเนินการเพื่อแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญชุดใหม่เพื่อดําเนินการแทน (รธน.มิได้กําหนดกรอบระยะเวลาไว้) ๑๙. คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้หรือไม่ = ได้ เฉพาะในกรณีที่จําเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีมติ ร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ได้ โดยจัดทําเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภา นิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ ๒๐. เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้ บรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคําสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ รัฐธรรมนูญใช้บังคับ ประกาศ หรือคําสั่งดังกล่าวจะมีผลอย่างไร = ประกาศ หรือคําสั่ง ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ ประกาศหรือคําสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
  • 4. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๗ ๒๑. บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ กระทําดังกล่าว มีผลทางกฎหมายอย่างไร = การกระทําดังกล่าวแม้ว่าจะผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ๒๒. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ = พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ๒๓. คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีสถานะใดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ = ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลง วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป ๒๔. คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีจํานวนกี่คน = ไม่เกิน ๑๕ คน ๒๕. คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีบทบาทหน้าที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมืองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ อย่างไรบ้าง = ๑. เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ๒. ในกรณีที่เห็นสมควรอาจมีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับ คณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ หรือเรื่องอื่น ๆ ตาม มาตรา ๔๒ วรรคท้าย ๓. มีมติร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบ ตามมาตรา ๔๖ 
  • 5. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๘ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๑. ก่อนที่จะมีการใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นกฎหมายหลัก ในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้กฎหมายใดเป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน = ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ใช้เป็นหลักในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุผลที่ต้องมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็เพื่อกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของ ส่วนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน มิให้มีการปฏิบัติงานที่ซ้ําซ้อน เป็นต้น ๒. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับใด = ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๓ (เป็นการแก้ไขฐานะขององค์กรอัยการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ) ๓. เหตุผลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ (ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๐) คืออะไร = ๑. เพื่อปรับปรุงระบบบริหารราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการจัดองค์กร ภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางการนําพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ๒. เพื่อให้การปฏิบัติราชการสามารถอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ๓. เพื่อให้การบริหารราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดบรรลุผล ๔. หลักการในการบริหารราชการตาม มาตรา ๓/๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ = ม.๓/๑ กําหนดให้การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปเพื่อ ๑. ประโยชน์สุขของประชาชน ๒. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ๓. ความมีประสิทธิภาค ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ๔. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ๕. การลดภารกิจและการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จําเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้ ท้องถิ่น การกระจายอํานาจตัดสินใจ ๖. การอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ๗. โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน (การประเมินผลการปฏิบัติราชการ)
  • 6. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๙ ๕. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย คือ = ม.๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน เป็นราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น สําหรับกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด อําเภอ และเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตําบล นั้นเป็นการจัดระเบียบบริหาร แบบหนึ่งของการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เท่านั้น ๖. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ = ม.๗ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนกลาง ออกเป็น ๑. สํานักนายกรัฐมนตรี ๒. กระทรวง หรือทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ๓. ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ๔. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ฯลฯ ๗. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ กําหนดอํานาจหน้าที่ของจังหวัด เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับเดิมอย่างไร = ม.๗ และ ม.๑๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ กําหนดให้ จังหวัดสามารถเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสํานักงบประมาณได้ ซึ่งในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินฉบับเดิม จังหวัดไม่สามารถกระทําได้ต้องให้กระทรวงเป็นผู้จัดตั้งงบประมาณต่อสํานักงบประมาณให้ ๘. ส่วนราชการใด มีฐานะเป็นนิติบุคคล = ม.๗ วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้ส่วนราชการได้แก่ สํานักนายกรัฐมนตรี ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ๙.โดยทั่วไปการจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม จะต้องตราเป็นกฎหมายใด = ม.๘ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนกรณีที่มีการรวมหรือโอนกระทรวง ทบวง กรม เข้าด้วยกันเป็นส่วนราชการเดียว หรือรวมหรือโอนเพื่อจัดตั้งเป็นส่วนราชการใหม่ โดยไม่มีการกําหนด ตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นนั้น ม.๘ ทวิ กําหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ๑๐. หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแล ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกามิให้มีการ กําหนดตําแหน่งหรืออัตรากําลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกําหนดสามปี = ม. ๘ ทวิ วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงบประมาณ และสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลส่วนราชการที่จัดตั้ง ขึ้นใหม่ โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกานั้น มิให้มีการกําหนดตําแหน่งหรืออัตรากําลังของข้าราชการ และลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกําหนด ๓ ปีนับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
  • 7. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๐ ๑๑. หากกรมการปกครอง จะเปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมความมั่นคงภายใน จะต้องตราเป็นกฎหมายใด = ม.๘ ตรี แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การเปลี่ยนชื่อกระทรวง ทบวง กรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ๑๒. การแบ่งส่วนราชการภายในกรม จะต้องอาศัยกฎหมายข้อใด = ม.๘ ฉ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การแบ่งส่วนราชการ ภายในกรม จะต้องออกเป็นกฎกระทรวง ๑๓. หน่วยงานใดมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ในการแบ่งส่วนราชการภายในของกรมการปกครอง = ม.๘ สัตต แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนและสํานักงบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่ง ส่วนราชการภายในของส่วนราชการระดับกรม ๑๔. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ตามข้อใด = ม.๑๑ (๑) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการได้ แต่จะสั่งให้ราชการส่วนท้องถิ่นชี้แจง แสดงความคิดเห็นหรือรายงานการปฏิบัติราชการโดยตรงไม่ได้ สั่งได้เฉพาะส่วนราชการที่ควบคุม ราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ๑๕. กรณีจําเป็นนายกรัฐมนตรีสามารถยับยั้งการปฏิบัติราชการของหน่วยงานใด ได้บ้าง หากหน่วยงานนั้น ปฏิบัติราชการการขัดต่อนโยบายของรัฐบาล = ม.๑๑ (๑) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถ ยับยั้งได้ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ๑๖. ระเบียบปฏิบัติราชการ ที่นายกรัฐมนตรีกําหนด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จะมีผลใช้บังคับเมื่อใด = ม.๑๑ (๙) วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้ นายกรัฐมนตรีมีอํานาจวางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไป อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้ แต่จะมีผลใช้บังคับเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ๑๗. บุคคลใด เป็นข้าราชการการเมือง = ม.๑๓ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้เลขาธิการ นายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝุายการเมืองเป็นข้าราชการการเมืองส่วน รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝุายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ
  • 8. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๑ ๑๘. สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในเรื่องใด = ม.๑๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์ ส่วนราชการ การเมืองนั้นเป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๑๙. บุคคลใด เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ = ม.๑๔ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ๒๐. ในการจัดระเบียบราชการของกระทรวง ส่วนราชการใดอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ = ม.๑๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าหากบางกระทรวงเห็นว่า ไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้ ดังนั้น กรณีนี้ในการจัดระเบียบราชการ ของกระทรวง จึงอาจจะมีกรมหรือไม่มีก็ได้ ๒๑. ส่วนราชการใดมีฐานะเป็นกรม = ม.๑๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้สํานักงานปลัดกระทรวง มีฐานะเป็นกรม ส่วนสํานักงานรัฐมนตรีไม่ได้ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นกรม สําหรับสํานักนายกรัฐมนตรี นั้น มีฐานะเป็นกระทรวง ๒๒. การกําหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไป อยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกัน สามารถกระทําได้ โดยอาศัยกฎหมายใด = ม.๒๑ วรรคสี่ กําหนดให้กระทําโดยการออกเป็นกฎกระทรวง ๒๓. การปฏิบัติราชการของหัวหน้ากลุ่มภารกิจขึ้นตรงต่อบุคคลใด = ม.๒๑ วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ปฏิบัติราชการโดยขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีหรือขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงก็ได้ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง แต่กรณีที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีต้องรายงานผลการดําเนินงานต่อปลัดกระทรวงด้วย ๒๔. สํานักงานรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องใด = ม.๒๒ กําหนดให้สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง ๒๕. อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวง คือ = ม.๒๓ กําหนดให้สํานักงานปลัดกระทรวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกระทรวง และ ราชการที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับเร่งรัดการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการในกระทรวงด้วย
  • 9. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๒ ๒๖. ข้อใดเป็นการจัดระเบียบราชการในกรม = ม.๓๑ กําหนดการจัดระเบียบราชการในกรมเป็น ๑. สํานักงานเลขานุการกรม ๒. กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง ๒๗. ในการจัดระเบียบราชการในกรม โดยทั่วไปส่วนราชการใด จะต้องถูกกําหนดไว้เสมอ = ม.๓๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การจัดระเบียบราชการ ในกรมโดยทั่วไป จะต้องมีสํานักงานเลขานุการกรมเสมอส่วนกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง หากบางกรมเห็นว่าไม่มีความจําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งเป็นกองก็ได้ ส่วนกรณีพิเศษ หากกรมใด มีความจําเป็นจะแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างอื่นก็ได้ ๒๘. อํานาจหน้าที่ของกรม คือ = ม.๓๒ กําหนดให้กรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กําหนดในกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรมนั้น ๒๙. กรณีที่มีกฎหมายอื่นกําหนดอํานาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อํานาจและการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวของอธิบดี จะต้องคํานึงถึงเรื่องใดบ้าง = ม.๓๒ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้อธิบดีใช้อํานาจ และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว โดยคํานึงถึงสิ่งที่กําหนดไว้ตามกฎหมาย ๓๐. การที่กระทรวง จะแบ่งท้องที่ออกเป็นเขต เพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจําเขต นั้นมีวัตถุประสงค์ ในการแบ่งอย่างไร = ม.๓๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่ากระทรวง ทบวง กรมใด มีเหตุพิเศษ จะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการก็ได้ ๓๑. การที่กระทรวง ทบวง กรมใด จะกําหนดให้มีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต้องพิจารณา จากสิ่งใด = ม.๓๕ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่ากระทรวง ทบวง กรมใด โดยสภาพและปริมาณของงานสมควรมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวงหรือกรมนั้นก็ให้กระทําได้ ๓๒. การมอบอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนนั้น ห้ามมิให้มีการมอบอํานาจในกรณีใด = ม.๓๘ กําหนดหลักการมอบอํานาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนไว้ว่า ถ้ากฎหมาย กฎระเบียบ หรือ มติของคณะรัฐมนตรี ในเรื่องนั้นมิได้กําหนดเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่อง การมอบอํานาจไว้ ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นอาจมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้
  • 10. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๓ ๓๓. เมื่อมีการมอบอํานาจให้มีการปฏิบัติราชการแทนแล้วผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่อย่างไร = ม.๓๙ กําหนดหลักการเกี่ยวกับ การมอบอํานาจไว้ว่าเมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว ผู้รับมอบมีหน้าที่ต้อง รับมอบอํานาจนั้น จะปฏิเสธไม่ได้ ๓๔. การมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนนั้น จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใดประกอบด้วย = ม.๔๐ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการมอบอํานาจไว้ว่า ให้พิจารณาถึง การอํานวยความสะดวกแก่ ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการและการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตําแหน่ง ของผู้รับมอบอํานาจ ๓๕. กรณีที่กระทรวงมหาดไทย ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หากปลัดกระทรวงมหาดไทยต้องการที่จะให้มีผู้รักษาราชการแทนตน จะต้องทําอย่างไร = ม.๔๔ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่ไม่มี ผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ปลัดกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการ ในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการกอง หรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้ ๓๖. การรักษาราชการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ไม่ใช้บังคับแก่ ส่วนราชการใด = ม.๕๐ กําหนดเรื่องการรักษาราชการแทนว่า มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร ๓๗. “หัวหน้าคณะผู้แทน” ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ โดยทั่วไปเป็นข้าราชการสังกัดส่วนราชการใด = ม.๕๐/๑ วรรคสอง กําหนดให้ “หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายถึง ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ยกเว้นกรณี ของคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศให้หมายความถึง ข้าราชการสังกัด ส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งหัวหน้า คณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศ ดังนั้น กรณีนี้หัวหน้าคณะผู้แทน โดยทั่วไปจึงเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ๓๘. การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด มีหลักการอย่างไร = ม.๕๓/๑ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดไว้ว่าต้องสอดคล้องกับแนวทาง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมระดับชาติและความต้องการของประชาชน ในท้องถิ่นในจังหวัด ๓๙. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด มีหน้าที่อย่างไร = ม.๕๕/๑ กําหนดให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด มีหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะ การปฏิบัติ ภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการ ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓/๑
  • 11. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๔ ๔๐. บุคคลใดเป็นคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด = ม.๕๕/๑ กําหนดให้ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอํานาจในจังหวัด, ผู้แทนภาคประชาสังคม, ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นคณะกรรมการ ธรรมาภิบาลจังหวัด ๔๑. กรณีที่กระทรวงมหาดไทย จะมอบอํานาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้หัวหน้าคณะผู้แทนในการบริหารราชการ ในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จะต้องทําอย่างไร = ๕๐/๖ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอํานาจหรือมีคําสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทนให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ๔๒. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ คือ = ม.๕๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคออกเป็น จังหวัดและอําเภอ สําหรับ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้านเป็นการจัดตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองที่ มิใช่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ๔๓. จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร หากต้องการจะแบ่งเขตพื้นที่ ของบางอําเภอจํานวน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ให้เป็นของจังหวัดสุรินทร์ จะต้องทําอย่างไร = ม.๕๒ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าการตั้งยุบและเปลี่ยนแปลง เขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเขตของจังหวัดต้องตราเป็น พระราชบัญญัติ ๔๔. ในการบริหารราชการแผ่นดินของจังหวัด ใครมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด = ม.๕๓ กําหนดให้คณะกรมการจังหวัดทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ๔๕. หัวหน้าสํานักงานจังหวัด เป็นอะไรในคณะกรมการจังหวัด = ม.๕๓ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้หัวหน้า สํานักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเป็นเลขานุการด้วย ๔๖. กรณีที่กระทรวงใดมีหัวหน้าที่ส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ในกระทรวงนั้นส่งมาประจํา อยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ใครเป็นผู้มีอํานาจกําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการคนหนึ่งเป็นผู้แทน ของกระทรวงในคณะกรมการจังหวัด = ม.๕๓ วรรคสาม กําหนดกรณีที่กระทรวงใดมีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ใน กระทรวงนั้นส่งมาประจําในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจกําหนดว่าหัวหน้า ส่วนราชการคนใดจะเป็นผู้แทนของกระทรวงในคณะกรมการจังหวัด
  • 12. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๕ ๔๗. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หากมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ ๒ คน ใครเป็นผู้มี อํานาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด = ม.๕๖ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน ๔๘. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอโครงการของบประมาณต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนํามาพัฒนา จังหวัดนั้น เมื่อเสนอโครงการของบประมาณแล้วจะต้องทําอย่างไรต่อไป = ม.๕๗ (๖) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐) กําหนดกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนองบประมาณ ต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัดว่าให้รายงานกระทรวงมหาดไทยทราบ ๔๙. กรณีที่ส่วนราชการใด ต้องการให้ข้าราชการในสังกัดมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทําอย่างไร = ม.๕๘ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดว่าการยกเว้น จํากัด หรือ ตัดทอน อํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอํานาจหน้าที่ ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด จะกระทําได้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ ๕๐. การแบ่งส่วนราชการของจังหวัดแบ่งได้อย่างไร = ม.๖๐ กําหนดการแบ่งส่วนราชการของจังหวัด ประกอบด้วย (๑) สํานักงานจังหวัด (๒) ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ ๕๑. หน่วยราชการบริหารที่รองจากจังหวัดเรียกว่าอะไร = ม.๖๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้อําเภอเป็นหน่วยราชการ บริหารรองจากจังหวัด ๕๒. การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชน ตามอํานาจหน้าที่ของอําเภอมีหลักการอย่างไร = ม.๖๑/๒ กําหนดหลักการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทของประชาชนว่า คู่กรณี ฝุายใดฝุายหนึ่ง ต้องมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอําเภอ จึงจะสามารถทําการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทได้ ๕๓. ใครเป็นผู้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท = ม.๖๑/๒ วรรคสอง กําหนดให้นายอําเภอเป็นผู้จัดทําบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นคณะบุคคล ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทแต่บัญชีรายชื่อที่นายอําเภอเป็นผู้จัดทํานี้จะสามารถ ทําหน้าที่ได้ต่อเมื่อคณะกรมการจังหวัดได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
  • 13. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๖ ๕๔. คณะบุคคล ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท สามารถทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ในเรื่องใด = ม.๖๑/๒ กําหนดข้อพิพาทที่ คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท สามารถทําการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่กําหนดไว้ดังนี้ ๑. ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน ๒. ข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดก ๓. ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ๔. ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ๕๕. กรณีที่คู่พิพาทสามารถตกลงกันได้ คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท จะต้องทําอย่างไร = ม.๖๑/๒ กําหนดไว้ว่าเมื่อคู่พิพาททั้งสองฝุาย สามารถตกลงกันได้ก็ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาทจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท โดยให้ถือเอา ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน คู่พิพาททั้งสองฝุาย แต่ถ้าคู่พิพาทไม่สามารถ ตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจําหน่ายข้อพิพาทนั้น ๕๖. อําเภอ ก. ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอเนื่องจากนายอําเภอคนเดิมย้ายไปดํารงตําแหน่งที่อําเภอ ข. กรณีเช่นนี้หากต้องการที่จะให้มีการแต่งผู้รักษาราชการแทนนายอําเภอจะต้องทําอย่างไร = ม.๖๔ กําหนดกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง นายอําเภอ ว่าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอําเภอหรือ หัวหน้าส่วนราชการผู้อาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอําเภอ ๕๗. การแบ่งส่วนราชการของอําเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งได้อย่างไร = ม.๖๖ กําหนดการแบ่งส่วนราชการของอําเภอเป็น (๑) สํานักงานอําเภอ (๒) ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอําเภอนั้น ๕๘. บุคคลใดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการสํานักงานอําเภอ = ม.๖๖ (๑) กําหนดให้นายอําเภอ เป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชาข้าราชการสํานักงานอําเภอ ๕๙. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งเป็นส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีมีการปฏิบัติ ราชการขึ้นตรงต่อใคร = ม.๗๑/๙ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ๖๐. ก.พ.ร. มีใครเป็นประธาน = ม.๗๑/๑ กําหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
  • 14. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๗ ๖๑. ก.พ.ร. มีจํานวนเท่าใด = ม.๗๑/๑ กําหนดให้ ก.พ.ร. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รัฐมนตรีคนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีกําหนดเป็นรองประธานและผู้ซึ่งคณะกรรมการการกระจาย อํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๑๐ คน ๖๒. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด = ม.๗๑/๑ กําหนดให้กรรมการผู้ทรงวุฒิใน ก.พ.ร. ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการบริหารรัฐกิจ ๖๓. กรณีที่จะเป็นคณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. จํานวนเท่าใดที่ต้องทํางานเต็มเวลา = ม.๗๑/๑ วรรคสอง กําหนดว่ากรณีจําเป็นคณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า ๓ คนแต่ไม่เกิน ๕ คนต้องทํางานเต็มเวลาก็ได้ ๖๔. กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. หย่อนความสามารถ ใครเป็นผู้มีอํานาจให้กรรมการดังกล่าว พ้นจากตําแหน่ง = ม.๗๑/๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้คณะรัฐมนตรี เป็นผู้มีอํานาจให้ออก หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ ๖๕. หน่วยงานใดมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ = ม.๗๑/๑๐ (๘) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ กําหนดให้การตีความและ วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เป็นอํานาจของ ก.พ.ร. 
  • 15. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๘ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ ๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับเมื่อใด = ม.๒ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้พระราชบัญญัตินี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อพระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๒ ก ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันถัดไป ๒. บุคคลใดเป็นข้าราชการพลเรือน = ม.๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดคํานิยามของข้าราชการ ฝุายพลเรือนไว้ว่า หมายถึง ข้าราชการพลเรือนและข้าราชการอื่น ในกระทรวงกรมฝุายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากคํานิยามดังกล่าว ทั้งปลัดอําเภอและข้าราชการครูต่างก็เป็นข้าราชการฝุายพลเรือนสําหรับปลัดเทศบาลนั้น ไม่ได้มีฐานะเป็นข้าราชการแต่มีฐานะเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ๓. บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ = ม.๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการ ๔. ก.พ. เป็นคําเรียกโดยย่อของคณะกรรมการใด = ก.พ. เป็นคําย่อของ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตาม ม.๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ ๕. บุคคลใดเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนโดยตําแหน่ง = ม.๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง ๖. กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะต้องเป็นผู้ทรงวุฒิจากด้านใด = ม.๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้กรรมการซึ่งแต่งตั้ง จากผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องมาจากด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการบริหาร และการจัดการเท่านั้น สําหรับด้านรัฐศาสตร์ไม่มี ๗. กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น มีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละกี่ปี = ม.๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้กรรมการในคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ ๓ ปี
  • 16. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๑๙ ๘. สํานักงาน ก.พ.ขึ้นตรงต่อใคร = ม.๑๓ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้สํานักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ๙. คณะอนุกรรมการสามัญ (อ.ก.พ.) โดยทั่วไปมีกี่ระดับ = ตาม ม.๑๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กําหนดให้มี คณะอนุกรรมการ สามัญ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ.สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ มี ๔ ประเภท คือ ๑. อ.ก.พ.กระทรวง ๒. อ.ก.พ.กรม ๓. อ.ก.พ.จังหวัด ๔. อ.ก.พ.ประจําส่วนราชการ อื่นนอกจากส่วนราชการตาม ข้อ ๑ ถึง ๓ ๑๐. อ.ก.พ.กระทรวง หากรวมประธานและเลขานุการแล้ว จะมีจํานวนเท่าใด = ม.๑๕ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนด อ.ก.พ.กระทรวง ประกอบด้วย ๑. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน ๒. ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน ๓. ผู้แทน ก.พ. ๑ คน ๔. ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกิน ๓ คน ๕. ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ในกระทรวง จํานวนไม่เกิน ๕ คน ๖. เลขานุการ จํานวน ๑ คน เมื่อพิจารณาจํานวนอนุกรรมการ ประเภทต่าง ๆ แล้ว อ.ก.พ.กระทรวงจะมีจํานวนอย่างน้อย ๖ คน อย่างมาก ๑๒ คน ๑๑. อนุกรรมการใน อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒินั้น ใครเป็นผู้แต่งตั้ง = ม.๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ประธาน อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งก็คือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนั่นเองเป็นผู้แต่งตั้ง ๑๒. อ.ก.พ.กรม มีใครเป็นประธาน = ม.๑๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้อธิบดีเป็นประธาน อ.ก.พ.กรม ๑๓. โดยทั่วไปแล้ว อ.ก.พ.กรม เมื่อรวมประธานกับเลขานุการแล้ว จะมี่จํานวนเท่าใด = ม.๑๗ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ อ.ก.พ.กรม ประกอบด้วย ๑. อธิบดีเป็นประธาน ๒. รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย เป็นรองประธาน ๓. ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกิน ๓ คน ๔. ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือ ประเภทอํานวยการในกรม จํานวนไม่เกิน ๖ คน ๕. เลขานุการ จํานวน ๑ คน ดังนั้น อ.ก.พ.กรม จึงมีอย่างน้อย ๕ คน อย่างมาก ๑๒ คน ๑๔. ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.พ.กรม มีคุณสมบัติอย่างไร = ๑. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว ๒. มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น
  • 17. 1000 ถาม - ตอบ ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติราชการของกรมการปกครอง ๒๐ ๑๕. อ.ก.พ.จังหวัด มีใครเป็นประธาน = ม.๑๙ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน อ.ก.พ.จังหวัด ๑๖. ความเหมือนกันของ อ.ก.พ.กระทรวง, อ.ก.พ.กรม และ อ.ก.พ.จังหวัด คือ = ม.๑๕ (๑) ม.๑๗ (๑) และ ม.๑๙ (๑) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดจํานวนอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.พ.กระทรวง, อ.ก.พ.กรม และ อ.ก.พ.จังหวัด มี ๓ คนเหมือนกัน ส่วนอนุกรรมการโดยตําแหน่ง หรืออนุกรรมการที่ได้รับเลือกจากข้าราชการ มีจํานวนไม่เท่ากัน ๑๗. “ก.พ.ค.” ย่อมาจากคําใด = ตาม ม.๒๔ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้ “ก.พ.ค.” เป็นคําย่อของ “คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม” ๑๘. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีที่มาอย่างไร = ม.๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้มีคณะกรรมการคัดเลือก กรรมการ ก.พ.ค. เพื่อทําหน้าที่คัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว มีประธานศาล ปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาซึ่งได้รับมอบหมาย จากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน และ กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ ทั้งนี้โดยให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ๑๙. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีจํานวนเท่าใด = ม.๒๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ทําหน้าที่คัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. จํานวน ๗ คน ๒๐. นายสมพร ได้ขับรถชนคนตายโดยประมาท ซึ่งศาลได้ตัดสินให้จําคุกฐานขับรถชนคนตายโดยประมาท เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมาเมื่อนายสมพรได้พ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา ๖ เดือนได้มีการเปิดสอบปลัดอําเภอ โดยที่นายสมพร ได้สมัครสอบด้วยซึ่งผลการสอบปรากฏว่า นายสมพรสอบได้จากกรณีดังกล่าว ขอถามว่า นายสมพร จะสามารถเข้ารับราชการเป็นปลัดอําเภอได้หรือไม่ อย่างไร = ม.๓๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ กําหนดลักษณะต้องห้าม ของข้าราชการพลเรือนไว้ว่า จะต้องไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุก โดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เพราะกระทําผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ดังนั้น ความผิดของนายสมพรจึงไม่เข้าลักษณะต้องห้ามในการเป็นข้าราชการพลเรือน เพราะกฎหมาย ยกเว้นให้สําหรับผู้ที่ได้รับโทษจําคุก สําหรับความผิดที่กระทําโดยประมาท และกรณีนี้ก็ไม่จําเป็นที่ จะต้องให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นให้แต่อย่างใด