SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  119
Télécharger pour lire hors ligne
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
153 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก 
โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 
แสงระวี เทพรอด และคณะ 
โรงพยาบาลคลองหลวง 
sangink@hotmail.com 
บทคัดย่อ 
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลอง 
หลวงแก่ผู้ที่มารับบริการ คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกในวันและเวลาราชการ จำนวน 600 คน 
แบ่งเป็นระบบทำงานปกติ 300 คน และระบบทำงานที่คณะผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงอีก 300 คน การวิจัยนี้ 
ศึกษาเฉพาะขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ การยื่นบัตร การตรวจสอบสิทธ์ิ การคัดกรอง การบันทึกข้อมูลลง 
ระบบคอมพิวเตอร์ การพบแพทย์ตรวจ และการออกใบนัด 
ปัญหาที่พบในการให้บริการผู้ป่วยนอกคือ ขั้นตอนการให้บริการมีหลายขั้นตอน บางขั้นตอนมีความ 
ซํ้าซ้อนกัน ทำให้ผู้รับบริการต้องเดินไปหลายจุด และระหว่างขั้นตอนต้องรอเวลานาน จากการวิเคราะห์ 
ปัญหาและสาเหตุ คณะผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการปรับปรุงกระบวนการบริการโดยการลดขั้นตอนการบริการจาก 
เดิม 6 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวมงานคัดกรองและบันทึกข้อมูลเข้าด้วยกัน และจัดให้เจ้าหน้าที่คัด 
กรองและบันทึกข้อมูลไปพร้อมกัน 
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานในแต่ละจุดทำการวิเคราะห์ 
ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ t-test จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 
ระยะเวลาการให้บริการจากจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลลดลงจาก 6.8233 นาที เหลือ 5.0567 นาที (ลดลง 
ร้อยละ 25.94) เมื่อเปรียบเทียบการให้บริการแบบปกติกับการให้บริการแบบที่ได้ปรับปรุง พบว่า มีความ 
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ระบบทำงานปรับปรุงทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลดการใช้ 
บุคลากรจาก 7 คน เหลือ 2 คน 
ข้อพึงระวังจากการวิจัย พบว่า ระยะเวลารอคอยในภาพรวมของผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ระบบทำงานปรับปรุง 
เพิ่มขึ้นจาก 79.3633 นาที เป็น 105.24 นาที ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะจำนวนคอมพิวเตอร์และจำนวน 
บุคลากรที่ลดลงจากเดิม ข้อเสนอแนะคือ ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์และบุคลากรให้มากขึ้นในขั้นตอนที่มี 
การปรับปรุง และควรจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ เช่น ให้สุขศึกษา ออกกำลังกาย ทำกลุ่ม 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างรอคอย 
คำสำคัญ: กระบวนการลีน, ระยะเวลารอคอย
154 
P r o c e e d i n g s 
บทสรุปงานวิจัย 
หลักการและเหตุผล 
ปัจจุบันการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง มีจำนวนผู้รับบริการประมาณ 300 คนต่อวัน 
จากการสำรวจระยะเวลารับบริการรวมของผู้ป่วย ใช้เวลาเฉลี่ยคนละ 218.7774 นาที ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ 
ระยะเวลารอคอย พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่บุคลากร ผู้ป่วย ระบบงาน และระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจัยบางอย่าง 
ไม่สามารถควบคุมได้ เช่นจำนวนผู้ป่วย จำนวนแพทย์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพในการ 
บริการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
คุณภาพบริการที่ผู้รับบริการคาดหวัง คือความรวดเร็วในการใช้บริการ รอไม่นาน ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก 
ซับซ้อน การรอคอยและความล้าช้า ส่วนหนึ่งมาจากทรัพยากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของ 
ผู้รับบริการ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบระบบงานที่สั่งสมกันมา โดยบางครั้งผู้ที่ปฏิบัติงานก็ไม่ 
เข้าใจว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น แต่ไม่กล้าที่จะปรับเปลี่ยน บางครั้งเป็นเรื่องที่ออกไปนอกขอบเขตความรับผิดชอบ 
ของแต่ละหน่วยงาน หรือแต่ละองค์กรขาดการประสานงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน (วิรุฬท์ พรพัฒน์กุล, 
2009) แนวคิดการพัฒนาคุณภาพในระบบบริการสุขภาพโดยการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ 
วิธีการดังกล่าว เรียกว่าการจัดการแบบลีน 
จากการสังเกตการปฏิบัติงานให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง คณะผู้วิจัยพบว่า 
มีขั้นตอนการให้บริการหลายขั้นตอน และทำงานซํ้าซ้อน ทำให้ใช้เวลาในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น สิ้นเปลือง 
ทรัพยากรทั้งบุคลากรและงบประมาณ ระบบงานขาดประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัย จึงสนใจศึกษาถึงการลด 
ขั้นตอนการให้บริการแก่ผู้ป่วยเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
วัตถุประสงค์ 
เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง 
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
หลักการของลีนจะเน้นที่คุณค่าของสินค้าหรือบริการ โดยจะพยายามที่จะกำจัดองค์ประกอบหรือ 
ขั้นตอนที่ไม่ทำให้เกิดคุณค่าออกไป ขณะเดียวกันก็พัฒนาปรับปรุงกระบวนการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตามที่ 
ลูกค้าต้องการ โดยหลักการของลีนจะมุ่งเน้นในการระบุคุณค่าจากมุมมองของลูกค้า มุ่งหาหลักในการพัฒนา 
กระบวนการผลิตที่ทำให้สามารถเพิ่มคุณค่า โดยมีเป้าหมายในการทำให้กระบวนการเพิ่มคุณค่า (Value 
process) ไร้รอยต่อหรือสามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับแนวความคิด 
“ทำให้ถูกตั้งแต่ต้น” ซึ่งการ “ทำให้ถูก” นี้จะหมายถึงการทำงานที่ป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่าง 
สิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์รายละเอียดของการพัฒนาสินค้าหรือบริการ และกระบวนการผลิตอย่างลึกซึ้งใน 
การค้นหาต้นตอของปัญหา เพื่อกำจัดต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิตหรือ 
กระบวนการให้บริการหมดไป (อารีย์วรรณ อ่วมตานี, 2552)
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
155 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
วิธีการศึกษา 
เป็นการศึกษาวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research) โดยอาศัยการวิจัยเชิงพัฒนา (Development 
Research) ทำการศึกษาในกลุ่มผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวงในวันและเวลาราชการ 
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอยในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีกระบวนการ 
ตามปกติ 6 ขั้นตอน และนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนเหลือ 5 ขั้นตอน 
ขั้นตอนตามกระบวนการปกติมีดังนี้ 
1. การยื่นบัตร 
2. การเช็คสิทธิ์ 
3. คัดกรอง 
4. บันทึกข้อมูล 
5. รับการตรวจ 
6. ลงนัดผู้ป่วย 
เมื่อนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนการบริการผู้ป่วยนอก สามารถลดได้เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวม 
จุดตรวจคัดกรองและวัดสัญญาณชีพเข้ากับจุดบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 
1. การยื่นบัตร 
2. การเช็คสิทธิ์ 
3. การคัดกรอง และบันทึกข้อมูล 
4. รับการตรวจ 
5. ลงนัดผู้ป่วย 
ประชากร 
ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้รับบริการที่มาใช้บริการตรวจรักษาโรคในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลอง 
หลวงและไม่ได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล คอยรับบริการแล้วกลับบ้านได้ 
กลุ่มตัวอย่าง 
คือผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกในวันและเวลาราชการ โรงพยาบาลคลองหลวง ระหว่างเดือน 
ตุลาคม–เดือนพฤศจิกายน 2555 โดยเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอยของผู้มารับ 
บริการผู้ป่วยนอกครั้งที่ 1 จำนวน 300 คน และครั้งที่ 2 หลังนำกระบวนการลีนมาลดขั้นตอนการบริการแล้ว 
อีก 300 คน 
ขั้นตอนการดำเนินการ 
1. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนของการเตรียมเครื่องมือศึกษา ได้แก่ แบบลงเวลาปฏิบัติงานในแต่ละจุด 
ประสานงานเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในจุดที่สะดวกในการศึกษา
156 
P r o c e e d i n g s 
2. ขั้นดำเนินการศึกษา โดยครั้งที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอย 
ในแต่ละขั้นตอน ตามระบบทำงานปกติ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ครั้งที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและ 
ระยะเวลารอคอยในแต่ละขั้นตอน โดยนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนการบริการผู้ป่วยนอก สามารถลดได้ 
เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวมจุดตรวจคัดกรองและวัดสัญญาณชีพเข้ากับจุดบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ 
3. ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา โดยการคำนวณระยะเวลาตลอดกระบวนการทั้งหมดตาม 
แนวทางของลีน รายงานเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอย 
เปรียบเทียบกัน 
การทดสอบสมมติฐาน 
สมมติฐานที่ 1 ระบบทำงานปกติ มีระยะเวลาปฏิบัติและระยะเวลารอคอยเฉลี่ยแตกต่างจากระบบ 
ทำงานปรับปรุง 
ตารางที่ 1: ตารางการวิเคราะห์รูปแบบการให้บริการ 
รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย 
นอก N Mean 
Std. 
Deviation 
ค่า t ค่า df Sig. 
ระบบทำงานปกติ (แยกการคัด 
กรองและการบันทึกข้อมูล) 
300 6.8233 2.47775 4.033 598 0.000 
ระบบทำงานปรับปรุง (รวมการ 
คัดกรองและการบันทึกข้อมูล) 
300 5.0567 7.17065 
จากตารางที่ 1 สรุปได้ว่าระบบทำงานปกติ มีเวลาเฉลี่ยในการให้บริการผู้ป่วยนอก 6.82 นาที 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.47775 และระบบทำงานปรับปรุง มีเวลาเฉลี่ยในการให้บริการผู้ป่วยนอก 
5.06 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.17065 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีค่า t = 4.033 และค่า 
df เท่ากับ 598 ค่า sig. เท่ากับ 0.000 แสดงว่าระบบทำงานปกติมีระยะเวลาการปฏิบัติงานและระยะเวลารอ 
คอยแตกต่างจากระบบทำงานปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบทำงานปกติ 
ใช้เวลาในการให้บริการมากกว่าระบบทำงานปรับปรุง 
สมมติฐานที่ 2 ระยะเวลาการรอคอยก่อนเข้าสู่ระบบทำงานปกติในขั้นตอนการคัดกรองและบันทึก 
ข้อมูลในระบบปกติแตกต่างจากระบบทำงานปรับปรุง
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
157 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
ตารางที่ 2: ตารางการวิเคราะห์ระยะเวลาการรอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงาน 
ปกติและหลังปรับปรุง 
รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย 
Std. 
ค่า t ค่า df Sig. 
นอก N Mean 
Deviation 
ระยะเวลาการรอคอยในระบบ 
ทำงานปกติ 
300 79.3633 33.0135 -9.732 598 0.000 
ระยะเวลาการรอคอยหลัง 
ปรับปรุง 
300 105.2400 32.10949 
จากตารางที่ 2 ระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปกติ มีเวลาเฉลี่ย 
79.36 นาที ขณะที่ระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 
105.24 นาที จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีค่า t เท่ากับ -9.732 และค่า df เท่ากับ 536 ค่า sig. 
เท่ากับ 0.000 แสดงว่าระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปกติแตกต่างจากระบบ 
ทำงานปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบทำงานปกติใช้เวลาในการรอคอยก่อนคัด 
กรองและบันทึกข้อมูลน้อยกว่าระบบทำงานปรับปรุง 
สมมติฐานที่ 3 ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมของระบบทำงานปกติแตกต่างจากระบบ 
ทำงานปรับปรุง 
ตารางที่ 3 : ตารางการวิเคราะห์ระยะที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงานปกติและ 
ระบบทำงานปรับปรุง 
รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย 
นอก N Mean 
Std. 
Deviation 
ค่า t ค่า df Sig. 
ระยะเวลาการให้บริการใน 
ภาพรวมของระบบทำงานปกติ 
265 218.7774 68.28760 -4.373 536 0.000 
ระยะเวลาการให้บริการใน 
ภาพรวมหลังปรับปรุง 
273 242.5788 57.65103 
จากตารางที่ 3 พบว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมของระบบทำงานปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 
218.7774 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 68.28760 และระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงาน 
ปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 242.5788 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 57.65103 จากการทดสอบสมมติฐาน 
พบว่า มีค่า t เท่ากับ -4.373 ค่า df เท่ากับ 536 ค่า sig. เท่ากับ 0.000 สรุปได้ว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการ 
ในภาพรวมในระบบทำงานปกติและระบบทำงานปรับปรุงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าว 
ได้ว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงานปกติน้อยกว่าระบบทำงานปรับปรุง
158 
P r o c e e d i n g s 
อภิปรายผล 
ภายหลังจากพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โดยนำกระบวนการลีน (Lean) มาใช้เพื่อลดขั้นตอน 
และเวลา ระบบทำงานปรับปรุงช่วยลดขั้นตอนการให้บริการจาก 6 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลา 
ปฏิบัติการลดลงจาก 6.8233 นาที เหลือ 5.0567 นาที (ลดลงร้อยละ 25.94) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 
ทางสถิติ กล่าวคือ ระบบทำงานปรับปรุงทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลดการใช้บุคลากรจาก 7 คน เหลือ 2 
คน ทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ส่วนระยะเวลาก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลหลัง 
ปรับปรุงใช้เวลาเเพิ่มขึ้นจาก 79.3633 นาที เป็น 105.2400 นาที ทั้งนี้อาจเนื่องจากเดิมมีคอมพิวเตอร์ 3 
เครื่อง ในจุดบันทึกข้อมูล มีบุคลากรทำงานในจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลรวม 7 คน แต่ช่วงเวลาศึกษาใน 
ระบบทำงานปรับปรุงเหลือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง บุคลากรเหลือเพียง 2 คน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา 
นี้ ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เป็น 3 เครื่องเท่าเดิม ส่วนระยะเวลารับบริการรวมที่เพิ่มขึ้นจากระบบทำงาน 
ปกติ จาก เวลาเฉลี่ย 218.7774 นาที เป็น 242.5788 นาที นั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการศึกษานี้ไม่ได้มีการ 
ควบคุมปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนแพทย์ , จำนวนผู้ป่วย , โรคและอาการของผู้ป่วย เป็นต้น 
สอดคล้องกับงานวิจัยของศิลปชัย วัฒนเสย , พิษณุ มนัสปิติ (2554) ที่ศึกษาการปรับปรุงการบริการ 
โรงพยาบาล ที่แผนกเวชระเบียนโดยการรวมงานเวชระเบียนกับการตรวจสอบสิทธิ เพิ่มสถานีคัดกรองและ 
ปรับปรุงแถวคอยเป็นแถวคอยเดียว ทำให้บริการรวดเร็วขึ้น , งานวิจัยของนายแพทย์มนูศิลป์ คงคา และ 
คณะ(2554) ทำการศึกษาการกระชับขั้นตอนและลดระยะเวลาการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ปี 2554 พบว่า 
สามารถลดขั้นตอนการบริการ จากเดิม 14 ขั้นตอน เหลือ10 ขั้นตอน ระยะเวลารอคอยรวมลดลง จาก 2 
ชั่วโมง 30 นาที เหลือ 1 ชั่วโมง 40 นาที 
ข้อเสนอแนะ 
จากการศึกษาผลของการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก โดยนำระบบลีนมาใช้เพื่อ 
ลดขั้นตอนและเวลา ทำให้ระยะเวลาการให้บริการในจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลลดลง ผู้ป่วยได้รับบริการที่ 
รวดเร็ว และใช้บุคลากรลดลง บุคลากรพยาบาลมีเวลาให้บริการสุขภาพในกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็น เช่น 
การให้สุขศึกษา ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ แต่ก็พบว่าระยะเวลารอคอยก่อนเข้าจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูล 
ใช้เวลาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากเดิมมีคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง ในจุดบันทึกข้อมูล มีบุคลากรทำงานในจุดคัด 
กรองและบันทึกข้อมูล รวม 7 คน แต่ช่วงเวลาศึกษาในระบบทำงานปรับปรุง เหลือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 
2 เครื่อง บุคลากรเหลือเพียง 2 คน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์และบุคลากร 
ให้เพียงพอ
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
159 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
บรรณานุกรม 
เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2550). Lean:วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: 
อมรินทร์พริ้นติ้ง. 
ดวงกมล สายเทพ,พนิดา ดามาพงศ์. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมการจัดบริการตามมาตรฐานการ 
พยาบาลผู้ป่วยนอกต่อความพึงพอใจในบริการของผู้รับบริการและระยะเวลารอคอยในแผนก 
ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย.วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย 
นเรศวร. ปีที่1 ฉบับที่ 2ก.ค.-ธ.ค.2550. 
มนูศิลป์ คงคา. LEAN AT OPD กระชับขั้นตอนและลดระยะเวลาการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกปี 
2554 Retrieved November 28,2012.from WWW.Med.cmu.ac.th/.../NEW%20 Lean% 
20OPD%20sanpatong%202554.pdf 
ยุพิน อภิสิทธิวงศ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการลีนในการลดขั้นตอนการกำหนดการ 
ผ่าตัดฉุกเฉินในเวลาราชการ: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสงขลา. วิสัญญีสาร,ปีที่ 38 (ฉบับที่ 2 
เมษายน – มิถุนายน 2555), หน้า 133 – 136. 
รัตนา พอพิน, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และอรอนงค์ วิชัยคำ.(มปป). การพัฒนากระบวนการเตรียมผ่าตัด 
คลอดทางหน้าท้องในห้องผ่าตัด.โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. 
วัชรี หน่อแก้ว. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วยพิเศษ 2 โรงพยาบาล 
มหาราชนครเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระ(พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาวิชาการ 
บริหารการพยาบาล)บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 
วิรุฬท์ พรพัฒน์กุล. ( 2009 ) . Lean ในโรงพยาบาล . Retrieves . November 28, 2012. from 
WWW.narahospital.com / director / Modules. Php ? name = News & file = article = 11. 
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2552). การจัดการแบบลีนกับการบริการสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล, 
ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2552), หน้า 6.
160 
P r o c e e d i n g s 
การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการ 
ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
A Study of Satisfaction in the Service of Clients Ramathibodi Continuing Nursing 
Education Center Ramathibodi School of Nursing. 
สุเทพ ธุระพันธ์ 
ภาสกร ศิระพัฒนานนท์ 
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
มหาวิทยาลัยมหิดล 
suthep.thr@mahidol.ac.th 
บทคัดย่อ 
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการ 
ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จำแนกตามคุณลักษณะ 
ส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล 
รามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่าง 
เดือนตุลาคม 2554–มกราคม 2555 จำนวน 226 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย 
การคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ 
ความแปรปรวนทางเดียว(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (95.1%) 
ครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 30-40 ปี (50.0%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (89.9%) และมีประสบการณ์ในการ 
ทำงานมากกว่า 10 ปี (49.6%) ผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจของต่อการจัดบริการวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับ 
มากในรายด้าน พบว่าผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจระดับมากเช่นกัน ได้แก่ ด้านการให้บริการของบุคลากร ด้าน 
วิชาการด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 
ส่วนความพึงพอใจต่อความคุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่ม 
ตัวอย่างที่มีอายุและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการโดย 
ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่อ 
การจัดบริการวิชาการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าการ 
จัดบริการวิชาการที่ประทับใจ คือ ผู้จัดการประชุมมีความเป็นกันเอง ให้บริการด้วยความเต็มใจ ยินดีให้บริการ 
เอาใจใส่ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ห้องประชุมคับแคบและทุกหัวข้อการ 
บรรยายน่าจะมีเอกสารประกอบการประชุม ข้อเสนอแนะอื่นๆ คือ ควรมีดีวีดีรวบรวมเนื้อหาการประชุมทั้งหมด 
แจกหลังจัดประชุมจะดีมาก 
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, บริการวิชาการ, พยาบาลวิชาชีพ
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
161 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
Abstract 
The purposes of this research were to survey study and compare satisfaction in the service of 
clients Ramathibodi Continuing Nursing Education Center, Ramathibodi School of Nursing, which 
classified by their personal characteristics. The data were collected by questionnaires. The sample were 
226 registered nurses in the service of clients Ramathibodi Continuing Nursing Education Center, 
Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University during 
October 2011 - January 2012 and the data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard 
deviation, t-test and one-way analysis. To be the result of this study were as follows; 95.1% of the sample 
are female, 50.0% during 30-40 years of age, 89.9% get first degree, 49.6% experience more than 
10 years. The participants were satisfied with the overall service at the high level. The services 
personnel, the academics, the process of service, the meeting, the facilities respectively. Meanwhile the 
well worth the time and cost at the high level too. The result of hypothesis testing showed difference 
among the nurses with age and experience, while satisfaction in the service of clients overall differences 
were statistically significant, whereas levels of education had no significant difference. The findings in this 
study suggested that the impressive of academic services were the meeting is friendly. The 
wholehearted welcome to our faces beaming with good-natured facilities in various fields. What should 
be improved were cramped conference room and conference topics will be documented. Suggested of 
other things that DVD compilation of all content should be distributed after the conference. 
Keywords: satisfaction, academic services, registered nurses 
บทสรุปงานวิจัย 
หลักการและเหตุผล 
การศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ เป็นบริบทใหม่ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ 
ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยเป็นกลไกใน 
การเชื่อมโยงองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลากับความรู้เดิมที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ เคยเรียนใน 
สถาบันการศึกษา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและทันต่อเหตุการณ์ นับเป็นการ 
คุ้มครองผู้บริโภค หรือประชาชนผู้ใช้บริการพยาบาลที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ ทั้งในวงการวิชาชีพและใน 
สังคม(สภาการพยาบาล, 2554) 
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ (ปัจจุบันคือโรงเรียน 
พยาบาลรามาธิบดี) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีหน้าที่และความ 
รับผิดชอบ ดังนี้ 1) วางแผนดำเนินการจัดการฝึกอบรมให้กับบุคลากรทุกระดับของภาควิชาพยาบาลศาสตร์ 
และบุคลากรพยาบาลนอกสถาบัน 2) ดำเนินการจัดฝึกอบรมทุกโครงการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นไป
162 
P r o c e e d i n g s 
อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ประเมินและติดตามผลโครงการจัดฝึกอบรมประจำปีของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง 
ทางการพยาบาลรามาธิบดี 4) ออกหลักฐานรับรองการเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรและ/หรือกิจกรรมการศึกษา 
ต่อเนื่องและ 5) จัดทำระบบและบันทึกหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรและ/หรือ 
กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่สภาการพยาบาลได้รับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องแล้ว (สุเทพ ธุระพันธ์ 
และภาสกรศิระพัฒนานนท์, 2550) นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันหลักที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลให้ 
เป็นสถาบันที่จัดการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ และเป็นศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้มีพันธกิจด้านการ 
พัฒนาบุคลากรและให้บริการวิชาการ ได้แก่ การจัดอบรม/ประชุมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ 
ผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีความรู้ ทักษะ และเจตคติ 
ที่ดี สามารถให้บริการพยาบาลตามมาตรฐานของวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการต่ออายุ 
ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2547 
(สภาการพยาบาล, 2554) ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการ 
วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รวมทั้งรวบรวม 
ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการจัดบริการวิชาการ 
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานด้านการ 
บริการวิชาการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง 
ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษา 
ต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และ 
ระดับการศึกษาแตกต่างกัน 
กรอบแนวคิดในการวิจัย 
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ 
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ตามวิธีปฏิบัติงาน (Work 
Instruction) ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการให้บริการของบุคลากร 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอน 
การให้บริการ 4) ด้านการจัดประชุม และ 5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้า 
ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล 
รามาธิบดี สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการ 
พยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีและในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยยังได้พิจารณาถึงความแตกต่างของ 
ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำตัวแปรระดับการศึกษา อายุ และ 
ประสบการณ์ในการทำงาน มาเป็นตัวแปรอิสระในการศึกษาด้วย
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษา 
ต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี 
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
1) ด้านการให้บริการของบุคลากร 
2) ด้านวิชาการ 
3) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ 
4) ด้านการจัดประชุม 
5) ด้านส่งิ อำนวยความสะดวก 
163 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
คุณลักษณะส่วนบุคคล 
- ระดับการศึกษา 
- อายุ 
- ประสบการณ์ในการทำงาน 
วิธีดำเนินการวิจัย 
การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พยาบาล 
วิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพที่เข้า 
ประชุมวิชาการ ซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะ 
แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน ตุลาคม 2554–มกราคม 2555 รวม 
จำนวนทั้งสิ้น 226 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
1. แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา 
ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงาน แหล่งที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุมวิชาการการ 
สมัครเข้าร่วมประชุมอีกครั้ง การจ่ายค่าลงทะเบียนการประชุม การแนะนำผู้อื่นให้เข้าร่วมประชุมและเหตุผลที่ 
เลือกเข้าประชุม มีคำถามรวม 14 ข้อ เป็นคำถามลักษณะปลายปิดให้เลือกตอบ(Check List) และเป็นคำถาม 
ปลายเปิดให้เขียนความเรียงและระบุจำนวนตัวเลขลงในช่องว่าง 
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง 
ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มีคำถามรวม 32 ข้อ ลักษณะของแบบสอบถามเป็น 
แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Scale) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง 
น้อย และน้อยที่สุด เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผลการวัดในกรณีค่าเฉลี่ยจากมาตรส่วนประมาณค่าแปล 
ความหมายโดยใช้จุดกึ่งกลางชั้น(Mid Point Average) ของ พงษ์เทพ จิระโร (2554, หน้า 13) ดังตารางที่ 1
164 
P r o c e e d i n g s 
ตารางที่ 1 การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยใช้จุดกึ่งกลางชั้น (Mid Point Average) 
Mid Point Average แปลความหมาย 
1.00 – 1.49 ผลการประเมินระดับน้อยที่สุด 
1.50 – 2.49 ผลการประเมินระดับน้อย 
2.50 – 3.49 ผลการประเมินระดับปานกลาง 
3.50 – 4.49 ผลการประเมินระดับมาก 
4.50 – 5.00 ผลการประเมินระดับมากที่สุด 
4. แบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีคำถามรวม 4 ข้อ เป็นคำถามปลายเปิด ผู้วิจัยนำ 
แบบสอบถามไปทดลองใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ 
หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่า 
ความเชื่อมั่นดังนี้ ด้านการให้บริการของบุคลากร ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม 
ด้านวิชาการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเท่ากับ 0.95 0.94 0.86 0.85 0.87 ตามลำดับ และได้ค่าความ 
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 
จริยธรรมในการวิจัย 
การวิจัยครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตามเลขที่โครงการ/รหัส ID 09-54-11ย มีการ 
พิทักษ์สิทธิโดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยยินยอมด้วยวาจาหรือลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรตามความสมัครใจที่ให้ 
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามซึ่งข้อมูลที่ได้จะเก็บเป็นความลับและจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล 
ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถยกเลิกการเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ได้ตลอดเวลา โดยจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้เข้าร่วม 
วิจัย 
การเก็บรวบรวมข้อมูล 
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
1. ขออนุมัติทำการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูล 
การวิจัย 
2. ภายหลังได้รับอนุมัติ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยติดต่อกับรักษาการรอง 
ผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ฝ่ายวิจัยและวิชาการ เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือให้พยาบาล 
วิชาชีพตอบแบบสอบถาม
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
165 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
3. ชี้แจงให้พยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมวิชาการ ซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการ 
พยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
และอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน 
4. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง ได้รับคืนจำนวน 226 ฉบับ แล้วนำมาวิเคราะห์ 
ข้อมูลทั้งสิ้น 226 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75.3 ของแบบสอบถามทั้งหมด 
การวิเคราะห์ข้อมูล 
1. วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา 
ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงาน แหล่งที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุมวิชาการการ 
สมัครเข้าร่วมประชุมอีกครั้ง การจ่ายค่าลงทะเบียนการประชุม การแนะนำผู้อื่นให้เข้าร่วมประชุม เหตุผลที่เลือก 
เข้าประชุม และความพึงพอใจของผู้เข้าประชุม ด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน 
เบี่ยงเบนมาตรฐาน 
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการ 
วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและ 
รายด้านจำแนกตามระดับการศึกษา ด้วยการทดสอบค่าที (Independent t-test) และเปรียบเทียบความ 
แตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุม โดยภาพรวมและรายด้านจำแนกตามอายุและ 
ประสบการณ์ในการทำงานด้วยสถิติ One-way ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ Scheffe’ 
3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดที่ให้เติมคำได้อย่างอิสระ ผู้วิจัยนำคำตอบ 
มาจัดกลุ่มเพื่อนำเสนอความเรียง 
ผลการวิจัย 
ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.1 ครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 50.0มี 
สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 58.8 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 89.9 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อย 
ละ 91.6 มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 49.6 เป็นการสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้ง 
แรก ร้อยละ 81.0 โดยหน่วยงานส่งเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 76.8 สามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้จากต้นสังกัด 
ร้อยละ 85.7 มีค่าใช้จ่ายตลอดการประชุมมากกว่า 6,000 บาท ร้อยละ 57.5 และได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร 
การจัดประชุมวิชาการจากจดหมายเชิญประชุม ร้อยละ 53.1 
หากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี จัดประชุมครั้งต่อไปซึ่งตรงกับเรื่องที่สนใจผู้ 
เข้าประชุม จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 85.8 จะสมัครเข้าร่วมประชุม เหตุผลคือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ 
ทบทวนและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ ที่มีเนื้อหาน่าสนใจตรงกับงานที่ทำ รวมทั้งได้รับประโยชน์และสามารถนำ 
ความรู้กลับไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง โดยวิทยากรสอนตรงประเด็นและอธิบายได้เข้าใจง่าย และเป็นการ 
เสริมศักยภาพตนเองเพื่อการพัฒนางาน และผู้เข้าประชุม จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 98.7 จะแนะนำผู้อื่น 
ให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องต่างๆ ที่จัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี เหตุผลคือ เพื่อให้ 
ได้พัฒนาความรู้ วิทยาการ แนวคิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีประโยชน์ต่อวิชาชีพและสามารถนำความรู้ไป
166 
P r o c e e d i n g s 
ประยุกต์ใช้ได้จริง เนื้อหาน่าสนใจที่บรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้เข้าใจ 
ส่วนเหตุผลที่ผู้เข้าประชุมเลือกเข้าประชุมมีดังนี้ คือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้กับ 
ผู้ป่วยในหน่วยงานได้เป็นการประชุมที่มีเนื้อหาน่าสนใจตรงกับงานที่ปฏิบัติ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงมี 
มาตรฐานและน่าเชื่อถือ ตลอดจนวิทยากรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับอย่าง 
แพร่หลาย นอกจากนี้ เหตุผลที่ผู้เข้าประชุมเลือกเข้าประชุมเพื่อเก็บสะสมหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขา 
พยาบาลศาสตร์ และเป็นโรงเรียนพยาบาลที่มีคุณภาพชั้นนำระดับประเทศ 
ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล 
รามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี พิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.10, S.D.= 0.48) และเมื่อ 
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยด้านการให้บริการของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมาก 
ที่สุด รองลงมาคือด้านวิชาการ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านสิ่งอำนวย 
ความสะดวก (M = 4.32, 4.18, 4.17, 3.90 และ 3.88; S.D.= 0.58, 0.58, 0.52, 0.59 และ 0.65 ตามลำดับ) 
ดังตารางที่ 2 ส่วนความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อความคุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับมากเช่นกัน 
(M = 3.88, S.D.= 0.65) 
ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง 
ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้าน (N=226) 
Mean S.D. ร ะ ดับ ค ว า ม พึ ง 
ความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการ 
พอใจ 
ด้านการให้บริการของบุคลากร 4.32 0.58 มาก 
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ 4.17 0.52 มาก 
ด้านการจัดประชุม 3.90 0.59 มาก 
ด้านวิชาการ 4.18 0.58 มาก 
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3.88 0.65 มาก 
รวม 4.10 0.48 มาก 
ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ 
การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีโดย 
ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษาด้วยการทดสอบค่าที(Independent t-test) พบว่าผู้เข้า 
ประชุมที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง 
ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมี 
นัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ดังตารางที่ 3
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
167 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดย 
ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษา (N=226) 
ความพึงพอใจ 
ต่อการจัดบริการวิชาการ 
ปริญญาตรี 
(N=203) 
สูงกว่าปริญญา 
ตรี 
(N=23) 
t p 
Mean S.D. Mean S.D. 
ด้านการให้บริการของบุคลากร 4.35 .559 4.12 .765 1.377 .181 
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ 
ให้บริการ 
4.19 .498 3.99 .686 1.354 .188 
ด้านการจัดประชุม 3.91 .589 3.76 .631 1.101 .281 
ด้านวิชาการ 4.19 .564 4.05 .677 .969 .342 
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3.89 .656 3.84 .599 .343 .734 
รวม 4.11 .465 3.96 .581 1.189 .246 
ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ 
การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีโดย 
ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุ พบว่า ผู้เข้าประชุมที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการ 
วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี แตกต่างกันอย่างน้อย 
1 คู่ (F = 2.55, 3.12, 3.58, 3.10, 1.97 และ 4.34; p = .081, .046, .030, .047, .142 และ .005 ตามลำดับ) 
ดังตารางที่ 4 
เมื่อวิเคราะห์ post hoc โดยเปรียบเทียบพหุคูณ(Multiple comparison test) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้า 
ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล 
รามาธิบดี โดยใช้วิธีของ Scheffe’ แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี มีความพึงพอใจต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านวิชาการการ สูงกว่าผู้เข้าประชุมที่มีอายุ 
มากกว่า 40 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังตารางที่ 5
168 
P r o c e e d i n g s 
ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
โดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุ (N=226) 
ความพึงพอใจ 
แหล่งความ 
SS df MS F p 
ต่อการจัดบริการวิชาการ 
แปรปรวน 
ด้านการให้บริการของบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 1.721 2 .861 2.55 .081 
ภายในกลุ่ม 75.385 223 .338 
รวม 77.106 225 
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ 
ให้บริการ 
ระหว่างกลุ่ม 
1.673 2 .836 3.12 .046 
ภายในกลุ่ม 59.701 223 .268 
รวม 61.374 225 
ด้านการจัดประชุม ระหว่างกลุ่ม 2.465 2 1.233 3.58 .030 
ภายในกลุ่ม 76.867 223 .345 
รวม 79.332 225 
ด้านวิชาการ ระหว่างกลุ่ม 2.018 2 1.009 3.10 .047 
ภายในกลุ่ม 72.211 222 .325 
รวม 74.229 224 
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระหว่างกลุ่ม 1.645 2 .823 1.97 .142 
ภายในกลุ่ม 93.171 223 .418 
รวม 94.816 225 
รวม ระหว่างกลุ่ม 2.857 3 .952 4.34 .005 
ภายในกลุ่ม 48.763 222 .220 
รวม 51.620 225
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
169 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
ตารางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รายด้าน 
จำแนกตามอายุเป็นรายคู่ (N=226) 
ความพึงพอใจต่อ 
น้อยกว่า 
30-40 ปี 
มากกว่า 40 
ก า ร จัด บ ริ ก า ร 
อายุ 
30 ปี 
(N=113) 
ปี 
วิชาการ 
(N=83) 
(N=30) 
ด้ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร / 
ขั้นตอนการให้บริการ น้อยกว่า 30 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
4.23 
- .794 
.048* 
30-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.18 - .114 
มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.96 
- 
ด้านการจัดประชุม น้อยกว่า 30 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
4.00 
- .386 .032* 
30-40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.88 
- .210 
มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.67 
- 
ด้านวิชาการ น้อยกว่า 30 ปี ค่าเฉลี่ย 4.24 - .785 .049* 
30-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.19 - .119 
มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.94 
- 
* p < .05 
ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ 
การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลโดยภาพรวมและราย 
ด้าน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความ 
พึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล 
รามาธิบดีแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ (F=1.56, 3.65, 3.59, 2.26, 3.70 และ 3.25; p = .213, .028, .029, .106, 
.026 และ .041 ตามลำดับ) ดังตารางที่ 6 
เมื่อวิเคราะห์ post hoc โดยเปรียบเทียบพหุคูณ(Multiple comparison test) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้า 
ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล 
รามาธิบดี โดยใช้วิธีของ Scheffe’ แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี 
มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียน
170 
P r o c e e d i n g s 
พยาบาลรามาธิบดี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สูงกว่าผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี 
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังตารางที่ 7 
ตารางที่ 6 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 
โดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน (N=226) 
ความพึงพอใจ 
แหล่งความ 
SS df MS F p 
ต่อการจัดบริการวิชาการ 
แปรปรวน 
ด้านการให้บริการของบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 1.062 2 .531 1.56 .213 
ภายในกลุ่ม 76.044 223 .341 
รวม 77.106 225 
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ 
ให้บริการ 
ระหว่างกลุ่ม 
1.944 2 .972 3.65 .028 
ภายในกลุ่ม 59.430 223 .267 
รวม 61.374 225 
ด้านการจัดประชุม ระหว่างกลุ่ม 2.476 2 1.238 3.59 .029 
ภายในกลุ่ม 76.855 223 .345 
รวม 79.332 225 
ด้านวิชาการ ระหว่างกลุ่ม 1.483 2 .742 2.26 .106 
ภายในกลุ่ม 72.746 223 .328 
รวม 74.229 225 
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระหว่างกลุ่ม 3.047 2 1.523 3.70 .026 
ภายในกลุ่ม 91.769 223 .412 
รวม 94.816 225 
รวม ระหว่างกลุ่ม 1.462 2 .731 3.25 .041 
ภายในกลุ่ม 50.158 223 .225 
รวม 51.620 225
การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 
171 
หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 
ตารางที่ 7 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ 
จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รายด้าน 
จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานเป็นรายคู่ (N=226) 
ความพึงพอใจต่อ 
น้อยกว่า 5 
5-10 ปี 
มากกว่า 10 
ก า ร จัด บ ริ ก า ร 
ประสบการณ์ในการทำงาน 
ปี 
(N=60) 
ปี 
วิชาการ 
(N=54) 
(N=112) 
ด้ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร / 
ขั้นตอนการให้บริการ น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
4.25 
- .986 
.121 
5-10 ปี ค่าเฉลี่ย 4.27 - .068 
มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
4.08 
- 
ด้านการจัดประชุม น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.99 
- .985 .126 
5-10 ปี ค่าเฉลี่ย 4.01 - .070 
มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.79 
- 
ด้านสิ่งอำ นวยความ 
สะดวก 
น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
4.09 
- .087 .037* 
5-10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.82 
- .103 
มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 
3.82 
- 
* p < .05 
การบริการในการจัดประชุมที่ผู้เข้าประชุมประทับใจ คือ ผู้จัดการประชุมมีความเป็นกันเอง ให้บริการ 
ด้วยความเต็มใจ ยินดีให้บริการ เอาใจใส่ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ 
วิทยากรเป็นกันเอง มีความตั้งใจมากในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้าประชุม ประทับใจอาหารกลางวันและ 
อาหารว่าง มีขั้นตอนการให้บริการที่เป็นระบบไม่วุ่นวายเรียบร้อยดี และมีการรักษาเวลาในการประชุม ส่วน 
สิ่งที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดประชุม คือ ห้องประชุมคับแคบและทุกหัวข้อการบรรยายน่าจะมีเอกสาร 
ประกอบการประชุม สถานที่รับประทานอาหารกลางวันไม่เหมาะสมเนื่องจากต้องเดินออกนอกอาคารทำให้เสียเวลา 
และควรเปลี่ยนสถานที่จัดประชุม เนื่องจากพนักงานโรงแรมเลือกให้บริการต่างกันระหว่างคนไทยกับ 
ชาวต่างชาติและพูดจาไม่เพราะ หัวข้อเรื่องที่สนใจและต้องการให้ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]
Sh 20130606104049[1]

Contenu connexe

En vedette

แบบสอบถาม Social
แบบสอบถาม  Socialแบบสอบถาม  Social
แบบสอบถาม Socialkwang_reindiiz
 
อ้างอิง (1)
อ้างอิง (1)อ้างอิง (1)
อ้างอิง (1)Kruthai Kidsdee
 
บรรณานุกรม ปรับปรุง
บรรณานุกรม ปรับปรุง บรรณานุกรม ปรับปรุง
บรรณานุกรม ปรับปรุง kasetpcc
 
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามUtai Sukviwatsirikul
 
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...Pain clinic pnk
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรมKrudoremon
 
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนPeung Chanthimarn
 
แบบสอบถามซีโออาม 10
แบบสอบถามซีโออาม 10แบบสอบถามซีโออาม 10
แบบสอบถามซีโออาม 10Te'tee Pudcha
 
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตงานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตWichai Likitponrak
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013Kruthai Kidsdee
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘Duangnapa Inyayot
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถาม
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถาม
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามสำเร็จ นางสีคุณ
 

En vedette (14)

แบบสอบถาม Social
แบบสอบถาม  Socialแบบสอบถาม  Social
แบบสอบถาม Social
 
อ้างอิง (1)
อ้างอิง (1)อ้างอิง (1)
อ้างอิง (1)
 
บรรณานุกรม ปรับปรุง
บรรณานุกรม ปรับปรุง บรรณานุกรม ปรับปรุง
บรรณานุกรม ปรับปรุง
 
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
 
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
 
แบบสอบถามซีโออาม 10
แบบสอบถามซีโออาม 10แบบสอบถามซีโออาม 10
แบบสอบถามซีโออาม 10
 
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตงานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถาม
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถาม
แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถาม
 

Similaire à Sh 20130606104049[1]

44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444bow4903
 
การวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันการวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันNU
 
การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจkhuwawa2513
 
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdfการวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdfssuser247480
 
Unit8.ppt (read only)
Unit8.ppt (read only)Unit8.ppt (read only)
Unit8.ppt (read only)sirinyabh
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processSakulsri Srisaracam
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03jirupi
 
ใบงานที่6
ใบงานที่6ใบงานที่6
ใบงานที่6Mintra Han-kla
 
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4Mahidol University, Thailand
 
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานPennapa Boopphacharoensok
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบwiraja
 
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุ
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุงานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุ
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุNareerat Keereematcharu
 
บทที่4
บทที่4บทที่4
บทที่4praphol
 

Similaire à Sh 20130606104049[1] (20)

44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
 
การวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันการวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบัน
 
การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ
 
V531
V531V531
V531
 
IT and Data Management in ER
IT and Data Management in ERIT and Data Management in ER
IT and Data Management in ER
 
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdfการวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงและแปลผลจากการวิจัย.pdf
 
Unit8.ppt (read only)
Unit8.ppt (read only)Unit8.ppt (read only)
Unit8.ppt (read only)
 
งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 03
 
Thai Research Databases
Thai Research DatabasesThai Research Databases
Thai Research Databases
 
ใบงานที่6
ใบงานที่6ใบงานที่6
ใบงานที่6
 
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 4
 
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
 
Health Systems IV: Health Informatics
Health Systems IV: Health InformaticsHealth Systems IV: Health Informatics
Health Systems IV: Health Informatics
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
 
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุ
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุงานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุ
งานนำเสนอ แนวคิด ทฤษฏี เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา นางสาวนารีรัตน์ คีรีมาศจารุ
 
บทที่4
บทที่4บทที่4
บทที่4
 
maisooree
maisooreemaisooree
maisooree
 

Sh 20130606104049[1]

  • 1. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 153 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี แสงระวี เทพรอด และคณะ โรงพยาบาลคลองหลวง sangink@hotmail.com บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลอง หลวงแก่ผู้ที่มารับบริการ คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกในวันและเวลาราชการ จำนวน 600 คน แบ่งเป็นระบบทำงานปกติ 300 คน และระบบทำงานที่คณะผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงอีก 300 คน การวิจัยนี้ ศึกษาเฉพาะขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ การยื่นบัตร การตรวจสอบสิทธ์ิ การคัดกรอง การบันทึกข้อมูลลง ระบบคอมพิวเตอร์ การพบแพทย์ตรวจ และการออกใบนัด ปัญหาที่พบในการให้บริการผู้ป่วยนอกคือ ขั้นตอนการให้บริการมีหลายขั้นตอน บางขั้นตอนมีความ ซํ้าซ้อนกัน ทำให้ผู้รับบริการต้องเดินไปหลายจุด และระหว่างขั้นตอนต้องรอเวลานาน จากการวิเคราะห์ ปัญหาและสาเหตุ คณะผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการปรับปรุงกระบวนการบริการโดยการลดขั้นตอนการบริการจาก เดิม 6 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวมงานคัดกรองและบันทึกข้อมูลเข้าด้วยกัน และจัดให้เจ้าหน้าที่คัด กรองและบันทึกข้อมูลไปพร้อมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานในแต่ละจุดทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ t-test จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระยะเวลาการให้บริการจากจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลลดลงจาก 6.8233 นาที เหลือ 5.0567 นาที (ลดลง ร้อยละ 25.94) เมื่อเปรียบเทียบการให้บริการแบบปกติกับการให้บริการแบบที่ได้ปรับปรุง พบว่า มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ระบบทำงานปรับปรุงทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลดการใช้ บุคลากรจาก 7 คน เหลือ 2 คน ข้อพึงระวังจากการวิจัย พบว่า ระยะเวลารอคอยในภาพรวมของผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ระบบทำงานปรับปรุง เพิ่มขึ้นจาก 79.3633 นาที เป็น 105.24 นาที ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะจำนวนคอมพิวเตอร์และจำนวน บุคลากรที่ลดลงจากเดิม ข้อเสนอแนะคือ ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์และบุคลากรให้มากขึ้นในขั้นตอนที่มี การปรับปรุง และควรจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ เช่น ให้สุขศึกษา ออกกำลังกาย ทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างรอคอย คำสำคัญ: กระบวนการลีน, ระยะเวลารอคอย
  • 2. 154 P r o c e e d i n g s บทสรุปงานวิจัย หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง มีจำนวนผู้รับบริการประมาณ 300 คนต่อวัน จากการสำรวจระยะเวลารับบริการรวมของผู้ป่วย ใช้เวลาเฉลี่ยคนละ 218.7774 นาที ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ระยะเวลารอคอย พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่บุคลากร ผู้ป่วย ระบบงาน และระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจัยบางอย่าง ไม่สามารถควบคุมได้ เช่นจำนวนผู้ป่วย จำนวนแพทย์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพในการ บริการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คุณภาพบริการที่ผู้รับบริการคาดหวัง คือความรวดเร็วในการใช้บริการ รอไม่นาน ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน การรอคอยและความล้าช้า ส่วนหนึ่งมาจากทรัพยากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของ ผู้รับบริการ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบระบบงานที่สั่งสมกันมา โดยบางครั้งผู้ที่ปฏิบัติงานก็ไม่ เข้าใจว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น แต่ไม่กล้าที่จะปรับเปลี่ยน บางครั้งเป็นเรื่องที่ออกไปนอกขอบเขตความรับผิดชอบ ของแต่ละหน่วยงาน หรือแต่ละองค์กรขาดการประสานงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน (วิรุฬท์ พรพัฒน์กุล, 2009) แนวคิดการพัฒนาคุณภาพในระบบบริการสุขภาพโดยการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ วิธีการดังกล่าว เรียกว่าการจัดการแบบลีน จากการสังเกตการปฏิบัติงานให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง คณะผู้วิจัยพบว่า มีขั้นตอนการให้บริการหลายขั้นตอน และทำงานซํ้าซ้อน ทำให้ใช้เวลาในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น สิ้นเปลือง ทรัพยากรทั้งบุคลากรและงบประมาณ ระบบงานขาดประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัย จึงสนใจศึกษาถึงการลด ขั้นตอนการให้บริการแก่ผู้ป่วยเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวง แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักการของลีนจะเน้นที่คุณค่าของสินค้าหรือบริการ โดยจะพยายามที่จะกำจัดองค์ประกอบหรือ ขั้นตอนที่ไม่ทำให้เกิดคุณค่าออกไป ขณะเดียวกันก็พัฒนาปรับปรุงกระบวนการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตามที่ ลูกค้าต้องการ โดยหลักการของลีนจะมุ่งเน้นในการระบุคุณค่าจากมุมมองของลูกค้า มุ่งหาหลักในการพัฒนา กระบวนการผลิตที่ทำให้สามารถเพิ่มคุณค่า โดยมีเป้าหมายในการทำให้กระบวนการเพิ่มคุณค่า (Value process) ไร้รอยต่อหรือสามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับแนวความคิด “ทำให้ถูกตั้งแต่ต้น” ซึ่งการ “ทำให้ถูก” นี้จะหมายถึงการทำงานที่ป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่าง สิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์รายละเอียดของการพัฒนาสินค้าหรือบริการ และกระบวนการผลิตอย่างลึกซึ้งใน การค้นหาต้นตอของปัญหา เพื่อกำจัดต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิตหรือ กระบวนการให้บริการหมดไป (อารีย์วรรณ อ่วมตานี, 2552)
  • 3. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 155 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research) โดยอาศัยการวิจัยเชิงพัฒนา (Development Research) ทำการศึกษาในกลุ่มผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวงในวันและเวลาราชการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอยในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีกระบวนการ ตามปกติ 6 ขั้นตอน และนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนเหลือ 5 ขั้นตอน ขั้นตอนตามกระบวนการปกติมีดังนี้ 1. การยื่นบัตร 2. การเช็คสิทธิ์ 3. คัดกรอง 4. บันทึกข้อมูล 5. รับการตรวจ 6. ลงนัดผู้ป่วย เมื่อนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนการบริการผู้ป่วยนอก สามารถลดได้เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวม จุดตรวจคัดกรองและวัดสัญญาณชีพเข้ากับจุดบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 1. การยื่นบัตร 2. การเช็คสิทธิ์ 3. การคัดกรอง และบันทึกข้อมูล 4. รับการตรวจ 5. ลงนัดผู้ป่วย ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้รับบริการที่มาใช้บริการตรวจรักษาโรคในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลอง หลวงและไม่ได้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล คอยรับบริการแล้วกลับบ้านได้ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกในวันและเวลาราชการ โรงพยาบาลคลองหลวง ระหว่างเดือน ตุลาคม–เดือนพฤศจิกายน 2555 โดยเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอยของผู้มารับ บริการผู้ป่วยนอกครั้งที่ 1 จำนวน 300 คน และครั้งที่ 2 หลังนำกระบวนการลีนมาลดขั้นตอนการบริการแล้ว อีก 300 คน ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนของการเตรียมเครื่องมือศึกษา ได้แก่ แบบลงเวลาปฏิบัติงานในแต่ละจุด ประสานงานเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในจุดที่สะดวกในการศึกษา
  • 4. 156 P r o c e e d i n g s 2. ขั้นดำเนินการศึกษา โดยครั้งที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอย ในแต่ละขั้นตอน ตามระบบทำงานปกติ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ครั้งที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลระยะเวลาการให้บริการและ ระยะเวลารอคอยในแต่ละขั้นตอน โดยนำกระบวนการลีนมาใช้ลดขั้นตอนการบริการผู้ป่วยนอก สามารถลดได้ เหลือ 5 ขั้นตอน โดยรวมจุดตรวจคัดกรองและวัดสัญญาณชีพเข้ากับจุดบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ 3. ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา โดยการคำนวณระยะเวลาตลอดกระบวนการทั้งหมดตาม แนวทางของลีน รายงานเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการและระยะเวลารอคอย เปรียบเทียบกัน การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานที่ 1 ระบบทำงานปกติ มีระยะเวลาปฏิบัติและระยะเวลารอคอยเฉลี่ยแตกต่างจากระบบ ทำงานปรับปรุง ตารางที่ 1: ตารางการวิเคราะห์รูปแบบการให้บริการ รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย นอก N Mean Std. Deviation ค่า t ค่า df Sig. ระบบทำงานปกติ (แยกการคัด กรองและการบันทึกข้อมูล) 300 6.8233 2.47775 4.033 598 0.000 ระบบทำงานปรับปรุง (รวมการ คัดกรองและการบันทึกข้อมูล) 300 5.0567 7.17065 จากตารางที่ 1 สรุปได้ว่าระบบทำงานปกติ มีเวลาเฉลี่ยในการให้บริการผู้ป่วยนอก 6.82 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.47775 และระบบทำงานปรับปรุง มีเวลาเฉลี่ยในการให้บริการผู้ป่วยนอก 5.06 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.17065 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีค่า t = 4.033 และค่า df เท่ากับ 598 ค่า sig. เท่ากับ 0.000 แสดงว่าระบบทำงานปกติมีระยะเวลาการปฏิบัติงานและระยะเวลารอ คอยแตกต่างจากระบบทำงานปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบทำงานปกติ ใช้เวลาในการให้บริการมากกว่าระบบทำงานปรับปรุง สมมติฐานที่ 2 ระยะเวลาการรอคอยก่อนเข้าสู่ระบบทำงานปกติในขั้นตอนการคัดกรองและบันทึก ข้อมูลในระบบปกติแตกต่างจากระบบทำงานปรับปรุง
  • 5. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 157 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” ตารางที่ 2: ตารางการวิเคราะห์ระยะเวลาการรอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงาน ปกติและหลังปรับปรุง รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย Std. ค่า t ค่า df Sig. นอก N Mean Deviation ระยะเวลาการรอคอยในระบบ ทำงานปกติ 300 79.3633 33.0135 -9.732 598 0.000 ระยะเวลาการรอคอยหลัง ปรับปรุง 300 105.2400 32.10949 จากตารางที่ 2 ระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปกติ มีเวลาเฉลี่ย 79.36 นาที ขณะที่ระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 105.24 นาที จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีค่า t เท่ากับ -9.732 และค่า df เท่ากับ 536 ค่า sig. เท่ากับ 0.000 แสดงว่าระยะเวลารอคอยก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลในระบบทำงานปกติแตกต่างจากระบบ ทำงานปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบทำงานปกติใช้เวลาในการรอคอยก่อนคัด กรองและบันทึกข้อมูลน้อยกว่าระบบทำงานปรับปรุง สมมติฐานที่ 3 ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมของระบบทำงานปกติแตกต่างจากระบบ ทำงานปรับปรุง ตารางที่ 3 : ตารางการวิเคราะห์ระยะที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงานปกติและ ระบบทำงานปรับปรุง รูปแบบการให้บริการผู้ป่วย นอก N Mean Std. Deviation ค่า t ค่า df Sig. ระยะเวลาการให้บริการใน ภาพรวมของระบบทำงานปกติ 265 218.7774 68.28760 -4.373 536 0.000 ระยะเวลาการให้บริการใน ภาพรวมหลังปรับปรุง 273 242.5788 57.65103 จากตารางที่ 3 พบว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมของระบบทำงานปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 218.7774 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 68.28760 และระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงาน ปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 242.5788 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 57.65103 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีค่า t เท่ากับ -4.373 ค่า df เท่ากับ 536 ค่า sig. เท่ากับ 0.000 สรุปได้ว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการ ในภาพรวมในระบบทำงานปกติและระบบทำงานปรับปรุงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าว ได้ว่า ระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการในภาพรวมในระบบทำงานปกติน้อยกว่าระบบทำงานปรับปรุง
  • 6. 158 P r o c e e d i n g s อภิปรายผล ภายหลังจากพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โดยนำกระบวนการลีน (Lean) มาใช้เพื่อลดขั้นตอน และเวลา ระบบทำงานปรับปรุงช่วยลดขั้นตอนการให้บริการจาก 6 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลา ปฏิบัติการลดลงจาก 6.8233 นาที เหลือ 5.0567 นาที (ลดลงร้อยละ 25.94) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ กล่าวคือ ระบบทำงานปรับปรุงทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลดการใช้บุคลากรจาก 7 คน เหลือ 2 คน ทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ส่วนระยะเวลาก่อนคัดกรองและบันทึกข้อมูลหลัง ปรับปรุงใช้เวลาเเพิ่มขึ้นจาก 79.3633 นาที เป็น 105.2400 นาที ทั้งนี้อาจเนื่องจากเดิมมีคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง ในจุดบันทึกข้อมูล มีบุคลากรทำงานในจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลรวม 7 คน แต่ช่วงเวลาศึกษาใน ระบบทำงานปรับปรุงเหลือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง บุคลากรเหลือเพียง 2 คน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา นี้ ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เป็น 3 เครื่องเท่าเดิม ส่วนระยะเวลารับบริการรวมที่เพิ่มขึ้นจากระบบทำงาน ปกติ จาก เวลาเฉลี่ย 218.7774 นาที เป็น 242.5788 นาที นั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการศึกษานี้ไม่ได้มีการ ควบคุมปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนแพทย์ , จำนวนผู้ป่วย , โรคและอาการของผู้ป่วย เป็นต้น สอดคล้องกับงานวิจัยของศิลปชัย วัฒนเสย , พิษณุ มนัสปิติ (2554) ที่ศึกษาการปรับปรุงการบริการ โรงพยาบาล ที่แผนกเวชระเบียนโดยการรวมงานเวชระเบียนกับการตรวจสอบสิทธิ เพิ่มสถานีคัดกรองและ ปรับปรุงแถวคอยเป็นแถวคอยเดียว ทำให้บริการรวดเร็วขึ้น , งานวิจัยของนายแพทย์มนูศิลป์ คงคา และ คณะ(2554) ทำการศึกษาการกระชับขั้นตอนและลดระยะเวลาการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ปี 2554 พบว่า สามารถลดขั้นตอนการบริการ จากเดิม 14 ขั้นตอน เหลือ10 ขั้นตอน ระยะเวลารอคอยรวมลดลง จาก 2 ชั่วโมง 30 นาที เหลือ 1 ชั่วโมง 40 นาที ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาผลของการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก โดยนำระบบลีนมาใช้เพื่อ ลดขั้นตอนและเวลา ทำให้ระยะเวลาการให้บริการในจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูลลดลง ผู้ป่วยได้รับบริการที่ รวดเร็ว และใช้บุคลากรลดลง บุคลากรพยาบาลมีเวลาให้บริการสุขภาพในกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็น เช่น การให้สุขศึกษา ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ แต่ก็พบว่าระยะเวลารอคอยก่อนเข้าจุดคัดกรองและบันทึกข้อมูล ใช้เวลาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากเดิมมีคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง ในจุดบันทึกข้อมูล มีบุคลากรทำงานในจุดคัด กรองและบันทึกข้อมูล รวม 7 คน แต่ช่วงเวลาศึกษาในระบบทำงานปรับปรุง เหลือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง บุคลากรเหลือเพียง 2 คน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์และบุคลากร ให้เพียงพอ
  • 7. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 159 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” บรรณานุกรม เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2550). Lean:วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง. ดวงกมล สายเทพ,พนิดา ดามาพงศ์. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมการจัดบริการตามมาตรฐานการ พยาบาลผู้ป่วยนอกต่อความพึงพอใจในบริการของผู้รับบริการและระยะเวลารอคอยในแผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเมืองสมุทรปู่เจ้าสมิงพราย.วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร. ปีที่1 ฉบับที่ 2ก.ค.-ธ.ค.2550. มนูศิลป์ คงคา. LEAN AT OPD กระชับขั้นตอนและลดระยะเวลาการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกปี 2554 Retrieved November 28,2012.from WWW.Med.cmu.ac.th/.../NEW%20 Lean% 20OPD%20sanpatong%202554.pdf ยุพิน อภิสิทธิวงศ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการลีนในการลดขั้นตอนการกำหนดการ ผ่าตัดฉุกเฉินในเวลาราชการ: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสงขลา. วิสัญญีสาร,ปีที่ 38 (ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2555), หน้า 133 – 136. รัตนา พอพิน, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และอรอนงค์ วิชัยคำ.(มปป). การพัฒนากระบวนการเตรียมผ่าตัด คลอดทางหน้าท้องในห้องผ่าตัด.โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. วัชรี หน่อแก้ว. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วยพิเศษ 2 โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระ(พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาวิชาการ บริหารการพยาบาล)บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิรุฬท์ พรพัฒน์กุล. ( 2009 ) . Lean ในโรงพยาบาล . Retrieves . November 28, 2012. from WWW.narahospital.com / director / Modules. Php ? name = News & file = article = 11. อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2552). การจัดการแบบลีนกับการบริการสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล, ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2552), หน้า 6.
  • 8. 160 P r o c e e d i n g s การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการ ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี A Study of Satisfaction in the Service of Clients Ramathibodi Continuing Nursing Education Center Ramathibodi School of Nursing. สุเทพ ธุระพันธ์ ภาสกร ศิระพัฒนานนท์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล suthep.thr@mahidol.ac.th บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการ ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จำแนกตามคุณลักษณะ ส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล รามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่าง เดือนตุลาคม 2554–มกราคม 2555 จำนวน 226 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย การคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (95.1%) ครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 30-40 ปี (50.0%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (89.9%) และมีประสบการณ์ในการ ทำงานมากกว่า 10 ปี (49.6%) ผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจของต่อการจัดบริการวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากในรายด้าน พบว่าผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจระดับมากเช่นกัน ได้แก่ ด้านการให้บริการของบุคลากร ด้าน วิชาการด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจต่อความคุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการโดย ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่อ การจัดบริการวิชาการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าการ จัดบริการวิชาการที่ประทับใจ คือ ผู้จัดการประชุมมีความเป็นกันเอง ให้บริการด้วยความเต็มใจ ยินดีให้บริการ เอาใจใส่ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ห้องประชุมคับแคบและทุกหัวข้อการ บรรยายน่าจะมีเอกสารประกอบการประชุม ข้อเสนอแนะอื่นๆ คือ ควรมีดีวีดีรวบรวมเนื้อหาการประชุมทั้งหมด แจกหลังจัดประชุมจะดีมาก คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, บริการวิชาการ, พยาบาลวิชาชีพ
  • 9. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 161 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” Abstract The purposes of this research were to survey study and compare satisfaction in the service of clients Ramathibodi Continuing Nursing Education Center, Ramathibodi School of Nursing, which classified by their personal characteristics. The data were collected by questionnaires. The sample were 226 registered nurses in the service of clients Ramathibodi Continuing Nursing Education Center, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University during October 2011 - January 2012 and the data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis. To be the result of this study were as follows; 95.1% of the sample are female, 50.0% during 30-40 years of age, 89.9% get first degree, 49.6% experience more than 10 years. The participants were satisfied with the overall service at the high level. The services personnel, the academics, the process of service, the meeting, the facilities respectively. Meanwhile the well worth the time and cost at the high level too. The result of hypothesis testing showed difference among the nurses with age and experience, while satisfaction in the service of clients overall differences were statistically significant, whereas levels of education had no significant difference. The findings in this study suggested that the impressive of academic services were the meeting is friendly. The wholehearted welcome to our faces beaming with good-natured facilities in various fields. What should be improved were cramped conference room and conference topics will be documented. Suggested of other things that DVD compilation of all content should be distributed after the conference. Keywords: satisfaction, academic services, registered nurses บทสรุปงานวิจัย หลักการและเหตุผล การศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ เป็นบริบทใหม่ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยเป็นกลไกใน การเชื่อมโยงองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลากับความรู้เดิมที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ เคยเรียนใน สถาบันการศึกษา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและทันต่อเหตุการณ์ นับเป็นการ คุ้มครองผู้บริโภค หรือประชาชนผู้ใช้บริการพยาบาลที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ ทั้งในวงการวิชาชีพและใน สังคม(สภาการพยาบาล, 2554) ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ (ปัจจุบันคือโรงเรียน พยาบาลรามาธิบดี) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีหน้าที่และความ รับผิดชอบ ดังนี้ 1) วางแผนดำเนินการจัดการฝึกอบรมให้กับบุคลากรทุกระดับของภาควิชาพยาบาลศาสตร์ และบุคลากรพยาบาลนอกสถาบัน 2) ดำเนินการจัดฝึกอบรมทุกโครงการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นไป
  • 10. 162 P r o c e e d i n g s อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ประเมินและติดตามผลโครงการจัดฝึกอบรมประจำปีของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทางการพยาบาลรามาธิบดี 4) ออกหลักฐานรับรองการเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรและ/หรือกิจกรรมการศึกษา ต่อเนื่องและ 5) จัดทำระบบและบันทึกหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องของผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรและ/หรือ กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่สภาการพยาบาลได้รับรองหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องแล้ว (สุเทพ ธุระพันธ์ และภาสกรศิระพัฒนานนท์, 2550) นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันหลักที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลให้ เป็นสถาบันที่จัดการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ และเป็นศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้มีพันธกิจด้านการ พัฒนาบุคลากรและให้บริการวิชาการ ได้แก่ การจัดอบรม/ประชุมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ ผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่ดี สามารถให้บริการพยาบาลตามมาตรฐานของวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการต่ออายุ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2547 (สภาการพยาบาล, 2554) ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการ วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รวมทั้งรวบรวม ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการจัดบริการวิชาการ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานด้านการ บริการวิชาการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษา ต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และ ระดับการศึกษาแตกต่างกัน กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ตามวิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการให้บริการของบุคลากร 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอน การให้บริการ 4) ด้านการจัดประชุม และ 5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้า ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการ พยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีและในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยยังได้พิจารณาถึงความแตกต่างของ ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำตัวแปรระดับการศึกษา อายุ และ ประสบการณ์ในการทำงาน มาเป็นตัวแปรอิสระในการศึกษาด้วย
  • 11. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษา ต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 1) ด้านการให้บริการของบุคลากร 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ 4) ด้านการจัดประชุม 5) ด้านส่งิ อำนวยความสะดวก 163 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” คุณลักษณะส่วนบุคคล - ระดับการศึกษา - อายุ - ประสบการณ์ในการทำงาน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พยาบาล วิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพที่เข้า ประชุมวิชาการ ซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน ตุลาคม 2554–มกราคม 2555 รวม จำนวนทั้งสิ้น 226 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงาน แหล่งที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุมวิชาการการ สมัครเข้าร่วมประชุมอีกครั้ง การจ่ายค่าลงทะเบียนการประชุม การแนะนำผู้อื่นให้เข้าร่วมประชุมและเหตุผลที่ เลือกเข้าประชุม มีคำถามรวม 14 ข้อ เป็นคำถามลักษณะปลายปิดให้เลือกตอบ(Check List) และเป็นคำถาม ปลายเปิดให้เขียนความเรียงและระบุจำนวนตัวเลขลงในช่องว่าง 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มีคำถามรวม 32 ข้อ ลักษณะของแบบสอบถามเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Scale) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผลการวัดในกรณีค่าเฉลี่ยจากมาตรส่วนประมาณค่าแปล ความหมายโดยใช้จุดกึ่งกลางชั้น(Mid Point Average) ของ พงษ์เทพ จิระโร (2554, หน้า 13) ดังตารางที่ 1
  • 12. 164 P r o c e e d i n g s ตารางที่ 1 การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยใช้จุดกึ่งกลางชั้น (Mid Point Average) Mid Point Average แปลความหมาย 1.00 – 1.49 ผลการประเมินระดับน้อยที่สุด 1.50 – 2.49 ผลการประเมินระดับน้อย 2.50 – 3.49 ผลการประเมินระดับปานกลาง 3.50 – 4.49 ผลการประเมินระดับมาก 4.50 – 5.00 ผลการประเมินระดับมากที่สุด 4. แบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีคำถามรวม 4 ข้อ เป็นคำถามปลายเปิด ผู้วิจัยนำ แบบสอบถามไปทดลองใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่า ความเชื่อมั่นดังนี้ ด้านการให้บริการของบุคลากร ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม ด้านวิชาการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเท่ากับ 0.95 0.94 0.86 0.85 0.87 ตามลำดับ และได้ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 จริยธรรมในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตามเลขที่โครงการ/รหัส ID 09-54-11ย มีการ พิทักษ์สิทธิโดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยยินยอมด้วยวาจาหรือลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรตามความสมัครใจที่ให้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามซึ่งข้อมูลที่ได้จะเก็บเป็นความลับและจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถยกเลิกการเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ได้ตลอดเวลา โดยจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้เข้าร่วม วิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ขออนุมัติทำการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัย 2. ภายหลังได้รับอนุมัติ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยติดต่อกับรักษาการรอง ผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ฝ่ายวิจัยและวิชาการ เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือให้พยาบาล วิชาชีพตอบแบบสอบถาม
  • 13. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 165 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” 3. ชี้แจงให้พยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมวิชาการ ซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการ พยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน 4. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง ได้รับคืนจำนวน 226 ฉบับ แล้วนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลทั้งสิ้น 226 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75.3 ของแบบสอบถามทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงาน แหล่งที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุมวิชาการการ สมัครเข้าร่วมประชุมอีกครั้ง การจ่ายค่าลงทะเบียนการประชุม การแนะนำผู้อื่นให้เข้าร่วมประชุม เหตุผลที่เลือก เข้าประชุม และความพึงพอใจของผู้เข้าประชุม ด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการ วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและ รายด้านจำแนกตามระดับการศึกษา ด้วยการทดสอบค่าที (Independent t-test) และเปรียบเทียบความ แตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุม โดยภาพรวมและรายด้านจำแนกตามอายุและ ประสบการณ์ในการทำงานด้วยสถิติ One-way ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ Scheffe’ 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดที่ให้เติมคำได้อย่างอิสระ ผู้วิจัยนำคำตอบ มาจัดกลุ่มเพื่อนำเสนอความเรียง ผลการวิจัย ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.1 ครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 50.0มี สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 58.8 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 89.9 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อย ละ 91.6 มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 49.6 เป็นการสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้ง แรก ร้อยละ 81.0 โดยหน่วยงานส่งเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 76.8 สามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้จากต้นสังกัด ร้อยละ 85.7 มีค่าใช้จ่ายตลอดการประชุมมากกว่า 6,000 บาท ร้อยละ 57.5 และได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุมวิชาการจากจดหมายเชิญประชุม ร้อยละ 53.1 หากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี จัดประชุมครั้งต่อไปซึ่งตรงกับเรื่องที่สนใจผู้ เข้าประชุม จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 85.8 จะสมัครเข้าร่วมประชุม เหตุผลคือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทบทวนและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ ที่มีเนื้อหาน่าสนใจตรงกับงานที่ทำ รวมทั้งได้รับประโยชน์และสามารถนำ ความรู้กลับไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง โดยวิทยากรสอนตรงประเด็นและอธิบายได้เข้าใจง่าย และเป็นการ เสริมศักยภาพตนเองเพื่อการพัฒนางาน และผู้เข้าประชุม จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 98.7 จะแนะนำผู้อื่น ให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องต่างๆ ที่จัดโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี เหตุผลคือ เพื่อให้ ได้พัฒนาความรู้ วิทยาการ แนวคิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีประโยชน์ต่อวิชาชีพและสามารถนำความรู้ไป
  • 14. 166 P r o c e e d i n g s ประยุกต์ใช้ได้จริง เนื้อหาน่าสนใจที่บรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้เข้าใจ ส่วนเหตุผลที่ผู้เข้าประชุมเลือกเข้าประชุมมีดังนี้ คือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้กับ ผู้ป่วยในหน่วยงานได้เป็นการประชุมที่มีเนื้อหาน่าสนใจตรงกับงานที่ปฏิบัติ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงมี มาตรฐานและน่าเชื่อถือ ตลอดจนวิทยากรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับอย่าง แพร่หลาย นอกจากนี้ เหตุผลที่ผู้เข้าประชุมเลือกเข้าประชุมเพื่อเก็บสะสมหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขา พยาบาลศาสตร์ และเป็นโรงเรียนพยาบาลที่มีคุณภาพชั้นนำระดับประเทศ ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล รามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี พิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.10, S.D.= 0.48) และเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยด้านการให้บริการของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุด รองลงมาคือด้านวิชาการ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก (M = 4.32, 4.18, 4.17, 3.90 และ 3.88; S.D.= 0.58, 0.58, 0.52, 0.59 และ 0.65 ตามลำดับ) ดังตารางที่ 2 ส่วนความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อความคุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับมากเช่นกัน (M = 3.88, S.D.= 0.65) ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้าน (N=226) Mean S.D. ร ะ ดับ ค ว า ม พึ ง ความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการ พอใจ ด้านการให้บริการของบุคลากร 4.32 0.58 มาก ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ 4.17 0.52 มาก ด้านการจัดประชุม 3.90 0.59 มาก ด้านวิชาการ 4.18 0.58 มาก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3.88 0.65 มาก รวม 4.10 0.48 มาก ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีโดย ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษาด้วยการทดสอบค่าที(Independent t-test) พบว่าผู้เข้า ประชุมที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ดังตารางที่ 3
  • 15. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 167 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดย ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษา (N=226) ความพึงพอใจ ต่อการจัดบริการวิชาการ ปริญญาตรี (N=203) สูงกว่าปริญญา ตรี (N=23) t p Mean S.D. Mean S.D. ด้านการให้บริการของบุคลากร 4.35 .559 4.12 .765 1.377 .181 ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ ให้บริการ 4.19 .498 3.99 .686 1.354 .188 ด้านการจัดประชุม 3.91 .589 3.76 .631 1.101 .281 ด้านวิชาการ 4.19 .564 4.05 .677 .969 .342 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3.89 .656 3.84 .599 .343 .734 รวม 4.11 .465 3.96 .581 1.189 .246 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีโดย ภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุ พบว่า ผู้เข้าประชุมที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการ วิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ (F = 2.55, 3.12, 3.58, 3.10, 1.97 และ 4.34; p = .081, .046, .030, .047, .142 และ .005 ตามลำดับ) ดังตารางที่ 4 เมื่อวิเคราะห์ post hoc โดยเปรียบเทียบพหุคูณ(Multiple comparison test) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้า ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี โดยใช้วิธีของ Scheffe’ แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี มีความพึงพอใจต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านการจัดประชุม และด้านวิชาการการ สูงกว่าผู้เข้าประชุมที่มีอายุ มากกว่า 40 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังตารางที่ 5
  • 16. 168 P r o c e e d i n g s ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามอายุ (N=226) ความพึงพอใจ แหล่งความ SS df MS F p ต่อการจัดบริการวิชาการ แปรปรวน ด้านการให้บริการของบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 1.721 2 .861 2.55 .081 ภายในกลุ่ม 75.385 223 .338 รวม 77.106 225 ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ ให้บริการ ระหว่างกลุ่ม 1.673 2 .836 3.12 .046 ภายในกลุ่ม 59.701 223 .268 รวม 61.374 225 ด้านการจัดประชุม ระหว่างกลุ่ม 2.465 2 1.233 3.58 .030 ภายในกลุ่ม 76.867 223 .345 รวม 79.332 225 ด้านวิชาการ ระหว่างกลุ่ม 2.018 2 1.009 3.10 .047 ภายในกลุ่ม 72.211 222 .325 รวม 74.229 224 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระหว่างกลุ่ม 1.645 2 .823 1.97 .142 ภายในกลุ่ม 93.171 223 .418 รวม 94.816 225 รวม ระหว่างกลุ่ม 2.857 3 .952 4.34 .005 ภายในกลุ่ม 48.763 222 .220 รวม 51.620 225
  • 17. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 169 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” ตารางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รายด้าน จำแนกตามอายุเป็นรายคู่ (N=226) ความพึงพอใจต่อ น้อยกว่า 30-40 ปี มากกว่า 40 ก า ร จัด บ ริ ก า ร อายุ 30 ปี (N=113) ปี วิชาการ (N=83) (N=30) ด้ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร / ขั้นตอนการให้บริการ น้อยกว่า 30 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 4.23 - .794 .048* 30-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.18 - .114 มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.96 - ด้านการจัดประชุม น้อยกว่า 30 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 4.00 - .386 .032* 30-40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.88 - .210 มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.67 - ด้านวิชาการ น้อยกว่า 30 ปี ค่าเฉลี่ย 4.24 - .785 .049* 30-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.19 - .119 มากกว่า 40 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.94 - * p < .05 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อ การจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลโดยภาพรวมและราย ด้าน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความ พึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดีแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ (F=1.56, 3.65, 3.59, 2.26, 3.70 และ 3.25; p = .213, .028, .029, .106, .026 และ .041 ตามลำดับ) ดังตารางที่ 6 เมื่อวิเคราะห์ post hoc โดยเปรียบเทียบพหุคูณ(Multiple comparison test) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้า ประชุมต่อการจัดบริการวิชาการของ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี โดยใช้วิธีของ Scheffe’ แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียน
  • 18. 170 P r o c e e d i n g s พยาบาลรามาธิบดี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สูงกว่าผู้เข้าประชุมที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังตารางที่ 7 ตารางที่ 6 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน (N=226) ความพึงพอใจ แหล่งความ SS df MS F p ต่อการจัดบริการวิชาการ แปรปรวน ด้านการให้บริการของบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 1.062 2 .531 1.56 .213 ภายในกลุ่ม 76.044 223 .341 รวม 77.106 225 ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการ ให้บริการ ระหว่างกลุ่ม 1.944 2 .972 3.65 .028 ภายในกลุ่ม 59.430 223 .267 รวม 61.374 225 ด้านการจัดประชุม ระหว่างกลุ่ม 2.476 2 1.238 3.59 .029 ภายในกลุ่ม 76.855 223 .345 รวม 79.332 225 ด้านวิชาการ ระหว่างกลุ่ม 1.483 2 .742 2.26 .106 ภายในกลุ่ม 72.746 223 .328 รวม 74.229 225 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระหว่างกลุ่ม 3.047 2 1.523 3.70 .026 ภายในกลุ่ม 91.769 223 .412 รวม 94.816 225 รวม ระหว่างกลุ่ม 1.462 2 .731 3.25 .041 ภายในกลุ่ม 50.158 223 .225 รวม 51.620 225
  • 19. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 171 หัวข้อ “เอเชียรุ่งโรจน์: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย” ตารางที่ 7 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการ จัดบริการวิชาการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี รายด้าน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานเป็นรายคู่ (N=226) ความพึงพอใจต่อ น้อยกว่า 5 5-10 ปี มากกว่า 10 ก า ร จัด บ ริ ก า ร ประสบการณ์ในการทำงาน ปี (N=60) ปี วิชาการ (N=54) (N=112) ด้ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร / ขั้นตอนการให้บริการ น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 4.25 - .986 .121 5-10 ปี ค่าเฉลี่ย 4.27 - .068 มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 4.08 - ด้านการจัดประชุม น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.99 - .985 .126 5-10 ปี ค่าเฉลี่ย 4.01 - .070 มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.79 - ด้านสิ่งอำ นวยความ สะดวก น้อยกว่า 5 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 4.09 - .087 .037* 5-10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.82 - .103 มากกว่า 10 ปี ค่ า เ ฉ ลี่ ย 3.82 - * p < .05 การบริการในการจัดประชุมที่ผู้เข้าประชุมประทับใจ คือ ผู้จัดการประชุมมีความเป็นกันเอง ให้บริการ ด้วยความเต็มใจ ยินดีให้บริการ เอาใจใส่ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ วิทยากรเป็นกันเอง มีความตั้งใจมากในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้าประชุม ประทับใจอาหารกลางวันและ อาหารว่าง มีขั้นตอนการให้บริการที่เป็นระบบไม่วุ่นวายเรียบร้อยดี และมีการรักษาเวลาในการประชุม ส่วน สิ่งที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดประชุม คือ ห้องประชุมคับแคบและทุกหัวข้อการบรรยายน่าจะมีเอกสาร ประกอบการประชุม สถานที่รับประทานอาหารกลางวันไม่เหมาะสมเนื่องจากต้องเดินออกนอกอาคารทำให้เสียเวลา และควรเปลี่ยนสถานที่จัดประชุม เนื่องจากพนักงานโรงแรมเลือกให้บริการต่างกันระหว่างคนไทยกับ ชาวต่างชาติและพูดจาไม่เพราะ หัวข้อเรื่องที่สนใจและต้องการให้ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล