SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  17
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ 4
ชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์
คําว่า คริสต์ หรือไครสต์ ( Christ) มาจากภาษาโรมันว่า คริสตุส (Christus) ซึ่ง คํานี้มีราก
ศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Christos ซึ่งแปลมาจากคําว่า เมสสิอาห์หรือเมสไซอา (Messiah) ใน
ภาษาฮิบรู คําว่า เมสสิอาห์ หรือเมสไซอา แปลว่า พระผู้ปลดเปลื้องทุกข์ภัย หรือพระผู้ช่วย ให้รอด
พ้น ไม่ตกนรกจากคําพิพากษาในวันตัดสินโลก ซึ่งพระเจ้าจะส่งบุคคลนั้นลงมารับทุกข์ ทรมานแทน
มนุษย์ทั้งหลาย เมสสิอาห์จะเป็นผู้ช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ ทรมาน (หลวงวิจิตรวาท
การ.2546 :104)
คําว่า ศาสนาคริสต์ เพิ่งเกิดขึ้นและนํามาใช้หลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว มีสาเหตุจาก
เนื่องจากความโกรธแค้นของเหล่าพระสาวกที่ศรัทธาในพระเยซูที่เห็นท่านถูกใส่ร้ายจาก พวกหัวเก่าที่
นับถือศาสนายิวจนเสียชีวิตทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด รวมกับความศรัทธาที่เกิดมาจากการได้ฟังข่าวการฟื้น
คืนชีพของพระเยซูจึงพากันแยกตัวออกจากศาสนายิว โดยตั้งชื่อศาสนาใหม่ว่า ศาสนาคริสต์ โดย
นักบวชเซนต์ปอล เป็นผู้ตั้งขึ้น (ธรรมกาย. 2550 : 319 )
ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ศาสนาคริสต์เจริญเติบโตแพร่หลายไปได้น้อยมาก เพราะมีผู้
คอยขัดขวางทําลายล้าง พระเยซูเองมีเวลาเป็นศาสดาเพียง 3 ปีเท่านั้นก็สิ้นชีพโดย การถูกตรึงไม้
กางเขน ศาสนาคริสต์มีความเจริญเติบโตหลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว โดยการเผยแผ่ศาสนาอย่าง
จริงจังของเหล่าพระสาวกและผู้นับถือ ศาสนาคริสต์มีความเจริญแพร่หลายมากที่สุดในสมัยของ
พระเจ้าคอนสแตนตินที่ทรงเลื่อมใสและอุปถัมภ์ค้ําชูศาสนาคริสต์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง
ศาสนสถาน การออกกฎหมายมิลานในปี ค.ศ.313 ให้สํานักวาติกันเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ไม่
ต้องขึ้นกับการปกครองของฝ่ายอาณาจักร ฝ่ายอาณาจักรจะเข้าไปแทรกแซงกิจการในศาสนจักรไม่ได้
ให้สันตะปาปามีอํานาจเท่าราชา มีอํานาจปกครองศาสนจักรทั้งปวง ทรงนําไม้กางเขนมาเป็น
สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์และสิ่งที่ทําให้ศาสนาคริสต์ได้รับความนับถือมากที่สุด คือ ในปี ค.ศ. 325
ทรงออกกฎหมายให้ทุกคนนับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น ที่เรียกว่า ศรัทธาทางการ ดังนั้น ตั้งแต่ ค.ศ.
325-1054 ศาสนาคริสต์จึงได้เจริญเติบโตขนานใหญ่ จากศาสนาประจําชาติของประเทศอิตาลีกลาย
มาเป็นศาสนาประจําชาติของทุกประเทศในทวีปยุโรป และต่อมาได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีป
อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และทวีปออสเตรเลียด้วย (ธรรมกาย. 2550 : 320-333)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
-44-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ศาสนาคริสต์เกิดในประเทศปาเลสไตน์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 543 โดยคิดตามปีเกิดของ
พระเยซูผู้เป็นศาสดา เป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนายิวเช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม เพราะทั้ง
สองศาสนาต่างนับถือพระเจ้าองค์เดียวคือ พระเยโฮวาห์ (Yehowah) และยอมรับนับถือคัมภีร์
พันธสัญญาเดิม (Old testament) ของศาสนายิว แม้พระเยซูเองก็ไม่เคยประกาศตั้งศาสนาคริสต์
การที่ท่านเที่ยวสั่งสอนศาสนธรรมต่างๆ ก็เพื่อทําให้ศาสนายิวมีความสมบูรณ์ ซึ่งมีประวัติและ
วิวัฒนาการที่น่าศึกษา ดังนี้
1. ประวัติศาสนาคริสต์
ศาสดาของคริสต์ศาสนา ทรงมีนามว่า "เยซู" หรือ "จีซัส" ถือกําเนิดในหมู่ชนชาติ
อิสราเอล (ยิว) พระมารดาชื่อ มารีย์ และบิดาชื่อโยเซฟ มีอาชีพเป็นช่างไม้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บ้าน
กาลิลี (Callilee) เมืองนาซาเรธ (Nazareth) ข้อความในพระคัมภีร์ไบเบิลแสดงไว้ว่า พระนางมารีย์ ผู้
เป็นมารดาของพระเยซูนั้นมีครรภ์ด้วยอํานาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงานกับโยเซฟ
การที่โยเซฟรับนางเป็นภรรยาเพราะทูตสวรรค์กาเบรียลของพระเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟในความฝัน
โดยให้เขารับนางมารีย์เป็นภรรยา เนื่องจากผู้ที่ปฏิสนธิในครรภ์ของนางนั้นเป็นเพราะอํานาจของ
พระวิญญาณบริสุทธิ์ นางจะประสูติบุตรชาย แล้วให้ตั้งชื่อว่า เยซู
พระเยซู ประสูติเมื่อปีที่ 1 แห่งคริสตศักราช (นับตั้งแต่พระเยซูประสูติ) ที่เมือง เบธเลเฮม
(Bethlehem) แขวงยูดาย กรุงเยรูซาเลม ชาวคริสต์ในยุคแรกเชื่อว่า พระเยซูเกิดที่ เบธเลเฮม สืบเชื้อ
สายมาจากกษัตริย์เดวิด (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอิสราเอล) เพื่อเชื่อมโยงกับพระคัมภีร์เก่า ในเรื่อง
ของเมสิอาห์ (Messiah) แต่ผู้เขียนพระวรสารทั้งหมดเห็นตรงกันว่า ครอบครัวของพระเยซูอาศัยอยู่ที่
นาซาเรธ (เสฐียร พันธรังษี. 2542 : 328)
พระเยซูทรงสนใจในการศึกษาศาสนาเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะพระคัมภีร์เก่า (Old
Testament) จนมีความรู้แตกฉานในพระคัมภีร์ พระเยซูได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของยอห์น (John the
Baptist) และได้รับศีลจุ่มโดยวิธีลงไปอาบน้ําในเเม่น้ําจอร์แดนซึ่งพิธีล้างบาป (Baptism) นี้เป็นการ
แสดงถึงการที่พระเจ้าทรงให้อภัยคนบาป โดยการใช้น้ําเป็นสัญลักษณ์ (เสฐียร พันธรังษี. 2542 :
344)
ในการเผยแผ่ศาสนาของพระเยซูคริสต์ นอกจากพระองค์จะสอนธรรมง่ายๆ แต่ลึกซึ้งและ
กินใจแล้ว พระองค์มีคุณลักษณะพิเศษ คือ มีความสามารถในการรักษาโรค พระเยซูจะรักษาโรค
ควบคู่ไปกับการสอนธรรมทุกครั้ง จึงปรากฏว่าการเผยแผ่ธรรมของพระเยซูได้ผลเร็ว พระองค์ออก
เดินทางท่องเที่ยวประกาศพระธรรมคําสอนบริเวณชายฝั่งแม่น้ําจอร์แดน ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสในคําสอน
ของพระองค์ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนยากจน เช่น ชาวประมง ช่างไม้ เป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทที่
ทุรกันดาร เพราะพระองค์ไม่สามารถจะเข้าไปเผยแผ่ในเมืองใหญ่ได้ พระองค์ไม่พยายามประกาศ
ธรรมอันลึกซึ้ง แต่พยายามให้คนทั่วไปเข้าใจคําสอน ซึ่งเป็นคําสอนที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ คําสอนของ
-45-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พระองค์บางครั้งก็ขัดแย้งกับความเชื่อเก่า จึงทําให้พระองค์มีทั้งคนรักเลื่อมใสและมีศัตรูมาก
เช่นเดียวกัน
ศัตรูก็คือพวกศาสนายิวหรือยูดาห์ ซึ่งเห็นว่าคําสอนของ พระองค์ผิดแผกแตกต่างจาก
หลักคําสอนของโมเสส ทั้งๆ ที่พระเยซูรับรองว่าไม่มีเจตนาจะลบล้างทําลายบัญญัติหรือคําสอนของ
ศาสนายิวเดิม แต่จริงๆ แล้วคําสอนของพระเยซูก็ขัดแย้งกับหลักคําสอนของโมเสสหลายข้อ เช่น
โมเสสสอนให้สามีภรรยาหย่าขาดจากกันได้ แต่พระเยซูไม่สอนให้มีการหย่าขาดจากความเป็นสามี
ภรรยากัน โดยพระเยซูให้เหตุผลว่า เมื่อพระเจ้าสร้างอาดัมกับอีวาให้เป็นเพื่อนชีวิตอยู่ด้วยกันได้ ไม่ได้
ทรงอนุญาตว่าจะให้เลิกใช้ ชีวิตร่วมกันได้ เมื่อใดพระเจ้าสร้างอีวาโดยดึงเอาซี่โครงซี่หนึ่งของอาดัมมา
สร้าง จึงถือว่าผัวเมียเป็นคนคนเดียวกัน ผัวเมียจะแยกกันไม่ได้ เป็นต้น
สาวกสําคัญในการประกาศศาสนาของพระเยซูนั้น มีพระสาวกที่เป็นกําลังสําคัญ 12 คน
(หลวงวิจิตรวาทการ. 2546 : 122) คือ
1.1 ซีมอน หรือเปโตร
1.2 อันเดรอา หรืออังดรูว์ เป็นน้องชายของเปโตร
1.3 ยาโคโบ
1.4 โยฮัน น้องชายยาโคโบ
1.5 ฟิลิปส์
1.6 บาร์โธโลมาย
1.7 โธมัส
1.8 มัทธาย
1.9 ยาโคโบ บุตรของอาละฟาย
1.10 เลบบายส์ หรือ ธาดาย
1.11 ซีมอน ชาวคานาอัน
1.12 ยูดาห์ อิสการิโอด
ในบรรดาสาวกทั้งหมดนี้ โยฮันกับมัทธาย เป็นบุคคลที่มีความสําคัญในการเขียนคัมภีร์ไบ
เบิล (คัมภีร์ใหม่) และเขียนประวัติต่างๆ ของพระเยซู ส่วนสาวกคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ยูดาห์ อิสการิโอด
นั้น เป็นผู้ทรยศต่อพระเยซู โดยการรับสินบนและเป็นผู้ชี้องค์พระเยซูให้ทหารชาวโรมันจับ แต่ใน
ท้ายที่สุดแล้วยูดาห์ อิสการิโอด อดสูต่อพฤติกรรมอันเลวร้ายของตัวเองจึงแขวนคอตาย พระเยซูถูก
ตรึงบนไม้กางเขนในเวลาเที่ยงและสิ้นพระชนม์ในเวลาบ่ายวันนั้นที่ภูเขาเหนือเมืองเยรูซาเลม คํา
วิงวอนสุดท้ายที่พระเยซูตรัสต่อพระเจ้าซึ่งพระเยซูเรียกว่า พระบิดาเสมอนั้น มีว่า "ขอพระบิดาได้
โปรดประทานอภัยให้แก่คนที่ทําร้ายครั้งนี้ เพระเขาไม่รู้ ว่าเขาทําอะไรลงไป" พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า
-46-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
หลังจากพระเยซูได้สิ้นพระชนม์แล้ว 3 วัน พระองค์ ได้ทรงกลับคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์ (หลวงวิจิตร
วาทการ. 2546 : 135)
ความหมายของชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือพระยะโฮวาห์
ศาสนาคริสต์มีจํานวนผู้นับถือทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปและอเมริกา ได้เข้ามาเผยแพร่ใน
ประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีศาสนิกชนใน
ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 3 จากพระพุทธศาสนิกชนและอิสลามิกชนตามลําดับ ศาสนาคริสต์เชื่อว่า
พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า
“...พระเจ้าได้ตรัสให้เกิดมีความสว่าง...เป็นวันและคืน ...เป็นวันที่1 ...ให้มีอากาศ..ผืนน้ํา
และแผ่นฟ้า...เป็นวันที่2...ให้มีแผ่นดิน และพืชพรรณ...เป็นวันที่ 3 ...ให้มีดวงอาทิตย์ ดวง
จันทร์และดาวทั้งหลาย..เป็นวันที่ 4...ให้มีสัตว์ทั้งหลาย ทั้งบนฟ้า ในน้ําและบนบก... เป็น
วันที่ 5 ….ให้เราสร้างมนุษย์ตามแบบฉายาของเรา...เป็นวันที่ 6...” (เยเนซิส 1:1)
ในหลักคําสอนของศาสนาคริสต์ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า ถ้าพระเจ้าทรงติดต่อ
กับมนุษย์ได้ มนุษย์ย่อมสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน การติดต่อนี้เป็นการติดต่อระหว่างผู้
ที่ถูกสร้างกับพระผู้สร้าง มนุษย์เป็นผู้ถูกสร้างพิเศษเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และการที่มนุษย์สามารถ
ติดต่อกับพระเจ้าได้นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์ ศาสนาคริสต์ ถือว่าสรรพสิ่งเป็น
ผลงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นประติมากรรมชั้นเอกที่พระเจ้าทรงประทานบนโลก มนุษย์
คนแรกคือ อาดัม (Adam) เป็นบรรพบุรุษคนแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้น ดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์
ว่า
“พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเราให้ครอบครองฝูงปลาใน
ทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไป และสัตว์ต่างๆ ที่เลื้อยคลานบน
แผ่นดินทั้งสิ้น พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้าง
มนุษย์ขึ้น และได้ทรงให้เป็นชายและหญิง” (ปฐม.1:26-27)
“...แต่ชายนั้นยังหามีคู่เคียงเป็นผู้ช่วยเหมาะกับตนไม่ แล้วพระยะโฮวาห์จึงทรงบันดาล
ให้ชายนั้นหลับสนิท...เมื่อหลับสนิทอยู่นั้นพระองค์ทรงชักกระดูกซี่โครงอันหนึ่งของเขา
ออกมา...ได้สร้างให้เป็นหญิง แล้วประทานให้ชายนั้น ชายนั้นจึงว่า “นี่เป็นกระดูกแท้และเนื้อ
แท้ของเรา จะต้องเรียกว่าหญิง เพราะหญิงนี้ออกมาจากชาย...และทั้งสองจะเป็นเนื้อหนังอัน
เดียวกัน...”(เยเนซิส 2:18-25)
-47-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เมื่อคนเป็นประติมากรรมของพระเจ้าแล้วคุณลักษณะของมนุษย์จึงอยู่ภายใต้ลักษณะ
อย่างนี้คือ คนเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งคนเป็นสิ่งสูงศักดิ์ที่สุด คนเป็นฉายาของพระเจ้า (The
Image of God) ชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นมาจากภาพเงาของพระองค์ แรกเริ่ม
เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีบาป พระเจ้าให้อาศัยอยู่ในสวนเอเดน (Eden) ในสวรรค์ แต่เนื่องจากมนุษย์คู่แรก
นั้นได้ฝืนพระบัญชาของพระเจ้าพากันบริโภคผลไม้จากต้นไม้ความรู้ดีรู้ชั่ว (แอปเปิล) ด้วยผลแห่งบาป
นั้นมนุษย์ได้เกิดมลทินเป็นผู้มีบาปเรียกว่า บาปกําเนิด (Original Sin) พระเจ้าจึงให้มนุษย์มาอาศัยอยู่
ในโลกกับพวกสัตว์อื่น
ความหมายของบาป (Sin) ตามทัศนะของศาสนาคริสต์ถือว่า เมื่อไม่ทําตามหรือละเมิด
บัญญัติของพระเจ้า เป็นขบถต่อพระเจ้าทําให้ความสัมพันธ์ที่มีระหว่ามนุษย์กับพระเจ้าต้องขาดสะบั้น
ลง การกระทําผิดทุกอย่างเป็นบาป ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ถือว่าเป็นการกระทําผิดอย่างร้ายแรง หรือ
หลงกระทําผิดด้วยความสะเพร่า ความเกียจคร้าน ความหลงลืม ในลักษณะของบาป เป็นการการะ
ทําผิดต่อพระเจ้า เป็นการล่วงละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้าเพราะพระบัญญัตินั้นหมายถึงน้ําพระ
ฤทัยหรือพระประสงค์ของพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ ผู้อยู่เหนือสิ่งสารพัดเป็นมาตรฐานที่สูงสุดและสมบูรณ์ดี
เลิศ
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาถือว่า เป็นบุตรหลานของอาดัมกับอีฟ จึงเป็นผู้มีบาปติดตัวมา
เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงมีเมตตา สงสารมนุษย์ จึงส่งพระบุตรคือพระเยซู ในฐานะพระบุตรลงมาเกิด
ในโลกมนุษย์เป็นผู้ประกาศข่าวสาส์นของพระเจ้า เพื่อให้มนุษย์กลับใจ มนุษย์ผู้กลับใจจะได้กลับไป
เกิดและมีชีวิตนิรันดร์อยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ ชีวิตในทัศนะของศาสนาคริสต์ถือว่า เป็นไปตามที่พระ
เจ้ากําหนดลิขิตให้เป็นไปในกระบวนการของพระเจ้าทั้งหมดตั้งแต่เกิด ดําเนินชีวิต ตาย และชีวิต
หลังความตาย
หลักธรรมในการดําเนินชีวิตตามหลักศาสนาคริสต์
หลักคําสอนของศาสนาคริสต์เป็นคําสอนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และ
จริยธรรมทางสังคม โดยมีหลักคําสอนสําคัญ ดังต่อไปนี้
1. หลักตรีเอกานุภาพ
คําว่า "ตรีเอกานุภาพ" ได้แก่ ความเชื่อว่าพระเจ้าทรงมี 3 ภาค ในองค์เดียวกัน ได้แก่
พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิต หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Holy
Spirit) โดยมีความหมาย ดังต่อไปนี้
1.1 พระบิดา หมายถึง พระเจ้าผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ทรงสร้างโลกมนุษย์ และสรรพสิ่ง ทรง
รักมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เปรียบเหมือนบิดาที่มีความรักในบุตร
-48-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
1.2 พระบุตร หมายถึง พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของ พระเจ้า ผู้เสด็จลงมา
เกิดในโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้า ทรงมีธรรมชาติแท้จริงเป็นพระเจ้า
แต่เมื่อทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ก็ทรงทนทุกข์ทรมานเช่นมนุษย์ทั้งหลาย ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
เพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์และทรงฟื้นขึ้นจากความตาย เช่นเดียวกับพระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือความตาย
1.3 พระจิตหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ หมายถึง พลังอํานาจของ พระเจ้า เป็นพลังแห่ง
ความรักที่เชื่อมระหว่างพระบิดากับพระบุตรเข้าด้วยกันและเป็นพลังอํานาจของพระเจ้าที่ทรงแสดง
ต่อมนุษย์เพื่อดลใจให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของพระเจ้า พระคริสต์ธรรมใหม่ได้กล่าวถึง
พระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่หลายตอน เช่น ตอนที่ทูตสวรรค์ได้แจ้งให้มารีย์ทราบว่า นางจะตั้งครรภ์ด้วย
อํานาจของพระเจ้า เป็นต้น หลังจากที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว พระ
วิญญาณบริสุทธิ์ยังคงมีบทบาทอยู่ใน โลกนี้เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และนําทางมนุษย์ให้ประจักษ์ใน
อํานาจของพระเจ้า (เสรี พงศ์พิศ. 2529: 247-248)
2. หลักความรัก
หลักความรักเป็นหลักคําสอนทางจริยธรรมที่สําคัญที่สุดของศาสนาคริสต์ หมายถึงความ
เป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระคริสต์ธรรมเก่าและพระคริสต์ธรรมใหม่ กล่าวถึง
ความรัก 2 ประเภท ได้แก่ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
ในพระคริสต์ธรรมเก่า ความรักเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างพระเจ้ากับชนชาติอิสราเอล โดยที่
พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้ความรักแก่ชนชาติอิสราเอลก่อน จากนั้นชาวอิสราเอลจึงสนองตอบความรักของ
พระเจ้าโดยการศรัทธาต่อพระเจ้าและปฏิบัติตาม แนวทางที่พระเจ้าทรงวางไว้
ส่วนในพระคริสต์ธรรมใหม่ คําสอนเรื่องหลักความรักนั้นกําหนดให้พระเยซูเป็น
สัญลักษณ์ของความรักสูงสุดที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่พระเยซูทรงยอม
สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อให้ผู้มีศรัทธาในพระองค์จะได้พ้นจากความผิดบาป โดยพระเยซูทรง
สอนให้มนุษย์เผื่อแผ่ความรักไปรอบด้าน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง หลักคําสอนสําคัญนี้มีอยู่ในบทเทศนา
บนภูเขาแสดงถึงความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ซึ่งแสดงออกได้โดยความเมตตา กรุณาและความ
เสียสละ ส่วนความรักที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าแสดงออกโดยความศรัทธาที่มีต่อ พระเจ้า เช่น ศรัทธาว่า
พระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว ศรัทธาว่า พระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่า
เทียมกัน ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ศรัทธาว่า พระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และ
ศรัทธาในอาณาจักรของพระเจ้าที่กําลังจะมาถึง (ภัทรพร สิริกาญจน. 2546 : 70-71) ดังนั้นความรัก
ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าสามารถแสดงออกด้วยความศรัทธา 5 ประการ คือ
2.1 ศรัทธาว่าพระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
2.2 ศรัทธาว่าพระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
2.3 ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า
-49-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2.4 ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด
2.5 ศรัทธาในแผ่นดินสวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้าที่กําลังจะมาถึง
หลักความรักและหลักอาณาจักรของพระเจ้ามีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ มนุษย์จะ
สามารถเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าได้ก็โดยอาศัยความรักเป็นคุณธรรมนําทาง และอาณาจักรของ
พระเจ้าก็เป็นอาณาจักรที่บริบูรณ์ด้วยรัก
3. ศีล 7 ประการ
แนวทางในการดําเนินชีวิตตามหลักศาสนากิจในศาสนาคริสต์ที่ศาสนิกชนจะต้องทํากัน
เรียกว่าศีล เป็นข้อปฏิบัติ ถือเป็นหน้าที่ของศาสนิกชนคือ กิจที่จะต้องทําในศาสนา มี 7 อย่าง คือ
3.1 ศีลล้างบาป (Baptism) เป็นพิธีที่เกิดจากจากคติที่ว่า ทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กําเนิด
ตั้งแต่สมัยอาดัมกับเอวาได้ละเมิดพระบัญชาพระจ้าที่ทรงห้ามมิให้กินผลไม้ในสวยเอเดน ดังนั้น ผู้ที่จะ
เข้ามานับถือศาสนาคริสต์จําต้องทําพิธีล้างบาป นิกายโปรเตสแตนท์ เรียกศีลล้างบาปว่า บัพติสม
หรือศีลจุ่ม
3.2 ศีลกําลัง (Confirmation) เป็นพิธีรับพระจิตให้มาอยู่ในตน พิธีนี้จะทํากับเด็กโตซึ่ง
รู้สึกรับผิดชอบแล้ว โดยปกติพระระดับบิชอพ (Bishop) เท่านั้นที่จะทําพิธีนี้ได้ โดยวางมือทั้ง 2 มือลง
บนศีรษะเด็ก แล้วเจิมน้ํามันที่หน้าผากเป็นรูปกางเขน เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า พระจิตของพระเจ้า
ได้มาสถิตอยู่ในตนแล้ว
3.3 ศีลมหาสนิท (Communion) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มิสชา เป็นพิธีที่แสดงให้เห็น
ว่าผู้รับศีลข้อนี้แล้วได้อยู่แนบสนิทกับพระเยซู กล่าวคือ ชาวคริสต์จะพากันไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ และ
เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว บาทหลวงผู้ประกอบจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่นให้ทุกคน ได้รับขนมปังแทน
เนื้อพระเยซู และเหล้าองุ่นแทนเลือดพระเยซู
3.4 อภัยบาป (Confession) เป็นพิธีที่ชาวคริสต์สํานึกว่าตนได้ทําบาปลงไปจะต้องไปหา
บาทหลวง เพื่อสารภาพถึงการทําความผิดนั้น และขออภัยโทษจากพระเจ้า บาทหลวงในฐานะผู้แทน
พระเจ้าจะเป็นผู้ยกบาปนั้นให้
ความสํานึกผิด เป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญสุด หากไม่มีการกลับใจ ส่วนอื่นก็ไม่มีความหมาย
เพราะการสํานึกบาปนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ และเขาปรารถนา
จะคืนดีกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์
การสารภาพบาป คือ การสารภาพผิดกับนักบวช หรือบาทหลวงซึ่งเป็นตัวแทนของ
พระเจ้าเป็นการแสดงออกถึงการกลับใจของตนเองพร้อมที่จะได้รับการอภัย
การอภัยบาป นักบวชเป็นแทนพระเจ้า ได้รับสิทธิให้ผูกพันหรือแก้ไขบาทหลวงจะยก
บาปให้ด้วยการสวดบทภาวนาว่า พระเจ้าเป็นบิดาผู้ทรงเมตตา ได้ทรงทําให้โลกคืนดีกับพระองค์
อาศัยการสิ้นพระชนม์ อาศัยการค้นชีพของพระบุตรและทรงส่งพระจิตมาเพื่ออภัยบาปมนุษย์ ขอ
-50-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พระองค์ทรงประทานเมตตาและสันติสุข แต่ท่านอาศัยศาสนกิจบริการของ ศาสนจักร ข้าพเจ้าจึงอภัย
บาปทั้งสิ้นของท่าน เดชะพระนามพระบิดา พระบุตรและพระจิต
การใช้โทษบาป การไปสารภาพบาปต่อบาทหลวงและบาทหลวงได้ยกโทษบาปให้ยัง
เพียงพอ ผู้กระทําบาปยังต้องชดเชย สิ่งที่ได้กระทําความเสียหายให้กับผู้อื่นให้ดีเช่น เดินตามที่
บาทหลวงจะพิจารณากําหนดให้โทษบาป
5. ศีลสมรส (Matrimony) เป็นพิธีที่บาทหลวงเป็นผู้ประกอบ โดยให้คู่บ่าวสาวประกาศ
ให้คํามั่นออกมาว่าจะเป็นสามีภรรยากันไปไม่หย่าร้างตลอดชีวิต จะนับถือพระเจ้าชั่วชีวิต แม้มีบุตร
ธิดาที่จะเกิดตามมาก็จะให้เขานับถือพระเจ้าตลอดไป
6. ศีลบวช (Ordination) พิธีนี้จะทําให้เฉพาะผู้เลื่อมใสมั่นคงและพร้อมทีจะรับใช้พระ
ศาสนาเท่านั้น ผู้ที่รับศีลนี้แล้วก็จะเป็นบาทหลวง
7. ศีลเจิมครั้งสุดท้าย (Holy Unction หรือ Extreme Unction) พิธีนี้จะทําให้เฉพาะคน
ป่วยหนักใกล้มรณะ โดยบาทหลวงจะเจิมน้ํามันที่ตัวคนป่วย เพื่อชําระบาปที่อยู่ให้หมดไป จะได้ไม่มี
ปีศาจมารบกวนในการเดินทางไปสู่โลกวิญญาณ (เสรี พงศ์พิศ. 2529:227-298)
ศีลทั้ง 7 นี้ ถือปฏิบัติกันทั้งนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโป
รเตสแตนท์นับถือเฉพาะศีลลางบาปและศีลมหาสนิทเท่านั้น นิกายออร์ธอดอกซ์ ถึงแม้จะถือศีล 7
อย่างเหมือนกับนิกายโรมันคาทอลิก แต่ก็มีความเชื่อในเรื่องอื่นๆ แตกต่างกัน (ภัทรพร สิริกาญจน.
2546:78)
4. บัญญัติ 10 ประการ
บัญญัติ 10 ประการ เป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตตามคําสอนขององค์ศาสดามีดังนี้
(กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.2554:178-179)คือ
4.1 อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเรา
4.2 อย่าเอยนามพระเจ้าโดยไม่เคารพ
4.3 อย่าทํารูปเคารพใดซึ่งเลียนแบบพระเจ้า
4.4 ระลึกถึงวันสปาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ เป็นวันของพระเจ้า ทรงพักเหนื่อย
4.5 เคารพบิดามารดาของเจ้า
4.6 อย่าฆ่ามนุษย์
4.7 อย่าร่วมประเวณีสามีภรรยาผู้อื่น
4.8 อย่าลักทรัพย์
4.9 อย่าเป็นพยานเท็จ
4.10 อย่าโลภสมบัติของเพื่อนบ้าน
-51-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
5.เทศนาบนภูเขา
นอกจากนั้นชาวคริสต์ยังต้องปฏิบัติตามคริสตธรรมที่บันทึกจากการเทศนาครั้งสําคัญของ
พระเยซู เรียกว่า เทศนาบนภูเขา คําสอนของพระเยซูที่เทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount)
นั้น เป็นคําสอนที่มีระบบมากที่สุด เป็นหลักจริยธรรมที่พระเยซูทรงวางไว้แก่มนุษย์ได้ปฏิบัติเพื่อ
ความสุข เป็นหลักคําสอนที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการดําเนินชีวิตของชาวคริสต์ มีรายละเอียด
โดยย่อ ดังต่อไปนี้
5.1 การเป็นผู้มีสุข คําสอนในตอนนี้ (มัทธิวบทที่ 4 ข้อ 3-12) กล่าวถึงลักษณะของบุคคล
ผู้จะมี ความสุข 8 ประการ โดยแสดงไว้ว่า บุคคลใดก็ตามมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ บุคคลที่รู้สึกว่า
ตนเองยังมีความบกพร่องและยังไม่ดีพอ เป็นคนมีความโศกเศร้า เป็นคนจิตอ่อนโยน เป็นคน รัก
ความชอบธรรม เป็นคนจิตใจกรุณา เป็นคนจิตใจบริสุทธิ์ เป็นคนสร้างสันติภาพ และเป็นคน ที่ถูกกลั่น
แกล้งข่มเหงเพราะเหตุแห่งความชอบธรรม บุคคลเหล่านี้เรียกได้ว่า ผู้เป็นสุข เนื่องจากได้ยึดพระ
คริสตธรรมเป็นหลักในการดําเนินชีวิต
5.2 การเป็นเกลือของโลก คําสอนนี้มุ่งให้มนุษย์ดํารงรักษาความดีงามเหมือนเกลือรักษา
ความเค็ม เพราะถ้ามนุษย์ทิ้งความดีงามไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเกลือที่หมดรสเค็ม ไม่มีประโยชน์และ
ไม่มี คุณค่าใดๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 13)
5.3 บุคคลผู้เป็นความสว่างของโลก คําสอนนี้เป็นการให้กําลังใจแก่ผู้ทําความดี และ
ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ อย่างมั่นคง ความดีที่ทําไว้นั้นจะมีผลต่อโลกและผู้อื่น ทําให้ผู้ที่เห็นความดีนั้น
สรรเสริญพระเจ้า ผู้เป็นบิดา เปรียบเหมือนกับเมื่อลูกดี บิดาย่อมได้รับการยกย่องเพราะความดีของ
ลูกนั้น (มัทธิวตอนที่ 5 ข้อ 14-16)
5.4 การไม่ได้บัญญัติพระธรรมบัญญัติใหม่ คําสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการชี้แจงให้บุคคล
ทั้งหลาย (ชาวยิว) ในขณะนั้น เข้าใจว่า การเผยแพร่ศาสนาของพระองค์ไม่ได้เป็นไปเพื่อการล้มล้าง
หรือยกเลิกพระบัญญัติ เดิมที่ชาวยิวได้นับถือสืบกันมา แต่เป็นการปฏิรูปคําสอนเดิมให้มีความเข้มข้น
และสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 17)
5.5 การห้ามไม่ให้มีความโกรธ คําสอนตอนนี้ พระเยซูได้อธิบายข้อห้ามในพระบัญญัติเดิม
ที่ว่า อย่าฆ่าคน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยสอนให้ระวังอารมณ์โกรธที่จะเกิดขึ้นในจิตใจ การฆ่าคนอื่นจะไม่
เกิดขึ้น ถ้าไม่มีความโกรธมากระตุ้น บุคคลจึงต้องระวังไม่ให้เกิดความโกรธขึ้น เพราะเมื่อบุคคลมี
ความโกรธ เกิดขึ้น ย่อมสามารถจะทําร้ายหรือฆ่าผู้อื่นได้ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 21-26)
5.6 การห้ามล่วงประเวณี คําสอนตอนนี้ สอนให้งดเว้นแม้กระทั่งการล่วงประเวณีด้วยใจ
(การคิดที่จะล่วงประเวณี) ไม่ใช่งดเว้นเพียงการล่วงประเวณีทางกายและทางวาจาเท่านั้น การสูญเสีย
ทางกายที่เกิดขึ้นก็ไม่รุนแรงเท่ากับการสูญเสียทางจิตวิญญาณ ดังนั้น ถ้าร่างกายของเราส่วนใดส่วน
-52-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
หนึ่งทําผิดทําชั่ว เราควรทําลายร่างกายส่วนนั้นทิ้งเสีย เพราะถึงจะเสียอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็
ดีกว่าตัวเราจะต้องลงนรก (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 27-30)
5.7 การห้ามหย่าร้าง คําสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้คนที่แต่งงานกันหย่าร้างกัน เพราะ
แต่เดิม นั้นมีการอนุญาตให้บุคคลหย่าร้างกันได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ทําหนังสือหย่ากันก็เป็นการ
เพียงพอแล้วนั้น เปรียบเหมือนการเปิดโอกาสให้คนไม่เกรงกลัวต่อบาป การแต่งงานก็จะ เกิดขึ้น
เพราะความพอใจ แต่ขาดความรับผิดชอบและการหย่าร้างก็จะมีมากขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 31-32)
5.8 การห้ามสาบาน คําสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้บุคคลทําการสาบาน เพราะต้องการ
สอนให้บุคคลยึดมั่นในสัจจะและความจริงใจอย่างมั่นคง โดยไม่จําเป็นต้องไปอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่ง
อื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันคําพูดของตนเอง คนที่มีจิตใจมั่นคงในคําสอนของศาสนาย่อมไม่ กล่าวคํา
เท็จ และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะพูด คิด และกระทําทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ มั่นคง (มัทธิวบท
ที่ 5 ข้อ 33-37)
5.9 การไม่โต้ตอบผู้ประทุษร้าย คําสอนตอนนี้ พระเยซูไม่ต้องการให้เป็นคนมีจิตใจ
อาฆาตแค้น อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของเรา ก็ให้หันแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย เพราะหาก
บุคคลยังมีความ อาฆาตแค้นก็ไม่สามารถรักผู้อื่นและทําดีต่อผู้อื่นได้ หรือแม้แต่ความศรัทธาที่มีต่อ
พระเจ้าก็ไม่ บริสุทธิ์ เพราะจิตใจยังอาฆาตแค้นอยู่ก็ไม่สามารถรักใครได้จริงๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 38-
39)
5.10 การรักศัตรู คําสอนตอนนี้ พระเยซูเน้นให้บุคคลมีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น แม้ผู้
นั้น จะเป็นศัตรูก็ตาม (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 43-44)
5.11 การทําความดี คําสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการให้บุคคลทําดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
ไม่ให้ทําความดีเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะไม่ใช่ความดีที่แท้จริง เน้นให้เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ
(มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 1-4)
5.12 การสั่งสมทรัพย์สมบัติในสวรรค์ คําสอนตอนนี้ สอนไม่ให้สั่งสมทรัพย์สมบัติ
ภายนอกกาย แต่ความสั่งสมความดีซึ่งจะทําให้ได้ทรัพย์สมบัติในสวรรค์ (มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 19-21)
5.13 การไม่กล่าวโทษผู้อื่น คําสอนตอนนี้ สอนไม่ให้กล่าวโทษบุคคลอื่น เรากล่าวโทษ
ผู้อื่นอย่างไร และเราก็จะถูกกล่าวโทษเช่นนั้นบ้าง คนส่วนมากไม่ชอบมองดูความผิดของตนเอง มักจะ
มองว่าเป็น ความผิดของบุคคลอื่น จึงมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง (มัทธิบทที่ 7 ข้อ 1-6)
5.14 อยากได้ก็ต้องขอ อยากพบก็ต้องหา คําสอนนี้ สอนว่า พระเจ้าย่อมมีน้ําพระทัย
เมตตาแก่ผู้ทุกข์ยากที่ร้องขอ ความช่วยเหลือ พระเจ้าไม่ทอดทิ้งแต่จะประทานสิ่งที่ดีให้แก่พวกเขา
พระองค์ดีต่อพวกเขา อย่างไร พวกเขาก็ควรที่จะดําเนินตามรอยพระองค์ ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่าง
ที่เขาปรารถนา จะให้ผู้อื่นปฏิบัติเช่นนั้นต่อพวกเขา (มัทธิวบทที่ 7 ข้อ 7-12) เช่นคํากล่าวในข้อที่ 8
-53-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ว่า "เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา" (ธรรมกาย. 2550:
357-365)
เป้าหมายชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์
ในการศึกษาบทนี้ เป็นการศึกษาเป้าหมายสูงสุดของศาสนาคริสต์ อันเกี่ยวข้องกับอาณาจักร
ของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด และหลักความจริง 4 ประการ ศาสนาคริสต์ได้แบ่ง
เป้าหมายมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ คือ (1) อยู่เพื่อโลกนี้ คือ เป็นอยู่เพื่อให้ตนเอง ครอบครัว และ
สังคมมีความสุขและมีสันติภาพอันยั่งยืน ซึ่งได้แก่การปฏิบัติตามหน้าที่ของมนุษย์ตามหลักศาสนา (2)
อยู่เพื่อโลกเบื้องหน้า คือเข้าสู่อาณาจักรพระเจ้า (The Kingdom of God) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ๆ อีกแล้ว เป็นชีวิตที่ไม่ต้องตาย ไม่ถูกลงโทษ เป็นสันติสุขอันแท้จริง ชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า
คือชีวิตที่พึงประสงค์ของผู้ศรัทธาในพระคริสต์ ซึ่งคัมภีร์สดุดีของชาวคริสต์กล่าวว่า “จงชื่นชมยินดีใน
พระยโฮวาห์ และพระองค์จะประทานสิ่งที่ท่านปรารถนา” (สดุดี 37:4) เป็นข้อความสําคัญที่ชาว
คริสต์ต้องพิจารณาให้ดีว่าแล้วอะไรคือสิ่งที่พระองค์จะประทานให้ตามความปรารถนาของมนุษย์ผู้
ศรัทธาในพระองค์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญแบบมนุษย์ในโลกนี้ต้องการ
แต่สิ่งที่มนุษย์ควรปรารถนาคืออาณาจักรของพระองค์ คัมภีร์มัทธายกล่าวว่า “แต่จงแสวงหาอาณาจัก
ของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อน และพระองค์จะประทานสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้แก่
ท่าน” (เจมี่ บัคกิ้งแฮม, 2543.) โดยจะได้ศึกษาตามประเด็นสําคัญดังต่อ
1. อาณาจักรของพระเจ้า
อาณาจักรของพระเจ้า หมายถึง หลักการดําเนินชีวิตที่แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ และช่วย
ยกระดับจิตของผู้ที่ยอมรับคําสอนและปฏิบัติตามให้สูงขึ้น คําสอนของพระเยซูทรงเน้น ให้มนุษย์
มุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่า คือ ชีวิตในอาณาจักรของพระเจ้าหรือแผ่นดินสวรรค์ โดยอาณาจักรของพระเจ้า
มีความหมาย 2 ประการ (เสถียร พันธรังสี.2542:398) คือ
1.1 อาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ หมายถึง อาณาจักรของพระเจ้าที่มนุษย์สามารถ
เข้าถึงได้ในชีวิตนี้ เป็นรากฐานสําหรับอาณาจักรของพระเจ้าในโลกหน้าซึ่ง เรียกว่า แผ่นดินสวรรค์
การที่มนุษย์จะเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ได้นั้น จะต้อง ดําเนินชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสมตาม
หลักคําสอนที่พระเยซูทรงแสดงไว้ โดยมีความรักในพระเจ้า อย่างสุดจิตสุดใจ และ รักเพื่อนมนุษย์
เหมือนรักตนเอง ต้องรู้จักสละทรัพย์สมบัติภายนอกและ มีความมานะพากเพียร เพราะอาณาจักร
แห่งพระเจ้าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางวิญญาณ ผู้ที่ยังไม่ สามารถสละสมบัติทางโลกได้ย่อมไม่อาจเข้าถึง
อาณาจักรของพระเจ้าได้
-54-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
1.2 อาณาจักรของพระเจ้าในโลกหน้า หมายถึง การเข้าถึงชีวิตนิรันดรหลังจากตายแล้ว
โดยพระเจ้าจะเป็นผู้ทรงตัดสิน ผู้ใดปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์อย่าง ครบถ้วน และเชื่อใน
พระองค์ จะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ หรืออาณาจักรของพระเจ้า จะมีชีวิต นิรันดร ไม่มีความทุกข์ใดๆ
ตลอดไป ส่วนผู้ฝ่าฝืนบัญญัติจะถูกตัดสินให้ลงนรก ได้รับความ ทุกข์อย่างสาหัสจากไฟเผาผลาญ
1.3 ชีวิตในอาณาจักร หมายถึง การใช้ชีวิตในอาณาจักรของคนที่นับถือพระเจ้า ควร
ดําเนินการดังต่อไปนี้
1.3.1 บุตร 2 คน ความเชื่อฟัง เป็นการทดสอบการเป็นบุตรในครอบครัว
1.3.2 ชาวสะมาเรียใจดี เพื่อนบ้านของเรา คือใครก็ตามที่ขัดสน เรารู้ว่าเขาต้องการ
อะไร เราต้องมีความรักต่อผู้อื่น และช่วยให้เขา ได้ในสิ่งที่ต้องการ
1.3.3 เจ้าหนี้ 2 คน สอนว่าคนมีประสบกาณ์ความรักแห่งอาณาจักร ก็จะแสดงความ
รักนั้นออกมาได้
1.3.4 ฟาริสีและคนเก็บภาษี ฟาริสีเข้าหาพระเจ้าด้วยความชอบธรรมตัวเอง คนเก็บ
ภาษีรู้ว่าไม่มีค่าพอจะยืนต่อหน้าพระเจ้า พระเยซูสอนให้คนถ่อมใจ ในคําอธิษฐาน และบาปของ
ความชอบธรรมตนเอง
1.3.5 ความคิดคํานึงของเศรษฐี ตัวอูฐรอดรูเข็ม การพึ่งพิงความมั่งมีทางวัตถุ เป็น
ของชั่วคราว สิ่งสําคัญเหนือชีวิต คือ อาณาจักรนิรันดร์ อูฐที่รอดรูเข็มได้ ต้องถอดสัมภาระ ทั้งสิ้นวาง
ไว้นอกประตูเมือง
1.3.6 ผงกับท่อนไม้ เราควรพิจารณาพิพากษาตนเอง มากกว่าตัดสินผู้อื่น
1.3.7 การเก็บเกี่ยวข้าวสุกและพร้อมที่จะรวบรวม เน้นความตั้งใจของผู้เชื่อ ที่จะ
ขยายอาณาจักรพระเจ้าออกไป
1.3.8 ผู้พิพากษาและหญิงหม้าย มิตรสหายที่เพียรขอ แสดงให้เห็นความสําคัญ ของ
การเพียรอธิษฐาน
1.3.9 ทาสที่สัตย์ซื่อ เน้นความสําคัญคนต้นเรือนที่ฉลาดและชอบธรรม ดูแลทรัพย์
สมบัติ อาณาจักรก็มอบให้กับผู้เชื่อที่สัตย์ซื่อ
1.3.10 ที่นั่งในงาน ความถ่อมใจเป็นสิ่งสําคัญ จะได้รับการยกย่องในอาณาจักรพระ
เจ้า
1.3.11 เถาองุ่น ความสัมพันธ์ของพระเยซูต่อคริสตจักร
1.3.12 คนงานสวนองุ่น สอนว่าบําเหน็จนิรันดร์ ไม่ได้ตั้งอยู่บนมาตรฐานโลก
1.3.13 หน้าที่คนรับใช้ ความเข้าใจที่เหมาะสมในความผูกพันกับอาณาจักร
1.3.14 เสื้อผ้าที่สวมในงานสมรส เราต้องสวมความชอบธรรมเพื่อจะคงอยู่ใน
-55-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อาณาจักร ไม่ใช่ความชอบธรรมตนเอง แต่ได้มา โดยทางความชอบธรรม จากองค์พระเยซูคริสต์ องค์
พระผู้เป็นเจ้า "อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่มีอํานาจ ที่จะฆ่าจิตวิญญาณ แต่จงกลัวพระองค์ผู้ทรง
ฤทธิ์ ที่จะให้ทั้งจิตวิญญาณทั้งกายพินาศในนรกได้"
1.4 คุณค่าแห่งอาณาจักร
1.4.1 ไข่มุกราคาสูง สมบัติที่ซ่อนไว้ อาณาจักรพระเจ้า มีค่าสูง จนไม่มีสิ่งใด
เปรียบเทียบได้ มีค่ามากกว่าสมบัติใดๆ ของมนุษย์ ถ้าเราต้องเสียทุกสิ่ง เพื่ออาณาจักรนี้ ก็มีค่ามาก
พอที่จะสละได้
1.4.2 คนต้นเรือน พระเยซูเปรียบเทียบพระองค์ เหมือนคนเฝ้าสิ่งของ ซึ่งอาจนํา
เมล็ดข้าวใหม่ หรือเก่า น้ําองุ่นใหม่หรือเก่า แต่ก็ทําให้บ้านเรือนได้รับสิ่งต้องการ อาณาจักรที่พระเยซู
นํามา เหมือนรูปแบบเดิม แต่ก็เป็นของใหม่โดยสิ้นเชิง แต่ทั้งสิ่งใหม่และเก่า มีคุณค่าในการตอบสนอง
ความต้องการ ของผู้อาศัยในอาณาจักรพระเจ้า
2. พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด
ศาสนาคริสต์ และศาสนายิวมีความเชื่ออย่างเดียวกันว่า พระเจ้า คือ พระเยโฮวาห์ เป็นผู้
ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ในจักรวาล ไม่มีผู้ใดจะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ มีคําสอนมากมายที่ พรรณนาลักษณะ
ของพระเจ้าไว้ในฐานะทรงเป็นความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ทรงมี คุณลักษณะพิเศษต่างๆ
ดังต่อไปนี้ (ธรรมกาย.2550:356-357)
2.1 ทรงเป็นจิตบริสุทธ์ ไม่มีรูปร่าง
2.2 ทรงมีอยู่นิรันดร ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย
2.3 ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง
2.4 ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
2.5 ทรงมีพลังอํานาจทุกอย่าง
2.6 ทรงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด
2.7 ทรงบริสุทธิ์ทุกประการ ไม่มีบาปเลย
2.8 ทรงมี 3 ภาค เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ คือ พระบิดา พระบุตร และ พระจิตหรือพระ
วิญญาณบริสุทธิ์
ลักษณะพิเศษของพระเจ้าต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น เป็นลักษณะเดียวกันกับศาสนา
ที่มีพระเจ้าสูงสุดทุกศาสนา เช่น พระเจ้าในศาสนาอิสลาม เป็นต้น อาจจะต่างกันตรงชื่อเรียกพระเจ้า
สูงสุดเท่านั้น แต่คุณลักษณะพิเศษไม่แตกต่างกัน
3. หลักความจริง 4 ประการ
การเข้าถึงหลักความจริง 4 ประการ ดังต่อไปนี้ จะทําให้ชีวิตมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า
คือ
-56-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
3.1 ความรักของพระเจ้าและแผนการของพระเจ้า เราต้องตระหนักว่าพระองค์ทรงรักคุณ
และได้จัดเตรียมแผนการที่ดีเลิศสําหรับชีวิตของคุณ
3.2 มนุษย์เป็นคนบาปจึงถูกตัดขาดจากพระเจ้า มนุษย์จึงไม่สามารถได้รับความรักอันเต็ม
ล้นของพระองค์
3.3 พระเยซูคริสต์เป็นหนทางเดียวที่พระองค์ประทานให้เพื่อที่จะนําเราไปถึงพระเจ้า
โดยการรับพระเยซูคุณจะได้รับความรักจากพระเจ้าและแผนการที่ท่านได้เตรียมไว้ให้คุณ
3.4 เราต้องต้อนรับพระเยซูเข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและพระเจ้าเป็นการส่วนตัว การ
ไปโบสถ์เป็นประจําการอยู่ในครอบครัวที่เป็นคริสเตียน ไม่ได้ทําให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า แต่ละคน
ต้องต้อนรับพระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิตเป็นการส่วนตัวเท่านั้นจึงจะได้รับของขวัญของพระเจ้า คือ เข้า
ไปอยู่ในอาณาจักรของพระองค์ และจะได้สิ่งที่พึงปรารถนาในชีวิตเป็นของขวัญ คือ
3.4.1 พระเยซูจะอยู่ในชีวิต
3.4.2 ความบาปจะได้รับการให้อภัย
3.4.3 ได้เป็นบุตรของพระเจ้า
3.4.4 ได้รับชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ที่สามารถฟื้นจากความตายได้ ไม่ต้องสะดุ้ง
ต่อความตายอีกต่อไป
3.4.5 ได้รับสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตที่พระเจ้าเตรียมไว้ให้
สรุป
ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่า เป็นศาสนาแห่งความรัก พระเยซูเน้นถึงความรักว่าสําคัญที่สุด มีความ
รักอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์ รักเพื่อนบ้าน รักครอบครัว ก็จะ ได้ความรัก
ตอบแทนซึ่งมีค่ากว่าสมบัติใด ๆ ให้รักโลก ทําตนเป็นคนของโลก และก็ด้วย อิทธิ พลคําสอนดัง กล่าว
จึงมีนักสอนศาสนาคริสต์ออก ไปเผยแผ่ ศาสนาทั่วโลก ทั้งช่วยจัดตั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลควบคู่
ไปด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะดําเนินรอยตาม พระเยซูซึ่งเป็นทั้งหมอกายหมอใจ ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย
ทั้งโรคกายโรคใจ ดังนั้นการช่วยเหลือกันในรูปแบบต่างๆ จึงมีอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวคริสต์ สะท้อนถึง
อิทธิพลของศาสนาคริสต์ดังกล่าว มาแล้ว
แต่ภายในศาสนาคริสต์เองกลับแตกแยกกันแบ่งเป็นนิกายใหญ่น้อยมากมาย และแต่ละนิกาย
ต่างก็ยึดมั่นในปรัชญาของตนไม่ปรองดองเข้าหากัน ทั้งยังไม่มีองค์การใดที่คอย ประสานรอยร้าวได้
ดังนั้น ศาสนาคริสต์ถึงแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ แต่ก็อยู่ในฐานะที่รวมกันได้ แค่เพียงหลวมๆ หรือ
-57-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ตลอดทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและ เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก็
มีการขัดแย้งกับคําสอนในศาสนาคริสต์ จึงทําให้ชาวคริสต์รุ่นใหม่ ไม่สนใจศาสนาถึงกับประกาศตัวไม่
มีศาสนาและหันไปนับถือศาสนาอื่น ก็มีมากขึ้นตามลําดับ (ธรรมกาย. 2550 :371)
-58-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คําถามทบทวน
ตอนที่ 1 จงทําเครื่องหมายกากบาท (X) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด
1. คําว่า คริสต์ มีความหมายตรงกันกับข้อใด?
ก. พระเยซู ข. เมสสิอาห์
ค. พระบุตร ง. พระเจ้า
2. ข้อใดคือสาเหตุความเจริญก้าวหน้าของศาสนาคริสต์?
ก. คําสอนลึกซึ้ง ข. ความศรัทธา
ค. การเผยแพร่ศาสนาของพระเยซู ง. การเผยแพร่ของพระสาวก
3. ข้อใดคือหลักศรัทธาของศาสนาคริสต์?
ก. ศรัทธาในพระยโฮวาห์ ข. ศรัทธาในวันสร้างโลก
ค. ศรัทธาในความรักของพระเจ้า ง. ข้อ ก และ ข ถูก
4. ข้อใดคือหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้?
ก. ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ข. รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง
ค. รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ ง. ข้อ ข และ ค ถูกต้อง
5. พิธีกรรมในข้อใดที่กระทําเพียงครั้งเดียวในชีวิตแล้วไม่ต้องทําอีก?
ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป
ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป
6. พิธีกรรมใดที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์?
ก. ศีลล้างบาป ข. ศีลมหาสนิท
ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป
7. พิธีกรรมในข้อใดที่เป็นการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู?
ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป
ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป
8. พลังอํานาจที่พระเจ้าแสดงเพื่อดลบันดาลให้มนุษย์กลับใจมาปฏิบัติตามแนวทางของพระ
เจ้าเรียกว่าอะไร?
ก. พลังความรัก ข. พระวิญญาณบริสุทธิ์
ค. พระจิต ง. ข้อ ก และ ข ถูก
9. การเจิมหน้าผากด้วยน้ํามันมะกอกเป็นรูปไม้กางเขน อยู่ในพิธีกรรมอะไร?
ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป
ค. ศีลแก้บาป ง. ศีลกําลัง
-59-
วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
10. สาวกคนใดที่ทรยศต่อพระเยซู?
ก. ซีมอน ข. มัทธาย
ค. ยาโกโบ ง. ยูดาห์ อิสการิดโอด
ตอนที่ 2 จงตอบคําถามต่อไปนี้
1. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ มาพอ เข้าใจ?
2. จงยกตัวอย่างหลักคําสอนของศาสนาคริสต์มา 3 ข้อ และนักศึกษาเห็นด้วยกับ
หลักคําสอนข้อใดมากที่สุด เพราะเหตุใด?
3. จงอธิบายความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์ธอดอกซ์และนิกาย
โปรเตสแตนต์?

Contenu connexe

Tendances

ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามthnaporn999
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตPadvee Academy
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์thnaporn999
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
ศาสนายิว
ศาสนายิวศาสนายิว
ศาสนายิวPadvee Academy
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบKumobarick Achiroki
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1thnaporn999
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย Bom Anuchit
 
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม  แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม Padvee Academy
 

Tendances (20)

J & b
J & bJ & b
J & b
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
ความหมายและประเภทของศาสนา
ความหมายและประเภทของศาสนาความหมายและประเภทของศาสนา
ความหมายและประเภทของศาสนา
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโต
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
111
111111
111
 
งานสังคม
งานสังคมงานสังคม
งานสังคม
 
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
590806 บทที่-5-แก้ไขแล้ว
 
ศาสนายิว
ศาสนายิวศาสนายิว
ศาสนายิว
 
ศาสนาอิสลาม 402
ศาสนาอิสลาม 402ศาสนาอิสลาม 402
ศาสนาอิสลาม 402
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
 
444
444444
444
 
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม  แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม
แนวคิดเรื่อง “สังฆะ” ของหมู่บ้านพลัม
 
Lesson 4
Lesson 4Lesson 4
Lesson 4
 

Plus de เตชะชิน เก้าเดือนยี่

บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาบทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาเตชะชิน เก้าเดือนยี่
 
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]เตชะชิน เก้าเดือนยี่
 

Plus de เตชะชิน เก้าเดือนยี่ (17)

6 mahapali-akhayata
6 mahapali-akhayata6 mahapali-akhayata
6 mahapali-akhayata
 
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาบทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
590802 บทที่-2-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-2-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-2-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-2-แก้ไขแล้ว
 
วิถึชีวิต Course syllabus-1-59 (1)
วิถึชีวิต Course syllabus-1-59 (1)วิถึชีวิต Course syllabus-1-59 (1)
วิถึชีวิต Course syllabus-1-59 (1)
 
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
 
แนะนำอาจารย์
แนะนำอาจารย์แนะนำอาจารย์
แนะนำอาจารย์
 
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]
สมถและวิปัสนา สมาธิ 3 ระดับ [โหมดความเข้ากันได้]
 
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐานอรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
อรูป 4 สมถกัมมัฏฐาน
 
พรหมวิหาร 4 สมถกัมมัฏฐาน ppt
พรหมวิหาร 4 สมถกัมมัฏฐาน pptพรหมวิหาร 4 สมถกัมมัฏฐาน ppt
พรหมวิหาร 4 สมถกัมมัฏฐาน ppt
 
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน pptอนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
 
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 pptสมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
 
อสุภ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อสุภ 10 สมถกัมมัฏฐาน pptอสุภ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อสุภ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
 
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 pptสมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
สมถกัมมัฏฐานกสิณ 10 ppt
 

590806 บทที่-4-แก้ไขแล้ว

  • 1. บทที่ 4 ชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์ คําว่า คริสต์ หรือไครสต์ ( Christ) มาจากภาษาโรมันว่า คริสตุส (Christus) ซึ่ง คํานี้มีราก ศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Christos ซึ่งแปลมาจากคําว่า เมสสิอาห์หรือเมสไซอา (Messiah) ใน ภาษาฮิบรู คําว่า เมสสิอาห์ หรือเมสไซอา แปลว่า พระผู้ปลดเปลื้องทุกข์ภัย หรือพระผู้ช่วย ให้รอด พ้น ไม่ตกนรกจากคําพิพากษาในวันตัดสินโลก ซึ่งพระเจ้าจะส่งบุคคลนั้นลงมารับทุกข์ ทรมานแทน มนุษย์ทั้งหลาย เมสสิอาห์จะเป็นผู้ช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ ทรมาน (หลวงวิจิตรวาท การ.2546 :104) คําว่า ศาสนาคริสต์ เพิ่งเกิดขึ้นและนํามาใช้หลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว มีสาเหตุจาก เนื่องจากความโกรธแค้นของเหล่าพระสาวกที่ศรัทธาในพระเยซูที่เห็นท่านถูกใส่ร้ายจาก พวกหัวเก่าที่ นับถือศาสนายิวจนเสียชีวิตทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด รวมกับความศรัทธาที่เกิดมาจากการได้ฟังข่าวการฟื้น คืนชีพของพระเยซูจึงพากันแยกตัวออกจากศาสนายิว โดยตั้งชื่อศาสนาใหม่ว่า ศาสนาคริสต์ โดย นักบวชเซนต์ปอล เป็นผู้ตั้งขึ้น (ธรรมกาย. 2550 : 319 ) ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ศาสนาคริสต์เจริญเติบโตแพร่หลายไปได้น้อยมาก เพราะมีผู้ คอยขัดขวางทําลายล้าง พระเยซูเองมีเวลาเป็นศาสดาเพียง 3 ปีเท่านั้นก็สิ้นชีพโดย การถูกตรึงไม้ กางเขน ศาสนาคริสต์มีความเจริญเติบโตหลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว โดยการเผยแผ่ศาสนาอย่าง จริงจังของเหล่าพระสาวกและผู้นับถือ ศาสนาคริสต์มีความเจริญแพร่หลายมากที่สุดในสมัยของ พระเจ้าคอนสแตนตินที่ทรงเลื่อมใสและอุปถัมภ์ค้ําชูศาสนาคริสต์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ศาสนสถาน การออกกฎหมายมิลานในปี ค.ศ.313 ให้สํานักวาติกันเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ไม่ ต้องขึ้นกับการปกครองของฝ่ายอาณาจักร ฝ่ายอาณาจักรจะเข้าไปแทรกแซงกิจการในศาสนจักรไม่ได้ ให้สันตะปาปามีอํานาจเท่าราชา มีอํานาจปกครองศาสนจักรทั้งปวง ทรงนําไม้กางเขนมาเป็น สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์และสิ่งที่ทําให้ศาสนาคริสต์ได้รับความนับถือมากที่สุด คือ ในปี ค.ศ. 325 ทรงออกกฎหมายให้ทุกคนนับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น ที่เรียกว่า ศรัทธาทางการ ดังนั้น ตั้งแต่ ค.ศ. 325-1054 ศาสนาคริสต์จึงได้เจริญเติบโตขนานใหญ่ จากศาสนาประจําชาติของประเทศอิตาลีกลาย มาเป็นศาสนาประจําชาติของทุกประเทศในทวีปยุโรป และต่อมาได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และทวีปออสเตรเลียด้วย (ธรรมกาย. 2550 : 320-333) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
  • 2. -44- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศาสนาคริสต์เกิดในประเทศปาเลสไตน์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 543 โดยคิดตามปีเกิดของ พระเยซูผู้เป็นศาสดา เป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนายิวเช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม เพราะทั้ง สองศาสนาต่างนับถือพระเจ้าองค์เดียวคือ พระเยโฮวาห์ (Yehowah) และยอมรับนับถือคัมภีร์ พันธสัญญาเดิม (Old testament) ของศาสนายิว แม้พระเยซูเองก็ไม่เคยประกาศตั้งศาสนาคริสต์ การที่ท่านเที่ยวสั่งสอนศาสนธรรมต่างๆ ก็เพื่อทําให้ศาสนายิวมีความสมบูรณ์ ซึ่งมีประวัติและ วิวัฒนาการที่น่าศึกษา ดังนี้ 1. ประวัติศาสนาคริสต์ ศาสดาของคริสต์ศาสนา ทรงมีนามว่า "เยซู" หรือ "จีซัส" ถือกําเนิดในหมู่ชนชาติ อิสราเอล (ยิว) พระมารดาชื่อ มารีย์ และบิดาชื่อโยเซฟ มีอาชีพเป็นช่างไม้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บ้าน กาลิลี (Callilee) เมืองนาซาเรธ (Nazareth) ข้อความในพระคัมภีร์ไบเบิลแสดงไว้ว่า พระนางมารีย์ ผู้ เป็นมารดาของพระเยซูนั้นมีครรภ์ด้วยอํานาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงานกับโยเซฟ การที่โยเซฟรับนางเป็นภรรยาเพราะทูตสวรรค์กาเบรียลของพระเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟในความฝัน โดยให้เขารับนางมารีย์เป็นภรรยา เนื่องจากผู้ที่ปฏิสนธิในครรภ์ของนางนั้นเป็นเพราะอํานาจของ พระวิญญาณบริสุทธิ์ นางจะประสูติบุตรชาย แล้วให้ตั้งชื่อว่า เยซู พระเยซู ประสูติเมื่อปีที่ 1 แห่งคริสตศักราช (นับตั้งแต่พระเยซูประสูติ) ที่เมือง เบธเลเฮม (Bethlehem) แขวงยูดาย กรุงเยรูซาเลม ชาวคริสต์ในยุคแรกเชื่อว่า พระเยซูเกิดที่ เบธเลเฮม สืบเชื้อ สายมาจากกษัตริย์เดวิด (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอิสราเอล) เพื่อเชื่อมโยงกับพระคัมภีร์เก่า ในเรื่อง ของเมสิอาห์ (Messiah) แต่ผู้เขียนพระวรสารทั้งหมดเห็นตรงกันว่า ครอบครัวของพระเยซูอาศัยอยู่ที่ นาซาเรธ (เสฐียร พันธรังษี. 2542 : 328) พระเยซูทรงสนใจในการศึกษาศาสนาเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะพระคัมภีร์เก่า (Old Testament) จนมีความรู้แตกฉานในพระคัมภีร์ พระเยซูได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของยอห์น (John the Baptist) และได้รับศีลจุ่มโดยวิธีลงไปอาบน้ําในเเม่น้ําจอร์แดนซึ่งพิธีล้างบาป (Baptism) นี้เป็นการ แสดงถึงการที่พระเจ้าทรงให้อภัยคนบาป โดยการใช้น้ําเป็นสัญลักษณ์ (เสฐียร พันธรังษี. 2542 : 344) ในการเผยแผ่ศาสนาของพระเยซูคริสต์ นอกจากพระองค์จะสอนธรรมง่ายๆ แต่ลึกซึ้งและ กินใจแล้ว พระองค์มีคุณลักษณะพิเศษ คือ มีความสามารถในการรักษาโรค พระเยซูจะรักษาโรค ควบคู่ไปกับการสอนธรรมทุกครั้ง จึงปรากฏว่าการเผยแผ่ธรรมของพระเยซูได้ผลเร็ว พระองค์ออก เดินทางท่องเที่ยวประกาศพระธรรมคําสอนบริเวณชายฝั่งแม่น้ําจอร์แดน ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสในคําสอน ของพระองค์ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนยากจน เช่น ชาวประมง ช่างไม้ เป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทที่ ทุรกันดาร เพราะพระองค์ไม่สามารถจะเข้าไปเผยแผ่ในเมืองใหญ่ได้ พระองค์ไม่พยายามประกาศ ธรรมอันลึกซึ้ง แต่พยายามให้คนทั่วไปเข้าใจคําสอน ซึ่งเป็นคําสอนที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ คําสอนของ
  • 3. -45- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พระองค์บางครั้งก็ขัดแย้งกับความเชื่อเก่า จึงทําให้พระองค์มีทั้งคนรักเลื่อมใสและมีศัตรูมาก เช่นเดียวกัน ศัตรูก็คือพวกศาสนายิวหรือยูดาห์ ซึ่งเห็นว่าคําสอนของ พระองค์ผิดแผกแตกต่างจาก หลักคําสอนของโมเสส ทั้งๆ ที่พระเยซูรับรองว่าไม่มีเจตนาจะลบล้างทําลายบัญญัติหรือคําสอนของ ศาสนายิวเดิม แต่จริงๆ แล้วคําสอนของพระเยซูก็ขัดแย้งกับหลักคําสอนของโมเสสหลายข้อ เช่น โมเสสสอนให้สามีภรรยาหย่าขาดจากกันได้ แต่พระเยซูไม่สอนให้มีการหย่าขาดจากความเป็นสามี ภรรยากัน โดยพระเยซูให้เหตุผลว่า เมื่อพระเจ้าสร้างอาดัมกับอีวาให้เป็นเพื่อนชีวิตอยู่ด้วยกันได้ ไม่ได้ ทรงอนุญาตว่าจะให้เลิกใช้ ชีวิตร่วมกันได้ เมื่อใดพระเจ้าสร้างอีวาโดยดึงเอาซี่โครงซี่หนึ่งของอาดัมมา สร้าง จึงถือว่าผัวเมียเป็นคนคนเดียวกัน ผัวเมียจะแยกกันไม่ได้ เป็นต้น สาวกสําคัญในการประกาศศาสนาของพระเยซูนั้น มีพระสาวกที่เป็นกําลังสําคัญ 12 คน (หลวงวิจิตรวาทการ. 2546 : 122) คือ 1.1 ซีมอน หรือเปโตร 1.2 อันเดรอา หรืออังดรูว์ เป็นน้องชายของเปโตร 1.3 ยาโคโบ 1.4 โยฮัน น้องชายยาโคโบ 1.5 ฟิลิปส์ 1.6 บาร์โธโลมาย 1.7 โธมัส 1.8 มัทธาย 1.9 ยาโคโบ บุตรของอาละฟาย 1.10 เลบบายส์ หรือ ธาดาย 1.11 ซีมอน ชาวคานาอัน 1.12 ยูดาห์ อิสการิโอด ในบรรดาสาวกทั้งหมดนี้ โยฮันกับมัทธาย เป็นบุคคลที่มีความสําคัญในการเขียนคัมภีร์ไบ เบิล (คัมภีร์ใหม่) และเขียนประวัติต่างๆ ของพระเยซู ส่วนสาวกคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ยูดาห์ อิสการิโอด นั้น เป็นผู้ทรยศต่อพระเยซู โดยการรับสินบนและเป็นผู้ชี้องค์พระเยซูให้ทหารชาวโรมันจับ แต่ใน ท้ายที่สุดแล้วยูดาห์ อิสการิโอด อดสูต่อพฤติกรรมอันเลวร้ายของตัวเองจึงแขวนคอตาย พระเยซูถูก ตรึงบนไม้กางเขนในเวลาเที่ยงและสิ้นพระชนม์ในเวลาบ่ายวันนั้นที่ภูเขาเหนือเมืองเยรูซาเลม คํา วิงวอนสุดท้ายที่พระเยซูตรัสต่อพระเจ้าซึ่งพระเยซูเรียกว่า พระบิดาเสมอนั้น มีว่า "ขอพระบิดาได้ โปรดประทานอภัยให้แก่คนที่ทําร้ายครั้งนี้ เพระเขาไม่รู้ ว่าเขาทําอะไรลงไป" พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า
  • 4. -46- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังจากพระเยซูได้สิ้นพระชนม์แล้ว 3 วัน พระองค์ ได้ทรงกลับคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์ (หลวงวิจิตร วาทการ. 2546 : 135) ความหมายของชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือพระยะโฮวาห์ ศาสนาคริสต์มีจํานวนผู้นับถือทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปและอเมริกา ได้เข้ามาเผยแพร่ใน ประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีศาสนิกชนใน ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 3 จากพระพุทธศาสนิกชนและอิสลามิกชนตามลําดับ ศาสนาคริสต์เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า “...พระเจ้าได้ตรัสให้เกิดมีความสว่าง...เป็นวันและคืน ...เป็นวันที่1 ...ให้มีอากาศ..ผืนน้ํา และแผ่นฟ้า...เป็นวันที่2...ให้มีแผ่นดิน และพืชพรรณ...เป็นวันที่ 3 ...ให้มีดวงอาทิตย์ ดวง จันทร์และดาวทั้งหลาย..เป็นวันที่ 4...ให้มีสัตว์ทั้งหลาย ทั้งบนฟ้า ในน้ําและบนบก... เป็น วันที่ 5 ….ให้เราสร้างมนุษย์ตามแบบฉายาของเรา...เป็นวันที่ 6...” (เยเนซิส 1:1) ในหลักคําสอนของศาสนาคริสต์ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า ถ้าพระเจ้าทรงติดต่อ กับมนุษย์ได้ มนุษย์ย่อมสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน การติดต่อนี้เป็นการติดต่อระหว่างผู้ ที่ถูกสร้างกับพระผู้สร้าง มนุษย์เป็นผู้ถูกสร้างพิเศษเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และการที่มนุษย์สามารถ ติดต่อกับพระเจ้าได้นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์ ศาสนาคริสต์ ถือว่าสรรพสิ่งเป็น ผลงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นประติมากรรมชั้นเอกที่พระเจ้าทรงประทานบนโลก มนุษย์ คนแรกคือ อาดัม (Adam) เป็นบรรพบุรุษคนแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้น ดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ว่า “พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเราให้ครอบครองฝูงปลาใน ทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไป และสัตว์ต่างๆ ที่เลื้อยคลานบน แผ่นดินทั้งสิ้น พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้าง มนุษย์ขึ้น และได้ทรงให้เป็นชายและหญิง” (ปฐม.1:26-27) “...แต่ชายนั้นยังหามีคู่เคียงเป็นผู้ช่วยเหมาะกับตนไม่ แล้วพระยะโฮวาห์จึงทรงบันดาล ให้ชายนั้นหลับสนิท...เมื่อหลับสนิทอยู่นั้นพระองค์ทรงชักกระดูกซี่โครงอันหนึ่งของเขา ออกมา...ได้สร้างให้เป็นหญิง แล้วประทานให้ชายนั้น ชายนั้นจึงว่า “นี่เป็นกระดูกแท้และเนื้อ แท้ของเรา จะต้องเรียกว่าหญิง เพราะหญิงนี้ออกมาจากชาย...และทั้งสองจะเป็นเนื้อหนังอัน เดียวกัน...”(เยเนซิส 2:18-25)
  • 5. -47- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อคนเป็นประติมากรรมของพระเจ้าแล้วคุณลักษณะของมนุษย์จึงอยู่ภายใต้ลักษณะ อย่างนี้คือ คนเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งคนเป็นสิ่งสูงศักดิ์ที่สุด คนเป็นฉายาของพระเจ้า (The Image of God) ชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นมาจากภาพเงาของพระองค์ แรกเริ่ม เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีบาป พระเจ้าให้อาศัยอยู่ในสวนเอเดน (Eden) ในสวรรค์ แต่เนื่องจากมนุษย์คู่แรก นั้นได้ฝืนพระบัญชาของพระเจ้าพากันบริโภคผลไม้จากต้นไม้ความรู้ดีรู้ชั่ว (แอปเปิล) ด้วยผลแห่งบาป นั้นมนุษย์ได้เกิดมลทินเป็นผู้มีบาปเรียกว่า บาปกําเนิด (Original Sin) พระเจ้าจึงให้มนุษย์มาอาศัยอยู่ ในโลกกับพวกสัตว์อื่น ความหมายของบาป (Sin) ตามทัศนะของศาสนาคริสต์ถือว่า เมื่อไม่ทําตามหรือละเมิด บัญญัติของพระเจ้า เป็นขบถต่อพระเจ้าทําให้ความสัมพันธ์ที่มีระหว่ามนุษย์กับพระเจ้าต้องขาดสะบั้น ลง การกระทําผิดทุกอย่างเป็นบาป ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ถือว่าเป็นการกระทําผิดอย่างร้ายแรง หรือ หลงกระทําผิดด้วยความสะเพร่า ความเกียจคร้าน ความหลงลืม ในลักษณะของบาป เป็นการการะ ทําผิดต่อพระเจ้า เป็นการล่วงละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้าเพราะพระบัญญัตินั้นหมายถึงน้ําพระ ฤทัยหรือพระประสงค์ของพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ ผู้อยู่เหนือสิ่งสารพัดเป็นมาตรฐานที่สูงสุดและสมบูรณ์ดี เลิศ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาถือว่า เป็นบุตรหลานของอาดัมกับอีฟ จึงเป็นผู้มีบาปติดตัวมา เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงมีเมตตา สงสารมนุษย์ จึงส่งพระบุตรคือพระเยซู ในฐานะพระบุตรลงมาเกิด ในโลกมนุษย์เป็นผู้ประกาศข่าวสาส์นของพระเจ้า เพื่อให้มนุษย์กลับใจ มนุษย์ผู้กลับใจจะได้กลับไป เกิดและมีชีวิตนิรันดร์อยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ ชีวิตในทัศนะของศาสนาคริสต์ถือว่า เป็นไปตามที่พระ เจ้ากําหนดลิขิตให้เป็นไปในกระบวนการของพระเจ้าทั้งหมดตั้งแต่เกิด ดําเนินชีวิต ตาย และชีวิต หลังความตาย หลักธรรมในการดําเนินชีวิตตามหลักศาสนาคริสต์ หลักคําสอนของศาสนาคริสต์เป็นคําสอนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และ จริยธรรมทางสังคม โดยมีหลักคําสอนสําคัญ ดังต่อไปนี้ 1. หลักตรีเอกานุภาพ คําว่า "ตรีเอกานุภาพ" ได้แก่ ความเชื่อว่าพระเจ้าทรงมี 3 ภาค ในองค์เดียวกัน ได้แก่ พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิต หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Holy Spirit) โดยมีความหมาย ดังต่อไปนี้ 1.1 พระบิดา หมายถึง พระเจ้าผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ทรงสร้างโลกมนุษย์ และสรรพสิ่ง ทรง รักมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เปรียบเหมือนบิดาที่มีความรักในบุตร
  • 6. -48- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 1.2 พระบุตร หมายถึง พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของ พระเจ้า ผู้เสด็จลงมา เกิดในโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้า ทรงมีธรรมชาติแท้จริงเป็นพระเจ้า แต่เมื่อทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ก็ทรงทนทุกข์ทรมานเช่นมนุษย์ทั้งหลาย ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์และทรงฟื้นขึ้นจากความตาย เช่นเดียวกับพระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือความตาย 1.3 พระจิตหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ หมายถึง พลังอํานาจของ พระเจ้า เป็นพลังแห่ง ความรักที่เชื่อมระหว่างพระบิดากับพระบุตรเข้าด้วยกันและเป็นพลังอํานาจของพระเจ้าที่ทรงแสดง ต่อมนุษย์เพื่อดลใจให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของพระเจ้า พระคริสต์ธรรมใหม่ได้กล่าวถึง พระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่หลายตอน เช่น ตอนที่ทูตสวรรค์ได้แจ้งให้มารีย์ทราบว่า นางจะตั้งครรภ์ด้วย อํานาจของพระเจ้า เป็นต้น หลังจากที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว พระ วิญญาณบริสุทธิ์ยังคงมีบทบาทอยู่ใน โลกนี้เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และนําทางมนุษย์ให้ประจักษ์ใน อํานาจของพระเจ้า (เสรี พงศ์พิศ. 2529: 247-248) 2. หลักความรัก หลักความรักเป็นหลักคําสอนทางจริยธรรมที่สําคัญที่สุดของศาสนาคริสต์ หมายถึงความ เป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระคริสต์ธรรมเก่าและพระคริสต์ธรรมใหม่ กล่าวถึง ความรัก 2 ประเภท ได้แก่ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ในพระคริสต์ธรรมเก่า ความรักเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างพระเจ้ากับชนชาติอิสราเอล โดยที่ พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้ความรักแก่ชนชาติอิสราเอลก่อน จากนั้นชาวอิสราเอลจึงสนองตอบความรักของ พระเจ้าโดยการศรัทธาต่อพระเจ้าและปฏิบัติตาม แนวทางที่พระเจ้าทรงวางไว้ ส่วนในพระคริสต์ธรรมใหม่ คําสอนเรื่องหลักความรักนั้นกําหนดให้พระเยซูเป็น สัญลักษณ์ของความรักสูงสุดที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่พระเยซูทรงยอม สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อให้ผู้มีศรัทธาในพระองค์จะได้พ้นจากความผิดบาป โดยพระเยซูทรง สอนให้มนุษย์เผื่อแผ่ความรักไปรอบด้าน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง หลักคําสอนสําคัญนี้มีอยู่ในบทเทศนา บนภูเขาแสดงถึงความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ซึ่งแสดงออกได้โดยความเมตตา กรุณาและความ เสียสละ ส่วนความรักที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าแสดงออกโดยความศรัทธาที่มีต่อ พระเจ้า เช่น ศรัทธาว่า พระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว ศรัทธาว่า พระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่า เทียมกัน ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ศรัทธาว่า พระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และ ศรัทธาในอาณาจักรของพระเจ้าที่กําลังจะมาถึง (ภัทรพร สิริกาญจน. 2546 : 70-71) ดังนั้นความรัก ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าสามารถแสดงออกด้วยความศรัทธา 5 ประการ คือ 2.1 ศรัทธาว่าพระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว 2.2 ศรัทธาว่าพระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน 2.3 ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า
  • 7. -49- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2.4 ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด 2.5 ศรัทธาในแผ่นดินสวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้าที่กําลังจะมาถึง หลักความรักและหลักอาณาจักรของพระเจ้ามีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ มนุษย์จะ สามารถเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าได้ก็โดยอาศัยความรักเป็นคุณธรรมนําทาง และอาณาจักรของ พระเจ้าก็เป็นอาณาจักรที่บริบูรณ์ด้วยรัก 3. ศีล 7 ประการ แนวทางในการดําเนินชีวิตตามหลักศาสนากิจในศาสนาคริสต์ที่ศาสนิกชนจะต้องทํากัน เรียกว่าศีล เป็นข้อปฏิบัติ ถือเป็นหน้าที่ของศาสนิกชนคือ กิจที่จะต้องทําในศาสนา มี 7 อย่าง คือ 3.1 ศีลล้างบาป (Baptism) เป็นพิธีที่เกิดจากจากคติที่ว่า ทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กําเนิด ตั้งแต่สมัยอาดัมกับเอวาได้ละเมิดพระบัญชาพระจ้าที่ทรงห้ามมิให้กินผลไม้ในสวยเอเดน ดังนั้น ผู้ที่จะ เข้ามานับถือศาสนาคริสต์จําต้องทําพิธีล้างบาป นิกายโปรเตสแตนท์ เรียกศีลล้างบาปว่า บัพติสม หรือศีลจุ่ม 3.2 ศีลกําลัง (Confirmation) เป็นพิธีรับพระจิตให้มาอยู่ในตน พิธีนี้จะทํากับเด็กโตซึ่ง รู้สึกรับผิดชอบแล้ว โดยปกติพระระดับบิชอพ (Bishop) เท่านั้นที่จะทําพิธีนี้ได้ โดยวางมือทั้ง 2 มือลง บนศีรษะเด็ก แล้วเจิมน้ํามันที่หน้าผากเป็นรูปกางเขน เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า พระจิตของพระเจ้า ได้มาสถิตอยู่ในตนแล้ว 3.3 ศีลมหาสนิท (Communion) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มิสชา เป็นพิธีที่แสดงให้เห็น ว่าผู้รับศีลข้อนี้แล้วได้อยู่แนบสนิทกับพระเยซู กล่าวคือ ชาวคริสต์จะพากันไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ และ เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว บาทหลวงผู้ประกอบจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่นให้ทุกคน ได้รับขนมปังแทน เนื้อพระเยซู และเหล้าองุ่นแทนเลือดพระเยซู 3.4 อภัยบาป (Confession) เป็นพิธีที่ชาวคริสต์สํานึกว่าตนได้ทําบาปลงไปจะต้องไปหา บาทหลวง เพื่อสารภาพถึงการทําความผิดนั้น และขออภัยโทษจากพระเจ้า บาทหลวงในฐานะผู้แทน พระเจ้าจะเป็นผู้ยกบาปนั้นให้ ความสํานึกผิด เป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญสุด หากไม่มีการกลับใจ ส่วนอื่นก็ไม่มีความหมาย เพราะการสํานึกบาปนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ และเขาปรารถนา จะคืนดีกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ การสารภาพบาป คือ การสารภาพผิดกับนักบวช หรือบาทหลวงซึ่งเป็นตัวแทนของ พระเจ้าเป็นการแสดงออกถึงการกลับใจของตนเองพร้อมที่จะได้รับการอภัย การอภัยบาป นักบวชเป็นแทนพระเจ้า ได้รับสิทธิให้ผูกพันหรือแก้ไขบาทหลวงจะยก บาปให้ด้วยการสวดบทภาวนาว่า พระเจ้าเป็นบิดาผู้ทรงเมตตา ได้ทรงทําให้โลกคืนดีกับพระองค์ อาศัยการสิ้นพระชนม์ อาศัยการค้นชีพของพระบุตรและทรงส่งพระจิตมาเพื่ออภัยบาปมนุษย์ ขอ
  • 8. -50- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พระองค์ทรงประทานเมตตาและสันติสุข แต่ท่านอาศัยศาสนกิจบริการของ ศาสนจักร ข้าพเจ้าจึงอภัย บาปทั้งสิ้นของท่าน เดชะพระนามพระบิดา พระบุตรและพระจิต การใช้โทษบาป การไปสารภาพบาปต่อบาทหลวงและบาทหลวงได้ยกโทษบาปให้ยัง เพียงพอ ผู้กระทําบาปยังต้องชดเชย สิ่งที่ได้กระทําความเสียหายให้กับผู้อื่นให้ดีเช่น เดินตามที่ บาทหลวงจะพิจารณากําหนดให้โทษบาป 5. ศีลสมรส (Matrimony) เป็นพิธีที่บาทหลวงเป็นผู้ประกอบ โดยให้คู่บ่าวสาวประกาศ ให้คํามั่นออกมาว่าจะเป็นสามีภรรยากันไปไม่หย่าร้างตลอดชีวิต จะนับถือพระเจ้าชั่วชีวิต แม้มีบุตร ธิดาที่จะเกิดตามมาก็จะให้เขานับถือพระเจ้าตลอดไป 6. ศีลบวช (Ordination) พิธีนี้จะทําให้เฉพาะผู้เลื่อมใสมั่นคงและพร้อมทีจะรับใช้พระ ศาสนาเท่านั้น ผู้ที่รับศีลนี้แล้วก็จะเป็นบาทหลวง 7. ศีลเจิมครั้งสุดท้าย (Holy Unction หรือ Extreme Unction) พิธีนี้จะทําให้เฉพาะคน ป่วยหนักใกล้มรณะ โดยบาทหลวงจะเจิมน้ํามันที่ตัวคนป่วย เพื่อชําระบาปที่อยู่ให้หมดไป จะได้ไม่มี ปีศาจมารบกวนในการเดินทางไปสู่โลกวิญญาณ (เสรี พงศ์พิศ. 2529:227-298) ศีลทั้ง 7 นี้ ถือปฏิบัติกันทั้งนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโป รเตสแตนท์นับถือเฉพาะศีลลางบาปและศีลมหาสนิทเท่านั้น นิกายออร์ธอดอกซ์ ถึงแม้จะถือศีล 7 อย่างเหมือนกับนิกายโรมันคาทอลิก แต่ก็มีความเชื่อในเรื่องอื่นๆ แตกต่างกัน (ภัทรพร สิริกาญจน. 2546:78) 4. บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตตามคําสอนขององค์ศาสดามีดังนี้ (กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.2554:178-179)คือ 4.1 อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเรา 4.2 อย่าเอยนามพระเจ้าโดยไม่เคารพ 4.3 อย่าทํารูปเคารพใดซึ่งเลียนแบบพระเจ้า 4.4 ระลึกถึงวันสปาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ เป็นวันของพระเจ้า ทรงพักเหนื่อย 4.5 เคารพบิดามารดาของเจ้า 4.6 อย่าฆ่ามนุษย์ 4.7 อย่าร่วมประเวณีสามีภรรยาผู้อื่น 4.8 อย่าลักทรัพย์ 4.9 อย่าเป็นพยานเท็จ 4.10 อย่าโลภสมบัติของเพื่อนบ้าน
  • 9. -51- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 5.เทศนาบนภูเขา นอกจากนั้นชาวคริสต์ยังต้องปฏิบัติตามคริสตธรรมที่บันทึกจากการเทศนาครั้งสําคัญของ พระเยซู เรียกว่า เทศนาบนภูเขา คําสอนของพระเยซูที่เทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) นั้น เป็นคําสอนที่มีระบบมากที่สุด เป็นหลักจริยธรรมที่พระเยซูทรงวางไว้แก่มนุษย์ได้ปฏิบัติเพื่อ ความสุข เป็นหลักคําสอนที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการดําเนินชีวิตของชาวคริสต์ มีรายละเอียด โดยย่อ ดังต่อไปนี้ 5.1 การเป็นผู้มีสุข คําสอนในตอนนี้ (มัทธิวบทที่ 4 ข้อ 3-12) กล่าวถึงลักษณะของบุคคล ผู้จะมี ความสุข 8 ประการ โดยแสดงไว้ว่า บุคคลใดก็ตามมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ บุคคลที่รู้สึกว่า ตนเองยังมีความบกพร่องและยังไม่ดีพอ เป็นคนมีความโศกเศร้า เป็นคนจิตอ่อนโยน เป็นคน รัก ความชอบธรรม เป็นคนจิตใจกรุณา เป็นคนจิตใจบริสุทธิ์ เป็นคนสร้างสันติภาพ และเป็นคน ที่ถูกกลั่น แกล้งข่มเหงเพราะเหตุแห่งความชอบธรรม บุคคลเหล่านี้เรียกได้ว่า ผู้เป็นสุข เนื่องจากได้ยึดพระ คริสตธรรมเป็นหลักในการดําเนินชีวิต 5.2 การเป็นเกลือของโลก คําสอนนี้มุ่งให้มนุษย์ดํารงรักษาความดีงามเหมือนเกลือรักษา ความเค็ม เพราะถ้ามนุษย์ทิ้งความดีงามไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเกลือที่หมดรสเค็ม ไม่มีประโยชน์และ ไม่มี คุณค่าใดๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 13) 5.3 บุคคลผู้เป็นความสว่างของโลก คําสอนนี้เป็นการให้กําลังใจแก่ผู้ทําความดี และ ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ อย่างมั่นคง ความดีที่ทําไว้นั้นจะมีผลต่อโลกและผู้อื่น ทําให้ผู้ที่เห็นความดีนั้น สรรเสริญพระเจ้า ผู้เป็นบิดา เปรียบเหมือนกับเมื่อลูกดี บิดาย่อมได้รับการยกย่องเพราะความดีของ ลูกนั้น (มัทธิวตอนที่ 5 ข้อ 14-16) 5.4 การไม่ได้บัญญัติพระธรรมบัญญัติใหม่ คําสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการชี้แจงให้บุคคล ทั้งหลาย (ชาวยิว) ในขณะนั้น เข้าใจว่า การเผยแพร่ศาสนาของพระองค์ไม่ได้เป็นไปเพื่อการล้มล้าง หรือยกเลิกพระบัญญัติ เดิมที่ชาวยิวได้นับถือสืบกันมา แต่เป็นการปฏิรูปคําสอนเดิมให้มีความเข้มข้น และสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 17) 5.5 การห้ามไม่ให้มีความโกรธ คําสอนตอนนี้ พระเยซูได้อธิบายข้อห้ามในพระบัญญัติเดิม ที่ว่า อย่าฆ่าคน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยสอนให้ระวังอารมณ์โกรธที่จะเกิดขึ้นในจิตใจ การฆ่าคนอื่นจะไม่ เกิดขึ้น ถ้าไม่มีความโกรธมากระตุ้น บุคคลจึงต้องระวังไม่ให้เกิดความโกรธขึ้น เพราะเมื่อบุคคลมี ความโกรธ เกิดขึ้น ย่อมสามารถจะทําร้ายหรือฆ่าผู้อื่นได้ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 21-26) 5.6 การห้ามล่วงประเวณี คําสอนตอนนี้ สอนให้งดเว้นแม้กระทั่งการล่วงประเวณีด้วยใจ (การคิดที่จะล่วงประเวณี) ไม่ใช่งดเว้นเพียงการล่วงประเวณีทางกายและทางวาจาเท่านั้น การสูญเสีย ทางกายที่เกิดขึ้นก็ไม่รุนแรงเท่ากับการสูญเสียทางจิตวิญญาณ ดังนั้น ถ้าร่างกายของเราส่วนใดส่วน
  • 10. -52- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หนึ่งทําผิดทําชั่ว เราควรทําลายร่างกายส่วนนั้นทิ้งเสีย เพราะถึงจะเสียอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ดีกว่าตัวเราจะต้องลงนรก (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 27-30) 5.7 การห้ามหย่าร้าง คําสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้คนที่แต่งงานกันหย่าร้างกัน เพราะ แต่เดิม นั้นมีการอนุญาตให้บุคคลหย่าร้างกันได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ทําหนังสือหย่ากันก็เป็นการ เพียงพอแล้วนั้น เปรียบเหมือนการเปิดโอกาสให้คนไม่เกรงกลัวต่อบาป การแต่งงานก็จะ เกิดขึ้น เพราะความพอใจ แต่ขาดความรับผิดชอบและการหย่าร้างก็จะมีมากขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 31-32) 5.8 การห้ามสาบาน คําสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้บุคคลทําการสาบาน เพราะต้องการ สอนให้บุคคลยึดมั่นในสัจจะและความจริงใจอย่างมั่นคง โดยไม่จําเป็นต้องไปอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่ง อื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันคําพูดของตนเอง คนที่มีจิตใจมั่นคงในคําสอนของศาสนาย่อมไม่ กล่าวคํา เท็จ และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะพูด คิด และกระทําทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ มั่นคง (มัทธิวบท ที่ 5 ข้อ 33-37) 5.9 การไม่โต้ตอบผู้ประทุษร้าย คําสอนตอนนี้ พระเยซูไม่ต้องการให้เป็นคนมีจิตใจ อาฆาตแค้น อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของเรา ก็ให้หันแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย เพราะหาก บุคคลยังมีความ อาฆาตแค้นก็ไม่สามารถรักผู้อื่นและทําดีต่อผู้อื่นได้ หรือแม้แต่ความศรัทธาที่มีต่อ พระเจ้าก็ไม่ บริสุทธิ์ เพราะจิตใจยังอาฆาตแค้นอยู่ก็ไม่สามารถรักใครได้จริงๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 38- 39) 5.10 การรักศัตรู คําสอนตอนนี้ พระเยซูเน้นให้บุคคลมีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น แม้ผู้ นั้น จะเป็นศัตรูก็ตาม (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 43-44) 5.11 การทําความดี คําสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการให้บุคคลทําดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ให้ทําความดีเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะไม่ใช่ความดีที่แท้จริง เน้นให้เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ (มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 1-4) 5.12 การสั่งสมทรัพย์สมบัติในสวรรค์ คําสอนตอนนี้ สอนไม่ให้สั่งสมทรัพย์สมบัติ ภายนอกกาย แต่ความสั่งสมความดีซึ่งจะทําให้ได้ทรัพย์สมบัติในสวรรค์ (มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 19-21) 5.13 การไม่กล่าวโทษผู้อื่น คําสอนตอนนี้ สอนไม่ให้กล่าวโทษบุคคลอื่น เรากล่าวโทษ ผู้อื่นอย่างไร และเราก็จะถูกกล่าวโทษเช่นนั้นบ้าง คนส่วนมากไม่ชอบมองดูความผิดของตนเอง มักจะ มองว่าเป็น ความผิดของบุคคลอื่น จึงมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง (มัทธิบทที่ 7 ข้อ 1-6) 5.14 อยากได้ก็ต้องขอ อยากพบก็ต้องหา คําสอนนี้ สอนว่า พระเจ้าย่อมมีน้ําพระทัย เมตตาแก่ผู้ทุกข์ยากที่ร้องขอ ความช่วยเหลือ พระเจ้าไม่ทอดทิ้งแต่จะประทานสิ่งที่ดีให้แก่พวกเขา พระองค์ดีต่อพวกเขา อย่างไร พวกเขาก็ควรที่จะดําเนินตามรอยพระองค์ ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่าง ที่เขาปรารถนา จะให้ผู้อื่นปฏิบัติเช่นนั้นต่อพวกเขา (มัทธิวบทที่ 7 ข้อ 7-12) เช่นคํากล่าวในข้อที่ 8
  • 11. -53- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่า "เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา" (ธรรมกาย. 2550: 357-365) เป้าหมายชีวิตตามทัศนะศาสนาคริสต์ ในการศึกษาบทนี้ เป็นการศึกษาเป้าหมายสูงสุดของศาสนาคริสต์ อันเกี่ยวข้องกับอาณาจักร ของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด และหลักความจริง 4 ประการ ศาสนาคริสต์ได้แบ่ง เป้าหมายมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ คือ (1) อยู่เพื่อโลกนี้ คือ เป็นอยู่เพื่อให้ตนเอง ครอบครัว และ สังคมมีความสุขและมีสันติภาพอันยั่งยืน ซึ่งได้แก่การปฏิบัติตามหน้าที่ของมนุษย์ตามหลักศาสนา (2) อยู่เพื่อโลกเบื้องหน้า คือเข้าสู่อาณาจักรพระเจ้า (The Kingdom of God) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีกแล้ว เป็นชีวิตที่ไม่ต้องตาย ไม่ถูกลงโทษ เป็นสันติสุขอันแท้จริง ชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า คือชีวิตที่พึงประสงค์ของผู้ศรัทธาในพระคริสต์ ซึ่งคัมภีร์สดุดีของชาวคริสต์กล่าวว่า “จงชื่นชมยินดีใน พระยโฮวาห์ และพระองค์จะประทานสิ่งที่ท่านปรารถนา” (สดุดี 37:4) เป็นข้อความสําคัญที่ชาว คริสต์ต้องพิจารณาให้ดีว่าแล้วอะไรคือสิ่งที่พระองค์จะประทานให้ตามความปรารถนาของมนุษย์ผู้ ศรัทธาในพระองค์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญแบบมนุษย์ในโลกนี้ต้องการ แต่สิ่งที่มนุษย์ควรปรารถนาคืออาณาจักรของพระองค์ คัมภีร์มัทธายกล่าวว่า “แต่จงแสวงหาอาณาจัก ของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อน และพระองค์จะประทานสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้แก่ ท่าน” (เจมี่ บัคกิ้งแฮม, 2543.) โดยจะได้ศึกษาตามประเด็นสําคัญดังต่อ 1. อาณาจักรของพระเจ้า อาณาจักรของพระเจ้า หมายถึง หลักการดําเนินชีวิตที่แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ และช่วย ยกระดับจิตของผู้ที่ยอมรับคําสอนและปฏิบัติตามให้สูงขึ้น คําสอนของพระเยซูทรงเน้น ให้มนุษย์ มุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่า คือ ชีวิตในอาณาจักรของพระเจ้าหรือแผ่นดินสวรรค์ โดยอาณาจักรของพระเจ้า มีความหมาย 2 ประการ (เสถียร พันธรังสี.2542:398) คือ 1.1 อาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ หมายถึง อาณาจักรของพระเจ้าที่มนุษย์สามารถ เข้าถึงได้ในชีวิตนี้ เป็นรากฐานสําหรับอาณาจักรของพระเจ้าในโลกหน้าซึ่ง เรียกว่า แผ่นดินสวรรค์ การที่มนุษย์จะเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ได้นั้น จะต้อง ดําเนินชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสมตาม หลักคําสอนที่พระเยซูทรงแสดงไว้ โดยมีความรักในพระเจ้า อย่างสุดจิตสุดใจ และ รักเพื่อนมนุษย์ เหมือนรักตนเอง ต้องรู้จักสละทรัพย์สมบัติภายนอกและ มีความมานะพากเพียร เพราะอาณาจักร แห่งพระเจ้าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางวิญญาณ ผู้ที่ยังไม่ สามารถสละสมบัติทางโลกได้ย่อมไม่อาจเข้าถึง อาณาจักรของพระเจ้าได้
  • 12. -54- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 1.2 อาณาจักรของพระเจ้าในโลกหน้า หมายถึง การเข้าถึงชีวิตนิรันดรหลังจากตายแล้ว โดยพระเจ้าจะเป็นผู้ทรงตัดสิน ผู้ใดปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์อย่าง ครบถ้วน และเชื่อใน พระองค์ จะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ หรืออาณาจักรของพระเจ้า จะมีชีวิต นิรันดร ไม่มีความทุกข์ใดๆ ตลอดไป ส่วนผู้ฝ่าฝืนบัญญัติจะถูกตัดสินให้ลงนรก ได้รับความ ทุกข์อย่างสาหัสจากไฟเผาผลาญ 1.3 ชีวิตในอาณาจักร หมายถึง การใช้ชีวิตในอาณาจักรของคนที่นับถือพระเจ้า ควร ดําเนินการดังต่อไปนี้ 1.3.1 บุตร 2 คน ความเชื่อฟัง เป็นการทดสอบการเป็นบุตรในครอบครัว 1.3.2 ชาวสะมาเรียใจดี เพื่อนบ้านของเรา คือใครก็ตามที่ขัดสน เรารู้ว่าเขาต้องการ อะไร เราต้องมีความรักต่อผู้อื่น และช่วยให้เขา ได้ในสิ่งที่ต้องการ 1.3.3 เจ้าหนี้ 2 คน สอนว่าคนมีประสบกาณ์ความรักแห่งอาณาจักร ก็จะแสดงความ รักนั้นออกมาได้ 1.3.4 ฟาริสีและคนเก็บภาษี ฟาริสีเข้าหาพระเจ้าด้วยความชอบธรรมตัวเอง คนเก็บ ภาษีรู้ว่าไม่มีค่าพอจะยืนต่อหน้าพระเจ้า พระเยซูสอนให้คนถ่อมใจ ในคําอธิษฐาน และบาปของ ความชอบธรรมตนเอง 1.3.5 ความคิดคํานึงของเศรษฐี ตัวอูฐรอดรูเข็ม การพึ่งพิงความมั่งมีทางวัตถุ เป็น ของชั่วคราว สิ่งสําคัญเหนือชีวิต คือ อาณาจักรนิรันดร์ อูฐที่รอดรูเข็มได้ ต้องถอดสัมภาระ ทั้งสิ้นวาง ไว้นอกประตูเมือง 1.3.6 ผงกับท่อนไม้ เราควรพิจารณาพิพากษาตนเอง มากกว่าตัดสินผู้อื่น 1.3.7 การเก็บเกี่ยวข้าวสุกและพร้อมที่จะรวบรวม เน้นความตั้งใจของผู้เชื่อ ที่จะ ขยายอาณาจักรพระเจ้าออกไป 1.3.8 ผู้พิพากษาและหญิงหม้าย มิตรสหายที่เพียรขอ แสดงให้เห็นความสําคัญ ของ การเพียรอธิษฐาน 1.3.9 ทาสที่สัตย์ซื่อ เน้นความสําคัญคนต้นเรือนที่ฉลาดและชอบธรรม ดูแลทรัพย์ สมบัติ อาณาจักรก็มอบให้กับผู้เชื่อที่สัตย์ซื่อ 1.3.10 ที่นั่งในงาน ความถ่อมใจเป็นสิ่งสําคัญ จะได้รับการยกย่องในอาณาจักรพระ เจ้า 1.3.11 เถาองุ่น ความสัมพันธ์ของพระเยซูต่อคริสตจักร 1.3.12 คนงานสวนองุ่น สอนว่าบําเหน็จนิรันดร์ ไม่ได้ตั้งอยู่บนมาตรฐานโลก 1.3.13 หน้าที่คนรับใช้ ความเข้าใจที่เหมาะสมในความผูกพันกับอาณาจักร 1.3.14 เสื้อผ้าที่สวมในงานสมรส เราต้องสวมความชอบธรรมเพื่อจะคงอยู่ใน
  • 13. -55- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาณาจักร ไม่ใช่ความชอบธรรมตนเอง แต่ได้มา โดยทางความชอบธรรม จากองค์พระเยซูคริสต์ องค์ พระผู้เป็นเจ้า "อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่มีอํานาจ ที่จะฆ่าจิตวิญญาณ แต่จงกลัวพระองค์ผู้ทรง ฤทธิ์ ที่จะให้ทั้งจิตวิญญาณทั้งกายพินาศในนรกได้" 1.4 คุณค่าแห่งอาณาจักร 1.4.1 ไข่มุกราคาสูง สมบัติที่ซ่อนไว้ อาณาจักรพระเจ้า มีค่าสูง จนไม่มีสิ่งใด เปรียบเทียบได้ มีค่ามากกว่าสมบัติใดๆ ของมนุษย์ ถ้าเราต้องเสียทุกสิ่ง เพื่ออาณาจักรนี้ ก็มีค่ามาก พอที่จะสละได้ 1.4.2 คนต้นเรือน พระเยซูเปรียบเทียบพระองค์ เหมือนคนเฝ้าสิ่งของ ซึ่งอาจนํา เมล็ดข้าวใหม่ หรือเก่า น้ําองุ่นใหม่หรือเก่า แต่ก็ทําให้บ้านเรือนได้รับสิ่งต้องการ อาณาจักรที่พระเยซู นํามา เหมือนรูปแบบเดิม แต่ก็เป็นของใหม่โดยสิ้นเชิง แต่ทั้งสิ่งใหม่และเก่า มีคุณค่าในการตอบสนอง ความต้องการ ของผู้อาศัยในอาณาจักรพระเจ้า 2. พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด ศาสนาคริสต์ และศาสนายิวมีความเชื่ออย่างเดียวกันว่า พระเจ้า คือ พระเยโฮวาห์ เป็นผู้ ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ในจักรวาล ไม่มีผู้ใดจะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ มีคําสอนมากมายที่ พรรณนาลักษณะ ของพระเจ้าไว้ในฐานะทรงเป็นความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ทรงมี คุณลักษณะพิเศษต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ธรรมกาย.2550:356-357) 2.1 ทรงเป็นจิตบริสุทธ์ ไม่มีรูปร่าง 2.2 ทรงมีอยู่นิรันดร ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย 2.3 ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง 2.4 ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง 2.5 ทรงมีพลังอํานาจทุกอย่าง 2.6 ทรงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด 2.7 ทรงบริสุทธิ์ทุกประการ ไม่มีบาปเลย 2.8 ทรงมี 3 ภาค เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ คือ พระบิดา พระบุตร และ พระจิตหรือพระ วิญญาณบริสุทธิ์ ลักษณะพิเศษของพระเจ้าต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น เป็นลักษณะเดียวกันกับศาสนา ที่มีพระเจ้าสูงสุดทุกศาสนา เช่น พระเจ้าในศาสนาอิสลาม เป็นต้น อาจจะต่างกันตรงชื่อเรียกพระเจ้า สูงสุดเท่านั้น แต่คุณลักษณะพิเศษไม่แตกต่างกัน 3. หลักความจริง 4 ประการ การเข้าถึงหลักความจริง 4 ประการ ดังต่อไปนี้ จะทําให้ชีวิตมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า คือ
  • 14. -56- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 3.1 ความรักของพระเจ้าและแผนการของพระเจ้า เราต้องตระหนักว่าพระองค์ทรงรักคุณ และได้จัดเตรียมแผนการที่ดีเลิศสําหรับชีวิตของคุณ 3.2 มนุษย์เป็นคนบาปจึงถูกตัดขาดจากพระเจ้า มนุษย์จึงไม่สามารถได้รับความรักอันเต็ม ล้นของพระองค์ 3.3 พระเยซูคริสต์เป็นหนทางเดียวที่พระองค์ประทานให้เพื่อที่จะนําเราไปถึงพระเจ้า โดยการรับพระเยซูคุณจะได้รับความรักจากพระเจ้าและแผนการที่ท่านได้เตรียมไว้ให้คุณ 3.4 เราต้องต้อนรับพระเยซูเข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและพระเจ้าเป็นการส่วนตัว การ ไปโบสถ์เป็นประจําการอยู่ในครอบครัวที่เป็นคริสเตียน ไม่ได้ทําให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า แต่ละคน ต้องต้อนรับพระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิตเป็นการส่วนตัวเท่านั้นจึงจะได้รับของขวัญของพระเจ้า คือ เข้า ไปอยู่ในอาณาจักรของพระองค์ และจะได้สิ่งที่พึงปรารถนาในชีวิตเป็นของขวัญ คือ 3.4.1 พระเยซูจะอยู่ในชีวิต 3.4.2 ความบาปจะได้รับการให้อภัย 3.4.3 ได้เป็นบุตรของพระเจ้า 3.4.4 ได้รับชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ที่สามารถฟื้นจากความตายได้ ไม่ต้องสะดุ้ง ต่อความตายอีกต่อไป 3.4.5 ได้รับสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตที่พระเจ้าเตรียมไว้ให้ สรุป ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่า เป็นศาสนาแห่งความรัก พระเยซูเน้นถึงความรักว่าสําคัญที่สุด มีความ รักอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์ รักเพื่อนบ้าน รักครอบครัว ก็จะ ได้ความรัก ตอบแทนซึ่งมีค่ากว่าสมบัติใด ๆ ให้รักโลก ทําตนเป็นคนของโลก และก็ด้วย อิทธิ พลคําสอนดัง กล่าว จึงมีนักสอนศาสนาคริสต์ออก ไปเผยแผ่ ศาสนาทั่วโลก ทั้งช่วยจัดตั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลควบคู่ ไปด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะดําเนินรอยตาม พระเยซูซึ่งเป็นทั้งหมอกายหมอใจ ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย ทั้งโรคกายโรคใจ ดังนั้นการช่วยเหลือกันในรูปแบบต่างๆ จึงมีอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวคริสต์ สะท้อนถึง อิทธิพลของศาสนาคริสต์ดังกล่าว มาแล้ว แต่ภายในศาสนาคริสต์เองกลับแตกแยกกันแบ่งเป็นนิกายใหญ่น้อยมากมาย และแต่ละนิกาย ต่างก็ยึดมั่นในปรัชญาของตนไม่ปรองดองเข้าหากัน ทั้งยังไม่มีองค์การใดที่คอย ประสานรอยร้าวได้ ดังนั้น ศาสนาคริสต์ถึงแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ แต่ก็อยู่ในฐานะที่รวมกันได้ แค่เพียงหลวมๆ หรือ
  • 15. -57- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ตลอดทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและ เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก็ มีการขัดแย้งกับคําสอนในศาสนาคริสต์ จึงทําให้ชาวคริสต์รุ่นใหม่ ไม่สนใจศาสนาถึงกับประกาศตัวไม่ มีศาสนาและหันไปนับถือศาสนาอื่น ก็มีมากขึ้นตามลําดับ (ธรรมกาย. 2550 :371)
  • 16. -58- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คําถามทบทวน ตอนที่ 1 จงทําเครื่องหมายกากบาท (X) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. คําว่า คริสต์ มีความหมายตรงกันกับข้อใด? ก. พระเยซู ข. เมสสิอาห์ ค. พระบุตร ง. พระเจ้า 2. ข้อใดคือสาเหตุความเจริญก้าวหน้าของศาสนาคริสต์? ก. คําสอนลึกซึ้ง ข. ความศรัทธา ค. การเผยแพร่ศาสนาของพระเยซู ง. การเผยแพร่ของพระสาวก 3. ข้อใดคือหลักศรัทธาของศาสนาคริสต์? ก. ศรัทธาในพระยโฮวาห์ ข. ศรัทธาในวันสร้างโลก ค. ศรัทธาในความรักของพระเจ้า ง. ข้อ ก และ ข ถูก 4. ข้อใดคือหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้? ก. ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ข. รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ค. รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ ง. ข้อ ข และ ค ถูกต้อง 5. พิธีกรรมในข้อใดที่กระทําเพียงครั้งเดียวในชีวิตแล้วไม่ต้องทําอีก? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป 6. พิธีกรรมใดที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์? ก. ศีลล้างบาป ข. ศีลมหาสนิท ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป 7. พิธีกรรมในข้อใดที่เป็นการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลกําลัง ง. ศีลแก้บาป 8. พลังอํานาจที่พระเจ้าแสดงเพื่อดลบันดาลให้มนุษย์กลับใจมาปฏิบัติตามแนวทางของพระ เจ้าเรียกว่าอะไร? ก. พลังความรัก ข. พระวิญญาณบริสุทธิ์ ค. พระจิต ง. ข้อ ก และ ข ถูก 9. การเจิมหน้าผากด้วยน้ํามันมะกอกเป็นรูปไม้กางเขน อยู่ในพิธีกรรมอะไร? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลแก้บาป ง. ศีลกําลัง
  • 17. -59- วิชาวิถีแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 10. สาวกคนใดที่ทรยศต่อพระเยซู? ก. ซีมอน ข. มัทธาย ค. ยาโกโบ ง. ยูดาห์ อิสการิดโอด ตอนที่ 2 จงตอบคําถามต่อไปนี้ 1. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ มาพอ เข้าใจ? 2. จงยกตัวอย่างหลักคําสอนของศาสนาคริสต์มา 3 ข้อ และนักศึกษาเห็นด้วยกับ หลักคําสอนข้อใดมากที่สุด เพราะเหตุใด? 3. จงอธิบายความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์ธอดอกซ์และนิกาย โปรเตสแตนต์?